text
stringlengths
11
12.4k
meta
dict
กลองกิ่ง กลองกิ่ง เป็นกลองของเล่นที่เด็กใช้ไม้ตี มีเสียงดังคล้ายเสียงขิม และเสียงพิณ ทําจากปล้องไม้ไผ่ขนาดใหญ่ มีสายไม้ไผ่เป็นเส้นหรือเป็นกิ่ง 2 เส้น สําหรับใช้ไม้ตี เนื่องจากสมัยก่อนชาวบ้านนําไม้ซางมาทํารั้ว แล้วเห็นว่าไม้ที่เหลือจากการทํารั้วน่าจะนํามาทําอย่างอื่นได้อีก จึงคิดทําของเล่นให้กับลูกหลานยามพ่อแม่ไม่อยู่บ้าน ทําให้เกิดของเล่นชิ้นนี้ขึ้นมา ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถึ่มทึ้ม ตึงตึง ตึ่งตึ้ง ซึงไม้ซาง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กังหันหมุน กังหันหมุนหรือใบหมุน เป็นของเล่นพื้นบ้าน มีลักษณะวิธีทําคล้ายบั่นบื้อ ใช้เชือกดึงไปมา ทําให้ใบกังหันหมุนได้อย่างรวดเร็ว การที่ชาวบ้านเรียกว่า กังหันหมุนเพราะว่าใบพัดซึ่งทําด้วยไม้ไผ่แบนๆ มีลักษณะเหมือนกับใบพัดกังหันที่ทําขึ้นไว้ปะทะกับแรงลม ในขณะที่ลมพัดหรือขณะที่เด็กถือกังหันวิ่ง สําหรับกังหันหมุนนี้จะไม่อาศัยแรงลมพัดแต่จะใช้เชือกดึงแกนใบพัดให้หมุน มีชื่อเรียกอีกว่า กําหมุน ไม้พัด ชุกหมุน พัดลมดึง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กังหัน กังหัน เป็นของเล่นพื้นบ้านที่เรียกตามวัสดุที่นํามาทํากังหัน เช่น กังหันใบเพกา กังหันใบลาน กังหันใบตาล กังหันดอกไม้ไผ่ กังหันไม้ไผ่ และกังหันกระดาษ เป็นต้น กังหันที่ชาวบ้านเคยเล่นกันมาตั้งแต่เดิม คือ กังหันใบเพกา ส่วนกังหันไม้ไผ่ ชาวบ้านมักจะทําในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เพราะทําให้รู้แรงลมพัด และทิศทางเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการนวดข้าวที่กองอยู่ในลาน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
จั๊กจั่น จั๊กจั่น หรืออีกชื่อหนึ่งที่คนสมัยก่อนเรียกกันว่า อ๊อดๆ เป็นของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากการเลียนเสียงสัตว์ร้องตามธรรมชาติ เป็นของเล่นที่ผู้ใหญ่ทําให้เด็กเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
โก๋งเก๋ง ขาหยั่งเป็นของเล่นพื้นบ้าน ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นขาเดิน 2 ข้าง คล้ายเป็นขาเทียม เพื่อใช้ก้าวย่างเดินจะทําให้ตัวสูงขึ้น ขาหยั่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ขาย่าง โกกเกก โถกเถก เป็นต้น การเรียกว่า โกกเกก อาจจะเรียกตามเสียงที่ได้ยินจากการใช้ขาหยั่งเดิน หรืออากัปกิริยาของผู้เดินด้วยขาหยั่ง นอกจากนี้อาจจะมาจากการเพี้ยนเสียงระหว่างคําโกกเกก และคําโถกเถก คําว่า “โถก” แปลว่า ยาว เช่น คนขาโถก คือคนขายาว ส่วนคําว่า “เถก” แปลว่า เก้งก้าง เดินขาโถกเถก แปลว่า เดินขายาว มีลักษณะเก้งกว้าง การเล่นหยั่งขา มีลักษณะบางประการคล้ายกับการเล่นเดินกะลา เกิดจากความจําเป็นที่ต้องแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน เช่น ในพื้นบ้านชนบทมักจะผูกมัดวัวควาย หรือเลี้ยงสัตว์ใต้ถุนบ้าน การเดินเข้าไปในใต้ถุนบ้านอาจสกปรก จึงใช้การเดินด้วยกะลา ต่อมาจึงประยุกต์ใช้ขาหยั่งเดินแทนในที่ที่มีโคลนตมเฉอะแฉะมากขึ้น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ตะแล็บแก็บ ตะแล็บแก็บเป็นของเล่นเด็กใช้วัสดุประเภทกะลามะพร้าว กระบอกไม้ไผ่ กล่องไม้ขีดหรือกระป๋องทําเป็นที่ผูกติดต่อสื่อสารกัน โดยผู้ฟังจะใช้ที่รับแนบไว้ที่หู เพื่อให้ได้ยินเสียง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ดาบ ดาบไม้ของเด็กเล่นก็ใช้วิธีการเลียนแบบมาจากดาบจริง แต่การที่เด็กจะใช้ดาบจริงจะอันตราย ผู้ใหญ่จึงได้คิดทําดาบไม้ขึ้นมาใช้แทนดาบจริงให้เด็กไว้ถือเล่นโก้ๆ หรือใช้ฟันเล่นกันตามแบบผู้ใหญ่ ซึ่งเด็กจะยกย่องและภาคภูมิใจว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ที่กล้าหาญมีความสามารถ รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็กๆ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
นกหวีดดิน นกหวีดเป็นของเล่นพื้นบ้านปั้นด้วยดินเหนียวเป็นรูปนกชนิดต่างๆ ใช้ปากเป่าที่หางนกจะมีเสียงหวีดร้องจึงเรียกชื่อว่า นกหวีด
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
บั่นบื้อ บั่นบื้อ บ่าหวือ ลูกหวือ อีหวือ ของเล่นที่มีเสียงดังหวือ หวือ วัสดุที่ใช้ทําลูกหวือ สามารถใช้ผลของต้นไม้ต่างๆ ที่มีลักษณะกลม แบน หรือ จะใช้ไม้เนื้อแข็งถากให้ได้แผ่นกลมๆ ก็ได้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
รถบรรทุก รถบรรทุกเป็นของเล่นที่ใช้ไม้ทําเลียนแบบรถบรรทุก ซึ่งเด็กชายจะเล่นมากกว่าเด็กหญิง โดยใช้จูงลากไปตามถนนหนทาง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ลูกฟัด ลูกฟัดเป็นของเล่นที่ใช้ฝ่ามือสองข้างปั่น หรือหมุนแกนไม้ หากลูกฟัดของใครหมุนได้นานกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ ลูกฟัดบางแห่งเรียกว่า ลูกฟัดหรือลูกพัด การที่เรียกลูกฟัดเพราะเวลาเล่นจะใช้แรงมือปั่นหมุนแกนไม้ให้ลูกฟัดเหวี่ยง สะบัดไปมาและหมุนอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุเล่าถึงการทําลูกฟัดในสมัยก่อนจะทําด้วยดินเหนียว ใช้แกนไม้เสียบตรงกลางผึ่งแดดให้แห้ง จึงนํามาเล่นแข่งหมุนกัน นอกจากการทําลูกฟัดด้วยดินเหนียวแล้วยังใช้ผลจากต้นไม้ทําเป็นลูกฟัดได้อีก เช่น ลูกสะบ้า ลูกตะโก ลูกมะเกลือ ลูกจัน ลูกตะขบ เป็นต้น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
โหวด โหวด เป็นของเล่นพื้นบ้านทําด้วยลําไม้ไผ่ ลําค่อนข้างเล็กหลายๆ ท่อน ใช้ครั่งยึดรวมกันเวลาให้เกิดเสียงจะเป่ารูไม้ไผ่ หรือมัดเชือกหมุนไปโดยรอบ บางแห่งเรียกโหวดว่า หวูด การทําโหวดได้พัฒนามาจากเครื่องมือเป่า เรียกสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น การเลี้ยงช้างเป็นโขลง ผู้เลี้ยงช้างจะนําเขาควายมาตัวจนเห็นลักษณะภายในกลวง ใช้มือป้องเสียงไว้เป่าเป็นจังหวะ จ่าฝูงเมื่อได้ยินเสียงจะจําเสียงที่เป่าได้ แล้วจะพาโขลงช้างกลับมาหาผู้เลี้ยง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
อีโก๊ะ อีโก๊ะเป็นของเล่นพื้นบ้านไทยสมัยก่อน เด็กๆ และวัยรุ่นมักนิยมใช้เดินและวิ่งแข่งขันกัน อีโก๊ะมีชื่อเรียกแตกต่างกันแต่ละพื้นที่ เช่น กบกับ กุบกับ อีกุบอีกับ โกบกาบ ปะกับ ก๊อบแก๊บ โก๊ะกะ โกกเกก อีก๊บ อีโก้บ รองเท้ากะลา และม้ากะลา เป็นต้น การเรียกชื่อแตกต่างกันอาจเป็นเพราะเรียกตามเสียงที่ได้ยินตอนเดินและตอน วิ่ง หรืออาจเรียกชื่อตามลักษณะวิธีใช้ อีโก๊ะมักเล่นกันในหมู่ของเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
คนเลื่อยไม้ คนเลื่อยไม้ หรือ สล่าเลื่อยไม้นี้ เป็นของเล่นที่จําลองมาจากการตัดไม้ของสล่าไม้ในอดีตเพื่อนํามาสร้างบ้าน (สล่า เป็นภาษาพื้นเมืองในภาคเหนือ แปลว่า ช่าง) เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องจักรช่วยทุ่นแรงเช่นทุกวันนี้ การเลื่อยไม้จําเป็นต้องใช้แรงงานคนในการตัดไม้ ในอดีต
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
คนตําข้าว คนตําข้าว เป็นของเล่นที่จําลองมาจากวิถีชีวิตของคนในอดีต ที่ใช้เครื่องมือในการแกะเปลือกข้าวออกจากเมล็ด ซึ่งมีเครื่องมือที่เรียกว่า ครกมองสําหรับใช้เท้าเหยียบ และแบบใช้มือตํา
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
บาร์โต๊ะ บาร์โต๊ะ เป็นของล่นที่จําลองมาจากบาร์ห้อยโหน หรือวัดบาร์ หรือบาร์คู่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับการออกกําลังกาย
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
อมรเทพ อมรเทพ เป็นของเล่นที่ประยุกต์ตั้งชื่อตามนักกีฬายิมนาสติกของไทย “อมรเทพ แววแสง” โดยยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น ป๊อกกะแด๊ก คนเล่นบาร์ บาร์เดี่ยว บาร์บีบ ตุ๊กตาเล่นบาร์ คนตีลังกา เป็นต้น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
จานบิน จานบิน เป็นของเล่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของกลุ่มเด็กเลี้ยงควายตามท้องไร่ท้องนาในอดีต ที่คิดประดิษฐ์ของเล่นชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อแก้เหงา โดยได้แนวคิดจาดลูกไม้รักที่หล่นจากต้นแล้วหมุนติ้วลงสู่พื้นดิน ประยุกต์กับแนวคิดเรื่องรูปร่างใบพัดเฮลิคอปเตอร์เพื่อให้ของเล่นชิ้นนี้สามารถทะยานขึ้นสู่ฟ้าได้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
สัตว์กะลา สัตว์กะลาสร้างจากกะลามะพร้าวรูปทรงต่างๆ ผสานกับจินตนาการออกมาเป็นสัตว์ต่างๆ แต่เดิมนั้นผู้ใหญ่จะทําสัตว์กะลาให้เด็กเล่นในช่วงที่มีการทําขนมตามประเพณีต่างๆ เนื่องจากขนมไทยส่วนใหญ่จะใช้มะพร้าวเป็นส่วนประกอบ กะลามะพร้าวที่เหลือจึงนํามาดัดแปลงเป็นของเล่นให้แก่เด็กๆ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
พญาลืมงาย พญาลืมงาย ของเล่นเกมเชาว์พื้นบ้าน “งาย” เป็นภาษาล้านนา หมายถึง เวลาเช้า พญาลืมงาย หมายถึง การที่เล่นจนลืมไปว่าถึงเวลาเช้าแล้ว
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
พญาลืมแลง พญาลืมแลง ของเล่นเกมเชาว์พื้นบ้านอีกชิ้นหนึ่ง “แลง” นั้น หมายถึง เวลาเย็น พญาลืมแลงจึงหมายถึง การที่เล่นจนลืมไปว่าเป็นเวลาเย็นแล้ว ในสมัยก่อนที่คนเฒ่าคนแก่ทําเล่นจะใช้ก้องเฟือง (ต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว) มาทําเล่นแต่มันไม่คงทน ในปัจจุบันจึงหันมาใช้ไม้ไผ่มาทําแทนเพราะแข็งแรงทนทานกว่า
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
นกหวีดไม้ไผ่ นกหวีดไม้ไผ่ ทําขึ้นจากไผ่ซางหรือไผ่เหียะเพียง 2 ท่อน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการหาเลี้ยงชีพ สามารถที่จะเป่าเป็นเสียงนกต่างๆ ได้มากมายหลายชนิด ตามแต่ความสามารถของผู้เป่า เพื่อล่อนกให้ออกมา ทําให้ง่ายต่อการจับนก
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ลูกข่างโว้ ลูกข่างโว้ เป็นของเล่นประเภทลูกข่าง แต่จะมีความต่างจากลูกข่างชนิดต่างๆ คือ ลูกข่างโว้จะมีเสียงดัง โว้ๆๆๆ เวลาที่หมุนซึ่งจะต้องมีเชือกและไม้ยิงลูกข่างช่วยเวลาที่เล่นด้วย ลูกข่างโว้เกิดจากการทําเสาตุงของคนในภาคเหนือ ซึ่งจะทําปักกันในงานเทศกาลต่างๆ ที่วัด แต่ละปล้องของไม้ไผ่ที่ทําเสาตุงจะเจาะเป็นรู ลักษณะของรูจะยาวขนานไปกับความยาวของปล้องไม้ไผ่ แต่ละรูที่เจาะจะมีลักษณะทแยงเข้าไปเป็นลิ่มขนานกันทั้งสองรูแต่ละปล้องจะไม่ตรงกัน ทั้งนี้เพราะว่าเวลาลมพัดมาทิศทางไหนก็จะเกิดเสียงดังโว้ๆ อยู่ตลอดเวลา ทําให้เสาตุงดังไปทั่วหมู่บ้าน บอกให้รู้ว่ามีเทศกาลงานบุญที่วัด
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
งูกินนิ้ว งูกินนิ้ว หรือ งูไม้ไผ่สาน เป็นของเล่นที่ฝึกเชาว์ปัญญา ทั้งยังให้ความตื่นเต้น เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ ในสมัยก่อน มีเรื่องเล่ากันว่า ผู้ชายในสมัยก่อนใช้งูไม้ไผ่เป็นเครื่องมือในการเกี้ยวสาว โดยหลอกให้สาวเอามือใส่เข้าไปในงู และไม่สามารถดึงงูออกได้เอง ผู้ชายก็จะช่วยเอางูออกให้ เป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
แมลงปอ แมลงปอ หรือ กัมบี้ (ภาษาเมือง) ของเล่นอีกชิ้นที่ทําได้ไม่ยาก ตัดแต่งตามรูปร่างและจินตนาการ จากแขนงไม้ไผ่กลายมาเป็นแมลงปอ เพื่อใช้บอกเล่าชีวิตวงจรของมัน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กําหมุนบิน กําหมุนบิน เป็นของเล่นที่สามารถลอยขึ้นฟ้าได้ โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างของล่น 2 ชิ้น คือ กําหมุน และ จานบิน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปี่เสียงนก ปี่เสียงนก มีรูปร่างคล้ายปี่ ทําจากไม้ไผ่ สามารถเป่าเลียนเสียงคล้ายเสียงนกได้หลายเสียง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ก๋ง คันกระสุน ใช้ลูกดินปั้นกลมๆ ตากให้แห้งเป็นลูกกระสุน ซึ่งเด็กๆ มักจะทําไว้เล่นหรือล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นก กระรอก ฯลฯ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
บาร์สูง บาร์สูง เป็นของเล่นที่มีลักษณะท่าทางเหมือนคนกําลังโหนบาร์ เหมาะสําหรับเด็กเล็กที่ใช้มือข้างเดียวบีบอมรเทพเล่นยังไม่ได้ ก็ต้องใช้สองมือถือด้ามไม้ทั้งสองแล้วบีบเล่น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปืนไม้ ปืนไม้ เป็นของเล่นที่ทําจากไม้เนื้อแข็ง ผสมกับไม้ไผ่ เมื่อยิงออกไปตัวไม้จะกระทบกันทําให้เกิดเสียงดัง หรือปั้นดินเล็กๆ ทําเป็นลูกกระสุนใส่ในตัวกระบอกก็ได้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ปืนไม้ ปืนหนังสติ๊ก ปืนลูกดอก ปืนดินเหนียว
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
สัตว์กระโดด สัตว์กระโดด เป็นของเล่นซึ่งแกะเป็นสัตว์รูปต่างๆ และใส่กลไกให้สัตว์นั้นสามารถเคลื่อนไหวได้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ลูกข่างสตางค์ สมัยก่อนคนเฒ่าคนแก่ใช้สตางค์รูมาทําลูกข่างให้เด็กๆ เล่น แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ไม้หรือลูกสะบ้าแทน ชื่อของลูกข่างอาจจะเปลี่ยนตามวัสดุที่นํามาทําลูกข่าง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
สัตว์ล้อ สัตว์ล้อ เป็นของเล่นที่แกะมาจากไม้ จําลองเป็นรูปสัตว์ต่างๆ อาทิ เช่น วัว ควาย กวาง ฯลฯ แล้วนํามาติดล้อแทนขา เด็กๆ จึงเข็นเล่นได้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปืนแก๊ป ปืนแก๊ปเป็นของเล่นทําด้วยไม้มีลักษณะคล้ายปืน ใช้ยางยึดเหนียวรัดให้ไม้ทั้งสองด้าน ขณะยิงปืนไม้จะกระทบกับแก๊ป ทําให้เกิดเสียงระเบิดดังเหมือนเสียงปืน ผู้สูงอายุหลายท่านในแถบภาคเหนือตอนล่าง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทําปืนแก๊ป ซึ่งพอสรุปได้ว่า ปืนแก๊ปที่ทําจากไม้จะใช้ยิงในประเพณีทําบุญวันตรุษ การทําบุญวันตรุษจองประชาชนเพื่อเป็นการลืมสิ่งทุกข์โศกที่ผ่านมาให้หมดสิ้นปี หรือตัดปีเก่าให้ขาดไป เมื่อวันตรุษมาบรรจบครบรอบประชาชนต่างก็แสดงความยินดี มีการทําบุญตักบาตร และมีการเล่นรื่นเริงอย่างสนุกสนาน บางคนจะใช้ปืนแก๊ปที่สําหรับยิงสัตว์หรือเอาไว้ปกป้องครอบครัว ขับไล่ผีบ้าน คือผีประจําบ้านหรือสิงสถิตอยู่ในบ้านของตนให้ออกจากบ้านไปรับผลบุญกุศลที่วัด ในเทศกาลทําบุญวันตรุษ การใช้ปืนแก๊ปที่ใช้ยิงได้จริงๆ อาจมีอันตราย จึงได้ประดิษฐ์ปืนแก๊ปทําด้วยไม้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
บ้องถบ บ้องถบ บ่าถบ อีถบ อีโบ๊ะ ปืนของเล่นไม้ไผ่ ส่วนลูกกระสุนใช้กระดาษชุบน้ําพอหมาด หรือจะใช้ลูกผลไม้ก็ได้ บั้งโพล๊ะเป็นของเล่นที่ฝึกความแข็งแรง และเล่นกันตั้งแต่ตอนเหนือของอาเซียนจนถึงตอนใต้ของอาเซียน เป็นของเล่นไม้ไผ่ลักษณะคล้ายท่อ เจาะรูภายในไว้บรรจุกระสุนต่างๆ เช่น พวกลูกไม้ และมีด้ามจับไว้กระทุ้ง เมื่อยิงออกไปจะเกิดเสียงดัง “โพล๊ะ” คําว่าโพล๊ะจึงกลายเป็นชื่อเรียกที่ได้ยินจากเสียง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันเล็กน้อยตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกบั้งโพล๊ะ ภาคใต้เรียกชับโพล๊ะ และยังมีชื่อเรียกอื่ๆ ตามท้องถิ่นอีก เช่น อีทบ บักทบ ยัดโบ๊ะ บ้องโผล บอกโผง ปืนยัดโบะ ปืนไม้ไผ่ เป็นต้น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
นกกระเรียน นกกระเรียนเดินเป็นของเล่นที่ทําเป็นรูปร่างนกเดินได้ด้วยการใช้เส้นเชือกด้าย หรือเส้นเอ็นมัดกับส่วนต่างๆ ของนก ยึดติดกับไม้ถือ ซึ่งสามารถให้นกเดินได้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
เรือไม้โสน เรือเป็นของเล่นเด็ก สามารถลอยแล่นไปในน้ําโดยใช้ยางวง ยางในรถจักรยาน หรือยางในรถยนต์ดึงรัดกับใบพัดเรือหมุนเป็นเกลียว เวลาปล่อยเรือลงน้ําใบพัดจะหมุนพุ้ยน้ําทําให้เรือวิ่งได้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ล้อ ล้อเป็นของเล่นเด็กใช้วิ่งเล่น เรียกชื่อแตกต่างกันตามประเภทของวัสดุและรูปร่างลักษณะที่ทํา เช่น ล้อไม้ ล้อกะลา เป็นต้น ล้อไม้จะใช้ปลายไม้พาดบ่าของผู้เล่นวิ่งไสไปข้างหน้า แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ ล้อเดี่ยวและล้อคู่
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ล้อวงกลม ล้อวงกลมเป็นของเล่นพื้นบ้านที่เด็กๆ ใช้ไม้ตีวงล้อให้หมุนวิ่งไปข้างหน้า ผู้เล่นจะวิ่งตามใช้ไม้ตีไปเรื่อยๆ บางทีจะตีวงล้อกลมแข่งขันกัน หรือให้สําหรับแข่งวิ่งผลัด ล้อวงกลม บางทีเรียกว่า ล้อวงกลมใช้ไม้ตี หรือ ตีลูกล้อ ของเล่นประเภทนี้ ประหยัด ทําได้ง่ายได้ประโยชน์ทางด้านการออกกําลังกาย และสร้างความเพลิดเพลินสนุกสนาน เพราะจะเล่นเป็นกลุ่มๆ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
อีดีด อีดีด เป็นของเล่นของเด็กมาตั้งแต่สมัยโบราณทําจากไม้ไผ่ ผู้ปกครองของเด็กนิยมทําให้เด็กเล่น เพราะถ้าอีดีดมีขนาดใหญ่และสร้างให้มีความแข็งแรงแล้วจะกลายเป็นอาวุธ หรือเครื่องมือเครื่องใช้สําหรับการล่าสัตว์ ฉะนั้นผู้ปกครองของเด็กจึงนิยมทําให้เด็กเล่น เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยและความชํานาญในการใช้อีดีด กล่าวกันว่าอีดีดนั้นเป็นต้นแบบของคันกระสุน และหน้าไม้อีกด้วย ในปัจจุบันนี้เราไม่ค่อยพบเห็นอีดีด ส่วนใหญ่จะทราบจากการเล่าขานจากผู้ใหญ่เท่านั้น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ป๊อกแป๊ก ป๊อกแป๊ก ทําจากไม้เนื้อแข็งเพื่อไว้ให้เด็กเขย่าเล่น ซึ่งชื่อของป๊อกแป๊กก็มาจากเสียงของไม้ที่เขย่าแล้วกระทบกันจนเกิดเสียงขึ้นมา
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
นกหวีดน้ํา นกหวีดน้ําเป็นของเล่นพื้นบ้านที่มีลักษณะพิเศษคือ มีน้ําอยู่ข้างใน โดยน้ําจะกระเพื่อมเมื่อมีการเป่าลม ทําให้ลักษณะโพรงภายในและระดับเสียงเปลี่ยนไปตามจังหวะการกระเพื่อมของน้ํา ฟังดูคล้ายเสียงนกร้อง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
เรือสังกะสี เรือป๊อกแป๊กเป็นของเล่นที่ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ คือ แรงดันไอน้ํา โดยภายในเรือจะมีกระเปาะสําหรับต้มน้ํา โดยมีท่อต่ออกจากกระเปาะ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
หุ่นเชิดใบไม้ ของเล่นบทบาทสมมติ ที่นําใบไม้ วัสดุรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นหุ่นเชิด
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
คนตัดฟืน คนตัดฟืน เป็นของเล่นจําลองมาจากวิถีชีวิตของคนในอดีต ที่ชาวบ้านเข้าป่าหาฟืน และใช้เลื่อยเป็นครื่องมือ เลื่อยแบ่งไม้ฟืนเพื่อใช้ในชีวิตประจําวัน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
วัวชน วัวชน ควายชน ของเล่นจากบ้านป่าแดด พิพิธภัณฑ์เล่นได้ ที่ต่อยอดและพัฒนามาจากของเล่นชื่อว่า สัตว์กระโดด โดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม และออกแบบของเล่นจากประสบการณ์ชีวิต จากสื่อกีฬาพื้นบ้านที่เอาวัวมาชนกัน จึงอยากเห็นสัตว์สองตัวเคลื่อนไหวเข้าชนกัน ชาวบ้านได้ออกแบบและปรับมาจนเป็นวัวชนอย่างปัจจุบัน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
งูไม้ระกํา ของเล่นประเภทนี้ทําจากไม้ระกํา และมักจะถูกทําเป็นของเล่นสัตว์หลากหลายชนิด ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีจํานวนมากในสมัยนั้น เช่น งู กระรอก จระเข้ เป็นต้น ของเล่นสัตว์จําลองจากไม้ระกําเป็นของเล่นที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ป๋องแป๋ง ป๋องแป๋ง สันนิษฐานว่าเป็นของเล่นที่อาจจะเข้ามาในเมืองไทยพร้อมกับชาวจีนก็เป็นได้ เพราะแต่เดิมนั้นของเล่นชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของคนจีนย้อมผ้า ที่หาบปีบย้อมผ้าไปตามบ้านและก็จะถือกลองหรือป๋องแป๋งนี้แกว่งไปมาเพื่อให้ รู้ว่าช่างย้อมผ้ามาแล้วใครจะย้อมผ้าก็ให้เอาผ้าออกมา ป๋องแป๋ง เราเรียกชื่อตามเสียงที่มันดังก็ได้ เมื่อคนจีนย้อมผ้าไปที่ใดมักจะมีเด็กๆ ไปมุงดูกลองหรือป๋องแป๋งอยู่เสมอ เป็นที่ชอบของเด็กๆ ผู้ใหญ่จึงคิดทําเลียนแบบขึ้นมาให้เด็กเล่น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปืนก้านกล้วย ปืนก้านกล้วยเป็นของเล่นที่ทําจากก้านกล้วย ใช้มือปัดหรือรูดรอยปาด ก้านกล้วยทําให้เกิดการกระทบกันมีเสียงดังคล้ายเสียงปืน การทําปืนก้านกล้วยคงมีผู้คิดทํามานานแล้วเพราะเป็นของเล่นพื้นบ้านที่ทําง่ายๆ วัสดุหาง่าย เด็กส่วนใหญ่จะปืนก้านกล้วยได้ด้วยตนเอง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
อีโอ๊บ อีโอ๊บ เป็นของเล่นในสมัยก่อน ใช้มือรูดเส้นด้าย ซึ่งทาด้วยเทียนขี้ผึ้งไว้ ทําให้เกิดเสียงดังคล้ายกับเสียงกับร้องโอ๊บๆ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ม้าก้านกล้วย ม้าก้านกล้วยเป็นของเล่นพื้นบ้านที่เด็กๆ ในสมัยก่อนนิยมเล่นกันโดยทั่วไป โดยเด็กจะใช้ก้านกล้วยมาทําเป็นหัว หู หาง ของม้า แล้วสมมติว่าเป็นคนขี่ม้าพาวิ่ง เสมือนคนขี่ม้า บางทีก็แบ่งเป็นฝ่ายพระเอก ฝ่ายผู้ร้ายหรือขี่ม้าวิ่งแข่งขันกัน ม้าก้านกล้วยบางทีเรียกว่า ม้ากล้วย ซึ่งผู้ใหญ่ในสมัยนั้นได้คิดทําให้ลูกหลานวิ่งเล่น นับเป็นการออกกําลังกายเพื่อทําให้สุขภาพแข็งแรง รวมทั้งการทําของเล่นก็ง่ายสะดวก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เพราะต้นกล้วยปลูกกันแทบทุกครัวเรือนจนกลายเป็นสํานวนว่า “ดาษดื่นเหมือนกล้วยน้ําว้า”
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ธนู ธนูเป็นของเล่นเด็ก ทําเลียนแบบมาจากธนู ผู้ใหญ่ใช้ยิงสัตว์ขนาดเล็ก แต่ธนูของเด็กมักใช้ในการแข่งขันหรือประลองความแม่นยํามากกว่าจะใช้ยิงสิ่งต่างๆ และธนูถือเป็นอาวุธที่สําคัญอย่างหนึ่งในบ้าน ที่สามารถใช้ได้อเนกประสงค์ สามารถทําไว้ป้องกันตัวใช้ล่าสัตว์ และใช้เป็นอาวุธเพื่อต่อสู้ เช่น กันศัตรูในระหว่างที่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร เป็นต้น ด้วยเหตุที่มีการใช้ธนูกันเกือบทุกครันเรือน เด็กๆ จึงคิดทําธนูไว้ยิงเล่นเพื่อความสนุกสนานมากกว่าจะนําไปยิงสัตว์
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กระบอกเลียนเสียงน้ําไหล กระบอกเสียงนี้พบได้ทั่วไปในไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย กระบอกเสียงนี้ทําเลียนแบบเสียงธรรมชาติ เช่น กระบอกเลียนเสียงน้ําไหล เป็นกระบอกไม้ไผ่มีลายภายนอกสวยงาม เมื่อคว่ํากระบอกลง ซึ่งเสียงน้ําไหลจะไพเราะมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยาวของกระบอก หากกระบอกยาวก็จะทําให้ได้ยินเสียงได้นานและไพเราะยิ่งขึ้น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กระบอกเลียนเสียงฟ้าร้อง กระบอกเลียนเสียงร้องที่วาดลวดลายเล่าเรื่องราวชีวิต หรือแต่งแต้มสีสันตามจินตนาการ เป็นลักษณะกระบอกเจาะรูแล้วใส่สปริงยาวให้สายสปริงห้อยยาวออกมา เมื่อเขย่าจะเกิดเสียงคล้ายเสียงฟ้าร้อง ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ให้เด็กรู้จักธรรมชาติ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กะจ๋ม กะจ๋มเป็นชฏาประเภทหนึ่ง ใช้สวมศีรษะคล้ายหมวก ซึ่งเด็กใช้แสดงลิเกหรือการแสดงละครในหมู่บ้านหรือในเทศกาลงานวัด เนื่องจากเด็กมีโอกาสชมลิเกกันบ่อยครั้ง และได้เห็นวิธีการของการเล่นลิเก จึงนํามาเล่นในกลุ่มเด็กๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน การทํากะจ๋มของเด็กได้ทําเลียนแบบมาจากลิเกเช่นเดียวกับการทําชฎา กะจ๋มมีลักษณะแตกต่างจากชฎาแตกต่างจากชฎาตรงที่ กะจ๋มมีรูปคล้ายหมวกสาน ใช้ดอกไม้ไผ่มัดปลายใบไม้ด้านบนใช้ชิดกันสวมใส่กันแสงแดดได้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กะล่ง กะล่งเป็นของเล่นสําหรับเด็กหญิงที่ใช้ไม้คานหาบเล่นขายของ โดยทําจากกะลามะพร้าว เพื่อสมมติเป็นแม่ค้าและผู้ซื้อของ ตามปกติแล้วชาวบ้านจะไปซื้อของที่ตลาด แต่บางทีผู้ขายของซึ่งมักเป็นหญิงมากกว่าชาย จะหาบตะกร้าหรือกระบุงใส่สิ่งของมาขายถึงที่บ้านเลย การหาบของมาขายในหมู่บ้านนี้ เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กหญิงจะเลียนแบบผู้ใหญ่ จดจําวิธีการมาเล่นขายของกันในขณะที่มีเวลาว่าง คิดประดิษฐ์นํากะลามะพร้าวเป็นที่ใส่สิ่งของ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กะลาเขาควาย กะลาเขาควาย บางแห่งเรียก ควายกะลาหรือเขาควายกะลา เป็นของเด็กเล่นในสมัยก่อนมักเล่นกัน 2 คน โดยใช้กะลาเขาควายเหวี่ยงกันไปมา หากกะลาหักหรือปลายเขาบิ่น ก็จะถือว่าเป็นฝ่ายแพ้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กะลาเคาะจังหวะ กะลาเคาะจังหวะ เป็นเครื่องดนตรีของเด็กชนิดหนึ่ง ใช้เขย่าประกอบกับเครื่องดนตรีอื่นๆ ทําเป็นจังหวะและมีความไพเราะยิ่งขึ้น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ควายชนก้านตาล ควายชนก้านตาล และควายชนก้านมะพร้าว เป็นของเล่นพื้นบ้านที่นิยมเล่นในหมู่เด็กชายมากกว่าเด็กหญิง การเล่นไม่จํากัดอายุของผู้เล่น มักแข่งขันเพื่อให้รู้ว่าฝ่ายใดชนะและฝ่ายใดแพ้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
เรือบิน เรือบิน เป็นของเล่นเด็กในสมัยก่อน นิยมเล่นในกลุ่มเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ชาวชนบทมักเรียกเรือบินมากกว่าที่จะเรียก “เครื่องบิน”
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปี่ใบไม้ ปี่เป็นของเล่นเด็ก ใช้ปากเป่าทําให้เกิดเสียงดัง ซึ่งทําจากวัสดุหลายชนิด เช่น ซังข้าว ใบตาล ใบกล้วย และใบมะพร้าว เป็นต้น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
เปลเด็ก เปลเด็กเป็นของเล่นสานด้วยไม้ไผ่จําลองแบบคล้ายเปลที่ให้เด็กนอน แต่มีขนาดเล็กมาก ทําเพื่อให้เด็กแกว่งไกวเล่นเป็นที่สนุกสนาน เปลสําหรับให้เด็กนอนมีใช้กันเกือบทุกครัวเรือน เพราะต้องคอยไกวเปลในขณะเด็กนอนหลับ เปลที่ใช้มักจะเป็น เปลไม้ เปลสาน หากเป็นฤดูทําไร่ ทํานา พ่อแม่จําต้องพาเด็กเล็กๆ ไปด้วย จะปลูกห้างที่อยู่ชั่วคราวหรือคล้ายกับเป็นกระต๊อบ ถ้าไม่ได้นําเปลสานหรือเปลไม้ไปแล้ว จะใช้ผ้าขาวม้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ทําเป็นเปลแขวนชั่วคราว เปลจึงมีความจําเป็นในการกล่อมให้เด็กๆ นอน การไกวเปลจะทําให้เด็กที่นอนอยู่ภายในไม่ร้อนหลับนานและหลับสบาย
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
รถหลอดด้าย รถหลอดด้ายเป็นของเล่นเด็กที่ใช้ไม้หรือขนไก่หมุนยางวง ซึ่งสอดไว้ในรูหลอดด้ายจนเป็นเกลียวเขม็งรอบหลอดด้าย เมื่อปล่อยเกลียวที่หมุนนั้นจะทําให้หลอดด้ายวิ่งเหมือนรถวิ่ง จึงเรียกว่า รถหลอดด้าย
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
จิ้งหน่อง จิ้งหน่องเป็นดนตรีพื้นบ้านที่เด็กเล่นกัน โดยการเป่าไม้ไผ่และใช้นิ้วดีด ทําให้เกิดเสียงเป็นจังหวะงางแห่งเรียกจิ๊งหน่องและนิ๊งหน่อง การเป่าจิ้งหน่องได้สูญหายจากพื้นบ้านไปนานแล้ว ผู้สูงอายุชื่อนายหรุ่น โม้พวง ยังสามารถจดจํากลอนสั้นๆ ใช้สําหรับร้องเล่นเป็นที่สนุกสนาน ได้กล่าวถึงจิ้งหน่องที่ดีจะต้องใช้ไม้ไผ่ที่แก่จัดทําจิ้งหน่องดังเพลงพื้นบ้านร้องว่า “นักเลงสูบยาต้องหาใบตอง นักเลงจิ้งหน่องให้หาไม้แก่ นักเลงด่าแม่ให้แก้กรงเหล็ก นักเลงกินเหล้าให้เข้าโรงเจ๊ก“
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
นกบิน นกบินเป็นของเล่นเด็ก ปั้นด้วยดินเหนียวแล้วเผาไฟให้เนื้อดินแข็งแกร่ง เจาะรูที่หัวนก ใช้เชือกเส้นเล็กๆ ร้อยรูเจาะนั้น นําไปผูกกับต้นไม้ให้ตัวนกไหลลื่นจากที่สูงลงมาที่ต่ํา การที่ตัวนกเลื่อนลงมาจะมีลักษณะสั่นๆ คล้ายนกกําลังบิน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปืนฉีดน้ํา ปืนฉีดน้ํา ทําจากไม้ไผ่ สามารถฉีดพ่นน้ําได้ เด็กๆ จะทําเล่นกันในฤดูร้อนหรือเทศกาลปีใหม่เมือง (สงกรานต์) ของทางภาคเหนือ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
เรือกาบมะพร้าว เรือกาบมะพร้าวเป็นของเด็กเล่นพื้นบ้าน ใช้กาบมะพร้าวทําเป็นลําเรือ ติดใบเหมือนเรือใบและทําหางเสือเพื่อให้แล่นลอยไปตามทิศทางของลม เด็กๆ จะทําเรือกาบมะพร้าวในช่วงฤดูฝน หรือช่วงระยะทํานา ซึ่งน้ําในแม่น้ําลําคลองไหลบ่า
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
เรือบก เรือบกเป็นของเล่นพื้นบ้านที่เด็กๆ นิยมเล่นกันมากในภาคกลาง โดยอาจเลียนแบบมาจากการแข่งขันเรือบกของผู้ใหญ่ และมักเล่นในหมู่เด็กชายมากกว่าเด็กหญิง เพราะต้องใช้กําลังในการวิ่งพอสมควร
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
หนอนเดิน หนอนเดิน เป็นของเล่นเด็กปะเภทหนึ่ง ใช้ล้อหลอดด้ายร้อยยางยืด ดึงเส้นเชือกขึ้นลงสลับกัน ล้อหลอดด้ายจะหมุนแล้วทําให้ตัวหนอนเดินได้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
รถสามล้อ รถสามล้อเป็นของเล่นเด็กใช้นั่งหรือให้ผู้อื่นเข็น มักจะเล่นกันตามลานหน้าบ้าน และถนนหนทาง รถสามล้อที่ผู้ใหญ่ทําให้เด็กเล่นคงสร้างตามความคิดของตน อาจไม่ได้เลียนแบบจากรถสามล้อในปัจจุบันเพราะรูปร่างวิธีการแตกต่างกัน เพียงแต่มาวงล้อไม้ 3 ล้อ จึงเรียกว่า รถสามล้อ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
กังหันสะเทือน กังหันสะเทือน เป็นของเล่นประเภทเดียวกับ “กําหมุน” โดยอาศัยแรงสั่นสะเทือนจากก้านกังหันที่ถูกบั้งเป็นลูกคลื่น ทําให้ใบพัดของกังหันสะเทือนหมุน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ควายชนใบมะม่วง ควายชนใบมะม่วงเป็นของเล่นพื้นบ้าน ซึ่งนิยมเล่นในหมู่เด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย การเล่นไม่จํากัดอายุของผู้เล่น มักแข่งขันเพื่อให้รู้ว่าฝ่ายใดชนะและฝ่ายใดแพ้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
จระเข้ไม้ จระเข้ไม้ เป็นของเล่นเด็กใช้ขี่วิ่งเล่น หรือแขวนไว้เหนือเปลให้เด็กที่นอนอยู่เห็นแกว่งโยนไปมา การทําจระเข้ไม้ของเล่นเด็กนี้ ผู้สูงอายุเล่าให้ฟังว่า สมัยโบราณมีงานทําบุญทอดกฐินตามวัดต่าง ๆ มักจะเดินทางไปทางน้ํามากกว่าทางบก การสัญจรทางน้ําสะดวกกว่า วัดจะสร้างอยู่ใกล้ ๆ แม่น้ํา บางทีชาวบ้านจะทอดกฐินหรือทําบุญทอดผ้าป่าหลาย ๆ วัด อุปกรณ์นอกเหนือจากของใช้ภายในวัดและปัจจัยไทยทานต่าง ๆ แล้ว ชาวบ้านจะทํารูปจระเข้แขวนไว้ จระเข้จะทําด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง ขนาดตัวจระเข้ยาวเกือบ 100 เซนติเมตร การที่ชาวบ้านนําจระเข้ไปกับกองบุญกองกุศลด้วย จระเข้จะได้ผลบุญการบําเพ็ญกุศลดังกล่าว เมื่อทอดกฐิน ทอดผ้าป่าเสร็จแล้ว ผู้ใหญ่จะนําจระเข้ไม้กลับบ้าน ให้ลูกหลานขี่จระเข้หรือมัดแขวนไว้ การทําจระเข้ระยะหลัง ๆ จะวาดภาพในฝืนฝ้ามากกว่าที่จะใช้ไม้แกะสลัก
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
หุ่นหนามคัดเค้า “หุ่นหนามคัดเค้า เป็นของเด็กใช้หนามต้นคัดเค้ากลัดใบตองกล้วย คล้ายกับใส่เสื้อผ้า เคลื่อนไหวไปมาระหว่างการแสดงบทบาทที่สมมติขึ้น การทําหุ่นหนามคัดเค้า ผู้ใหญ่หรือเด็กคงได้เห็นวิธีการเล่นหุ่น ซึ่งมาแสดงในเทศกาลต่างๆ จึงคิดทําหุ่นให้เด็กเล่นสนุกสนาน การใช้หนามคัดเค้าเพราะมีหนามแหลมคม ปลายโค้งงอเหมือนเขาควาย ต้นคัดเค้าชาวบ้านในสมัยก่อนจะปลูกตามรั้วบ้าน เพื่อป้องกันขโมยหรือสัตว์เข้ามาในขอบเขตบ้าน หนามคัดเค้าจะงอปลายแหลมคมมีหนามงอนเป็นคู่ๆ นอกจากใช้เป็นรั้วหนามแล้ว ใบคัดเค้ายังชุบแห้งทอดจิ้มกับน้ําพริกรับประทานได้อร่อย
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
วิหคสายฟ้า วิหคสายฟ้า หรือแก๊ปโยน เป็นของเล่นที่ใช้โยนไปในอากาศ เมื่อร่วงหล่นตกลงพื้นดินแล้ว แก๊ปที่บรรจุอยู่ภายในจะถูกแรงกระแทกจากเหล็กหรือแผ่นไม้ ทําให้เกิดเสียงดัง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
หม้อข้าวหม้อแกง หม้อข้าวหม้อแกง เป็นของเล่นพื้นบ้านไทยสมัยก่อน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงมักนิยมเล่นกันมาก บางทีก็เรียกว่าเล่นขายของ ของเล่นดังกล่าวนี้ นอกจากจะทําให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาการของเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาอีกด้วย การที่เด็กผู้หญิงชอบเล่นหม้อข้าวหม้อแกงหรือเล่นขายของ อาจเป็นเพราะเด็กผู้หญิงอยู่ใกล้ชิดแม่หรือเพศหญิง ซึ่งจะทําหน้าที่เตรียมอาหารไว้ให้กับครอบครัว จึงได้จดจําวิธีการมาเล่นหม้อข้าวหม้อแกง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ควายกล่อม การขยับผ้า เพื่อให้ควายเคลื่อนไหว เป็นเหมือนการกล่อม จึงเรียกการเล่นนี้ว่าควายกล่อม
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ว่าว ว่าวเป็นของเล่นเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งคาดว่ามีการเล่นมานานกว่า 700 ปีแล้ว ว่าวที่รู้จักตามพื้นบ้านทั่วไป คือว่าวอีลุ้ม ว่าวอีตุ้ย (ดุ๊ยดุ่ย) และว่าวจุฬา การทําว่าวจะให้ว่าวขึ้นติดลมดี ต้องขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่นํามาสร้างเป็นตัวว่าว และฝีมือคนทําว่าวเป็นประการสําคัญ แม้ว่าวจะลอยขึ้นอยู่ในอากาศลักษณะนิ่งเฉย ผู้ทําว่าวจะถือว่ายังไม่ดีพอ ว่าวที่ทําได้ดีต้องเคลื่อนไหวโฉบส่ายไปมา ว่าวอีลุ้ม นิยมทํามากกว่าว่าวชนิดอื่นๆ เพราะว่าวอีลุ้มทําง่ายและขึ้นง่าย ว่าวอีลุ้มมีลักษณเหมือรว่าวปักเป้า แต่ว่าวอีลุ้มพื้นบ้านที่ทําเล่นกัน มักมีขนาดใหญ่กว่า ไม้ที่ทําโครงว่าว ว่าวอีตุ้ย (ดุ๊ยดุ่ย) การเรียกชื่อว่า อีตุ้ยหรือดุ๊ยดุ่ย เรียกจากเสียงที่ใบลานหรือใบตาลซึ่งติดเป็นคันในเสียงตัวว่าว โดยกระทบกับแรงลม ทําให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงดังขึ้น ว่าวจุฬา ชาวบ้านบางแห่งเรียกว่าว่าวหง่าว ตามเสียงที่ได้ยินจากคันเสียงเวลาปะทะกับแรงลม การทําว่าวจุฬาค่อนข้างจะทําได้ยากกว่าว่าวประเภทอื่น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
เกวียนไม้ตอก เกวียนไม้ตอก เป็นของเล่นพื้นบ้านของไทยที่ทําจากไม้ไผ่ โดยใช้ตอกไม้ไผ่มาทําโครงลักษณะเกวียน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ตุ๊กตาผ้า สมัยก่อนตุ๊กตาผ้าหายากและมีราคาแพง ชาวบ้านจึงนําผ้าขาวม้าหรือผ้าเช็ดตัวมาประยุกต์ทําเป็นตุ๊กตาให้ลูกหลานเล่น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ตุ๊กตาลูกตาล ตุ๊กตาลูกตาล เป็นการประยุกต์นําของที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
นกไต่เชือก นกไต่เชือก มีหลายชื่อเรียก อาทิ นกน้อย นกบิน เป็นต้น ความจริงจะปั้นเป็นรูปนกหรืออะไรก็ได้แต่ชอบ สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
เถรอดเพล เถรอดเพล (เถร+อด+เพล) หมายถึง เล่นเพลินจนลืมฉันเพล เป็นของเล่นที่นิยมแพร่หลายอยู่ในหลายๆ ประเทศแถบเอเชีย สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ตัวอย่างสอนการเข้าสลักไม้ในงานก่อสร้างโดยไม่ต้องใช้ตะปูของช่างโบราณ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
คนตําครกมอง ก่อนจะเป็นพิพิธภัณฑ์เล่นได้ เราทําศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมาก่อน และออกรณรงค์ ทํากิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเครื่องมือและประเด็นบอกเล่าให้กลุ่มเป้าหมาย(เด็ก)ได้รู้จัก เมื่อเล่ามาถึงเรื่องต้องตําข้าว เด็กๆนึกภาพไม่ออก เราเลยคิดหาสื่อที่จะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและบอกเล่าวิถีชีวิตในอดีตสรุปชิ้นนี้คิดมาใหม่ ประมาณ 15 ปี (แต่ก่อนอยู่ในวิถีชีวิตอยู่แล้ว ไม่พบการทําเป็นของเล่น)
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปี่ตอซัง ของเล่นประเภทนี้ เป็นการนําวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นของเล่น เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเสียงสูง ต่ํา ได้ฝึกประสาทหู และฝึกประดิษฐ์เครื่องดนตรีแบบง่ายๆ เมื่อทําสําเร็จ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจ และความเชื่อมั่นในตนเอง ภาคใต้มีการเล่นปี่ซังข้าว ปี่ใบตอง คือ นําซังข้าว และใบตอง มาทําปี่ สําหรับเป่าและประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
สีซอ คือการเล่นพันด้าย ใช้ด้ายหรือเชือกผูกเป็นเส้นวงกลม แล้วใช้มือทั้งสองข้างพันด้ายสลับกันไปมากับผู้เล่นฝั่งตรงข้าม การเล่นชนิดนี้ฝึกความสังเกตและความคิด
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
หมากขุม หมากขุม เป็นการละเล่นยามว่าง สามารถเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่โดยมากจะเป็นผู้หญิงเป็นกีฬาที่ใช้ฝึกสมองคิดคํานวณ ฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทํางานทุกอย่างสามารถนํามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน หมากขุมนี้ที่แพร่หลายมากในย่านคาบสมุทรทะเลใต้ มีเล่นนับตั้งแต่แอฟริกาลงมาถึงอินเดีย ศรีลังกา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นอีก แต่ละประเทศก็เรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น ฟิลิปปินส์ เรียกสุงกะ (Sunga) ชาวมาเลย์เรียก คงกัก
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
อีบื๋อ อีบื๋อ เป็นของเล่นใช้หมุนทําให้เกิดเสียงดัง การตั้งชื่อว่าอีบื๋อเพราะตั้งตามเสียงที่ได้ยินเมื่อได้ปะทะกับลมอีบื๋อ บางสถานที่เรียกว่า หมากบื๋อก็มี อีบื๋อ เป็นของเล่นที่ทําได้ง่าย โดยใช้ไม้ไผ่หรือเศษแผ่นไม้ทุกชนิด ส่วนใหญ่เด็กจะนิยมลําไม้ไผ่ทําเป็นอีบื๋อมากกว่าแผ่นไม้ เพราะทําได้ง่ายและหาได้สะดวกกว่า
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
หนังสติ๊ก หนังสติ๊ก เป็นอาวุธยิงวิถีโค้งด้วยมือ ขนาดเล็ก ทําจากไม้ง่าม โดยมียาง 2 เส้นยึดอยู่ที่ง่ามทั้งสอง อีกด้านของยางทั้งสองเส้นจะติดกับแถบหนังที่ใช้ใส่สิ่งของที่จะยิงออกไป ผู้ที่จะทําการยิง จะจับตัวด้ามไม้ด้วยมือข้างที่ถนัด ใส่สิ่งของ (เช่น ลูกกระสุนดินเหนียวปั้นกลม, ลูกแก้ว, ลูกปืน หรือ ก้อนหิน) ไว้ที่แถบหนัง กําแถบหนังไว้ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ดึงให้ยืดออกตามความแรงที่ต้องการ เล็งให้ตรงเป้าหมาย แล้วจึงปล่อยแถบหนัง สิ่งของที่ใส่ไว้ก็จะถูกดีดออกไปกระทบเป้าหมาย
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ตอดต่อไก่ ตอดเป็นเครื่องมือเป่าเลียนเสียงไก่ เพื่อต่อเรียกไก่ให้เข้าใจผิดแล้วเดินเข้ามาใกล้
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
จอหนัง จอหนัง เป็นของเล่นพื้นบ้านไทย นิยมเล่นกันทั้งในหมู่เด็กชายและเด็กหญิง อายุของผู้เล่นประมาณ 5-10 ขวบ การที่เรียกว่า จอหนังมาจากรูปร่างลักษณะที่คล้ายจอหนัง
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
รังตั๊กแตน รังตั๊กแตนเป็นของเล่นพื้นบ้าน นิยมเล่นในหมู่เด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย อายุของผู้เล่นตั้งแต่ 7-10 ขวบ เล่นได้ตั้งแต่คนเดียวจนถึงหลายคน
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ลิงจับหลัก ลิงจับหลักเป็นของเล่นผู้ใหญ่และของเล่นเด็ก ผู้มัดไว้ที่หลักไม้หรือต้นไม้ประเภทต้นตาล ต้นมะพร้าว ใช้เชือกชักดึงให้ตัวลิงเคลื่อนไปข้างบนคล้ายกับลิงกําลังป่ายปีน เมื่อไปถึงจุดข้างบนแล้วจะผ่อนปลายเชือกอีกเส้นหนึ่ง ลิงจะเคลื่อนตัวลงมาข้างล่างอีก
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
แมลงปอเกาะนิ้ว แมลงปอเกาะนิ้ว เป็นของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างทักษะ ให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตและเกิดความสังสัยใคร่รู้ว่าแมลงปอนั้นเกาะที่นิ้วได้อย่างไร
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปืนจุกก๊อก ปืนจุกก๊อก เป็นของเล่นที่ทําจากไม้ไผ่ วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ไม้มายากล ไม้มายากล หรือธงสะบัด เป็นของเล่นที่ทําจากกระดาษสร้างความสนุกสนานเพลินเพลิดให้แก่ผู้เล่น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ที่โยนห่วง ที่โยนห่วง ของเล่นที่เพิ่มทักษะสายตาในการกะระยะ พัฒนากล้ามเนื้อและข้อมือ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ลิ้นมังกร ลิ้นมังกร เป็นของเล่นพื้นบ้านของไทยที่ทําจากกระดาษ
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ตั๊กแตน ตั๊กแตน ทําจากทางมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นของบ้านเรา
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }
ปลาตะเพียน ปลาตะเพียน ทํามาจากใบมะพร้าว วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
{ "domain": "literature", "license": "cc-by", "source": "https://data.go.th/dataset/folktoys", "title": "folktoys" }

Thai Open Data.GO.TH

This dataset collects all text from data.go.th (CC-BY licence Only) and is pre-processing the data to the pre-training model.

List Datasets:

Downloads last month
56
Edit dataset card

Collection including pythainlp/thai-open-data-go-th