title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
45.8M
source
stringclasses
5 values
__index_level_0__
int64
0
197k
ชาติพันธุ์วิทยา
ชาติพันธุ์วิทยา หรือ ชาติวงศ์วิทยา หรือ ชนชาติวิทยา (ethnology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของมานุษยวิทยา ที่ศึกษาและเปรียบเทียบเกี่ยวกับความเชื่อและวิธีปฏิบัติของแต่ละสังคม เป้าหมายหนึ่งคือ การศึกษาประวัติศาสตร์มนุษย์ กฎทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และนัยทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ สำหรับผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชานี้ จะเรียกว่า "นักชาติพันธุ์วิทยา" (ethnologist) คำว่า ethnology ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวสโลวัค Adam František Kollár (1718–1783) โดยมาจาก 2 คำในภาษากรีก คือ ethnos ("ชนชาติ") และ logos ("การศึกษา") == อ้างอิง == ความเป็นชาติพันธุ์ มานุษยวิทยา
thaiwikipedia
501
ประเทศอุซเบกิสถาน
อุซเบกิสถาน (Uzbekistan; O'zbekiston) หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (Republic of Uzbekistan; O‘zbekiston Respublikasi) เป็นประเทศในทวีปเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศอัฟกานิสถานในทวีปเอเชียใต้ ประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลอารัล อุซเบกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต == ภูมิศาสตร์ == พื้นที่ มีพื้นที่ 447,400 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศ เป็นทะเลทรายล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูง ภูมิอากาศ ทะเลทรายแบบภาคพื้นทวีป หน้าร้อน ๆ นาน หน้าหนาวอากาศเย็นสบาย ที่ตั้ง ภูมิภาคเอเชียกลาง ทางเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน == ประวัติศาสตร์ == === ยุคก่อนประวัติศาสตร์ === พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดครองดินแดนของฮ่อเมื่อปี 367 ก่อนคริสตกาล ในภายหลังดินแดนนี้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนจะถูกยึดครองโดยจักรวรรดิมองโกลของเจงกีส ข่าน เมื่อ ค.ศ. 1220 === ยุคประวัติศาสตร์ === ในศตวรรษที่ 13 ขุนศึกชื่อเตมือร์ได้มีอำนาจเหนือมองโกลและตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นที่เมืองซามาร์กันต์ เตมือร์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างชาติอุซเบกิสถานในยุคปัจจุบัน === ศตวรรษที่ 19 === คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อจักรวรรดิรัสเซียได้ขยายอำนาจมาในย่านเอเชียกลาง === ศตวรรษที่ 20 === อุซเบกิสถานได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในสหภาพโซเวียต มีชื่อว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ก่อนจะได้รับอิสรภาพหลังจากการล่มสลายของโซเวียตเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991 == การเมืองการปกครอง == รัฐธรรมนูญปี 1993 กำหนดให้อุซเบกิสถานมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย === บริหาร === ประธานาธิบดีเป็นประมุขและนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ === นิติบัญญัติ === ระบบสภาเดี่ยว === สถานการณ์การเมือง === เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2548 ได้มีการประท้วงรัฐบาลที่เมือง Andijan ราว 200 กิโลเมตรจากกรุงทาชเคนต์ และต่อมาที่เมือง Korasuv ในเขตหุบเขา Ferghana ทางภาคตะวันออกใกล้พรมแดนคีร์กีซสถาน ซึ่งเป็นเขตที่ถูกจับตามองจากทางการอุซเบกิสถาน เนื่องจากรัฐบาลเชื่อว่ามีกลุ่มมุสลิมที่ต่อต้านรัฐบาลและมีแนวความคิดที่จะแยกตัวเป็นอิสระ แหล่งข่าวต่าง ๆ เชื่อว่าการประท้วงมีสาเหตุจากความไม่พอใจการบริหารประเทศของประธานาธิบดี ที่ละเลยต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ในการปะทะกันของกองทัพของรัฐบาลและผู้ชุมนุมประท้วงเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตราว 750 คน และบาดเจ็บอีกนับพันคน (ตัวเลขทางการมีผู้เสียชีวิต 187 คน) ซึ่งรัฐบาลอุซเบกิสถานได้กล่าวหากลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง (Hizb ut-Tahrir) ว่าอยู่เบื้องหลังการก่อเหตุจลาจลดังกล่าว และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ศาลสูงสุดของอุซเบกิสถานได้ตัดสินจำคุกผู้ต้องหา 15 คน ซึ่งรัฐบาลกล่าวหาว่ามีส่วนก่อเหตุความไม่สงบที่เมือง Andijan ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดให้การสารภาพ โดยแหล่งข่าวต่าง ๆ เชื่อว่ากระบวนการตัดสินไม่โปร่งใส และน่าจะเป็นเพียงการจัดฉากของฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น หลังจากที่สหรัฐฯ ลังเลที่จะแสดงท่าทีในเรื่องนี้ เนื่องจากความร่วมมือด้านการทหารที่มีอยู่ แต่ต่อมาสหรัฐฯ EU และ OSCE ได้เรียกร้องให้องค์การนานาชาติเข้าไปสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ประธานาธิบดี Karimov ปฏิเสธและยืนยันไม่ให้มีการสอบสวนดังกล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากองค์การสหประชาชาติที่สหรัฐฯ เป็นแกนนำได้ช่วยเหลือนำผู้ลี้ภัยชาวอุซเบกที่ลี้ภัยไปยังประเทศคีร์กีซสถานส่งต่อไปยังประเทศโรมาเนีย รัฐบาลของประธานาธิบดีคารีมอฟได้ออกคำสั่งให้ถอนฐานทัพของสหรัฐที่ประจำอยู่ที่เมือง Karshi-Khanabad ซึ่งเป็นเมือง หน้าด่านชายแดนติดกับประเทศอัฟกานิสถานออกจากเทศอุซเบกิสถานภายในสิ้นปี 2548 เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ EU ได้มีมติให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับอุซเบกิสถาน โดยจะงดค้าอาวุธ ลดเงินทุนช่วยเหลือและระงับโครงการบางส่วนของ The EU - Uzbek Partnership and Cooperation Agreement (PAC) รวมทั้งงดการตรวจลงตราแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอุซเบกิสถานอีก 12 คนด้วย ล่าสุด ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 มีมติให้ยกเลิกการระงับการให้วีซ่าเข้าสหภาพยุโรปแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอุซเบกิสถานจำนวน 4 คน จาก 12 คนที่สหภาพยุโรปเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์รุนแรงที่ Andijan สำหรับรัสเซียได้แสดงการสนับสนุนอุซเบกิสถานในเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเชื่อว่าการจลาจลที่เมือง Andijan มีผู้อยู่เบื้องหลังไม่ใช่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจต่อรัฐบาลต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างที่ประเทศส่วนใหญ่เข้าใจกัน โดยเมื่อวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2548 ประธานาธิบดีคารีมอฟเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการ โดยได้มีการลงนามความร่วมมือทางการทหารร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการอนุญาตให้ใช้อาวุธของตนในเขตแดนของกันและกัน และการช่วยเหลือทางการทหารต่อกันในกรณีที่ถูกรุกราน == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศอุซเบกิสถานแบ่งออกเป็น 12 แคว้น (viloyat), 1 สาธารณรัฐปกครองตนเอง* (avtonom respublikasi) และ 1 นครอิสระ** (shahar) ได้แก่ {|class="wikitable sortable" |- ! ชื่อหน่วยการปกครอง !! เมืองหลัก !! เนื้อที่(ตร.กม.)!! จำนวนประชากร !! รหัสไอเอสโอ 3166-2 !! class="unsortable" |แผนที่ |- ! | การ์ชือ || 28,400 || 2,029,000 || UZ-QA || rowspan=14 | |- ! | เนอกึส || 160,000 || 1,200,000 || UZ-QR |- ! | อูร์แกนช์ || 6,300 || 1,200,000 || UZ-XO |- ! | จึซซัฆ || 20,500 || 910,500 || UZ-JI |- ! | ซามาร์กันต์ || 16,400 || 2,322,000 || UZ-SA |- ! | กือลึสตอน || 5,100 || 648,100 || UZ-SI |- ! | เตร์มึส || 20,800 || 1,676,000 || UZ-SU |- ! | นูรัฟชอน || 15,300 || 4,450,000 || UZ-TO |- ! | || || || UZ-TK |- ! | นามังแกน ||7,900 || 1,862,000 || UZ-NG |- ! | นาวออีย์ || 110,800 || 767,500 || UZ-NW |- ! | บูฆอรอ || 39,400 || 1,384,700 || UZ-BU |- ! | ฟาร์ฆอนา || 6,800 || 2,597,000 || UZ-FA |- ! | อันดือจอน ||4,200 || 1,899,000 || UZ-AN |} == เศรษฐกิจ == === โครงสร้างทางเศรษฐกิจ === ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 13.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549) การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.2 (2549) มูลค่าการส่งออก 5.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ฝ้าย 41.5 % ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม ถ่านหิน โลหะ ทองและเงิน เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ ตลาดส่งออกสำคัญ รัสเซีย จีน ยูเครน ตุรกี ทาจิกิสถาน บังคลาเทศ มูลค่าการนำเข้า 4.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วน (50%) ผลิตภัณฑ์อาหาร (16%) เคมีภัณฑ์ โลหะ แหล่งนำเข้าสำคัญ รัสเซีย เกาหลีใต้ เยอรมนี จีน คาซัคสถาน ตุรกี ทรัพยากร ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม ถ่านหิน ทองคำ ยูเรเนียม เงิน ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ทังสเตน อุตสาหกรรมหลัก สิ่งทอ อาหารแปรรูป เครื่องจักรกล อุตสาหกรรมโลหะ ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์ === สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน === อุซเบกิสถานมีจุดแข็งที่สำคัญคือเป็นตลาดขนาดใหญ่เป็นลำดับ 3 ของประเทศ CIS และมีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม อีกทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและน่าสนใจ ได้แก่ เมือง Samarkand , Bukara และ Khiva ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมบนเส้นทางสายไหมในอดีต รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ การปฏิรูปการเกษตร การเปิดเสรีทางการค้าต่างประเทศและการเงิน การปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศเป็นธุรกิจผูกขาดที่ดำเนินการโดยเครือข่ายของบุคคลในตระกูลและกลุ่มผลประโยชน์ของบุคคลในรัฐบาล อีกทั้งระบบการจัดเก็บภาษียังไม่โปร่งใส ตลอดจนการกระจายรายได้ไม่ถึงประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้ประชากรยังประสบกับปัญหาความยากจน == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === ประชากร 27.7 ล้านคน (2549) ประกอบด้วยชาวอุซเบกร้อยละ 80 รัสเซียร้อยละ 5.5 ทาจิกร้อยละ 5 คาซัคร้อยละ 3 คาราคาลปักร้อยละ 2.5 ตาตาร์ร้อยละ 1.5 อื่น ๆ ร้อยละ 2.5 รวมถึงชนกลุ่มน้อยมากมายหลายกลุ่ม แต่ที่มีจำนวนมาก คือ พวกคีร์ คาซัค อุซเบก ทาจิก เติร์กเมน รัสเซียน อาเซอรี และเคิร์ด === ศาสนา === อิสลาม นิกายสุหนี่ ร้อยละ 88 คริสต์ นิกายอีสเทิร์นออโธด๊อกซ์ ร้อยละ 9 อื่นๆ ร้อยละ 3 === ภาษา === อุซเบก 74.3% รัสเซีย 14.2% ทาจิก 4.4% == วัฒนธรรม == === วันหยุด === 1 มกราคม – วันปีใหม่ "Yangi Yil Bayrami" 14 มกราคม – วันกองทัพอุซเบกิสถาน Vatan Himoyachilari kuni 8 มีนาคม – วันสตรีสากล – "Xalqaro Xotin-Qizlar kuni" 21 มีนาคม – วันปีใหม่ของชาวเตอร์กิซ – "Navro'z Bayrami" 1 พฤษภาคม – วันแรงงานสากล 9 พฤษภาคม – ชัยชนะเหนือเยอรมนี – "Xotira va Qadirlash kuni" 1 กันยายน – วันประกาศเอกราช – "Mustaqillik kuni" 1 ตุลาคม – วันครู – "O'qituvchi va Murabbiylar" 8 ธันวาคม – วันรัฐธรรมนูญ – Konstitutsiya kuni วันหยุดนอกเหนือจากทางราชการ End of Ramazon Ramazon Hayit Eid al-Fitr 70 days later Qurbon Hayit Eid al-Adha ==อ้างอิง== ==อ่านเพิ่ม== Nahaylo, Bohdan and Victor Swoboda. Soviet Disunion: A History of the Nationalities problem in the USSR (1990) excerpt Rashid, Ahmed. The Resurgence of Central Asia: Islam or Nationalism? (2017) Smith, Graham, ed. The Nationalities Question in the Soviet Union (2nd ed. 1995) ==แหล่งข้อมูลอื่น== National Information Agency of Uzbekistan Tashkent directory Lower House of Uzbekistan parliament Digital Agency Uzbekistan To Business Digital Agency Chief of State and Cabinet Members ข้อมูลทั่วไป Uzbekistan. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Uzbekistan Corruption Profile from the Business Anti-Corruption Portal Uzbekistan from the U.S. Library of Congress includes Background Notes, Country Study and major reports Uzbek Publishing and National Bibliography from the University of Illinois Slavic and East European Library Uzbekistan at UCB Libraries GovPubs List of cities and populations ข้อมูลอุซเบกิสถาน จาก BBC News Key Development Forecasts for Uzbekistan จาก International Futures สื่อ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติอุซเบกิสถาน อ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 ประเทศในเอเชียเหนือ รัฐในอดีตสหภาพโซเวียต อ
thaiwikipedia
502
หญิงคนชั่ว
หญิงคนชั่ว เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จากบทประพันธ์ของ ก. สุรางคนางค์ ในปี พ.ศ. 2480 กำกับโดย วิรัช พึ่งสุนทร สร้างโดย โยคีสถานสี่พระยา แผนกภาพยนตร์ ของวิรัช พึ่งสุนทร นำแสดงโดย ฉลอง สิมะเสถียร, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ดอกดิน กัญญามาลย์, ประภาพรรณ นาคทอง, เมืองเริง ปัทมินทร์, ประเสิด สีแสด ให้เสียงพากย์โดย หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร, มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา และพรพรรณ วรรณมาศ ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง == เนื้อเรื่องย่อ == หญิงคนชั่ว เป็นเรื่องราวของ รื่น ซึ่งยากจนและต่ำต้อย รื่นเป็นหญิงสาวลูกสาวชาวนาฉะเชิงเทรา แม้รื่นจะเป็นเด็กสาวสละสลวยบริสุทธิ์ แต่เธอก็เป็นเพียงชาวนาเป็นชนชั้นล่างตามที่สังคมมักเข้าใจ ต่อมาเธอหลงคารมของชายหนุ่มผู้มาจากกรุงเทพ ฯ ตามเข้ามาเมืองกรุง จนกระทั่งเธอถูกนำไปขายเป็นหญิงโสเภณี ต่อมาเธอได้พบกับวิทย์ ผู้ชายที่พร้อมด้วยหน้าตา ฐานะ แต่ทางบ้านวิทย์ไม่ชอบ แต่ตอนนี้รื่นเธอกำลังท้อง ในสถานที่ที่เธอทำงานอยู่ ชะตากรรมพาให้เธอพบกับเหตุการณ์อันเลวร้ายจนเธอจะทนไม่ได้ ถูกรังแก ต่าง ๆ นานา == อ้างอิง == หญิงคนชั่ว (๒๔๙๘) ผลงานการแสดงของ ประภาพรรณ นาคทอง โครงการประวัติศาสตร์ภาพยนตร์จากคำบอกเล่า : บทบาทนักแสดงนำหญิงในภาพยนตร์ไทยยุคก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2498 งานเขียนของกัณหา เคียงศิริ นวนิยายไทย หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ภาพยนตร์อีโรติก
thaiwikipedia
503
พวงไข่มุก
พวงไข่มุก ( Rehder; ภาษาอังกฤษ:American elder) ทางปราจีนบุรีเรียก ระป่า ทางแพร่เรียก อุนหรืออุนฝรั่ง เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 4 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อย 2-6 คู่ รูปขอบขนานแกมใบหอกหรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-5 ซม. ยาว 6-15 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาว ขนาดเล็ก ผลสด รูปทรงกลม สีม่วงเข้ม ดอกมีกลิ่นหอม ตำรายาล้านนา ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ หมกประคบแก้มือเท้าเคล็ด ทุกส่วนของลำต้นเมื่อรับประทานแล้วทำให้เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ ปวดท้อง == อ้างอิง == ITIS 35248 พืชมีพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร
thaiwikipedia
504
ผกากรอง
ผกากรอง เป็นไม้พุ่มยืนต้นหรือไม้พุ่มกึ่งเลื้อยในวงศ์ผกากรอง (Verbenaceae) พืชพื้นเมืองในทวีปอเมริกาชนิดนี้ ได้รับการนำเข้าไปปลูกเป็นไม้แต่งสวนในหลายประเทศและกลายเป็นพืชต่างถิ่นรุกรานในภูมิภาคเขตร้อน มีทรงพุ่มทึบจากกิ่งก้านแตกแขนงจำนวนมากและใบที่ขึ้นดกหนา ดอกเป็นดอกย่อยช่อกระจุกหลายสีจากอายุของดอกและการบานต่างเวลากัน ดอกเป็นทรงปากแตร มีกลิ่นฉุน ขนตามลำต้นเมื่อถูกผิวหนังทำให้คัน ถ้ารับประทานทำให้ปวดท้อง อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจขัด หมดสติ ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียนำใบไปต้มกับน้ำ ใช้ฉีดพ่นไล่แมลง ผกากรองมีความสามารถในการเอาชนะพืชพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งนำไปสู่การลดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นั้น ๆ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปัญหาความเป็นพิษต่อปศุสัตว์เมื่อรุกรานเข้าในพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งความสามารถของผกากรองในการสร้างพุ่มไม้หนาทึบซึ่งยากต่อการกำจัดและหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่แวดระวังอาจสามารถลดผลผลิตของพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างมาก และยังเป็นพืชที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดไฟป่าให้สูงขึ้น == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == เป็นไม้พุ่มยืนต้นกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก แตกแขนงกิ่งก้านสาขามาก มีพุ่มไม้ที่ทึบในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ความสูงของต้นประมาณ 1–2 เมตร ลำต้นและก้านเป็นสี่เหลี่ยม ตามลำต้นเป็นร่องอาจมีขนหนามเล็กน้อย หรืออาจปกคลุมทั่วทั้งต้น รากตื้นประมาณ 10–30 เซนติเมตรจากผิวดิน ใบเดี่ยว รูปไข่สีเขียวเข้ม ขอบใบจัก ปลายใบแหลม เส้นใบเห็นเป็นร่องชัดเจน เส้นใบมีลักษณะย่น ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ใบออกตรงข้ามกัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2–3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3–9 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนหยาบ ด้านท้องใบมีขนเล็ก ๆ เมื่อลูบจะรู้สึกระคายมือ ใบขึ้นดกหนา เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นฉุน และเนื่องจากมีการคัดเลือกพันธุ์อย่างกว้างขวางตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 เพื่อใช้เป็นไม้ประดับปัจจุบัน จึงมีพันธุ์ปลูกผกากรอง (L. camara) ที่แตกต่างกันออกไปมากมาย ดอกเป็นช่อเรียงเป็นกระจุกในบริเวณขั้วดอก ช่อดอกรูปกึ่งทรงกลม มีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ละดอกมีสี่กลีบ ดอกเป็นรูปแตร มีท่อยาวปลายกลีบดอกบานออก ดอกจะทยอยบานจากด้านนอกเข้าไปในช่อดอก กลีบดอกมีหลายสี เช่น ขาว เหลืองนวล  ชมพู  ส้ม  แดง หรือมีหลายสีในช่อดอกเดียวกัน ผลมีขนาดเล็กรูปทรงกลม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำเงินม่วงเข้มเกือบดำ และการสืบพันธุ์ของเมล็ดเกิดขึ้น ผกากรองแต่ละต้นสามารถผลิตผลได้มากถึง 12,000 ลูก ซึ่งนก เช่น นกกระติ๊ดขี้หมู และสัตว์อื่น ๆ กินและช่วยแพร่กระจายเมล็ดพืชไปในระยะทางไกล ๆ === การเปลี่ยนแปลงสีดอก === การมีหลายสีในช่อดอกเดียวกันของผกากรอง เกิดจากความแตกต่างของตำแหน่งบนช่อดอก การคัดเลือกพันธุ์ และอายุของดอก กล่าวคือหลังจากผสมเกสรแล้วสีของดอกไม้จะเปลี่ยนไป (โดยทั่วไปจากสีเหลือง เป็นสีส้มสีชมพูหรือสีแดง) ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญญาณให้แมลงผสมเกสรให้รู้นัยยะของสีทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนสี ดึงดูดให้เข้าหาดอกที่ยังไม่ได้รับการผสมเกสร และการเปลี่ยนสีนั้นเสมือนเป็นรางวัลให้แมลงรับรู้ว่าได้ช่วยดอกนั้นให้ผสมติดแล้ว ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของดอกไม้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผสมเกสรของแมลง == การกระจายพันธุ์ == ผกากรอง (L. camara) เป็นพืชพันธุ์พื้นเมืองของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ แต่ได้ถูกกระจายพันธุ์ใน 60 ประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก ปัจจุบันพบได้บ่อยในแอฟริกาตะวันออกและตอนใต้ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 2,000 ม. มักกระจายพันธุ์เข้าไปในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมซึ่งเกิดจากการตัดไม้เพื่อการค้าเนื้อไม้ และพื้นที่แผ้วถางเพื่อการเกษตร ผกากรองแพร่กระจายไปในแอฟริกา ยุโรปใต้ เช่น สเปน และโปรตุเกส รวมถึงตะวันออกกลาง อินเดีย เอเชียเขตร้อน เช่น ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งหมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ผกากรองกลายเป็นวัชพืชที่สำคัญในศรีลังกาซึ่งเล็ดลอดออกจากสวนพฤกษศาสตร์หลวงในปี พ.ศ. 2469 การแนะนำผกากรองให้ปลูกในฟิลิปปินส์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างสหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ (ซึ่งนำไปจากฮาวาย) ซึ่งได้เล็ดลอดสู่ธรรมชาติและกลายเป็นพืชพันธุ์พื้นเมืองในหมู่เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ พื้นที่การกระจายพันธุ์ของผกากรองยังคงเพิ่มขึ้น จากข้อมูลในปี 2517 ไม่เคยพบผกากรองในเกาะหลายแห่ง ได้แก่ หมู่เกาะกาลาปากอส ไซปัน และหมู่เกาะโซโลมอน แต่พบเห็นได้ปัจจุบัน ความสามารถในการกระจายพันธุ์ของผกากรอง (L. camara) ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วในพื้นที่ป่าเดิมที่ถูกรบกวน ป่าเสื่อมโทรม โดยเฉพาะในประเทศที่มีพื้นที่ที่มีการตัดไม้ การแผ้วถางเพื่อการเกษตร และไฟป่าที่เกิดโดยธรรมชาติและด้วยมือมนุษย์ ในทางตรงกันข้ามในประเทศที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าหลักที่ยังคงสมบูรณ์ การกระจายของผกากรอกลับเป็นไปอย่างจำกัด ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในประเทศไทยเมื่อใด สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วง 100–200 ปีนี้เอง == นิเวศวิทยา == ผกากรองถูกนำเข้าเป็นไม้ดอกในหลายประเทศเนื่องจากดอกที่หลากสีและใบที่ดกปกคลุมผิวดิน จัดเป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด และสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว จึงจัดเป็นพืชที่มีความแข็งแรงทนทานมาก และมักพบขึ้นตามป่าละเมาะที่ค่อนข้างโปร่งและแห้งแล้ง === พืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน === ผกากรองเป็นวัชพืชที่พบได้ตามทุ่งหญ้าทั่วไป มักอยู่เป็นพุ่มต่ำ ในหลายพื้นที่และภูมิภาคของโลกถือว่าเป็นวัชพืชรุกราน เนื่องจากมีความสามารถสูงในการเจริญขึ้นและขยายพันธุ์ได้ดีตามธรรมชาติ มักขยายเผ่าพันธุ์และทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่ผกากรองได้เติบโตอยู่ เมื่อพุ่มของผกากรองเติบโตหนาแน่นมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของป่าไม้ที่ลดลง เนื่องจากต้นผกากรองสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชชนิดอื่นได้ ผกากรองเป็นพืชที่ทนต่อไฟป่า และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดไฟป่าให้สูงขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากต้นผกากรองจะมีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี และบางครั้งสามารถเลื้อยไปบนต้นไม้อื่นได้สูงถึง 20 เมตร ทำให้ไฟป่าลุกลามไปถึงบริเวณเรือนยอด ซึ่งมักจะเกิดได้ในบริเวณที่แห้งแล้งหรือป่าดิบแล้งซึ่งไฟป่าสามารถลุกลามไปได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบนิเวศบริเวณนั้นถูกทำลายได้ พุ่มของต้นผกากรองจะไปยับยั้งการเติบโตของพืชไร่ทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยลง และยังก่อให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมา คือ แมลงที่เป็นพาหะโรคมักชอบมาหลบอาศัยอยู่ในพุ่มผกากรอง เช่น ยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย และแมลงวันเซทซีซึ่งเป็นพาหะนำโรคเหงาหลับอีกด้วย สาเหตุที่ผกากรองประสบความสำเร็จในการรุกรานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ นั้น ประกอบด้วย มีสัตว์หลายชนิดที่กิน"ผล"ของผกากรองแล้วแพร่กระจายเมล็ดไปยังพื้นที่อื่นเป็นวงกว้าง ต้นและใบผกากรองมีความเป็นพิษ จึงไม่มีสัตว์มากินเป็นอาหาร ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่หลากหลาย การตัดไม้ การแผ้วถางป่า และการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นผกากรอง ต้นผกากรองมีการสร้างสารยับยั้งการเจริญต่อพืชชนิดอื่น มีการเพิ่มจำนวนเมล็ดได้อย่างรวดเร็วมาก (ประมาณ 12,000 เมล็ด ต่อต้น ต่อปี) ภูมิภาคและพื้นที่การรุกรานแบบวงกว้างของผกากรอง ได้แก่ ประเทศเอธิโอเปีย เคนยา แอฟริกาใต้ มาดากัสการ์ อูกันดา ประเทศอินเดียตอนเหนือและใต้ในรัฐชัมมูและกัศมีร์ ปัญจาบ หิมาจัลประเทศ ราชสถาน อุตตรประเทศ มัธยประเทศ อัสสัม กรณาฏกะ ทมิฬนาฑู และประเทศศรีลังกา === พิษวิทยา === ผกากรองทุกส่วนเป็นพิษต่อปศุสัตว์ เช่น วัว แกะ ม้า และแพะ รวมถึงสุนัขและมนุษย์ สารออกฤทธิ์ที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษในสัตว์กินหญ้า คือ เพนตาไซคลิกไตรเทอร์พีนอยด์ ซึ่งส่งผลให้ตับถูกทำลาย และอาการผิวหนังไวต่อแสง ผกากรองยังขับสารอัลลีโลพาธีซึ่งยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชโดยรอบ โดยทำลายการงอกและการยืดตัวของราก ความเป็นพิษของผลผกากรองต่อมนุษย์นั้นไม่เป็นที่แน่ชัด โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าการกินผลผกากรองอาจเป็นพิษต่อมนุษย์ได้ เช่น การศึกษาของ O P Sharma ซึ่งระบุว่า "ผลไม้ที่ยังไม่สุกสีเขียวเป็นพิษต่อมนุษย์" อย่างไรก็ตามการศึกษาอื่น ๆ พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าผลของผกากรอง (L. camara) อาจไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมนุษย์เมื่อรับประทาน และอาจรับประทานได้เมื่อสุก อาการในมนุษย์เมื่อกินผกากรองส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะใบและผลดิบ ได้แก่ ผลที่แก่แต่ยังไม่สุก มีสารพิษที่เรียกว่า แลนทาดีน-เอ (Lantadene A)  และ แลนทาดีน-บี (Lantadene B)  โดยแลนทาดีน-บี  มีพิษน้อยกว่าแลนทาดีน เอ  ความเป๋นพิษหากกินเข้าไป สารนี้จะออกฤทธิให้มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ไม่มีแรง ไม่สามารถยืนได้ มึนงง อาเจียน รูม่านตาขยาย ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติ หายใจลึกแต่ระดับการหายใจจะช้าลง ๆ และ อาจตายได้ ในเมล็ดมีสาร glycosides corchoroside A และ B กระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วกว่าปกติ และสารรสขม corchorin ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาขยาย ชีพจรผิดปกติ และอาจหมดสติ === การรุกรานในประเทศไทย === ผกากรองบางสายพันธุ์เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วประเทศ พบการระบาดในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและกาญจนบุรี == การจัดการและการควบคุม == การจัดการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมระยะยาวในผกากรอง (L. camara) ที่รุกราน ต้องมีการลดกิจกรรมการทำลายแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของพืชพันธุ์พื้นเมืองเดิมให้เสื่อมโทรม การรักษาความแข็งแรงของระบบนิเวศพื้นเมืองเดิมให้สามารถทำงานได้เป็นปกติ (ระบบนิเวศพื้นเมืองที่สมบูรณ์ซึ่งทำงานได้เองตามธรรมชาติ) เป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันไม่ให้วัชพืชรุกรานอย่างผกากรอง เข้ามาสร้างอาณานิคมใหม่และเข้ามาลดการความสามารถในการแข่งขันของสัตว์และพืชพื้นเมืองเดิม === ทางชีวภาพ === แมลงที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติและสารควบคุมทางชีวภาพอื่น ๆ ได้รับการปรับใช้ในระดับความสำเร็จที่แตกต่างกันในการควบคุมผกากรอง ซึ่งเป็นวัชพืชชนิดแรกที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางชีวภาพ อย่างไรก็ตามไม่มีโครงการใดที่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีการใช้ตัวควบคุม 36 อย่างใน 33 ภูมิภาค การไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมทางชีวภาพในกรณีของผกากรอง น่าจะเกิดจากผกากรองมีพันธุ์ลูกผสมมากมาย คือมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่กว้างขวางซึ่งทำให้ยากในการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาล่าสุดในอินเดียแสดงให้เห็นผลลัพธ์ เกี่ยวกับการควบคุมทางชีวภาพของพืชชนิดนี้โดยใช้มวนปีกแก้ว (Tingidae) === แรงงานและเครื่องจักรกลการเกษตร === การควบคุมด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรในการจัดการผกากรองต้องพึ่งการใช้แรงงาน การกำจัดผกากรองด้วยแรงงานมนุษย์อาจได้ผลดี ด้วยการวิธีถางและขุดเอารากออก แต่ต้องใช้แรงงานมากและมีต้นทุนค่าแรงที่สูง วิธีนี้มักจะเหมาะสมเฉพาะในพื้นที่ขนาดเล็ก หรือในระยะแรกของการเข้าทำลายของผกากรอง วิธีการควบคุมเครื่องจักรกลอีกวิธีหนึ่งคือการปราบด้วยไฟและตามด้วยการปลูกพืชพันธุ์พื้นเมือง ในบางพื้นที่มีการขุดรากถอนโคนของต้นผกากรองในธรรมชาติมาปรับปรุงให้เป็นไม้กระถางประดับที่มีความสวยงามได้ === สารเคมี === การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการจัดการผกากรอง มีประสิทธิภาพมาก แต่ก็มีต้นทุนที่สูงในประเทศที่ยากจนซึ่งมักไม่เป็นที่ยอมรับ วิธีที่ได้ผลที่สุดในการปราบผกากรองทางเคมี คือการดายหญ้าบริเวณนั้นก่อนการฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าวัชพืช ซึ่งวิธีนี้จะส่งผลร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม และยังถูกห้ามใช้ในหลายประเทศที่มีการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคอย่างเข้มงวด ==ระเบียงภาพ== ไฟล์:ผกากรอง Lantana camara L (6).jpg ไฟล์:ผกากรอง Lantana camara L (1).jpg ไฟล์:ผกากรอง Lantana camara L (2).jpg ไฟล์:ผกากรอง Lantana camara L (3).jpg ไฟล์:Lantana camara blanca.jpg ไฟล์:LantanaFlowerLeaves.jpg ไฟล์:Lantana camara 1zz.jpg ไฟล์:Black-and-white Mannikin (Lonchura bicolor).jpg ไฟล์:紅花馬纓丹.jpg ไฟล์:Lantana camara kz05.jpg == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== USDA Forest service brochure Invasion of Exotic Weeds in the Natural Forests of Tropical India due to Forest Fire – A Threat to Biodiversity. International Forest Fire News. 2002. ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ผกากรอง พืชมีพิษ
thaiwikipedia
505
ประเทศคาซัคสถาน
คาซัคสถาน (Қазақстан / Qazaqstan, ; Казахста́н, ) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Қазақстан Республикасы / Qazaqstan Respublikasy; Респу́блика Казахста́н) เป็นรัฐข้ามทวีปที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลางและกินพื้นที่บางส่วนของยุโรปตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซียทางทิศเหนือและตะวันตก ติดต่อกับประเทศจีนทางทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศคีร์กีซสถานทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศอุซเบกิสถานทางทิศใต้ และติดต่อกับเติร์กเมนิสถานทางตะวันตกเฉียงใต้ เมืองหลวงคืออัสตานา (ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โนร์-โซลตัน" ระหว่าง พ.ศ. 2562–2565) โดยมีอัลมาเตอเป็นเมืองหลวงเก่าจนถึง พ.ศ. 2540 คาซัคสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มโลกอิสลาม และใหญ่เป็นอันดับเก้าของโลก มีประชากรประมาณ 19 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรต่ำ คือน้อยกว่า 6 คนต่อตารางกิโลเมตร (15 คนต่อตารางไมล์) ดินแดนของคาซัคสถานเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าและอาณาจักรเก่าแก่มาตั้งแต่อดีตกาล ชาวซิทเคยปกครองดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่สมัยโบราณก่อนทีจักรวรรดิอะคีเมนิดจะเรืองอำนาจและขยายอาณาเขตจรดดินแดนทางใต้ กลุ่มชนเตอร์กิกซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เติร์กเข้ามาตั้งรกรากประมาณช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 จักรวรรดิมองโกลภายใต้การปกครองของเจงกิส ข่าน เข้าปราบปรามและยึดครองดินแดนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตามด้วยการยึดครองดินแดนส่วนใหญ่โดยรัฐข่านคาซัคในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งได้กลายเป็นอาณาเขตของคาซัคสถานยุคใหม่ในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวคาซัคซึ่งเป็นหนึ่งในชนกลุ่มย่อยของกลุ่มชนเติร์กเข้ามาตั้งรกราก และแยกตัวออกเป็นสามกลุ่มย่อยที่เรียกว่า Zhuz การตั้งถิ่นฐานของพวกเขารุกล้ำเขตแดนของรัสเซียตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนที่ชาวรัสเซียจะตอบโต้ด้วยการรุกล้ำบริเวณทุ่งหญ้าคาซัค และยึดครองดินแดนทั้งหมดก่อนผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปลดปล่อยทาสทั้งหมดที่ถูกชาวคาซัคจับตัวมา การปฏิวัติรัสเซียและสงครามกลางเมืองรัสเซียนำไปสู่การจัดระเบียบการปกครองในดินแดนอีกหลายครั้ง ใน พ.ศ. 2479 ดินแดนทั้งหมดกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคภายใต้สหภาพโซเวียต คาซัคสถานถือเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตแห่งสุดท้ายที่ประกาศเอกราชระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียตระหว่าง พ.ศ. 2531–2534 คาซัคสถานถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยถือครองจีดีพีเฉลี่ยถึงร้อยละ 60 ของทั่วทั้งภูมิภาค รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมส่งออกน้ำมันและก๊าซ รวมทั้งมีทรัพยากรแร่ธาตุจำนวนมาก คาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยนิตินัย อย่างไรก็ตาม องค์กรสิทธิมนุษยชนอธิบายว่ารัฐบาลคาซัคมีการปกครองแบบเผด็จการ และมีสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำ คาซัคสถานถือเป็นรัฐเดี่ยวที่เป็นสังคมพหุนิยมทางวัฒนธรรม และได้รับการจัดอันดับทางดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงสุดในภูมิภาค คาซัคสถานเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก เครือรัฐเอกราช องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การความร่วมมืออิสลาม องค์การรัฐเติร์ก และองค์การวัฒนธรรมเติร์กระหว่างประเทศ == ภูมิศาสตร์ == ด้วยพื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (1.56 ล้านตารางไมล์) คาซัคสถานจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 9 ของโลก โดยมีขนาดพอ ๆ กับภูมิภาคยุโรปตะวันตก เมืองใหญ่ของประเทศได้แก่ อัสตานา (เป็นเมืองหลวงตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541), อัลมาเตอ (อดีตเมืองหลวง เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลมา-อะตา (Alma-Ata) และก่อน พ.ศ. 2460 (1917) ในชื่อเวียร์นืย), คาราฆันเดอ, เชิมเกียนต์, เซียเมียย์ (เซมีปาลาตินสค์) และเตอร์กิสถาน เคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ยาซี ลักษณะภูมิประเทศแผ่ขยายจากตะวันออกจดตะวันตก ตั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียนจนถึงแอ่งทาริม (ซินเจียง) และเทือกเขาอัลไต และจากเหนือจดใต้ ตั้งแต่ที่ราบไซบีเรียตะวันตกจนถึงโอเอซิสและทะเลทรายของภูมิภาคเอเชียกลาง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบภาคพื้นทวีป มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฤดูร้อนแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ความยาวของพรมแดน: รัสเซีย 6,846 กิโลเมตร, อุซเบกิสถาน 2,203 กิโลเมตร, จีน 1,533 กิโลเมตร, คีร์กีซสถาน 1,051 กิโลเมตร และเติร์กเมนิสถาน 379 กิโลเมตร แม่น้ำและทะเลสาบสำคัญได้แก่ * ทะเลอารัล * แม่น้ำอีลี * แม่น้ำอีร์ติช * แม่น้ำอีชิม * ทะเลสาบบัลคัช * ทะเลสาบไซซัน == ประวัติศาสตร์ == === ส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต === คาซัคสถานเคยเป็น 1 ใน 15 รัฐของสหภาพโซเวียต เรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (KSSR) ภายหลังวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ก็ประกาศเอกราชเป็นรัฐสุดท้ายจากสหภาพโซเวียตและก่อตั้งประเทศคาซัคสถาน ดินแดนที่เป็นคาซัคสถานในปัจุบัน มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตั้งแต่ยุคหิน ซึ่งจากสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง อาชีพหลักของคนในยุคโบราณก็คือการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน โดยเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงม้า ในยุคศตวรรษที่ 13 ชาวมองโกล ก็เข้ามาในเขตนี้ และก็เริ่มวางระบบการปกครองที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้น และมีการเรียกเขตการปกครองของพวกเขาว่า รัฐข่านคาซัค แต่ความเป็นตัวตนของชาวคาซัค เริ่มปรากฏชัดในศตวรรษที่ 16 เมื่อภาษา วัฒนธรรม แบบคาซัคเริ่มมีความแตกต่างจากคนกลุ่มอื่น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 รัสเซียที่ปกครองดินแดนแถบนี้อยู่ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมากมาย ก็เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาอย่างเป็นจริงเป็นจัง และสามารถควบคุมปกครองดินแดนแถบนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ เนื่องจากวิตกเรื่องการขยายอิทธิพลเข้ามาของฝ่ายอังกฤษ == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศคาซัคสถานแบ่งออกเป็น 14 แคว้น (облыс/oblys; область) และ 4 นคร* (қаласы/qalasy; Город) ทุกแคว้นมีผู้ว่าการแคว้นที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนนายกเทศมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการแคว้น รัฐบาลคาซัคสถานย้ายเมืองหลวงจากอัลมาเตอไปอัสตานาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541 {|class="wikitable sortable" |- ! ชื่อหน่วยการปกครอง ! เมืองหลัก ! เนื้อที่(ตร.กม.) ! ประชากร (สำมะโน พ.ศ. 2552) ! รหัสไอเอสโอ 3166-2 ! class="unsortable" |แผนที่ |- ! | กุสตาไน || 196,001 || 885,570 |KZ-KUS |rowspan=18 | |- ! | โวรัล || 151,339 || 598,880 |KZ-ZAP |- ! | วึสเกียเมียน || 283,226 || 1,396,593 |KZ-VOS |- ! | เปียโตรปัฟล์ || 97,993 || 596,535 |KZ-SEV |- ! | คารากันดี || 427,982 || 1,341,700 |KZ-KAR |- ! | คืยซิลออร์ดา || 226,019 || 678,794 |KZ-KZY |- ! | || 1,170 || 603,499 |KZ-SHY |- ! | ตารัซ || 144,264 || 1,022,129 |KZ-ZHA |- ! || เตอร์กิสถาน || 117,249 || 2,469,357 |KZ-TUR |- ! | || 710|| 613,006 |KZ-AST |- ! | || 57 || 36,175 | |- ! | ปัฟโลดาร์ || 124,800 || 742,475 |KZ-PAV |- ! | อักเตา || 165,642 || 485,392 |KZ-MAN |- ! | อักเตอเบ || 300,629 || 757,768 |KZ-AKT |- ! | เกิกเชียเตา || 146,219 || 737,495 |KZ-AKM |- ! | ตัลเดอโกร์ฆัน || 223,924|| 1,807,894 |KZ-ALM |- ! | || 319 || 1,365,632 |KZ-ALA |- ! | อาเตอเรา || 118,631 || 510,377 |KZ-ATY |} ใน พ.ศ. 2538 รัฐบาลคาซัคสถานและรัสเซียได้ทำข้อตกลงให้รัสเซียเช่าพื้นที่ 6,000 ตารางกิโลเมตร รอบฐานปล่อยจรวดที่ไบกอนกีร์ (หรือบัยโกเงอร์) และเมืองบัยโกเงอร์เป็นเวลา 20 ปี == นโยบายต่างประเทศ == === ความสัมพันธ์กับไทย === ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด ตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทย – คาซัคสถานนับได้ว่ามีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและบริการ และวิชาการ เป็นต้น ไทยได้แต่งตั้งนาย Mirgali Kunayev เป็น กสม. ณ นครอัลมาเตอ และมีอำนาจตรวจลงตรา ซึ่งนักท่องเที่ยวคาซัคสถานสามารถขอรับการตรวจลงตราเพื่อพำนักในไทยได้เกิน 15 วัน ผู้นำไทยกับคาซัคสถานมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น คาซัคสถานได้ให้การสนับสนุนไทยในการสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA) ซึ่งเป็นกรอบการประชุมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียที่คาซัคสถานได้ริเริ่มขึ้น โดยไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ CICA เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ฝ่ายคาซัคสถานประสงค์ที่จะสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยความมั่นคงระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Regional Forum - ARF) และขอรับการสนับสนุนจากประเทศไทย ไทยได้สนับสนุนคาซัคสถานในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่งไทยริเริ่ม โดยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรี ACD เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมฯ ได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ในการรับคาซัคสถานเข้าเป็นสมาชิก ACD == กองทัพ == === กองทัพบก === ทหารคาซัคสถานส่วนใหญ่ถูกสืบทอดมาจากกองทัพแดงของสหภาพโซเวียต หน่วยงานเหล่านี้กลายเป็นแกนหลักของทหารคาซัคสถานสมัยใหม่ กองทัพบกคาซัคสถานได้มุ่งเน้นที่หน่วยรถหุ้มเกราะในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 หน่วยหุ้มเกราะได้ขยายจาก 500 คัน ถึง 1,613 คัน ใน ค.ศ. 2005 คาซัคสถานได้ส่งทหารวิศวกร 49 คน ไปยังอิรักเพื่อให้ความช่วยเหลือภารกิจของสหรัฐในการบุกรุกอิรัก == เศรษฐกิจ == === โครงสร้างทางเศรษฐกิจ === คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต มีทรัพยากรที่สำคัญเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำมันดิบ แร่ธาตุ ตลอดจนยังมีขีดความสามารถทางการเกษตรอันเนื่องมาจากพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและทำปศุสัตว์ที่กว้างขวาง ก่อนปี พ.ศ. 2533 ระบบเศรษฐกิจคาซัคสถานเป็นส่วนหนึ่งของระบบการแบ่งการผลิตของสหภาพโซเวียต โดยถูกกำหนดให้มีความชำนาญด้านเกษตรกรรม ตามโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟ (Khrushchev Virgin Lands) ส่วนอุตสาหกรรมหลักขึ้นอยู่กับการขุดเจาะน้ำมันและการทำเหมืองแร่ การผสมโลหะ และการสกัดแร่ธาตุ ตลอดจนการผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น เครื่องมือก่อสร้าง รถแทรกเตอร์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร ภายหลังการสลายตัวของสหภาพโซเวียต ความต้องการสินค้าเครื่องจักรกลหนักซึ่งเป็นสินค้าหลักของคาซัคสถานได้ลดลง ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมากระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2537 อัตราเงินเฟ้อสูงและมูลค่า Real GDP ลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2540 รัฐบาลคาซัคสถานได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทรัพย์สินส่วนใหญ่ตกสู่ภาคเอกชน อัตราการเจริญเติบโตของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานได้เข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งน้ำมันในทะเลแคสเปียน ซึ่งส่งผลให้สามารถส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2541 สภาวะการตกต่ำของราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของคาซัคสถานตกต่ำลงชั่วขณะ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2542 ราคาน้ำมันได้ถีบตัวสูงขึ้น ประกอบกับการลดค่าเงินที่ถูกจังหวะและการเกษตรที่ได้ผลดี ทำให้ภาวะเศรษฐกิจคาซัคสถานเจริญเติบโต === ภาคเกษตรกรรม === เกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากที่สุด คิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออก หรือ ร้อยละ 20-25 ของแรงงานภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตหลักได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืช แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชที่เคยสูงสุดในปี พ.ศ. 2535 กลับตกต่ำที่สุดในปี พ.ศ. 2538 และการผลิตภาคการเกษตรซึ่งเคยมีส่วนแบ่งรายได้ประชาชาติร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2532 กลับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ในปี พ.ศ. 2543 ส่วนภาคการบริการที่ถูกละเลยภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ กลับมีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับแต่ได้รับเอกราช ส่วนด้านการค้า ที่อยู่อาศัย และการคมนาคม ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน สำหรับการลงทุนนั้นมีมูลค่าร้อยละ 19 ของ GDP โดยหนึ่งในสี่ของการลงทุนนั้น มาจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันและโลหะ === การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน === การโอนธุรกิจที่ดินให้เป็นของภาคเอกชนดำเนินไปอย่างช้า ๆ และรัฐบาลอนุญาตให้ชาวคาซัคเท่านั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเกษตรกรรมได้ ในกรณีที่ชาวต่างชาติและประชาชนทั่วไปต้องการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินอื่น ๆ จะต้องมีบ้านหรือทรัพย์สินอยู่บนที่ดินผืนนั้น ส่วนที่ดินนอกเหนือจากนั้นถูกครอบครองโดยภาครัฐ === การปฏิรูปเศรษฐกิจ === ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟได้นำความล้มเหลวและข้อผิดพลาดของการปฏิรูปเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเร่งสร้างระบบเศรษฐกิจแบบตะวันตก ด้วยการปฏิเสธบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจและนำกลไกตลาดมาใช้ทันทีโดยมิได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับการพัฒนาของระบบอย่างสอดคล้องกันเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ คาซัคสถานจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินบทบาทของรัฐในการควบคุม การผลิต การหมุนเวียนเงินทุน และการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศต่อไป พร้อมทั้งผสมผสานกลไกของรัฐและกลไกตลาดเข้าด้วยกัน สภาพเศรษฐกิจของคาซัคสถานกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาไปสู่ระบบการตลาดแบบเสรี ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น สังเกตได้จากอัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39.1 ในปี พ.ศ. 2539 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2538 ที่มีอัตราร้อยละ 175 และปี พ.ศ. 2537 ที่มีอัตราถึงร้อยละ 1,900 ส่วนอัตราการว่างงานนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังมีความเปราะบางอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหมืองแร่ยังตกต่ำอยู่ เพราะขาดแคลนเงินทุนและปัจจัยในการผลิต ทำให้มีส่วนเกินของแรงงานและประสิทธิภาพ ส่วนทางภาคเกษตรกรรมนั้น ผลผลิตก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหมายกันไว้ การลงทุนขุดเจาะน้ำมันที่บ่อน้ำมัน Tengiz ของคาซัคสถาน ซึ่งรัฐบาลคาซัคสถานลงทุนร่วมกับบริษัท Chevron ของสหรัฐ ฯ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัสเซียที่จะจำกัดการส่งออกน้ำมันของคาซัคสถานผ่านท่อส่งน้ำมันของตน โดยล่าสุด บ่อน้ำมัน Tengiz สามารถส่งออกน้ำมันได้เพียง 880,000 บาร์เรลต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายการผลิตในปี พ.ศ. 2540 คือ 30,000 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม คาซัคสถาน รัสเซีย ตุรกี อาเซอร์ไบจาน และสหรัฐอเมริกา ก็ได้ร่วมกันหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกน้ำมันผ่านท่อของประเทศต่าง ๆ ของคาซัคสถานแล้ว เนื่องจากคาซัคสถานมีโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันและแก๊สผ่านรัสเซีย ไปยังชายฝั่งทะเลดำ โดยได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2541 และจะสิ้นสุดโครงการภายในสิ้นปี พ.ศ. 2543 แต่เส้นทางที่ท่อส่งน้ำมันและก๊าซผ่านนั้น เป็นประเทศคู่แข่งทางด้านนี้กับคาซัคสถานทั้งสิ้น เช่น อาเซอร์ไบจาน อิหร่าน และรัสเซีย และต้นทุนของการสร้างท่อก็มีราคาแพง ซึ่งในระยะยาวแล้ว คาซัคสถานจะต้องให้ความคุ้มครองแก่เส้นทางของท่อส่งออกน้ำมันและแก๊สทั้งด้านการค้าและการเมือง เท่าที่ผ่านมา ประเทศที่ดูจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในการดำเนินธุรกิจน้ำมันกับคาซัคสถาน ได้แก่ ตุรกี ซึ่งบรรลุข้อตกลงกับคาซัคสถานที่จะร่วมกันพัฒนาบ่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในคาซัคสถานถึง 7 แห่ง โดยตุรกีจะได้รับส่วนแบ่งเป็นน้ำมันจำนวน 2.1 พันล้านบาร์เรลและแก๊สธรรมชาติจำนวน 208.9 พันล้านลูกบาศก์เมตร คาซัคสถานมีน้ำมันสำรองถึง 2.5% ของปริมาณน้ำมันโลก และคาดว่าภายในปี 2560 จะติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ส่งออกน้ำมัน สำหรับการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ คาซัคสถานจะต้องแก้ปัญหาการทุจริตและปัญหาความไม่โปร่งใสของการลงทุน ซึ่งพบอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะการครอบครองด้านเศรษฐกิจโดยกลุ่มผู้จัดการน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมือง จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีน้อยลง === สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน === ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซีย คาซัคสถานได้รับการกล่าวถึงจากนานาชาติค่อนข้างดี ในแง่ของความพยายามและผลของการพัฒนาประเทศ แต่โดยที่รัสเซียเป็นประเทศคู่ค้าหลักของคาซัคสถาน จึงทำให้คาซัคสถานได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลและธนาคารชาติคาซัคสถานได้ประกาศจะยุติการแทรกแซงเพื่อพยุงอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินเต็งเก (Tenge) และปล่อยค่าเงินลอยตัว เพื่อให้สินค้าของคาซัคสถานสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นที่ได้ลดค่าเงินในตลาดโลกได้ ทั้งนี้ ค่าเงินเต็งเกอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 88 เต็งเก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 จนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 146.37 เต็งเก อย่างไรก็ดี คาซัคสถานได้พัฒนาระบบการเงินการธนาคารเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเงิน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 คาซัคสถานเป็นประเทศแรกของอดีตสหภาพโซเวียตที่สามารถจ่ายชำระหนี้คืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ล่วงหน้าก่อนกำหนดถึง 7 ปี และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านการวางแผนระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีและระบบการคลังมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก น้ำมันและแก๊สธรรมชาติยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศ ทั้งนี้ มีการพิสูจน์แล้วว่าคาซัคสถานเป็นแหล่งสำรองน้ำมันของโลกร้อยละ 2.5 และจะสามารถผลิตน้ำมันได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้คาซัคสถานอยู่ในกลุ่ม 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก === การท่องเที่ยว === แม้ว่าภูเขาและทะเลสาบเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตช้ามากเพราะได้รับการลงทุนน้อย ในช่วงทศวรรษ 2000 มีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยปีละ 450,000 คน ส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย ทะเลสาบ Issyk-Kul และภูเขาเทียนฉานเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างนิยม == โครงสร้างพื้นฐาน == === การศึกษา === การศึกษาเป็นสากลและบังคับไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาและอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่เป็น 99.5% การศึกษาประกอบด้วยการศึกษาหลัสามขั้นตอนคือ: ระดับประถมศึกษา (1-4 รูปแบบ), การศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไป (5-9 ฟอร์ม) และการศึกษาระดับอาวุโส (แบบฟอร์ม 10-11 หรือ 12) แบ่งเป็นหมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างต่อเนื่องและการศึกษามืออาชีพ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยโรงเรียนและสถาบันการดนตรีโรงเรียนที่สูงขึ้นและสูงขึ้นอยู่ที่วิทยาลัย == ประชากร == === เชื้อชาติ === ชาวคาซัค 53.4% ชาวรัสเซีย 30% ชาวยูเครน 3.7% ชาวเยอรมัน 2.4% ชาวอุซเบก 2.5% ชาวตาตาร์ 1.7% ชาวอุยกูร์ 1.4% ชาวเกาหลี 0.7% อื่น ๆ 4.2% === ศาสนา === จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2009 พบว่าชาวคาซัคสถานร้อยละ 70.2 นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ 26.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.50 , ศาสนาอื่นๆ (โดยเฉพาะศาสนายูดาห์) ร้อยละ 0.2, มีร้อยละ 2.8 ระบุว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา และร้อยละ 0.5 ไม่ได้ระบุว่านับถือศาสนาใด ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีจำนวนศาสนิกมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หลังจากการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต คาซัคสถานมีการแสดงออกถึงการนับถือศาสนา เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการปฏิบัติศาสนกิจที่แพร่หลายขึ้น ศาสนสถานกว่าร้อยแห่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว สมาคมทางศาสนาเพิ่มขึ้นจาก 670 แห่งในปี ค.ศ. 1990 เป็น 4,170 แห่งในปัจจุบัน ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนีย์มัซฮับฮานาฟี ศาสนิกชนส่วนใหญ่คือกลุ่มเชื้อสายคาซัคกว่าร้อยละ 60 และในกลุ่มชาวอุซเบก, อุยกูร์ และตาตาร์ มีชาวซุนนีย์น้อยกว่าร้อยละ 1 ศึกษามัซฮับซาฟิอี (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเชเชน) มีมัสยิดทั้งหมด 2,300 แห่ง ซึ่งทุกแห่งได้เข้าร่วมกับสมาคมจิตวิญญาณมุสลิมคาซัคสถาน (Spiritual Association of Muslims of Kazakhstan) โดยขึ้นตรงต่อศาลมัฟติ (Mufti) และมีวันอีดิลอัฎฮาเป็นวันหยุดราชการ หนึ่งในสี่ของประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ในกลุ่มประชาชนที่มีเชื้อสายรัสเซีย, ยูเครน และเบลารุสเซีย นอกจากนี้ยังมีนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ มีโบสถ์คริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ 3,258 แห่ง, โบสถ์นิกายโรมันคาทอลิก 93 แห่ง และโบสถ์ของนิกายโปรเตสแตนต์กว่า 500 แห่ง ทั้งนี้วันคริสต์มาสของนิกายออร์ทอดอกซ์ได้เป็นวันหยุดราชการของประเทศเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีศาสนาอื่น ๆ เช่น ยูดาห์, บาไฮ, ฮินดู, พุทธ เป็นอาทิ ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2009 มีคริสต์ศาสนิกชนน้อยมากที่มิใช่กลุ่มชาวสลาฟและเยอรมัน ตามตาราง {|class="wikitable collapsible collapsed" |- !ชาติพันธุ์ !อิสลาม !คริสต์ !ยูดาห์ !พุทธ !อื่น ๆ !ไม่มีศาสนา !ไม่ระบุ |- |คาซัค |98.34% |0.39% |0.02% |0.01% |0.02% |0.98% |0.26% |- |รัสเซีย |1.43% |91.64% |0.04% |0.02% |0.03% |6.09% |0.75% |- |อุซเบก |99.05% |0.39% |0.01% |0.01% |0.02% |0.37% |0.16% |- |ยูเครน |0.94% |90.74% |0.03% |0.01% |0.02% |7.31% |0.94% |- |อุยกูร์ |98.35% |0.51% |0.02% |0.01% |0.03% |0.61% |0.47% |- |ตาตาร์ |79.57% |10.24% |0.02% |0.03% |0.06% |8.11% |1.97% |- |เยอรมัน |1.58% |81.59% |0.05% |0.04% |0.11% |13.96% |2.68% |- |เกาหลี |5.24% |49.35% |0.21% |11.40% |0.14% |28.51% |5.16% |- |ตุรกี |99.13% |0.30% |0.01% |0.01% |0.02% |0.33% |0.21% |- |อาเซอรี |94.81% |2.51% |0.02% |0.02% |0.03% |1.86% |0.76% |- |เบลารุสเซีย |0.79% |90.16% |0.04% |0.01% |0.03% |7.82% |1.15% |- |ดันกัน |98.93% |0.37% |0.01% |0.03% |0.04% |0.34% |0.28% |- |เคิร์ด |98.28% |0.53% |0.03% |0.02% |0.02% |0.74% |0.38% |- |ทาจิก |97.78% |0.91% |0.01% |0.02% |0.08% |0.85% |0.35% |- |โปแลนด์ |0.69% |90.07% |0.04% |0.01% |0.13% |7.30% |1.76% |- |เชเชน |93.69% |2.99% |0.02% |0.01% |0.05% |2.08% |1.16% |- |คีร์กีซ |96.67% |0.89% |0.03% |0.03% |0.02% |1.51% |0.86% |- |อื่น ๆ |34.69% |52.32% |0.82% |0.91% |0.13% |8.44% |2.69% |- |รวม |70.20% |26.32% |0.03% |0.09% |0.02% |2.82% |0.51% |} === ภาษา === ==หมายเหตุ== ==อ้างอิง== == อ่านเพิ่ม == Cameron, Sarah. (2018) The Hungry Steppe: Famine, Violence, and the Making of Soviet Kazakhstan (Cornell University Press, 2018) online review Nahaylo, Bohdan and Victor Swoboda. Soviet Disunion: A History of the Nationalities problem in the USSR (1990) excerpt Rashid, Ahmed. The Resurgence of Central Asia: Islam or Nationalism? (2017) Smith, Graham, ed. The Nationalities Question in the Soviet Union (2nd ed. 1995) == แหล่งข้อมูลอื่น == ทั่วไป Caspian Pipeline Controversy from the Dean Peter Krogh Foreign Affairs Digital Archives Country Profile from BBC News. Kazakhstan. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Kazakhstan information from the United States Department of State Portals to the World from the United States Library of Congress. Kazakhstan at UCB Libraries GovPubs. Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Kazakhstan World Bank Data & Statistics for Kazakhstan Kazakhstan Internet Encyclopedia Kazakhstan at 20 years of independence, The Economist, 17 December 2011 "Blowing the lid off" – Unrest in Kazakhstan, The Economist, 20 December 2011 The Region Initiative (TRI) Country Facts from Kazakhstan Discovery 2008 Human Rights Report: Kazakhstan. Department of State; Bureau of Democracy, Human Rights and Labor Key Development Forecasts for Kazakhstan from International Futures. รัฐบาล Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Kazakhstan E-Government of the Republic of Kazakhstan Government of Kazakhstan Chief of State and Cabinet Members การค้า World Bank Summary Trade Statistics Kazakhstan ค รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 ประเทศในเอเชียกลาง รัฐในอดีตสหภาพโซเวียต
thaiwikipedia
506
พวงทองต้น
พวงทองต้น (; ภาษาอังกฤษ: Galphimia, Gold Shower) หรือดอกน้ำผึ้ง เป็นไม้ต้นเล็ก สูง 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ใบยาวรีแหลม ยาวประมาณ 3 ซม. ดอกออกเป็นช่อเดียวที่โคนก้านใบ ขนาดอก 1 ซม. มีกลีบ 5 กลีบ สีเหลืองสด เกสรตัวผู้ 10 อัน อยู่เป็นกระจุกกลางดอก ออกดอกตลอดปี ชอบแดดจัด ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่งและ ตอนกิ่ง == อ้างอิง == ITIS 29253 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์โนรา
thaiwikipedia
507
พวงชมพู
พวงชมพู หรือ ชมพูพวง เป็นพืชมีดอกในวงศ์ Polygonaceae เป็นไม้เลื้อยดอกสีชมพูหรือขาว มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก พวงชมพูเป็นไม้เลื้อยโตเร็ว ใบเป็นรูปหัวใจหรือสามเหลี่ยม ดอกเป็นดอกช่อสีชมพูหรือขาว(Antigonon leptopus 'alba' ) สร้างหัวใต้ดินและมีไหลขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดลอยน้ำได้ แพร่กระจายไปกับสัตว์ที่กินเป็นอาหาร เช่น หมู แรคคูน และนก ==สายพันธุ์รุกราน== สภาศัตรูพืชแห่งรัฐฟลอริดาจัดให้พืชนี้อยู่ในพืชรุกรานหมวดหมู่ 2 == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์ผักไผ่ ไม้เลื้อย
thaiwikipedia
508
มะนาวไม่รู้โห่
มะนาวไม่รู้โห่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Carissa carandas L.; ชื่อสามัญ: Karanda; Carunda; Christ's thorn) หรือชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น มะนาวโห่, หนามแดง, หนามขี้แฮด (เชียงใหม่) เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ตามกิ่งก้านมีหนามค่อนข้างยาวและแหลม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่รี ปลายและโคนมน ขอบเรียบ ดอกมีขนาดเล็กมีสีขาวเป็นช่อ หอมกลีบดอกเป็นรูปหอก ผลขนาดเท่าหัวแม่มือ เป็นพวงสีแดงสดแก่สีดำรับประทานได้ ชื่อ "มะนาวไม่รู้โห่" นั้นเป็นชื่อพืชที่มีปรากฏเรียกกันมาแต่โบราณ ซึ่งเห็นได้จากที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเช่นในเรื่อง พระรถเมรี นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด == ประโยชน์ == ใบ รสปร่าขื่น ต้มดื่ม แก้ท้องร่วง แก้เจ็บคอ แก้ปวดหู ผลสุก รสเปรี้ยว แก้โรคลักปิดลักเปิด ผลดิบ รสฝาด สมานแผล เนื้อไม้ รสเฝื่อน บำรุงร่างกาย ราก รสเฝื่อนเมา ขับพยาธิ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร มะม่วงหาวมะนาวโห่ สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดไทยเต้าหู้มะนาวโห่ น้ำพริกเผามะนาวโห่ ฟรุ๊ตตี้ลืมหาว เป็นต้น ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่ามะม่วงหาวมะนาวโห่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วนของต้น ทั้งการรับประทานผลสด การนำผลไปประกอบอาหาร การใช้ประโยชน์จากใบและยอดอ่อน รวมถึงราก ลำต้นและยาง โดยสามารถแยกแยะได้ดังนี้ ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ผล - ผลสุกสามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้ - สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด - มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็งและชะลอความแก่ - มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกระชุ่มกระชวย - ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด - ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคถุงลมโป่งพอง - ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคตับ - ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์และไทรอยด์ - ช่วยบรรเทาอาการมือเท้าชา - ช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต - ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยลดอาการไอ - มีส่วนช่วยลดอาการภูมิแพ้ - ผลสุกมีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน - ผลมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ - สามารถช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผล - ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อ ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ใบและยอดอ่อน - แก้อาการเจ็บคอ รักษาแผลในปากเจ็บในปาก - ช่วยลดอาการไข้ - มีสรรพคุณแก้อาการท้องเสีย - มะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยรักษาโรคลมชัก - มีประโยชน์ช่วยรักษาโรคบิด - สามารถช่วยไข้มาลาเลีย - แก้อาการปวดในช่องหู - มีสรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร == อ้างอิง == มะนาวไม่รู้โห่ สมุนไพร.คอม วงศ์ตีนเป็ด ไม้ดอกไม้ประดับ ผลไม้ สมุนไพร
thaiwikipedia
509
ย่าหยา (พืช)
ย่าหยา มีชื่ออื่นๆคือ ต้นอ่อมแซบ เบญจรงค์ ๕ สี บุษบาริมทางหรือ ตำลึงหวาน (Chinese violet; Coromandel; Ganges primrose; Philippine violet); (L.) T. Anders.) คล้ายต้นต้อยติ่ง แต่ไม่มีขน ใบสากไม่แหลม ดอกมีห้าสี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ควรปลูกให้โดนแดดพอสมควร ประโยชน์ใช้เป็นไม้ประดับ มีสรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงสายตา == อ้างอิง == ITIS 34350 ไม้ดอกไม้ประดับ วงศ์เหงือกปลาหมอ
thaiwikipedia
510
กระถินเทพา
กระถินเทพา หรือ กระถินซาบะฮ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia mangium) เป็นพรรณไม้ที่มีต้นกำเนิดในรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ต่อมามีการนำมาปลูกที่รัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย เป็นไม้ในวงศ์ถั่ว โตเร็ว สูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะลำต้นตรงไม่มีกิ่งก้าน จึงนิยมปลูกเป็นสวนป่า == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ITIS 500059 อาเคเชีย ไม้ดอกไม้ประดับ
thaiwikipedia
511
ฟิสิกส์
ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός [phusikos], "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις [phusis], "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์สาขาธรรมชาติที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสสาร เช่น การเคลื่อนที่ของสสาร นิสัยของสสารรวมถึงกาล-อวกาศ และเรื่องเกี่ยวกับพลังงานและแรง เช่น สนาม และคลื่น ฟิสิกส์เป็นหนึ่งในวิชาพื้นฐานที่สุดของวิทยาศาสตร์ โดยเป้าหมายคือการศึกษาว่า "จักรวาลทำงานอย่างไร" ฟิสิกส์เป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น == งานวิจัยทางฟิสิกส์ == === ฟิสิกส์เชิงทดลอง กับ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี === งานวิจัยทางฟิสิกส์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่  ๆ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนดังนี้ ฟิสิกส์เชิงทดลอง (experimental physics) คือการสังเกต, การทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์เพื่อทดสอบกฎของฟิสิกส์ที่มีอยู่ ว่าถูกต้องหรือไม่ ในปัจจุบันโฉมหน้าของการทดลองทางฟิสิกส์แตกต่างจากการทดลองของนักฟิสิกส์ในอดีตเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วมาก ในสมัยก่อนนับตั้งแต่กาลิเลโอเป็นต้นมา การทดลองเพื่อแสวงความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถพลิกโฉมความรู้เดิมที่มีอยู่อาจทำได้โดยการทดลองที่ไม่ซับซ้อนมากอาจดำเนินการทดลองได้โดยคนเพียงคนเดียว แม้กระทั่งช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1840 - 1900 ซึ่งเป็นช่วงบุกเบิกเรื่องแรงแม่เหล็กไฟฟ้าอุปกรณ์ของไมเคิล ฟาราเดย์ก็สามารถสร้างได้อย่างง่าย ๆ ด้วยตนเอง แม้กระทั่งอุปกรณ์ที่นำไปสู่การค้นพบอิเล็กตรอนซึ่งก็คือหลอดรังสีแคโทดก็ไม่ได้ซับซ้อนเมื่อเทียบกับหลอดภาพของจอคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ในยุคปัจจุบันการสร้างเครื่องมือเพื่อบุกเบิกพรมแดนใหม่ในฟิสิกส์ โดยเฉพาะในส่วนของวิชาฟิสิกส์อนุภาคและจักรวาลวิทยาเป็นเรื่องที่ สลับซับซ้อนมาก บางโครงการอย่าง Gravity Probe Bซึ่งเป็นดาวเทียมทำหน้าที่ตรวจสอบ
thaiwikipedia
512
ตอกปีซิน
ตอกปีซิน (Tok Pisin|link=no, ) เป็นภาษาครีโอลที่พูดในประเทศปาปัวนิวกินี เป็นหนึ่งในภาษาทางการของปาปัวนิวกินี และเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในประเทศ มีคนพูดเป็นภาษาที่ 2 ประมาณ 2 ล้านคน ตอกปีซินเรียกเป็นชื่ออื่นว่า "ภาษาอังกฤษพิดจินเมลานีเชีย" (Melanesian Pidgin English) หรือ "ภาษานีโอ-เมลานีเชีย" (Neo-Melanesian) มีการใช้ภาษาตอกปีซินอยู่บ้างในสื่อมวลชนและรัฐบาล อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษยังคงเป็นที่ใช้มากกว่าในบริบทเหล่านี้ ในโรงเรียนบางแห่ง ภาษาตอกปีซินเป็นภาษาที่ใช้สอนใน 3 ปีแรกของการเรียนชั้นต้น คำศัพท์ของภาษานี้ 5 ใน 6 มาจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และ 1 ใน 6 มาจากตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีไวยากรณ์ที่มีพื้นฐานจากไวยากรณ์ภาษาพิดจินอย่างง่าย โดยที่มีความไม่สม่ำเสมอต่าง ๆ ==ชื่อ== คำว่า tok แปลว่า "คำ" หรือ "ภาษา" มีที่มาจากคำว่า talk ในภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่า pisin มาจากคำว่าภาษาอังกฤษว่า pidgin ซึ่งหมายถึงภาษาพิดจิน ในขณะที่ชื่อของภาษานี้คือ Tok Pisin บางครั้งมีผู้เรียกในภาษาอังกฤษเป็น "ภาษาพิดจินนิวกินี" ชาวปาปัวนิวกินีที่พูดภาษาอังกฤษมักเรียกภาษาตอกปีซินเป็น "พิดจิน" การใช้ศัพท์ "พิดจิน" ในที่นี้มีความแตกต่างจาก "ภาษาพิดจิน" ในภาษาศาสตร์ ภาษาตอกปีซินไม่ใช่ภาษาพิดจินในความหมายหลัง เพราะภาษานี้กลายเป็นภาษาแม่ของผู้คนหลายคน ทำให้ภาษานี้อยู่ในกลุ่มภาษาครีโอลตามศัพท์ภาษาศาสตร์ ==ชุดตัวอักษร== ชุดตัวอักษรตอกปีซินประกอบด้วย 22 ตัวอักษร ในจำนวนนี้มี 5 ตัวที่เป็นสระ และ 4 ตัวที่เป็นทวิอักษร ตัวอักษรมีดังนี้ (สระอยู่ในอักษรหนา): a, b, d, e, f, g, h, i, k, l, m, n, o, p, r, s, t, u, v, w, y ทวิอักษรสี่ตัวเป็นได้ทั้งสระประสมสองเสียง และอักษร: , , และ (ใช้ทั้ง และ ) ==ตัวอย่าง== ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษาตอกปีซิน: Yumi olgeta mama karim umi long stap fri na wankain long wei yumi lukim i gutpela na strepela tru. Uumi olgeta igat ting ting bilong wanem samting i rait na rong na mipela olgeta i mas mekim gutpela pasin long ol narapela long tingting bilong brata susa. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษาไทย: มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== ภาษาพิดจินและภาษาครีโอล ภาษาในประเทศปาปัวนิวกินี ภาษาประธาน–กริยา–กรรม
thaiwikipedia
513
ฟลูออรีน
ฟลูออรีน (fluorine) (จากภาษาละติน Fluere แปลว่า "ไหล") เป็นธาตุเคมีที่เป็นพิษและทำปฏิกิริยาได้มากที่สุด มีสัญลักษณ์ F และเลขอะตอม 9 เป็นธาตุแฮโลเจนที่เป็นเบาที่สุดและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากที่สุด มักปรากฏอยู่ในรูปของแก๊สสีเหลืองที่ภาวะอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาได้เกือบทุกธาตุรวมทั้งแก๊สมีสกุลบางตัว มีสมบัติเป็นอโลหะมากที่สุด (ถ้าไม่รวมแก๊สมีสกุล) == ลักษณะ == === ไอโซโทป === นิวเคลียสของฟลูออรีนประกอบด้วย 9 โปรตอน 9 นิวตรอน แต่ไอโซโทปที่เสถียรของฟลูออรีนนั้น คือ ฟลูออรีน–19 มีโปรตอน 10 โปรตอน ส่วนไอโซโทปของฟลูออรีนที่สังเคราะห์ขึ้นมี 17 ไอโซโทปมีมวลอะตอมตั้งแต่ 14–31 (ยกเว้น 19) ในบรรดาไอโซโทปเหล่านี้ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ ฟลูออรีน–18 ด้วยครึ่งชีวิต 109.77 นาที ไอโซโทปที่มวลเบาส่วนใหญ่จะสลายตัวด้วยวิธีการจับยึดอิเล็กตรอน ฟลูออรีน–17 และฟลูออรีน-18 สลายตัวด้วยการแบ่งแยกโพซิตรอน ส่วนไอโซโทปที่หนักกว่าฟลูออรีน–19 จะสลายด้วยวิธีการสลายให้อนุภาคบีตา === โครงสร้างอะตอม === อะตอมฟลูออรีนในธรรมชาติมี 9 อิเล็กตรอน มีอิเล็กตรอนน้อยกว่านีออนอยู่ 1 อิเล็กตรอน ดังในการจัดเรียงอิเล็กตรอนของฟลูออรีน [He] 2s2 2p5 อะตอมของฟลูออรีนมีรัศมีโควาเลนซ์เพียง 64 พิโกเมตร ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับอะตอมออกซิเจนและอะตอมนีออน พลังงานไอออไนเซชั่นของฟลูออรีนสูงเป็นอันดับ 2 ในคาบเดียวกัน คือมีพลังงานไอออไนเซชั่นลำดับที่ 1 1,681 กิโลจูล/โมล ซึ่งรองจากนีออนที่มีพลังไอออไนเซชั่นลำดับที่ 1 2,080 กิโลจูลต่อโมล แต่ในหมู่เดียวกันแล้วฟลูออรีนมีพลังงานไอออเนเซชันมากที่สุด ทำให้อิเล็กตรอนยากที่จะหลุดออกจากอะตอมฟลูออรีนแต่จะได้รับอิเล็กตรอนเข้ามาง่าย แต่ค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron Affinity)ของฟลูออรีนเป็นอันดับ 2 ซึ่งรองจากคลอรีนที่มีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนอยู่ 352.4 แต่ฟลูออรีนมีค่านี้อยู่ 331.4 ส่วนค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีหรือสภาพไฟฟ้าลบของธาตุของฟลูออรีนมีมากที่สุดในบรรดาธาตุใด ๆ คือมีค่าเท่ากับ 4.0 === โครงสร้างโมเลกุล === โมเลกุลของฟลูออรีนส่วนใหญ่จะเป็นรูปของ F2 หรือไดฟลูออไรด์ พลังงานระหว่างพันธะของ F2 มีค่าน้อยกว่าพลังงานระหว่างพันธะของ Cl2 และ Br2 ถ้าฟลูออรีนไม่ได้อยู่เป็นคู่จะมีเป็นแม่เหล็กไดอะแมกเนติกแต่ถ้าอยู่กันเป็นคู่แล้วจะมีแม่เหล็กเป็นพาราแมกเนติก ซึ่งคล้ายกับออกซิเจนและไนโตรเจน === สถานะ === ฟลูออรีนมีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง เป็นแก๊สที่มีสีเหลืองอ่อนฟลูออรีนบริสุทธิ์มีสีเหลืองอ่อนมาก ฟลูออรีนจะควบแน่นเป็นฟลูออรีนเหลวที่อุณหภูมิ -188 องศาเซลเซียส (-307 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่ออกซิเจนและไนโตรเจนควบแน่นเป็นของเหลว ฟลูออรีนจะเป็นของแข็งได้ที่อุณหภูมิ -220 องศาเซลเซียส (-363 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งอะตอมฟลูออรีนในฟลูออรีนแข็งนี้จะจัดเรียงเป็นรูปลูกบาศก์ หรือที่เรียกว่าบีตา–ฟลูออรีน ในสถานะนี้ฟลูออรีนจะมีลักษณะเป็นของแข็งโปร่งใสและนุ่ม ในอุณหภูมิ -228 องศาเซลเซียส (-378 องศาฟาเรนไฮต์) ฟลูออรีนจะสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นของแข็งโดยที่โครงสร้างคริสตัลจะเปลี่ยนไปเท่านั้นคือเป็นมอโนคลินิกหรือที่เรียกว่าแอลฟา–ฟลูออรีน ซึ่งจะมีสีทึบและยากที่จะปิดตัว พลังงานที่เปลี่ยนโครงสร้างคริสตัลนี้มากกว่าพลังงานที่ใช้เปลี่ยนสถานะที่จุดหลอมเหลวและสามารถจะรุนแรงขึ้นไปอีก ในปกติ ฟลูออรีนแข็งค่อนข้างที่จะคล้ายกับออกซิเจนแข็งมากกว่าธาตุในหมู่แฮโลเจนที่อยู่ในสถานะของแข็ง === การเกิดปฏิกิริยาเคมี === ฟลูออรีนเมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วบ่อยครั้งที่จะเกิดอย่างฉับพลันหรือเกิดระเบิดขึ้น สารหลายอย่างที่ถือว่าโดยทั่วไปว่าเป็นปฏิกิริยาทางเคมีเช่นผงเหล็ก เศษแก้วและใยหิน เส้นใยนี้เกิดปฏิกิริยากับฟลูออรีนเย็นได้ง่าย น้ำและไม้สามารถถูกเผาไฟได้โดยนำไปใกล้กับฟลูออรีนโดยที่ไม่ต้องมีจุดประกายไฟ ฟลูออรีนได้ถูกนำไปใช้ในการเกิดสารประกอบของแก๊สมีสกุลโดยที่ฟลูออรีนทำปฏิกิริยากับแพลตทินัม แพลเลเดียม หรือเหล็กเกิดเป็น PtF6 PdF6 FeF6 แล้วนำไปใช้เป็นตัวออกซิไดส์ที่สามารถดึงอิเล็กตรอนของแก๊สมีสกุลแล้วให้ความร้อน ดังสมการ Xe + PtF6(g) → [Xe+][(PtF6)-] == การปรากฏ == === เอกภพ === เอกภพมีฟลูออรีนเป็นส่วนประกอบที่ 40 ส่วนในพันล้านส่วน ฟลูออรีนเป็นที่คาดกันว่าจะเป็นธาตุที่พบมากที่สุดเป็นอันดับที่ 24 ในเอกภพ มันเป็นธาตุเบาที่หายาก (ธาตุที่เบากว่ามีแนวโน้มที่จะพบมาก) ธาตุทั้งหมดตั้งแต่ ธาตุที่ 6–14 ยกเว้นธาตุที่ 11 มีในเอกภพมากกว่าฟลูออรีน 100–1,000 เท่า ในลำดับการทำปฏิกิริยาฟิวชันบนดาวฤกษ์จะผลิต ออกซิเจน คาร์บอน นีออน และอื่น ๆ โดยที่ไม่มีฟลูออรีนผลิตออกมา ถึงจะผลิตได้แต่มันจะถูกทำลายอย่างรวดเร็วโดยปฏิกิริยาฟิวชันอื่น ๆ === โลก === ฟลูออรีนเป็นธาตุลำดับที่ 13 ตามธาตุที่พบมากในเปลือกโลก ในเปลือกโลกประกอบไปด้วยฟลูออรีน 600–700 ส่วนในล้านส่วน โดยมวล ส่วนใหญ่แล้วจะพบฟลูออรีนในรูปของสารประกอบ ซึ่งเป็นแร่ แร่ที่สำคัญที่มีฟลูออรีน ได้แก่ แร่ฟลูออไรต์ – (CaF2) หรือ ฟลูออสปาร์ เป็นแหล่งที่มาหลักของฟลูออรีนในเชิงพาณิชย์ ฟลูออไรต์นี้พบได้ทั่วโลก ประเทศจีนเป็นประเทศที่ต้องการแร่นี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการของโลก รองลงมาเป็นประเทศแม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตฟลูออไรต์ได้มากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่เหมืองแร่แห่งสุดท้ายในรัฐอิลลินอยได้ถูกปิดลงในปี ค.ศ. 1995 ฟลูออร์อะพาไทด์ – (Ca5(PO4)3F) และอะพาไทด์อื่นๆ ถูกขุดออกมาในปริมาณที่มากเนื่องจากอะพาไทด์จะถูกนำไปสกัดเอาฟอสฟอรัสมาทำปุ๋ยฟอสเฟต ฟลูออรีนบนโลกส่วนใหญ่อยู่ในแร่ชนิดนี้ แต่เศษของฟลูออรีนที่น้อยมาก (3.5 %) จะถูกทิ้งเป็นของเสีย มีแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่เก็บฟลูออรีนนี้ไว้เพื่อทำเฮกซะฟลูออโรซิลิเกต (SiF6) เพื่อใช้ในการจัดหาน้ำโดยการฟลูออไรเดชั่น ไครโอไลต์ – (Na3AlF6) เป็นที่มีแร่ที่มีฟลูออรีนที่มีในโลกน้อยที่สุด แต่เดิมแร่นี้ใช้ในการผลิตอะลูมิเนียม เหมืองแร่เชิงพาณิชย์หลักที่ชายฝั่งตะวันตกของกรีนแลนด์ได้ถูกปิดลงในปี ค.ศ. 1987 {| cellpadding="3" style="margin:1em auto 1em auto; text-align:center;" |- | colspan="3" style="text-align:center;"| แร่หลักที่มีฟลูออรีนเป็นส่วนประกอบ |- | | | |- style="text-align:center;" | ฟลูออไรต์ | ฟลูออร์อะพาไทด์ | ไครโอไลต์ |} นอกจากนี้ยังมีแร่อื่น ๆ อีกเช่น พลอย บุษราคัม อยู่ในรูปของฟลูออไรด์ ฟลูออไรด์นั้นพบในน้ำทะเลซึ่งต่างจากแฮไลด์อื่น ๆ เพราะโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทจะตกตะกอนเมื่อนำมันออกจากน้ำ ฟลูออรีนนั้นยังถูกพบในขณะที่ภูเขาไฟระเบิดและจากน้ำพุร้อนใต้ดิน จุดกำเนิดของฟลูออรีนที่ดีที่สุดนี้นยังไม่แน่ชัด == สารประกอบ == ฟลูออรีนส่วนใหญ่มีเลขออกซิเดชั่น -1 เพราะฟลูออรีนขาดอิเล็กตรอนอีก 1 ก็จะเกิดความเสถียร ดั้งนั้นฟลูออรีนจึงเกิดสารประกอบกับโลหะแอลคาไลและธาตุที่มีเลขออกซิเดชั่น +1 ได้ง่าย === ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ === ฟลูออรีนเกิดปฏิกิรยากับไอโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบที่เรียกว่า ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF) หรือที่มันละลายน้ำแล้วจะเป็นกรดไฮโดรฟลูออริก (H+F) จุดเดือดของไฮโดรเจนฟลูออไรด์สูงกว่าไฮโดรเจนแฮไลด์อื่น ๆ เช่นเดียวกับไดไฮโดรเจนออกไซด์ ที่มีจุดเดือดสูงกว่าไดไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไดไฮโดรเจนซีลีไนด์ ไดไฮโดรเจนเทลลูไรด์ ในสารละลายน้ำ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์เป็นกรดอ่อน ในขณะที่ไฮโดรแฮลิกอื่น ๆ เป็นกรดแก่ กรดไฮโดรฟลูออริกนำไปใช้เป็นงานศิลปะที่ทำโดยกระจกเพื่อใช้ให้มันกัดกระจก === สารประกอบกับแก๊สมีสกุล === สารประกอบแรกที่เกิดสารประกอบฟลูออรีนกับแก๊สมีสกุลคือ ซีนอนเททระฟลูออไรด์ ต่อมาก็สามารถสร้างสารประกอบที่มีฟลูออรีน 2 อะตอมได้คือ เรดอนไดฟลูออไรด์แล้วคาดว่าจะเกิดกับซีนอนและคริปทอนได้ ส่วนสารประกอบที่เกิดขึ้นกับแก๊สมีสกุลที่เบากว่าจะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว และจะเกิดขึ้นในสภาพที่มีความดันสูง อุณหภูมิต่ำ เช่นอาร์กอนเฮกซะฟลูออโรไฮเดรต (ArHF6) และฮีเลียมเฮกซะฟลูออโรไฮเดรต (HeHF6) ส่วนนีออนนั้นยังไม่พบสารประกอบกับฟลูออรีน == การนำไปใช้ประโยชน์ == โซเดียมฟลูออไรด์ ใช้ปริมาณเล็กน้อยเติมลงในยาสีฟัน จะทำให้แคลเซียมที่ผิวฟันแปลงสภาพเป็นแคลเซียมฟลูออไรด์ที่ไม่ละลายน้ำ และป้องกันฟันผุได้ กรดไฮโดรฟลูออริก หรือกรดกัดแก้ว ใช้ในงานศิลปะเพื่อกัดกระจกให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ตามที่ต้องการ == ความอันตราย == ฟลูออรีนนั้นมีความอันตรายสูงมากถ้ามันบริสุทธิ์ มันจะทำให้เกิดรอยไหม้เหมือนโดนผิวหนัง เมื่อมีปริมาณ 25 ส่วนในล้านส่วนมันจะสามารถทำร้ายดวงตา ทางเดินหายใจ ปอดรวมถึงตับและไตด้วย ถ้ามีปริมาณ 100 ส่วนในล้านส่วนจะทำให้ตาและจมูกของมนุษย์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก == เชิงอรรถ == == รายการอ้างอิง == ตัวออกซิไดซ์ แฮโลเจน ธาตุเคมี ฟลูออรีน วัสดุศาสตร์
thaiwikipedia
514
ประเทศอิรัก
ประเทศอิรัก (الْعِرَاق|translit=al-ʿIrāq; عێراق|translit=Êraq; Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جُمْهُورِيَّة ٱلْعِرَاق ; کۆماری عێراق|translit=Komarî Êraq; Republic of Iraq) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจรดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จรดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจรดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรียกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน ค.ศ. 1920 โดยสันนิบาตชาติ เมื่อจักรวรรดิออตโตมันถูกแบ่งตามสนธิสัญญาแซฟวร์ ประเทศอิรักถูกกำหนดให้อยู่ในอำนาจของสหราชอาณาจักรเป็นอาณาเขตในอาณัติเมโสโปเตเมียของอังกฤษ พระมหากษัตริย์สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1921 และราชอาณาจักรอิรักได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. 1932 ใน ค.ศ. 1958 พระมหากษัตริย์ถูกล้มล้างและมีการสถาปนาสาธารณรัฐอิรัก ประเทศอิรักถูกควบคุมโดยพรรคบะอัธสังคมนิยมอาหรับตั้งแต่ ค.ศ. 1968 ถึง 2003 หลังการบุกครองโดยสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร พรรคบะอัธของซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่นจากอำนาจและมีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภาหลายพรรคขึ้น ทหารสหรัฐออกจากอิรักทั้งหมดใน ค.ศ. 2011 แต่การก่อการกำเริบอิรักยังดำเนินต่อไปและทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อนักรบจากสงครามกลางเมืองซีเรียไหลบ่าเข้าประเทศ == ภูมิศาสตร์ == อิรักมีพื้นที่ทั้งหมด 437,072 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับ อิหร่าน ทิศเหนือ ติดกับตุรกี ทิศใต้ติดกับคูเวต ทิศตะวันตกติดกับ ซีเรีย และจอร์แดน สภาพทางภูมิศาสตร์ของอิรัก เป็นทะเลทรายร้อยละ 40 ที่ราบสูง ยากแต่การทำการเกษตรทำให้อิรักต้องนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ธัญพืช แต่อย่างไรก็ดี อิรักก็มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ไทรกิส ยูเฟรตีส ทำให้ยังพอมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง == ประวัติศาสตร์ == === ยุคโบราณ === === ยุคกลาง === === ยุคอาณาจักรออตโตมัน === พ.ศ. 2281 - ตกอยู่ใต้อาณาจักรออตโตมาน === รัฐในอาณัติ และ ราชอาณาจักร=== หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงอาณาจักรออตโตมันที่เคยเป็นมหาอำนาจในตะวันออกกลางตกเป็นผู้แพ้สงคราม ดินแดนต่าง ๆ ที่ออตโตมันปกครองก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นรัฐต่าง ๆ อิรักเป็นหนึ่งในรัฐที่ถูกแบ่งแยกออกมาโดยอังกฤษที่สามารถยึดครองอิรักจากออตโตมันได้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้เข้ามาปกครองอิรัก ในฐานะรัฐอารักขาตั้งแต่ ค.ศ. 1920 จนกระทั่งใน ค.ศ. 1932 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อิรักโดยมีราชวงศ์ฮัชไมต์ปกครองประเทศอิรัก === สาธารณรัฐ และ พรรคบะอัธ === ในปี 1958 เกิดการรัฐประหารที่เรียกว่าการปฏิวัติ 14 กรกฎาคม นำโดยนายพลอับด์ อัล-คาริม กาซิม ผู้รักชาติ การก่อจลาจลครั้งนี้เป็นการต่อต้านจักรวรรดินิยมและต่อต้านสถาบันกษัตริย์อย่างรุนแรง และมีองค์ประกอบสังคมนิยมที่เข้มแข็ง กษัตริย์ฟัยศ็อลที่ 2 เจ้าชายอับดุลอิลาห์ และนูริ อัล-ซาอิด ถูกปลงพระชนม์กาซิมควบคุมอิรักผ่านการปกครองของทหาร และในปี 1958 เขาเริ่มกระบวนการบังคับลดที่ดินส่วนเกินที่มีพลเมืองเพียงไม่กี่คนเป็นเจ้าของ และให้รัฐจัดสรรที่ดินใหม่ เขาถูกโค่นล้มโดยพันเอกอับดุล สลาม อารีฟ ในการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1963 หลังจากการเสียชีวิตของฝ่ายหลังในปี 1966 อับดุลเราะห์มาน อารีฟ น้องชายของเขาสืบต่อจากเขา ซึ่งถูกพรรคบะอัธล้มล้างในปี 1968 อาห์เหม็ด ฮัสซัน อัล-บักร์ กลายเป็นประธานาธิบดีจากพรรคบะอัธคนแรกของอิรัก แต่แล้วการเคลื่อนไหวก็ค่อยๆ เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและการควบคุมของสภาบัญชาการการปฏิวัติ (RCC) ซึ่งในขณะนั้นเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของอิรัก กรกฎาคม 1979. หลังจากการโจมตีข้ามพรมแดนกับอิหร่านเป็นเวลาหลายเดือน ซัดดัมได้ประกาศสงครามกับอิหร่านในเดือนกันยายน 1980 ทำให้เกิดสงครามอิหร่าน–อิรัก (หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก) โดยใช้ประโยชน์จากความวุ่นวายหลังการปฏิวัติอิหร่านในอิหร่าน อิรักยึดดินแดนบางส่วนทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านได้ แต่อิหร่านยึดคืนดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดได้ภายในสองปี และอีกหกปีถัดมา อิหร่านก็เป็นฝ่ายรุก ในช่วงสงคราม ซัดดัม ฮุสเซนใช้อาวุธเคมีโจมตีชาวอิหร่านอย่างกว้างขวาง ในช่วงสุดท้ายของสงครามอิหร่าน–อิรัก รัฐบาลอิรักของกลุ่มบะอัธ ได้เป็นผู้นำการรณรงค์ Al-Anfal ซึ่งเป็นการรณรงค์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มุ่งเป้าไปที่ชาวเคิร์ดในอิรัก และนำไปสู่การสังหารพลเรือน 50,000–100,000 คน เนื่องจากอิรักไม่สามารถจ่ายเงินให้กับคูเวตได้มากกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ยืมมาเพื่อใช้สนับสนุนสงครามอิหร่าน-อิรัก และการเพิ่มขึ้นของระดับการผลิตปิโตรเลียมของคูเวตซึ่งทำให้รายได้ลดลง อิรักตีความการที่คูเวตปฏิเสธที่จะลดการผลิตน้ำมันถือเป็นการกระทำที่ก้าวร้าว ในเดือนสิงหาคม 1990 อิรักรุกรานและผนวกคูเวต สิ่งนี้นำไปสู่การแทรกแซงทางทหารโดยกองกำลังที่นำโดยสหรัฐอเมริกาในสงครามอ่าวครั้งแรก กองกำลังพันธมิตรดำเนินการปฏิบัติการทิ้งระเบิดโดยมุ่งเป้าไปที่เป้าหมายทางทหารจากนั้นจึงทำการโจมตีภาคพื้นดินต่อกองกำลังอิรักทางตอนใต้ของอิรักและคูเวตเป็นเวลา 100 ชั่วโมง กองทัพอิรักได้รับความเสียหายในช่วงสงคราม ไม่นานหลังจากเหตุการณ์สิ้นสุดลงในปี 1991 ชาวอิรักและชาวเคิร์ดได้นำการลุกฮือหลายครั้งเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองของซัดดัม ฮุสเซน แต่ถูกปราบปราม คาดว่ามีผู้เสียชีวิตมากถึง 100,000 คน รวมทั้งพลเรือนจำนวนมาก ในระหว่างการลุกฮือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และตุรกี โดยอ้างอำนาจภายใต้ UNSCR 688 ได้จัดตั้งเขตห้ามบินของอิรักขึ้นเพื่อปกป้องประชากรชาวเคิร์ดจากการโจมตี อิรักได้รับคำสั่งให้ทำลายอาวุธเคมีและชีวภาพของตน และสหประชาชาติพยายามบังคับให้รัฐบาลของซัดดัมปลดอาวุธและตกลงหยุดยิง ความล้มเหลวของรัฐบาลอิรักในการปลดอาวุธและตกลงหยุดยิงส่งผลให้เกิดการคว่ำบาตรซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปี 2003 ผลกระทบของการคว่ำบาตรต่อประชากรพลเรือนในอิรักยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ในขณะที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าการคว่ำบาตรทำให้การเสียชีวิตของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมาก การวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่อ้างถึงโดยทั่วไปนั้นถูกสร้างขึ้นมา และ "ไม่มีการเสียชีวิตของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมากในอิรัก"โครงการน้ำมันสำหรับอาหารก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการคว่ำบาตร === สหรัฐอเมริกาเข้ายึดอิรัก === เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2003 กลุ่มพันธมิตรที่จัดตั้งโดยสหรัฐฯ ได้บุกอิรัก โดยอ้างว่าอิรักล้มเหลวที่จะละทิ้งโครงการอาวุธทำลายล้างสูง การกล่าวอ้างนี้อิงตามเอกสารที่ CIA และรัฐบาลอังกฤษมอบให้ ซึ่งต่อมาพบว่าไม่น่าเชื่อถือ มีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าแท้จริงแล้วสหรัฐฯ กำลังดำเนินการตามวัตถุประสงค์ระดับชาติเพื่อขยายขอบเขตอำนาจของตนหลังจากการรุกราน สหรัฐฯ ได้จัดตั้งกองกำลังผสมชั่วคราวขึ้นเพื่อปกครองอิรัก ในเดือนพฤษภาคม 2003 แอล. พอล เบรเมอร์ ผู้บริหารระดับสูงของ CPA ได้ออกคำสั่งให้แยกสมาชิกพรรคบะอัธออกจากรัฐบาลอิรักชุดใหม่ (คำสั่ง CPA 1) และให้ยุบกองทัพอิรัก (คำสั่ง CPA 2)การตัดสินใจดังกล่าวได้สลายกองทัพอิรักนิกายซุนนีซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวซุนนี และไม่รวมอดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลของประเทศจำนวนมากรวมทั้งครูโรงเรียน 40,000 คนที่เข้าร่วมพรรคบะอัธเพียงเพื่อรักษางานไว้ ช่วยทำให้เกิดสภาพแวดล้อมหลังการรุกรานที่วุ่นวาย การก่อความไม่สงบต่อการปกครองอิรักโดยพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ เริ่มขึ้นในฤดูร้อนปี 2546 ในส่วนของอดีตตำรวจและกองทัพลับของอิรัก ซึ่งก่อตั้งหน่วยรบแบบกองโจร ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2003 กลุ่ม 'ญิฮาด' เริ่มมุ่งเป้าไปที่กองกำลังพันธมิตร กองกำลังติดอาวุธซุนนีต่างๆ ถูกสร้างขึ้นในปี 2003 ตัวอย่างเช่น Jama'at al-Tawhid wal-Jihad ที่นำโดย อบู มูซาบ อัล-ซาร์กาวี การก่อความไม่สงบดังกล่าวรวมถึงความรุนแรงระหว่างชาติพันธุ์ที่รุนแรงระหว่างชาวสุหนี่และชีอะห์ กองทัพมะห์ดี ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธชีอะฮ์ที่ก่อตั้งขึ้นในฤดูร้อนปี 2003 โดยมุคตาดา อัล-ซาดร์ ได้เริ่มต่อสู้กับกองกำลังพันธมิตรในเดือนเมษายน 2004และกลุ่มติดอาวุธซุนนีและชีอะห์ต่อสู้กันเอง และต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวของอิรักชุดใหม่ที่ติดตั้งในเดือนมิถุนายน 2004 และต่อต้านกองกำลังพันธมิตร รวมถึงการรบที่ฟัลลูจาห์ครั้งแรกในเดือนเมษายน และการรบที่ฟัลลูจาห์ครั้งที่สองในเดือนพฤศจิกายน กองทัพมาห์ดีจะลักพาตัวพลเรือนชาวซุนนีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในเดือนมกราคม 2005 มีการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่การรุกรานเกิดขึ้น และในเดือนตุลาคม 2005 ได้มีการอนุมัติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่, ซึ่งตามมาด้วยการเลือกตั้งรัฐสภาในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม การโจมตีของผู้ก่อความไม่สงบเพิ่มขึ้นเป็น 34,131 ครั้งในปี 2005 จาก 26,496 ครั้งในปี 2004 ==การเมืองการปกครอง== === การแบ่งเขตการปกครอง === ประเทศอิรักแบ่งออกเป็น 19 เขตผู้ว่าการ (muhafazat, Pârizgah) ได้แก่ ดะฮูก นิเนเวห์/นีนะวา อัรบีล คีร์คูก อัสซุลัยมานียะฮ์ เศาะลาฮุดดีน อัลอันบาร แบกแดด/บัฆดาด ดิยาลา กัรบะลาอ์ บาบิโลน/บาบิล วาซิฏ นาจาฟ/อันนัจญัฟ อัลกอดิซียะฮ์ มัยซาน อัลมุษันนา ษีกอร บัสรา/อัลบัศเราะฮ์ ฮะลับญะฮ์ (ไม่แสดงในแผนที่ อยู่ทางด้านตะวันออกของเขตผู้ว่าการอัสซุลัยมานียะฮ์หรือหมายเลข 5) เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Autonomous Region) ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ มีพื้นที่รวมบางส่วนของเขตผู้ว่าการทางเหนือ และปกครองตนเองในเรื่องราชการภายในส่วนใหญ่ === กองทัพ === == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === ระบอบเศรษฐกิจของอิรักเป็นแบบ สังคมนิยม รวมอำนาจไว้ที่ศุนย์กลาง นั่นคือรัฐบาลกลางของอิรัก มีระบบรัฐสวัสดิการมีการแจก ข้าว น้ำตาล ยารักษาโรคบางชนิด นม เสื้อผ้า ให้แก่ประชากรของอิรัก เศรษฐกิจของอิรักค่อนข้างถูกกดดันจากประชาคมโลกโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์อ่าวเปอร์เซีย สงครามอิรัก และช่วงเหตุการณ์ 9/11 ทำให้เศรษฐกิจของอิรักบอบช้ำ แต่ยุทธปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอิรักคือ น้ำมัน อิรักเป็นประเทศที่มีน้ำมันไว้ในครอบครองเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอาระเบีย โดยผลิตได้วันละ 2.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้อิรักกลายเป็นดินแดนที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจน้ำมันจากสหรัฐอเมริกาที่มุ่งหวังเข้าไปกอบโกยทรัพยากรล้ำค่าอย่างทองคำดำในอิรัก == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด อยู่ในบริเวณเคอร์ดิสถาน ชาวเคริ์ดในอิรักมีอยู่ประมาณ 3,700,000 คน นับว่าเป็นคนส่วนน้อยในอิรัก และเนื่องด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิของชนชาติอาหรับ และผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับมุสลิมสุหนี่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนา และชาติพันธุ์ในอิรัก ทั้งกับมุสลิมด้วยกันเองคือ สุหนี่และชีอะห์ และ ยังปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวคิร์ดกับรัฐบาลกลางของอิรัก เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอีกด้วย === ภาษา === ภาษาทางการของอิรัก คือ ภาษาอาหรับ และส่วนอื่นคือ ภาษาเคิร์ด ===เมืองใหญ่=== === ศาสนา === ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 96% แบ่งเป็นนิกาย ชีอะห์ 31.5% กับ ซุนนีย์ 64.5% ลัทธิเหตุผล กับ Yazdânism 2.0% ศาสนาคริสต์ 1.2% ศาสนาอื่น ๆ 0.8% == อ้างอิง == ประเทศอิรัก จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ ==บรรณานุรม== Shadid, Anthony 2005. Night Draws Near. Henry Holt and Co., NY, US Hanna Batatu, "The Old Social Classes and the Revolutionary Movements of Iraq", Princeton: Princeton University Press, 1978 Charles Glass, "The Northern Front: A Wartime Diary"' Saqi Books, London, 2004, A Dweller in Mesopotamia, being the adventures of an official artist in the garden of Eden, by Donald Maxwell, 1921. (a searchable facsimile at the University of Georgia Libraries; DjVu & layered PDF format) By Desert Ways to Baghdad, by Louisa Jebb (Mrs. Roland Wilkins) With illustrations and a map, 1908 (1909 ed). (a searchable facsimile at the University of Georgia Libraries; DjVu & layered PDF format) Benjamin Busch, "'Today is Better than Tomorrow'. A Marine returns to a divided Iraq", Harper's Magazine, October 2014, pp. 29–44. Global Arms Exports to Iraq 1960–1990, Rand Research report ==อ่านเพิ่ม== == แหล่งข้อมูลอื่น== รัฐบาล Presidency of Iraq Cabinet of Iraq ข้อมูลทั่วไป Iraq. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Iraq profile from the BBC News ประเทศที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางการ อิรัก อ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2475
thaiwikipedia
515
ภาษาฮินดี
|ancestor=
thaiwikipedia
516
เยาวภา บุรพลชัย
เยาวภา บุรพลชัย (เกิด: 6 กันยายน พ.ศ. 2527) นักกีฬาเทควันโดหญิงทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองแดงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จากการแข่งขันในรุ่น 47-51 กิโลกรัม ที่ต่อมาเยาวภาได้เปลี่ยนกีฬาอาชีพไปเป็นกีฬาฟันดาบสากล == ประวัติ == เยาวภา บุรพลชัย เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2527 เป็นบุตรีของร้อยตรีธำรง กับสมศรี บุรพลชัย มีน้องชายหนึ่งคน คือ พระประกิต ฐานชโย หรือ ประกิต บุรพลชัย (ชื่อเล่น: ปอนด์; 10 เมษายน พ.ศ. 2534—16 มกราคม พ.ศ. 2558) อดีตนักกีฬาเทควันโดและฟันดาบ พระประกิตมรณภาพขณะสรงน้ำเนื่องจากสูดแก๊สคาร์บอนที่รั่วออกมาจากเครื่องทำน้ำอุ่น ส่งผลให้สมองขาดอ็อกซิเจน เริ่มเล่นเทควันโดครั้งแรก ตั้งแต่อายุ 15 ปี ขณะศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมี อาจารย์ครรชิต อมรภักดี เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก และชเว ย็อง-ช็อก เป็นผู้ฝึกสอนในระดับทีมชาติไทย แต่ในปี พ.ศ. 2551 ก็ประกาศเลิกเล่นเทควันโด เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้า จนต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน ส่วนการเป็นโค้ชให้กับทีมชาติไทยหรือไม่ เป็นเรื่องของอนาคต แต่ขอศึกษาในระดับปริญญาตรีก่อน นอกจากนี้เยาวภายังสามารถใช้ภาษาได้ถึง 4 ชาติ คือ ภาษาไทย (ภาษาแม่) ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี เยาวภา สมรสกับเกรียงไกร เพิ่มทวี ซึ่งมีอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ปัจจุบันมีบุตรด้วยกัน 4 คน ชาย2 หญิง2 === การศึกษา === จบการศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 จากโรงเรียนขจรโรจน์วิทยา จบการศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 - ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเมืองทองนิเวศน์ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ 6 ที่ โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา (มัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษา) จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี รุ่นที่20 อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) เคยศึกษาที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาประวัตืศาสตร์ เคยศึกษาที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ == ผลงาน == เมื่อปี พ.ศ. 2542 ลงแข่งขันรายการ Pro Junior ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เป็นรายการแรก ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น มีผลงานสำคัญที่ได้รับรางวัลดังนี้ เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ 2002 ที่ปูซาน เกาหลีใต้ พ.ศ. 2545 เหรียญทองแดง กีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่แทกู เกาหลีใต้ พ.ศ. 2546 เหรียญทองแดง ชิงแชมป์โลก ที่เยอรมนี พ.ศ. 2546 เหรียญทอง ซีเกมส์ 2003 ที่เวียดนาม พ.ศ. 2546 เหรียญทองแดง โอลิมปิก ที่กรีซ พ.ศ. 2547 เหรียญเงิน กีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่ตุรกี พ.ศ. 2548 เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเชีย ที่ไทย พ.ศ. 2549 เหรียญทอง World cup ที่ไทย พ.ศ. 2549 == ผู้จัดรายการ == ปี พ.ศ. 2565 ศึกมวยกรงแปดเหลี่ยม "เดอะ ไรส์ ออฟ เดอะ เลเจนด์" วันเสาร์ เดือนละหนึ่งครั้ง (/YouTube:Legend Fighting Championship, Facebook:Legend Fighting Championships Thailand) (2 เมษายน 2565-) == ผลงานพิธีกร == โทรทัศน์ ปี พ.ศ. 25 (/ช่อง) ออนไลน์ ปี พ.ศ. 2565 ศึกมวยกรงแปดเหลี่ยม "เดอะ ไรส์ ออฟ เดอะ เลเจนด์" วันเสาร์ เดือนละหนึ่งครั้ง (/YouTube:Legend Fighting Championship, Facebook:Legend Fighting Championships Thailand) (2 เมษายน 2565-) ร่วมกับ แม้ทธิว พอล ดีน, สุวัฒน์ กลิ่นเกษร ==การเมือง== เยาวภาเข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และลงเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง เยาวภาลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 28 ในนามพรรคชาติพัฒนา == เครื่องราชอิสริยาภรณ์ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ชาวไทยเชื้อสายจีน นักเทควันโดหญิงชาวไทย นักกีฬาทีมชาติไทย นักเทควันโดในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 นักกีฬาไทยที่ได้เหรียญทองแดงโอลิมปิก นักกีฬาเหรียญเงินเอเชียนเกมส์ชาวไทย นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย นักฟันดาบสากลหญิงชาวไทย บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 นักการเมืองสตรีชาวไทย พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550) พิธีกรชาวไทย นักธุรกิจชาวไทย นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน ยูทูบเบอร์ชาวไทย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ. บุคคลจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุคคลจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
thaiwikipedia
517
ประเทศนาอูรู
นาอูรู (Nauru, ; Naoero) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐนาอูรู (Republic of Nauru; Repubrikin Naoero) เป็นประเทศเกาะและจุลรัฐในภูมิภาคไมโครนีเซีย ทวีปโอเชียเนีย ตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะบานาบาของประเทศคิริบาสเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด โดยอยู่ห่างกัน 300 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก นาอูรูตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตูวาลู ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะโซโลมอน โดยอยู่ห่างกัน 1,300 กิโลเมตร ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปาปัวนิวกินี ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐไมโครนีเซียและทิศใต้ของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ด้วยพื้นที่เพียง 21 ตารางกิโลเมตร ทำให้นาอูรูเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศโมนาโกและนครรัฐวาติกันและเป็นสาธารณรัฐที่มีขนาดเล็กที่สุด มากไปกว่านั้นด้วยจำนวนประชากรเพียง 10,670 คน จึงทำให้ประเทศนาอูรูเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากนครรัฐวาติกัน ชาวไมโครนีเซียและพอลินีเซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิเยอรมนีได้ผนวกดินแดนนาอูรูเป็นอาณานิคม หลังสงครามโลกครั้งที่ 1สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติโดยมีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้จัดการปกครอง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองนาอูรู ในการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรในแปซิฟิก ได้ข้ามการยึดครองนาอูรู ตามยุทธวิธีกบกระโดด หลังจบสงคราม นาอูรูกลายเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ และได้รับเอกราชในปี 1968 ต่อมาได้เข้าร่วมประชาคมแปซิฟิกในปี 1969 นาอูรูเป็นเกาะหินฟอสเฟตที่มี่ปริมาณเก็บไว้เป็นจำนวนมากใกล้ผิวดิน ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการทำเหมืองผิวดิน ส่วนทรัพยากรฟอสเฟตที่เหลือไม่คุ้มค่าในการสกัด เมื่อปริมาณสำรองฟอสเฟตหมดลง ประกอบกับความเสียหายอย่างรุนแรงของระบบนิเวศจากการทำเหมือง ทรัสต์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดการความมั่งคั่งของเกาะมีมูลค่าลดน้อยลง นาอูรูจึงกลายเป็นที่หลบภาษี (tax haven) และศูนย์กลางของการฟอกเงินในช่วงสั้น ๆ เพื่อหารายได้ จากปี 2001 ถึง 2008 และอีกครั้งตั้งแต่ปี 2012 รัฐบาลนาอูรูได้อนุญาตให้ออสเตรเลียตั้งศูนย์ประมวลผลภูมิภาคนาอูรู (Nauru Regional Processing Centre) ซึ่งเป็นสถานกักกันคนเข้าเมืองนอกชายฝั่ง แลกกับเงินช่วยเหลือ ด้วยการพึ่งพาออสเตรเลียเป็นอย่างมาก แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่านาอูรูเป็นรัฐบริวารของออสเตรเลีย นาอูรูในฐานะรัฐเอกราชเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ กรอบการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก เครือจักรภพแห่งชาติและองค์การรัฐแอฟริกา แคริบเบียนและแปซิฟิก == ประวัติศาสตร์ == ชาวไมโครนีเซียและชาวพอลินีเซียเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นในนาอูรูอย่างน้อย 3,000 ปีที่แล้ว ตามธรรมเนียมแล้ว สามารถแบ่งผู้คนในนาอูรูได้เป็น 12 เผ่า ซึ่งแทนด้วยดาว 12 แฉกที่ปรากฏบนธงชาตินาอูรู ประเพณีเดิมของชาวนาอูรูจะสืบตระกูลผ่านทางมารดา ชาวนาอูรูมีความชำนาญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ: พวกเขาจะจับปลาอีบีจา นำปลาเหล่านั้นมาปรับตัวให้ชินกับสภาพแวดล้อมน้ำจืด และเลี้ยงดูปลาเหล่านี้ในลากูนบัวดา เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่วางใจได้ นอกจากนี้มีพืชท้องถิ่นอื่นที่เป็นส่วนประกอบอาหารของพวกเขา เช่น มะพร้าวและเตยทะเล เป็นต้น ชื่อ "นาอูรู" อาจมีที่มาจากศัพท์คำว่า Anáoero ในภาษานาอูรู อันมีความหมายว่าฉันไปชายหาด จอห์น เฟิร์น นักล่าวาฬชาวอังกฤษเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงเกาะนาอูรูในปี ค.ศ. 1798 โดยเขาได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า "เกาะพลีแซนต์" (Pleasant Island) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1830 เป็นต้นมา ชาวนาอูรูได้ติดต่อกับเรือล่าวาฬของชาวตะวันตก ซึ่งเรือล่าวาฬเหล่านี้จะแสวงหาน้ำจืดจากนาอูรูเพื่อเก็บไว้ใช้ในเรือ ในช่วงระหว่างนี้กะลาสีเรือที่เลิกทำงานให้กับเรือล่าวาฬเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในนาอูรู ชาวเกาะได้เริ่มการแลกเปลี่ยนค้าขายกับชาวตะวันตกมากยิ่งขึ้น โดยชาวเกาะจะนำอาหารไปแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาวุธสงคราม อาวุธสงครามที่ได้มาจากชาวตะวันตกเหล่านี้ได้มีการนำมาใช้ในสงครามระหว่างชนเผ่าของนาอูรูในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1878 - 1888 ในปี ค.ศ. 1888 เยอรมนีได้ผนวกเกาะนาอูรูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะมาร์แชลล์ในอารักขา การเข้ามาของเยอรมนีในครั้งนี้ช่วยให้สงครามกลางเมืองระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ สิ้นสุดลง นอกจากนี้ยังมีการตั้งตำแหน่งพระมหากษัตริย์ในการปกครองเกาะแห่งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ของนาอูรูที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือพระเจ้าโอเวอีดา คณะมิชชันนารีสอนศาสนาเริ่มเข้ามาในปี ค.ศ. 1888 โดยเป็นกลุ่มมิชชันนารีที่เดินทางมาจากหมู่เกาะกิลเบิร์ต ชาวเยอรมันที่เข้ามาอาศัยในนาอูรูจะเรียกนาอูรูว่า Nawodo หรือ Onawero จักรวรรดิเยอรมันเข้าปกครองนาอูรูอยู่ราว ๆ 3 ทศวรรษ โดยโรแบร์ต รัสช์ พ่อค้าชาวเยอรมันที่แต่งงานกับผู้หญิงชาวนาอูรูเป็นผู้บริหารของนาอูรูคนแรกในปี ค.ศ. 1890 ในปี ค.ศ. 1900 อัลเบิร์ต ฟูลเลอร์ เอลลิส นักสำรวจแร่ได้ค้นพบแหล่งแร่ฟอสเฟตในนาอูรู จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1906 บริษัทแปซิฟิกฟอสเฟตได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลของเยอรมนีในการเริ่มต้นทำกิจกรรมเหมืองแร่ฟอสเฟต โดยเริ่มการส่งออกฟอสเฟตไปขายยังต่างประเทศในปี ค.ศ. 1907 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1914 กองทัพออสเตรเลียได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1919 ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรได้ลงนามในข้อตกลงนาอูรู ซึ่งมีผลให้เกิดการสถาปนาคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ (British Phosphate Commission - BPC) โดยคณะกรรมาธิการนี้มีสิทธิ์ในการประกอบกิจการเหมืองฟอสเฟตในนาอูรู ในปี ค.ศ. 1920 เกิดการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่งผลให้ชาวนาอูรูร้อยละ 18 ล้มตายจากการระบาดในครั้งนี้ หลังจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 3 ปี สันนิบาตชาติได้ให้อำนาจออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและนิวซีแลนด์เป็นผู้ดูแลนาอูรูในฐานะดินแดนในอาณัติ ในวันที่ 6 และ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เรือเยอรมันสองลำได้จมเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร 5 ลำบริเวณใกล้กับนาอูรู นอกจากการจมเรือแล้ว เรือเยอรมันทั้งสองลำได้สร้างความเสียหายให้กับบริเวณเหมืองแร่และสายพานลำเลียงฟอสเฟตอีกด้วย จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1942 หลังจากนั้นได้เกณฑ์แรงงานชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวนาอูรูและชาวกิลเบิร์ตให้สร้างสนามบิน โดยในระยะเวลาต่อมา กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดสนามบินนี้ครั้งแรกในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1943 เพื่อตัดการสนับสนุนเสบียงอาหารที่จะส่งไปยังนาอูรู การที่เสบียงอาหารมีน้อยลงเป็นผลให้กองทัพญี่ปุ่นต้องนำชาวนาอูรู 1,200 คนออกจากเกาะโดยส่งไปอยู่ที่เกาะชุกในหมู่เกาะแคโรไลน์ การที่นาอูรูโดนกองกำลังอเมริกาปิดล้อมมาอย่างยาวนาน นำไปสู่การยอมจำนนของผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นบนเกาะนาอูรูคือฮิซะฮะชิ โซะเอะดะในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพออสเตรเลีย การยอมจำนนของญี่ปุ่นในครั้งนี้ได้รับการยอมรับโดยพลจัตวาสตีเวนสัน ซึ่งเป็นผู้แทนของพลโทเวอร์นอน สตูร์ดี ผู้บัญชาการกองทัพออสเตรเลียที่ 1 บนเรือรบเดียมันตินา หลังจากการยอมแพ้ของกองกำลังญี่ปุ่น ได้มีการส่งชาวนาอูรู 737 คนที่รอดชีวิตจากเกาะชุกกลับไปยังนาอูรู โดยเรือของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษที่ชื่อว่า Trienza ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 ในปี ค.ศ. 1947 สหประชาชาติได้มอบหมายให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดูแลเกาะนาอูรูในฐานะดินแดนในภาวะทรัสตี นาอูรูได้สิทธิ์ในการปกครองตนเองในเดือนมกราคม ค.ศ. 1966 และเมื่อการประชุมร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านไป 2 ปีหลังจากนั้น นาอูรูจึงได้ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1968 โดยมีประธานาธิบดีแฮมเมอร์ ดีโรเบิร์ตเป็นประธานาธิบดีคนแรก ในปี ค.ศ. 1967 ประชาชนชาวนาอูรูได้ร่วมกันซื้อทรัพย์สินของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ ซึ่งนาอูรูได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการเหมืองแร่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1970 ภายใต้การบริหารของบริษัทนาอูรูฟอสเฟต รายได้ของนาอูรูที่ได้จากการทำเหมืองแร่ส่งผลให้ประชาชนชาวนาอูรูมีมาตรฐานการครองชีพสูงที่สุดในกลุ่มประเทศแถบแปซิฟิก ในปี ค.ศ. 1989 นาอูรูได้ฟ้องออสเตรเลียต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจากความล้มเหลวของออสเตรเลียในการแก้ไขความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟตเมื่อครั้งที่ออสเตรเลียมีอำนาจบริหารกิจการต่าง ๆ ในนาอูรู == การเมือง == นาอูรูเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภานาอูรูเป็นระบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิก 19 คน มาจากการเลือกตั้งทุกสามปี รัฐสภาจะเลือกประธานาธิบดีจากสมาชิกรัฐสภา และประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีซึ่งมีสมาชิก 5–6 คน นาอูรูไม่มีโครงสร้างพรรคการเมืองอย่างเข้มแข็งเท่าใดนัก โดยตัวแทนส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครอิสระ ซึ่งเห็นได้จากสมาชิกรัฐสภาในสมัยปัจจุบันมีสมาชิกที่มาจากผู้แทนอิสระถึง 15 คนจากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 19 คน สำหรับพรรคการเมืองที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบันมี 4 พรรค ได้แก่ พรรคนาอูรู พรรคประชาธิปไตยแห่งนาอูรู นาอูรูเฟิร์สและพรรคกลาง แม้จะมีพรรคการเมือง แต่การร่วมรัฐบาลในนาอูรูนั้นมักขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางครอบครัวมากกว่าพรรคการเมืองที่สังกัด ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1992 - 1999 ได้มีการนำระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่า สภาเกาะนาอูรู (Nauru Island Council - NIC) เข้ามาใช้ โดยสภานี้จะมีสมาชิกสภาทั้งสิ้น 9 คน มีหน้าที่ให้บริการในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกสภาเกาะนาอูรูและให้ทรัพย์สินและหนี้สินของสภาทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลแห่งชาติ การครอบครองที่ดินในประเทศนาอูรูเป็นสิ่งที่แปลก เนื่องจากประชาชนชาวนาอูรูทุกคนมีสิทธิบางประการเหนือที่ดินทั้งหมดของเกาะ ซึ่งที่ดินเหล่านั้นมีเจ้าของเป็นบุคคลหรือกลุ่มครอบครัว รัฐบาลหรือองค์กรต่าง ๆ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หากมีความประสงค์จะใช้ที่ดินจะต้องทำสัญญากับเจ้าของที่ดินในบริเวณนั้นก่อน สำหรับประชาชนที่ไม่ใช่ชาวนาอูรูไม่มีสิทธิ์ครอบครองที่ดินบนเกาะ === การแบ่งเขตการปกครอง === ประเทศนาอูรูแบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 14 เขต ดังนี้ เขตเดนีโกโมดู (Denigomodu) เขตนีบ็อก (Nibok) เขตบูอาดา (Buada) เขตโบเอ (Boe) เขตบาอีตี (Baiti) เขตเมเนง (Meneng) เขตยาเรน (Yaren) เขตอานาบาร์ (Anabar) เขตอานีบาเร (Anibare) เขตอาเนตัน (Anetan) เขตอูอาโบเอ (Uaboe) เขตอีจูว์ (Ijuw) เขตเอวา (Ewa) เขตอาอีโว (Aiwo) ==ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ== นาอูรูได้เข้าร่วมเครือจักรภพแห่งชาติหลังจากที่ได้เอกราชในปี ค.ศ. 1968 ในฐานะสมาชิกพิเศษ และได้รับสถานะสมาชิกภาพโดยสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 2000 นาอูรูได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารพัฒนาเอเชียในปี ค.ศ. 1999 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1999 นอกจากนี้แล้วในระดับภูมิภาคนาอูรูเป็นสมาชิกของ Pacific Islands Forum และองค์กรในระดับภูมิภาคอื่น ๆ นาอูรูได้อนุญาตให้ Atmospheric Radiation Measurement Program ของสหรัฐอเมริกาเข้ามาใช้ระบบการตรวจสอบอากาศบนเกาะได้ นาอูรูไม่มีกองทหารเป็นของตนเอง การป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้ข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการของทั้งสองประเทศ ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อยจะใช้กองกำลังตำรวจขนาดเล็กซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายพลเรือนเป็นผู้ดูแล นอกจากการป้องกันประเทศแล้ว นาอูรูและออสเตรเลียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 โดยในบันทึกความเข้าใจนี้ออสเตรเลียจะให้เงินช่วยเหลือแก่นาอูรู รวมไปถึงการส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน การสาธารณสุขและการศึกษาเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่รัฐบาลนาอูรู ทั้งนี้ผลประโยชน์ที่นาอูรูได้รับจะต้องแลกเปลี่ยนกับการที่นาอูรูจะให้ที่อยู่อาศัยกับกลุ่มผู้ขอลี้ภัยเข้าออสเตรเลียในระหว่งที่กระบวนการพิจารณากำลังดำเนินการอยู่ ในปัจจุบันประเทศนาอูรูใช้สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย == ภูมิศาสตร์ == ประเทศนาอูรูมีพื้นที่ โดยเป็นเกาะรูปรีตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะนาอูรูอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร ไปทางทิศใต้ มีแนวปะการังล้อมรอบซึ่งแนวปะการังเหล่านี้จะปรากฏยอดแหลมให้เห็นเมื่อเวลาน้ำลง การเข้าถึงเกาะนาอูรูทางน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากการมีแนวปะการังที่ล้อมรอบเกาะมีผลทำให้ไม่สามารถสร้างท่าเรือได้ อย่างไรก็ตามมีการขุดคลองตามแนวปะการังเพื่อช่วยให้เรือเล็กสามารถเข้าถึงเกาะได้ แนวหน้าผาปะการังล้อมรอบที่ราบสูงตอนกลางของเกาะ จุดที่อยู่สูงสุดในบริเวณที่ราบสูงเรียกว่าคอมมานด์ริดจ์ ซึ่งมีความสูง 71 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณที่มีความอุดมสมบุรณ์เพียงแห่งเดียวของประเทศนาอูรูอยู่ในบริเวณพื้นที่แคบ ๆ ของแถบชายฝั่งทะเล ซึ่งต้นมะพร้าวเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ดินบริเวณโดยรอบของลากูนบูอาดาสามารถปลูกกล้วย สับปะรด ผักชนิดต่าง ๆ เตยทะเล และพืชไม้เนื้อแข็งท้องถิ่นคือต้นกระทิง นาอูรูเป็นหนึ่งในสามเกาะหินฟอสเฟตใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยอีกสองแห่งคือเกาะบานาบาของประเทศคิริบาส และมากาเทียของเฟรนช์โปลินีเซีย อย่างไรก็ตามฟอสเฟตของประเทศนั้นถูกนำมาใช้เกือบหมดแล้ว การทำเหมืองฟอสเฟตในที่ราบสูงตอนกลาง ทำให้พื้นที่กลายเป็นที่ไร้พืช เต็มไปด้วยหินปูนขรุขระที่มียอดสูงสุด 15 เมตร การทำเหมืองแร่เป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ ได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ถึงสี่ในห้า นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะโดยรอบ โดยประมาณการว่า 40% ของสัตว์น้ำตายจากของเหลวที่ปล่อยออกมา ซึ่งเต็มไปด้วยฟอสเฟต ปริมาณน้ำจืดในนาอูรูมีอยู่อย่างจำกัด โดยชาวนาอูรูจะใช้ถังเพื่อกักเก็บน้ำฝน อย่างไรก็ตามชาวนาอูรูโดยส่วนมากจะพึ่งพาน้ำจืดจากโรงงานผลิตน้ำจืดจากทะเลทั้งสิ้น 3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานสาธารณูปโภคนาอูรู (Nauru's Utilities Agency) ลักษณะภูมิอากาศของนาอูรูเป็นเขตร้อนชื้น เนื่องจากการตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรและมหาสมุทร นาอูรูได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่มักไม่พบพายุหมุนเขตร้อนเท่าไหร่นัก ปริมาณหยาดน้ำฟ้าของนาอูรูมีความผันแปรสูงมากและมักได้รับอิทธิพลจากเอลนิลโญ ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้บางครั้งนาอูรูประสบกับภาวะความแห้งแล้ง ในส่วนของอุณหภูมิในนาอูรูนั้น ช่วงเวลากลางวันอุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง ถึง ส่วนตอนกลางคืนจะมีอุณหภูมิระหว่าง ถึง ในปัจจุบัน นาอูรูประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น นาอูรูได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดเกาะที่ประสบปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมเกาะได้ ถึงแม้ว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในนาอูรูจะเป็นที่สูง แต่พื้นที่เหล่านั้นไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จนกว่าโครงการการฟื้นฟูแหล่งแร่ฟอสเฟตจะเริ่มดำเนินการ == เศรษฐกิจ == นาอูรูมีแร่ฟอสเฟตอยู่มาก และรายได้แทบทั้งหมดของประเทศมาจากอุตสาหกรรมการขุดและส่งออกแร่ฟอสเฟต ซึ่งมีรายได้ดีจนทำให้ชาวนาอูรู มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นในหมู่ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกด้วยกัน == ประชากร == ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 นาอูรูมีประชากร 9,378 คน ซึ่งแต่เดิมมีประชากรมากกว่านี้ โดยในปี ค.ศ. 2006 ชาวนาอูรูราว 1,500 คน ออกจากเกาะไปพร้อมกับแรงงานอพยพชาวคิริบาสและตูวาลูที่ถูกส่งกลับ ภาษาราชการของที่นี่คือ ภาษานาอูรู ร้อยละ 96 ของประชากรเชื้อสายนาอูรูนิยมใช้สนทนากันในบ้าน ส่วนภาษาอังกฤษถูกใช้สื่อสารกันอย่างแพร่หลายทั้งในรัฐบาลและการพาณิชย์ แม้ว่าชาวนาอูรูจะไม่ค่อยออกไปนอกประเทศก็ตาม ประชากรส่วนใหญ่ของนาอูรูมีเชื้อสายนาอูรู ร้อยละ 58, บุคคลที่มาจากหมู่เกาะแปซิฟิกอื่น ๆ ร้อยละ 26, ชาวยุโรป ร้อยละ 8 และชาวจีนอีกร้อยละ 8 จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2010 ประชากรนาอูรูส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ราวสองในสาม ส่วนที่เหลือนับถือนิกายโรมันคาทอลิก รวมทั้งหมดร้อยละ 75, ศาสนาของชาวจีนและศาสนาพุทธ ร้อยละ 11.9, ศาสนาบาไฮ ร้อยละ 9.6 และอไญยนิยม ร้อยละ 3.5 อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้จำกัดสิทธิของกลุ่มมอรมอนและพยานพระยะโฮวาที่เป็นลูกจ้างต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในบริษัทฟอสเฟตซึ่งรัฐเป็นเจ้าของกิจการ อัตราการรู้หนังสือของชาวนาอูรูอยู่ที่ร้อยละ 96 มีการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6-16 ปี และไม่บังคับอีกสองปี ที่นาอูรูนี้มีวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเซาท์แปซิฟิกเปิดให้บริการ ก่อนการก่อตั้งวิทยาเขตดังกล่าวในปี ค.ศ. 1987 ผู้ศึกษาต่อจะต้องออกไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ชาวนาอูรูมีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน มีสัดส่วนเป็นเพศชายร้อยละ 97 และเพศหญิงร้อยละ 93 ส่งผลให้ประเทศนาอูรูอยู่ในอันดับสูงสุดของโลกที่ประชากรมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง มีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าวด้วย ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคของชาวนาอูรูคือ โรคไตและโรคหัวใจ อายุขัยโดยเฉลี่ยของชาวนาอูรูคือ 60.6 ปี สำหรับเพศชาย และ 68.0 ปี สำหรับเพศหญิง ==วัฒนธรรม== ==สัตว์ป่าและพันธุ์พืช== == หมายเหตุ == == อ้างอิง == === ข้อมูล === == ดูเพิ่ม == Storr, C. (2020). International Status in the Shadow of Empire: Nauru and the Histories of International Law. Cambridge: Cambridge University Press. ==แหล่งข้อมูลอื่น== รัฐบาลนาอูรู Government of Nauru (archived site) Nauru. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Nauru จาก UCB Libraries GovPubs Nauru profile จาก BBC News Online น นาอูรู นาอูรู ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ เกาะในเขตโอเชียเนีย รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2511 อดีตอาณานิคมและรัฐในอารักขาของอังกฤษในเขตโอเชียเนีย
thaiwikipedia
518
กังนีเฮซซู
กังนีเฮซซู เป็นกษัตริย์องค์แรกใน กษัตริย์ 12 องค์ของดาโฮเมย์ ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งใน ทวีปแอฟริกา ตามประเพณี คาดว่ากังนีเฮซซูอาจทรงครองราชย์ในช่วงประมาณพ.ศ. 2163 สัญลักษณ์ของพระองค์คือ นกกังนีเฮซซูตัวผู้ (ใช้เป็นพ้องเสียงพระนาม) กลอง และไม้สำหรับขว้างและล่าสัตว์ ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นกษัตริย์จริงหรือไม่ตามประวัติศาสตร์ กังนีเฮซซูอาจจะทรงเป็นเพียงผู้นำทรงอิทธิพล ที่ทรงใช้อำนาจของคำชี้แนะของพระองค์ในการทรงจัดการเกี่ยวกับกิจธุระต่าง ๆ ของชุมชนผ่านทางพระอนุชาของพระองค์ คือ ดาโกโดนู ผู้ทรงได้รับการนับถือเป็นกษัตริย์อย่างชัดเจน ในช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์ พระมหากษัตริย์ ทวีปแอฟริกา
thaiwikipedia
519
ประเทศซีเรีย
ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัษ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรับ == ภูมิศาสตร์ == 1 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 18 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 30 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดตุรกี ทิศใต้ติดจอร์แดน ทิศตะวันออกติดอิรัก ทิศตะวันตกติดเลบานอน อิสราเอลและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน === สภาพภูมิประเทศ === ที่ราบทะเลทรายที่มีฝนตกเพียงเล็กน้อย มีที่ราบแคบ ๆ ชายฝั่ง มีภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตก === สภาพภูมิอากาศ === ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนอากาศชื้น ตอนกลางและทางตะวันออกมีอุณหภูมิสูงในหน้าร้อนถึง 43 องศาเซลเซียส ในหน้าหนาวมีอากาศที่พอเหมาะ มีความหนาวเย็นในบางครั้ง ทางเหนือมีฝนตกจำนวนมาก == การเมืองการปกครอง == รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประมุขของรัฐคนปัจจุบันคือ นายบัชชาร อัลอะซัด (ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 2543) === สถานการณ์การเมือง === ในปี 2513 พันเอก ฮาเฟซ อัล-อัสซาด ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ และในปี พ.ศ. 2514 ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี ดร. บัชชาร อัลอะซัด ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย ซีเรียเป็นประเทศค่อนข้างปิด โดยเฉพาะในสมัยของประธานาธิบดี ฮาเฟซ อัล-อัสซาด เป็นประเทศนิยมอาหรับและมีนโยบายต่อต้านตะวันตก และอิสราเอล นอกจากนั้น ซีเรียมีอิทธิพลต่อเลบานอนในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ทำให้การเจรจาใด ๆ ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเจรจาระหว่างซีเรียกับอิสราเอลด้วย อย่างไรก็ดี การที่ ดร. บาชาร์ อัล-อัสซาด ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตกทำให้เห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ และเห็นความจำเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล ดร. บาชาร์ อัล-อัสซาด คงยึดมั่นนโยบายของบิดา สำหรับความสัมพันธ์กับเลบานอน การถอนกองกำลังอิสราเอลออกจากเลบานอนตอนใต้ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างแรงกดดันให้ซีเรียทบทวนและพิจารณาความจำเป็นและเหตุผลของการคงกองกำลังของตนประมาณ 30,000 นาย อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2548 ซีเรียได้ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากเลบานอนหลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอนนาย ราฟิก ฮาริรี่ === สิทธิมนุษยชน === มีการสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ชื่อดังทั้ง “กูเกิล” “ยูทูบ” “เฟซบุก” และ “วิกิพีเดีย” เมื่อองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง และ สื่อต่างชาติอีกหลายสำนัก เริ่มเสนอรายงานตีแผ่การที่อัสซาดตั้งหน่วยตำรวจลับเพื่อจับกุมผู้ที่แสดงตนว่าต่อต้านรัฐบาลมาจำคุก ทรมานร่างกาย หรือสังหารอย่างเหี้ยมโหด หลายฝ่ายเริ่มจับจ้องมายังซีเรีย ซึ่งแน่นอนว่า อัสซาดออกมาปฏิเสธเรื่องราวทั้งหมด === การแบ่งเขตการปกครอง === ซีเรียแบ่งเป็น 14 เขตผู้ว่าการ (governorate) ซึ่งการแต่งตั้งผู้ว่าจะเสนอโดยรัฐมนตรีมหาดไทย รับรองโดยคณะรัฐมนตรี และประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา เป็นผู้นำของแต่ละเขต ผู้ว่าจะมีสภาเขตที่ได้รับเลือกมาช่วยเหลือ {|align="center" | ฏ็อรฏูส ดัยรุซซูร ดัรอา ดามัสกัส รีฟดิมัชก์ อะเลปโป อัรร็อกเกาะฮ์ อัลกุนัยฏิเราะฮ์ อัลลาษิกียะฮ์ อัลฮะซะกะฮ์ อัสซุวัยดาอ์ อิดลิบ ฮอมส์ ฮะมาฮ์ | |} === นโยบายต่างประเทศ === นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองที่ดำเนินอยู่ในปี 2554 และการสังหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ซีเรียถูกโดดเดี่ยวจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศในวงกว้างมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการทูตถูกตัดขาดกับหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี ตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย สหรัฐอเมริกา เบลเยียม สเปน และรัฐอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย จากสันนิบาตอาหรับ ซีเรียยังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับแอลจีเรีย อียิปต์ อิรัก เลบานอน ซูดาน และเยเมน ความรุนแรงของซีเรียต่อพลเรือนทำให้ซีเรียถูกระงับจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลามในปี 2555 ซีเรียก็ลาออกจากสหภาพเพื่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วยหลังจากผ่านไป 11 ปี ซีเรียกลับคืนสันนิบาตอาหรับอีกครั้งซีเรียยังคงส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับพันธมิตรดั้งเดิมอย่างอิหร่านและรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรียในการขัดแย้งกับฝ่ายค้านของซีเรีย ซีเรียรวมอยู่ในนโยบายเพื่อนบ้านแห่งสหภาพยุโรป (ENP) ของสหภาพยุโรปซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สหภาพยุโรปและประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดกันมากขึ้น === กองทัพ === ประธานาธิบดีซีเรียเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพซีเรีย ซึ่งประกอบด้วยทหารประมาณ 400,000 นายในการระดมกำลัง ทหารเป็นกำลังทหารเกณฑ์ ผู้ชายรับราชการทหารเมื่ออายุครบ 18 ปี ระยะเวลาการรับราชการทหารภาคบังคับจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ในปี 2548 จากสองปีครึ่งเป็นสองปี ในปี 2551 เหลือ 21 เดือน และในปี 2554 เหลือปีครึ่งทหารซีเรียประมาณ 20,000 นายถูกส่งไปประจำการในเลบานอนจนถึงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 เมื่อทหารซีเรียชุดสุดท้ายออกจากประเทศหลังจากสามทศวรรษ การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นแหล่งที่มาหลักของการฝึกอบรม ยุทโธปกรณ์ สำหรับกองทัพซีเรียมายาวนาน อาจทำให้ความสามารถของซีเรียในการได้รับยุทโธปกรณ์ทางทหารสมัยใหม่ช้าลง มีคลังแสงขีปนาวุธจากพื้นสู่พื้น ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ขีปนาวุธสกั๊ด-ซี ที่มีพิสัยทำการ 500- ชั่วโมง (310 ไมล์) ได้รับการจัดซื้อจากเกาหลีเหนือ และสกั๊ด-ดี ที่มีพิสัยทำการสูงสุด 700 นาที (430 ไมล์) ถูกกล่าวหาว่าได้รับการพัฒนาโดยซีเรีย ด้วยความช่วยเหลือของเกาหลีเหนือและอิหร่าน ตามข้อมูลของ Zisser ซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมากจากรัฐอาหรับในอ่าวเปอร์เซียอันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมในสงครามอ่าวเปอร์เซีย โดยเงินทุนจำนวนมากเหล่านี้จัดสรรไว้สำหรับการใช้จ่ายทางทหาร == เศรษฐกิจ == ,เศรษฐกิจซีเรียอาศัยแหล่งรายได้ที่ไม่น่าเชื่อถือโดยธรรมชาติ เช่น ภาษีศุลกากรที่ลดน้อยลง และภาษีเงินได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากวงเงินสินเชื่อจากอิหร่านอย่างมาก เชื่อกันว่าอิหร่านจะใช้จ่ายเงินระหว่าง 6 พันล้านดอลลาร์ถึง 20 พันล้านดอลลาร์ต่อปีกับซีเรียในช่วงสงครามกลางเมืองในซีเรียเศรษฐกิจซีเรียหดตัว 60% และเงินปอนด์ซีเรียสูญเสียมูลค่าไป 80% โดยเศรษฐกิจกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐและเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสงคราม ในช่วงเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองซีเรียที่กำลังดำเนินอยู่ ธนาคารโลกจัดซีเรียให้เป็น "ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับล่าง" ในปี 2010 ซีเรียยังคงต้องพึ่งพาภาคน้ำมันและเกษตรกรรม ภาคน้ำมันให้รายได้จากการส่งออกประมาณ 40% การสำรวจนอกชายฝั่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วได้ชี้ให้เห็นว่ามีน้ำมันจำนวนมากอยู่บนพื้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนระหว่างซีเรียและไซปรัส ภาคเกษตรกรรมมีส่วนทำให้เกิดประมาณ 20% ของ GDP และ 20% ของการจ้างงาน คาดว่าปริมาณสำรองน้ำมันจะลดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และซีเรียได้กลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิแล้ว นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองเริ่มต้นขึ้น เศรษฐกิจหดตัว 35% และเงินปอนด์ซีเรียร่วงลงเหลือ 1 ใน 6 ของมูลค่าก่อนสงคราม รัฐบาลต้องพึ่งพาสินเชื่อจากอิหร่าน รัสเซีย และจีนมากขึ้น เศรษฐกิจได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาล ซึ่งได้เพิ่มเงินอุดหนุนและควบคุมการค้าอย่างเข้มงวดเพื่อบรรเทาผู้ประท้วงและปกป้องทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ. ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ อุปสรรคทางการค้ากับต่างประเทศ การผลิตน้ำมันที่ลดลง การว่างงานสูง การขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อแหล่งน้ำที่เกิดจากการใช้หนักในการเกษตร การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว การขยายตัวทางอุตสาหกรรม และมลพิษทางน้ำ UNDP ประกาศในปี 2548 ว่า 30% ของประชากรซีเรียอาศัยอยู่ในความยากจน และ 11.4% มีชีวิตอยู่ต่ำกว่าระดับยังชีพ == ประชากรศาสตร์ == คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหุบเขาแม่น้ำยูเฟรทีสและตามที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแถบที่อุดมสมบูรณ์ระหว่างภูเขาชายฝั่งและทะเลทราย ความหนาแน่นของประชากรโดยรวมในซีเรียก่อนสงครามกลางเมืองอยู่ที่ประมาณ 99 ต่อตารางกิโลเมตร (258 ต่อตารางไมล์) ตามการสำรวจผู้ลี้ภัยโลกปี 2008 ซึ่งจัดพิมพ์โดยคณะกรรมการผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา ซีเรียเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยจำนวนประมาณ 1,852,300 คน ประชากรส่วนใหญ่มาจากอิรัก (1,300,000 คน) แต่ประชากรจำนวนมากจากปาเลสไตน์ (543,400) และโซมาเลีย (5,200) ก็อาศัยอยู่ในประเทศนี้เช่นกัน === ศาสนา === ชาวมุสลิมซุนนีคิดเป็นประมาณ 74% ของประชากรซีเรีย และชาวอาหรับซุนนีคิดเป็น 59–60% ของประชากร ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่ (8.5%) และชาวเติร์กเมน (3%) เป็นชาวสุหนี่และทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชาวอาหรับซุนนีและกลุ่มอื่นๆ ในขณะที่ 13% ของชาวซีเรียเป็นมุสลิมชีอาห์ (โดยเฉพาะชาวอะลาวี อิสไมลิส แต่ก็มีชาวอาหรับ ชาวเคิร์ด และเติร์กเมนด้วย) คริสเตียน 10%(ส่วนใหญ่เป็นกรีกออร์ทอดอกซ์แบบแอนติโอเชียน ที่เหลือคือซีเรียแอคออร์ทอดอกซ์ กรีกคาทอลิกและคาทอลิกอื่นๆ อาร์เมเนียออร์ทอดอกซ์ โบสถ์อัสซีเรียแห่งตะวันออก โปรเตสแตนต์ และนิกายอื่นๆ) และดรูเซส 3% === ภาษา === อาหรับเป็นภาษาราชการ ฝรั่งเศส อังกฤษ ใช้กันอย่างกว้างขวาง == อ้างอิง == ประเทศซีเรีย จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2489 สาธารณรัฐอาหรับ
thaiwikipedia
520
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ด้วยระบบสุ่มข้อสอบทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะระดับ "ภาคีวิศวกร") การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุด โดยตอบสนองความต้องการของสังคม == สาขาย่อย == วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering) : ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management) : ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering) : ศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering) : ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมธรณี (Geological engineering) : ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) : ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resource engineering) : ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering) : ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system;GIS) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ตั้มซีวิล แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา และซอฟต์แวร์ CivilClub เว็บไซต์สำหรับวิศวกรโยธาและบุคคลทั่วไป วิศวกรโยธา Civil Engineer cu-tep วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยศรีปทุม http://www.spu.ac.th/fac/engineer/th/program.php?bid=6 สาขาทางวิศวกรรมศาสตร์
thaiwikipedia
521
ประเทศจอร์แดน
ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกาบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต์ == ภูมิศาสตร์ == === ภูมิประเทศ === === ภูมิอากาศ === ร้อนแห้ง และมีฤดูหนาวที่เย็นและชื้นแบบเมดิเตอร์เรเนียน == ประวัติศาสตร์ == === ยุคโบราณ === === ยุคกลาง จนถึง สงครามโลกครั้งที่ 1 ===
thaiwikipedia
522
ประเทศเลบานอน
เลบานอน (Lebanon; لُبْنَان; Liban) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱللُّبْنَانِيَّةُ; République libanaise) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟามส์" (Shebaa Farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟามส์" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาติ == ประวัติศาสตร์ == เลบานอนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1943 หลังจากนั้น เลบานอนได้พัฒนาประเทศจนสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงินศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีตไว้ได้ อย่างไรก็ดี ในช่วง ค.ศ. 1975 – 1991 เลบานอนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมือง มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาหรับและกลุ่มคริสเตียนในเลบานอน ในที่สุด ทุกฝ่ายสามารถหาข้อยุติและร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูประเทศหลังจากภาวะสงครามกลางเมืองอีกครั้ง ซีเรียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเลบานอนมากที่สุด โดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โดยซีเรียได้ส่งกองกำลังรักษาความสงบอยู่ในเลบานอนประมาณ 30,000 คน และจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นดังกล่าว ทำให้กรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างซีเรีย เลบานอนกับอิสราเอลไม่มีความคืบหน้า == การเมืองการปกครอง == เลบานอนมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข === บริหาร === ฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 16 นาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร === นิติบัญญัติ === รัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีสมาชิก 128 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ประธานรัฐสภาแห่งชาติควรเป็นมุสลิมนิกาย Shi’a) === ตุลาการ === ฝ่ายตุลาการมี 4 ศาล ได้แก่ ศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับพลเรือนและการพาณิชย์ 3 ศาล และศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีอาญาอีก 1 ศาล == การแบ่งเขตการปกครอง == เลบานอนแบ่งเป็น 6 เขตผู้ว่า หรือ มุฮาฟาซอต (mohafazat, เอกพจน์ มุฮาฟาเซาะห์ - mohafazah) ซึ่งแบ่งเป็นเขตย่อยลงไปอีก 25 เขต หรือ อักฎิยะห์ (Aqdya, เอกพจน์ - กอฎออ์ [qadaa]) , และแบ่งเป็นเทศบาลต่าง ๆ ที่รวมหลายเมืองหรือหมู่บ้าน (เมืองหลวงของเขตผู้ว่าจะเป็นตัวเอน) เขตผู้ว่าเบรุต (Beirut Governorate) : เบรุต เขตผู้ว่าภูเขาเลบานอน (Governorate of Mount Lebanon) : บาบดา (Baabda) (บาบดา [Baabda]) อเลย์ (Aley) (อเลย์ [Aley]) เมตน์ (Metn) (จเดเดห์ [Jdeideh]) เคเซอร์วัน (Keserwan) (จูนิเยะห์ [Jounieh]) ชูฟ (Chouf) (เบเตดดีน [Beiteddine]) จเบล (Jbeil) (บิบลอส [Byblos]) เขตผู้ว่าเลบานอนเหนือ (Governorate of North Lebanon) : ตรีโปลี (Tripoli) (ตรีโปลี [Tripoli]) อัคคาร์ (Akkar) (ฮัลบา [Halba]) ซการ์ตา (Zgharta) (ซการ์ตา [Zgharta] / เอห์เดน [Ehden]) บชาร์ริ (Bsharri) (บชาร์ริ [Bsharri]) บาตรูน (Batroun) (บาตรูน [Batroun]) คูรา (Koura) (อัมยูน [Amyoun]) มานเยห์-ดานน์เยห์ (Manyeh-Dannyeh) (มานเยห์ [Manyeh] / เซร์ดดานน์เยห์ [Seirddanyeh]) เขตผู้ว่าเบกา (Governorate of Beqaa) : ซาห์เลห์ (Zahleh) (ซาห์เลห์ [Zahleh]) บะอัลเบค (Baalbek) (บะอัลเบค [Baalbek]) เฮอร์เมล (Hermel) (เฮอร์เมล [Hermel]) ราชายา (Rashaya) (ราชายา [Rashaya]) เบกาตะวันตก (Western Beqaa) (เจบเจนนีน [Jebjennine]/ ซากบีน [Saghbine]) เขตผู้ว่าเลบานอนใต้ (Governorate of South Lebanon) : ซีดอนหรือไซดา (Sidon, Saida) (ซีดอน [Sidon]) เจซซีน (Jezzine) (เจซซีน [Jezzine]) ไทร์ (Tyre) (ไทร์ [Tyre]) เขตผู้ว่านาบาตีเยะห์ (Governorate of Nabatyeh) : นาบาตีเยะห์ (Nabatyeh) (นาบาตเยห์ [Nabatyeh]) มาร์เจยูน (Marjeyoun) (มาร์เจยูน [Marjeyoun]) ฮัสบายา (Hasbaya) (ฮัสบายา [Hasbaya]) เบนต์จเบล (Beintjbeil) (เบนต์จเบล [Beintjbeil]) == กองทัพ == == ประชากร == ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ === ศาสนา === ศาสนาอิสลามร้อยละ 10 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 90 ==หมายเหตุ== == อ้างอิง == ===ผลงานอ้างอิง=== ===ข้อมูลทั่วไป=== Arkadiusz, Plonka. L’idée de langue libanaise d’après Sa‘īd ‘Aql, Paris, Geuthner, 2004 (French) Firzli, Nicola Y. Al-Baath wa-Lubnân [Arabic only] ("The Baath and Lebanon"). Beirut: Dar-al-Tali'a Books, 1973 Fisk, Robert. Pity the Nation: The Abduction of Lebanon. New York: Nation Books, 2002. Glass, Charles, "Tribes with Flags: A Dangerous Passage Through the Chaos of the Middle East", Atlantic Monthly Press (New York) and Picador (London), 1990 Gorton, TJ and Feghali Gorton, AG. Lebanon: through Writers' Eyes. London: Eland Books, 2009. Hitti Philip K. History of Syria Including Lebanon and Palestine, Vol. 2 (2002) Norton, Augustus R. Amal and the Shi'a: Struggle for the Soul of Lebanon. Austin and London: University of Texas Press, 1987. Sobelman, Daniel. New Rules of the Game: Israel and Hizbollah After the Withdrawal From Lebanon, Jaffee Center for Strategic Studies, Tel-Aviv University, 2004. Riley-Smith, Jonathan. The Oxford Illustrated History of the Crusades. New York: Oxford University Press, 2001. Salibi, Kamal. A House of Many Mansions: The History of Lebanon Reconsidered. Berkeley: University of California Press, 1990. Schlicht, Alfred. The role of Foreign Powers in the History of Syria and Lebanon 1799–1861 in: Journal of Asian History 14 (1982) Georges Corm, Le Liban contemporain. Histoire et société (La découverte, 2003 et 2005) == แหล่งข้อมูลอื่น == Official Government of Lebanon information site Lebanon. The World Factbook. Central Intelligence Agency. ล รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2486
thaiwikipedia
523
คำดัชนี
คำดัชนี (index term) หรืออาจเรียกว่า คำหลัก (keyword) ในทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คือคำที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เครื่องกลสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บ ยกตัวอย่างเช่น http://www.yahoo.com, http://www.google.com ฯลฯ ผู้ใช้ต้องพิมพ์เต็มคำ (เต็มตามความหมายนั้น ๆ) เราสามารถค้นได้จาก ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวข้อ หัวเรื่อง และอื่นๆ == เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูล == โดยปกติความหมายในการเลือกใช้คำดัชนีนั้นจะมีอยู่ 2 รูปแบบ แบบข้อความเต็มรูปแบบ (Full-text) คือ การใช้คำที่มีความหมายเต็มรูปแบบ แบบข้อความบางส่วน (semantic search) คือ การใช้คำที่มีความหมายเพียงบางส่วน ซึ่งโดยปกติโปรแกรมที่มีคุณสมบัติในการค้นหา เหล่านี้ จะต้องมีโมดูล (ตัวโปรแกรม) ที่ใช้จัดการกับการค้นหา keyword search, full-text search และ semantic search ตามลำดับ โดยที่ตัวโมดูลนั้น จะสร้างโดยใช้ระบบฐานข้อมูลแบบ Relational (ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน) ที่มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด มาใช้ดัดแปลงซึ่งจะใช้เวลาในการสร้างน้อย แต่ความเร็วในการค้นหาของวิธีนี้ค่อนข้างช้าและจะดัดแปลงมาใช้เทคนิคการสืบค้นแบบอื่นๆ ได้ลำบาก จึงทำให้เกิดการสร้างโมดูลด้วยตัวเอง ซึ่งเราสามารถสร้างรูปแบบต่างๆนั้นได้เอง ให้เหมาะสมต่อการค้นหาประเภทนั้นๆ แตข้อเสียก็คือทำได้ยากมากกว่าและใช้งบประมาณที่มากกว่า == อ้างอิง == สารสนเทศ
thaiwikipedia
524
การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (อังกฤษ: knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์ รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น == นิยาม == ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมเทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล == ประเภทของความรู้ == ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เว็บไซต์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน === ความรู้แบบฝังลึก === ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือไม่ === ความรู้ชัดแจ้ง === ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย (Leaky Knowledge) ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน (Mutually Constituted) (Tsoukas, 1996) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึกเป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด (Grant, 1996) และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด ตามรูปแบบของเซซี (SECI Model) (ของ Nonaka และ Takeuchi) ความรู้ทั้งแบบแฝงเร้นและแบบชัดแจ้งจะมีการแปรเปลี่ยนถ่ายทอดไปตามกลไกต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดความรู้ การผสานความรู้ และการซึมซับความรู้ การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล แต่ที่น่าสนใจ คือ การจัดการความรู้ ที่ทำให้คนเคารพศักดิ์ศรีของคนอื่น เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในคน เพราะหากถ้าเคารพความรู้ในตำราวิชาการอย่างเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการมองว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้ == ระดับของความรู้ == หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถถ่ายทอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้ ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้ ..... == กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ == แผนผังอิชิคะวะ (Ishikawa diagram) หรือแผงผังก้างปลา (หรือในชื่ออื่นของไทยเช่น ตัวแบบทูน่า หรือตัวแบบปลาตะเพียน) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัว ลำตัว และหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่ต่างกันดังนี้ ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision - KV) มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร" ส่วนกลางลำตัว (Knowledge Sharing - KS) ส่วนที่เป็นหัวใจให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน ส่วนหาง (Knowledge Assets - KA) คือ สร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ "สะบัดหาง" สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในประเทศไทย ได้พัฒนาตัวแบบทูน่าเป็น "ตัวแบบปลาตะเพียน" โดยมองว่าองค์การมีหน่วยงานย่อย ซึ่งมีความแตกต่างกัน รูปแบบความรู้แต่ละหน่วยจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับบริษัทของตน แต่ทั้งฝูงปลาจะหันหน้าไปทิศทางเดียวกัน กรอบความคิดของ Holsapple Holsapple ได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับพัฒนาการของแนวคิดของการจัดการความรู้ 10 แบบมาประมวล ซึ่งแสดงถึงส่วนประกอบของการจัดการความรู้ (KM elements) เพื่อนำไปจัดระบบเป็นองค์ประกอบหลัก 3 ด้านของการจัดการความรู้ (Three-fold framework) ได้แก่ ทรัพยากรด้านการจัดการความรู้ กิจกรรมการจัดการความรู้ และอิทธิพลของการจัดการความรู้ และให้ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ให้ข้อคิดเห็น วิจารณ์และข้อเสนอแนะ ได้ผลออกมาเป็นกรอบความร่วมมือ (Collaborative Framework) == การถ่ายทอดความรู้ == การถ่ายทอดความรู้ อันเป็นส่วนประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ถูกประพฤติปฏิบัติกันมานานแล้ว ตัวอย่างรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ เช่น การอภิปรายของเพื่อนร่วมงานในระหว่างการปฏิบัติงาน, การอบรมพนักงานใหม่อย่างเป็นทางการ, ห้องสมุดขององค์กร, โปรแกรมการฝึกสอนทางอาชีพและการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดความรู้มีการพัฒนารูปแบบโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กระจายอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 20 ก่อให้เกิดเทคโนโลยีฐานความรู้, ระบบผู้เชี่ยวชาญและคลังความรู้ ซึ่งทำให้กระบวนการถ่ายทอดความรู้ง่ายมากขึ้น == การจัดการความรู้ กับการพัฒนาระบบราชการในประเทศไทย == พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อผลักดันแนวคิดธรรมาภิบาล (Good Governance) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้น ในมาตรา ๑๑ กำหนดว่า ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ จึงเป็นที่มาของการประเมินผลงานหน่วยราชการต่างๆ โดยมีการจัดการความรู้ เป็นข้อหนึ่งด้วย หน่วยราชการไทยจำนวนมากจึงเริ่มสนใจการจัดการความรู้ ด้วยสาเหตุนี้ == อ้างอิง == กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ (2553) เอกสารประกอบการบรรยาย การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต องค์การแห่งความรู้ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ,ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์,2549. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รัตนไตร. สิ่งดีๆ ที่หลากหลายสไตล์ KM (Best Practice KM Style). รายงานประจำปี 2549 สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ISBN 974-973-423-1 รายงานประจำปี KM ประเทศไทย (สคส.) 2548 ISBN 974-93722-9-8 ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). การจัดการความรู้. ใน วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 45(2), 1-24. พิเชฐ บัญญัติ. (2549). การจัดการความรู้ในองค์กร. ใน วารสารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 13(1), 118-122. วิริยุทร จันสิริโอชา (2498)การจัดการความรู้ในองค์กร. ในวารสารท้องถิ่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 111-112 == แหล่งข้อมูลอื่น == การจัดการความรู้คืออะไร กรมการปกครอง Knowledge Management (การบริหารจัดการความรู้) การจัดการความรู้ ระบบสารสนเทศ บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ กรุ๊ปแวร์ วิทยาการการจัดการ
thaiwikipedia
525
การวางแผนโครงการ
การวางแผนโครงการ คือ ความพยายามที่จะคาดคะเนเวลาและค่าใช้จ่าย ที่จะใช้ในการดำเนินงานโครงการใดโครงการหนึ่ง รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ จะรวมถึงขั้นตอนการทำงาน กิจกรรมที่จะต้องทำ เวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม รวมทั้งบุคลากรที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรมด้วย แต่ละโครงการควรจะวางแผนในรายละเอียดให้มาก ก่อนที่จะเริ่มทำงานจริง และเมื่อดำเนินงานจริงๆแล้ว ควรจะติดตามและควบคุม ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ด้วย แผนงานของโครงการวิเคราะห์และออกแบบ จะประกอบแผนงานต่อไปนี้คือ การวิเคราะห์ การออกแบบการพัฒนาโปรแกรม เตรียมเอกสาร ฝึกอบรม และการนำระบบมาใช้งานจริงแต่ละกิจกรรมก็จะประกอบด้วย งานย่อยแยกไปอีก ในหัวข้อนี้ได้แก่ การคาดคะเนเวลา และการเตรียมตารางการทำงาน คาดคะเนค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ที่จะได้รับ การจัดการโครงการ
thaiwikipedia
526
การวิเคราะห์ความต้องการ
การวิเคราะห์ความต้องการ (requirement analysis) ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นขั้นตอนไปสู่การกำหนด ข้อกำหนดความต้องการ == ข้อกำหนดความต้องการ == ข้อกำหนดความต้องการ (requirement specification) เป็น[ข้อกำหนดที่กำหนดขึ้นในกระบวนการพัฒนาระบบ โดยก่อนจะลงมือพัฒนาจะมีการวิเคราะห์ความต้องการ หลังจากเราวิเคราะห์เสร็จก็จะมากำหนดความต้องการว่ามีอะไรบ้าง โดยความต้องการที่เรากำหนดขึ้นมานั้นนำมาใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ มองในมุมมองของเจ้าของงาน จะใช้เป็นตัวอ้างอิงการเปิดประมูลให้กับผู้ที่จะทำการพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งในสัญญาเพื่อใช้ในการชำระค่าจ้าง กล่าวคือ ถ้าทำไม่ได้ตามข้อกำหนดความต้องการก็อาจจะไม่ชำระค่าจ้าง เป็นต้น == ประเภทของความต้องการ == User Requirement - เป็นความต้องการที่รวบรวมจากผู้ใช้ระบบโดยตรง เช่น ลำดับของช่องที่จะให้กรอกข้อมูล, จะกรอกอย่างไร, เรียงลำดับอย่างไร, ขนาดตัวอักษร, สีอะไร เป็นต้น System Requirement – ความต้องการของระบบ เช่น ระบบต้องสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายได้, ข้อมูลต้องเก็บได้ทั้งที่ Server และ Work Station เป็นต้น Software Specification – รายละเอียดทางด้านเทคนิคของซอฟต์แวร์ว่าต้องทำอะไรได้บ้าง ความต้องการแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ Functional Requirement คือ Requirement หรือสิ่งที่ระบบควรจะทำ , หน้าที่หลักของระบบที่จะต้องทำ เช่น ผู้ใช้ต้องสามารถค้นหาจากฐานข้อมูลทั้งหมด ก็ได้หรือ ค้นหาจากส่วนหนึ่งส่วนใดของฐานข้อมูลก็ได้ ระบบจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยให้อ่านเอกสารได้ Non-functional Requirement คือ Requirement อื่นๆที่ไม่ใช่หน้าที่หลักๆที่ต้องทำ แต่เป็นคุณสมบัติอื่นๆที่เราอยากได้จากระบบ เช่น ความปลอดภัยของระบบ, ความเชื่อถือได้ของระบบ, เวลาตอบสนอง, มีความสามารถทางด้าน I/O, ความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ระบบบัญชี โดยที่หน้าที่หลักของระบบบัญชีคือ บันทึกข้อมูล Transaction รายวัน, จะต้องมีการทำสรุปยอดบัญชีได้ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ระบบบัญชีควรทำคือ Functional Requirement แต่ถ้าบอกว่าต้องมีการใส่รหัสผ่าน, สามารถเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตได้ , เชื่อมโยงกับระบบบัญชีของบริษัทอื่นได้ อันนี้ไม่ใช่หน้าที่หลัก ของระบบบัญชี แต่มันคือ Non-functional Requirement Domain Requirement คือ เป็นเงื่อนไขอื่นจากสภาวะแวดล้อมที่ทำให้ระบบทำงานได้ หรือ เป็นการมองที่ว่าระบบที่พัฒนามานี้จะไปทำงานร่วมกับระบบอื่นๆหรือสภาวะแวดล้อมอื่นๆในองค์กร มันจะต้องมีความต้องการอื่นๆภายนอกมากระทบบ้างหรือไม่ เช่น เราออกแบบระบบบัญชี เมื่อนำไปใช้ จะไปทำงานร่วมกับระบบอื่นๆเช่นไปทำงานร่วมกับระบบการสมัครสมาชิกของ ชมรมคอมพิวเตอร์ ของ ม.นเรศวร โดยนำระบบบัญชีไปใช้ในส่วนการรับสมัคร เป็นต้น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ Wymaganie (inżynieria)#Analiza wymagań lub inżynieria wymagań
thaiwikipedia
527
ISO 9000
ISO 9000 คือ มาตรฐานหนึ่งของ ISO การจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้โดยผ่านระบบเอกสาร พัฒนาโดย สถาบันมาตรฐานบริตช == มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 == ISO 9001 9002 9003 เป็นระบบประกันคุณภาพ ระบบคุณภาพ ISO 9000 จะกำหนดไว้เป็นการ "ป้องกัน" ไว้ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ISO 9000 เป็นระบบคุณภาพที่ต้องการมีการตรวจสอบว่า ได้มีการปฏิบัติตามที่เราต้องการได้กำหนดไว้ เขียนไว้หหรือไม่ ISO 9000 ต้องมีระบบควบคุมเอกสารไว้สำหรับให้เป็นหลักต้องปฏิบัติตาม ISO 9000 จึงเป็นแบบอย่างเพื่อการปฏิบัติงานได้อย่างไม่ผิดพลาดในทุกขั้นตอน และในทุกๆครั้งที่มีการปฏิบัติ == ประโยชน์ == องค์กรมีการบริหารงาน การให้บริการที่มีระบบและมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เนื่องจากระบบคุณภาพ ISO 9000 มุ่งเน้นในการจัดทำเอกสารที่มีประโยชน์ต่อองค์กร มีเอกสารกำกับการทำงาน ทุกกิจกรรม ทุกครั้ง ที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการขององค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการทำงานได้อย่างถูกต้อง == มาตรฐาน ISO 9002 == ระบบคุณภาพแบบการประกันคุณภาพในการผลิต การติดตั้ง และการบริการ (ข้อกำหนด 19 ข้อ) เป็นมาตรฐานโดย องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) มาตรฐานนี้เหมาะสำหรับผู้ส่งมอบที่มีขีดความสามารถเหมือน ISO 9001 ยกเว้นเฉพาะในเรื่องของการออกแบบ กล่าวคือ มีหน้าที่ทำผลิตภัณฑ์ หรือการให้การบริการให้ได้ตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้ 9000
thaiwikipedia
528
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การประมวลผล (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนจัดเก็บข้อมูล (storage) องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, มนุษย์, กระบวนการ, ข้อมูล, เครือข่าย ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ ระบบสารสนเทศและ MIS (IS) - หรือการประยุกต์ใช้ภูมิทัศน์ - คือการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) และกิจกรรมของผู้คนว่าด้วยการดำเนินการให้ความช่วยเหลือใด ๆ, การทำการจัดการและการตัดสินใจ ในความหมายที่กว้างมาก, ระบบสารสนเทศเป็นคำที่ใช้บ่อยในการอ้างถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน กระบวนการข้อมูลและเทคโนโลยี ในแง่นี้คำที่ใช้ในการอ้างอิงไม่เพียงแต่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่องค์กรจะใช้เท่านั้น, แต่ยังรวมถึงวิธีที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีนี้ในการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ บางสิ่งบางอย่างสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างระบบสารสนเทศ ,ระบบคอมพิวเตอร์ ,และกระบวนการทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศมักจะรวมถึงองค์ประกอบของ ICT แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างหมดจดกับ ICT เสียทีเดียว == อ้างอิง == ระบบสารสนเทศและประวัติ
thaiwikipedia
529
โครงการ
โครงการ หมายถึง กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรม ซึ่งมีการทำโครงการเป็นไปตามลำดับ โดยการทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นการผลิตสินค้า หรือ ทำงานบริการ โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด ในการดำเนินงานโครงการจะต้องมีผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อโครงการ มีหน้าที่ทำการบริหารงาน กิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน เหมาะสมกับเวลา และงบประมาณที่ตั้งไว้ โครงการที่เกี่ยวกับกระบวนการศึกษาค้นคว้า มักจะเรียกว่า โครงงานทางการศึกษา == การบริหารโครงการ == เทคนิคการบริหารโครงการที่นิยมใช้คือ ซีพีเอ็ม จะทำให้สามารถกำหนดเวลา ในการทำแต่ละกิจกรรมต่างของโครงการ CPM จะเป็นตัวคำนวณหาเวลาที่เหมาะสม และวันเริ่มต้น ให้กับแต่ละกิจกรรม การจัดการ การร่วมมือ
thaiwikipedia
530
ห้องสมุด
ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทป และโทรทัศน์ ซีดีรอม วีซีดี ดีวีดี โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่าง ๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความสะดวกสืบค้นได้ง่ายและตรงกับความต้องการ ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่าง ๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่าง ๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด == ดูเพิ่ม == บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ == อ้างอิง == ความรู้เรื่องห้องสมุด สารานุกรมสำหรับเยาวชนS == แหล่งข้อมูลอื่น ==
thaiwikipedia
531
การแลกเปลี่ยนข้อมูล
การแลกเปลี่ยนข้อมูล (data exchange) คือ การแลกเปลี่ยนความรู้การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐาน หรือรูปแบบที่ผู้รับอนุญาตเพื่อที่จะสามารถนำไปดำเนินรายการทางด้านธุรกิจตามมาตรฐาน ระหว่างบริษัทหรือระหว่างชุดโปรแกรมกับชุดโปรแกรมของบริษัทได้ การติดต่อกันระหว่างองค์กรก็เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหมือนกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีการใช้ระบบเครือข่ายเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กรต่างๆ และดำเนินตามมาตรฐานและขบวนการซึ่งอนุญาตให้ผลลัพธ์จากระบบหนึ่ง ถูกประมวลโดยตรงเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าไปยังข้อมูลระบบอื่นๆ ทำให้สามารถลดจำนวนการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษและลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานผิดพลาดลงได้ ตัวอย่างเช่น เราเข้าไปหาข้อมูลจากเว็บ วิกิพีเดียก็เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างหนึ่ง ข้อมูลจะถูกเก็บไว้เป็นระบบซึ่งเราสามารถเข้าไปค้นหาได้ การที่ข้อมูลมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบก็เพื่อเวลาจะเข้าไปค้นหาจะได้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูล การจัดการข้อมูล
thaiwikipedia
532
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้ เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน ==การเชื่อมโยงเครือข่าย== สื่อกลางการสื่อสารที่ใช้ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยสายเคเบิลไฟฟ้า (HomePNA, สายไฟฟ้าสื่อสาร, G.hn), ใยแก้วนำแสง และคลื่นวิทยุ (เครือข่ายไร้สาย) ในโมเดล OSI สื่อเหล่านี้จะถูกกำหนดให้อยู่ในเลเยอร์ที่ 1 และที่ 2 หรือชั้นกายภาพและชั้นเชื่อมโยงข้อมูล ครอบครัวของสื่อการสื่อสารที่ถูกพัฒนาอย่างกว้างขวางและถูกนำมาใช้ในเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เรียกว่า อีเธอร์เน็ต มาตรฐานของสื่อกลางและของโพรโทคอลที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายอีเธอร์เน็ตถูกกำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802. อีเธอร์เน็ตในโลกไซเบอร์มีทั้งเทคโนโลยีของ LAN แบบใช้สายและแบบไร้สาย อุปกรณ์ของ LAN แบบใช้สายจะส่งสัญญาณผ่านสื่อกลางที่เป็นสายเคเบิล อุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้คลื่นวิทยุหรือสัญญาณอินฟราเรดเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านสํญญาณ ===เทคโนโลยีแบบใช้สาย=== เทคโนโลยีแบบใช้สายต่อไปนี้เรียงลำดับตามความเร็วจากช้าไปเร็วอย่างหยาบๆ สายคู่บิดเป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด สายคู่บิดประกอบด้วยกลุ่มของสายทองแดงหุ้มฉนวนที่มีการบิดเป็นคู่ๆ สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้ภายในบ้านทั่วไปประกอบด้วยสายทองแดงหุ้มฉนวนเพียงสองสายบิดเป็นคู่ สายเคเบิลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบบใช้สายอีเธอร์เน็ตตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802.3) จะเป็นสายคู่บิดจำนวน 4 คู่สายทองแดงที่สามารถใช้สำหรับการส่งทั้งเสียงและข้อมูล การใช้สายไฟสองเส้นบิดเป็นเกลียวจะช่วยลด crosstalk และการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างสายภายในเคเบิลชุดเดียวกัน ความเร็วในการส่งอยู่ในช่วง 2 ล้านบิตต่อวินาทีถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที สายคู่บิดมาในสองรูปแบบคือคู่บิดไม่มีต้วนำป้องกัน(การรบกวนจากการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก) (unshielded twisted pair หรือ UTP) และคู่บิดมีตัวนำป้องกัน (shielded twisted pair หรือ STP) แต่ละรูปแบบออกแบบมาหลายอัตราความเร็วในการใช้งานในสถานการณ์ต่างกัน สายโคแอคเชียลถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับระบบเคเบิลทีวี, ในอาคารสำนักงานและสถานที่ทำงานอื่นๆ ในเครือข่ายท้องถิ่น สายโคแอคประกอบด้วยลวดทองแดงหรืออะลูมิเนียมเส้นเดี่ยวที่ล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน (โดยปกติจะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นกับไดอิเล็กทริกคงที่สูง) และล้อมรอบทั้งหมดด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก ฉนวนไดอิเล็กทริกจะช่วยลดสัญญาณรบกวนและความผิดเพี้ยน ความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ในช่วง 200 ล้านบิตต่อวินาทีจนถึงมากกว่า 500 ล้านบิตต่อวินาที ITU-T G.hn เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายไฟที่มีอยู่ในบ้าน (สายโคแอค, สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า) เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นความเร็วสูง (ถึง 1 Gb/s) ใยแก้วนำแสง เป็นแก้วไฟเบอร์ จะใช้พัลส์ของแสงในการส่งข้อมูล ข้อดีบางประการของเส้นใยแสงที่เหนือกว่าสายโลหะก็คือมีการสูญเสียในการส่งน้อยและมีอิสรภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีความเร็วในการส่งรวดเร็วมากถึงล้านล้านบิตต่อวินาที เราสามารถใช้ความยาวคลื่นที่แตกต่างของแสงที่จะเพิ่มจำนวนของข้อความที่ถูกส่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงพร้อมกันในเส้นเดียวกัน ===เทคโนโลยีไร้สาย=== ไมโครเวฟบนผิวโลก - การสื่อสารไมโครเวฟบนผิวโลกจะใช้เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณจากสถานีบนผิวโลกที่มีลักษณะคล้ายจานดาวเทียม ไมโครเวฟภาคพื้นดินอยู่ในช่วงกิกะเฮิรตซ์ที่ต่ำ ซึ่งจำกัดการสื่อสารทั้งหมดด้วยเส้นสายตาเท่านั้น สถานีทวนสัญญาณมีระยะห่างประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์) ดาวเทียมสื่อสาร - การสื่อสารดาวเทียมผ่านทางคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่ไม่ได้เบี่ยงเบนโดยชั้นบรรยากาศของโลก ดาวเทียมจะถูกส่งไปประจำการในอวกาศ ที่มักจะอยู่ในวงโคจร geosynchronous ที่ 35,400 กิโลเมตร (22,000 ไมล์) เหนือเส้นศูนย์สูตร ระบบการโคจรของโลกนี้มีความสามารถในการรับและถ่ายทอดสัญญาณเสียง, ข้อมูลและทีวี ระบบเซลลูลาร์และ PCS ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารวิทยุหลายเทคโนโลยี ระบบแบ่งภูมิภาคที่ครอบคลุมออกเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลายพื้นที่ แต่ละพื้นที่มีเครื่องส่งหรืออุปกรณ์เสาอากาศถ่ายทอดสัญญาณวิทยุพลังงานต่ำเพื่อถ่ายทอดสัญญาณเรียกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งข้างหน้า เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกันคือ Wifi การสื่อสารอินฟราเรด สามารถส่งสัญญาณระยะทางสั้นๆมักไม่เกิน 10 เมตร ในหลายกรณีส่วนใหญ่ การส่งแสงจะใช้แบบเส้นสายตา ซึ่งจำกัดตำแหน่งการติดตั้งของอุปกรณ์การสื่อสาร เครือข่ายทั่วโลก (global area network หรือ GAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการสนับสนุนการใช้งานมือถือข้ามหลายๆ LAN ไร้สาย หรือในพื้นที่ที่ดาวเทียมครอบคลุมถึง ฯลฯ ความท้าทายที่สำคัญในการสื่อสารเคลื่อนที่คือการส่งมอบการสื่อสารของผู้ใช้จากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ใน IEEE 802 การส่งมอบนี้เกี่ยวข้องกับความต่อเนื่องของ LAN ไร้สายบนผิวโลก . ===เทคโนโลยีที่แปลกใหม่=== มีความพยายามต่างๆที่ขนส่งข้อมูลผ่านสื่อที่แปลกใหม่ ได้แก่: IP over Avian Carriers เป็นอารมณ์ขันของ April's fool เป็น RFC 1149 มันถูกนำมาใช้ในชีวิตจริงในปี 2001. ขยายอินเทอร์เน็ตเพื่อมิติอวกาศผ่านทางคลื่นวิทยุ. ทั้งสองกรณีมีการหน่วงเวลาสูงอันเนื่องมาจากสัญญาณต้องเดินทางไปกลับ ซึ่งจะทำให้การสื่อสารสองทางล่าช้ามาก แต่ก็ไม่ได้ขัดขวางการส่งข้อมูลจำนวนมาก == ชนิดของเครือข่าย == ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 6 แบบ ได้แก่ เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN) เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU) เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้ เครือข่ายข้อมูล หรือ แซน (Storage area network) : SAN) เป็นเครือข่าย (หรือเครือข่ายย่อย) ความเร็วสูงวัตถุประสงค์เฉพาะที่เชื่อมต่อภายในกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดต่างกันด้วยแม่ข่ายข้อมูลสัมพันธ์กันบนคัวแทนเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ใช้ == อุปกรณ์เครือข่าย == เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง เนทเวิร์ค สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล เราต์เตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ้ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้ เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น ==โพรโทคอลการสื่อสาร== คือชุดของกฎหรือข้อกำหนดต่างๆสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเครือข่าย ในโพรโทคอลสแต็ค (ระดับชั้นของโพรโทคอล ดูแบบจำลองโอเอสไอ) แต่ละโพรโทคอลยกระดับการให้บริการของโพรโทตคลที่อยู่ในชั้นล่าง ตัวอย่างที่สำคัญในโพรโทคอลสแต็คได้แก่ HTTP ที่ทำงานบน TCP over IP ผ่านข้อกำหนด IEEE 802.11 (TCP และ IP ที่เป็นสมาชิกของชุดโปรโตคอลอินเทอร์เน็ต. IEEE 802.11 เป็นสมาชิกของชุดอีเธอร์เน็ตโพรโทคอล.) สแต็คนี้จะถูกใช้ระหว่างเราต์เตอร์ไร้สายกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้ตามบ้านเมื่อผู้ใช้จะท่องเว็บ โพรโทคอลการสื่อสารมีลักษณะต่างๆกัน ซึ่งอาจจะเชื่อมต่อแบบ connection หรือ connectionless, หรืออาจจะใช้ circuit mode หรือแพ็กเกตสวิตชิง, หรืออาจใช้การ addressing ตามลำดับชั้นหรือแบบ flat มีโพรโทคอลการสื่อสารมากมาย บางส่วนได้อธิบายไว้ด้านล่างนี้ ===อีเธอร์เน็ต=== อีเธอร์เน็ตเป็นครอบครัวของโพรโทคอลที่ใช้ในระบบ LAN, ตามที่อธิบายอยู่ในชุดของมาตรฐานที่เรียกว่า IEEE 802 เผยแพร่โดยสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวิธีการ addressing แบบ flat และจะดำเนินการส่วนใหญ่ที่ระดับ 1 และ 2 ของแบบจำลอง OSI. สำหรับผู้ใช้ที่บ้านในวันนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ของครอบครัวของโปรโตคอลที่รู้จักกันดีนี้คือ IEEE 802.11 หรือที่เรียกว่า Wireless LAN (WLAN). IEEE 802 โพรโทคอลชุดสมบูรณ์จัดให้มีความหลากหลายของความสามารถเครือข่าย ตัวอย่างเช่น MAC bridging (IEEE 802.1D) ทำงานเกี่ยวกับการ forwarding ของแพ็กเกตอีเธอร์เน็ตโดยใช้โพรโทคอล Spanning tree, IEEE 802.1Q อธิบาย VLANs และ IEEE 802.1X กำหนดโพรโทคอลที่ใช้ควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายแบบพอร์ตซึ่งฟอร์มตัวเป็นพื้นฐานสำหรับกลไกการตรวจสอบที่ใช้ใน VLANs (แต่ก็ยังพบในเครือข่าย WLANs อีกด้วย) - มันเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ตามบ้านเห็นเมื่อผู้ใช้จะต้องใส่ "wireless access key". ===Internet protocol suite=== อินเทอร์เน็ตโปรโตคอลสวืท, หรือที่เรียกว่า TCP / IP, เป็นรากฐานของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ทันสมัย ทำให้มีการเชื่อมต่อแบบ connection-less เช่นเดียวกับ connection-oriented ผ่านเครือข่ายที่ไม่น่าเชื่อถือโดยการส่งดาต้าแกรม(ข้อมูลที่ถูกแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ)ที่เลเยอร์โปรโตคอลอินเทอร์เน็ต (IP) ที่แกนกลางของมัน ชุดโพรโทคอลกำหนด address, การระบุตัวตน, และคุณสมบัติของการเราต์ติงสำหรับ Internet Protocol Version 4 (IPv4) และ IPv6 ซึ่งรุ่นต่อไปที่มีความสามารถในการขยายระบบ addressing อย่างมาก ===SONET/SDH=== Synchronous optical networking (SONET) และ Synchronous Digital Hierarchy (SDH) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานสำหรับการ multiplexing ที่ทำการถ่ายโอนกระแสบิตดิจิตอลที่หลากหลายผ่านใยแก้วนำแสง. พวกมันแต่เดิมถูกออกแบบมาเพื่อการขนส่งในการสื่อสารแบบ circuit mode จากแหล่งที่มาที่หลากหลายแตกต่างกัน, เบื้องต้นเพื่อสนับสนุนระบบเสียงที่เป็น circuit-switched ที่เข้ารหัสในฟอร์แมท PCM (Pulse-Code Modulation) ที่เป็นเรียลไทม์และ ถูกบีบอัด. อย่างไรก็ตามเนื่องจากความเป็นกลางและคุณสมบัติที่เป็น transport-oriented, SONET/SDH ยังเป็นตัวเลือกที่ชัดเจนสำหรับการขนส่งเฟรมของ Asynchronous Transfer Mode (ATM) ===Asynchronous Transfer Mode=== เป็นเทคนิคการ switching สำหรับเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ที่ใช้ asynchronous time-division multiplexing ATM จะเข้ารหัสข้อมูลที่เป็นเซลล์ขนาดเล็กคงที่ วิธีนี้จะแตกต่างจากโพรโทคอลอื่น ๆ เช่น Internet Protocol สวีทหรืออีเธอร์เน็ตที่ใช้แพ็กเกตหลายขนาด ATM มีความคล้ายคลึงกันกับ circuit switched และ packet switched networking. ATM จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเครือข่ายที่ต้องจัดการทั้งแบบการจราจรที่มีข้อมูล throughput สูงแบบดั้งเดิมและแบบเนื้อหา real-time, ความล่าช้าแฝงต่ำเช่นเสียงและวิดีโอ. ATM ใช้รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ connection-oriented model ในที่ซึ่งวงจรเสมือนจะต้องจัดตั้งขึ้นระหว่างจุดสิ้นสุดสองจุดก่อนที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจะเริ่มขึ้น ในขณะที่บทบาทของ ATM จะลดน้อยลงเนื่องจากความโปรดปรานของเครือข่ายรุ่นต่อไป มันยังคงมีบทบาทในการเป็นไมล์สุดท้ายซึ่งคือการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้ตามบ้าน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของเทคโนโลยีและโปรโตคอลการสื่อสาร โปรดอ่านเพิ่มเติมในหัวข้อข้างท้าย ==ขอบเขตของเครือข่าย== เครือข่ายโดยทั่วไปถูกจัดการโดยองค์กรที่เป็นเจ้าของ เครือข่ายองค์กรเอกชนอาจจะใช้รวมกันทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต และยังอาจจัดให้มีการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่มีเจ้าของเดียวและให้การเชื่อมต่อทั่วโลกแทบไม่จำกัด ===อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต=== อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นส่วนหนึ่งหรือส่วนขยายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มักจะเป็น LAN อินทราเน็ต เป็นชุดของเครือข่ายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยการบริหารเดียว อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล IP และเครื่องมือที่เป็น IP-based เช่นเว็บเบราเซอร์และโปรแกรมการถ่ายโอนไฟล์ หน่วยการบริหารจำกัดการใช้อินทราเน็ตเฉพาะผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้ว อินทราเน็ตจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กร อินทราเน็ตขนาดใหญ่มักจะมีเว็บเซิร์ฟเวอร์อย่างน้อยหนึ่งตัวเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลขององค์กรเอง เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายที่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ดูแลระบบขององค์กรเดียว แต่สนับสนุนการเชื่อมต่อที่จำกัดเฉพาะเครือข่ายภายนอกที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่นองค์กรอาจจัดให้มีการเข้าถึงบางแง่มุมของอินทราเน็ตของบริษัทเพื่อแชร์ข้อมูลร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจหรือลูกค้า หน่วยงานอื่น ๆ เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความเชื่อถือจากมุมมองของการรักษาความปลอดภัย การเชื่อมต่อเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตมักจะเป็น, แต่ไม่เสมอไป, การดำเนินการผ่านทาง WAN เทคโนโลยี ===Internetwork=== Internetwork คือการเชื่อมต่อของหลายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านทางเทคโนโลยีการกำหนดเส้นทางร่วมกันโดยใช้เราต์เตอร์ ===อินเทอร์เน็ต=== อินเทอร์เน็ตเป็นตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดของ Internetwork มันเป็นระบบที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกของภาครัฐ, นักวิชาการ, องค์กรของรัฐและเอกชน, และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มันขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีระบบเครือข่ายของ Internet Protocol สวีท ซึ่งสืบทอดมาจากโครงการวิจัยขั้นสูงของหน่วยงานเครือข่าย (ARPANET) พัฒนาโดย DARPA ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อินเทอร์เน็ตยังเป็นแกนนำการสื่อสารพื้นฐานเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ผู้เข้าร่วมใน Internet ใช้ความหลากหลายของวิธีการหลายร้อยโพรโทคอลที่ถูกทำเป็นเอกสารและเป็นมาตรฐานไว้แล้ว โพรโทคอลดังกล่าวมักจะเข้ากันได้ดีกับ Internet Protocol Suite และระบบ addressing (ที่อยู่ IP) ที่ถูกบริหารงานโดยหน่วยงานกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ตและทะเบียน address. ผู้ให้บริการและองค์กรขนาดใหญ่ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ที่เป็น address ของพวกเขาผ่าน Border Gateway Protocol (BGP) ทำให้เป็นเส้นทางการส่งที่ซ้ำซ้อนของตาข่ายทั่วโลก ==โทโพโลยีเครือข่าย== โทโพโลยีเครือข่ายเป็นรูปแบบหรือลำดับชั้นของโหนดที่เชื่อมต่อกันของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ===รูปแบบสามัญ=== รูปแบบที่พบบ่อยคือ: เครือข่ายแบบบัส: ทุกโหนดจะถูกเชื่อมต่อกับสื่อกลางไปตลอดทั้งตัวสื่อนี้ รูปแบบนี้ใช้ในต้นฉบับอีเธอร์เน็ตที่เรียกว่า 10BASE5 และ 10Base2 เครือข่ายรูปดาว: ทุกโหนดจะเชื่อมต่อกับโหนดกลางพิเศษ รูปแบบนี้พบโดยทั่วไปใน LAN ไร้สายที่ลูกค้าแต่ละรายเชื่อมต่อแบบไร้สายกับจุดการเข้าถึง (Wireless access point) เครือข่ายวงแหวน: แต่ละโหนดมีการเชื่อมต่อไปยังโหนดข้างเคียงด้านซ้ายและด้านขวา เพื่อที่ว่าทุกโหนดมีการเชื่อมต่อและแต่ละโหนดสามารถเข้าถึงโหนดอื่น โดยเข้าหาทางโหนดด้านซ้ายหรือโหนดด้านขวาก็ได้ ไฟเบอร์การเชื่อมต่อข้อมูลแบบกระจาย (Fiber Distributed Data Interface หรือ FDDI) ใช้โทโพโลยีแบบนี้ เครือข่ายตาข่าย: แต่ละโหนดจะเชื่อมต่อกับโหนดอื่นๆได้เกือบทั้งหมดในลักษณะที่มีอยู่อย่างน้อยหนึ่งเส้นทางไปยังโหนดใดๆ แต่อาจต้องผ่านโหนดอื่นไป เครือข่ายที่เชื่อมต่ออย่างเต็มที่: ในแต่ละโหนดจะเชื่อมต่อกับทุกโหนดอื่น ๆ ในเครือข่าย ต้นไม้: ในกรณีนี้โหนดทั้งหมดมีการจัดลำดับชั้น โปรดสังเกตว่ารูปแบบทางกายภาพของโหนดในเครือข่ายอาจไม่จำเป็นต้องสะท้อนให้เห็นถึงโทโพโลยีเครือข่าย ตัวอย่างเช่น, FDDI มีโทโพโลยีเครือข่ายเป็นวงแหวน (ที่จริงสองวงหมุนสวนทางกัน) แต่โครงสร้างทางกายภาพอาจเป็นรูปดาวเพราะทุกการเชื่อมต่อกับโหนดที่อยู่ใกล้เคียงจะถูกส่งผ่านโหนดที่อยู่ตรงกลาง ===เครือข่ายซ้อนทับ=== เครือข่ายซ้อนทับเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เสมือนที่ถูกสร้างขึ้นทับบนเครือข่ายอื่น โหนดในเครือข่ายซ้อนทับจะถูกลิงค์เข้าด้วยกันแบบเสมือนหรือแบบลอจิก ที่ซึ่งแต่ละลิงค์จะสอดคล้องกับเส้นทางในเครือข่ายหลักด้านล่าง ที่อาจจะผ่านการลิงค์ทางกายภาพหลายลิงค์ โทโพโลยีของเครือข่ายซ้อนทับอาจ (และมักจะ) แตกต่างจากของเครือข่ายด้านล่าง. เช่น เครือข่ายแบบ peer-to-peer หลายเครือข่ายเป็นเครื่อข่ายซ้อนทับ พวกมันจะถูกจัดให้เป็นโหนดของระบบเสมือนจริงของลิงค์ที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเป็นภาพซ้อนทับบนเครือข่ายโทรศัพท์. ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของเครือข่ายซ้อนทับคือระบบของ Internet เอง. ที่เลเยอร์เครือข่ายแต่ละโหนดสามารถเข้าถึงโหนดอื่น ๆ โดยการเชื่อมต่อโดยตรงไปยัง IP address ที่ต้องการ ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม เครือข่ายด้านล่างจะประกอบด้วยการเชื่อมต่อภายในเหมือนตาข่ายของเครือข่ายย่อยที่มี topologies (และเทคโนโลยี)ที่แตกต่างกัน การจำแนก address และการเราต์ติงค์เป็นวิธีที่ใช้ในการทำ mapping ของเครือข่ายซ้อนทับ(แบบ IP ที่ถูกเชื่อมต่ออย่างเต็มที่)ข้างบนกับเครือข่ายที่อยู่ข้างล่าง เครือข่ายซ้อนทับเกิดขึ้นตั้งแต่มีการสร้างเครือข่ายเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์โดยใช้โมเด็ม และเกิดขึ้นก่อนที่จะมีเครือข่ายข้อมูลเสียอีก อีกตัวอย่างของเครือข่ายซ้อนทับก็คือตารางแฮชกระจายซึ่ง map คีย์(keys)ไปยังโหนดในเครือข่าย ในกรณีนี้เครือข่ายข้างใต้เป็นเครือข่าย IP และเครือข่ายทับซ้อนเป็นตาราง (ที่จริงเป็นแผนที่) ที่ถูกทำดัชนีโดยคีย์ เครือข่ายซ้อนทับยังได้รับการเสนอให้เป็นวิธีการปรับปรุงการเราต์ติงค์ในอินเทอร์เน็ต เช่นการเราต์โดยการรับประกันคุณภาพการให้บริการเพื่อให้ได้สื่อกลางสตรีมมิ่งที่มีคุณภาพสูง ข้อเสนอก่อนหน้านี้เช่น IntServ, DiffServ และ IP Multicast ไม่ได้เห็นการยอมรับอย่างกว้างขวางเพราะข้อเสนอเหล่านี้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนของเราต์เตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย. ในขณะที่เครือข่ายทับซ้อนถูกนำไปใช้งานเพิ่มขึ้นบน end-hosts ที่ run ซอฟแวร์โปรโตคอลทับซ้อนโดยไม่ต้องรับความร่วมมือจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เครือข่ายซ้อนทับไม่มีการควบคุมวิธีการที่แพ็คเก็ตจะถูกเราต์ในเครือข่ายข้างล่างระหว่างสองโหนดที่ซ้อนทับกัน แต่มันสามารถควบคุม, ตัวอย่างเช่น, ลำดับของโหนดซ้อนทับที่ข้อความจะลัดเลาะไปก่อนที่จะถึงปลายทาง ตัวอย่างเช่น Akamai เทคโนโลยีทำการบริหารจัดการเครือข่ายซ้อนทับที่ดำเนินการจัดส่งเนื้อหาอย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ (ชนิดหนึ่งของ multicast). งานวิจัยที่เป็นวิชาการรวมถึงการ multicast ระบบปลาย, การเราต์ติงค์ที่มีความยืดหยุ่นและการศึกษาเรื่อง'คุณภาพของบริการ'(quality of service), ระหว่างเครือข่ายซ้อนทับอื่น ๆ ==อ่านเพิ่มเติม== โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต == อ้างอิง == ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมโทรคมนาคม
thaiwikipedia
533
ความเสี่ยง
ความเสี่ยง (Risk) คือ การวัดความสามารถ ที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของงานประสบความสำเร็จ ภายใต้การตัดสินใจ งบประมาณ กำหนดเวลา และข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่ อย่างเช่น การจัดทำโครงการเป็นชุดของกิจกรรม ที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ภายใต้กรอบเวลาอันจำกัด ซึ่งเป็นกำหนดการปฏิบัติการในอนาคต ความเสี่ยงจึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และความจำกัดของทรัพยากรโครงการ ผู้บริหารโครงการจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้ปัญหาของโครงการลดน้อยลง และสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ == ความเสี่ยงจากการลงทุน == ความเสี่ยงจากการลงทุน คือ โอกาสที่จะสูญเสียเงินที่ลงทุน === ประเภทของความเสี่ยง === เราสามารถแบ่งความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ === Business Risk Model Framework === กรอบความเสี่ยงของธุรกิจ (Business Risk Model Framework) นั้นจะช่วยให้หน่วยงานทุกระดับภายในบริษัทสามารถระบุถึงความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น โดยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทนั้นอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) 2. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ(Operational Risk) 3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) 4. ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Hazard Risk) === ความเสี่ยงรวม === ความเสี่ยง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ และความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) เป็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตลาดทั้งระบบ มักจะเรียกอีกชื่อว่า Market Risk หรือ Undiversificable Risk เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถทำให้ลดลงได้จากการกระจายการลงทุน ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดเฉพาะตัวกับธุรกิจ หรือ หลักทรัพย์นั้น ๆ นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงนี้ลงได้ด้วยการจัดพอร์ตลงทุนของตนเองให้มีการกระจายการลงทุนที่เหมาะสม == ศัพท์ทางเทคนิคด้านความเสี่ยง == ภัย (Peril) คือ สาเหตุของความเสียหาย ซึ่งภัยสามารถเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติ เช่น เกิดพายุ สึนามิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยนอกจากจะเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติแล้ว ภัยนั้นยังเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย จลาจล ฆาตกรรม เป็นต้น สำหรับสาเหตุสุดท้ายที่จะเกิดภัยได้นั้นคือภัยที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ เพราะภัยที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นอีกสาเหตุที่สำคัญ เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วคนทั้งประเทศ หรือทั้งภูมิภาคจะได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง ความเสี่ยง (Risk) คือ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ความเสี่ยงนั้น ๆ จะมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยในบริษัท สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย (Hazard) คือ สภาพเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น โดยสภาวะต่าง ๆ นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น สภาวะทางด้านกายภาพ (Physical) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย เช่น ชนิดและทำเลที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้าง อาจเอื้อต่อการเกิดเพลิงไหม้ สภาวะทางด้านศีลธรรม (Moral) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากความไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น การฉ้อโกงของพนักงาน และสภาวะด้านจิตสำนึกในการป้องกันความเสี่ยง (Morale) คือ สภาวะที่ไม่ประมาทและเลินเล่อ หรือการไม่เอาใจใส่ในการป้องกันความเสี่ยง เช่น การที่พนักงานปล่อยให้เครื่องจักรทำงานโดยไม่ควบคุม == Strategic Risk == ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงานและการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก (External Factor Risks) และความเสี่ยงจากปัจจัยภายใน (Internal Factor Risks) == Operational Risk == ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) เป็นความเสี่ยงที่ทุกธุรกิจจะต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานของธุรกิจตามปกติ แต่ธุรกิจจะต้องหาวิธีการในการจัดการป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้น ถ้าหากธุรกิจปล่อยให้มีความเสี่ยงในด้านปฏิบัติการเกิดขึ้นมาก ผลการดำเนินงานของธุรกิจอาจไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลงด้วย == Financial Risk == ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) เป็นอีกประเภทของความเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อบริษัทและองค์กรทั่วไป ความเสี่ยงด้านการเงินนี้ประกอบด้วยความเสี่ยงในการบริหารเงิน (Treasury Risks) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risks) และ ความเสี่ยงในการซื้อขายตราสารการเงิน (Trading Risks) == Information Risk == ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ (Information Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในด้านสารสนเทศหรือข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน การรายงานต่าง ๆ ทางการเงิน ความเสี่ยงด้านภาษี รวมไปถึงความเสี่ยงในด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งความเสี่ยงด้านสารสนเทศนี้สามารถแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ประเภท คือ ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks) ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Operational Risks) และ ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (Technological Risks) == อ้างอิง == กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. 2557. การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์ สำนักพิมพ์แมคกรอ ฮิล กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. 2557. การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์แมคกรอ ฮิล กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2548 - 2550. บทความจากหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย คอลัมน์ส่องธุรกิจ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2551. การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2550 - 2551. บทความจากนิตยสาร Make Money คอลัมน์ Finance & Investment กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2551. บทความจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ คอลัมน์ Road to Investment == ดูเพิ่ม == การจัดการความเสี่ยง ความเสี่ยง
thaiwikipedia
534
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-commerce) หรือ พาณิชยกรรมออนไลน์ หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาในการทำธุรกรรมลงได้ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้ความหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็น ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อปผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน อย่างไรก็ตาม มีการใช้คำใหม่เกิดขึ้นเรียกว่า การค้าทางดิจิทัล (Digital Trade) โดยหมายถึงการค้าสำคัญที่เกี่ยวกับ 1) สินค้าและบริการทางดิจิทัล ได้แก่ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่น 2) สินค้าและบริการที่จับต้องได้และส่งถึง ผู้ซื้อผ่านช่องทางดิจิทัล 3) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการค้าสินค้าที่จับต้องได้ เช่น บริการธุรกรรมทางดิจิทัล ระบบติดตามสินค้า ระบบความปลอดภัยไซเบอร์ 4) เทคโนโลยีอื่น เช่น blockchain, AI, IoT, 3D printing == อ้างอิง == การพาณิซย์อิเล็กทอนิกส์ E-Commerce กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ การจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
thaiwikipedia
535
การรักษาความปลอดภัยทางข้อมูล
การรักษาความปลอดภัยทางข้อมูล (Information Security) แยกออกเป็นสองคำ ได้แก่ Information หรือสารสนเทศ คือข้อมูลในรูปแบบของตัวเลข ข้อความ หรือภาพกราฟิก ที่ได้นำมารวบรวม จัดเป็นระบบ และนำเสนอในรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้อย่างแจ่มชัด ไม่ว่าจะเป็นรายงาน ตาราง หรือแผนภูมิต่างๆ และ Security หรือความปลอดภัย คือสภาพที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้งและดำรงไว้ซึ่งมาตรการการป้องกันที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่มีผู้ที่ไม่หวังดีจะบุกรุกเข้ามาได้ เมื่อรวมสองคำก็จะได้ "Information Security" จึงหมายถึง การศึกษาถึงความไม่ปลอดภัยในการใช้งานสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ การวางแผนและการจัดระบบความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ โดยศึกษาถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ การรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การรักษาความปลอดภัยในระบบฐานข้อมูล การรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล การป้องกันทางกายภาพ การวิเคราะห์ความเสี่ยง ประเด็นในแง่กฎหมาย จรรยาบรรณในเรื่อง "ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์" == ดูเพิ่ม == การจัดการความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง การป้องกันอาชญากรรม ความมั่นคงแห่งชาติ ความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ การรักษาความปลอดภัย
thaiwikipedia
536
เอชทีทีพีคุกกี้
เอชทีทีพีคุกกี้ (HTTP cookie) นิยมเรียกว่า เว็บคุกกี้ หรือ คุกกี้ หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกส่งจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังเว็บเบราว์เซอร์ และถูกส่งกลับมายังเว็บเซิร์ฟเวอร์ทุกๆครั้งที่เว็บเบราว์เซอร์ร้องขอข้อมูล โดยปกติแล้วคุกกี้จะถูกใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กๆไว้ที่เว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถจดจำสถานะการใช้งานของเว็บเบราว์เซอร์ที่มีต่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างการใช้งานคุกกี้เช่น ใช้เพื่อจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้ เวลาที่ผู้ใช้เข้าเว็บครั้งล่าสุด ข้อมูลสินค้าที่ผู้ใช้เลือกไว้ ข้อมูลในคุกกี้เหล่านี้ ทำให้เว็บไซต์สามารถที่จะจดจำผู้ใช้ได้ แต่ไม่สามารถส่งคำสั่งมาประมวลผล หรือส่งไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านคุกกี้ได้ และมีเพียงเซิร์ฟเวอร์ที่สร้างคุกกี้นั้นๆ เท่านั้นจึงจะสามารถอ่านค่าของคุกกี้ดังกล่าวได้ คุกกี้เป็นมาตรฐาน RFC 2109 ออกเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 == แหล่งข้อมูลอื่น == คุกกี้คืออะไร เอชทีทีพี
thaiwikipedia
537
เอกซ์ทราเน็ต
เอกซ์ทราเน็ต (extranet) คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างจุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (virtual network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลายเครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจแบ่งเป็นประเภท เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่ว ๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป == อ้างอิง == สถาปัตยกรรมเครือข่าย ความมั่นคงของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
538
การจัดการความเสี่ยง
การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง (risk managment) คือ การจัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์(risk analysis) ประเมิน(risk assessment) ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident ) == นิยามของความเสี่ยง == ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น ความเสี่ยงคือ โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (Chance of Loss) ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ (Possibility of Loss) ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty of Event) และ การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (Dispersion of Actual Result) == ศัพท์ทางเทคนิค == ภัย (Peril) คือ สาเหตุของความเสียหาย ซึ่งภัยสามารถเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติ เช่น เกิดพายุ สึนามิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยนอกจากจะเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติแล้ว ภัยนั้นยังเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย จลาจล ฆาตกรรม เป็นต้น สำหรับสาเหตุสุดท้ายที่จะเกิดภัยได้นั้นคือภัยที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ เพราะภัยที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นอีกสาเหตุที่สำคัญ เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วคนทั้งประเทศ หรือทั้งภูมิภาคจะได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง ความเสี่ยง (Risk) คือ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ความเสี่ยงนั้น ๆ จะมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยในบริษัท สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย (Hazard) คือ สภาพเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น โดยสภาวะต่าง ๆ นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น สภาวะทางด้านกายภาพ (Physical) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย เช่น ชนิดและทำเลที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้าง อาจเอื้อต่อการเกิดเพลิงไหม้ สภาวะทางด้านศีลธรรม (Moral) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากความไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น การฉ้อโกงของพนักงาน และสภาวะด้านจิตสำนึกในการป้องกันความเสี่ยง (Morale) คือ สภาวะที่ไม่ประมาทและเลินเล่อ หรือการไม่เอาใจใส่ในการป้องกันความเสี่ยง เช่น การที่พนักงานปล่อยให้เครื่องจักรทำงานโดยไม่ควบคุม == องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง == การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัยเป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้างที่มาเผชิญอยู่ และอยู่ในลักษณะใดหรือขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง การประเมินผลกระทบของภัยเป็นการประเมินผลกระทบของภัยที่จะมีต่อองค์กรซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัยการจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผลกระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนกดังนี้ มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น * ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา * ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลาม ไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้ มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง ลงได้มาก มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัยหรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้ == มาตรการรับมือกับภัย 5 มาตรการ (5R) == R1 Readiness ความเตรียมพร้อม องค์กรต้องเตรียมความพร้อมระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีความพร้อมในการจัดทำมาตรการขจัดหรือควบคุมภัยต่างๆเอาไว้ล่วงหน้า R2 Response การตอบสนองอย่างฉับไว เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นระบบต้องมีสมรรถนะที่ดีพอในการตอบโต้ภัยแต่ละชนิดอย่างได้ผลและทันเวลา R3 Rescue การช่วยเหลือกู้ภัย เป็นกระบวนการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินขององค์กร ที่ได้ผลและทันเวลา R4 Rehabilitation การกลับเข้าไปทำงาน เมื่ออุบัติภัยสิ้นสุดลงแล้วต้องกลับเข้าไปที่เดิมให้เร็วที่สุดเพื่อ การซ่อมแซม การเปลี่ยนใหม่ หรือการสร้างขึ้นใหม่ (Rebuild) เพื่อให้อาคารสถานที่พร้อมที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ อาจรวมไปถึงการประกันภัยด้วย R5 Resumption การกลับคืนสู่สภาวะปกติ องค์กรสามารถเปิดทำการ หรือ ดำเนินธุรกิจต่อไปตามปกติได้เสมือนว่าไม่มีอุบัติภัยมาก่อน Response กับ Rescue อาจจะเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกัน โดยขอยกตัวอย่าง กรณีเกิดอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ รวมถึง Fire Alarm คือขั้นตอนของ Response แต่ไฟฉุกเฉินและเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้พนักงานสวม เพื่อหนีออกจากอาคาร เป็นขั้นตอนของ Rescue == The Committee of Sponsoring Organization (COSO) == The Committee of Sponsoring Organization (COSO) เป็นหน่วยงานที่ได้เผยแพร่วิธีการและกรอบแนวคิดของการควบคุมภายในขององค์กร (Internal Control Framework) อย่างเป็นระบบ เมื่อช่วงต้นทศวรรษของ ปี ค.ศ. 1990 จนกระทั่งเป็นที่รู้จักและมีความนิยมอย่างแพร่หลาย หลังจากที่วิธีการและการดำเนินการควบคุมภายใน (Internal Control) นั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลานาน ในการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เป็นเรื่องที่ทุกคนมีความเห็นอย่างตรงกันว่า การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องที่จำเป็นและเราต้องมีวิธีในการจัดการกับความเสี่ยงที่ดี แต่การจัดการความเสี่ยงนั้นก็ประสบกับปัญหาเดียวกับการเริ่มทำการควบคุมภายในในช่วงแรก ๆ เพราะการจัดการความเสี่ยงนั้นยังไม่สามารถที่จะกำหนดคำนิยามได้อย่างชัดเจน องค์กรของการประกันภัย ก็มีการกำหนดคำนิยามของการจัดการความเสี่ยงไว้แบบหนึ่ง แต่องค์กรที่ให้บริการสินเชื่อก็กำหนดคำนิยามและวิธีการของการจัดการความเสี่ยงไว้อีกแบบหนึ่งอย่างแตกต่างกัน จนทำให้หน่วยงานหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร หรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างก็พยายามที่จะกำหนด คำนิยามและความหมายของการจัดการความเสี่ยง ตลอดจนพยายามคิดถึงโครงสร้างของการจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านั้น หลังการจากพยายามหาข้อสรุปถึงคำนิยาม ความหมาย วิธีการในการจัดการความเสี่ยง และการจัดทำโครงสร้างในการบริหารความเสี่ยงมานาน COSO จึงพยายามที่จะกำหนด และกำหนดคำนิยามและรูปแบบต่าง ๆ ในการจัดการกับความเสี่ยง โดยได้กำหนดออกมาเป็น COSO ERM (COSO Enterprise Risk Management) ซึ่ง COSO ได้กำหนดโครงสร้างและความหมายในการจัดการกับความเสี่ยง และนำเสนอต่อสาธารณะในปลายปี ค.ศ. 2004 โดยให้บริษัทในทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือบริษัท SMEs สามารถนำเอาแนวทางในการบริหารจัดการกับความเสี่ยงไปใช้ได้ COSO Internal Control Framework เป็นกระบวนการ ที่ออกแบบให้ กรรมการบริหาร ผู้บริหาร บุคลากรต่าง ๆ ของหน่วยงาน ต้องมีความรับผิดชอบ และพยายามที่จะให้หน่วยงานประสบความสำเร็จ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีการรายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือ และ 3. การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ COSO Internal Control Framework จะมีลักษณะที่เชื่อมโยงต่อ COSO Enterprise Risk management ดังนั้นการเข้าใจใน COSO Internal Control Framework จึงเป็นการช่วยให้เข้าใจใน COSO ERM มากขึ้นนั่นเอง == อ้างอิง == กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. 2557. การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์ สำนักพิมพ์แมคกรอ ฮิล กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. 2557. การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์แมคกรอ ฮิล กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2548 - 2550. บทความจากหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย คอลัมน์ส่องธุรกิจ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2554. การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 4 สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2550 - 2555. บทความจากนิตยสาร Make Money คอลัมน์ Finance & Investment กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2551 - 2555. บทความจากหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน คอลัมน์ Road to Investment กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2554 ลงทุนเป็น เห็นความสำเร็จ สำนักพิมพ์ แมคกรอฮิล == ดูเพิ่ม == ความเสี่ยง ธุรกิจ การบริหาร การรักษาความปลอดภัย ความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง การสื่อสารศึกษา
thaiwikipedia
539
ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานคอมพิวเตอร์ (Computer-based information system) คือการนำข้อมูล และคำสั่งไปประมวลผลที่หน่วยประมวลผลนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการทำงานโดยการ Input - Processing - Output == ส่วนประกอบ == โดยแยกส่วนประกอบออกเป็นดังนี้ คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย Hardware คือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น เมาส์,คีย์บอร์ด,ลำโพง เป็นต้น Software แบ่งเป็น 2 อย่าง # ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากหมายความถึงระบบปฏิบัติการ เช่น MS-DOS, Windows, Linux เป็นต้น # ซอฟต์แวร์ประยุกต์ โปรแกรมทุกตัวในเครื่องที่ไม่ใช่โปรแกรมของระบบ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่าง ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมของแพทย์ เป็นต้น ตลอดจนโปรแกรมที่ใช้งานทั่วไป เช่นไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ระบบ คือกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์แล้ว ที่ผู้ใช้สามารถรู้ความหมายและสามารถนำไปใช้ได้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท Transaction Processing Systems (TPS) เป็นระบบประมวลผลรายการประจำเป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลพื้นฐานโดยเน้นการประมวลผลรายวัน Management Information Systems (MIS) เป็นระบบที่สนับสนุนการจัดการด้านกลวิธี (Tactical) เป็นระบบจัดการข้อมูลทั้งหมดขององค์กร Decision Support Systems (DSS) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาจากระบบ MIS เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ Executive Information Systems (EIS) ระบบที่ออกแบบใช้กับเฉพาะผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ เช่น ระบบธนาคารมีการใช้ระบบสารสนเทศบนฐานคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลต่างๆ ระบบการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น สารสนเทศ ระบบสารสนเทศ
thaiwikipedia
540
การวางแผนทรัพยากรองค์กร
การวางแผนทรัพยากรองค์กร (enterprise resource planning ย่อ ERP) หมายถึง การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่าง ๆ จึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่างสายการผลิตไปจนถึงช่องทางจำหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะลดขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการการผลิตดังนี้ การพัฒนารูปแบบของการดำเนินงานในโรงงาน * โดยจะมีการนำเอา e-Manufacturing เข้ามาใช้ในโรงงานนั้นจะช่วยในเรื่องของการผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ในคงคลัง, จัดมาตรฐานของหน้าบ้าน และการจัดการบำรุงรักษาเครื่องจักร มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้ ** การจัดเก็บสินค้าคงคลังให้ได้คุณภาพสูง ** การจัดการสินทรัพย์, การจัดหาวัตถุดิบ และการบำรุงรักษา การนำเอาอินเทอร์เน็ตมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม อินเทอร์เน็ตนั้นได้เข้ามามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ซื้อสินค้า ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อของได้เพียงปลายนิ้วคลิก และยังสามารถเลือกรูปแบบตามความต้องการได้ นอกจากเป็นเครื่องมือในการซื้อและแหล่งข้อมูลที่สำคัญ แล้วนั้นยังทำให้ธุรกิจนั้นเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วด้วย สำหรับผู้ผลิตแล้วการที่มี e-Business อย่างเดียวนั้นคงจะไม่สามารถทำงานได้ดีหากปราศจากโซ่อุปทานที่เป็นมืออาชีพและสินค้าที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อที่จะผลิตสินค้าให้เป็นที่พอใจของลูกค้า การที่มีสินค้าเพียงเก็บไว้ในคงคลังนั้นคงไม่พอแล้ว สำหรับตลาดที่มีการแข่งขันสูงในตอนนี้ กลยุทธ์ในการนำความขัดแย้งออกจากวิสาหกิจ ลักษณะของกลยุทธ์ทาง e-Manufacturing เป็นอย่างไร ลองดูเรื่องสั้นนี้ที่จะช่วยให้มีความเข้าใจมากขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของลิมิตสวิตช์ (Limit Switch) ซึ่งเป็นเพียงแค่สวิตช์ปิดเปิดธรรมดาที่มีแขนยื่นออกมา ตัวลิมิตสวิตช์ จะอยู่ติดบนสายพาน ในแต่ละครั้งที่วัตถุผ่านมาบนสายพาน มันจะผลักตัวแขนออกไปทางหนึ่งซึ่งหมายถึงสวิตช์กำลังเปิดอยู่ และเมื่อกล่องผ่านไปตัวแขนก็จะตีกลับมาที่เดิม == ประวัติ == แนวคิด ERP เริ่มในยุคปี ค.ศ. 1990 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดกำเนิดเริ่มแรกของ ERP มาจากแนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม (Material Requirement Resource Planning / Manufacturing Resource Planning, MRP System) ของอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกา โดยคำว่า ERP และแนวคิดของ ERP นั้นก็พัฒนามาจาก MRP ในที่นี้จะทำการอธิบาย ความเป็นมาของ MRP โดยย่อว่ามีความเป็นมาอย่างไร และทำไมจึงพัฒนามาเป็น ERP ได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายของ ERP ได้ดียิ่งขึ้น และตัวแนวคิด ERP เองก็ยังมีวิวัฒนาการอยู่ จาก ERP ก็จะเป็น Extended ERP และจะพัฒนาไปเป็น Next Generation ERP ต่อไปในอนาคต แนวคิด MRP เกิดขึ้นครั้งแรกที่อเมริกาในยุคต้นของ ค.ศ. 1960 ในช่วงแรก MRP ย่อมาจาก Material Requirement Planning (การวางแผนความต้องการวัสดุ) เป็นวิธีการในการหาชนิดและจำนวนวัสดุที่ต้องใช้ในการผลิตตามตารางเวลาและจำนวนสินค้าที่ได้วางแผนโดย MPS (Master Production Schedule) ย่างเข้ายุคปี ค.ศ. 1970 MRP ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการป้อนกลับข้อมูลการผลิตจริงใน shop floor นอกจากนั้นยังเพิ่มแนวคิดเรื่อง การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต (capacity requirements planning) จากความสำเร็จของ Closed Loop MRP ก็เกิดการพัฒนาต่อยอดขึ้นเป็น MRP II ในยุคปี ค.ศ. 1980 (โดย MRP ใหม่นี้ย่อมาจาก Manufacturing Resource Planning) ซึ่งได้รวมการวางแผนและบริหารทรัพยากรการผลิตอื่น ๆ นอกจากการวางแผนและควบคุมกำลังการผลิต และวัตถุดิบการผลิต เข้าไปในระบบด้วย MRP II เป็นแนวคิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ERP ได้ขยายแนวคิดของ MRP II ให้สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรของธุรกิจที่หลากหลาย โดยการรวมระบบงานหลักทุกอย่างในองค์กรเข้ามาเป็นระบบเดียวกัน == คำจำกัดความ == การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) เป็นการนำระบบงานทุกอย่างในองค์กรมาทำการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและมีการนำข้อมูลจากทุกแผนกงานต่าง ๆ นั้นนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีผู้ที่ได้ให้ความหมายหรือคำนิยามเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากร องค์กรไว้ดังต่อไปนี้ การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน (ธงชัย สันติวงษ์, http://www.nationejobs.com/ask/guru_t2_thai.asp?askno=1066 ) วิธีการที่องค์กรนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะนำมาสู่การจัดการที่จะให้เกิดห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ในองค์กรโดยจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในองค์กรทั้งหมด ดังนั้นจึงทำให้หน่วยงานทุกหน่วยงานในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลอันเดียวกันได้ อาทิเช่น คำสั่งซื้อ (Sales Order) ที่เกิดขึ้นมาหนึ่งคำสั่งจะมีผลต่อหน่วยงานอื่น ๆ โดยอัตโนมัติอาทิเช่น โรงงาน (Manufacturing) , คลังสั่งซื้อ (Inventory) , จัดซื้อ (Procurement) , อินวอยซ์ (Invoice) , ลงบัญชี (Financial ledger) เป็นต้น (http://www.IeaTth.com/Csgroup ) ทุกสิ่งทุกอย่างภายในองค์กรที่ทำให้เกิดผลผลิตขององค์กรได้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในสิ่งที่เราทำได้ เช่น การบริการ, การผลิต ที่เราจะเข้าไปแปรสภาพให้ได้มูลค่าเพิ่ม และเราจะจัดการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) นี้อย่างไรนั่นเอง การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) นี้จำเป็นจะต้องเชื่อมโยงกับซอฟต์แวร์ เพื่อให้การเชื่อมโยงสามารถนำไปจัดการกระบวนการต่าง ๆ ได้ เช่น เพื่อซื้อวัตถุดิบเข้ามา, การรับคำสั่งของลูกค้าให้ถูกต้อง, ส่งมอบสินค้าในเวลาที่ต้องการ ฯลฯ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะต้องนำคิดเป็นต้นทุน จัดทำเป็นบัญชี โดยการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อให้ข้อมูลต่าง ๆ เชื่อมโยงกันทั้งองค์กร และเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ และประสานกันเป็นหนึ่งนั่นเอง (ปรีชา พันธุมสินชัย, 2547) ระบบสารสนเทศในองค์กรวิสาหกิจที่สามารถบูรณาการ (Integrate) รวมงานหลัก (core business process) ต่าง ๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง, การผลิต, การขาย, การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่างทันทีทันใด (real time) (อิทธิ ฤทธาภรณ์ และ กฤษดา วิศวธีรานนท์, 2547:7) ระบบสารสนเทศ ธุรกิจ การผลิต งานวิศวกรรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
thaiwikipedia
541
อินทราเน็ต
อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟร์วอลล์สำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้ == การประยุกต์ใช้งานอินทราเน็ต == การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในปัจจุบันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลาย อาทิเช่น การจัดการเอกสารข้อมูล, การตีพิมพ์และกระจายข่าวสาร, การจองห้องและอุปกรณ์, ห้องสนทนาออนไลน์ (chat room), เว็บบอร์ด (web board), อัลบั้มรูป, การจัดการสมุดรายชื่อและข้อมูลการติดต่อ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยแนวโน้มการใช้งานของอินทราเน็ตในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) มีการดึงเอาเครือข่ายสังคม (social network) มาใช้เพื่อเชื่อมต่อและช่วยประสานการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทหรือองค์กรที่ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ไม่ว่าจะเป็นสาขาหรือสำนักงานในส่วนภูมิภาคให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้พบว่าการนำเอาสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันสนับสนุนให้การทำงานของอินทราเน็ตเป็นมากกว่าเครือข่ายเฉพาะภายในองค์กรที่ใช้จัดเก็บเอกสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถดึงเอาแอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้ามาใช้งานร่วมกับอินทราเน็ตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย == ดูเพิ่ม == เอ็กซ์ทราเน็ต == อ้างอิง == เครือข่ายคอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
542
ข้อมูล
ข้อมูล คือค่าของตัวแปรในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ ที่อยู่ในความควบคุมของกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลในเรื่องการคอมพิวเตอร์ (หรือการประมวลผลข้อมูล) จะแสดงแทนด้วยโครงสร้างอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นโครงสร้างตาราง (แทนด้วยแถวและหลัก) โครงสร้างต้นไม้ (กลุ่มของจุดต่อที่มีความสัมพันธ์แบบพ่อลูก) หรือโครงสร้างกราฟ (กลุ่มของจุดต่อที่เชื่อมระหว่างกัน) ข้อมูลโดยปกติเป็นผลจากการวัดและสามารถทำให้เห็นได้โดยใช้กราฟหรือรูปภาพ ข้อมูลในฐานะมโนทัศน์นามธรรมอันหนึ่ง อาจมองได้ว่าเป็นระดับต่ำที่สุดของภาวะนามธรรมที่สืบทอดเป็นสารสนเทศและความรู้ ข้อมูลดิบ หรือ ข้อมูลที่ยังไม่ประมวลผล เป็นศัพท์อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง หมายถึงการรวบรวมจำนวนและอักขระต่าง ๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นตามปกติในการประมวลผลข้อมูลเป็นระยะ และ ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว จากระยะหนึ่งอาจถือว่าเป็น ข้อมูลดิบ ของระยะถัดไปก็ได้ ข้อมูลสนามหมายถึงข้อมูลดิบที่รวบรวมมาจากสภาพแวดล้อม ณ แหล่งกำเนิด ที่ไม่อยู่ในการควบคุม ข้อมูลเชิงทดลองหมายถึงข้อมูลที่สร้างขึ้นภายในสภาพแวดล้อมของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยการสังเกตและการบันทึก == ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ == ศัพท์คำว่าข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ บ่อยครั้งถูกใช้แทนมโนทัศน์ที่ทับซ้อนกัน ระดับของภาวะนามธรรมคือความแตกต่างหลักที่จะนำมาพิจารณา ข้อมูลคือระดับของภาวะนามธรรมต่ำที่สุด สารสนเทศอยู่ในระดับถัดไป และสุดท้ายความรู้คือระดับสูงที่สุดในสามสิ่งนี้ ข้อมูลโดยตัวมันเองนั้นไม่มีความหมายอะไร เมื่อข้อมูลกลายเป็นสารสนเทศ มันจะต้องถูกตีความและมีความหมายเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์โดยทั่วไปถือว่าเป็นข้อมูล หนังสือเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศของยอดเขาเอเวอเรสต์ก็อาจถือว่าเป็นสารสนเทศ และรายงานเกี่ยวกับสารสนเทศเชิงปฏิบัติ เรื่องเส้นทางที่ดีที่สุดในการปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ก็เรียกได้ว่าเป็นความรู้ เบย์นอน-เดวีส์ใช้มโนทัศน์ของป้ายเพื่อแยกแยะระหว่างข้อมูลกับสารสนเทศ กล่าวคือ ข้อมูลคือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในขณะที่สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อสัญลักษณ์เหล่านั้นใช้อ้างถึงบางสิ่งบางอย่าง == อ้างอิง == ข้อมูลคอมพิวเตอร์ การจัดการข้อมูล ข้อมูล
thaiwikipedia
543
การรักษาความลับ
การรักษาความลับ (Confidentiality) ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงการรับรองว่าจะมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ และผู้ที่มีสิทธิ์เท่านั้นจึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เนื่องจากข้อมูลบางอย่างในองค์กรมีความสำคัญ และไม่สามารถเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกองค์กรได้ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามของระบบ ถือเป็นการปกป้องความมั่นคงปลอดภัยของระบบและตัวองค์กรเอง ส่วนประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญที่จะช่วยทำให้ข้อมูลนั้นเป็นความลับได้ก็คือ การกำหนดสิทธิ์ และการพิสูจน์ตัวตน ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้รหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูล, ลายเซ็นดิจิตอล, SSL วิทยาการเข้ารหัสลับ
thaiwikipedia
544
พล นิกร กิมหงวน
พล นิกร กิมหงวน หรือ สามเกลอ เป็นหัสนิยาย ประพันธ์โดย ป. อินทรปาลิต ที่จัดพิมพ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2511 มีมากมายเกินกว่าพันตอน (ตอนแรกคือตอน อายผู้หญิง) เนื้อหาออกไปในแนวสนุกสนานครื้นเครง มีการหยอกล้อกันไปมา จัดเป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน นอกจากรูปแบบหนังสือแล้ว พล นิกร กิมหงวน ยังเคยทำเป็นภาพยนตร์ออกฉายอีกด้วย รวมทั้งละครโทรทัศน์ อีกด้วย == ตัวละคร == ตัวละครเอกที่เป็นที่จดจำได้ของคนทั่วไปคือ พล พัชราภรณ์ - บุตรชายคนเดียวของพระยาประสิทธิ์นิติศาสตร์ (ประสิทธิ์ พัชราภรณ์) อดีตผู้พิพากษา กับคุณหญิงประสิทธิ์นิติศาสตร์ (วาด พัชราภรณ์) มีใบหน้าที่หล่อคมคาย และพูดจาสุภาพเรียบร้อย เป็นที่ต้องตาของสาว ๆ แต่ก็เป็นคนที่นายแห้ว คนใช้ กลัวและเกรงใจที่สุด เป็นคนที่ได้เรื่องที่สุดในหมู่เพื่อน คือ ยามที่เพื่อนจะออกนอกลู่นอกทาง "บางครั้ง" ก็จะเตือนให้สติ เหมือนเป็นผู้นำอย่างกลาย ๆ แต่พลเองก็มักจะเฮฮาไปกับเพื่อนเสมอ จนเสียเองก็มี แต่ยามดุก็เอาเรื่อง พลมีฝีมือชกมวยมาก นิกร การุณวงศ์ - เป็นบุตรชายคนเล็กของพระยาวิจิตรบรรณาการ (แก่น การุณวงศ์) พี่ชายของคุณหญิงวาด นิกรจึงมีศักดิ์เป็นลูกผู้พี่ของพล แต่นิกรอ่อนกว่าพลราวปีนึง เป็นน้องชายของ นันทา พัชราภรณ์ (นามสกุลเดิม การุณวงศ์) ภรรยาของพล นิกรกินเก่งมากถึงมากที่สุด ในวงเหล้ามักจะกินแต่กับ บางครั้งก็สัปหงกบ่อย ๆ มีความรู้ด้านไสยศาสตร์เล็กน้อย (2 คนนี้เป็นตัวละครช่วงแรกสุด เรียกว่า 2 เกลอ) มีสมญาว่า "กระดิ่งทอง" มาจากการที่ชอบร้องยี่เก (ลิเก) และแทนตัวเองด้วยชื่อนี้ รำสวย ร้องยี่เกเพราะ เจ้าบทเจ้ากลอน ความสามารถพิเศษ คือ การล้วงกระเป๋า มักล้วงกระเป๋ากิมหงวนเสมอ กิมหงวน ไทยแท้ - (ทั้ง 3 คนนี้เป็นตัวละครช่วงแรก ๆ เรียกว่า 3 เกลอ) (ชื่อเดิม กิมหงวน ไทยเทียม ภายหลังเปลี่ยนเป็น สงวน ไทยแท้ ) เจ้าของห้างศิวิไลซ์พานิชย์ และกิจการค้าอื่น ๆ มากมาย ได้รับการยกย่องว่าร่ำรวยเป็นอันดับหนึ่งของไทย มีเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ สูงถึง 6 ฟุต 1 นิ้ว ซึ่งจัดว่าสูงมากสำหรับคนไทยในสมัยนั้น ชอบสวมแว่นตาขอบกระ ปกติเป็นคนไม่สู้คน แต่ถ้าถูกดูหมิ่นจะเปลี่ยนเป็นคนมุทะลุฉุนเฉียว มักจะถอดแว่นตาออกเมื่อโมโหได้ที่ พฤติการณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ จะฉีกหรือเผาธนบัตรจำนวนมาก ๆ เพื่อประกาศความมั่งคั่ง การพบกันของกิมหงวนกับเพื่อนทั้งสองในตอนแรกเป็นการเขม่นหน้ากันก่อนจะกลายเป็นเพื่อนร่วมตาย กิมหงวนมีฉายาจากตอนเป็นนักบินรบในสงครามอินโดจีนว่า "เปรตเวหา" เป็นคนบ้ายออย่างมาก ดร.ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์ - (ทั้ง 4 คนนี้อาจเรียกได้ว่า 4 สหาย) เป็นบุตรของพระยานพรัตน์ไมตรี (นพ ณรงค์ฤทธิ์) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์อัจฉริยะ สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ เมื่อปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่อง ดร.ดิเรก ได้แสดงความสามารถด้วยการชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นในลักษณะผีดิบได้ มีนิสัยชอบพูดภาษาอังกฤษปนไทย หรือพูดด้วยไวยากรณ์แบบอังกฤษ เช่น "ผมเป็นโกรธ / I'm angry." และชอบเล่าเรื่องเกี่ยวกับมหาราชาที่อินเดียมาก เพราะก่อนกลับประเทศได้แวะที่อินเดีย ได้อยู่ในราชสำนักมหาราชา สิ่งประดิษฐ์ของดิเรกมีทั้งอาวุธ ไปจนถึง ยาวิเศษที่ทำให้ล่องหนได้ พระยาปัจจนึกพินาศ (อู๊ด ศิริสวัสดิ์) - นายพลนอกราชการ มีจุดเด่นที่ศีรษะล้าน ไม่มีผมมาตั้งแต่เกิด จึงมักโดนล้อให้โกรธเสมอในเรื่องเกี่ยวกับเส้นผมบนหัว มีภรรยา คือ คุณหญิงปัจจนึกพินาศ (ประณีต ศิริสวัสดิ์) เป็นพ่อของประภา ณรงค์ฤทธิ์ และประไพ การุณวงศ์ จึงมีศักดิ์เป็นพ่อตาของ นิกร การุณวงศ์ และ ดร.ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์ เจ้าคุณแม้สูงวัยแต่ก็ชอบคิดทำอะไรด้วยความกระตือรือร้นมีไฟเสมอ เวลาสามเกลอไปไหน ๆ มักจะชวนท่านไปด้วย เจ้าคุณมักเป็นต้นคิดเรื่องต่าง ๆ บางครั้งก็ลงทุนทำสิ่งต่างๆด้วยความเห่อ หรือความเพ้อฝัน ช่วงสงครามได้เข้ารับราชการอีกครั้ง และทำให้สามเกลอช่วงสงครามมีสีสันเป็นอย่างมาก มีน้องชาย คือ อี๊ด ศิริสวัสดิ์ นอกจากนี้ยังมีตัวละครผู้หญิงอีก 4 คนที่เป็นภรรยาของสี่สหาย ได้แก่ นันทา พัชราภรณ์ - ภรรยาของ พล พัชราภรณ์ นามสกุลเดิม คือ การุณวงศ์ บุตรสาวคนโตของพระยาวิจิตรบรรณาการ (แก่น การุณวงศ์) เป็นพี่สาวของนิกร การุณวงศ์ ประไพ การุณวงศ์ - ภรรยาของ นิกร การุณวงศ์ นามสกุลเดิม คือ ศิริสวัสดิ์ บุตรสาวคนเล็กของพระยาปัจจนึกพินาศ (อู๊ด ศิริสวัสดิ์) และคุณหญิงปัจจนึกพินาศ (ประณีต ศิริสวัสดิ์) เป็นน้องสาวของประภา ณรงค์ฤทธิ์ นวลละออ ไทยแท้ - ภรรยาของ กิมหงวน ไทยแท้ นามสกุลเดิม คือ มัฆวานรังสรรค์ บุตรีของพระมัฆวานรังสรรค์ และคุณนายลิ้นจี่ มัฆวานรังสรรค์ จบเอกพละหญิงคนแรกของกรมพลศึกษา ประภา ณรงค์ฤทธิ์ - ภรรยาของ ดร.ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์ นามสกุลเดิม คือ ศิริสวัสดิ์ บุตรสาวคนโตของพระยาปัจจนึกพินาศ (อู๊ด ศิริสวัสดิ์) และคุณหญิงปัจจนึกพินาศ (ประณีต ศิริสวัสดิ์) เป็นพี่สาวของประไพ การุณวงศ์ ตัวละครที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ เชย พัชราภรณ์ (ลุงเชย) - เป็นพี่ชายของพระยาประสิทธิ์นิติศาสตร์ (ประสิทธิ์ พัชราภรณ์) มีอาชีพเป็นพ่อค้าฟืนที่อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ถึงแม้จะมีฐานะมั่นคงจากการค้า แต่ก็มีความตระหนีถี่เหนียวอย่างยากที่จะหาใครเปรียบได้ แม้แต่ตอนที่ป่วยหนักใกล้ตายก็ไม่ยอมแจ้งข่าวมาทางน้องชายจนถึงที่สุดถึงยอมส่งโทรเลขมาแค่คำว่า "หนัก" (เนื่องจากโทรเลขเก็บค่าบริการตามคำ) นอกจากนี้ ยังมีบุคลิกที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ไก่นา (ไม่ทันสมัย) เชื่อกันว่า คำว่า "เชย" ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันในความหมายเดียวกัน มาจากชื่อของตัวละครตัวนี้นั่นเอง แห้ว โหระพา หรือ ศักดิ์แห้ว โหระพากุล (เจ้าแห้ว) - เป็นคนรับใช้เก่าแก่ของบ้าน "พัชราภรณ์" เกิดในบ้านพัชราภรณ์และเป็นคนสนิทของ พล พัชราภรณ์ แห้วมักรู้เห็นเป็นใจในการเที่ยวเตร่ของเจ้านายในช่วงต้นเรื่อง แห้วซื่อสัตย์ภักดี แม้จะทะเล้น ทะลึ่ง แต่เจ้านายก็ให้ความรัก ไว้ใจให้ติดตามเสมอ แห้วเคยเข้ารบในสงคราม และร่วมผจญภัยกับคณะพรรคหลายครั้ง แห้วมีข้อเสียคือ ติดกัญชา มักโดนตำหนิลงโทษหากแอบสูบ ในตอน กระเทยสาว แห้วสงสัยในตัวของมะลิชายหนุ่มลึกลับที่เข้ามาอาศัยในบ้านจนแอบส่องดูจนได้รู้ว่ามะลิเป็นผู้หญิงจึงได้เข้าไปปลุกปล้ำ พระยาประสิทธิ์นิติศาสตร์ (ประสิทธิ์ พัชราภรณ์) - พ่อของพล เป็นคนมีนิสัยจริงจัง ค่อนข้างดุแต่ไม่ค่อยเอาจริง มีหัวอกเดียวกับเจ้าคุณปัจจนึกคือศีรษะล้านเหมือนกัน แต่ล้านน้อยกว่า เพียงระดับ "ง่ามเทโพ" เท่านั้น คือ กลางศีรษะล้าน แต่มีผมขึ้นโอบอยู่บริเวณท้ายทอย ท่านเจ้าคุณเคยรับราชการเป็นผู้พิพากษาและเกษียณอายุในตำแหน่งอธิบดีศาล และเปิดกิจการ “ห้างพัชรากรณ์” ซึ่งตอนหลังให้พลดูแลเป็นผู้จัดการ เจ้าคุณประสิทธิ์ปรากฏตัวครั้งแรกตอน "อายผู้หญิง" ถึงแก่อนิจกรรมในช่วง พ.ศ. 2508-2509 คุณหญิงประสิทธิ์นิติศาสตร์ (วาด พัชราภรณ์) - แม่ของพล เป็นคนที่รักลูกหลานมาก แม้จะสูงวัยแต่ก็กระตือรือร้นเสมอ แถมยังชอบกินหมากมาก ๆ ตอนแรก ๆ ผู้เขียนให้ชื่อเล่น ๆ ว่า ช้อย แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น วาด พระยาวิจิตรบรรณาการ (แก่น การุณวงศ์) - พ่อของนิกร การุณวงศ์ และนันทา พัชราภรณ์ มีน้องชาย คือ ช่วง การุณวงศ์ และน้องสาว คือ คุณหญิงประสิทธิ์นิติศาสตร์ (วาด พัชราภรณ์) เจ้าสัวกิมเบ๊ - พ่อของกิมหงวน ไทยแท้ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของคนแรกของห้างศิวิไลซ์พานิชย์ มีพี่ชาย คือ เจ้าสัวกิมไซ พระยานพรัตน์ไมตรี (นพ ณรงค์ฤทธิ์ หรือ ท่อก ณรงค์ฤทธิ์) - พ่อของ ดร.ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์ เจ้าสัวกิมไซ - ลุงของกิมหงวน ไทยแท้ พี่ชายของเจ้าสัวกิมเบ๊ มีบทบาทในตอน แก๊งมาเฟีย คุณนายลิ้นจี่ มัฆวานรังสรรค์ - แม่ของนวลละออ เป็นม่ายสาวพราวเสน่ห์ที่เหมือนเป็นพี่สาวนวลละออมากกว่า มีกิจการร่ำรวยที่จังหวัดเชียงใหม่มีบทบาทในตอน ชิงนาง อี๊ด ศิริสวัสดิ์ - น้องชายของพระยาปัจจนึกพินาศ (อู๊ด ศิริสวัสดิ์) มีศีรษะล้านเหมือนพี่ชาย ประกอบอาชีพค้าขายทั่วไปที่จังหวัดหนองคาย มีบทบาทในช่วงสงครามอินโดจีน ช่วง การุณวงศ์ - น้องชายของพระยาวิจิตรบรรณาการ (แก่น การุณวงศ์) เป็นน้าของพล และเป็นอาของนิกร มีบทบาทในตอน สามเกลอล่าสัตว์ คุณท้าวอนงค์นาถภักดี (คุณท้าวใหญ่) - พี่สาวของคุณหญิงวาด และเจ้าคุณวิจิตร มีนิสัยเจ้าระเบียบ เดิมผู้เขียนตั้งชื่อและให้ฐานะว่า คุณจอมแก่น ซึ่งเป็นเจ้าจอมคนหนึ่งในวัง แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น คุณท้าวใหญ่ ซึ่งมีฐานะเป็นสตรีชั้นสูงในวังแทน มีบทบาทครั้งแรกในตอน ศึกหม้ายสาว / ประชุมดารา นอกจากนี้ในยุคหลัง ผู้เขียนได้นำตัวละครคือบุตรชายของสามเกลอมาเป็นตัวละครหลัก หรือตัวละครรองร่วมกับรุ่นพ่อด้วย คือ พนัส พัชราภรณ์ - บุตรของพล พัชราภรณ์ และนันทา พัชราภรณ์ นพ การุณวงศ์ - บุตรของนิกร การุณวงศ์ และประไพ การุณวงศ์ สมนึก ไทยแท้ - บุตรของกิมหงวน ไทยแท้ และนวลละออ ไทยแท้ จินตนา ไทยแท้ - บุตรีของกิมหงวน ไทยแท้ และนวลละออ ไทยแท้ มีบทบาทในตอน ลูกสาวเสี่ยหงวน ศ.ดำรง ณรงค์ฤทธิ์ - บุตรของ ดร.ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์ และประภา ณรงค์ฤทธิ์ โดย พนัส, นพ และ สมนึก เกิดในวันเดียวกัน ในเดือน เมษายน พ.ศ. 2483 หลังจาก ดร. ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์ ได้แต่งงานกับ ประภา ศิริสวัสดิ์ และนายแพทย์ผู้ทำคลอดทั้งสาม คือ ดร. ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์ ชื่อของทั้งสามคนมีอักษรจากชื่อของพ่อแม่ ศ.ดำรงเกิดในปีหลังจากนี้ มีบทบาทร่วมกับพี่ ๆ == นวนิยาย , ภาพยนตร์ , ละครโทรทัศน์ == === รายชื่อนวนิยาย === สามเกลอ ชุดวัยหนุ่ม 21 เล่ม ดาวหางทลายโลก อาณาจักรทมิฬ ซานุกข่าน อสุรกายอวกาศ เกาะมัจจุราช จรวดถล่มเมือง เจอดารา ท่องทะเลพรายทะเล สงกรานต์เชียงใหม่ 2508 อภินิหารหลวงพ่อทวด ทาร์ซานหลงป่า ทลายซ่องมังกรแดง ไกรทองสองเกลอ === ภาพยนตร์ === สามเกลอกระยาจก - พ.ศ. 2496 นำแสดงโดย ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ดอกดิน กัญญามาลย์ สามเกลอปราบสายร้าย - พ.ศ. 2497 นำแสดงโดย สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, จุมพล ปัทมรินทร์, อบ บุญติด, ฟ้อน, ตาล กิ่งเพชร, ทานทัต สามเกลอเจอลอตเตอรี่ - พ.ศ. 2498 นำแสดงโดย ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ดอกดิน กัญญามาลย์, จุมพล ปัทมินทร์, อธึก อรรถจินดา, สมถวิล มุกดาประกร พล นิกร กิมหงวน ตอน เวทีถล่มและพิชิตเมีย - พ.ศ. 2501 นำแสดงโดย ชนินทร์ นฤปกรณ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, นคร มงคลายน, จรูญ สินธุเศรษฐ์, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, ชูศรี มีสมมนต์, งามตา ศุภพงษ์, ดอกดิน กัญญามาลย์, ล้อต๊อก, อบ บุญติด กำกับโดย วิรัช พึ่งสุนทร พล นิกร กิมหงวน ตะลุยฮาเร็ม - พ.ศ. 2502 นำแสดงโดย อมรา อัศวนนท์, ไชยา สุริยัน, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, มีศักดิ์ นาครัตน์, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, นคร มงคลายน, ศรีสุดา รัชตะวรรณ, จรูญ สินธุเศรษฐ์ กำกับโดย วิรัช พึ่งสุนทร สามเกลอเจอล่องหน - พ.ศ. 2509 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, ปรียา รุ่งเรือง, รุจน์ รณภพ, เยาวเรศ นิสากร, พูนสวัสดิ์ ธีมากร กำกับโดย ฉลวย ศรีรัตนา === ละครโทรทัศน์ === พล นิกร กิมหงวน - ช่อง 4 ประมาณปี พ.ศ. 2510 นำแสดงโดย จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ, รอง เค้ามูลคดี, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ประสาท ทองอร่าม พล นิกร กิมหงวน - ช่อง 9 ปี พ.ศ. 2518 - 2519 นำแสดงโดย นฤพนธ์ ดุริยะพันธ์, รอง เค้ามูลคดี, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สุประวัติ ปัทมสูต, กนกวรรณ ด่านอุดม, กรรณิกา ธรรมเกษร, อรวรรณ โปร่งมณี, นงนุช นามวงศ์, ปทุมวดี โสภาพรรณ, มืด กรมศิลป์, หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร ณ อยุธยา, โกร่ง กางเกงแดง, ประสาท ทองอร่าม พล นิกร กิมหงวน - ช่อง 5 ปี พ.ศ. 2524 จัดโดย กนกวรรณ ด่านอุดม นำแสดงโดย วิฑูรย์ กรุณา, รอง เค้ามูลคดี, เศรษฐา ศิระฉายา, สุประวัติ ปัทมสูต, อุทุมพร ศิลาพันธ์, มยุรา ธนะบุตร, อัญชลี ไชยศิริ, เด่นนภา พาชีทูล, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, ตรัยเทพ เทวะผลิน, ท้วม ทรนง, อำนวย ศิริจันทร์, ลุงโกร่ง กางเกงแดง, ประพันธ์ ละมูลวงศ์, จันทนา ศิริผล, จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์, มานพ แก้วมณี, สามารถ ม้ายอุเทศ กำกับการแสดงโดย สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 18.00-18.30 น. พล นิกร กิมหงวน - ช่อง 9 ปี พ.ศ. 2533 โดย ศราวุธโปรดักชั่น นำแสดงโดย สิวะ แตรสังข์, สาวิตรี สามิภักดิ์, เกรียงไกร อมาตยกุล, อลิษา ขจรไชยกุล, สุเทพ ประยูรพิทักษ์,อาภาพร กรทิพย์,เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์, จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์, พูลสวัสดิ์ ธีมากร, สินีนาฏ โพธิเวส, ธงชัย ประสงค์สันติ กำกับการแสดงโดย ฉลวย ศรีรัตนา พล นิกร กิมหงวน - ช่อง 3 ปี พ.ศ. 2538 โดยบริษัท ทีวีธันเดอร์ จำกัด นำแสดงโดย บดินทร์ ดุ๊ก, สุทธิพงษ์ วัฒนจัง , ปริญญ์ วิกรานต์, ณัฐสิมา คุปตะวาทิน, ปภัสรา ชุตานุพงษ์, กนกวรรณ บุรานนท์, วัชระ ปานเอี่ยม, สุนิตย์ นภาศรี, สุประวัติ ปัทมสูต, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์,พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, พิง ลำพระเพลิง กำกับการแสดงโดย สุประวัติ ปัทมสูตร พล นิกร กิมหงวน เดอะ มิวสิคัล - ช่องทรูโฟร์ยู ปี พ.ศ. 2557 โดยบริษัท ดรีมบอกซ์ จำกัด นำแสดงโดย จิตรคุปต์ สุนทรศิลป์ชัย, รัชพล แย้มแสง, นที เอกวิจิตร์, วรุตม์ พิทักษ์สรยุทธ, ศรัณย์ ทองปาน, อลิสซาเบธ สิทธิเจริญยศ, นิศาชล สิ่วไธสง, ภคมน บุณยะภูติ, คนึงพิมพ์ ธนพิชชากรณ์, ศุภสวัสดิ์ บุรณเวช, กุสุมา เทพรักษ์, อภิรักษ์ ชัยปัญหา, วัชรินทร์ พลอยงาม บทละครโทรทัศน์และสร้างสรรค์การแสดงโดย ดารกา วงศ์ศิริ กำกับการแสดงโดย สุวรรณดี จักราวรวุธ ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี-ศุกร์ เวลา 18.45-20.00 น. == เกร็ด == พล นิกร กิมหงวนและดิเรก ก็มียศทหารด้วย โดยพลและดิเรกในตอนท้ายของเรื่องได้เป็นถึงพลตรีส่วนนิกรและกิมหงวนได้เป็นพันเอกพิเศษ(ในตอนไปสู่อนาคตพล นิกร กิมหงวนและดิเรก มียศเป็นพลโท และพระยาปัจจนึกพินาศได้เป็นถึงจอมพล) ยศทหารสูงสุดของเจ้าแห้วคือจ่าสิบเอก(ในตอนไปสู่อนาคตได้เป็นร้อยตรี) นันทา ประไพ นวลละออและประภา ก็ได้รับยศทหารเป็นร้อยตรี(ในตอนพลร่มหญิง ) ได้มีนิตยสารสำหรับเด็ก ชื่อ "เด็กก้าวหน้า" ได้ให้คุณ ป. อินทรปาลิต เขียนเรื่อง สี่สหายลงเป็นตอนๆ เป็นเรื่องที่มีมนุษย์ต่างดาวมาลงที่เกาะร้าง โดยจะมี 2 หัวและสร้างสัตว์ยักษ์ ตอนแรกลูกสี่สหายไปปราบแต่ไม่สำเร็จ ต้องให้สี่สหายไปปราบด้วย เขียนต่อเนื่องกันหลายเล่มทีเดียว ในตอนบุกฝั่งโขงที่กิมหงวนถูกจับ กิมหงวนพูดภาษาฝรั่งเศสคล่องมาก แต่ตอนฝ่าแนวกระสุนซึ่งเป็นตอนที่สามเกลอจะหนีจากจุดที่โดนล้อม กิมหงวนกลับบอกว่าพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้เลย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองไทยขาดแคลนน้ำมันมาก สามเกลอและคณะพรรค ในสมัยนั้นบางตอน จึงหันมาขี่จักรยานราเล่ย์ แทนรถยนต์ หุ่นบ๊อบบี้ของ ดร. ดิเรก ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ภาพยนตร์ฮอลลีวู๊ดเรื่อง Forbidden Planet ซึ่งเข้าฉายในเมืองไทยในปี พ.ศ. 2499 สามเกลอตอนแรกของบรรลือสาส์น (ในตอน อภินิหารหลวงพ่อทวด) สามเกลอได้ย้ายมาเป็นทหารอากาศ (ในตอน อัศวินราบอากาศ) ห้างสี่สหายพาณิชย์ ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินกลาง (ในตอน มนุษย์เหล็ก) == สิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ == คำขวัญประจำอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ได้กล่าวถึงลุงเชย ซึ่งเป็นตัวละครตัวหนึ่งในพล นิกร กิมหงวนด้วยเช่นกัน โดยมีคำขวัญว่า "โกรกพระ สวนสวย บึงงาม สมญานามเมืองลุงเชย" == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เรื่องย่อละคร บทละคร พล นิกร กิมหงวน : บทละครโทรทัศน์ Dara.truelife งานเขียนของ ป. อินทรปาลิต หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน หัสนิยาย ภาพยนตร์ไทย ละครโทรทัศน์ไทย
thaiwikipedia
545
การระบุความเสี่ยง
การระบุความเสี่ยง (Risk Identification) คือ การระบุหมวดหมู่รูปแบบความเสี่ยง เกี่ยวกับความปลอดภัยทรัพย์สินต่างๆภายในองค์กร == แบ่งเป็นหมวดหมู่ดังนี้ == ประเภทที่เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของระบบ การวิจัยพัฒนาเรื่องความลับเกี่ยวกับทรัพย์สินขององค์กร ทรัพย์สินประเภทต่างๆ หมวดที่เกี่ยวกับสาเหตุของความเสี่ยงที่เกี่ยวกับทรัพย์สินขององค์กร ประเภทที่ถูกกำหนดให้เป็นสาเหตูพิเศษเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกโจมตีหรือมีความเสี่ยงสูง == เกณฑ์การประเมินหมวดหมู่หรือประเภทความเสี่ยงต่างๆ == การถูกโจมตีอย่างไร เสี่ยงมากแค่ไหน ลักษณะการถูกโจมตี คำนวณจากความสัมพันธ์ที่ความเสี่ยงกับสาเหตุที่เกิด ที่มีผลต่อทรัพย์สิน สำรวจ ทบทวน และพิจารณาความเป็นไปได้ในการควบคุมความเสี่ยงนั้นๆ งานหรือเอกสารที่เราค้นพบ . ตัวอย่าง ในระบบบริษัทหนึ่งๆ มีการใช้ระบบรักษาความปลอดภัย โดยแบ่งส่วนและประเภทของข้อมูลไว้เป็น 2 ชนิด คือ ส่วนที่เป็นความลับ กับส่วนที่สามารถเผยแพร่ต่อบุคคลทั่วไปได้ โดยที่ส่วนแรกถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่ต้องรักษาความปลอดภัยไว้ แต่ในทางกลับกัน ก็มีความมั่นใจมากกว่าที่ได้รักษาความปลอดภัย โดยไม่ได้อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้ามาใช้ ความรู้
thaiwikipedia
546
คุกกี้ (แก้ความกำกวม)
คุกกี้ อาจหมายถึง คุกกี้ ขนมอบชิ้นเล็ก ๆ รูปร่างแบน ซึ่งทำจากแป้งเค้ก คุกกี้ (อินเทอร์เน็ต) ไฟล์ขนาดเล็กที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต คุกกี้ (หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์) ชื่อหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ
thaiwikipedia
547
เดธโน้ต
เดธโน้ต เป็นชื่อการ์ตูนญี่ปุ่นแนวลึกลับ แต่งเนื้อเรื่องโดยสึงุมิ โอบะ และวาดภาพโดยทาเคชิ โอบาตะ ในประเทศญี่ปุ่น เดธโน้ตลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ และตีพิมพ์รวมเล่มออกจำหน่ายทั้งหมด 12 เล่ม ส่วนในประเทศไทยผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์คือ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ โดยลงตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ในนิตยสารบูม เดธโน้ตได้มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ ซึ่งสร้างโดยวอร์เนอร์ บราเธอร์ส โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือภาคแรก ในชื่อ สมุดโน้ตกระชากวิญญาณ และภาคที่สองในชื่อ อวสานสมุดมรณะ นอกจากนี้เดธโน้ตยังได้ถูกทำเป็นวิดีโอเกมของเครื่องนินเทนโดดีเอส ในชื่อ Death Note: Kira Game ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2009 นิตยสารวาไรตี้ ได้ประกาศว่าทางวอร์เนอร์บราเธอร์ส ได้รับสิทธิในการนำการ์ตูนมาดัดแปลงเป็นฉบับคนแสดงในสหรัฐอเมริกา ทางวอร์เนอร์บราเธอร์ส ได้ว่าจ้างชาร์เลย์ กับวลาส พาร์ลาพานิเดส ในการดัดแปลงมังงะลงสู่บทภาพยนตร์ ซึ่งแตกต่างจากเดธโน้ตของญี่ปุ่นฉบับคนแสดงไตรภาค โดยในเวอร์ชันสหรัฐจะดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่ในมังงะโดยตรง และจะไม่มีการดัดแปลงเค้าเรื่องแบบภาพยนตร์ของญี่ปุ่น ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2011 ได้มีการประกาศว่าเชน แบล็ค ได้รับการว่าจ้างให้กำกับภาพยนตร์ ด้วยการเขียนสคริปต์โดยแอนโธนี่ บาการอสซี่ กับชาร์ลส์ มอนดรี่ == เนื้อเรื่องย่อ == ==== ภาคแรก ==== ยางามิ ไลท์ นักเรียนม. ปลาย หัวดีอันดับหนึ่งของประเทศได้ไปพบ "บันทึกมรณะ" (เดธโน้ต) ของ ลุค ยมทูตผู้หนึ่งได้ทำให้ได้รับความสามารถพิเศษสามารถฆ่าคนได้ เพียงแค่รู้จักหน้าคนผู้นั้นแล้วเขียนชื่อลงไปในกระดาษของสมุดบันทึกเล่มนั้น โดยผู้ที่ถูกเขียนชื่อจะเกิดอาการหัวใจวาย เสียชีวิตภายในเวลา 40 วินาที ไลท์จึงตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงโลก โดยใช้เดธโน้ตฆ่าอาชญากร ผู้คนจึงขนานนามของผู้ฆ่า (ไลท์) ว่า "คิระ" (มาจากคำว่า killer ในภาษาอังกฤษ) ไม่นานนักเหตุการณ์นี้ก็บานปลาย อาชญากรพากันล้มตายจนเป็นจำนวนมาก องค์กรตำรวจโลก (ICPO) จึงจัดประชุมใหญ่ขึ้น พวกเขาประณามการกระทำของ คิระ โดยมีนักสืบผู้แก้ไขคดีต่างๆ มาแล้วมากมายให้กับองค์กรตำรวจโลก ซึ่งมีนามแฝงว่า แอล ได้ปรากฏตัวขึ้น และประกาศว่าเขาได้เริ่มสืบสวนคดีนี้แล้ว โดยมี วาตาริ ผู้ที่สามารถติดต่อกับแอลได้คนเดียวเป็นผู้ช่วย โดยแอลเองได้ท้าทายคิระ และวางแผนล่อให้คิระฆ่าคนโดยใช้ Lind.L.Tailor นักโทษประหารมาหลอกว่าเป็นแอล และกล่าวประณามว่าสิ่งที่คิระทำอยู่นี้เป็นสิ่งชั่วร้าย ทำให้ไลท์ (คิระ) โกรธมากและเขียนชื่อ Lind.L.Tailor จนหัวใจวายตายคาโทรทัศน์ แต่แอลตัวจริงก็ปรากฏตัวออกมาโดยไม่ให้เห็นชื่อเห็นหน้าและกล่าวว่าคิระโดนหลอกแล้ว ทั้งคู่ต่างก็กล่าวออกมาพร้อมกันว่า "ฉันจะหาตัวนายและจัดการนายให้ได้ เพราะฉันนี่แหละ ฝ่ายที่ถูกต้อง" ไลท์พยายามหาทางกำจัดแอลให้ได้เช่นกัน ทางแอลก็ได้ร่วมมือกับทีมงานตำรวจญี่ปุ่น ซึ่งนำโดย ยางามิ โซอิจิโร่ พยายามตามจับตัว พยายามสืบหาว่า "คิระ" คือใคร และใช้วิธีใดในการฆ่าคนเพียงแต่เห็นหน้าและทราบชื่อโดยมี วาตาริ เป็นผู้ช่วย ระหว่างนี้ แอลขอให้ทางสหรัฐฯ ส่งเอฟบีไอ เข้ามาติดตามผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคิระ ทางด้านไลท์ได้ทดสอบใช้งานโน้ต จนทราบว่าสามารถที่จะกำหนดให้บุคคลเสียชีวิตด้วยเหตุอื่นๆ และสามารถกำหนดเวลาที่จะให้เสียชีวิตได้ด้วย จนในที่สุดสามารถใช้เดธโน้ตฆ่าเอฟบีไอ ที่เข้ามาได้ทั้งหมด ทำให้แอลเริ่มมั่นใจว่า ไลท์ น่าจะเป็นคิระ และคอยดูไลท์อยู่เสมอมา เมื่อถึงวันสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไลท์ แอลก็ได้มาสอบด้วยและได้คะแนนเท่ากันทุกวิชา และแอลก็ได้ขอให้ไลท์เข้าทีมสืบสวนด้วย แต่แล้วจู่ๆ ก็มีวิดีโอเทปถูกส่งมายังสถานีโทรทัศน์ ระบุว่าตนเองคือ "คิระ" โดยสามารถฆ่าคนได้ เพียงแค่รู้จักหน้าตาเท่านั้น เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ไลท์พยายามหาทางติดต่อกับ คิระ คนนั้น จนในที่สุด ไลท์สามารถดึงตัว อามาเนะ มิสะ ซึ่งเป็นคิระเบอร์สอง มาเป็นพวกได้ในที่สุด เพราะมิสะเองได้หลงรักไลท์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ด้วยสาเหตุที่คิระได้ฆาตกรรมคนที่สังหารพ่อแม่ของมิสะไว้ และยังช่วยชีวิตของมิสะไว้อีก ต่อมาไลท์เองพยายาม ทำให้มิสะเจอกับ แอลให้ได้ ส่วนแอลเองก็เชื่อว่ามีคิระ 2 คน ดังนั้น แอลจึงออกมาพบกับไลท์เพื่อเฝ้าติดตามดูไลท์ตลอดเวลา เมื่อแอลออกมาพบกับไลท์ และบังเอิญเจอมิสะ แอลได้พบพิรุธของมิสะ พร้อมกับพบหลักฐานบางส่วนที่มิสะใช้ทำวิดีโอเทปปลอม จึงจับกุมตัวมิสะในทันที ในฐานะคิระหมายเลข 2 ทำให้ไลท์ไม่สามารถใช้มิสะในการกำจัดแอลได้ สุดท้าย เรม (ยมทูตที่ติดตาม มิสะ) ได้ยึดความเป็นเจ้าของโน้ตคืนจากมิสะ และคิดจะฆ่าไลท์ หากไลท์ไม่สามารถช่วยมิสะออกมาได้ เหตุการณ์ไม่คาดคิดนี้เอง ทำให้ไลท์ต้องวางแผนสุดท้ายในการกำจัดแอล โดยมีเรนมาช่วยด้วยอีกแรง โดยแผนการในครั้งนี้ ทำให้ไลท์ต้องเสียสิทธิ์ในการครอบครองเดธโน้ต ต้องกลับมาเป็นคนธรรมดา เพื่อช่วยแอลสืบหาตัวคิระ โดยให้เรมนำโน้ตของมิสะไปให้หนึ่งในผู้บริหาร 8 คนของบริษัทโยทสึบะ เพื่อเป็นคิระคนใหม่แทนมิสะ โดยเป็นตัวร่วมในแผนการของไลท์เองในครั้งนี้ การร่วมมือระหว่างแอลกับไลท์ ในการตามจับตัวคิระดำเนินไปจนถึงขั้นสุดท้าย จนสามารถจับตัวคิระหนึ่งในผู้บริหารบริษัทโยทสึบะ และยึดโน้ตมาได้สำเร็จ จึงทำให้แอลเห็นยมทูตและรู้วิธีการฆ่าในที่สุด เมื่อไลท์ได้แตะโน้ตอีกครั้ง ทำให้ความทรงจำคืนมาทั้งหมด และแอบเขียนโน้ตที่ซ่อนไว้ในนาฬิกาฆ่าคิระ (ฮิงุจิ เคียวสึเกะ) หนึ่งในผู้บริหารบริษัทโยทสึบะเพื่อปิดปาก โดยแม้ว่าหลักฐานจะสรุปว่าคิระได้ตายไปแล้ว แต่แอลก็ไม่ลดละความพยายามในการพิสูจน์ว่า ไลท์ คือคิระ และมิสะ คือคิระหมายเลขสอง ทำให้เรมซึ่งกลัวว่ามิสะจะต้องถูกจับในฐานะคิระหมายเลขสองต้องทำอะไรบางอย่างในที่สุด ซึ่งก็คือการที่เรมได้เขียนชื่อของวาตาริและแอลลงไปในเดธโน้ต เมื่อเป็นการต่อชีวิตให้กับมนุษย์ เรมจึงต้องตาย โดยทุกคนหารู้ไม่ว่า ทุกอย่างเป็นแผนการทั้งหมดของไลท์ที่วางไว้ตั้งแต่แรกแล้ว ต่อมา แอลและวาตาริก็ได้จากไปด้วยอาการหัวใจวาย ==== ภาคสอง ==== หลังจากแอล และ วาตาริ ตายไปไม่นาน เครื่องคอมพิวเตอร์ของ วาตาริ ได้ทำการส่งข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับคดีคิระไปที่แห่งหนึ่งซึ่งนั่นก็คือสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ซึ่งก่อตั้งโดย ควิลล์ แวมมี่ เป็นเจ้าของ และมี โรเจอร์ เป็นผู้ดูแลอยู่ ก็ทำให้ทราบว่า วาตาริ เป็นเจ้าของบ้านเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งนี้ เนียร์ และ เมลโล ก็อยู่ในระหว่างการคัดเลือกว่า ใครจะมาแทนแอล ซึ่ง เมลโล รู้ตัวว่าเป็นรอง เนียร์ จึงออกจากบ้านเด็กกำพร้า และหาทางสืบเรื่องคิระ ตามวิธีของตน เพื่อที่จะแสดงให้คนอื่นเห็นว่า ตนเองมีความสามารถ และไปเข้ากับพวกองค์กรมาเฟียระดับโลก โดยยื่นเงื่อนไขในการจัดการคิระให้ เพื่อพวกมาเฟียจะไม่ถูกคิระเขียนชื่อลงในเดธโน้ต ส่วนทาง เนียร์ ได้นำข้อมูลทั้งหมดไปให้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และขอให้จัดสรรทีม SPK (Special Provision For Kira) เพื่อสืบคดีคิระต่อ ยางามิ ไลท์ ก็สืบทอดตำแหน่งการตามจับคิระต่อไปในร่างของแอล โดยเข้าไปทำงานด้านข้อมูลของกรมตำรวจ ทางเมลโลกับพวกมาเฟียได้จับผู้บัญชาการตำรวจของญี่ปุ่นมาเพื่อสอบถามข้อมูลของเดธโน้ต แต่ผู้บัญชาการตำรวจก็ตายด้วยน้ำมือของไลท์ ต่อมาเมลโลวางแผนจับตัว ยางามิ ซายุ มาต่อรองการแลกโน้ตจาก ยางามิ โซอิจิโร่ หลังจากเมลโลแลกโน้ตกับซายุแล้ว ได้ทำการศึกษาเดธโน้ต และเริ่มทดลองการใช้โน้ต ระหว่างนี้ทางเนียร์เองได้ติดต่อกับแอล หมายเลขสอง (ยางามิ ไลท์) เพื่อร่วมกันแย่งเดธโน้ตคืนจากเมลโล สุดท้ายได้รับความร่วมมือจาก ชีโดว์ ยมทูตซึ่งเป็นเจ้าของโน้ตเล่มแรกที่แท้จริง (โน้ตที่ได้จากลุคเล่มแรก) โดยการแย่งคืนโน้ตครั้งนี้ แม้ว่าจะสามารถแย่งโน้ตคืนมาได้ รวมถึงรู้ชื่อที่แท้จริงของเมลโล แต่ก็ต้องทำให้พ่อของไลท์ (ยางามิ โซอิจิโร่) ต้องเสียชีวิตไป และ เมลโล ก็หนีไปได้ ต่อมาไม่นาน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เสียชีวิตลงโดยฝีมือของ คิระ เหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ล้มเลิกความคิดที่จะสืบหาตัวคิระ และมายืนอยู่ฝ่ายเดียวกับคิระจนทำให้หน่วย SPK ของเนียร์ต้องถูกปิดลง แต่ทางเนียร์กับพวกที่เหลืออีก 3 คนต่างไม่ยอมล้มเลิกการตามหาตัวคิระ และได้ใช้เงินกองทุนของแอล ในการดำเนินการสืบหาคิระต่อไป ต่อมาเมลโลได้ติดต่อกลับมาทางเนียร์ผ่านทาง ริโดน่า สมาชิก 1 ใน 3 ของ SPK ที่ยังทำงานกับเนียร์ และเล่าเรื่องเดธโน้ตที่รู้ให้เนียร์ฟังก่อนจะจากไป ในตอนนั้นเนียร์เองก็เริ่มสงสัยในตัวไลท์ หรือแอล หมายเลข 2 โดยเริ่มติดต่อกับคนในทีมของไลท์ 2 คน คือ โมงิ กับ ไอซาวะ และอนุญาตให้โมงิมาพบเนียร์ได้ ตอนนั้นไลท์ซึ่งต้องการจัดการเนียร์อยู่แล้ว จึงซ้อนแผนไปอีกทีหนึ่ง ทำให้ที่อยู่ของเนียร์ถูกค้นพบและถูกทำลายลง แต่เนียร์และสมาชิกทีม SPK ทั้ง 3 คน ก็หนีรอดออกมาได้ การกระทำและการเฝ้าจับตาดูแอลหมายเลขสอง ของเนียร์ ทำให้ไลท์ทำหน้าที่คิระไม่ได้ และจำเป็นต้องหาตัวแทนขึ้นมา สุดท้ายจำเป็นต้องเลือก มิคามิ เทรุ มาเป็นตัวแทนคิระ มิคามิยอมแลกเปลี่ยนดวงตายมทูต เพราะศรัทธาในตัวคิระเมื่อตอนที่โฆษกซากุระทีวีตาย มิคามิได้เลือกโฆษกคนใหม่ ซึ่งก็คือ ทาคาดะ คิโยมิ แฟนของไลท์สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เมื่อไลท์ได้พบกับทาคาดะ ก็แสดงความรักต่อทาคาดะ และสารภาพกับทาคาดะไปว่าเขาคือ คิระ ทางทาคาดะเองซึ่งศรัทธาในการกระทำของคิระอยู่แล้ว บวกกับชอบพอในตัวไลท์มาก่อน จึงทำให้ตอบตกลงช่วยเหลือไลท์ในทันที ซึ่งทำให้ไลท์สามารถใช้งานทาคาดะ เป็นตัวกลางระหว่างติดต่อกับมิคามิ โดยทุกครั้งที่ไลท์นัดเจอกับทาคาดะ ไลท์จะติดเครื่องดักฟังเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ในทีมคนอื่นสงสัย แต่อาศัยการเขียนความต้องการลงในกระดาษเพื่อเป็นการสื่อสารกับทาคาดะแทน ทาคาดะ ซึ่งเป็นคนเดียวที่สามารถติดต่อกับคิระได้ ทำให้เธอมีสิทธิ์อยู่เหนือคนธรรมดาทั่วไป ในเวลานั้นทางมิคามิเองก็ฆ่าคนอื่นไปตามคำสั่งของไลท์ ที่ส่งผ่านมาทางทาคาดะ ต่อมาทาคาดะได้จ้างบอดี้การ์ด 4 คนเพื่อคุ้มกันตัวเธอเองหนึ่งในนั้นคือ ริโดน่า สมาชิก SPK ซึ่งทาคาดะไม่รู้ว่าเนียร์ส่งริโดน่าให้มาจับตาดูเธอ ส่วนทางไอซาว่าที่ติดต่อกับเนียร์ ก็เริ่มจับตาดูไลท์เป็นระยะ และเริ่มมั่นใจว่าไลท์คือคิระ แต่ก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้ ทางเนียร์เริ่มสงสัยในตัวมิคามิ และสั่งให้เจวานนี่ตามเฝ้ามิคามิตลอด จนในที่สุดเจวานนี่สามารถเข้าถึงเดธโน้ตที่อยู่ในมือมิคามิได้สำเร็จ และถ่ายรูปข้อความทั้งหมดในเดธโน้ตกลับมาให้เนียร์ แต่หลักฐานนั้นยังไม่พอที่จะสาวไปถึงตัวไลท์ได้ เพราะไลท์ไม่ได้ติดต่อกับทางมิคามิโดยตรง มีทางเดียวคือต้องให้ไลท์เป็นคนยอมรับเองว่าเป็นคิระ ทางเนียร์จึงให้เจวานนี่ติดตามมิคามิต่อไป รวมถึงตัวเองก็คิดหาทางจัดการกับคิระไปด้วย โดยหารู้ไม่ว่าทั้งหมดอยู่ในแผนของไลท์ ที่วางเอาไว้แล้ว เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว และมั่นใจเต็มที่ว่าไลท์คือคิระ ทางเนียร์จึงได้นัดกับไลท์ออกมาพบกันเพื่อมาพิสูจน์ในครั้งสุดท้าย ส่วนไลท์เองก็หาโอกาสกำจัดเนียร์มานาน ในเมื่อเนียร์เป็นฝ่ายนัดมาเองก็ยินดียิ่ง เพราะจะเป็นโอกาสจัดการทุกคนในทีเดียว โดยจะเจออีกครั้งใน 3 วันให้หลัง โดยเนียร์จะพาทีม SPK ซึ่งประกอบด้วย เลสเตอร์ โจวานนี่ และริโดน่า ไปทั้งหมด และไลท์เองก็พาทีมอันประกอบด้วย โมงิ ไอซาว่า อิเดะ และ มัตสึดะ ทั้งหมด ไปนัดเจอกันที่โกดังร้างแห่งหนึ่ง เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว ต่างก็ยุติการเคลื่อนไหวทั้งสิ้น แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อเมลโลลักพาตัวทาคาดะไป แต่ท้ายที่สุด เมลโลก็ต้องตายโดยฝีมือของทาคาดะ โดยทาคาดะเขียนชื่อจริงของเมลโลลงในเศษกระดาษเดธโน้ต ที่ไลท์ได้ให้ไว้ก่อนหน้านี้ (ไลท์ ได้เคยบอกชื่อ และให้ดูรูปตอนเด็กของ เมลโล แก่ทาคาดะ ไว้ก่อนแล้ว) หลังจากทราบว่าเมลโลได้ตายแล้ว ไลท์ต้องการทำลายหลักฐานทั้งหมด ระหว่างเดินทางไปรับตัวทาคาดะ จึงได้เขียนชื่อทาคาดะลงเดธโน้ต และใส่สาเหตุการตายว่าฆ่าตัวตาย โดยการเผาร่างตัวเองพร้อมวัตถุใกล้ตัว แม้จะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้การนัดพบของทั้งเนียร์และไลท์ต้องยกเลิก เพราะต่างฝ่ายต่างวางแผนของตนไว้อย่างดีแล้ว เมื่อถึงวันนัด ทั้งสองมาพบกัน ต่างฝ่ายก็มั่นใจว่าต่างเตรียมตัวมาดีแล้ว สุดท้ายแผนการเปิดโปงตัวจริงของคิระจากเนียร์ ที่วางไว้ถูกซ้อนแผนโดยไลท์ โดยมีมิคามิเป็นตัวร่วมในครั้งนี้ และการตายของเมลโลในคราวนั้น กลับช่วยเนียร์ซ้อนแผนกลับไปที่ไลท์ได้อีกครั้ง และช่วยทำให้ทุกคนรอดตายจากน้ำมือของไลท์ได้ในที่สุด โดยประโยคที่ไลท์พูดว่าตนชนะแล้ว คือคำสารภาพว่าคือคิระ ทำให้ไลท์ดิ้นไม่หลุดจากหลักฐานทั้งหมด หลังจากถูกเปิดโปงได้ว่าไลท์คือคิระ ส่งผลให้ไลท์ต้องพยายามหาทางเกลี้ยกล่อมคนทุกคน โดยเนียร์หาว่าไลท์นั้นแค่ฆาตรกรที่หลงในอำนาจของโน้ตจนเพ้อว่าคือพระเจ้า และทางไลท์หาวิธีกำจัดเนียร์ ส่วนมิคามิก็ถูกรวบตัวไป ไลท์เมื่อรวบรวมสติได้ก็ตั้งใจจะเขียนชื่อเนียร์ลงบนเศษของโน้ตที่ซ่อนอยู่ในนาฬิกา กับคิดหาทางฆ่าเนียร์กับทุกคน แต่มัตสึดะเห็นเสียก่อน จึงยิงใส่มือไลท์ตรงๆ แล้วบอกว่า "ไลท์เป็นคนทำให้พ่อของตัวเอง (ยางามิ โซอิจิโร่) ตาย" โดยไลท์ก็ดูถูกพ่อตัวเอง มัตสึดะก็โกรธยิงไลท์เข้าไปหลายนัด แต่พวกทีมสืบสวนญี่ปุ่นก็ห้ามมัตสึดะไว้ทัน ไลท์รอดตายแต่สาหัสจนหมดสภาพ พยายามดิ้นรนขอให้ มิคามิเขียนชื่อทุกคน แต่มิคามิถูกจับอยู่พูดดูถูกไลท์ แถมโน้ตที่อยู่กับตัวก็เป็นของปลอม ทั้งยังเรียกชื่อมิสะกับทาคาดะ แต่มิสะลืมเรื่องโน้ตไปแล้ว ส่วนทาคาดะก็เสียชีวิตไปแล้ว ไลท์เห็นลุค คือความหวังสุดท้าย จึงขอร้องลุค แต่ลุคเขียนชื่อไลท์กับบอกว่าสนุกมาพอแล้ว กับถ้าไลท์ติดคุกก็น่าเบื่อ ไลท์ขอร้องลุคกับคิดในหัวว่าไม่อยากตายจวบจนวินาทีสุดท้าย ก็เสียชีวิตเพราะหัวใจวายตายในโกดัง แล้วจากนั้นเนียร์ก็เผาเดธโน้ตทั้งหมดทั้งของจริงกับปลอม เพื่อยืนยันเรื่องกฏปลอม มิคามิที่ลืมเรื่องเดธโน้ตถูกจับไปคุมขังในที่ลับ พอผ่านไป 10 วันก็คลั่งจึงฆ่าตัวตายไปจนปิดคดีไป ส่วนมิสะที่ลืมเรื่องทุกอย่างไป มัตสึดะ เผลอบอกมิสะในวันถัดไปหลังปัดคดีว่าไลท์ตาย มิสะเศร้าเสียใจจึงฆ่าตัวตายไปอีกที (ในฉบับอนิเมะ ตอนไลท์ขอร้องมิคามิ มิคามิจึงเจาะเอาเลือดของตัวเองมาเขียนลงเศษเดธโน้ตของไลท์แต่ไม่สำเร็จ ความดันเลือดที่มากขนาดนี้ทำให้เขาตาย ไลท์เดินโซซัดโซเซหนีไปได้สักระยะหนึ่งกับซ่อนตัวไม่ให้ใครรู้แล้วก็ถูกลุคเขียนชื่อในเดธโน้ตจนเสียชีวิต) ผ่านมาเป็นเวลา 1 ปี โลกกลับสู่สภาพเดิมก่อนที่จะมีคิระมาพิพากษา ไอซาว่าคือผู้นำได้ทีมสืบสวนของญี่ปุ่น, เนียร์ คือ L(คนที่ 3) นำหน่วย SPK ที่อยู่ในเตุการณ์นั้น 3 คน, โรเจอร์คือวาตาริช่วยL และ แล้วทุกคนในเหตุการณ์สุดท้ายของคิระนั้นทำการสืบคดีเรื่องการค้ายาเสพติด ทุกสิ่งทุกอย่างกลับเป็นปกติ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีลัทธินึงคือกลุ่มคนที่รวมตัวกัน ยังคิดว่าคิระแค่หยุดพักไปเท่านั้น และยังเชื่อกันอยู่ว่าสักวันคิระจะกลับมา โดยมีสาวเป็นแกนนำ ==== ตอนพิเศษหลังตอนจบ ==== 3 ปีหลังจาก ยางามิ ไลท์ หรือ คิระ เสียชีวิต จนปิดคดีไป ได้มีการตายเกิดขึ้นในหมู่คนชราที่ญี่ปุ่น โดยอันดับการอายุยืนของญี่ปุ่นจากอันดับ 1 ตกเป็นที่ 6 คิระคนใหม่ เน้นฆ่าแต่คนชราที่ปรารถนาจะตายให้พ้นจากป่วยเจ็บไข้กับโรคร้าย จึงมีเรื่องถกเถียงกันมาก ทางตำรวจญี่ปุ่นติดต่อเนียร์ไม่ได้ ทางเนียร์ก็ตั้งชื่อให้ว่า C-Kira = Cheap kira แปลว่าคิระราคาถูก กับบอกทั้งเหตุผลที่ทำไมตนกับเมลโล คือ ผู้สืบทอดของ L กับคิดหาวิธีในแบบของตน ทางพวกยมทูตที่ยมโลกสงสัยลุคสร้างคิระอีก แต่ลุคก็บอกว่าเป็นฝีมือของยมทูตเพศเมียอีกคนที่ชื่อว่ามิโดระ โดยไปต่อรองของเดธโน้ตแลกกับแอปเปิ้ล 13 ลูก จากการเล่าของลุคที่ว่าแอลเปิ้ลในโลกมนุษย์นั้นอร่อยมาก ทางโลกมนุษย์อัตราอายุของคนชราจาก 65 เหลือเพียง 60 ปี ทางรายการทีวี ออกอากาศรายการอาณาจักรคิระอีกครั้ง ถกเรื่องการตายหมู่ของคนแก่จนเกิดวุ่นวาย ทำให้คนที่อยากตายโผล่ออกรายการ จนตายจริง แสดงให้เห็นว่า C-Kira มีดวงตายมทูต ทางเนียร์มายึดการออกอากาศโดยไม่เห็นหน้ากับรายงานไปว่าไม่สนใจเรื่องนี้ ให้ตำรวจญี่ปุ่นรับผิดชอบกันเอง ซึ่งพวกตำรวจต่างก็มีใจในการสืบสวนก็พยายามกันเอง ซึ่งเนียร์พูดดูถูกลงท้าย ใส่คนร้ายว่า ไอ้ฆาตรกรชั่วช้า จากนั้นทางยมโลก มิโดระกลับมาหาลุค กับบอกว่าหลังจากตอนนั้น มนุษย์ที่เป็นเจ้าของเดธโน้ต หลังจากถูกเนียร์ด่าใส่ นั่งเหม่อลอยไป 3 วันแล้วเขียนชื่อตัวเองลงโน้ตเพื่อฆ่าตัวตายจนเสียชีวิต ลุคจึงบอกกับมิโดระว่าสิ่งสำคัญของมนุษย์ที่ใช้เดธโน้ตคือกำลังใจที่ศรัทธาอันแรงกล้า แต่มนุษย์ที่ใช้นั้นมันจิตใจอ่อนแอเกินไปถึงได้ฆ่าตัวตาย มิโดระที่เจ็บใจจึงยกเดธโน้ตกับแอปเปิ้ลให้ลุค โดยลุคก็รู้สึกสนใจในมนุษย์ที่เขียนชื่อตัวเองลงไป เห็นเป็นเรื่องตลก ====ตอนหลังจากนั้น==== ปี 2013 หลังจบคดี C-Kira มิโดระยกโน้ตให้ลุค ทางลุคอยากกินแอปปเปิ้ลจึงไปโลกสร้างคิระ ปี 2017 โรงเรียนญี่ปุ่นแห่งนึง นร.ม.ต้น ชื่อ ทานากะ มิโนรุ อัจฉริยะ 3 ปีติดต่อกัน แต่ไร้แรงจูงใจ ลุคไปมอบโน้ตให้มิโนรุ จนรู้ว่าแท้จริงคือ เด็กเรียนไม่เก่งอ่านอังกฤษไม่ออก แต่IQ สูง ยุคนี้มีกล้องวงจรปิด กับคนที่มองเห็นลุคผ่านสื่อTV มีแค่พวกทีมตำรวจญี่ปุ่นกับFBI และ L ที่ 3(เนียร์) ในคดีคิระ เท่านั้น พอมิโนรุรู้เรื่องคิระกับรัศมีของยมทูต จึงคืนโน้ตใหห้ลุคกับสัญญาว่าให้นำกลับมาในอีก 2 ปีข้างหน้า เดือน พค 2019 ลุคคืนโน้ตให้มิโนรุ จนมิโนรุกลับมาจำได้ เริ่มแผน ให้ลุคไปสถานีทีวี เขียนภาษาญี่ปุ่นโดยกระดาษกับปากกาของสถานี กับบอกข้อความออกสื่อขายโน้ต จนทั่วโลกปั่นป่วน ผู้นำประเทศต่างคิดซื้อขายกันโดยเงินราคาสูงๆ L ตั้งชื่อว่า A-kira คิดหาทางแต่ทำไม่ได้ เพราะว่าขายอาวุธแต่ไม่ได้ใช้ฆ่าคน จับแต่ตอนซื้อขายรับของเท่านั้น พอใกล้สิ้นสุดการซื้อขาย ยมทูตที่ชื่อ อาร์โมเนียร์ จัสติน มาเรียกตัวให้ลุคกลับไปหาราชายมทูต กับอเมริกาซื้อโน้ตราชา 10ล้านล้าน ดอลลาร์ กับเงินถูกจ่ายผ่านบัญชีของคนที่ขึ้นทะเบียนของธนาคาร โยทสึบะในโตเกียวทุกคน อายุ 60 ปีลงไป ในวันที่ 24 พค 2019 เฉลี่ยแบ่งให้คนละ 1 พันล้านเยน ทาง L ยอมแพ้ มิโนรุคืนโน้ตให้กีบบอกห้ามลุคกลับมาอีก ทางลุคมอบให้ประธานาธบดีสหรัฐกับบอกกฏใหม่คือ ใครซื้อขายโน้ตทั้งผู้ซื้อกับคนรับเงินจะต้องตาย แต่ถ้าคนซื้อไม่รับโน้ต แม้ไม่ตายแต่ไม่ได้เงินคืน ประธานาธิบดีจึงไม่รับโน้ต กับจะหลอกสื่อว่ามีโน้ตแต่ไม่ใช้มัน จึงไม่ตาย ทางมิโนรุพอลืมเรื่องโน้ตไปรับเงินก็หัวใจวายตายคาตู้ATM เพราะกฏใหม่ ซึ่งลุคคือคนเขียน(เพราะวิธีที่มิโนรุใช้แบบอ้อมๆโดยไม่เขียน ทำให้อายุขัยของคนญี่ปุ่นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับเงินจึงฆ่าตัวตายปั่นปวนไปหมด) == ตัวละคร == รพีพงศ์ เปรื่องปรัชญ์ ธนกฤต ภูริวัฒน์ ลภัสลดา(แฟนตาย) นภัสนัน ณิชกุล สุขธัช (ตายห่าตายโหง) ใครมันเขียนอะ คือ??? == มีเดีย == ==== มังงะ ==== ==== ภาพยนตร์ฉบับคนแสดง ==== ==== ซาวด์แทรค ==== ===รายชื่อซาวด์แทรค 1=== "Death Note" "Death Note Theme" "Kyrie" "Domine Kira" "Teleology of Death" "Low of Solipsism" "Requiem" "Immanence" "Dirge" "Light Lights Up Light" "Alert" "The World (TV Size)" / Nightmare / Nightmare ==== ไลท์โนเวล ==== ไลท์โนเวลดัดแปลงเรื่องราวในซีรีส์ได้เขียนขึ้นโดยนิชิโอะ อิชิน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เดธโน้ตอนาเธอร์โน้ต: คดีฆาตกรรมต่อเนื่องของ BB ณ ลอสแอนเจลิส (アナザーノート — ロサンゼルスBB連続殺人事件) นิยายได้รับการเปิดตัวโดยสำนักพิมพ์ชูเอชะ ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าฉบับมังงะ ==== อนิเมะ ==== ==== วิดีโอเกม ==== วิดีโอเกมเดธโน้ตได้รับการพัฒนาและจัดจำหน่ายโดยโคนามิสำหรับเครื่องเล่นระบบนินเทนโด ดีเอส โดยใช้ชื่อว่า เดธโน้ตคิระเกม (デスノート キラゲーム; Death Note Kira Game) ซึ่งได้จัดจำหน่ายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 คิระเกม เป็นวิดีโอเกมกลยุทธ์ ซึ่งผู้เล่นจะรับบทเป็นคิระ หรือแอล ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใช้ตัวละครใดก็จะอนุมานให้อีกฝ่ายคือศัตรู (คิระพยายามที่จะเปิดโปงตัวตนของแอล และเป็นในทางกลับกัน) เกมนี้จะเล่นในสามขั้นตอน คือ การตรวจสอบ ที่ผู้เล่นจะพิจารณาเกี่ยวกับกรณีและปมด้วยตัวละครอื่นๆ, การลงคะแนน == การตอบรับ == ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 เดธโน้ตทำยอดจำหน่ายได้ยี่สิบล้านเล่มในญี่ปุ่น วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2008 คอมิเพรสรายงานว่าสิบสองเล่มจากชุดดังกล่าวทำยอดจำหน่ายได้ 26,500,000 เล่ม ==== การสั่งห้ามในสาธารณรัฐประชาชนจีน ==== ต้นค.ศ. 2005 เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนในเฉิ่นหยาง เมืองหลวงของมณฑลเหลียวหนิง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ได้ทำการแบนเรื่องเดธโน้ต สาเหตุมาจากการที่นักเรียนได้ดัดแปลงให้สมุดบันทึกมีลักษณะคล้ายกับเดธโน้ต แล้วเขียนชื่อของคนรู้จัก, ศัตรู และครูผู้สอนลงในสมุด การแบนมาจากแผนเพื่อป้องกันด้านร่างกายและจิตใจ ของนักเรียนจากสิ่งอันเลวร้ายที่ส่งผลให้คนเข้าใจผิดและบิดเบือนความคิดกับจิตใจของพวกเขา โจนาธาน เคลเมนส์ ได้ชี้ให้เห็นว่าทางการจีนได้ดำเนินการบางส่วนกับความเชื่อด้านไสยศาสตร์ แต่มีส่วนผิดกฎหมายของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เดธโน้ต การแบนได้ขยายไปยังเมืองอื่นๆของจีนรวมถึงกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้กับหลานโจวในมณฑลกานซู ส่วนการจัดพิมพ์เวอร์ชันภาษาจีนโดยชอบด้วยกฎหมายมีในฮ่องกงและไต้หวัน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Death Note official website Shueisha's Death Note manga official website Official anime website Viz Media's Death Note website Madman Entertainment's Death Note website Death Note at Wikia เดธโน้ต การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2549 การ์ตูนญี่ปุ่นแนวรหัสคดี คู่แข่งสมมุติ แมดเฮาส์
thaiwikipedia
548
เว็บไซต์
เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่าง ๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของเว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น == ประวัติการพัฒนาเว็บไซต์และซอฟต์แวร์ == การจัดทำเว็บไซต์ สามารถสร้างเว็บไซต์โดยใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับการออกแบบและการใช้งาน สร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น HTML, ASP, PHP, JAVA ฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่อยู่ภายใน จะเป็นภาพ ข้อความ เสียง ไฟล์วิดีโอต่าง ๆ หรือปัจจุบันจะก้าวข้ามไปเป็น WEB 3.0 ที่ถูกเขียนด้วยภาษาใหม่ๆ เช่น Phyton, React Native หรือภาษาอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อพัฒนานาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บแอปพลิเคชัน บล็อกเชน == อ้างอิง == สื่อดิจิทัล
thaiwikipedia
549
พะยูนแมนนาที
พะยูนแมนนาที บางทีเรียก พะยูนหางกลม หรือ วัวทะเล (Manatee, Sea cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยในน้ำขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง สัตว์ในวงศ์ Trichechidae ต่างจากสัตว์ในวงศ์ Dugongidae หรือพะยูนตรงรูปร่างของกะโหลกศีรษะและรูปร่างของหาง โดยหางของพะยูนแมนนาทีจะมีรูปร่างแบนกลมคล้ายใบพาย ส่วนหางของพะยูนจะแยกออกเป็นส้อมคล้ายหางโลมา แมนนาทีเป็นสัตว์กินพืชซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาอาหารกินในเขตน้ำตื้น รวมถึงอาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำจืดที่ไกลจากทะเล 300 กิโลเมตรได้ด้วย โดยคำว่า "แมนนาที" (manatí) มาจากภาษาตีโน ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในแถบแคริบเบียน หมายถึง "เต้านม" เขตอาศัยของพะยูนแมนนาทีได้แก่ พื้นที่หนองน้ำตื้นแถบชายฝั่งของอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และทะเลแคริบเบียน พะยูนแมนนาทีชนิด Trichechus senegalensis (พะยูนแมนนาทีแอฟริกาตะวันตก หรือ พะยูนแมนนาทีเซเนกัล) อยู่อาศัยแถบชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ส่วนชนิด T. inunguis (พะยูนแมนนาทีแอมะซอน) อยู่อาศัยแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งได้แก่ T. manatus (พะยูนแมนนาทีอินเดียตะวันตก หรือ พะยูนแมนนาทีแคริบเบียน) อยู่อาศัยแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันตกในทะเลแคริบเบียน สำหรับแมนนาทีฟลอริดานั้น นักสัตวศาสตร์บางส่วนถือว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ระบบไอทีไอเอสจัดให้พะยูนแมนนาทีฟลอริดาเป็นชนิดย่อยของ T. manatus และปัจจุบันถือเป็นที่ยอมรับทั่วไปพะยูน แมนนาทีฟลอริดามีลำตัวยาว 4.5 เมตรหรือมากกว่านั้น และอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ในอดีตพะยูนแมนนาทีฟลอริดาเคยถูกล่าเพื่อเอาน้ำมันและหนัง แต่ปัจจุบันสัตว์ชนิดนี้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายให้พ้นจากการถูกล่า พะยูนแมนนาทีอินเดียตะวันตกเป็นหนึ่งในกลุ่มสัตว์ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แม้มันจะไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติ แต่การขยายดินแดนของมนุษย์ทำให้ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติแถบบึงน้ำตื้นชายฝั่งของมันลดลง พะยูนแมนนาทีจำนวนมากยังได้รับบาดเจ็บจากการถูกใบพัดเรือบาด อีกทั้งพะยูนแมนนาทียังมักกินอุปกรณ์ตกปลาที่มนุษย์ทิ้งไว้ เช่นเบ็ดหรือตุ้มถ่วงเข้าไปบ่อย ๆ วัตถุแปลกปลอมเหล่านี้โดยมากจะไม่ทำอันตรายแก่พะยูนแมนนาที ยกเว้นแต่สายเบ็ดหรือเอ็นตกปลา ซึ่งจะเข้าไปอุดตันระบบย่อยอาหารของพะยูนแมนนาที และทำให้มันค่อย ๆ ตายอย่างช้า ๆ พะยูนแมนนาทีมักมารวมกันอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าซึ่งน้ำในแถบนั้นจะมีอุณหภูมิสูงกว่าที่อื่น จนกระทั่งกลายเป็นการพึงพิงแหล่งน้ำอุ่นที่มนุษย์สร้างขึ้นนี้ไปในที่สุด โดยไม่ยอมอพยพไปยังแหล่งที่น้ำอุ่นกว่าเนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะให้ความร้อนตลอดทั้งปี ไม่นานมานี้ โรงไฟฟ้าหลายแห่งได้ปิดตัวลง กรมคุ้มครองสัตว์น้ำและสัตว์ป่าของสหรัฐอเมริกาซึ่งทราบถึงการพึ่งพิงแหล่งน้ำอุ่นของพะยูนแมนนาที จึงได้พยายามหาหนทางที่จะเพิ่มอุณหภูมิของน้ำเพื่อช่วยพะยูนแมนนาที == ดูเพิ่ม == พะยูน ==อ้างอิง== สัตว์ในอันดับ Sirenia กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม Save the Manatee Club is a Charitable organization founded by singer/song writer Jimmy Buffett in 1981 leading worldwide efforts to protect manatees and manatee habitat Florida Fish and Wildlife Conservation Commission Reuters: Florida manatees may lose endangered status A website with many manatee photos == แหล่งข้อมูลอื่น == A coalition of scientists studying and saving manatees around the world USGS/SESC Sirenia Project Report on Florida manatees by primary school students สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล มแนะที
thaiwikipedia
550
สารานุกรม
สารานุกรม (encyclopedia) คือเรื่องคัดย่อที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับการรวบรวมความรู้จากทุกสาขาวิชาหรือจากสาขาวิชาหนึ่งสารานุกรมแบ่งออกเป็นบทความหรือรายการที่มักเรียงตามตัวอักษรของชื่อบทความ และบางทีอาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามแก่นเรื่อง แต่ละบทความในสารานุกรมมักยาวและละเอียดกว่าในพจนานุกรม กล่าวได้ว่าบทความในสารานุกรมเน้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ ต่างกับพจนานุกรมที่มักเน้นเกี่ยวกับข้อมูลทางภาษาศาสตร์เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ความหมาย การอ่าน การใช้ และรูปแบบตามหลักไวยากรณ์ สารานุกรมที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopædia Britannica) สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการตีพิมพ์ ตีพิมพ์ฉบับแรกในภาษาอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2311–2314 (ค.ศ. 1768–1771) ในเมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์และจำหน่ายในฉบับซีดี สารานุกรมสามารถเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ดังที่ปรากฏในสารานุกรมที่มีชื่อเสียง สารานุกรมบริเตนนิกาในภาษาอังกฤษและสารานุกรมบร็อกเฮาส์ (Brockhaus) ในภาษาเยอรมัน หรือสารานุกรมอาจจะเป็นเรื่องราวเฉพาะทางเช่น สารานุกรมเกี่ยวกับ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หรืออาจจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มชน และขณะที่บางสารานุกรมจัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่นสารานุกรมสำหรับเยาวชน ที่จะมีเนื้อหาที่อ่านง่าย และเข้าใจง่าย สารานุกรมจะใช้การจัดเรียงหัวข้อ 2 ลักษณะ คือ เรียงตามอักขระ และ เรียงตามกลุ่มเนื้อหา ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีได้มีการนำสารานุกรมมาจัดเก็บในรูปแบบใหม่รวมถึงการจัดเรียงลำดับข้อมูล ดังตัวอย่างเช่นโครงการวิกิพีเดีย และ เอชทูจีทู (h2g2) เพื่อให้การใช้งานสารานุกรมง่ายต่อการใช้งาน สารานุกรมเป็นคำสมาสจากคำ สาร และ อนุกรม มีความหมายรวมว่า สาระ หรือ เรื่องราว ซึ่งมีการจัดเรียงเป็นลำดับ หมวดหมู่ คำว่าสารานุกรมในภาษาอังกฤษ คือ Encyclopedia หรือ Encyclopædia ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก εγκύκλιος παιδεία (enkyklios paideia; "in a circle of instruction") จากคำว่า εγκύκλιος หมายถึง circuit shaped. โดย κύκλος หมายถึง circuit และ παιδεία หมายถึง instruction คำว่า Encyclopedia นี้บางครั้งก็ใช้ว่า Cyclopaedia ซึ่งให้ความหมายเหมือนกัน ==ดูเพิ่ม== สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == สารานุกรม
thaiwikipedia
551
ภาษามองโกเลีย
ภาษามองโกเลีย เป็นภาษาทางการของประเทศมองโกเลีย และเป็นภาษาหลักของชาวมองโกเลียส่วนใหญ่ ซึ่งผู้พูดส่วนใหญ่จะพูดสำเนียงฮัลฮ์ (Халх) เป็นมาตรฐานนอกจากนี้ ภาษามองโกเลียก็พูดในพื้นที่รอบนอกในบางมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหพันธรัฐรัสเซีย ภาษามองโกเลีย เป็นภาษารูปคำติดต่อคล้ายภาษาตุรกีหรือภาษาฟินแลนด์ มีการเติมปัจจัยที่รากศัพท์ ภาษามองโกเลียมีเพียงสรรพนามบุรุษที่หนึ่งและสอง แต่ไม่มีบุรุษที่สาม แต่ใช้สรรพนามชี้เฉพาะ เช่น นี่ (энэ) นั่น (тэр) นี่ทั้งหลาย (эд нар) และนั่นทั้งหลาย (ted nar) แทน == การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ == ภาษามองโกเลียเป็นภาษาประจำชาติของประเทศมองโกเลีย มีผู้พูดราว 2.5 ล้านคน และยังเป็นภาษาราชการในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในในประเทศจีนที่มีผู้พูดประมาณ 2.7 ล้านคนหรือมากกว่า ยึดสำเนียงชาฮาร์เป็นมาตรฐาน แต่จำนวนผู้พูดภาษานี้ที่แน่นอนในจีนประเมินได้ยาก นอกจากนี้แล้วมีผู้พูดภาษามองโกเลียสำเนียงต่างๆในมณฑลเหลียวหนิง มณฑลจี๋หลิน และมณฑลเฮย์หลงเจียงในบริเวณที่ติดต่อกับมองโกเลียในด้วย == การจัดจำแนกและสำเนียง == ภาษามองโกเลียจัดเป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกล ซึ่งสมาชิกในกลุ่มนี้รวมทั้งภาษามองโกลคามนิกันและภาษาดากูร์ ที่ใช้พูดทางตะวันออกของมองโกเลียและในซินเจียงอุยกูร์ ภาษาชิรายูกูร์ ภาษาบอนัน ภาษาต้งเซี่ยง ภาษามองเกอร์ และภาษากังเจีย ที่ใช้พูดในบริเวณชิงไห่และกานซู และอาจรวมถึงภาษาโมโฆลที่เป็นภาษาตายไปแล้วในอัฟกานิสถาน เส้นแบ่งระหว่างการเป็นสำเนียงและเป็นภาษาเอกเทศภายในกลุ่มภาษามองโกลยังเป็นที่โต้เถียงกัน สำเนียงฮัลฮ์ถือเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษามองโกเลีย แต่การกำหนดสำเนียงย่อยยังมีความเห็นต่างกัน Sanžeev (1953) เสนอว่าภาษามองโกเลียมี 3 สำเนียงคือ ฮัลฮ์ ชาฮาร์ และออร์ดอส ส่วนบูร์ยัตและออยรัตเป็นภาษาเอกเทศ Luvsanvandan (1959) เสนอต่างไปว่าภาษามองโกเลียประกอบไปด้วยกลุ่มสำเนียงกลาง (ฮัลฮ์ ชาฮาร์ ออร์ดอส) กลุ่มสำเนียงตะวันออก (ฮาร์ชิน ฮอร์ชิน) กลุ่มสำเนียงตะวันตก (ออยรัต ฮัลมิก) และกลุ่มสำเนียงเหนือ (ภาษาบูร์ยัตทั้งสองสำเนียง) นักวิชาการตะวันตกบางกลุ่มแยกภาษาออร์ดอสออกมาเป็นภาษาเอกเทศ ในมองโกเลียใน แบ่งภาษามองโกเลียเป็น 3 สำเนียงคือ สำเนียงมองโกเลียใต้ สำเนียงออยรัต และสำเนียงบาร์ฆู-บูร์ยัต == คำยืม == ในสมัยโบราณ ภาษามองโกเลียมีคำยืมจากภาษาเตอร์กิกโบราณ ภาษาสันสกฤตผ่านทางภาษาอุยกูร์ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาทิเบต ภาษาตุงกูสิก และภาษาจีน คำยืมในยุคปัจจุบันมาจากภาษารัสเซีย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนโดยเฉพาะในมองโกเลียใน == ระบบการเขียน == การเขียนภาษามองโกเลียมีความหลากหลาย อักษรมองโกเลียที่พัฒนามาจากอักษรอุยกูร์พัฒนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ต่อมา ระหว่าง พ.ศ. 2473 – 2475 มีการเขียนภาษามองโกเลียด้วยอักษรละตินเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิก ในช่วง พ.ศ. 2531 – 2534 มีความพยายามฟื้นฟูอักษรมองโกเลียมาใช้อีกแต่ล้มเหลว ในมองโกเลียใน สาธารณรัฐประชาชนจีน ภาษามองโกเลียเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาจีนกลาง ใช้อักษรมองโกเลีย เคยใช้อักษรซีริลลิกก่อนจะเกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต == ประวัติ == ภาษามองโกเลียโบราณเป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาที่เป็นบรรพบุรุษของภาษามองโกเลีย เอกสารภาษามองโกเลียพบครั้งแรกในจารึกยิซุงเก ซึ่งเขียนด้วยอักษรมองโกเลีย อายุราว พ.ศ. 1767 – 1768 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 – 20 ภาษามองโกเลียเขียนด้วยอักษร 4 ชนิดคือ อักษรมองโกเลียที่พัฒนามาจากอักษรอุยกูร์ อักษรพักปา อักษรจีนและอักษรอาหรับ นักวิชาการบางคนเรียกภาษามองโกเลียที่เขียนด้วยอักษรสามชนิดหลังว่าภาษามองโกเลียยุคกลาง ภาษามองโกเลียคลาสสิกเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 24 ซึ่งเป็นภาษาเขียนที่มีมาตรฐานในการสะกดคำและการเรียงประโยค และมีความแตกต่างจากภาษามองโกเลียสมัยใหม่ ใน พ.ศ. 2229 อักษรสวยัมภูซึ่งใช้สำหรับเอกสารทางพุทธศาสนาได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น มองโกเลีย มองโกเลีย มองโกเลีย มองโกเลีย มองโกล มองโกเลีย
thaiwikipedia
552
ทอมัส เอดิสัน
ทอมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน ทอมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟ และสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย เอดิสันยังคงเป็นบุคคลสำคัญในสงครามกระแสไฟฟ้า (War of Currents) โดยเอดิสันพยายามผลักดันระบบไฟฟ้ากระแสตรงของบริษัท แข่งกับระบบไฟฟ้ากระแสสลับของจอร์จ เวสติงเฮาส์ (George Westinghouse) โดยพนักงานในบริษัทของเขาได้โฆษณาชวนเชื่อความอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับโดยการฆ่าหมาแมวเป็นจำนวนหลายตัวอีกเช่นกัน == เอดิสันในวัยเด็ก== ทอมัส เอดิสัน เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1847 เขาเป็นลูกคนที่ 7 และคนสุดท้าย โดยตัวเอดิสันเองมีเชื้อสายดัตช์ ในช่วงที่อยู่ในโรงเรียน เอดิสัน เป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ในโบสถ์ มีนักเรียนเพียง 48 คน มีครูเพียงสองคนคือ นายและนางเอ็งเกิล (Engle) แต่ด้วยความที่เอดิสันมีนิสัยสนใจในสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เนื้อหาในตำราคร่ำครึ สิ่งที่เขาสนใจถามครูจึงไม่ใช่เรื่องที่ครูสอน แต่เป็นเรื่องนอกตำรา นายและนางเอ็งเกิล จึงมักเรียกเขาว่าเป็นเด็กที่หัวขี้เลื่อย เมื่อมารดาทราบเรื่อง จึงไปพูดคุยกับคุณครูที่โรงเรียน หลังการพูดคุย เอดิสันต้องออกจากโรงเรียน โดยมารดาของเขาจะเป็นผู้สอนเอดิสันด้วยตนเอง หลังจากเข้าโรงเรียนได้ 3 เดือนเท่านั้น เอดิสันชื่นชอบหนังสือนอกเวลาเล่มหนึ่งซึ่งมีภาพและเนื้อหาการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้อ่านทดลองเองได้ เขามีความสนใจที่จะทำการทดลองในหนังสือ ใน ค.ศ. 1857 พ่อและแม่ของเขาจึงสร้างห้องใต้ดินเพื่อให้เอดิสันได้ทำการทดลองต่าง ๆ ในหนังสือ และเขาก็ได้ทำการทดลองมากมายในห้องใต้ดินนั้น เอดิสันมีปัญหาด้านการได้ยินเป็นผลมาจากไข้ดำแดงที่เขาเป็นในช่วงวัยเด็กและไม่ได้รับการรักษา ทำให้หูชั้นในของเขาติดเชื้อทำให้เขามีลักษณะเกือบจะเป็นหูหนวก ต่อมาในขณะที่ได้ทำการทดลองในรถไฟและทำให้เกิดเพลิงไหม้ในรถไฟ เขาถูกพนักงานรถไฟตบเข้าที่หูทำให้หูเขาใช้การไม่ได้ และถูกโยนออกมาจากรถไฟพร้อมกับเครื่องมือและสารเคมีต่าง ๆ ของเขา ซึ่งเขาเองได้บอกกับผู้อื่นว่าหูของเขามีปัญหา เนื่องจากเขาได้ร่วมงานกับพนักงานรถไฟในการขับเคลื่อนตัวรถ แต่พนักงานรถไฟดึงหูของเขาทำให้เขาประสบอุบัติเหตุ ครอบครัวของเอดิสันได้ย้ายมายังเมืองพอร์ตฮิวรอนในรัฐมิชิแกนหลังจากที่ทางรถไฟสายใหม่ได้ตัดทางลัดและไม่ผ่านเมืองไมเลินที่เขาอาศัยอยู่ ทำให้ธุรกิจของที่บ้านเริ่มซบเซาลง เขาได้เริ่มขายลูกอม หนังสือพิมพ์ และผักบนรถไฟจากพอร์ตฮิวรอนที่วิ่งมายังเมืองดีทรอยต์ เขาได้ทำการศึกษาการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และการทดสอบทางเคมีหลายอย่างในระหว่างที่ทำงานอยู่ในรถไฟ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุและถูกไล่ลงจากรถไฟ เมื่อเขาสิทธิในการขายหนังสือพิมพ์บนถนน เขาได้พิมพ์หนังสือพิมพ์ในชื่อ แกรนด์ทรังก์เฮรัลด์ (Grand Trunk Herald) ด้วยความช่วยเหลือจากพนักงานอีก 4 คน ซึ่งเขาได้ขายหนังสือพิมพ์ของเขาพร้อมกับหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ซึ่งจุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเจ้าของธุรกิจของเขาที่เขาได้เริ่มต้นการเป็นนักธุรกิจ ที่สุดท้ายทำให้เขามีบริษัท 14 แห่ง รวมไปถึง เจเนอรัลอิเล็กทริก บริษัทมหาชนด้านไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก == ประวัติด้านอื่น == ค.ศ. 1863 เอดิสันเข้าเป็นพนักงานส่งโทรเลข เขาเปลี่ยนบริษัทบ่อยมาก ในปีเดียว เขาเปลี่ยนบริษัททำงานถึง 4 ครั้ง ตามสถานที่ต่าง ๆ ในอเมริกาและแคนาดา ค.ศ. 1864 เขาประดิษฐ์เครื่องบันทึกการนับคะแนน และยื่นขอจดสิทธิบัตร แต่เครื่องนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน ค.ศ. 1869 เขาเดินทางไปยังนิวยอร์ก และเปิดบริษัทวิศวกรไฟฟ้าขึ้น บริษัทนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ เจริญรุ่งเรือง ค.ศ. 1871 สร้างอาคารซึ่งเปิดเป็นโรงงานและศูนย์วิจัยในตัวขึ้นและในปีนั้น เขาพบรักและแต่งงานกับ แมรี สติลเวลล์ (Mary Stilwell) ผู้มีอายุน้อยกว่าเอดิสันถึง 8 ปี และ ในปีนั้น แนนซีผู้เป็นมารดาของเอดิสัน เสียชีวิตลงในวัย 61 ปี ค.ศ. 1876 สร้างอาคารโรงงานและศูนย์วิจัยใหม่ที่เมนโลพาร์ก (Menlo Park) รัฐนิวเจอร์ซีย์ และเริ่มลงมือประดิษฐ์โทรศัพท์ แต่ (อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์)(North Alexander Graham Bell) คิดค้นขึ้นได้ก่อน ค.ศ. 1877 เอดิสันประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้น และฉายา พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก ก็ได้มาจากการที่เขาประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงนี้ ค.ศ. 1878 เอดิสันเริ่มศึกษาค้นคว้าคิดจะทำหลอดไฟ เพราะไฟส่องสว่างในสมัยนั้นสามารถก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย ค.ศ. 1879 ประดิษฐ์หลอดไฟไส้คาร์บอนสำเร็จ และเริ่มออกแบบสวิตช์เปิด-ปิดหลอดไฟให้ติดตั้งในบ้านเรือนได้ง่าย นับเป็นจุดเริ่มต้นของหลอดไฟบนโลกใบนี้ ค.ศ. 1880 เปลี่ยนไส้หลอดไฟจากคาร์บอนเป็นไม่ไผ่ญี่ปุ่น เพราะหลอดคาร์บอน ส่องสว่างได้นาน 40 ชั่วโมง แต่หลอดไม้ไผ่ญี่ปุ่น ส่องสว่างได้นานถึง 900 ชั่วโมง ค.ศ. 1882 สร้างโรงจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นที่นิวยอร์ก และเริ่มประกาศเทคโนโลยีหลอดไฟให้เป็นที่รู้จัก ค.ศ. 1883 เขาประดิษฐ์หลอดไฟรุ่นใหม่ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปได้ ทำให้หลอดไฟแพร่กระจายไปตามจุดต่าง ๆ ของโลกเร็วขึ้น ค.ศ. 1884 แมรี ภรรยาของเขาเสียชีวิตลงด้วยโรคไทฟอยด์ในวัย 29 ปี ค.ศ. 1886 เอดิสันแต่งงานใหม่กับมินา มิลเลอร์ (Mina Miller) ผู้มีอายุน้อยกว่าเอดิสันถึง 19 ปี ค.ศ. 1891 ประดิษฐ์เครื่องถ่ายภาพตัดต่อสำเร็จ บันทึกภาพเคลื่อนไหว ซึ่งนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์ ค.ศ. 1893 สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก ค.ศ. 1894 ภาพเคลื่อนไหวเรื่องแรกของโลกถูกสร้างขึ้น มีชื่อว่า "บันทึกการจาม" แต่ยังไม่มีเสียง ค.ศ. 1896 บิดาของเอดิสันเสียชีวิตลงในวัย 92 ปี และในปีนั้น เอดิสันรู้จักกับ เฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) ซึ่งต่อมาทั้งคู่ก็เป็นเพื่อนซี้กัน ค.ศ. 1898 เริ่มประดิษฐ์แบตเตอรี่ และประดิษฐ์สำเร็จใน ค.ศ. 1909ใช้เวลานานถึง 11 ปี ค.ศ. 1912 เกิดการใช้เครื่องถ่ายภาพตัดต่อและเครื่องบันทึกเสียงพร้อมกัน ทำให้เกิดเป็น "ภาพยนตร์" ที่มีทั้งภาพและเสียง หลังจากนั้น เขาถูกนักข่าวรุมถามเสมอว่า เอดิสันคิดอย่างไรกับการที่คนทั่วไปเรียกเขาว่าอัจฉริยะ เขาตอบว่า คำว่าอัจฉริยะในความคิดของผม ประกอบด้วยพรสวรรค์เพียง 1% ส่วนอีก 99% มาจากความพยายาม หลังจากนั้น เอดิสันใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน และเสียชีวิตในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1931 ด้วยโรคเบาหวาน และไตวาย ในขณะที่เขามีอายุ 84 ปี ที่เวสต์ออเรนจ์ (West Orange) รัฐนิวเจอร์ซีย์ == ผลงาน == เอดิสัน นั้นกล่าวได้ว่าเป็นนักประดิษฐ์ที่มีผลงานมากที่สุดในยุคนั้น เขามีสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ภายใต้ชื่อของเขาเป็นจำนวนถึง 1,093 ชิ้น สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นขึ้นมาเอง แต่เป็นการพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิมที่คิดค้นขึ้นโดยลูกจ้างของเขา เพราะเหตุนี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ในเรื่องการอ้างผลงานเป็นของตัวแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งปันให้กับผู้คิดค้นดั้งเดิม นอกจากสิทธิบัตรของเขาซึ่งมีอยู่ทั่วโลกแล้ว เอดิสันก็ยังได้ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ ภายใต้ชื่อ Edison Trust ในความเป็นจริงแล้ว เอดิสันไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าตามที่คนทั่วไปเข้าใจแต่อย่างใด หลักการของหลอดไฟฟ้าถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้โดยนักประดิษฐ์หลายท่าน เช่น จูเซ็ปป์ สวอน (Juseph Swan) หรือ ไฮน์ริช เกอเบิล (Heinrich Goebel) อย่างไรก็ตามเอดิสันได้คำนึงถึงการนำหลอดไฟฟ้าไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง โดยเอดิสันได้ทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟฟ้ายาวนานพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายในบ้านเรือนหรือร้านค้า นอกจากนั้นเอดิสันยังได้สร้างระบบผลิตและแจกจ่ายไฟฟ้าอีกด้วย นิตยสารไลฟ์ (Life) ได้ยกย่องให้เอดิสันเป็นหนึ่งใน "100 คนที่สำคัญที่สุดในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมา" == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ ชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแคนาดา ชาวอเมริกันเชื้อสายสกอตแลนด์
thaiwikipedia
553
นีออน
นีออน (neon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Ne และเลขอะตอม 10 นีออนเป็นก๊าซเฉื่อย เป็นสมาชิกหมู่ที่ 8 ของตารางธาตุ เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใด ๆ และเกิดแสงเรืองสีแดงเมื่อใช้ในหลอดสุญญากาศ (vacuum discharge tube) กับไฟนีออน และพบในปริมาณเล็กน้อยในอากาศ (หนึ่งใน 55,000 ส่วน) ได้จากการนำอากาศเหลวมากลั่นลำดับส่วนและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใด ๆ เลย == การค้นพบ == นีออนค้นพบโดย Sir William Ramsay และ M.W. Travers ถูกค้นพบที่ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1898 เป็นเศษส่วนที่ระเหยง่ายจากอาร์กอนเหลว ณ อุณหภูมิที่อากาศกลายเป็นของเหลว ส่วนอาร์กอนนั้นเป็นแก๊สเล็กน้อยที่เหลืออยู่เมื่อนำแก๊สไนโตรเจนจากอากาศมาทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมที่เผาจนร้อนแดง คำว่า Neon มาจากคำกรีก neos ตรงกับคำอังกฤษ new แปลว่าใหม่ และต่อมาพวกเขาค้นพบธาตุซีนอนโดยใช้วิธีการที่คล้ายกัน == การใช้ประโยชน์ == การใช้ประโยชน์ของนีออนในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญที่สุดได้แก่ กลไกการทำให้เกิดแสงสว่าง และที่คุ้นเคยมากที่สุดคือหลอดนีออนที่ใช้เป็นไฟโฆษณา หลอดเรืองแสง (fluorescence lamp) หลอดนำแก๊ส (gaseous conduction lamp) หลอดไฟที่บรรจุด้วยนีออนที่ความดันต่ำมาก (เพียงไม่กี่ mm Hg) ให้แสงส้มแดงที่สว่าง ส่วนหลอดไฟนีออนที่ใช้เป็นไฟโฆษณาอาจบรรจุด้วยแก๊สอื่นด้วย เช่น ฮีเลียม อาร์กอนหรือปรอท และสีของแสงไฟขึ้นกับชนิดของแก๊สผสมและสีของแก้วของหลอดไฟ นอกจากนี้แล้วหลอด Geiger-Muller ที่ใช้ในการจับและนับอนุภาคนิวเคลียร์ ก็บรรจุด้วยของผสมของนีออนและโบรมีน หรือของผสมของนีออนและคลอรีน Ionization chambers, proportional counters, neutron fission counter, scintillation counters และ cosmic ray counters ก็อาจใช้นีออน อาร์กอน ฮีเลียม หรือของผสมของแก๊สเหล่านี้กับไฮโดรคาร์บอน เฮโลเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สเลเซอร์ (gas lasers) ก็ใช้ของผสมของฮีเลียมและนีออน นีออนที่ใช้ในหลอดสุญญากาศใช้เป็นตัวชี้วัดไฟฟ้าแรงสูง ดักฟ้าผ่าหลอดเมตรคลื่นหลอดโทรทัศน์ นีออนเหลวถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นสารทำความเย็น อุณหภูมิในการใช้งานไม่จำเป็นต้องอุณหภูมิต่ำ และทั้งก๊าซนีออนและนีออนเหลวค่อนข้างมีราคาแพง เนื่องจากธาตุนีออนค่อนข้างจะมีอยู่น้อยในธรรมชาติ == ความเป็นพิษ == นีออนไม่ติดไฟและไม่ปรากฏเป็นพิษแต่อย่างใด == ข้อเท็จจริง == คิดเป็นร้อยละ 0.0018 ของชั้นบรรยากาศของโลกเป็นนีออน แม้ว่ามันจะเป็นธาตุที่ค่อนข้างหายากบนโลกของเรา แต่นีออนเป็นองค์ประกอบที่มีมากที่สุด ลำดับที่ที่ห้าในจักรวาล ธาตุนีออนไม่มีสารประกอบที่มีเสถียรภาพ == ออกซิเดชันสามัญ ของธาตุนีออน == == อ้างอิง == ธาตุเคมี วัสดุศาสตร์ แก๊สมีสกุล
thaiwikipedia
554
ประเทศฟีจี
ฟีจี (Fiji, ; Viti, ; ฮินดีฟีจี: फ़िजी) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟีจี (Republic of Fiji; Matanitu ko Viti; ฮินดีฟีจี: फ़िजी गणराज्य) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งของโอเชียเนีย ตั้งอยู่ห่างจากประเทศนิวซีแลนด์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1,100 ไมล์ทะเล (2,000 กิโลเมตร) ฟีจีประกอบด้วยกลุ่มเกาะมากกว่า 330 เกาะ ในจำนวนนี้มีผู้อยู่อาศัยถาวรประมาณ 110 เกาะ และยังมีเกาะเล็กอีกกว่า 500 เกาะ รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 18,300 ตารางกิโลเมตร กลุ่มเกาะที่อยู่ห่างไกลที่สุดคือ Ono-i-Lau ประชากรประมาณ 87% ของประชากรฟีจีทั้งหมด 898,760 คนอาศัยอยู่บนเกาะหลักเพียง 2 เกาะ ได้แก่วีตีเลวูและวานูอาเลวู โดยประชากรกว่า 75% อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งรอบเกาะวีตีเลวู ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงฟีจี ซูวา รวมทั้งศูนย์กลางเมืองขนาดเล็ก เช่น นาดี ที่ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักในท้องถิ่น และเลาโตกา ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านอุตสาหกรรมอ้อย ส่วนพื้นที่ชั้นในของเกาะมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างเบาบางเพราะมีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา หมู่เกาะส่วนใหญ่ของฟีจีมีกำเนิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่เริ่มตั้งแต่ราว 150 ล้านปีก่อน ปัจจุบันยังคงพบความเคลื่อนไหวของความร้อนใต้พิภพบางส่วนบนเกาะวานูอาเลวูและตาเวอูนี ส่วนระบบความร้อนใต้พิภพที่พบบนเกาะวีตีเลวูไม่ได้มีแหล่งกำเนิดมาจากภูเขาไฟและมีการปลดปล่อยพื้นผิวที่มีอุณหภูมิต่ำอยู่ระหว่าง 35 ถึง 60 องศาเซลเซียส มนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ในฟีจีมาตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสตกาล โดยมนุษย์กลุ่มแรกเป็นชาวออสโตรนีเซีย ต่อมาจึงเป็นชาวเมลานีเซียที่ได้รับอิทธิพลบางส่วนจากชาวพอลินีเชีย ชาวยุโรปเดินทางมาถึงฟีจีครั้งแรกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในปี ค.ศ. 1874 อังกฤษได้สถาปนาอาณานิคมแห่งฟีจีขึ้นมาหลังจากที่ฟีจีได้เป็นอาณาจักรอิสระในช่วงสั้น ๆ ในช่วงที่มีกษัตริย์ท้องถิ่นปกครองอยู่ ฟีจีได้รับการบริหารในฐานะอาณานิคมในพระองค์จนถึงปี ค.ศ. 1970 จากนั้นจึงได้รับเอกราชและเป็นที่รู้จักกันในชื่อฟีจีในเครือจักรภพ ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง จนปี ค.ศ. 1987 รัฐบาลทหารที่ยึดอำนาจได้ประกาศให้ฟีจีเป็นสาธารณรัฐ การรัฐประหาร ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) พลเรือจัตวาแฟรงก์ ไบนิมารามาได้ทำการยึดอำนาจ ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 ศาลสูงฟีจีได้ออกคำตัดสินว่าผู้นำที่เป็นทหารนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นประธานาธิบดีราตู Josefa Iloilo ซึ่งเป็นผู้ที่กองทัพแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 1997 และแต่งตั้งนายไบนิมารามาขึ้นเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในปีเดียวกัน ราตู Epeli Nailatikau ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากนาย Iloilo วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2014 มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปตามระบอบประชาธิปไตยขึ้นหลังจากที่ล่าช้าไปหลายปี โดยพรรค FijiFirst ของนายไบนิมารามาชนะไปด้วยคะแนนเสียง 59.2% ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจากประเทศอื่นลงความเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีความน่าเชื่อถือ ฟีจีเป็นประเทศหนึ่งที่มีเศรษฐกิจพัฒนามากที่สุดในภูมิภาคแปซิฟิก หมู่เกาะของฟีจีอุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุ และแหล่งประมง สกุลเงินที่ใช้คือดอลลาร์ฟีจี แหล่งที่มาหลักของการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การส่งเงินกลับของชาวฟีจีที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ การส่งออกน้ำดื่มบรรจุขวด และอ้อย กระทรวงการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาเมืองเป็นผู้กำกับดูแลการปกครองระดับท้องถิ่นของฟีจีซึ่งอยู่ในรูปแบบสภานคร (city) และสภาเมือง (town) == ชื่อ == ที่มาของชื่อ "ฟีจี" (Fiji) มาจาก "วีตีเลวู" (Viti Levu) เกาะหลักของประเทศฟีจี ซึ่งการออกเสียงภาษาอังกฤษได้อิงตามการออกเสียงของชาวตองงาซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะเพื่อนบ้านของฟีจี รายงานอย่างเป็นทางการฉบับหนึ่งเกี่ยวกับกำเนิดของชื่อระบุว่า ชาวยุโรปรู้จักชาวฟีจีครั้งแรกจากบันทึกของสมาชิกคณะสำรวจของเจมส์ คุก ที่ได้พบกับชาวฟีจีในตองงา ชาวฟีจีได้รับการบรรยายว่าเป็นนักรบที่น่าเกรงขาม เป็นมนุษย์กินคนผู้ดุร้าย เป็นผู้สร้างเรือที่ดีที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ไม่ใช่นักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ พวกเขาสร้างความเกรงขามให้กับชาวตองงา เครื่องมือที่สร้างโดยชาวฟีจีโดยเฉพาะผ้าที่ทำจากเปลือกไม้และกระบองล้วนมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการมาก ชาวฟีจีเรียกถิ่นที่อยู่ของตนว่า วีตี (Viti) แต่ชาวตองงาเรียกมันว่า ฟีซี (Fisi) การออกเสียงโดยผู้คนต่างชนเผ่านี้เป็นที่มาของชื่อ ฟีจี (Fiji) ที่กัปตันเจมส์ คุกได้ประกาศใช้ครั้งแรกและทำให้เกาะเหล่านี้เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน "Feejee" (ฟีจี) เป็นการสะกดแบบอังกฤษของการออกเสียงภาษาตองงาที่พบได้ในบันทึกและงานเขียนต่าง ๆ จากทั้งมิชชันนารีและนักเดินทางที่ได้ไปเยือนฟีจีจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 == ภูมิศาสตร์ == ประเทศฟีจีอยู่ห่างจากฮาวายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 5,100 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียประมาณ 3,150 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างประเทศวานูอาตูและตองงา กลุ่มเกาะของฟีจีตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 176° 53′ ตะวันออกและ 178° 12′ ตะวันตก เส้นเมริเดียนที่ 180 องศาที่ถูกกำหนดให้เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากล ลากผ่านตาเวอูนี เกาะใหญ่อันดับสามของฟีจีพอดี ทำให้มีการปรับเบี่ยงเส้นแบ่งเขตวันสากลออกจากแนวเส้นเมริเดียนเพื่อให้กลุ่มเกาะฟีจีทั้งหมดใช้เขตเวลาเดียวกัน (UTC+12) (รวมทั้งกลุ่มเกาะใกล้เคียงอื่น ๆ อีกหลายแห่ง) กลุ่มเกาะฟีจีตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 15° 42′ และ 20° 02′ ใต้ ยกเว้นโรตูมา เกาะเหนือสุดของประเทศฟีจี ซึ่งตั้งอยู่ที่พิกัด 12° 30′ ใต้ ห่างจากกลุ่มเกาะฟีจีไปทางทิศเหนือ 220 ไมล์ทะเล (410 กม.) และห่างจากซูวา 360 ไมล์ทะเล (670 กม.) ฟีจีมีเกาะทั้งหมด 332 เกาะ ในจำนวนนี้ 106 เกาะมีผู้อาศัยอยู่ และมีเกาะเล็กอีก 522 เกาะ มีพื้นที่รวมกันทั้งสิ้น 18,274 ตารางกิโลเมตร (เล็กกว่าจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งมีพื้นที่ 19,483 ตร.กม.) เกาะสำคัญที่สุดสองเกาะคือ วีตีเลวู (10,388 ตร.กม.) และวานูอาเลวู (5,587 ตร.กม.) มีพื้นที่รวมกันเป็น 75% ของพื้นที่เกาะทั้งหมด เกาะหลายแห่งมีสภาพเป็นภูเขาและมีป่าเขตร้อนหนาแน่น จุดสูงสุดของฟีจีคือยอดเขาเมาท์โตมานีวี (Mount Tomanivi) บนเกาะวีตีเลวู มีความสูง 1,324 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เกาะวีตีเลวูเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงฟีจี ซูวา บนเกาะนี้แห่งเดียวมีประชากรอาศัยอยู่แล้วถึง 3 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ เมืองสำคัญแห่งอื่นบนเกาะได้แก่ นาดี เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติ และเลาโตกา เมืองท่าสำคัญ เมืองสำคัญบนเกาะวานูอาเลวูได้แก่ ลาบาซา (Labasa) และซาวูซาวู (Savusavu) เกาะใหญ่อันดับที่สามและสี่คือ ตาเวอูนี (Taveuni, 434 ตร.กม.) และคาดาวู (Kadavu, 411 ตร.กม.) ตามลำดับ ห่างออกไปไม่ไกลจากชายฝั่งเมืองนาดีเป็นกลุ่มเกาะที่มีชื่อว่า ยาซาวา (Yasawa Group) ถัดออกไปทางทิศเหนือมีกลุ่มเกาะมามานูกา (Mamanuca) กลุ่มเกาะทั้งสองแห่งนี้เป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยว ถัดออกไปทางทิศตะวันออกของเกาะวีตีเลวูมีกลุ่มเกาะโลไมวีตี (Lomaiviti) และลาอู (Lau) ที่อยู่ไกลออกไป เหนือสุดของฟีจีเป็นที่ตั้งของเกาะโรตูมา มีสถานะเป็นเขตบริหารพิเศษ และไกลออกไปกว่า 250 ไมล์ทะเล (460 กม.) ทางตะวันตกเฉียงใต้จากกลุ่มเกาะหลักของฟีจี เป็นที่ตั้งของพืดหินใต้น้ำเทวาอีรา (Ceva-i-Ra) ฟีจีมีเขตภูมินิเวศ (ecoregion) สองประเภทได้แก่ ป่าดิบชื้นเขตร้อนฟีจีและป่าดิบแล้งเขตร้อนฟีจี == ประวัติศาสตร์ == ฟีจีมีชนพื้นเมืองอาศัยกระจัดกระจายอยู่บนเกาะต่าง ๆ มาราว 3,500 ปีมาแล้ว ชนพื้นเมืองมักต่อต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน ต่อมาคาโคบาอูซึ่งเป็นหัวหน้าของชนเผ่าหนึ่งสามารถรวบรวมชนเผ่าต่างๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ฟีจี ต่อมาได้มีผู้ค้นพบหมู่เกาะ และ ดินแดนฟีจี เป็นนักสำรวจชาวเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์) ที่มีชื่อว่า เอเบล ทัชแมน (ค.ศ. 1603 - 1659) ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กิจการค้ารองเท้าในดินแดนแห่งนี้มีได้รับความนิยมสูง จนเป็นเหุตให้มีชาวยุโรปจากประเทศต่าง ๆ เข้ามายังฟีจีเป็นจำนวนมากเพื่อแสวงหาทรัพยากร ประกอบกับความต้องการทำไร่ต้องเช่าที่ดินจากชนพื้นเมือง และ จ้างแรงงานภายนอกชาวอินเดียจำนวนมากมาทำไร่ ผลจากความละโมบเป็นชนวนเหตุของความวุ่นวายจากการก่อจลาจล และไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ประกอบกับแรงกดดันจากมหาอำนาจชาติต่าง ๆ เพื่อให้เหตุจลาจลครั้งนี้สงบลง ฟีจีต้องยอมเข้าเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) ในยุคอาณานิคมมีความพยายามในการปกป้องกรรมสิทธิ์ในการที่ดินและปกป้องการใช้แรงงานชนพื้นเมือง == การเมืองการปกครอง == ระบบรัฐสภา ระบบสองสภา ประกอบด้วยวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง == การแบ่งเขตการปกครอง == === ภาคกลาง (ซูวา) === จังหวัดไนทาซิลิ 1,666 ตารางกิโลเมตร จังหวัดนาโมซิ 570 ตารางกิโลเมตร จังหวัดเรมา 272 ตารางกิโลเมตร จังหวัดเซรัว 830 ตารางกิโลเมตร จังหวัดไทเลวู 755 ตารางกิโลเมตร === ภาคเหนือ (ลาบาซา) === จังหวัดบัว 1,379 ตารางกิโลเมตร จังหวัดคากัวเดรฟ 2,816 ตารางกิโลเมตร จังหวัดมาคัวตา 2,008 ตารางกิโลเมตร === ภาคตะวันออก (เลวูกา) === จังหวัดคาดาวู 478 ตารางกิโลเมตร จังหวัดเลา 487 ตารางกิโลเมตร จังหวัดลาไมวีตี 411 ตารางกิโลเมตร === ภาคตะวันตก (เลาโตกา) === จังหวัดบา 2,634 ตารางกิโลเมตร จังหวัดนาดรอกา-นาโวซา 2,385 ตารางกิโลเมตร จังหวัดรา 1,341 ตารางกิโลเมตร (*) เกาะโรตูมา 46 ตารางกิโลเมตร == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าของฟีจียังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญเช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์มีการนำเข้าลดลง นอกจากสินค้าประเภทเสื้อผ้าและสิ่งทอแล้ว ฟีจียังมีเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความผันแปรตามราคาทองคำโลกค่อนข้างสูง ผลผลิตจากเหมืองทองคำ มีจำนวน 119,767 ออนซ์ ในปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้แล้ว ฟีจียังส่งออกน้ำดื่มบรรจุขวดไปยังสหรัฐฯ อีกด้วย โดยอาศัยชื่อเสียงของฟีจีเรื่องการมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด == โครงสร้างพื้นฐาน == === คมนาคม และ โทรคมนาคม === ==== การคมนาคม ==== ท่าอากาศยานนานาชาตินาดีเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟีจี อยู่ห่างจากตัวเมืองนาดีไปทางเหนือ 9 กิโลเมตร ท่าอากาศยานนานาชาติเนาโซรีอยู่ห่างจากตัวเมืองซูวาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 23 กิโลเมตร และให้บริการสายการบินในประเทศเป็นหลัก Airports Fiji Limited (AFL) เป็นผู้ดำเนินงานท่าอากาศยาน 15 ท่าอากาศยานของหมู่เกาะฟีจี ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาตินาดี ท่าอากาศยานนานาชาติเนาโซรี และท่าอากาศยานในเกาะรอบ ๆ อีก 13 ท่าอากาศยาน สายการบินหลักของฟีจีก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อแอร์แปซิฟิกแต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นฟีจีแอร์เวย์ ฟีจีแอร์เวย์ยังเป็นสายการบินแม่ของฟีจีลิงก์อีกด้วย == ประชากรศาสตร์ == ประกอบด้วยชาวฟีจี ร้อยละ 51 ส่วนอีกร้อยละ 44 เป็นชาวฟีจีเชื้อสายอินเดีย ชาวฟีจีส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 85% รองลงมานับถือศาสนาอิสลาม, ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, และศาสนาคริสต์นิกายฟีจีออร์โธดอกซ์ ร้อยละ 52% ศาสนาฮินดู ร้อยละ 14 % ศาสนาซิกข์ 0.9% และไม่นับถือศาสนา ร้อยละ 5 % ตามลำดับ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ===รัฐบาล=== เว็บไซต์ทางการรัฐบาลฟีจี Chief of State and Cabinet Members Fiji Bureau of Statistics ===ข้อมูลทั่วไป=== Geologic Map Fiji. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Fiji at UCB Libraries GovPubs Fiji profile from the BBC News ประเทศที่เป็นเกาะ ประเทศในเขตโอเชียเนีย ฟ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2513
thaiwikipedia
555
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491) เป็นขุนนางชาวสยาม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสยามคนแรกหลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยได้รับเลือกจากสมาชิกคณะราษฎรเพื่อเป็นการประนอมอำนาจกับอำนาจเก่า เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ. 2475) ซึ่งมีการเพิ่มพระราชอำนาจเป็นอันมากเมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังยึดอำนาจรัฐบาลตนเองใน พ.ศ. 2476 และเสนอชื่อตนเองเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมให้งดใช้รัฐธรรมนูญดังกล่าว ก่อนจะถูกขับจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐประหารตอบโต้จากพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร จึงลี้ภัยไปอยู่ปีนังจนวาระสุดท้ายของชีวิต == ประวัติ == พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่บ้านถนนตรีเพชร ตำบลพาหุรัด จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายฮวด กับนางแพ้ว หุตะสิงห์ ซึ่งทั้งสองเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เขาได้เริ่มการศึกษาชั้นต้นโดยเรียนวิชาหนังสือไทยที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เมื่อปี พ.ศ. 2433 เป็นเวลา 4 ปี จึงสอบไล่ได้ประโยค 1 จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นเวลา 4 เดือน แล้วจึงเข้าศึกษาต่อวิชาหนังสือไทยที่วัดจักรวรรดิ์จนสอบไล่ได้ประโยค 2 ในปี พ.ศ. 2437 ต่อมาจึงได้เข้าศึกษาต่อวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นเวลา 4 ปี จนจบชั้นปีที่ 4 และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2445 จึงได้เข้าศึกษาต่อวิชากฎหมายที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม จนสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตสยามในปี พ.ศ. 2446 ต่อมาเขาได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาด้านกฎหมายจนสำเร็จเนติบัณฑิตจากสถาบัน The Middle Temple กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2448 เมื่อสำเร็จเนติบัณฑิตสยามแล้ว ท่านได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กระทรวงยุติธรรม จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงประดิษฐ์พิจารณ์การ” จนกระทั่งได้เป็น “พระสมุหนิติศาสตร์” และ “พระยามโนปกรณ์นิติธาดา” ในที่สุด พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ สังกัดกระทรวงยุติธรรม และนอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมาย ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามาก ในเวลาต่อมาท่านได้เป็นอธิบดีศาลฎีกา และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีที่ปรึกษาราชการในพระองค์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 ต่อมาขณะเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา กำลังดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการคลังในขณะนั้น == บทบาททางการเมือง == พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไปตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา จากกรณีร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เขาใช้เล่ห์กลในการปัดเค้าโครงดังกล่าวตกไป และยกพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมุดปกขาว) ซึ่งไม่มีผู้รับสนองมาอ้าง เขาสมคบกับพระยาทรงสุรเดช สมาชิกคณะราษฎรที่แยกตัวออกไป ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ ไปประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย นับว่าเป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และเป็นจุดด่างพร้อยของประชาธิปไตยไทยมาจวบจนปัจจุบัน เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหารคืน และเนรเทศไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัวนายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า === ครอบครัว === พระยามโนปกรณ์นิติธาดาสมรสครั้งแรกกับคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณ์นิติธาดา (สกุลเดิม สาณะเสน) ธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน) กับคุณหญิงสมบุญ วิสูตรโกษา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาเข้ารับราชการเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ต่อมาคุณหญิงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อคราวเสด็จประพาสอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เพราะคุณหญิงเป็นสามารถสื่อสารภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และอิตาลีได้ดี จนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมนั้น ได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลขจากความประมาทของพลขับ ทำให้คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาบาดเจ็บสาหัสที่ศีรษะมีบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงเสียชีวิตลงในเวลา 12.35 น. ของวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 ดังปรากฏใน จดหมายเหตุรายวันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสประเทศอินโดจีน พ.ศ. 2473 ความว่า "วันนี้ [4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473] เกิดเหตุอันน่าสลดใจอย่างยิ่งคือ ประมาณอีก 7 กิโลเมตรจะถึงกัมพงจาม รถยนต์คันที่พระยาสุรวงศ์ฯ คุณหญิงมโนปกรณ์ฯ และคุณวรันดับ บุนนาค นั่งมานั้น โดยความเลินเล่อของคนขับรถชาติญวน รถได้แล่นขึ้นไปบนกองหิน ซึ่งเจ้าหน้าที่กองไว้ริมถนนสำหรับจะทำการซ่อมแซม แล้วตรงไปชนเสาโทรเลข ซึ่งอยู่ข้างหน้าระดับเดียวกับกองหิน รถจึงคว่ำลงในท้องนาริมถนน …ผู้ที่ต้องอันตรายนั้น คือ พระยาสุรวงศ์ฯ คุณหญิงมโนปกรณ์ฯ และคุณวรันดับ สำหรับพระยาสุรวงศ์ฯ และคุณวรันดับ แม้อยู่ภายใต้รถที่คว่ำอยู่ก็ดีหาต้องอันตรายร้ายแรงไม่…ส่วนคุณหญิงมโนปกรณ์ฯ นั้นไม่ได้อยู่ใต้รถด้วย แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยศีรษะฟาดกับเสาโทรเลขหรือถนนหรือรถยนต์ไม่ทราบแน่ถึงกับสลบแน่นิ่งไปทันที แพทย์ตรวจว่ากะโหลกศีรษะแตกตั้งแต่ตอนล่าง พระยาสุรวงศ์ฯ และคนอื่น ๆ ได้จัดการช่วยกันอุ้มขึ้นรถยนต์เพื่อนำไปโรงพยาบาลโดยเร็ว แต่ในขณะที่ข้ามแม่น้ำโขงนั้นคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาทนพิษบาดแผลเจ็บไม่ได้ สิ้นชีพเวลา 12.35 น. …" เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงร่นระยะเวลาพระราชกรณียกิจ และโปรดให้งดงานรื่นเริงต่าง ๆ ระหว่างการเสด็จประพาสไปเสียสิ้น ข้ารัฐการฝรั่งเศสให้การช่วยเหลือการจัดส่งศพเป็นอย่างดี พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเดินทางจากพระนครมารับศพของคุณหญิงที่กัมพูชาด้วยตนเอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งผ่านโทรเลขให้กรมรถไฟหลวงจัดรถไฟไปรับที่สถานีรถไฟอรัญประเทศ และมีรับสั่งให้แผนกพระราชพิธีกระทรวงวังเตรียมการศพเป็นกรณีพิเศษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นเจ้าภาพงานศพ และการพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงเป็นงานพิเศษดั่งงานหลวง และโปรดเกล้าให้กรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านางสี่หน้าเพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม หลังการเสียชีวิตของคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา พระยามโนปกรณ์นิติธาดาจึงใช้ชีวิตคู่กับ เชย หุตะสิงห์และมีบุตรคนเดียวคือ ตุ้ม หุตะสิงห์ == ตำแหน่ง == 4 เมษายน 2462 – องคมนตรี == เครื่องราชอิสริยาภรณ์ == == ดูเพิ่ม == รัฐประหารในประเทศสยาม เมษายน พ.ศ. 2476 รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476 == หมายเหตุ == บางแห่งเขียน "พระยามโนปกรณนิติธาดา" == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == === งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง === นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2560). พระยามโนปกรณ์นิติธาดากับการเมืองสยามในปี พ.ศ. 2475. ความคิด ความรู้ และอำนาจในการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475 (น. 167-191). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน. === เว็บไซต์ === ประวัติที่เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ประวัติที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประวัติที่เว็บไซต์สถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ประวัติที่เว็บไซต์รัฐสภาสำหรับเยาวชน-ยุวชนรัฐสภา นักการเมืองไทย มโนปกรณ์นิติธาดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย มโนปกรณ์นิติธาดา มโนปกรณ์นิติธาดา บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศมาเลเซีย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า) ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม. ผู้นำที่ได้อำนาจจากรัฐประหาร บุคคลจากเขตพระนคร ผู้ลี้ภัยชาวไทย บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516
thaiwikipedia
556
อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา
อีวานเกเลียน มหาสงครามเกย์ หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Neon Genesis Evangelion หรืออาจเรียกย่อๆ ว่า อีวานเกเลียน, อีวา, NGE เป็นการ์ตูนอนิเมะชุด สำหรับฉายทางสถานีโทรทัศน์ สร้างโดย สตูดิโอไกแน็กซ์ (Gainax) เขียนบทและกำกับโดย ฮิเดอากิ อันโนะ และร่วมผลิตโดย ทีวีโตเกียว และ Nihon Ad Systems เริ่มฉายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 เป็นการ์ตูนอนิเมะที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านความนิยม ด้านการค้า นอกจากนี้ ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการอนิเมะ และสังคมญี่ปุ่นในสมัยนั้น และก่อให้เกิดแฟรนไชส์สินค้า และสื่ออีวานเกเลียนขึ้นมากมาย นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลอนิเมะใหญ่หลายรางวัล จนได้รับการยอมรับในหลายๆ แห่งว่า เป็นหนึ่งในการ์ตูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล (One of The Greatest Anime of All Time) และถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เยี่ยมยอดที่สุดและเป็นเรื่องต้นฉบับที่ทำให้การ์ตูนทั้งหมดหลังจากนั้นเป็นยุคใหม่มากกว่าขึ้นอย่างมาก อีวานเกเลียน ได้หยิบสัญลักษณ์ทางศาสนาของหลักจูเดโอ-คริสเตียน จากพระธรรมปฐมกาล (Book of Genesis) ในคัมภีร์ของ ศาสนายิว และศาสนาคริสต์ และเรื่องเล่าทางศาสนาต่าง ๆ มาเป็นแนวดำเนินเรื่อง ในตอนท้าย ๆ ได้เน้นไปที่การวิเคราะห์จิตของตัวละครเมื่อสมัยเด็ก (Psychoanalysis) ว่าทำไมตัวละครหลักของเรื่องจึงมีนิสัยและการกระทำเช่นนั้น ซึ่งได้แสดงว่าตัวละครนั้น ๆ มีปัญหาทางด้านอารมณ์มาแต่เด็ก จนเกิดอาการป่วยทางจิตในที่สุด การเดินเรื่องจะวนเวียนอยู่กับการตั้งคำถามและการตอบซ้ำไปซ้ำมา จนทำให้ตัวละครสับสนว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่นนั้นจริงหรือ ผู้กำกับฮิเดอากิ เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก่อนที่จะเริ่มสร้างเรื่องนี้ เขาได้นำประสบการณ์ตรงของตัวเองในการที่จะเอาชนะโรคซึมเศร้า มาเป็นแนวความคิดของตัวละคร == การวางเนื้อเรื่อง == ดูเพิ่มที่ อภิธานศัพท์ในอีวานเกเลียน ยามที่พระเจ้าทรงสร้างโลก ได้กำหนดให้เผ่าพันธุ์เทวทูตเป็นผู้ที่จะหยั่งรากเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตลงบนดาวเคราะห์นี้โดยมี อาดัม เป็นบิดาแห่งเทวทูตทั้งปวง จนกระทั่งเมื่อสี่พันล้านปีก่อน ดวงจันทร์สีดำที่ภายในมี ลิลิธ ได้ตกลงสู่โลก เกิดเป็นการล้างโลกครั้งที่หนึ่งหรือที่เรียกว่าเฟิร์สอิมแพก พระเจ้าทรงตั้งกฎว่าจะมีสิ่งมีชีวิตทั้งสองเผ่าพันธุ์อยู่บนดาวเคราะห์ดวงเดียวกันไม่ได้ เนื่องจากหากอาดัม ผลไม้แห่งชีวิต รวมกับลิลิธ ผลไม้แห่งปัญญาแล้ว จะวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอำนาจทัดเทียมพระเจ้าเสียเอง เพื่อป้องกันเหตุการณ์นี้ พระเจ้าจึงสร้างกลไกที่เรียกว่า หอกลองกินุส เพื่อยับยั้งการเจริญของเผ่าพันธุ์ใดเผ่าพันธุ์หนึ่ง แต่ทว่า หอกลองกินุสที่มากับลิลิธได้สูญหายหรือบุบสลายไประหว่างที่ตกสู่โลก หอกลองกินุสของอาดัมจึงหยุดยั้งอาดัมไว้ และอาดัมก็หลับไหลอยู่ภายในดวงจันทร์สีขาวที่ฝังอยู่ขั้วโลกใต้ตั้งแต่นั้นมา ลิลิธกลายเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดวงศ์มนุษย์บนโลก ในปี 1947 มีการค้นพบหนังสือโบราณจำนวนหลายม้วนในพื้นที่ทะเลเดดซี มีทั้งคัมภีร์ศาสนาที่เขียนโดยมนุษย์และคัมภีร์อื่นที่ไม่ได้ทำขึ้นโดยน้ำมือมนุษย์ องค์กรลับนามว่า เซเลอ (SEELE) ในประเทศเยอรมนี ได้เก็บคัมภีร์อย่างหลังนี้เอาไว้เองและซ่อนเป็นความลับจากสาธารณะชน เซเลอพบว่าม้วนคำภีร์ดังกล่าวบันทึกเรื่องราวของดวงจันทร์สีดำ ดวงจันทร์สีขาว ผลไม้แห่งชีวิต และหอกลองกินุส รวมถึงคำพยากรณ์การมาถึงของเทวทูต เซเลอผลักดันโครงการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆมากมายในนามสหประชาชาติ โดยมีเป้าหมายซ่อนเร้น มีการพบดวงจันทร์สีดำของลิลิธใต้เมืองฮาโกเนะ ประเทศญี่ปุ่น และค้นพบดวงจันทร์สีขาวของอาดัมอยู่ที่ทวีปแอนตาร์กติกา ภายในดวงจันทร์สีขาวมียักษ์ที่ถูกผนึกด้วยหอกลองกินุสอยู่ พวกเขาได้ตั้งชื่อยักษ์ตนนี้ว่า อาดัม หอกลองกินุสถูกดึงออกและส่งไปอิสราเอล สหประชาชาติเริ่มก่อสร้างฐานใต้ดินที่สองในแอนตาร์กติกาจนแล้วเสร็จในปี 1999 ผลการศึกษาร่างกายอาดัมพบว่าอาดัมมีดีเอ็นเอเหมือนมนุษย์ถึง 99% ซึ่งทำให้เกิดทฤษฎีว่าอาดัมคือมนุษย์คนแรก ในปีเดียวกันนี้ ดร.คัตสึรางิ มิตาโตะ ได้เสนอทฤษฏีซุปเปอร์โซเลนอยด์ ที่จะใช้สร้างอุปกรณ์ที่ผลิตพลังงานได้ตลอดกาลไม่มีวันหมด สิงหาคม 2000 เรือสหประชาชาติบรรทุกหอกลองกินุสมายังฐานใต้ดินที่สองพร้อมคณะผู้สังเกตการณ์ของเซเลอ ผู้สังเกตการณ์เดินทางกลับในวันที่ 12 กันยายน หลังจากนั้นเพียงหนึ่งวัน ระหว่างการทดลองคอนแทกกับอาดัม อาดัมแผ่สนามพลังหักล้างเอ.ที. ร่างและจิตใจของนักวิจัยเหล่านั้นกลายเป็น LCL อาดัมตื่นขึ้นอย่างสมบูรณ์และเปิดประตูแห่งกัฟ ทีมนักวิจัยยิงหอกลองกินุสสู่ร่างอาดัมแต่หยุดไม่ได้ อาดัมฆ่าทีมวิจัยทั้งหมด S² Engine จ่ายพลังงานให้แก่อาดัมมากจนอาดัมกลายร่างเป็นยักษ์แห่งแสงขนาดมหึมา ร่างอาดัมเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงและหลอมละลายน้ำแข็งในขั้วโลกใต้ไปแทบทั้งหมด อาดัมกลายสภาพเป็นตัวอ่อนขนาดจิ๋ว ตัวอ่อนของอาดัมถูกเซเลอนำไปเก็บซ่อน จิตของอาดัมถูกแบ่งแยกออกจากร่าง สหประชาชาติออกแถลงการณ์ต่อชาวโลกว่า การระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากอุกกาบาตตกลงสู่ทวีปแอนตาร์กติกา และขนานนามเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า "เซคัลด์อิมแพก" การหลอมละลายน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างมาก เกิดภัยพิบัติและสงครามขึ้นมากมาย หนึ่งสัปดาห์หลังการระเบิด ในวันที่ 20 กันยายน 2000 กรุงโตเกียวเดิม (โตเกียว-1) ถูกทิ้งระเบิดปรมาณูจนพินาศย่อยยับ สงครามยุติลงในวันวาเลนไทน์ 2001 ภัยพิบัติและสงครามในครั้งนี้คร่าชีวิต 1/3 ของประชากรโลก รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการสร้างโตเกียว-2 ไว้ที่เมืองมัตสึโมโตะในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่ แล้วเสร็จในปี 2003 สหประชาชาติก่อตั้งองค์การเกเฮียร์น (ต่อมาคือเนิร์ฟ) เพื่อพัฒนาอีวานเกเลียน ชีวจักรกลที่โคลนจากตัวอย่างของอาดัมเทวทูตตนแรก (ยกเว้น EVA-01 ซึ่งถูกสร้างจากท่อนล่างของลิลิธ) และพัฒนาซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เมไจ ตลอดจนสร้างเมืองจีโอฟรอนซ์และนีโอโตเกียว-3 เพื่อรับมือกับเทวทูตทั้ง 17 ตนตามคำพยากรณ์ คณะกรรมการเนิร์ฟ(เซเลอ)และเก็นโดอ้างต่อบุคลากรของเนิร์ฟว่าหากเทวทูตสัมผัสกับยักษ์อาดัมที่อยู่ภายในเซ็นทรัลด็อกจะเกิดการล้างโลก สิบปีต่อมาเทวทูตหลายตนบุกโจมตีเนิร์ฟสาขาญี่ปุ่นโดยไม่ทราบแหล่งที่มา == การออกจำหน่ายสื่อบันทึกและหนังสือ == === สื่อบันทึก === ==== การ์ตูนชุดฉายทางโทรทัศน์ ==== ถูกฉายเป็นครั้งแรกในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1995 จนถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1996 ทางช่อง TVTokyo ทั้งหมด 26 ตอนจบ ในประเทศไทยได้มีการวางจำหน่ายในรูปแบบ วิดีโอ ในปี พ.ศ. 2543 ทั้งหมด 13 ม้วน โดยในแต่ละม้วนจะมี 2 ตอน ผู้ซื้อลิขสิทธิ์มาในปีนั้นคือ TIGA ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการนำมารีเมก์ทำการบันทึกสื่อจัดจำหน่ายในรูปแบบใหม่ ทั้ง VCD และ DVD) ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ TIGA เช่นเดิม ==== ภาพยนตร์ ==== หลังจากที่มีการฉายจบไปแล้วทางโทรทัศน์ได้มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ต่ออีก 2 ภาค ภาคต่อสำหรับฉายในโรงภาพยนตร์อีก 3 ตอน และ Remake อีก 4 ตอน ได้แก่ จุติภาค (Evangelion: Death and Rebirth) ฉายเมื่อ15มีนาคม1997 ความยาวทั้งสิ้น 115 นาที ปัจฉิมภาค (The End of Evangelion) ฉายเมื่อ19กรกฎาคม1997 ความยาวทั้งสิ้น 87 นาที 10 ปีให้หลังทางต้นสังกัดได้มีโครงการสร้างฉบับหนังโรงใหม่อีกครั้ง โดยมีการสร้างตอนพิเศษอีก 4 ตอน [จัดทำโดยKHARA STUDIOซึ่งแยกตัวออกมาจากGAINAXหลังจากทำภาคNGEเสร็จ]ข้อความตัวเอน โดยเริ่มฉายไปแล้ว 3 ภาค Evangelion: 1.0 You Are (Not) Alone เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงเนื้อหาการฉายทางโทรทัศน์ โดยใช้ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 6 จัดทำโดย Studio Khara และกำกับโดยอันโนะ ฮิเดอากิ ผู้กำกับฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 9 กันยายน ค.ศ. 2007 ความยาวทั้งสิ้น 98 นาที และออกฉายในประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 ต่อมาเมื่อมีการนำมาลงในการจัดจำหน่ายได้มีการปรับปรุงรายละเอียดเป็น เวอร์ชัน 1.01 ก่อนแล้วมีการตัดต่อใหม่ เพิ่มฉากการต่อสู้ใหม่ของตอนที่ 6 ทำมีการเปลี่ยนชื่อไปใช้ Evangelion: 1.11 You Are (Not) Alone Evangelion: 2.0 You Can (Not) Advance ฉายที่ญี่ปุ่นในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 เป็นการปรับปรุงเนื้อหาการฉายทางโทรทัศน์อย่างสิ้นเชิง อ้างอิงเพียงบางตอนของเนื้อเรื่องเดิมเท่านั้น และเพิ่มตัวละครใหม่ มากินามิ มาริ ชิลเดรน คนที่ 5 อาจเป็นตัวละครใหม่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเนื้อเรื่องด้วย รวมไปถึงคาโอรุ บทบาทของคาโอรุเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก รวมไปถึงบทบาทของอาสึกะ ออกฉายในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2010 ที่โรงภาพยนตร์ลิโด้ ความยาว 94 นาที 2.22 You Can (Not) Advance ภาคดัดแปลงของ 2.0 You Can (Not) Advance 3.0 You Can (Not) Redo กำหนดเข้าฉายที่ญี่ปุ่นในวันที่17 เดือนพฤศจิกายน ปี2012 EVANGELION: 3.0+1.01 THRICE UPON A TIME ชื่ออย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นคือ シン・エヴァンゲリオン劇場版:|| (Shin Evangelion Gekijou-ban:|| ชิน เอะวานเกริออน เกะคิโจบัง:||) โดยสัญลักษณ์นี้ที่ใช้เป็นชื่อภาคนี้ก็คือตัว “Repeat” ในโน็ตดนตรี ยังไม่มีกำหนดฉายที่ชัดเจน === หนังสือ === หนังสือการ์ตูน เขียนโดย โยชิยูกิ ซะดะโมโตะ (Yoshiyuki Sadamoto) ผู้ออกแบบตัวละครในฉบับอนิเมะ เนื้อเรื่องใช้โครงสร้างและเส้นเวลาแบบเดียวกับฉบับอนิเมะ แต่จะเดินเรื่องด้วยมุมมองของ อิคาริ ชินจิ และเพิ่มเติมเนื้อหา รายละเอียดหลาย ๆ ส่วนเพื่อให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์มากขึ้น และอ่านได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น แปลและตีพิมพ์เป็นภาคภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ "EVANGELION CHRONICLE " หนังสือที่รวบรวมข้อมูลในเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียด ทั้งหมด 30 เล่ม โดยเป็นการรวบรวมเนื้อหาที่ละเอียดมาที่สุดและครบถ้วนมากที่สุดอีกด้วย เกม อีวานเกเลียนได้รับการสร้าง เป็นเกมสำหรับเครื่องเล่นเพลย์สเตชันและพีซี ในชื่อตอนว่า Girlfriend of Steel และ Evangelion: Jo เกม Action Adventure จาก Bandai Namco กำหนดออกวันที่ 4 มิถุนายน 2552 โดยสร้างจากโครงเรื่องรีแมกส์ในตอน 1.11 You Are (Not) Alone ลงบนเครื่อง playstation 2.0 == แรงบันดาลใจ == อีวานเกเลียน ตลอดเรื่องอัดแน่นไปด้วยการอ้างถึงหลักการต่างๆ ทั้งทางชีววิทยา การทหาร ศาสนา และจิตวิทยา ซึ่งเป็นการเดินตามแนวทางของการ์ตูนแอนิเมชันรุ่นพี่อีกหลายเรื่อง ตัวอย่างเช่น เรือรบอวกาศยามาโตะ ฮิเดอากิ อันโน นักเขียนของเรื่อง ได้แรงบันดาลใจหลายอย่างจากซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ชาวออสเตรีย ทั้งจากประโยคที่ฟรอยด์เคยพูด ทฤษฎีจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์ของฟรอยด์ เช่นเดียวกับ หลักการทางศาสนาและชีววิทยาที่อันโนะมักนำมาใช้เพื่อสื่อความหมายต่างๆ ในการ์ตูนของเขา ด้วยเหตุผลข้างนี้ ทำให้อันโนะมักถูกวิจารณ์ว่าเป็นพวกชอบขโมยความคิด หรือก็แค่งานที่มาจากความคิดของทีมงานเท่านั้น === เทววิทยา === สัญลักษณ์เชิงศาสนาที่ถูกใช้ใน อีวานเกเลียน ส่วนใหญ่นั้น ได้แรงบันดาลใจมาจากจูเดโอ-คริสเตียน หรือความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่มารากฐานมาจากศาสนายิว สัญลักษณ์ศาสนาดังกล่าวถูกนำมาจากหลายศาสนา ได้แก่ ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ นอซทิสซึม (ลัทธิเหตุผล) และ กับบะลาห์ (Kabbalah: ศาสตร์เร้นลับของชาวยิว) ทสึรุมะคิ คะสุยะ ผู้ช่วยผู้กำกับ กล่าวว่า ในตอนแรก การ์ตูนเรื่องนี้ใช้สัญลักษณ์ทางศาสนาคริสต์แค่เพื่อให้แตกต่างจากการ์ตูนหุ่นยนต์สู้กันเรื่องอื่นๆ และไม่มีความหมายอะไรมากกว่านั้น แต่การใช้สัญลักษณ์นี้โดยผู้ที่ไม่รู้ความหมายก็กลับการเป็นจุดอ่อนได้เหมือนกัน สัญลักษณ์ทางศาสนาใน อีวานเกเลียน สามารถตีความเบื้องต้นอย่างง่ายๆ ดังนี้ อาดัม และ อีฟ (เอวา) บอกถึงมนุษย์คู่แรกของโลก ตามพระธรรมปฐมกาล (Book of Genesis) ในคัมภีร์ของศาสนายิว และศาสนาคริสต์ โดยอีฟ เกิดมาจากซี่โครงของอาดัม เช่นเดียวกับในการ์ตูน ที่หุ่นยนต์อีวา (Eva) ทั้งหลาย มีต้นกำเนิดมาจากเทวทูต (Angel) ตนแรก คือ อดัม นั่นเอง ไม้กางเขน เห็นได้บ่อย โดยเป็นรูปร่างของลำแสงระเบิดโดยเทวทูต (Angel) เหมือนลำแสงจากสรวงสวรรค์ เทวทูต (Angel) อาจจะหมายถึงเทวดาตามคติความเชื่อของศาสนาคริสต์ ตามพันธสัญญาเดิม รวมถึง ทูตสวรรค์ หรือผู้นำสารจากพระเจ้า ตามพันธสัญญาใหม่ == อ้างอิง == การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ ทูนามิ การ์ตูนญี่ปุ่นแนวก้าวผ่านวัย กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในบันเทิงคดี
thaiwikipedia
557
กันดั้ม
กันดั้ม (Gundam) เป็นซีรีส์แอนิเมชั่นญี่ปุ่นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ต่อสู้ขนาดยักษ์ สร้างโดยบริษัทซันไรส์ Sunrise (company) กันดั้มนับเป็นอนิเมะซีรีส์แรกซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มการ์ตูนหุ่นยนต์แนวเรียลโรบ็อท มีการสร้างภาคต่อและภาคใหม่มาจนถึงปัจจุบัน และในบางตอนของกันดั้มหลายๆซีรีส์ ซันไรส์ได้สร้างใหม่หรือสร้างเพิ่มเติมแบบขยายความจากเนื้อเรื่องเดิมในรูปแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ โดยรวมกันในชื่อ Gundam Evolve ออกมา สำหรับคำว่า กันดั้ม เป็นคำเรียกรวม ๆ ของซีรีส์สองกลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ระบบปฏิทินแบบ Universal Century เช่น โมบิลสูทกันดั้ม และกลุ่มจักรวาลคู่ขนานอื่นๆ เช่น กันดั้มวิง กันดั้มเอกซ์ หรือ กันดั้มซี้ด นอกจากนั้นยังมีเรื่องชุดเอสดีกันดั้ม SD Gundam ซึ่งเอสดีเป็นตัวย่อมาจากคำว่าซูเปอร์ดีฟอร์ม ภาคแรกๆของเอสดีกันดั้มนี้มีเนื้อหาที่เป็นแนวตลกขบขันและล้อเลียนเนื้อหาของภาคหลัก ผู้กำกับและเขียนบทกันดั้มภาคแรกๆ คือ โทะมิโนะ โยะชิยุกิ ผู้ออกแบบตัวละครคือ ยะซุฮิโกะ โยะชิกะซุ หรือ YAS เนื้อเรื่องของกันดั้มยังมีการเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือการ์ตูนและนิยาย ซึ่งมีทั้งเนื้อเรื่องซึ่งเป็นการดัดแปลง ตัดทอน หรือขยายความจากเนื้อเรื่องในอนิเมะซีรีส์ กับเรื่องที่เป็นภาคประกอบของเรื่องหลัก ปัจจุบันหนังสือการ์ตูนมีตีพิมพ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์หลายแห่ง เช่น บงกช พับลิชชิ่ง และสยามอินเตอร์คอมิกส์ == ซีรีส์แอนิเมชันกันดั้ม (เรียงลำดับตามการออกฉายในญี่ปุ่น) == โมบิลสูท กันดั้ม (Gundam) หรือ กันดั้ม 0079 (โทรทัศน์ - 1979, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์สามภาค - 1981-1982) ฉายในไทยปี พ.ศ. 2524 ทางช่อง 7 สี ใช้ชื่อ อภินิหารกันดั้ม โมบิลสูท เซต้ากันดั้ม (Zeta Gundam, Z-Gundam) (โทรทัศน์ - 1985, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์ - 2005) โมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้า (Gundam ZZ) (โทรทัศน์ - 1986) ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (Char's Counter Attack) (ภาพยนตร์ - 1988) วอร์อินเดอะพอกเก็ต (โอวีเอ - 1989) โมบิลสูท กันดั้ม F91 (ภาพยนตร์ - 1991) โมบิลสูท กันดั้ม 0083 : สตาร์ดัสต์เมโมรี่ (OVA) - 1991, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์ - 1992) โมบิลสูท วิกทอรี่กันดั้ม (V Gundam) (โทรทัศน์ - 1993) โมบิลไฟเตอร์จีกันดั้ม (G Gundam) (โทรทัศน์ - 1994) ฉายในไทยปี พ.ศ. 2546 ทางไอทีวี ใช้ชื่อ หุ่นนักสู้สะท้านปฐพี G กันดั้ม บันทึกการยุทธ์บทใหม่ กันดั้มวิง (W Gundam) (โทรทัศน์ - 1995, โอวีเอ แบบตัดต่อรวบรวมใหม่ - 1996) ฉายในไทยปี พ.ศ. 2542 ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โมบิลสูท กันดั้ม 08th ทีม (Gundam: The MS 08th Team) (โอวีเอ - 1996) ศตวรรษใหม่แห่งการยุทธ์ กันดั้มเอกซ์ (After War Gundam X) (โทรทัศน์ - 1996) ฉายในไทยปี พ.ศ. 2545 ทางไอทีวี บันทึกการยุทธ์บทใหม่ กันดั้มวิง - เอนด์เลส วอลซ์ (Gundam W - Endless Waltz) (โอวีเอ - 1997, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์ - 1998) เทิร์นเอกันดั้ม (Turn A Gundam) (โทรทัศน์ - 1999, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์ - 2002) โมบิลสูทกันดั้มซี้ด (Gundam SEED) (โทรทัศน์ - 2002, แบบตัดต่อรวบรวมใหม่ - 2004) (Remaster 2011 ปรังปรุงภาพดีขึ้นทันสมัยของภาพ และมีการปรับเปลี่ยนบางฉาก) ฉายในไทยปี พ.ศ. 2547 ทางไอทีวี บันทึกลับสงครามหนึ่งปี (ภาพยนตร์ - 2004) โมบิลสูทกันดั้มซี้ดเดสทินี (Gundam SEED Destiny) (โทรทัศน์ - 2004) (Remaster 2011 ปรังปรุงภาพดีขึ้นทันสมัย) โมบิลสูทกันดั้มเอ็มเอสอิกลู อโพคาลิบ 0079 (โอวีเอ - 2006) กันดั้มซี๊ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์ (Gundam SEED C.E.73 Stargazer) (โอวีเอ - 2006) กันดั้มดับเบิ้ลโอ (Gundam 00) (โทรทัศน์ - 2007) โมบิลสูทกันดั้มเอ็มเอสอิกลู2 กราวีตีฟรอนท์ (โอวีเอ - 2008) โมบิลสูท กันดั้ม ยูนิคอร์น (Mobile Suit Gundam UC) (โอวีเอ - 2010) กันพลาบิลเดอร์ บีกินนิง G (Gunpla Builder Beginning G) (โอวีเอ - 2010) โมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลโอ อเวคเคนนิงออฟเดอะเทรลเบลซเซอร์ (Mobile Suit Gundam 00: Awakening of the Trailblazer) (ภาพยนตร์ - 2010) กันดั้มเอจ (Mobile Suit Gundam Age) (โทรทัศน์ - 2011) กันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ (Gundam Build Fighters) (โทรทัศน์ - 2013) กันด๊าม กันดั้ม (Mobile Suit Gundam-san) (โทรทัศน์ - 2014) G โนะ เรคอนกิสต้า (Gundam: G no Reconguista) (โทรทัศน์ - 2014) กันดั้มบิลด์ไฟท์เตอร์ไทร์ (Gundam Build Fighters Try) (โทรทัศน์ - 2014) โมบิลสูทกันดั้มดิออริจิ้น (Mobile Suit Gundam The Origin) (โอวีเอ - 2015) โมบิลสูทกันดั้มเทคเคนสึ โนะ ออแฟ็น (Mobile Suit Gundam: Iron-Blooded Orphans) (โทรทัศน์ - 2015) โมบิลสูทกันดั้มธันเดอร์โบลต์ (Mobile Suit Gundam Thunderbolt) (ONA เฉพาะ gundaminfo - 2015) ดีเซมเบอร์สกาย (Mobile Suit Gundam Thunderbolt: December Sky) (ภาพยนตร์ - 2016) 0096 (Mobile Suit Gundam Unicorn RE:0096) (โทรทัศน์ - 2016) โมบิลสูทกันดั้มทไวไลท์แอ็กซิส (Mobile Suit Gundam Twilight AXIS) (ONA เฉพาะ gundaminfo - 2017) แบนดิตฟลาวเวอร์ (Mobile Suit Gundam Thunderbolt: Bandit Flower) (ภาพยนตร์ - 2017) เรดแทรส (Mobile Suit Gundam Twilight AXIS: Red Trace) (ภาพยนตร์ - 2017) กันดั้มบิลด์ไดเวอร์ (Gundam Build Divers) (โทรทัศน์ - 2018) ออกอากาศในโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2561 ทางช่องวัน 31 โมบิลสูทกันดั้มนาร์ราทีฟ(Mobile Suit Gundam Narrative) (ภาพยนตร์ - 2018) กันดั้มบิลด์ไดเวอร์ RE:RISE (Gundam Build Divers Re:RISE) (ONA - 2019) ออกอากาศในโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2564 ทางช่อง 7 เอชดี โมบิลสูทกันดั้ม ดิออริจิ้น - แอดเว้นท์ ออฟ เดอะ เรด คอเมท (Mobile Suit Gundam: The Origin - Advent of the Red Comet) (โทรทัศน์ - 2019) โมบิลสูทกันดั้ม ฮาธาเวย์ส (Mobile Suit Gundam Hathaway) (ภาพยนตร์ - 2021) == ระบบปฏิทินในกันดั้ม == เนื้อเรื่องในช่วงแรกๆ ใช้ระบบปฏิทิน Universal Century (UC 宇宙世紀) ส่วนภาคหลังๆ จะใช้ระบบปฏิทินอื่น (และโลกจินตนาการอื่น) ที่ต่างออกไป รายชื่อภาคของโมบิลสูทกันดั้มที่เป็นปฏิทินUC โมบิลสูทกันดั้มดิออริจิ้น (UC0068) โมบิลสูท กันดั้ม (UC0079) โมบิลสูท กันดั้ม เอ็มเอสอิกลู บันทึกลับสงครามหนึ่งปี (UC0079) โมบิลสูทกันดั้มเอ็มเอสอิกลู อโพคาลิบ 0079 (UC0079) โมบิลสูทกันดั้มเอ็มเอสอิกลู2 กราวีตีฟรอนท์ (UC0079) โมบิลสูทกันดั้มธันเดอร์โบลต์ (UC0079) โมบิลสูท กันดั้ม 08th ทีม (UC0079) วอร์อินเดอะพอกเก็ต (UC0079) สตาร์ดัสต์เมโมรี่ (UC0083) โมบิลสูท เซต้ากันดั้ม (UC0087) โมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้า (UC0088) ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (UC0093) โมบิลสูท กันดั้ม ยูนิคอร์น (UC0096) 0096 (UC0096) โมบิลสูทกันดั้มทไวไลท์แอ็กซิส (UC0096) โมบิลสูทกันดั้มนาร์ราทิฟ (UC0097) โมบิลสูทกันดั้ม ฮาธาเวย์ส (UC0105) โมบิลสูท กันดั้ม F91 (UC0123) โมบิลสูท วิกทอรี่กันดั้ม (UC0153) โมบิลไฟเตอร์จีกันดั้ม ใช้ Future Century (FC 未来世紀) บันทึกการยุทธ์บทใหม่ กันดั้มวิง และ บันทึกการยุทธ์บทใหม่ กันดั้มวิง : เอนด์เลสวอลตซ์ ใช้ After Colony (AC アフターコロニー) ศตวรรษใหม่แห่งการยุทธ์ กันดั้มเอกซ์ ใช้ After War (AW アフターウォー) เทิร์นเอกันดั้มใช้ Current Century (CC 正暦) โมบิลสูทกันดั้มซี้ด โมบิลสูทกันดั้มซี้ดเดสทินีและ กันดั้มซี๊ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์ ใช้ Cosmic Era (CE コズミック・イラ) กันดั้มดับเบิ้ลโอใช้ Anno Domini หรือ คริสต์ศักราช (AD) โดยตรง กันดั้มเอจ ใช้ AG (Advance Generation) G โนะ เรคอนกิสต้า ใช้ Rigirudo Century โมบิลสูทกันดั้มเทคเคนสึ โนะ ออแฟ็น ใช้ ปีศักราชหลังหายนะ (Post Disaster) == เกม == ตัวละครและหุ่นยนต์จากซีรีส์กันดั้ม มักจะไปปรากฏอยู่ในเกมซีรีส์ ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น ของแบนเพรสโต อยู่เสมออย่างน้อยหนึ่งตัว โดยตัวละครที่ไปปรากฏบ่อยที่สุดก็คือ Amuro Ray โดยมักจะมากับกันดั้ม RX-93 Nu Gundam SD Gundam Capsule Fighter Online เป็นเกมออนไลน์ของกันดัม ทุกอย่างในเกมจะอ้างอิงในเรื่อง Gundam โดยมีส่วนหัวที่ใหญ่ขึ้นแต่ส่วนอื่นเล็กลง ซีรีส์กันดั้มยังถูกนำมาทำเป็นเกมแนวแอ๊คชั่นตะลุมบอนในชื่อ กันดั้มมุโซ โดยความร่วมมือกันของผู้ถือลิขสิทธิ์อย่างบันไดและพัฒนาโดย บริษัทเกมโคเอะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2550 ปัจจุบันมีจำนวน 4 ภาค โดยส่วนใหญ่จะลงให้กับเครื่อง PS3 และได้ชื่อว่าเป็นเกมแรกของระบบ PS3 ที่สามารถขายได้เกิน 1 แสนชุดในวันแรกของการจัดจำหน่าย ในภาคต่อๆมาก็สามารถขายมากเป็นอันดับต้นๆของสัปดาห์แรกของการจัดจำหน่ายเช่นกัน == ดูเพิ่ม == โมบิลสูท โมบิลอาเมอร์ รายชื่อหุ่นยนต์ในกันดั้มซีรีส์ รายชื่อหุ่นยนต์ใน Universal Century รายชื่อหุ่นยนต์ใน After Colony รายชื่อหุ่นยนต์ใน Cosmic Era รายชื่อตัวละครใน Cosmic Era == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Gundam GundamOfficial เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกันดั้มในทวีปอเมริกาเหนือ Unofficial Gundam wiki การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง กันดั้ม การทหารในอนิเมะและมังงะ
thaiwikipedia
558
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ฟุตบอลยูโร เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญที่สุดของทีมชาติในทวีปยุโรป ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และจะห่างจากการแข่งขันฟุตบอลโลกของฟีฟ่า 2 ปี เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ในชื่อรายการว่า ยูโรเปียนเนชันส์คัพ (European Nations Cup) จากแนวคิดของอ็องรี เดอโลแน เลขาธิการสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสขณะนั้น ทั้งนี้การแข่งขัน 5 ครั้งแรก มีทีมชาติร่วมแข่งขัน รอบสุดท้ายเพียง 4 ประเทศ ต่อมาตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ยูโรเปียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) มีทีมชาติเข้าแข่งรอบสุดท้าย เพิ่มเป็น 8 ประเทศ ส่วนการแข่งขันนัดชิงลำดับที่สาม ยกเลิกไปในครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) จากนั้นในครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) เพิ่มจำนวนเป็น 16 ประเทศ ในรอบสุดท้าย การแข่งขันครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) จัดการแข่งขันใน 11 ประเทศเจ้าภาพทั่วทวีปยุโรป == ประวัติ == === ยุคแรกเริ่ม 4 ทีม === เริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกขึ้นมาในปี 1960 ในชื่อว่า ฟุตบอลยูโรเปี้ยน เนชั่นส์ คัพ โดยเริ่มต้นรูปแบบการแข่งขันยังเป็นระบบการเล่นเหย้า-เยือนในรอบต้นๆ ก่อนที่จะเล่นแบบน็อกเอาต์ในรอบรองชนะเลิศ บุคคลที่ผลักดันให้มีการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในชาติเป็นกลางขึ้นมาคือ อองรี เดอลาเน่ย์ จากสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส และ ทำให้การแข่งขันรอบสุดท้ายครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1960 โดยเป็นการพบกันระหว่าง สหภาพโซเวียต กับ ยูโกสลาเวีย ซึ่งผลลงเอยด้วยชัยชนะของทีมจากแดนหลังม่านเหล็กในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2-1 ในปี 1964 ได้มีปัญหาขัดแย้งทางการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวในเกมกีฬา เมื่อ กรีซ ปฏิเสธที่จะเล่นกับ แอลเบเนีย หลังมีสงครามระหว่างประเทศ โดยการเล่นรอบชิงชนะเลิศ จัดที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน และแชมป์ก็ตกเป็นของเจ้าภาพที่เอาชนะ สหภาพโซเวียต 2-1 === เพิ่มเป็น 8 ทีม === จากนั้นในปี 1968 ได้เปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากฟุตบอลยูโรเปี้ยน เนชั่นส์ คัพ มาเป็น ยูฟ่า ยูโรเปี้ยน แชมเปี้ยนชิพ พร้อมกับเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันเป็นแบบแบ่งกลุ่มโดยมี 8 สาย และแชมป์ของแต่ละกลุ่มจะเข้ามาเล่นในรอบก่อนรองชนะเลิศ ที่ต้องแข่ง 2 นัด ก่อนเข้ารอบตัดเชือก โดยแชมป์ครั้งนี้เป็นของเจ้าภาพ อิตาลี ที่เอาชนะ ยูโกสลาเวีย 2-0 ในนัดรีเพลย์ หลังเกมแรกเสมอกัน 0-0 ฟุตบอลยูโร 1972 รอบสุดท้าย ที่ประเทศเบลเยียม ยังคงใช้รูปแบบการแข่งขันเหมือนที่ผ่านมา โดยแชมป์ตกเป็นของ เยอรมัน ตะวันตก ที่ถล่ม สหภาพโซเวียต ไปอย่างขาดลอย 3-0 จากการทำประตูของ แกร์ด มุลเลอร์ คนเดียว 2 ลูก จากนั้นอีก 4 ปีต่อมา รอบชิงชนะเลิศมีขึ้นที่ยูโกสลาเวีย โดยที่ เชโกสโลวะเกีย เสมอ เยอรมัน 2-2 ก่อนที่จะมีการดวลจุดโทษครั้งแรก และแชมป์ก็ตกเป็นของ ขุนพลเช็กในที่สุด มาถึงศึกยูโร 1980 ได้เริ่มใช้ระบบการแข่งแบบใหม่ โดย 8 ทีมจะต้องมาเล่นรอบสุดท้าย ที่ประเทศอิตาลี และแบ่งการเล่นออกเป็น 2 กลุ่ม นำแชมป์ของแต่ละกลุ่มมาเล่นรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งปรากฏว่า เยอรมันตะวันตก คว้าแชมป์ไปครองหลังเฉือนชนะ เบลเยียม 2-1 จนกระทั่งในศึกยูโร 1984 ที่ฝรั่งเศส ได้มีการเปลี่ยนระบบการแข่งขันให้ 2 ทีมที่มีคะแนนดีที่สุดของทั้ง 2 กลุ่ม เข้ามาเล่นในรอบ ตัดเชือก และในที่สุดเจ้าบ้านซึ่งนำทีมโดย มิเชล พลาตินี่ ก็ชนะ สเปน 2-0 ในรอบชิงชนะเลิศ พร้อมกับคว้าแชมป์ได้อย่างงดงาม จาก นั้นในปี 1988 เยอรมันตะวันตก ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบ้างโดยใช้รูปแบบเหมือนครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แฟนบอลเมืองเบียร์ต้องอกหัก ปล่อยให้ ฮอลแลนด์ ที่มีนักเตะชั้นเยี่ยมอย่าง มาร์โก แวน บาสเท่น, แฟร้งค์ ไรจ์การ์ด และ รุด กุลลิท คว้าแชมป์ไปครอง หลังเอาชนะ สหภาพโซเวียต 2-0 ในรอบชิงชนะเลิศ มาถึงปี 1992 ที่สวีเดน ได้เกิดตำนานเทพนิยายเดนส์ขึ้นมา หลังจากทีมชาติเดนมาร์ก ได้เข้าร่วมการแข่งขันกะทันหัน เนื่องจาก ยูโกสลาเวีย ถูกตัดสิทธิ์ โดยขุนพลเมือง "โคนม" สร้างผลงานยอดเยี่ยมคว้าแชมป์ไปครองได้อย่างเหลือเชื่อทั้งที่มีเวลา เตรียมตัวไม่นานนัก === เพิ่มเป็น 16 ทีม === ถึงศึกยูโร 1996 ที่อังกฤษ ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันอีกครั้ง โดยมี 16 ทีมเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 4 ทีม และ 2 อันดับแรกของแต่ละสายจะได้เข้ามาเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้าย นอกจากนั้น ยังมีการนำกฎ โกลเด้นโกล์มาใช้ครั้งแรกอีกด้วย และกฎนี้ก็ได้ใช้ตัดสินในรอบชิงชนะเลิศทันที โดยที่ โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟ หัวหอกเยอรมัน ซัดดับชีพ สาธารณรัฐเช็ก 2-1 จากนั้นในปี 2000 ก็เป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพร่วมโดย เบลเยียม และ ฮอลแลนด์ รับหน้าเสื่อคู่กัน จุดไคลแมกซ์ของการแข่งขัน ครั้งนี้อยู่ที่การทำประตูโกลเด้นโกล์ของ ดาวิด เทรเซเก้ต์ ที่พาฝรั่งเศส เอาชนะ อิตาลี พร้อมกับคว้าแชมป์ไปครองได้อย่างยอดเยี่ยม การชิงชัย 11 สมัยที่ผ่านมา ทำให้ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป กลายเป็นทัวร์นาเมนต์ที่แฟนบอลพูดกันว่าเพียงเติมบราซิล และอาร์เจนตินาลงไปในบรรดาทีมที่เข้ารอบสุดท้ายของศึกยูโรแต่ละครั้ง เราก็จะพบกับฟุตบอลโลกอีกเวอร์ชันดีๆ นี่เอง === เพิ่มเป็น 24 ทีม === ในครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ทีมชาติในรอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 24 ทีมชาติ จัดการแข่งขันที่สาธารณรัฐโปแลนด์และประเทศยูเครน การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีทีมลงแข่งขันในรอบสุดท้าย 24 ทีม เปลี่ยนจากการแข่งขันเดิมที่มี 16 ทีม ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ 1996 ภายใต้การจัดการแข่งขันแบบใหม่นั้น จะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม รอบแพ้คัดออกจะมี 3 รอบ และนัดชิงชนะเลิศ โดย 24 ทีมแบ่งเป็น 19 ทีม (แชมป์กลุ่มและรองแชมป์กลุ่มของรอบคัดเลือก 9 กลุ่ม รวมไปถึงทีมอันดับที่ 3 ทีมีคะแนนดีที่สุด) == ผลการแข่งขัน == == ความสำเร็จในฟุตบอลยูโร == * เจ้าภาพ 1 เยอรมนีตะวันตก 2 เชโกสโลวาเกีย 3 สหภาพโซเวียต == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ ในเว็บไซต์สมาคมฟุตบอลยุโรป ประวัติของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในเว็บไซต์สมาคมฟุตบอลยุโรป ยุโรป
thaiwikipedia
559
โปห์โยลา
โปห์โยลา (Pohjola) เป็นชื่อสถานที่ในเทพปกรณัมฟินแลนด์ หมายถึง โปห์ยา (Pohja ทิศเหนือ) ซึ่งหมายความได้ทั้ง ทิศเหนือตามเข็มทิศ, แดนเหนือ (Northland) อันหมายถึงเขตขั้วโลกทั้งหมด และในกาเลวาลาใช้หมายถึง ดินแดนของชาวซามิ ในโลกแห่งความเป็นจริง โปห์โยลาจะครอบคลุมถึงดินแดนแลปแลนด์และคะอินูด้วย อย่างไรก็ตาม เราสามารถถือว่าโปห์โยลาเป็นสถานที่ในเทพปกรณัมล้วน ๆ ได้เช่นกัน ในความหมายนี้ โปห์โยลาคือแหล่งแห่งความชั่วร้าย คือดินแดนหวงห้ามอันหนาวเย็นเป็นนิรันดร์ ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปทางทิศเหนือ เป็นไปได้ว่าโรคร้ายและน้ำค้างแข็งมีที่มาจากโปห์โยลานี้ โปห์โยลาเป็นศัตรูกับแวอิเนอแล ดินแดนแห่งกาเลวาลา ==ดูเพิ่ม== กาเลวาลา เทพนิยาย ประเทศฟินแลนด์
thaiwikipedia
560
สามสิบ
สามสิบ อาจหมายถึง จำนวน 30 ดอกผกากรอง หรือ "สามสิบ" เป็นชื่อที่ชาวบ้านแถบจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด เรียก
thaiwikipedia
561
ประวัติศาสตร์ยุโรป
บทความนี้ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรปโดยรวม == ต้นกำเนิด == === ยุคก่อนประวัติศาสตร์ === มนุษย์โฮโมอีเรคตัส (บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน) กับ มนุษย์นีแอนเดอร์ธอล (Neanderthals) อาศัยอยู่ในยุโรปมานานก่อนที่มีมนุษย์ปัจจุบัน (โฮโมเซเปียน หรือ Homo sapiens) กระดูกของมนุษย์ยุคแรก ๆ ในยุโรปถูกพบที่เมือง Dmanisi ประเทศจอร์เจีย ซึ่งกระดูกเหล่านั้นคาดว่ามีอายุราว ๆ 2 ล้านปีก่อนคริสตกาล หลักฐานของมนุษย์ที่มีโครงสร้างสรีระคล้ายมนุษย์ปัจจุบันที่ปรากฏในยุโรปที่เก่าที่สุดนั้นคือประมาณ 35,000 ปีก่อนคริสตกาล แต่หลักฐานแสดงการตั้งรกรากถาวรนั้นแสดงอยู่ราว ๆ 7000 ปีก่อนคริสตกาลในประเทศบัลแกเรีย โรมาเนีย และ กรีซ ยุโรปกลางเข้าสู่ยุคหินใหม่ (Neolithic) ในช่วงราว ๆ 6000 ปีก่อนคริสตกาลก่อนหลาย ๆ ที่ในยุโรปเหนือซึ่งเข้าสู่ยุคหินใหม่ในช่วงราว ๆ 5000 ถึง 4000 ปีก่อนคริสตกาล ราว ๆ 2000 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มมีอารยธรรมที่มีความรู้ทางการอ่าน-เขียนในยุโรปคืออารยธรรมของพวกมิโนน (Minoans) ที่เกาะcrete และตามด้วยพวกไมเซเนียน (Myceneans) (ทั้งสองอารยธรรมอยู่ราว ๆ บริเวณซึ่งเป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน) ราว ๆ 400 ปีก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมลาทีเน่ (La Tène) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในยุคเหล็กได้แพร่กระจายไปเกือบทั่วภาคพื้น พวกอีทรัสกัน (Etruscans) ได้เข้าไปตั้งรกรากในตอนกลางของอิตาลีและลอมบาดี (Lombady) ซึ่งอยู่ตอนเหนือของอิตาลีปัจจุบัน == ยุคเก่า == === สงครามกรีก-เปอร์เซีย และสงครามเปโลโปนีเซีย === สงครามกรีก-เปอร์เซีย คือสงครามของพวกกรีกกับชาวเปอร์เซียที่บุกมาจากทางฝั่งอาหรับเข้ามาทางตอนเหนือ ประวัติศาสตร์ได้จดบันทึกวีรกรรมของชาวสปาร์ตา (Sparta) ที่ไปรบขวางพวกเปอร์เซียที่มีเป็นแสนได้ด้วยกำลังคนไม่กี่พันที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) นำโดยกษัตริย์เลโอไนดาสที่ 1 (Leonidas I) หยุดพวกเปอร์เซียไว้ได้หลายวันก่อนที่จะถูกทำลาย ถ่วงเวลาให้ชาวกรีกมีเวลาตั้งตัวต่อกรกับชาวเปอร์เซียได้สำเร็จในภายหลัง สงครามเพโลพอนนีเซียน เป็นสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐของชาวเอเธนส์ (Athens) มหาอำนาจทางทะเลกับชาวสปาร์ตาชนชาตินักรบหลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียได้ไม่นาน ชาวสปาร์ตาไปขอความช่วยเหลือจากพวกเปอร์เซียให้ช่วยต่อเรือไปสู้กับชาวเอเธนส์ ตัดเสบียงทางทะเลจนชาวเอเธนส์อดอยากต้องยอมแพ้ไปในที่สุด หลังจากสงครามครั้งนี้รัฐกรีกก็เริ่มทำสงครามกันเรื่อยมาทำให้เสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็วจนการมาถึงของชาว มาซีดอน (Macedon) === พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช === ในขณะที่รัฐของกรีกแตกกระจายเป็นก๊ก ๆ ชาวมาซีดอนทางตอนเหนือก็เรืองอำนาจขึ้นมา ฟิลลิปป์ (Phillip) เป็นผู้ที่เริ่มสร้างฐานอำนาจนำกองทัพบุกรัฐกรีกขึ้นเป็นผู้นำสมาพันธ์กรีกกุมอำนาจไว้ในมือ หลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียชาวกรีกก็ยังแค้นไม่หาย พยายามอย่างยิ่งที่จะบุกเข้าไปบ้าง ฟิลลิปป์สร้างกองทัพของเขาบ้างหลังจากที่รวมกรีกไว้ได้ แต่ก็มาถูกสังหารเสียก่อน คราวนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the great) ลูกชายเพียงคนเดียวก็ขึ้นมาครองอำนาจแทน นำทัพสู้กับชาวเปอร์เซียบุกลงไปถึง “อียิปต์" จนชาวเปอร์เซียที่เคยรุ่งเรืองมากที่สุดอาณาจักรหนึ่งต้องมาเสื่อมอำนาจลงไป อเล็กซานเดอร์ยังไม่พอใจกับชัยชนะเพียงแค่นี้เขายังนำกองทัพบุกไปถึงอินเดีย แต่ก็ไปต่อไม่ไหวเนื่องจากห่าฝนที่ตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตาของดินแดนเขตร้อน ทหารก็เหนื่อยอ่อนจากการทำศึกหนักอย่างยาวนาน และคิดถึงบ้าน จนจอมทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยังต้องจำใจเดินทางกลับบ้านเกิดเสียที เขาล่องเรือทางแม่น้ำสินธุมาถึงบาบิโลน (ระหว่างแม่น้ำไทกรีส และแม่น้ำยูเฟรติส ในปัจจุบัน) และตั้งเมืองหลวงที่นั่น อเล็กซานเดอร์กลับบ้านไปได้ไม่ทันไรก็มาด่วนตายตอนอายุสามสิบสามปี นักประวัติศาสตร์บันทึกสาเหตุว่าเป็นเพราะการดื่มเหล้าอย่างหนักในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งจนร่างกายของเขารับไม่ไหว แต่บางคนก็แย้งว่าเขาถูกวางยาพิษ จากนั้นอาณาจักรของเขาได้ถูกแย่งกันในหมู่แม่ทัพของกรีก คือ แคสแซนเดอร์ ไลซิมคัส เซลิวคัส และ ทอเลมี === ความรุ่งเรืองของกรุงโรม === พวกโรมันมีกษัตริย์ปกครองกันเรื่อยมาหลังตำนานโรมูลุส (Romulus) กษัตริย์ลูกหมาป่าที่ก่อตั้งกรุงโรม จนมาถึงรุ่นของกษัตริย์ทาควิน (Tarquin the pround) เป็นองค์สุดท้าย ว่ากันว่าชาวโรมันไม่พอใจที่ทาควินสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมายจนประชาชนเดือดร้อนทำให้มีตระกูลชั้นสูงพวกแพทริเซียน (Partrician) ที่มีอำนาจในกรุงโรมนำโดยสกุล บรูตัส (Brutus) พากันขับไล่พระองค์ลงจากบัลลังก์ ตั้งแต่นั้นมาชาวโรมันก็ใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐปกครองโดยสภาซีเนตมาถึง 400 ปีจวบจนมาถึงยุคของจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus) จักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน === การล่มสลายของกรุงโรม === พวกคนเถื่อนทางตอนเหนือของยุโรปก้าวร้าวบุกรุกอาณาจักรโรมันกันเป็นว่าเล่น หนึ่งในนั้นมี “แอตติลา” (Attila) ผู้นำของคนเถื่อนที่เป็นตำนาน รวบรวมเหล่าคนเถื่อนมาไว้ด้วยกันนำกำลังบุกเข้าไปในอาณาจักร โรมันแต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถที่จะบุกเข้าไปถึงกรุงโรมได้ถูกพวกโรมันหยุดยั้งไว้ได้ก่อน แล้วก็มาด่วนตายไป แต่การกระทำของแอตติลาก็ส่งผลให้พวกคนเถื่อนบุกเข้าไปในจักรวรรดิโรมัน จนในที่สุดกรุงโรมก็ถูกตีแตกโดยพวกเยอรมัน เป็นการสิ้นสุดอิทธิพลของพวกโรมันในยุโรปตะวันตก คงเหลือแต่พวกโรมันที่กรุงคอนสแตนติโนเบิลเท่านั้นที่ยังคงแผ่อิทธิพลออกไป == ยุคกลาง == === จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจ === กรุงโรมล่มสลายพร้อมกับการก้าวขึ้นมาของคนเถื่อนทางเหนือ พวกแฟรงค์ (Frank) คนเถื่อนทางประเทศฝรั่งเศสก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่โดยการนำของ “พระเจ้าชาร์เลอมาญ” เมื่อรวบรวมดินแดนทางยุโรปตะวันตกไว้ได้มากมายแล้ว ชาเลอร์มาญก็ไปทำสัญญากับพระสันตะปาปาขึ้นเป็นจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันตะวันตก ตั้งอาณาจักรโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่จากที่เคยล่มสลายลงไป ภายใต้ชื่อ "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)" ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เป็นอิสระจากอิทธิพลของอาณาจักรโรมันตะวันออก === สงครามครูเสด === พระสันตะปาปาเรียกร้องให้ชาวคริสต์ทุกคนนำกำลังไปช่วยเหลือจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่กำลังถูกพวกอาหรับกลืนกิน กองทัพของผู้ศรัทธานำกำลังบุกเข้าไปถึงกรุง เยรูซาเลม ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ในพระคำภีร์ฉบับเก่าของโมเสสที่ถูกชาวอาหรับครอบครอง กองทัพครูเสดยึดดินแดนได้แถบริมฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแล้วตั้งเป็นประเทศ อยู่มาจนการมาถึงของ ซาลาดิน (Saladin) สุลต่านอาหรับที่สามารถบุกยึดกรุงเยรูซาเลมจากพวกครูเสดได้ ตั้งแต่นั้นมานักรบครูเสดที่ถูกส่งมาอีกหลาย ๆ ครั้งก็ไม่สามารถที่จะยึดคืนกรุงเยรูซาเลมกลับมาได้อีกเลย === สงครามร้อยปี === สงครามร้อยปีเป็นความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส นาน 116 ปี นับจาก พ.ศ. 1880 ถึง พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1337 ถึง 1453) เริ่มจากการอ้างสิทธิ์ของกษัตริย์อังกฤษเหนือบัลลังก์ฝรั่งเศส คำที่นักประวัติศาสตร์ใช้นิยามสงครามความขัดแย้งแบ่งได้สามถึงสี่ช่วง คือ สงครามยุคเอ็ดเวิร์ด(Edwardian War 1337-1360) สงครามยุคแครอไลน์ (Caroline War 1369-1389) สงครามยุคแลงคาสเตอร์ (Lancastrian War 1415-1429) อังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน ชาวนอร์มังดีบุกไปชิงราชบังลังก์ที่เกาะอังกฤษเพราะยังอยากที่จะได้ดินแดนของบรรพบุรุษกลับมาอีกครั้ง อังกฤษกับฝรั่งเศสจึงทำสงครามกันเรื่อยมา ช่วงหลังของสงครามอังกฤษสามารถบุกเข้าไปยึดดินแดนของฝรั่งเศสได้จนเกือบจะสิ้นชาติ แต่ก็มีการมาถึงของหญิงสาว “ฌานดาร์ค” (โจนออฟอาร์ค) สาวชาวนาผู้ได้รับนิมิตจากพระเจ้าให้นำฝรั่งเศสไปสู่เอกราชจากพวกอังกฤษ แต่ไม่ทันที่จะจบสงครามโจนก็ถูกจับไปเผาในข้อหาว่าเป็นแม่มด แต่การกระทำของโจนก็ไม่เสียเปล่าพวกฝรั่งเศสขับไล่อังกฤษออกจากประเทศได้สำเร็จ === การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล === หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม โรมันทางฝั่งตะวันออกก็ค่อยๆ ลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด จักรพรรดิองค์ต่อๆ มาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั้งเดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น “ไบแซนไทน์” (Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิลเมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืด แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ อิสตันบูล (Istanbul) == ต้นยุคใหม่ == == จากชาตินิยมสู่จักรวรรดินิยม == === การปฏิวัติอุตสาหกรรม === === การปฏิวัติฝรั่งเศส === การเข้าแทรกแซงของฝรั่งเศสในสงครามปฏิวัติอเมริกาทำให้รัฐล้มละลาย หลังความพยายามปฏิรูปการเงินล้มเหลวหลายครั้ง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกโน้มน้าวให้เปิดประชุมสภาฐานันดร ซึ่งเป็นองค์กรผู้แทนของประเทศอันประกอบด้วยสามฐานันดร ได้แก่ นักบวช ขุนนางและสามัญชน สมาชิกสภาฐานันดรประชุมกันที่พระราชวังแวร์ซายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 แต่การถกเถียงว่าจะใช้ระบบการออกเสียงแบบใดนั้นต่อมาจะกลายมาเป็นทางตัน เดือนมิถุนายน ฐานันดรที่สาม และมีสมาชิกอีกสองฐานันดรเข้าร่วม ประกาศตนเป็นสมัชชาแห่งชาติ และปฏิญาณว่าจะไม่สลายตัวจนกว่าฝรั่งเศสจะมีรัฐธรรมนูญ และตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติขึ้นในเดือนกรกฎาคม ขณะเดียวกัน ประชาชนกรุงปารีสลุกขึ้นต่อต้าน และทลายคุกบาสตีย์ที่ขึ้นชื่อเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ขณะนั้น สมัชชาต้องการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และในห้วงสองปีถัดมา ได้ผ่านกฎหมายหลายฉบับรวมทั้งคำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง การเลิกระบบฟิวดัล และการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับกรุงโรม ในตอนแรกพระมหากษัตริย์ทรงยินยอมกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และได้รับความนิยมอยู่พอสมควรจากประชาชน แต่เมื่อการต่อต้านพระมหากษัตริย์เพิ่มขึ้นร่วมกับการบุกครองจากต่างชาติที่คุกคาม พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงถูกถอดพระราชอำนาจ ตัดสินพระทัยลี้ภัยไปพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์ แต่มีคนจำพระองค์ได้และทรงถูกนำพระองค์กลับมายังกรุงปารีส วันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1793 พระองค์ถูกตัดสินประหารชีวิต ด้วยข้อหากบฏ วันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 สภากงวองซิยงแห่งชาติเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์และประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ เนื่องจากภาวะสงครามฉุกเฉิน สภากงวองซิยงแห่งชาติจึงตั้งคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม ควบคุมโดยมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์แห่งสโมสรฌากอแบ็ง ขึ้นทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของประเทศ คณะกรรมาธิการฯ ภายใต้อิทธิพลของรอแบ็สปีแยร์ริเริ่มสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ซึ่งในช่วงนี้มีประชาชนกว่า 40,000 คนถูกประหารชีวิตในกรุงปารีส ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูง และผู้ที่ถูกศาลปฏิวัติพิพากษาลงโทษ โดยมักเป็นหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ สำหรับที่อื่นในประเทศ การก่อการกบฏต่อต้านการปฏิวัติถูกปราบปรามอย่างโหดร้าย ระบอบถูกโค่นในรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 แตร์มิดอร์ (27 กรกฎาคม ค.ศ. 1794) และรอแบ็สปีแยร์ถูกประหารชีวิต ระบอบต่อมายุติความน่าสะพรึงกลัวและผ่อนคลายนโยบายสุดโต่งกว่าของรอแบ็สปีแยร์ นโปเลียน โบนาปาร์ตเป็นนายพลที่ประสบความสำเร็จที่สุดของฝรั่งเศสในสงครามปฏิวัติ โดยพิชิตแผ่นดินอิตาลีผืนใหญ่ และบีบให้ออสเตรียขอสันติภาพ ใน ค.ศ. 1799 เขากลับจากอียิปต์และวันที่ 18 บรูแมร์ (9 พฤศจิกายน) โค่นรัฐบาล และแทนที่ด้วยคณะกงสุล โดยมีเขาเป็นกงสุลใหญ่ วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1804 หลังแผนลับลอบสังหารล้มเหลว เขาปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิ ใน ค.ศ. 1805 นโปเลียนวางแผนบุกครองอังกฤษ แต่พันธมิตรของอังกฤษกับรัสเซียและออสเตรีย (สัมพันธมิตรที่สาม) บีบให้พระองค์หันความสนใจไปยังภาคพื้นทวีป ขณะที่ไม่อาจลวงให้กองเรืออังกฤษที่เหนือกว่าออกจากช่องแคบอังกฤษพร้อมกันนั้น ยุติลงด้วยความปราชัยเด็ดขาดของฝรั่งเศสที่ยุทธนาวีทราฟัลการ์เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ซึ่งดับความหวังใด ๆ ที่จะบุกครองอังกฤษ วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1805 นโปเลียนเอาชนะกองทัพออสเตรีย-รัสเซียที่มีจำนวนเหนือกว่าที่เอาสเทอร์ลิทซ์ บีบให้ออสเตรียถอนตัวจากสัมพันธมิตร และยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ใน ค.ศ. 1806 มีการจัดตั้งสัมพันธมิตรที่สี่ วันที่ 14 ตุลาคม นโปเลียนพิชิตปรัสเซียที่ยุทธการเยนา-เออร์ชเตดท์ เคลื่อนที่ผ่านเยอรมนีและพิชิตรัสเซียเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1807 ที่ฟรีดลันด์ สนธิสัญญาทิลซิทแบ่งยุโรประหว่างฝรั่งเศสกับรัสเซียและสถาปนาดัชชีวอร์ซอ วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1812 นโปเลียนบุกครองรัสเซียด้วยกองทัพใหญ่ ซึ่งมีกำลังพลเกือบ 700,000 นาย หลังชัยชนะมั่นคงที่สโมเลนสก์และโบโรดีโน นโปเลียนยึดครองกรุงมอสโก และพบว่าถูกเผาโดยกองทัพรัสเซียที่ล่าถอยไป พระองค์ถูกบีบให้ล่าถอย ระหว่างการถอยทัพ กองทัพของพระองค์ถูกคอสแซกก่อกวน และประสบกับโรคระบาดและความอดอยาก มีทหารเพียง 20,000 นายที่รอดชีวิตจากการทัพ จนถึง ค.ศ. 1813 กระแสเริ่มพลิกผันจากนโปเลียน หลังถูกกองทัพเจ็ดชาติพิชิตที่ยุทธการไลป์ซิจในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1813 ตามติดด้วยการทัพหกวันและการยึดครองกรุงปารีส พระองค์ทรงถูกบีบให้สละราชสมบัติ ภายใต้สนธิสัญญาฟงแตนโบล พระองค์ทรงถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา พระองค์กลับมาฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1815 เริ่มต้นสมัยร้อยวัน พระองค์ทรงตั้งกองทัพใหม่ แต่ถูกพิชิตอย่างเบ็ดเสร็จโดยกองทัพอังกฤษและปรัสเซียที่ยุทธการวอเตอร์ลูเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 == ศตวรรษแห่งสงคราม == คริสต์ศตวรรษที่ 20 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น รวมทั้งการรุ่งเรืองและล่มสลายของนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียต เหตุการณ์วิบัติเหล่านี้นำไปสู่การสิ้นสุดของจักรวรรดิอาณานิคมยุโรปและริเริ่มการปลดปล่อยอาณานิคมอย่างกว้างขวาง การล่มสลายของสหภาพโซเวียตระหว่าง ค.ศ. 1989 ถึง 1991 ทิ้งให้สหรัฐอเมริกาเป็นรัฐอภิมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวของโลก และกระตุ้นการล่มสลายของม่านเหล็ก การกลับมารวมประเทศเยอรมนี และเร่งขบวนการบูรณการยุโรปที่กำลังดำเนินอยู่ === สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง === หลังช่วงค่อนข้างสงบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่ การแข่งขันระหว่างประเทศยุโรปปะทุขึ้นใน ค.ศ. 1914 เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้น มีการระดมทหารยุโรปกว่า 60 ล้านนายระหว่าง ค.ศ. 1914-1918 คู่สงครามฝ่ายหนึ่งมีเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมันและบัลแกเรีย (ฝ่ายมหาอำนาจกลาง/ไตรพันธมิตร) อีกฝ่ายหนึ่งมีเซอร์เบียและไตรภาคี ซึ่งเป็นแนวร่วมหลวม ๆ ระหว่างฝรั่งเศส อังกฤษและรัสเซีย และมีอิตาลีซึ่งเข้าร่วมใน ค.ศ. 1915 โรมาเนียใน ค.ศ. 1916 และสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1917 รัสเซียของพระเจ้าซาร์ล่มสลายลงในการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และเยอรมนีประกาศชัยชนะบนแนวรบด้านตะวันออก หลังจากการปกครองแบบเสรีนิยมนานแปดเดือน การปฏิวัติเดือนตุลาคมนำให้วลาดีมีร์ เลนินและพรรคบอลเชวิกเถลิงอำนาจ นำไปสู่การสถาปนาสหภาพโซเวียตแทนที่จักรวรรดิรัสเซีย เมื่ออเมริกาเข้าร่วมสงครามใน ค.ศ. 1917 โดยอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และความล้มเหลวของการรุกฤดูใบไม้ผลิของเยอรมนี ทำให้เยอรมนีขาดแคลนกำลังพล ออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิออตโตมัน พันธมิตร ก็ยอมจำนน จักรวรรดิทั้งสามสิ้นสุดลงเมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 === ระหว่างสงคราม === ในสนธิสัญญาแวร์ซาย ผู้ชนะสงครามกำหนดเงื่อนไขค่อนข้างสาหัสแก่เยอรมนีและรับรองรัฐใหม่ เช่น โปแลนด์ เชโกสโลวาเกีย ฮังการี ออสเตรีย ยูโกสลาเวีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย ซึ่งสถาปนาขึ้นในยุโรปกลางจากจักรวรรดิเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการีและรัสเซียเดิม ซึ่งถือว่าอยู่นอกการกำหนดการปกครองชาติด้วยตนเอง ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่พัวพันในสงครามท้องถิ่น โดยสงครามใหญ่ที่สุด คือ สงครามโปแลนด์-โซเวียต (1919–1921) === ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ === หลังตลาดหุ้นวอลล์สตรีทตกใน ค.ศ. 1929 เกือบทั้งโลกก็เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เมื่อราคาตก กำไรตก และการว่างงานสูงขึ้น ภาคที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดมีอุตสาหกรรมหนัก เกษตรกรรมเน้นการส่งออก การทำเหมืองแร่และการป่าไม้ และการก่อสร้าง การค้าโลกหดลงถึงสองในสาม ประชาธิปไตยถูกป้ายสี เมื่อชาติแล้วชาติเล่าในยุโรปส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับญี่ปุ่นและละตินอเมริกาส่วนใหญ่ เปลี่ยนเป็นเผด็จการและระบอบอำนาจนิยม ที่สำคัญที่สุด คือ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีที่เถลิงอำนาจในเยอรมนีใน ค.ศ. 1933 เกิดสงครามกลางเมืองใหญ่ขึ้นในสเปน โดยฝ่ายชาตินิยมชนะ สันนิบาตชาติช่วยเหลืออะไรไม่ได้เมื่ออิตาลีพิชิตเอธิโอเปียและญี่ปุ่นยึดแมนจูเรียใน ค.ศ. 1931 และยึดจีนได้ส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1937 === สงครามโลกครั้งที่สอง === หลังเป็นพันธมิตรกับอิตาลีของมุสโสลินีใน "สนธิสัญญาเหล็ก" และการลงนามสนธิสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จึงเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 โดยเข้าตีโปแลนด์ หลังการเสริมสร้างทหารตลอดปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 หลังความสำเร็จขั้นต้นใน ค.ศ. 1939-1941 ซึ่งมีทั้งการพิชิตโปแลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ฝรั่งเศสและคาบสมุทรบอลข่าน ฮิตเลอร์และพันธมิตรเริ่มขยายเกินตัวใน ค.ศ. 1941 เป้าหมายของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมยุโรปตะวันออก แต่เนื่องจากความล้มเหลวในการเอาชนะอังกฤษและความล้มเหลวของอิตาลีในแอฟริกาเหนือและคาบสมุทรบอลข่าน ทำให้การเข้าตีใหญ่สหภาพโซเวียตถูกเลื่อนออกไปกระทั่งเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้จะประสบความสำเร็จในขั้นต้น กองทัพเยอรมันถูกหยุดใกล้กับกรุงมอสโกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 อีกหนึ่งปีถัดมา กระแสของสงครามพลิกผันและเยอรมนีประสบความพ่ายแพ้หลายครั้ง เช่น การล้อมสตาลินกราดและที่เคิสก์ ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและอิตาลีตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1940 โจมตีอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 จากนั้น เยอรมนีได้ประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา กองกำลังสัมพันธมิตรชนะในแอฟริกาเหนือ บุกครองอิตาลีใน ค.ศ. 1943 และยึดฝรั่งเศสคืนได้ใน ค.ศ. 1944 ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1945 เยอรมนีเองถูกบุกครองจากทางตะวันออกโดยสหภาพโซเวียต และจากทางตะวันตกโดยฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อกองทัพแดงงพิชิตไรช์สทักในกรุงเบอร์ลิน ฮิตเลอร์ทำอัตวินิบาตกรรมและเยอรมนียอมจำนนในต้นเดือนพฤษภาคม สมัยนี้มีลักษณะของพันธุฆาตอย่างเป็นระบบ ระหว่าง ค.ศ. 1942-45 พวกนาซีประสบความสำเร็จในการสังหารพลเรือนกว่า 11 ล้านคน รวมทั้งชาวยิวและชาวยิปซีในยุโรปส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับชาวโปแลนด์และชาวโซเวียตเชื้อสายสลาฟอีกหลายล้านคน ขณะเดียวกัน ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ระบบแรงงานเกณฑ์ การขับไล่และความอดอยากที่ถูกกล่าวหาว่ามีการวางแผนของโซเวียตก็มียอดผู้เสียชีวิตไม่ต่างกัน ระหว่างและหลังสงคราม พลเรือนหลายล้านคนได้รับผลกระทบจากการบังคับถ่ายโอนประชากร === สงครามเย็น === หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งกันเอง มีการแบ่งโลกออกเป็นสองค่ายคือค่ายเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ สงครามเย็นแม้ จะเรียกว่าสงครามแต่ก็เป็นเพียงสงครามที่ไม่มีการรบ มีเพียงสงครามตัวแทนเช่นสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ฯลฯ สงครามนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสะสมอาวุธร้ายแรง การใช้จิตวิทยาโจมตีอีกฝ่าย สงครามเย็นสิ้นสุดเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991) == ร่วมสมัย == หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุโรปอยู่ในสภาพที่บอบช้ำและเสียหายอย่างหนักในทุกด้าน จึงทำให้มีผู้นำทางการเมืองเกิดแนวความคิดที่จะสร้างอนาคตที่มีสันติภาพอย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรองดองกันระหว่างสองรัฐที่เคยได้ทำสงครามที่สร้างความหายนะแก่ทวีปทั้งทวีป คือ ฝรั่งเศส กับเยอรมนี ซึ่งบุคคลที่ได้เสนอแนวคิดนี้ คือ นาย Jean Monnet (ชาวฝรั่งเศส) และถูกนำมาขยายผลโดยนาย Robert Schuman (รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส) โดยวิธีการของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจกันระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีให้ใกล้ชิดกันจนกระทั่งทั้งสองประเทศจะไม่สามารถทำสงครามระหว่างกันได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายในระยะยาวที่จะสร้างความเป็นเอกภาพระหว่างประชาชนชาวยุโรป เพื่อมิให้มีการแตกแยกและนำไปสู่การทำสงครามระหว่างกันในอนาคตด้วย แนวคิดดังกล่าว ได้นำไปสู่การจัดตั้ง ”ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community)” ในปี พ.ศ. 2494 (ค.ศ.1951) โดยสนธิสัญญากรุงปารีส ซึ่งแรกเริ่มมีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก และอิตาลี ทั้งนี้ เนื่องจากถ่านหินและเหล็กกล้าถือเป็นยุทธปัจจัย การจัดตั้งประชาคมเพื่อบริหารทรัพยากรดังกล่าวจึงเสมือนเป็นก้าวแรกที่จะทำให้สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งประชาคมขึ้นอีก 2 ด้าน คือ ด้านปรมาณู (Euratom) ในปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ.1954) และที่สำคัญ คือ ด้านเศรษฐกิจ (European Economic Community) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ.1957) โดยสันธิสัญญากรุงโรม ทั้งสนธิสัญญากรุงปารีสและสนธิสัญญากรุงโรม ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของสหภาพยุโรปที่ยังคงใช้จนถึงทุกวันนี้ เพราะเป็นการวางรากฐานในการจัดตั้งสถาบันบริหารกิจการของประชาคม คือ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คณะมนตรี (Council) ศาลตุลาการยุโรป (European Court of Justice) และสภายุโรป (European Parliamentary Assembly ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า European Parliament) และยังวางรากฐานของการบริหารอธิปไตยร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกโดยผ่าน ”ประชาคม” อีกด้วย ทั้งนี้ เป้าหมายที่สำคัญของการร่วมมือครั้งนี้ คือ การจัดตั้ง “ตลาดร่วม” ของประเทศสมาชิก กล่าวคือ ดำเนินการเพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปโดยไร้อุปสรรคอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนอกจากหมายถึงการยกเลิกด่านศุลกากรระหว่างกันแล้ว ยังหมายถึงการประสานกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าทั้งหมด อาทิ การรับรองมาตรฐานสินค้า ระบบการตรวจสอบสินค้าเข้าจากต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้เสร็จสิ้นภายหลังโครงการ “Single Market Act” เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ.1986) และสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ.1992) พัฒนาขั้นต่อไปที่สำคัญ คือ การลงนามในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of European Union) ลงนามที่เมืองมาสตริคต์ในปี 1992 (จึงมักเรียกสั้นๆ ว่า Maastricht Treaty) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ “สหภาพยุโรป”ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สาระสำคัญของการจัดตั้งสหภาพยุโรป คือ นอกจากคงไว้ซึ่งโครงสร้างความร่วมมือเดิมภายใต้ประชาคมทั้งสามที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกไปอีกสองด้าน คือ (1) ความร่วมมือด้านการต่างประเทศและความมั่นคง กับ (2) ความร่วมมือด้านมหาดไทยและยุติธรรม อย่างไรก็ดี เนื่องจากทั้งสองด้านดังกล่าว เป็นเรื่องที่บางรัฐสมาชิกมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านอธิปไตย จึงมิใช่ความร่วมมือในลักษณะ “ประชาคม” (หมายถึงการแบ่งอำนาจอธิปไตยมาบริหารร่วมกัน) แต่เป็นการร่วมมือและประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล (Inter-Governmental Cooperation) “สนธิสัญญามาสตริคต์” ถูกแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมโดยสนธิสัญญาสำคัญอีกสองฉบับ คือ สนธิสัญญากรุงอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) และสนธิสัญญาเมืองนีซ (Treaty of Nice) ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) ซึ่งขยายขอบเขตสาขาความร่วมมือภายใต้นโยบายร่วมของสหภาพยุโรป (โดยเฉพาะในด้านมหาดไทยและยุติธรรม) พร้อมกับปรับปรุงสถาบันและแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถรองรับจำนวนรัฐสมาชิกที่เพิ่มขึ้นต่อไป จากเดิมซึ่งมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ สหภาพยุโรป ได้รับรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยหลายครั้ง คือ ปีพ.ศ. 2516 (ค.ศ.1973) เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ปี 1981 กรีซ ปี 1986 สเปนและโปรตุเกส ปี 1995 ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน และล่าสุดปีพ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) ถือเป็นการขยายจำนวนสมาชิกครั้งใหญ่ที่สุดถึง 10 ประเทศ คือ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก และสลีวีเนีย และเมื่อ ค.ศ.2007 รับเพิ่มอีก 2 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 27 ประเทศ สมาชิกใหม่คือ บัลแกเรีย และโรมาเนีย == ประวัติศาสตร์แบ่งตามประเทศในยุโรป == ประวัติศาสตร์กรีซ ประวัติศาสตร์โครเอเชีย ประวัติศาสตร์เช็กเกีย ประวัติศาสตร์ซานมารีโน ประวัติศาสตร์เซอร์เบียและมอนเตเนโกร ประวัติศาสตร์เซอร์เบีย ประวัติศาสตร์มอนเตเนโกร ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก ประวัติศาสตร์นอร์เวย์ ประวัติศาสตร์เนเธอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ประวัติศาสตร์บัลแกเรีย ประวัติศาสตร์เบลเยียม ประวัติศาสตร์เบลารุส ประวัติศาสตร์โปรตุเกส ประวัติศาสตร์โปแลนด์ ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ฟินแลนด์ ประวัติศาสตร์มอลโดวา ประวัติศาสตร์มอลตา ประวัติศาสตร์มาซิโดเนีย ประวัติศาสตร์ยูเครน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติศาสตร์รัสเซีย ประวัติศาสตร์โรมาเนีย ประวัติศาสตร์ลัตเวีย ประวัติศาสตร์ลิกเตนสไตน์ ประวัติศาสตร์ลิทัวเนีย ประวัติศาสตร์นครรัฐวาติกัน ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์สโลวาเกีย ประวัติศาสตร์สโลวีเนีย ประวัติศาสตร์สวิตเซอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์สวีเดน ประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษ ประวัติศาสตร์ออสเตรีย ประวัติศาสตร์อันดอร์รา ประวัติศาสตร์อิตาลี ประวัติศาสตร์เอสโตเนีย ประวัติศาสตร์แอลเบเนีย ประวัติศาสตร์ไอซ์แลนด์ ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์ฮังการี == อ้างอิง ==
thaiwikipedia
562
รายชื่อบริษัทในประเทศญี่ปุ่น
รายชื่อบริษัทที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น ==ค== คาเนโบ คาโอ เคนวูด (เครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้า) เบียร์คีริน โคมัตสุ โคนามิ (เกมคอมพิวเตอร์) โคนิก้า มินอลต้า (อุปกรณ์ด้านภาพ กล้องถ่ายรูป ฟิลม์ เครื่องถ่ายเอกสาร) คูโบต้า (เครื่องจักรเกษตร) เคียวเซรา แคนนอน (อุปกรณ์ด้านภาพ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) แคปคอม (เกมคอมพิวเตอร์) คาสิโอ (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์พกพา) คอสโม (น้ำมัน) ==จ== เจวีซี วิคเตอร์ ==ช== ชาร์ป ชิเซโด้ (เครื่องสำอาง) ==ซ== ซันโย เซคอม เซก้า (ซอฟต์แวร์เกมคอมพิวเตอร์) โซนี่ ซูซุกิ ซิติเซ็น (นาฬิกา) ซูบารุ ซูมิโตโม ==ด== ไดฮัทซึ ไดคิ้น ไดมารู เด็นโซ่ ไดกิ้น [ผลิตเครื่องปรับอากาศ] ==ต== โตชิบา (อ่านว่า โตชิบ้า) โตโยต้า ==ท== ทีดีเค ==น== นินเทนโด(เครื่องเกมคอนโซลและซอฟต์แวร์เกม) นิสสัน นิสชิน นิคอน นิปปอน เพ็นท์ เนชั่นแนล (บริษัทในเครือ มัตซึชิตะ) ==บ== บันได (ของเล่นและเกมคอมพิวเตอร์) บริดสโตน บราเดอร์ ==พ== พานาโซนิค (บริษัทในเครือ มัตซึชิตะ) ไพโอเนียร์ ==ฟ== ฟูจิฟิล์ม ฟูจิตสึ ==ม== มัตซึชิตะ (พานาโซนิค,เนชั่นแนล) มาสด้า เมจิ มิตซูบิชิ * มิตซูบิชิ อิเลคทริก * มิตซูบิชิ มอเตอร์ ==ย== ยามาฮ่า ยามาฮ่ามอเตอร์ ยามาซากิ (ขนมปัง) ==ร== ริโค ==ว== วายเคเค (ซิป) ==ส== สแควร์เอนิกซ์(เกมคอมพิวเตอร์) ==อ== อายิโนะโมะโต๊ะ (ผงชูรส และอาหาร) เอพลัส อาซาฮี (เบียร์) อาซาฮี (กระจก) อิเซตัน (ห้างสรรพสินค้า) อีซูซุ (รถยนต์) เอนิกซ์ (เกมคอมพิวเตอร์) โอกิ (เครื่องพิมพ์) โอลิมปัส (กล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์) เอ็นอีซี (คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์) เอ็นทีที (สื่อสาร โทรคมนาคม) * เอ็นทีที โดะโคะโมะ (โทรศัพท์พกพา) ==ฮ== ฮิตาชิ ฮอนด้า โฮย่า บริษัทในประเทศญี่ปุ่น
thaiwikipedia
563
สามราชอาณาจักรเกาหลี
ราชอาณาจักรทั้งสาม ในประวัติศาสตร์เกาหลี หมายถึงจักรวรรดิโคกูรยอ, แพ็กเจ และชิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลี และบางส่วนของจีน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดและดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร คือ โคกูรยอ แพ็กเจ และชิลลา นับเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจสูงสุดในแถบนั้น เป็นที่รู้จักกันว่า ยุคแห่งสามอาณาจักรใหญ่ ระหว่าง 57 ปีก่อนคริสตกาล ถึงปี ค.ศ. 668 โดยอาณาจักรชิลลา มีชัยชนะต่ออาณาจักรแพ็กเจและจักรวรรดิโคกูรยอ จึงผนวกรวมดินแดนให้เป็นหนึ่งเดียวนับแต่นั้นมา == จักรวรรดิโคกูรยอ == จักรวรรดิโคกูรยอ (เกาหลี: 고구려, ฮันจา: 高句麗, MC: Goguryeo, MR: Koguryŏ, เสียงอ่าน:: [koɡuɾjʌ]; 37 ปีก่อนค.ศ. - ค.ศ. 668) เป็นจักรวรรดิเกาหลีโบราณ ปัจจุบัน ดินแดนส่วนใหญ่อยู่ใน เกาหลีเหนือ และคาบสมุทรเหลียวตงของ จีน จักรวรรดินี้ถูกสถาปนาโดย จักรพรรดิดงเมียงยอง ราชวงศ์นี้มีอาณาเขตตั้งแต่เกาหลีเหนือปัจจุบันแมนจูเรียถึงรัสเซียบางส่วนเป็นราชวงศ์แรก ที่ถูกบันทึกหลักฐานราชวงศ์นี้มีจักรพรรดิที่เป็นมหาราชองค์แรกของเกาหลีคือ พระมหาจักรพรรดิกวางแกโตมหาราช จักรพรดิองค์ที่ 19 ของราชวงศ์ทรงเก่งทั้งเรื่องรบและเรื่องรักทรงขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางต่อมาจักรวรรดินี้เริ่มมีปัญหารบรากับอาณาจักรแพ็กเจและอาณาจักรชิลลา ในสมัยราชวงศ์ถัง (618-907) ในขณะนั้นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ประมาณปี ค.ศ. 660 ต่อมาสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 28 ของราชวงศ์ก็ถูกพวกชิลลาตีแตกและรวบรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทำให้จักรวรรดิโคกูรยอที่ปกครองมายาวนานกว่า 700 ปีก็สิ้นสุดลง == อาณาจักรแพ็กเจ == อาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลี:백제, ฮันจา: 百濟; 18 ปีก่อนค.ศ. - ค.ศ. 660) สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอนจอพระราชโอรสองค์เล็กในจักรพรรดิดงเมียงยองในพุทธศตวรรษที่ 13 เมื่อจักรวรรดิโคกูรยอพยายามจะกลืนอำนาจของอาณาจักรพูยอ พระเจ้าอนจอได้นำกำลังคนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกมาจากจักรวรรดิโคกูรยอลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลอำนาจของอาณาจักรมาฮัน โดยข้ามแม่น้ำฮันมา เลือกชัยภูมิอยู่ใกล้ๆกับที่เป็นโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน เพื่อตั้งเมืองใหม่ชื่อ วิเรซอง แล้วสถาปนาเป็นอาณาจักรซิปเจหลังสิ้นรัชกาลของพระองค์มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายพระองค์ จนถึงกษัตริย์รัชกาลที่ 31 ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้ายคือพระเจ้าอึยจา ก็พ่ายแพ้แก่กองทัพพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยกองทัพชิลลาและกองทัพถังของจีนในปี ค.ศ. 660 (พ.ศ. 1203) ทำให้อาณาจักรแพ็กเจที่ปกครองมานานถึง 678 ปีก็ถึงกาลอวสาน == อาณาจักรชิลลา == อาณาจักรชิลลา (เกาหลี: 신라; ฮันจา: 新羅, 57 ปีก่อนคริสต์ศักราช — ค.ศ. 935) เป็นหนึ่งในอาณาจักรยุคสามก๊กแห่งเกาหลีสถาปนาโดยพระเจ้าฮยอกกอเซเมื่อ 57 ปีก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 486) ซึ่งอาณาจักรชิลลาเกิดจากการรวมตัวกันของอาณาจักรจินฮันกับชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้อาณาจักรเติบโตขึ้นแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรชิลลา อาณาจักรชิลลาต้องทำสงครามกับอีก 3 อาณาจักรใหญ่คือจักรวรรดิโคกูรยอ อาณาจักรแพ็กเจ และอาณาจักรคายา อยู่นานกว่า 500—600 ปีก่อนที่พระเจ้ามุนมูกษัตริย์องค์ที่ 30 แห่งอาณาจักรชิลลาซึ่งครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 661—681 จะสามารถรวบรวมแผ่นดินได้สำเร็จด้วยการกลืนโคกูรยอและแพ็กเจเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชิลลาก่อนที่จะถูกโค่นอำนาจลงในปี ค.ศ. 935 ประวัติศาสตร์เกาหลี
thaiwikipedia
564
สแปม
สแปม (spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่งอีเมลที่เราไม่ต้องการ จากที่ใดก็ได้ในโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่าผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร หรือเป็นการแอบอ้างหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันมีการส่งสแปมที่สามารถปลอมชื่อและอีเมลผู้ส่งได้ จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจากอีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และเอสเอ็มเอสสแปม การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยังไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ==ป้องกัน== แอปพลิเคชันอย่าง LINE whoscall สามารถป้องกันสแปมจากข้อความในมือถือได้ อย่ารีบหลงเชื่อเนื้อหา ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเสียก่อน เนื่องจากบางครั้งเนื้อหาในสแปมอาจเป็นข้อมูลเท็จ หรือเขียนเหมือนจดหมายลูกโซ่ เช่น อาจเป็นภาพตัดต่อ, อาจมีเนื้อหาเป็นวิทยาศาสตร์เทียม, อาจแอบอ้างบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือตำแหน่งหน้าที่การงานที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น รวมถึงผู้หลอกลวงต้มตุ๋นหลายรายก็มักใช้การสแปมเพื่อโฆษณาหรือแสวงหาเหยื่อด้วยเช่นกัน == ที่มาของคำศัพท์ == คำว่าสแปม มีที่มาจากรายการ Monty Python's Flying Circus ซึ่งเป็นรายการตลกแนวเหนือจริงของอังกฤษในยุค 1970 ที่มีรูปแบบเป็นตอนสั้นๆ (เรียกว่า Sketch Show) ในตอนหนึ่งมีคู่สามีภรรยาเข้าไปที่ร้านอาหารแล้วสอบถามเมนู แต่ในเมนูมีสแปม (แฮมกระป๋อง) ซ้ำๆเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งของบทพูดในตอนนี้เป็นดังต่อไปนี้สามี: มีเมนูอะไรบ้าง? พนักงาน: เบคอนไข่ดาว เบคอนไส้กรอกไข่ดาว สแปมไข่ดาว ไข่ดาวเบคอนสแปม ไข่ดาวเบคอนไส้กรอกและสแปม สแปมเบคอนไส้กรอกและสแปม สแปมไข่ดาวสแปมสแปมเบคอนและสแปม สแปมสแปมสแปมไข่ดาวและสแปม สแปมสแปมสแปมสแปมสแปมสแปมถั่วต้มสแปมสแปมสแปมและสแปม ลอบสเตอร์เทอร์มิดอร์โอซ์เครอแวตต์ราดซอสมอร์เนย์โรยหน้าด้วยทรัฟเฟิลพาเต้และบรั่นดี ไข่ดาว และสแปม ภรรยา: ไม่มีอะไรที่ไม่มีสแปมเลยเหรอ? พนักงาน: สแปมเบคอนไส้กรอกและสแปม มีสแปมน้อยหน่อย == อ้างอิง == ==แหล่งข้อมูลอื่น== การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต คำศัพท์อินเทอร์เน็ต การตลาด อาชญากรรมไซเบอร์
thaiwikipedia
565
ประตูหลัง
ประตูหลัง (backdoor) ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง รูรั่วของระบบรักษาความมั่นคงที่ผู้ออกแบบหรือผู้ดูแลจงใจทิ้งไว้ โดยเป็นกลไกลลับทางซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ใช้ข้ามผ่านการควบคุมความมั่นคง เพื่อเปิดทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้ามาในระบบและก่อความเสียหายได้ วิทยาการเข้ารหัสลับ ความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
566
ไผ่
ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า (วงศ์ Poaceae; เดิมคือวงศ์ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro) ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น == สกุล == ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้ Arundinaria Bambusa Chimonobambusa Chusquea Dendrocalamus Drepanostachyum Guadua angustifolia Hibanobambusa Indocalamus Otatea Phyllostachys Pleioblastus Pseudosasa Sasa Sasaella Sasamorpha Semiarundinaria Shibataea Sinarundinaria Sinobambusa Thamnocalamus ==รายชื่อไผ่ของไทย== ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้ ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile ) ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa) ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta) ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus) ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus) ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus) ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus ) ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe) ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii) ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans) ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii) ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda) ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha) ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica) ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos) ไผ่เป๊าะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus giganteus) ไผ่ผาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa densa) ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla) ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis) ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri) ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata) ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar) ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex) ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.) ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana) ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii) ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis) ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha) ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris) ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum) ภาพ:Phyllostachys aurea0.jpg|ใบไผ่ == อ้างอิง == วัสดุก่อสร้าง ไผ่ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย พืชที่รับประทานได้ ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง พืชที่ใช้ทำของใช้ พืชเหง้า
thaiwikipedia
567
หนอนคอมพิวเตอร์
หนอนคอมพิวเตอร์ หรือ หนอนอินเทอร์เน็ต (computer worm) หรือบางทีเรียกกันว่าเวิร์ม คือหน่วยย่อยลงมาจากมัลแวร์ (อังกฤษ:Malware)ปกติแล้ว หนอนคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งานของผู้ใช้ โดยมันจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองข้ามเครือข่าย เช่นระบบเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ตเป็นต้น หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำลายข้อมูลและแบนด์วิดท์สร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์รวมไปถึงการทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงานอีกด้วย == อันตรายที่เกิดจากหนอนคอมพิวเตอร์ == หนอนคอมพิวเตอร์สามารถที่จะควบคุมความสามารถบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และสามารถที่จะส่งไฟล์หรือข้อมูลที่สำคัญของคุณไปสู่ผู้ที่ไม่หวังดี คู่แข่ง หรือใครก็ได้ ทำให้เกิดความเสียหายได้ == การป้องกัน == ไม่เปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมลที่ส่งมาจากผู้ที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ถึงแม้จะรู้ว่าผู้ส่งเป็นใคร ก็ไม่ควรเปิดไฟล์ที่แนบมาถ้าไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่แนบมาเป็นอะไรกันแน่ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส ปรับข้อมูลไวรัสของโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็นปัจจุบันตลอด ติดตั้งตัวแก้ไขระบบปฏิบัติการ ติดตั้งไฟร์วอลล์ ความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ หนอนคอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
568
จารกรรมทางอุตสาหกรรม
จารกรรมทางอุตสาหกรรม (industrial espionage) คือ การขโมยข้อมูลเกี่ยวกับความลับทางการค้าเพื่อให้ได้ความได้เปรียบในเชิงพาณิชย์ == อันตรายที่เกิดขึ้น == การแสดงที่อยู่การทดสอบการบุกที่กระทำระหว่างบริษัทเทคโนโลยีสูงใหญ่ที่ความต้องการของเขาทั้งหลาย เป้าหมายของการทดสอบอยู่ที่เลียนแบบการโจมตีจารกรรมทางอุตสาหกรรม ภายในตัวแปรที่เงินทุน ยุทธศาสตร์การโจมตีที่ครอบคลุมถูกใช้เพื่อเลียนแบบการโจมตีอย่างแน่นอนและเป็นไปได้ การโจมตีเพื่อที่จะเข้าไปถึงฐานข้อมูล การรับตำแหน่งเป็นลูกจ้างชั่วคราวภายในเป้าหมาย การหลบหลีกความรับผิดชอบโดยชั่วคราว ใช้ในทางที่ผิดของการเข้าถึงทางกายภาพ การเจาะข้อมูลภายใน การประสานภายในและการทำให้สะดวกของแฮกเกอร์ภายนอก และการเจาะข้อมูลภายนอกโดยตรง การได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง ภายในหนึ่งวันในการทำงาน มากกว่า $1,000,000,000 ของข้อมูลเป็น “ขโมย” ขณะที่ระบบเตือนภัยคือ ป้องกันการรุกราน และSmart Cardsที่ป้องกันการเข้าถึงจากคนภายนอก ข้อมูลถูกเก็บอย่างระมัดระวังจากระบบภายใน ที่ทำให้ในบริษัทซึ่งมีโปรแกรมความปลอดภัยทางเทคนิคใหญ่โตมีความปลอดภัย == การชดใช้ค่าเสียหาย == สำหรับบริษัทมากมาย การสูญหายสามารถจะเป็นได้สามารถโดยง่ายประเมินค่าไว้สูงใน 1,000,000,000 ของดอลลาร์ ความพยายามความปลอดภัยข้อมูลต้องเพราะฉะนั้นการกระทำตัวนับที่ครอบคลุมที่อยู่ == การป้องกัน == ตั้งแต่วิธีที่ใช้ในยุคแห่งอุตสาหกรรมมีการตรวจสอบ คือใช้วิธีดั้งเดิม การกระทำตัวนับที่ใช้เพื่อป้องกันการจารกรรม สามารถป้องกันจารกรรมทางอุตสาหกรรมทั้งนี้องค์กรธุรกิจนั้นสามารถเรียนรู้จากหน่วยงานของแบบฝึกหัดความปลอดภัยการป้องกัน ขณะที่เราไม่กำลังสนับสนุนการยึดมั่นรวมเพื่อ DoD มาตรฐาน บริษัทต้องใช้ระดับของมาตรฐานการนับ ซึ่งแสดงว่าถูกต้องโดยการสูญหายสามารถจะเป็นได้ซึ่งบริษัทสามารถได้รับ ที่ครอบคลุมเป็นวิธีที่ใช้ระหว่างพวกเขา มี 4 ขั้นของความพยายามความปลอดภัยที่ครอบคลุมซึ่งเพิ่มและการสนับสนุนกันและกัน: ทางเทคนิค ปฏิบัติ ฟิสิกส์ และ ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ กระดาษแผ่นนี้แนะนำความคิดของความปลอดภัยที่ครอบคลุม มันถูกแนะนำซึ่งกระดาษแผ่นอื่นเอกสารติดตามบนความคิดดังต่อไปนี้อย่างแข็งแรง ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องป้องกันจารกรรมทางอุตสาหกรรมที่ใหญ่กว่า ด้วยความเสียใจ การทิ้งเอกสารเป็นความลับของคุณ--ถึงแม้จะใกล้ความดูแลอย่างมาก--ก็ไม่พออีกต่อไป ในที่สุด ศาลฎีกาอเมริกาได้ปกครอง"Dumpster diving"นั้น สำหรับเอกสารไม่ใช่แม้แต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นอะไรคือธุรกิจเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย แต่ยังการกวดขันเรื่องการเงิน เพื่อทำ? ขอบคุณบริษัทshredding แฟ้มระดับสูงในอุตสาหกรรม คำตอบใหม่มีโผล่มาเมื่อไม่นาน เทคโนโลยี shredding แฟ้มเคลื่อนที่ซึ่งบริษัทการทำลายเอกสาร ที่ดีที่สุดตอนนี้ใช้ทำมันเป็นไปได้เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยส่วนของราคาซึ่งการทำดังนั้นคงมีราคาในอดีต วิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันจารกรรมทางอุตสาหกรรม เป็นมีประสบการณ์ของนักธุรกิจที่มีความรู้ยาว วิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันจารกรรมทางอุตสาหกรรมต้อง shredding เอกสารเป็นความลับของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงออกสติปัญญาด้วยตัวเอง อย่างมีความสุข shredding เทคโนโลยีมีตอนนี้ก้าวหน้าเพื่อจุดซึ่งการทำดังนั้นที่มีประสิทธิภาพราคามากกว่าเคย การกระทำที่ความเร็วของสูงถึง 6,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง หน่วยเคลื่อนที่ใหม่ที่ดีที่สุดทำหลักฐานการทำลายของแฟ้มของคุณง่ายกว่ากว่าเคยมาก่อนถ้าคุณรู้ที่ซึ่งเพื่อเลี้ยว คุณสามารถทั้งคู่ได้ และกับมากที่ผูกกับ คุณไม่สามารถหาเพื่อทำน้อยกว่า ธุรกิจ สังคมมนุษย์ จารกรรม
thaiwikipedia
569
ประเทศตูวาลู
ตูวาลู (ตูวาลูและTuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า "แปดยืนยง" (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว ตูวาลูเป็นประเทศอิสระที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีวเวซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง == ประวัติศาสตร์ == ชาวสเปนเป็นพวกแรกที่เข้ามาพบหมู่เกาะแห่งนี้ ในระหว่างการเดินทางเพื่อค้นหาดินแดนแห่งใหม่ทางตอนใต้ แต่ก็ไม่ให้ความสนใจเท่าใด ต่อมามีชาวอังกฤษเดินเรือเข้ามาพบและได้ตั้งชื่อว่า หมู่เกาะเอลลิซ ตามชื่อของนักการเมืองอังกฤษที่เป็นเจ้าของเรือ ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะ ใน พ.ศ. 2435 หมู่เกาะเอลลิซกลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ หลังจากนั้นก็ถูกรวมเข้ากับหมู่เกาะกิลเบิร์ต (ปัจจุบันคือคิริบาส) เป็นอาณานิคมของอังกฤษ กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองหมู่เกาะเอลลิซในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นที่มั่นสำหรับต่อต้านทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองหมู่เกาะกิลเบิร์ต หลังสงครามเกิดความตึงเครียดระหว่างประชากรของหมู่เกาะกิลเบิร์ตกับประชากรของหมู่เกาะเอลลิซ หมู่เกาะเอลลิซจึงได้แยกตัวออกมา และเป็นประเทศเอกราชในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2521 == การเมือง == ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขรวมกับประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Monarchy with a parliamentary Democracy) ระบบสภาเดี่ยวเรียกว่า House of Assembly ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภาเป็นหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐบาลมีจำนวนไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี == การแบ่งเขตการปกครอง == ตูวาลูแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เกาะและหมู่เกาะ มีอยู่ 5 แห่งที่เป็นอะทอลล์หรือเกาะปะการัง (atoll) โดยเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะหนึ่งเกาะ ได้แก่ ฟูนาฟูตี (Funafuti) นานูเมอา (Nanumea) นูอี (Nui) นูกูเฟตาอู (Nukufetau) นูกูลาเอลาเอ (Nukulaelae) วาอีตูปู (Vaitupu) ส่วนเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะมากกว่าหนึ่งเกาะ ได้แก่ นานูมากา (Nanumaga) นีอูลากีตา (Niulakita) นีอูตาโอ (Niutao) == ภูมิศาสตร์ == ตูวาลูอยู่ในเขตลมค้า แต่บนขอบของตะวันตกภาคใต้เขต doldrum แปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตร แลกเปลี่ยนเป็นลมจากไตรมาสตะวันออกและเกิดขึ้นบ่อยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในปีที่สุดจากธันวาคม-มีนาคม, ลมระหว่างทิศตะวันตกและทิศเหนือจะเท่ากับหรือเกิน easterlies ในความถี่ == เศรษฐกิจ == สหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็ก ทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลูยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเพื่อการยังชีพ และสองในสามของการ จ้างงานในประเทศคือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลูยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม .tv == ประชากร == ประเทศตูวาลูมีประชากร 10,441 คน (พ.ศ. 2548) ประเทศตูวาลูมีประชากรหนาแน่นพอๆกันกับประเทศนาอูรู แต่มีประชากรน้อยกว่าประเทศนาอูรู เชื้อชาติ : พอลินีเชีย ร้อยละ 96 ไมโครนีเชีย ร้อยละ 4 ศาสนา : ศาสนาคริสต์ 98.4% อื่นๆ 1.6% == วัฒนธรรม == ตูวาลู ต ต ตูวาลู ตูวาลู รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2521 พอลินีเชีย
thaiwikipedia
570
ม้าโทรจัน (คอมพิวเตอร์)
ม้าโทรจัน (Trojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services) ชื่อของมันมาจากเรื่องราวกรีกโบราณเกี่ยวกับม้าโทรจันที่นำไปสู่การล่มสลายของกรุงทรอย โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่ไม่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยมีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ โดยมีความต่างไวรัสคอมพิวเตอร์, หนอนคอมพิวเตอร์ และrogue security software ตรงที่โทรจันมักไม่นำไวรัสของตนไปแพร่เข้าไฟล์อื่นหรือแพร่ด้วยตนเอง ==อ้างอิง== ==แหล่งข้อมูลอื่น== สปายแวร์ สงครามไซเบอร์ การละเมิดความปลอดภัย
thaiwikipedia
571
ดีเอ็นเอ
กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหัส == โครงสร้าง == ดีเอ็นเอเป็นพอลิเมอร์สายยาวที่ประกอบจากหน่วยย่อยซ้ำ ๆ เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ ตามที่ถูกค้นพบครั้งแรกโดย เจมส์ ดี. วัตสันและฟรานซิส คริก โครงสร้างดีเอ็นเอในทุกสปีชีส์ประกอบด้วยสายเกลียวสองสายพันรอบแกนเดียวกัน แต่ละสายมีความยาวเกลียว 34 อังสตรอม (3.4 นาโนเมตร) และรัศมี 10 อังสตรอม (1.0 นาโนเมตร) ในอีกการศึกษาหนึ่ง ซึ่งวัดในสารละลายบางชนิด พบว่า สายดีเอ็นเอวัดความกว้างได้ 22 ถึง 26 อังสตรอม (2.2 ถึง 2.6 นาโนเมตร) และหนึ่งหน่วยนิวคลีโอไทด์วัดความยาวได้ 3.3 อังสตรอม (0.33 นาโนเมตร) แม้ว่าแต่ละหน่วยที่ซ้ำ ๆ กันนี้จะมีขนาดเล็กมาก แต่พอลิเมอร์ดีเอ็นเอกลับมีขนาดใหญ่มาก โดยประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์หลายล้านหน่วย ตัวอย่างเช่น โครโมโซมหมายเลข 1 ซึ่งเป็นโครโมโซมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาว 220 ล้านคู่เบส ในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอมักไม่ปรากฏเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่พบเป็นโมเลกุลคู่ที่ยึดกันอย่างแน่นหนา ทั้งสองสายนี้พันกันเหมือนกับไม้เลื้อยในรูปเกลียวคู่ หน่วยซ้ำนิวคลีโอไทด์มีทั้งส่วนแกนกลางของโมเลกุล ซึ่งยึดสายเข้าด้วยกัน กับนิวคลีโอเบส ซึ่งมีปฏิกิริยากับดีเอ็นเออีกเกลียวหนึ่ง น้ำตาลที่เชื่อมกับนิวคลีโอเบส เรียกว่า นิวคลีโอไซด์ ส่วนนิวคลีโอไซด์ที่เชื่อมกับหมู่ฟอสเฟตหนึ่งหมู่หรือมากกว่า เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เชื่อมกันหลาย ๆ ตัว เรียกว่า พอลินิวคลีโอไทด์ แกนกลางของสายดีเอ็นเอเป็นหน่วยย่อยน้ำตาลกับฟอสเฟต น้ำตาลในดีเอ็นเอ คือ 2-ดีออกซีไรโบส ซึ่งเป็นน้ำตาลเพนโทส (5 คาร์บอน) น้ำตาลถูกเชื่อมเข้าด้วยกันโดยหมู่ฟอสเฟต ซึ่งสร้างพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ระหว่างคาร์บอนอะตอมที่สามและที่ห้าของวงแหวนน้ำตาลที่อยู่ติดกัน พันธะที่อสมมาตรนี้ หมายความว่า สายดีเอ็นเอมีทิศทาง ในเกลียวคู่ ทิศทางของนิวคลีโอไทด์สายหนึ่งจะตรงกันข้ามกับทิศทางในอีกสายหนึ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า ทั้งสองสายขนานกันในทิศตรงข้าม (antiparallel) ปลายอสมมาตรของสายดีเอ็นเอ เรียกว่า 5′ (ไพรม์) และ 3′ โดยที่ 5′ มีหมู่ฟอสเฟต และที่ปลาย 3′ มีหมู่ไฮดรอกซิล ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งระหว่างดีเอ็นเอกับอาร์เอ็นเอ คือ น้ำตาล โดยที่ 2-ดีออกซีไรโบสในดีเอ็นเอจะถูกแทนที่ด้วยไรโบสซึ่งเป็นน้ำตาลเพนโทสอีกชนิดหนึ่ง ในอาร์เอ็นเอ เกลียวคู่ดีเอ็นเอเกิดเสถียรภาพได้ด้วยแรงสองแรง คือ พันธะไฮโดรเจนระหว่างนิวคลีโอไทด์และอันตรกิริยาระหว่างเบสที่ซ้อนกัน (base-stacking interaction) ในนิวคลีโอเบสอะโรมาติก ในสิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยน้ำของเซลล์ พันธะพายควบคู่ของเบสนิวคลีโอไทด์อยู่ในแนวตั้งฉากกับแกนของโมเลกุลดีเอ็นเอ ซึ่งลดอันตรกิริยากับเปลือกน้ำ และพลังงานอิสระกิบส์ตามลำดับ เบสทั้งสี่ที่พบในดีเอ็นเอ ได้แก่ อะดีนีน (ตัวย่อ A) ไซโทซีน (C) กวานีน (G) และไทมีน (T) เบสทั้งสี่นี้ติดกับน้ำตาล/ฟอสเฟตเพื่อเกิดเป็นนิวคลีโอไทด์ที่สมบูรณ์ นิวคลีโอเบสจำแนกได้เป็นสองประเภท เพียวรีน A และ G เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิกที่มีวงแหวนห้าเหลี่ยมและหกเหลี่ยมอย่างละวง กับไพริมิดีน C และ T ที่เป็นวงแหวนห้าเหลี่ยม ส่วนนิวคลีโอเบสไพริมิดีนอีกตัวหนึ่ง ยูราซิล (U) มักแทนที่ไทมีนในอาร์เอ็นเอ และต่างจากไทมีนตรงที่ขาดหมู่เมทิลไปหนึ่งหมู่ในวงแหวน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == DNA ที่เว็บไซต์ Curlie พันธุศาสตร์ กรดนิวคลีอิก
thaiwikipedia
572
โครโมโซม
โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น == การค้นพบ == ประมาณ ค.ศ. 1860 เกรกอร์ เม็นเดิล (Gregor Mendel) ได้ศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของต้นถั่วลันเตา ที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่ง ไปยังต้นถั่วที่ปลูกในรุ่นถัดไป เขาตั้งสมมุติฐานว่า มีอะไรบางอย่าง นำลักษณะต่าง ๆ จากรุ่นพ่อแม่ ไปสู่รุ่นลูก หน่วยพันธุกรรมที่เม็นเดิลค้นพบนั้น เม็นเดิลไม่ได้มองเห็นหน่วยพันธุกรรมจริง เพียงแต่อาศัยข้อมูล ที่ได้จากการทดลอง และหาเหตุผลทางคณิตศาสตร์ หน่วยพันธุ์กรรมที่เม็นเดิลค้นพบ เป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น (และเขาก็ไม่ได้ใช้คำว่า ยีน หรือ หน่วยพันธุกรรม โดยตรง) ในขณะที่เม็นเดิลค้นคว้าอยู่นั้น นักชีววิทยากลุ่มหนึ่งที่ใช้กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องค้นคว้า ได้พบรายละเอียดของเซลล์มากขึ้น จนกระทั่ง ค.ศ. 1889 นักชีววิทยาจึงสามารถ เห็นรายละเอียดภายในนิวเคลียส ขณะที่มีการแบ่งเซลล์ ได้พบว่าภายในนิวเคลียส มีโครงสร้างที่ติดสีได้และมีลักษณะเป็นเส้นใย เรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) ปี ค.ศ.1902 หลังจากการค้นพบผลงานของเม็นเดิล 2 ปี วอลเตอร์ ซัตตัน นักชีววิทยาชาวอเมริกัน และ เทโอดอร์ โบเฟรี นักชีววิทยาชาวเยอรมัน ได้เสนอว่า "หน่วยพันธุ์กรรมที่เม็นเดิลค้นพบ อยู่ในโครโมโซม" ซัตตันได้ศึกษาเซลล์ในอัณฑะตั๊กแตน และเสนอไว้ว่าโครโมโซม ที่เข้าคู่กันในขณะที่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จะแยกจากกันไปอยู่ต่างเซลล์กัน เหมือนการแยกของยีนที่เป็นแอลลีนกัน ตามกฎแห่งการแยกตัว จึงสรุปได้ว่ายีนอยู่บนโครโมโซม ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งใหญ่ในสมัยนั้น == ลักษณะของโครโมโซม == ในภาวะปกติเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นโครโมโซมมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายบาง ๆ เรียกว่า “โครมาติน (chromatin) ” ขดตัวอยู่ในนิวเคลียส เมื่อเซลล์เริ่มแบ่งตัว เส้นโครมาตินจะหดตัวสั้นเข้ามีลักษณะเป็นแท่ง จึงเรียกว่า “โครโมโซม” แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า “โครมาทิด (chromatid) ” ซึ่งแขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า “เซนโทรเมียร์ ( centromere) โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในขณะที่เซลล์ไม่แบ่งตัว โครโมโซมจะยืดยาวออกคล้ายเส้นใยเล็ก ๆ สานกันอยู่ในนิวเคลียส เมื่อมีการแบ่งเซลล์จะมีการแบ่งโครโมโซม โดยโครโมโซมจะจำลองตัวเองขึ้นมา เป็นเส้นคู่ที่เหมือนกันทุกประการ แล้วค่อย ๆ ขดตัวสั้นเข้า โครโมโซมจะโตมาก การศึกษาโครโมโซมจึงต้องศึกษาในระยะแบ่งเซลล์ ถ้ามีเทคนิคในการเตรียมที่ดี ก็จะสามารถมองเห็นรูปร่างลักษณะ ของโครโมโซมจากกล้องจุลทรรศน์ และอาจนับจำนวนโครโมโซมได้ โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในขณะที่เซลล์ไม่แบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เราจะไม่เห็นโครโมโซมเนื่องจากโครโมโซมอยู่ในลักษณะเป็นเส้นใยเล็ก ๆ สานกันอยู่ในนิวเคลียส เส้นใยนี้เรียกว่า โครมาทิน (Chromatin) แต่เมื่อเซลล์จะแบ่งตัวโครมาทินแต่ละเส้นจะแบ่งจาก 1 เป็น 2 เส้น แล้วขดตัวสั้นเข้า และหนาขึ้นจนมองเห็นเป็นแท่งในระยะโพรเฟส และ เมทาเฟส และเรียกชื่อใหม่ว่า โครโมโซม ทำให้เรามองเห็นรูปร่างลักษณะและจำนวนโครโมโซมได้ โครโมโซมที่เห็นได้ชัดในระยะเมทาเฟต ประกอบด้วย โครมาทิด 2 อัน ยึดติดกันตรงเซนโทรเมียร์ ส่วนของโครโมโซมที่ยื่นออกไปจากเซนโทรเมียร์ เรียกว่า แขน อันสั้นเรียกว่า แขนสั้น อันยาวเรียกว่า แขนยาว ในโครโมโซมบางอัน มีเนื้อโครโมโซมเล็ก ๆ ยึดติดกับส่วนใหญ่โดยเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า เนื้อโครโมโซมเล็ก ๆ นั้นว่า stellite และเส้นโครโมโซมเล็ก ๆ นั้น เรียกว่า secondary constriction โครมาทิน เป็นสารนิวคลีโอโปรตีน ซึ่งก็คือ DNA สายยาวสายเดียวที่พันรอบโปรตีนที่ชื่อ ฮีสโทน (histone) เอาไว้ ทำให้รูปร่างโครมาทินคล้ายลูกปัดที่เรียงต่อ ๆ กัน แล้วมี DNA พันรอบลูกปัดนั้น ในเซลล์ทั่ว ๆ ไป เมื่อย้อมสีเซลล์ ส่วนของโครมาทินจะติดสีได้ดีและมองดูคล้ายตาข่ายละเอียด ๆ จึงเห็นนิวเคลียสชัดเจน == รูปร่าง ลักษณะ โครโมโซม == แต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด ที่เหมือนกัน ซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองในระยะอินเตอร์เฟส (Interphase) เพื่อจะแยกออกจากกันในระยะแอนาเฟส (Anaphase) ของการแบ่งเซลล์ โครมาทิดทั้งสองจะติดกันอยู่ตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) รวมเรียกเซนโทรเมียร์แบ่งเป็น 2 ส่วน แต่ละโครมาทินก็เรียกว่าโครโมโซม นั่นคือ 1 โครโมโซม มี 1 เซนโทรเมียร์ โครโมโซม ของเซลล์ร่างกายจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous Chromosome) การนำโครโมโซมขนาดต่าง ๆ มาเรียงกันกันเรียกว่า แครีโอไทป์ (Karyotype) โดยจำแนกตามลักษณะ ขนาด และตำแหน่งของเซนโทรเมียร์อาจจะอยู่ตรงกลาง ค่อนไปทางปลาย หรือ ปลายโครโมโซม จึงแบ่งลักษณะโครโมโซมเป็นแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้ Metacentric เมตาเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่น 2 ข้างออกจากเซนโทรเมียร์เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน Submetacentric ซับเมตาเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่นออกมา 2 ข้างจากเซนโทรเมียร์ไม่เท่ากัน Acrocentric อะโครเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นแท่ง โดยมีเซนโทรเมียร์อยู่ใกล้กับปลายข้างใดข้างหนึ่ง จึงเห็นส่วนเล็ก ๆ ยื่นออกจากเซนโทรเมียร์ Telocentric เทโลเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นแท่ง โดยมีเซนโทรเมียร์อยู่ตอนปลายสุดของโครโมโซม โครมาทิต 2 โครมาทิต มีตัวเชื่อมคือ เซนโทรเมียร์ == ยูคาริโอต == ในเซลล์ยูคาริโอต โครโมโซมจะอยู่ในนิวเคลียส มีโปรตีนยึดจับให้ขมวดเป็นรูปร่างเรียกว่าโครมาติน การจับขมวดรูปร่างเช่นนี้ทำให้สายดีเอ็นเอซึ่งยาวมากสามารถอยู่ในนิวเคลียสได้ โครงสร้างของโครโมโซมและโครมาตินนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละระยะของวัฏจักรเซลล์ เมื่อโครมาตินถูกขมวดแน่นขึ้นไปอีกก็จะเรียกว่าโครโมโซม เป็นหน่วยย่อยที่สำคัญของการแบ่งเซลล์ ซึ่งการแบ่งเซลล์จะสำเร็จได้นั้น โครโมโซมจะต้องผ่านกระบวนการทำซ้ำ (replication) แยกตัว (division) และส่งต่อไปยังเซลล์ลูกทั้งสองได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ สามารถสืบทอดเผ่าพันธุ์และคงความหลากหลายทางพันธุกรรมเอาไว้ได้ โครโมโซมนั้นอาจจะอยู่เดี่ยว (unduplicated) หรืออยู่เป็นคู่ (duplicated) ก็ได้แล้วแต่ระยะ โดยโครโมโซมเดี่ยวนั้นประกอบจากสายดีเอ็นเอสายเดียวขดพันกัน ส่วนโครโมโซมที่เป็นคู่นั้นประกอบด้วยสายดีเอ็นเอที่เหมือนกันทุกประการสองสาย เรียกว่า โครมาทิด หรือซิสเตอร์โครมาทิด เชื่อมกันด้วยเซนโทรเมียร์ ยูคาริโอต (เซลล์ที่มีนิวเคลียส เช่นในพืช ยีสต์ หรือสัตว์) มีโครโมโซมขนาดใหญ่หลายสายอยู่ในนิวเคลียส แต่ละโครโมโซมมีหนึ่งเซนโทรเมียร์ ซึ่งมีแขนหนึ่งหรือสองแขนยื่นออกมา อย่างไรก็ตาม ในสภาวะส่วนใหญ่จะไม่สามารถสังเกตเห็นแขนเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีไมโทคอรเดรียลดีเอ็นเอเป็นวงกลมขนาดเล็ก และยูแคริโอตบางชนิดมีดีเอ็นเอทั้งแบบเส้นและวงแหวนขนาดเล็กอยู่ในไซโทพลาซึม ในโครโมโซมในนิวเคลียสของยูคาริโอต สายดีเอ็นเอที่ไม่ได้อัดแน่น (uncondensed) จะมีโครงสร้างที่กึ่งมีระเบียบ โดยพันอยู่รอบโปรตีนฮิสโตน เป็นสารเชิงซ้อนเรียกว่า โครมาติน === โครมาติน === โครมาตินเป็นสารเชิงซ้อนระหว่าง DNA กับโปรตีนในนิวเคลียสของเซลล์ยูคาริโอต โครงสร้างของโครมาตินจะแตกต่างกันไปตามขั้นตอนในวัฏจักรเซลล์ ขึ้นกับความต้องการของสายดีเอ็นเอ ==== โครมาตินในอินเตอร์เฟส ==== ในช่วงอินเตอร์เฟส (ช่วงของวัฏจักรเซลล์ที่เซลล์ไม่ได้แบ่งตัว) สามารถพบโครมาตินได้สองประเภทคือ: ยูโครมาติน (Euchromatin)ประกอบด้วย active DNA นั่นคือ ดีเอ็นเอที่แสดงลักษณะเป็นโปรตีน เฮเทอโรโครมาติน (Heterochromatin) ส่วนใหญ่เป็น inactive DNA ซึ่งเชื่อว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการค้ำจุนทางโครงสร้างในขั้นตอนต่าง ๆ เฮเทอโรโครมาตินสามารถแบ่งเป็นสองแบบได้แก่: *Constitutive heterochromatin ไม่แสดงลักษณะทางพันธุกรรม ตั้งอยู่บริเวณเซนโทรเมียร์และมักมีลำดับเบสซ้ำ * Facultative heterochromatin ซึ่งมีการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมเป็นบางครั้ง ==== โครมาตินในเมตาเฟสและการแบ่งตัว ==== ในขั้นตอนแรก ๆ ของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสหรือไมโอซิส สายโครมาตินจะอัดตัวหนาแน่นขึ้น เป็นโครงสร้างที่กระทัดรัดและขนส่งได้ง่าย ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงรหัสพันธุกรรม(เพื่อทำการถอดรหัส)ได้อีกต่อไป โครงสร้างที่อัดแน่นนี้ทำให้สามารถสังเกตเห็นโครโมโซมแต่ละอันได้ชัดเจน และมีลักษณะเป็นสี่แขนแบบที่มักคุ้นเคย กล่าวคือเป็นคู่ของโครมาทิดที่ติดกัน ณ เซนโทรเมียร์ แขนที่สั้นกว่าเรียกว่า p arms (จากภาษาฝรั่งเศส petit แปลว่า เล็ก) และแขนที่ยาวกว่าเรียกว่า q arms (เพราะ q ตามหลัง p ในอักษรละติน หรือบางแหล่งกล่าวว่า q มาจาก queue แปลว่า สูง ในภาษาฝรั่งเศส) สภาวะนี้เป็นแบบเดียวในธรรมชาติที่สามารถเห็นโครโมโซมแต่ละอันแยกจากกันอย่างชัดเจนโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แสง ในไมโทซิส ไมโครทูบูลจะยืดออกมาจากเซนโทรโซมทั้งสองที่อยู่ขั้วตรงข้ามกันของเซลล์ และไปยึดกับเซนโทรเมียร์ที่โครงสร้างพิเศษเรียกว่า ไคนีโทคอร์ (kinetochore) ซึ่งจะมีหนึ่งอันต่อหนึ่งโครมาทิด บริเวณไคนีโทคอร์จะมีลำดับเบส DNA กับโปรตีนพิเศษที่ทำให้เกิดการยึดเกาะได้แน่นหนา จากนั้นไมโครทูบูลจะดึงเอาโครมาทิดออกจากกันไปสู่เซนโทรโซม ทำให้เซลล์ลูกแต่ละเซลล์ได้รับโครมาทิดหนึ่งชุด เมื่อเซลล์แบบตัวแล้ว โครมาทิดจะคลายตัวออกเป็นสายดีเอ็นเอที่สามารถทำการถอดรหัสได้อีกครั้งหนึ่ง โครโมโซมมีความอัดแน่นทางโครงสร้างสูงมาก ซึ่งทำให้สายดีเอ็นเอขนาดใหญ่สามารถอยู่ในนิวเคลียสได้ (Fig. 2) === โครโมโซมมนุษย์ === โครโมโซมของมนุษย์อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือออโตโซม และโครโมโซมเพศ ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างนั้นมีความเชื่อมโยงกับเพศ และถ่ายทอดไปทางโครโมโซมเพศ ส่วนลักษณะอื่น ๆ ที่เหลือ ถูกเก็บไว้บนออโตโซม โครโมโซมทั้งสองประเภทมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงขณะแบ่งเซลล์ในลักษณะเดียวกัน เซลล์มนุษย์มีโครโมโซมรวมแล้ว 23 คู่ เป็นออโตโซม 22 คู่ และโครโมโซมเพศอีก 1 คู่ รวมเป็นมีโครโมโซม 46 แท่ง ต่อหนึ่งเซลล์ นอกจากนี้ยังมีไมโตคอนเดรียลจีโนม หรือข้อมูลพันธุกรรมในไมโตคอนเดรีย อีกหลายร้อยชุดต่อเซลล์ ข้อมูลที่ได้จากการหาลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequencing) ของจีโนมมนุษย์ทำให้ได้ข้อมูลของโครโมโซมแต่ละแท่งมากขึ้น ตารางข้างล่างแสดงข้อมูลทางสถิติของโครโมโซมแต่ละแท่ง ข้อมูลนี้มาจากข้อมูลจีโนมมนุษย์ใน VEGA database ของสถาบัน Sanger จำนวนยีนบนโครโมโซมแต่ละแท่งเป็นค่าประมาณจากการทำนายยีน ความยาวทั้งหมดของโครโมโซมเป็นค่าประมาณเช่นกัน รวมถึงการประมาณขนาดของบริเวณเฮเทอโรโครมาตินซึ่งไม่ได้รับการถอดลำดับ == ยีนกับโครโมโซม == ยีน หมายถึง ส่วนของ DNA ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซม เป็นโครงสร้างที่มี DNA และโปรตีนเป็นองค์ประกอบ โครโมโซมจึงเป็นที่อยู่ของยีน และในแต่ละโครโมโซมมียีนอีกมากมายมาเรียงต่อ ๆ กัน ดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรม ที่ถูกถ่ายทอดไปจึงถูกควบคุม โดยยีนในโครโมโซมนั่นเอง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยีนในออโตโซมหรือยีนในโครโมโซมร่างกาย และยีนในโครโมโซมเพศ == มัลติเปิลอัลลีนส์ == มัลติเปิลอัลลีนส์ (Multiple alleles) คือ กลุ่มของอัลลีลส์ที่มียีนควบคุมลักษณะ มากกว่า 2 แบบขึ้นไป ควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งของสิ่งมีชีวิต กฎของเม็นเดิลสามารถใช้ทำนายโอกาสที่จะเกิดหมู่เลือด หมู่ใดหมู่หนึ่งได้ == ยีนในโครโมโซมเดียวกัน == เนื่องจากในโครโมโซมแต่ละแท่งมียีนอยู่มากมาย ถ้ากลุ่มของยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน ถูกถ่ายทอดไปพร้อมกันโดยไม่แยกตัวไปรวมกลุ่มกันอย่างอิสระตามกฎข้อที่ 2 ของเม็นเดิล ยีนเหล่านี้เรียกว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกัน หรือ ลิงก์ยีน (linked gene) == จำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต == จำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ๆ จะมีจำนวนเท่ากันเสมอ สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจมีจำนวนโครโมโซมเท่ากันได้ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงไม่ใช้จำนวนของโครโมโซมมาจำแนกความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น แม้ว่าจำนวนโครโมโซมจะมาก แต่กลับไม่มีผลต่อขนาดของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ยูกลีนา ที่มีขนาดเล็กมากแม้มีจำนวนโครโมโซมถึง 90 แท่ง หรือ 45 คู่ สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ มีจำนวนโครโมโซมแตกต่างกัน จำนวนโครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั่วไปมีอยู่ 2 ชุด หรือเรียกว่า 2n ส่วนในเซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนโครโมโซมเพียงชุดเดียวเรียกว่า n หรือ จำนวนแฮพลอยด์ == การกำหนดเพศในมนุษย์ == การกำหนดเพศของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปจะพิจารณาจากลักษณะของโครโมโซม สำหรับในมนุษย์มีจำนวนโครโมโซม 46 โครโมโซม หากนำมาจัดเป็นคู่จะได้ 23 คู่ซึ่งจะมี 22 คู่ ที่เหมือนกันในเพศชายและเพศหญิงเราจะเรียกคู่โครโมโซมเหล่านี้ว่า โครโมโซมร่างกาย (autosome) ซึ่งจะมีบทบาทในการกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ในร่างกาย สำหรับโครโมโซมที่เหลืออีก 1 คู่จากทั้งหมด 23 คู่ จะเป็นโครโมโซมที่ทำหน้าที่กำหนดเพศ เรียกว่า โครโมโซมเพศ (Sex chromosome) โดยโครโมโซมจะเป็นการจับคู่กันของโครโมโซม 2 ตัวที่มีลักษณะต่างกันคือ โครโมโซม X เป็นตัวกำหนดเพศหญิง และโครโมโซม Y เป็นตัวกำหนดเพศชาย ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าโครโมโซม X เซลล์เพศที่ถูกสร้างขึ้นมาแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซมเพศเพียงชุดเดียวโดยที่เซลล์สืบพันธุ์เพศชาย (สเปิร์ม) จะมีเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งมีโครโมโซม 2 ชนิด คือ 22+X หรือ 22+Y ส่วนเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงจะมีโครโมโซมได้เพียงชนิดเดียว คือ 22+X ดังนั้นโอกาสในการเกิดทารกเพศหญิง (โครโมโซม 44+XX) หรือทารกเพศชาย (โครโมโซม 44+XY) จึงเท่ากัน ขึ้นอยู่กับสเปิร์มที่เข้าผสมกับไข่จะเป็นสเปิร์มชนิดใด โครโมโซมในร่างกายมนุษย์มีทั้งหมด 46 แท่ง แบ่งเป็น โครโมโซมร่างกาย (autosome) จำนวน 44 แท่ง โครโมโซมเพศ (sex chromosome) จำนวน 2 แท่ง มีรูปแบบเป็น XX หรือ XY มนุษย์ผู้หญิงมีโครโมโซม 44+XX แท่ง มนุษย์ผู้ชายมีโครโมโซม 44+XY แท่ง เซลล์ไข่มีโครโมโซม 22+X แท่ง เซลล์อสุจิมีโครโมโซม 22+X แท่ง หรือ 22+Y แท่ง ==อ้างอิง== เซลล์พันธุศาสตร์ ชีววิทยา พันธุศาสตร์ โครโมโซม
thaiwikipedia
573
โปรไบโอติกส์
โปรไบโอติกส์ (Probiotics) หมายถึง แบคทีเรียในสภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ ในรูปที่เป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เมื่อรับประทานด้วยปริมาณที่พอเหมาะจะส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค เช่น โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด แต่ไม่นับรวมถึงนมเปรี้ยวพร้อมดื่มประเภทยูเอชที เพราะไม่มีแบคทีเรียกรดนมเหลืออยู่ เนื่องจากผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อที่ความร้อนสูง นอกจากผลิตภัณฑ์สำหรับคนแล้ว ในปัจจุบัน ยังมีโปรไบโอติกส์สำหรับเสริมสุขภาพของปศุสัตว์และประมง ออกจำหน่ายด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่า โดยปกติแล้วแบคทีเรียโปรไบโอติกส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนมเปรี้ยวส่วนใหญ่ คือแบคทีเรียในกลุ่ม Lactobacilli และ Streptococci แต่จากการศึกษาคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของแบคทีเรียในลำไส้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า ความจริงแล้ว Bifidobacteria สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในอุตสาหกรรมประเภทนี้ ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำในทางการศึกษาแบคทีเรียในลำไส้ ได้เป็นผู้บุกเบิกในการผลิตโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวที่ได้จากหมักของ Bifidobacteria ซึ่งแม้ว่ารสชาติจะไม่ดีเท่าผลิตภัณฑ์ที่หมักจาก Lactobacilli แต่ด้วยประโยชน์ที่มากกว่า จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้รักสุขภาพ และในเมืองไทยก็มีโยเกิร์ตที่หมักโดย Bifidobacteria วางจำหน่ายแล้ว นอกจากใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแล้ว โปรไบโอติกส์ก็ยังถูกใช้ในการรักษาโรคทางเดินอาหาร ในการทดลองทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย อาทิ การใช้ Lactobacillus rhamnosus GG ในการบรรเทาและป้องกันอาการท้องร่วงในเด็กทารก การใช้ Bifidobacteria และ Lactobacilli รวมกันในการรักษาอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง และช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินอาหารและการเสียชีวิตในทารกที่คลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากงานวิจัยทางการแพทย์อีกหลายชิ้นที่ยืนยันว่า Bifidobacteria สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ == ตัวอย่างโปรไบโอติกส์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2547) == Lactobacilli L. acidophilus L. casei L. delbrueckii subsp. bulgaricus L. reuteri L. brevis L. rhamnosus Gram-positive cocci Lactococcus lactis subsp. cremoris Streptococcus salivarius subsp.thermophilus Enterococcus faecium Bifidobacteria B. bifidum B. adolescentis B. animalis B. infantis B. longum B. thermophilum == ดูเพิ่ม == ปรีไบโอติกส์ == อ้างอิง== วิทยาทางเดินอาหาร วิทยาแบคทีเรีย
thaiwikipedia
574
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) คือ การใช้ระบบและสิ่งที่มีชีวิตเพื่อพัฒนาหรือสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์, หรือ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใดๆ ที่ใช้ระบบชีวภาพ, สิ่งที่มีชีวิตหรืออนุพันธ์ของสิ่งที่มีชีวิตนั้น, เพื่อสร้างหรือปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการสำหรับการใช้งานเฉพาะอย่าง" (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ, ศิลปะ. 2) . ขึ้นอยู่กับเครื่องมือและการประยุกต์ใช้งาน, มันมักจะคาบเกี่ยวกับสาขา (ที่เกี่ยวข้องกับ) วิศวกรรมชีวภาพและวิศวกรรมชีวการแพทย์. เป็นพัน ๆ ปีมาแล้วที่มนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการเกษตร, การผลิตอาหาร, และการทำยารักษาโรค. คำนี้ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1919 โดยวิศวกรฮังการี Károly Ereky. ในช่วงปลายทศวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21, เทคโนโลยีชีวภาพได้ขยายไปรวมถึงวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ และหลากหลายเช่น genomics, เทคโนโลยียีน recombinant, ภูมิคุ้มกันประยุกต์ (applied immunology), และการพัฒนาวิธีการรักษาและการตรวจวินิจฉัยทางเภสัชกรรม" แนวคิดกว้างของ "เทคโนชีวภาพ" หรือ "เทคโนโลยีชีวภาพ" ครอบคลุมหลากหลายของวิธีการสำหรับการปรับเปลี่ยนสิ่งที่มีชีวิตตามวัตถุประสงค์ของมนุษย์, การกลับไปที่การเพาะพันธ์ (domestication) สัตว์, การเพาะปลูกของพืช, และ "การปรับปรุง" พวกเหล่านี้ผ่านโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ที่ใช้ตัวเลือกประดิษฐ์ (artificial selection) และการผสมข้ามพันธุ์. การใช้งานที่ทันสมัยยังรวมถึงพันธุวิศวกรรมเช่นเดียวกับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ. สมาคมเคมีอเมริกันกำหนดเทคโนโลยีชีวภาพเป็นการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต, ระบบ, หรือกระบวนการทางชีวภาพโดยอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของชีวิตและการปรับปรุงมูลค่าของวัสดุและสิ่งมีชีวิตเช่นยา, พืช, และปศุสัตว์. เทคโนโลยีชีวภาพยังเขียนในทางชีววิทยาศาสตร์ล้วน ๆ (การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์, ชีวเคมี, ชีววิทยาของเซลล์, ตัวอ่อน, พันธุศาสตร์, จุลชีววิทยา, และชีววิทยาโมเลกุล). ในหลายกรณีมันยังขึ้นอยู่กับความรู้และวิธีการจากภายนอกทรงกลมของชีววิทยาอีกด้วย ซึ่งรวมถึง: ชีวะสารสนเทศ, สาขาใหม่ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ ชีวะหุ่นยนต์ วิศวกรรมเคมี ในทางตรงกันข้าม, วิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ทันสมัย (รวมถึงแม้กระทั่งแนวคิดเช่นนิเวศวิทยาโมเลกุล) จะถูกโอบแล้วอย่างใกล้ชิดและขึ้นอยู่อย่างหนักกับวิธีการที่ได้รับการพัฒนาผ่านทางเทคโนโลยีชีวภาพและสิ่งที่เป็นความคิดโดยทั่วไปว่าเป็นอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ของชีวิต. เทคโนโลยีชีวภาพคือการวิจัยและการพัฒนาในห้องปฏิบัติการโดยใช้ชีวสารสนเทศสำหรับการสำรวจ, การสกัด, การใช้ประโยชน์และการผลิตจากสิ่งมีชีวิตใด ๆ และแหล่งที่มาใด ๆ ของชีวมวลโดยใช้วิธีการวิศวกรรมชีวเคมีที่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงอาจจะมีการวางแผน (เช่นสร้างขึ้นใหม่โดยการสังเคราะห์), ที่มีการคาดการณ์, ที่มีการสร้างรูป, ที่มีการพัฒนา, ที่มีการผลิตและจำหน่ายเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานอย่างยั่งยืน (สำหรับผลตอบแทนจากเงินลงทุนเริ่มแรกที่ไร้ความลึกในด้าน R & D) และการได้รับสิทธิบัตรคงทน (สำหรับสิทธิพิเศษสุดสำหรับการขาย, และก่อนหน้าที่จะได้นี้เพื่อได้รับความเห็นชอบในระดับชาติและนานาชาติจากผลการทดลองในสัตว์ทดลองและมนุษย์ทดลอง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาเภสัชกรรมของเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่ไม่สามารถตรวจพบหรือความกังวลด้านความปลอดภัยใด ๆ จากการใช้ผลิตภัณฑ์) . ในทางตรงกันข้าม, ชีววิศวกรรมทั่วไปถูกมองว่าเป็นสาขาที่เน้นมากขึ้นสำหรับวิธีการระบบที่สูงขึ้น (ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการใช้วัสดุชีวภาพ"โดยตรง") สำหรับการเชื่อมต่อกับสิ่งมีชีวิตและการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตนั้น. วิศวกรรมชีวภาพคือการประยุกต์ใช้หลักการของวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับเนื้อเยื่อ, เซลล์และโมเลกุล. แบบนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้ความรู้จากการทำงานกับชีววิทยาที่มีการจัดการเพื่อให้บรรลุผลที่สามารถปรับปรุงฟังก์ชันในพืชและสัตว์. เกี่ยวเนื่องกัน, วิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาที่ทับซ้อนกันสาขาหนึ่งที่มักจะดึงออกมาและประยุกต์ใช้"เทคโนโลยีชีวภาพ" (ตามคำนิยามที่หลากหลาย), โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาย่อยของชีวการแพทย์และ/หรือวิศวกรรมเคมีเช่นวิศวกรรมเนื้อเยื่อ, วิศวกรรมชีวเวชภัณฑ์, และพันธุวิศวกรรม. == ประวัติ == บทความหลัก: ประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีชีวภาพ อาจฟังดูไม่ปรกตินัก, แต่การเกษตรของมนุษย์ตั้งแต่โบราณนับว่าเป็น "การใช้ระบบเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์" ในความหมายวงกว้างได้อย่างดี . อันที่จริงการเพาะปลูกพืชอาจถูกมองว่าเป็นองค์กรเทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่ที่สุด. การเกษตรได้พัฒนาทฤษฎีให้กลายเป็นวิธีการที่โดดเด่นของการผลิตอาหารตั้งแต่ยุคปฏิวัติ Neolithic Revolution. ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพในช่วงต้น, เกษตรกรที่เก่าแก่ที่สุดได้เลือกและเพาะพันธุ์พืชที่เหมาะสมที่ดีที่สุด, ที่มีอัตราผลตอบแทนที่สูงที่สุด, ที่ผลิตอาหารเพียงพอที่จะรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น. เมื่อพืชและท้องไร่ท้องนามีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และยากที่จะบำรุงรักษา, มันก็พบว่าสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ และผลพลอยได้ของมันอาจสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ, คืนค่าไนโตรเจน, และควบคุมศัตรูพืชได้. ตลอดประวัติศาสตร์ของการเกษตร, เกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้ตั้งใจในพันธุกรรมของพืชของพวกเขาผ่านการปลูกในสภาพแวดล้อมใหม่และการเพาะพันธุ์พวกมันด้วยพืชอื่น ๆ - หนึ่งในรูปแบบแรก ๆ ของเทคโนโลยีชีวภาพ. กระบวนการเหล่านี้ยังถูกรวมอยู่ในการหมักในช่วงต้นของเบียร์. กระบวนการเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในเมโสโปเตเมีย, อียิปต์, จีนและอินเดียในช่วงต้น, และยังคงใช้วิธีการพื้นฐานเดียวกันทางชีววิทยา. ในการต้มกลั่น, ธัญพืชที่ทำด้วยข้าวมอลต์ (ที่มีเอนไซม์) จะแปลงแป้งจากธัญพืชให้เป็นน้ำตาลแล้วเพิ่มยีสต์บางอย่างเพื่อผลิตเบียร์. ในขั้นตอนนี้คาร์โบไฮเดรตในเมล็ดธัญพืชจะแตกตัวออกเป็นแอลกอฮอล์เช่นเอทานอล. ต่อมาวัฒนธรรมอื่น ๆ ได้ผลิตกระบวนการของการหมักกรดแลคติกที่ทำให้เกิดการหมักและการถนอมรักษารูปแบบอื่น ๆ ของอาหาร, เช่นซอสถั่วเหลือง. การหมักยังถูกนำมาใช้ในช่วงเวลานี้อีกด้วยในการผลิตขนมปังมีเชื้อทำให้ฟู. แม้ว่ากระบวนการของการหมักยังไม่ได้เข้าใจอย่างเต็มที่จนกว่างานของหลุยส์ปาสเตอร์ใน 1857, มันก็ยังคงเป็นครั้งแรกที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการแปลงแหล่งอาหารให้เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง. เป็นเวลาหลายพันปีที่มนุษย์ได้ใช้การคัดเลือกพันธุ์เพื่อปรับปรุงการผลิตพืชผลและปศุสัตว์เพื่อใช้พวกมันเป็นอาหาร. ในการคัดเลือกพันธุ์, สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่พึงประสงค์จะผสมพันธฺ์กันเพื่อผลิตลูกหลานที่มีลักษณะเดียวกัน. ตัวอย่างเช่นเทคนิคนี้ถูกนำมาใช้กับข้าวโพดในการผลิตข้าวโพดฝักใหญ่ที่สุดและมีรสหวานที่สุด. นักวิทยาศาสตร์ในต้นศตวรรษที่ยี่สิบได้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับจุลชีววิทยาและได้สำรวจวิธีการในการผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง. ในปี 1917, ไคม์ Weizmann เป็นครั้งแรกที่ใช้วัฒนธรรมทางจุลชีววิทยาล้วน ๆ ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม, ที่ผลิตแป้งข้าวโพดโดยใช้ Clostridium acetobutylicum, เพื่อผลิตอะซีโตน, ซึ่งสหราชอาณาจักรมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการผลิตวัตถุระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง. นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพยังได้นำไปสู่การพัฒนายาปฏิชีวนะอีกด้วย. ในปี 1928, Alexander Fleming ค้นพบเชื้อรา Penicillium. ผลงานของเขานำไปสู่การทำให้บริสุทธิ์ของสารปฏิชีวนะที่เกิดขึ้นสร้างรูปจากแม่พิมพ์โดยโฮเวิร์ด Florey, Ernst Boris Chain และนอร์แมน ฮีทลีย์ - เพื่อสร้างรูปแบบสิ่งที่วันนี้เรารู้ว่าเป็นยาเพนนิซิลิน. ในปี 1940, เพนนิซิลินได้พร้อมใช้ทางการแพทย์ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในมนุษย์. สาขาเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่โดยทั่วไปจะคิดว่าเป็นเรื่องที่เกิดในปี 1971 เมื่อการทดลองของพอล เบิร์ก (Stanford) ในการตัดต่อยีนได้ประสบความสำเร็จในช่วงต้น. เฮอร์เบิร์ท ดับบลิว บอยเยอร์ (Univ. แคลิฟอร์เนีย. ที่ซานฟรานซิสโก) และสแตนเลย์ เอ็น โคเฮน (Stanford) ก้วหน้าอย่างมีนัยสำคัญในเทคโนโลยีใหม่ในปี 1972 โดยการโอนสารพันธุกรรมให้เป็นแบคทีเรีย, เพื่อว่าวัสดุที่นำเข้ามาจะถูกผลิตขึ้นใหม่. ศักยภาพในเชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพมีการขยายออกไปอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 16 มิถุนายน 1980, เมื่อศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาตัดสินว่าจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมสามารถจดสิทธิบัตรได้ในคดีของ Diamond กับ Chakrabarty. อนันดา Chakrabarty เกิดในอินเดีย, ทำงานให้กับบริษัท General Electric, ได้ดัดแปลงแบคทีเรีย (ของสกุล Pseudomonas) ให้มีความสามารถในการที่จะแตกตัวน้ำมันดิบ, ซึ่งเขาเสนอให้ใช้ในการบำบัดน้ำมันรั่วไหล. (งานของ Chakrabarty ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการยักย้ายถ่ายเทยีน แต่เป็นการโอนอวัยวะเซลล์ทั้งหมดระหว่างสายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas. รายได้ในอุตสาหกรรมคาดว่าจะขยายตัว 12.9% ในปี 2008. อีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของภาคเทคโนโลยีชีวภาพคือการปรับปรุงกฎหมายด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและการบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก, เช่นเดียวกับการทำอุปสงค์ด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และยาให้แข็งแกร่งเพื่อรับมือกับการแก่ชราและการเจ็บป่วยของประชากรสหรัฐ. อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพคาดว่าจะเป็นข่าวดีสำหรับภาคเทคโนโลยีชีวภาพ, กับการประเมินของกระทรวงพลังงานของการใช้เอทานอลอาจช่วยลดการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงที่สกัดจากปิโตรเลียมลงได้ถึง 30% ภายในปี 2030. ภาคเทคโนโลยีชีวภาพได้ยอมให้อุตสาหกรรมการเกษตรของสหรัฐได้เพิ่มอุปทานอย่างรวดเร็วของข้าวโพดและถั่วเหลือง-เนื่องจากเป็นที่ปัจจัยการผลิตหลักของเชื้อเพลิงชีวภาพ-โดยการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความทนทานต่อศัตรูพืชและภัยแล้ง. โดยการเพิ่มกำลังการผลิตในฟาร์ม, เทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าเป้าหมายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะประสบความสำเร็จ == การประยุกต์ใช้งาน == เทคโนโลยีชีวภาพมีการประยุกต์ใช้งานในสี่พื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญ, ได้แก่การดูแลสุขภาพ (การแพทย์), การผลิตพืชและการเกษตร, การใช้พืชและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร (เช่นพลาสติกย่อยสลายแบบชีวภาพ, น้ำมันพืช, เชื้อเพลิงชีวภาพ), และการใช้งานด้านสิ่งแวดล้อม. ตัวอย่างเช่น, การประยุกต์ใช้แบบหนึ่งของเทคโนโลยีชีวภาพคือการใช้ควบคุมสิ่งมีชีวิตเพื่อผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ (เช่นเบียร์และผลิตภัณฑ์นม). อีกตัวอย่างหนึ่งคือการใช้เชื้อแบคทีเรียที่ปรากฏตามธรรมชาติโดยอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในการชะล้างด้วยวิธีชีวภาพ (bioleaching). เทคโนโลยีชีวภาพนอกจากนี้ยังใช้ในการรีไซเคิล, การบำบัดของเสีย, การทำความสะอาดสถานที่ปนเปื้อนจากกิจกรรมอุตสาหกรรม (bioremediation) และการผลิตอาวุธชีวภาพอีกด้วย. ชุดของสาขาที่ได้รับการระบุว่าสาขาของเทคโนโลยีชีวภาพ; ตัวอย่างเช่น: ชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) เป็นสาขาสหวิทยาการที่กล่าวถึงปัญหาทางชีวภาพโดยใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์, และทำให้องค์กรมีความรวดเร็วเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพที่เป็นไปได้. สาขานี้อาจหมายถึง"ชีววิทยาคอมพิวเตอร์", และสามารถนิยามว่าเป็น "ชีววิทยาแบบแนวความคิดในแง่ของโมเลกุลแล้วประยุกต์เทคนิคด้านสารสนเทศเพื่อทำความเข้าใจและจัดระเบียบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโมเลกุลเหล่านี้ในขนาดที่ใหญ่". ชีวสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ,เช่นพันธุกรรมฟังก์ชัน (functional genomics), พันธุกรรมโครงสร้าง (structural genomics), และพันธุกรรมโปรตีน (proteomics), และชีวสารสนเทศยังเป็นตัวสร้างรูปแบบขององค์ประกอบสำคัญในภาคเทคโนโลยีชีวภาพและภาคเภสัชกรรมอีกด้วย. เทคโนโลยีชีวภาพสีฟ้า เป็นคำที่ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายการใช้งานทางทะเลและสัตว์น้ำของเทคโนโลยีชีวภาพ แต่การใช้งานจะค่อนข้างหายาก. เทคโนโลยีชีวภาพสีเขียว เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ประยุกต์กับกระบวนการทางการเกษตร. ตัวอย่างหนึ่งจะเป็นการเลือกและการเพาะพันธ์ของพืชโดยวิธีการกระจายแบบไมโคร (micropropagation). อีกตัวอย่างหนึ่งคือการออกแบบของพืชดัดแปรพันธุกรรม เพื่อปลูกภายใต้สภาพแวดล้อมเฉพาะโดยการใช้ (หรือไม่ใช้) สารเคมี. ความหวังอย่างหนึ่งคือเทคโนโลยีชีวภาพสีเขียวอาจผลิตโซลูชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าอุตสาหกรรมเกษตรแบบดั้งเดิม. ตัวอย่างหนึ่งของเรื่องนี้ก็คือวิศวกรรมของพืชเพื่อแสดงยาฆ่าแมลง, ซึ่งจะสิ้นสุดความต้องการของแอพลิเคชันภายนอกของยาฆ่าแมลง. ตัวอย่างหนึ่งของวิศวกรรมนี้จะเป็นข้าวโพดแปลงพันธุกรรม (Transgenic maize หรือ Bt corn). ผลิตภัณฑ์ของเทคโนโลยีชีวภาพสีเขียวเช่นนี้ในท้ายที่สุดแล้วจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่เป็นหัวข้อของการอภิปรายที่น่าสนใจมาก. เทคโนโลยีชีวภาพสีแดง จะประยุกต์เข้ากับกระบวนการทางการแพทย์. บางตัวอย่างก็คือการออกแบบของสิ่งมีชีวิตเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะ, และการวิศวกรรมของการรักษาทางพันธุกรรมผ่านการยักย้ายถ่ายเททางพันธุกรรม (genetic manipulation). เทคโนโลยีชีวภาพสีขาว,หรือที่เรียกว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ, เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ประยุกต์เข้ากับกระบวนการทางอุตสาหกรรม. ตัวอย่างหนึ่งคือการออกแบบของสิ่งมีชีวิตในการผลิตสารเคมีที่มีประโยชน์. อีกตัวอย่างหนึ่งคือการใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้อุตสาหกรรมเพื่อผลิตสารเคมีที่มีค่าหรือเพื่อทำลายสารเคมีที่ก่อให้เกิดมลพิษ/อันตราย. เทคโนโลยีชีวภาพสีขาวมีแนวโน้มที่จะใช้พลังงานน้อยกว่ากระบวนการแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม http://www.bio-entrepreneur.net/Advance-definition-biotech.pdf} การลงทุนและการส่งออกของเศรษฐกิจทั้งหมดของประเภทเหล่านี้ของการประยุกต์เทคโนโลยีชีวภาพจะถูกเรียกว่าเป็น "Bioeconomy". === ยา === ในสาขาเภสัชกรรม, เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่พบการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่นการค้นพบและการผลิตยาเสพติด, pharmacogenomics, และการทดสอบทางพันธุกรรม (หรือการคัดกรองทางพันธุกรรม). Pharmacogenomics (การรวมกันของเภสัชวิทยาและพันธุกรรม) เป็นเทคโนโลยีที่วิเคราะห์ว่าสิ่งที่ได้จากพันธุกรรมมีผลต่อการตอบสนงขอแต่ละบุคคลเป็นอย่างไร. มันเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของการแปรเปลี่ยนทางพันธุกรรมที่มีต่อการตอบสนองของยาในผู้ป่วยโดยการเทียบเคียงการแสดงออกของยีน (gene expression) หรือความหลากหลายแบบ nucleotide เดียว (single-nucleotide polymorphism) กับประสิทธิภาพหรือความเป็นพิษของยา. โดยการทำเช่นนั้น, pharmacogenomics มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการที่มีเหตุผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยยา, ที่ขึ้นกับขนืดของพันธุกรรมของผู้ป่วย,เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับประสิทธิภาพสูงสุดด้วยผลกระทบในทางตรงกันข้ามที่น้อยที่สุด. วิธีการดังกล่าวสัญญาว่าจะให้การถือกำเนิดของ "ยาส่วนบุคคล"; ที่ยาทั้งหลายและยาผสมได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับพันธุกรรมที่ไม่ซ้ำกันของแต่ละบุคคล. เทคโนโลยีชีวภาพมีส่วนร่วมในการค้นพบและการผลิตของยาโมเลกุลขนาดเล็กแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับยาที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเทคโนโลยีชีวภาพ - ชีวเภสัช (biopharmaceutics). เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่สามารถนำมาใช้ในการผลิตยาที่มีอยู่ค่อนข้างง่ายและราคาถูก. ผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรมตัวแรกถูกออกแบบมาเพื่อรักษาโรคของมนุษย์. เพื่อยกหนึ่งตัวอย่าง, ในปี 1978 Genentech ได้พัฒนาอินซูลิน humanized สังเคราะห์โดยการเชื่อมยีนของมันกับเวกเตอร์พลาสมิด (plasmid vector) ที่ถูกใส่เข้าไปในแบคทีเรีย "Escherichia coli". อินซูลิน, ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคเบาหวาน, ได้รับการสกัดก่อนหน้านี้จากตับอ่อนของสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ (วัวและ/หรือหมู). แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดขึ้นจะช่วยในการผลิตปริมาณมหาศาลของอินซูลินสังเคราะห์เพื่อมนุษย์ที่ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ. เทคโนโลยีชีวภาพนอกจากนี้ยังช่วยในการรักษาที่เกิดขึ้นใหม่เช่นการรักษาด้วยยีน (gene therapy). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (เช่นผ่านทางโครงการจีโนมมนุษย์) ยังได้ปรับปรุงอย่างมากในความเข้าใจของเราเกี่ยวกับชีววิทยาและเนื่องจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเราเกี่ยวกับชีววิทยาปกติและของโรคได้เพิ่มขึ้น, ความสามารถของเราในการพัฒนายาใหม่ในการรักษาโรคที่รักษาไม่หายไปก่อนหน้านี้ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน การทดสอบทางพันธุกรรมช่วยในการวินิจฉัยทางพันธุกรรมของความไวต่อโรคทางกรรมพันธุ์, และยังสามารถใช้ในการกำหนดผู้เป็นบิดามารดาของเด็ก (แม่และพ่อทางพันธุกรรม) หรือโดยทั่วไปบรรพบุรุษของบุคคลนั้น. นอกเหนือจากการศึกษาโครโมโซมในระดับของยีนแต่ละบุคคล, การทดสอบทางพันธุกรรมในความหมายที่กว้างขึ้นจะรวมถึงการทดสอบทางชีวเคมีสำหรับการปรากฏตัวที่เป็นไปได้ของโรคทางพันธุกรรม, หรือรูปแบบการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาความผิดปกติทางพันธุกรรม. การทดสอบทางพันธุกรรมจะระบุการเปลี่ยนแปลงในโครโมโซม, ยีน, หรือโปรตีน. หลายครั้ง, การทดสอบจะใช้เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติได้รับการถ่ายทอดมา. ผลของการทดสอบทางพันธุกรรมสามารถยืนยันหรือตัดทิ้งสภาพทางพันธุกรรมที่น่าสงสัยหรือช่วยในการกำหนดโอกาสของบุคคลในการพัฒนาหรือการหลุดพ้นความผิดปกติทางพันธุกรรม. ณ ปี 2011, หลายร้อยการทดสอบทางพันธุกรรมได้ถูกนำมาใช้. เนื่องจากการทดสอบทางพันธุกรรมอาจจะเปิดปัญหาด้านจริยธรรมหรือด้านจิตวิทยา, การทดสอบทางพันธุกรรมมักจะมาพร้อมการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม. === การเกษตร === พืชดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically modified crops) หรือ "พืชจีเอ็ม" หรือ "พืชเทคโนโลยีชีวภาพ" เป็นพืชที่ใช้ในการเกษตร, ดีเอ็นเอของมันได้รับการแก้ไขโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม. ในกรณีส่วนใหญ่จุดมุ่งหมายคือเพื่อแนะนำลักษณะทางชีวภาพใหม่ให้กับพืชที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสปีชีส์. ตัวอย่างในพืชอาหารรวมถึงความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืชบางอย่าง, โรค, สภาพแวดล้อมที่เครียด, ความต้านทานต่อการบำบัดทางเคมี (เช่นความต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช), การลดลงของการเน่าเสีย, หรือการปรับปรุงในรายละเอียดของสารอาหารของพืช. หลายตัวอย่างในพืชที่ไม่ใช่อาหารรวมถึงการผลิตของตัวแทนยา (pharmaceutical agent) , เชื้อเพลิงชีวภาพ, และสินค้าอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรม, เช่นเดียวกับการบำบัดทางชีวภาพ (bioremediation) . เกษตรกรได้ใช้เทคโนโลยีจีเอ็มกันอย่างแพร่หลาย. ระหว่างปี 1996 ถึง 2011, พื้นที่ผิวทั้งหมดของที่ดินที่ใช้ปลูกพืชจีเอ็มได้เพิ่มขึ้นจาก 17,000 ตารางกิโลเมตร (4,200,000 เอเคอร์) เป็น 1,600,000 ตารางกิโลเมตร (395,000,000 เอเคอร์) . 10% ของพื้นที่เพาะปลูกของโลกถูกนำมาปลูกพืชจีเอ็มในปี 2010. ณ ปี 2011, พืชดัดแปรพันธุกรรมที่แตกต่างกัน 11 ชนิดได้รับการปลูกในเชิงพาณิชย์บน 395 ล้านเอเคอร์ (160 ล้านเฮคตาร์) ใน 29 ประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา, บราซิล, อาร์เจนตินา, อินเดีย, แคนาดา, จีน, ปารากวัย, ปากีสถาน, แอฟริกาใต้, อุรุกวัย, โบลิเวีย, ออสเตรเลีย, ฟิลิปปินส์, พม่า, บูร์กินาฟาโซ, เม็กซิโกและสเปน. อาหารดัดแปลงพันธุกรรมเป็นอาหารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเจาะจงในดีเอ็นเอของพวกมันโดยใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรม. เทคนิคเหล่านี้ได้ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของพืชแบบใหม่เช่นเดียวกับการควบคุมที่มากขึ้นกว่าโครงสร้างทางพันธุกรรมของอาหารมากกว่าโดยวิธีการก่อนหน้านี้เช่นการคัดเลือกพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์แบบกลายพันธุ์ (mutation breeding) . การขายเชิงพาณิชย์ของอาหารดัดแปลงพันธุกรรมเริ่มต้นขึ้นในปี 1994, เมื่อ Calgene วางตลาดมะเขือเทศสุกช้าชื่อ Flavr Savr ครั้งแรกของบริษัท. จนถึงวันนี้ การดัดแปลงพันธุกรรมของอาหารส่วนมากได้เน้นเป็นหลักในการปลูกพืชเงินสด (cash crop) ในความต้องการสูงโดยเกษตรกรเช่นถั่วเหลืองแปลงพันธุกรรม, ข้าวโพดแปลงพันธุกรรม, คาโนลา, และน้ำมันเมล็ดฝ้าย. เหล่านี้ได้รับการวิศวกรรมให้มีความต้านทานต่อเชื้อโรคและสารเคมีกำจัดวัชพืชและมีรูปแบบของสารอาหารที่ดีกว่า. ปศุสัตว์จีเอ็มยังได้รับการพัฒนาเชิงทดลอง, แม้ว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2013 ยังไม่มีอยู่ในตลาดขณะนั้น. มีฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างว่าอาหารในตลาดที่ได้มาจากพืชจีเอ็มโอไม่มีความเสี่ยงมากต่อสุขภาพของมนุษย์กว่าอาหารธรรมดา. พืชจีเอ็มยังให้ประโยชน์ทางนิเวศวิทยาอีกด้วย, หากไม่ใช้มากเกินไป. อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามได้คัดค้านพืชจีเอ็มในหลายเหตุผล, รวมทั้งความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม, ว่าอาหารที่ผลิตจากพืชจีเอ็มจะมีความปลอดภัยหรือไม่, ว่าพืชจีเอ็มมีความจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารของโลกหรือไม่, และความกังวลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากความจริงที่ว่าสื่งมีชีวิตเหล่านี้อยู่ภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. === เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม === เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม (ที่รู้จักกันส่วนใหญ่ในยุโรปเป็นเทคโนโลยีชีวภาพสีขาว) เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการอุตสาหกรรม, รวมถึงอุตสาหกรรมการหมัก. มันจะรวมถึงการปฏิบัติในการใช้เซลล์เช่นจุลินทรีย์, หรือส่วนประกอบของเซลล์เช่นเอนไซม์, เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเช่นสารเคมี, อาหารและอาหารสัตว์, ผงซักฟอก, กระดาษและเยื่อกระดาษ, สิ่งทอและเชื้อเพลิงชีวภาพ. ในการทำเช่นนั้น, เทคโนโลยีชีวภาพใช้วัตถุดิบหมุนเวียนและอาจช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและย้ายออกจากเศรษฐกิจที่มีฐานมาจากปิโตรเคมี. === การกำกับดูแล === บทความหลัก: การกำกับดูแลพันธุวิศวกรรมและการกำกับดูแลการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม การกำกับดูแลพันธุวิศวกรรมเกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินการของรัฐบาลในการประเมินและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม, และการพัฒนาและการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ), รวมทั้งพืชดัดแปลงพันธุกรรมและปลาดัดแปลงพันธุกรรม. มีความแตกต่างหลายอย่างในการกำกับดูแล GMOs ระหว่างประเทศด้วยกัน, โดยมีบางส่วนของความแตกต่างที่ชัดเจนมากที่สุดเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป. การกำกับดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพันธุวิศวกรรม. ยกตัวอย่างเช่น, พืชไม่ได้มีไว้สำหรับเป็นอาหารโดยทั่วไปจะไม่ถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบสำหรับความปลอดภัยของอาหาร. สหภาพยุโรปใหความแตกต่างระหว่างการอนุมัติสำหรับการเพาะปลูกในสหภาพยุโรปกับการอนุมัติสำหรับการนำเข้าและการประมวล. ขณะที่มีเพียงไม่กี่ GMOs เท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการเพาะปลูกในสหภาพยุโรป, แต่มี GMOs จำนวนมากได้รับการอนุมัติให้ทำการนำเข้าและการประมวล. การเพาะปลูก GMOs ได้สะกิดการอภิปรายเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของพืชจีเอ็มและ nonGM. ขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลการอยู่ร่วมกัน, แรงจูงใจทั้งหลายสำหรับการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมมันแตกต่างกัน. == การเรียนรู้ == ในปี 1988, หลังจากการกระตุ้นจากรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา, สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วไป (สถาบันสุขภาพแห่งชาติ) (NIGMS) ก่อตั้งกลไกการระดมทุนสำหรับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ. หลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศแข่งขันกันเพื่อเงินทุนเหล่านี้ในการสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเทคโนโลยีชีวภาพ (BTPs). แต่ละใบสมัครที่ประสบความสำเร็จจะได้รับเงินสนับสนุนโดยทั่วไปเป็นเวลาห้าปีหลังจากนั้นจะต้องได้รับการต่ออายุที่สามารถแข่งขันได้. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาก็สามารถแข่งขันได้เพื่อการยอมรับเป็น BTP; ถ้าได้รับการยอมรับ, ค่าจ้าง, ค่าเล่าเรียนและการสนับสนุนการประกันสุขภาพจะมีให้เป็นเวลาสองหรือสามปีในระหว่างงานวิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาเอกของพวกเขา. สิบเก้าสถาบันเสนอ BTPs ที่สนับสนุนโดย NIGMS. การฝึกอบรมเทคโนโลยีชีวภาพยังมีการเสนอให้ในระดับปริญญาตรีและในวิทยาลัยชุมชนอีกด้วย. == ดูเพิ่ม == Bioculture Bioeconomics (biophysical) Biological engineering Biomimetics Bionic architecture Biotechnology industrial park Competitions and prizes in biotechnology พันธุวิศวกรรม Green Revolution History of Biotechnology List of biotechnology articles List of biotechnology companies List of emerging biotechnologies Metabolic engineering NASDAQ Biotechnology Index Outline of biotechnology Pharmaceutical chemistry Pharmaceutical companies SWORD-financing Timeline of biotechnology Virotherapy ชีวเคมี วิศวกรรมชีวภาพ อณูชีววิทยา วิศวกรรมเนื้อเยื่อ == อ้างอิง ==
thaiwikipedia
575
จังหวัดฮกไกโด
ฮกไกโด (; ไอนุ: アィヌ・モシリ อัยนูโมซีร์) เดิมเรียก เอโซะ เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชูโดยมีอุโมงค์เซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขตได้แก่ซัปโปโระ ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้วคือชาวไอนุ แต่ถูกกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและดำรงชีวิตเช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่นทั่วไป ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชู ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนที่อื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก == ประวัติศาสตร์ == ฮกไกโดเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไอนุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชื่อสถานที่หลายแห่งบนเกาะเช่นเมืองซัปโปโระก็เป็นภาษาไอนุ ฮกไกโดเคยมีชื่อว่าเอโซะจนสิ้นยุคเมจิ ในช่วงสงครามโบชินเมื่อปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) กองกำลังสนับสนุนรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะซึ่งนำโดยเอโนโมโตะ ทาเกอากิ ได้ประกาศเป็นรัฐอิสระในนามสาธารณรัฐเอโซะ แต่ก็ล่มสลายในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) ภายหลังแบ่งเขตการปกครองเป็น 4 ส่วน == ชื่อ == ชื่อ ฮกไกโด ในภาษาญี่ปุ่นเขียนว่า 北海道 โรมาจิสะกดว่า Hokkaidō หมายถีง "เส้นทางสู่ทะเลเหนือ" ฮกไกโดเป็นทั้งชื่อเกาะ เขตแดนและจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีให้เห็นคำว่า เกาะฮกไกโด ซึ่งกล่าวถึงเกาะโดยรวม เขตฮกไกโดกล่าวในลักษณะโดยรวมของบริเวณทางส่วนเหนือของญี่ปุ่น แต่จะไม่เพิ่มคำว่าจังหวัดลงหน้าชื่อฮกไกโด เนื่องจากคำว่า โด (道) ในชื่อฮกไกโดมีความหมายว่าจังหวัดอยู่แล้ว สำหรับชื่อจังหวัดนี้ในชาวไทยนั้นนิยมเรียกว่า "ฮอกไกโด" เสียมากกว่า แต่การอ่านออกเสียงที่ถูกต้องของชื่อจังหวัดนี้คือ "ฮกไกโด" == ภูมิศาสตร์ == เกาะฮกไกโดตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ใกล้กับประเทศรัสเซีย (แคว้นซาคาลิน) มีแนวชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น (ทางทิศตะวันตกของเกาะ) ทะเลโอค็อตสค์ (ทางเหนือ), และมหาสมุทรแปซิฟิก (ทางทิศตะวันออก) ศูนย์กลางของเกาะเป็นภูเขา มีที่ราบสูงภูเขาไฟ ฮกไกโดมีที่ราบหลายแห่ง เช่น ที่ราบอิชิคาริ 3,800 ตารางกิโลเมตร (1,500 ตารางไมล์) ที่ราบโทคาชิ 3,600 ตารางกิโลเมตร (1,400 ตารางไมล์) ที่ราบคุชิโระ 2,510 ตารางกิโลเมตร (970 ตารางไมล์) (พื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น) และทีราบซาโระเบะสึ 200 ตารางกิโลเมตร (77 ตารางไมล์) ฮกไกโดมีแค่ 83,423.84 ตารางกิโลเมตร (32,210.12 ตารางไมล์) ซึ่งทำให้เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของญี่ปุ่น ช่องแคบสึงารุแยกฮกไกโดออกจากฮนชู (จังหวัดอาโอโมริ) ช่องแคบลาเปรูสแยกฮอกไกโดออกจากเกาะซาฮาลินในรัสเซีย; ช่องแคบเนมุโระแยกฮกไกโดออกจากเกาะคุนาชิร์ในหมู่เกาะคูริลของรัสเซีย เขตอำนาจศาลของรัฐบาลฮกไกโดประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ หลายแห่ง รวมทั้งเกาะริชิริ เกาะโอคุชิริ และเกาะเรบุง (ตามการคำนวณของญี่ปุ่น ฮกไกโดยังได้รวมหมู่เกาะคูริลไว้ด้วย) จังหวัดฮกไกโดเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดและอยู่เหนือสุดของญี่ปุ่น เกาะนี้อยู่ในอันดับที่ 21 ของโลกตามพื้นที่ === พืชและสัตว์ === มีหมีสีน้ำตาลอุสสุริอยู่ 3 ตัวที่พบบนเกาะ เขตฮกไกโดมีหมีสีน้ำตาลมากกว่าที่อื่นในเอเชียนอกจากรัสเซีย หมีสีน้ำตาลฮอกไกโดแบ่งออกเป็นสามสายเลือดที่แตกต่างกัน มีเพียง 8 สายเลือดในโลก === อุทยาน === เขตการปกครองฮกไกโดรวมเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่รอบเกาะฮกไกโดด้วย เช่น เกาะริชิริ เกาะเรบุง และเกาะโอกูชิริ นอกจากนั้นยังมีเขตอุทยานแห่งชาติอีก 6 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติชิเรโตโกะ (知床) (มีทั้งทะเลและทะเลสาบ) อุทยานแห่งชาติอากัง (阿寒) (เป็นทะเลสาบ) อุทยานแห่งชาติคูชิโรชิตสึเง็ง (釧路湿原) (เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ) อุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซัง (大雪山) (เป็นเทือกเขา) อุทยานแห่งชาติชิกตสึ-โทยะ (支笏洞爺) (เป็นทะเลสาบ) อุทยานแห่งชาติริชิริ-เรบุง-ซาโรเบ็ตสึ (利尻礼文サロベツ) (เป็นเกาะ) 5 วนอุทยาน (準国立公園) 12 เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ == เขตการปกครอง == เนื่องจากจังหวัดฮกไกโดมีขนาดใหญ่มาก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการต่อประชาชน จังหวัดฮกไกโดจึงตั้งสำนักงานจังหวัดขึ้นเพื่อดูแลในแต่ละท้องที่จำนวน 14 สำนักงาน เรียกว่า กิ่งจังหวัด == ภูมิอากาศ == ฮกไกโดมีชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีฤดูร้อนที่เย็นสบาย จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ส่วนในฤดูหนาวก็จะมีหิมะมากและหนาวนานอยู่ประมาณครึ่งปี (ปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงต้นเดือนเมษายน) แม้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 22 °C (72 °F) แต่เดือนมกราคมจะมีช่วงอุณหภูมิต่ำมากประมาณ -12 °C ถึง -4 °C (10 °F ถึง 25 °F) ในระหว่างฤดูหนาว ทะเลโอค็อตสค์ทางตะวันออกของเกาะจะกลายเป็นน้ำแข็งทำให้การเดินทางทางทะเลแถบน้ำเป็นไปได้ยาก ต้องใช้เรือตัดน้ำแข็ง ส่วนการประมงก็ต้องรอจนกว่าจะสิ้นฤดูหนาว เนื่องจากฮกไกโดเป็นดินแดนหิมะ ที่เมืองซัปโปโระจึงมีการจัดเทศกาลหิมะเป็นประจำทุกปี ในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ == เศรษฐกิจ == ฮกไกโดเป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น เป็นแหล่งผลิตข้าวญี่ปุ่น อาหารทะเลชั้นดี และผักผลไม้คุณภาพสูง ฮกไกโดยังเป็นแหล่งของอุตสาหกรรมเบาบางประเภท เช่น เยื่อกระดาษ เบียร์ซัปโปโระ และผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบหลักของรายได้ของเขตนี้ ทั้งฤดูร้อนที่เย็นสบายเป็นที่ชมธรรมชาติ ป่าเขาที่สวยงาม และในฤดูหนาวก็มีเทศกาลหิมะซัปโปโรที่เลื่องชื่อเป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นเองและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก และสถานที่เล่นสกีก็มีอยู่มากมายเช่นเดียวกับบ่อน้ำร้อนที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบทำรายได้มหาศาลให้แก่ผู้คนในฮกไกโด == ระบบขนส่งมวลชน == ฮกไกโดเชื่อมกับเกาะฮนชูทางอุโมงค์เซกัง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาฮกไกโดโดยทางเครื่องบิน โดยมาลงที่ท่าอากาศยานชินชิโตเซะในเมืองชิโตเซะ ซึ่งอยู่ห่างจากซัปโปโระเพียง 40 นาทีโดยรถไฟ เที่ยวบินระหว่างโตเกียวและชิโตเซะมีมากถึง 45 เที่ยวต่อวันโดย 3 สายการบิน ซึ่งนับว่าติดอันดับโลก ฮกไกโดยังมีสายการบินเป็นของตัวเองชื่อแอร์โดซึ่งก็มาจากชื่อของเกาะฮกไกโดนั่นเอง นอกจากเครื่องบินแล้วฮกไกโดยังมีท่าเรือเฟอร์รีที่สามารถเดินทางไปยังเกาะต่าง ๆ ได้ แต่จะใช้เวลาค่อนข้างมาก ส่วนภายในฮกไกโดนั้นจะใช้รถไฟเป็นหลัก รถไฟระหว่างเมืองดำเนินงานโดย JR ฮกไกโด แต่บางเมืองต้องเดินทางด้วยรถประจำทางหรือรถยนต์ส่วนตัวเท่านั้น สำหรับรถไฟใต้ดินมีเฉพาะที่นครซัปโปโระ ==ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ== จังหวัดฮกไกโดมีความสัมพันธ์กับเขตการปกครองในพื้นที่อื่นๆของโลกดังต่อไปนี้. แอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา (1980) เฮย์หลงเจียง ประเทศจีน (1980) แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา (1988) ซาฮาลินโอบลาส ประเทศรัสเซีย (1998) ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ (2005) คย็องซังใต้ ประเทศเกาหลีใต้ (2006) โซล ประเทศเกาหลีใต้ (2010) เชียงใหม่ ประเทศไทย (2013) ทิมพู ประเทศภูฏาน ==อ้างอิง== == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ทางการของจังหวัดฮกไกโด เว็บไซต์ทางการของจังหวัดฮกไกโด Amazing Details on Hokkaido Hokkaido Ski Resort จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น หมู่เกาะญี่ปุ่น
thaiwikipedia
576
ประเทศคูเวต
คูเวต (الكويت) หรือชื่อทางการคือ รัฐคูเวต (دولة الكويت) เป็นประเทศปกครองโดยเจ้าผู้ครองรัฐที่มีขนาดเล็กและอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศอิรัก == ประวัติศาสตร์ == ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของคูเวตเริ่มต้นจากการสร้างเมืองคูเวตในศตวรรษที่ 18 โดยชนเผ่า Uteiba ซึ่งเร่ร่อนมาจากทางเหนือของกาตาร์ ในระหว่างศตวรรษที่ 19 คูเวตพยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากอังกฤษเพื่อให้พ้นจากการยึดครองของพวกเติร์กและกลุ่มต่าง ๆ ที่เรืองอำนาจในคาบสมุทรอาระเบีย ในปี 2442 Sheikh Mubarak Al Sabah ได้ลงนามในข้อตกลงกับอังกฤษว่า ตนและผู้สืบทอดอำนาจจะไม่ยอมให้ดินแดนและต้อนรับผู้แทนของต่างประเทศใด ๆ โดยไม่ได้ความยินยอมจากอังกฤษเสียก่อน ส่วนอังกฤษก็ได้ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือประจำปีแก่ Sheikh Mubarak และทายาทและให้ความคุ้มครองคูเวต โดยอังกฤษได้ดูแลกิจการด้านการต่างประเทศและความมั่นคงให้กับคูเวต ในช่วงต้นปี 2504 อังกฤษได้ถอนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสำหรับตัดสินคดีของชาวต่างชาติในคูเวตออกไป และรัฐบาลคูเวตได้เริ่มการใช้กฎหมายของตนเองซึ่งยกร่างโดยนักกฎหมายชาวอียิปต์ คูเวตได้รับอิสรภาพสมบูรณ์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายหลังการแลกเปลี่ยนหนังสือ (exchange of notes) กับอังกฤษมีการกำหนดเขตแดนระหว่างคูเวตกับซาอุดีอาระเบียในปี 2535 โดยสนธิสัญญา Uqair หลังจากการสู้รบที่เมือง Jahrah สนธิสัญญานี้ยังได้กำหนดเขตเป็นกลางระหว่างคูเวตและซาอุดีอาระเบีย (Kuwaiti – Saudi Arabia Neutral Zone) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร ติดกับเขตแดนทางใต้ของคูเวต ในเดือนธันวาคม 2512 คูเวตและซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งเขตเป็นกลาง (ปัจจุบันเรียกว่า Divided Zone) และปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศใหม่ โดยทั้งสองประเทศได้แบ่งน้ำมันทั้งนอกฝั่งและบนฝั่งในเขต Divided Zone อย่างเท่าเทียมกัน ในปี 2533-2534 เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรักได้ยึดครองคูเวตทั้งหมดภายใน 3 วัน สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรจึงร่วมกันปลดปล่อยคูเวตออกจากยึดครองของอิรัก จนกระทั่งคูเวตได้อิสระจนถึงปัจจุบัน == การเมือง == == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศคูเวตแบ่งออกเป็น 6 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ได้แก่ อัลอะห์มะดี (al-Ahmadi) อัลอาศิมะฮ์ (al-Asimah) อัลฟัรวานียะฮ์ (al-Farwaniyah) อัลญะฮ์รออ์ (al-Jahra) ฮะวาลี (Hawalli) มุบาเราะกุลกอบีร (Mubarak al-Kabeer) == ภูมิศาสตร์ == คูเวตมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 29 - 30องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 47 - 48องศาตะวันออก คูเวตมีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 17,818 ตารางกิโลเมตร คูเวตเป็นประเทศขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณก้นอ่าวเปอร์เซีย == เศรษฐกิจ == คูเวตเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการขายน้ำมัน รายได้ของรัฐส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับน้ำมันและอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก (คูเวตมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึงร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก) == ประชากร == ประชากร ประมาณ 2 ล้านคน (2000) เป็นชาวคูเวต 45% ชาวอาหรับอื่น ๆ 35% เอเชียใต้ 9% อิหร่าน 4% == วัฒนธรรม == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ประเทศคูเวต จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ ค รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2504
thaiwikipedia
577
รายชื่อผู้ผลิตรถยนต์
รถยนต์จะมีตราสินค้าต่างๆ ดังนี้ == บริษัทเอเชีย == === บริษัทญี่ปุ่น === โตโยต้า (Toyota) เล็กซัส (Lexus) ไซออน (Scion) แบรนด์ย่อยของโตโยต้า ขายเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันปิดตัวแล้ว ฮีโน่ (Hino) ไดฮัทสุ (Daihatsu) (ปัจจุบันโตโยต้าถือหุ้นใหญ่ในของฮีโน่และไดฮัทสุ) ฮอนด้า (Honda) แอคิวรา (Acura) นิสสัน (Nissan) อินฟินิที (Infiniti) มิตซูบิชิ (Mitsubishi) มาสด้า (Mazda) อีซูซุ (Isuzu) ซูซูกิ (Suzuki) ซูบารุ (Subaru) มิตซูโอกะ (Mitsuoka) ทอมมี่ ไคระ (Tommy Kaira) === บริษัทเกาหลีใต้ === ฮุนได มอเตอร์ส (อ่าน ฮยอนแด ในสำเนียงเกาหลี) (Hyundai Motors) เกีย (Kia) ซังยอง (อ่าน ซังยง ในสำเนียงเกาหลี) (SsangYong) เรอโนลต์ ซัมซุง (อ่าน ลึโน ซัมซอง ในสำเนียงเกาหลี) (ซัมซุง) แดวู (อ่าน แดอู ในสำเนียงเกาหลี) (ปิดตัว) Asia Motors (ปิดตัว) Proto (ยี่ห้อรถยนต์) === บริษัทเกาหลีเหนือ === Pyeonghwa === บริษัทจีน === เฌอรี่ (ฉีรุ่ย) โฟตอน (ยี่ห้อรถยนต์) บีวายดี บริลเลียนซ์ (เป็นที่รู้จักในจีนในนาม หัวเฉิน (ชื่อบริษัท) หรือ จงหัว (ชื่อยี่ห้อในประเทศจีน)) * จินเป่ย ฉางอาน (รถยนต์) (ชาน่า) * ฉางอานฟอร์ด * ฉางอานซูซูกิ ฉางเฟิง ฉางเหอ โซคอน (SOKON) ตงฟงมอเตอร์ส เอฟเอดับเบิลยู (First Automobile Works, FAW) * Haima * หงฉี * Huali * Tianjin FAW Xiali จีลี่ ออโตโมบิล (จี๋ลี่) * เมเปิล (Huapu) Gonow Auto เกรตวอลล์ (ฉางเฉิง) ฮาเฟย (Hafei) เจเอซี (อันฮุย เจียงหวย ออโตโมบิล) เจียงหลิง (JMC) * แลนด์วินด์ (Landwind) ลี่ฟาน เอ็นเอซี (Nanjing Automobile Corporation, NAC) โพลาร์ซัน (Polarsun) เอสเอไอซี (Shanghai Automotive Industry Corporation, SAIC) *Roewe * วู่หลิง (SAIC-GM-Wuling Automobile) Shuanghuan ซูอีสท์มอเตอร์ (Soueast Motors / Dongnan) ZX Auto บีเอดับเบิลยู (BAW) เทนเซ้นต์ (รถยนต์)(Tencent Motors/Dongjin) ° เทนเซ้นต์มิตซูบิชิ ° เทนเซ้นต์เกีย . ° เทนเซ้นต์โตโยต้า <重難卜山女> 。เทนเซ้นต์ฮุนได เวนูเซีย มอเตอร์ส (Venucia Motors) เองลอนคาร์ส (Englon Cars) Ranz Motors Qoros Auto AiON Motors === บริษัทไต้หวัน === Luxgen === บริษัทอินเดีย === ทาทา มอเตอร์ส มหินทรา (Mahindra) Force Motors ฮินดูสถาน มอเตอร์ส (Hindustan Motors) Maruti Cars Reva Motors === บริษัทไทย === ไทยรุ่ง ยูเนี่ยนคาร์ (Thai Rung Union Car) เดวา ออโต้ (Deva Auto) วีรา ออโตโมทีฟ (VERA Automotive) เอกพาณิชย์ Siam V.M.C. (ปิดตัว) C-FEE Cherdchai Industrial Factory ควายทอง ไมน์ โมบิลิตี้ (MINE Mobility) อีเอ (E@) เน็กซ์ พอยท์ (NEX Point) เอเชียแคปคาร์ส (Asia Cabb Cars) === บริษัทมาเลเซีย === โปรตอน เปอโรดัว (Perodua) นาซา (Naza) Bufori === บริษัทกัมพูชา === อังกอร์ === บริษัทอิหร่าน === Iran Khodro SAIPA Motors === บริษัทตุรกี === Etox Motors Togg Motors === บริษัทเวียดนาม === วินฟาสต์ === บริษัทอินโดนีเซีย === เอสเซมก้า (Esemka) == บริษัทอเมริกาเหนือ == === บริษัทสหรัฐอเมริกา === เจเนรัลมอเตอร์ *เชฟโลเลต (อ่านว่า เชฟโรเลต์ ในอเมริกา) *บิวอิคก์ (Buick) *คาดิลแลค (Cadillac) *จีเอ็มซี (GMC) *ฮัมเมอร์ (Hummer) *พอนทิแอค (Pontiac) *แซทเทิร์น (Saturn) ฟอร์ดมอเตอร์ * ฟอร์ด (Ford) * ลินคอล์น (รถยนต์) (Lincoln) * เมอร์คิวรี (รถยนต์) (Mercury) เฟียต ไครสเลอร์ ออโต้โมบิลส์ แอลแอลซี (เฟียตจากอิตาลีเข้าซื้อกิจการและควบรวมกับไครสเลอร์) * ดอดจ์ (Dodge) * ไครสเลอร์ (Chrysler) * จี๊ป (JEEP) * แรม (Ram) เทสลามอเตอร์ส (Tesla Motors) ฮัดสัน (ปิดตัว) สตูเดอเบเกอร์ (ปิดตัว) แพคการ์ด (ปิดตัว) === บริษัทเม็กซิโก === Mastretta == บริษัทอเมริกาใต้ == === บริษัทบราซิล === Troller == บริษัทยุโรป == === บริษัทสหราชอาณาจักร === ในเครือบีเอ็มดับเบิลยู * โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) * มินิ (Mini) ในเครือโฟล์กสวาเกนกรุ๊ป * เบนท์ลีย์ (Bentley) ในเครือพีเอสเอ (PSA) * วอกซ์ฮอลล์ (Vauxhall) (เป็นบริษัทในเครือโอเปิลอีกทีหนึ่ง) ในเครือทาทามอเตอร์ส * จากัวร์ (Jaguar) * แลนด์โรเวอร์ (Land Rover) ในเครือ เอสเอไอซี (Shanghai Automotive Industry Corporation, SAIC) (บริษัทจีน) * เอ็มจี (MG) แอสตันมาร์ติน (Aston Martin) * Lagonda (ปัจจุบันเป็นยี่ห้อในเครือแอสตันมาร์ติน) โลตัส (Lotus) โรเวอร์ (Rover) (ปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Roewe โดย SAIC จากจีนซื้อกิจการไป แต่ไม่ได้สิทธิในการใช้ชื่อเดิม เนื่องจากสิทธิการใช้ชื่อโรเวอร์เป็นของทาทามอเตอร์ส) ออสติน (Austin) เดอลอรีน (De Lorean) (ไอร์แลนด์เหนือ) Invicta Jensen Lanchester Marcos แมคลาเรน (McLaren) Morgan Morris Noble Reliant Sunbeam Talbot Triumph (ปิดตัว) ทีวีอาร์ (TVR) เอเรียล (Ariel) แคเตอร์แฮม (Caterham) เวสท์ฟิลด์ (Westfield) === บริษัทเยอรมนี === ในเครือเดมเลอร์ เอจี * เมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-Benz) * ไมบัค (Maybach) * สมาร์ท (ยี่ห้อรถยนต์) ในเครือบีเอ็มดับเบิลยู * บีเอ็มดับเบิลยู (BMW) ในเครือโฟล์กสวาเกนกรุ๊ป * ฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen) * อาวดี้ (Audi) * พอร์เชอ (Porsche) * MAN ในเครือพีเอสเอ (PSA) * โอเปิล (Opel) Ruf Gumpert === บริษัทอิตาลี === ในเครือเฟียต ไครสเลอร์ ออโต้โมบิลส์ * เฟียต (Fiat) * อัลฟาโรเมโอ (Alfa Romeo) * ลันซีอา * มาเซราติ (Maserati) เฟอร์รารี่ (Ferrari) ในเครือโฟล์กสวาเกนกรุ๊ป โดยมีออดี้เป็นเจ้าของอีกทีหนึ่ง * ลัมโบร์กีนี (Lamborghini) Autobianchi ปากานี (Pagani) Iveco === บริษัทสวีเดน === วอลโว่ (Volvo) (อยู่ในเครือจีลี่ ออโต้โมบิล เฉพาะแผนกรถยนต์นั่ง สำหรับแผนกรถบรรทุกและเครื่องจักรกลหนักยังคงอยู่ในเครือ Volvo AB) ซ้าบ (Saab) (ปิดตัว) คอนิกเส็กก์ (Koenigsegg) สแกนเนีย (Scania) (แบรนด์รถบรรทุก ปัจจุบันอยู่ในเครือโฟล์กสวาเกนกรุ๊ป) === บริษัทฝรั่งเศส === เครือพีเอสเอ (PSA) * เปอโยต์ (Peugeot ออกเสียง ปู ชยู) * ซีตรอง (Citroën ออกเสียง ซีโทรเอ็น) * ซิมคา เรอโนลต์ (Renault ออกเสียง เฮอ-โนต์) ในเครือโฟล์กสวาเกนกรุ๊ป * บูกัตติ (Bugatti) === บริษัทสเปน === ในเครือโฟล์กสวาเกนกรุ๊ป * เซียท (Seat) === บริษัทเช็กเกีย === ในเครือโฟล์กสวาเกนกรุ๊ป * สโกด้า (Skoda) === บริษัทเนเธอร์แลนด์ === สปายเกอร์ (Spyker Cars) ดีเอเอฟ Donkervoort === บริษัทสวิสเซอร์แลนด์ === Rinspeed Sbarro === บริษัทรัสเซีย === ลาด้า (Lada) (ปิดตัว) Marussia Motors Aviar Motors === บริษัทออสเตรีย === เคทีเอ็ม (KTM) === บริษัทเซอร์เบีย === Zastava === บริษัทโรมาเนีย === ดาเซีย (Dacia) === บริษัทโครเอเชีย === Rimac Automobili === บริษัทโปแลนด์ === Arrinera FSO Cars == บริษัทโอเชียเนีย == === บริษัทออสเตรเลีย === ในเครือเจเนอรัลมอเตอร์ * โฮลเดน (Holden) (ปิดตัว) == ดูเพิ่ม == อุตสาหกรรมยานยนต์ รถยนต์ รายชื่อ ตราสินค้ารถยนต์ ยานพาหนะ
thaiwikipedia
578
ปรัชญา
ปรัชญา (Philosophy จาก φιλοσοφία, philosophia|lit=ความรักในปัญญา|label=none|italic=yes) เป็นการศึกษาปัญหาทั่วไปและปัญหาพื้นฐาน เช่น เกี่ยวกับการดำรงอยู่ (อภิปรัชญา), เหตุผล (ตรรกศาสตร์), ความรู้ (ญาณวิทยา), คุณค่า (จริยศาสตร์), จิตใจ และ ภาษา Such questions are often posed as problems แหล่งข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าคำนี้คิดขึ้นโดยพีทากอรัส (c. 570 – c. 495 ปีก่อนค.ศ.) ในขณะที่บางส่วน ปฏิเสธและเชื่อว่าพีทากอรัสนำคำนี้มาใช้จากคำเดิมที่ปรากฏอยู่แล้ว วิธีวิทยาของปรัชญาประกอบด้วยการตั้งคำถาม, การถกเถียงเชิงวิพากษ์, การถกเถียงด้วยเหตุผล และการนำเสนออย่างเป็นระบบระเบียบ ในอดีต คำว่า "ปรัชญา" หมายรวมถึงความรู้ทุกแขนง ส่วนผู้ศึกษาปรัชญา เรียก นักปรัชญา นับแต่ยุคของแอริสตอเติล นักปรัชญากรีกโบราณ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า "ปรัชญาธรรมชาติ" ครอบคลุมวิชาดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์และฟิสิกส์ อย่างเช่น ตำรา Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica (หลักคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ) ของไอแซก นิวตัน ในปี 1687 เป็นวิชาปรัชญาก่อนที่ภายหลังจะถูกจำแนกเป็นวิชาฟิสิกส์แทน ในศตวรรษที่ 19 ภายหลังการเติบโตของมหาวิทยาลัยวิจัยทำให้ปรัชญาเชิงวิชาการ (academic philosophy) และสาขาวิชาอื่นกลายเป็นอาชีพและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น หลังจากนั้นจึงมีหลายวิชาที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาแยกออกไป โดยเฉพาะสังคมศาสตร์ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา ภาษาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ในปัจจุบัน โดยทั่วไปถือว่าปรัชญาประกอบด้วยสาขาย่อยหลักทางวิชาการได้แก่ อภิปรัชญา ซึ่งศึกษาธรรมชาติพื้นฐานของการดำรงอยู่ และ ความเป็นจริง, ญาณวิทยา ซึ่งศึกษาธรรมชาติของความรู้ และ ความเชื่อ, จริยศาสตร์ ซึ่งศึกษาคุณค่าทางศีลธรรม และ ตรรกศาสตร์ ซึ่งศึกษากฎเกณฑ์ของการให้เหตุผลเพื่อสร้างข้อสรุปจากความจริง สาขาย่อยอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักของปรัชญา เช่น ปรัชญาวิทยาศาสตร์, ปรัชญาการเมือง, สุนทรียศาสตร์, ปรัชญาภาษา และ ปรัชญาความคิด เป็นต้น == แขนงของปรัชญา == ปัญหาทางปรัชญาอาจจัดกลุ่มรวมกันเป็นแขนงต่าง ๆ ได้ เพื่อให้นักปรัชญาสามารถมุ่งสนใจหัวข้อใกล้เคียงกัน และมีปฏิสัมพันธ์กับนักคิดคนอื่นที่สนใจในปัญหาทำนองเดียวกัน การแบ่งอาจมีได้มากกว่ารายการข้างล่างนี้ และแต่ละแขนงอาจไม่ได้แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ปัญหาทางปรัชญาเหล่านี้บางทีก็ซ้อนทับกันหลายแขนงปรัชญา และบางทีก็ซ้อนทับกับวิชาและความคิดอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ศาสนาหรือคณิตศาสตร์ === สุนทรียศาสตร์ === สุนทรียศาสตร์คือ "การสะท้อนเชิงวิพากษ์ต่อศาสนา วัฒนธรรมและธรรมชาติ" แขนงนี้ว่าด้วยสภาพของศิลปะ ความงาม รสนิยม ความพึงพอใจ คุณค่าทางอารมณ์ การรับรู้ ตลอดจนการสร้างสรรค์และการชื่นชมความงาม หรือหากนิยามให้แม่นยำกว่านั้น คือ การศึกษาคุณค่าของประสาทสัมผัสหรือประสาทสัมผัสและอารมณ์ ส่วนใหญ่แบ่งได้เป็นทฤษฎีศิลปะ ทฤษฎีภาพยนตร์ หรือทฤษฎีดนตรี === จริยศาสตร์ === จริยศาสตร์ หรือเรียก ปรัชญาศีลธรรม เป็นการศึกษาความประพฤติที่ดีและเลว ค่านิยมที่ถูกต้องและผิด และความดีกับความชั่วร้าย โดยหลักสนใจศึกษาวิธีการดำรงชีวิตที่ดีและการบอกมาตรฐานศีลธรรม นอกจากนี้ยังสนใจว่ามีวิธีดำรงชีวิตที่ดีที่สุด หรือมีมาตรฐานศีลธรรมเป็นสากลหรือไม่ และถ้ามี มนุษย์จะเรียนรู้เกี่ยวกับมันได้อย่างไร === ญาณวิทยา === ญาณวิทยาเป็นแขนงของปรัชญาที่ศึกษาความรู้ นักญาณวิทยาศึกษาบ่อเกิดความรู้ต่าง ๆ เช่น ประสบการณ์ผัสสะ เหตุผล ความทรงจำและพยาน นอกจากนี้ยังศึกษาปัญหาของสภาพความจริง ความเชื่อ การให้เหตุผลและความสมเหตุสมผล แขนงย่อยหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในประวัติศาสตร์ของวิชาปรัชญา คือ กังขาคติทางปรัชญา ซึ่งตั้งข้อสงสัยข้ออ้างในความรู้ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนโสเครดิส และยังคงปรากฏในงานในของนักปรัชญาสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียง และยังเป็นหัวข้อศูนย์กลางในการถกเถียงทางญาณวิทยาร่วมสมัยอยู่ การถกเถียงทางปรัชญาที่มีชื่อเสียง คือ การถกเถียงระหว่างประสบการณ์นิยมกับเหตุผลนิยม ประสบการณ์นิยมเน้นหลักฐานที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสว่าเป็นบ่อเกิดของความรู้ (เช่นความรู้ทางวิทยาศาสตร์) ส่วนเหตุผลนิยมเน้นเหตุผลเป็นบ่อเกิดของความรู้ ซึ่งไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ (เช่น ตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์) == เชิงอรรถ == == อ้างอิง ==
thaiwikipedia
579
การสังเคราะห์ด้วยแสง
การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานทางเคมีได้ สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อการเจริญเติบโตทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีการผลิตออกซิเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs" โดยโมเลกุลที่มีความสามารถในการดูดกลืนแสงที่มีอยู่ในพืชและสิ่งมีชีวิตนี้คือ รงควัตถุ (pigment) == ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง == === ความเข้มของแสง === ถ้ามีความเข้มของแสงมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อุณหภูมิกับความเข้มของแสง มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกัน คือ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ความเข้มของแสงน้อยจะไม่ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขีดหนึ่งแล้วอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิและความเข้มของแสงที่เพิ่มขึ้นและยังขึ้นอยู่กับชนิดของพืชอีกด้วย เช่น พืชซีสาม พืชซีสี่ ถ้าไม่คิดถึงปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชส่วนใหญ่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วง 0–35 องศาเซลเซียส หรือ 0–40 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม และการทำงานของเอนไซม์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ดังนั้น เรื่องของอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์โมเคมิคัล ถ้าความเข้มของแสงวีดีน้อยมาก จนทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นน้อยกว่ากระบวนการหายใจ น้ำตาลถูกใช้หมดไป พืชจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น (คุณภาพ) ของแสง และช่วงเวลาที่ได้รับ เช่น ถ้าพืชได้รับแสงนานจะมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดีขึ้น แต่ถ้าพืชได้แสงที่มีความเข้มมาก ๆ ในเวลานานเกินไป จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงชะงัก หรือหยุดลงได้ทั้งนี้เพราะคลอโรฟิลล์ถูกกระตุ้นมากเกินไป ออกซิเจนที่เกิดขึ้นแทนที่จะออกสู่บรรยากาศภายนอก พืชกลับนำไปออกซิไดส์ส่วนประกอบและสารอาหารต่าง ๆ ภายในเซลล์ รวมทั้งคลอฟิลล์ทำให้สีของคลอโรฟิลล์จางลง ประสิทธิภาพของคลอโรฟิลล์และเอนไซม์เสื่อมลง ทำให้การสร้างน้ำตาลลดลง === ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ === ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้นจากระดับปกติที่มีในอากาศ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนถึงระดับหนึ่งถึงแม้ว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้น แต่อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย และถ้าหากว่าพืชได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความเข้มข้นสูงกว่าระดับน้ำแล้วเป็นเวลานาน ๆ จะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดต่ำลงได้ คาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ความเข้มข้นสูงขึ้น แต่ความเข้มของแสงน้อย และอุณหภูมิของอากาศก็ต่ำ กรณีเช่นนี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าคาร์บอนไดออกไซด์มีความเข้มข้นสูงขึ้น ความเข้มของแสงและอุณหภูมิของอากาศก็เพิ่มขึ้น กรณีเช่นนี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย นักชีววิทยาจึงมักเลี้ยงพืชบางชนิดไว้ในเรือนกระจกที่แสงผ่านเข้าได้มาก ๆ แล้วให้คาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีผลทำให้พืชมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อาหารเกิดมากขึ้น จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ออกดอกออกผลเร็ว และออกดอกออกผลนอกฤดูกาลก็ได้ === อุณหภูมิ === อุณหภูมิ เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยทั่วไปอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 10–35 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นกว่านี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงวีดีจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อุณหภูมิสูง ๆ ยังขึ้นอยู่กับเวลาอีกปัจจัยหนึ่งด้วย กล่าวคือ ถ้าอุณหภูมิสูงคงที่ เช่น ที่ 40 องศาเซลเซียส อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเอนไซม์ทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่พอเหมาะ ถ้าสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เอนไซม์จะเสื่อมสภาพทำให้การทำงานของเอนไซม์ชะงักลง ดังนั้นอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์แสงด้วย เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์มอเคมิคอล (Thermochemical reaction) === ออกซิเจน === ตามปกติในอากาศจะมีปริมาณของออกซิเจนและยังมีอากาศที่แบ่งออกหลายแบบอีกด้วยเช่นกัน === น้ำ === น้ำ ถือเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (แต่ต้องการประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น จึงไม่สำคัญมากนักเพราะพืชมีน้ำอยู่ภายในเซลล์อย่างเพียงพอ) อิทธิพลของน้ำมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทางอ้อม คือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ให้ดีขึ้น แก๊สมีหลายชนิด เช่น แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ === อายุของใบ === ใบจะต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ทั้งนี้เพราะในใบอ่อนคลอโรฟิลล์ยังเจริญไม่เต็มที่ ส่วนใบที่แก่มาก ๆ คลอโรฟิลล์จะสลายตัวไปเป็นจำนวนมาก == สมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสง == สรุปสมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชสีเขียวเป็นดังนี้ nCO2 + 2nH2O + พลังงานแสงและคลอโรฟิลล์ → (CH2O) n + nO2 + nH2O น้ำตาลกลูโคสและแป้ง เป็นผลผลิตขั้นต้นดังสมการดังต่อไปนี้: 6CO2 + 12H2O + พลังงานแสงและคลอโรฟิลล์ → C6H12O6 + 6O2 + 6H2O การสังเคราะห์ด้วยแสงแบ่งเป็น 2 ปฏิกิริยาคือ ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง คือปฏิกิริยาโฟโตฟอสโฟรีเลชั่น ปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอน เป็นขั้นตอนที่มีการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส โดยใช้คาร์บอนจากคาร์บอนไดออกไซด์ และใช้พลังงานจาก ATP และ NADPH+H+ ในสภาวะที่ไม่มีแสงเมื่อปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่นหยุด ปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอนจะหยุดไปด้วย == การค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง == === ยัน บัปติสต์ ฟัน แฮ็ลโมนต์ === ในปี พ.ศ. 2191 ได้มีการตีพิมพ์ผลงานของยัน บัปติสต์ ฟัน แฮ็ลโมนต์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียม ที่ทำการทดลองอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและมีความสำคัญมากทางชีววิทยา โดยปลูกต้นหลิวหนัก 5 ปอนด์ในถังใบใหญ่ซึ่งบรรจุดินที่ทำให้แห้งสนิทหนัก 200 ปอนด์แล้วปิดฝาถัง ระหว่างทำการทดลองได้รดน้ำต้นหลิวที่ปลูกไว้ทุก ๆ วันด้วยน้ำฝนเป็นระยะเวลา 5 ปี ต้นหลิวเจริญเติบโตขึ้นมาก เมื่อนำต้นหลิวที่ไม่มีดินติดอยู่ที่รากไปชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าต้นหลิวหนัก 169 ปอนด์ 3 ออนซ์ และเมื่อนำดินในถังไปทำให้แห้งแล้วนำไปชั่ง พบว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าดินที่ใช้ก่อนทำการทดลองเพียง 2 ออนซ์เท่านั้น ฟัน แฮ็ลโมนต์ได้สรุปผลการทดลองว่า น้ำหนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นมาจากน้ำเพียงอย่างเดียว โดยที่เขาไม่ได้นึกถึงก๊าซในอากาศหรือดิน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ความจริงแล้วน้ำหนักของดินที่หายไปนั้นก็เป็นส่วนที่พืชนำไปใช้ในการดำรงชีวิต และจำเป็นต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งยังมีส่วนให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == คลอโรพลาสต์ คลอโรฟิลล์ การหายใจระดับเซลล์ เมแทบอลิซึม พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา สรีรวิทยาของพืช แสง กระบวนการทางชีวภาพ
thaiwikipedia
580
ช่องโหว่ (คอมพิวเตอร์)
ในความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ ช่องโหว่ หมายถึงจุดอ่อนอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถลดทอนการประกันสารสนเทศของระบบ ช่องโหว่เป็นส่วนร่วมขององค์ประกอบสามอย่างได้แก่ ความรู้สึกไวหรือข้อตำหนิของระบบ ผู้โจมตีที่เข้าถึงข้อตำหนินั้น และความสามารถของผู้โจมตีที่จะแสวงหาข้อตำหนินั้น ในการค้นหาช่องโหว่ ผู้โจมตีอย่างน้อยต้องมีเครื่องมือหรือเทคนิคที่สามารถใช้ได้ ที่สามารถเชื่อมโยงกับจุดอ่อนของระบบ ในกรอบความคิดนี้ ช่องโหว่เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า พื้นหน้าของการโจมตี (attack surface) การจัดการช่องโหว่คือการปฏิบัติการเชิงวัฏจักรในการระบุ จำแนก เยียวยา และบรรเทาปัญหาที่เกิดจากช่องโหว่ต่าง ๆ การปฏิบัติการนี้โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยอาจถูกจำแนกว่าเป็นช่องโหว่ชนิดหนึ่ง การใช้ช่องโหว่ในความหมายเดียวกับความเสี่ยงอาจทำให้เกิดความสับสน เนื่องจากความเสี่ยงผูกพันอยู่กับศักยภาพของความสูญเสียที่มีนัยสำคัญ และนอกเหนือจากนั้นก็มีช่องโหว่ที่ไร้ความเสี่ยงด้วย ตัวอย่างเช่นเมื่อสินทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบไม่มีมูลค่า == อ้างอิง == การบุกรุกความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ การบุกรุกความมั่นคงบนเว็บ การแฮ็ก การทดสอบซอฟต์แวร์
thaiwikipedia
581
พรีไบโอติกส์
พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้กันมานานก็คือ น้ำตาลสายสั้น (Oligosaccharides) ซึ่งมี กลูโคส (Glucose), กาแลคโตส (Galactose) และ ฟรุคโตส (Fructose) รวมทั้ง เอ็น-อาเซทิลกลูโคซามีน (N-acetylglucosamine) เป็นองค์ประกอบ ด้วยโครงสร้างซึ่งซับซ้อน ทำให้เอนไซม์ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กไม่สามารถย่อยสลายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มที่ผลิตกรดนม หรือ กรดแลคติก (Lactic acid) ได้แก่ Bifidobacteria และ Lactobacilli สามารถใช้เป็นแหล่งอาหารได้ดีกว่าแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ และเมื่อเรารับประทานพรีไบโอติกส์ไประยะหนึ่ง ประชากรแบคทีเรียในลำไส้ของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ส่งเสริมสุขภาพ พรีไบโอติกส์ มีทั้งที่สกัดมาจากพืชอาหารบางชนิด และสังเคราะห์ขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ขายกันอยู่ในปัจจุบัน วิทยาแบคทีเรีย สารอาหาร
thaiwikipedia
582
อณูพันธุศาสตร์
อณูพันธุศาสตร์ (อังกฤษ: molecular genetics) หรือ พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล เป็นแขนงหนึ่งของวิชาพันธุศาสตร์และชีววิทยา ที่ศึกษาว่าความแตกต่างในโครงสร้างหรือการแสดงออกของดีเอ็นเอจะนำไปสู่ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร อณูพันธุศาสตร์นิยมใช้ "วิธีการเชิงสืบสวน" เพื่อค้นหาโครงสร้าง และหน้าที่การทำงานของยีนในจีโนมของสิ่งมีชีวิตด้วยการใช้ genetic screens  วิชานี้เป็นการรวมกันของสาขาย่อยหลายสาขาในชีววิทยา ได้แก่ พันธุศาสตร์ของเมนเดลแบบคลาสสิค, ชีววิทยาของเซลล์, ชีววิทยาระดับโมเลกุล, ชีวเคมี, และ เทคโนโลยีชีวภาพ นักวิจัยค้นหาการกลายพันธุ์ในยีน หรือเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์เพื่อเชื่อมโยงลำดับยีนไปยังฟีโนไทป์ที่จำเพาะ อณูพันธุศาสตร์เป็นวิธีการวิจัยที่สำคัญในการเชื่อมโยงการกลายพันธุ์และโรคทางพันธุกรรม ซึ่งอาจนำไปสู่วิธีการรักษาโรคทางพันธุกรรมนั้นได้ == อ้างอิง == พันธุศาสตร์ อณูพันธุศาสตร์ อณูชีววิทยา
thaiwikipedia
583
ซัปโปโระ
ซัปโปโระ (; サッ・ポロ・ペッ, ซัตโปโรเป็ต) เป็นศูนย์กลางของกิ่งจังหวัดอิชิการิ ในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะ และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองใหม่ที่สุดในญี่ปุ่น มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน แต่เมื่อปี ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) มีประชากรยุคบุกเบิกเพียง 7 คน ในช่วงต้นของยุคเมจิ ขณะนั้นเพิ่งเริ่มก่อตั้งเขตการปกครองฮกไกโด และซัปโปโระถูกเลือกเป็นศูนย์กลางการจัดการและพัฒนาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา ทำให้ซัปโปโระถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานแบบอเมริกาเหนือ จึงมีการสร้างระบบถนนแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซัปโปโระเคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูหนาว 1972 โดยในปัจจุบันมีชื่อเสียงเป็นเมืองท่องเที่ยว ร้านบะหมี่ญี่ปุ่นหรือราเม็ง โรงเบียร์ซัปโปโระ และเทศกาลหิมะซัปโปโระที่จัดขึ้นทุกปีราวเดือนกุมภาพันธ์ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของซัปโปโระ คือภูเขา โมอิวะ เป็นยอดเขาสูง 531 เมตร ที่เป็นจุดชมวิวของเมือง ที่เดินป่า ดูนก และลานสกี (Ski Jo) ในฤดูหนาว == ประวัติศาสตร์ == ก่อนที่จะเป็นเขตการปกครอง พื้นที่บริเวณซัปโปโระในขณะนั้นถูกเรียกว่า ที่ราบอิชิการิ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองในละแวกนั้น ที่เรียกว่า ชาวไอนุ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ในตอนปลายของยุคเอโดะ ก็ได้มีการขุดคลองผ่านพื้นที่นี้ ซึ่งเป็นการเกื้อหนุนให้มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในละแวกนี้มากขึ้น จนกลายเป็น หมู่บ้านซัปโปโระ ซึ่งชื่อซัปโปโระนั้น มาจากภาษาไอนุ ที่ว่า ซัต-โปโร-เป็ต (サッ・ポロ・ペッ, แห้ง-ใหญ่-แม่น้ำ) ซึ่งมีความหมายว่า "แม่น้ำสายใหญ่แห้ง" ค.ศ. 1868 เป็นปีที่ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นปีที่กำเนิดซัปโปโระอย่างแท้จริง รัฐบาลสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ข้อสรุปว่า ศูนย์อำนวยการบริหารที่มีอยู่ของฮกไกโดซึ่งในขณะนั้นคือเมืองท่าฮาโกดาเตะอยู่ในที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันประเทศและการพัฒนาของเกาะ เป็นผลให้ที่ราบอิชิการิถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางของการบริหารเกาะฮกไกโด ระหว่าง ค.ศ. 1870 - 1871 คุโรดะ คิโยตากะ รองประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับการพัฒนาฮกไกโด ได้เข้าหารัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในการขอความช่วยเหลือด้านการพัฒนาดินแดน เป็นผลให้ ฮอเรซ แคปรอน รัฐมนตรีเกษตรกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้ประธานาธิบดียูลิสซิส เอส. แกรนท์ ได้ถูกว่าจ้างโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษคณะกรรมการพัฒนาฯ การก่อสร้างเมืองได้เริ่มขึ้นบริเวณรอบสวนสาธารณะโอโดริซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นพื้นที่สีเขียวที่อยู่ใจกลางเมืองที่เจริญเติบโต โดยผังเมืองนั้นจะเป็นตารางสี่เหลี่ยมตามรูปแบบของอเมริกัน การขยายตัวต่อเนื่องของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาในฮกไกโด ยังคงเป็นผลจากการย้ายถิ่นจากเกาะฮนชูไปทางใต้ บังเกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ฮกไกโดและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนได้ขยายตัวไปยังพื้นที่ที่เดิมคณะกรรมการพัฒนาฯ เห็นว่าเป็นพื้นที่ไม่จำเป็นต่อการพัฒนา ซึ่งถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1882 . ค.ศ. 1880 พื้นที่ทั้งหมดของซัปโปโระได้เปลี่ยนเป็น เขตซัปโปโระ และมีเส้นทางรถไฟไปยังเทมิยะ และ โอตารุ สองปีต่อมา (ค.ศ. 1882) มีการยกเลิกเมืองไคตากุ ฮกไกโดถูกแบ่งออกเป็นสามจังหวัดคือ ฮาโกดาเตะ ซัปโปโระ และเนมูโระ และในขณะที่พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของจังหวัดซัปโปโระถูกยกเป็นอำเภอ แต่ตัวเมืองของซัปโปโระยังคงเป็นเขตซัปโปโระ ค.ศ. 1886 จังหวัดซัปโปโระ ฮาโกดาเตะ และเนมูโระถูกยกเลิก และศาลาว่าการเก่าฮกไกโดซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบอเมริกันนีโอบารอค ได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1888 อำเภอซัปโปโระนั้นได้บริหารงานเขตซัปโปโระ จนกระทั่ง ค.ศ. 1899 เมื่อระบบใหม่มีการประกาศ หลังจากนั้น เขตซัปโปโระก็ได้เป็นอิสระจากการบริหารของอำเภอซัปโปโระ (มีสถานะสูงกว่าเมือง แต่ต่ำกว่านคร) ซึ่งในเกาะฮกไกโดเวลานั้น ฮาโกดาเตะและโอตารุยังคงมีฐานะเป็นเพียงเขต == ภูมิศาสตร์ == === ภูมิอากาศ === === เขตการปกครอง === นครซัปโปโระประกอบด้วย 10 เขต (区 ku) ดังนี้ {| | เขตอัตสึเบ็ตสึ (厚別区) (ม่วง) |- | เขตชูโอ (中央区) (น้ำเงิน) |- | เขตฮิงาชิ (東区) (ฟ้า) |- | เขตคิตะ (北区) (ส้มแดง) |- | เขตคิโยตะ (清田区) (เขียว) |- | เขตมินามิ (南区) (แดง) |- | เขตนิชิ (西区) (ส้ม) |- | เขตชิโรอิชิ (白石区) (น้ำตาล) |- | เขตเทอิเนะ (手稲区) (เขียวขี้ม้า) |- | เขตโทโยฮิระ (豊平区) (ชมพู) |} สีในแผนที่ข้างต้นแสดงที่ตั้งของเขต == วัฒนธรรม == ซัปโปโระจัดว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 14,104,000 คน ซึ่งเป็นปีที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ === อาหาร === ซัปโปโระขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ "มิโซะราเม็ง" และราเม็งหลากหลายชนิดของซัปโปโระก็ยังเป็นที่แพร่หลาย นอกจากนี้ "ซุปแกงกะหรี่" พร้อมผักและเนื้อไก่ยังเป็นหนึ่งในความพิเศษในซัปโปโระ ซึ่งในขณะนี้มีร้านซุปแกงกะหรี่มากมายตั้งอยู่ตามเมืองและตำบลต่าง ๆ ของฮกไกโด ซัปโปโระยังถูกกล่าวขานในเรื่องของอาหารทะเลที่มีความสดและรสชาติเยี่ยม อาทิ แซลมอน เม่นทะเล ปู เป็นต้น และยังมีการปลูกบลูเบอรีและแตงโมหลากหลายสายพันธุ์ === เทศกาล === ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีเทศกาลหิมะซัปโปโระ ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีชื่อเสียงมากของซัปโปโระ ในบริเวณสวนสาธารณะโอโดริ บางส่วนของซูซูกิโนะ (เทศกาลน้ำแข็งซูซูกิโนะ) บางส่วนของมาโกมาไนในในเขตมินามิ ซึ่งรูปปั้นหิมะและรูปแกะสลักน้ำแข็งส่วนใหญ่ในเทศกาลฯ ถูกสรรค์สร้างโดยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน ของทุกปี จะมีเทศกาลโยซาโกอิโซรัง จัดขึ้นภายในใจกลางสวนสาธารณะโอโดริและถนนสู่ซูซูกิโนะ ภายในเทศกาลนี้จะมีทีมนักเต้นรำจำนวนมากที่สวมเครื่องแต่งกายแบบพิเศษเต้นรำไปกับทำนองเพลงแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นคือโซรัมบูชิ ในปี ค.ศ. 2006 เทศกาลนี้มีทีมเข้าร่วมกว่า 350 ทีมด้วยจำนวนนักเต้นรำกว่า 45,000 คน == การคมนาคม == ขนส่งในเมือง 25px รถไฟใต้ดินเทศบาลซัปโปโระ รถรางซัปโปโระ รถไฟ 25px JR ฮกไกโด * สายหลักฮาโกดาเตะ - 15 สถานี * สายชิโตเซะ - 3 สถานี * สายซัชโช - 11 สถานี อากาศ ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ ท่าอากาศยานโอะกะดะมะ == เมืองพี่น้อง == ค.ศ. 1959 พอร์ตแลนด์ สหรัฐ ค.ศ. 1972 มิวนิก เยอรมนี ค.ศ. 1980 เฉิ่นหยาง จีน ค.ศ. 1990 โนโวซีบีสค์ รัสเซีย ค.ศ. 2010 แทจ็อน เกาหลีใต้ == อ้างอิง == == ข้อมูลเพิ่มเติม == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของนครซัปโปโระ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของนครซัปโปโระ ข้อมูลสำหรับผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ /// a live view of Odori Park from Sapporo TV Tower นครในกิ่งจังหวัดอิชิการิ นครที่ตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติรัฐบาล
thaiwikipedia
584
เกล็ยเปดา
เกล็ยเปดา (Klaipėda, ; Klaipieda) เป็นเมืองท่าเพียงแห่งเดียวของประเทศลิทัวเนีย ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำแนมูนัสทางฝั่งทะเลบอลติก เกล็ยเปดามีประชากรราว 162,360 คนเมื่อ ค.ศ. 2011 ซึ่งลดลงจาก 202,929 คนเมื่อ ค.ศ. 1989 ปัจจุบันเกล็ยเปดาเป็นท่าเรือเฟอร์รีสำคัญซึ่งมีเส้นทางโดยสารไปยังสวีเดน เดนมาร์ก และเยอรมนี == อ้างอิง == เมืองในประเทศลิทัวเนีย
thaiwikipedia
585
ราฟาเอล เดล เรียโก
ราฟาเอล เดล เรียโก อี นุญเญซ (Rafael del Riego y Nuñez; 9 เมษายน ค.ศ. 1784 - 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1823) เป็นนายพลและนักการเมืองเสรีนิยมชาวสเปน เรียโกเกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1784 (บางแหล่งระบุว่าเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1785) ที่เมืองซานตามาริอาเดตุญญัสในแคว้นอัสตูเรียส เมื่อเรียโกจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอบิเอโดใน ค.ศ. 1807 แล้ว เขาได้ย้ายไปยังมาดริดเพื่อเข้าเป็นทหารในสังกัดกองทัพบกสเปน ต่อมาใน ค.ศ. 1808 ระหว่างสงครามประกาศเอกราชสเปน เรียโกถูกทางการฝรั่งเศสจับกุมตัว และถูกนำไปขังไว้ที่เอสโกเรียล ซึ่งเขาก็สามารถหลบหนีออกจากที่นั่นได้ในเวลาต่อมา วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1808 เรียโกได้เข้าร่วมรบในยุทธการที่เอสปิโนซาเดโลสมอนเตโรส (Battle of Espinosa de los Monteros) ซึ่งเขาถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง ในอีกสามวันถัดจากนั้น เขาถูกส่งตัวไปยังฝรั่งเศส และได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา จากนั้นเรียโกได้เดินทางท่องเที่ยวไปยังอังกฤษและแคว้นต่าง ๆ ในดินแดนเยอรมนี แล้วจึงกลับมายังสเปนใน ค.ศ. 1814 และเข้าร่วมเป็นทหารในสังกัดกองทัพบกอีกครั้ง โดยเขาได้รับยศเป็นพันโท ในระยะเวลาหกปีของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เรียโกได้เข้าร่วมกับกลุ่มฟรีเมสันและกลุ่มเสรีนิยมเพื่อสมคบกันต่อต้านพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 ในปี ค.ศ. 1819 พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 ทรงแต่งทัพจำนวน 10 กองพันออกไปปราบปรามขบวนการต่อต้านในอเมริกาใต้ ซึ่งเรียโกได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองพันชาวอัสตูเรียส อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เขาไปถึงเมืองท่ากาดิซ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1820 เรียโกพร้อมทั้งนายทหารคนอื่น ๆ ได้กระทำการก่อกบฏขึ้นและเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1812 กลับมาใช้อีกครั้ง ความขัดแย้งครั้งนี้ภายหลังจะเรียกกันว่าสงครามกลางเมืองสเปน ค.ศ. 1820-1823 กองทหารของเรียโกได้เคลื่อนทัพผ่านเมืองต่าง ๆ ในแคว้นอันดาลูซิอา โดยหวังที่จะปลุกเร้าให้เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านกษัตริย์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ อย่างไรก็ตามได้เกิดการลุกฮือขึ้นในแคว้นกาลิเซีย และแผ่ขยายไปทั่วทั้งประเทศสเปน เมื่อถึงวันที่ 7 มีนาคม ปีเดียวกัน กองทหารโดยการนำของนายพลบาเยสเตโรสได้ล้อมพระราชวังในกรุงมาดริดไว้ และในวันที่ 10 มีนาคม พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 จึงทรงยินยอมให้นำรัฐธรรมนูญกลับมาบังคับใช้อีกครั้ง รัฐบาล "หัวก้าวหน้า" ที่ตั้งขึ้นใหม่ได้แต่งตั้งให้เรียโกเป็นจอมพลและเป็นผู้ว่าการแคว้นกาลิเซีย ในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1821 เขาได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการแคว้นอารากอน และย้ายไปพำนักในนครซาราโกซา ในวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน เขาเข้าพิธีสมรสกับมาริอา เตเรซา เดล ริเอโก อี บุสติโยส (Maria Teresa del Riego y Bustillos) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้อง เมื่อถึงวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1821 หลังจากที่ความพยายามในการก่อการปฏิวัติ (โดยบุคคลกลุ่มอื่น) เพื่อล้มล้างระบอบกษัตริย์ เรียโกถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐและถูกนำไปคุมขังไว้ อย่างไรก็ตาม ความนิยมของประชาชนในตัวเรียโกเพิ่มสูงมากขึ้น นำไปสู่การประท้วงในกรุงมาดริดเพื่อให้ปล่อยตัวเขาเป็นอิสระ จนกระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1822 เรียโกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติสเปน (กอร์เตสเฆเนราเลส - Cortes Generales) และได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังในที่สุด ทหารชาวสเปน นักการเมืองสเปน นายพลชาวสเปน
thaiwikipedia
586
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และ ครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่าร้อยละ 90 ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่าง ๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้ == ประวัติวินโดวส์ == ===วินโดวส์ 1.0 – 2.0 === วินโดวส์ 1.0 เป็นสภาวะการทำงานรุ่นแรกของวินโดวส์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต ที่เรียกว่า สภาวะการทำงาน (Operating Environments) เพราะ วินโดวส์ 1.0 ยังไม่มีความสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะแยกต่างหาก (ระบบปฏิบัติการดังกล่าวคือ ดอส) ซึ่งวินโดวส์จะทำหน้าที่เพียงการติดต่อกับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งใดๆ วินโดวส์จะไปเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆ จากดอส เมื่อได้ผลการทำงานออกมา วินโดวส์จะแสดงผลออกมายังผู้ใช้อีกทีหนึ่ง วินโดวส์สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ แต่เป็นตัวแสดงผลส่วนหน้าของดอส ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายกว่าการติดต่อกับดอสโดยตรง และตั้งแต่รุ่นแรก วินโดวส์เป็นคู่แข่งกับ แมคอินทอช ผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกันจากบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ แต่ในช่วงแรก ภาพการแข่งขันยังไม่ชัดเจนนัก วินโดวส์ 1.0 วินโดวส์ 2.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 2.0 ยังต้องอาศัยดอส แต่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 1.0 เช่น สามารถเปิดหลายโปรแกรมซ้อนกันได้ และมีโปรแกรม ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (Word) และ เอกซ์เซล (Excel) และได้มีปุ่ม Minimize, Maximize และปุ่มลัดอื่นๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกวินโดวส์ 2.0 ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็ถือว่ามีกระแสตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้นกว่ารุ่น 1.0 และอยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 === วินโดวส์ 3.0 === วินโดวส์ 3.0 เปิดตัวในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ยังต้องอาศัยดอส และโปรเซสเซอร์ตัวเดียวกับ 2.1 แต่วินโดวส์ 3.0 ได้มีการออกแบบกราฟิกในการใช้งานคอมพิวเตอร์ใหม่, มีระบบการบริหารจัดการหน่วยความจำรอมและแรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อน และเปลี่ยนโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์และโปรแกรมในดอสใหม่ทั้งหมด การเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ที่ติดตั้งมาพร้อมวินโดวส์ คือ โน้ตแพด, เกม Solitaire ฯลฯ ทำให้วินโดวส์ 3.0 ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นคู่แข่งอย่างชัดเจนกับแมคอินทอชจากแอปเปิล วินโดวส์ 3.1 เปิดตัวเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2535 ยังต้องอาศัยดอส ในวินโดวส์รุ่นนี้ได้ออกแบบโดยมีแพลตฟอร์มเพื่อการพิมพ์มากขึ้น โดยได้มีฟอนต์ประเภททรูไทป์ และได้มีการลงเกม ไมน์สวีปเปอร์ มาพร้อมกับวินโดวส์เป็นครั้งแรก และได้มีรุ่นปรับปรุง (อัปเดต) คือรุ่น 3.11 ออกมาในวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งถือได้ว่าวินโดวส์ในช่วงนี้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในรุ่น 3.1 ได้มีการจำหน่าย Windows for Workgroups ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความสามารถสูงกว่าวินโดวส์ 3.1 ทั่วไป เช่น รองรับระบบเน็ตเวิร์ค และโพรโทคอล, เกม Hearts และได้มีการทำวินโดวส์ 3.2 สำหรับวางขายเฉพาะประเทศจีน โดยจะใช้อักษรจีนแสดงตัวย่อ วินโดวส์ 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 === วินโดวส์ 4.0 === วินโดวส์ 95 หรือ วินโดวส์ 4.0 (ไม่เอ็นที) เปิดตัว 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538 เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 3.1 เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป ที่ได้รวมเอาดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ (ยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ แต่ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการแยก) สามารถทำงานได้ทั้งสถานะ 16 และ 32 บิต มีการใช้สตาร์ทเมนู (ปุ่มสตาร์ทที่มุมซ้ายล่าง) และทาสก์บาร์ (แท่งด้านล่างหน้าจอ แสดงโปรแกรมที่ใช้ และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ) เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสอง จนถึงวินโดวส์รุ่นล่าสุด ก็ยังใช้คอนเซปต์เดียวกับวินโดวส์ 95 เพียงแต่ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ด้วยความสามารถต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสำหรับผู้ใช้ทั่วไป วินโดวส์ 95 ประสบความสำเร็จอย่างสูง ยอดการใช้วินโดวส์ 95 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของวินโดวส์ วินโดวส์ 95 ตามมาด้วย วินโดวส์ 98 หรือ วินโดวส์ 4.1 (ไม่เอ็นที) เปิดตัวเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และ วินโดวส์ 98 Second Edition รุ่นปรับปรุง เริ่มจำหน่ายเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542 วินโดวส์ มี (อังกฤษ: Windows Me) หรือวินโดวส์ 4.9 (ไม่เอ็นที) เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที รุ่นสุดท้ายที่ทำงานได้ทั้งระบบ 16 และ 32 บิต (เวลาผ่านไป โปรแกรมรุ่นใหม่ ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เริ่มเปลี่ยนจาก 16 เป็น 32 บิต และโปรแกรมชั้นสูง เริ่มเปลี่ยนจาก 32 เป็น 64 บิต) เปิดตัว 14 กันยายน พ.ศ. 2543 วินโดวส์มี ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที จึงยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ ซึ่งวินโดวส์ 95 และ 98 แม้จะรวมดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ แต่ยังเปิดให้เข้าถึงดอสได้ แต่วินโดวส์ มี ได้ปิดการเข้าถึงดอสในวินโดวส์ เพื่อให้การบูตเครื่องทำได้เร็ว แต่ทำให้โปรแกรมเฉพาะบางโปรแกรมที่ต้องอาศัยการเข้าถึงดอส ไม่สามารถทำงานได้ในวินโดวส์มี โดยเฉพาะโปรแกรมบริหารจัดการดิสก์วินโดวส์ มี ได้รับคำวิจารณ์อย่างมากในเรื่องความไม่เสถียรและปัญหามากมายภายในระบบ นิตยสารพีซีเวิลด์จึงจัดว่า Windows ME เป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการที่แย่ที่สุดที่ Microsoft เคยออกมาและเป็นผลิตภัณฑ์ที่เลวร้ายที่สุดอันดับ 4 ของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี ณ เวลานั้น === วินโดวส์ NT === ==== รุ่นก่อน XP ==== เปิดตัวเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536  เอ็นที ย่อมาจาก (New Technology) มีความสามารถในการรองรับระบบสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ในช่วงนี้ผู้ใช้วินโดวส์เอ็นทีส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ใช้ตามบ้าน แต่มักเป็นลูกค้าที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสูงและกลุ่มนักธุรกิจ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปในช่วงนั้นมักยังใช้ วินโดวส์ 3.1 ธรรมดา ==== วินโดวส์ XP ==== วินโดวส์ เอกซ์พี หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.1 และ เอ็นที 5.2 เปิดตัว 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นวินโดวส์เอ็นทีรุ่นแรก ที่พัฒนาขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป พัฒนาขึ้นจาก วินโดวส์ เนปจูน และ โอดิสซีย์ ถูกยุบรวมกันเป็นวินโดวส์ Whistler ส่วนวินโดวส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้ขั้นสูงและธุรกิจ จะมีแยกต่างหากอีก 2 ตัว ที่ใช้เลข เอ็นที 5.1 และ 5.2 คือ วินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี พีซีส์ และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ตามลำดับ โดยคำว่า เอกซ์พี มาจากคำว่า Experience แปลว่า ประสบการณ์ ซึ่งเป็นวินโดวส์ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง แม้จะเปิดตัวมาแล้วถึง 9 ปี แต่จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2553 พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ยังใช้วินโดวส์เอกซ์พีมากถึงร้อยละ 60 ของผู้ใช้ทั้งหมด ในขณะที่วินโดวส์รุ่นอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน มีส่วนแบ่งร้อยละ 31 และระบบปฏิบัติการอื่นที่ไม่ใช่วินโดวส์ ประมาณร้อยละ 9 วินโดวส์ เอกซ์พี มีการออกรุ่นปรับปรุงตามหลังมาอีกพอสมควร ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบรุ่นของซอฟต์แวร์ได้เอง โดยกด Start แล้วเลือก Run แล้วพิมพ์ sysdm.cpl หรือ winmsd.exe แล้วกด Run จะขึ้นหน้าต่างข้อมูลให้ผู้ใช้รับทราบ รุ่นปรับปรุงที่ออกมา จะปรากฏคำว่า Service Pack วินโดวส์ เอกซ์พี หยุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ====วินโดวส์ Vista ==== วินโดวส์ วิสต้า หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.0 ได้รับลิขสิทธิ์ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 แต่เริ่มขายผู้ใช้จริง 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ในช่วงของวิสตา วินโดวส์ สำหรับผู้ใช้ขั้นสูงและองค์กรธุรกิจ คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008, วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ วิสตามีความสามารถสูงกว่าเอกซ์พีหลายประการ เช่น ในการตัดต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชัน, การแสดงผลกราฟิก ที่สามารถแสดงผลแบบโปร่งแสง สามารถมองฉากหลังของหน้าต่างที่กำลังเปิดอยู่ได้ ในมุมมองแบบโปร่งแสง ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น บาร์ด้านบนสุดของโปรแกรม, ความสามารถในการค้นหา, การพิมพ์ ฯลฯ แต่ทว่า วิสตา ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร สาเหตุหลักๆ ที่เป็นที่วิจารณ์ คือ ความต้องการขึ้นต่ำของระบบ ที่สูงกว่าวินโดวส์เอกซ์พีหลายเท่าตัว ดังตัวอย่างเปรียบเทียบในตาราง คอมพิวเตอร์ทั่วไปในช่วงนั้น มีความสามารถไม่ถึง หรือ ถึง แต่เกินความต้องการมาเพียงเล็กน้อย ทำให้วิสตาเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เครื่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือช้า อีกทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าซอร์ซโค้ดไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ไม่ได้ใช้คุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมาของวิสตา จึงยังคงใช้เอกซ์พี วิสตาจึงไม่ประสบความสำเร็จมากนัก หยุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายน 2560 ==== วินโดวส์ 7 ==== วินโดวส์ 7 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.1 เปิดตัวการขายปลีกเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นวินโดวส์ของไมโครซอฟท์ ส่วน เอ็นที 6.1 อีกรุ่นหนึ่ง ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ระดับสูง คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2 เปิดตัวในวันเดียวกับวินโดวส์ 7 ในวินโดวส์ 7 ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ทำให้วิสตาไม่ประสบความสำเร็จ และมีความต้องการขั้นต่ำไม่ต่างจากวิสตามากนัก นอกจากแรมและการ์ดจอ ที่ต้องการเพิ่ม แต่ที่ผ่านมา จากการเปิดตัววิสตา ได้กรุยทางส่วนหนึ่งไว้ให้ วินโดวส์ 7 เพราะช่องว่างระหว่างการเปิดตัวนั้น ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายได้เพิ่มความสามารถในหลายด้าน คอมพิวเตอร์ในช่วงหลังวิสตา พร้อมจะรองรับวินโดวส์ที่ใหญ่กว่าเอกซ์พีได้ อีกทั้งวินโดวส์ 7 ได้มีการบริหารจัดการดี ทำงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิสตา ต่อมา มีผู้ใช้วินโดวส์ 7 มากกว่าวิสตาเสียอีก วินโดวส์ 7 หยุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 มกราคม 2563 ==== วินโดวส์ 8 และ 8.1 ==== วินโดวส์ 8 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปในตระกูลวินโดวส์ เปิดตัวเมื่อ 22 ตุลาคม 2553 ผ่านทางบล็อกภาษาดัชต์ของไมโครซอฟท์เอง วินโดวส์ 8 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากมายหลายอย่าง เช่น ไลฟ์ ไทลส์ ช่วยให้เข้าข้อมูลพื้นฐานได้ง่ายขึ้น, วินโดวส์ เอกซ์พลอเรอร์ ที่ใช้การจัดข้อมูลแบบริบบอนแทนแบบเดิม เป็นต้น ปัจจุบันวินโดวส์ 8 ได้เปิดวางขายเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555 Windows 8 ได้สิ้นสุดการสนับสนุนจาก Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ในวันที่ 18 ตุลาคม 2013 ทาง Microsoft ออกชุดอัปเดตระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่ชื่อ Windows 8.1 สนับสนุนการใช้ Skype แอพ Mail XBox Video Office Bing Food and Drink  Xbox Music  Internet Explorer 11 (IE11) และมีการนำปุ่ม Start กลับมาอีกครั้งหลังตัดไปในวินโดวส์ 8 โดยวินโดวส์ 8 หยุดสนับสนุนอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มกราคม 2559 และ วินโดวส์ 8.1 จะยุติการสนับสนุนวันที่ 10 มกราคม 2566 ==== วินโดวส์ 10 ==== ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 วินโดวส์ 10 มีแนวทางการออกแบบที่สืบทอดจาก วินโดวส์ 8 โดยมีหน้าต่างแบบจอสัมผัส และแบบดั้งเดิมที่ใช้เมาส์และคีย์บอร์ด สถาปัตยกรรมของระบบเอื้อให้สามารถใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือ โดยเพิ่มแอปจากร้านค้าวินโดวส์ เพื่อการรองรับโปรแกรมเพิ่มเติม อัปเดตระบบให้ผู้ใช้ วินโดวส์ 8.1 และวินโดวส์ 7 โดยไม่คิดมูลค่า และได้หยุดการอัปเดตวินโดวส์ 10 โดยไม่คิดมูลค่าไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 และ จะยุติการสนับสนุนวันที่ 14 ตุลาคม 2568 ==== วินโดวส์ 11 ==== วินโดวส์ 11 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นสืบทอดจาก วินโดวส์ 10 เปิดตัวเมื่อ 24 มิถุนายน 2564 มีกำหนดอัปเดตระบบให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์วินโดวส์ 10 ที่รองรับการใช้งานโดยไม่คิดมูลค่าอย่างเป็นทางการในปลายปี พ.ศ. 2564 ผ่านวินโดวส์อัปเดต โดยวินโดวส์ 11 ชูจุดขายหลักว่าเป็น "วินโดวส์ที่ถูกคิดใหม่ทำใหม่ทั้งหมด" พร้อมกับการเปิดเผยรายละเอียดฟังก์ชันใหม่ในส่วนของนักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ เช่น ไมโครซอฟท์ สโตร์, ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ วินโดวส์ เอสดีเค "โปรเจกต์ รียูเนียน", แนวทางการออกแบบส่วนต่อประสาน ฟลูเอนท์ ดีไซน์ ซิสเท็ม, และหัวข้ออื่น ๆ อีกมากมาย == ส่วนแบ่งทางการตลาด == อ้างอิงจากข้อมูลของ NETMARKETSHARE เมื่อเดือนมกราคม 2563 | | style="width:48%;" | {| cellpadding="2" ! Mobile OS ! ส่วนแบ่งการตลาด |- ! !0.00% |- ! !0.01% |- ! !0.04% |- class="sortbottom" ! scope="row" | รวมทั้งหมด |0.05% |} |} == ตารางในแต่ละรุ่น == สีแดง คือ ล้าสมัย , สีเหลือง คือ ล้าสมัยแต่ยังคงสนับสนุนอยู่ , สีเขียว คือ เวอร์ชันปัจจุบัน === เส้นทางสายวินโดวส์ === 1000x1000px === ระยะเวลาวินโดวส์ === == วินโดวส์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน == วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2012 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ * Windows Server 2012 Foundation (รุ่นพื้นฐาน มีเฉพาะแบบ OEMs เท่านั้น เหมาะสำหรับใช้งานในบ้านและองค์กรขนาดเล็ก) * Windows Server 2012 Essentials (พัฒนาต่อยอดจาก Windows Home Server มีทุกอย่างใน Foundation เพิ่มฟีเจอร์ Hyper-V,ตัวประมวลผลสูงสุด 2 ตัว, รองรับผู้ใช้งานได้ 25 Users เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก) * Windows Server 2012 Standard (มีทุกอย่างใน Essentials เพิ่ม Active Directory Domain Server, ตัวประมวลผลสูงสุด 64 ตัว, หน่วยความจำสูงสุด 4 TB, จำนวนผู้ใช้งานไม่จำกัด เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง) * Windows Server 2012 Datacenter (มีทุกอย่างใน Standard ไม่จำกัด Visualization Rights เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่) วินโดวส์ 8.1 (Codename Blue) เป็นรุ่นปรับปรุงต่อจาก Windows 8 ไม่นับว่าเป็น ServicePack ของ Windows 8 วินโดวส์ 10 (Windows 10) หรือ วินโดวส์ เท็น (Windows Ten) (เลขรุ่น: NT 10.0.10240, NT 10.0.10586, (Insider Preview) NT 10.0.14279) และ วินโดวส์ 11 (Windows 11) หรือ วินโดวส์ อีเลฟเว่น (Windows Eleven) (เลขรุ่น: NT 10.0.22000, (Insider Preview) NT 10.0.22454) * Windows 10/11 Home เป็นรุ่นมาตรฐาน สำหรับการใช้ภายในบ้าน * Windows 10/11 Pro เทียบได้กับรุ่น Pro ของ Windows 8 คือเพิ่มฟีเจอร์มาจากรุ่นมาตรฐานอีกบางส่วน อาทิ BitLocker , Hyper-V , Remote Desktop ที่สามารถทำได้ทั้ง Client และ host * Windows 10/11 Enterprise เทียบได้กับรุ่น Pro ของ Windows 10 แต่เพิ่มฟิวเจอร์มาอีก เช่น AppLocker และ Windows ToGo * Windows 10 Enterprise LTSB (Long Term Servicing Branch) เหมือนกับ Windows 10 Enterprise ทุกประการ แต่จะต่างที่จะไม่มีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ผ่าน Windows Update * Windows 10/11 Education เหมือนกับ Windows 10/11 Enterprise ทุกประการ แต่จะให้ใช้กับนักศึกษาและสถานศึกษา * Windows 11 Insider Preview เป็นรุ่นที่ปล่อยให้กลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ Windows Insider Program ร่วมกันทดสอบฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงแก้ไขปัญหาใน Windows 11 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา Windows 11 รุ่นการพัฒนาต่อไป * Windows 10 IoT Core/11 IoT Enterprise เป็น Windows สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Embedded System ต่อยอดจาก Windows Embedded มีจำหน่ายเฉพาะอุปกรณ์ (OEMs) * Windows 10 S/11 Home S เป็น Windows สำหรับนักเรียนและนักศึกษา โดยที่ไม่สามารถรันไฟล์ .exe ได้ แต่จะให้ติดตั้งและใช้แอพที่รันบน Windows Store เท่านั้น โดยมีค่าไลเซนส์น้อยมาก โดยมีราคาเริ่มต้นพร้อมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ 189 ดอลลาร์สหรัฐ และฟรี Minecraft: Education Edition. ในระยะเวลา 1 ปี == == ใช้ฐานจากดอส * พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - 20 พฤศจิกายน - วินโดวส์ 1.0 * พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - 9 ธันวาคม - วินโดวส์ 2.0 * พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - 22 พฤษภาคม - วินโดวส์ 3.0 * พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - สิงหาคม - วินโดวส์ 3.1 (เลขรุ่น: 3.1.103) * พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ตุลาคม - วินโดวส์ for Workgroups (เลขรุ่น: 3.1 3.1.102) * พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - พฤศจิกายน - วินโดวส์ for Workgroups 3.11 (เลขรุ่น: 3.1 3.11.412) วินโดวส์ 9x * พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - 24 สิงหาคม - วินโดวส์ 95 (เลขรุ่น: 4.00.950) * พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - 25 มิถุนายน - วินโดวส์ 98 (เลขรุ่น: 4.1.1998) * พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - 5 พฤษภาคม - วินโดวส์ 98 Second Edition (เลขรุ่น: 4.1.2222) * พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - 14 กันยายน - วินโดวส์ Me (เลขรุ่น; 4.9.3000) ใช้เคอร์เนลเอ็นที * พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - 27 กรกฎาคม - วินโดวส์เอ็นที 3.1 (เลขรุ่น: NT 3.10.528) * พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - 21 กันยายน - วินโดวส์เอ็นที 3.5 (เลขรุ่น: NT 3.50.807) * พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - 30 พฤษภาคม - วินโดวส์เอ็นที 3.51 (เลขรุ่น: NT 3.51.1057) * พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - 29 กรกฎาคม - วินโดวส์เอ็นที 4.0 (เลขรุ่น: NT 4.0.1381) - รุ่นสุดท้ายที่ทำงานบนสถาปัตยกรรม RISC เช่น DEC Alpha, MIPS และ PowerPC รุ่นหลังจากนี้จะเน้นสถาปัตยกรรม x86 เพียงอย่างเดียว * พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - 17 กุมภาพันธ์ - วินโดวส์ 2000 (เลขรุ่น: NT 5.0.2195) == วินโดวส์ที่ถูกยกเลิก == พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - วินโดวส์แนชวิลล์ (เลขรุ่น: 4.10.999) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 95 พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - วินโดวส์เนปจูน (เลขรุ่น: NT 5.5.5111) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ xp == อ้างอิง == ระบบปฏิบัติการ วินโดวส์
thaiwikipedia
587
5 ธันวาคม
วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันที่ 339 ของปี (วันที่ 340 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 26 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1903 (ค.ศ. 1360) - ริเริ่มหน่วยเงินตราฟรังก์ฝรั่งเศส พ.ศ. 2035 (ค.ศ. 1492) - คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางถึงเกาะฮิสปันโยลา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเฮติและสาธารณรัฐโดมินิกัน) พ.ศ. 2039 (ค.ศ. 1496) - พระเจ้ามานูแวลที่ 1 แห่งโปรตุเกสออกพระราชกฤษฎีกาขับไล่ชาวยิวออกจากประเทศ พ.ศ. 2103 (ค.ศ. 1560) - พระเจ้าชาลส์ที่ 9 มีพระชนมายุ 13 พรรษาเมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส โดยมีแคทเธอรีน เดอ เมดีชีพระราชมารดาของพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) - ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท ถึงแก่กรรมขณะประพันธ์เพลง Requiem Mass in D minor อันเป็นผลงานสุดท้ายของเขา พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - รัฐธรรมนูญโซเวียต ค.ศ. 1936 หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "รัฐธรรมนูญสตาลิน" มีผลใช้บังคับ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - เครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดในเที่ยวบินที่ 19 ของกองทัพเรือสหรัฐ สูญหายไปในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ขณะฝึกบินนอกชายฝั่งฟลอริดา พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ตอลิบานประกาศเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นขบวนการทางการเมือง ประกาศรับสมาชิกที่ต่อต้านพันธมิตรฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เกิดแผ่นดินไหวทะเลสาบแทนกันยีกา ทำให้เกิดความเสียหายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) == วันเกิด == พ.ศ. 1986 (ค.ศ. 1443) - สมเด็จพระสันตะปาปายูลิอุสที่ 2 (สิ้นพระชนม์ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2056) พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) - มาร์ติน แวน บิวเรน ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 8 (ถึงแก่กรรม 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2405) พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) - จอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ นายพลชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 25 มิถุนายน พ.ศ. 2419) พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) - อลิซ บราวน์ นักเขียนชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 21 มิถุนายน พ.ศ. 2491) พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) * เกรซ มัวร์ นักร้องโซปราโน และนักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 26 มกราคม พ.ศ. 2490) พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) * เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519) * วอลต์ ดิสนีย์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 15 ธันวาคม พ.ศ. 2509) พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (สวรรคต 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - ลิตเทิล ริชาร์ด นักร้องชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - ริการ์ดู บูฟิลย์ สถาปนิกชาวสเปน (เสียชีวิต 14 มกราคม พ.ศ. 2565) พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - มิเชล เฟเดอร์เรอร์ นักแสดงภาพยนตร์และละครชาวอเมริกัน พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - เอลบรัส เทเดเยฟ นักมวยปล้ำชาวยูเครน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - รอนนี่ โอซุลลิแวน นักสนุกเกอร์อาชีพ พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - พัชราภา ไชยเชื้อ นักแสดงและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) * แกเรท มักออลีย์ อดีตนักฟุตบอลชาวไอร์แลนด์เหนือ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) * เคอรี ฮิลสัน นักร้องชาวอเมริกัน * ยาน มูคา นักฟุตบอลชาวสโลวาเกีย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) * สึกาซะ ชิโอตานิ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ควอน ยูริ นักร้องชาวเกาหลี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) * รอสส์ บาร์กลีย์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * ลูเซียโน บิเอตโต นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) * อ็อนเดรย์ ดูดา นักฟุตบอลกองกลางชาวสโลวาเกีย พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) * ตีมอตี กัสตาญ นักฟุตบอลชาวเบลเยียม * อ็องตอนี มาร์ซียาล นักฟุตบอลอาชีพชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ดีแลน เดอ บรุคเกอร์ นักฟุตบอลลูกครึ่งฟิลิปปินส์-เบลเยี่ยม พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - โคนัน เกรย์ นักร้อง นักแต่งเพลง และยูทูบเบอร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - อาเลสซันโดร มีคีเยเลตโต นักวอลเลย์บอลชายชาวอิตาลี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - แอนนี่ เลอบลัง ยูทูปเบอร์ นักแสดง นักร้อง และอดีตนักกายกรรม == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2103 (ค.ศ. 1560) - พระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (พระราชสมภพ 19 มกราคม พ.ศ. 2087) พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) - ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิก (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2299) พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) - อาแล็กซ็องดร์ ดูว์มา นักเขียนฝรั่งเศส (เกิด 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1802) พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) - จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล (พระราชสมภพ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2368) พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - โกลด มอแน จิตรกรชาวฝรั่งเศส (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383) พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - หวังเหว่ย นักแสดงชาวฮ่องกง (เกิด พ.ศ. 2484) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - เนลสัน แมนเดลา (เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461) พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - สมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม (พระราชสมภพ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2471) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) *สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย (พระราชสมภพ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2464) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ประเทศไทย - วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ วันดินโลก (World Soil Day) วันอาสาสมัครสากล (International Volunteer Day) == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: December 5 ธันวาคม 05 ธันวาคม
thaiwikipedia
588
โพรโทคอล
โพรโทคอล (protocol) หรือศัพท์บัญญัติว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อจะให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้ == ชุดของโพรโทคอล == ชุดโพรโทคอลต่อไปนี้ คือชุดโพรโทคอลสำคัญ ซึ่งเป็นใช้เป็นต้นแบบ ในการใช้งานต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 มาตรฐานดังนี้ คือ: มาตรฐานเปิด * Internet protocol suite * Open Systems Interconnection (OSI) มาตรฐานปิด * AppleTalk * DECnet * IPX/SPX * SMB * Systems Network Architecture (SNA) * Distributed Systems Architecture (DSA) == โพรโทคอลที่สำคัญ == HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) POP3 (Post Office Protocol 3). SMTP (Simple Mail Transfer Protocol). FTP (File Transfer Protocol). IP (Internet Protocol). DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol). IMAP (Internet Message Access Protocol). == อ้างอิง == การส่งผ่านข้อมูล โพรโทคอล
thaiwikipedia
589
บัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย (Postgraduate School, Graduate School) หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่มีระดับการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทหรือปริญญาเอก) ในระบบการศึกษาแบบสหราชอาณาจักรและประเทศในเครือจักรภพ (หรือรวมถึงประเทศที่นำระบบการศึกษาแบบสหราชอาณาจักรไปใช้เช่น ประเทศญี่ปุ่น, เกาหลี รวมถึงประเทศไทย) โดยทั่วไปบัณฑิตวิทยาลัยจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย มีสถานะเท่ากับคณะหนึ่ง โดยคณะหรือวิทยาลัยอื่นๆในมหาวิทยาลัยจะเป็นตัวแทนในการดำเนินการเรียนการสอนให้ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่มี หรือไม่มีระดับปริญญาตรี จะเรียกสถาบันนั้นว่า "บัณฑิตวิทยาลัย" แทน ส่วนระบบการศึกษาในสหรัฐ (หรือรวมถึงประเทศที่นำระบบการศึกษาแบบสหรัฐไปใช้เช่น ประเทศจีน, ประเทศไต้หวัน เป็นต้น) จะไม่มีบัณฑิตวิทยาลัย หลักสูตรในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจะขึ้นตรงกับวิทยาลัยย่อยนั้นๆของมหาวิทยาลัยโดยตรง โดยชื่อหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกของวิทยาลัยนั้นๆมักเรียกว่า "บัณฑิตวิทยาลัย" การเรียนในระดับบัณฑิตวิทยาลัย จะมีลักษณะที่แตกต่างจากระดับในมหาวิทยาลัยทั่วไป เพราะว่ารับผู้สำเร็จการศึกษามาแล้ว ในกรณีที่เน้นการวิจัย ก่อนการสำเร็จการศึกษาต้องเขียน "วิทยานิพนธ์" (thesis) ในกรณีของปริญญาโท ส่วนในระดับปริญญาเอก จะเรียกว่า "ดุษฎีนิพนธ์" (dissertation) สำหรับกรณีที่เป็นวุฒิทางวิชาชีพ ก็จะเน้นให้ทำปัญหาพิเศษในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ คำว่า "บัณฑิตวิทยาลัย" ไม่นิยมใช้เรียกสถาบันอุดมศึกษาด้านแพทยศาสตร์ == ดูเพิ่ม == อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรัฐ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มหาวิทยาลัย วิทยาลัย คณะวิชา รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รายชื่อมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยเรียงตามการสถาปนา รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน อันดับมหาวิทยาลัยไทย ประเภทของโรงเรียน
thaiwikipedia
590
ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ครอบคลุมสองทฤษฎีของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป มโนทัศน์ที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพริเริ่มมีปริภูมิ-เวลาซึ่งเป็นเอนทิตีรวม (unified entity) ของปริภูมิและเวลา สัมพัทธภาพของความเป็นเวลาเดียวกัน (relativity of simultaneity) การเปลี่ยนขนาดของเวลาทางจลนศาสตร์และความโน้มถ่วง (kinematic and gravitational time dilation) และการหดตัวของความยาว (length contraction) ทฤษฎีสัมพัทธภาพเปลี่ยนแปลงฟิสิกส์ทฤษฎีและดาราศาสตร์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อพิมพ์ครั้งแรก สัมพัทธภาพเข้าแทนที่ทฤษฎีกลศาสตร์อายุ 200 ปีที่ไอแซก นิวตันเป็นผู้ประดิษฐ์หลัก ในสาขาฟิสิกส์ สัมพัทธภาพพัฒนาวิทยาศาสตร์ของอนุภาคมูลฐานและอันตรกิริยามูลฐานของพวกมัน ร่วมกับการก้าวสู่ยุคนิวเคลียร์ ด้วยสัมพัทธภาพ จักรวาลวิทยาและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทำนายปรากฏการณ์ดาราศาสตร์พิเศษอย่างดาวนิวตรอน หลุมดำและคลื่นความโน้มถ่วง ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเชื่อมโยงกัน ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษใช้กับปรากฏการณ์กายภาพทั้งหมดยกเว้นความโน้มถ่วง ทฤษฎีทั่วไปให้กฎความโน้มถ่วง และความสัมพันธ์กับแรงอื่นของธรรมชาติ == สัมพัทธภาพพิเศษ == ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ได้รับการแนะนำเป็นครั้งแรก ในผลงานวิจัยของไอน์สไตน์เมื่อปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) เรื่อง "พลศาสตร์ทางไฟฟ้าของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่" (On the Electrodynamics of Moving Bodies) ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ แสดงให้เห็นว่าผู้สังเกตที่อยู่ในกรอบอ้างอิงเฉื่อยที่กำลังเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันด้วยอัตราเร็วคงที่นั้น จะไม่สามารถทำการทดลองใดๆ เพื่อหาว่าผู้สังเกตคนใดมี "การเคลื่อนที่สัมบูรณ์" ทฤษฎีนี้มีสมมุติฐานดังนี้ อัตราเร็วแสงในสุญญากาศนั้นจะมีค่าเท่ากันสำหรับผู้สังเกตทุกคน กฎทางฟิสิกส์ไม่แปรเปลี่ยนภายใต้การแปลงกรอบอ้างอิงเฉื่อย จากทฤษฎีนี้ ไอน์สไตน์ค้นพบผลลัพธ์ที่น่าสนใจหลายอย่างในกรณีการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วใกล้อัตราเร็วแสง ซึ่งขัดกับสามัญสำนึกของมนุษย์ทั่วไป == สัมพัทธภาพทั่วไป == ไอน์สไตน์ตีพิมพ์ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) (นำเสนอเป็นปาฐกถาในสถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458) อย่างไรก็ตาม ดาวิท ฮิลเบิร์ท นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เคยเขียนและนำเสนอสมการคล้ายคลึงกันก่อนหน้าไอน์สไตน์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการคัดลอกกันแต่อย่างใด กล่าวได้ว่าทั้งสองต่างเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปร่วมกัน ทฤษฎีนี้กล่าวถึงสมการหนึ่งที่มาแทนที่กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน ใช้เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์และเทนเซอร์ในการอธิบายความโน้มถ่วง แสดงให้เห็นว่าผู้สังเกตทุกคนเหมือนกันไม่ว่าจะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่หรือไม่ กฎของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเหมือนกันสำหรับผู้สังเกตทุกคน แม้ว่าผู้สังเกตแต่ละคนเคลื่อนที่ด้วยความเร่งเมื่อเทียบกับผู้สังเกตคนอื่น ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ความโน้มถ่วงไม่ได้เป็นแรง (อย่างในกฎความโน้มถ่วงของนิวตัน) อีกต่อไป แต่เป็นผลจากการโค้งของปริภูมิ-เวลา (spacetime หรืออาจแปลว่าปริภูมิก็ได้) ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีเชิงเรขาคณิตที่ถือหลักว่ามวลและพลังงานทำให้เกิดการโค้งงอของปริภูมิ-เวลา และการโค้งนี้ส่งผลต่อเส้นทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคอิสระรวมทั้งแสง == อ้างอิง == == หนังสืออ่านเพิ่ม == == แหล่งข้อมูลอื่น == Living Reviews in Relativity — An open access, peer-referred, solely online physics journal publishing invited reviews covering all areas of relativity research. Reflections on Relativity — A complete online course on Relativity. Relativity explained in words of four letters or less Briefing on Einstein's Theory of Relativity — A terse dose of insight on the subject. On the Electrodynamics of Moving Bodies Special Relativity Simulator A Relativity Tutorial at Caltech — A basic introduction to concepts of Special and General Relativity, as well as astrophysics. Relativity Gravity and Cosmology — A short course offered at MIT. Relativity in film clips and animations from the University of New South Wales. Relativity ฟิสิกส์ทฤษฎี
thaiwikipedia
591
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น (คันจิ: 日本語 ฮิรางานะ: にほんご/にっぽんご โรมาจิ: Nihongo, Nippongo ทับศัพท์: นิฮงโงะ, นิปปงโงะ, ) เป็นภาษาราชการของประเทศญี่ปุ่นโดยพฤตินัย นอกจากนี้ รัฐอาเงาร์ สาธารณรัฐปาเลา ยังได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาราชการร่วมกับภาษาปาเลาและภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษารูปคำติดต่อที่มีลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (subject-object-verb: SOV) แม้ว่าที่จริงแล้วลำดับคำจะมีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่งก็ตาม มีโครงสร้างพยางค์ที่ไม่ซับซ้อนและส่วนใหญ่เป็นพยางค์เปิด (open syllable) คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นมีทั้งคำญี่ปุ่นดั้งเดิม เรียกว่า "วาโงะ" (ญี่ปุ่น: 和語 โรมาจิ: Wago) คำที่มาจากภาษาจีน เรียกว่า "คังโงะ" (ญี่ปุ่น: 漢語 โรมาจิ: Kango) คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เรียกว่า "ไกไรโงะ" (ญี่ปุ่น: 外来語 โรมาจิ: Gairaigo) และคำที่ประกอบด้วยคำจากสองประเภทขึ้นไป เรียกว่า "คนชูโงะ" (ญี่ปุ่น: 混種語 โรมาจิ: Konshugo) ภาษาญี่ปุ่นมีระบบการเขียนที่ใช้อักษรหลายประเภทร่วมกัน ได้แก่ อักษรฮิรางานะและอักษรคาตากานะ (พัฒนามาจากอักษรมันโยงานะ) เป็นตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง (phonograph) ระดับพยางค์ และอักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยคำ (logograph) ส่วนอักษรโรมันหรือโรมาจินั้นปัจจุบันมีการใช้ที่จำกัด เช่น ข้อความบนป้ายสาธารณะตามท้องถนน ชื่อและนามสกุลบนหนังสือเดินทาง และการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ == ระบบเสียง == === เสียงสระ === หน่วยเสียง /i/ ในการออกเสียงจริงระดับลิ้นจะลดต่ำลงมาเล็กน้อย อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [i̞] หน่วยเสียง /e/ ในการออกเสียงจริงระดับลิ้นจะลดต่ำลงมาอยู่ระหว่างเสียง [e] กับ [ɛ] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [e̞] หน่วยเสียง /a/ ในการออกเสียงจริงตำแหน่งลิ้นจะอยู่ระหว่างเสียง [a] กับ [ɑ] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [a̠] หน่วยเสียง /o/ ในการออกเสียงจริงตำแหน่งลิ้นจะลดต่ำลงมาอยู่ระหว่างเสียง [o] กับ [ɔ] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดได้ขึ้นว่า [o̞] หน่วยเสียง /u/ ในสำเนียงโตเกียวมีความแตกต่างจากเสียง [u] คือ ริมฝีปากไม่ห่อกลม กล่าวคือ ริมฝีปากจะผ่อนคลายแต่ไม่ถึงขั้นเหยียดริมฝีปากแบบ /i/ แม้ว่าอาจจะมีการหดริมฝีปาก (lip compression) กรณีที่ออกเสียงช้า ๆ อย่างระมัดระวังบ้างก็ตาม อีกทั้งตำแหน่งลิ้นเยื้องมาข้างหน้าค่อนข้างมาก (โดยเฉพาะเมื่อตามหลังเสียงพยัญชนะ [s] [t͡s] [d͡z] [z] ตำแหน่งลิ้นจะเยื้องไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น) ดังนั้นจึงอาจเขียนสัทอักษรโดยละเอียดได้ว่า [ɯ̈] อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงเรื่องความแปลกเด่น (markedness) ที่ไม่สอดคล้องกันแล้ว กล่าวคือ โดยทั่วไปภาษาใดที่มีหน่วยเสียง /ɯ/ ซึ่งเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดรอง ภาษานั้นก็ควรมีหน่วยเสียง /u/ ซึ่งเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดหลักด้วย ไม่ควรจะมีเพียงแค่หน่วยเสียง /ɯ/ โดยไม่มีหน่วยเสียง /u/ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความประสานทางรูปแบบของการแจกแจง (หน่วยเสียงสระทั้ง 5 เสียงเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดหลักเหมือนกันทั้งหมด) เราจึงควรเลือกเสียง [u] ขึ้นมาเป็นตัวแทนของหน่วยเสียงมากกว่าเสียง [ɯ] ดังที่แสดงในตารางข้างต้น ความยาวของเสียงสระมีหน้าที่ในการแยกความหมาย เช่น เสียงสระ /i/ สั้น-ยาวในคำว่า ojiisan /ozisaN/ "ลุง, น้าหรืออาเพศชาย" เทียบกับ ojiisan /oziːsaN/ "ตา, ปู่, ชายสูงอายุ" หรือเสียงสระ /u/ สั้น-ยาวในคำว่า tsuki /tuki/ "พระจันทร์" เทียบกับ tsūki /tuːki/ "กระแสลม" อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์ยังคงเห็นไม่ตรงกันว่าระบบเสียงภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงสระยาว /aː/ /iː/ /uː/ /eː/ /oː/ หรือไม่ ทั้งนี้ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมักกำหนดให้มีหน่วยเสียงพิเศษ เช่น /R/ หรือ /H/ ตามหลังเสียงสระสั้น เช่น ojiisan → /oziRsaN/ หรือ /oziHsaN/, tsūki → /tuRki/ หรือ /tuHki/ === เสียงพยัญชนะ === สัทอักษรที่อยู่ในวงเล็บเป็นหน่วยเสียงย่อย (เสียงแปร) ของหน่วยเสียงใดหน่วยเสียงหนึ่ง เสียงกัก ไม่ก้อง /p, t, k/ เมื่อปรากฏในตำแหน่งต้นคำอาจมีการพ่นลม (aspiration) ตามมาหลังจากปลดปล่อยการกัก เป็นเสียงแปรอิสระ (ไม่มีหน้าที่ในการแยกความหมาย) เขียนเป็นสัทอักษรโดยละเอียดได้ว่า [pʰ, tʰ, kʰ] หน่วยเสียง /t/ (เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง) จะออกเสียงเป็น [t͡ɕ] (เสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ไม่ก้อง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /i/ และจะออกเสียงเป็น [t͡s] (เสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /u/ เสียง [ʔ] (เสียงกัก เส้นเสียง) พบได้ในตำแหน่งท้ายคำ เช่น 「あっ」「あれっ」 หน่วยเสียง /b/ (เสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง) อาจออกเสียงเป็น [β] (เสียงเสียดแทรก ริมฝีปาก ก้อง) เมื่ออยู่ระหว่างเสียงสระ หน่วยเสียง /n/ (เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก) จะออกเสียงเป็น [ɲ] (เสียงนาสิก เพดานแข็ง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /i/ หรือเสียงพยัญชนะ /j/ หน่วยเสียง /g/ (เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง) เมื่ออยู่ตำแหน่งที่ไม่ใช่ต้นคำอาจจะออกเสียงเป็น [ŋ] (เสียงนาสิก เพดานอ่อน) หรือ [ɣ] (เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง) หน่วยเสียง /ɾ/ (เสียงลิ้นกระทบ ปุ่มเหงือก) เมื่ออยู่ต้นคำอาจจะออกเสียงเป็น /l/ (เสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก) และอาจพบการออกเสียงเป็น [r] (เสียงรัว ปุ่มเหงือก) ในคนบางกลุ่ม เช่น ชาวเอโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸っ子 โรมาจิ: Edokko ทับศัพท์: เอดกโกะ) ทั้งนี้ ตำราบางเล่มใช้ตัวอักษร /r/ แทน /ɾ/ เพื่อความสะดวก หน่วยเสียง /h/ (เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง) จะออกเสียงเป็น [ç] (เสียงเสียดแทรก เพดานแข็ง ไม่ก้อง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /i/ และจะออกเสียงเป็น [ɸ] (เสียงเสียดแทรก ริมฝีปาก ไม่ก้อง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /u/ และอาจจะออกเสียงเป็น [ɦ] (เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ก้อง) หรือ [x] (เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง) ได้ในบางสภาพแวดล้อม หน่วยเสียง /s/ (เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง) จะออกเสียงเป็น [ɕ] (เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ไม่ก้อง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /i/ หรือเสียงพยัญชนะ /j/ หน่วยเสียง /z/ (เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง) กรณีที่ตามด้วยเสียงสระ /i/ หรือเสียงพยัญชนะ /j/ จะออกเสียงเป็น [d͡ʑ] (เสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ก้อง) หรือ [ʑ] (เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ก้อง) ส่วนกรณีที่ตามด้วยเสียงสระอื่น ๆ จะออกเสียงเป็น [d͡z] (เสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง) หรือ [z] (เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง) หน่วยเสียง /j/ (เสียงเปิด เพดานแข็ง) จะปรากฏหน้าเสียงสระ /u /o/ /a/ และไม่ปรากฏหน้าเสียงสระ /i/ /e/ ทั้งนี้ ตำราบางเล่มใช้ตัวอักษร /y/ แทน /j/ เพื่อความสะดวก หน่วยเสียง /ɰ/ (เสียงเปิด เพดานอ่อน) จะปรากฏหน้าเสียงสระ /a/ เท่านั้น และมีเสียง [w] (เสียงเปิด ริมฝีปาก-เพดานอ่อน ก้อง) เป็นเสียงแปรอิสระ ทั้งนี้ ตำราบางเล่มใช้ตัวอักษร /w/ แทน /ɰ/ เพื่อความสะดวก ส่วนอื่น ๆ ของบทความนี้จะใช้ /r/ แทน /ɾ/, ใช้ /y/ แทน /j/ และใช้ /w/ แทน /ɰ/ เมื่อกล่าวถึงหน่วยเสียงด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวกเช่นกัน === เสียงพยัญชนะควบกล้ำ === เสียงพยัญชนะควบกล้ำ (consonant cluster) ในภาษาญี่ปุ่นปรากฏเฉพาะตำแหน่งต้นพยางค์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ /Cy/ กับ /Cw/ /Cy/ คือ เสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ตำแหน่งที่สองเป็นเสียงเลื่อน /y/ ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「や・ゆ・よ」/「ヤ・ユ・ヨ」 ขนาดเล็ก: 「ゃ・ゅ・ょ」/「ャ・ュ・ョ」เช่น 「きゃ」(/kya/),「にゅ」(/nyu/),「ひょ」(hyo) เสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ไคโยอง" (ญี่ปุ่น: 開拗音 โรมาจิ: Kaiyōon) /Cw/ คือ เสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ตำแหน่งที่สองเป็นเสียงเลื่อน /w/ ปัจจุบันเสียงนี้ได้สูญไปจากระบบเสียงภาษาญี่ปุ่น (ภาษากลาง) แล้ว แม้จะยังคงมีเหลือให้เห็นในการสะกดคำวิสามานยนามบางคำก็ตาม เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย "Kwansei Gakuin University" อย่างไรก็ตาม ภาษาถิ่นบางถิ่นยังคงมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้อยู่ เสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "โกโยอง" (ญี่ปุ่น: 合拗音 โรมาจิ: Gōyōon) === เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก === เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร N ใหญ่ (/N/) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์และมีการกลมกลืนเสียง (assimilation) กับเสียงที่อยู่รอบข้าง ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「ん」/「ン」 เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกแบ่งเป็นหน่วยเสียงย่อยได้ดังนี้ จะออกเสียงเป็น [m] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะริมฝีปากที่มีการปิดฐานกรณ์: [p, b, m] จะออกเสียงเป็น [n] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนปุ่มเหงือกที่มีการปิดฐานกรณ์: [t, d, n, t͡s, d͡z, ɾ] จะออกเสียงเป็น [ɲ] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะ (หน้า) เพดานแข็งที่มีการปิดฐานกรณ์: [t͡ɕ, d͡z, ɲ] จะออกเสียงเป็น [ŋ] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะเพดานอ่อนที่มีการปิดฐานกรณ์: [k, g, ŋ] จะออกเสียงเป็น [ŋ] หรือ [ɴ] เมื่อไม่มีเสียงอะไรตามมา (เช่น เมื่อพูดจบหรือเว้นช่วงระหว่างพูด) จะออกเสียงเป็นเสียงสระนาสิก (nasal vowel) เมื่อตามด้วยเสียงที่ไม่มีการปิดฐานกรณ์ โดยอาจจะออกเป็นเสียง [ã, ĩ, ɯ̃, ẽ] หรือ [õ] ขึ้นอยู่กับเสียงรอบข้าง (หากพูดช้า ๆ อาจจะเป็นเสียง [ŋ] หรือ [ɴ]) === เสียงพยัญชนะซ้ำ === เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร Q ใหญ่ (/Q/) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์และออกเสียงโดยซ้ำเสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปตามกระบวนการทางสัทวิทยาที่เรียกว่าการซ้ำเสียง (gemination) ทำให้เสียงพยัญชนะเหล่านี้กลายเป็นเสียงพยัญชนะยาว (long consonant) ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「つ」/「ツ」 ขนาดเล็ก: 「っ」/「ッ」 โดยปกติแล้ว เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับเสียงพยัญชนะไม่ก้องเท่านั้น ยกเว้นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำที่อาจจะพบการซ้ำเสียงพยัญชนะก้อง อีกทั้งยังพบการซ้ำเสียงพยัญชนะเสียดแทรก [ɸ, ç, h] (เสียงพยัญชนะของอักษรวรรค は) ในคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำด้วย อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะออกเสียงโดยเปลี่ยนจากเสียงก้องเป็นเสียงไม่ก้องอยู่หลายคำ เช่น [beo] → [beo], [baɯ] → [baɯ] บ่อยครั้งที่ป้ายหรือโฆษณาสะกดคำโดยใช้อักษรเสียงไม่ก้องแทน เช่น 「バッグ」 เป็น 「バック」 === เสียงของอักษรคานะ === ตัวอักษร 「を」 ออกเสียงเหมือน 「お」 ตัวอักษร 「ぢ」「ぢゃ」「ぢゅ」「ぢょ」「づ」 ออกเสียงเหมือน 「じ」「じゃ」「じゅ」「じょ」「ず」 ตามลำดับ มีนักภาษาศาสตร์บางกลุ่มที่นับจำนวนหน่วยเสียงในภาษาญี่ปุ่นแตกต่างไปจากข้อมูลข้างต้น เช่น *กลุ่มที่นับเสียง [ŋ] (เสียงนาสิก เพดานอ่อน) แยกจากหน่วยเสียง /g/ (เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง) ออกมาเป็นอีกหนึ่งหน่วยเสียง *กลุ่มที่มองว่า [tʲi](てぃ/ティ) กับ [tɯ](とぅ/トゥ) ซึ่งใช้กับเฉพาะคำศัพท์ภาษาต่างประเทศ เช่น 「パーティー」 (party) 「タトゥー」 (tattoo) เป็นสมาชิกในระบบเสียงของภาษาญี่ปุ่นด้วย *กลุ่มที่ไม่ยอมรับว่าภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (Q) *กลุ่มที่วิเคราะห์ว่ามีหน่วยเสียงยาว (R หรือ H) อยู่ในภาษาญี่ปุ่นด้วย เสียงพยัญชนะที่อยู่หน้าเสียงสระ /i/ จะมีการออกเสียงเพดานแข็ง (palatalization) ประกอบ โดยแบ่งระดับการยกลิ้นได้ 2 ระดับ # ยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นใกล้เพดานแข็งมากจนทำให้จุดกำเนิดเสียงเคลื่อนออกไปจากจุดเดิมจนต้องเปลี่ยนไปใช้สัทอักษรตัวอื่น เช่น /si/ → [ɕi] (เปลี่ยนจาก s เป็น ɕ) # ยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นใกล้เพดานแข็งแต่ไม่มากจนต้องถึงขั้นเปลี่ยนสัทอักษร เช่น /ki/ → [kʲi] (เพิ่มเครื่องหมาย [ʲ] เพื่อแสดงว่ามีการยกลิ้นส่วนหน้าประกอบเท่านั้น) === การลดความก้องของเสียงสระ === การลดความก้องของเสียงสระ (ญี่ปุ่น: 母音無声化 โรมาจิ: Boin-museika อังกฤษ: vowel devoicing) พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึงภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) มักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิด (/i/ หรือ /u/) อยู่ระหว่างเสียงพยัญชนะไม่ก้องกับเสียงพยัญชนะไม่ก้อง เช่น ( คือ เสียงสระที่ลดความก้อง) นอกจากนี้ การลดความก้องของเสียงสระมักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิดตามหลังเสียงพยัญชนะไม่ก้องและเป็นจังหวะที่ผู้พูดพูดจบหรือเว้นวรรค เช่น โดยทั่วไป เจ้าของภาษามักจะเลี่ยงการลดความก้องแบบต่อเนื่องกัน ส่งผลให้มีเสียงสระปิดบางตำแหน่งไม่ลดความก้องแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมตามเงื่อนไข แต่ก็เป็นไปได้ที่จะออกเสียงโดยลดความก้องเสียงสระปิดแบบต่อเนื่องกัน อย่างไรก็ตาม การลดความก้องของเสียงสระอาจจะพบในเสียงสระที่ไม่ใช่สระปิดได้เช่นกัน การลดความก้องของเสียงสระของคำศัพท์แต่ละคำสามารถตรวจสอบได้จากพจนานุกรมการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น เช่น 『アクセント』 หรือ 『NHKアクセント』 ทั้งนี้ ปรากฏการณ์นี้พบได้น้อยในภาษาญี่ปุ่นตะวันตก (Western Japanese) === พยางค์และมอรา === ==== พยางค์ ==== พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งตามน้ำหนักของพยางค์ (syllable weight) ได้ดังนี้ {| | width="20px" | 1. |พยางค์เบา (light syllable) |- | |พยางค์เบาในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระสั้น จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้ |- | |ตัวอย่าง: /i/ (กระเพาะ), /su/ น้ำส้มสายชู, /tya/ ชา |- | width="20px" | 2. |พยางค์หนัก (heavy syllable) |- | |พยางค์หนักในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระยาวหรือเสียงสระสั้นที่มีเสียงพยัญชนะท้าย จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้ |- | |ตัวอย่าง: /oː/ (พระราชา), /zyuN/ (เกณฑ์) |- | width="20px" | 3. |พยางค์หนักมาก (superheavy syllable) |- | |เป็นพยางค์ที่จำนวนหน่วยแยกส่วน (segment) มากกว่าจำนวนของหน่วยแยกส่วนในพยางค์เบาและพยางค์หนัก พยางค์ชนิดนี้มีเฉพาะในบางภาษาและองค์ประกอบของหน่วยส่วนแยกไม่ชัดเจนเพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของพยางค์เบาและพยางค์หนักในภาษานั้น ๆ |- | |ตัวอย่าง: /aːN/ (เสียงร้องไห้ของเด็กทารก), /roːN/ (เงินกู้) |} ==== โครงสร้างพยางค์ ==== ==== มอรา ==== มอรา (ญี่ปุ่น: 拍 โรมาจิ: Haku) เป็นหน่วยการนับในระดับที่เล็กกว่าระดับคำตามทฤษฎีสัทวิทยาเน้นจังหวะ (metrical phonology) เป็นการนับช่วงความยาวของเสียงที่เท่า ๆ กัน และเป็นหน่วยพื้นฐานกำหนดจังหวะ (rhythm) ของคำและประโยคภาษาญี่ปุ่น จำนวนมอราของคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นอาจจะเท่ากับจำนวนพยางค์หรือมากกว่าจำนวนพยางค์ โดยพยางค์เบา 1 พยางค์นับเป็น 1 มอรา พยางค์หนัก 1 พยางค์นับแยกเป็น 2 มอรา และพยางค์หนักมาก 1 พยางค์นับเป็น 3 มอรา เช่น คำว่า 「おばあさん」 (ย่า, ยาย) หากนับจำนวนพยางค์จะได้ 3 พยางค์ แต่หากนับจำนวนมอราจะได้ 5 มอรา แม้ว่าเมื่อวัดค่าตามจริงแล้วมอราแต่ละมอราอาจจะไม่ได้เท่ากันในทางกายภาพ แต่เจ้าของภาษา (ในที่นี้คือผู้พูดภาษาญี่ปุ่น) ทั้งผู้พูดและผู้ฟังจะรับรู้ช่วงความยาวของของแต่ละมอราว่ายาวเท่า ๆ กัน (ความยาวทางจิตวิทยา) ความแตกต่างระหว่างการนับจำนวนพยางค์กับจำนวนมอราของคำในภาษาญี่ปุ่นสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้ 1. เสียงสระสั้นทุกเสียง หรือเสียงพยัญชนะตามด้วยเสียงสระสั้น นับเป็น 1 พยางค์ และนับเป็น 1 มอราเท่ากัน 2. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก (/N/) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก (/N/) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ N 3. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (/Q/) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (/Q/) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ Q 4. เสียงสระยาว หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระยาว นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา 5. เสียงสระประสมสองส่วน (diphthong) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา === ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ === ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ (ญี่ปุ่น: 高低アクセント โรมาจิ: Kōtei-akusento อังกฤษ: Pitch accent) เป็นหนึ่งในสัทลักษณะ (sound quality) ที่พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึงภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงน้ำหนัก (accent) คำหรือพยางค์ในถ้อยความให้มีความเด่นชัดขึ้น แตกต่างจากเสียงวรรณยุกต์ (tone) ตรงที่เสียงวรรณยุกต์เป็นระดับเสียงภายในพยางค์ (ต่ำ กลาง สูง ขึ้น ตก ฯลฯ ภายในพยางค์) ในขณะที่ระดับเสียงสูงต่ำในภาษาญี่ปุ่นเป็นระดับเสียงระหว่างมอรา (ต้องฟังเปรียบเทียบระหว่างมอราจึงจะทราบว่ามอราใดสูง มอราใดต่ำ) ==== ประเภทของระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ ==== คำในภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) สามารถแบ่งประเภทตามตำแหน่งเสียงตก (ตำแหน่งที่เสียงเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 「がり」) ได้ดังนี้ (เครื่องหมาย 「」 ใช้เพื่อแสดงตำแหน่งเสียงตก ส่วนเครื่องหมาย 「」 ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือหน่วยคำนั้นไม่มีตำแหน่งเสียงตก อักษรไม่เข้มใช้เพื่อแสดงว่ามอราดังกล่าวลดความก้องของเสียงสระ) คำที่มีตำแหน่งเสียงตกต้นคำ (ญี่ปุ่น: โรมาจิ: Atama-daka-gata ทับศัพท์: อาตามาดากางาตะ) มอราแรกเสียงจะสูง ถัดจากนั้นจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น *  木: [キ]      เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「キ」 *  猫: [ネコ]     เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ネ」 *  命: [イノチ]    เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「イ」 * 埼玉: [サイタマ]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「サ」 คำที่มีตำแหน่งเสียงตกกลางคำ (ญี่ปุ่น: โรมาจิ: Naka-daka-gata ทับศัพท์: นากาดากางาตะ) เสียงจะสูงไปจนถึงตำแหน่งเสียงตก จากนั้นเสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น *あなた: [アナタ]    เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ナ」 *味噌汁: [ミソシル]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「シ」 *飛行機: [ヒコーキ]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「コ」 *美術館: [ビジュツカン] หรือ [ビジュツカン]  เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ツ」 หรือ 「ジュ」 คำที่มีตำแหน่งเสียงตกท้ายคำ (ญี่ปุ่น: โรมาจิ: O-daka-gata ทับศัพท์: โอดากางาตะ) เสียงจะสูงไปจนถึงท้ายคำ หากมีหน่วยคำ เช่น คำช่วย มาต่อท้าย เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลงตั้งแต่คำช่วยตัวดังกล่าว เช่น *  山: [ヤマ]     เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [ヤマカ゚] *  男: [オトコ]    เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [オトコカ゚] *  妹: [イモート]   เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [イモートカ゚] คำที่ไม่มีตำแหน่งเสียงตก (แบบราบ) (ญี่ปุ่น: โรมาจิ: Heiban-gata ทับศัพท์: เฮบังงาตะ) *  魚: [サカナ]    เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [サカナカ゚] *  竹: [タケ]     เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [タケカ゚] * 休日: [キュージツ]  เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [キュージツカ゚] ==== สัญลักษณ์แสดงตำแหน่งเสียงตก ==== ในอักขรวิธีของภาษาญี่ปุ่นไม่มีสัญลักษณ์ในการแสดงระดับเสียงแบบภาษาไทย (เครื่องหมายวรรณยุกต์) ดังนั้นในการแสดงตำแหน่งเสียงตกจึงจำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษบางอย่างซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหนังสือหรือพจนานุกรมเล่มนั้น เช่น นอกจากการใช้สัญลักษณ์ เช่น [] หรือ [ ┓ ] ในการแสดงตำแหน่งเสียงตก (がり) ของคำศัพท์แล้ว ยังมีการใช้ตัวเลขในการแสดงแกนเสียงสูง-ต่ำ (มอราตัวสุดท้ายก่อนที่เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า アクセント) เช่น ในพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น 『』 หรือ 『』 (ใช้แสดงตำแหน่งแกนเสียงสูง-ต่ำ) き(1)【木】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「き」:[] いのち(1)【命】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「い」:[ノチ] みそしる(3)【味噌汁】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 3 นั่นคือ 「し」:[ミソル] ひこうき(2)【飛行機】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 2 นั่นคือ 「こ」:[ヒーキ] いもうと(4)【妹】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 4 นั่นคือ 「と」:[イモー] さかな(0)【魚】 หมายถึง ไม่มีแกนเสียงสูง-ต่ำ:[サカナ] == ระบบการเขียน == ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นใช้ระบบการเขียนแบบผสมผสาน โดยใช้อักษรฮิรางานะและอักษรคาตากานะซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง (phonograph) ระดับพยางค์ และอักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยคำ (logograph) ประโยคหนึ่งประโยคอาจมีอักษรทั้ง 3 ประเภทปะปนกัน ประโยคข้างต้นประกอบด้วยตัวอักษรทั้ง 3 ประเภท คืออักษรฮิรางานะ คืออักษรคาตากานะ และคืออักษรคันจิ === คันจิ === === ฮิรางานะและคาตากานะ === == ไวยากรณ์ == === โครงสร้างประโยคพื้นฐาน === ลำดับของคำในประโยคภาษาญี่ปุ่นคือ ประธาน กรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆ ในประโยคจะมี "คำช่วย" กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยหัวเรื่องและส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น Kochira wa Tanaka-san desu (こちらは田中さんです) kochira แปลว่า "นี้" เป็นหัวเรื่องของประโยคเพราะมี wa กำกับอยู่ ส่วน Tanaka-san desu เป็นส่วนอธิบายของประโยค desu เป็นกริยาของประโยคที่แปลได้ว่า "เป็น" ประโยคนี้แปลคร่าวๆ ได้ว่า "สำหรับคนนี้ เขาคือคุณทานากะ" ภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายกับภาษาในเอเชียหลายๆ ภาษาที่มักจะระบุหัวเรื่องของประโยคแยกจากประธาน กล่าวคือหัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น Zō wa hana-ga nagai desu (象は鼻が長いです) แปลตามตัวได้ว่า "สำหรับช้าง จมูก(ของพวกมัน)ยาว" หัวเรื่องของประโยคคือ zō (ช้าง) ในขณะที่ประธานของประโยคคือ hana (จมูก) ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบละคำ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่เป็นที่รู้กันกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆดีกว่าประโยคยาวๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วยคำสรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคข้างบน hana-ga nagai ก็แปลได้ว่า "จมูก[ของช้าง]ยาว" โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงช้าง นอกจากนี้ กริยาเพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น Yatta! แปลว่า "[ฉัน]ทำ[มันสำเร็จแล้ว]" คำคุณศัพท์เพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน เช่น Urayamashii! แปลว่า "[ฉันรู้สึก]อิจฉา[มัน]" แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำบางคำที่ถือได้ว่าเป็นคำสรรพนาม แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ใช้คำสรรพนามบ่อยเท่ากับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นมักจะใช้กริยาพิเศษหรือกริยาช่วยเพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำ เช่น "ล่าง" เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำจากนอกกลุ่มที่เป็นผลประโยชน์ต่อในกลุ่ม และใช้คำว่า "บน" เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการกระทำจากภายในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อนอกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น oshiete moratta แปลว่า "[เขา/พวกเขา]อธิบายให้[ฉัน/พวกเรา]" ขณะที่ oshiete ageta แปลว่า "[ฉัน/พวกเรา]อธิบายให้[เขา/พวกเขา]" การใช้กริยาช่วยในลักษณะนี้ทำให้รู้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้เหมือนกับการใช้คำสรรพนามและคำบุพบทในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกับคำนาม กล่าวคือ เราสามารถใช้คำขยายมาขยายคำสรรพนามได้ ซึ่งแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น The amazed he ran down the street. (เขาที่กำลังงงวิ่งไปตามถนน) ประโยคข้างบนนี้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น 驚いた彼は道を走っていた。 Odoroita kare wa michi o hashitte itta. สาเหตุที่คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นคล้ายคลึงกับคำนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคำสรรพนามบางคำมีต้นกำเนิดมาจากคำนาม เช่น kimi ที่แปลว่า "คุณ" แต่เดิมแปลว่า "เจ้านาย" และ boku ที่แปลว่า "ผม" แต่เดิมแปลว่า "ข้ารับใช้" ดังนั้น นักภาษาศาสตร์บางคนจึงไม่จัดว่าคำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นเป็นคำสรรพนามที่แท้จริง แต่เป็นคำนามที่ใช้อ้างอิง คนญี่ปุ่นจะใช้คำเรียกตัวเองในกรณีที่ต้องบอกว่าใครกำลังทำอะไรให้ใครเท่านั้น คำสรรพนามที่ใช้เรียกตัวเองขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานการณ์ในขณะนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงและผู้ชายสามารถใช้ watashi หรือ watakushi ได้ ส่วนในสถานการณ์ที่เป็นกันเอง ผู้ชายมักเรียกตัวเองว่า ore คำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมและความคุ้นเคยระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คำบางคำอาจเป็นคำที่สุภาพในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่สุภาพในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้ ชาวญี่ปุ่นมักเรียกบุคคลด้วยตำแหน่งหน้าที่แทนการใช้สรรพนาม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนเรียกอาจารย์ว่า sensei (先生, อาจารย์) ไม่ใช่ anata ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมเพราะคำว่า anata ใช้เรียกบุคคลที่มีสถานภาพเท่ากันหรือต่ำกว่าเท่านั้น ชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า watashi-wa แม้ว่าประโยคนี้จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ก็ฟังดูแปลกมากสำหรับชาวญี่ปุ่น เปรียบเทียบเหมือนกับการใช้คำนามซ้ำๆในภาษาไทย เช่น "สมชายกำลังมา กรุณาทำข้าวผัดให้สมชายเพราะสมชายชอบข้าวผัด ฉันหวังว่าสมชายจะชอบชุดที่ฉันใส่อยู่ ..." ==== ตัวอย่างประโยค ==== มีความหมายว่า "คำนาม 1 นั้นคือ คำนาม 2" ตัวอย่างเช่น {| |私はソムチャイです。 || Watashi wa Somuchai desu || ฉันชื่อสมชาย |- |私はタイ人です。 || Watashi wa Taijin desu || ฉันเป็นคนไทย |} ในโครงสร้างประโยคนี้ใช้ は (อ่านว่า วะ ไม่ใช่ ฮะ) เป็นคำช่วยใช้ชี้หัวข้อเรื่องที่กำลังจะพูด ในที่นี้คือ "ฉัน" ประโยคบอกเล่าสามารถเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามเพื่อถามว่าใช่หรือไม่ โดยการเติม か ลงท้ายประโยค เวลาพูดให้ออกเสียงสูงท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น {| |あなたは日本人ですか? || Anata wa Nihonjin desu ka? || คุณเป็นคนญี่ปุ่นใช่หรือไม่ |- |いいえ、中国人です。 || Iie, Chūgokujin desu || ไม่ใช่, เป็นคนจีน |} คำศัพท์ {|class="wikitable" |私 || watashi || ฉัน |- |あなた || anata || คุณ |- |タイ人 || taijin || คนไทย |- |日本人 || Nihonjin || คนญี่ปุ่น |- |中国人 || Chūgokujin || คนจีน |- |はい || hai || ใช่ |- |いいえ || iie || ไม่ใช่ |} มีความหมายว่า "ประธานกระทำกริยากับกรรม" ตัวอย่างเช่น {| |私はご飯を食べる。 || Watashi wa gohan o taberu || ฉันกินข้าว |- |彼は本を読みます。 || Kare wa hon o yomimasu || เขาอ่านหนังสือ |} ในโครงสร้างประโยคนี้ จะเห็นว่าเราใช้คำช่วย を ต่อท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค คำศัพท์ {|class="wikitable" |ご飯 || gohan || ข้าว |- |本 || hon || หนังสือ |- |食べる || taberu || กิน |- |読みます || yomimasu || อ่าน |- |彼 || kare || เขา (ผู้ชาย) |} ==== กริยารูปอดีต และปฏิเสธ ==== ภาษาญี่ปุ่นมีการผันรูปของกริยา เป็นไปตามกาล(Tense)เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นในประโยคปฏิเสธมีการผันกริยาเพื่อแสดงความหมายว่า "ไม่" อีกด้วย หลักการผันกริยามีดังนี้ {|class="wikitable" |รูปปัจจุบัน บอกเล่า || รูปอดีต บอกเล่า || รูปปัจจุบัน ปฏิเสธ || รูปอดีต ปฏิเสธ |- |~ます || ~ました || ~ません || ~ませんでした |- |食べますtabemasu || 食べましたtabemashita || 食べませんtabemasen || 食べませんでしたtabemasendeshita |- |飲みますnomimasu || 飲みましたnomimashita || 飲みませんnomimasen || 飲みませんでしたnomimasendeshita |- |見ますmimasu || 見ましたmimashita || 見ませんmimasen || 見ませんでしたmimasendeshita |} {| |今日テレビを見ます。 || Kyō terebi o mimasu || วันนี้จะดูโทรทัศน์ |- |昨日テレビを見ました。 || Kinō terebi o mimashita || เมื่อวานดูโทรทัศน์ |- |今日テレビを見ません。 || Kyō terebi o mimasen || วันนี้จะไม่ดูโทรทัศน์ |- |昨日テレビを見ませんでした。 || Kinō terebi o mimasendeshita || เมื่อวานไม่ได้ดูโทรทัศน์ |} คำศัพท์ {|class="wikitable" |見ます || mimasu || ดู |- |テレビ || terebi || โทรทัศน์ |- |今日 || kyō || วันนี้ |- |昨日 || kinō || เมื่อวาน |} === คำนามและคำบ่งชี้ === ==== คำสรรพนาม ==== แม้ว่าตำราไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นหลายเล่มจะกล่าวถึงคำสรรพนาม (代名詞 ไดเมชิ) แต่นั่นก็ไม่ใช่คำสรรพนามที่แท้จริง เพราะคำสรรพนามที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่มีคำมาขยาย แต่ไดเมชิในภาษาญี่ปุ่นมีคำขยายได้ เช่น 背の高い彼女 (se no takai kanojo หมายถึง "เธอ" ที่มีคำว่า"สูง"มาขยาย) ปัจจุบันมีไดเมชิใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ไดเมชิเก่าๆก็กำลังหายไปอย่างรวดเร็ว มีไดเมชิจำนวนหนึ่งที่ถือได้ว่าใกล้เคียงกับคำสรรพนาม เช่น 彼 (kare, เขา) 彼女 (kanojo, เธอ); 私 (watashi, ฉัน) ขณะที่ไดเมชิบางคำถือว่าเป็น"คำนามส่วนตัว" ไม่ใช่สรรพนาม เช่น 己 (onore, ฉัน (ให้ความหมายในทางอ่อนน้อมเป็นอย่างมาก)) หรือ 僕 (boku, ฉัน (เด็กผู้ชาย)) คำเหล่านี้เปรียบเสมือนชื่อตัวเอง นั่นคือคนอื่นอาจเรียกเราด้วยไดเมชิเดียวกับที่เราเรียกตัวเองก็ได้ ผู้อื่นอาจใช้ おのれ (onore) ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงหยาบคาย หรืออาจใช้ boku ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงเห็นผู้ฟังเป็นเด็ก นอกจากนี้ ยังมีไดเมชิบางคำที่มีหลายความหมาย เช่น kare และ kanojo สามารถแปลได้ว่า แฟน(ที่เป็นผู้ชาย) และ แฟน(ที่เป็นผู้หญิง) ตามลำดับ คนญี่ปุ่นมักไม่ค่อยใช้ไดเมชิเรียกตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องระบุประธานทุกครั้งในกรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกันอยู่แล้ว และโดยปกติ คนญี่ปุ่นมักจะเรียกชื่อหรือใช้คำนามเฉพาะเจาะจงแทนการใช้สรรพนาม เช่น 「木下さんは、背が高いですね。」 Kinoshita-san wa, se ga takai desu ne. (กำลังพูดกับคุณคิโนะชิตะ) "คุณคิโนะชิตะสูงจังเลยนะครับ" 「専務、明日福岡市西区の山本商事の社長に会っていただけますか?」 Semmu, asu Fukuoka-shi Nishi-ku no Yamamoto-shōji no shachō ni atte itadakemasuka? (กำลังพูดกับผู้จัดการ) "ท่านผู้จัดการจะสามารถไปพบท่านประธานบริษัทยามะโมโตะพรุ่งนี้ได้ไหมคะ?" ==== คำบ่งชี้ ==== * รูปพิเศษ คำบ่งชี้มีทั้งหมดสามแบบคือ คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko, so และ a คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย so ใช้ระบุสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และคำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย a ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คำบ่งชี้สามารถทำให้เป็นรูปคำถามได้ด้วยการใช้คำว่า do ขึ้นต้น คำบ่งชี้ยังสามารถใช้ระบุบุคลได้ด้วย เช่น 「こちらは林さんです。」 Kochira wa Hayashi-san desu. "นี่คือคุณฮะยะชิ" คำบ่งชี้ที่ใช้เจาะจงคำนาม ต้องวางไว้หน้าคำนาม เช่น この本 (kono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนี้ และ その本 (sono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนั้น เมื่อใช้คำบ่งชี้ระบุสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้ฟังไม่เห็นในขณะนั้น คำบ่งชี้แต่ละคำจะมีความหมายในเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกัน คำบ่งชี้ที่แสดงความไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดมีร่วมกับผู้ฟัง เช่น A:先日、札幌に行って来ました。 A: Senjitsu, Sapporo ni itte kimashita. A: เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปซัปโปโรมา B:あそこ(*そこ)はいつ行ってもいい所ですね。 B: Asoko (*Soko) wa itsu itte mo ii tokoro desu ne. B: ไม่ว่าจะไปเมื่อไร ที่นั่นก็เป็นที่ที่ดีเสมอเลยเนอะ หากใช้ soko แทน asoko ในประโยคนี้ จะหมายความว่า B ไม่มีความรู้เกี่ยวกับซัปโปโร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับซัปโปโร ดังนั้น จึงใช้ soko แทนไม่ได้ คำบ่งชี้ที่ใช้บอกว่าอยู่ใกล้ผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มักใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้มีร่วมกัน เช่น 佐藤:田中という人が昨日死んだって… Satō: Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte… ซะโต: ฉันได้ยินว่าคนที่ชื่อทานากะตายเมื่อวานนี้… 森:えっ、本当? Mori: E', hontō? โมริ: เอ๊ะ จริงหรือ? 佐藤:だから、その(*あの)人、森さんの昔の隣人じゃなかったっけ? Satō : Dakara, sono (*ano) hito, Mori-san no mukashi no rinjin ja nakatta 'kke? ซะโต: ฉันถึงได้ถามไง เขาเป็นญาติของเธอไม่ใช่หรือ? สังเกตว่า ถ้าใช้ ano แทน sono ในประโยคนี้จะไม่เหมาะสม เพราะว่าซะโตะไม่ได้รู้จักกับทานากะเป็นการส่วนตัว === ความสุภาพ === ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ไวยากรณ์พิเศษเพื่อแสดงถึงความสุภาพและความเป็นทางการ ซึ่งแตกต่างจากภาษาตะวันตก สังคมญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหลายระดับ กล่าวคือ คนหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่มากำหนด อาทิ หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ และสถานะทางจิตใจ (ผู้คนจะเรียกร้องให้สุภาพต่อกัน) ผู้ที่มีวุฒิน้อยกว่าจะใช้ภาษาที่สุภาพ ขณะที่ผู้ที่มีวุฒิอาจใช้ภาษาที่เรียบง่าย ผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อนจะใช้ภาษาสุภาพต่อกัน เด็กเล็กมักไม่ใช้ภาษาสุภาพจนกว่าจะเป็นวัยรุ่น เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะพูดภาษาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เทเนโงะ (丁寧語) (ภาษาสุภาพ) มักจะเป็นการผันคำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนซงเคโงะ (尊敬語) (ภาษายกย่อง) และ เค็นโจโงะ (謙譲語) (ภาษาถ่อมตัว) จะใช้รูปคำกริยาพิเศษที่แสดงถึงการยกย่องและการถ่อมตัว เช่น อิคุ ที่แปลว่า "ไป" จะเปลี่ยนเป็น อิคิมะซุ เมื่ออยู่ในรูปสุภาพ เปลี่ยนเป็น อิรัสชะรุ เมื่ออยู่ในรูปยกย่อง และเปลี่ยนเป็น มะอิรุ เมื่ออยู่ในรูปถ่อมตัว ภาษาถ่อมตัวจะใช้ในการพูดเกี่ยวกับตัวเอง หรือกลุ่มของตัวเอง (บริษัท, ครอบครัว) ขณะที่ภาษายกย่องจะใช้เมื่อกล่าวถึงผู้สนทนาหรือกลุ่มอื่น เช่น คำว่า -ซัง ที่ใช้ต่อท้ายชื่อ (แปลว่า คุณ-) ถือเป็นภาษายกย่องอย่างหนึ่ง จะไม่ใช้เรียกตนเองหรือเรียกคนที่อยู่ในกลุ่มของตนให้ผู้อื่นฟังเพราะบริษัทถือเป็นกลุ่มของผู้พูด เมื่อพูดกับผู้ที่อยู่สูงกว่าในบริษัทของตน หรือพูดกับพนักงานในบริษัทของตนเกี่ยวกับผู้ที่อยู่สูงกว่า ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษายกย่องผู้ที่อยู่สูงกว่าในกลุ่มของตน แต่เมื่อพูดกับพนักงานบริษัทอื่น (คนที่อยู่นอกกลุ่ม) ชาวญี่ปุ่นจะใช้รูปแบบถ่อมตนเมื่ออ้างถึงคนที่สูงกว่าในบริษัทของตน คำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นจะเกี่ยวข้องกับบุคคล ภาษาและการกระทำซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ (ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม) ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีการกำหนดคำยกย่องทางสังคมที่เรียกว่า"การยกย่องแบบสัมพัทธ์" ซึ่งแตกต่างจากระบบของเกาหลีซึ่งเป็น"การยกย่องแบบสัมบูรณ์" กล่าวคือ ภาษาเกาหลีจะกำหนดคำที่ใช้คุยกับแต่ละคนๆไป (เช่น พ่อของตน, แม่ของตน, หัวหน้าของตน) โดยไม่ขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ดังนั้น ภาษาสุภาพของเกาหลีจึงฟังดูบุ่มบ่ามเมื่อแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตามตัวอักษร เช่นในภาษาเกาหลี เราพูดว่า "ท่านประธานบริษัทของพวกเรา... " กับคนที่อยู่นอกกลุ่มได้ตามปกติ แต่ชาวญี่ปุ่นถือว่าการพูดเช่นนี้ไม่สุภาพ คำนามหลายคำในภาษาญี่ปุ่นอาจทำให้อยู่ในรูปสุภาพได้ ด้วยการเติมคำอุปสรรค โอะ- หรือ โกะ- นำหน้า คำว่า โอะ- มักใช้กับคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ขณะที่คำว่า โกะ- ใช้กับคำที่รับมาจากภาษาจีน บางครั้ง คำที่เติมนำหน้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำนั้นอย่างถาวร และกลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในรูปปกติ เช่นคำว่า โกะฮัง ที่แปลว่าอาหาร การใช้คำเหล่านี้แสดงถึงความเคารพต่อเจ้าของสิ่งของและเคารพต่อสิ่งของ เช่น คำว่า โทะโมะดะชิ ที่แปลว่าเพื่อน จะกลายเป็นคำว่า โอะ-โทะโมะดะชิ เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของบุคคลที่สถานะสูงกว่า (แม้แต่แม่ก็มักจะใช้คำนี้เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของลูก) ผู้พูดอาจใช้คำว่า โอะ-มิซุ ที่แปลว่าน้ำ แทนคำว่ามิซุเพื่อแสดงความสุภาพก็ได้ ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน นั่นคือ พวกเขาจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ แต่หลังจากสนิทสนมกันมากขึ้นแล้ว พวกเขาจะไม่ใช้ภาษาสุภาพอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับอายุ สถานะทางสังคม หรือเพศ == คำศัพท์ == == ประวัติศาสตร์ == วิวัฒนาการของภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ดังนี้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric age; ) อยู่ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 8 ตรงกับยุคโจมง ยุคยาโยอิ ยุคโคฟุง และยุคอาซูกะ ภาษาญี่ปุ่นเก่า (Old Japanese; ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ตรงกับยุคนาระ ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น (Early Middle Japanese; ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตรงกับยุคเฮอัง ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนปลาย (Late Middle Japanese; ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปี ตรงกับยุคคามากูระ ยุคมูโรมาจิ และยุคอาซูจิ-โมโมยามะ ภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน (Modern Japanese; , ) เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงปัจจุบัน โดยอาจแบ่งย่อยได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในยุคเอโดะ กับภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ตั้งแต่ยุคเมจิจนถึงปัจจุบัน == การจำแนกตามภูมิศาสตร์ == ภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งเป็นภาษาย่อยได้ดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางคนไม่จัดให้ภาษาที่พูดในหมู่เกาะรีวกีวเป็นภาษาย่อยของภาษาญี่ปุ่นตามตารางข้างต้น แต่จัดให้ภาษาดังกล่าวเป็นภาษาพี่น้องร่วมตระกูลกับภาษาญี่ปุ่น == กลุ่มภาษา == == การเรียนภาษาญี่ปุ่น == มหาวิทยาลัยจำนวนมากทั่วโลกมีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมบางแห่งที่สอนภาษาญี่ปุ่นด้วย ภาษาญี่ปุ่นได้รับความสนใจตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1800 และเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟูในทศวรรษ 1980 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ของญี่ปุ่น (เช่น อนิเมะ และ วิดีโอเกม) กำลังแพร่หลายไปทั่วโลกตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ใน ค.ศ. 2003 มีผู้ศึกษาภาษาญี่ปุ่นอยู่ทั้งหมด 2.3 ล้านคนทั่วโลก แบ่งเป็น ชาวเกาหลีใต้ 900,000 คน ชาวจีน 389,000 ชาวออสเตรเลีย 381,000 คน และชาวอเมริกัน 140,000 คน ในญี่ปุ่นมีชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นทั้งที่มหาวิทยาลัยและที่โรงเรียนสอนภาษาอยู่ทั้งหมด 90,000 คน แบ่งเป็นชาวจีน 77,000 คน และชาวเกาหลีใต้ 15,000 นอกจากนี้ รัฐท้องถิ่นและกลุ่มองค์กรไม่หวังผลกำไรยังสนับสนุนให้มีการเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรีสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ รวมถึงชาวบราซิล-ญี่ปุ่น และชาวต่างชาติที่โอนสัญชาติเป็นญี่ปุ่นด้วย รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการสอบวัดระดับทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติ การทดสอบที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) และการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ (JETRO) ที่จัดโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ==หมายเหตุ== == ดูเพิ่ม == การเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย โรมาจิ คันจิ ฮิรางานะ คาตากานะ == อ้างอิง == ===ผลงานที่อ้างอิง=== Bloch, Bernard (1946). Studies in colloquial Japanese I: Inflection. Journal of the American Oriental Society, 66, pp. 97–130. Bloch, Bernard (1946). Studies in colloquial Japanese II: Syntax. Language, 22, pp. 200–248. Chafe, William L. (1976). Giveness, contrastiveness, definiteness, subjects, topics, and point of view. In C. Li (Ed.), Subject and topic (pp. 25–56). New York: Academic Press. . Dalby, Andrew. (2004). "Japanese," in Dictionary of Languages: the Definitive Reference to More than 400 Languages. New York: Columbia University Press. ; Kuno, Susumu (1973). The structure of the Japanese language. Cambridge, MA: MIT Press. . Kuno, Susumu. (1976). "Subject, theme, and the speaker's empathy: A re-examination of relativization phenomena," in Charles N. Li (Ed.), Subject and topic (pp. 417–444). New York: Academic Press. . McClain, Yoko Matsuoka. (1981). Handbook of modern Japanese grammar: [Kōgo Nihon bumpō]. Tokyo: Hokuseido Press. . Miller, Roy (1967). The Japanese language. Chicago: University of Chicago Press. Miller, Roy (1980). Origins of the Japanese language: Lectures in Japan during the academic year, 1977–78. Seattle: University of Washington Press. . Mizutani, Osamu; & Mizutani, Nobuko (1987). How to be polite in Japanese: [Nihongo no keigo]. Tokyo: The Japan Times. . Shibamoto, Janet S. (1985). Japanese women's language. New York: Academic Press. . Graduate Level (pbk). Tsujimura, Natsuko (1996). An introduction to Japanese linguistics. Cambridge, MA: Blackwell Publishers. (hbk); (pbk). Upper Level Textbooks Tsujimura, Natsuko (Ed.) (1999). The handbook of Japanese linguistics''. Malden, MA: Blackwell Publishers. . Readings/Anthologies ==อ่านเพิ่ม== == แหล่งข้อมูลอื่น == National Institute for Japanese Language and Linguistics Japanese Language Student's Handbook ภาษาญี่ปุ่น จาก Omniglot ญี่ปุ่น
thaiwikipedia
592
ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia; ٱلسُّعُوْدِيَّة) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Kingdom of Saudi Arabia; ٱلْمَمْلَكَة ٱلْعَرَبِيَّة ٱلسُّعُوْدِيَّة) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,150,000 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ใหญ่เป็นอันดับห้าในทวีปเอเชีย และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันตก มีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ติดประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศกาตาร์ บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ติดประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และติดประเทศเยเมนทางใต้ และแยกกับประเทศอียิปต์ด้วยบริเวณตอนเหนือของอ่าวอัลอะเกาะบะฮ์ ซาอุดีอาระเบียถือเป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย ภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทราย ภูเขา และพื้นที่แห้งแล้งซึ่งไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดคือรียาด ซาอุดีอาระเบียยังเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์และอัลมะดีนะฮ์ สองนครสำคัญทางศาสนาอิสลาม ก่อนการถือกำเนิดของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ดินแดนของซาอุดีอาระเบียเป็นที่ตั้งของวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณมากมาย บริเวณนี้แสดงให้เห็นร่องรอยจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ศาสนาอิสลามซึ่งถือเป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกถือกำเนิดขึ้นในดินแดนปัจจุบัน ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 มุฮัมมัด ได้รวบรวมประชากรทั้งหมดในคาบสมุทรอาหรับเข้าด้วยกัน และถือเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาอิสลาม หลังการเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 ผู้ติดตามของเขาได้ขยายอาณาเขตอย่างรวดเร็วภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม ตามมาด้วยการพิชิตดินแดนครั้งใหญ่โดยมุสลิม (ตั้งแต่บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรียไปยังบางส่วนของเอเชียกลางและภูมิภาคตะวันออกของเอเชียใต้) ในเวลาไม่กี่ทศวรรษ ราชวงศ์อาหรับที่มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนซาอุดีอาระเบียปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน (ค.ศ. 632–661) รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ค.ศ. 661–750) รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ค.ศ. 750–1517) และรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ (ค.ศ. 909–1171) เช่นเดียวกับราชวงศ์อื่น ๆ ในเอเชีย แอฟริกา และยุโรป พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งใน ค.ศ. 1932 โดย สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านการพิชิตหลายครั้งเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1902 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น ซาอุดีอาระเบียปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยการตัดสินใจทางการเมืองตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือระหว่างพระมหากษัตริย์ คณะรัฐมนตรี และชนชั้นสูง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบเผด็จการ กลุ่มเคลื่อนไหวทางศาสนาในชื่อ วะฮาบีย์ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งนิกายซุนนี ถูกมองว่าสะท้อนลักษณะเด่นของวัฒนธรรมซาอุดีอาระเบีย แต่อิทธิพลจากสถาบันศาสนาก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในคริสต์ทศวรรษ 2010 กฎหมายพื้นฐานของซาอุดีอาระเบียยังคงนิยามตนเองว่าเป็นรัฐอิสลามอาหรับที่มีอำนาจอธิปไตย โดยมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ และกรุงรียาดมีสถานะเป็นเมืองหลวง มีการค้นพบปิโตรเลียมในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1938 และตามมาด้วยการค้นพบอื่น ๆ อีกหลายแห่งในแคว้นตะวันออก และนับแต่นั้น ซาอุดีอาระเบียได้กลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก และควบคุมปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐ และมีปริมาณก๊าซสำรองมากเป็นอันดับสี่ของโลก ราชอาณาจักรจัดอยู่ในเศรษฐกิจรายได้สูงของธนาคารโลก และเป็นประเทศอาหรับประเทศเดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 20 ซาอุดีอาระเบียได้รับการวิจารณ์ในหลายด้าน เช่น บทบาทในสงครามกลางเมืองเยเมน การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายอิสลาม และประวัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตที่รุนแรง ตลอดจนความล้มเหลวในการดำเนินการเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ การเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยทางศาสนา และผู้ที่ไม่ศรัทธาในพระเจ้า การต่อต้านชาวยิว และการตีความกฎหมายชารีอะฮ์ที่เคร่งครัด นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 เป็นต้นมา รัฐบาลซาอุดีอาระเบียมุ่งพัฒนาประเทศภายใต้โครงการวิชัน 2030 โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน ซาอุดีอาระเบียถือเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคและมหาอำนาจระดับกลางของโลก มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง และเป็นอันดับที่ 18 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอันดับ 17 ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง พลเมืองมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน ไม่มีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมีบริการสุขภาพที่ทันสมัย ซาอุดีอาระเบียยังเป็นถิ่นอาศัยของผู้พลัดถิ่นที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเป็นสังคมผู้สูงอายุน้อยที่สุดของโลก โดยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรจำนวน 32.2 ล้านคนมีอายุต่ำกว่า 25 ปี นอกจากการเป็นสมาชิกของสภาความร่วมมืออ่าวแล้ว ซาอุดีอาระเบียยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ องค์การความร่วมมืออิสลาม สันนิบาตอาหรับ องค์การผู้ให้บริการการขนส่งทางอากาศอาหรับ โอเปก และยังเป็นคู่ค้าที่สำคัญขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ == ศัพทมูลวิทยา == การควบรวมราชอาณาจักรฮิญาซและภูมิภาคนัจญด์เข้าด้วยกันนำไปสู่การก่อตั้งรัฐใหม่ในชื่อ อัลมัมละกะตุลอะเราะบียะตุสซุอูดียะฮ์ (المملكة العربية السعودية) ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1932 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด วลีดังกล่าวมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ราชอาณาจักรอาหรับแห่งราชวงศ์ซะอูด" หรือ "ราชอาณาจักรแห่งราชวงศ์ซะอูดอาหรับ" แต่ในภาษาอังกฤษโดยทั่วไปนิยมแปลว่า "ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย" (the Kingdom of Saudi Arabia) คำว่า ซาอุดี (Saudi) ในภาษาอังกฤษแผลงมาจากวลี อัสซุอูดียะฮ์ (السعودية) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อประเทศในภาษาอาหรับ วลีดังกล่าวเป็นคุณศัพท์วลีที่ได้จากการเติมหน่วยคำแสดงความเกี่ยวข้องที่เรียกว่า นิสบะฮ์ (نسبة) ต่อท้ายชื่อราชวงศ์ซะอูดหรือ อาลซุอูด (آل سعود) การใช้วลี อัสซุอูดียะฮ์ ในชื่อประเทศสะท้อนให้เห็นถึงทัศนะที่ว่าประเทศนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของราชวงศ์ ชื่อ อาลซุอูด เป็นชื่อในภาษาอาหรับที่ได้จากการเติมคำว่า อาล (آل) ซึ่งหมายถึง "ตระกูลของ..." หรือ "ราชวงศ์ของ..." ไว้ข้างหน้าชื่อบุคคลที่เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล ซึ่งในกรณีของชื่อ อาลซุอูด นี้ก็คือ ซะอูด อิบน์ มุฮัมมัด อาล มุกริน พระราชบิดาของมุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด อาล มุกริน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 == ภูมิศาสตร์ == ดินแดนของซาอุดีอาระเบียครอบครองพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 บริเวณคาบสมุทรอาหรับ (คาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก) ซึ่งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 16° ถึง 33° เหนือ และลองจิจูด 34° ถึง 56° เนื่องจากทางใต้ของประเทศมีพรมแดนติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน ขนาดที่แน่นอนของประเทศจึงไม่ได้กำหนดไว้ กองสถิติแห่งสหประชาชาติประมาณการตัวเลขที่ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร (830,000 ตารางไมล์) และระบุว่าซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางและแผ่นอาหรับ ลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายของซาอุดีอาระเบียถูกปกคลุมโดยทะเลทรายอาหรับ สเตปป์ เทือกเขาหลายแห่ง ทุ่งลาวาภูเขาไฟ และที่ราบสูง รุบอุลคอลี ครอบคลุมถึงสามส่วนในภาคใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเป็นทะเลทรายทรายที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก แม้จะมีทะเลสาบในประเทศ ทว่าซาอุดีอาระเบียถือเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามขนาดพื้นที่ที่ไม่มีแม่น้ำถาวร บริเวณที่อุดมสมบูรณ์จะพบได้ในลุ่มน้ำในลุ่มน้ำ แอ่ง และโอเอซิส จังหวัดทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Asir เป็นภูเขาและมีภูเขา Sawda สูง 3,133 ม. (10,279 ฟุต) ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดในประเทศ ซาอุดีอาระเบียเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟกว่า 2,000 ลูก ซาอุดีอาระเบียมีสภาพอากาศแบบทะเลทรายซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึงสูงมากในตอนกลางวันโดยเฉพาะในฤดูร้อน และอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็วในตอนกลางคืน อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ประมาณ 45 °ซ (113 °ฟ) แต่สูงสุดอาจสูงถึง 54 °ซ (129 °ฟ) ในฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่า 0 °ซ (32 °ฟ) ยกเว้นพื้นที่ส่วนใหญ่ทางเหนือของประเทศที่มีหิมะตกเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภูเขาของแคว้นตะบูก อุณหภูมิต่ำสุดที่บันทึกไว้จนถึงปัจจุบันคือ -12.0 °ซ (10.4 °ฟ) === ความหลากหลายทางชีวภาพ === ซาอุดีอาระเบียเป็นถิ่นอาศัยของระบบนิเวศภาคพื้นดิน 5 แห่ง ได้แก่ ทะเลทรายที่มีหมอกริมชายฝั่งคาบสมุทรอาหรับ ทุ่งหญ้าบริเวณเชิงเขาอาหรับทางตะวันตกเฉียงใต้ ป่าดิบเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของอาหรับ ทะเลทรายอาหรับ และทะเลแดง ทะเลทรายเขตร้อนนูโบ-ซินเดียน และพื้นที่กึ่งทะเลทราย เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เสือดาวอาระเบีย หมาป่าอาระเบีย ไฮยีนา วงศ์พังพอน ลิงบาบูน แมวทราย สัตว์ต่าง ๆ เช่น ละมั่ง ออริกซ์ เสือดาว และเสือชีตาห์ มีจำนวนมากจนถึงศตวรรษที่ 19 เมื่อการล่าอย่างกว้างขวางทำให้สัตว์เหล่านี้เกือบจะสูญพันธุ์ สิงโตอินเดีย สัตว์ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมอาศัยในซาอุดีอาระเบียจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ก่อนถูกล่าจนสูญพันธุ์จากธรรมชาติ นกพบได้ทุกภูมิภาค ได้แก่ นกอินทรี เหยี่ยว แร้ง นกทราย และนกปรอด ซาอุดีระเบียยังเป็นของงูหลายชนิด รวมถึงงูพิษหลายสายพันธุ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทะเลแดงเป็นหนึ่งในแหล่งระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลายที่สุดของโลก เป็นที่อยู่อาศัยของปลามากกว่า 1,000 ชนิด ความหลากหลายอันอุดมสมบูรณ์ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวปะการังความยาวกว่า 2,000 กม. (1,240 ไมล์) ที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่ง แนวประการังเหล่านี้มีอายุ 5,000–7000 ปี และส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินปะการังหินปะการังและปะการังพอไรต์ ทะเลแดงยังมีแนวปะการังนอกชายฝั่งหลายแห่ง การก่อตัวของแนวปะการังนอกชายฝั่งที่ผิดปกติจำนวนมากขัดต่อรูปแบบการจำแนกแนวปะการังแบบคลาสสิก และโดยทั่วไปมีสาเหตุมาจากกิจกรรมการแปรสัณฐานในระดับสูงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ == ประวัติศาสตร์ == === ยุคก่อนการสถาปนาซาอุดีอาระเบีย === ประวัติศาสตร์ประเทศซาอุดีอาระเบียเริ่มขึ้นประมาณปี 1850 ในใจกลางคาบสมุทรอาหรับ เมื่อ มุฮัมมัด บินซะอูด ผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมมือกันกับ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีแรก โดยแยกออกจากอาณาจักรออตโตมัน แต่ประเทศที่เป็นซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันนั้นสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่สองโดยกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาลซะอูด (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ อิบนุซะอูด) ในปี 1902 อิบนุซะอูดได้ยึดรียาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์ซะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์ซะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ ในปี 1932 อิบนุซะอูดได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย === สมัยการรวมชาติ === การเจรจาทำสนธิสัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และได้มีการจัดตั้ง "เขตเป็นกลาง" ขึ้นด้วยกัน 2 แห่ง คือระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรัก และซาอุดีอาระเบียกับคูเวต ในปี 1971 ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี 1983 ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี 1934 (พ.ศ. 2477) แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี 1974 สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่ อิบนุซะอูด สิ้นพระชนม์ในปี 1953 และพระราชโอรสองค์โตคือเจ้าชายซะอูด ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 11 ปี ในปี 1964 กษัตริย์ซะอูดได้สละราชสมบัติให้กับเจ้าชายฟัยศ็อล ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาและดำรงตำแหน่ง รมว.กต.อยู่ด้วย กษัตริย์ฟัยศ็อล เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียพัฒนาไปสู่ระบบที่ทันสมัย ซาอุดีอาระเบียมิได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามหกวันระหว่างอาหรับกับอิสราเอล แต่ได้ให้เงินช่วยเหลือรายปีแก่อียิปต์ จอร์แยเหลือเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1973 ซาอุดีอาระเบียได้เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางน้ำมันต่อสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในฐานะสมาชิกของโอเปก (OPEC) ซาอุดีอาระเบียได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ขึ้นราคาน้ำมันในปี 1971 ภายหลังสงครามปี 1973 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนำความมั่งคั่งและอิทธิพลทางการเมืองมาสู่ซาอุดีอาระเบีย ในปี 1975 กษัตริย์ฟัยศ็อล ถูกลอบสังหารโดยหลานชายของพระองค์เอง เจ้าชายคอลิด พระอนุชาต่างมารดาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อมาและยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย กษัตริย์คอลิด ได้แต่งตั้งเจ้าชายฟะฮัด น้องชายต่างมารดาของพระองค์เป็นมกุฎราชกุมาร และมอบหมายให้มีอำนาจให้ดูแลกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ ในรัชสมัยของกษัตริย์คอลิด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและซาอุดีอาระเบียได้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองในภูมิภาคและในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในปี 1982 กษัติรย์ฟะฮัดได้ขึ้นครองราชย์และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนกษัตริย์คอลิด ซึ่งสิ้นพระชนม์ลง กษัตริย์ฟะฮัดได้แต่งตั้งเจ้าชายอับดุลลอฮ์ น้องชายต่างมารดาซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการของซาอุดีอาระเบียขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ส่วนเจ้าชายสุลต่านรัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นน้องชายแท้ ๆ ของกษัตริย์ฟะฮัด ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สอง ภายใต้รัชสมัยของพระราชาธิบดีฟะฮัด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้ปรับสภาพให้เข้ากับรายได้จากน้ำมันซึ่งมีราคาตกต่ำลงอย่างมากอันสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งตกต่ำลงในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้มีการหยุดยิงระหว่างอิรัก-อิหร่านในปี 1988 และในการก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศรัฐริมอ่าว 6 ประเทศ ในระหว่างปี 1990 - 1991 พระราชาธิบดี ฯ มีบทบาทสำคัญทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) โดยพระองค์ได้ช่วยเป็นจุดศูนย์กลางในการระดมความสนับสนุนความช่วยเหลือ และได้ใช้อิทธิพลของพระองค์ในฐานะผู้พิทักษ์มัสญิดต้องห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ชักชวนให้ประเทศอาหรับและอิสลามเข้าร่วมในกองกำลังผสม == การเมืองการปกครอง == ก่อนหน้าปี 2534 ซาอุดีอาระเบียใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศโดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังจากวิกฤตการณ์อิรัก-คูเวต ได้มีความเคลื่อนไหวจากประชาชนบางส่วนให้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย พระราชาธิบดีฯ จึงได้วางรูปแบบการปกครองอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 3 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2534 กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้งและเพิกถอนครม. และสภาที่ปรึกษา (Shura) สภาที่ปรึกษานี้ถือเป็นพัฒนาการใหม่ของซาอุดีอาระเบีย ทีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ก็เป็นเพียงในฐานะที่ปรึกษาเท่านั้น มิใช่สภานิติบัญญัติเช่นประเทศอื่น ๆ แม้ว่าในทางกฎหมายพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองประเทศ แต่ในทางปฏิบัติ พระราชาธิบดี ฯ จะใช้วิธีดำเนินนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน (consensus) จากกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศ อาทิ ประชาชน ฝ่ายศาสนา ทหาร ราชวงศ์ และนักธุรกิจ === สิทธิมนุษยชน === รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ซึ่งกำหนดให้ชาวมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมปฏิบัติตามกฎหมายชะรีอะห์ ล้วนอยู่ภายใต้การปกครองโดยเด็ดขาดของราชวงศ์ซะอูดซึ่งได้รับการวิจารร์จากองค์กรและรัฐบาลระหว่างประเทศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ลัทธิอำนาจนิยม ที่ครอบงำพลเมืองซาอุดีอาระเบียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่ "เลวร้ายที่สุด" ในการสำรวจประจำปีโดย องค์กรวิจัยและสนับสนุนประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล วิจารณ์ว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงและความยุติธรรมใช้วิธีทรมานผู้ต้องขัง เพื่อดึงคำสารภาพเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี ซาอุดีอาระเบียงดเว้นจากการลงคะแนนเสียงของสหประชาชาติที่รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยกล่าวว่าขัดต่อกฎหมายอิสลาม ตัวเลขการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการประหารชีวิตในปี 2016 2019 และ 2022 ถูกประณามจากกลุ่มสิทธิระหว่างประเทศ กฎหมายของซาอุดีอาระเบียไม่ให้การรับรองความหลากหลายทางเพศ หรือเสรีภาพทางศาสนา รวมถึงข้อห้ามในการปฏิบัติของพลเมืองที่มิใช่มุสลิม ระบบยุติธรรมของประเทศสนับสนุนการลงโทษประหารชีวิตเป็นประจำ รวมถึงการประหารชีวิตในที่สาธารณะด้วยการตัดศีรษะ โทษประหารชีวิตบังคับใช้ได้สำหรับความผิดที่หลากหลาย รวมถึงการฆาตกรรม, ข่มขืน, การโจรกรรมด้วยอาวุธ, การใช้ยาเสพติด, การละทิ้งความเชื่อทางศาสนา, การล่วงประเวณี, การใช้เวทมนตร์คาถาอย่างงมงาย และสามารถทำได้โดยการตัดศีรษะด้วยดาบ การขว้างปาหิน หรือการยิง ตามด้วยตรึงกางเขน ในเดือนเมษายน 2020 ศาลฎีกาซาอุดีอาระเบียได้ออกคำสั่งให้ยกเลิกการลงโทษการเฆี่ยนตีออกจากกฎหมายของซาอุดีอาระเบีย และให้แทนที่ด้วยโทษจำคุกหรือปรับ ประชากรสตรีในซาอุดีอาระเบียต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และอยู่ภายใต้ระบบการปกครองซึ่งถือว่าประชากรหญิงเปรียบเสมมือนผู้เยาว์ แม้จะมีประชากรหญิงกว่า 70% ได้สิทธิลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย ทว่าด้วยเหตุผลทางสังคม แรงงานสตรียังคิดเป็นกว่า 5% ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ การปฏิบัติต่อสตรีในประเทศได้รับการขนานนามว่าเป็น "การแบ่งแยกเพศ" อย่างชัดเจน ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศปลายทางที่มีชื่อเสียงสำหรับชายและหญิงที่ถูกค้ามนุษย์เพื่อการใช้แรงงานทาส และการแสวงประโยชน์ทางเพศในเชิงพาณิชย์ ชายและหญิงจากเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอื่น ๆ อีกมากมายสมัครใจเดินทางไปซาอุดีอาระเบียในฐานะคนรับใช้ในบ้านหรือแรงงานที่มีทักษะต่ำ ทว่ามีบางรายที่ถูกบังคับไปโดยไม่สมัครใจ === กองทัพ === กองกำลังทหารของซาอุดีอาระเบียประกอบด้วยกองกำลังย่อยสาขาต่าง ๆ ได้แก่ กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ, การป้องกันทางอากาศของราชวงศ์, กองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์, กองกำลังป้องกันดินแดนแห่งชาติ, กองทหารรักษาการณ์, กองกำลังรักษาชายแดน, กองกำลังฉุกเฉิน, กองกำลังรักษาความปลอดภัยพิเศษ และหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษ รวมจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำการทุกสาขาเกือบ 480,700 ราย นอกจากนี้ยังมีหน่วยสืบราชการลับ รับผิดชอบการในเรื่องการแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับราชการ ซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ทางการทหารกับปากีสถานมาอย่างยาวนาน มีการสันนิษฐานว่าซาอุดีอาระเบียได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการระเบิดปรมาณูของปากีสถานอย่างลับ ๆ และมีความพยายามซื้ออาวุธปรมาณูจากปากีสถานในอนาคตอันใกล้นี้ ซาอุดีอาระเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้จ่ายทางทหารสูงที่สุดในโลก โดยประมาณการใช้จ่ายกว่า 8% ของจีดีพีประเทศในการทหาร ตามการประมาณการของ SIPRI ในปี 2020 ซึ่งกำหนดให้ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่ใช้จ่ายด้านการทหารมากเป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐ และจีน และยังเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกระหว่างปี 2015 ถึง 2019 โดยเป็นผู้รับอาวุธกว่าครึ่งหนึ่งที่สหรัฐส่งออกมายังตะวันออกกลาง การใช้จ่ายด้านการป้องกันและความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 และมีมูลค่าประมาณ 78.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ปี 2019 จากข้อมูลของบีไอซีซี ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีกำลังทหารมากเป็นอันดับที่ 28 ของโลก และมีอุปกรณ์ทางทหารที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากอิสราเอล ซาอุดีอาระเบียยังพัฒนาคลังแสงเทคโนโลยีชั้นสูงที่ทันสมัย ทำให้เป็นประเทศติดอาวุธที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยอุปกรณ์ทางทหารของประเทศส่วนใหญ่ได้รับการส่งมอบจากสหรัฐ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร โดยสหรัฐทำการค้าอาวุธ และอุปกรณ์ทางการทหารด้วยมูลค่าสูงถึง 80 พันล้านดอลลาร์ระหว่าง ค.ศ. 1951 ถึง 2006 ให้แก่กองทัพซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2010 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ได้แจ้งเจตนารมย์ต่อสภาคองเกรสถึงความตั้งใจที่จะขายอาวุธที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ซึ่งจะเป็นมูลค่าการซื้อขายกว่า 60.5 พันล้านดอลลาร์ แผนการนี้แสดงถึงการพัฒนาความสามารถในการพัฒนากองทัพซาอุดีอาระเบียอย่างมาก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 บีเออี บริษัทชั้นนำด้านการป้องกันของอังกฤษได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 1.9 พันล้านปอนด์ (3 พันล้านดอลลาร์) เพื่อจัดหาเครื่อง บีเออี ฮ็อค ให้แก่ซาอุดีอาระเบีย ตามรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม ระหว่างปี 2010–2018 ซาอุดีอาระเบียกลายเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยได้รับอาวุธหลักมากกว่าใน ค.ศ. 2005–2009 ถึงสี่เท่า การนำเข้าที่สำคัญประกอบด้วยเครื่องบินรบ 45 ลำจากสหราชอาณาจักร เฮลิคอปเตอร์ต่อสู้ 38 ลำจากสหรัฐอเมริกา เครื่องบินบรรทุกน้ำมัน 4 ลำจากสเปน และยานเกราะมากกว่า 600 คันจากแคนาดา === ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ === ซาอุดีอาระเบียเข้าร่วมสหประชาชาติในปี 1945 และยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ องค์การความร่วมมืออิสลาม สันนิบาตอาหรับ องค์กรผู้ให้บริการการขนส่งทางอากาศแห่งอาหรับ และ โอเปก ซาอุดีอาระเบียสนับสนุนการก่อตั้งสหภาพศุลกากรอาหรับในปี 2015 และตลาดร่วมอาหรับตามที่ประกาศในการประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 2009 ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งโอเปก ราชอาณาจักรมีบาทบาทนำในการนโยบายการกำหนดราคาน้ำมันโดยทั่วไป ทำให้ตลาดน้ำมันโลกมีเสถียรภาพและพยายามลดการผันผวนของราคาเพื่อไม่ให้กระทบต่อเศรษฐกิจตะวันตก ใน ค.ศ. 1973 ซาอุดีอาระเบียและประเทศอาหรับอื่น ๆ ได้กำหนดห้ามขนส่งน้ำมันกับสหรัฐ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ที่สนับสนุนอิสราเอลในสงครามยมคิปปูร์ การคว่ำบาตรทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันที่มีผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวมากมายต่อการเมืองและเศรษฐกิจโลก ระหว่างกลางทศวรรษ 1970 ถึง 2002 ซาอุดีอาระเบียใช้เงินกว่า 70 พันล้านดอลลาร์ใน "ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในต่างประเทศ" ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ และตั้งแต่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา เข้ารับตำแหน่งในปี 2009 สหรัฐได้ค้าอาวุธให้กับซาอุดีอาระเบียคิดเป็นมูลค่ากว่า 110,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียดในช่วงปีสุดท้ายของการบริหารของโอบามา แม้ว่าโอบามาจะอนุญาตให้กองกำลังสหรัฐให้การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์และข่าวกรองแก่ซาอุดีอาระเบียในการแทรกแซงทางทหารในเยเมน ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ซาอุดีอาระเบียจ่ายเงิน 100 ล้านดอลลาร์ให้แก่บริษัทอเมริกันเพื่อล็อบบี้รัฐบาลสหรัฐ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ และกษัตริย์ซัลมานได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงสำหรับซาอุดีอาระเบียเพื่อซื้ออาวุธจากสหรัฐมูลค่า 110 พันล้านดอลลาร์ทันที และ 350 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปี ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 วุฒิสภาสหรัฐ ลงมติคัดค้านข้อเสนอให้หยุดการขายขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางขั้นสูงมูลค่า 650 ล้านดอลลาร์ไปยังซาอุดีอาระเบีย เพื่อไม่ให้มีการแทรกแซงทางทหารในเยเมน ความสัมพันธ์กับชาติตะวันออกกลางหลายชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิหร่านและอิรักเต็มไปด้วยความตึงเครียด จากการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ และบทบาทของซาอุดีอาระเบียในสงครามอ่าวปี 1991 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กองทหารสหรัฐประจำการบนซาอุดีอาระเบียตั้งแต่ปี 1991 กระตุ้นให้เกิดการตอบโต้ของอิสลามิสต์ และขยายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงสืบถึงปัจจุบัน จีนถือเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรที่สำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ชาวซาอุดีอาระเบียจำนวนมากได้แสดงมุมมองเชิงบวกต่อจีนเช่นกัน ใน ค.ศ. 2019 มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ออกมาปกป้องกลุ่มค่ายปรับทัศนคติซินเจียง โดยกล่าวว่า "จีนมีสิทธิ์ดำเนินการต่อต้านการก่อการร้ายและขจัดความรุนแรงเพื่อความมั่นคงของชาติ" ในเดือนกรกฎาคม 2019 เอกอัครราชทูตสหประชาชาติใน 37 ประเทศ รวมทั้งซาอุดีอาระเบีย ได้ลงนามในจดหมายร่วมถึงคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อปกป้องการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ของจีนและชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่น ๆ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เพื่อปกป้องราชวงศ์คาลิฟาแห่งบาห์เรน ซาอุดีอาระเบียได้ส่งกองทหารไปปราบปรามการประท้วงของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2011 รัฐบาลซาอุดีอาระเบียถือว่าการลุกฮือในระยะเวลา 2 เดือนเป็น "ภัยคุกคามด้านความปลอดภัย" ที่เกิดจากชาวชีอะห์ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรส่วนใหญ่ของบาห์เรน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2015 ซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มรัฐมุสลิมซุนนี ได้เริ่มการแทรกแซงทางทหารในเยเมนเพื่อต่อต้านกลุ่มชีอะห์ และกองกำลังที่จงรักภักดีต่ออดีตประธานาธิบดี อาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ซึ่งถูกปลดออกจากการลุกฮือของชาวอาหรับสปริง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 56,000 คนจากเหตุรุนแรงในเยเมนระหว่างเดือนมกราคม 2016 ถึงเดือนตุลาคม 2018 ซาอุดีอาระเบีย ร่วมกับกาตาร์และตุรกี สนับสนุนกองทัพแห่งชัยชนะอย่างเปิดเผย กลุ่มกองกำลังต่อต้านรัฐบาลที่ต่อสู้ในสงครามกลางเมืองซีเรีย ในเดือนมีนาคม 2015 สวีเดนยกเลิกข้อตกลงด้านอาวุธกับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นการยุติข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศที่มีมายาวนานกว่าทศวรรษกับราชอาณาจักร การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดนถูกซาอุดีอาระเบียขัดขวางขณะพูดเกี่ยวกับประชาธิปไตยและสิทธิสตรีที่สันนิบาตอาหรับในกรุงไคโร ซาอุดีอาระเบียถูกมองว่าเป็นอิทธิพลปานกลางในความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล ในช่วงต้นปี 2014 ความสัมพันธ์กับกาตาร์เริ่มตึงเครียดจากการสนับสนุนกลุ่มอิควานมุสลิมีน และความเชื่อของซาอุดีอาระเบียว่ากาตาร์กำลังแทรกแซงกิจการของตน ซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรได้วิพากษ์วิจารณ์ช่องทีวีอัลญะซีเราะฮ์ในกาตาร์ และความสัมพันธ์ของกาตาร์กับอิหร่าน ใน ค.ศ. 2017 ซาอุดีอาระเบียได้เริ่มต้นการปิดล้อมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศในกาตาร์ ใน ค.ศ. 2017 ซาอุดีอาระเบียวางแผนที่จะสกัดยูเรเนียมภายในประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อก้าวไปสู่ความพอเพียงในการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2017 รัฐบาลได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับจีนเพื่อสำรวจและประเมินยูเรเนียม เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2020 มีรายงานว่าซาอุดีอาระเบียได้สร้างโรงงานในทะเลทรายในภูมิภาคเมดินาสำหรับการสกัดยูเรเนียมด้วยความช่วยเหลือของประเทศจีน เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2020 เดอะการ์เดียนได้เผยแพร่รายงานพิเศษที่เปิดเผยว่าซาอุดีอาระเบียกำลังปูทางสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในประเทศ รายงานลับที่ได้รับจากสื่อระบุว่า ราชอาณาจักรได้รับความช่วยเหลือจากนักธรณีวิทยาจีนในการผลิตยูเรเนียมมากกว่า 90,000 ตันจากแหล่งสะสมหลักสามแห่งในใจกลาง และทางตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ใกล้กับบริเวณการพัฒนาเมืองใหม่ที่จะเป็นศูนย์กลางทางการค้าอย่างนีอุม == การแบ่งเขตการปกครอง == ซาอุดีอาระเบียแบ่งการปกครองเป็น 13 แคว้น ได้แก่ แคว้นชายแดนตอนเหนือ แคว้นญาซาน แคว้นตะบูก แคว้นตะวันออก แคว้นนัจญ์รอน แคว้นมักกะฮ์ แคว้นรียาด แคว้นอะซีร แคว้นอัลเกาะศีม แคว้นอัลเญาฟ์ แคว้นอัลบาฮะฮ์ แคว้นอัลมะดีนะฮ์ แคว้นฮาอิล == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 ซาอุดีอาระเบียมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางและเป็นอันดับที่ 18 ของโลก มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก ประมาณ 260 พันล้านบาร์เรล หรือประมาณหนึ่งในสี่ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก รายรับประมาณ 2 ใน 3 มาจากการส่งออกน้ำมัน เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียจึงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันโลก ในช่วงหลังสงครามอิรัก-คูเวต ภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียประกอบกับรายได้ที่ลดลงจากการตกต่ำของราคาน้ำมัน และรายจ่ายภาครัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้ออาวุธ ทำให้ซาอุดีอาระเบียเผชิญปัญหาขาดดุลงบประมาณติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง การลงทุนภาคเอกชนมีมากขึ้น ความพยายามในการกระจายรายรับโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันเริ่มประสบผลสำเร็จ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในต่อหัว (Per Capita Gross Domestic Product GDP Per Capita) ของซาอุดีอาระเบีย มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาเนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรมีมากกว่าอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมน้ำมันคิดเป็น 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของซาอุดีอาระเบีย เทียบกับ 40% ของภาคเอกชน ซาอุดีอาระเบียมีน้ำมันสำรองอย่างเป็นทางการประมาณ 260 พันล้านบาร์เรล (4.1×1010 m3) ซึ่งประกอบด้วยประมาณหนึ่งในห้าของปริมาณสำรองปิโตรเลียมทั้งหมดที่ถูกค้นพบแล้วของโลก โอเปก จำกัดการผลิตน้ำมันของสมาชิกโดยพิจารณาจาก "ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว" ปริมาณสำรองที่เผยแพร่ของซาอุดีอาระเบียมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 1980 คือเพิ่มขึ้นประมาณ 100 พันล้านบาร์เรล (1.6×1010 m3) ระหว่างปี 1987 ถึง 1988 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ถึง 2013 "บริการสาธารณูประโภคหลักหลายประการ" ได้รับการปฏิรูป เช่น ประปาเทศบาล ไฟฟ้า โทรคมนาคม และบางส่วนของการศึกษาและการดูแลสุขภาพ การควบคุมการจราจร และการรายงานอุบัติเหตุทางรถยนต์ ดัชนี TASI ของตลาดหลักทรัพย์ซาอุดีอาระเบียพุ่งขึ้นสูงสุดที่ 16,712.64 ในปี 2005 และปิดที่ 8,535.60 ณ สิ้นปี 2013 ในเดือนพฤศจิกายน 2005 ซาอุดีอาระเบียได้รับการอนุมัติให้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานการลงทุนทั่วไปของซาอุดีอาระเบียเพื่อส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบียมีรายชื่อภาคอุตสาหกรรมที่ห้ามการลงทุนจากต่างประเทศ แต่รัฐบาลมีแผนที่จะเปิดการลงทุนในบางส่วน เช่น โทรคมนาคม การประกันภัย และการส่ง/จำหน่ายไฟฟ้าในอนาคต นอกจากปิโตรเลียมและก๊าซแล้ว ซาอุดีอาระเบียยังมีภาคการทำเหมืองทองคำที่สำคัญ และอุตสาหกรรมแร่ที่สำคัญอื่น ๆ ภาคเกษตรกรรม (โดยเฉพาะในตะวันตกเฉียงใต้) เป็นที่ตั้งหลักของผลิตผลจากผัก ผลไม้ อินทผลัม ฯลฯ และปศุสัตว์และงานชั่วคราวจำนวนมากที่สร้างขึ้นโดยผู้แสวงบุญฮัจญ์ประจำปีประมาณสองล้านคน ซาอุดีอาระเบียกำลังเปิดใช้งานท่าเรือของตนมากขึ้นเพื่อมีส่วนร่วมในการค้าระหว่างยุโรปและจีนนอกเหนือจากการขนส่งน้ำมัน ด้วยเหตุนี้ ท่าเรือต่าง ๆ กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีการลงทุนด้านโลจิสติกส์ ประเทศนี้ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลที่วิ่งจากชายฝั่งจีนไปทางทิศใต้ผ่านปลายด้านใต้ของอินเดียไปยังมอมบาซา ผ่านทะเลแดงและคลองสุเอซไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปจนถึงภูมิภาคเอเดรียติกตอนบน สู่ศูนย์กลางเมือง ตรีเยสเต ทางตอนเหนือของอิตาลี พร้อมเส้นทางรถไฟไปยังยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และทะเลเหนือ ตัวเลขและสถิติด้านความยากจนในราชอาณาจักรไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลของสหประชาชาติ เนื่องจากรัฐบาลซาอุดีอาระเบียไม่ได้ออกเอกสารใด ๆ ในเรื่องนี้ ในเดือนธันวาคม 2011 กระทรวงมหาดไทยของซาอุดีอาระเบียได้จับกุมนักข่าวสามคน และกักขังเป็นเวลาเกือบสองสัปดาห์เพื่อสอบปากคำหลังจากที่พวกเขาอัปโหลดวิดีโอในหัวข้อดังกล่าวบนยูทูบ โดยเจ้าของวิดีโอได้ให้ข้อมูลว่าประชากรกว่า 22% ของประเทศอาจประสบความยากจน === เกษตรกรรม === การพัฒนาการเกษตรอย่างจริงจังเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1970 รัฐบาลได้เปิดตัวโครงการสำคัญเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อสร้างถนนในชนบท เครือข่ายชลประทาน โรงเก็บและส่งออก และส่งเสริมสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร เป็นผลให้มีการเติบโตอย่างมหัศจรรย์ในการผลิตอาหารพื้นฐานทั้งหมด ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียมีทรัพยากรอาหารหลายอย่างในประเทศอย่างพอเพียง รวมทั้งเนื้อสัตว์ นม และไข่ ประเทศเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลี อินทผลัม ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ปลา สัตว์ปีก ผลไม้ ผัก และดอกไม้ไปยังตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ ชาวนาซาอุดีอาระเบียยังปลูกธัญพืชอื่นๆ จำนวนมาก เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ในปี ค.ศ. 2016 รัฐบาลประกาศยุติการผลิตข้าวสาลีเพื่อรักษาทรัพยากรน้ำ ซาอุดีอาระเบียมีฟาร์มโคนมที่ทันสมัย และใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง อัตราการผลิตนมต่อปีอยู่ที่ 6,800 ลิตร (1,800 แกลลอนสหรัฐ) ซึ่งเป็นหนึ่งในปริมาณที่สูงที่สุดในโลก บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมในท้องถิ่น Almarai เป็นบริษัทนมครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง ความสำเร็จทางการเกษตรที่น่าทึ่งที่สุดของราชอาณาจักรซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการเป็นผู้นำเข้ามาเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีใน ค.ศ. 1978 ประเทศได้สร้างโรงเก็บเมล็ดพืชแห่งแรกขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน ซาอุดีอาระเบียเริ่มส่งออกข้าวสาลีไปยัง 30 ประเทศ รวมทั้งจีนและอดีตสหภาพโซเวียต และในพื้นที่การผลิตหลักอย่างตะบูก ลูกเห็บ และกอซิม ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 8.1 ตันต่อเฮกตาร์ (3.6 ตันสั้น/เอเคอร์) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เพิ่มการผลิตผักและผลไม้ด้วยการปรับปรุงทั้งเทคนิคทางการเกษตรและถนนที่เชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้บริโภคในเมือง ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้รายใหญ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน พืชผลส่วนใหญ่ได้แก่ แตงโม องุ่น ผลไม้รสเปรี้ยว หอมใหญ่ สควอช และมะเขือเทศ ปลูกในบริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ของประเทศ === การท่องเที่ยว === แม้ว่าการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในซาอุดีอาระเบียยังคงเกี่ยวข้องกับการแสวงบุญทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเติบโตในภาคการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน และนันทนาการ จากข้อมูลของธนาคารโลก มีผู้เดินทางมาซาอุดีอาระเบียประมาณ 14.3 ล้านคนในปี 2012 ทำให้เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากเป็นอันดับ 19 ของโลก การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญของวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบียปี 2030 และจากรายงานของ BMI Research ในปี 2018 พบว่าการท่องเที่ยวทั้งเชิงศาสนาและนันทนาการมีศักยภาพในการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 รัฐบาลเสนอการตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาและคอนเสิร์ต ในเดือนกันยายน 2019 รัฐบาลได้ประกาศแผนการที่จะเปิดการยื่นขอการตรวจลงตราสำหรับผู้มาเยือน ซึ่งผู้คนจากประมาณ 50 ประเทศจะสามารถขอกาตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวไปยังซาอุดีอาระเบียได้ == โครงสร้างพื้นฐาน == === การศึกษา === การศึกษาในทุกระดับไม่มีค่าใช้จ่าย แม้ว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะจำกัดเฉพาะพลเมืองเท่านั้น ระบบการศึกษาประกอบด้วยโรงเรียนประถม และมัธยมศึกษา ชั้นเรียนมีการแยกตามเพศชัดเจน ในระดับมัธยมศึกษา สามารถเลือกโรงเรียนได้ 3 แบบ คือ ศึกษาทั่วไป เทคนิค หรือ การศึกษาเพื่อศาสนา อัตราการรู้หนังสือของประเทศอยู่ที่ 99% ในเพศชายและ 96% ในเพศหญิงในปี 2020 สำหรับเยาวชน อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 99.5% สำหรับทั้งสองเพศ ตามแผนการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 1435–1438 ปฏิทินฮิจเราะห์ นักเรียนที่ลงทะเบียนในสาขา "วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ" จะต้องศึกษาวิชาศาสนาห้าวิชา ได้แก่ เตาฮีด ฟิกฮฺ ตัฟซีร หะดีษ และการศึกษาอิสลามและคัมภีร์กุรอาน อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2021 กระทรวงศึกษาธิการของซาอุดีอาระเบียได้ควบรวมวิชาทางศาสนาอิสลามหลายวิชาเข้าบรรุในตำราเล่มเดียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา นอกจากนี้ นักศึกษายังต้องลงทะเบียนในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ 6 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา และคอมพิวเตอร์ การศึกษาระดับอุดมศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจำนวนมากก่อตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 2000 สถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วยมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ มหาวิทยาลัยซาอูด ก่อตั้งขึ้นในปี 1957 มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งอัลมะดีนะฮ์ ก่อตั้งในปี 1961 และมหาวิทยาลัยคิงอับดุลอาซิซ ในญิดดะฮ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1967 มหาวิทยาลัยปรินเซสโนรา บินท อับดุลารามัน เป็นมหาวิทยาลัยสำหรับสตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งใน ค.ศ. 1970 อันดับทางวิชาการของมหาวิทยาลัยโลก จัดอันดับสถาบันซาอุดีอาระเบีย 4 แห่งรวมอยู่ในรายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำ 500 แห่งในปี 2021 การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS แสดงรายการมหาวิทยาลัยซาอุดีอาระเบีย 14 แห่งจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกปี 2022 และมหาวิทยาลัย 23 แห่งรวมอยู่ใน 100 อันดับแรกในโลกอาหรับ ใน ค.ศ. 2018 ซาอุดีอาระเบียอยู่ในอันดับที่ 28 ของโลกในด้านผลงานวิจัยคุณภาพสูงตามวารสาร Nature ทำให้เป็นประเทศตะวันออกกลาง ประเทศอาหรับ และประเทศมุสลิมที่มีผลงานดีที่สุด ซาอุดีอาระเบียใช้จ่าย 8.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพื่อการศึกษา เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 4.6% ซาอุดีอาระเบียอยู่ในอันดับที่ 66 ในดัชนีนวัตกรรมโลกในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 68 ในปี 2019 การท่องจำโดยท่องส่วนใหญ่ของอัลกุรอาน การตีความและความเข้าใจ (ตัฟซีร) และการนำประเพณีอิสลามมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหัวใจสำคัญของ ศาสนาที่สอนในลักษณะนี้ยังเป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนหลักสูตร อย่างไรก็ตาม ซีไอเอรายงานถึงผลที่ตามมาก็คือ เยาวชนซาอุดีอาระเบีย "โดยทั่วไปขาดการศึกษาและทักษะทางเทคนิคที่ภาคเอกชนต้องการ" ภาคศาสนาของหลักสูตรระดับชาติของซาอุดีอาระเบียได้รับการตรวจสอบในรายงานปี 2006 โดย Freedom House ซึ่งสรุปว่า "หลักสูตรศาสนาของโรงเรียนรัฐบาลของซาอุดีอาระเบียยังคงเผยแพร่อุดมการณ์แห่งความเกลียดชังต่อ "ผู้ไม่ศรัทธา" นั่นคือ คริสเตียน ยิว ชีอะต์ และศูฟี ,ชาวมุสลิมซุนนีย์ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักคำสอนของวะฮาบี, ชาวฮินดู, ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า และอื่น ๆ" === สาธารณสุข === การดูแลสุขภาพในซาอุดีอาระเบียเป็นระบบการดูแลสุขภาพระดับชาติผ่านหน่วยงานรัฐ ซาอุดีอาระเบียได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 26 ประเทศที่ดีที่สุดในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูง กระทรวงสาธารณสุขของซาอุดีอาระเบีย (MOH) เป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลที่ดูแลด้านการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพประชากร ต้นกำเนิดของกระทรวงสามารถสืบย้อนไปถึง ค.ศ. 1925 เมื่อมีการจัดตั้งหน่วยงานด้านสุขภาพในภูมิภาคหลายแห่ง โดยแห่งแรกในเมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย สถาบันสุขภาพต่าง ๆ ถูกควบรวมกันใน ค.ศ. 1950 อับดุลลาห์ บิน ไฟซาล อัล ซาอุด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนแรกดำรงตำแหน่งเป็นเวลาสามปี โดยมีบทบาทหลักในการจัดตั้งกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กระทรวงสาธารณสุขจัดการแข่งขันระหว่างแต่ละอำเภอ และระหว่างบริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลต่าง ๆ แนวคิดนี้ส่งผลให้มีการสร้างโครงการ "Ada'a" ซึ่งเปิดตัวในปี 2016 ระบบใหม่นี้เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพระดับประเทศสำหรับบริการและโรงพยาบาล หลังจากการนำตาราง KPI ใหม่ไปใช้ เวลาในการรอการรับบริการ และการวัดผลที่สำคัญอื่น ๆ ก็ดีขึ้นอย่างมากทั่วทั้งราชอาณาจักร กระทรวงได้พัฒนายุทธศาสตร์ใหม่ หรือที่เรียกว่ากลยุทธ์การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย หรือเรียกสั้นๆ ว่า DPAS การดูแลตนเองที่ไม่ดีในบรรดาประชากรบางกลุ่มในประเทศ ทำให้เกิดการเลือกวิถีชีวิตที่ไม่ดี ส่งผลให้กระทรวงแนะนำว่าควรขึ้นภาษีสำหรับอาหาร เครื่องดื่ม และบุหรี่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพในภูมิภาค ซาอุดีอาระเบียมีความคาดหมายคงชีพเฉลี่ยที่ 75 ปี (73.79 สำหรับเพศชาย และ 76.61 สำหรับเพศหญิง) อัตราการเสียชีวิตของทารกในปี 2019 เท่ากับ 5.7 ต่อ 1,000 ราย ในปี 2016 ประชากรผู้ใหญ่ 69.7% มีน้ำหนักเกิน และ 35.5% เป็นโรคอ้วน การสูบบุหรี่ในซาอุดีอาระเบียในทุกกลุ่มอายุเป็นที่แพร่หลาย ในปี 2009 เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของผู้สูบบุหรี่ต่ำสุดคือนักศึกษามหาวิทยาลัย (~13.5%) ในขณะที่ผู้สูงอายุมีอัตราสูงสุด (~25%) การศึกษายังพบว่าร้อยละของผู้สูบบุหรี่ชายนั้นสูงกว่าเพศหญิงมาก (~26.5% สำหรับผู้ชาย, ~9% สำหรับผู้หญิง) ก่อนปี 2010 ซาอุดีอาระเบียไม่มีนโยบายห้ามหรือจำกัดการสูบบุหรี่ == ประชากรศาสตร์ == ประชากรของซาอุดีอาระเบีย ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 คาดว่าจะอยู่ที่ 26.9 ล้านคน แม้ว่าประชากรซาอุดีอาระเบียได้รับการพิสูจน์แล้วว่ายากต่อการประมาณการอย่างแม่นยำมาเป็นเวลานานเนื่องจากแนวโน้มของผู้นำซาอุดีอาระเบียที่จะขยายผลการสำรวจสำมะโนประชากร ประชากรซาอุดีอาระเบียเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 1950 และหลายปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตของประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของพลเมืองซาอุดีอาระเบียประกอบไปด้วยชาวอาหรับคิดเป็น 90% และแอฟโฟร-อาหรับอีก 10% ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ชาวซาอุดีอาระเบียส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบยังชีพในจังหวัดชนบท แต่ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ดินแดนทั้งหมดได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปี 2012 ชาวซาอุดีอาระเบียประมาณ 80% อาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะรียาด ญิดดะห์ หรือ อัดดัมมาม == วัฒนธรรม == ซาอุดีอาระเบียมีทัศนคติและขนบธรรมเนียมเก่าแก่หลายศตวรรษ ซึ่งมักมาจากอารยธรรมอาหรับ ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของซาอุดีอาระเบียคือมรดกอิสลามและประเพณีของชาวเบดูอินตลอดจนบทบาททางประวัติศาสตร์ในฐานะศูนย์กลางการค้าโบราณ === อาหาร === อาหารซาอุดีอาระเบีย คล้ายกับประเทศโดยรอบในคาบสมุทรอาหรับและโลกอาหรับในวงกว้าง และได้รับอิทธิพลจากอาหารตุรกี อินเดีย เปอร์เซีย และแอฟริกา เนื้อหมูเป็นสิ่งต้องห้ามโดยชาวมุสลิม การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ต้องได้รับการเชือดอย่างถูกต้องภายใต้ข้อกำหนดของ ฮาลาล กะบาบ และ ฟาลาฟล เป็นที่นิยมเช่นเดียวกับชาวัรมา (เนื้อแกะย่างเนื้อแกะหรือไก่หมัก) เช่นเดียวกับในประเทศอาหรับอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ มัคบู (กับซะฮ์) ข้าวพร้อมเนื้อแกะ ไก่ ปลา หรือกุ้ง เป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติ เช่นเดียวกับมานดิ ขนมปังทาบูนเป็นอาหารหลักในแทบทุกมื้อ เช่นเดียวกับอินทผลัม ผลไม้สด โยเกิร์ต และครีม กาแฟอาหรับเป็นเครื่องดื่มแบบดั้งเดิมในอาหารอาหรับ หลักฐานยืนยันที่เก่าแก่ที่สุดของการดื่มกาแฟหรือความรู้เกี่ยวกับต้นกาแฟมีประวัติสืบไปถึงศตวรรษที่ 15 โดยลัทธิศูฟี === การแต่งกาย === เนื่องจากซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวซาอุดีอาระเบียแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า โต๊ป (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า อาบายะห์ (Abaya) === กีฬา === ฟุตบอลเป็นกีฬาประจำชาติของชาวซาอุดีอาระเบีย ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบีย เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนคัพ 3 สมัย (ค.ศ. 1984, 1988 และ 1996) และเป็นหนึ่งในสองทีมที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้มากที่สุด 6 ครั้ง ซาอุดีอาระเบียเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 6 ครั้ง และยังเป็นชาติแรกในเอเชียที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าในนามทีมชาติชุดใหญ่ การดำน้ำสกูบา วินด์เซิร์ฟ เรือใบ และบาสเกตบอล (ซึ่งเล่นโดยทั้งชายและหญิง) ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน ทีมบาสเกตบอลแห่งชาติซาอุดีอาระเบียที่คว้าเหรียญทองแดงในการแข่งขันชิงแชมป์เอเชียปี 1999 กีฬาแบบดั้งเดิมเช่น การแข่งม้าและอูฐก็เป็นที่นิยมเช่นกัน สนามกีฬาในริยาดจัดการแข่งขันในฤดูหนาวประจำปีซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1974 เป็นหนึ่งในการแข่งขันที่สำคัญที่สุดของกีฬาและดึงดูดสัตว์และผู้ขับขี่จากทั่วทั้งภูมิภาค การล่าสัตว์ป่าในสภาพธรรมชาติและที่อยู่อาศัยโดยใช้นกล่าเหยื่อที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ได้รับความนิยม กีฬาของสตรีเป็นที่ถกเถียงกันเนื่องจากการปราบปรามการมีส่วนร่วมของสตรีโดยเจ้าหน้าที่กลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดนี้ผ่อนคลายลงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนถึงปี 2018 สตรีไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชมกีฬาในสนาม ที่นั่งแบบแยกส่วนซึ่งอนุญาตให้ประชากรสตรีเข้าได้ ได้รับการพัฒนาในสนามกีฬาสามแห่งทั่วเมืองใหญ่ในประเทศ === สื่อมวลชน === โทรทัศน์ได้รับการเผยแพร่เข้าสู่ซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ. 1954 ซาอุดีอาระเบียเป็นตลาดหลักสำหรับดาวเทียมและเพย์ทีวีในภูมิภาค โดยครอบครองส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดของตลาดกระจายเสียงในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ บริษัทกระจายเสียงรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย ได้แก่ เอ็ม บี ซี กรุ๊ป, โรตานา กรุ๊ป และ Saudi Broadcasting Authority รัฐบาลซาอุดีอาระเบียติดตามสื่ออย่างใกล้ชิด และจำกัดสื่อดังกล่าวภายใต้กฎหมายของรัฐที่เป็นทางการ มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดข้อจำกัดเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ความพยายามบางอย่างที่นำโดยรัฐบาลในการควบคุมข้อมูลได้ดึงดูดความสนใจจากนานาชาติด้วยเช่นกัน ใน ค.ศ. 2022 ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนประเมินสถานการณ์สื่อมวลชนของราชอาณาจักรว่า "ตึงเครียดมาก" หนังสือพิมพ์ยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียกำเนิดขึ้นในซาอุดีอาระเบีย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศและในบริเวณอ่าวเปอร์เซียคือ อัล ฟะลาฮ์ ซึ่งเปิดตัวในปี 1920 หนังสือพิมพ์ทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในซาอุดีอาระเบียดำเนินงานโดยเอกชน ประชากรของซาอุดีอาระเบียได้รับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในปี 1994 จากข้อมูลของธนาคารโลก ณ ปี 2020 ประชากร 98% ของซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ 8 ของประเทศที่มีเปอร์เซ็นต์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด ซาอุดีอาระเบียมีความเร็วอินเทอร์เน็ต 5G ที่เร็วที่สุดชาติหนึ่งในโลก และยังเป็นตลาดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 27 ด้วยรายได้ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2021 โดยนำหน้าเบลเยียมและหลังนอร์เวย์ == หมายเหตุ == == อ้างอิง == ประเทศซาอุดีอาระเบีย จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ == บรรณานุกรม == Available at: https://www.researchgate.net/publication/290349218_The_political_algebra_of_global_value_change_General_models_and_implications_for_the_Muslim_world , especially Chapter 8: Saudi Arabia—Religion, Gender, and the Desire for Democracy. In: The Future of the Gulf Region. Gulf Studies, vol 2. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-78299-3_8 == แหล่งข้อมูลอื่น == ซาอุดีอาระเบีย เว็บไซต์รัฐบาลอย่างเป็นทางการ Saudi Arabia. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Mister Saad will provide his app development service in Saudi Arabia Saudi Arabia profile from the BBC News Key Development Forecasts for Saudi Arabia from International Futures ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย ประเทศที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางการ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2475
thaiwikipedia
593
ภาษาอูรดู
ภาษาอูรดู (اردو) (รู้จักกันในชื่อภาษาว่า Lashkari لشکری) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และสันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ. 1200-1800) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ 20 ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ 23 ภาษา ของประเทศอินเดีย == ไวยากรณ์ == ไวยากรณ์ของภาษาอูรดูใกล้เคียงกับภาษาฮินดีมาก คำนามแบ่งเป็นปุลลึงค์ (ชาย) และสตรีลึงค์ (หญิง) มีการกำหนดเพศให้กับคำนามที่เป็นคำยืมจากภาษาอื่นเช่นภาษาอังกฤษด้วย คำนามแบ่งเป็นนามเอกพจน์และพหูพจน์ == ระดับความสุภาพ == ภาษาอูรดูมีการแบ่งระดับความสุภาพ คำหลายคำมีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน คำที่มาจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมักได้รับการยอมรับว่าเป็นทางการ ตัวอย่างเช่นคำว่า "คุณ" ในภาษาอูรดูมี 3 คำ คือ "ตู" (ไม่เป็นทางการมาก) "ตุม" (ไม่เป็นทางการ) และ "อาป" (แสดงการยกย่อง) คำว่า "มา" มี 3 คำเช่นเดียวกันคือ "ไอเย" หรือ "อาเอ็น" (ทางการ แสดงความยกย่อง) "เอา" (ไม่เป็นทางการ) และ "อา" (ไม่เป็นทางการอย่างมาก) == คำศัพท์ == ส่วนใหญ่มีที่มาจากอินเดียและตะวันออกกลาง ทั้งที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษาภาษาเคิร์ดภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ คำที่มาจากภาษาอาหรับจะมีความหมายต่างไปจากเดิมบ้างเล็กน้อยและการใช้ต่างจากในภาษาเดิม == ระบบการเขียน == ภาษาอูรดูเขียนด้วยอักษรอาหรับ-เปอร์เซีย เขียนจากขวาไปซ้าย การเขียนต่างจากภาษาอาหรับที่ว่า ภาษาอูรดูเขียนแบบ Nasta'liq ซึ่งจัดตัวพิมพ์ยาก ส่วนภาษาอาหรับเขียนแบบ Naskh หนังสือพิมพ์ภาษาอูรดูจึงพิมพ์จากแท่นพิมพ์ที่ทำมาจากลายมือเขียน จนถึงราว พ.ศ. 2523 หนังสือพิมพ์ เดลลี่ จัง จึงเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอูรดูฉบับแรกที่พิมพ์ในแบบ Nasta'liq ด้วยคอมพิวเตอร์ หนังสือที่เขียนด้วยภาษาอูรดูในปัจจุบัน ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมภาษาอูรดูต่าง ๆ กันไป ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงอักษรสำหรับภาษาอูรดู {|class="wikitable" |- ! อักษร !! ชื่ออักษร!! การออกเสียงแสดงด้วยสัทอักษร |- | ا || alif || หลังพยัญชนะ; ไม่ออกเสียงเมื่อเป็นตัวแรก |- | ب || be || บ |- | پ || pe || ป |- | ت || te || ต วางลิ้นหว่างไรฟัน |- | ٹ || || ต ลิ้นแตะเพดาลบน |- | ث || se || ซ |- | ج || jīm || จ ก้อง คล้าย j ในภาษาอังกฤษ |- | چ || cīm/ce || จ |- | ح|| || ฮ |- | خ || khe || ค กดเพดาลลงกั้นลม คล้าย h ใน pinyin จีน |- | د || dāl || ด วางลิ้นหว่างไรฟัน |- | ڈ|| || ด ลิ้นแตะเพดาลบน |- | ذ || zāl || ซ ก้อง คล้าย z ในภาษาอังกฤษ |- | ر || re || ร |- | ڑ || || ร ลิ้นแตะเพดาลบน |- | ز || ze || ซ ก้อง คล้าย z ในภาษาอังกฤษ |- | ژ || zhe || ช ลิ้นแตะหลังเหงือก ก้อง คล้าย j ในภาษาฝรั่งเศส |- | س || sīn || ซ |- | ش|| shīn || ช ลิ้นแตะหลังเหงือก คล้าย sh ในภาษาอังกฤษ |- | ص || su'ād || ซ |- | ض|| zu'ād || ซ ก้อง คล้าย z ในภาษาอังกฤษ |- | ط|| to'e || ต |- | ظ || zo'e || ซ ก้อง คล้าย z ในภาษาอังกฤษ |- | ع || ‘ain || หลังพยัญชนะ; ที่อื่นเป็น , , หรือไม่ออกเสียง |- | غ || ghain || ค กดเพดาลลงกั้นลม ก้อง คล้าย g ในภาษาเวียดนาม |- | ف || fe || ฟ |- | ق || qāf || ก ลิ้นไก่ |- | ک|| kāf || ก |- | گ || gāf || ก ก้อง คล้าย g ในภาษาอังกฤษ |- | ل || lām || ล |- | م || mīm || ม |- | ن || nūn || น หรือ สระนาสิก อํ |- | و || vā'o || ว~อู~โอ~ออ |- | ہ, ﮩ, ﮨ || || ที่ท้ายคำ, ที่อื่นเป็น หรือไม่ออกเสียง |- |ھ || do cashmī he || [ʰ~ʱ] สัญลักษณ์ ออกเสียงพ่นลม เช่น ก>ค จ>ช ต>ท ป>พ เป็นต้น |- | ی || || ย~อี~เอ~แอ |- | ے || || เอ |- | ء|| hamzah || หรือไม่ออกเสียง |} ในปัจจุบันมีการเขียนภาษาอูรดูด้วยอักษรโรมัน และเป็นที่นิยมในหมู่เยาวชนโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต มีเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอูรดูเขียนด้วยอักษรโรมัน คนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่พูดภาษาอูรดู แต่อ่านภาษาอูรดูที่เขียนด้วยอักษรอาหรับไม่ได้ == ตัวอย่าง == ==การอ้างอิง== อูรดู
thaiwikipedia
594
ประเทศกาตาร์
กาตาร์ (قطر‎ ; สำเนียงพื้นเมือง: ) หรือชื่อทางการคือ รัฐกาตาร์ (دولة قطر) เป็นประเทศที่ปกครองโดยเจ้าผู้ครองรัฐในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรขนาดเล็กที่แตกมาจากคาบสมุทรอาหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และมีชายฝั่งริมอ่าวเปอร์เซีย ใน ค.ศ. 2017 ประชากรทั้งหมดของกาตาร์อยู่ที่ประมาณ 2.6 ล้านคน โดยเป็นพลเมืองกาตาร์เพียง 313,000 คน และเป็นชาวต่างชาติ มากถึง 2.3 ล้านคน ศาสนาประจำชาติของกาตาร์คือศาสนาอิสลาม กาตาร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยในแง่ของรายได้ กาตาร์มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อหัวสูงที่สุดเป็นอันดับสามของโลก และมีรายได้ประชาชาติ (GNI) ต่อหัวสูงที่สุดเป็นอันดับหก องค์การสหประชาชาติจัดอันดับให้กาตาร์เป็นประเทศที่มีอัตราการพัฒนาคุณภาพประชากรในระดับสูง โดยมี ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) สูงเป็นอันดับสามในบรรดากลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบีย กาตาร์เป็นประเทศเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงและเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก โดยมีแหล่งสำรองแก๊สธรรมชาติและปริมาณน้ำมันสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และยังเป็นประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดชาติหนึ่งในโลก กาตาร์ถูกปกครองโดยราชวงศ์อัษษานีนับตั้งแต่มุฮัมมัด บิน อัษษานี ลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษใน ค.ศ. 1868 ภายหลังการปกครองของตุรกีโดยจักรวรรดิออตโตมัน กาตาร์อยู่ภายใต้ความคุ้มครองอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1971 ประมุขของกาตาร์เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากการปกครองระบอบเผด็จการ (ปัจจุบันคือตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี) และมีอำนาจบริหารและนิติบัญญัติทั้งหมด รวมทั้งควบคุมระบบตุลาการ เขายังทำการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีด้วยตนเอง การเลือกตั้งและสิทธิทางการเมืองรวมถึงเสรีภาพของสื่อภายในประเทศยังถูกจำกัดสิทธิ์ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 กาตาร์กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญในโลกอาหรับในด้านทรัพยากรและความมั่งคั่ง เช่นเดียวกับการมีอิทธิพลทางสื่อที่ขยายตัวไปทั่วโลก โดยเครือข่ายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคืออัลญะซีเราะฮ์หรือแอลจาซีรา ซึ่งมีรายงานว่าให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มกบฏหลายกลุ่ม กาตาร์ถูกมองว่าเป็นชาติมหาอำนาจระดับกลาง กาตาร์จะได้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกสองรายการในอนาคตได้แก่ ฟุตบอลโลก 2022 โดยพวกเขาจะถือเป็นประเทศมุสลิมและประเทศตะวันออกกลางชาติแรกที่ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก และการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2030 จะจัดขึ้นที่กาตาร์เช่นกัน == ประวัติศาสตร์ == กาตาร์เคยอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลโดยได้ทำสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) กับกาตาร์มีผลทำให้กาตาร์อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอังกฤษ โดยอังกฤษดูแลกิจการระหว่างประเทศของกาตาร์และต้องป้องกันกาตาร์จากการถูกรุกรานจากภายนอก และต่อมาสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ได้ขยายการคุ้มครองของอังกฤษออกไปทุก ๆ ด้าน ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) รัฐบาลอังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาค อ่าวเปอร์เซียภายในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กาตาร์จึงพยายามรวมตัวเป็นสหพันธรัฐกับบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ กาตาร์เป็นเอกราชเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยอังกฤษได้ยกเลิกสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) และได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างกันแทน ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) Shaikh Khalifa Bin Hamad Al – Thani ได้ทำรัฐประหารสำเร็จโดยปราศจากการนองเลือด และต่อมา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) Shaikh Hamad Bin Khalifa Al – Thani พระโอรส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารของกาตาร์ ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองและตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐองค์ใหม่ == การเมือง == ระบบการเมืองของกาตาร์เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีประมุขของกาตาร์เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ภายใต้การลงประชามติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2003 กลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 Emir Hamad bin Khalifa Al Thani ประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งกาตาร์เป็นครั้งแรก โดยมีแผนจะเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2013 แต่ภายหลังเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด == การแบ่งเขตการปกครอง == นับตั้งแต่ ค.ศ. 2014 กาตาร์ถูกแบ่งออกเป็น 8 เทศบาล (บะละดียะฮ์) อัชชะมาล อัลเคาร์ อัชชะฮานียะฮ์ อุมม์เศาะลาล อัฎเฎาะอายิน โดฮา อัรร็อยยาน อัลวักเราะฮ์ ในด้านสถิติ เทศบาลแบ่งออกเป็น 98 เขต (ใน ค.ศ. 2015) ซึ่งแบ่งออกเป็นแขวงและบล็อก ===อดีตเทศบาล=== อัลญุมัยลียะฮ์ (จนถึง ค.ศ. 2004) อัลฆุวัยรียะฮ์ (จนถึง ค.ศ. 2004) ญะเราะยานุลบาฏินะฮ์ (จนถึง ค.ศ. 2004) มิซัยอีด (จนถึง ค.ศ. 2006) == ภูมิศาสตร์ == กาตาร์มีภูมิประเทศแบบแหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเปอร์เซีย เรียกกันว่า ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยทะเล ด้านทิศใต้ ติดประเทศซาอุดีอาระเบีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 24 °และ 27 ° N, และลองจิจูด 50 °และ 52 °E จุดที่สูงที่สุดในกาตาร์เป็น Qurayn Abu al Bawl สูง 103 เมตร (338 ฟุต) ใน Jebel Dukhan ทางทิศตะวันตก === ภูมิอากาศ === {|style="width:100%;text-align:center;line-height:1.2em;margin-left:auto;margin-right:auto" class="wikitable" |- !Colspan=14|ข้อมูลภูมิอากาศทะเลในโดฮา |- !เดือน !มกราคม !กุมภาพันธ์ !มีนาคม !เมษายน !พฤษภาคม !มิถุนายน !กรกฎาคม !สิงหาคม !กันยายน !ตุลาคม !พฤศจิกายน !ธันวาคม !style="border-left-width:medium"|ทั้งปี |- !อุณหภูมิทะเลโดยเฉลี่ย °C (°F) | 21.0(69.8) | 19.4(66.9) | 20.9(69.6) | 23.3(73.9) | 27.8(82) | 30.5(86.9) | 32.4(90.3) | 33.6(92.5) | 32.8(91) | 30.8(87.4) | 27.5(81.5) | 23.5(74.3) | 26.9(80.5) |- !Colspan=14 style="background:#ffffff;font-weight:normal;font-size:100%;"|ข้อมูล: |} == เศรษฐกิจ == อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 3.64 ริยัล หรือประมาณ 9 บาท GDP ประมาณ 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2004) รายได้ต่อหัว 30,410 ดอลลาร์สหรัฐ (2003) สูงสุดในกลุ่มประเทศอาหรับ ผลิตน้ำมันได้วันละ 928,055 บาร์เรลต่อวัน (2003) ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 15.2 พันล้านบาร์เรล (2003) ปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรอง 509 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต (2003) ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และทรัพยากรประมง สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ปุ๋ย เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี สินค้าเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารและเสื้อผ้า ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ === การคมนาคม === การคมนาคมหลักในกาตาร์คือถนน เนื่องจากราคาที่ถูกมากจากปิโตรเลียม ประเทศที่มีระบบถนนที่ทันสมัยด้วยการอัพเกรดมากมายเป็นผลในการตอบสนองต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประเทศ กับทางหลวงหลายกระบวนการอัพเกรดและทางด่วนใหม่ที่กำลังทำการก่อสร้าง เครือข่ายรถบัสขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อโดฮากับเมืองอื่น ๆ ในประเทศ และยังเป็นการคมนาคมหลักในกาตาร์อีกด้วย ขณะนี้ยังไม่มีเครือข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ลงสัญญารับจ้างสร้างทางรถไฟกับประเทศเยอรมนีแล้ว ท่าอากศยานหลักของกาตาร์คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา มีผู้โดยสารเกือบ 15,000,000 คน ใน ค.ศ. 2007 === สิ่งก่อสร้าง === มีสิ่งก่อสร้างมากมายในกรุงโดฮา สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในในโดฮา คือ แอสไพร์ทาวเวอร์ สูง 300 เมตร == วัฒนธรรม == วัฒนธรรมกาตาร์มีความคล้ายกับประเทศอื่น ๆ ในอาระเบียตะวันออก วันชาติกาตาร์ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอัตลักษณ์ของชาติ โดยเป็นการรำลึกการครองราชย์ของกอซิม บิน มุฮัมมัด อัษษานีและการรวมชนเผ่าต่าง ๆ ให้เป็นหนึ่ง == ประชากร == ปัจจุบัน กาตาร์มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน เชื้อชาติต่าง ๆ ในประเทศกาตาร์มีดังนี้: กาตาร์ 20%, อาหรับ 20%, อินเดีย 20%, ฟิลิปปินส์ 10%, เนปาล 13%, ปากีสถาน 7%, ศรีลังกา 5% และอื่น ๆ 5% === ศาสนา === ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักของกาตาร์และมีสถานะเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่ใช่ศาสนาเดียวที่มีผู้ปฏิบัติในประเทศ พลเมืองกาตาร์ส่วนใหญ่ร่วมในขบวนการมุสลิมซาลาฟีของลัทธิวะฮาบีย์ และระหว่าง 5–15% ของชาวมุสลิมในกาตาร์นับถือนิกายชีอะห์ สำหรับมุสลิมนิกายอื่น ๆ มีจำนวนน้อยมาก ในปี 2553 ประชากรของกาตาร์เป็นมุสลิม 67.7%, คริสเตียน 13.8%, ฮินดู 13.8% และพุทธ 3.1% ที่เหลือเป็นผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ และคนที่ไม่ระบุศาสนา คิดเป็น 1.6% กฎหมายชารีอะห์เป็นแหล่งที่มาหลักของการออกกฎหมายกาตาร์ตามรัฐธรรมนูญของกาตาร์ วิสัยทัศน์ของกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการศาสนาอิสลาม (กาตาร์) คือ "การสร้างสังคมอิสลามร่วมสมัยควบคู่ไปกับการส่งเสริมชารีอะห์ และมรดกทางวัฒนธรรม" == อ้างอิง == ==อ่านเพิ่ม== Bianco, C. (2020a). The GCC monarchies: Perceptions of the Iranian threat amid shifting geopolitics. The International Spectator, 55(2), 92–107. Bianco, C. (2020b). A Gulf apart: How Europe can gain influence with the Gulf Cooperation Council. European Council on Foreign Relations, February 2020. Available at https://ecfr.eu/archive/page/-/a_gulf_apart_how_europe_can_gain_influence_with_gulf_cooperation_council.pdf. Bianco, C. (2021). Can Europe Choreograph a Saudi-Iranian Détente? European University Institute, Robert Schuman Center for Advanced Studies, Middle East Directions. Available at: https://cadmus.eui.eu/bitstream/handle/1814/70351/PB_2021_10-MED.pdf?sequence=1. Bianco, C., & Stansfield, G. (2018). The intra-GCC crises: Mapping GCC fragmentation after 2011. International Affairs, 94(3), 613–635. Miniaoui, Héla, ed. Economic Development in the Gulf Cooperation Council Countries: From Rentier States to Diversified Economies. Vol. 1. Springer Nature, 2020. Guzansky, Y., & Even, S. (2020). The economic crisis in the Gulf States: A challenge to the “contract” between rulers and ruled. INSS Insight No. 1327, June 1, 2020. Available at https://www.INSS.org.il/publication/gulf-states-economy/?offset=7&posts=201&outher=Yoel%20Guzansky. Guzansky, Y., & Marshall, Z. A. (2020). The Abraham accords: Immediate significance and long-term implications. Israel Journal of Foreign Affairs, 1–11. Guzansky, Y., & Segal, E. (2020). All in the family: Leadership changes in the Gulf. INSS Insight No. 1378, August 30, 2020. Available at: https://www.INSS.org.il/publication/gulf-royal-families/?offset=1&posts=201&outher=Yoel%20Guzansky Guzansky, Y., & Winter, O. (2020). Apolitical Normalization: A New Approach to Jews in Arab States. INSS Insight No. 1332, June 8, 2020. Available at: https://www.INSS.org.il/publication/judaism-in-the-arab-world/?offset=5&posts=201&outher=Yoel%20Guzansky. Available at: https://www.researchgate.net/publication/290349218_The_political_algebra_of_global_value_change_General_models_and_implications_for_the_Muslim_world Woertz, Eckart. "Wither the self-sufficiency illusion? Food security in Arab Gulf States and the impact of COVID-19." Food Security 12.4 (2020): 757-760. Zweiri, Mahjoob, Md Mizanur Rahman, and Arwa Kamal, eds. The 2017 Gulf Crisis: An Interdisciplinary Approach. Vol. 3. Springer Nature, 2020. == แหล่งข้อมูลอื่น == Amiri Diwan (เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของรัฐบาล) Qatar. The World Factbook. Central Intelligence Agency. Qatar จาก BBC News. Key Development Forecasts for Qatar จาก International Futures. Legal Portal โดยกระทรวงยุติธรรม, รวมถึงราชกิจจานุเบกษา ประเทศกาตาร์ จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ กาตาร์ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514
thaiwikipedia
595
สัญกรณ์โอใหญ่
ในวิชาทฤษฎีความซับซ้อนและคณิตศาสตร์ สัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) เป็นสัญกรณ์คณิตศาสตร์ที่ใช้บรรยายพฤติกรรมเชิงเส้นกำกับของฟังก์ชัน โดยระบุเป็นขนาด (magnitude) ของฟังก์ชันในพจน์ของฟังก์ชันอื่นที่โดยทั่วไปซับซ้อนน้อยกว่า สัญกรณ์โอใหญ่เป็นหนึ่งในสัญกรณ์เชิงเส้นกำกับ หรืออาจเรียกว่า สัญกรณ์ของลันเดา หรือ สัญกรณ์ของบัคแมนน์-ลันเดา (ตั้งชื่อตามเอ็ดมุนด์ ลานเดาและเพาล์ บาคมันน์) สัญกรณ์โอใหญ่ใช้ในการเขียนเพื่อประมาณพจน์ในคณิตศาสตร์ ประยุกต์ใช้ในวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อธิบายความเร็วประมาณในการทำงานของโปรแกรมในกรณีต้องประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก และใช้เพื่ออธิบายประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีหรือโครงสร้างข้อมูลนั้น ๆ สัญกรณ์โอใหญ่ระบุลักษณะของฟังก์ชันตามอัตราการเติบโต ถึงแม้ฟังก์ชันจะต่างกัน แต่ถ้ามีอัตราการเติบโตเท่ากันก็จะมีสัญกรณ์โอใหญ่เท่ากัน สำหรับสัญกรณ์โอใหญ่แล้ว จะพิจารณาเฉพาะขอบเขตบนของอัตราการเติบโตของฟังก์ชัน อาทิฟังก์ชัน n^2+n และ n+4 ล้วนมีอัตราการเติบโตน้อยกว่าหรือเท่ากับ n^2 นั่นคืออัตราการเติบโตของฟังก์ชัน n^2 เป็นขอบเขตบนของ n^2+n และ n+4 จึงอาจกล่าวได้ว่า n^2+n และ n+4 เป็นสมาชิกของเซตของฟังก์ชัน O (n^2) ในขณะที่สัญกรณ์เชิงเส้นกำกับอื่น พิจารณาขอบเขตอื่น ๆ เช่นสัญกรณ์โอเมกาใหญ่พิจารณาขอบเขตล่างของอัตราการเติบโตของฟังก์ชันแทน == ประวัติ == แนวคิดของสัญกรณ์โอใหญ่ถูกคิดโดยนักทฤษฎีจำนวนที่ชื่อเพาล์ บาคมันน์ (Paul Bachmann) จากงานตีพิมพ์ของเขาที่ชื่อว่า Analytische Zahlentheorie (ทฤษฎีจำนวนวิเคราะห์) ในปี 1894 โดยครั้งนั้นยังไม่ได้ใช้ตัวสัญกรณ์โอใหญ่ สำหรับตัวสัญกรณ์โอใหญ่เองได้รับการใช้อย่างแพร่หลายโดยนักทฤษฎีจำนวนชาวเยอรมัน ที่มีชื่อว่า เอ็ดมุนด์ ลานเดา (Edmund Landau) ชื่อของเขาบางครั้งได้รับการยกย่องให้เป็นชื่อของสัญกรณ์โอใหญ่ว่าเป็น สัญกรณ์ของลานเดา (Landau notation) หรือ สัญกรณ์แบชมาน-ลานเดา (Bachmann-Landau notation) สำหรับตัวสัญกรณ์ที่เขียนเป็นรูปโอใหญ่นั้นได้แนวคิดมาจากคำว่า "order of" ซึ่งเดิมทีนั้นเขียนโดยใช้เป็นโอไมครอนใหญ่ == นิยาม == อัตราการเติบโตของฟังก์ชันใดๆ มีค่าเป็นสัญกรณ์โอใหญ่ของอีกฟังก์ชันหนึ่งแล้ว แสดงว่าอัตราการเติบโตของฟังก์ชันใดๆนั้นจะโตน้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราการเติบโตของฟังก์ชันดังกล่าว ดังนั้นจึงอาจนิยามได้ว่า ให้ f (n) และ g (n) เป็นฟังก์ชันบนจำนวนจริงใด ๆ แล้ว จะกล่าวว่า :f (n) \in O (g (n)) เมื่อ n\to\infty ก็ต่อเมื่อมีจำนวนจริง c และ n_0 ค่าหนึ่งที่ทำให้ |f (n)|\le c|g (n)| ทุกๆ n \ge n_0 อย่างไรก็ตาม นิยามนี้จำกัดเฉพาะกรณี n\to\infty เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการอธิบายในกรณีที่ n\to a ดังนั้นจึงอาจใช้นิยามในอีกรูปแบบ ในการขยายไปถึงสัญกรณ์โอใหญ่กณิกนันต์ ซึ่งเป็นพิจารณาอัตราการเติบโตของฟังกชันรอบ ๆ จุด a ใด ๆ ให้ f (x) และ g (x) เป็นฟังก์ชันใด ๆ จะกล่าวว่า :f (x) \in O (g (x)) ขณะ x เข้าใกล้ a ก็ต่อเมื่อ \lim_{x\to a} \left|\frac{f (x) }{g (x) }\right| \in [0,\infty) === การขยายนิยามไปหลายตัวแปร === นิยามทั้งสองรูปแบบสามารถขยายไปหลายตัวแปรได้ ให้ f (a_0,a_1,\ldots,a_n) และ g (a_0,a_1,\ldots,a_n) เป็นฟังก์ชันหลายตัวแปรใด ๆ จะกล่าวได้ว่า :f (a_0,a_1,\ldots,a_n) \in O (a_0,a_1,\ldots,a_n) ก็ต่อเมื่อมีจำนวนจริง c และ n_0 ค่าหนึ่งที่ทำให้ |f (a_0,a_1,\ldots,a_n)|\le c |g (a_0,a_1,\ldots,a_n)| ทุก ๆ a_0,a_1,\ldots,a_n \ge n_0 หรือในอีกนิยามที่พิจารณาอัตราการเติบโตของฟังก์ชันรอบๆพิกัด (k_0,k_1,\ldots,k_n) ใดๆว่า :f (a_0,a_1,\ldots,a_n) \in O (g (a_0,a_1,\ldots,a_n)) ก็ต่อเมื่อ \lim_{a_0,a_1,\ldots,a_n \to k_0,k_1,\ldots,k_n} \left|\frac{f (a_0,a_1,\ldots,a_n) }{g (a_0,a_1,\ldots,a_n) }\right| \in [0,\infty). == ตัวอย่าง == n^2+n \le 2 n^2 ทุกๆ n \ge 1 (หาได้จากการแก้อสมการ) เพราะฉะนั้น n^2+n \in O (n^2) (c=2 , n_0=1) n^2+4 \le 2 n^2 ทุกๆ n \ge 2 (หาได้จากการแก้อสมการ) เพราะฉะนั้น n^2+4 \in O (n^2) (c=2 , n_0=2) หรือ \lim_{n\to\infty} \frac {n^2+n}{n^2} = 1 เพราะฉะนั้น n^2+n \in O (n^2) \lim_{n\to\infty} \frac {n^2+4}{n^2} = 1 เพราะฉะนั้น n^2+n \in O (n^2) == การใช้งาน == สัญกรณ์โอใหญ่มีการใช้ในสองกรณีด้วยกัน ได้แก่ กรณีเส้นกำกับอนันต์ และ กรณีเส้นกำกับกณิกนันต์ ความแตกต่างระหว่างสองกรณีนี้เป็นความแตกต่างในขั้นการประยุกต์ใช้ มิใช่ในขั้นหลักการ อย่างไรก็ตาม นิยามเชิงรูปนัยของ "โอใหญ่" นั้นเหมือนกันในทั้งสองกรณี มีเพียงลิมิตสำหรับอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชันเท่านั้นที่แตกต่างกัน === กรณีเส้นกำกับอนันต์ === สัญกรณ์โอใหญ่มีประโยชน์ในการใช้วิเคราะห์ขั้นตอนวิธี เพื่อหาประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธี ตัวอย่างเช่น สมมติให้เวลา (หรือจำนวนขั้นตอน) ที่ใช้ในการแก้ปัญหาขนาด n มีฟังก์ชันเป็น T (n) = 4n^2 - 2n + 2 เมื่อ n มีค่ามากขึ้น พจน์ n2 จะใหญ่ขึ้นครอบงำพจน์อื่น ๆ จนกระทั่งเราสามารถละเลยพจน์อื่น ๆ ได้ ยิ่งไปกว่านั้น สัมประสิทธิ์ของแต่ละพจน์จะขึ้นกับรายละเอียดปลีกย่อยของการนำขั้นตอนวิธีไปปฏิบัติ ตลอดจนฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการดำเนินการ ฉะนั้นจึงสามารถละเลยได้เช่นกัน สัญกรณ์โอใหญ่จะเก็บเฉพาะส่วนที่เหลือจากที่ละเลยได้ข้างต้น จึงเขียนได้ว่า T (n) \in O (n^2) และกล่าวได้ว่า ขั้นตอนวิธีดังตัวอย่างนี้มีความซับซ้อนเชิงเวลาเป็นอันดับของ n2 === กรณีเส้นกำกับกณิกนันต์ === สัญกรณ์โอใหญ่ยังใช้เพื่อแสดงพจน์ของค่าคลาดเคลื่อนโดยประมาณในฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น e^x=1+x+\frac{x^2}{2}+\hbox{O} (x^3) \qquad\hbox{as}\ x\to 0 หมายความว่า เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ ผลต่างของฟังก์ชัน e^x กับ 1+x+x^2/2 (หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นความคลาดเคลื่อนของสองฟังก์ชันนี้) จะมีอยู่ในสับเซตของO (x^3) นั่นเอง หรือเขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า \left|e^x-\left (1+x+\frac{x^2}{2}\right) \right| \in \hbox{O} (x^3) \qquad\hbox{as}\ x\to 0 == คุณสมบัติ == === การคูณ === === การคูณด้วยค่าคงที่ === ให้ k เป็นค่าคงที่ใดๆ ที่เป็นบวก O (k \cdot g) = O (g) f\in O (g) \Rightarrow k\cdot f \in O (g) === การซ้อนสัญกรณ์โอใหญ่ === f (n) \in O (g (n)) \implies O (f (n)) \subset O (g (n)) ให้ h (n) เป็นอีกฟังก์ชันหนึ่ง O (f (n)) \in O (g (n)) \implies O (f (h (n))) \subset O (g (h (n))) == สัญกรณ์โอใหญ่มาตรฐานน้อยสุด == ในบางครั้งสัญกรณ์โอใหญ่อาจมีการครอบคลุมมากเกินไป เช่น O (n^2) \subset O (n^3) เป็นต้น จึงทำให้สำหรับฟังก์ชันใดๆ อาจอยู่ในเซตของสัญกรณ์โอใหญ่หลายค่า จึงมีการกำหนดรูปแบบฟังก์ชันอย่างง่าย ให้ตอบในรูปสัญกรณ์โอใหญ่มาตรฐานน้อยสุด กล่าวคือตอบในรูปแบบมาตรฐานที่เล็กที่สุด เรามักจะอนุโลมให้ใช้จากสัญลักษณ์เท่ากับ (=) แทนสัญลักษณ์สมาชิก (\in) เมื่อใช้กับรูปสัญกรณ์โอใหญ่มาตรฐานน้อยสุดนี้ เช่น n^2+4 = O (n^2) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ การทำงานที่มีสัญกรณ์โอใหญ่มาตรฐานน้อยสุดมีขนาดยิ่งเล็กเท่าใด แสดงว่าทำงานได้ยิ่งเร็วเท่านั้น สัญกรณ์โอใหญ่มาตรฐานเรียงจากขนาดเล็กไปใหญ่ (ขนาดเล็กหมายถึงจะเป็นซับเซตของขนาดที่ใหญ่กว่า) ให้ m เป็นค่าคงที่ใดๆ ที่มากกว่าศูนย์ และ n เป็นโดเมนของฟังก์ชัน บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้การผสมโดยการคูณเช่น O (n log n) เกิดจากการคูณระหว่างเชิงเส้นและลอการิทึมย่อมทำได้ == สัญกรณ์อื่น == คณิตวิเคราะห์ วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี สัญกรณ์คณิตศาสตร์
thaiwikipedia
596
จังหวัดชวาตะวันตก
ชวาตะวันตก หรือ จาวาบารัต (Jawa Barat; Jawa Kulon|italic=yes) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย มีเมืองบันดุงเป็นศูนย์กลาง จังหวัดตั้งอยู่ทางตะวันตกของเกาะชวา จากข้อมูลปี ค.ศ. 2014 มีประชากร 46.3 ล้านคน ทำให้เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดของอินโดนีเซีย == หน่วยการบริหาร == พื้นที่จังหวัดชวาตะวันตกแบ่งออกเป็น 18 อำเภอหรือกาบูปาเต็น 9 นครหรือโกตา และ 627 ตำบลหรือเกอจามาตัน อำเภอ นคร == ประชากร == จำนวนประชากรของชวาตะวันตกอยู่ที่ 43,053,732 คน จากการสำมะโนประชากร ค.ศ. 2010 และ 48,274,160 คน จากการสำมะโนประชากร ค.ศ. 2020 ทำให้เป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 18 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศบนพื้นที่ร้อยละ 1.8 ของประเทศ หากไม่นับรวมเขตพิเศษจาการ์ตา จังหวัดชวาตะวันตกจะเป็นจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในประเทศ โดยมีค่าเฉลี่ย 1,364.5 คนต่อตารางกิโลเมตร (สำมะโนประชากร ค.ศ. 2020) อัตราการเติบโตของประชากรเฉลี่ยต่อปีที่บันทึกไว้ในช่วง 10 ปีถึงค.ศ. 2010 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 === ศาสนา === == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ทางการ ชวาตะวันตก
thaiwikipedia
597
โทโทโร่เพื่อนรัก
โทโทโร่เพื่อนรัก (My Neighbor Totoro) เป็นอนิเมะที่ได้รับความนิยมอย่างสูงเรื่องหนึ่ง ของผู้กำกับฮะยะโอะ มิยะซะกิ ภายใต้การผลิตของสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) ค่ายผลิตภาพยนตร์การ์ตูนคุณภาพของโลกค่ายหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตคนญี่ปุ่นในยุคราว พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เนื้อหาของเรื่อง โทโทโร่เพื่อนรัก เป็นเรื่องราวที่สอนให้เด็กมีความรับผิดชอบ ขยันขันแข็ง และรักธรรมชาติ ภาพยนตร์ชุดนี้ ได้จัดทำเป็นระบบ วีเอชเอส และ เลเซอร์ดิสก์ในสหรัฐอเมริกาโดยโทคุมะเจแปน คอมูนิเคชั่น ของสาขาย่อยสหรัฐอเมริกา โดยให้ชื่อเรื่องว่า My Neighbor Totoro และภาพยนตร์ชุดดังกล่าวได้รับการนำเสนออีกครั้งโดยดิสนีย์ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2006 มีคนเคยถามว่ามิยะซะกิ จะทำภาคต่อของโทโทโร่เพื่อนรักหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ "ไม่" เพราะ Totoro เป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของเด็กทั้ง 2 คนเพื่อชดเชยกับการต้องอยู่ห่างแม่เท่านั้น ในช่วงเครดิตท้ายเรื่องของหนังเมื่อ แม่ของทั้งคู่สามารถกลับมารักษาตัวที่บ้านได้ก็ไม่ได้มีตัวโทโทโระปรากฏขึ้นมาอีกเลย แต่จนแล้วจนรอดมิยะซะกิก็ทำ "ภาคต่อ" ของโทโทโร่เพื่อนรักจนได้ หากแต่อยู่ในรูปของ ภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นในชื่อ "เมกับรถบัสแมว" แต่หนังเรื่องนี้มีฉายให้ดูเฉพาะที่พิพิธภัณฑ์จิบลิเท่านั้น == เรื่องย่อ == เรื่องเริ่มต้นที่เด็กผู้หญิงสองคน ซะสึกิ และ เม ย้ายมาอยู่บ้านใหม่ในแถบชนบทกับพ่อ เพื่อที่จะให้ใกล้กับโรงพยาบาลที่แม่ของพวกเธอนอนรักษาตัวอยู่ ซะสึกิและเมได้ค้นพบว่า ในป่าข้างบ้านมี โทโทโระ สัตว์วิเศษผู้พิทักษ์ป่าอาศัยอยู่ และต่อมาได้กลายเป็นเพื่อนกัน และเรื่องราวมหัศจรรย์สนุก ๆ ก็ได้เกิดขึ้นมากมาย == ตัวละคร == ซะสึกิ คุซะกะเบะ เม คุซะกะเบะ ทะสึโอะ คุซะกะเบะ ยะซุโกะ คุซะกะเบะ โทโทโระ รถบัสแมว คันตะ โอะกะงิ == สิ่งที่เกี่ยวข้องในภาพยนตร์ == ชื่อ "โทโทโระ" ที่ เม ตั้งขึ้นนั้น เป็นความบังเอิญที่เธอออกเสียงเพี้ยนไปจากคำว่า "โทะโระรุ" ซึ่งเป็นคำเรียกทับศัพท์ของคำว่า Troll ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่ง เม เคยเห็นในหนังสือนิทาน เรื่อง "Three Billy Goats Gruff" ที่เธอคิดว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ก็เลยตั้งชื่อตามนั้น ตัวโทโทโระตัวใหญ่ ยังเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของ สตูดิโอจิบลิ ด้วย และรถบัสแมว "เนะโกะ บะซุ" มาจากความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่ว่า เมื่อแมวเติบโตขึ้น มันจะมีพลังเวทมนตร์ในการแปลงร่างเพิ่มขึ้นด้วย รถบัสแมวก็คือ "บาเกะ เนโกะ" ตัวที่มองเห็นรถบัสแล้วก็เลยอยากเป็นรถบัส นอกจากเรื่องนี้แล้ว "บาเกะ เนโกะ" ยังถูกกล่าวถึงในการ์ตูนเรื่องอื่น ๆ ของสตูดิโอจิบลิ แม่ของซะสึกิและเมนั้นเป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบเนื่องมาจากวัณโรคซึ่งเป็นโรคเดียวกับที่แม่ของมิยะซะกิในชีวิตจริง นอกจากนี้ ซะสึกิและเม ในการ์ตูนนั้นเกิดในเดือนพฤษภาคมด้วยกันทั้งคู่ ชื่อ "ซะสึกิ" เป็นภาษาญี่ปุ่นโบราณที่ใช้เรียกเดือนนี้ เช่นเดียวกับ "เม" ที่เป็นคำพ้องเสียงของ May ในภาษาอังกฤษ และคำว่า "มักคุโระคุโระสุเกะ" ที่เด็ก ๆ ร้องเป็นเพลงในเรื่องนั้นมีหมายความว่า "เจ้าดำเอ๋ย" == อ้างอิง == == อ่านเพิ่ม == == แหล่งข้อมูลอื่น == Mei and the Kittenbus at Nausicaa.net การ์ตูนญี่ปุ่น สตูดิโอจิบลิ ภาพยนตร์ที่จัดจำหน่ายโดยดิสนีย์ ภาพยนตร์ที่กำกับโดย ฮะยะโอะ มิยะซะกิ
thaiwikipedia
599
ประเทศบาห์เรน
บาห์เรน (Bahrain; البحرين) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain; مملكة البحرين) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก บาห์เรนเป็นที่ตั้งของอารยธรรมดิลมุนโบราณ และมีชื่อเสียงด้านการประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่าไข่มุก ซึ่งบริเวณแห่งนี้ถือว่าได้รับความนิยมที่สุดในโลกในศตวรรษที่ 19 บาห์เรนเป็นหนึ่งในพื้นที่แรกสุดที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม ในช่วงชีวิตของมูฮัมมัด หลังการปกครองของอาหรับ บาห์เรนถูกปกครองโดยจักรวรรดิโปรตุเกสตั้งแต่ พ.ศ. 2064 ถึง พ.ศ. 2145 หลังจากการพิชิตโดยชาห์อับบาสที่ 1 แห่งราชวงศ์ซาฟาวิด ใน พ.ศ. 2326 กลุ่ม Bani Utbah ได้ยึดครองบาห์เรนจาก Nasr Al-Madhkur ผู้ว่าการชาวอาหรับในสมัยศตวรรษที่ 18 และนับตั้งแต่นั้นมาก็ถูกปกครองโดยราชวงศ์คาลิฟา โดยมี เชคอะห์เหม็ด อิบน์ มุฮัมหมัด อิบน์ อัลเคาะลีฟะฮ์ เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของบาห์เรน ในช่วงปลายทศวรรษ 1800 บาห์เรนกลายเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร จากการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ ก่อนจะได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2514 แต่เดิมนั้นบาห์เรนเคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเอมิเรตส์ บาห์เรนได้รับการประกาศให้เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของอิสลามใน พ.ศ. 2545 ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 บาห์เรนเจอปัญหาการประท้วงภายในประเทศซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหรับสปริงในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยราชวงศ์คาลิฟาผู้ปกครองประเทศถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีผู้ไม่เห็นด้วยมากมาย รวมถึงนักการเมืองฝ่ายค้าน และประชากรมุสลิมชีอะฮ์ส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง บาห์เรนได้พัฒนาเศรษฐกิจของตนเองจากการค้าน้ำมันมาหลายทศวรรษและเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ที่ทำการส่งออกน้ำมันในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนในภาคการธนาคารและการท่องเที่ยวเป็นเวลาหลายทศวรรษ สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่งตั้งอยู่ในกรุงมานามาเมืองหลวงของประเทศ จึงมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงและได้รับการยอมรับจากธนาคารโลกว่าบาห์เรนมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ลำดับต้น ๆ ในตะวันออกกลางและเป็นประเทศที่มีรายได้สูง บาห์เรนเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สันนิบาตอาหรับ องค์การความร่วมมืออิสลาม และ คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้ง === ทั้งเกาะบาห์เรนล้อมรอบด้วยอ่าวเปอร์เซีย == ลักษณะภูมิอากาศ == ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม – มีนาคม) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียส == ลักษณะภูมิประเทศ == ภูมิประเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ราบต่ำในทะเลทราย ค่อย ๆ ชันขึ้น ทางตอนกลาง == ประวัติศาสตร์ == === ยุคโบราณ === === ยุคอิสลาม === === ยุคสมัยใหม่ === === ยุคศตวรรษที่ 19 === === ประกาศเอกราช === บาห์เรนเคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2363 โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อ พ.ศ. 2523 อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และกลุ่มรัฐสงบศึก (ปัจจุบันคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ใน พ.ศ. 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบีย == การเมืองการปกครอง == ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อาล เคาะลีฟะฮ์ (His Majesty King Hamad Bin Isa Al Khalifa) เสด็จขึ้นครองราชย์ (ในฐานะเจ้าผู้ครองรัฐ) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542 === บริหาร === === นิติบัญญัติ === === ตุลาการ === === สิทธิมนุษยชน === === การแบ่งเขตการปกครอง === ก่อนหน้า 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ประเทศบาห์เรนแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาลที่ปกครองจากเมืองหลวง (กรุงมานามา) 12 แห่ง ได้แก่ อัลฮิดด์ (Al Hidd) อัลมะนามะห์ (Al Manamah) อัลมินตะเกาะห์อัลกะร์บียะห์ (Al Mintaqah al Gharbiyah) อัลมินตะเกาะห์อัลวุสตะ (Al Mintaqah al Wusta) อัลมินตะเกาะห์อัลชะมาลียะห์ (Al Mintaqah al Shamaliyah) อัลมุฮาร์รัก (Al Muharraq) อาร์ริฟาวาอัลมินตะเกาะห์อัลจะนูบียะห์ (Ar Rifa' wa al Mintaqah al Janubiyah) จิดด์ฮัฟส์ (Jidd Haffs) มะดีนัตฮามัด (Madinat Hamad ไม่แสดงบนแผนที่ แบ่งจากเทศบาลอาร์ริฟาฯ เมื่อ พ.ศ. 2534) มะดีนัตอิซา (Madinat 'Isa) จุซูร์ฮะวาร์ (Juzur Hawar) ซิตระห์ (Sitrah) หลังจากวันดังกล่าวบาห์เรนได้กำหนดเขตการปกครองใหม่ซึ่งแบ่งเป็น 5 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ได้แก่ 1 เขตผู้ว่าราชการเหนือ (Northern) 2 เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง (Capital) 3 เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก (Muharraq) 4 เขตผู้ว่าราชการกลาง (Central) และ 5 เขตผู้ว่าราชการใต้ (Southern) ต่อมาเขตผู้ว่าราชการกลางถูกยกเลิกไปรวมกับเขตผู้ว่าราชการเหนือ เขตผู้ว่าราชการใต้ และเขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ทำให้ปัจจุบันบาห์เรนมีเขตปกครองทั้งสิ้น 4 แห่งดังนี้ เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก เขตผู้ว่าราชการเหนือ เขตผู้ว่าราชการใต้ {|style="margin: 0 auto;" | | |} === การต่างประเทศ === บาห์เรนได้สร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับ 190 ประเทศทั่วโลก ในปี 2012 บาห์เรนมีเครือข่ายสถานทูต 25 แห่ง สถานกงสุล 3 แห่ง และคณะผู้แทนถาวร 4 แห่งของสันนิบาตอาหรับ สหประชาชาติ และสหภาพยุโรปตามลำดับ บาห์เรนยังมีสถานทูต 36 แห่งทั่วโลก บาห์เรนยึดมั่นในมุมมองของสันนิบาตอาหรับเกี่ยวกับสันติภาพในตะวันออกกลางและสิทธิของชาวปาเลสไตน์โดยสนับสนุนการแก้ปัญหาของทั้งสองรัฐ บาห์เรนยังเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ ความสัมพันธ์กับอิหร่านมีแนวโน้มที่จะตึงเครียดอันเป็นผลมาจากการรัฐประหารที่ล้มเหลวในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งบาห์เรนตำหนิอิหร่านและมีการเรียกร้องอธิปไตยของอิหร่านเหนือบาห์เรนเป็นครั้งคราวโดยประชาชนชาวอิหร่าน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติตึงเครียดถึงปัจจุบัน บาห์เรนได้ต้อนรับสมาชิกคณะรัฐมนตรีของอิสราเอล Yossi Sarid ณ กรุงมานามาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 หลังจากที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกาศความสัมพันธ์เชิงสันติกับอิสราเอล บาห์เรนประกาศว่าจะอนุญาตให้เที่ยวบินเชิงพาณิชย์ทั้งหมดที่มาจากอิสราเอลบินผ่านน่านฟ้าของตน เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าจะขอเป็นตัวแทนในการเจรจาสันติภาพระหว่างบาห์เรนและอิสราเอล เพื่อทำให้ความสัมพันธ์เป็นปกติภายใต้ข้อตกลงสันติภาพบาห์เรน–อิสราเอล ==== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ==== ไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2520 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลางในหลายมิติ === กองทัพ === ประเทศบาห์เรนไม่มีกองทัพอย่างเป็นทางการ แต่มีกองกำลังป้องกันตัวเอง ที่เรียกว่ากองกำลังป้องกันประเทศบาห์เรน (Bahren Defence Force หรือ BDF) ซึ่งมีอุปกรณ์และอาวุธสงครามครบครันซึ่งมีกำลังพลประมาณ 13,000 นาย ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบาห์เรนคือ King Hamad bin Isa Al Khalifa และรองผู้บัญชาการสูงสุดคือมกุฎราชกุมาร Salman bin Hamad bin Isa Al Khalifa กองกำลังของบาห์เรนนั้นสั่งซื้ออาวุธสงครามจากสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เช่น เครื่องบินรบ F-16 Fighting Falcon, F-5 Freedom Fighter, UH-60 Blackhawk, รถถัง M60A3 และเรือรบฟริเกตคลาส Oliver Hazard Perry ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น RBNS Sabha รัฐบาลบาห์เรนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา โดยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับกองทัพสหรัฐฯ และได้จัดหาฐานทัพให้แก่กองทัพสหรัฐในจัฟแฟร์ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 โดยที่นี่คือบ้านของกองบัญชาการกองบัญชาการกองบัญชาการกลางกองทัพเรือสหรัฐฯ (COMUSNAVCENT) / กองเรือที่ห้าของสหรัฐอเมริกา (COMFIFTHFLT) และบุคลากรทางทหารประมาณ 6,000 นายของสหรัฐฯ ประจำการอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน บาห์เรนเข้าร่วมการแทรกแซงในประเทศเยเมนที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย ในการต่อต้านชีอะห์ฮูซีและกองกำลังที่ภักดีต่ออดีตประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ == เศรษฐกิจ == === โครงสร้าง === ตามรายงานของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียตะวันตกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 บาห์เรนมีเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกอาหรับ บาห์เรนยังมีเศรษฐกิจที่เสรีที่สุดในตะวันออกกลางและรวมกันเป็นอันดับที่สิบสองของโลกโดยอิงจากดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจประจำปี พ.ศ. 2554 ที่ตีพิมพ์โดยมูลนิธิเฮอริเทจ/เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ในปี พ.ศ. 2551 บาห์เรนได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกโดยดัชนี Global Financial Centres ของนครลอนดอน ภาคการธนาคารและบริการทางการเงินของบาห์เรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการธนาคารอิสลาม ได้รับประโยชน์จากความเฟื่องฟูของภูมิภาคซึ่งได้แรงหนุนจากความต้องการน้ำมัน การผลิตและการแปรรูปปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกมากที่สุดของบาห์เรน โดยคิดเป็น 60% ของรายรับจากการส่งออก 70% ของรายได้ของรัฐบาล และ 11% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) การผลิตอะลูมิเนียมเป็นสินค้าส่งออกมากเป็นอันดับสอง รองลงมาคือกิจกรรมทางการเงินและวัสดุก่อสร้าง บาห์เรนเป็นที่ตั้งของบริษัทข้ามชาติหลายแห่งและดำเนินการก่อสร้างในโครงการอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายโครงการ การส่งออกส่วนใหญ่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ทำจากน้ำมันดิบนำเข้า ซึ่งคิดเป็น 51% ของการนำเข้าของประเทศในปี พ.ศ. 2550 บาห์เรนพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากชาติอื่นเพื่อเลี้ยงประชากร โดยอาศัยการนำเข้าเนื้อสัตว์จากออสเตรเลียและกว่า 75% ของปริมาณผลไม้ต้องนำเข้าจากยุโรปและออสเตรเลีย เนื่องจากบาห์เรนมีเนื้อที่เพาะปลูกและการทำเกษตรเพียง 2.9% ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2547 บาห์เรนได้ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีบาห์เรน–สหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสองประเทศ จากการสำรวจในปี 2011 เนื่องจากการรวมกันของวิกฤตการเงินโลกและความไม่สงบในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีดีพีลดลงเหลือ 1.3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 === สถานการณ์ปัจจุบัน === อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1 (ไทย 2.6%) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 18.97 พันล้าน USD (ไทย 273.4 พันล้าน USD) รายได้ประชาชาติต่อหัว 18,979 USD (ไทย 4,081 USD) ปริมาณน้ำมันสำรอง 125 ล้านบาร์เรล === การท่องเที่ยว === บาห์เรนมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 8 ล้านคนในปี 2008 โดยส่วนมากเป็นชาวมุสลิมจากประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศบาห์เรนมีสถานที่ดึงดูดคือตึกสูงใหญ่ที่สามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามทั่วเมือง และสนามแข่งฟอร์มูลาวัน ที่มีชื่อเสียง สถานที่ท่องเที่ยวของบาห์เรนเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมอาหรับสมัยใหม่เข้ากับมรดกทางโบราณคดีของอารยธรรมโบราณซึ่งมีอายุกว่าห้าพันปี เกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของป้อมปราการต่าง ๆ รวมถึง Qalat Al Bahrain ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบาห์เรนมีสิ่งประดิษฐ์จากประวัติศาสตร์ของประเทศย้อนหลังไปถึงมนุษย์คนแรกของเกาะเมื่อ 9,000 ปีที่แล้วและ Beit Al Quran (อาหรับ: بيت القرآن ความหมาย: บ้านของ Qur'an) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสิ่งประดิษฐ์ของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กุรอ่าน สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนิยมบางแห่งในราชอาณาจักร ได้แก่ มัสยิด Al Khamis ซึ่งเป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาค ป้อม Arad ใน Muharraq วัด Barbar ซึ่งเป็นวัดโบราณจากสมัย Dilmunite ของบาห์เรนเช่นกัน กิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ การดูนก การชมธรรมชาติ การดำน้ำลึก และการขี่ม้า นอกจากนี้ห้างสรรพสินค้าในกรุงมานามายังถือเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง โดยลูกค้าส่วนมากมาจากซาอุดิอาระเบีย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 สำนักข่าวบาห์เรนที่ดำเนินการโดยรัฐได้ประกาศเปิดสวนสนุกใต้น้ำในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2562 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100,000 ตารางเมตร โดยมีเครื่องบินโบอิง 747 ที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นจุดศูนย์กลางของสถานที่ โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Supreme Council for Environment, Bahrain Tourism and Exhibitions Authority (BTEA) และนักลงทุนเอกชน บาห์เรนหวังว่านักดำน้ำจากทั่วโลกจะมาเยือนอุทยานใต้น้ำ ซึ่งจะรวมถึงแนวปะการังเทียม บ้านพ่อค้าไข่มุกบาห์เรน และงานประติมากรรมต่าง ๆ สวนสนุกแห่งนี้ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสวนสนุกใต้น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 บาห์เรนเป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลประจำปีในเดือนมีนาคมในชื่อ Spring of Culture ซึ่งมีนักดนตรีและศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติมาแสดงคอนเสิร์ต มานามาได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมอาหรับประจำปี พ.ศ. 2555 และเมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวอาหรับประจำปี พ.ศ. 2556 โดยสันนิบาตอาหรับและการท่องเที่ยวแห่งเอเชียประจำปี พ.ศ. 2557 โดยได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวแห่งอ่าวปี พ.ศ. 2559 โดยคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ === คมนาคม และ โทรคมนาคม === ==== คมนาคม ==== สายการบินแห่งชาติ คือ สายการบิน กัล์ฟแอร์ ให้บริการในเส้นทางต่างประเทศทั้งหมด 40 เมืองทั่วโลก ใน แอฟริกา เอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง ==== โทรคมนาคม ==== === วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี === === การศึกษา === === สาธารณสุข === บาห์เรนมีระบบการดูแลสุขภาพที่เป็นมาตรฐานสากล ย้อนหลังไปถึงปี พ.ศ. 2503 การดูแลสุขภาพที่รัฐบาลจัดให้นั้นฟรีสำหรับพลเมืองบาห์เรนและให้เงินอุดหนุนจำนวนมากสำหรับผู้ที่ไม่ใช่ชาวบาห์เรน ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลคิดเป็น 4.5% ของจีดีพี ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แพทย์และพยาบาลของบาห์เรนเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศในภาคส่วนด้านสุขภาพ ซึ่งแตกต่างจากรัฐในอ่าวที่อยู่ใกล้เคียง โรงพยาบาลแห่งแรกในบาห์เรนคือโรงพยาบาลอเมริกัน มิชชั่น ซึ่งเปิดในปี พ.ศ. 2436 อายุเฉลี่ยของประชากรในบาห์เรนคือ 73 ปี สำหรับผู้ชาย และ 76 ปีสำหรับผู้หญิง เมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค ความชุกในการเกิดของโรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรคค่อนข้างต่ำ กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคและโรคอื่น ๆ เป็นประจำ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี === สวัสดิการสังคม === == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === === ศาสนา === ประชากรส่วนมากของประเทศนับถือ และยึดศาสนาอิสลามเป็นแบบแผน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งก่อสร้าง โบราณวัตถุ โบราณสถาน วัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลามให้เห็นเด่นชัดในประเทศบาห์เรน และประชากรส่วนมากพูดภาษาอาหรับซึ่งใช้กันในแถบภูมิภาคนี้ === ภาษา === มี ภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการ === กีฬา === ==== ฟุตบอล ==== ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบาห์เรน ฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนได้เข้าแข่งขันหลายครั้งใน เอเชียนคัพ, Arab Nations Cup และเล่นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกทุกครั้งแม้ว่าจะไม่ยังเคยผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก == วัฒนธรรม == === การแต่งกาย === เนื่องจากประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวอาหรับแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า "โต๊ป" (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า "อาบายะห์" (Abaya) === ความเชื่อ === === ศิลปะ === ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในทศวรรษ 1950 ส่งผลให้มีการก่อตั้งสังคมศิลปะ Expressionism และ surrealism เช่นเดียวกับศิลปะการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับความนิยมในประเทศ การแสดงออกทางนามธรรมได้รับความนิยมในทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตเครื่องปั้นดินเผาและการทอผ้ายังเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่ผลิตขึ้นอย่างแพร่หลายในหมู่บ้านบาห์เรน การประดิษฐ์ตัวอักษรภาษาอาหรับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลบาห์เรนเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะอิสลามซึ่งมีจุดสิ้นสุดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อิสลาม Beit Al Quran พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบาห์เรนจัดแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยถาวร เทศกาล Spring of Culture ประจำปี ที่จัดขึ้นโดย Bahrain Authority for Culture and Antiquities ได้กลายเป็นงานยอดนิยมที่ส่งเสริมศิลปะการแสดงในราชอาณาจักร สถาปัตยกรรมของประเทศบาห์เรนคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านในอ่าวเปอร์เซีย หอลมซึ่งสร้างการระบายอากาศตามธรรมชาติในบ้าน เป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปในอาคารเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองเก่าของมานามาและมูฮาร์รัก === วรรณกรรม === วรรณคดียังคงเป็นปัจจุยสะท้อนวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในประเทศ นักเขียนและกวีดั้งเดิมส่วนใหญ่เขียนในสไตล์อาหรับคลาสสิก ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จำนวนกวีรุ่นเยาว์ที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เขียนเป็นกลอนอิสระและมักรวมถึงเนื้อหาทางการเมืองหรือเรื่องส่วนตัว === สื่อมวลชน === === วันหยุด === == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == == แหล่งข้อมูลอื่น == Kingdom of Bahrain, Ministry of Foreign Affairs website Bahrain profile from the BBC News Key Development Forecasts for Bahrain from International Futures ประเทศบาห์เรน บาห์เรน บาห์เรน บาห์เรน เกาะในทวีปเอเชีย เกาะในมหาสมุทรอินเดีย รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514 รัฐสมาชิกสหประชาชาติ
thaiwikipedia
600
ชาวไอนุ
ชาวไอนุ (Aynu, ) บ้างเรียก ไอโนะ ในญี่ปุ่นจะเรียกชาวไอนุโดยไม่จำแนกกลุ่มว่า อูตาริ เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะฮกไกโดในประเทศญี่ปุ่น นักค้นคว้าเชื่อว่าชาวไอนุมีเชื้อสายคอเคซอย หรือชาวผิวขาว ซึ่งเป็นคนละเชื้อสายกับชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ทฤษฏีที่ว่านี้มาจากรูปลักษณ์ของชาวไอนุที่เป็นแบบผสมระหว่างชาวยุโรปและชาวเอเซีย แต่หลังจากการทดสอบทางดีเอ็นเอแล้วพบว่า ชาวไอนุไม่มีเชื้อสายชาวคอเคซอย รายงานบางฉบับกล่าวว่าชาวไอนุอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่าชาวญี่ปุ่น และในตำนานของชาวไอนุนั้นก็ได้กล่าวว่า "ชาวไอนุอยู่ที่นี่หลายแสนปีก่อนที่บุตรแห่งพระอาทิตย์จะมา" มีหลายทฤษฏีกล่าวถึงต้นกำเนิดของชาวไอนุ หากแต่ความจริงในเรื่องนี้ยังคงคลุมเครืออยู่มาก ไม่สามารถบอกได้ว่าชาวไอนุมาจากไหน อยู่ที่ฮกไกโดตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือสืบเชื้อสายมาจากใคร ปัจจุบันชาวไอนุเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนมากที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีชาวไอนุเพียงร้อยละ 17 ที่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งหนึ่งที่จบจากมหาวิทยาลัยในระดับประเทศ และรัฐบาลญี่ปุ่นได้รับรองว่าชาวไอนุเป็นชนพื้นเมืองของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2551 == อ้างอิง == ชนพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศญี่ปุ่น
thaiwikipedia
601