content
stringlengths
2
11.3k
url
stringlengths
26
27
title
stringlengths
3
125
ทีมงาน change.gov ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้มีข้อเสนอไปยังรัฐบาลใหม่ให้ลงทุนทำแผงโซลาร์เซลล์ในอวกาศ (Space Solar Power ตัวย่อในวงการคือ SSP) ทีมงานอ้างผลวิจัยเก่าของ National Security Space Office (NSSO) ว่าพลังงานแสงอาทิตย์จากอวกาศนั้นมีศักยภาพสูงมากที่จะทำให้อเมริกาเป็น “อิสระ” ทางพลังงาน (แปลว่าไม่ต้องพึ่งน้ำมันต่างชาติ) โดยคิดเทียบให้ว่าถ้าอเมริกาทำแผงโซลาร์เซล์ความกว้าง 1 กม. รอบเส้นศูนย์สูตรของโลก และเก็บสะสมพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเวลา 1 ปีเต็ม จะคิดเป็นพลังงานเทียบเท่ากับน้ำมันดิบทั้งหมดที่อยู่ในโลกในขณะนี้ นอกจากนั้นยังมีเรื่องพลังงานสะอาดแบบที่เรารู้กันดีอยู่แล้วสำหรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ และสามารถทำได้ทันทีไม่ต้องรอการค้นพบใหม่แบบพลังงานฟิวชั่น อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือค่าใช้จ่ายในการสร้างโซลาร์เซลล์รอบวงโคจรโลกยังสูงอยู่มาก ทางทีมงานจึงเสนอให้โอบามาลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศโดยด่วน ตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง (ตอนนี้ยังเป็นงานที่โยนกันไปมาระหว่าง NASA กับกระทรวงพลังงานสหรัฐ) และลงทุนวิจัยเป็นเงิน 300 ล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเป็นเงินที่สหรัฐจ่ายเพื่อวิจัยเทคโนโลยีฟิวชั่นอยู่ในปัจจุบัน ใครดู Gundam 00 ก็เตรียมพบกับ Celestial Being ได้เลย ที่มา - Change.gov ผ่าน Slashdot » mk's blog 584 reads
https://jusci.net/node/870
ทีมงานโอบามา เสนอให้ลงทุนทำโซลาร์เซลล์นอกโลก
รายงานจาก iSuppli ระบุว่ากำลังผลิตโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมากำลังเกินความต้องการของตลาด ทำให้เราน่าจะได้เห็นการลดราคาในเร็วๆ นี้จนส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมลดลงไปถึงร้อยละ 20 การประเมินตัวเลขนี้เกิดจากการคาดการณ์กำลังผลิตรวมของโซลาร์เซลล์ในปี 2009 ที่น่าจะพุ่งขึ้นไปถึง 11.1 กิกะวัตต์ จากปีนี้ที่ผลิตได้เพียง 7.9 กิกะวัตต์ ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็ไม่ต่างจากปีนี้ที่มีการผลิตโซลาร์เซลล์ออกมา 7.7 กิกะวัตต์ แต่มีความต้องการเพียง 3.8 กิกะวัตต์เท่านั้น คาดว่าความต้องการในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อย 9.6 ไปอยู่ที่ 4.2 กิกะวัตต์ ผลที่ตามมาคือราคาจากวันนี้ที่โซลาร์เซลล์มีราคา 4.2 ดอลลาร์ต่อวัตต์ น่าจะเหลือเพียง 2 ดอลลาร์ต่อวัตต์ในปลายปี 2009 ยิ่งถูกน่าจะยิ่งดี คนจะได้ติดเพิ่มเยอะๆ ที่มา - Tech-On » lew's blog 872 reads
https://jusci.net/node/871
โซลาร์เซลล์กำลังล้นตลาด มูลค่าตลาดปีหน้าอาจลดลง 20%
ผมว่าคงจะดี ถ้าปักป้ายกระทู้หนึ่ง ให้มือใหม่สงสัย หัดทำ หรือมีปัญหา ไว้ถาม แล้วคนที่รู้ช่วยกันตอบ ขอวิสาสะประเดิมให้เองนะครับ ‹ แสดงความเห็น+เสนอแนะปรับปรุง Jusci.Net » 36 reads
https://jusci.net/node/872
มือใหม่ถามที่นี่ (FAQ)
ปุ๋ยชีวภาพที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปนั้นมักมาจากปัสสาวะหรืออุจจาระของคนหรือสัตว์ ซึ่งได้มาจากตามบ้านเรือนและฟาร์ม แต่ที่ต่อไปที่เราอาจจะไปเอาวัตถุดิบนั้นอาจเป็นที่ร้านทำผมก็เป็นได้! ด้วยหลักการที่ว่า ผมของคนเรานั้นมีไนโตรเจนอยู่ถึง 15% ซึ่งหากผ่านกระบวนการแล้ว ก็สามารถนำไปเป็นแหล่งไนโตรเจนของพืชได้ ทางคุณ VD Zheljazkov และคณะนักวิจัยจาก Mississippi Sate University จึงได้ทำการศึกษาโดยนำเส้นผมมนุษย์มาหมักเป็นปุ๋ยเทียบกับกลุ่มที่ใช้ปุ๋ยธรรมดา ผลพบว่า การเพิ่มเส้นผมในอัตราส่วน 5 และ 10% โดยน้ำหนักนั้น ทำให้ผลผลิตของผักกาดแก้วที่เพาะดีกว่ากลุ่มที่ใช้ปุ๋ยธรรมดา ผู้วิจัยสรุปว่าเส้นผมของคนเรา ก็สามารถเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยที่ใช้กับพืชได้ แต่ไม่เหมาะสำหรับพืชโตเร็วเนื่องจากเส้นผมนั้นใช้เวลานานกว่าที่จะย่อยสลาย เป็นที่คาดการณ์กันว่าเราใช้พลังงานไปกับกระบวนการสร้างปุ๋ยแอมโมเนียสังเคราะห์ (กระบวนการ Haber) ถึงกว่า 1% ของพลังงานที่มนุษย์ใช้ หรือคิดเป็นกว่า 150 กิกะวัตต์ ดังนั้นกระบวนการทางชีวภาพอาจช่วยลดการใช้พลังงานในส่วนนี้ได้ ที่มา: HortTechnology via Wired » pawinpawin's blog 309 reads
https://jusci.net/node/873
เส้นผมก็เป็นปุ๋ยได้
ไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ยังคงเป็นปัญหาในกลุ่มประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร (รวมทั้งประเทศไทยด้วย) ถึงแม้จะมีมาตรการในการกำจัดยุงมากมายเช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง แต่ว่าดูเหมือนว่ายุงก็จะยังคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ คราวนี้นักวิจัยมีไอเดียใหม่ๆ ด้วยการทำให้ชีวิตของยุงสั้นลงครับ คุณ Scott O'Neill จาก University of Queensland ในออสเตรเลีย กำลังศึกษาวิธีการย่นย่อชีวิตของยุง Aedes aegypti ซึ่งเป็นยุงชนิดที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสเดงกี่ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก โดยมีหลักการคือ ให้ยุงติดเชื้อแบคทีเรีย Wolbachia ซึ่งลูกยุงที่เกิดจากแม่ยุงที่ติดเชื้อนี้จะมีชีวิตสั้นมากจนไม่เพียงพอต่อการเติบโตของเชื้อไวรัสไข้เลือดออก เพราะเชื้อไวรัสเดงกี่จะต้องการเวลาโดยประมาณสองสัปดาห์ก่อนที่เชื้อจะสามารถติดต่อไปยังคนได้ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าเรายังไม่มีข้อมูลของผลกระทบต่อระบบนิเวศในระยะยาวออกมาครับ ที่มา: Science via Health Blog, MedGadget
https://jusci.net/node/874
กำจัดไข้เลือดออกด้วยการย่นชีวิตยุง
แม้ราคาน้ำมันจะลดลงจนยอมรับกันได้ทั่วไปแล้ว แต่ความวิตกว่าพลังงานฟอสซิลจะมีราคาไม่คงที่ยังคงมีอยู่ทั่วไป และจะเป็นประเด็นความมั่นคงไปอีกนาน ล่าสุดทางมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดก็ได้รับเงินบริจาคจำนวนถึง 100 ล้านดอลลาร์เพื่อแก้สร้างทางออกสำหรับปัญหานี้ในระยะยาว เงินบริจาคนี้แบ่งออกเป็นส่วนๆ คือ 50 ล้านดอลลาร์จากสถาบันพลังงาน Precourt ซึ่งเป็นสถาบันที่ตั้งตามชื่อของผู้บริหารบริษัทน้ำมัน อีก 40 ล้านดอลลาร์มาจากสามีภรรยา Thomas Steyer และ Kat Taylor อีกสิบล้านนั้นมาจาก Douglas Kimmelman, Michael Ruffatto ผู้บริหารบริษัทด้านพลังงาน และ Eric Schmidt ผู้บริหารกูเกิล ปัจจุบันเงินทุนวิจัยของสแตนฟอร์ดสำหรับการวิจัยด้านพลังงานทดแทนเป็นเงินปีละ 30 ล้านดอลลาร์อยู่แล้ว ที่มา - Reuters » lew's blog 381 reads
https://jusci.net/node/875
สแตนฟอร์ดได้รับเงิน 100 ล้านดอลลาร์สร้างสถาบันพลังงานทดแทน
คนเรามักจะมีความรู้สึกไม่ดีเมื่อต้องอยู่บ้านที่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเสมอ แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาที่ดูแนวโน้มดังกล่าวมาก่อน วันนี้ คุณ Anke Huss และนักวิจัยจาก University of Bern สวิตเซอร์แลนด์ ได้คำตอบบางส่วนแล้วครับ นักวิจัยได้ทำการศึกษาชาวสวิสที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงขนาด 220-380kV ในช่วงปี 2000 ถึง 2005 โดยเมื่อทำการขจัดตัวแปรกวนออกไปแล้วพบว่า ผู้ที่พักอาศัยอยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงในระยะ 50 เมตรมีโอกาสไม่แตกต่างจากผู้ที่อยู่ไกลออกไปในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (ถ้าพูดเป็นภาษาสถิติคือมีโอกาสเป็น 1.24 เท่าโดย 95%CI 0.80-1.92) อย่างไรก็ดีเมื่อคิดเรื่องเวลาแล้ว ผู้ที่อาศัยเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และ 15 ปีมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ที่อยู่ไม่ถึง 5 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้า 10 ปีมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์มากกว่า 1.51 เท่า (95%CI 0.91-2.51) และผู้ที่อยู่นานถึง 15 ปีมีโอกาสเป็นมากกว่า 1.78 เท่า (95%CI 1.07-2.96) นอกจากนี้ผลการศึกษากับโรคสมองเสื่อมในวัยชรา (senile dementia) ยังพบความเสี่ยงในแบบเดียวกัน แต่สำหรับโรคอื่นเช่นพาร์กินสันแล้วไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีอาการความจำเสื่อม บุคลิกภาพเสื่อมและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการดูแลตนเองเช่นไม่สามารถทานอาหารได้เองหรือเข้าห้องน้ำเองได้ สาเหตุยังไม่เป็นที่แน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากการสะสมของโปรตีน Amyloid beta ในสมอง ที่มา: American Journal of Epidemiology » pawinpawin's blog 483 reads
https://jusci.net/node/876
การพักอยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงนานๆ อาจทำให้สมองเสื่อม
รายงานล่าสุดในวารสารวิชาการ Addiction โดยดร. Alexander C. Wagenaar ได้รายงานถึงการศึกษารายงานวิชาการทั้งหมด 112 ฉบับในช่วงเวลากว่าสี่สิบปี ให้ข้อสรุปว่าการขึ้นภาษีและราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลอย่างต่อพฤติกรรมการดื่ม รายงานฉบับนี้ระบุถึงผลกระทบต่อพฤติกรรมการดื่ม เมื่อมีการขึ้นภาษีแอลกอฮอล์ว่ามีผลทั้งผู้ที่ดื่มมากและน้อย และยังมีผลโดยไม่ขึ้นกับอายุผู้ดื่ม ว่าแล้วก็ขึ้นภาษีกันอีกสักทีดีไหม? ที่มา - PhysOrg » lew's blog 28 reads
https://jusci.net/node/877
ผลวิจัยสรุปชัด ราคามีผลต่อพฤติกรรมการดื่ม
รายงานวิจัยล่าสุดจาก UC Davis โดยศาสตราจารย์ Bill McCarthy และนิสิตปริญญาโท Teresa Casey ระบุถึงสถิติที่น่าสนใจว่าคู่รักวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมในเชิงอาชญากรรมต่ำกว่าวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่รักของตนถึงร้อยละ 20 และเมื่อดูถึงพฤติกรรมการใช้สารเสพติดแล้ว คู่รักจะใช้สารเสพติดต่ำกว่าถึงร้อยละ 58 งานวิจัยระบุว่าสถิติไม่ต่างกันมากระหว่างคู่รักที่มีหรือไม่มีเพศสัมพัธ์กัน งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร American Sociological Review เล่มล่าสุด ที่มา - PhysOrg » lew's blog 399 reads
https://jusci.net/node/878
ความรักช่วยลดอาชญากรรมและการใช้ยาเสพติด?
การใช้สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบไปทำหน้าที่ต่างๆ นั้นได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัยและรักษาไปแล้ว (รวมถึงในบ้านเราก็มีทำอยู่ประปราย) แต่การใช้เซลล์นั้นๆ มักมาจากตัวของคนที่โตแล้วไม่ใช่ตัวอ่อน วันนี้องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA) ได้อนุมัติให้ใช้เซลล์จากตัวอ่อนของมนุษย์นี้ในขั้นทดลองเป็นครั้งแรกแล้วครับ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ทำการทดลองในครั้งนี้คือบริษัท Geron Corp ซึ่งนำโดย Dr. Thomas Okarma โดยงานวิจัยชิ้นแรกนี้จะเป็นการศึกษาการฉีดสเต็มเซลล์ลงในไขสันหลังของผู้ป่วยที่มีปัญหาอัมพาตที่ขาสองข้าง (มักเกิดจากอุบัติเหตุต่อไขสันหลังทำให้เดินไม่ได้แต่ใช้แขนได้ตามปกติ) โดยหวังว่าสเต็มเซลล์นี้จะเข้าไปทดแทนเซลล์เยื่อหุ้มไขสันหลังเดิมที่เสียไปของผู้ป่วย เหมือนกับในสัตว์ทดลองที่ประสบผลสำเร็จไปแล้ว อย่างไรก็ตามการศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาในระยะที่หนึ่งซึ่งศึกษาเพียงผลข้างเคียงจากการใช้วิธีการรักษาแบบนี้เท่านั้น จึงยังไม่สามารถยืนยันถึงความสำเร็จในผู้ป่วยได้ สเต็มเซลล์ที่มาจากตัวอ่อนมนุษย์นี้ได้รับการถกเถียงกันมากในประเด็นของจริยธรรม เนื่องจากตัวอ่อนมนุษย์ที่ถูกเอาสเต็มเซลล์นี้ออกมาจะต้องถูกทำลายทิ้ง ไม่ต่างอะไรจากการคัดเลือกตัวอ่อนจากวิธีการช่วยผู้มีบุตรยากบางวิธีที่ตัวอ่อนจำนวนหนึ่งที่ไม่สมบูรณ์จะถูกทำลายทิ้ง ทำให้งานวิจัยมักจะไม่ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมเสมอ มีผู้สังเกตว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการสิ้นสุดตำแหน่งของประธานาธิบดีบุช ซึ่งไม่ค่อยสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ อย่างไรก็ตามทางบริษัทที่ทำการวิจัยบอกว่าเป็นเพียงแค่เหตุบังเอิญเท่านั้น และข่าวนี้ทำให้หุ้นของ Geron ขึ้นกว่า 50% หมายเหตุ เซลล์ คือหน่วยย่อยที่สุดของสิ่งมีชีวิต (ยกเว้นไวรัสและไพรออน) สำหรับมนุษย์แล้ว เมื่อเซลล์อสุจิจากพ่อและเซลล์ไข่จากแม่มาผสมกัน จะทำให้เกิดเซลล์ที่มีความสามารถที่จะเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นเซลล์ต่างๆ ได้หลากหลาย เราเรียกเซลล์ที่มีความสามารถเปลี่ยนตัวเองได้นี้ว่าสเต็มเซลล์ (stem cell - จากคำว่า stem ที่แปลว่าลำต้นหรือก้านของต้นไม้) สเต็มเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวและพัฒนาเจาะจงไปเรื่อยๆ และในที่สุดจะเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้านเพียงเท่านั้น (เช่นเซลล์ประสาท เซลล์ผิวหนัง เซลล์กล้ามเนื้อ) โดยสเต็มเซลล์ในผู้ใหญ่นั้นยังคงมีอยู่แต่จะไม่มีความสามารถที่หลากหลายเท่าเซลล์จากตัวอ่อน เช่น สเต็มเซลล์จากไขกระดูกผู้ใหญ่ อาจโตเป็นเซลล์เม็ดเลือดได้ แต่ไม่สามารถโตเป็นเซลล์ประสาทได้เป็นต้น (ลองดูภาพประกอบได้ที่ Wikipedia) เนื่องจากความที่เซลล์บางประเภทเช่นเซลล์ประสาทนั้นตายแล้วตายเลยไม่สามารถแบ่งตัวออกมาได้เองอีก ทำให้เกิดความคิดที่จะนำสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์ที่ยังมีความสามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นเซลล์ประสาทได้อยู่มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านระบบประสาทดังในข่าว การศึกษาวิจัยในมนุษย์สำหรับยาหรือวิธีการรักษานั้นแบ่งเป็นสี่ระยะ (Phase) คือระยะแรกจะมุ่งศึกษาเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการรักษาเท่านั้น ระยะที่สองจะศึกษาความสำเร็จในการใช้กับผู้ป่วยจริงในกลุ่มเล็กๆ ระยะที่สามศึกษาในผู้ป่วยจริงจำนวนมากขึ้น และระยะที่สี่คือการศึกษาหลังจากที่ยาหรือวิธีการรักษานั้นได้ออกมาใช้แพร่หลายแล้ว สำหรับในประเทศไทย ทางแพทยสภานั้นได้จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดแล้วและมีการประชุมเป็นระยะ ที่มา: Wired News, The Wall Street Journal Blog, WSJ Health Blog, Geron » pawinpawin's blog Login or register to post comments 656 reads
https://jusci.net/node/879
สหรัฐไฟเขียว: ทดลองใช้สเต็มเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ได้
เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ฝูงวาฬเสปิร์ม (Sperm Whale) จำนวน 45 ตัวได้เกยตื้นบริษัทชายฝั่งเกาะแทสมาเนียร์ทางใต้ของออสเตรเลีย เมื่อหน่วยกู้ภัยไปถึงนั้นมีเพียง 7 ตัวที่ยังมีชีวิตอยู่ และค่อยๆ เสียชีวิตลงทีละตัวจนตัวสุดท้ายได้ตายไปเมื่อวานนี้ วาฬเสปิร์มเป็นสัตว์มีฟันที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยลำตัวเมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ 20.5 เมตรและหนักถึง 57 ตัน และมีอายุยืนยาวได้ถึง 70 ปี ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าทำไมวาฬเหล่านี้จึงขึ้นมาเกยตื้น แต่นักวิทยาศาสตรเชื่อกันว่าความเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำทำให้ระบบนำร่องในตัววาฬเหล่านี้ทำงานผิดพลาด ที่มา - PhysOrg ที่มาภาพและข้อมูลเพิ่มเติม - Wikipedia » lew's blog 358 reads
https://jusci.net/node/880
ฝูงวาฬเกยตื้นที่เกาะแทสมาเนียร์ เสียชีวิตทุกตัวแล้ว
ทางการจีนมีความชัดเจนตั้งแต่ปีที่แล้วว่ากำลังวางแผนสร้างสถานีอวกาศของตัวเอง โดยจะเริ่มยิงในช่วงปี 2010 ถึง 2011 มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ไม่มีใครเคยเห็นว่ารูปร่างหน้าตาของสถานีอวกาศที่ว่านั้นจะเป็นอย่างไรจนงานตรุษจีนในวันนี้ที่มีการเปิดตัวโมเดลของโมดูล “เทียงกง 1” เป็นครั้งแรก ขณะนี้ข้อมูลเกี่ยวกับโมดูลเทียงกง 1 นี้ยังมีน้อยมาก เรารู้เพียงว่ามันมีน้ำหนักประมาณ 8 ตัน และจะเป็นจุดพักสำหรับจรวดเฉินซู่ 8, 9, และ 10 ก่อนจะมีการติดตั้งโมดูลเทียงกง 2 และ 3 ภายในปี 2015 “เทียงกง” แปลว่า สถานที่ในสวรรค์ ที่มา - Engadget » lew's blog Login or register to post comments 553 reads
https://jusci.net/node/882
จีนโชว์โมเดลสถานีอวกาศ "เทียงกง 1" ครั้งแรกในงานตรุษจีน
ภาวะโลกร้อนกำลังทำให้น้ำแข็งขั้วโลกลดลงอยู่ทุกปีอย่างที่เป็นข่าวมาเสมอแต่รายงานล่าสุดที่ตีพิมพ์ลงใน Proceedings of the National Academy of Sciences ได้รายงานถึงความเกี่ยวเนื่องของพื้นที่น้ำแข็งและความอันตรายต่อสายพันธุ์เพนกวินจักรพรรดิ งานวิจัยนี้เป็นการนำเอาพื้นที่น้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกามาจำลองการผสมพันธุ์ของเพนกวิน ผลที่ได้คือเมื่อถึงปี 2100 นั้น การผสมพันธุ์จะเหลือเพียง 400 คู่เทียบกับ 6,000 คู่ในปัจจุบัน ทำให้สถานะของมันในตอนนั้นกลายเป็นกึ่งสูญพันธุ์ไป ที่มา - USA Today » lew's blog 412 reads
https://jusci.net/node/883
เพนกวินจักรพรรดิอาจจะสูญพันธุ์เพราะโลกร้อน
ช่วงหลังๆ นี่มีข่าวยาน (ราคาแพง) ของนาซ่าแฮงค์ๆ กันค่อนข้างเยอะ ล่าสุดยาน Spirit ซึ่งเป็นรถสำรวจดาวอังคารที่ทำงานมาห้าปีแล้วก็ไม่ตอบสนองต่อคำสั่งไปดื้อๆ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์บนยาน Spirit นั้นตอบรับคำสั่งว่าได้รับคำสั่งถูกต้องแล้ว แต่ไม่มีการเคลื่อนที่ตามคำสั่งที่ได้รับ อีกทั้งยังไม่มีการบันทึกการทำงานในช่วงหลายวันที่ผ่านมาลงหน่วยความจำตามปรกติ ข่าวดีคือเมื่อวานนี้ระบบทั้งหมดกลับมาทำงานตามปรกติแล้ว คาดว่าจะเป็นเพราะรังสีจากดวงอาทิตย์เข้ามารบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์บนยานไปชั่วคราว ยาน Spirit ถูกส่งไปพร้อมกับยาน Opportunity เพื่อสำรวจดาวอังคารเป็นระยะเวลา 90 วัน แต่ยานทั้งสองยังคงทำงานจนทุกวันนี้ เป็นระยะเวลารวมกว่าห้าปีแล้ว ที่มา - New York Times » lew's blog 323 reads
https://jusci.net/node/884
รถสำรวจดาวอังคาร Spirit สับสนชั่วคราว
แม้จะเชื่อกันว่าบรรพบุรุษของมนุษย์นั้นมีประวัติมาประมาณสี่ล้านปีโดยประมาณ แต่หลังฐานที่เก่าแก่ที่สุดนั้นเป็นฟอสซิลอายุ 1.8 ล้านปีที่ค้นพบที่ประเทศจอร์เจีย แต่ล่าสุดห้องวิจัยในญี่ปุ่นได้ยืนยันว่าขวานที่ทำจากหินอุตกาบาตที่พบในมาเลเซียนั้นมีอายุถึง 1.83 ล้านปี นับเป็นหลักฐานของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ดียังไม่มีการพบซากกระดูกของมนุษย์กลุ่มนี้แต่อย่างใด โดยทีมงานระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างการค้นหาฟอสซิลกระดูกเพื่อยืนยันว่ามีมนุษย์โบราณอายุ 1.83 ล้านปีนี้อาศัยอยู่ในมาเลเซียจริงๆ ที่มา - Google News » lew's blog Login or register to post comments 249 reads
https://jusci.net/node/885
ค้นพบเครื่องมือมนุษย์โบราณอายุ 1.83 ล้านปีที่มาเลเซีย
คนชอบวิทยาศาสตร์แทบทุกคนคงต้องเคยมีช่วงเวลาที่มานั่งหมกมุ่นกับเจ้าก้อนเหลี่ยมๆ ที่ชวนให้เสียเวลากันทั้งวันทั้งคืนมาแล้ว มาวันนี้ศาสตราจารย์ Erno Rubik ผู้ประดิษฐ์ลูก Rubik ตัวแรกได้เปิดตัว Rubik 360 ทายาทรุ่นใหม่ให้เราได้เล่นกันอีกรอบ Rubik 360 เป็นพลาสติกทรงกลมซ้อนกันอยู่สามชั้น กติกาคือให้ผู้เล่นเอาลูกบอลหกลูกที่อยู่ข้างในออกมาให้อยู่ในหลุมที่ตรงกับสีของตัวเองให้ได้ ลูก Rubik ถูกประดิษฐ์ในประเทศฮังการีมาตั้งแต่ปี 1974 ก่อนจะได้มีโอกาสออกมาสัมผัสกับโลกทุนนิยมในปี 1980 จนวันนี้มันขายไปได้กว่า 350 ล้านลูกแล้ว The Telegraph ที่รายงานข่าวนี้มีการรวบรวมสถิติไว้ได้น่าสนใจมาก การแข่งระดับโลกครั้งแรกในปี 1982 แชมป์โลกทำความเร็วได้ 22.95 วินาที แชมป์โลกปีล่าสุดแก้ Rubik ได้ในเวลาเพียง 7.08 วินาที มีการเก็บสถิติไว้อีกหลายอย่าง เช่น การแก้ด้วยมือเดียว, แก้ด้วยเท้า, ฯลฯ สถิติแก้ Rubik ช้าที่สุดคือ Graham Parker ที่เพิ่งแก้ได้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ใช้เวลารวม 26 ปี ที่มา - The Telegraph » lew's blog Login or register to post comments 382 reads
https://jusci.net/node/886
Rubik กลับมาแล้วด้วย Rubik 360
ดร.อารอน แคร์รอล (Dr.Aaron Carroll) และ ดร.ราเชล ฟรีแมน (Dr.Rachel Vreeman) สองกุมารแพทย์จาก วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา (Indiana University School of Medicine) สหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลการวิเคราะห์ ข้อปฏิบัติและความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ 7 ข้อ เป็นรายงาน “มายาคติทางการแพทย์” ผ่านวารสาร บริติชเมดิคัลเจอร์นัล (British Medical Journal) ฉบับธันวาคม 2550 มีหลายความเชื่อด้านสุขภาพ ที่เข้าใจกันผิดๆ แต่ก็สอนสืบกันมา หรือเผยแพร่อย่างขาดการกลั่นกรอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกอินเตอร์เน็ต) ไม่เว้นแพทย์บางท่านเองก็ยังเข้าใจผิด ในจำนวนนั้นรวมถึง 7 ข้อที่รายงานนี้แจกแจงไว้ ได้แก่ … (1) มนุษย์ใช้สมองแค่ 10% เท่านั้น ? ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1900 เชื่อกันว่าสมองของคนเราทำงานเพียงแค่ 10% ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ใครคนหนึ่งกุขึ้น เพื่อที่จะต้องการครอบงำกลุ่มคนหมู่มาก กระทั่งวิทยาการก้าวหน้า นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาสมองจากภาพสแกน ก็ไม่พบว่ามีสมองส่วนไหนที่อยู่นิ่งเฉย หรือว่ามีเซลล์สมองในบริเวณไหนไม่มีปฏิกิริยาใดๆ และจากการศึกษากระบวนการทางเคมีของเซลล์สมองบ่งชี้ว่าไม่มีสมองบริเวณไหนที่ไม่ทำงาน และจากการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับความกระทบกระเทือนที่สมองยังบ่งชี้ว่าสมองที่ถูกทำลายเกือบทั้งหมดนั้น จะมีบริเวณจำเพาะที่เมื่อถูกทำลายแล้วจะมีผลต่อการสมรรถภาพร่างกาย (2) ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ? “ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าคนเราต้องการน้ำมากขนาดนั้น” ดร.ฟรีแมนระบุ ซึ่งเธอคาดว่าความเชื่อนี้มีที่มาจากสภาโภชนาการของสหรัฐฯ เมื่อปี 2548 ที่แนะนำให้ประชาชนบริโภคของเหลววันละ 8 แก้ว ต่อมาเนื้อความ “ของเหลว” ตกหล่น เหลือจำกัดความเฉพาะแค่ “น้ำเปล่า” ไม่ได้หมายรวมถึงน้ำผัก ผลไม้ กาแฟ และของเหลวอื่นๆ เข้าไปด้วย อีกหนึ่งต้นตอของความเชื่อนี้น่าจะมาจาก เฟรเดอริค สแทร์ (Frederick Stare) โภชนากรที่แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มวันละ 6-8 แก้ว ซึ่งครอบคลุมทั้งน้ำเปล่า ชา กาแฟ นม เบียร์ และซอฟดิงก์อื่นๆ ต่อมาการแนะนำที่ปราศจากข้อมูลอ้างอิงของสแทร์ถูกหักล้างด้วยข้อมูลของ ไฮนซ์ วาลติน (Heinz Valtin) ที่รายงานไว้ในวารสารอเมริกันเจอร์นัลออฟฟิสิโอโลจี (American Journal of Physiology) ที่ว่าการบริโภคนม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ เป็นประจำในแต่ละวันเท่านี้ร่างกายก็ได้รับของเหลวเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ในทางตรงกันข้าม การดื่มน้ำมากเกินไปอาจเกิด “ภาวะน้ำเป็นพิษ” (water intoxication) (หมายเหตุ - อย่างไรก็ตาม แม้ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมากแบบผิดปกติ แต่ก็ ไม่ได้ หมายความว่ายิ่งดื่มน้ำน้อยแล้วดี ดื่มน้อยเกินไปก็มีผลเสียเช่นกัน เช่น ถ้าช่องปากและช่องคอแห้ง เชื้อโรคจะเติบโตได้ดี ก่อให้เกิดกลิ่นปากรูปแบบหนึ่ง ทำให้เป็นโรคง่าย และหากมีแผลจะปากจะยิ่งอักเสบ และ จงอย่ากลัวดื่มน้ำเพราะกลัวภาวะน้ำเป็นพิษ ภาวะนี้ไม่เกิดง่าย ไม่พบในคนปกติ เพราะเมื่อดื่มน้ำเกินจำเป็น ร่างกายจะกำจัด (ปัสสาวะ) ได้หมด แต่ผู้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น เฉพาะบางกรณีพิเศษ เช่น กรณีผู้เสียเหงื่อดื่มน้ำเปล่าแทนที่จะดื่มน้ำเกลือแร่ เมื่อร่างกายขาดทั้งน้ำและเกลือแร่ ทว่ากินแต่น้ำ ยิ่งทำให้ความเข้มข้นในเลือดน้อยลงไปอีก จึงเกิดภาวะช็อก ฯลฯ ดูเพิ่ม Water intoxication — ผู้รายงาน) (3) แม้ตายไปแล้ว แต่เล็บและเส้นผมยังคงงอก ? ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง” (All Quiet On The Western Front) บรรยายไว้ว่าเล็บของเพื่อนคนหนึ่งยาวขึ้นหลังจากพิธีฝังศพผ่านไปแล้ว จอห์นนี คาร์สัน (Johnny Carson) นำความเชื่อนี้มาเขียนเป็นเรื่องขำขันจนกลายเป็นความเชื่ออมตะว่า หลังจากตายไปแล้ว 3 วัน ผมและเล็บของเราจะงอกใหม่ แพทย์ส่วนใหญ่คิดว่านี่เป็นเรื่องจริงในตอนแรก แต่เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่า ที่จริงแล้วขณะที่ศพกำลังแห้งลง เนื้อเยื่อส่วนที่นุ่มอย่างผิวหนังก็จะหดตัว ทำให้เผยชิ้นส่วนของเล็บมากขึ้น ทำให้ดูว่ายาวออกมา เช่นเดียวกันเส้นผม ซึ่งจะสังเกตเห็นผิวหนังหดตัวได้น้อยกว่า ที่สำคัญฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ผมและเล็บยาวนั้นไม่มีทางทำงานหลังจากเจ้าของร่างสิ้นใจไปแล้วแน่นอน (4) ผมหรือขนงอกเร็วกว่าเก่าเมื่อโกน แถมหยาบและสีเข้มขึ้นด้วย ? ปี 2471 นักวิทยาศาสตร์ทดลองโกนผมแล้วเปรียบเทียบผมที่งอกใหม่กับผมที่ไม่ได้โกน ผลปรากฏว่าผมที่งอกขึ้นมาแทนผมที่ถูกโกนไปก่อนหน้านั้นไม่ได้มีสีเข้มหรือเส้นหนา หรืองอกเร็วไปกว่าผมปกติเลย การทดลองครั้งหลังๆ ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน ที่จริงแล้วเมื่อผมถูกโกนและงอกใหม่เป็นครั้งแรก จะยังเป็นเส้นผมทื่อๆ ตรงส่วนปลาย แต่เมื่อผ่านไปนานวันเข้า ปลายผมที่เคยแข็งทื่อก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพและอ่อนนุ่มขึ้น ส่วนที่มองเห็นเป็นสีเข้มกว่าปกติ เนื่องจากว่าในตอนแรกผมเส้นนั้นยังไม่ถูกแดดเผาทำลายให้สีซีดจางลง (5) อ่านหนังสือในที่แสงน้อยทำให้สายตาเสีย ? เรื่องนี้เป็นที่เชื่อถือกันอย่างแพร่หลาย และผู้ใหญ่ก็มักจะห้ามไม่ให้เด็กๆ อ่านหนังสือในที่มืดหรือที่ที่มีแสงน้อย มิฉะนั้นแล้วจะสายตาสั้นและต้องสวมแว่น เป็นต้น ความเชื่อนี้น่าจะมาจากจักษุแพทย์ที่บอกว่าหากใช้สายตาในที่แสงสว่างน้อยกว่าปกติจะมีผลต่อการรับภาพของประสาทตา ทำให้อัตราการกระพริบตาลดลง ตาแห้งและระคายเคือง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนักวิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตายังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่าการอ่านหนังสือในที่มืดจะทำลายสุขภาพตาอย่างถาวร แต่อย่างไรก็ตาม ก็สามารถทำให้ดวงตาย่ำแย่และการมองเห็นด้อยลงเป็นเวลาชั่วครั้งชั่วคราวได้ (6) รับประทานไก่งวงทำให้ง่วงนอน ? เดิมทีแพทย์และนักวิจัยต่างก็เชื่อว่าหากรับประทานไก่งวงแล้วจะรู้สึกง่วงนอน แต่พบว่าสารทริปโตแฟน (tryptophan) ในไก่งวงนั่นเองที่เป็นสาเหตุให้ผู้ที่รับประทานไก่งวงรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ทว่าในไก่งวงไม่ได้มีทริปโตแฟนมากไปกว่าไก่ทั่วไปหรือเนื้อวัวเลย มีเท่าๆ กันประมาณ 350 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 115 กรัม ขณะที่แหล่งโปรตีนอื่นๆ อย่างเนื้อหมูหรือชีสมีทริปโตแฟนมากกว่าไก่งวงเสียอีกเมื่อเทียบเป็นน้ำหนัก เพียงแต่ว่าผู้คนนิยมบริโภคไก่งวงกันมากเป็นพิเศษในช่วงวันหยุด และยังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย เหตุนี้จึงทำให้รู้สึกง่วงและหลับง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้แพทย์ยังนำกลไกในร่างกายมาอธิบายได้ว่าอาการง่วงนอนมักเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาหารมื้อนั้นเป็นเนื้อสัตว์เสียส่วนใหญ่ หรือมีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมาก จะกระตุ้นให้รู้สึกง่วงนอนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ลดลง (7) ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในโรงพยาบาล เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ? ที่ผ่านมายังไม่เคยมีผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิตเนื่องมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่พบว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่รบกวนการทำงานของอุปกรณ์การแพทย์บางอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น เครื่องควบคุมการให้สารละลายในผู้ป่วย (infusion pump), เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของระบบหัวใจ (cardiac monitor) ทว่าขณะที่ยังไม่มีรายงานใดๆ ยืนยันถึงอันตรายของการใช้โทรศัพท์มือในโรงพยาบาล ในปี 2545 มีการเผยแพร่เรื่องที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งแล้วปรากฏว่าเครื่องควบคุมการให้สารอะดรีนาลีน (adrenaline) ทำงานผิดปกติ หลังจากนั้นวอลล์สตรีทเจอร์นัล (Wall Street Journal) ก็นำก็รายงานมากว่า 100 รายงานที่ระบุว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่รบกวนการทำงานของอุปกรณ์แพทย์ในช่วงก่อนปี 2536 ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือในโรงพยาบาล เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาวิจัยถึงเรื่องดังกล่าวในประเทศอังกฤษ พบว่าโทรศัพท์มือถือรบกวนการทำงานของอุปกรณ์แพทย์เพียง 4% เท่านั้น และต้องอยู่ห่างจากอุปกรณ์นั้นภายในระยะไม่เกิน 1 เมตร และจากการทดสอบการใช้โทรศัพท์มือถือ 300 ครั้งในห้องพักพื้น 75 ห้อง ไม่พบสิ่งใดผิดปกติเลย ในทางตรงกันข้ามพบว่าแพทย์ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนสามารถสื่อสารได้ชัดเจน และลดความผิดพลาดได้มากยิ่งขึ้น “เมื่อพวกเราเอ่ยเรื่องนี้ขึ้นมาในตอนแรก แพทย์ส่วนใหญ่จะยังไม่เชื่อว่านี่เป็นเรื่องจริง กระทั่งพวกเขาได้ศึกษาหลักฐานต่างๆ อย่างละเอียดแล้ว เขาจึงยอมรับกันว่าที่พวกเขายึดถือมานั้นมันไม่ได้ถูกต้องไปทั้งหมด” ดร.ฟรีแมนกล่าว ที่มาข้อมูล - บริติชเมดิคัลเจอร์นัล - แปลโดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 ธันวาคม 2550 ที่มารูป - เดลี่เมล » kru_taweepong's blog Login or register to post comments 266 reads
https://jusci.net/node/887
British Medical Journal แก้ 7 ความเชื่อด้านสุขภาพ
พอดีการรวมเว็บที่ล่าช้าไปมาก เริ่มมีความคืบหน้าบ้างแล้วนะครับ ระหว่างความเปลี่ยนแปลงนี้เลยมีเรื่องที่สมาชิกทุกท่านต้องลำบากขึ้นนิดหน่อยกัน สมาชิกทุกท่านขอให้สมัครสมาชิกในชื่อเดียวกันที่ Blognone ด้วยครับ ในกรณีที่มีชื่อซ้ำกันอยู่แล้ว แต่เป็นคนละคนขอให้เมลเข้าไปที่ Blognone Group (blognone@googlegroups.com) เพื่อแก้ปัญหาเป็นรายๆ ไป ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ หลังจากโมดูล SSO เริ่มพัฒนาเข้าช่วงทดสอบ Jusci จะปิดรับสมาชิกใหม่นะครับ โดยสมาชิกทุกท่านจะสามารถสมัคร Blognone แล้วเข้าใช้งาน Jusci ได้เลย มีความเห็นอะไรเพิ่มเติมก็แจ้งกันเข้ามาได้ครับ » lew's blog Login or register to post comments 235 reads
https://jusci.net/node/888
ประกาศเรื่องการสมัครสมาชิกใหม่
ประเด็นพลังงานสะอาดยังคงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไป แต่แนวโน้มในปีที่ผ่านมาก็นับว่าดีมากเมื่อกลุ่ม Global Wind Energy Council ได้ออกมารายงานสภาพรวมตลาดกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมว่ามียอดการติดตั้งสูงถึง 27 กิกะวัตต์ในปีที่ผ่านมา สูงขึ้นกว่าปีก่อนถึงร้อยละ 30 มูลค่ารวมตลาดอยู่ที่ประมาณห้าหมื่นล้านดอลลาร์ สัดส่วนการเพิ่มขึ้นของการผลิตพลังงานนั้นสหรัฐฯ มาเป็นที่หนึ่งด้วยการใช้พลังงานลมถึงร้อยละ 42 ในแหล่งพลังงานสร้างใหม่ ส่วนในยุโรปนั้นกระแสความตอบรับพลังงานลมก็กว้างกว่าเดิมจากที่เคยกระจุกตัวอยู่ใน เนเธอร์แลนด์, เยอรมัน, และสเปนเท่านั้น ในปีนี้ฝรั่งเศสและอังกฤษก็เริ่มมีการใช้พลังงานลมมากขึ้นมาก พลังงานลมนั้นมีข้อดีหลายอย่าง เช่นเสถียรภาพที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทั้งกลางวันและกลางคืน หรือจะเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้สูงมากนัก แต่อย่างไรก็ดีพลังงานลมยังถูกโจมตีในประเด็นมลภาวะทางเสียงอยู่มาก ที่มา - ArsTechnica » lew's blog Login or register to post comments 202 reads
https://jusci.net/node/889
สรุปผลการติดตั้งเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าพลังงานลมในปี 2008
รายงานการศึกษาตัวอย่างซากฟอสซิล Maiacetus inuus บรรพบุรุษของวาฬทะเลที่พบในประเทศปากีสถานได้แสดงให้เห็นว่าสัตว์ชนิดนี้ออกลูกบนบกก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสัตว์น้ำเต็มตัวเช่นปัจจุบัน การค้นพบนี้เกิดขึ้นได้เพราะซากวาฬที่พบมีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก จน Philip D. Gingerich และทีมงานจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสามารถศึกษาถึงลักษณะของโครงสร้างแล้วมีหลักฐานสนับสนุนว่า Maiacetus inuus นี้ออกลูกโดยให้หัวออกมาก่อนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ที่คลอดลูกบนบก ทีมงานเชื่อว่า Maiacetus inuus นี้จะอาศัยบริเวณชายฝั่งโดยไม่สามรถเดินทางบนบกไปได้ไกลนัก ที่มา - PhysOrg, PLoS ภาพจากตัวงานวิจัย ใช้สัญญาอนุญาตแบบ CC-BY » lew's blog Login or register to post comments 251 reads
https://jusci.net/node/890
วาฬในยุคแรกออกลูกบนบก
นักวิจัยในอเมริกาสร้างระบบกุญแจติดรถยนต์ ป้องกันไม่ให้โทรไปขับไป แม้แต่ส่งข้อความก็ไม่ได้เช่นกัน นวัตกรรมระบบกุญแจนี้ชื่อ “key2safedriving” เป็นผลงานของนักวิจัยมหาวิทยาลัยยูทาห์ ที่มีวัตถุประสงค์ ต้องการลดจำนวนอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตบนท้องถนน โดยพึ่งพาเทคโนโลยีบลูทูธในการเชื่อมต่อกุญแจแบบไร้สายเข้ากับโทรศัพท์ ซู่สง โจว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ผู้ร่วมวิจัยกับวอลลี เคอร์รี นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กล่าวว่า “กุญแจสำคัญในการขับขี่อย่างปลอดภัยคือหลีกเลี่ยงการหันเหความสนใจ เราต้องการทำให้ระบบนี้เป็นแบบง่ายๆ และเป็นทางออกที่ประหยัดในการปรับปรุงให้เกิดการขับขี่อย่างปลอดภัย” ระบบกุญแจที่ว่าประกอบด้วย อุปกรณ์ที่บรรจุอยู่ในกุญแจรถหนึ่งดอกต่อสมาชิกหนึ่งคนในบ้านที่ใช้รถ จะทำหน้าที่เชื่อมต่อไร้สายเข้ากับผู้ใช้โทรศัพท์แต่ละเครื่อง ผ่านทางเทคโนโลยีบลูทูธ หรืออาร์เอฟไอดี เมื่อจะเปิดเครื่องยนต์ คนขับต้องเลื่อนกุญแจหรือกดปุ่ม อุปกรณ์จะส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือของคนขับ ให้เข้าไปอยู่ใน “โหมดขับขี่” ทำให้หน้าจอมือถือแสดงผลว่า “หยุด” ระหว่างนี้ ผู้ขับจะไม่สามารถคุยโทรศัพท์มือถือ หรือส่งข้อความสั้นได้แต่อย่างใด (ยกเว้นแต่ให้โทรไปยังเบอร์ฉุกเฉินอย่าง 191 หรือเบอร์อื่นที่อนุมัติไว้ก่อนแล้ว) และถ้ามีใครโทรเข้าในช่วงนั้นจะมีเสียงตอบกลับอัตโนมัติว่า “ชณะนี้กำลังขับรถ จะติดต่อกลับเมื่อถึงที่หมายโดยปลอดภัย” ที่มา : key2safedriving - ไทยรัฐ » kru_taweepong's blog Login or register to post comments 44 reads
https://jusci.net/node/891
กุญแจรถ ล็อกมือถือขณะขับ
บ้านเราเพิ่งติดระบบแจกใบสั่งอัตโนมัติกันไปไม่นาน แต่ในต่างประเทศนั้นระบบนี้ใช้กันมาพักใหญ่ๆ แล้วและสร้างประเด็นถกเถียงกันเป็นวงกว้างว่าช่วยลดอุบัติเหตุจริงหรือไม่ ประเด็นความปลอดภัยบนท้องถนนนั้นยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด แต่ที่อิตาลีนั้น ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แจกใบสั่งที่ว่านี้กับตำรวจนับสิบราย ตลอดจนบริษัทผู้รับเหมา กำลังถูกกล่าวหาว่าสมคบคิดกันลดเวลาไฟเหลืองให้สั้นลง เพื่อจะได้เพิ่มรายได้ให้กับตำรวจในการแจกใบสั่ง คดีนี้เป็นเรื่องขึ้นมาเนื่องจาก Roberto Franzini สารวัตประจำท้องที่ Lerici ไปสังเกตเห็นว่าตัวเลขใบสั่งจากระบบอัตโนมัตินั้นเพิ่มขึ้นจากที่จราจรตรวจจับกันตามปรกติเกือบเท่าตัว ในตอนนี้เอง Stefano Arrighetti โปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนาระบบตรวจจับนี้ก็ถูกจับกุม และตำรวจที่เกี่ยวข้องก็กำลังถูกสอบสวน เนื่องจากเชื่อว่าอาจจะมีการแบ่งรายได้กันระหว่างตำรวจและโปรแกรมเมอร์ ที่มา - ArsTechnica » lew's blog Login or register to post comments 237 reads
https://jusci.net/node/892
ระบบจับการฝ่าไฟแดงอัตโนมัติในอิตาลีถูกปรับให้แจกใบสั่งได้มากขึ้น
ปกติเรามักคิดว่าเราต้องเดาคำตอบเพราะว่าเราไม่รู้ว่าคำตอบคืออะไร อันที่จริงแล้วสมองเรารู้คำตอบนั้นแล้วต่างหาก เพียงแต่เราไม่รู้ว่าเรารู้! ข้อสรุปนี้มาจากการวิจัยในมหาวิทยาลัย Northwestern University ซึ่งแยกกลุ่มทดลองเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้รับคำชี้แจงให้ดูภาพและจดจำเอาไว้ ส่วนกลุ่มที่สองมีการเปิดภาพชุดเดียวกันให้ดู แต่ได้รับคำชี้แจงให้จดจำตัวเลขที่ผู้วิจัยบอก แล้วต้องตอบให้ถูกว่าเป็นเลขคู่หรือคี่ หลังจากนั้นทั้งสองกลุ่มจะถูกทดสอบความจำด้วยภาพที่ได้ฉายไปแล้ว ผลปรากฎว่ากลุ่มที่สองซึ่งถูกดึงความสนใจจากการดูภาพอยู่ตลอดเวลาสามารถจำภาพได้ถูกต้องแม่นยำกว่ากลุ่มแรกที่เพ่งสมาธิกับการจดจำภาพ และเป็นที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าที่กลุ่มที่สองซึ่งอ้างว่าเดาเอาเพราะรู้สึกคุ้นๆกับภาพเป็นพวกที่จดจำภาพได้มากที่สุดจากการทดสอบ นอกจากนี้ยังมีการยืนยันโดยการตรวจวัดคลื่นสมองด้วย พบว่าหลังจากที่ผู้เข้าร่วมทดลองเห็นภาพที่ได้เห็นไปแล้วประมาณ 0.25 วินาที จะมีคลื่นสัญญาณของความคิดในระดับจิตใต้สำนึกส่งออกมาจากสมอง ศาสตราจารย์ K. Paller ผู้ร่วมวิจัยในงานนี้ยังสรุปไว้ด้วยว่า “ที่จริงเราใช้ความคิดระดับจิตใต้สำนึกนี้ในชีวิตปกติประจำวันทั่วไป โดยเฉพาะการตัดสินใจแก้ปัญหา ทำข้อสอบหรือแม้กระทั่งการเลือกซื้อสินค้า” ที่มา LiveScience » terminus's blog Login or register to post comments 216 reads
https://jusci.net/node/893
เราเดาได้เพราะว่าเรารู้?
เหตุการณ์เป็นไปได้ยากไม่ใช่เหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป เมื่อดาวเทียมอิริเตียมชนกับดาวเทียม Cosmos 2251 เมื่อวานนี้ ส่งผลให้เกิดกลุ่มเมฆเศษซากกระจายทั่วบริเวณ ดาวเทียมอิริเดียมนั้นเป็นจริงๆ แล้วเป็นชุดดาวเทียมที่ทำงานร่วมกันอยู่ 33 ดวงการที่ระเบิดไปหนึ่งดวงจากเหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทอิริเดียมต้องหาวิธีแก้ด้วยการดึงวงโคจรดาวเทียมดวงอื่นเข้ามาแทนที่ ส่วน Cosmos 2251 เป็นดาวเทียมที่ยิงขึ้นไปตั้งแต่ปี 1993 และคาดว่าหยุดทำงานไปแล้ว นาซ่าระบุว่าจะต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์เพื่อประเมินอันตรายจากการชนกันนี้ต่อดาวเทียมดวงอื่นๆ แต่สำหรับสถานีอวกาศนานาชาตินั้นเชื่อว่ามีความเสี่ยงไม่มากนัก ที่มา - SPACE.com » lew's blog Login or register to post comments 565 reads
https://jusci.net/node/894
Iridium ชนกับดาวเทียมรัสเซีย
นักวิจัยได้ค้นพบปฏิกิริยาเคมีที่สามารถเปลี่ยนเซลลูโลสจากซังข้าวโพดให้เป็นฟรุกโตส แล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบ 5-hydroxymethyl-fufural (HMF) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบอื่นๆ ได้ เช่น สารประกอบ dimethylfuran (DMF) ซึ่งสามารถนำมาปรับปรุงเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนได้ รวมถึงสารเคมีอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันเราผลิตจากปิโตรเลียม สารประกอบ DMF นั้น ถึงแม้ปัจจุบัน ยังไม่นิยมนำมาเป็นเชื้อเพลิงเท่าเอธานอล แต่มีแนวโน้มที่ดีกว่าเอธานอล เนื่องจากการที่มีองค์ประกอบของคาร์บอนในโมเลกุลมากกว่าเอธานอล ที่มา - Chemistry World » darkdest's blog Login or register to post comments 32 reads
https://jusci.net/node/895
เชื้อเพลิงชีวภาพจากซังข้าวโพด
หลังจากหมดยุคสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาดูจะไม่สนใจด้านอวกาศเหมือนแต่ก่อน เช่นเดียวกับรัสเซียที่ฟุบลงไปพักใหญ่หลังโซเวียตล่มสลาย แต่ตอนนี้รัสเซียกำลังจะกลับมาพร้อมกับแผนการที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม นั่นคือส่งมนุษย์ลงไปบุกดาวอังคาร!! Roscosmos หรือหน่วยงานด้านอวกาศของรัสเซียได้ประกาศว่าจะสร้างสถานีอวกาศของตัวเอง โดยสถานีอวกาศนี้จะอยู่ในวงโคจรระดับต่ำ (low-orbit) และเป้าหมายของมันคือเป็นฐานการสนับสนุนโครงการด้านสำรวจดวงจันทร์ และโครงการสำรวจดาวอังคารที่จะตามมาในอนาคต สำหรับดวงจันทร์นั้น รัสเซียบอกว่าไม่ต้องการไปเที่ยวชมเป็นการชั่วคราวอีกแล้ว แต่ว่ามีแผนจะสร้างฐานสำหรับอยู่อาศัยถาวรบนดวงจันทร์ และการศึกษาวิจัยของฐานนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมสู่ดาวอังคารต่อไป ส่วนสถานีอวกาศนานาชาติที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นก่อสร้างล่าช้าไปถึง 5 ปี และมีระยะเวลาปฏิบัติงานเต็มที่สั้นมากเพียง 5 ปีเท่านั้น (เป้าหมายในตอนนี้จะสร้างเสร็จก่อนปี 2010 และกำหนดเดิมจะเลิกใช้ในปี 2015) รัสเซียจะเสนอให้ยืดอายุการทำงานออกไปเป็นปี 2020 แต่ก็ต้องดูการตัดสินใจของชาติสมาชิกอื่นๆ ด้วย ทางออกที่เป็นไปได้อีกทางของสถานีอวกาศนานาชาติคือเปลี่ยนการใช้สอยของมันไปเป็นอย่างอื่น เช่น ยานอวกาศระหว่างดวงดาว เป็นต้น ที่มา - The Future of Things » mk's blog Login or register to post comments 275 reads
https://jusci.net/node/896
รัสเซียเตรียมบุกดาวอังคาร!!
การสูบบุหรี่นั้นพบว่าส่งผลเสียต่อร่างกายมาก รวมทั้งยังพบว่าผู้ที่สูดควันบุหรี่มือสองนั้นมีโอกาสเกิดโรคต่างๆ มากมายจนมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ แต่ส่วนมากแล้วเรามักจะกล่าวถึงโรคระบบทางเดินหายใจ วันนี้นักวิจัยจากเคมบริดจ์ ได้แสดงให้เห็นว่าควันบุหรี่มือสองก็ทำให้มีโอกาสโง่ลงด้วยครับ ทีมนักวิจัยนำโดย David J Llewellyn ได้ทำการศึกษาผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ชาวอังกฤษที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจำนวน 4,809 คน โดยวัดปริมาณของโคตินีนในเลือด (โคตินีนเป็นสารที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย) และเทียบกับการวัดกระบวนการรับรู้และความเร็วในการคิด พบว่าผู้ที่มีระดับโคตินีนในปริมาณมากมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในกลุ่มที่มีความเร็วในการคิดช้ากว่าคนอื่น 1.44 เท่า (95%CI 1.07 - 1.94, p 0.02) ผู้วิจัยสรุปว่าการได้รับควันบุหรี่มือสองนั้นอาจสัมพันธ์กับความคิดช้าได้ อย่างไรก็ดี ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าจะสูบก็ช่วยเห็นใจคนรอบข้างด้วยนะครับ ที่มา: British Medical Journal » pawinpawin's blog Login or register to post comments 343 reads
https://jusci.net/node/897
การสูดควันบุหรี่มือสองอาจทำให้โง่ลง
ภารกิจแรกของการส่งยานสำรวจ CO2 ของนาซ่าล้มเหลวเหตุจากจรวดทำงานผิดปกติ เจ้าหน้าที่กล่าวว่าปัญหาเกิดจากเปลือก(fairing)ที่หุ้มดาวเทียมตรงหัวจรวดล้มเหลวในการแยกตัว หากผลการตรวจสอบได้รับการยืนยันเราคงจะสูญเสียภารกิจนี้ไป ยานสำรวจคาร์บอนในระดับวงโคจร หรือ Orbiting Carbon Observatory (OCO) มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ตำแหน่งหลักบนผิวโลกว่าที่ใดที่ปล่อย หรือดูดซับคาร์บอน George Diller ผู้บรรยายการปล่อยจรวดของนาซ่าได้ประกาศว่า “นี่คือศูนย์ควบคุมการปล่อยจรวด Taurus เราขอแจ้งเหตุขัดข้องในการปล่อยจรวดเป็นไปได้ว่าเราจะไม่ประสบความสำเร็จในการปล่อยยานในคืนนี้ ยาน OCO ไม่สามารถดำเนินการในวิถีทางที่เราได้วางภารกิจไว้ พวกเขายังคงเฝ้าดูข้อมูลจากระยะไกลอยู่ที่นี่อย่างระมัดระวัง เราได้รับข้อบ่งชี้ว่าเปลือก(ส่วนสัมภาระ)ของจรวดมีปัญหาในการแยกตัว มันอาจจะไม่ยอมแยกตัวหรือ ไม่ได้แยกตัวในรูปแบบที่มันควรจะเป็น แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเรายังคงพยายามที่จะประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงในปัจจุบันของยานสำรวจอยู่” Update นาซ่าได้ทำการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ในเวลา 1300 GMT ของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2009 John Brunschwyler, จาก Orbital Sciences Corporation โรงงานผู้ผลิตจรวดได้กล่าวกับนักข่าวว่า “ทีมงานทั้งหมดของเรา รู้สึกเสียใจและผิดหวังเป็นอย่างยิ่งกับเหตุการณ์เมื่อเช้านี้” เขาเสริมว่า “เปลือกหุ้มหัวจรวดมีน้ำหนักค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆของจรวด ดังนั้นเมื่อมันแยกตัว(จาก Pegasus) ยานควรจะเพิ่มความเร่งอย่างรวดเร็ว แต่มันไม่มีความเร่งเกิดขึ้น” “ผลทางตรงจากการบรรทุกน้ำหนักพิเศษที่เพิ่มขึ้น(เข้าใจว่าหมายถึงจรวดท่อนที่่2 หรือ Pegasus - ผู้แปล) เราจึงไม่สามารถเข้าสู่วงโคจรได้” โครงการขนาด 270ล้าน USD นี้ตั้งอยู่บนจรวด Taurus XL ซึ่งเป็นจรวดขับดันส่วนสัมภาระรุ่นเล็กที่สุดที่องค์การอวกาศสหรัฐใช้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่มันถูกใช้ในปี 1994 จรวดประเภทนี้ถูกปล่อยออกไปแล้ว 8 ครั้ง ล้มเหลว 2 ครั้งรวมถึงครั้งนี้ด้วย แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้ Taurus XL คณะกรรมการสอบสวนที่ชื่อว่า Mishap Investigation Board ได้เริ่มดำเนินการหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหาในครั้งนี้แล้ว จรวด Taurus XL ตั้งอยู่บนจรวดชั้นวงโคจร Pegasus ที่มีประวัติการใช้งานมายาวนานและน่าภาคภูมิใจ เปลือกห้องสัมภาระเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานดั้งเดิมที่ถูกใช้ในจรวดนี้เราไม่เคยมีปัญหาอะไรกับดีไซน์ของเปลือกนี้มาก่อน ปัญหาเก่าที่เคยเกิดขึ้นกับจรวด Taurus XL ในเดือนกันยายน 2001 เมื่อจรวดแยกตัวห้องสัมภาระที่มีดาวเทียมสองดวงออกที่ระดับความสูงต่ำกว่าวงโคจรที่กำหนดไว้ Update ดาวเทียม OCO ได้ตกลงในทะเลใกล้กับทวีปแอนตากติกาแล้ว ที่มาพร้อมภาพ VDO ประกอบ BBC
https://jusci.net/node/898
ข่าวร้าย-การปล่อยยานตรวจจับ CO2 ของนาซ่าล้มเหลว
ในวงการสูตรอาหารสำหรับการลดน้ำหนักแล้ว มีการเปรียบเทียบระหว่างสูตรแต่ละสูตรอยู่เสมอ สูตรส่วนใหญ่เน้นลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต, ไขมัน หรือโปรตีน แต่ความเชื่อว่าสูตรไหนดีกว่านั้นยังคงเป็นปริศนาอยู่ ทีมนักวิจัยจาก Harvard Medical School นำโดย Frank M. Sacks ได้ทำการศึกษาผู้ที่มีปัญหาอ้วนจำนวน 811 คนให้เข้าในสูตรอาหารสี่แบบ ได้แก่สูตรอาหารที่มีอัตราส่วนไขมัน:โปรตีน:คาร์โบไฮเดรต 20:15:65, สูตร 20:25:55, สูตร 40:15:45 และสูตร 40:25:35 แล้วทำการติดตามน้ำหนักของผู้เข้าร่วมวิจัยไปเป็นเวลา 2 ปี ผลที่ได้พบว่า ไม่พบความแตกต่างของน้ำหนัก เมื่อเทียบทั้งระหว่างสูตรไขมันน้อยกับไขมันมาก (ลดได้ 3.3 กก. เท่ากัน), เมื่อเทียบระหว่างสูตรคาร์โบไฮเดรตน้อยและมาก (ลดได้ 3.4 และ 2.9 กก.) และเมื่อเทียบระหว่างสูตรโปรตีนน้อยและมาก (ลดได้ 3.0 และ 3.6 กก.) (p>0.20 ทุกการเปรียบเทียบ) ผู้วิจัยสรุปว่าไม่ว่าสูตรลดน้ำหนักที่เน้นการลดไขมัน, คาร์โบไฮเดรต หรือโปรตีนก็สามารถทำให้น้ำหนักลดได้พอๆ กัน นอกจากนี้แล้ว ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มาติดตามการลดน้ำหนักเป็นประจำ ยังสามารถลดได้ดีกว่าด้วย ผมว่า ลดยังไงก็ได้ แต่ขอให้ตั้งใจดีกว่าครับ! ที่มา: The New England Journal of Medicine
https://jusci.net/node/899
ลดน้ำหนักสูตรไหนก็ได้ผลคล้ายกัน
อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อเท่าไรที่ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าก๊าซไข่เน่าสามารถช่วยให้องคชาติแข็งตัวได้เช่นเดียวกับ Viagra การแข็งตัว (erection) ขององคชาติเกิดจากการที่เลือดสูบฉีดเข้าไปในเนื้อเยื่อขององคชาติซึ่งมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ตามธรรมชาติไนตริกออกไซด์ (NO) จะไปทำให้ผนังของเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงองคชาติคลายตัว เลือดจึงเข้าไปได้มากขึ้น องคชาติจึงแข็งตัวได้ ดังนั้นหลักการการทำงานของ Viagra ก็คือเข้าไปทำลายเอนไซม์ที่ใช้ในการสลายไนตริกออกไซด์นั่นเอง จากการศึกษาของ Giuseppe Cirino และคณะที่มหาวิยาลัย University of Naples Federico II ในประเทศอิตาลี พบว่าในเนื้อเยื่อองคชาติของมนุษย์มีเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างไฮโดรเจนซัลไฟด์ และเมื่อทำการทดลองฉีดโมเลกุลไฮโดรเจนซัลไฟด์เข้าไปในเนื้อเยื่อองคชาติก็มีผลทำให้ผนังเซลล์ของเส้นเลือดในองคชาติขยายตัว แอกจากนี้เมื่อฉีดไฮโดรเจนซัลไฟด์เข้าไปในหนูทดลอง ก็สามารถทำให้องคชาติของหนูแข็งตัวได้เช่นเดียวกับไนตริกออกไซด์อีกด้วย ป.ล. สำหรับท่านชายที่สนใจก็อย่าเพิ่งรีบร้อนไปดมก๊าซไข่เน่านะครับ นอกจากจะไม่ได้ผลตามที่ต้องการแล้ว อาจจะได้ไปสวรรค์กันจริงๆ เพราะว่าก๊าซไข่เน่าเป็นก๊าซพิษนะครับ ที่มา NewScientist
https://jusci.net/node/900
ก๊าซไข่เน่า = Viagra!
ภายในเดือนนี้ สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station - ISS) ได้ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ชุดสุดท้ายตามแผงที่วางไว้ ซึ่งจะทำให้ ISS แซงหน้าดาวศุกร์ขึ้นมาเป็นวัตถุที่สว่างเป็นอันดับสองของท้องฟ้าเวลากลางคืน เป็นรองเพียงแค่ดวงจันทร์อย่างเดียวเท่านั้น กระสวยอวกาศ Discovery จะนำแผงพลังงานแสงอาทิตย์ และส่วน Starboard 6 ขึ้นไปยัง ISS ในวันที่ 11 มีนาคมนี้ (ถือเป็นเที่ยวบินที่ 125 ของ ISS) การติดตั้ง Starboard 6 จะทำให้ ISS มีความยาวเต็มที่เป็น 102 เมตร (ยาวเท่าสนามฟุตบอล) และช่วยเพิ่มพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการทดลองบนอวกาศอีก 50% ส่วนตัวแผงพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกติดตั้งในวันที่ 8 ของการเดินทาง (ช่วงวันที่ 19-20 มีนาคม) ซึ่งติดตั้งเสร็จแล้วก็จะทำให้ ISS นั้นสว่างมากขึ้นอีกมาก ต่อไปเราคงต้องอธิษฐานด้วยคำว่า “อุ้ย สถานีอวกาศนานาชาติ (ขอให้โลกสงบสุข)” ที่มา - The Space Fellowship
https://jusci.net/node/901
สถานีอวกาศนานาชาติ: วัตถุที่สว่างเป็นอันดับสองของฟากฟ้ายามค่ำคืน
ขึ้นชื่อว่าถ่านหินแล้ว นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลกคงจะอี๋ในเรื่องความสกปรกและการทำลายสิ่งแวดล้อม แต่น่าเสียดายว่าพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ถูกมาก เหมาะสำหรับช่วงเศรษฐกิจถดถอย ถ้าหากว่าเราเอาถ่านหินมาทำให้สะอาดได้ ก็คงเป็นเรื่องดี ทั้งสะอาด ทั้งถูก ประเทศเยอรมนีนำโดยบริษัทพลังงาน E.ON Energie กำลังจะก้าวไปในทิศทางนี้ บริษัทกำลังจะสร้างโรงไฟฟ้าใกล้เมืองแฟรงเฟิร์ต โรงไฟฟ้านี้จะใช้เครื่องดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากบริษัท Siemens เครื่องนี้มีชื่อว่า carbon capture and sequestration (CCS) ซึ่ง Siemens โม้ว่ามันจับคาร์บอนไดออกไซด์จากถ่านหินได้ถึง 90% เทคนิคที่ใช้คือให้คาร์บอนไดออกไซด์เกิดปฏิกิริยากับสารเอมีน (amine) เกิดเป็นสารละลาย เมื่อสารละลายนี้โดนความร้อน มันจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกคืนมา (ซึ่งเราจะมาดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ตรงนี้ในโซนปิด) ส่วนตัวสารละลายนั้นนำกลับไปใช้ใหม่ได้ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จะเก็บลงใต้ดิน โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้สร้างอยู่ใกล้กับแหล่งขุดเจาะก๊าซเดิมอยู่แล้ว ที่มา - Ars Technica
https://jusci.net/node/902
เยอรมนีกำลังทดลองพลังงานถ่านหินสะอาด
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคหนึ่งที่ได้รับความสนใจในด้านของการวิจัยโดยเฉพาะด้านพันธุกรรม มีผู้ที่สนับสนุนงานวิจัยนี้อยู่หลายคน (หนึ่งในนั้นคือ Michael J. Fox) วันนี้ Sergey Brin ผู้ก่อตั้งกูเกิลก็ออกมาแถลงว่าจะสนับสนุนงานวิจัยด้านนี้เต็มที่ครับ ตัว Brin นั้นเคยเปิดเผยว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ถึง 20-80% เนื่องจากมารดาเขาเองก็เป็นโรคนี้อยู่ เขาจึงเตรียมที่จะบริจาคเงินเพื่อช่วยสนับสนุนงานวิจัยนี้ ซึ่งทำโดยบริษัท 23andMe ของภรรยาของเขาเอง โดยผู้ที่สนใจเข้ารับการวิจัยนั้นจะได้รับการสนับสนุนค่าตรวจดีเอ็นเอ โดยลดจาก 399 ดอลลาร์สหรัฐเหลือเพียง 25 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี เขาไม่ได้เปิดเผยถึงจำนวนเงินทั้งหมดที่เขาสนับสนุน งานวิจัยในลักษณะนี้นั้นมีอยู่พอสมควรแล้ว แต่สิ่งที่แตกต่างนั้นคือจำนวนของผู้เข้าร่วม เนื่องจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอนั้นมีราคาค่อนข้างสูง จึงจำกัดได้เพียงแค่ไม่กี่ร้อยคน แต่แผนงานวิจัยในครั้งนี้นั้นจะวิเคราะห์ถึงกว่าหมื่นคนเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับงานวิจัยนี้เหมือนกัน “งานวิจัยนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่ แต่สิ่งเดียวที่โดดเด่นคือมีคนที่รวยมากๆ สนับสนุนอยู่” Dr. Kari Stefansson นักวิจัยในวงการจากไอซ์แลนด์กล่าว นอกจากนี้แล้ว Sarah Murray นักวิจัยจากเมืองซานดิเอโก้ยังคิดว่าผลที่ได้นั้นอาจมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากงานวิจัยนี้จะเก็บข้อมูลผ่านทางแบบสอบถามบนอินเทอร์เน็ตแทนที่จะมีการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มา: The New York Times
https://jusci.net/node/903
Sergey Brin จะสนับสนุนงานวิจัยโรคพาร์กินสัน
ฟังดูแปลกๆ แต่ก็เกิดขึ้นแล้วครับ สภาคองเกรสของสหรัฐ ลงมติให้วันที่ 14 มีนาคมของทุกปี เป็นวัน Pi แห่งชาติ (National Pi Day) ถ้าใครยังไม่เก็ตก็ลองกลับไปนึกค่า Pi ที่เราเคยเรียนกันสมัยประถม (หรือมัธยมหว่า?) ว่า Pi นั้นมีค่า 3.14159… เห็นเลข 3.14 หรือยัง? งานนี้สมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์หลายแห่งในสหรัฐได้รวมตัวกันยื่นข้อเสนอนี้ต่อสภา ซึ่งเหตุผลสนับสนุนก็คือจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัวในการเรียนด้านคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ที่มา - CNET, Slashdot
https://jusci.net/node/904
รัฐสภาสหรัฐอนุมัติ ให้วันที่ 14 มีนาคม เป็น "วัน Pi แห่งชาติ"
นักวิจัยจาก Helmholtz Center ประเทศเยอรมนี นำโดย Annette Peters กำลังศึกษาว่าความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจนั้นอาจเพิ่มขึ้นจากการเกี่ยวข้องกับการจราจร โดยทีมนักวิจัยได้สัมภาษณ์ผู้ป่วย 1,454 รายที่เป็นโรคหัวใจ เกี่ยวกับประวัติก่อนหน้าที่จะเกิดโรคว่าไปอยู่ในการจราจรที่ติดขัดหรือเปล่า ทำให้พบว่าผู้ที่มีประวัติรถติดในหนึ่งชั่วโมงก่อนหน้านั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติถึง 3.2 เท่าเลยทีเดียว นักวิจัยคิดว่าสาเหตุที่สามารถอธิบายได้นั้นอาจมาจากความเครียด รวมถึงสภาพมลภาวะที่เกิดขึ้นก็เป็นได้ แต่ไม่น่าจะเป็นจากความเครียดเพียงอย่างเดียว เนื่องจากวิเคราะห์ย่อยลงไปแล้วพบว่าอัตราเสี่ยงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างผู้ที่ขับรถเอง หรือใช้รถเมล์สาธารณะ อย่างไรก็ดี นักวิจัยกำลังค้นหาต้นตอของสาเหตุ ด้วยให้อาสาสมัครที่ยังไม่เป็นโรคนั้นสวมอุปกรณ์ที่สามารถติดตามคลื่นหัวใจ รวมทั้งมลพิษจากอากาศและเสียงในบริเวณรอบๆ เพื่อศึกษา ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ยังอยู่ในการดำเนินการอยู่ สำหรับอาการของโรคหัวใจนั้นมักจะมีอาการแน่นหน้าอกด้านซ้าย บางครั้งอาการปวดอาจร้าวไปที่คอหรือต้นแขนซ้าย ร่วมกับการมีเหงื่อออกปริมาณมาก โดยมักสัมพันธ์กับการออกแรง ส่วนอาการเจ็บจี๊ดๆ เหมือนโดนแทง หรือหายใจลึกๆ แล้วเจ็บนั้นมักจะเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหรือปอดมากกว่า ที่มา: WebMD
https://jusci.net/node/905
การจราจรอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
นอกจากพีซีที่ไอบีเอ็มเป็นคนปั้นขึ้นมากับมือแล้ว ช่วงๆ หลังๆ บริษัททำงานให้คำปรึกษาในด้านอื่นๆ มากขึ้น (เนื่องจากทำเงินได้ดีกว่ามาก) ล่าสุดบริษัทก็ออกมาเปิดบริการการจัดการน้ำ บริการนี้จะเน้นที่การลดการใช้คนในการจัดการคุณภาพน้ำ ทำให้บริษัทผลิตน้ำประปาสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำได้ตลอดเวลา และยังอาจจะประมวลผลหาตำแหน่งของขยะที่ก่อให้เกิดมลภาวะกับน้ำ เมื่อปีที่แล้วไอบีเอ็มก็ได้ส่งมอบทุ่นตรวจสอบคุณภาพน้ำให้กับสถาบันวิจัยในไอร์แลนด์ ในโครงการ SmartBay ที่ต้องการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณอ่าว Galway คาดว่าตลาดนี้จะมีมูลค่าถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ใน 5 ปีข้างหน้า ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/906
ไอบีเอ็มเปิดแผนกบริการการจัดการน้ำ, มุ่งสร้าง "โลกอัจริยะ"
ทีมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Maryland ได้วิเคราะห์ความสามารถในการมองเห็นท้องฟ้านับแต่ปี 1973 ถึงปี 2007 ประกอบกับข้อมูลดาวเทียมยุคใหม่ พบว่าท้องฟ้าเกือบทั้งโลกนั้นกำลังมืดลงเนื่องจากฝุ่นที่เกิดจากคาร์บอนอันเป็นผลจากการผลิตพลังงาน การมืดลงของท้องฟ้านี้มีผลหนักที่สุดในเขตอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตเช่น เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก, ออสเตรเลีย, แอฟริกา, และอเมริกาใต้ ส่วนยุโรปนั้นเป็นทวีปเดียวในโลกที่สว่างขึ้นในช่วงเวลานี้ อัตราความมืดลงนี้เป็นอัตราที่ค่อนข้างน้อย คือประมาณร้อยละ 0.1 ต่อปีเท่านั้น แต่คณะวิจัยเชื่อว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนโดยตรง แต่ยังไม่ชัดเจนนักว่าการที่โลกมืดลงนี้ช่วยป้องกันโลกจากภาวะโลกร้อน หรือช่วยเร่งให้โลกร้อนขึ้นกันแน่ ที่มา - Financial Times
https://jusci.net/node/907
ท้องฟ้ามืดลงในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา
อเมริกานั้นเคยสร้างอาวุธเลเซอร์สำหรับยิงขีปนาวุธของโซเวียตที่บินข้ามทวีปมาถล่มอเมริกา โครงการนี้มีชื่อว่า Star Wars แต่ก็ไม่เคยถูกนำมาใช้ หลายสิบปีผ่านไป อาวุธเลเซอร์ถูกพัฒนาอีกครั้ง โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านฟิสิกส์ชั้นยอดจากสถาบันวิจัยชั้นนำหลายแห่งที่เคยพัฒนาอาวุธในช่วงสงคราม แต่รอบนี้เพื่อต่อสู้กับศัตรูของมนุษยชาติที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ยุงนั่นเอง เรารู้กันอยู่แล้วว่ายุงเป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ซึ่งถือเป็นโรคร้ายสำคัญอันหนึ่งที่มนุษย์รู้จัก และทุกปีมีคนตายจากมาลาเรียมากกว่า 1 ล้านคน อาวุธที่กำลังทดลองอยู่ในตอนนี้มีหลายอย่าง ส่วนที่ใช้เลเซอร์นั้นเป็นการยิงยุงด้วยเลเซอร์สีแดงที่มีอำนาจทำลายล้างต่ำ (แต่ก็เพียงพอที่จะกำจัดยุงได้) โดยหาพิกัดยุงในกล่องทดลองจากกล้องดิจิทัลธรรมดา โครงการนี้เริ่มโดย Nathan Myhrvold อดีตพนักงานของไมโครซอฟท์ ซึ่งเคยรับงานจากบิล เกตส์ ขอให้หาวิธีเจ๋งๆ แบบใหม่ในการกำจัดยุง ถือเป็นหนึ่งในโครงการของมูลนิธิของเกตส์ Nathan Myhrvold ไปหา Lowell Wood อดีตหัวหน้าโครงการ Star Wars และมันก็ออกมาเป็นการใช้เลเซอร์กำจัดยุงในที่สุด นักวิทยาศาสตร์ทีมนี้มองว่าในอนาคตเราอาจเห็นบาเรียเลเซอร์รอบที่อยู่อาศัย หรือเครื่องบินติดเลเซอร์ที่ไล่กราดยิงยุงก็เป็นได้ โครงการเกี่ยวกับยุงอื่นๆ ก็มีการปราบยุงด้วยคลื่นไมโครเวฟ, กลิ่น, พิษ, แสงแฟลชทำให้ตายุงบอด และกรรมวิธีอื่นๆ ให้ประสาทสัมผัสของยุงไม่สามารถใช้งานได้ ที่มา - Wall Street Journal
https://jusci.net/node/908
อาวุธเลเซอร์กลับมาอีกครั้ง เพื่อต่อสู้กับ... ยุง
การหา “อนุภาคพระเจ้า” หรือ Higgs Boson ซึ่งถือเป็นการทดลองอันสำคัญของเครื่อง LHC นั้น จะดูที่ขอบเขตของมวลเป็นสำคัญ (คือหาว่า Higgs Boson นั้นมีมวลจริงหรือไม่ และมวลนั้นอยู่ที่ขนาดเท่าไร) มวลของอนุภาคที่เล็กขนาดนี้ เค้ามีหน่วยวัดเป็น GeV/c2 (GeV คือ gigaelectron volt - ดู Electron_volt ในวิกิพีเดียประกอบ) สำหรับ Higg Bosons นั้น การทดลองเก่าสองอันระบุว่า Higgs จะมีมวลอยู่ระหว่าง 114-185 GeV ซึ่งขอบเขตช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ LHC เดินเครื่องเพื่อทดสอบว่ามวลระดับนี้เกิด Higgs หรือไม่ แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากห้องแล็บของรัฐบาลสหรัฐสองแห่ง ค้นพบว่าช่วง 157-181 GeV มีความเป็นไปได้ 90% ที่จะไม่เจอ Higgs (ถ้าคิดให้แคบลงไปอีก ช่วง 160-170 มีความเป็นไปได้ 95% ที่จะไม่เจอ) ส่วนพวกเราก็ได้แต่ลุ้นกันต่อไปว่า จะเจอ Higgs หรือไม่ (ถ้าเจอนี่ธรรมดาแต่ถ้าไม่เจอนี่มันส์) ที่มา - Ars Technica
https://jusci.net/node/909
ขอบเขตมวลของ Higgs Boson ที่เป็นไปได้ แคบลงไปอีก
เวลาที่เราดูหนังสงครามเราจะเห็นเครื่องบิน AWACS เพื่อใช้ขยายรัสมีเรดาร์ให้กับเครื่องบินรบใกล้เคียง หรือส่งข้อมูลกลับไปยังฐานทัพเสมอๆ ปัญหาคือน้ำมันของเครื่องบินแบบนี้มีจำกัดทำให้ปฎิบัติการได้ไม่นานนัก แถมยังมีค่าใช้จ่ายสูง ทาง Pentagon เลยเตรียมแก้ปัญหานี้ด้วยการออกแบบบอลลูนที่ลอยอยู่ที่ระดับความสูง 65,000 ฟุต และใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง แม้ว่าจะมีข้อเสียคือการใช้เวลาเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายถึง 15 วัน แต่มันสามารถทำงานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี ด้วยความสูง 65,000 ฟุตนั้น บอลลูนนี้ถูกออกแบบไว้เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายโดยเฉพาะ เพราะแม้จะป้องกันขีปนาวุธชั้นสูงไม่ได้ (แถมบินหนีไม่ได้อีก) แต่มันสูงเกินระยะทำการของจรวดประทับบ่าทุกรุ่น และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า คาดว่าจะเริ่มใช้งานเครื่องต้นแบบได้ในช่วงปี 2014 ที่มา - LA Times
https://jusci.net/node/910
กลาโหมสหรัฐฯ เตรียมสร้างบอลลูนสอดแนม
ทีมนักวิจัยของสหราชอาณาจักรค้นพบว่าฮอร์โมน Kisspeptin สามารถช่วยให้สตรีที่มีระดับฮอร์โมนเพศลดลง กลับมามีบุตรได้อีกครั้ง งานวิจัยชิ้นนี้ถูกนำเสนอในการประชุมของสมาคมต่อมไร้ท่อวิทยา โดยทีมนักวิจัยจาก Imperial College ลอนดอน จากการศึกษาครั้งล่าสุดในผู้หญิง 10 คน ซึ่งไม่มีประจำเดือนและเป็นหมัน เมื่อเปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก(placebo) และกลุ่มที่ได้รับการฉีดฮอร์โมน Kisspeptin พบว่าฮอร์โมน Kisspeptin สามารถเพิ่มระดับฮอร์โมน LH และ FSH ได้มากขึ้นถึง 48 และ 16 เท่า ตามลำดับ ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการตกไข่ในเพศหญิง และการมีบุตร ที่มา : BBC News : Health
https://jusci.net/node/911
ฮอร์โมนเพื่อการ "มีบุตร"
ดาราศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การแพทย์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา
https://jusci.net/node/912
สนใจข่าว
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด (Oxford University) กล่าวเตือนว่า การอ้วนมากๆ อันตรายพอๆกับการสูบบุหรี่ตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าการที่เราอ้วนแบบกลางๆ จะทำให้อายุสั้นลงเพียงแค่ 3 ปี แต่… “ถ้าคุณน้ำหนักเกิน หรืออ้วน การระวังน้ำหนักที่จะเพิ่มขึ้นในภายภาคหน้า สามารถเพิ่มอายุขัยได้เป็นอย่างดี” - ดอกเตอร์ Gary Whitlock มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด BMI(Body Mass Index) คือ ดัชนีมวลกาย คำนวณจากการนำน้ำหนักตัว หารด้วยส่วนสูงในหน่วยเมตรยกกำลัง 2 ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก/(ส่วนสูง)^2 สำหรับสหราชอาณาจักร คนที่ถือว่าอ้วนคือ คนที่มี BMI มากกว่า 30 ในผู้ที่อ้วนมาก - BMI ระหว่าง 40 - 50 จะมีอายุสั้นลงประมาณ 10 ปี และสำหรับผู้ที่อ้วนปานกลาง - BMI มีค่าระหว่าง 30 - 39 จะมีอายุสั้นลงประมาณ 3 ปี ที่มา : BBC : Health สำหรับคนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กำหนดค่าดัชนีมวลกายที่สูงกว่า 23.5 นั้นถือว่ามีน้ำหนักตัวเกิน และหากค่ามากกว่า 28.5 จะถือว่าเป็นโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะประชากรของสหราชอาณาจักร เพราะฉะนั้นคนไทยอย่างเราๆ ก็อ่านไว้ประดับความรู้ค่ะ เพราะเกณฑ์มาตรฐานของค่า BMI ไม่เท่ากัน ไม่สามารถอนุมานผลการศึกษาได้ว่า หากเรามีค่า BMI อยู่ในช่วงอ้วนมาก จะมีอายุสั้นลง 10 ปี แต่ก็ควรควบคุมน้ำหนักกันไว้แต่เนิ่นๆ นะคะ เพราะความอ้วนเป็นบ่อเกิดของโรคมากมายค่ะ
https://jusci.net/node/913
ความอ้วนอันตรายพอๆกับการสูบบุหรี่
จากบล็อก Bad Astronomy ครับ ดาวพลูโตเคยถูกถ่ายภาพติดตั้งแต่ปี 1919 แต่ไม่มีใครเคยสนใจเพราะว่ามันจางมาก กว่าจะถูกค้นพบอีกครั้งก็คือปี 1930 โดย Clyde Tombaugh วงโคจรของพลูโตนั้นตัดกับเนปจูน แต่มันกลับไม่เคยชนกัน สาเหตุนี้เป็นเพราะถ้ามองจากแผนภาพแบบ 2d วงโคจรมันจะตัดกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว พลูโตมันจะโคจรแบบเอียงๆ ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น (ภาพประกอบ) พลูโตเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณดาวเนปจูน ถึงแม้ว่าเนปจูนจะใหญ่มาก แต่พลูโตไม่เคยตกอยู่ใต้แรงดึงดูดของเนปจูนเลย เป็นเพราะว่ารอบของวงโคจรนั้นไม่เท่ากัน แถมในบางครั้งพลูโตนั้นอยู่ใกล้ดาวยูเรนัสมากกว่าเนปจูนเสียอีก ขนาดและมวลของพลูโต ตามที่นักวิทยาศาสตร์ประเมินนั้นเล็กลงเรื่อยๆ ตามยุคสมัย เนื่องจากว่าพลูโตมันไกลมากก็ต้องใช้วิธีเดา พอเครื่องมือในการวัดนั้นแม่นขึ้น ก็พบว่าพลูโตนั้นเล็กกว่าที่คิดไว้มาก ตอนนี้ตัวเลขล่าสุดคือพลูโตมีมวลคิดเป็น 0.2% ของโลก และมีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ แต่ว่าพลูโตไม่ใช่ดาวที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่สุดขอบของสุริยะจักรวาล นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์กันมานานแล้วว่าแถวๆ พลูโตจะต้องมีดาวขนาดใกล้เคียงกันอยู่ และสุดท้ายในปี 2005 ก็มีคนค้นพบดาวเอรีส (Eris) และดวงจันทร์ของเอรีสชื่อดีสโนเมีย (Dysnomia) ซึ่งมีมวลรวมกันมากกว่าพลูโต 27% พลูโตมีชั้นบรรยากาศ ถึงแม้จะบางมากแต่ก็มีอากาศ ความดันที่ผิวดาวนั้นคิดเป็น 0.00001 เท่าของโลก และก๊าซส่วนมากเป็นไนโตรเจน มีก๊าซมีเทนเล็กน้อย และช่วงที่พลูโตโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ ก๊าซที่แข็งตัวอยู่จะระเหิดเป็นไอทำให้มีบรรยากาศเพิ่มขึ้น พลูโตเป็นระบบดาวคู่ โดยพลูโตนั้นมีขนาดใกล้เคียงกับดวงจันทร์ชารอน (Charon) ของตัวเองมาก (โดยเฉพาะเมื่อเทียบความสัมพันธ์โลก-ดวงจันทร์) ลักษณะของวงโคจรจึงไม่ใช่ชารอนโคจรรอบพลูโตเหมือนกับดวงจันทร์ของโลก แต่เป็นการโคจรรอบกันและกันแทน (ภาพประกอบ) เรามีภาพพื้นผิวของดาวพลูโตด้วยนะ เพียงแต่มันเบลอมากจนมองอะไรไม่เห็น เพราะมันไกลมากนั่นเอง (ภาพประกอบ) แกนของพลูโตนั้นเอียงมากๆ มากกว่ายูเรนัสเสียอีก แกนของพลูโตเอียง 122 องศา ยูเรนัสเอียง 98 องศา ส่วนโลกนั้น 24 องศา แต่ก็ไม่มีใครเอียงเท่ากับดาวศุกร์ที่ซัดไปซะ 177 องศาเชียวแน่ะ ถึงแม้ว่าพลูโตจะถูกเรียกว่าเป็นดาวน้ำแข็ง แต่จริงๆ แล้ว70% ของมันน่ะเป็นหินอยู่ข้างในต่างหาก ที่มา - Bad Astronomy
https://jusci.net/node/914
10 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับดาวพลูโต
ภาพหายากจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลครับ โดยมันคือดาวเสาร์พร้อมกับดวงจันทร์ 4 ดวงโคจรมาเรียงกันบนด้านสว่างของดาวเสาร์พอดี (มีตัวดาวเสาร์เป็นฉากหลัง) ชื่อของดวงจันทร์ 4 ดวงนี้ (จากซ้ายไปขวา) คือ Enceladus, Dione, Titan, Mimas จะเห็นว่า Titan โตกว่าใครเพื่อน ภาพขนาดใหญ่ดูได้จากเว็บของฮับเบิล ดาวเสาร์มีดวงจันทร์ที่ยืนยันแล้วทั้งหมด 61 ดวง ที่มา - Bad Astronomy
https://jusci.net/node/915
ภาพหายาก: ดาวเสาร์และดวงจันทร์ทั้งสี่
บริษัท Royal Dutch Shell ผู้ค้าพลังงานรายใหญ่ของโลก ประกาศเลิกลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก 3 ชนิด คือ ลม แสงอาทิตย์ และน้ำ ที่บริษัทเคยลงทุนมาตลอด ด้วยเหตุผลว่าให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน และหันไปเน้นพลังงานชีวภาพ (biofuels) แทน เพราะมีลักษณะร่วมกับธุรกิจเดิมของบริษัทมากกว่า ปัจจุบัน Shell เป็นผู้ซื้อผลผลิตทางการเกษตรเพื่อนำไปผลิตพลังงานชีวภาพรายใหญ่ที่สุดของโลก ในแผนของ Shell นั้นจะพัฒนาพลังงานชีวภาพจากพืชที่ไม่ใช่อาหาร และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ส่วนเรื่องน้ำมัน Shell กำลังหาวิธีลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากน้ำมัน โดยใช้เทคนิค carbon capture and sequestration (CCS) เข้าช่วย กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม Friends of the Earth ได้วิจารณ์ Shell ว่ากำลังเดินผิดทาง เพราะพลังงานชีวภาพนั้นเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าน้ำมันเสียอีก Shell สามารถผลิตพลังงานลมได้ปีละ 550 เมกะวัตต์ แต่ว่าบริษัทเพิ่งถอนตัวจากโครงการฟาร์มพลังงานลมขนาดใหญ่ในลอนดอนเมื่อปีที่แล้ว Shell คาดว่าในปี 2025 ตลาดพลังงานโลกจะมีส่วนแบ่งคือพลังงานจากน้ำมัน 80% และพลังงานทางเลือก 20% ที่มา - Guardian
https://jusci.net/node/916
Shell เลิกลงทุนในพลังงานลม-แสงอาทิตย์-น้ำ หันไปจับพลังงานชีวภาพ
อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ นั้นพ่ายแพ้แก่บริษัทญี่ปุ่นในช่วงหลังๆ นี้มีสาเหตุหลักประการหนึ่งคือความประหยัด ในตอนนี้รัฐบาลโอบามาจึงเตรียมการที่จะลงทุนมูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์เพื่อให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของตนนั้นปรับเทคโนโลยีไปใช้ไฟฟ้ากันมากขึ้น เงิน 2.4 พันล้านนี้จะถูกแตกออกเป็นสามก้อนคือ งานวิจัยแบตเตอรี่ 1.5 พันล้านดอลลาร์, 500 ล้านดอลลาร์สำหรับการวิจัยชิ้นส่วนอื่นๆ, และอีก 400 ล้านดอลลาร์สำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่นสถานชาร์จไฟ นอกจากนี้แล้วยังมีการสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่นการให้เครดิตภาษีอีก 7,500 ดอลลาร์สำหรับประชาชนที่ซื้อรถไฮบริด โอบามาหวังให้สหรัฐฯ กลับมาเป็นผู้นำด้านพลังงานทางเลือกอีกครั้ง โดยเขายกตัวอย่างเยอรมันที่เป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนสเปนนั้นใช้พลังงานลมถึงร้อยละ 30 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/917
โอบามาเตรียมเงินลงทุนในยานยนต์ไฟฟ้า 2.4 พันล้านดอลลาร์
ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดใกล้ประเทศตองกาเมื่อคืนนี้ เกิดแผ่นดินไหว 7.9 ริกเตอร์และสึนามิ รายละเอียดข่าวอ่านใน ไทยรัฐ เว็บไซต์ Boston.com ซึ่งมีภาพถ่ายเด็ดๆ ของเหตุการณ์สำคัญมาโชว์เป็นประจำ มีภาพชุดของภูเขาไฟระเบิด ปะทุขึ้นมาจากผิวน้ำในระยะใกล้สุดๆ (10 กิโล) มาให้ดูกันหลายภาพ ผมคัดมาภาพเดียวที่หลอนที่สุดครับ (นี่สิบกิโลนะ) ที่เหลือดูได้จาก Boston.com ดูภาพนิ่งแบบนี้แล้วเหมือนมีหินอะไรสักอย่างแฉกๆ มาปักไว้บนน้ำ
https://jusci.net/node/918
ภาพระยะใกล้: ภูเขาไฟระเบิดใต้น้ำในตองกา
นักวิจัยจาก University of Essex ของอังกฤษ และวิศวกรจากบริษัท BMT Group กำลังสร้างหุ่นยนต์ตรวจสอบคุณภาพของน้ำที่สร้างเลียนแบบปลาคาร์พทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงหรือพฤติกรรม หุ่นยนต์ตัวนี้จะมีเซ็นเซอร์ทางเคมีในตัว ใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำเสียหรือน้ำเป็นพิษ อย่างเช่นกรณีน้ำมันรั่วในทะเลได้ ส่วนสาเหตุที่สร้างเป็นรูปปลาก็เพื่อไม่ให้แปลกแยกจากสิ่งแวดล้อมใต้น้ำ และทางวิศวกรยังได้บอกว่า ดีไซน์ตามธรรมชาติที่วิวัฒนาการมาหลายล้านปี ยังพิสูจน์แล้วว่าประหยัดพลังงาน เพราะมันเข้ากับธรรมชาติของน้ำ หุ่นยนต์ปลานี้ยาว 1.5 เมตร ว่ายน้ำได้เร็ว 1 เมตรต่อวินาที (ว่ายตรวจจับคุณภาพน้ำคงไม่ต้องเร็วมาก) ทำงานอัตโนมัติและส่งข้อมูลกลับมายังเครื่องรับบนฝั่งตลอดเวลา ตอนนี้หุ่นยนต์รุ่นแรกทำงานได้ประมาณ 8 ชั่วโมง ทางโครงการเตรียมจะปล่อยปลาลงน้ำในปีหน้า โดยจะทดสอบกันที่เมือง Gijon ของสเปน โครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากคณะกรรมการยุโรปด้วย เสียดายว่าไม่มีรูปให้ดูกัน ที่มา - FT.com
https://jusci.net/node/919
หุ่นยนต์ปลาคาร์พ ช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำ
ศาลอังกฤษมีคำพิพากษาในคดีที่เป็นการต่อสู้กันระหว่างแพทย์และพ่อแม่ของเด็กที่เปิดเผยได้เพียงชื่อย่อ OT อนุญาตให้แพทย์ถอคเครื่องช่วยหายใจ ส่งผลให้เด็กเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา โดยพ่อแม่ของเด็กนั้นต้องการให้แพทย์ยื้อชีวิตของเด็กไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พ่อแม่ของเด็กชายผู้นี้ระบุว่าพวกเขามีความเศร้าใจต่อคำพิพากษานี้อย่างมาก พวกเขาระบุว่าความขัดแย้งนี้เกิดจากการที่แพทย์ไม่คิดว่าทารกจะสามารถทนต่อความเจ็บปวดและการพิการหลังการรักษาได้ แต่พ่อแม่กลับเชื่อว่าลูกของพวกเขาควรได้รับการรักษาจนสุดความสามารถตราบใดที่มันยังไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดจนเกินไป ผู้พิพากษาได้สั่งให้ชื่อของโรงพยาบาลในคดีนี้ถูกปกปิด และจะมีการอธิบายถึงเหตุผลของคำพิพากษานี้ในภายหลัง ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/920
ศาลอังกฤษพิพากษาให้แพทย์หยุดช่วยชีวิตเด็กอายุ 9 เดือน
เรารู้กันมานานแล้วว่าอากาศดีมีผลดีต่อสุขภาพตามมา ดังจะเห็นได้จากในละครหรือนิยาย ตัวละครที่เป็นผู้สูงอายุมีภูมิความรู้ เป็นที่ปรึกษาให้กับพระเอกนางเอก แต่สุขภาพไม่ค่อยดี “มักจะ” ออกไปอยู่ต่างจังหวัดเพื่อพักฟื้นร่างกาย แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดของ US National Institute of Environmental Health Sciences (NIEHS) ก็ได้ข้อสรุปว่ามีความเกี่ยวโยง “แบบชัดๆ” ระหว่างมลพิษในอกาศกับอายุของคนที่อาศัยอยู่แถบนั้น รายงานชิ้นนี้ตรวจสอบคุณภาพอากาศในเขตเมือง 51 จุด (เข้าใจว่าเฉพาะในสหรัฐ) ระหว่างปี 1978-2001 สรุปว่า ถ้าอากาศมีมลพิษน้อยลง 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะช่วยให้ชีวิตยาวขึ้น 0.61 ปี ส่วนถ้าคิดเทียบระหว่างปี 1978 กับปี 2001 พบว่าปี 1978 คนมีอายุเฉลี่ยยาวกว่า 2.72 ปีครับ ที่ม - Blorge
https://jusci.net/node/921
อากาศยิ่งดี ชีวิตยิ่งยืนยาว
หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อยา Plan B ที่เป็นยาคุมกำเนิดหลังการมีเพศสัมพันธ์กันมาบ้างแล้ว แม้จะมีความพยายามในการแนะนำการใช้ยาตัวนี้ในหลายประเทศเพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่ในสหรัฐฯ เองนั้น ยาตัวนี้ถูกจำกัดให้ร้านยาสามารถจ่ายให้กับหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น คำพิพากษาสั่งให้องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ต้องออกประกาศให้หญิงอายุ 17 ปีขึ้นไปสามารถสั่งยาตัวนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับใบสั่งยาจากแพทย์ภายใน 30 วัน พร้อมทั้งระบุว่าการปิดกั้นไม่ให้เด็กอายุน้อยกว่า 18 ปีไม่สามารถสั่งยาตัวนี้ได้ด้วยตัวเองนั้นเป็นประเด็นทางการเมือง องค์การอาหารและยายืนยันว่าการจำกัดอายุไม่ใช่ประเด็นทางการเมืองแต่อย่างใด ยา Plan B สามารถใช้ได้ผลหากใช้งานภายในสามวันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทำให้หลายกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ว่ายาตัวนี้ไม่ต่างอะไรจากการทำแท้ง ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/922
ศาลสหรัฐฯ สั่งให้องค์การอาหารและยาจ่ายยาคุมกำเนิดให้เด็กอายุ 17 ปี
ในพักหลังนั้นกระแสการเปิดให้งานวิจัยนั้นสามารถเข้าอ่านได้ฟรีนั้นเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ (ทางสายการแพทย์นี่ก็มี PubMed Central ซึ่งให้งานวิจัยที่ได้รับทุนจาก National Institute of Health ของสหรัฐต้องสามารถเข้าได้ฟรี) วันนี้ทาง MIT เองก็เตรียมออกนโยบายใหม่นี้เหมือนกัน (ส่วน Havard นั้นนำไปก่อนแล้ว) นโยบายดังกล่าวนั้นได้ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมแล้ว และเตรียมจะออกมาใช้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะมีผลกับทุกส่วนของมหาวิทยาลัย “มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ในขณะที่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่นั้นมีหน้าที่ในการหาเงินให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งระบบนี้มันไม่ค่อยถูกต้องซะเท่าไหร่” Hal Abelson ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดันนโยบายใหม่นี้กล่าว อย่างไรก็ดี นโยบายนี้ไม่ได้จำเป็นว่าทุกคนต้องปฏิบัติตาม ทำให้งานวิจัยบางงาน (โดยเฉพาะงานใหญ่ที่สำคัญๆ ที่ได้ลงพวก Science หรือ Nature) อาจยังไม่ฟรีอยู่ดี ที่มา: Wired
https://jusci.net/node/923
MIT สนับสนุนการเปิดให้อ่านงานวิจัยฟรี
อาจารย์ผมเคยว่าไว้ว่าสมัยสามก๊กนั้นยกทัพกันเป็นล้านได้ไม่ใช่เพราะคนเยอะอย่างเดียว แต่เพราะมีเทคโนโลยีการลำเลียงที่พร้อมจะส่งอาหารไปยังแนวหน้าได้ ปัญหาอวกาศยานในทุกวันนี้ก็เจอปัญหานี่ต่างกันออกไป นั่นคือการเปลี่ยนกางเกงใน!!! เนื่องจากภารกิจที่ยาวนานหลายเดือน นักบินอวกาศนั้นกลับไม่สามารถเปลี่ยนเสื้อผ้าได้บ่อยนักเนื่องจากไม่มีห้องซักรีดบนอวกาศ ภารกิจหนึ่งของโคอิชิ วากะตะ นักบินอวกาศประจำสถานีอวกาศนานาชาติคนแรกของญี่ปุ่นคือการทดสอบเสื้อผ้าที่ทำจากใยผ้า J-Ware ใยผ้านี้เคยถูกใช้งานกับนักบินอวกาศของญี่ปุ่นมาก่อนแล้ว คือ ทาคาโอะ โดอิที่ระบุว่าผ้า J-Ware นั้นแห้งเสมอแม้จะทำงานหนักก็ตามโดยคุณสมบัติของใยผ้านี้ยังรวมถึงการต่อต้านแบคทีเรีย, เป็นฉนวนกันความร้อน, ดูดซึมน้ำได้ดีและแห้งเร็ว, กันไฟและกันไฟฟ้าสถิตย์ องค์การอวกาศของญี่ปุ่นกำลังเตรียมการผลิตใยผ้านี้สำหรับนักบินอวกาศชาติอื่นๆ ต่อไป ส่วนเราๆ ท่านๆ ไม่ต้องกลัวรอนาน เพราะใยผ้านี้กำลังมีขายเร็วๆ นี้เหมือนกัน กลับมาที่เรื่องวากะตะนั้น เขาใส่ชั้นในมาแล้วประมาณหนึ่งสัปดาห์และระบุว่ามันทำงานได้ดี แต่ไม่ว่าเขาจะชอบหรือไม่ เขาก็ต้องใส่ผ้าแบบนี้ไปอีกสามเดือน ที่มา - Yahoo! News
https://jusci.net/node/924
เทคโนโลยีใหม่ของการท่องอวกาศ: กางเกงในไม่เหม็น
ปัญหาโลกร้อนนั้นยังมีผลอย่างต่อเนื่องในทุกวันนี้ และอีกประเด็นหนึ่งที่เริ่มตระหนักกันมากขึ้นเรื่อยๆ คือเรื่องของ “สี” ของบ้านและสิ่งของต่างๆ ที่ดูดความร้อนเท่ากัน ทำให้ต้องใช้พลังงานไม่เท่ากันตามไปด้วย รัฐแคลิฟอร์เนียจึงมีการเสนอร่างกฏหมายที่จะบังคับให้รถทุกคันต้องมีอัตราการสะท้อนแสงอย่างน้อยร้อยละ 20 ทำให้โทนสีเข้มทั้งหมดจะถูกห้ามด้วยกฏหมายนี้ไปโดยอัตโนมัติ และแน่นอนว่ารวมถึงสีดำด้วย นอกจากเรื่องสีแล้ว กฏหมายฉบับนี้ยังมีประเด็นเรื่องอื่นๆ เช่นฟิล์มกรองแสง โดยภาพรวมแล้วเป็นการเสนอให้รถต้องทนกับอากาศร้อนได้ดีโดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศมากเกินไป กฏหมายฉบับนี้ยังเป็นแค่ร่างและต้องผ่านกระบวนการอีกเยอะ แต่ถ้าใครอยากอ่านข้อเสนอของกฏหมายนี้ก็มีให้โหลดเป็น PDF ที่มา - Auto Blog
https://jusci.net/node/925
รัฐแคลิฟอร์เนียเตรียมห้ามใช้รถสีดำ
หลายคนคงชอบรับประทานชาร้อนๆ แต่ต่อจากนี้ไปอาจจะต้องระวังเสียหน่อยแล้วว่ามันร้อนมากเกินไปหรือเปล่า นักวิจัยจากอิหร่าน นำโดย Farhad Islami แห่งมหาวิทยาลัยเตหะราน ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal cancer) จำนวน 300 คน เทียบกับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นจำนวน 571 คน พบว่า เมื่อเทียบกันแล้วกลุ่มผู้ที่ชอบทานชาที่ร้อน (60-64 องศาเซลเซียส) นั้นมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งหลอดอาหารถึงกว่า 2.07 เท่าเมื่อกลุ่มที่ทานที่อุณหภูมิธรรมดา (<60 องศา) (95%CI 1.28-3.35) และกลุ่มที่ทานชาร้อนมากๆ (>64 องศา) ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งมากกว่าถึง 8.16 เท่า (95%CI 3.93-16.91) นอกจากนี้แล้ว ยังพบความสัมพันธ์กับเวลาที่รินชาจากกาด้วย โดยผู้ที่รีบกินชาหลังจากเทภายใน 2 นาทีนั้นมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งมากกว่ากลุ่มที่รอให้ชาเย็นก่อนเป็นเวลา 4 นาทีถึง 5.41 เท่า (95%CI 2.63-11.14) ส่วนกลุ่มที่รอประมาณ 2-3 นาทีนั้นมีโอกาสเป็นมะเร็ง 2.49 เท่า (95%CI 1.62-3.83) เมื่อเทียบกับปลุ่มที่รอนานกว่า 4 นาที ทีมนักวิจัยสรุปว่า การดื่มชาที่มีความร้อนมากๆ นั้นน่าจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่างานวิจัยชิ้นนี้นั้นอาจเสี่ยงต่อปัญหาการเลือกกลุ่มเปรียบเทียบ และปัญหาที่ว่ากลุ่มเปรียบเทียบนั้นอาจจะจำประวัติการดื่มชาได้ไม่ดีเท่ากลุ่มศึกษา (Recall Bias) นะครับ และสำหรับมะเร็งหลอดอาหารแล้ว ปัจจัยเสี่ยงที่ได้รับการยอมรับแน่ๆ ว่าเกี่ยวข้องนั้นคือการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ที่มา: British Medical Journal (Abstract), (Editorial)
https://jusci.net/node/926
การรับประทานชาที่ร้อนมากๆ อาจทำให้เป็นมะเร็งหลอดอาหาร
ฮอนด้าออกโฆษณาตัวใหม่ชื่อ Let It Shine โฆษณารถยนต์ไฮบริดรุ่นใหม่ Insight โดยใช้รถยนต์ไฮบริดมาจอดเรียงกันเป็นแผง แล้วเปิด-ปิดไฟหน้ารถพร้อมๆ กัน ราวกับว่าเป็นจอ LED ขนาดใหญ่ ดูสนุกๆ เรียกน้ำย่อยเผื่อใครอยากได้รถไฮบริดครับ ที่มา - Engadget
https://jusci.net/node/927
โฆษณารถยนต์ไฮบริดตัวใหม่ของฮอนด้า
เกมต่อสู้หรือเกมแอคชั่น (action) นั้นทำให้ผู้เล่นรู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะศึกษาว่าเกมต่อสู้นั้นทำให้เรามีสายตาไวขึ้นจริงหรือไม่ นักวิจัยจาก University of Rochester นำโดย Daphne Bavelier ได้ทดสอบอาสาสมัครที่สายตาปกติสองกลุ่ม โดยให้กลุ่มหนึ่งนั่งเล่นเกม Unreal Tournament 2004 และ Call of Duty 2 เป็นเวลา 50 ชั่วโมง เทียบกับอีกกลุ่มหนึ่งที่เล่น The Sims 2 ในเวลาเท่ากันแล้ววัดความสามารถในการแยกแยะสีเทาในระดับต่างๆ (Contrast Sensitivity Function) ทั้งก่อนและหลังเล่นเกม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เล่นเกมต่อสู้นั้นมีความสามารถในการแยกแยะสีเทานี้ดีขึ้นมากกว่าผู้ที่เล่นเกมธรรมดาถึงกว่า 50% โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) นอกจากนี้แล้วยังใช้เวลาในการแยกแยะสีนี้น้อยกว่าอีกด้วย นักวิจัยสรุปว่าการเล่นเกมต่อสู้นี้ช่วยทำให้สมองและสายตานั้นสามารถมีประสิทธิภาพในการมองเห็นได้มากขึ้น โดยอาจใช้ข้อสรุปนี้ในการหาวิธีการช่วยผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสายตาในอนาคต ที่มา: Nature Neuroscience (full text) via Ars Technica
https://jusci.net/node/928
เกมต่อสู้อาจทำให้สายตาไวขึ้น
โครงการดาวเทียมเพื่อสันติในชื่อ Kwangmyŏngsŏng-2 ของทางเกาหลีเหนือได้ถูกยิงขึ้นไปสู่อวกาศเมื่อวานที่ผ่านมา และพบกับความล้มเหลวขณะที่กำลังแยกตัวครั้งที่สอง ทำให้ตัวดาวเทียมและจรวดนำส่งตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนจรวดนำส่งขั้นแรกนั้นตกลงในทะเลญี่ปุ่น ทางการเกาหลีเหนือและรัสเซียได้ออกมายืนยันว่าดาวเทียมประสบความสำเร็จในการนำส่ง โดยได้ส่งสัญญาณในย่านความถี่ 470 เมกกะเฮิรตซ์เป็นเพลงกลับมายังพื้นโลก การกล่าวอ้างเช่นนี้เป็นคำอ้างแบบเดียวกับเมื่อครั้งที่ดาวเทียม Kwangmyŏngsŏng รุ่นแรกล้มเหลวในการนำส่ง เชื่อกันว่าการยิงจรวดครั้งนี้เป็นการทดสอบเทคโนโลยีขีปนาวุธพิสัยไกลมากกว่าจะเป็นการนำดาวเทียมขึ้นไปยังวงโคจรจริงๆ ที่มา - BBC
https://jusci.net/node/929
ดาวเทียมเกาหลีเหนือล้มเหลว, ไม่มีการยิงสกัดจากต่างชาติ
ปัญหาประชากรในจีนที่กำลังล้นจนรัฐบาลได้มีคำสั่งให้คู่แต่งงานมีลูกได้เพียงคนเดียวนั้นกำลังสร้างปัญหาประชากรไม่สมดุลในจีน เนื่องจากพ่อแม่ทำแท้งเมื่อรู้ว่าลูกในท้องเป็นเด็กหญิง จนในตอนนี้สัดส่วนชายต่อหญิงที่อายุต่ำกว่า 20 ปีนั้นสูงถึง 124 ต่อ 100 ในเขตเมือง และ 126 ต่อ 100 ในชนบท บางจังหวัดนั้นเด็กชายมีสัดส่วนมากกว่าเด็กหญิงเกือบสองเท่าตัวเลยทีเดียว ประเทศทั่วไปนั้นสัดส่วนจะอยู่ในช่วง 103 ต่อ 100 ถึง 107 ต่อ 100 เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาที่มาคู่กับมาตราการจำกัดการมีบุตรอย่างเข้มงวด โดยก่อนหน้านี้ประเทศเกาหลีก็เคยประสบปัญหานี้มาก่อน จนทำให้สัดส่วนเด็กชายต่อหญิงนั้นขึ้นไปถึง 229 ต่อ 100 เลยทีเดียว ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/930
การทำแท้งเพื่อเลือกเพศกำลังสร้างปัญหาประชากรไม่สมดุลในจีน
แม้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะมีแนวโน้มสูงว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่ดี แต่การใช้งานจริงนั้นยังอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำมาก โดยเฉพาะหากจะสู้กับปัญหาโลกร้อนในทุกวันนี้ เนื่องจากเมืองใหญ่ทั่วโลกนั้นต้องการพลังงานมหาศาล และขาดการจัดการพลังงานที่ดี โครงการใหม่จากบริษัทพลังงาน Florida Power & Light และบริษัทพัฒนาที่ดิน Kitson & Partners แก้ปัญหาเดิมๆ ด้วยการออกแบบเมืองใหม่ขนาด 70,000 ตารางเมตรใหม่ทั้งเมือง ให้ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวเมืองรองรับประชากรได้ 19,500 หลังคาเรือน โดยใช้พลังงานจากโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 75 เมกกะวัตต์ บ้านทุกหลังในโครงการติดตั้งระบบตรวจสอบการใช้พลังงานเพื่อลดการใช้พลังงานรวมในเมืองลง และยังมีจุดชาร์จไฟให้กับรถไฟฟ้าอีกด้วย โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่าโครงการแบบนี้ค่อนข้างเพ้อฝัน เพราะแม้จะเป็นไปได้ในทางเทคนิคแล้ว แต่การสร้างเมืองใหม่จากศูนย์โดยมีทุกอย่างเป็นของใหม่มีโอกาสที่โครงการจะพังที่จุดใดจุดหนึ่ง (ระดมทุน, ก่อสร้าง, ขายโครงการ ฯลฯ) สูงมาก แต่ถ้ามีการเสนอไอเดียที่เป็นไปได้เช่นนี้ เราอาจจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าเมืองใหญ่ที่ตอนนี้กินพลังงานมหาศาลนั้นทำอะไรกันอยู่ ที่มา - Inhabitat
https://jusci.net/node/931
สร้างเมืองพลังงานแสงอาทิตย์ที่รัฐฟลอริดา
ประโยคทองของการรณรงค์ลดโลกร้อนก็คือ “น้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้กำลังละลาย น้ำจะท่วมโลกในเร็วๆ นี้” แต่ในความเป็นจริงแล้วมันกลับสวนทาง น้ำแข็งที่ละลายในข่าวนั้นเป็นของทวีปแอนตาร์กติกา (ซึ่งมีน้ำแข็ง 90% ของโลก) ฝั่งตะวันตก แต่ในฝั่งตะวันออกน้ำแข็งกลับงอกเพิ่มขึ้นซะอย่างนั้น ทวีปฝั่งตะวันออกใหญ่กว่าฝั่งตะวันตกถึง 4 เท่า และข้อมูลจาก Scientific Committee on Antarctic Research ได้บอกว่า “ทวีปฝั่งตะวันออกเย็นขึ้นอย่างมีนัยยะในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา” Ian Allison หัวหน้าทีมสำรวจของออสเตรเลีย พิจารณาน้ำแข็งในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาและยืนยันว่าน้ำแข็งในแอนตาร์กติกายังสุขสบายดี การที่น้ำแข็งในทะเลละลายไม่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น (เหมือนกับน้ำแข็งในแก้วน้ำละลาย น้ำไม่ล้นนั่นล่ะครับ) แต่ถ้าน้ำแข็งบนพื้นทวีปละลายลงทะเล อันนั้นค่อยเพิ่มระดับน้ำทะเล Peter Garrett รมต. กระทรวงสิ่งแวดล้อมของออสเตรเลียยังยืนยันว่าน้ำแข็งละลายเพราะโลกร้อนอย่างแน่นอน เขาคาดว่าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 6 เมตรในปี 2100 แต่อีกสำนักคือ Scientific Committee on Antarctic Research บอกว่าอย่างเก่งแค่ 1.25 เมตร การทดสอบเจาะน้ำแข็งเพื่อหวัดความหนา ทำที่ Davis Station ในขั้วโลกใต้ฝั่งตะวันออก โดยทีม Antarctic Climate and Ecosystems Co-Operative Research Centre พบว่าหนา 1.89 เมตร หนาที่สุดในรอบสิบปี (ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1950 คือ 1.67 เมตร) ที่มา - News.com.au
https://jusci.net/node/932
น้ำแข็งขั้วโลกใต้เพิ่มขึ้น ไม่ได้ลดลงอย่างที่พูดกัน
MI5 หรือ Security Service หน่วยงานด้านข่าวกรองของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหน่วยงานพี่น้องกับต้นสังกัดของเจมส์ บอนด์ (MI6) ได้ประกาศรับสมัคงานในตำแหน่ง chief scientific adviser หน้าที่ของตำแหน่งนี้คือให้คำแนะนำและดำเนินการทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้กับงานทางด้านความมั่นคงและข่าวกรอง เตรียมเทคโนโลยีให้พร้อมกับปัญหาที่เจ้าหน้าที่ภาคสนามจะต้องเผชิญ พูดง่ายๆ ว่ามันเป็นงานของ Q ใน James Bond 007 นั่นล่ะครับ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า ผู้สมัครต้องมีความรู้ครบเครื่องทั้งเคมี ชีวะ กัมมันตภาพรังสี คอมพิวเตอร์ เพื่อตอบสนองกับภัยก่อการร้ายรูปแบบใหม่ๆ ในอนาคต ตำแหน่งนี้จะสำคัญมากต่อการรับมือการก่อการร้ายของสหราชอาณาจักร ใครอยากเป็น Q ก็รีบไปสมัครด่วน หมดเขต 24 เมษายนนี้ หมายเหตุ: MI5 เน้นงานข่าวกรองและความมั่นคงในประเทศ ส่วน MI6 เน้นระดับต่างประเทศ ที่มา - BBC
https://jusci.net/node/933
MI5 ประกาศรับสมัคร "Q" หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เสนอผลการศึกษา “สิ่งท้าทายอุบัติใหม่” (emerging challenges) ที่มีลำดับความสำคัญสูงและรัฐบาลไทยควรใส่ใจ 5 ประการต่อนายกรัฐมนตรี การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีอุบัติใหม่ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) พลังงานทางเลือก: พลังงานนิวเคลียร์ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกระแสโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และมิติสังคมวัยวุฒิ ในเอกสารของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังอธิบายประเด็นอุบัติใหม่แต่ละตัวพร้อมผลกระทบต่อสังคมไทยแบบคร่าวๆ และเสนอยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศให้เท่าทันกับประเด็นเหล่านี้อีกด้วย เอกสารสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ (PDF) ที่มา - ลานซักล้าง
https://jusci.net/node/934
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ "สิ่งท้าทายอุบัติใหม่" 5 ชนิด
ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลบุช หน่วยงาน Environmental Protection Agency (EPA) ของรัฐบาลสหรัฐบอกว่าไม่สามารถสั่งควบคุม CO2 ได้ เพราะไม่ถือว่ามันเป็นมลภาวะ เวลาเปลี่ยน ใจคนก็เปลี่ยนตาม ในรัฐบาลโอบามา EPA ได้อ้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม และตัดสินใจว่า CO2 นั้นมีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้เกิดภัยธรรมชาติ, ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น, และผลกระทบต่อสัตว์และการเกษตร ทั้งหมดนี้เป็น “ภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐ” การเปลี่ยนใจของ EPA เกิดจากคำสั่งของศาลฎีกาสหรัฐเมื่อปี 2007 ให้องค์กรทบทวนวิธีการตัดสินใจเรื่องปัจจัยของภาวะโลกร้อนเสียใหม่ ดังนั้น ทาง EPA จึงมีสิทธิ์จะสั่งควบคุมการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ในบางกรณีแล้ว (หลังจากที่สหรัฐเป็นผู้ปล่อย CO2 และก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่มานาน) และการควบคุมเต็มรูปแบบจะตามมาในกฎหมายฉบับใหม่ที่กำลังรอการพิจารณาของสภาคองเกรส ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสักระยะ รัฐแคลิฟอร์เนียได้เริ่มต้นแคมเปญจำกัดการปล่อยก๊าซแล้ว (หลังจาก EPA อนุญาต) และมีข่าวว่ารัฐอื่นๆ อย่างน้อย 15 รัฐกำลังจะทำตามแคลิฟอร์เนีย ที่มา - BBC
https://jusci.net/node/935
สหรัฐตัดสินใจรับ CO2 เป็น "ก๊าซมลภาวะ"
Stephen Hawking นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษชื่อดัง ผู้เขียน A Brief History of Time ล้มป่วยถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลในเมือง Cambridge Hawking อายุ 67 ปีแล้ว เขาเริ่มป่วยตั้งแต่ไปเป็น visiting professor ที่อเมริกาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และอาการเริ่มแย่จนต้องยกเลิกกำหนดการไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยแอริโซนาเมื่อวันที่ 6 เมษายน เขาบินกลับมาที่อังกฤษเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว และเข้า รพ. เมื่อวันจันทร์ โฆษกของมหาวิทยาลัย Cambridge ประกาศว่าตอนนี้เขา “อาการดีขึ้นแล้ว” เห็นป่วยๆ นั่งวีลแชร์แบบนี้ Hawking มีลูกสามและหลานหนึ่ง เขาจะลงจากตำแหน่ง Lucasian Professor of Mathematics ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Cambridge อันเดียวกับที่นิวตันและนักวิทยาศาสตร์ดังๆ หลายคนเคยครอบครองภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากครบกำหนดอายุเกษียณที่ 67 ปีตามธรรมเนียม ที่มา - BBC
https://jusci.net/node/936
Stephen Hawking ป่วยเข้าโรงพยาบาล ล่าสุดอาการดีขึ้น
ห้องวิจัย SLAC National Accelerator Laboratory ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ (อยู่ในเครือมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด) ได้เริ่มเดินเครื่อง Linac Coherent Light Source (LCLS) ซึ่งเป็นเครื่องกำเนิดแสงเลเซอร์พลังงานสูงที่สร้างจากรังสี X-ray เป็นเครื่องแรกของโลก LCLS ยังอยู่ในการเดินเครื่องทดสอบเท่านั้น แต่แค่นี้มันก็เป็นเลเซอร์คลื่นสั้นที่สว่างที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ความยาวคลื่นที่ว่าสั้นนั้นคือ 1.5 Angstroms หรือ 0.15 นาโนเมตร (ซึ่งสั้นที่สุดที่เคยสร้างอีกเช่นกัน) วิธีการสร้างมันก็คือจัดเรียง electron beams ที่ล่องลอยอยู่ในสภาพสุญญากาศ ให้เป็นเส้นตรงแบบตรงสุดๆ (เบี่ยงเบนได้ 5 ไมโครเมตรต่อเส้นตรงยาว 5 เมตรเท่านั้น) ผู้รับผิดชอบการสร้าง LCLS บอกว่า “นี่เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ยากที่สุดที่เคยสร้างเลยล่ะ” ประโยชน์ของมันคือเป็นเครื่องมือในการศึกษาการจัดเรียงตัวของอะตอมในวัสดุชนิดต่างๆ การทดสอบจริงจะเริ่มในเดือนกันยายน ที่มา - SLAC National Accelerator Laboratory (ภาพประกอบจาก SLAC)
https://jusci.net/node/937
เลเซอร์พลัง X-ray ตัวแรกของโลก ถือกำเนิดแล้ว!
นักวิจัยจาก Max Planck Institute for Radio Astronomy ในเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ได้ศึกษาว่าในจักรวาลมีกรดอะมิโน (ซึ่งเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต) มากแค่ไหน ผลการทดลองครั้งนี้ล้มเหลว หากรดอะมิโนไม่เจอ แต่ดันไปเจออย่างอื่นแทน นั่นคือสารเคมี ethyl formate ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดรสของราสเบอร์รี!!! การทดลองนั้นใช้กล้องโทรทัศน์ IRAM ในสเปน ดูการแผ่รังสีของดาวเกิดใหม่ในเขต Sagittarius B2 การแผ่รังสีนี้จะถูกดูดซับโดยกลุ่มเมฆที่อยู่ใกล้ๆ และกลุ่มเมฆจะแผ่รังสีเด้งที่สองออกมา แต่คราวนี้จะแผ่รังสีอะไรนั้นขึ้นอยู่กับว่า กลุ่มเมฆนั้นมีสารอะไรอยู่บ้าง นอกจากค้นพบว่าในกลุ่มเมฆมี ethyl formate ยังเจอสาร propyl cyanide ซึ่งเป็นพิษต่อมนุษย์อีกด้วย ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบโมเลกุลอีกหลายชนิด แต่สองอย่างนี้ถือว่ามีขนาดของโมเลกุลใหญ่ที่สุดที่เคยเจอ ส่วนมันจะมีรสเหมือนราสเบอร์รีจริงๆ หรือไม่ ต้องลองไปชิมดูถึงจะรู้! ที่มา - Telegraph
https://jusci.net/node/938
"จักรวาล" อาจมี "รสชาติ" เหมือนราสเบอร์รี
Monsanto บริษัทที่ผลิตพืช GMO รายใหญ่ของโลก ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตร “การเลี้ยงหมู” ต่อองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (หรือ World Intellectual Property Organization) สิ่งที่ Monsanto ได้ขอความคุ้มครองก็อย่างเช่น ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงหมูที่ Monsanto ใช้ เป็นต้น โฆษกของ Monsanto บอกว่าถ้าจดสำเร็จ หมูที่เลี้ยงด้วยวิธีแบบการนี้จะถูกคุ้มครองโดยสิทธิบัตร ปัจจุบัน Monsanto มีส่วนแบ่งในตลาดหมูของสหรัฐอยู่ราวๆ 10-12% ส่วนผู้นำในตลาดคือ Pig Improvement Co (PIC) ซึ่งเป็นบริษัทจากอังกฤษ ทาง Monsanto ให้ความเห็นว่า การจดสิทธิบัตรครั้งนี้ช่วยให้บริษัทเขยิบเข้าไปใกล้ PIC มากขึ้น แน่นอนว่าข่าวนี้ทำให้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยตื่นตระหนก เพราะถ้า Monsanto จดสิทธิบัตรสำเร็จ ผู้เลี้ยงหมูก็อาจโดนฟ้องได้ หลายคนมองว่า Monsanto ไม่ได้คิดอะไรใหม่เลย แค่เพียงเอาเทคนิคที่มีอยู่มายำรวมกันเท่านั้น ที่มา - Common Dreams
https://jusci.net/node/939
ยักษ์ GMO เตรียมจดสิทธิบัตร "หมู"
นักวิชาการสายไบโอเทค หรือชื่อเรียกแบบตรงสาขาจริงๆ คือ “synthetic biologists” จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้เสนอผลงานการสังเคราะห์หน่วยพันธุกรรม (genetic circuit) แบบใหม่ โดยเก็บสต๊อกของหน่วยพันธุกรรมย่อยลงในฐานข้อมูลจำนวนมาก แล้วสามารถวิเคราะห์ล่วงหน้าผ่านคอมพิวเตอร์ได้ว่า ถ้าเอาชิ้นไหนมาประกอบกัน แล้วมันจะมีผลลัพธ์อย่างไร เมื่อได้โมเดลคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ทดลองของจริงโดยใช้ตัวอย่างที่เยี่ยมยอดมาก นั่นคือการหมักยีสต์เพื่อทำเบียร์ โดยเทคนิคการวิเคราะห์แบบนี้สามารถบอกได้ว่า ถ้ายีสต์มีพันธุกรรมแบบไหน จึงจะได้เบียร์ที่ใสสะอาด นุ่ม และมีรสชาติอร่อย James Collins นักวิจัยคนหลักของโครงการนี้ บอกว่าเขาอยากให้วงการไบโอเทค รู้จักกับองค์ประกอบ (component) ทางพันธุกรรมแบบต่างๆ ให้ละเอียดและมากเท่ากับวิศวกรด้านอิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาระบบแผงวงจรขึ้นอย่างมาก และรู้ว่าเอาอะไรมาต่อกับอะไร แล้วจะได้ผลออกมาเป็นอย่างไร ที่มา - MIT Technology Review
https://jusci.net/node/940
วิศวกรรม DNA ช่วยผลิต "เบียร์ที่อร่อยขึ้น"
หลายคนคงเคยได้ยินว่า NASA นั้นเตรียมกลับไปสู่ดวงจันทร์อีกครั้ง โดยเป้าหมายเดิมคือส่งจรวด Ares V ไปยังดวงจันทร์ในปี 2018 (เป็นตัวเลขที่ NASA ใช้ภายใน ส่วนเป้าหมายที่ประกาศต่อคนนอกคือ 2020 โดยมี 2 ปีเป็นตัวเผื่อกรณีมีปัญหา) แต่ล่าสุด NASA กำลังพิจารณาปรับเป้าหมายภายในเป็น 2020 แล้ว ด้วยเหตุผลด้านการเงิน ทำให้กำหนดสาธารณะ 2020 เดิมเริ่มมีปัญหาขึ้นมาทันที เรื่องนี้จะได้ข้อตัดสินอย่างเป็นทางการเมื่อรัฐบาลโอบามาจัดสรรงบประมาณเสร็จในเดือน พ.ค. อดีตผู้บริหารของ NASA บอกว่าเป็นเพราะรัฐบาลบุช หั่นงบโครงการ Ares V จาก 4 พันล้านดอลลาร์ลงมาเหลือ 500 ล้านเท่านั้น ที่มา - Guardian
https://jusci.net/node/941
NASA อาจเลื่อนโครงการสำรวจดวงจันทร์ไปเป็นหลังปี 2020
คุณเคยพบปัญหาว่าหนังสือที่ต้องการขาดตลาด ต้องรอพิมพ์รอบใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะพิมพ์เมื่อไรกันบ้างหรือเปล่า? ห้าปี? สิบปี? ถ้าตอนนี้คุณบังเอิญอยู่ในลอนดอนก็จะโชคดีกว่าชาวบ้านหลายช่วงตัว เพราะเสียเวลารอพิมพ์ใหม่แค่ 5 นาทีเท่านั้น Blackwell ร้านหนังสือและเครื่องเขียนรายใหญ่ของอังกฤษ สาขาถนน Charing Cross ในลอนดอนได้ติดตั้งเครื่องพิมพ์หนังสือที่เรียกว่า Espresso Book Machine (ตั้งชื่อล้อกับเครื่องชงกาแฟ) ซึ่งหนังสือพิมพ์เรียกมันว่าเป็นการปฏิวัติวงการพิมพ์ใหม่อีกครั้ง หลังจากการคิดค้นเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กเลยทีเดียว เครื่อง Espresso นี้มีสต็อกหนังสือให้สั่งพิมพ์ถึง 5 แสนเล่ม ถ้าคุณอยากได้ Alice in the Wonderland ฉบับลายมือของ Lewis Carrol ที่ส่งมาทางแฟกซ์มาให้สำนักพิมพ์เหรอ? Espresso จัดให้ Blackwell จะเพิ่มจำนวนหนังสือให้ถึง 1 ล้านเล่มภายในกลางปีนี้ ซึ่งหนังสือปริมาณขนาดนี้เท่ากับชั้นหนังสือวางเรียงกันยาว 23.6 ไมล์ หรือเท่ากับหนังสือในร้านหนังสือขนาดปกติ 50 ร้านรวมกัน หนังสือส่วนมากหมดลิขสิทธิ์ไปแล้วและสามารถพิมพ์ได้อย่างเสรี แต่ Blackwell ก็มีหนังสือบางส่วนที่ทำข้อตกลงกับสำนักพิมพ์ต่างๆ เลยทีเดียว ซีอีโอของ Blackwell บอกว่าต่อไปนี้ วงการผู้พิมพ์หนังสือจะเปลี่ยนไป เครื่อง Espresso จะช่วยให้ร้านหนังสือรายย่อยขึ้นมาแข่งกับเครือร้านหนังสือขนาดใหญ่ได้มากขึ้น ค่าเครื่องนี้ราคา 175,000 ดอลลาร์แต่ Blackwell คาดว่าจะคืนทุนได้ในสิ้นปี ที่มา - Guardian
https://jusci.net/node/943
Espresso Book Machine: พิมพ์หนังสือเองที่ร้าน
นับแต่ไข้หวัดหมู H1N1 มีการพบในคนครั้งแรกที่เมืองหลวงของเม็กซิโกเมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมาแล้วแพร่กระจายเข้าไปยังสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม วันนี้ยอดผู้เสียชีวิตจากการระบาดของไข้หวัดหมู H1N1 จนในเวลานี้มีการยืนยันผู้ป่วยจากไวรัส H1N1 แล้ว 75 ราย ถึงแก่ชีวิตแล้วอย่างน้อย 20 ราย และมีผู้อยู่ในข่ายสงสัยอีกกว่า 2000 ราย ปัจจุบันมีการยืนยันการเสียชีวิตจากเชื้อ H1N1 เฉพาะในประเทศเม็กซิโกเท่านั้น ส่วนประเทศที่ยืนยันกว่ามีการติดเชื้อในคนแล้วคือสหรัฐฯ แคนาดา สหราชอาณาจักรและสเปน นอกจากนี้ยังมีประเทศที่มีผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยอีกหลายประเทศเช่น นิวซีแลนด์, อิสราเอล, ออสเตรเลีย, เปรู, อิตาลี เป็นต้น กองควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ และองค์การอนามัยโลกได้แสดงความวิตกกังวลว่าโรคไข้หวัดหมูนี้จะแพร่กระจายออกไปทั่วโลกเนื่องจากความสามารถในการติดต่อระหว่างคนสู่คน และการแพร่กระจายข้ามทวีปที่มีการยืนยันแล้ว โดยขณะนี้ทางองค์การอนามัยโลกได้ออกคำเตือนโรคระบาดในระดับ 4 (มีการแพร่จากคนสู่คนในจำนวนน้อย) และอาจจะเลื่อนระดับคำเตือนเป็นระดับ 5 จากการแพร่กระจายข้ามทวีป View H1N1 Swine Flu in a larger map การป้องกันไข้หวัดหมูเป็นกระบวนการปรกติในการป้องกันโรคในกลุ่มไข้หวัดทั่วไป โดยทางกองควบคุมโรคติดต่อแนะทำให้ล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสปาก, จมูก, และตาก่อนที่จะล้างมือ ผู้ที่เป็นหวัดและจามควรจามใส่กระดาษชำระและทิ้งลงถึงขยะทันที และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ยังไม่รายงานไข้หวัดหมูในประเทศไทยและเพื่อนบ้านใกล้เคียงแต่อย่างใด แต่ประเทศเพื่อนบ้านของเราเช่นมาเลเซียและสิงค์โปรได้เริ่มมาตรการป้องกัน ด้วยการประกาศเตือนผู้เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง พร้อมตรวจสอบผู้ป่วยเป็นไข้จากพื้นที่เสี่ยงแล้ว ที่มา - CDC, Wikipedia
https://jusci.net/node/944
ติดตามข่าวไข้หวัดหมู (Swine Flu)
โรคไข้หวัดเม็กซิโกหรือไข้หวัดหมู เป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกเตือนให้มีการระวังการระบาดในระดับ 4 เลยน่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะศึกษาว่าระดับที่ว่านี้หมายความว่าอย่างไร และมันมีผลต่อชีวิตของเราอย่างไรบ้าง องค์การอนามัยโลกได้จัดลำดับการเตรียมความพร้อมสำหรับโรคระบาดไว้หกระดับด้วยกันดังนี้ พบเชื้อไวรัสในสัตว์ที่อาจจะกลายพันธุ์ทำให้ติดสู่มนุษย์ แต่ไม่มีการพบผู้ป่วย พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากสัตว์ พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากสัตว์เป็นระยะ การติดเชื้อจากคนสู่คนเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย พบการติดเชื้อจากคนสู่คน เกิดการระบาดในพื้นที่บางส่วน ระดับนี้แสดงว่าโรคอาจจะระบาดออกไปได้ มีการระบาดในสองประเทศหรือมากกว่านั้นในเขตเดียวกัน ระดับนี้แสดงว่าใกล้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างแล้ว เกิดการระบาดในหลายเขต ระดับนี้แสดงถึงการระบาดระดับโลก โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ 1-3 นั้นยังไม่มีการเตรียมพร้อมในภายนอกมากนัก โดยอาจจะมีการเตรียมความพร้อมเช่นการสำรองยา และการวางแผน ส่วนระดับ 4-6 นั้นแสดงว่าควรมีการจัดการเพื่อบรรเทาการระบาดอย่างเป็นระบบ ที่มา - WHO
https://jusci.net/node/945
ทำความเข้าใจกับระดับการเตือนโรคระบาดขององค์การอนามัยโลก
ช่วงนี้คงไม่มีอะไรโด่งดังไปมากกว่าข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดเม็กซิโก (H1N1) แล้วครับ ถึงแม้ว่าเราจะมียาที่ใช้ในการรักษาอยู่ก็ตาม ผู้คนส่วนใหญ่ก็พยายามหาหนทางในการป้องกันโรค และหนึ่งในวิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่เป็นที่นิยมคือการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามหนทางนี้อาจจะต้องรอถึงอีกกว่า 6 เดือนเลยทีเดียว เนื่องจากว่าวิธีในการผลิตวัคซีนในปัจจุบันนั้นยังคงใช้วิธี “โบราณ” อยู่ นั่นคือการผลิตวัคซีนจะเริ่มขึ้นจากการค้นหาสายพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อมาเลี้ยงให้โตในไข่ไก่ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (USFDA) รับรอง โดยกระบวนการทั้งหมดนั้นกินเวลากว่า 3 สัปดาห์ นี่ยังไม่รวมถึงการทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนอีกกว่า 8-11 สัปดาห์ ซึ่งรวมแล้วก็เป็นกว่าหกเดือนเลยทีเดียว สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันนั้น ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวแล้วถึง 331 รายใน 11 ประเทศ (เม็กซิโก, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรีย, แคนาดา, เยอรมนี, อิสราเอล, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, สเปน, สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) ส่วนในประเทศไทยยังไม่พบโรคดังกล่าวแต่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกคำเตือนให้ชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ ที่มา: WebMD, WHO Influenza A(H1N1) update 7, สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://jusci.net/node/946
วัคซีนไข้หวัดเม็กซิโกยังต้องรออีกหกเดือนเป็นอย่างน้อย
นักวิจัยจากญี่ปุ่นได้ตรวจสอบปริมาณของลิเธียมในน้ำดื่มบริเวณจังหวัด Oita ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน และพบว่ามันอาจมีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายในบริเวณนั้น ผลการค้นพบก็คือในบริเวณที่น้ำมีลิเธียมปริมาณมาก จะมีอัตราการฆ่าตัวตายต่ำกว่าที่อื่น อัตราเฉลี่ยของลิเธียมจะอยู่ที่ 0.7-59 ไมโครกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นักวิจัยคาดว่าถ้ากินน้ำที่มีลิเธียมต่ำกว่าปกติ อาจจะเกิดผลต่อสมอง เนื่องจากคนส่วนมากคุ้นเคยกับน้ำประปาที่มีลิเธียมปริมาณจำนวนหนึ่งอยู่แล้ว ปัจจุบันในทางการแพทย์ได้มีการใช้ลิเธียมในการช่วยรักษาภาวะผิดปกติทางอารมณ์อยู่แล้ว และก่อนหน้านี้ในช่วงปี 1980 เคยมีการศึกษาทำนองเดียวกันออกมาแล้ว ทีมนักวิจัยจากญี่ปุ่นได้เสนอให้มีการทดลองแบบเดียวกันในประเทศอื่นๆ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ที่มา - BBC
https://jusci.net/node/947
น้ำดื่มผสมลิเธียมช่วยลดการฆ่าตัวตาย?
มีรายงานว่าเวิร์ม Conficker ชื่อดังนั้นอาละวาดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายร้อยชิ้นในโรงพยาบาลหลายแห่งของสหรัฐถึงกับใช้งานไม่ได้ ข้อมูลนี้เปิดเผยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในงานประชุมของ RSA อย่างไรก็ตามไม่มีข้อมูลที่ละเอียดกว่านี้ว่า “อุปกณ์ทางการแพทย์” ที่ว่านั้นหมายถึงอะไร จะเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์จริงๆ อย่างเครื่อง MRI หรือว่าเป็นพีซีในโรงพยาบาลกันแน่ ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยหลายรายมองว่านี่เป็นภัยคุกคามต่อระบบที่จำเป็นต้องเสถียรมากๆ อย่างโรงพยาบาล หรือระบบควบคุมเครื่องกลที่เรียกกันว่า SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) และตั้งคำถามว่าจะป้องกันปัญหาอย่างไร สมมติว่ามีกรณีเวิร์มที่แพร่ระบาดในวงกว้างมากๆ ที่มา - CNET
https://jusci.net/node/948
อุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้รับผลกระทบจากเวิร์ม Conficker
วันนี้กรมควบคุมโรคของสหรัฐฯ (US CDC) ได้ออกมาเผยแพร่รูปของเชื้อไวรัส Influenza H1N1 สายพันธุ์ที่ระบาดในเม็กซิโก ที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในห้องปฏิบัติการครับ จะเห็นได้ว่ารูปร่างก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั่วๆ ไปเสียเท่าไหร่ ทั้งนี้เนื่องจากสิ่งที่แตกต่างกันนั้นคือส่วนของโปรตีนที่อยู่ในชั้นเปลือกหุ้มของไวรัส รวมถึงสารพันธุกรรมที่อยู่ในตัวของมันมากกว่า (การที่จะบอกว่าใครติดเชื้อไวรัสดังกล่าวหรือไม่นั้นจะนำสารคัดหลั่งบริเวณทางเดินหายใจมาหาสารพันธุกรรมของไวรัส หรือนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อดูลักษณะของไวรัส) อย่างไรก็ดี นี่เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นโฉมหน้าของมันอย่างชัดๆ สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันนั้นเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการตรวจพบเพิ่มขึ้นในอีก 4 ประเทศคือฮ่องกง, เดนมาร์ค, ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ โดยยอดผู้ติดเชื้อได้พุ่งสูงถึง 615 รายแล้ว อย่างไรก็ดีองค์การอนามัยโลกนั้นไม่ได้ออกคำเตือนให้จำกัดการเดินทางระหว่างประเทศแต่อย่างใด ที่มา: CDC, WHO Influenza A(H1N1) update 9
https://jusci.net/node/949
เผยโฉมหน้าของไวรัสไข้หวัดเม็กซิโก
ผู้บริหารระดับสูงของ Canadian Food Inspection Agency (ประมาณๆ อย. ของแคนาดา) เปิดเผยข้อมูลว่า มีคนงานในฟาร์มหมูของแคนาดาไปเที่ยวเม็กซิโกกลับมา และรู้สึกป่วย สองวันถัดมาเขากลับเข้าไปทำงานในฟาร์ม และเป็นผลให้หมูกว่า 200 ตัว (จากทั้งหมด 2,200 ตัว) ติดหวัด ทั้งคนงานคนนี้และหมูในฟาร์มตอนนี้หายจากไข้หวัดแล้ว แต่คำถามว่าหมูนั้นปลอดภัยแค่ไหนยังเป็นที่น่ากังขา แม้ว่าหมูทั้งหมดในฟาร์มจะโดนกักกันเรียบร้อยแล้วก็ตาม ทาง CFIA บอกว่าไข้หวัดที่พบในหมูเป็นไวรัสแบบเดียวกับที่เจอในคน CFIA ยังออกมาชี้แจงว่า หมูติดหวัดนั้นเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่นี่เป็นครั้งแรกที่หมูติด H1N1 จากคน และโอกาสที่ไข้หวัดจะระบาดจากหมูกลับไปยังคนนั้นมีน้อยมาก ตอนนี้ประเทศแคนาดาในมณฑลใกล้เคียงกัน มีคนติดไข้หวัด H1N1 ไปแล้ว 85 ราย ผู้อำนวยการองค์การสาธารณสุขแคนาดาบอกว่าทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นโรคระบาดระดับไม่ร้ายแรง และทางสาธารณสุขได้เตรียมรับมืออยู่แล้ว ที่มา - CBCNews
https://jusci.net/node/951
แคนาดาพบหมูติด "ไข้หวัดหมู" จากคน
สำนักพิมพ์ Penguin เป็นเครือสำนักพิมพ์ใหญ่ของฝรั่ง และหนึ่งในสำนักพิมพ์ย่อยคือ Penguin Science Fiction ได้รวบรวมเอาหน้าปกของนิยายวิทยาศาสตร์ที่สำนักพิมพ์เคยพิมพ์มาให้ดูกันเป็น gallery The Art of Penguin Science Fiction ในหน้าปกทั้งหมดนี้ก็มีงานของนักเขียนดังๆ อย่างเช่น Isaac Asimov Author C. Clark Ray Bradbury (The Day it Rained Forever) Philip K Dick (นิยายของเขาถูกดัดแปลงเป็นหนังดังหลายเรื่อง เช่น Blade Runner และ Minority Report) Frank Herbert คนเขียน Dune George Orwell (1984 มีแปลภาษาไทยแล้ว) ที่มา - Hicksdesign
https://jusci.net/node/956
รวมภาพปกนิยายวิทยาศาสตร์ของ สนพ. Penguin Book
กระแสไข้หวัดหมู ไข้หวัดเม็กซิโก หรือไข้หวัดสายพันธุ์ H1N1 ชนิด A กำลังเริ่มซา อย่ากระนั้นเลย เรามาเล่นเกม Flash ง่ายๆ บนเว็บที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดชนิดนี้สักหน่อย เกมแรกเดิมชื่อว่า Sneeze (จาม) แต่นักพัฒนาก็ทันสมัยรีบเปลี่ยนชื่อมันเป็น Stop Swine Flu ทันควัน เป้าหมายของเกมคือเราต้องแพร่ไข้หวัดให้ระบาดได้มากที่สุดโดยการจามใส่คนอื่น แล้วให้คนอื่นจามต่อๆ กันไป (ใช่ครับเราเป็นคนเลว อิอิ) ความยากอยู่ที่เราจามได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นก่อนจามต้องคิดดีๆ ว่าจะจามอย่างไรให้คนในฉากติดหวัดได้มากที่สุด ผมเล่นไปถึงด่าน 10 ต้องทำได้ 80% ของทั้งฉากก็จอดแล้ว เกมนี้ดังถึงขนาดลง New York Times ด้วยนะ เกมที่สอง Swine Flu: Hamdemic เป็นเกมสำหรับคนหมั่นไส้อเมริกาโดยเฉพาะ เราจะเป็นคนเม็กซิโกที่ต้องการยิงซากหมูตายด้วยไข้หวัดด้วยหนังสติ๊กให้ลึกเข้าไปในพรมแดนอเมริกา ใครยิงไกลสุดชนะ ตอนยิงไปแล้วเราจะมีกระสุนสามารถยิงหมูให้เด้งต่อไปได้ ผมทำได้สูงสุดประมาณ 2,700 เมตร เห็นว่าคะแนนสูงสุดประจำวันได้ 4 พันกว่าเชียว ที่มา - Joystiq
https://jusci.net/node/960
มาเล่นเกม "ไข้หวัดหมู" กันเถอะ
(ภาพต้นฉบับจาก Flickr ของ Barackobamadotcom) รัฐบาลโอบามาเข้ามาปีแรกก็ต้องเจอกับปัญหางบประมาณขาดดุลถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นในร่างงบประมาณปี 2010 ที่กำลังจะมา รัฐบาลจึงต้องหั่นงบประมาณที่ไม่จำเป็นทิ้งเป็นการด่วน แค่ชื่อเอกสารหนึ่งในร่างงบประมาณก็น่ากลัวแล้ว ?Terminations, Reductions, and Savings: Budget of the U.S. Government, Fiscal Year 2010? ได้ระบุ 120 โครงการที่ควรตัดทิ้งหรือไม่ก็ลดงบซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ 17,000 ล้านดอลลาร์ ที่น่าตกใจคือหลายโครงการนั้นเป็นโครงการด้านวิจัยและวิทยาศาสตร์ เช่น โครงการวิจัยวัคซีนโรคแอนแทร็กซ์, โครงการปรับปรุงศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ Los Alamos, ช่วยเหลือเงินด้านพลังงานนิวเคลียร์เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เอกชน, โรงเก็บขยะนิวเคลียร์แห่งใหม่ นอกจากนี้ยังมีงบวิจัยของกองทัพที่โดนหั่นอีกหลายส่วน อย่างไรก็ตาม ปีหน้า NASA ได้งบเพิ่ม 5% ที่มา - Science News, Slashdot
https://jusci.net/node/965
สหรัฐหั่นงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์
ในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคืองการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินดูเหมือนจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ บริษัทที่ให้บริการตีพิมพ์วารสารวิชาการมายาวนานอย่าง Elsevier ก็ไม่ได้หลุดไปจากวงเวียนนี้ได้ เมื่อบริษัท Excerpta Medica ซึ่งเป็นหน่วยงานลูกของบริษัท Elsevier สาขาออสเตรเลียได้ตีพิมพ์วารสาร Australasian Journal of Bone and Joint Medicine ที่เป็นการรวมเอารายงานที่เป็นผลดีต่อยาจากบริษัท Merck เท่านั้น นอกจากวารสารนี้แล้วบริษัท Elsevier ยอมรับว่าได้ตีพิมพ์วารสารในลักษณะเดียวกันนี้ไปแล้วถึงหกฉบับ โดยปฏิเสธว่าทาง Elsevier ไม่ได้เรียกเอกสารเหล่านี้ว่าเป็นวารสารวิชาการแต่อย่างใด เสียเงินค่าตีพิมพ์แล้วยังเป็นอย่างนี้ ผมสนับสนุน Open Access เต็มที่ครับ ที่มา - BibWild, Guardian
https://jusci.net/node/966
Elsevier สร้างวารสารเพื่อการโฆษณาให้บริษัทยา
คงเป็นธรรมเนียมว่าบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ นั้นจะมีตำแหน่ง Fellow ที่เป็นเกียรติให้กับนักวิจัยที่ทำผลงานให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญสูง และชั่วอายุ 120 ปีของ IBM นั้นมีนักวิจัยเพียง 218 คนที่เคยได้รับตำแหน่งนี้ และปีนี้เองก็มีผู้ได้รับเสนอชื่อทั้งหมด 8 คน รวมถึง Chieko Asakawa นักวิจัยผู้พิการทางสายตาชาวญี่ปุ่น เธอเป็นหนึ่งในผู้พัฒนา Homepage Reader ของไอบีเอ็มที่รองรับเว็บถึง 11 ภาษา และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างความตระหนักต่อการรับรู้ข้อมูลของผู้พิการทางสายตาในวงกว้าง บ้านเราไม่รู้ว่าเค้าใช้ซอฟต์แวร์ตัวไหนกัน น่าจะมีการเผยแพร่ให้รับรู้ในวงกว้าง เผื่อนักพัฒนาจะได้ทำเว็บให้เข้ากับซอฟต์แวร์ได้ดีขึ้น ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/996
นักวิจัยตาบอดหญิงได้เข้าชิงตำแหน่ง IBM Fellow
แผนการด้าวนอวกาศของจีนเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าเป้าหมายหลักจะยังเป็นดวงจันทร์ แต่ดาวอังคารก็ไม่ทิ้ง ในงาน Shanghai International Aerospace Technology and Equipment Exhibition ทางการจีนเปิดเผยว่าจะส่งยานสำรวจ Yinghuo-1 ไปสำรวจดาวอังคารภายในสิ้นปีนี้ มันจะเดินทางไปพร้อมกับยาน Phobos-Grunt ของรัสเซียด้วยจรวดอันเดียวกัน ยาน Phobos-Grunt จะแยกไปสำรวจดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคาร ส่วน Yinghuo-1 จะมุ่งไปที่ดาวอังคารโดยตรงเพื่อโคจรรอบดาวอังคาร โดยที่ไม่ลงไปพื้นผิว Yinghuo-1 จะใช้เวลาเดินทาง 11 เดือนและถึงดาวอังคารในปี 2010 การบุกเบิกดาวอังคารครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 1964 เมื่อสหรัฐส่งยาน Mariner 4 ไปโคจรถ่ายภาพรอบดาวอังคารได้สำเร็จ 40 กว่าปีถัดมา จีนกำลังจะทำแบบเดียวกัน ที่มา - Xinhua
https://jusci.net/node/997
จีนเตรียมส่ง Yinghuo-1 บุกดาวอังคาร