title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
45.8M
source
stringclasses
5 values
__index_level_0__
int64
0
197k
15 มีนาคม
วันที่ 15 มีนาคม เป็นวันที่ 74 ของปี (วันที่ 75 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 291 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 500 (44 ปีก่อน ค.ศ.) - จูเลียส ซีซาร์ แห่งสาธารณรัฐโรมัน ถูกสังหารโดยกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2035 (ค.ศ. 1493) - คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสกลับสู่สเปนหลังจากการเดินทางไปทวีปอเมริกา พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) - วันสถาปนาโรงเรียนเทพศิรินทร์ พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - วันก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1917) - พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงถูกกดดันให้สละราชสมบัติระหว่างการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์โรมานอฟในจักรวรรดิรัสเซีย พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - สลัดอากาศชาวเชเชน 3 คน บุกจี้เครื่องบินรัสเซียที่บินไปมอสโกให้ไปลงที่เมืองมะดีนะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หน่วยความมั่นคงของซาอุฯได้บุกยึดเครื่องบิน สังหารสลัดอากาศได้ มีผู้โดยสารเสียชีวิตด้วย พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - หู จิ่น เทา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากนายเจียง เจ๋อหมิน == วันเกิด == พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1767) - แอนดรูว์ แจ็กสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 7 (ถึงแก่กรรม 8 มิถุนายน พ.ศ. 2388) พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเสพสุนทร (สิ้นพระชนม์ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2385) พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (สิ้นพระชนม์ 16 เมษายน พ.ศ. 2468) พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1878) - พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี (สวรรคต 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2487) พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร (สิ้นชีพิตักษัย 28 มกราคม พ.ศ. 2510) พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - พลายน้อย ร.ฟ.ท. พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - เดวิด โครเนนเบิร์ก ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวแคนาดา พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - เบร็ต ไมเคิลส์ นักร้อง นักแสดง ผู้กำกับ นักเขียนบทชาวอเมริกัน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - คิม เรเวอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - จิ้งหรีดขาว วงศ์เทวัญ นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - * วิล.ไอ.แอม นักร้อง แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน * อีวา ลองโกเรีย นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา นักแสดง นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - * พีรทรรศน์ โพธิ์เรือนดี นักฟุตบอลชาวไทย * สุดารัตน์ บุตรพรหม นักแสดงตลกชาวไทย พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - * ฌอน บิกเกอร์สตาฟฟ์ นักแสดงชาวสก็อต * แดริล เมอร์ฟี นักฟุตบอลชาวไอริช พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - * เคลแลน ลุตซ์ นักแสดงชาวอเมริกัน * เคอร์ติส เดวีส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * ภานุวัฒน์ ไฟไหล นักฟุตบอลชาวไทย * วีรศักดิ์ เกียรติสูงเนิน นักฟุตบอล สัญชาติไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * ซังดรู รานีเอรี นักฟุตบอลชาวบราซิล * อาดริง ซิลวา นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - จอร์แดน เดฟลิน นักมวยปล้ำอาชีพชาวไอริช พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ไนเจิล อึ้ง นักแสดงตลกเดี่ยวชาวมาเลเซีย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ภูศิลป์ วารินรักษ์ นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * ปอล ปอกบา นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส * อาลิยา ภัตต์ นักแสดงหญิงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - คิป คอลวีย์ นักฟุตบอลชาวนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - * จินจิน แร็ปเปอร์, นักร้อง, นักเต้น, นักแต่งเพลงและนายแบบชาวเกาหลีใต้ * แม็กซ์เวล เจคอบ ฟรีดแมน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - จอนโจ เคนนี นักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ทอมมี สตีเวนส์ นักฟุตบอลลูกครึ่งไทย-อังกฤษ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 500 (44 ปีก่อน ค.ศ.) - จูเลียส ซีซาร์ รัฐบุรุษ แม่ทัพและผู้ประพันธ์ร้อยแก้วชาวโรมัน (เกิด พ.ศ. 443) พ.ศ. 763 (ค.ศ. 220) - โจโฉ อัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เกิด พ.ศ. 698) พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1897) - เจมส์ โจเซฟ ซิลเวสเตอร์ นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ (เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2357) พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - เอช. พี. เลิฟคราฟท์ นักเขียนนิยายชาวอเมริกัน (เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2433) พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีไทย (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445) พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - สุภา ศิริมานนท์ นักวารสารศาสตร์ชาวไทย และผู้สื่อข่าวสงครามคนแรกของประเทศไทย (เกิด 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2457) พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - ณรงค์ วงษ์สวรรค์ (รงค์ วงษ์สวรรค์) นักประพันธ์และศิลปินแห่งชาติ (เกิด 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2475) พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - สมเด็จพระวันรัต (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2479) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันตำรวจสากล == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day NY Times: On This Day Today in History: March 15 มีนาคม 15 มีนาคม
thaiwikipedia
1,002
ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขาแม่น้ำเหลือง (ประมาณเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ) เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง พ.ศ. 2143 และไปสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2347 จากนั้นกว่า 100 ปี ชาวอเมริกันได้ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารสัตว์ใช้เลี้ยงวัวโดยไม่ได้นำเมล็ดมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น จนถึงปี พ.ศ. 2473 สหรัฐอเมริกาได้นำพันธุ์ถั่วเหลืองจากจีนเข้าประเทศกว่า 1,000 สายพันธุ์ เพื่อการผสมและคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีเมล็ดโต ผลผลิตสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดมากขึ้น ถั่วเหลืองของไทยส่วนมากปลูกแถบภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน นิยมเรียกกันในภาษาไทยโดยทั่ว ๆ ไปหลายชื่อเช่น ถั่วพระเหลือง ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วเหลือง (ภาคกลาง) มะถั่วเน่า (ภาคเหนือ) เป็นต้น == ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ == ถั่วเหลืองเป็นพืชล้มลุก สูง 0.3-0.9 เมตร ลำต้นมีขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 3 ใบย่อย หูใบรูปไข่ขนาด 3-7 มิลลิเมตร ใบย่อยรูปไข่ ฐานใบเป็นรูปลิ่มหรือกลม ปลายใบเรียวแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจะ ก้านช่อดอกยาว 1-3.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงขนาด 4-6 มิลลิเมตร มีขนหยาบแข็ง วงกลีบดอกสีม่วง ม่วงอ่อน หรือขาว ขนาด 4.5-10 เซนติเมตร กลีบกลางรูปไข่โคนกลีบคล้ายกันกลีบ ปลายกลีบเว้าตื้น กลีบคู่ข้างหยักมน กลีบคู่ล่างรูปไข่กลับ รังไข่เหนือวงกลีบ ผลแบบฝักแบบถั่วขนาด 40-75 x 8-15 มิลลิเมตร อวบน้ำ ขอบรูปขนาน มี 2-5 เมล็ด รูปร่างรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ขั้วเมล็ดเป็นรูปรี == ส่วนประกอบทางเคมี == น้ำมันและโปรตีนมีอยู่ในถั่วเหลืองทั้งคู่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของถั่วเหลืองโดยน้ำหนัก โปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ น้ำมัน 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรต 35 เปอร์เซ็นต์ ความร้อนเสถียรในการเก็บโปรตีนมีส่วนกับโปรตีนถั่วเหลืองส่วนใหญ่ ความร้อนเสถียรนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองต้องการความร้อนสูง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ในการทำ ตั้งแต่คาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองถูกพบเป็นส่วนใหญ่ในเวย์ หรือ หางนม และถูกทำลายลงระหว่างการเดือดเป็นฟอง เต้าหู้ ซอสถั่วเหลือง จะไม่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะหรือลำไส้ == ถั่วเหลืองกับการดัดแปลงพันธุกรรม == ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ตัวเลขของผลิตภัณฑ์ใช้ถั่วเหลืองที่ดัดแปลงพันธุกรรมมีมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995) บริษัทที่ชื่อว่า Monsanto ได้นำเข้าถั่วเหลืองที่มีการคัดลอกยีนมาจากแบคทีเรียม (bacterium) ที่ชื่อว่า Agrobacterium ซึ่งทำให้พืชถั่วเหลืองสามารถทนต่อการพ่น herbicide ยีนของบัคเนเรียคือ EPSP (5-enolpyruvyl shikimic acid-3-phosphate) ถั่วเหลืองโดยทั่ว ๆ ไปจะมียีนนี้อยู่แล้วแต่จะไวต่อ glyphosate แต่พันธุ์ที่ดัดแปลงใหม่จะทนได้ == การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย == ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มปลูกถั่วเหลืองครั้งแรกเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าชาวจีนที่อพยพมาได้นำถั่วเหลืองเข้ามาด้วยเมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ทำให้มีถั่วเหลืองพันธุ์ดีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการผลิตถั่วเหลืองในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และทำให้ต้องมีการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ การปลูกถั่วเหลืองปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10 พันธุ์ ปรับปรุงโดยกรมวิชาการเกษตร คือ สจ.4 สจ.5 สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 สุโขทัย 3 นครสวรรค์ 1 เชียงใหม่ 60 เชียงใหม่ 2 เชียงใหม่ 3 เชียงใหม่ 4 ถั่วเหลืองที่ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองขึ้นมาใหม่ คือ “พันธุ์ศรีสำโรง 1” ซึ่งให้ผลผลิตสูง มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ทั้งยังสามารถต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดี สำหรับพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และ เชียงใหม่ 60 เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในประเทศไทยสามารถปลูกถั่วเหลืองได้ทั้งปี ปีละ 3 ฤดู การปลูกอาจต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมก่อน pH ประมาณ 5.5-6.5 และเตรียมเมล็ดโดยการคลุกเชื้อไรโซเบียม การคลุกเชื้อไรโซเบียมต้องใช้เชื้อที่ใช้กับถั่วเหลืองเท่านั้น ถั่วเหลืองต้องการน้ำประมาณ 300-400 มิลลิลิตรตลอดฤดูปลูก ช่วงที่สำคัญที่ไม่ควรขาดน้ำคือช่วงการงอกและช่วงออกดอก อายุการเก็บเกี่ยวของถั่วเหลืองจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 60-110 วัน == ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง == การแปรรูปถั่วเหลืองให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลายขึ้นและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่จำหน่ายในท้องตลาดแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ดังนี้ น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญในหลายประเทศอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ประเทศในแถบเอเชีย เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการหมักและผ่านการหมักก่อน ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการหมัก เช่น น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักถั่วเหลือง เช่น ถั่วเน่า เต็มเป ซอสถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว เป็นต้นโปรตีนจากถั่วเหลือง หลังจากการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองด้วยตัวทำละลายแล้ว ส่วนที่เหลือจะเป็นเนื้อถั่วทีอุดมด้วยโปรตีน สามารถแปรรูปเป็นอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อเทียม (โปรตีนเกษตร) แป้ง เบเกอรี ทำโปรตีนเข้มข้น หรือผ่านกรรมวิธีเพื่อแยกเอาโปรตีนบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการแปรรูปถั่วเหลือง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศ เพื่อเป็นการขยายตลาดและเพิ่มความนิยมในการบริโภคถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ตถั่วเหลือง เนยถั่วเหลือง เป็นต้นอาหารเสริมจากถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองมีสารเคมี ที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น เลซิติน โอลิโกแซคคาไรด์ วิตามินอี สเตอรอล ไฟเตทเป็นต้น สามารถใช้ถั่วเหลืองเพื่อช่วยเพิ่มเยื่อใยและคุณค่าทางอาหาร == รสชาติและสรรพคุณ == รสหวาน บำรุงม้าม ขับแห้ง สลายน้ำ ขับร้อน ถอนพิษ แก้ปวด มักใช้บำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ โรคบิด แน่นท้อง ผอมแห้ง แผลเปื่อย == คุณค่า == มีโปรตีน เลซิทิน และกรดแอมิโน รวมทั้งมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี 1 และบี 2 วิตามินเอและอี ซึ่งสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ป้องกันการขาดแคลเซียมในกระดูก และบำรุงระบบประสาทในสมอง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง สารสกัดจากถั่วเหลืองอบแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ ถั่วเหลืองได้รับการขนานนามว่า "ราชาแห่งถั่ว" หากกินเป็นประจำช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน == ผลผลิต == == อ้างอิง == อภิพรรณ พุกภักดี, "ถั่วเหลือง: พืชทองของไทย", มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546 คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, "พืชเศรษฐกิจ", มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547 schoolnet [http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-5734.html] (โครงการเผยแพร่ความรู้ผลงานทางวิชาการผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เดลินิวส์ วันที่ 6 มกราคม 2545 ภญ.ยุวดี สมิทธิวาสน์, "การบริโภคถั่วเหลืองเพื่อสุขภาพ" ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์,"วิทยาการเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวและถั่วเหลือง" [http://www.seed.or.th/SeedNews/vol93/9-302.htm นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน 2550 http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-2760 The Plant List Retrieved May 16, 2016 http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=242323602 Flora of China Retrieved May 16, 2016 พืชที่ให้เส้นใย วงศ์ย่อยถั่ว พืชไร่ พืชที่รับประทานได้ ถั่ว พืชตรึงไนโตรเจน
thaiwikipedia
1,003
14 มีนาคม
วันที่ 14 มีนาคม เป็นวันที่ 73 ของปี (วันที่ 74 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 292 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2189 (ค.ศ. 1647) - สงคราม 30 ปี: มีการลงนามในข้อตกลงพักรบอูล์ม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) - เอลี วิทนีย์ ได้รับการรับรองสิทธิบัตรเครื่องปั่นฝ้าย เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายในสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - สงครามเกาหลี: กองกำลังของสหประชาชาติเข้ายึดครองกรุงโซลเป็นครั้งที่ 2 == วันเกิด == พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1804) - โยฮันน์ สเตราส์ บิดา คีตกวีชาวออสเตรีย (ถึงแก่กรรม 25 กันยายน พ.ศ. 2392) พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) - พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 แห่งอิตาลี (สวรรคต 9 มกราคม พ.ศ. 2421) พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) - พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี (สวรรคต 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) - * เพาล์ เอร์ลิช แพทย์ชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 20 สิงหาคม พ.ศ. 2458) * โทมัส อาร์. มาร์แชลล์ รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 28 (ถึงแก่กรรม 1 มิถุนายน พ.ศ. 2468) พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) - อัลเจอร์นอน แบล็กวูด นักเขียนชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 10 ธันวาคม พ.ศ. 2494) พ.ศ. 2422 (ค.ศ. 1879) - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์เชื้อชาติเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 18 เมษายน พ.ศ. 2498) พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) - สมยศ ทัศนพันธ์ นักร้อง นักแต่งเพลง ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 13 ตุลาคม พ.ศ. 2529) พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - ทินกร พันธุ์กระวี ทหารอากาศชาวไทย (ถึงแก่กรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) - ชเว โอน นักการเมืองพม่า (ถึงแก่กรรม 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - ฮะรุเอะ อะกะงิ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น (เสียชีวิต 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - สาทิส อินทรกำแหง นักเขียนชาวไทย (ถึงแก่กรรม 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - ไมเคิล เคน นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - เลโอนิด โรโกซอฟ ศัลยแพทย์ชาวรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 21 กันยายน พ.ศ. 2543) พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - นพดฬ ชาวไร่เงิน นักร้องลูกทุ่งและลูกกรุงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - อากิโอะ มากิ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 26 เมษายน พ.ศ. 2557) พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - วูล์ฟกัง ปีเตอร์เซน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเยอรมัน พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - ใจเด็ด พรไชยา ข้าราชการฝ่ายอัยการชาวไทย พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - เจ้าชายคริสเตียน-ซีกิสมุนด์แห่งปรัสเซีย พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - * วินิตา ดิถียนต์ นักประพันธ์ชาวไทย * เสรี วงษ์มณฑา นักแสดงและพิธีกรชาวไทย พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1943) - เอนก นาวิกมูล นักเขียนชาวไทย พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1946) - วลิต โรจนภักดี ทหารบกชาวไทย พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก พระมหากษัตริย์โมนาโก พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - ไมเคิล นันน์ นักมวยชาวอเมริกัน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - ยูตะ โมชิซูกิ นักแสดงญี่ปุ่น พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - วัลเตร์ อูโก โรดรีเกซ นักมวยสากลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - แมนนี่ เมลชอร์ นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - * ชูเฮ โยโมดะ อดีตนักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น * เฮลมุท โอบลิงเกอร์ นักพายเรือแคนูชาวออสเตรีย พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - * สตีฟ ฮาร์เปอร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * ดวงจันทร์ สุวรรณี นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - คอรีย์ สโตลล์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - อากิ โฮชิโนะ นักแสดงญี่ปุ่น พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - เทศนา พันธ์วิศวาส นักแบดมินตันโอลิมปิกทีมชาติไทย พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - นีกอลา อาแนลกา นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - มีเก นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - * บรุกลิน เชส นักแสดงภาพยนตร์ลามกชาวอเมริกัน * อัฐมา ชีวนิชพันธ์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - เจมี่ เบลล์ นักแสดงอังกฤษ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ชุติมา ทีปะนาถ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * ซูเมีย อบัลฮาจา นางแบบ และนักมวยไทยชาวดัตช์-โมร็อกโก * ณธฤษภ์ ธรรมรสโสภณ นักฟุตบอลชาวไทย * หม่า ซือฉุน นักแสดงหญิงชาวจีน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - โจ แอลเลน นักฟุตบอลชาวเวลส์ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * โกโตกุ ซากาอิ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น * มิอุ นะกะมุระ นักแสดงญี่ปุ่น พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ชอร์ตซี แบล็กฮาร์ต นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - อาซูซะ อากาเนะ อดีตนักแสดงเอวีชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - แอบบี ไรเดอร์ ฟอร์ตสัน นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - พัก จี-ฮุน นักร้องชาวเกาหลีใต้ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1883) - คาร์ล มาร์กซ นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวเยอรมัน (เกิด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361) พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - อิศรา อมันตกุล นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2464) พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - หอมหวล นาคศิริ นักแสดงลิเกชื่อดัง (เกิด 26 มีนาคม พ.ศ. 2442) พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ (เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2485) พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - สตีเฟน วิลไฮต์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันและผู้คิดค้น GIF (เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2491) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันไวท์เดย์ เป็นวันที่ผู้ชายมอบคุกกี้หรือลูกกวาดให้เป็นของขวัญแก่ผู้หญิงที่ให้ช็อคโกแล็ตแก่ตนในวันวาเลนไทน์ วันพาย จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ π (พาย) โดยตั้งตามทศนิยม 2 ตำแหน่งแรกของพายคือ 3.14 วันหยุดเขื่อนโลก == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day NY Times: On This Day Today in History: March 14 มีนาคม 14 มีนาคม
thaiwikipedia
1,004
จำนวน
จำนวน (number) คือวัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ จำนวนมีหลายแบบ จำนวนที่เป็นที่คุ้นเคยก็คือ จำนวนธรรมชาติ {1,2,3,...} ที่เขียนแทนด้วยว่า N ถ้ายอมให้มีจำนวนเต็มลบ ก็จะได้ จำนวนเต็ม หรือที่เขียนแทนด้วย Z อัตราส่วนระหว่างจำนวนเต็มเรียกว่า จำนวนตรรกยะ หรือเศษส่วน โดยที่เซตของจำนวนตรรกยะทั้งหมดเขียนแทนด้วย Q ในการแสดงจำนวนด้วยระบบตัวเลขทศนิยม ถ้ารวมจำนวนที่มีจำนวนหลักไม่จำกัดและไม่จำเป็นต้องมีการซ้ำกันของทศนิยมเข้าไปด้วย จะได้จำนวนจริง หรือ R จำนวนจริงที่ไม่เป็นจำนวนตรรกยะเรียกว่า จำนวนอตรรกยะ จำนวนจริงสามารถขยายเป็น จำนวนเชิงซ้อน หรือ C ที่ทำให้เกิดฟิลด์ปิดเชิงพีชคณิตที่ทุก ๆ พหุนาม ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเชิงซ้อน สามารถแยกตัวประกอบได้อย่างสมบูรณ์ จำนวนเชิงซ้อนที่เป็นรากหรือคำตอบของสมการพหุนาม ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนตรรกยะ เรียกว่า จำนวนเชิงพีชคณิต จำนวนเชิงซ้อนที่ไม่ใช่จำนวนเชิงพีชคณิตเรียกว่า จำนวนอดิศัย (transcendental number) ตัวอักษรสัญลักษณ์ข้างต้น มักเขียนให้เป็นอักษรแบบกระดานดำ นั่นคือ \mathbb{N}\sub\mathbb{Z}\sub\mathbb{Q}\sub\mathbb{R}\sub\mathbb{C} จำนวนเชิงซ้อน สามารถขยายเป็น ควอเทอร์เนียน แต่การคูณในระบบควอเทอร์เนียนนั้น ไม่มีคุณสมบัติการสลับที่ ในลักษณะเดียวกัน ออคโนเนียน คือ ส่วนขยายของควอเทอร์เนียน แต่ในครั้งนี้ คุณสมบัติการเปลี่ยนหมู่ จะสูญเสียไป ระบบพีชคณิตการหารที่มีมิติจำกัด และมีคุณสมบัติการเปลี่ยนหมู่บน R คือจำนวนจริง จำนวนเชิงซ้อน และควอเทอร์เนียน เท่านั้น สมาชิกของฟีลด์ฟังก์ชันเชิงพีชคณิตที่มีแคแรกเทอริสติกจำกัดมีลักษณะหลาย ๆ ประการคล้ายคลึงกับจำนวน ทำให้นักทฤษฎีจำนวนมักพิจารณาให้เป็นจำนวนประเภทหนึ่ง ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนนั้นแตกต่างจากตัวเลข ซึ่งเป็นกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน รูปแบบการเขียนจำนวนด้วยตัวเลขหลาย ๆ หลักถูกอธิบายในระบบตัวเลข ผู้คนมักนิยมกำหนดจำนวนให้กับวัตถุต่าง ๆ เพื่อสร้างชื่อเฉพาะ ซึ่งมีแผนการให้หมายเลขอยู่หลายแบบ == ส่วนขยาย == ส่วนขยายในที่นี้หมายถึงการขยาย จำนวนมาตรฐาน (โดยปกติหมายถึงจำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อน) ออกไปให้ครอบคลุม จำนวนชนิดอื่นๆ มากยิ่งขึ้น จำนวนซูเปอร์เรียล (Superreal) และ จำนวนไฮเพอร์เรียล (hyperreal), ได้นิยามจำนวนอนันต์ และ จำนวนกณิกนันต์เพิ่มเติมในระบบจำนวนจริง จำนวนกณิกนันต์ (infinitesimal number) จำนวนประเภทนี้ ในกรณีเป็นจำนวนบวก หมายถึง "จำนวนที่เล็กกว่าจำนวนจริงบวกทุกตัวแต่ใหญ่กว่าศูนย์" ส่วนกรณีที่เป็นจำนวนลบหมายถึง "จำนวนที่ใหญ่กว่าจำนวนจริงลบทุกตัวแต่น้อยกว่าศูนย์" จำนวนอนันต์ (infinite number) จำนวนประเภทนี้หมายถึง "จำนวนที่ใหญ่กว่าจำนวนจริงทุกตัว" ในกรณีเป็นจำนวนบวก หรือ "จำนวนที่เล็กกว่าจำนวนจริงทุกตัว" ในกรณีเป็นจำนวนลบ การเพิ่มจำนวนสองประเภทนี้เข้าไปในระบบจำนวนมาตรฐาน มีผลให้แคลคูลัสตามแนวคิดดั้งเดิมของไลบ์นิซสามารถพิสูจน์อย่างเคร่งครัดได้ นอกจากนี้ยังมีจำนวนเซอร์เรียล (surreal number)ที่ถูกนิยามโดยจอห์น คอนเวย์ จำนวนเซอร์เรียลครอบคลุมจำนวนไฮเพอร์เรียลและยังมีจำนวนชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติมมากขึ้นไปอีก ในขณะที่จำนวนจริง (ส่วนใหญ่) มีส่วนขยายไปทางด้านขวา (ทศนิยม) ที่มีความยาวไม่จำกัด สามารถลองให้จำนวนมีส่วนขยายไปทางด้านซ้ายที่มีความยาวไม่จำกัดในฐาน p เมื่อ p เป็นจำนวนเฉพาะ การขยายดังกล่าวจะทำให้ได้จำนวน p-แอดิก สำหรับการจัดการกับเซตที่มีจำนวนสมาชิกไม่จำกัด จำนวนธรรมชาติถูกทำให้มีนัยทั่วไปเป็นจำนวนเชิงอันดับที่ (ordinal number) สำหรับระบุลำดับในเซต และจำนวนเชิงการนับ (cardinal number) สำหรับระบุขนาด (ในกรณีของเซตจำกัด จำนวนเชิงอันดับที่และจำนวนเชิงการนับจะเหมือนกัน ความแตกต่างจะเกิดขึ้นในกรณีของเซตไม่จำกัดเท่านั้น) การดำเนินการทางพีชคณิตของจำนวน เช่น การบวก การลบ การคูณ และ การหาร ถูกทำให้มีนัยทั่วไปในสาขาของคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่า พีชคณิตนามธรรม ทำให้ได้กรุป ริง และฟิลด์ == อ้างอิง == R. Courant, H. Robbins and I. Stewart. Chapter 9 in What is Mathematics?, 2nd Ed. Oxford University Press, 1996. D.E. Knuth. Surreal Number. Addison-Wesley, 1974 == ดูเพิ่ม == จำนวนคู่และจำนวนคี่ ค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ จำนวนจากความเชื่อ จำนวนลบและจำนวนไม่เป็นลบ จำนวนเฉพาะ รายชื่อจำนวน == แหล่งข้อมูลอื่น == Wiktionary article on number What's special about this number? What's a Number? วัตถุทางคณิตศาสตร์ ทฤษฎีกรุป จำนวน มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
thaiwikipedia
1,005
13 มีนาคม
วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันที่ 72 ของปี (วันที่ 73 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 293 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) - เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบดาวยูเรนัส พ.ศ. 2352 (ค.ศ. 1809) - พระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟแห่งสวีเดนถูกปลดจากการรัฐประหารในปี 1809 พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1881) - พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย ถูกลอบปลงพระชนม์ พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - พานาโซนิคก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองโอซาก้าประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1921) - ประเทศมองโกเลียประกาศอิสรภาพจากจีน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1938) - ฮิตเลอร์ผนวกออสเตรียเป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิไรช์ พ.ศ. 2486 (ค.ศ.1943) เหตุการณ์กวาดล้างสลัมชาวยิว พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - กองกำลังเวียดมินห์จู่โจมกองทหารฝรั่งเศส เปิดฉากยุทธการที่เดียนเบียนฟูซึ่งเป็นการสู้รบครั้งสุดท้ายในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - อุโมงค์เซคัง อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในโลกในประเทศญี่ปุ่นเปิดให้ใช้บริการอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ท่าอากาศยานเชียงรายใช้ชื่อว่า ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว ได้รับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ ทรงพระนามว่า "ฟรานซิส" == วันเกิด == พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส นักร้องลูกกรุงชาวไทย พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - วิลเลียม เอช. เมซี นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - โชคชัย โชควิวัฒน์ อดีตนักมวยชาวไทย พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - จิตต์โสภิณ ลิมปิสวัสดิ์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - เอ็ดการ์ ดาวิดส์ นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - อู๊ด เป็นต่อ นักแสดงตลกชาวไทย พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - ประเวศน์ ปฐวิกรณ์ยิม นักมวยชาวไทย พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - อี ว็อน-ย็อง นักฟุตบอลชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - ธฤติ โนนศรีชัย นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - อนาวิน จูจีน นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * มาร์โก มาริน นักฟุตบอลชาวเยอรมัน * ฮอลเกอร์ บัดชตูเบอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - คว็อน นา-รา นักร้อง นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - โอซูนา (นักร้อง) นักร้องชาวปวยร์โตรีโก พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * ไทโรน มิงส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * เรจินัลด์ (นักมวยปล้ำ) นักมวยปล้ำอาชีพและอดีตนักกายกรรมชาวอเมริกัน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ฌาราร์ต เด็วลูเฟ็ว นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - พรพิพัฒน์ พัฒนเศรษฐานนท์ พิธีกรและนักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - รูแบน แนวึช นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - หลิว เซ่าอัง นักสเกตความเร็วระยะสั้นชาวฮังการี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - * กฤษณะ ดาวกระจาย นักฟุตบอลชาวไทย * เจมส์ การ์เนอร์ (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2544) นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * โจ ซ็อง-แจ นักว่ายน้ำชาวเกาหลีใต้ * แมตทิว ฮอปปี นักฟุตบอลชาวอเมริกัน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - พระองค์เจ้าอลังการ (ประสูติ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404) พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - จันตรี ศิริบุญรอด นักเขียนที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย (เกิด 31 มีนาคม พ.ศ. 2460) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ (เกิด 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2478) พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - สวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี (เกิด 8 ตุลาคม พ.ศ. 2477) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - มาร์วิน แฮ็กเลอร์ นักมวยสากลชาวอเมริกัน (เกิด 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันช้างไทย พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) - ประเทศมองโกเลียได้รับเอกราชจากประเทศจีน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day มีนาคม 13 มีนาคม
thaiwikipedia
1,006
12 มีนาคม
วันที่ 12 มีนาคม เป็นวันที่ 71 ของปี (วันที่ 72 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 294 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1928) - เขื่อนเซนต์ฟรานซิสในแคลิฟอร์เนียแตก ทำให้เกิดน้ำท่วม คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 400 คน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1930) - มหาตมะ คานธี เริ่มการเดินทางไกล 320 กิโลเมตร ในเวลา 24 วัน เพื่อประท้วงอังกฤษ กรณีที่รัฐผูกขาดการจำหน่ายเกลือในอินเดีย พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1938) - กองทัพเยอรมันเข้ายึดครองออสเตรีย และเปลี่ยนชื่อเป็นออสท์มาร์ค มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิไรค์ของเยอรมัน ในเวลาต่อมา พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1940) - มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพมอสโก ซึ่งถือเป็นการยุติสงครามฤดูหนาวระหว่างฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - องค์การอนามัยโลกออกประกาศเตือนภัยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส) เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - นายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน หายตัวไปอย่างลึกลับ == วันเกิด == พ.ศ. 2227 (ค.ศ. 1685) - จอร์จ บาร์กลีย์ นักปรัชญาชาวไอร์แลนด์ (ถึงแก่กรรม 14 มกราคม พ.ศ. 2295) พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) - โจ เฟแกน อดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 30 มิถุนายน พ.ศ. 2544) พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1924) - แฮรี่ แฮริสัน นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - อัล จาร์โร นักร้องชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560) พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - ไลซา มินเนลลิ นักร้อง นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - เจมส์ เทย์เลอร์ นักร้องอเมริกัน พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - โยสท์ กิพเพิร์ท นักภาษาศาสตร์ชาวเยอรมัน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) * เดวิด รูฟโฟโล นักวิทยาศาสตร์เชื้อชาติอเมริกัน * อารอน เอคฮาร์ท นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - จินตหรา พูนลาภ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - เฮคิรุ ชิอินะ นักพากย์/นักร้องชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) * เจ้า เวย นักแสดง/นักร้องชาวจีน * อาเลชังดรี ปอลกิง ผู้จัดการทีม ชาวบราซิล พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - เจมี อเล็กซานเดอร์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - นพรัตน์ สกุลอ๊อด นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - วิทวัส สิงห์ลำพอง (บอล) นักแสดง/พิธีกร/นายแบบชาวไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) * การ์โลส อากาโป นักฟุตบอลชาวอิเควทอเรียลกินี * ราฟาแอล อัลกังตารา นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - คริสตินา กริมมี นักร้องชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) * ดีน เฮนเดอร์สัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * โดมินิก ตัน นักฟุตบอลชาวมาเลเซีย พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ราชภัทร วรสาร นักแสดง/นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - คิม มิน-กยู (นักร้อง) นักแสดง, นักร้อง, พิธีกร และนายแบบชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - เจ้าชายกาบรีแยลแห่งนัสเซา พระโอรสพระองค์แรกใน เจ้าชายหลุยส์แห่งลักเซมเบิร์ก == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) - พระศรีพนมมาศ (ทองอิน แซ่ตัน) อดีตนายอำเภอลับแล (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2422) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1925) - ซุน ยัตเซ็น ผู้นำทางการเมืองและนักปฏิวัติของจีน (เกิด 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2409) พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - ลาซาเร ปอนติเชลลี ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวฝรั่งเศสคนสุดท้าย พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - สมเพียร เอกสมญา ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรบันนังสตา จังหวัดยะลา (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - สมเด็จพระราชาธิบดีกูดวิลล์ ซเวเลตินี กาเบกูซูลู พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรซูลู (พระราชสมภพ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2492) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันปลูกต้นไม้ (สาธารณรัฐประชาชนจีน,สาธารณรัฐจีน) วันปีใหม่อัซเต็ก วันชาติมอริเชียส วันต่อต้านการตรวจพิจารณาไซเบอร์โลก == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day มีนาคม 12 มีนาคม
thaiwikipedia
1,007
11 มีนาคม
วันที่ 11 มีนาคม เป็นวันที่ 70 ของปี (วันที่ 71 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 295 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - จีนประกาศใช้ " บทบัญญัติชั่วคราวสาธารณรัฐประชาราษฎร์จีน " ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของจีน ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - กองทหารเยอรมันเดินทัพเข้าสู่ออสเตรีย พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ทหารอินโดนีเซียกดดันให้ประธานาธิบดีซูการ์โนลงจากตำแหน่ง พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ประเทศลิทัวเนียได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - ผู้ก่อการร้ายใช้ระเบิดหลายลูก โจมตีขบวนรถไฟโดยสารในกรุงมาดริด ประเทศสเปน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 191 คน บาดเจ็บกว่า 1,800 คน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิตามมา และให้เกิดภัยพิบัติที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง == วันเกิด == พ.ศ.2261 (ค.ศ.1718)-จักรพรรดินีจี้ จักรพรรดินีผู้ถูกปลดในจักรพรรดิเฉียนหลง พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) - พระเจ้าปดุง (สวรรคต 5 มิถุนายน พ.ศ. 2362) พ.ศ. 2359 (ค.ศ. 1816) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (สิ้นพระชนม์ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2415) พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) - สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก (สวรรคต 14 มกราคม พ.ศ. 2515) พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - รัชนี ศรีไพรวรรณ ครูและนักประพันธ์ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 15 เมษายน พ.ศ. 2557) พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีของไทย พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - ไนเจล แอดกินส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - เทร์เรนซ์ ฮาวเวิร์ด นักแสดง, แร็ปเปอร์, นักร้อง, นักแต่งเพลง และผู้ผลิตแผ่นเสียงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - จอห์นนี นอกซ์วิลล์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - ดีดีเย ดรอกบา นักฟุตบอลชาวไอวอรีโคสต์ พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ฟาบีอู กูเองเตรา นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - แอนทอน เยลชิน นักแสดงชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * แจ็ก ร็อดเวลล์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * อเลสซานโดร ฟลอเรนซี นักฟุตบอลชาวอิตาลี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - นะโอะ โทยะมะ นักพากย์ นักร้องชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - แอนดรูว์ รอเบิร์ตสัน นักฟุตบอลชาวสกอตแลนด์ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ธนบดี ใจเย็น นักร้องและนักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล นักแสดง == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (ประสูติ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398) พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ (ประสูติ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2410) พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - เอ็ดมุนด์ คูเปอร์ กวีและนักเขียนชาวอังกฤษ (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2469) พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - สโลโบดัน มิโลเชวิช อดีตผู้นำเซอร์เบียและยูโกสลาเวีย (เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2484) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - น้องทราย คุณแม่ขอร้อง นักแสดงตลก == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day มีนาคม 11 มีนาคม
thaiwikipedia
1,008
10 มีนาคม
วันที่ 10 มีนาคม เป็นวันที่ 69 ของปี (วันที่ 70 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 296 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1831) - พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ก่อตั้งกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส (French Foreign Legion) เพื่อรองรับการทำสงครามในแอลจีเรีย พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1876) - อะเล็กซานเดอร์ กราแฮม เบลล์ ประสบความสำเร็จ ในการทดลองพูดผ่านสายโทรศัพท์ เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) - คนงานเหมืองถ่านหินกว่าหนึ่งพันคน เสียชีวิตในอุบัติเหตุระเบิดภายในเหมือง ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา อดีตประธานาธิบดี กระทำรัฐประหารในคิวบา พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - การก่อการกำเริบในทิเบต: ด้วยเกรงความพยายามลักพาตัวของจีน ชาวทิเบต 300,000 คนจึงล้อมวังของทะไลลามะเพื่อป้องกันการย้ายออก พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก ขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 5,048.62 จุด ในช่วงที่ธุรกิจดอตคอมเฟื่องฟู == วันเกิด == พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) - จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย (สวรรคต 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437) พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) - แบร์รี ฟิตซ์เจอรัลด์ นักแสดงชาวไอริช (ถึงแก่กรรม 14 มกราคม พ.ศ. 2504) พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (สิ้นพระชนม์ 23 มกราคม พ.ศ. 2500) พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) - บุญเรือน โตงบุญเติม อุบาสิกาผู้สำเร็จธรรม ( เสียชีวิต 7 กันยายน พ.ศ. 2507 ) พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - เรนาโต คอนสตันติโน นักประวัติศาสตร์ชาวฟิลิปปินส์ (ถึงแก่กรรม 15 กันยายน พ.ศ. 2542) พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1933) - ฟูจิโกะ เอ. ฟูจิโอะ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 7 เมษายน พ.ศ. 2565) พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - ชัค นอร์ริส นักแสดงอเมริกัน พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - อุซามะห์ บิน ลาดิน ผู้ก่อการร้ายชาวซาอุดิอาระเบีย (เสียชีวิต 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - ชารอน สโตน นักแสดง ผู้สร้างภาพยนตร์ นางแบบชาวอเมริกัน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - เดวิด กรีแมน นักมวยสากลชาวเวเนซุเอลา พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - โรลันโด อันดายา จูเนียร์ นักกฎหมายชาวฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - ทิมบาแลนด์ โปรดิวเซอร์เพลง นักร้อง แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - * ลัควา ชิม นักมวยสากลชาวมองโกเลีย * ไมเคิล ลูคัส นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์โป๊ชาวรัสเซีย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - จอห์น เลคอมป์ต์ นักดนตรีชาวอเมริกัน พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - โรบิน ธิก นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ซามุแอล เอโต นักฟุตบอลชาวแคเมอรูน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - แคร์รี อันเดอร์วูด นักร้องคันทรี, นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - โอลิเวีย ไวลด์ นักแสดงและนางแบบแฟชั่นชาวอเมริกัน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - ลาซานา ดียารา นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - หลิว ซือซือ นักแสดงชาวจีน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - เค็นชิ โยเนซุ นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ และจิตรกรภาพประกอบชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * แจ็ก บัตแลนด์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * พีเนียล ชิน นักร้องและแร็ปเปอร์ชาวเกาหลี-อเมริกัน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - แบดบันนี แร็ปเปอร์ นักร้อง และนักแต่งเพลงชาวปวยร์โตรีโก พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - อาเชน ไอย์ดึน นักแสดงและนักร้องชาวไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1948) - กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ประสูติ 28 เมษายน พ.ศ. 2406) พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เบญจมินทร์ นักร้อง นักแต่งเพลงรุ่นเก่าชื่อดังที่ได้รับฉายาว่า "ราชาเพลงรำวง" (เกิด 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2464) พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เจ้าชื่น สิโรรส (เกิด 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) * มูฮัมมัด ซัยยิด ตอนตอวี อิหม่ามชาวอียิปต์ (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1928) * โครีย์ เฮม นักแสดงชาวแคนาดา (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2514) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - ลิเลียน ดัชเชสแห่งฮัลลันด์ อดีตนางแบบ (ประสูติ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2458) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด ประธานาธิบดีโซมาเลียคนที่ 4 (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2482) พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - สรพงศ์ ชาตรี นักแสดงชาวไทย (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2492) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day มีนาคม 10 มีนาคม
thaiwikipedia
1,009
9 มีนาคม
วันที่ 9 มีนาคม เป็นวันที่ 68 ของปี (วันที่ 69 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 297 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสสิงคโปร์ เป็นการเสด็จต่างประเทศครั้งแรก พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) - เริ่มสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1908) - สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลานก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม: เรย์มอนด์ บี สตีเวนส์ ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน และพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) ทูลเกล้าถวายเอกสารชื่อ An Outline of Changes in the Form of Government ซึ่งเป็นเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย แด่รัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - กองกำลังสัมพันธมิตรบนเกาะชวายอมจำนนต่อญี่ปุ่น พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - สงครามโลกครั้งที่สอง: เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกา ถล่มเมืองโตเกียวของญี่ปุ่น ทำให้เกิดพายุเพลิง คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นประมาณ 100,000 คน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ตุ๊กตาบาร์บี ตุ๊กตาที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก เปิดตัวครั้งแรกในงานแสดงตุ๊กตาที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) -วันก่อตั้ง พรรคประชากรไทย โดย สมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ก่อตั้งพรรคและเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) * ประชาชนในกรุงเบลเกรดเดินขบวนครั้งใหญ่ เพื่อต่อต้านสโลโบดัน มิโลเซวิค ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน * เป็นวันเริ่มสร้างพระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ตอลิบานใช้ระเบิดไดนาไมต์ทำลายพระพุทธรูปแห่งบามียาน == วันเกิด == พ.ศ. 388 (141 ปีก่อน ค.ศ.) - จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (สวรรคต 29 มีนาคม พ.ศ. 456) พ.ศ. 2111 (ค.ศ. 1568) - นักบุญลุยจี กอนซากา (เสียชีวิต 21 มิถุนายน พ.ศ. 2134) พ.ศ. 2280 (ค.ศ. 1737) - สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (สวรรคต 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369) พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) - โฮเซ เป. เลาเรล นักการเมืองและผู้พิพากษาชาวฟิลิปปินส์ (ถึงแก่กรรม 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502) พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1916) - ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ถึงแก่กรรม 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1934) - ยูริ กาการิน นักบินอวกาศชาวรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 27 มีนาคม พ.ศ. 2511) พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1965) - นิรันดร์ บุณยรัตพันธ์ หรือน้าต๋อย เซมเบ้ นักพากย์ชาวไทย พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ทะกะอะกิ คะจิตะ นักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - อรวี สัจจานนท์ นักร้องหญิงชาวไทย พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - แซมมี่ สจ๊วต นักมวยสากลชาวไลบีเรีย พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - แชนนอน เลโท นักดนตรีและนักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้อง, นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - โอสการ์ อิซาอัก นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - คลินต์ เดมป์ซีย์ นักฟุตบอลชาวอเมริกัน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - จอร์จี เวลคัม นักฟุตบอลชาวฮอนดูรัส พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ภัทรนิษฐ์ แก้วมณี นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - *คิม แท-ย็อน นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เดลีย์ บลินด์ นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * จุงยะ อิโต นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น * จอห์น แมรี่ นักฟุตบอลชาวแคเมอรูน * มิน ยุน-กี นักร้องชาวเกาหลีใต้ * สเตฟาโน สตูราโร นักฟุตบอลชาวอิตาลี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - อังเฆล กอร์เรอา นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - ซอ ซู-จิน นักร้องและนักเต้นชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - สุนิสา ลี นักยิมนาสติกสากลชาวอเมริกันเชื้อสายม้ง พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - เจ้าหญิงอาเดรียน ดัชเชสแห่งเบลคิงเงอร์ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2111 (ค.ศ. 1568) - นักบุญฟรันเชสกาแห่งโรม พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) - จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี (ประสูติ 22 มีนาคม พ.ศ. 2340) พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 (เกิด 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - แอร์ลิง ลอเรนต์ซัน พระภัสดาในเจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ (เกิด 28 มกราคม พ.ศ. 2466) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == โรมันคาทอลิก - วันฉลองนักบุญฟรันเชสกาแห่งโรมและนักบุญกาเตรีนาแห่งโบโลญญา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day มีนาคม 09 มีนาคม
thaiwikipedia
1,010
8 มีนาคม
วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันที่ 67 ของปี (วันที่ 68 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 298 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2160 (ค.ศ. 1618) - โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ ค้นพบกฎข้อที่ 3 ของการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) - พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองกาญจนบุรีเดิมจาก ต.ลาดหญ้า มาตั้ง ณ เมืองกาญจนบุรีในปัจจุบัน พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) - *พระเจ้าคาร์ลที่ 14 โยฮัน แห่งสวีเดน เสด็จสวรรคต *พระเจ้าออสการ์ที่ 1 แห่งสวีเดน เสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) - วันสถาปนาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - มีการเฉลิมฉลองวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - สงครามโลกครั้งที่สอง: ชาวดัตช์ยอมจำนนต่อกองกำลังญี่ปุ่นในชวา พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - สงครามโลกครั้งที่สอง: ญี่ปุ่นเข้ายึดครองย่างกุ้ง ประเทศพม่า พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - สงครามเวียดนาม: นาวิกโยธินของสหรัฐอเมริกาจำนวน 3,500 นาย เดินทางถึงเวียดนามใต้ เป็นกองกำลังหน่วยแรกในเวียดนาม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1966) - ถวายพระเพลิงพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - หนังสือพิมพ์ สยามกีฬารายวัน ฉบับปฐมฤกษ์ วางจำหน่าย ถือเป็นหนังสือพิมพ์กีฬาที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในประเทศไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - มีพิธีเปิดอาคารกระทรวงการคลัง บนถนนพระรามที่ 6 ซอยอารีย์สัมพันธ์ อย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - เรือโดยสารระหว่างศรีราชา-เกาะสีชัง ถูกเรือบรรทุกน้ำมันชนนอกชายฝั่ง ผู้โดยสารที่ติดอยู่ในเรือเสียชีวิต 119 คน จาก 131 คน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - วันก่อตั้ง สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี โดยได้รับช่วงต่อจาก สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อ เวลา 00:00 พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 ซึ่งมีผู้โดยสาร 239 คน หายสาบสูญโดยไม่ทราบสาเหตุ ระหว่างทางจากกัวลาลัมเปอร์ไปปักกิ่ง == วันเกิด == พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) - อนันต์ กรุแก้ว อดีตข้าราชการชาวไทย (เสียชีวิต 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - โฟลเรนติโน เปเรซ นักธุรกิจชาวสเปน พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - เจฟฟรีย์ ยูจินนีดีส นักเขียนชาวอเมริกัน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) * เป็นเอก รัตนเรือง ผู้กำกับและนักเขียนบทภาพยนตร์ * สมชาย ทรัพย์เพิ่ม อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - กิตติพันธ์ พุ่มสุโข อดีตนักแสดง นักร้องและนายแบบชาวไทย พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - รูมิ คาซาฮาระ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เฟรดดี พรินซ์ จูเนียร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ชนันภรณ์ รสจันทน์ นางงามชาวไทย พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) * เรนัน มาร์เกวซ นักฟุตบอลชาวบราซิล * อังเดร ซังตูช นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) * เจิร์จ การิช อดีตนักฟุตบอลชาวออสเตรีย * รีโย มาวูบา นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - คนึง บุราณสุข นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ศรัทธา กปูร นักแสดงภาพยนตร์และนักร้องชาวอินเดีย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - อันเดร์ อีตูร์รัสเป นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) * มีนาพร วงศ์โฆษวรรณ นักร้องชาวไทย * ยุน จี-ซ็อง นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ * รอเบร์ต มัก นักฟุตบอลอาชีพชาวสโลวาเกีย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - ณัฐชนน ภูวนนท์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) * ดังคัน วัตมอร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * แพรอิศรา ปูคะวนัช นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) * จูรินะ มัตสึอิ นักร้อง นักแสดง และนางแบบชาวญี่ปุ่น * หฤษฎ์ ชีวการุณ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) * กัลย์สุดา ชนาคีรี นางแบบและนางงามชาวไทย-เมียนมา * ชาคร พิลาคลัง นักฟุตบอลอาชีพชาวไทย พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - คิต คอนเนอร์ นักแสดงชาวอังกฤษ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) - พระเจ้าคาร์ลที่ 14 โยฮัน แห่งสวีเดน (พระราชสมภพ 26 มกราคม พ.ศ. 2306) พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) - เอกเตอร์ แบร์ลิออส คีตกวีชาวฝรั่งเศส (เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2346) พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - ฮาจิโก สุนัขกตัญญูแห่งสถานีชิบูย่า พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) นักดนตรีไทย (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424) พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - แมกซ์ ฟอน ซีโดว นักแสดงชาวสวีเดน (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2472) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันสตรีสากล == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day มีนาคม 08 มีนาคม
thaiwikipedia
1,011
7 มีนาคม
วันที่ 7 มีนาคม เป็นวันที่ 66 ของปี (วันที่ 67 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 299 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1876) - อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ได้รับการรับรองสิทธิบัตร ผลงานประดิษฐ์คิดค้นโทรศัพท์ พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - โรอัลด์ อะมุนด์เซน นักสำรวจชาวนอร์เวย์ ประกาศการเดินทางไปถึงขั้วโลกใต้เป็นคนแรก ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1936) - สงครามโลกครั้งที่สอง : เยอรมนีเข้ายึดครองไรน์แลนด์ เป็นการละเมิดข้อตกลงโลคาร์โนและสนธิสัญญาแวร์ซาย พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - คณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ยิงตัวเองเสียชีวิตประท้วงการแทรกแซงคำพิพากษา == วันเกิด == พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1792) - จอห์น เฮอร์เชล นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2414) พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) - พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (สิ้นพระชนม์ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2451) พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) - พระองค์เจ้ามยุรฉัตร (สิ้นพระชนม์ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513) พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) - มอชตาร์ ลูบิส นักเรียกร้องเสรีภาพคนสำคัญของอินโดนีเซีย (ถึงแก่กรรม 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547) พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - โมะโมะโกะ โคชิ นักแสดงและนางแบบชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ไวพจน์ เพชรสุพรรณ นักร้องชาวไทย (ถึงแก่กรรม 12 มกราคม พ.ศ. 2565) พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - เทย์เลอร์ เดย์น นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - เรเชล ไวสซ์ นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - เจ้าหญิงโซฟี เจ้าหญิงแห่งปรัสเซีย พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - มาตีเยอ ฟลามีนี นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - อาแตม แบน อาร์ฟา นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - พรพรรณ สิทธินววิธ นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ชเว จง-ฮุน อดีตนักดนตรีและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - อิม ฮยอน-ซิก (นักร้อง) นักร้อง, นักเขียนเพลงและนักแต่งเพลงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - จอร์แดน พิกฟอร์ด นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - โรนัลด์ อาราอูโฆ นักฟุตบอลชาวอุรุกวัย พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - อากาเนะ ฮากะ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เจด เวเบอร์ นางแบบ นักแสดงและแดนเซอร์ชาวฮ่องกง-ฝรั่งเศส == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (วันประสูติ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428) พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - สแตนลีย์ คูบริก ผู้กำกับชาวอเมริกัน (เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2471) พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - คณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2512) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - พระธรรมรัตนากร (สีนวล ปญฺญาวชิโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (เกิด 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day มีนาคม 07 มีนาคม
thaiwikipedia
1,012
6 มีนาคม
วันที่ 6 มีนาคม เป็นวันที่ 65 ของปี (วันที่ 66 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 300 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1521) - เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน และลูกเรือ เดินทางถึงเกาะกวม พ.ศ. 2379 (ค.ศ. 1836) - การปฏิวัติเท็กซัส: กองทัพเม็กซิโกยึดอลาโมในแซนแอนโทนีโอจากชาวเท็กซัส หลังการล้อมนาน 13 วัน พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) - อุปรากร ลา ทราวิอาทา ของจูเซปเป แวร์ดี เปิดแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ลาเฟนิซที่เวนิส แต่การแสดงนั้นเลวมากจนผู้ประพันธ์ต้องปรับบางส่วน พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) - ดมีตรี เมนเดเลเยฟ เสนอตารางธาตุชิ้นแรก ต่อสมาคมเคมีรัสเซีย พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1899) - ไบเออร์จดทะเบียนแอสไพรินเป็นเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - อิรักและอิหร่านลงนามในความตกลงอัลเจียร์ เพื่อยุติข้อพิพาทด้านพรมแดน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เรือเฟอร์รี่อังกฤษ MS Herald of Free Enterprise เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำหลังออกจากท่าในเบลเยียม ระหว่างเดินทางไปโดเวอร์ มีผู้เสียชีวิต 193 ศพ นับเป็นความสูญเสียทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในทะเลยามสงบตั้งแต่ ค.ศ. 1919 พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อัลเคาะลีฟะฮ์ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบาห์เรน พระองค์แรก หลังจากการสถาปนาบาห์เรนเป็นราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - ยานดอว์นของนาซา โคจรรอบและลงจอดบนดาวเคราะห์แคระเซเรส และกลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปถึงดาวเคราะห์แคระ == วันเกิด == พ.ศ. 1883 (ค.ศ. 1340) - จอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ (สิ้นพระชนม์ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1942) พ.ศ. 2017 (ค.ศ. 1475) - มิเกลันเจโล บัวนาร์โรติ ศิลปินและกวีชาวอิตาลี (ถึงแก่กรรม 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2106) พ.ศ. 2366 (ค.ศ. 1823) - กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (สิ้นพระชนม์ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2410) พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) - สมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะแห่งญี่ปุ่น (สวรรคต 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543) พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - จูมมะลี ไซยะสอน ประธานาธิบดีลาว พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - วาเลนตินา เทเรชโกวา นักบินอวกาศโซเวียต พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - จินตหรา กวีสุนทรกุล นักร้องลูกทุ่งหมอลำชาวไทย พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - วาล เวนิส นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - แชคิล โอนีล นักบาสเกตบอลชาวอเมริกัน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - แกรี มังก์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) *จอร์จี บาลากซิน นักมวยสากลชาวรัสเซีย * โรดริโก ตาดเด นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - เบ็คกี้ นักแสดงทาเร็นโตะหญิงญี่ปุ่น พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - ชาร์ลี มัลกรูว์ นักฟุตบอลชาวสกอตแลนด์ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เควิน-พรินซ์ โบอาเทง นักฟุตบอลอาชีพชาวกานา พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) * นิโคล ฟ็อกซ์ นางแบบอเมริกัน * โรดริโก (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2534) นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - โมโมโกะ ซึงุนางะ นักร้องญี่ปุ่น พ.ศ. 25366 (ค.ศ. 2023) - ทีโม แวร์เนอร์ นักฟุตบอลชาวไทย == วันเสียชีวิต == พ.ศ. 2225 (ค.ศ. 1682) - หลวงปู่ทวด (เกิด พ.ศ. 2125) พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1754) - เฮนรี เพลแฮม นักการเมืองชาวอังกฤษ (เกิด พ.ศ. 2285) พ.ศ. 2349 (ค.ศ. 1806) - ตุนเฟย์ (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2289) พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) - ลุยซา เมย์ อัลคอตต์ นักเขียนและกวีชาวอเมริกัน เจ้าของผลงาน "สี่ดรุณี" (เกิด 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2375) พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ (พระราชสมภพ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2444) พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - เอกชัย นพจินดา ผู้บรรยายการแข่งขันกีฬาที่มีชื่อเสียงของไทย (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2496) พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - สมจินต์ ธรรมทัต นักแสดง นักพากย์ และผู้กำกับการแสดงชาวไทย (เกิด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เทเรซา ไรต์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2461) พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - แนนซี เรแกน นักแสดงและอดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา (เกิด 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2464) พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) - ดาวเวียง บุตรนาโค นักเขียนและนักแต่งเพลงชาวลาว (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2497) เก == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันอลาโม (เท็กซัส) วันก่อตั้ง: ก่อตั้งหมู่เกาะนอร์ฟอล์กเมื่อ ค.ศ. 1788 (เกาะนอร์ฟอล์ก) วันเอกราช: เฉลิมฉลองการได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1957 (กานา) วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day มีนาคม 06 มีนาคม
thaiwikipedia
1,013
5 มีนาคม
วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันที่ 64 ของปี (วันที่ 65 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 301 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 906 (ค.ศ. 543) - จักรพรรดิโรมันจูเลียน ได้ยกกองกำลังรบจำนวน 90,000 นายออกจากแอนติออก เพื่อเข้าโจมตีจักรวรรดิแซสซานิด พ.ศ. 2039 (ค.ศ. 1496) - พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ ได้ให้อำนาจแก่นักเดินเรือจอห์น แคบอต และลูกชาย เดินทางออกสำรวจดินแดนใหม่ภายใต้สัญญาการทำงาน พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) - ปาร์มา ทัสกานี โมเดนา และโรมัญญา ได้มีการลงเสียงประชามติเพิ่อเข้าร่วมราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - สหภาพโซเวียต ย้ายเมืองหลวงจากเซนต์ปีเตอส์เบิร์กไปยังมอสโก พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - วินสตัน เชอร์ชิลล์ ใช้คำว่า "ม่านเหล็ก (Iron Curtain) " เป็นครั้งแรก ในการกล่าวสุนทรพจน์ ที่มิสซูรี ซึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - ภาพถ่าย เกร์รีเยโร เอโรยโก อันเป็นภาพสัญรูปประวัติศาสตร์ของ เช เกบารา นักปฏิวัติลัทธิมาร์กซ์ ได้ถูกบันทึกภาพไว้โดยอัลเบร์โต กอร์ดา ช่างภาพชาวคิวบา พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ยานสำรวจอวกาศเวเนรา 14 ของสหภาพโซเวียต ได้ลงจอดบนดาวศุกร์ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ซีรีส์ชุด ตำรวจอวกาศเกียบัน ได้เริ่มออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ทางทีวีอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นจุดเริ่มต้นของซีรีส์ชุดเมทัลฮีโร พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - องค์การนาซาประกาศว่ายานเคลเมนไทน์ ที่โคจรรอบดวงจันทร์ ค้นพบน้ำในหลุมที่ขั้วของดวงจันทร์ พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูหนาว 1998 ได้เริ่มต้นขึ้นที่เมืองนะงะโนะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการแข่งขันขึ้นนอกทวีปยุโรป == วันเกิด == พ.ศ. 1676 (ค.ศ. 1133) - พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (สวรรคต 6 กรกฎาคม พ.ศ. 1732) พ.ศ. 1781 (ค.ศ. 1238) - พญางำเมือง กษัตริย์แห่งอาณาจักรภูกามยาว พ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1637) - ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน จิตรกร ช่างดราฟต์ ช่างพิมพ์ และนักประดิษฐ์ชาวดัตช์ (เสียชีวิต พ.ศ. 2255) พ.ศ. 2239 (ค.ศ. 1696) - โจวันนี บัตติสตา ตีเอโปโล จิตรกรชาวอิตาเลียน (เสียชีวิต พ.ศ. 2313) พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838) - สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (พิราลัย 13 เมษายน พ.ศ. 2447) พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) - อาร์ชดัชเชสโซฟีแห่งออสเตรีย (สิ้นพระชนม์ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2400) พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) - โรซา ลุกเซิมบวร์ค นักทฤษฎีมาร์กซิสม์ นักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ และนักกิจกรรมชาวยิวเชื้อสายโปแลนด์ (เสียชีวิต 15 มกราคม พ.ศ. 2462) พ.ศ. 2422 (ค.ศ. 1879) - เซอร์ วิลเลียม เบเวอริดจ์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวางแผนสังคมชาวอังกฤษ (เสียชีวิต พ.ศ. 2506) พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - * โจว เอินไหล นักการเมืองจีน (เสียชีวิต พ.ศ. 2519) * มิซะโอะ โอกะวะ บุคคลที่มีอายุมากที่สุดในโลกชาวญี่ปุ่น (เสียชีวิต พ.ศ. 2558) พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) - เซอร์ เรกซ์ แฮร์ริสัน นักแสดงชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 2 มิถุนายน พ.ศ. 2533) พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) - โมะโมะฟุกุ อันโด นักธุรกิจชาวญี่ปุ่น-ไต้หวัน (เสียชีวิต พ.ศ. 2550) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - สมศักดิ์ เทพานนท์ นักร้อง นักแต่งเพลงชาวไทย (เสียชีวิต พ.ศ. 2537) พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - แดเนียล คาฮ์นะมัน นักจิตวิทยาชาวอิสราเอล-อเมริกัน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - อีเลน เพจ นักร้อง นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - บุญศรี รัตนัง ศิลปินแห่งชาติ นักดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ นักร้องชาวไทย (เสียชีวิต 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - แอนดี กิบบ์ นักร้องชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 10 มีนาคม พ.ศ. 2531) พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ซึกาสะ โฮโจ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) * รัชนก แสง-ชูโต นักแสดงชาวไทย * อเล็กซานดาร์ วูซิส ประธานาธิบดีเซอร์เบียคนที่ 5 พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - * เยนส์ เยเรมีส นักฟุตบอลชาวเยอรมัน * อีวา เมนเดส นักแสดง และนางแบบชาวอเมริกัน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - ดาเนียล ริสช์ นายกรัฐมนตรีลีชเทินชไตน์คนที่ 14 พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - กร บุญอวบ ผู้ก่อตั้งสถาบันการสอนประวัติศาสตร์และภาษา Master room พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - แสงทอง เกตุอู่ทอง นางแบบชาวไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - ชีกาบาลา นักฟุตบอลชาวอียิปต์ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - แอนนา ชาคเวอทัทเซอ นักเทนนิสชาวรัสเซีย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * พิชญา เชาวลิต นักแสดงชาวไทย * อีลียา ควาชา นักกีฬากระโดดน้ำชาวยูเครน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * เค็นซุเกะ นะงะอิ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น * ชนินทร จิตปรีดา นักแสดง พิธีกรชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - * แดนนี ดริงก์วอเตอร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * มาร์โก อูเรญญา นักฟุตบอลชาวคอสตาริกา * อองซอ นักฟุตบอลชาวพม่า พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * ฐิตินันท์ คลังเพชร นักแสดงชาวไทย * แฟรจี (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2536) นักฟุตบอลชาวบราซิล * อะห์มัด ฮะซัน มะห์ญูบ นักฟุตบอลอาชีพชาวอียิปต์ * แฮร์รี แมไกวร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เอ็มเจ นักร้อง, นักแสดง และนายแบบชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - เทย์เลอร์ ฮิลล์ นางแบบชาวอเมริกัน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - * พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพร นักแสดงชายชาวไทย * แมตตี ลี นักกีฬากระโดดน้ำชายชาวอังกฤษ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ไทแทน ทีปประสาน นักร้อง นักแสดงชายชาวไทย == วันถึงแก่กรรม วันมรณภาพ == พ.ศ. 797 (ค.ศ. 254) - สมเด็จพระสันตะปาปาลูซิอุสที่ 1 พ.ศ. 2077 (ค.ศ. 1534) - อันโตนีโอ ดา กอร์เรจโจ จิตรกรชาวอิตาเลียน (เกิด พ.ศ. 2032) พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) - พระเจ้ายองโจ พระมหากษัตริย์เกาหลี (พระราชสมภพ พ.ศ. 2237) พ.ศ. 2370 (ค.ศ. 1827) * อาเลสซานโดร โวลตา นักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียน (เกิด พ.ศ. 2288) * ปีแยร์-ซีมง ลาปลัส นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส (เกิด พ.ศ. 2292) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - พระยาประสานดุริยศัพท์ ครูดนตรีไทย (เกิด พ.ศ. 2403) พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - พระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) นายอากรที่มีชื่อเสียง (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2394) พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต (เกิด พ.ศ. 2421) พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - เฉิน เฉิง ผู้นำทางการเมืองและการทหารชาวจีน (เกิด พ.ศ. 2440) พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อิณฑสุวัณโณเถร) พระสงฆ์ไทย (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2430) พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - อัลเบร์โต กรานาโด นักประพันธ์และนักวิทยาศาสตร์ชาวคิวบา (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2465) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) * อูโก ชาเบซ ประธานาธิบดีแห่งเวเนซุเอลา (เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2497) * พอล แบเรอร์ ผู้จัดการมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2497) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ไทย - วันนักข่าว จีน - วันเรียนรู้จากเหลยเฟิง อิหร่าน - วันปลูกต้นไม้แห่งชาติ มณฑลคอร์นวอลล์, อังกฤษ - วันนักบุญพิรัน == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: March 5 มีนาคม 05 มีนาคม
thaiwikipedia
1,014
4 มีนาคม
วันที่ 4 มีนาคม เป็นวันที่ 63 ของปี (วันที่ 64 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 302 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) - สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น: ทหารญี่ปุ่น 100,000 คน กดดันให้ทหารรัสเซียในเกาหลีล่าถอยไปยังแมนจูเรีย พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - เวลา 3.00 น. เกิดเหตุการณ์สังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายจำลอง ดาวเรือง, นายถวิล อุดล, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ซึ่งทั้งหมดเป็นอดีตรัฐมนตรีและนักการเมืองในสังกัดของนายปรีดี พนมยงค์ และนายเตียง ศิริขันธ์ ที่ถนนพหลโยธิน ก.ม.ที่ 11 โดยทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตอย่างน่าสงสัยบนรถขนนักโทษของตำรวจ แต่ทางตำรวจแถลงว่าเกิดจากการปะทะกับโจรมลายูที่จะมาชิงตัวนักโทษ พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ในยุโรปตะวันออก ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,500 คน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - วันสถาปนาก่อตั้ง โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - เกิดระเบิดที่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล มีผู้เสียชีวิต 20 คน กลุ่มฮามาสออกมาอ้างความรับผิดชอพ.ศ. 2537 พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - โซนี่คอมพิวเตอร์เอนเตอร์เทนเมนท์ ได้ออกวางจำหน่ายเครื่องเล่นวิดีโอเกมส์ "โซนี่เพลย์สเตชัน 2" เป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นพร้อมเกมสำหรับบนเครื่องเล่นดังกล่าวจำนวน 10 เกม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เกิดการระเบิดฆ่าตัวตายในเมืองเนทันยาฮู ประเทศอิสราเอล มีผู้เสียชีวิต 3 คน กลุ่มฮามาสออกมาอ้างความรับผิดชอบ == วันเกิด == พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) - พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ทหารชาวไทย (เสียชีวิต 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523) พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - มารวย ผดุงสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - ศรคีรี ศรีประจวบ อดีตนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง และอดีตนักแสดงชาวไทย (เสียชีวิต 30 มกราคม พ.ศ. 2515) พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - เคนนี แดลกลีช อดีตนักฟุตบอลชาวสกอตแลนด์ พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - มนต์สยาม ฮ. มหาชัย นักมวยชาวไทย พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - มลาเด็น เคอร์สตายิช ผู้จัดการทีมฟุตบอลและอดีตนักฟุตบอลชาวเซอร์เบีย พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - กรุณพล เทียนสุวรรณ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - วีวาเชลาฟ มาลาเฟียฟ นักฟุตบอลชาวรัสเซีย พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - หลุยส์ สก๊อต นักร้อง นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - พัก มิน-ย็อง นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ซเตว็อง ล็องกี นักฟุตบอลชาวมาร์ตีนิก พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เอริน เฮเธอร์ตัน นางแบบชาวอเมริกัน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ปกเกล้า อนันต์ นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - แบนท์ เลโน นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - * ธนนท์ จำเริญ นักร้องชาวไทย * อิรินา ซาเรตสกา นักคาราเต้ชาวยูเครน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - * คว็อน ฮย็อน-บิน นักร้อง นายแบบ ชาวเกาหลีใต้ * พลอยไพลิน ตั้งประภาพร นักแสดงหญิงชาวไทย * เฟรดดี วูดแมน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * มาร์แต็ง แตรีเย นักฟุตบอลอาชีพชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - * บรูคลิน เบคแคม นายแบบชาวอังกฤษ * สุรเดช พินิวัตร์ นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - วิตนีย์ บีเจอร์เคน นักยิมนาสติกและยูทูปเบอร์ชาวอเมริกัน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ไม้ เมืองเดิม นักเขียนชาวไทย พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996), พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: March 4 มีนาคม 04 มีนาคม
thaiwikipedia
1,015
3 มีนาคม
วันที่ 3 มีนาคม เป็นวันที่ 62 ของปี (วันที่ 63 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 303 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) - วันก่อตั้งรัฐฟลอริดา พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1878) - ประเทศบัลแกเรียได้รับเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) - สหรัฐฯ สถาปนาคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านอากาศยานศาสตร์แห่งชาติ (National Advisory Committee for Aeronautics -- NACA) ต่อมาเป็นแกนนำในการก่อตั้งองค์การนาซา พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – เครื่องบินโบอิง 737 ของการบินไทย เที่ยวบินกรุงเทพ-เชียงใหม่ เกิดระเบิดบนลานจอด ก่อนหน้าที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งจะเดินทางไปกับเที่ยวบินนั้น ขึ้นเครื่องไม่นาน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร แถลงว่าเป็นการวางระเบิดเพื่อลอบสังหารโดยกลุ่มผู้เสียประโยชน์จากนโยบายปราบปรามยาเสพติด ต่อมาสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) แถลงว่าเหตุระเบิดเกิดจากความบกพร่องของระบบปรับอากาศ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - การขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี : พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทยปราศรัยหาเสียงที่สนามหลวงและเปิดใจถึงเรื่องดังกล่าว == วันเกิด == พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) - กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ (สิ้นพระชนม์ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2433) พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) - อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 2 สิงหาคม พ.ศ. 2465) พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทิวงคต 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463) พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - จีน ฮาร์โลว์ นักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 7 มิถุนายน พ.ศ. 2480) พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - มีฮาอิล มีชุสติน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - ซาวีเอ เบิทเทิล นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์กคนที่ 22 พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - โรแนน คีทติง นักร้องชาวไอริช อดีตสมาชิกวงบอยโซน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - อัลแบร์ต ชูร์เกรา อดีตนักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - เจสสิกา บีล นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - เลอังดรู จี โอลีเวย์รา ดา ลุส นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - อากิโฮะ โยชิซาวะ นักแสดงและนางแบบชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - มุนิบา มะซาริ กิจกรรม, ศิลปิน, นางแบบ และนักพูดสร้างแรงบันดาลใจชาวปากีสถาน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - อุษามณี ไวทยานนท์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ชูอิจิ กนดะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - อเลซินา แกรแฮม นางแบบชาวอังกฤษ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - พัก โช-รง หัวหน้าวง เอพิงก์ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * ฝั่ม หมั่ญ หุ่ง นักฟุตบอลชาวเวียดนาม * อันโทนีโอ รือดีเกอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - ชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์ นักร้อง นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - กามิลา กาเบโย นักร้องและนักแต่งเพลงชาวคิวบา-อเมริกัน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - ซาเลห์ อะบาซารี นักคาราเต้ชาวอิหร่าน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - หรนาซ สันธู นางแบบและนางงามชาวอินเดีย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) *เจ้าจอมมารดาทิพเกษร ในรัชกาลที่ 5 พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว *หม่อมเจ้ากรรเจียก นพวงศ์ พระโอรสในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - จิตติ ติงศภัทิย์ อดีตองคมนตรี (เกิด 16 มีนาคม พ.ศ. 2451) พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ นักดนตรี นักแต่งเพลงชาวไทย ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ไร้เดือน เตือนใจ และเกาะในฝัน รวมถึงเป็นผู้ประพันธ์คำร้องและทำนองเพลง หากรู้สักนิด พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - ถนัด คอมันตร์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (เกิด 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2457) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - วันมาฆบูชา วันพืชป่าและสัตว์ป่าโลก ญี่ปุ่น - วันเด็กผู้หญิง (ฮินะมัตสึริ) == แหล่งข้อมูลอื่น == มีนาคม 03 มีนาคม
thaiwikipedia
1,016
2 มีนาคม
วันที่ 2 มีนาคม เป็นวันที่ 61 ของปี (วันที่ 62 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 304 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) - มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมศึกษาธิการ กับทีมบางกอก ที่ทุ่งพระเมรุ ผลการแข่งขันเสมอกันไป 2–2 โดยนับเป็นการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) - สโมสรฟุตบอลเดปอติโบลาคอรุนญ่า ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1935) - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ รวมเวลาในการครองราชย์ได้ 9 ปี ขณะมีพระชนมายุได้ 41 พรรษา และเสด็จไปประทับที่กรุงลอนดอน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ 9 พรรษา พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - เริ่มยุทธนาวีแห่งทะเลบิสมาร์ก ญี่ปุ่นพบความเสียหายอย่างมากในยุทธนาวีครั้งนั้น พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - โฮจิมินห์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเวียดนามเหนือ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - นิสิต นักศึกษา และประชาชน ร่วมเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งสกปรก 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยมี พลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศขณะนั้น) ร่วมด้วย พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - เครื่องบินคองคอร์ด เครื่องบินโดยสารที่มีความเร็วเหนือเสียง ขึ้นบินทดสอบครั้งแรกที่เมืองตูลุส ฝรั่งเศส พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - เกิดเหตุคลังสารเคมีระเบิดที่ท่าเรือคลองเตย เขตคลองเตย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - ยานกาลิเลโอค้นพบน้ำในสถานะของเหลวบนยูโรปา ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - สงครามอิรัก: รายงานฉบับหนึ่ง จากทีมตรวจสอบอาวุธของสหประชาชาติ ยืนยันว่าไม่พบอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง ขณะที่เชื่อกันทั่วไปว่าอิรักมีอาวุธดังกล่าว ก่อนการรุกรานของสหรัฐฯ == วันเกิด == พ.ศ. 2001 (ค.ศ. 1459) - สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2066) พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) - สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (สิ้นพระชนม์ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531) พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - เกออร์กี ฟลิโอรอฟ นักฟิสิกส์ชาวรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533) พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - เจนนิเฟอร์ โจนส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552) พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) - มิคาอิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต (เสียชีวิต 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565) พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - สายสุรี จุติกุล ข้าราชการและรัฐมนตรี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - อับดุลอะซีซ บูเตฟลีกา นักการเมืองแอลจีเรีย (เสียชีวิต 17 กันยายน พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ลู รีด นักร้อง และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556) พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - แฮร์รี เรดแนปป์ อดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - แคเรน คาร์เพนเทอร์ นักร้องชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526) พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - โชโก อะซะฮะระ อดีตผู้นำลัทธิโอมชินริเกียวและอาชญากร (ถึงแก่กรรม 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561) พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - จอน บอน โจวี นักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - แอนโทนี แอลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 31 พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - ไอศูรย์ วาทยานนท์ นักร้อง นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ นักวิชาการ นักบริหาร นักเขียน นักสื่อสารมวลชน นักกิจกรรมทางสังคมและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - แดเนียล เคร็ก นักแสดงชายชาวอังกฤษ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - อานนท์ หมื่นนา นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เสียชีวิต 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556) พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - โค ฮย็อน-จ็อง นักแสดงหญิงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - เทรเวอร์ ซินแคลร์ อดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษ พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์ นักมวยสากลชาวไทย พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - มาร์ติน จอร์เกนเซน ชาวเดนมาร์ก พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - * เจษฎา ลัดดาชยาพร นักร้องและนักดนตรีชาวไทย * แลนซ์ เคด นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553) พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - เจษฎากร เหมแดง นักฟุตบอลอาชีพชาวไทย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * ทาเนีย เรย์โมนด์ นักแสดงชาวอเมริกัน * โยอัน ตาวารึช นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส * วีโต มันโนเน นักฟุตบอลชาวอิตาลี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * นาตาลี แอมานุแอล นักแสดงขาวอังกฤษ * พัชรีย์ ดีเสมอ นักวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - * ลีฮงกิ นักร้องเกาหลี * สุพจน์ จดจำ นักฟุตบอลอาชีพชาวไทย พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - เดนนิส บูเชนิ่ง นักฟุตบอลลูกครึ่งเยอรมัน-ไทย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * ณัฐชยา มั่งนิมิตร นักแสดงหญิงชาวไทย * มารี เออเจนี เลอเลย์ นักร้องหญิงชาวไทย * อนงค์พร พรหมรัด นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - อัน ชัง-ริม ยูโดชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - * คิม ย็อง-แด นักแสดงชาวเกาหลีใต้ * จิน หลงกั๋ว นักร้องชาวจีน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - คารีสา สปริงเก็ตต์ นักแสดงและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - * อิญญากิ เปญญา นักฟุตบอลชาวสเปน * สุพรรณิการ์ จำเริญชัย นักแสดงและนางงามชาวไทย พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - ศศิร์ธา กุลวัฒนพันธ์ นักร้องหญิงวัยรุ่นชาวไทยค่ายกามิกาเซ่ พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - เจ้าชายออสการ์ ดยุกแห่งสกอเน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ฟิลิป เค. ดิก นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 16 ธันวาคม พ.ศ. 2471) พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - ถ้วน หลีกภัย มารดา ชวน หลีกภัย นักการเมืองชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2455) พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - บิลลี เฮอร์ริงตัน นายแบบภาพยนตร์เกย์ชาวอเมริกันที่ได้กลายเป็นมีมในโลกอินเทอร์เน็ต (เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันเอกราชในประเทศโมร็อกโก (พ.ศ. 2499) วันโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day NY Times: On This Day มีนาคม 02 มีนาคม
thaiwikipedia
1,017
1 มีนาคม
วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันที่ 60 ของปี (วันที่ 61 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 305 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - การลุกฮือขึ้นเรียกร้องจากญี่ปุ่นของชาวเกาหลีทั่วประเทศ ทำให้ชาวเกาหลีราว 7,000 คน ถูกฆ่า พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - ยูโกสลาเวียเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - สงครามเย็น: ศาลอังกฤษตัดสินให้ คลอส ฟุคส์ นักฟิสิกส์เชื้อชาติเยอรมัน จำคุก 14 ปี หลังพบว่า เขาจารกรรมข้อมูลลับสุดยอดเกี่ยวกับระเบิดอะตอม ให้แก่สหภาพโซเวียต พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - การทดลองนิวเคลียร์: สหรัฐอเมริกา ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ บนเกาะปะการังวงแหวนบิกินี ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไมโครนีเซีย และสมาชิกของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ยานเวเนรา 3 ของสหภาพโซเวียต พุ่งชนดาวศุกร์ เป็นยานอวกาศลำแรกที่สัมผัสพื้นผิวดาวเคราะห์ดวงอื่น พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - กองกำลังติดอาวุธเผ่าฮูมู 150 คน บุกโจมตีค่ายนักท่องเที่ยวในยูกันดา สังหารชาวยูกันดา 4 คน และลักพาตัวนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปเป็นตัวประกัน 16 คน ต่อมาตัวประกันถูกฆ่า 8 คน พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - ปฏิบัติการแอนาคอนดาของสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นขึ้นในตะวันออกของอัฟกานิสถาน == วันเกิด == พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1884) - พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด อกฺกวํโส) พระเถระชั้นผู้ใหญ่ (ถึงแก่กรรม 5 ตุลาคม พ.ศ. 2489) พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) - * เดวิด นิเวน นักแสดง นักเขียนนิยายชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2526) * พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ (ถึงแก่กรรม 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - ทูล ทองใจ นักร้องชาวไทย (ถึงแก่กรรม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - สุวรรณี สุคนธา นักประพันธ์ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527) พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - คาโต้ ชะ นักแสดงชายชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - รอน ฮาวเวิร์ด นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - สีหนุ่ม เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชาวไทย (ถึงแก่กรรม 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558) พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - คาเบียร์ บาร์เดน นักแสดงชายชาวสเปน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - มิโฮะ นะกะยะมะ นักร้อง-นักแสดงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - * บัณฑิต ทองดี (อ๊อด) นักแสดงชายชาวไทย * มา ดง-ซ็อก นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - ชอย โยซัม แชมป์โลกมวยสากลชาวเกาหลีใต้ (ถึงแก่กรรม 3 มกราคม พ.ศ. 2551) พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - คัฑลียา มารศรี นักร้องลูกทุ่งชาวไทย พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - เจนเซน แอคเคิลส์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - * เฟอร์นันโด มอนเทียล แชมป์โลกมวยสากลชาวเม็กซิโก * อลิชา ไล่สัตรูไกล (แอน) นักแสดงหญิงลูกครึ่งไทย-อเมริกัน พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - อานนท์ สังข์สระน้อย นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - ไลศราม สริตา เทวี นักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติอินเดีย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - เพชร นาระ เอื้อทวีกุล พลอย รัตนรัตน์ เอื้อทวีกุล นักแสดงฝาแฝดชาวไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เคชา นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ปอ ปริชาต นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - การ์โลส เบลา นักฟุตบอลชาวเม็กซิโก พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * คริสเตียน ควาคู นักฟุตบอลในตำแหน่งกองหน้า * ชนาธิป ซ้อนขำ นักเทควันโดหญิงชาวไทย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * ณิชนันทวรรณ ชาทุม นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย * เอดัวร์ แมนดี นักฟุตบอลที่เล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตู พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * ฆวน เบร์นัต นักฟุตบอลอาชีพชาวสเปน * จรัสพร บรรดาศักดิ์ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย * จงกลพรรณ กิติธรากุล นักแบดมินตันชาวไทย * วอนโฮ (นักร้อง) นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - * เบรนเนร์ มาร์โลส นักฟุตบอลชาวบราซิล * มักซีมีเลียน ฟิลิปป์ นักฟุตบอลอาชีพชาวเยอรมัน * เออิจิ อากาโซะ นักแสดงและนายแบบชาวญี่ปุ่น *กามีย์ ราซาต์ นักแสดงและนางแบบชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เก็นตะ มิอูระ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - เฉิน อวี่เฟย นักแบดมินตันชาวจีน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - มติ ตั้งพานิช สถาปนิกชาวไทย (เกิด 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999), พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: March 1 มีนาคม 01 มีนาคม
thaiwikipedia
1,018
28 กุมภาพันธ์
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 59 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - ก่อตั้งโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - เกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินขบวนหนึ่งในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พุ่งเลยสถานีจนชนกับกำแพง ทำให้คนขับและผู้โดยสารเสียชีวิต 29 คน บาดเจ็บมากกว่า 70 คน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - อูลอฟ พาลมา นายกรัฐมนตรีสวีเดน ถูกลอบสังหารในกรุงสต็อกโฮล์ม พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - สงครามอ่าวเปอร์เซีย: จอร์จ บุช ประกาศหยุดยิง หลังอิรักยอมรับข้อเรียกร้อง 12 ข้อขององค์การสหประชาชาติ เป็นการยุติสงครามปลดปล่อยคูเวต ซึ่งกินเวลา 6 สัปดาห์ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 : พรรคร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรคประกาศไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับประเทศไทย หลังจากลี้ภัยในต่างประเทศนาน 1 ปี 5 เดือน พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสละตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปา นับเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์แรกที่สละตำแหน่งนับแต่สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 12 เมื่อ ค.ศ. 1415 == วันเกิด == พ.ศ. 1698 (ค.ศ. 1155) - เฮนรียุวกษัตริย์ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (เสียชีวิต 11 มิถุนายน พ.ศ. 1726) พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) - เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ซิบิลลีแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัค (สิ้นพระชนม์ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2451) พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - วอลเตอร์ เทวิส นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 8 สิงหาคม พ.ศ. 2527) พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - ชาตรี โสภณพนิช นักธุรกิจชาวไทย อดีตประธานและประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ (เสียชีวิต 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561) พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - รอนนี มอรัน อดีตนักฟุตบอลในตำแหน่งแบ็กซ้ายและและอดีตผู้จัดการทีมชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 22 มีนาคม พ.ศ. 2560) พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1951) - พรไพร เพชรดำเนิน นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เสียชีวิต 6 เมษายน พ.ศ. 2558) พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์ นักแสดง,นางแบบชาวไทย พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - โรเบิร์ต ฌอน ลีโอนาร์ด นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - โคเน โมฮาเหม็ด นักฟุตบอลสัญชาติไอวอรีโคสต์ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - ไพรัตน์ หิรัญขันธ์ นักวิชาการ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - ฌาฌา นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - อันโตนีโอ กันเดรวา นักฟุตบอลชาวอิตาลี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เซบัสทีอัน รูดี นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - คอลิด บิน มุห์ซิน อัชชาอิรี ชาวซาอุดีอาระเบีย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * มาโนฮารา โอเดเลีย พีนอต นางแบบชาวอินโดนีเซีย * ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์ นักแสดงชาวไทย * ศรศิลป์ มณีวรรณ์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - อาร์คาดิอุสซ์ มิลิค นักฟุตบอลชาวโปแลนด์ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ควินน์ เชพพาร์ด นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์และบรรณาธิการภาพยนตร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - เคียวโกะ โยชิเนะ นักแสดงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - สิริการย์ ชินวัชร์สุวรรณ สมาชิกวง BNK48 พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - โมอีเซ เกน นักฟุตบอลชาวอิตาลี == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน (พระราชสมภพ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2429) พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - บุญสนอง บุณโยทยาน อดีตหัวหน้าแผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - เจน รัสเซลล์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2464) พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - ไป่ จิง นักแสดงชาวจีน (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ. 2526) พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) - ธัญยธรณ์ โพธิ์มณี (ดีเจวิว) ดีเจเด็กชื่อดัง วัย 14 ปี == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - วันมาฆบูชา == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: February 28 กุมภาพันธ์ 28 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,019
27 กุมภาพันธ์
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 58 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 307 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2160 (ค.ศ. 1617) - สวีเดนลงนามในสนธิสัญญาสตอลโบโว ยุติสงครามอิงเกรียนกับรัสเซีย พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - ไรชส์ทาค อาคารที่ประชุมรัฐสภา ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีถูกเผา พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - รถไฟขบวนหนึ่งที่นำนักแสวงบุญฮินดูกลับจากเมืองอโยธยา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางตะวันตกของรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ถูกเผาโดยชาวมุสลิม มีผู้เสียชีวิตบนรถไฟ 58 คน ทำให้เกิดการจลาจลตอบโต้ นำไปสู่การเสียชีวิตของชาวมุสลิมนับพันคน == วันเกิด == พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) - สมเด็จพระมเหสีเจิน (สิ้นพระชนม์ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2443) พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - จอห์น สไตน์เบ็ค นักเขียนชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511) พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - อาเรียล ชารอน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล (เสียชีวิต 11 มกราคม พ.ศ. 2557) พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ นักแสดงอังกฤษ-อเมริกัน (เสียชีวิต 23 มีนาคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - หลี่ ปิงปิง นักแสดงและนักร้องชาวจีน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - จอช โกรแบน นักร้องและนักประพันธ์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - ดีนียาร์ บิลยาเลตดีนอฟ นักฟุตบอลชาวรัสเซีย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) * เมแกน ยัง นักแสดง นางแบบ พิธีกรรายการโทรทัศน์และนางงามชาวฟิลิปปินส์-อเมริกัน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) * คอลลัม วิลสัน นักฟุตบอล ชาวอังกฤษ * จอนโจ เชลวีย์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - อาลฟงส์ อาเรออลา นักฟุตบอลอาชีพชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ริเอะ ทากาฮาชิ นักพากย์เสียงและนักร้องชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) * เซร์เกย์ มิลีงกอวิช-ซาวิช นักฟุตบอลชาวเซอร์เบีย * โคซูเกะ นากามูระ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น * โตมาช โซว์แช็ก นักฟุตบอลชาวเช็ก == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (ประสูติ 30 กันยายน พ.ศ. 2409) พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - เฟร็ด โรเจอร์ส นักจัดรายการโทรทัศน์, นักดนตรี, นักเชิดหุ่น, นักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2471) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - กำธร สุวรรณปิยะศิริ นักแสดงอาวุโสและนักพากย์ภาพยนตร์ (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2478) พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - แอมปาโร มูนอซ นักแสดง นางแบบ นางงามชาวสเปน (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2497) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - อู๋ เมิ่งต๋า นักแสดงชาวฮ่องกง (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2495) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในปัจจุบัน == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: February 27 กุมภาพันธ์ 27 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,020
26 กุมภาพันธ์
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 57 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 308 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1815) - นโปเลียน โบนาปาร์ต หลบหนีออกจากเกาะเอลบา พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) - มีการก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทยที่จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1935) - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สั่งการให้ลุฟท์วัฟเฟอ กองทัพอากาศเยอรมัน กลับมาประจำการ เป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย ที่ลงนามหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1935) - โรเบิร์ต วัตสัน-วัตต์ สาธิตการทำงานของเรดาร์เป็นครั้งแรก ที่เมืองดาเวนทรี ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - เกิดเหตุการณ์กบฏวังหลวง เมื่อทหารเรือบางกลุ่มและกองกำลังของนายปรีดี พนมยงค์ ก่อการปฏิวัติหมายจะยึดอำนาจจากจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และได้พยายามบุกยึดพระบรมมหาราชวังเป็นกองบัญชาการ แต่ไม่สำเร็จ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 9 : มีการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทย ที่ได้ชื่อว่าเป็น "การเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์" โดยมีการโกงการเลือกตั้งหลายวิธี และใช้เวลานับคะแนนนานถึง 7 วัน 7 คืน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) *พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมูลนิธิโครงการหลวงขึ้น พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - แรมซี ยูเซฟ ผู้ก่อการร้ายกลุ่มอัลกออิดะฮ์ เช่ารถตู้คันหนึ่งไประเบิดในโรงรถใต้ดินของตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ในนครนิวยอร์ก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บมากกว่าหนึ่งพันคน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - ในการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง : พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมใหญ่เป็นครั้งแรกที่สนามหลวง ซึ่งเป็นการย้ายที่ชุมนุมจากลานพระบรมรูปทรงม้ามาที่สนามหลวง เป็นวันแรก พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 46,373 ล้านบาท == วันเกิด == พ.ศ. 1904 (ค.ศ. 1361) - พระเจ้าเว็นท์เซิลแห่งชาวโรมัน (สวรรคต 16 สิงหาคม พ.ศ. 1962) พ.ศ. 2127 (ค.ศ. 1584) - อัลเบรชท์ที่ 6 ดยุกแห่งบาวาเรีย พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) - พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ภิกษุชาวไทย (สิ้นพระชนม์ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2444) พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) - พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย (สวรรคต 10 กันยายน พ.ศ. 2491) พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) - สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน (สวรรคต 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2515) พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1981) - กัณหา เคียงศิริ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (เสียชีวิต 23 มิถุนายน พ.ศ. 2542) พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) - สิงฆะ วรรณสัย ปราชญ์เมธีแห่งล้านนา (เสียชีวิต พ.ศ. 2523) พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - อาเรียล ชารอน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล (เสียชีวิต 11 มกราคม พ.ศ. 2557) พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - จอห์นนี แคช นักร้อง, นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 12 กันยายน พ.ศ. 2546) พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - โคลิน เบลล์ อดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 5 มกราคม พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - ไมเคิล โบลตัน นักร้อง, นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - ภมร อโนทัย นักจัดรายการนักแต่งเพลงอิสระ (ถึงแก่กรรม 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543) พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - ธงชัย ประสงค์สันติ นักร้อง, ผู้กำกับชาวไทย พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - คาซูโยชิ มิอูระ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - สตีฟ เอจี นักแสดงตลก, นักแสดง, นักเขียน, ผู้กำกับ และนักดนตรีชาวอเมริกัน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - * เอรีกาห์ บาดู นักร้องชาวอเมริกัน * เฮอร์เมนเซน บัลโล นักมวยสากลสมัครเล่นชาวอินโดนีเซีย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - อูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ นักฟุตบอลชาวนอร์เวย์ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - ทุนดี อาเดบิมเป นักดนตรีชาวอเมริกัน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - คอริน ไบลีย์ เร นักร้องชาวอังกฤษ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) *ซง ฮเย-คโย นักแสดงหญิงชาวเกาหลีใต้ *หลี่ น่า นักเทนนิสชาวจีน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) *เปปี นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส * จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์ * ศิรินทิพย์ หาญประดิษฐ์ นักร้องหญิงชาวไทย พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) * ธัชพล ชุมดวง * เอ็มมานูเอล อาเดบายอร์ นักฟุตบอลชาวโตโก พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) * เฟร์นันโด โยเรนเต นักฟุตบอลชาวสเปน * มิกิ ฟูจิโมโตะ นักร้องชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - นาโช มอนเรอัล นักฟุตบอลอาชีพชาวสเปน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เมห์ดัด พูลาดี นักฟุตบอลชาวอิหร่าน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) * ยอร์ดี เบราเวอร์ นักฟุตบอลชาวดัตช์ * ทองภูมิ สิริพิพัฒน์ นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - มัรวาน มัวะห์ซิน นักฟุตบอลชาวอียิปต์ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - อี ชัง-ซ็อบ นักร้อง, นักแสดงละครเพลง และนักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - เฆเซ โรดริเกซ นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1994) - วชิรวิทย์ เหล่าหลอด โปรแกรมเมอร์ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - มัลกง นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - จามาล มูเซียลา นักฟุตบอลอาชีพ พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - กมลพร จันบุญธรรม นักศึกษา == ถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) - มักซีมีเลียนที่ 2 เอมานูเอล ผู้คัดเลือกแห่งบาวาเรีย พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ตี๋ใหญ่ โจรชาวจังหวัดราชบุรี (เกิด พ.ศ. 2495) พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ฮันนี่ ศรีอีสาน นักร้องชาวไทย (เกิด 22 ตุลาคม พ.ศ. 2514) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - เจ้ากุลวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2461) พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ นักร้อง นักแสดงชาวไทย (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2527) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) และ พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - วันมาฆบูชา โรมันคาทอลิก - วันฉลองนักบุญอเล็กซานเดอร์แห่งอะเล็กซานเดรีย ประเทศไทย - วันสหกรณ์แห่งชาติ ประเทศคูเวต - วันปลดปล่อย == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 26 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,021
25 กุมภาพันธ์
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 56 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 309 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1921) - สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองประเทศจอร์เจีย พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1926) - มีการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1931) - พิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งก็คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีหะยีสุหลง ให้จำคุกหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ และจำเลยอื่น คนละ 3 ปี โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดพระตำหนักเขาค้อ ณ ตำบลสะเดาะพง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - คอราซอน อาคิโนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหญิงคนแรกของฟิลิปปินส์ เมื่อฝูงชนเคลื่อนไหวกดดันให้ เฟอร์ดินานด์ มาร์คอส ลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังจากอยู่ในอำนาจนาน 20 ปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - รสช. ออกประกาศแต่งตั้งพลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ตรวจสอบและยึดทรัพย์ 25 นักการเมืองที่ร่ำรวยผิดปกติในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - การรั่วไหลของกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 จากเครื่องมือแพทย์เก่า ที่ถูกขโมยไปจากโกดังที่เขตประเวศ กรุงเทพ ไปขายให้พ่อค้าขายของเก่าที่ซอยวัดมหาวงศ์ อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ มีผู้เสียชีวิต 2 คน และได้รับบาดเจ็บกับบาดเจ็บสาหัสเป็นจำนวนมาก == เกิด == พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - เรวัต สิรินุกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 9 สมัย (เสียชีวิต 26 กันยายน พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - จอร์จ แฮร์ริสัน นักร้อง นักดนตรีชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544) พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - เนสเตอร์ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา (อสัญกรรม 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553) พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - อเล็กซิส เดนิซอฟ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - ฌอน แอสติน นักแสดง ผู้กำกับ และโปรดิวเซอร์ ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - แอนสัน เมาท์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - * ศาหิท กปูร นักแสดงชาวอินเดีย *พัก จี-ซ็อง นักฟุตบอลชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - คริส แบร์ด อดีตนักฟุตบอลชาวไอร์แลนด์เหนือ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - เอดัวร์ดู ดา ซิลวา นักฟุตบอลชาวโครเอเชีย พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - การ์ลุส ซังตุส จี เฌซุส นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - จามีลา จามิล นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ นางแบบ นักเขียน และนักเคลื่อนไหวชาวอังกฤษ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ภัคจิรา กรรรัตนสูตร นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ซามูแวล รอซา กงซัลวิส นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - อิซาเบล เฟอร์แมน นักแสดงชาวอเมริกัน ปภาวดี ชาญสมอน นักแสดงและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - อิสมาอีลา ซาร์ นักฟตุบอลชาวเซเนกัล พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ร็อกกี นักร้อง, แร็ปเปอร์, นักเต้น, นักแต่งเพลง และนายแบบชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - โนอาห์ จูเป นักแสดงชาวอังกฤษ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4) (เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2384) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - บิลล์ แพกซ์ตัน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ (เกิด 5 มีนาคม พ.ศ. 2480) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - วันมาฆบูชา ประเทศคูเวต - วันชาติ (พ.ศ. 2493) == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 25 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,022
24 กุมภาพันธ์
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 55 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 310 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2124 (ค.ศ. 1582) - สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 ประกาศใช้ปฏิทินเกรกอเรียน พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) - เอสโตเนียประกาศเอกราช พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ญี่ปุ่นยึดเกาะติมอร์ พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - พันเอก ฮวน เปรอง ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินา พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - องค์กรกะฉิ่นอิสระลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่า พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - นิดา พัชรวีระพงษ์ (แตงโม) พลัดตกจากเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสะพานพระราม 7 พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - สหพันธรัฐรัสเซีย เริ่มต้นรุกราน ยูเครน อย่างเต็มรูปแบบ == วันเกิด == พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1768) - พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1848) - กรันต์ อัลเลน นักประพันธ์ชาวแคนาดา (ถึงแก่กรรม 25 ตุลาคม พ.ศ. 2442) พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - แช่ม พรหมยงค์ จุฬาราชมนตรี อดีตสมาชิกคณะราษฎร และขบวนการเสรีไทย (ถึงแก่กรรม 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2532) พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - * เจิ้ง เส้าชิว นักร้อง, นักแสดงชายชาวฮ่องกง * เฟร์นันโด บาร์ราชินา อดีตนักฟุตบอลชาวสเปน (ถึงแก่กรรม 4 มกราคม พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - เดบรา โจ รัปป์ นักแสดง และนักแสดงตลกชาวอเมริกัน พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - สตีฟ จ็อบส์ นักธุรกิจ (ถึงแก่กรรม 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค อดีตนักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - บิลลี เซน นักแสดงและผู้กำกับชาวอเมริกัน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - นครินทร์ กิ่งศักดิ์ นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - ร็อบ มอร์แกน (นักแสดง) นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ นักมวยชาวอเมริกัน แชมป์โลก 5 รุ่น พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ฟาลา เฉิน นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - วิลสัน เบเธล นักแสดงและโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - นิชานันท์ ฝั้นแก้ว นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - อี ว็อน-แจ นักฟุตบอลชาวเกาหลีใต้ * ไมเคิล จอห์นสัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * ภาสกร บุญวรเมธี นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1988) - กฤช มายา นักหมากล้อมมือสมัครเล่นชาวไทย ระดับ 3 ดั้ง พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - แดเนียล คาลูยา นักแสดงและนักเขียนชาวอังกฤษ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - สเนอร์ ยามิน นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอิสราเอล พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - คริสตีย็อง กาบาเซเล นักฟุตบอลชาวเบลเยียม พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - รวิสรารัตน์ พิบูลภานุวัธน นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - * ดอนัลด์ ลัฟ นักฟุตบอลอาชีพชาวสกอตแลนด์ * ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์ นักแสดง นายแบบชาวไทย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - มะอิระ คูยามา อดีตสมาชิกวง BNK48 พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - สองเมือง ไชยฤทธิ์ สมาชิกวง Serious Bacon พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - แพรวา สุธรรมพงษ์ อดีตสมาชิกวง BNK48 พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - กุณฑีรา ยอดช่าง นักแสดงหญิงชาวไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) - เจ้าจอมมารดาจันทร์ในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดรุณวัยวัฒน์ (ประสูติ 17 เมษายน พ.ศ. 2423) พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ดิน่าห์ ชอร์ นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459) พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - คำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน) ผู้มีชื่อเสียงโดดเด่นจากการแสดงกลองสะบัดชัย พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ นักแสดงหญิงชาวไทย (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2527) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ประเทศเอสโตเนีย - วันประกาศเอกราช (พ.ศ. 2460) ประเทศไทย - วันศิลปินแห่งชาติ, วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 24 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,023
23 กุมภาพันธ์
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 54 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 311 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1997 (ค.ศ. 1455) - โยฮัน กูเตนแบร์ก เริ่มตีพิมพ์คัมภีร์ไบเบิลด้วยแท่นพิมพ์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้น พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนวัดบวรนิเวศขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) - วันก่อตั้งโรตารีสากล ที่นครชิคาโก รัฐอิลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นสโมสรบริการแห่งแรกของโลก โดย มิสเตอร์ พอร์ล พี แฮรีส พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) - สร้างสนามบินดอนเมืองเสร็จสมบูรณ์ พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - หลวงพิบูลสงคราม (ยศในขณะนั้น -จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ถูกลอบสังหารด้วยปืนวอลเตอร์ในรถยนต์ส่วนตัว หลังจากกลับจากชมการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษที่ท้องสนามหลวง โดยผู้ลอบสังหารชื่อ นายพุ่ม ทับสายทอง เป็นชาวนครปฐม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - กลุ่มนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ปักธงบนเกาะอิโวะจิมะที่อยู่ห่าง 1,045 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น หลังจากได้ชัยชนะในสมรภูมิอิโวะจิมะ ภาพถ่ายการปักธงครั้งนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - วันก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) รับผิดชอบมาตรฐานอุตสาหกรรมและการค้าทั่วโลก พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - คณะทหารนำโดย พันโท อันโตนิโอ เตเจโร ก่อรัฐประหารในสเปน ด้วยการบุกยึดรัฐสภาและจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 350 คน เป็นตัวประกัน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โค่นล้มรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - วันก่อตั้งโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา โรงเรียนในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จากชื่อเดิมโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 2 == วันเกิด == พ.ศ. 2227 (ค.ศ. 1685) - จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล คีตกวีชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 14 เมษายน พ.ศ. 2302) พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - สิปปนนท์ เกตุทัต นักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - พระพรหมวชิรเจดีย์ (บำรุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.๗) (มรณภาพ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - ปีเตอร์ ฟอนดา นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562) พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - เคนนี่ บี นักร้อง, นักแสดงชาวฮ่องกง พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ จักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 126 และองค์ปัจจุบัน พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - ไมเคิล เดลล์ นักธุรกิจ พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1965) - ทัตพงศ์ พงศทัต นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - * โชะโกะ ไอดะ นักร้อง เจป็อป และนักแสดงชาวญี่ปุ่น * พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เภสัชกร, อาจารย์ชาวไทย พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - แคลลัน มัลวีย์ นักแสดงชาวออสเตรเลีย พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - แกเร็ท แบร์รี นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - เอมิลี บลันต์ นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - หัตฐพร สุวรรณ นักฟุตบอลทีมชาติไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * อาจารียา พรหมพฤกษ์ (หลิว อาราดา) นักร้องลูกทุ่งหญิง และนักแสดงหญิงชาวไทย * คาเมนาชิ คาซึยะ ไอดอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ตอมา โฟชรง นักยิงธนูชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - กาเซมีรู นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - * พิรพัฒน์ วัฒนเศรษสิริ นักแสดงชายชาวไทย * ดาโกตา แฟนนิง นักแสดงชาวอเมริกัน * วรันธร เปานิล นักร้องและนักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - เบ็นยามีน เฮ็นริชส์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - เควิน มุน นักร้องและศิลปินชาวแคนาดา พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ภุชพงศ์ นามสีฐาน นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เดอสิรี มอนโตยา เน็ตไอดอลชาวอเมริกัน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - กุลฑีรา ยอดช่าง นักแสดงเด็กชาวไทย พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - เจ้าหญิงเอสแตล ดัชเชสแห่งเอิสเตอร์เยิตลันด์ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1855) - คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน - (เกิด พ.ศ. 2320) พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2392) พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เจมส์ เฮอร์เรียต นักเขียนชาวอังกฤษ (เกิด 3 ตุลาคม พ.ศ. 2459) พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - เจ้าหญิงอะซาเดห์ ชาฟิก พระภาคิไนยในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (ประสูติ พ.ศ. 2494) พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - เดช บุลสุข ผู้ก่อตั้งแมคโดนัลด์ในไทย == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - วันมาฆบูชา วันชาติประเทศบรูไน เป็นวันครบรอบของประเทศบรูไน == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 23 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,024
22 กุมภาพันธ์
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 53 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 312 วันในปีนั้น (313 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1914 (ค.ศ. 1371) - พระเจ้ารอเบิร์ตที่ 2 กลายเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์เป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์สจ๊วต พ.ศ. 2038 (ค.ศ. 1495) - พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสเสด็จเข้าสู่เนเปิลส์เพื่ออ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของเมือง พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1819) - สเปนขายฟลอริดาให้กับสหรัฐด้วยมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1876) - วันก่อตั้ง มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปคินส์ ณ บัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - เพลงของเอลวิส เพรสลีย์ ขึ้นตารางอันดับเพลงยอดนิยมเป็นครั้งแรก ด้วยเพลง "Heartbreak Hotel" พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - นายโกมล คีมทอง บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อุทิศตนให้กับการเป็นครูในชนบท ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ยิงเสียชีวิตที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพราะเข้าใจผิดว่าเขาเป็นสายลับให้รัฐบาล พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - โกดำและกิ๋วหนุ่มสาวผู้ถูกขัดขวางความรักกระโดดสะพานสารสินฆ่าตัวตาย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันรอสลินในสกอตแลนด์ ประกาศความสำเร็จในการโคลนแกะชื่อ "ดอลลี่" พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - มุลลอห์ โมฮัมหมัด โอมาร์ ผู้นำตาลีบันมีคำสั่งให้ทำลาย พระพุทธรูป (พระพุทธรูปแห่งบามิยัน) ทั่วอัฟกานิสถาน == วันเกิด == พ.ศ. 1946 (ค.ศ. 1403) - พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (สวรรคต 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2004) พ.ศ. 2275 (ค.ศ. 1732) – จอร์จ วอชิงตัน นายพลและนักการเมืองชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา (ถึงแก่กรรม 14 ธันวาคม พ.ศ. 2342) พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) - *พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย (สิ้นพระชนม์ 29 มีนาคม พ.ศ. 2416) *โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ นายพลชาวอังกฤษ และผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก (ถึงแก่กรรม 8 มกราคม พ.ศ. 2484) พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - โรเบิร์ต แวดโลว์ บุคคลตัวใหญ่ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - สุประวัติ ปัทมสูต นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - นิกิ เลาดา นักแข่งรถ นักบิน และนักธุรกิจชาวออสเตรีย พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - สตีฟ เออร์วิน นักสัตววิทยาและพิธีกรรายการโทรทัศน์ชาวออสเตรเลีย (ถึงแก่กรรม 4 กันยายน พ.ศ. 2549) พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - วัชรชัย สุนทรศิริ (ฉายา:ครูแอ้นท์ ม้าทมิฬ) นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - ดรูว์ แบร์รีมอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - เอลอดี ยุง นักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ ผู้ประกาศข่าวชาวไทย พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - * นันทวัฒน์ แทนโสภา นักฟุตบอลชาวไทย * บรานิสลัฟ อิวานอวิช นักฟุตบอลอาชีพชาวเซอร์เบีย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * โทชิฮิโระ อาโอยามะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น * เอนโซ เปเรซ นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา * มาร์ก แอลเลน นักสนุกเกอร์อาชีพชาวไอร์แลนด์เหนือ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เซร์คีโอ โรเมโร นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - มิณฑิตา วัฒนกุล นักร้อง นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * มายา ตอการ์สกา นักวอลเลย์บอลชาวโปแลนด์ * สกลวัชร์ สกลหล้า นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ฮาริส เซเฟรอวิช นักฟุตบอลชาวสวิส พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - นท พนายางกูร นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - นัม จู-ฮย็อก นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - * ปาโบล ฟอร์นัลส์ นักฟุตบอลชาวสเปน * ฟูกะ ฮาระ นักแสดง นักเดินแบบของญี่ปุ่น พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - อันตอน ชุปคอฟ นักว่ายน้ำชาวรัสเซีย พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เบบี้ แคลร์ลี่ แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - สมเด็จพระพันปีหลวงหลงยู่ ฮองเฮาในจักรพรรดิกวังซวี่ และผู้สำเร็จราชการในจักรพรรดิผู่อี๋ (ประสูติ 28 มกราคม พ.ศ. 2406) พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก) กวีชาวไทย (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2401) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ลีฮุนจู นักแสดงชาวเกาหลี (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดงชาวไทย (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2486) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - วันมาฆบูชา วันสมโภชธรรมาสน์นักบุญเปโตร == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 22 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,025
21 กุมภาพันธ์
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 52 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 313 วันในปีนั้น (314 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2156 (ค.ศ. 1613) - มิคาอิลที่ 1 ได้รับการเลือกเป็นซาร์อย่างเป็นเอกฉันท์โดยสภาเซมสกี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์โรมานอฟแห่งจักรวรรดิรัสเซีย พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) - จอห์น กรีนอฟได้รับสิทธิบัตรครั้งแรกของสหรัฐอเมริกาสำหรับจักรเย็บผ้า พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) - คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดริช เองเงิลส์ นักทฤษฎีคอมมิวนิสต์ เผยแพร่คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) - รัชกาลที่ 4 โปรดให้จำลองนครวัดมาไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) - วางสายโทรเลขจากพระนครถึงหลวงพระบาง พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1913) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่อง "ประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี" ให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศก และให้เปลี่ยนไปใช้พุทธศักราช เป็นศักราชประจำชาติ พ.ศ. 2482  ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มรณภาพ พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ทหารสหรัฐเข้ายึดหมู่เกาะรัสเซลล์ พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - มัลคอล์ม เอกซ์ ผู้นำลัทธิชาตินิยมผิวดำ ถูกลอบสังหารในนครนิวยอร์ก โดยสมาชิกของประชาชาติอิสลาม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เริ่มการเยือนจีนเป็นวันแรก นับเป็นการยุติความสัมพันธ์ที่เย็นชาระหว่างสองประเทศที่ดำเนินมานาน 20 ปี == วันเกิด == พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) - จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย (สวรรคต 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2305) พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) - ฌาน กาลม็อง อภิศตวรรษิกชนชาวฝรั่งเศส (เสียชีวิต 4 สิงหาคม พ.ศ. 2540) พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ (สิ้นพระชนม์ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2443) พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) - *ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี อดีตผู้บัญชาทหารอากาศไทย (ถึงแก่กรรม 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530) *เจน ออเบิร์ต (ถึงแก่กรรม 6 มีนาคม พ.ศ. 2531) พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - นิน่า ซิโมน นักร้อง นักแต่งเพลง นักเปียโน ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 21 เมษายน พ.ศ. 2546) พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ พระประมุของค์ปัจจุบัน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) * ทีน ดาลี นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน * แอลัน ริกแมน นักแสดงชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 14 มกราคม พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรชาวไทย พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - ชัก พอลานิก นักข่าวอิสระและนักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - วิลเลียม บอลด์วิน นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - นิสา วงศ์วัฒน์ นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) * ดอนัลด์ ซักโซ อดีตนักวอลเลย์บอลชายชาวอเมริกัน * ไมเคิล แมคอินทายร์ ตลก, นักเขียน และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) * คิม ฮา-นึล นักแสดงชาวเกาหลีใต้ * คุมเม็ล นานจิอานี นักแสดงตลก, นักแสดง, นักเขียนบท และพ็อดคาสเตอร์ชาวปากีสถาน-อเมริกัน * แกรี่ นักร้องเพลงแร็ปชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) * เจนนิเฟอร์ เลิฟ ฮิววิต นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน * ปัสกาล แช็งบงดา นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) * ลำยอง หนองหินห่าว นักร้องเพลงลูกทุ่งหญิงชาวไทย * สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน พระประมุของค์ปัจจุบัน พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - เทเรซ่า เฮมเฮาเซอร์ นักร้อง/นางแบบชาวไทย พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - โยร์โกส ซามารัส นักฟุตบอลชาวกรีก พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เอลเลน เพจ นักแสดงหญิงชาวแคนาดา พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - คอร์บิน บลู นักแสดง และนักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ภัทรภณ โตอุ่น (รอน AF5) นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) * มาเตย์ พอดสตาเว็ค นักฟุตบอลอาชีพชาวสโลวาเกีย * ริยาฎ มะห์รัซ นักฟุตบอลชาวแอลจีเรีย * คิม ยงซอน นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) * ฟิล โจนส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * วรุฒ เมฆมุสิก นักฟุตบอลอาชีพชาวไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) * เดวี กลาสเซิน นักฟุตบอลชาวดัตช์ * ฟาบรีซีโอ โรมาโน นักข่าวชาวอิตาลี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เวนดี้ ซน นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - อี แท-ฮวาน นักแสดง นายแบบ และนักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - โซฟี เทอร์เนอร์ นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร นักแสดงชาวไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2219 (ค.ศ. 1677) - บารุค สปิโนซา นักปรัชญาชาวดัตช์ (เกิด 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2175) พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา (เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421) พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน ผู้สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครลำพูน (เกิด กรกฎาคม พ.ศ. 2449) พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - กำพล วัชรพล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2462) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - เคนเนธ แอร์โรว์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2464) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - วันมาฆบูชา วันภาษาแม่นานาชาติ (International Mother Language Day) == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 21 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,026
20 กุมภาพันธ์
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 51 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 314 วันในปีนั้น (315 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2090 (ค.ศ. 1547) - พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) - รัฐบัญญัติการไปรษณีย์จัดตั้งกระทรวงสำนักงานไปรษณีย์สหรัฐลงนามโดยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันของสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2341 (ค.ศ. 1798) - หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย ถอดสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ออกจากตำแหน่ง พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) - พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันเปิดทำการในเมืองนิวยอร์ก พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานฟรานซิสโก, แคลิฟอร์เนีย ได้เปิดโรงเรียนการแพทย์ขึ้นเป็นของตัวเองเป็นแห่งแรก พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - สงครามโลกครั้งที่สอง : "Big Week" ได้จบลงหลังจากอเมริกาได้ทิ้งระเบิดลงฐานทัพอากาศนาซี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - สงครามโลกครั้งที่สอง : สหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดเกาะ Eniwetok พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - วันก่อตั้ง "สมาคมทนายความ" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - โครงการเมอร์คิวรี : จอห์น เกล็น นักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา โคจรรอบโลกด้วยยานเฟรนด์ชิป 7 จำนวน 3 รอบ ในเวลา 4 ชม. 55 นาที นับเป็นมนุษย์อวกาศคนแรกของสหรัฐฯ ที่เดินทางในอวกาศ พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - ยานเรนเจอร์ 8 ส่งภาพถ่ายดวงจันทร์จำนวน 7,137 ภาพ ในช่วง 23 นาทีสุดท้ายของภารกิจ ก่อนจะพุ่งชนดวงจันทร์บริเวณทะเลแห่งความสงบ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - ปลัดกระทรวงมหาดไทยทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีและความกล้าหาญของพระยาพิชัยดาบหัก ที่ได้ต่อสู้กับพม่าจนดาบหักคามือ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงที่มองเห็นได้ในประเทศไทย ตรงกับคืนวันมาฆบูชา พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - มีการก่อตั้งฟุตบอลพรีเมียร์ลีกขึ้นแทนลีกดิวิชั่น 1อังกษ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เจ้าหน้าที่ FBI โรเบิร์ต ฮานเซน ถูกจับกุมในข้อหาเป็นสายลับให้รัสเซียมาเป็นเวลา 15 ปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - ด.ญ. ปานตะวัน ธิเย็นใจ และ ด.ญ. ปานวาด ธิเย็นใจ ฝาแฝดติดกันที่มีหัวใจและตับติดกัน ผ่าตัดแยกร่างรอดชีวิตทั้งคู่เป็นครั้งแรกของโลก พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ก สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด ชนะสโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย 2-0 ณ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร โดยได้เกิดเหตุการณ์จลาจลหลังจากการได้ประตูที่สองของเมืองทองฯ ยูไนเต็ดในนาทีที่ 81 == วันเกิด == พ.ศ. 2203 (ค.ศ. 1660) - เลินฮาร์ด ดินเซนฮอฟเฟอร์ สถาปนิกชาวเยอรมัน (เสียชีวิต 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2250) พ.ศ. 2296 (ค.ศ. 1753) - หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย นายพลและนักการเมืองชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - ซิดนีย์ พอยเทียร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 6 มกราคม พ.ศ. 2565) พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - เค็ง ชิมุระ นักแสดงชายชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - เคิร์ต โคเบน นักดนตรีชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 5 เมษายน พ.ศ. 2537) พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - โยโกะ อิชิโนะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - ซีนีชา มิไฮโลวิช นักฟุตบอลชาวเซอร์เบีย (เสียชีวิต 16 ธันวาคม ค.ศ. 2022) พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - เทวฤทธิ์ ศรีสุข นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - นิรุจน์ สุระเสียง อดีตนักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - อาร์ตูร์ บอรุค นักฟุตบอลชาวโปแลนด์ พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - อธิชาติ ชุมนานนท์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - คิลเลียน เดน นักมวยปล้ำอาชีพชาวไอร์แลนด์เหนือ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - * เกรียงไกร พิมพ์รัตน์ นักฟุตบอลชาวไทย * พนา กาญจนสมศักดิ์ นักฟุตบอลชาวไทย * พิชญะ นิธิไพศาลกุล นักร้องชาวไทย * ไมล์ส เทลเลอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * บวร ตาปลา นักฟุตบอลระดับอาชีพชาวไทย * ริอานน่า นักร้องชาวบาร์เบโดส พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * เจษฎา ชูเดช กองหน้าฟุตซอลชาวไทย * ศุภรดา เต็มปรีชา นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ฟาบรีซีอู ซิลวา ดูร์เนลัส นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - พัชราภรณ์ สิทธิศาสตร์ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - สรวิทย์ พานทอง นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - * เสฎฐวุฒิ อนุสิทธิ์ นักแสดงชายชาวไทย * อินดี จอห์นสัน นางงามและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - * โอลิเวีย โรดริโก นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน * อาฒยา ฐิติกุล นักกอล์ฟหญิงชาวไทย พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - เสฏฐนันท์ ทองสมบุญ นักแสดงหญิงชาวไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) - กรมหลวงเทพพลภักดิ์ (ประสูติ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2328) พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - อัมรินทร์ เหลืองบริบูรณ์ หรือที่รู้จักในชื่อ "โจ้วงพอส" (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2514) พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - ศักดา โมกขมรรคกุล องคมนตรีและผู้พิพากษาชาวไทย (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2480) พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - เศรษฐา ศิระฉายา ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2554 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ประเทศไทย - วันทนายความ == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 20 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,027
19 กุมภาพันธ์
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 50 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 315 วันในปีนั้น (316 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) - สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดเปิดใช้งานเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - กองทัพญี่ปุ่นเข้าโจมตีเมืองดาร์วิน เมืองหลวงในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีของประเทศออสเตรเลียทางอากาศ ด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินขับไล่ 242 ลำ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - สหรัฐฯยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวจิมาของญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนำกองเรือจำนวน 459 ลำ ขึ้นบก พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - สหภาพโซเวียตส่งสถานีอวกาศมีร์ขึ้นสู่อวกาศ เป็นสถานีวิจัยระยะยาวในอวกาศแห่งแรก พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ไทยและลาวประกาศหยุดยิงในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - ไนน์มิวส์ เกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีใต้จัดงานคอนเสริตเป็นของตัวเองครั้งแรก == วันเกิด == พ.ศ. 2016 (ค.ศ. 1473) - นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ (เสียชีวิต 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2086) พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) - เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5 (เสียชีวิต 29 มกราคม พ.ศ. 2512) พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) - เออร์เนสต์ มาร์สเดน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ-นิวซีแลนด์ (ถึงแก่กรรม 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - ลี มาร์วิน นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 29 สิงหาคม พ.ศ. 2530) พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - สโมกีย์ โรบินสัน นักร้องอเมริกัน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - ฮิโระชิ ฟุจิโอะกะ นักแสดงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - บิ๊ก จอห์น สตัดด์ นักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 20 มีนาคม พ.ศ. 2538) พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - เรย์ วินสตัน นักแสดงโทรทัศน์, ละครเวที และภาพยนตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก พระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร กับ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - กรณ์ จาติกวณิช นักการเมืองชาวไทย พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1967) - เบนิซิโอ เดล โตโร นักแสดงและผู้จัดภาพยนตร์ชาวเปอร์โตริโก พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1969) - ณรงค์ จรุงธรรมโชติ นักเขียนการ์ตูนเจ้าของผลงาน "ขวดแดง" พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - มัลกี มักคาย อดีตนักฟุตบอลทีมชาติสกอตแลนด์ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - มิกะ นะกะชิมะ นักร้อง นักแสดง และนางแบบชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - พัดชา เอนกอายุวัฒน์ นักร้อง นักแสดง พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - โอฟีเลีย โลวิบอนด์ นักแสดงหญิงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ณัฐฐชาช์ บุญประชม นักแสดงและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - * โกสตา บาร์บารูซิส นักฟุตบอลชาวนิวซีแลนด์ * ดาบิด โรเชลา นักฟุตบอลชาวสเปน * ทินกร อสุรินทร์ นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - สุทัศสรณ์ สัจจะภูริภูมิ (นีน่า) อดีตนักแสดงและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - กันติชา ชุมมะ (ติช่า) นักแสดงและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - รัฐวิทย์ กิจวรลักษณ์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - คิม ช็อง-อู นักร้อง นักเต้น และพิธีกรชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - * จัสติน (นักร้อง เกิด พ.ศ. 2545) นักร้อง, นักเต้น และแร็ปเปอร์ชาวจีน * วีริณฐ์ศรา ตั้งกิจสุวานิช นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - มิลล์ บ็อบบี บราวน์ นักแสดงเด็กหญิงและนางแบบชาวอังกฤษ == วันถึงแก่กรรม วันมรณภาพ วันสวรรคต == พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - คนืต ฮัมซึน นักเขียนชาวนอร์เวย์ (เกิด 4 สิงหาคม พ.ศ. 2402) พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) * หลวงพ่อจง พุทธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2415) * เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน อดีตรัฐมนตรีและนักการเมืองชาวไทย (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2454) พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีน (เกิด 22 สิงหาคม พ.ศ. 2447) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - อำนวย กลัสนิมิ ผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์ไทยด้วยฟิล์ม 16 ม.ม (เกิด พ.ศ. 2458) พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - เหี่ยวฟ้า ศิลปินตลก (เกิด พ.ศ. 2480) พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) * ฮาร์เปอร์ ลี นักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด 28 เมษายน พ.ศ. 2469) * อุมแบร์โต เอโก นักเขียนชาวอิตาลี (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2475) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - สมเด็จพระราชินีฮาลาเอวาลู มาตาอาโฮ อาโฮเมเอ (พระราชสมภพ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2470) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000), พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) - วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: February 19 กุมภาพันธ์ 19 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,028
18 กุมภาพันธ์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 49 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 316 วันในปีนั้น (317 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) - มีการรวมชาติอิตาลีขึ้นอีกครั้งภายใต้ชื่อว่า ราชอาณาจักรอิตาลี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - ไคลด์ ทอมบอ ค้นพบดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่นก่อตั้งแมนจูกัว ในตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - มีหิมะตกในทะเลทรายซาฮาร่า(الصحراء الكبرى)เป็นเวลา 30 นาที พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - สถานี Paddington และ Victoria ที่ลอนดอน ถูกผู้ก่อการร้ายวางระเบิด พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - อุบัติเหตุทางรังสีที่สมุทรปราการ : เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันอันตรายจากรังสีได้ตรวจพบ โคบอลต์ 60 อยู่ที่บริเวณร้านขายของเก่า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และได้สั่งปิดกั้นบริเวณนั้น == วันเกิด == พ.ศ. 2060 (ค.ศ. 1516) - สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (สวรรคต 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101) พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) - อาเลสซันโดร วอลตา นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี (เสียชีวิต 5 มีนาคม พ.ศ. 2370) พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) - เจ้าหญิงลูอีสแห่งเบลเยียม (ถึงแก่กรรม 1 มีนาคม พ.ศ. 2467) พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) - ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์) (เสียชีวิต 5 กรกฎาคม 2549 ในอายุ 103 ปี) พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - บ็อบบี ร็อบสัน นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - ดุษฎี พนมยงค์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - จอห์น ทราโวลตา นักแสดงชายชาวอเมริกัน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - เกรัลท์ แอร์มัน นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - แม็ตต์ ดิลลอน นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - อเล็กซานเดอร์ แมกนูตอฟ นักมวยสากลชาวรัสเซีย พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - มอลลี ริงวอลด์ นักแสดง นักร้องและนักเต้นชาวอเมริกัน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - โกลด มาเกเลเล อดีตนักฟุตบอลและผู้ฝึกสอนชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - แกรี เนวิล ผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา นักร้องชายชาวไทย พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - จีรนันท์ มะโนแจ่ม นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - สิทธิพงษ์ มะนาวหวาน นักฟุตบอลระดับอาชีพชาวไทย พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - เจอร์เมน จีนาส นักฟุตบอลสัญชาติ อังกฤษ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) *เซิลวี ออตแตแซน นักฟุตบอลชาวไอซ์แลนด์ *กิตติศักดิ์ เวชประสาร หรือชื่อเล่นในวงการ ยัดห่า, ยัดห่าเฟ็ดเฟ่,ยัดชัยโสโร พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - แอนทอน เฟอร์ดินานด์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ชิม ชางมิน นักร้องชายชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ไมกง มาร์กิส นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - นิ้วก้อย กรรณิการ์ นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) * ศรัณย่า ชุณหศาสตร์ นักแสดงหญิงชาวไทย * พรหมพิริยะ ทองพุทธรักษ์ นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เจ-โฮป ศิลปินชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) * นาตัน อาเก นักฟุตบอลชาวดัตช์ * รูนาร์ อาแลกส์ รูนาร์ซอน นักฟุตบอลชาวไอซ์แลนด์ พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - เปรมอนันต์ ศรีพานิช นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) - พาขวัญ น้อยใจบุญ นักร้องสาวชาวไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2088 (ค.ศ. 1546) - มาร์ติน ลูเทอร์ ผู้ก่อตั้งนิกายลูเทอแรน (เกิด 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483) พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) - มีเกลันเจโล จิตรกร สถาปนิก และประติมากรชาวอิตาลี (เกิด 6 มีนาคม ค.ศ. 1475) พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2447) พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - สิลา วีระวงส์ ศิลปินมรดกอีสาน (เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2448) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - อีแวน โคลอฟฟ์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969), พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988), พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - วันตรุษจีน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: February 18 กุมภาพันธ์ 18 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,029
17 กุมภาพันธ์
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 48 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 317 วันในปีนั้น (318 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) - นักปรัชญา จอร์ดาโน บรูโน ถูกเผาทั้งเป็น ที่แคมโปเดอฟลอริในกรุงโรม ในข้อหาว่านอกรีต พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) - เรือลำแรกเดินทางผ่านคลองสุเอซ พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1952) - กองทัพปลดแอกประชาชน รบกับกองทัพก๊กมินตั๋ง บนจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นครั้งสุดท้ายที่เมืองแช่ สิบสองปันนา พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - มีการประหารชีวิต 3 ผู้ต้องหา กรณีสวรรคตของ รัชกาลที่ 8 คือ นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - สหรัฐอเมริกา ส่งดาวเทียมแวนการ์ด 2 ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงแรก ขึ้นสู่อวกาศ ใช้เก็บข้อมูลการกระจายตัวของเมฆ พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - จีนส่งทหารราว 120,000 นาย ข้ามพรมแดนสู่ตอนเหนือของเวียดนาม เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-เวียดนาม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - คอซอวอประกาศเอกราชจากเซอร์เบีย พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - * อาหรับสปริง: ชาวลิเบียเริ่มประท้วงต่อต้านระบอบการปกครองของมูอัมมาร์ กัดดาฟี * อาหรับสปริง: ในบาห์เรน กองกำลังความมั่นคงเปิดฉากจู่โจมก่อนรุ่งสางต่อผู้ประท้วงที่วงเวียนไข่มุกในมานามา วันนี้เป็นที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่า Bloody Thursday == วันเกิด == พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) - ออตโต สเติร์น นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน-เยอรมัน (เสียชีวิต 17 สิงหาคม พ.ศ. 2512) พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) - หม่อมเจ้าพูนพิศสมัย ดิศกุล นักเขียน และผู้ก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) (สิ้นชีพตักษัย 11 สิงหาคม พ.ศ. 2533) พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - พีต พอเซิลธ์เวต นักแสดงชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 2 มกราคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ชาตรี ศรีชล นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (ถึงแก่กรรม 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2532) พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - * เรเน รุสโซ นักแสดง โปรดิวเซอร์ และนางแบบชาวอเมริกัน * สมชาย ชวยบุญชุม ผู้ฝึกสอนชาวไทย พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ธวัชชัย ไทยเขียว อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และอดีตอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - พันนา ฤทธิไกร นักแสดงชายชาวไทย (ถึงแก่กรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557) พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - ไมเคิล จอร์แดน นักบาสเกตบอล พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - ไมเคิล เบย์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง นักร้อง นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - โดมินิก เพอร์เซลล์ นักแสดงชายชาวอังกฤษ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - เดนิส ริชาดส์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - บิลลี โจ อาร์มสตรอง นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - มิชิโกะ คิชิเซะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เคลลี คาร์ลสัน นักแสดง นางแบบชาวอเมริกัน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - * แพรีส ฮิลตัน นักแสดง นักธุรกิจชาวอเมริกา * โจเซฟ กอร์ดอน-เลวิตต์ นักแสดงชายชาวอเมริกัน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - อาเดรียนู นักฟุตบอลทีมชาติบราซิล พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - เควิน รูดอล์ฟ นักร้อง-นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์เพลง ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - อนุวัฒน์ อินยิน นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ภาวิณี วิริยะชัยกิจ นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - มาร์ก มาร์เกซ นักแข่งรถชาวสเปน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ นักธุรกิจชาวอังกฤษ (เกิด 25 ตุลาคม พ.ศ. 2399) พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - สด กูรมะโรหิต นักเขียนนวนิยายไทย (เกิด 27 เมษายน พ.ศ. 2451) พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - จำนง รังสิกุล นักสื่อสารมวลชน (เกิด พ.ศ. 2456) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (เกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2485) พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - ระพี สาคริก นักวิชาการและนักการเมืองไทย (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ. 2465) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2531 วันตรุษจีน == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: February 17 กุมภาพันธ์ 17 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,030
16 กุมภาพันธ์
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 47 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 318 วันในปีนั้น (319 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) - บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นโรงเรียนในคณะภราดาเซนต์คาเบรียลโรงเรียนแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) - ลิทัวเนียประกาศเอกราช พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) - โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เปิดหีบพระศพของตุตันคาเมน ฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์ พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ญี่ปุ่นยึดบอร์เนียวภาคใต้สำเร็จ พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ฟิเดล คาสโตร ผู้นำการปฏิวัติ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กลายเป็นผู้นำที่อายุน้อยที่สุดของประเทศคิวบา พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - วอร์ด คริสเตนเซน สร้างกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ระบบแรกของโลก ระหว่างที่เกิดพายุหิมะครั้งใหญ่ในชิคาโก สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - กองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติในโคลัมเบียลักพาตัวประกันชาวสหรัฐ 6 คน และปล่อยตัวในอีก 9 เดือนต่อมา พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ผู้ประท้วงชาวเคิร์ดบุกยึดสถานทูตกรีซในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยจับเอกอัครราชทูตเป็นตัวประกันไว้หลายชั่วโมงก่อนจะปล่อยตัวไป พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - เกิดระเบิดพลีชีพในศูนย์อาหารเมืองคาร์ไมโซมรอน ประเทศอิสราเอล มีผู้เสียชีวิต 4 คน กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ออกมาอ้างความรับผิดชอบ == วันเกิด == พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) - เฮนรี วิลสัน รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 18 (ถึงแก่กรรม 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2418) พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1887) - หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ (มรณภาพ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล (สิ้นชีพิตักษัย 5 กันยายน พ.ศ. 2492) พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - เชสเตอร์ มอร์ริส นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่อสัญกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2513) พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - คิม จองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือคนที่ 2 (ถึงแก่อสัญกรรม 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - รินะ มอร์ ทนายความ นักเขียน นางงามชาวอิสราเอล นางงามจักรวาล 1976 พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - ไอซ์-ที แรปเปอร์ นักแสดง และนักเขียนชาวอเมริกัน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - จอห์น แมกเอนโร นักเทนนิสชาวอเมริกัน พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - จง ฉู่หง นักแสดงหญิงชาวฮ่องกง พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - มาริตซา ซายาเลโร นักออกแบบ นางแบบ นักธุรกิจ นางงามชาวเวเนซุเอลา พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - ฟาราน ทาฮีร์ นักแสดงชาวปากีสถาน-อเมริกัน พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - * คริสโตเฟอร์ เอ็กเคิลสตัน นักแสดงชาวอังกฤษ * หลิว ชิงหวิน นักแสดงชายชาวจีน พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - วาเลรี ทรีแอร์แวแลร์ สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของฝรั่งเศส พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - ยุน จง-ฮวัน นักฟุตบอลชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร ผู้ประกาศข่าวชาวไทย พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - นะนะเซะ ไอกะวะ นักร้องชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ริกกี แลมเบิร์ต นักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - ลูกัส บาร์รีโอส นักฟุตบอลทีมชาติปารากวัย พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - เสกสรรค์ สุทธิจันทร์ นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ยู คะชี นักแสดงและนางแบบชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * เดนีลซง เปเรย์รา เนวิส นักฟุตบอลชาวบราซิล *คิม ซู-ฮย็อน นักแสดงและนายแบบชาวเกาหลี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * มู คานาซากิ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น * อลิซาเบธ โอลเซน นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน *แดเนียลล์ ไฮม์ นักกีตาร์ชาวอเมริกา พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - เซร์ฆิโอ กานาเลส กองกลาง-นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - ลูกัส ซิลวา นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เอวา แมกซ์ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (ประสูติ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463) พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - คีธ แฮริง ศิลปินชาวอเมริกัน (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980), พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999), พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - วันตรุษจีน พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - วันมาฆบูชา ลิทัวเนีย - วันประกาศเอกราช (พ.ศ. 2461) == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: February 16 กุมภาพันธ์ 16 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,031
15 กุมภาพันธ์
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 46 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 319 วันในปีนั้น (320 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - สงครามสเปน-อเมริกา : เรือรบยูเอสเอส เมนระเบิดและล่มในอ่าวฮาวานาของคิวบา ซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าถูกก่อวินาศกรรม นำไปสู่การประกาศสงครามต่อสเปน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - สงครามโลกครั้งที่สอง : สิงคโปร์ยอมจำนนต่อกองกำลังญี่ปุ่น ทหารชาวอินเดีย ออสเตรเลีย มลายู และอังกฤษกว่า 130,000 นาย ตกเป็นเชลยศึก พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกวชิราลงกรณธาราบำบัด ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พระราชวังพญาไท พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - สหภาพโซเวียตเสร็จสิ้นการถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกเชื้อปะทุ (แก๊ป) พลิกคว่ำ ทำให้เชื้อปะทุระเบิด ที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - ประชาชนหลายล้านคนใน 800 นครทั่วโลก ร่วมกันประท้วงต่อต้านสงครามอิรัก เป็นการชุมนุมประท้วงที่มีประชาชนเข้าร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - อุกกาบาตระเบิดเหนือเชลยาบินสก์ในรัสเซียกลาง เศษกระจกจากคลื่นกระแทกทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 1,200 คน == วันเกิด == พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1564) - กาลิเลโอ กาลิเลอี นักฟิสิกส์ นักดาราศาสตร์ และนักปรัชญาชายชาวอิตาลี (ถึงแก่กรรม 8 มกราคม พ.ศ. 2184) พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) - มีป คีส นักมนุษยธรรมชาวเนเธอร์แลนด์ (ถึงแก่กรรม 11 มกราคม พ.ศ. 2553) พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - เจ้าชายวิลเฮล์ม วิกเตอร์แห่งปรัสเซีย (สิ้นพระชนม์ 7 กุมภาพันธ์ 2532) พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - ฉีเคอะ ผู้กำกับภาพยนตร์ชายชาวฮ่องกง พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรไทย พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - มิโยะโกะ อะซะดะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - เดือนเพ็ญ อำนวยพร นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - สมพงษ์ คุนาประถม อี๊ด โปงลางสะออน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - เอวเรลยู โกมีส นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - เจษฎา พั่วนะคุณมี นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - ดราภดา โสตถิพิทักษ์ นักแสดง/นางแบบชาวไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - รอแม็ง กัสมี นักฟุตบอลชาวลูกครึ่งฝรั่งเศสกับแอลจีเรีย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - รุย ปาตรีซียู นักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - มาร์ติน ดูเบรากา นักฟุตบอลชาวสโลวาเกีย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ปาทริก เดย์โต นักฟุตบอลชาวฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ลู้ก มักคัลลัก นักฟุตบอลชาวไอร์แลนด์เหนือ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เมแกนเดอะสตัลเลียน แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - กมลวรรณ บัวแย้ม นักเทนนิสชาวไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2300 (ค.ศ. 1757) - พระมเหสีจองซอง สมเด็จพระราชินีแห่งอาณาจักรโชซ็อน พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (ประสูติ 16 เมษายน พ.ศ. 2427) พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - พระพรหมพิจิตร (พรหม พรหมพิจิตร) ขุนนางและสถาปนิกชาวไทย (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2433) พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ริชาร์ด ไฟน์แมน นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2461) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - บุษยา รังสี นักร้องสุนทราภรณ์ (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2483) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - สนั่น ขจรประศาสน์ นักการเมืองไทย (เกิด 7 กันยายน พ.ศ. 2478) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == เซอร์เบีย - วันชาติ == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 15 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,032
14 กุมภาพันธ์
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 45 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 320 วันในปีนั้น (321 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2395 (ค.ศ. 1852) - โรงพยาบาลเกรตออร์มอนด์สตรีตซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในอังกฤษที่ให้บริการเตียงผู้ป่วยในโดยเฉพาะสำหรับเด็ก ได้รับการก่อตั้งขึ้นในกรุงลอนดอน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) - ทางการรัฐเท็กซัสได้ติดต่อทางโทรเลขไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของสหรัฐจากความประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา กับเมืองมาร์แชลล์ รัฐเท็กซัส พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) - ออริกอนถูกผนวกเข้าเป็นรัฐที่ 33 ของสหรัฐ พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1876) - เอลิชา เกรย์ และอเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ จดสิทธิบัตรโทรศัพท์ พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1879) - กองทัพชิลีเข้ายึดครองเมืองท่าอันโตฟากัสตาของประเทศโบลิเวีย เป็นจุดเริ่มต้นสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (ค.ศ. 1879–1884) พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรเริ่มการระเบิดที่เมืองเดรสเดินในประเทศเยอรมนี ส่งผลให้เกิดพายุเพลิงคร่าชีวิตพลเรือนหลายหมื่นคน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ดาวเทียมดวงแรกในกลุ่มดาวเทียมจีพีเอส เข้าสู่วงโคจร พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - วันพระราชทานนาม "ราชภัฏ" (วันราชภัฏ) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เว็บไซต์ยูทูบเปิดตัวเป็นวันแรก == วันเกิด == พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา (สิ้นพระชนม์ 27 มกราคม พ.ศ. 2506) พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - เทลมา ริตเตอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - อาภรณ์ อินฟ้าแสง ผู้ก่อตั้ง โรงเรียนกรุงเทพวิจิตรศิลป์, กรุงเทพเทคนิคนนท์, ผู้แต่ง หนังสือศิลปลายไทย ฉบับนักศึกษา, ออกแบบฟ้อนท์ไทย (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2542) พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน เจ้านายฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - เจ้าชายฮันส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์ พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - เควิน คีแกน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - * ไซมอน เพกก์ นักแสดง ผู้กำกับชาวอังกฤษ * แดง จิตกร นักร้องลูกทุ่ง สังกัดค่ายท็อปไลน์ ไดมอนด์ (ถึงแก่กรรม 30 เมษายน พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - วิสเซรา นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557) พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - แช่ม แช่มรัมย์ นักร้อง นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - * ดาไน กูริรา นักแสดงและนักเขียนบทละครชาวซิมบับเว-อเมริกัน * พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - บาการี ซาญา กองหลังทีมชาติฝรั่งเศส พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - อรจิรา แหลมวิไล นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - สกอตต์ แดนน์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * ฆาบิเอร์ ปาติญโญ นักฟุตบอลชาวสเปน * อังเคล ดิ มาเรีย นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ปรีชญา พงษ์ธนานิกร นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - กาโรล จี นักร้องชาวโคลอมเบีย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * คริสเตียน เอริกเซน นักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก * เฟรดดี ไฮร์มอร์ นักแสดงชาวอังกฤษ * เอลลี ดูห์เอ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน * อี จู-ย็อง นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * โฟกัส จีระกุล นักแสดงหญิงชาวไทย * ลีโอมี แอนเดอร์สัน นางแบบชาวอังกฤษ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - * เตเรนเซ ก็องโกโล นักฟุตบอลชาวดัตซ์ * ธนภพ ลีรัตนขจร นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ปิยพงษ์ หอมขจร นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - ลูกัส แอร์น็องแดซ นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - * แจฮย็อน นักร้องชาวเกาหลีใต้ วงเอ็นซีที,เอ็นซีที 127 * ฑิชาญา บุญเลิศ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย * เบรล เอ็มโบโล นักฟุตบอลอาชีพชาวสวิส พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ไทเลอร์ อาดัมส์ นักฟุตบอลชาวอเมริกัน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - อัลบาโร ซานซ์ นักฟุตบอลชาวสเปน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 813 (ค.ศ. 270) - นักบุญวาเลนไทน์ พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1779) - เจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษ (เกิด 27 ตุลาคม พ.ศ. 2271 (ปฏิทินจูเลียน)) พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) - เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) (เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2410) พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - ดาฟิด ฮิลแบร์ท นักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมัน (เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2404) พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1948) - พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของไทย (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2430) พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - สุรางค์ ดุริยพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2480) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - การ์โลส เมเนม ประธานาธิบดีอาร์เจนตินาคนที่ 44 (เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473) พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) ดวงเพชร พรหมเทพ (ดอม) (เกิด 3 กรกฎาคม พศ 2548) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972), พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991), พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - วันตรุษจีน พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - วันมาฆบูชา วันวาเลนไทน์ วันราชภัฏ == วันเกี่ยวกับวัฒนธรรม == วันผู้ไทย == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 14 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,033
13 กุมภาพันธ์
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 44 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 321 วันในปีนั้น (322 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) - โทมัส เอดิสันสังเกตปรากฏการณ์เอดิสัน ซึ่งต่อมาเป็นรากฐานของการสร้างไดโอด พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1884) - คณะศิลปินหลวงออกเดินทางเพื่อไปแสดง ณ กรุงลอนดอน พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) - KINETOSCOPE เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องแรกของโลก ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 โดยสองพี่น้องนักฟิสิกส์ ชาวฝรั่งเศส "AUGUSTE & LOUISE LUMIERE" พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) - สยามเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ตรงข้ามเมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพรตามสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารจากจันทบุรี พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ญี่ปุ่นเริ่มเข้ายึดเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตราและยึดได้สำเร็จในอีกสามวันต่อมา พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองกำลังสหภาพโซเวียตยึดเมืองบูดาเปสต์ของฮังการี จากนาซี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - คอนสแตนติน เชอร์เนนโก ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต == วันเกิด == พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) - เบสส์ ทรูแมน - อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกาคนที่ 33 (ถึงแก่กรรม 18 ตุลาคม พ.ศ. 2525) พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - สมเด็จพระราชาธิบดีคอลิด บิน อับดัลอะซีซ อาล ซะอูด (สวรรคต 13 มิถุนายน พ.ศ. 2525) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - สุปาณี พุกสมบุญ นักร้องหญิงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563) พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - อังคาร กัลยาณพงศ์ กวีและจิตรกร (ถึงแก่กรรม 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - วันชัย สอนศิริ ทนายความ นักการเมืองชาวไทย และสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - * ปีแอร์ลุยจี กอลลีนา ผู้ตัดสินฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกชาวอิตาลี * เพีย ซุนด์ฮาแก อดีตนักฟุตบอลชาวสวีเดน พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - นีล แม็กดันนา นักแสดง, นักพากย์ และโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - สรรเสริญ สมะลาภา นักการเมืองชาวไทย พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - เคลลี หู นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - ร็อบบี้ วิลเลียมส์ นักร้องชาวอังกฤษ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - * โทนี ดาลตัน นักแสดง, นักเขียนบท และโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน * อริสรา กำธรเจริญ อาจารย์/ผู้ประกาศข่าว/นักแสดง/พิธีกรชาวไทย พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - สุพจน์ จันทร์เจริญ นักร้อง นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - ราฟาเอล มาร์เกซ นักฟุตบอลชาวเม็กซิโก พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - * พิทักษ์พงษ์ ธรรมา (เดวิด นครหลวงโปรโมชั่น) นักมวยสากลแชมป์ ABCO * เซบัสเตียน เคล นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ลุยเซา นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - บรูโน เอร์เรโร อาเรียส นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - รีการ์ดู ซังตูซ นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - * โอลิเวีย แอลลิสัน นักระบำใต้น้ำชาวอังกฤษ * เกฟิน สโตรตมัน นักฟุตบอลชาวดัตช์ * ประวีณวัช บุญยงค์ นักฟุตบอลชาวไทย * มามาดู ซาโก นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส * อรรถพงศ์ หนูพรหม นักฟุตบอลตำแหน่งกองกลาง พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * พ็อนตุส ยอนซ็อน นักฟุตบอลชาวสวีเดน * เอลียากีม ม็องกาลา นักฟุตบอลอาชีพชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - กรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา พิธีกร นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - * คะซุมิ อะริมุระ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น * อูร็อช สปายิช นักฟุตบอลชาวเซอร์เบีย พ.ศ. 2537 (พ.ศ. 1994) - แม็มฟิส เดอไป นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - นูนู ซังตุช นักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - น้องเรซซิ่ง บุตรชายของนักแสดงสาวณปภา ตันตระกูล == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) - เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - ริชชาร์ท วากเนอร์ คีตกวีและนักโต้วาทีชาวเยอรมัน (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2356) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - โมรีก ตรีนตีชนองต์ นักแข่งรถชาวฝรั่งเศส (เกิด 30 ตุลาคม พ.ศ. 2460) พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักเขียนรางวัลซีไรต์ (เกิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509) พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - ชาร์ลี นอร์วูด นักการเมืองชาวอเมริกัน (เกิด 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2484) พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) *อิจิกะวะ คง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น (เกิด 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458) *พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (เกิด 8 ตุลาคม พ.ศ. 2465) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - คิม จ็อง-นัม พี่ชายต่างมารดาของคิม จ็อง-อึน (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2514) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - นิสสัย เวชชาชีวะ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2475) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: February 13 กุมภาพันธ์ 13 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,034
12 กุมภาพันธ์
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 43 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 322 วันในปีนั้น (323 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1818) - เบอร์นาร์โด โอฮิกกินส์ ผู้นำแห่งรัฐคนแรกของประเทศชิลี ประกาศเอกราช หลังจากตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1825) - ชาวครีก ชนพื้นเมืองเผ่าอินเดียนแดงในจอร์เจีย ยอมยกดินแดนให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก่อนอพยพไปทางตะวันตก พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1912) - ปูยี จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจีน สละราชสมบัติ หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - ตัวแทนพม่า ไทใหญ่ ชีน และกะชีน ลงนามในความตกลงปางหลวงเพื่อรวมตัวเป็นสหภาพ แต่ละกลุ่มสามารถแยกตัวเป็นอิสระหลังจากรวมตัวกันครบ 10 ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ลงแตะพื้นดินของดาวเคราะห์น้อย 433 อีรอส เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย == วันเกิด == พ.ศ. 2351 (ค.ศ. 1808) * อับราฮัม ลิงคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา (ถึงแก่กรรม 15 เมษายน พ.ศ. 2408) * ชาลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 19 เมษายน พ.ศ. 2425) พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) - โยะชิโกะ ยะมะงุชิ นักแสดงและนักร้องชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 7 กันยายน พ.ศ. 2557) พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) - แซมวล ยูด นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - บิล รัสเซล อดีตนักบาสเกตบอลชาวอเมริกัน พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - เลดีแคโรไลน์ เวอร์สลีย์ ราชวงศ์แซ็ก-โคบูร์กและก็อตธา พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกชาวไทยคนแรก (ถึงแก่กรรม 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2525) พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - พลอากาศตรี กิติพงษ์ เกษมุติ พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - สุรสีห์ อิทธิกุล นักร้อง นักดนตรีชาวไทย พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - มาลา คำจันทร์ นักเขียนรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - ดานีเอเล มาซาลา นักปัญจกีฬาสมัยใหม่ พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - โชเล่ย์ ดอกกระโดน นักแสดงตลกชาวไทย พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - อภิชาติ ดำดี วิทยากร, นักพูด, นักการเมือง พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - นลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - จารุณี สุขสวัสดิ์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - กิตติพงษ์ คงพัฒน์ยืน วิทยากร พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - กิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - * คริสตินา ริชชี นักแสดงชาวอเมริกัน * เอนเวียร์ โจฮ์กี นักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ชาวอเมริกัน * ฮวน คาร์ลอส เฟอร์เรโร นักเทนนิสชาวสเปน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - * คุณพลอยไพลิน เจนเซน พระธิดาองค์โตใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับอดีตพระสวามี ปีเตอร์ เจนเซน * วุฒิรัตน์ ธนสุคนธสิทธิ์ นักฟุตบอลชาวไท่ย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ไมก์ พอสเนอร์ นักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - แอร์แว็ง แอนกาเปต นักวอลเลย์บอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * เกวลิน ศรีวรรณา นักแสดงชาวไทย * แอซจัน อาลีออสกี นักฟุตบอลชาวมาซิโดเนีย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - ราฟาแอล อัลกังตารา นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - มิโอริ อิชิคาวะ อดีตสมาชิกวง AKB48 และ NMB48 ชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - รินะ คาวาเอ นักแสดงและอดีตนักร้องชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ธัญญ่า อาร์สยาม นักร้องลูกทุ่งชาวไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2347 (ค.ศ. 1804) - อิมมานูเอิล คานท์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2267) พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - กิตติ ทองลงยา นักสัตววิทยาชาวไทย (เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2471) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - พยงค์ มุกดา นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลงชาวไทย (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2469) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - อัล จาร์โร นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2483) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2507 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2526 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2545 - วันตรุษจีน วันดาร์วิน พ.ศ. 2564 - วันหยุดพิเศษช่วงเทศกาลตรุษจีน == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 12 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,035
11 กุมภาพันธ์
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 42 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 323 วันในปีนั้น (324 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) - แม่พระประจักษ์ที่ลูร์ดเป็นครั้งแรกต่อแบร์นาแด็ต ซูบีรู ชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1919) - ฟรีดริค เอเบิร์ต ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีคนแรก ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1929) - สนธิสัญญาแลเทอรันฉบับแรก กำหนดให้นครรัฐวาติกันเป็นรัฐเอกราชในประเทศอิตาลี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - วงดนตรีเดอะบีเทิลส์ เริ่มบันทึกเสียงอัลบั้มแรก "Please Please Me" พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - อายะตุลลอฮ์รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ครองอำนาจในอิหร่าน และดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุด พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เนลสัน มันเดลา นักโทษการเมืองผู้ต่อต้านการถือผิวชาวแอฟริกาใต้ที่โด่งดังที่สุด ได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกหลังจากถูกคุมขังนาน 27 ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - สนธิ ลิ้มทองกุล นัดชุมนุมเพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ออกจากตำแหน่ง ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ต่อเนื่องจากวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พร้อมกับเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - ประตูนัมแด สมบัติประจำชาติหมายเลข 1 ของเกาหลีใต้ ถูกไฟไหม้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก == วันเกิด == พ.ศ. 2009 (ค.ศ. 1466) - เอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชินีแห่งอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2046) พ.ศ. 2078 (ค.ศ. 1535) - สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 14 (ถึงแก่กรรม 16 ตุลาคม พ.ศ. 2134) พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) - โทมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 18 ตุลาคม พ.ศ. 2474) พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) - โจเซอิ โทดะ นายกสมาคมโซคา งัคไก (ถึงแก่กรรม 2 เมษายน พ.ศ. 2501) พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) - หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย (สิ้นชีพิตักษัย 19 สิงหาคม พ.ศ. 2501) พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) - พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์ (สวรรคต 18 มีนาคม พ.ศ. 2508) พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - เลสลี นีลเซน นักแสดง ดาราตลก ชาวแคนาดา-อเมริกัน (ถึงแก่กรรม 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553) พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - เบิร์ต เรย์โนลส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 6 กันยายน พ.ศ. 2561) พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - ช็อน กวัง-รย็อล นักแสดงชายชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - เชอรีล โครว์ นักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรี ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - เคน แชมร็อก ชาวอเมริกันศิลปินผสมการต่อสู้ที่สุดปแชมป์ (UFC) พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - เจนนิเฟอร์ อนิสตัน นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - ทาเคชิ โอบาตะ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - ดีแอนเจโล นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - รีการ์ดู ปือไรรา อดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - ไมค์ ชิโนะดะ แร็ปเปอร์-นักร้อง-โปรดิวเซอร์เพลง-นักดนตรีชาวอเมริกัน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - แบรนดี้ นอร์วูด นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - เคลลี โรว์แลนด์ นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - * ราฟาเอล ฟัน เดอร์ฟาร์ต นักฟุตบอลชาวดัตช์ * หวง เชิ่งอี นักร้อง นักแสดงชาวจีน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - วันชัย ทัพวิเศษ นักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - โฆเซ กาเยฆอน นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - หลี่ ฉุน นักร้องหญิงชาวจีน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * คารีน่า เคร้าเซอ นักกีฬาวอลเลย์บอลสายเลือดไทย-เยอรมัน * อาเลกซันเดอร์ บึตต์เนอร์ นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ฮวาง ชานซอง นักร้องเกาหลี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - โก อารา นักแสดงหญิงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * คิม ดง-จุน นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ * เทย์เลอร์ เลาต์เนอร์ นักแสดงชายชาวอเมริกัน พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - จิดี คานยุค นักฟุตบอลชาวอิสราเอล พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - * ฆนัท โรจนัย นักแสดงชายชาวไทย * โรมัน ซอบนิน นักฟุตบอลชาวรัสเซีย * วัง ชุ่น นักว่ายน้ำชาวจีน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - * ดานีอิล เมดเวเดฟ นักเทนนิสอาชีพชายชาวรัสเซีย * ยูเรีย คิซากิ นักแสดงชาวญี่ปุ่นและอดีตสมาชิกวงไอดอลเอเคบีโฟร์ตีเอต * โยนาทัน ทา นักฟุตบอลชาวเยอรมัน * ลูกัส ตอร์เรย์รา นักฟุตบอลชาวอุรุกวัย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - * จาง แด-ฮย็อน แร็ปเปอร์, นักร้อง และนักแต่งเพลงชาวเกาหลีใต้ * โรเซ นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - คาลิด นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - อี ชาน (ดีโน่ seventeen) นักร้องชาวเกาหลีใต้ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 1184 (ค.ศ. 641) - จักรพรรดิเฮราคลิอัสแห่งจักรวรรดิโรมัน พ.ศ. 1274 (ค.ศ. 731) - สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 2 พ.ศ. 1367 (ค.ศ. 824) - สมเด็จพระสันตะปาปาปัสกัลที่ 1 พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) - เอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชินีแห่งอังกฤษ พ.ศ. 2193 (ค.ศ. 1650) - เรอเน เดการ์ต นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - เซอร์ไก ไอเซนสไตน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวโซเวียต พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - ซิลเวีย แพลธ กวีและนักเขียนชาวอเมริกัน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - แฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - อเล็กซานเดอร์ แม็กควีน ดีไซเนอร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - วิตนีย์ ฮิวส์ตัน พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - หาญ ลีนานนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ == วันสำคัญ == พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998), พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - วันมาฆบูชา โรมันคาทอลิก - วันฉลองแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด ญี่ปุ่น - วันชาติ == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 11 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,036
10 กุมภาพันธ์
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 41 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 324 วันในปีนั้น (325 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1258) - ฮูลากูข่านนำกองทัพมองโกลบุกยึดและเผาทำลายกรุงแบกแดด เป็นการสิ้นสุดการปกครองของคอลีฟะห์แห่งราชวงศ์อับบาซิด พ.ศ. 2305 (ค.ศ. 1763) - จักรวรรดิฝรั่งเศสในอเมริกาเหนือยุติลงเมื่อบริเตนและสเปน แบ่งดินแดนนิวฟรองตามสนธิสัญญาปารีส พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร ทรงเสกสมรสกับเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต แห่งเซกโคเบิร์ก-กอธธา พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - ก่อตั้งสนามศุภชลาศัย พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ญี่ปุ่นยึดครองเกาะนิวไอร์แลนด์และเกาะนิวบริเตนตะวันตก พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - สหรัฐอเมริกาแลกเปลี่ยนรูดอล์ฟ อะเบลล์ สายลับของโซเวียตที่ถูกจับโดยเอฟบีไอกับแกรี พาวเวอร์ส นักบินประจำเครื่องบินจารกรรมของสหรัฐอเมริกา ที่ถูกยิงตกในโซเวียต พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 หลังไม่มีการเลือกตั้ง 12 ปี ตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 ผลการเลือกตั้ง พรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับเสียงข้างมาก พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - ผู้ก่อการร้ายโจมตีสายการบินแอล อัล ที่ท่าอากาศยานเมืองบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี มีผู้เสียชีวิต 1 คน ขบวนการกู้ชาติปาเลสไตน์อ้างความรับผิดชอบ พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - คอมพิวเตอร์นักหมากรุก "ดีปบลู" เอาชนะแกร์รี แคสพารอฟ นักหมากรุกรางวัลอินเตอร์แนชันแนลแกรนด์มาสเตอร์ และแชมป์โลกเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา == วันเกิด == พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) - สอ เสถบุตร นักเขียนชาวไทย (ถึงแก่กรรม 9 กันยายน พ.ศ. 2513) พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - โรเบิร์ต แวกเนอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - โรเบอร์ตา แฟล็ก นักร้อง-นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิเรวดี เทียนประภาส อดีตผู้อำนวยการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - มาร์ก สปิตซ์ นักจัดรายการโทรทัศน์ อดีตนักว่ายน้ำชาวอเมริกัน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - ตู้ เต๋อเว่ย นักแสดงและนักร้องชาวฮ่องกง และ ไต้หวัน พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - ชาง โฮ ชอย แชมป์โลกมวยสากลชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - นูรุดดีน เนย์เบ็ต อดีตนักฟุตบอลในตำแหน่งกองหลัง พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - เอลิซาเบท แบงส์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * นาอูเอล กุซมัน นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา * ราดาเมล ฟัลกาโอ การ์ซีอา นักฟุตบอลชาวโคลมเบีย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ชเว ซูยอง นักร้องชาวเกาหลี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - เอมมา โรเบิตส์ นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) *เควิน อินเกรโซ นักฟุตบอลลูกครึ่งฟิลิปปินส์–เยอรมัน *มีอา คาลิฟา นักแสดงหนังผู้ใหญ่ลูกครึ่งเลบานอน-อเมริกัน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) *ซน นาอึน นักร้องชาวเกาหลี *คัง ซึลกิ นักร้องชาวเกาหลี *มิเกล อัลมิรอน นักฟุตบอลชาวปารากวัย พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - นาบี เกอีตา นักฟุตบอลชาวกินี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - โคลอี เกรซ มอเรตซ์ นักแสดงชาวอเมริกัน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - ชาร์ลส์ วิลสัน นักการเมืองชาวอเมริกัน (เกิด 1 มิถุนายน พ.ศ. 2476) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ เจ้าของนามปากกา "หมูนินจา" (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2502) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - แลร์รี ฟลินต์ นักธุรกิจสิ่งพิมพ์ชาวอเมริกัน (เกิด 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2518 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2537 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2556 - วันตรุษจีน == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 10 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,037
9 กุมภาพันธ์
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 40 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 325 วันในปีนั้น (326 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1895) - กีฬาวอลเลย์บอล ถูกคิดค้นขึ้นที่วายเอ็มซีเอ ณ เมืองโฮลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - สงครามโลกครั้งที่ 2: กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ายึดกัวดาลคาแนลในหมู่เกาะโซโลมอน จากกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในสมรภูมิกัวดาลคาแนล เป็นชัยชนะสำคัญครั้งหนึ่งของสงครามแปซิฟิก พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - วุฒิสมาชิก โจเซฟ แมกคาร์ที กล่าวหากระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ว่าเต็มไปด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - สงครามเวียดนาม: ทหารหน่วยรบของสหรัฐอเมริกาชุดแรกเดินทางถึงพื้นที่ทางใต้ของเวียดนาม พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของวงคาราบาว และยังเป็นครั้งแรกของศิลปินไทยที่มีการจัดคอนเสิร์ตในสนามกีฬา และมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แต่ไม่สามารถทำการแสดงจนจบได้ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - มติสภาผู้แทนราษฎรได้เลือก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - แทมมารีน ธนสุกาญจน์ได้แชมป์เทนนิสหญิงเดี่ยวดับเบิลยูทีเอทัวร์ครั้งแรกในการเล่นอาชีพ ที่ไฮเดอราบาด อินเดีย == วันเกิด == พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - วิลเลียม เฮนรี แฮร์ริสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 9 (ถึงแก่กรรม 4 เมษายน พ.ศ. 2384) พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) - โรนัลด์ คอลแมน นักแสดงชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - ไรนุส มิเชลส์ อดีตนักฟุตบอลและโค้ชชาวดัตช์ (ถึงแก่กรรม 3 มีนาคม พ.ศ. 2548) พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - คาโรล คิง นักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - มีอา ฟาร์โรว์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - อาดาจิ มิซึรุ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - * ดาวยศ ดารา นักฟุตบอลทีมชาติไทย * อัลฟองโซ่ ซาโมร่า แชมป์โลกมวยสากลชาวเม็กซิโก พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - สุวัจน์ ลิปตพัลลภ นักการเมืองชาวไทย พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - หม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา หม่อมในพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - * อังคณา ทิมดี นักแสดง นางแบบชาวไทย * เอร์เนสโต บัลเบร์เด อดีตนักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - ธวัช รัตตะชัย นักพากย์ชาวไทย พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักประพันธ์รางวัลซีไรต์ (ถึงแก่กรรม 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549) พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - * จาง จื่ออี๋ นักแสดงหญิงชาวจีนแผ่นดินใหญ่ * เนย์ ฟาเบียโน นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - อันเกลอส ชาริสเตอัส อดีตนักฟุตบอลชาวกรีก พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ทอม ฮิดเดิลสตัน นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - นนทพันธ์ เจียรสถาวงศ์ นักฟุตบอล สัญชาติไทย พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - ฮันเกิง นักร้องวงซูเปอร์จูเนียร์ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - * ชเว กึม-ช็อล นักฟุตบอล สัญชาติเกาหลีเหนือ * ไมเคิล บี. จอร์แดน นักแสดงและโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ฟิโอดอร์ สโมลอฟ นักฟุตบอลชาวรัสเซีย พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - อัลมุท ชุลท์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - อดิศักดิ์ หาญเทศ นักฟุตบอล สัญชาติไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - วาตารุ เอ็นโดะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - *มาริออ ปาชาลิช นักฟุตบอลชาวโครเอเชีย *จอห์นนี ซอ นักร้องวง เอ็นซีที 127 พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - หทัยรัตน์ จารัตน์ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) - สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - กรมหลวงนครราชสีมา (ประสูติ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432) พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) (เกิด พ.ศ. 2406) พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - บุญส่ง เลขะกุล ผู้บุกเบิกงานอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าของไทย (เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2450) พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 (ประสูติ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2473) พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เทะซึกะ โอะซะมุ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (เกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ชิค คอเรีย นักเปียโนแจ๊สชาวอเมริกัน (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2497) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967), พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986), พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005), พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024) - วันตรุษจีน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 09 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,038
8 กุมภาพันธ์
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 39 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 326 วันในปีนั้น (327 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2129 (ค.ศ. 1587) - สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ถูกประหารชีวิต ณ ปราสาทฟอเทอริงเกย์ หลังตกเป็นผู้ต้องหาพัวพันในแผนการปลงพระชนม์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) - สยาม- อังกฤษทำสัญญาเรื่องแนวเขตแดนสยาม-พม่าเป็นครั้งแรกในวันนี้ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1904) - สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้น เมื่อญี่ปุ่นสร้างความประหลาดใจ ด้วยการจู่โจมเรือรบของรัสเซียด้วยตอร์ปิโด พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ญี่ปุ่นยึดครองหมู่เกาะเซลีเบสสำเร็จ พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในซานฟรานซิสโก นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกัน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - วันเปิดทำการ "แนสแด็ก" ตลาดหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกของโลก พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - เกิดเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา ในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิต 30 คน บาดเจ็บ 58 คน == วันเกิด == พ.ศ. 954 (ค.ศ. 412) - โพรคลัส นักปรัชญาชาวกรีก (ถึงแก่กรรม 17 เมษายน พ.ศ. 1030) พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1790) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (สิ้นพระชนม์ 27 เมษายน พ.ศ. 2373) พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) - จูลส์ เวิร์น นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส (ถึงแก่กรรม 24 มีนาคม พ.ศ. 2448) พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1850) - เคท โชแปง นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 20 สิงหาคม พ.ศ. 2447) พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (สิ้นพระชนม์ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1925) - แจ็ก เลมมอน นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544) พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) - เจมส์ ดีน นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 30 กันยายน พ.ศ. 2498) พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - เดนิส ลอว์ อดีตกองหน้าทีมชาติสกอตแลนด์ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - รีโน บาริลลารี นักถ่ายภาพชาวอิตาลี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - แมรี สตีนเบอร์เกน นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - ศุภักษร ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักเขียนบทชาวไทย พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - เบนิกโน อากีโนที่ 3 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 15 (ถึงแก่อสัญกรรม 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - อัฟชิน ก็อตบี ผู้จัดการทีมชาวอิหร่าน พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - จาง เว่ย์เจี้ยน นักแสดงละครซีรีส์อันดับหนึ่ง ของค่ายโทรทัศน์ทีวีบี(TVB) พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - ซัทซึกิ อิการะชิ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - จอห์น ไฟแลน ผู้รักษาประตูชาวออสเตรเลีย พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - บิ๊กโชว์ นักมวยปล้ำอาชีพ, อดีตนักบาสเกตบอล และนักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - * คิมโบ สไลซ์ นักต่อสู้แบบผสมชาวอเมริกันเชื้อสายบาฮามาส (ถึงแก่กรรม 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559) * ชลิดา ตันติพิภพ นางสาวไทย * เซธ กรีน นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - แกรี่ เนวิลล์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - จตุรวิทย์ คชน่วม นักแสดงและตำรวจชาวไทย พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - ซินตึ๊ง เกียรติบุษบา แชมป์ PABA พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - * จอช คีตัน นักแสดงและนักดนตรีชาวอเมริกัน * นาวิน เยาวพลกุล นักร้อง นักแสดง อาจารย์มหาวิทยาลัยชาวไทย พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - กรรณิการ์ วนะเกียรติกุล นักร้อง นักแสดง นางแบบชาวไทย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ฆาบิ การ์ซิอา นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - เรนาตู เอากุสตู นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เมธัส ตรีรัตนวารีสิน นักรัองและนักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * จิตปัญญา ทิสุด นักฟุตบอลชาวไทย * นัม อูฮยอน นักร้องชาวเกาหลีใต้ * มิชชาเอล ลัง (นักฟุตบอล) นักฟุตบอลชาวสวิส พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * วราภัทร์ เพชรสถิตย์ นักแสดงชาวไทย * นูรูล ศรียานเก็ม นักฟุตบอลชาวไทย * คาร์ล เจนคินสัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * บรูโน มาร์ตินส์ อินดี นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ฮาคัน ชัลฮาโนลู นักฟุตบอลชาวตุรกี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - * โยชูอา คิมมิช นักฟุตบอลชาวเยอรมัน * รชตะ หัมพานนท์ นักแสดง นายแบบ และพิธีกรชาวไทย พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - * เคเนดี (นักฟุตบอล) นักฟุตบอลชาวบราซิล * ภาลฎา ฐิตะวชิระ นักร้องและนักแสดงชาวไทย * อวัช รัตนปิณฑะ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - * แคทริน นิวตัน นักแสดงชาวอเมริกัน * ปัณฑา พัฒนอำไพวงศ์ นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) * ยางจองอิน ศิลปินเกาหลีใต้ สมาชิกวง StrayKids == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2129 (ค.ศ. 1587) - สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ (ถูกประหารชีวิต) (พระราชสมภพ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2085) พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) - จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย (ปีเตอร์มหาราช) (พระราชสมภพ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2215) พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) - พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย) จุฬาราชมนตรี (ไม่ทราบปีที่เกิด) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - ยอดธง เสนานันท์ ครูสอนวิชามวยชาวไทย (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2480) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978), พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997), พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - วันตรุษจีน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001), พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - วันมาฆบูชา == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 08 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,039
7 กุมภาพันธ์
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 38 ของปี ตามนะาดาดะา สุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 327 วันในปีนั้น (328 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1843 (ค.ศ. 1301) - เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งคายร์นาร์วอน (อนาคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ) ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาทในพระยศเจ้าชายแห่งเวลส์ ถือเป็นพระองค์แรกของอังกฤษ พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1900) - สถาปนาพรรคแรงงานในอังกฤษ พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - พินอคคิโอ ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมรางวัลออสการ์ของวอลท์ ดิสนีย์ สร้างจากนิยายของการ์โล กอลโลดี ออกฉายเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1944) - มีการแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ออกจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสถาปนา "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ในสังกัดกระทรวงการสาธารณสุข ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - โครงการเมอคิวรี: จอห์น เกล็นน์ นักบินอวกาศสหรัฐฯ โคจรรอบโลกด้วยยานเฟรนด์ชิป 7 จำนวน 3 รอบ ในเวลา 4 ชม. 55 นาที นับเป็นนักบินอวกาศคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่เดินทางขึ้นสู่อวกาศ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - สหรัฐอเมริกา ไม่ให้นำสินค้านำเข้าจากคิวบา อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - เกรนาดาประกาศเอกราช พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - ดาวพลูโตเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ค้นพบ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - บรูซ แม็กแคนด์เลสส์ นักบินอวกาศขององค์การนาซา ออกท่องอวกาศโดยไม่ใช้สายโยงติดกับยานเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - คณะกรรมาธิการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เห็นชอบที่จะยุติการผูกขาดอำนาจ นับเป็นการล่มสลายของสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ประเทศในประชาคมยุโรป ลงนามในสนธิสัญญามาสทริคต์ ณ เมืองมาสทริคต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - เกิดการวางระเบิดนอกไนต์คลับในกรุงโบโกตา ประเทศโคลัมเบีย มีผู้เสียชีวิต 32 คน == วันเกิด == พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1906) - ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของประเทศจีน (ถึงแก่กรรม 17 ตุลาคม พ.ศ. 2510) พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - อรุณี ขวัญบัว นักร้อง พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - กรุง ศรีวิไล นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - มิเกล เฟร์เรร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 19 มกราคม พ.ศ. 2560) พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - * แซมมี ลี โค้ชฟุตบอลชาวอังกฤษ * มิก มักคาร์ที นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวอังกฤษ พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) -เจมส์ สเปเดอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - การ์ธ บรูกส์ นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - คริส ร็อก นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - บริพันธ์ ชัยภูมิ นักรัอง นักดนตรี พิธีกร นักแสดง ดีเจ นักเขียน และโปรดิวเซอร์ชาวไทย พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก นางงามจักรวาล ปี 1988 พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - แอชตัน คุชเชอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - เฝิง ยิงฉี นักกีฬาฟันดาบบนรถวีลแชร์ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - โกสินทร์ ราชกรม นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - เฟเดรีโก มาร์เกตตี นักฟุตบอลชาวอิตาลี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - เด็บโบราห์ แอนน์ โวลล์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - นีล เทย์เลอร์ (นักฟุตบอล) นักฟุตบอลชาวเวลส์ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - * แจ็กเซ็ปติกอาย ยูทูบเบอร์ชาวไอร์แลนด์ * นีล อีเทอริดจ์ นักฟุตบอลอาชีพชาวฟิลิปปินส์-อังกฤษ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - *ไมมิ ยาจิมะ นักร้อง *แซร์ฌี รูแบร์ตู นักฟุตบอลชาวสเปน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 742 (ค.ศ. 199) - ลิโป้ พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) - จักรพรรดิเฉียนหลง (ประสูติ 25 กันยายน ค.ศ. 1711) พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน (ประสูติ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478) พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - ชิโฮะ นิอิยามะ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2513) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - บุญถิ่น ทวยแก้ว ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับศิลป์ และนักแสดง (เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - นิลวรรณ ปิ่นทอง นักเขียน บรรณาธิการชาวไทย (เกิด 6 ธันวาคม พ.ศ. 2458) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2513 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2532 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2551 - วันตรุษจีน เกรนาดา - วันประกาศเอกราช == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 07 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,040
6 กุมภาพันธ์
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 37 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 328 วันในปีนั้น (329 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2330 (ค.ศ. 1788) - สหรัฐอเมริกาผนวกแมสซาชูเซตส์เป็นรัฐที่ 6 พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1819) - เซอร์โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ สถาปนาสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่ สำหรับบริษัทอีสต์อินเดีย พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1820) - ผู้อพยพชาวแอฟริกันอเมริกัน 86 คนแรก ตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศไลบีเรีย โดยการสนับสนุนของสมาคมล่าอาณานิคมแห่งอเมริกา พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) - สถาปนากรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1908) - สถาปนากรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1922) - อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ลงนามในสนธิสัญญานาวีวอชิงตัน เพื่อจำกัดจำนวนอาวุธยุทธภัณฑ์ในกองทัพเรือ พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - *สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จสวรรคต *ดัชเชสแห่งเอดินบะระ สืบทอดราชบัลลังก์อังกฤษเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - โศกนาฏกรรมมิวนิค เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของ สโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - แจ็ก คิลบี วิศวกรไฟฟ้าชาวอเมริกัน จดสิทธิบัตรฉบับแรกของแผงวงจรรวม (integrated circuit) พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เอเรียล ชารอน ชนะการเลือกตั้ง และขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิสราเอล พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - พรรคไทยรักไทยนำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป == วันเกิด == พ.ศ. 2299 (ค.ศ. 1756) - แอรอน เบอร์ รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 3 (ถึงแก่กรรม 14 กันยายน พ.ศ. 2379) พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) - พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) (มรณภาพ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2494) พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) - พระสรลักษณ์ลิขิต (มุ่ย จันทรลักษณ์) (ไม่ทราบวันที่เสียชีวิต) พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี (สิ้นพระชนม์ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2461) พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) - อรอำไพ โกมารกุล ณ นคร (สิ้นชีพิตักษัย 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553) พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1912) - โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 40 (ถึงแก่กรรม 5 มิถุนายน พ.ศ. 2547) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - บิลลี ไรต์ (นักฟุตบอลเกิดปี พ.ศ. 2467) นักฟุตบอลชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 3 กันยายน พ.ศ. 2537) พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) - ปราโมทยา อนันตา ตูร์ นักเขียนชาวอินโดนีเซีย (ถึงแก่กรรม 30 เมษายน พ.ศ. 2549) พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - วิชัย วงศ์ไชย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - เดวี ซูการ์โน นักธุรกิจ, นักสังคมสงเคราะห์, ผู้มีชื่อเสียง และผู้มีจิตการกุศลชาวญี่ปุ่น รวมทั้งเป็นหนึ่งในภรรยาของ ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - บ็อบ มาร์เลย์ นักร้องและนักดนตรีเร็กเก้ชาวจาไมกา (ถึงแก่กรรม 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2524) พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - นาตาลี โคล นักดนตรีชาวอเมริกา (ถึงแก่กรรม 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558) พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - วิลาศ จันทร์พิทักษ์ นักการเมืองไทย พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - อังคนางค์ คุณไชย นักร้องลูกทุ่งหมอลำและนักลำเรื่องต่อกลอนหญิงชาวไทย พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - ยอดรัก สลักใจ (นิพนธ์ ไพรวัลย์) ศิลปินแห่งชาติและนักร้องลูกทุ่ง (ถึงแก่กรรม 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551) พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - แอกเซล โรส นักร้อง/นักแต่งเพลง/นักดนตรีชาวอเมริกัน พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ริก แอสต์ลีย์ นักร้องชาวอังกฤษ พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - อิซุมิ ซะกะอิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - นัท มีเรีย นักร้อง นักแสดง และพิธีกรหญิง พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เจ้าหญิงมารีแห่งเดนมาร์ก พระชายาพระองค์ที่ 2 ใน เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - จอช สจวร์ต นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - มามิโกะ โนโตะ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - กุหลาบแดง ลูกพระบาท นักมวย พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - อลิซ อีฟ นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - แดร์เรน เบนต์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * การ์โลส ซันเชซ โมเรโน นักฟุตบอลชาวโคลัมเบีย * ชอง ยุนโฮ นักร้องชาวเกาหลี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * เครก แคทคาร์ต นักฟุตบอลชาวไอร์แลนด์เหนือ * ณฐพร เตมีรักษ์ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ธีราทร บุญมาทัน นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - เวฬุรีย์ ดิษยบุตร นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - จอมขวัญ ลีละพงศ์ประสุต นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เคียวโกะ ฮินะมิ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - * แซม แม็กควีน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * เลอ็อน โกเร็ทซ์คา นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - การัณย์ คงคาหลวง นักออกแบบเครื่องประดับ พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - อิงครัต ดำรงค์ศักดิ์กุล นักแสดงเด็กชาวไทย พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเบลเยียม พระธิดาพระองค์ใหญ่และพระองค์เดียวใน เจ้าชายโลร็องแห่งเบลเยียม == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร (พระราชสมภพ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2438) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == คริสตจักรโรมันคาทอลิก - วันฉลองนักบุญเปาโล มิกิ มรณสักขีในศาสนาคริสต์ชาวญี่ปุ่น ประเทศนิวซีแลนด์ - วันชาติ วันมวยไทย เนื่องในวันที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ)ขึ้นเสวยราชสมบัติ ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2245 == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 06 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,041
5 กุมภาพันธ์
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 36 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 329 วันในปีนั้น (330 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1859) - เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา แห่งวอลลาเชียและโมลดาเวีย ผนวกราชรัฐทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรโรมาเนีย พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1862) - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนหลักสายแรก พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1885) - สมเด็จพระราชาธิบดีลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม สถาปนารัฐอิสระคองโกในทวีปแอฟริกา ให้ตกเป็นเมืองขึ้นอยู่ในครอบครองของพระองค์ พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1922) - นิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์ ฉบับแรกวางจำหน่าย (บางแหล่งข้อมูลระบุว่าเป็นวันที่ 7 กุมภาพันธ์) พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1924) - บีบีซีเริ่มถ่ายทอดสัญญาณเวลากรีนิชเป็นรายชั่วโมงจากหอดูดาวหลวงกรีนิช พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - ยานอะพอลโล 14 นำนักบินอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - กบฏจากกลุ่มปฏิวัติเพื่อปลดปล่อยเฮติแห่งชาติเข้ายึดครองเมืองโกนาอีฟส์ เป็นจุดเริ่มต้นของกบฏเฮติ พ.ศ. 2547 == วันเกิด/วันพระราชสมภพ == พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) - พลโท ประยูร ภมรมนตรี อดีตนักการเมืองชาวไทย และหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร (ถึงแก่กรรม 12 สิงหาคม พ.ศ. 2525) พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - เชซาเร มัลดีนี นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอิตาลี (ถึงแก่กรรม 3 เมษายน พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - ชาร์ลอตต์ แรมพลิง นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - ทศพร มูลศาสตรสาทร อดีตนักการเมืองชาวไทย พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - ลอรา ลินนีย์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - * นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร นักแสดงชาวไทย * บ็อบบี้ บราวน์ นักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน * ไมเคิล ชีน นักแสดงชาวเวลส์ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - โจฟันนี ฟัน โบรงก์ฮอสต์ อดีตนักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - อภิเษก พัจจัน นักแสดงชาวอินเดีย พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - จาพนม ยีรัมย์ นักแสดงผู้เชี่ยวชาญศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - วันดี สิงห์วังชา แชมป์โลกมวยสากลชาวไทยคนที่ 27 พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - การ์โลส เตเบซ นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - คริสเตียโน โรนัลโด นักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * มานูแวล ฟือร์นังดึช (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2529) นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส * บิลลี ชาร์ป นักฟุตบอลชาวอังกฤษ * เวดรัน ชอร์ลูคา นักฟุตบอลชาวโครเอเชีย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ดาร์เรน คริส นักแสดงละครเวที รายการโทรทัศน์ และนักร้อง ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - เฆซุส เบร์โรกัล นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - อีเวร์ตง กงชัลวีส ซาตูร์นีนู นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * ดีโอ แมดดิน นักมวยปล้ำอาชีพ, ผู้บรรยายมวยปล้ำอาชีพและอดีตนักกีฬาชาวอเมริกัน * อัดนัน ออราฮอวัช นักฟุตบอลชาวมอนเตเนโกร พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * เนย์มาร์ นักฟุตบอลอาชีพชาวบราซิล * สเตฟัน เดอ ไฟร นักฟุตบอลอาชีพชาวดัตช์ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - อะริซะ โคะมิยะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - * รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันทีมชาติไทย * อัดนัน ยานูไซ นักฟุตบอลชาวเบลเยี่ยม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - แพทริก รอเบิตส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - คิม มิน-จู นักร้อง, แร็ปเปอร์, นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) * คัง แทฮยอน นักร้อง ชาวเกาหลีใต้ * พัค จีซอง นักเต้น, นักเต้น ชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - เจ้าฟ้าชายจิกมี นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรภูฏาน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) - เจ้าเหมพินธุไพจิตร เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 8 พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (เสด็จพระราชสมภพ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - จีนัสซิงเบ เอยาเดมา ประธานาธิบดีโตโก (เกิด 26 ธันวาคม พ.ศ. 2480) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - หยาด นภาลัย ศิลปินนักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2490) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ นักแสดงชาวแคนาดา (เกิด 13 ธันวาคม พ.ศ. 2472) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2505 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2524 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2543 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2562 - วันตรุษจีน == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 05 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,042
4 กุมภาพันธ์
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 35 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 330 วันในปีนั้น (331 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1859) - คอนสแตนติน ฟาน ทิชอันดอร์ฟ ผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์ในคริสต์ศาสนาชาวเยอรมัน ค้นพบม้วนคัมภีร์ใหม่ที่ชื่อว่า "Codex Sinaiticus" เขียนไว้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในวิหารบริเวณตีนเขาไซไนของอียิปต์ พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1862) - บาคาร์ดี ผู้ผลิตเหล้ารัมรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นในโรงกลั่นขนาดย่อมที่คิวบา พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1899) - สงครามฟิลิปปินส์-อเมริกา เริ่มต้นขึ้น เมื่อมีการยิงต่อสู้กันเป็นครั้งแรกที่สะพานซานฮวน กรุงมะนิลา พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เปิดโรงงานผลิตเหรียญกระษาปณ์ด้วยกำลังไฟฟ้าแห่งแรกของไทย พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) - ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - วินสตัน เชอร์ชิลล์ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ และโจเซฟ สตาลิน พบกันในที่ประชุมร่วมยอลตา พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - ศรีลังกาประกาศเอกราช พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - เรือนอติลุส เรือดำน้ำลำแรกที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนด้วยนิวเคลียร์ เดินทางได้ไกล 60,000 ไมล์ทะเล เท่ากับเรือดำน้ำนอติลุสในนิยายวิทยาศาสตร์ของจูลส์ เวิร์น เรื่อง "ใต้ทะเล 20,000 โยชน์" พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - หนังสือพิมพ์ "พิมพ์ไทย" ตีพิมพ์ภาพถ่ายของ ซีอุย ผู้ต้องหาฆาตกรรมเหยื่อ 6 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก แล้วควักอวัยวะภายในมากินสด ๆ นับเป็นฆาตกรต่อเนื่องคนแรกของไทย พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - สถาปนา วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - รัฐกัวยอมรับให้ภาษากอนกานีเป็นภาษาราชการของรัฐ พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - แผ่นดินไหวขนาด 6.1 ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - เกมคอมพิวเตอร์ เดอะซิมส์ ในเครือของแมกซิสออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี :สนธิ ลิ้มทองกุลนัดชุมนุมเพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ออกจากตำแหน่ง ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ครั้งแรก โดยเป็นการนำเดี่ยวเพียงคนเดียว พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน == วันเกิด == พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) – ชาลส์ ลินด์เบิร์ก นักบินชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 16 สิงหาคม พ.ศ. 2517) พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) – เจ้าหญิงฟัตมา เนสลีชาห์ เจ้าหญิงองค์สุดท้ายแห่งออตโตมัน (สิ้นพระชนม์ 2 เมษายน พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) – มนัส โอภากุล นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี (ถึงแก่กรรม 4 มกราคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) – ยาห์ยา ข่าน นายพลชาวปากีสถาน (ถึงแก่กรรม 10 สิงหาคม พ.ศ. 2523) พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) – คอนราด เบน นักแสดงชาวแคนาดาอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 14 มกราคม พ.ศ. 2556) พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) – แนนซี วอล์กเกอร์ บุช เอลลิส น้องสาวของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ถึงแก่กรรม 10 มกราคม พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – จอร์จ เอ. โรเมโร ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน-แคนาดา (ถึงแก่กรรม 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – แดน เควล รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 44 พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – อลิซ คูเปอร์ นักร้อง นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – อันเดรย์ คาร์ลอฟ นักการทูตชาวรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – ฮาร์ลาน โคเบน นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – ชาง จุงกู นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – หนู มิเตอร์ นักร้อง นักดนตรีชาวไทย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – ออสการ์ เดอ ลา โฮยา นักมวยสากลชาวสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – นาตาลี อิมบรูกเลีย นักร้องชาวออสเตรเลีย พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) – เกวิน เดอกรอว์ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) – เฉินคุน นักแสดงและนักร้องชาวจีน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) – * คิมเบอร์ลีย์ ไวแอตต์ นักร้อง นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น นักแสดงและบุคคลโทรทัศน์ชาวอเมริกัน * แดเมียน พรีสต์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) – แฮนนิบัล เบอริส นักแสดงตลก, นักแสดง, นักเขียน และโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) – เปาลู รังเฌล นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) – คิม แจจุง นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – * พัทธนันท์ พิจิตรธรรม นักกีฬาฟุตบอลชาวไทย * โอโซระ นาโอมิ นักพากย์หญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) – * ชิดาวัลย์ อนันต์ดำรงชัย นักวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย * อันริ คิซูกิ อดีตเอวีไอดอลชาวญี่ปุ่น * อาเลกเซีย ปูเตยัส นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) – บรูโน ลิมา นักวอลเลย์บอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – อายามิ นากะโจ นักแสดงและนางแบบชาวญี่ปุ่น == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (ประสูติ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419) พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - ชัยชาญ หาญนาวี อดีตฮีโร่ชาวไทยที่กองทัพสหรัฐฯต้องยกย่อง พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ปริม บุนนาค หม่อมใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2564) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ศรีลังกา - วันประกาศเอกราช (พ.ศ. 2491) == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day == อ้างอิง == กุมภาพันธ์ 04 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,043
3 กุมภาพันธ์
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 34 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 331 วันในปีนั้น (332 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1994 (ค.ศ. 1451) - สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต สืบทอดราชบัลลังก์จักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2031 (ค.ศ. 1488) - บาร์โตโลมิว ดีแอส นักเดินเรือชาวโปรตุเกส แล่นเรือรอบแหลมกูดโฮปทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา และทอดสมอในอ่าวมอสเซล พ.ศ. 2233 (ค.ศ. 1690) - อาณานิคมแมสซาชูเซตส์ออกธนบัตรเป็นครั้งแรกในทวีปอเมริกา พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) - สงครามปฏิวัติอเมริกา: กองกำลังอังกฤษยึดเกาะ ซินต์เอิสตาซียึส ของดัตช์ในทะเลแคริบเบียน พ.ศ. 2326 (ค.ศ. 1783) - ความสัมพันธ์สเปน-สหรัฐเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2350 (ค.ศ. 1807) - กองกำลังทหารอังกฤษ ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลจัตวา เซอร์ ซามูเอล ออชมูตี ยึดเมืองมอนเตวิเดโอของจักรวรรดิสเปน ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของอุรุกวัย พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) - โฆเซ เด ซาน มาร์ติน เอาชนะกองทัพผู้นิยมกษัตริย์สเปนในยุทธการที่ซานลอเรนโซ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามประกาศอิสรภาพอาร์เจนตินา พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) - พิธีสารลอนดอน ค.ศ. 1830 ได้กำหนดเอกราชและอำนาจอธิปไตยของกรีซจาก จักรวรรดิออตโตมัน โดยสมบูรณ์อันเป็นผลจาก สงครามประกาศอิสรภาพกรีซ พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) - ยุคเมจิเริ่มต้นขึ้นเมื่อมกุฎราชกุมารมุตสึฮิโตะขึ้นครองราชบัลลังก์ พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) - การแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐครั้งที่ 15 ได้รับการอนุมัติ โดยรับประกันสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนของพลเมืองชายโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - การแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐครั้งที่ 16 ได้รับการอนุมัติ โดยอนุญาตให้ รัฐบาลกลาง กำหนดและเก็บภาษีเงินได้ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - จัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยออกพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึก พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - นักดนตรี 3 คน คือ บัดดี ฮอลลี ริชี วาเลนส์ และ เดอะบิกบอปเปอร์ เสียชีวิตในอุบัติเหตุเครื่องบินตก รู้จักกันในชื่อ "The Day The Music Died" พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - นายกรัฐมนตรี ฮาโรลด์ แมคมิลแลน ของอังกฤษพูดถึง "สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง" โดยส่งสัญญาณว่ารัฐบาลของเขามีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของประเทศอาณานิคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ยานลูนา 9 ของโซเวียต เป็นยานลำแรกของโลกที่ลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ และส่งภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์มายังโลก พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - ยัสเซอร์ อาราฟัตเป็นผู้นำองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (พีแอลโอ) == วันเกิด == พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) - นอร์มัน ร็อคเวลล์ นักเขียนชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521) พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - มิยะโกะ ยะมะงุชิ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - เสรี รุ่งสว่าง นักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - โยอาคิม เลิฟ ผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - หนู คลองเตย นักแสดงตลกชาวไทย (เสียชีวิต 29 มกราคม พ.ศ. 2548) พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - มิซู พาเทไลเนน นักฟุตบอลชาวฟินแลนด์ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - โบ ไบเดน อัยการสูงสุดแห่งรัฐเดลาแวร์คนที่ 44 (ถึงแก่กรรม 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - เทอร์รี เฉิน นักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ชาวแคนาดา พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - * ฌูอัน กัดดาบิลา นักฟุตบอลชาวสเปน * อามัล คลูนีย์ เนติบริกรชาวอังกฤษ พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - โดนิส เอสโคเบร์ ผู้รักษาประตูฟุตบอลชาวฮอนดูรัส พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - ยูนิส มะห์มูด นักฟุตบอลชาวอิรัก พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - เอลิซาเบธ โฮล์ม นักธุรกิจหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * เดวิด เอดเวิดส์ (นักฟุตบอล) นักฟุตบอลชาวอังกฤษ-เวลส์ * ลีอังดรู อัสซัมเซา นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เคลย์ตง ซิลวา นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * โจวคยูฮยอน นักร้องชาวเกาหลี * เกรเกอรี ฟัน เดอร์วีล นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ฌอน คิงสตัน นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - แดเนียล ชมิท นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ทัดดาว นึกแจ้ง นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - * ทาโอะ สึจิยะ นักแสดงหญิง นางแบบ และนักเต้นชาวญี่ปุ่น * เอมี ลู วูด นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - โทนี-แอนน์ ซิงห์ นักร้องและนางงามชาวจาเมกา พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ลูวิส คุก (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2540) นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - คันนะ ฮาชิโมโตะ นักแสดงและอดีตนักร้องเกิร์ลกรุปชาวญี่ปุ่น == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2010 (ค.ศ. 1468) - โยฮัน กูเตนแบร์ก ผู้เชี่ยวชาญการพิมพ์ชาวเยอรมัน (เกิด พ.ศ. 1941) พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) - จักรพรรดิซา ล็อง (องเชียงสือ) (ประสูติ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2305) พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427) พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - สุวรรณี สุคนธา นักประพันธ์ (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2475) พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - อุดม โปษะกฤษณะ ผู้ผลักดันการแพทย์สู่ชนบท (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - เจ้าหญิงเรจิน่าแห่งแซ็กซ์-ไมนินเจน (พระราชสมภพ 6 มกราคม พ.ศ. 2468) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - พงส์ สารสิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2470) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2516 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2535 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2554 - วันตรุษจีน วันทหารผ่านศึก พ.ศ. 2573 - วันตรุษจีน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 03 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,044
2 กุมภาพันธ์
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 33 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 332 วันในปีนั้น (333 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1504 (ค.ศ. 962) - สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ทำพิธีราชาภิเษกให้กับจักรพรรดิออตโตมหาราช เป็นจักรพรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์พระองค์แรกในรอบเกือบ 40 ปี พ.ศ. 2195 (ค.ศ. 1653) - วันสถาปนานิวอัมสเตอร์ดัม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นนครนิวยอร์ก) พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1848) - สงครามเม็กซิโก-อเมริกายุติลงเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญากัวดาลูปฮิดาลโก เม็กซิโกยอมยกดินแดนส่วนหนึ่งให้สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1925) - สุนัขลากเลื่อนไปถึงเมืองโนมในอะแลสกาพร้อมกับเวชภัณฑ์เพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคคอตีบ ทำให้เกิดการแข่งขันสุนัขลากเลื่อนไอดิทาร็อดในเวลาต่อมา พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1933) - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ยุบสภาเยอรมนี พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - วันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - ยุทธภูมิสตาลินกราดยุติลงเมื่อทหารเยอรมัน 91,000 นาย เหนื่อยล้าและหิวโหยหลังจากตกเป็นเชลยของกองทัพแดงในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - วันสถาปนาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - ผู้ชุมนุม 20,000-30,000 คน ที่อยู่ในอาการโกรธแค้น บุกเผาสถานทูตอังกฤษในเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เพื่อประท้วงเหตุการณ์นองเลือดที่ทหารพลร่มของอังกฤษยิงชาวไอริช 13 คน เสียชีวิต ในเหตุการณ์ Bloody Sunday เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ประธานาธิบดี เฟรเดอริก วิลเลม เดอ คลาร์ก ประกาศสิ้นสุดการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ และสัญญาว่าจะปล่อยตัว เนลสัน แมนเดลา พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ใช้บำบัดน้ำเสียโดยเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - เกิดเหตุจลาจลในสนามฟุตบอลที่เมืองพอร์ตซาอิด ประเทศอียิปต์ เมื่อทีมอัล-มาสรีเอาชนะทีมอัล-อาลีไปได้ 3-0 โดยแฟนฟุตบอลของอัล-มาสรี เป็นฝ่ายที่บุกลงไปในสนามและเริ่มขว้างปาก้อนหิน, ขวดน้ำและพลุเข้าใส่กองเชียร์อัล-อาลี มีผู้บาดเจ็บนับพัน เสียชีวิต 74 ศพ พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นโมฆะ == วันเกิด == พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) - เจ้าชายแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก (สิ้นพระชนม์ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2487) พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) - อินทุรัตนา บริพัตร เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - มีชัย ฤชุพันธุ์ นักกฎหมาย และอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - อาซาง ลาวลี นักการเมือง พลตรี และสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (LPRP) ชาวลาว พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - เจ้าหญิงมาเรีย เบียทริซแห่งซาวอย พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - ฟาร์ราห์ ฟอว์เซตต์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ฝุ่ง กวาง ทัญ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประเทศเวียดนาม (เสียชีวิต 11 กันยายน พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - พัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - อัดนัน ออกทาร์ ผู้นำลัทธิทางศาสนา พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - ภูวนาท คุนผลิน (อั๋น) นักร้อง/นักจัดรายการวิทยุ/พิธีกร พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - แบร์รี เฟอร์กูสัน นักฟุตบอลชาวสกอตแลนด์ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - เปโดร มาริโอ อัลบาเรซ นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - * วิกตอเรีย ซ่ง นักร้องชาวเกาหลี * ฌาราร์ต ปิเก นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - แดน กอสลิง นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * กิโก เฟเมนิอา นักฟุตบอลชาวสเปน * คอเนอร์ ฮูรีฮาน นักฟุตบอลชาวไอริช พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - เรเวล มอร์ริสัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - การอล ลีแนตตือ นักฟุตบอลชาวโปแลนด์ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ชินภัทร ลีเอาะ นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - ชลธร คงยิ่งยง นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - มาร์ติน ซูบิเมนดี นักฟุตบอลอาชีพชาวสเปน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - มาเรีย มากิโนะ นักร้องและนักเต้นหญิงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - พัก จีซ็อง นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - แชต แฟรนต์ ยูทูปเบอร์ชาวอเมริกัน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - เบอร์แทรนด์ รัสเซิลล์ นักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาชาวอังกฤษ (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2415) พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (ประสูติ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2464) พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - จีน เคลลี นักแสดงอเมริกัน (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2455) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ประเทศไทย - วันนักประดิษฐ์ ประเทศไทย - วันเกษตรแห่งชาติ ศรีลังกา - วันเด็กแห่งชาติ สหประชาชาติ - วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 02 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,045
1 กุมภาพันธ์
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 32 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 333 วันในปีนั้น (334 วันในปีอธิกสุรทิน) == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1796) - อัปเปอร์แคนาดา ย้ายเมืองหลวงจากนูวัก (ปัจจุบันคือไนแอกะราออนเดอะเลค) ไปยังเมืองยอร์ก (ปัจจุบันคือโทรอนโต) เพื่อลดความเสี่ยงจากการโจมตีของสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1884) - พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดฉบับแรก วางจำหน่าย พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - ทรีฟ ลี (Trygve Lie) นักการเมืองชาวนอร์เวย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการคนแรกของสหประชาชาติ พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - อียิปต์และซีเรียร่วมกันก่อตั้งสหสาธารณรัฐอาหรับ พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศเปิดสมรภูมิบ้านร่มเกล้า ระหว่างไทย-ลาว ที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - * กระสวยอวกาศโคลัมเบีย ขององค์การนาซา ระเบิดเหนือรัฐเท็กซัส ระหว่างการเดินทางกลับเข้าสู่บรรยากาศโลก ในเที่ยวบินที่ 28 ของภารกิจ คร่าชีวิตนักบิน 7 คน นักเป็นโศกนาฏกรรมครั้งที่ 2 ของกระสวยอวกาศ * พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศนโยบายสงครามกับยาเสพติด โดยให้เจ้าหน้าที่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อกวาดล้างยาเสพติดให้หมดไปภายใน 3 เดือน ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจากการถูกสังหารเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้มี 2000 รายที่สรุปสาเหตุการตายไม่ได้ พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - การรถไฟแห่งประเทศไทยลดค่าธรรมเนียมขบวนรถเร็วทุกขบวน สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร เพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในช่วงราคาน้ำมันสูง พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - กรุงเทพมหานครเริ่มต้นปรับภูมิทัศน์และจัดระเบียบท้องสนามหลวงเป็นระยะเวลา 360 วัน โดยเริ่มวันนี้เป็นวันแรก พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - เกิดเหตุการณ์จลาจลที่สนามฟุตบอล เมืองพอร์ตซาอิด ประเทศอียิปต์ มีผู้เสียชีวิต 79 ราย และบาดเจ็บกว่า 1 พันคน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - เกิดระเบิดขึ้น 2 ครั้งที่ทางเชื่อมระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม กับห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน == วันเกิด == พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1878) - ชาลส์ เทต รีกัน นักมีนวิทยาชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 12 มกราคม พ.ศ. 2486) พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - คลาร์ก เกเบิล นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1931) - บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีรัสเซีย (ถึงแก่อสัญกรรม 23 เมษายน พ.ศ. 2550) พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - ชรินทร์ นันทนาคร นักร้อง ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ชาวไทย พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - เตโอฟิล โกเดรียนู นักฟุตบอลชาวโรมาเนีย (ถึงแก่กรรม 10 มกราคม พ.ศ. 2559) พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - พงศนารถ วินศิริ นักแสดงชาวไทยและศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - วิทยา เลาหกุล นักฟุตบอลทีมชาติไทย พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - แจ็กกี ชรอฟฟ์ นักแสดงชาวอินเดีย พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - เหลียง เจียฮุย นักแสดงชาวฮ่องกง พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - แบรนดอน ลี นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 31 มีนาคม พ.ศ. 2536) พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - มาซาทาดะ อิชิอิ หัวหน้าผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - กาเบรียล บาติสตูตา นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - * ซลัตกอ ซาฮอวิช อดีตนักฟุตบอลชาวสโลวีเนีย * ไมเคิล ซี. ฮอลล์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - คริสเตียน ซีเก อดีตนักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - บิ๊กบอย แร็ปเปอร์ แร็ปเปอร์ นักแต่งเพลง นักแสดงและผู้ผลิตแผ่นเสียงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - ปรางค์วลัย เทพสาธร นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - เปาโล ดา ซิลบา นักฟุตบอลชาวปารากวัย พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ซาร่า มาลากุล เลน นักแสดงหญิง/นางแบบชาวไทย พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - * แดร์เรน เฟลตเชอร์ นักฟุตบอลชาวสกอตแลนด์ * มรกต กิตติสาระ นักแสดงและนางงามชาวไทย พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - นพพล ปิตะฝ่าย นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - กุลวลี นพอมรบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 1 สมัย พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - กอสเตล ปันตีลีมอน นักฟุตบอลชาวโรมาเนีย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * โยนัส เลอเซิล นักฟุตบอลอาชีพชาวเดนมาร์ก * อัลแฟรด ฟินปอกาซอน นักฟุตบอลชาวไอซ์แลนด์ * เดียร์ ดารินทร์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เจ้าหญิงอายาห์ บินต์ ไฟซาห์ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * สุรเชษฐ์ งามทิพย์ นักฟุตบอลชาวไทย * อดิศักดิ์ ไกรษร นักฟุตบอลชาวไทย *แจสมิน ทุกส์ นางแบบชาวอเมริกัน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - จูเลีย การ์เนอร์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - * กนกภพ นามวิเศษ อดีตแชมป์โมโตจีพี * พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - คิม โดยอง สมาชิกวงเอ็นซีที , เอ็นซีที 127 พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - พัก จี-ฮโย นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ฟาร์รัน ฌุกกลา นักฟุตบอลชาวสเปน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1851) - แมรี เชลลีย์ นักเขียนชาวอังกฤษ (เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2340) พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2419) พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์) (เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2445) พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2444) พ.ศ 2527 มนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย อดีตนักร้อง เสกศักดิ์ ภู่กันทอง อดีตนักร้อง พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - แฟลซ อีลอสเด้ แชมป์โลกมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ (เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2478) พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ทูล ทองใจ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2472) พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - นักบินอวกาศในกระสวยอวกาศโคลัมเบีย: * ไมเคิล พี. แอนเดอร์สัน (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2502) * เดวิด เอ็ม. บราวน์ (เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2499) * คัลพานา ชอว์ลา (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504) * ลอเรล คลาร์ก (เกิด 10 มีนาคม พ.ศ. 2504) * ริก ดี. ฮัสแบนด์ (เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) * วิลเลียม ซี. แมกคูล (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2504) * อิลัน รามอน (เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497) พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ประจำปี พ.ศ. 2531 (เกิด 3 มกราคม พ.ศ. 2480) พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - พิเศษ สังข์สุวรรณ ผู้สร้างเพลงประกอบภาพยนตร์ (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2491) พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - แองเจโล่ ดันดี เทรนเนอร์มวยสากลชาวอเมริกัน (เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2464) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == พ.ศ. 2508 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2527 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2546 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2565 - วันตรุษจีน พ.ศ. 2584 - วันตรุษจีน == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day The New York Times: On This Day กุมภาพันธ์ 01 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,046
ภาษาละติน
ภาษาละติน (Latin; latīnum, หรือ lingua latīna, ) เป็นภาษาคลาสสิก ซึ่งอยู่ในกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาอิตาลิก ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เดิมเป็นภาษาที่มีถิ่นกำเนิดในที่ราบลาติอูง (หรือ แคว้นลัตซีโย ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตอนล่างของแม่น้ำไทเบอร์รอบๆ กรุงโรมในปัจจุบัน ด้วยอิทธิพลของสาธารณรัฐโรมัน ภาษาดังกล่าวจึงกลายเป็นภาษาที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลี และแพร่หลายต่อมาในยุคของจักรวรรดิโรมัน แม้จะเกิดเหตุการณ์ล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้น แต่ภาษาละตินก็ยังเป็นภาษากลางสำหรับการสื่อสารระหว่างประเทศ สาขาวิทยาศาสตร์ การศึกษา และสาขาวิชาการในยุโรป จนกระทั่งศตวรรษที่ 18 เมื่อภาษาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค (รวมถึงภาษาลูกหลานของตนอย่าง กลุ่มภาษาโรมานซ์) ก็ได้เข้ามาแทนที่ในฐานะบทบาทของภาษาวิชาการทั่วไปและภาษาราชการ ในปัจจุบันภาษาละตินมีสถานะเป็น "ภาษาที่สูญแล้ว" (dead language) ตามคำจำกัดความในยุคสมัยใหม่ หมายถึง ภาษาที่ไม่มีผู้พูดในฐานะภาษาหลักแล้ว แม้ว่าจะมีการใช้อยู่อย่างแพร่หลายและสม่ำเสมอก็ตาม ภาษาละตินเป็นภาษาที่มีการผันคำหลากหลาย โดยมีเพศทางไวยากรณ์ที่แตกต่างกันถึงสามเพศ (บุรุษเพศ สตรีเพศ และเพศกลาง) มีการผันการกมากถึง 6 หรือ 7 การก (ได้แก่ กรรตุการก กรรมการก สัมปทานการก สัมพันธการก อปาดานการก สวรการก และ อธิกรณการก) มีวิภัติปัจจัย 5 แบบ มีการเปลี่ยนรูปของคำ 4 แบบ กาล 6 กาล (ได้แก่ ปัจจุบันกาล อสมบูรณ์กาล อนาคตกาล สมบูรณกาล อดีตสมบูรณกาล และอนาคตสมบูรณ์กาล) บุรุษ 3 แบบ มาลา 3 แบบ ประโยค 2 แบบ (ได้แก่ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ และประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ) การณ์ลักษณะ 2 ถึง 3 แบบ และมีพจน์ 2 พจน์ (ได้แก่ เอกพจน์ และพหูพจน์) โดยชุดตัวอักษรละตินได้หยิบยืมมาจากชุดตัวอักษรอิทรัสคันและชุดตัวอักษรกรีกโดยตรง ในช่วงท้ายของยุคสาธารณรัฐโรมัน (75 ปีก่อนคริสตกาล) ภาษาละตินเก่าได้รับการจัดระบบให้มีมาตรฐานเป็นภาษาละตินคลาสสิก และมีภาษาละตินท้องถิ่น (Vulgar Latin) เป็นภาษาพูดซึ่งมีมาตรฐานน้อยกว่า โดยมีหลักฐานอยู่ในคำจารึกและงานเขียนของนักเขียนบทละครตลกอย่าง เปลาตุส และ แตแรนติอุส รวมถึงนักประพันธ์อย่าง แปโตรนิอุส ภาษาละตินตอนปลายเป็นภาษาเขียนในคริสตศตวรรษที่ 3 และภาษาละตินในภูมิภาคต่างๆ ก็ได้วิวัฒนาการไปเป็นกลุ่มภาษาโรมานซ์ ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 6 ถึงคริสตศตวรรษที่ 9 ในท้ายที่สุด ต่อมาในยุคกลางไม่มีผู้ใดใช้ภาษาละตินเป็นภาษาแม่อีกแล้ว แต่ถึงอย่างไรภาษาละตินในยุคกลางก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วภูมิภาคยุโรปตะวันตกและในคริสตจักรคาทอลิก นับตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 9 จนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ในฐานะของภาษากลางและภาษาวรรณกรรม ซึ่งก็ได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานแบบแผนมากขึ้น เรียกว่า ภาษาละตินยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance Latin) และได้กลายเป็นรากฐานที่สำคัญให้กับกลุ่มภาษาละตินใหม่ (Neo-Latin) ในช่วงต้นยุคสมัยใหม่ ในช่วงเวลาเหล่านี้ ภาษาละตินถูกใช้ในการจดบันทึกและพูดอย่างแพร่หลาย อย่างน้อยก็จนถึงปลายศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงที่ภาษาละตินได้รับความนิยมลดลง จนเหลือแค่การสอนให้อ่านเพียงอย่างเดียว ถึงอย่างไรภาษาละตินก็ยังเป็นภาษาราชการของสันตะสำนักและพิธีกรรมโรมันของคริสตจักรคาทอลิก (Catholic Church) ที่นครรัฐวาติกันอยู่จนถึงปัจจุบัน คริสตจักรยังคงรักษาและพัฒนารูปแบบวิธีของภาษาให้มีความทันสมัยอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างความต่อเนื่องในการสืบทอดรูปแบบของภาษาละตินเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ภาษาละตินในยุคปัจจุบัน มักถูกใช้ในการศึกษาเพื่ออ่านเขียนมากกว่าถูกนำไปใช้ในการพูด ภาษาละตินเป็นภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะตั้งแต่หลังจากการเปลี่ยนมานับถือคริสตศาสนาของชาวแองโกล-แอกซอนและการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน (Norman conquest) ทำให้คำศัพท์หลาย ๆ คำในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ถูกแทนที่ด้วยคำศัพท์ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน (รวมถึงภาษากรีกโบราณ) โดยคำศัพท์ส่วนใหญ่ที่ยืมมาใช้ในภาษาอังกฤษมักถูกใช้นำไปใช้ในสาขาวิชาเทววิทยา แวดวงวิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะ กายวิภาคศาสตร์ และ อนุกรมวิธาน) รวมไปถึง ทางการแพทย์ และสาขาวิชากฎหมาย == อิทธิพลของภาษาละติน == === อิทธิพลทางวรรณคดี === งานเขียนของนักเขียนโบราณหลายร้อยคนในภาษาละติน มีหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก และถูกศึกษาในปัจจุบันทั้งในสาขานิรุกติศาสตร์ และวรรณคดีคลาสสิก งานของพวกเขาถูกเผยแพร่ในรูปแบบของเอกสารหรือต้นฉบับตัวเขียน (manuscript) มาตั้งแต่ก่อนที่นวัตกรรมทางการพิมพ์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น วรรณกรรมในภาษาละตินมีทั้งในรูปของ เรียงความ ประวัติศาสตร์ บทกวี บทละคร และงานเขียนอื่น ๆ โดยเริ่มปรากฏตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสกาล และกลายมาเป็นภาษาวรรณกรรมหลักของโลกโรมันโบราณในอีกสองศตวรรษถัดมา ในขณะที่ชาวโรมันที่มีการศึกษาก็ยังอ่านและเขียนโดยใช้ภาษากรีกโบราณควบคู่กันไปด้วย (เช่น จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส ผู้ทรงนิพนธ์งานปรัชญาเป็นภาษากรีก) อาจจะกล่าวได้ว่าวรรณคดีในภาษาละตินก็คือการสืบเนื่องของวรรณกรรมกรีกโบราณ โดยชาวโรมันรับเอารูปแบบงานวรรณคดีของกรีซหลายอย่างมาใช้ เนื่องจากภาษาละตินเป็นภาษากลางในการสื่อสารของยุโรปตะวันตกจนกระทั่งถึงยุคกลาง วรรณคดีภาษาละตินจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่นักเขียนโรมัน เช่น คิเคโร เวอร์จิล โอวิด และโฮเรส เท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักเขียนยุโรปที่ยังผลิตงานเขียนในภาษาละตินออกมาแม้อาณาจักรโรมันจะล่มสลายไปแล้ว ตั้งแต่นักเขียนด้านศาสนาอย่าง ธอมัส อไควนัส (1225 - 1274) จนถึงนักเขียนฆารวาสอย่าง ฟรานซิส เบคอน (1561 - 1626) บารุค สปิโนซา (1632 - 1677) และ ไอแซก นิวตัน (1642 - 1727) === อิทธิพลต่อภาษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน === == สัทศาสตร์ == การออกเสียงแบบโบราณของภาษาละตินได้รับการสืบสร้างทั้งตามข้อสันนิษฐานและหลักฐานการบันทึกไว้ของนักเขียนสมัยโบราณ ซึ่งให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการออกเสียง การสะกด การเล่นคำ และรากคำจากภาษาโบราณไว้ ===พยัญชนะ=== ตารางหน่วยพยัญชนะของภาษาละตินคลาสสิก : ในภาษาละตินเก่าและภาษาละตินคลาสสิก จะไม่มีการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างอักษรตัวใหญ่ (uppercase) และตัวเล็ก (lowercase) หรือระหว่างตัวอักษร J, U, W แทนที่จะสะกดด้วยอักษร J, U ก็สามารถใช้ อักษร I, V สะกดแทนได้ตามลำดับ นอกจากนี้อักษร I, V ยังสามารถเป็นได้ทั้งสระและพยัญชนะ ===เสียงสระ=== ====สระเดี่ยว==== ====สระประสมสองเสียง==== == ตัวอย่างภาษาละติน == ไฟล์:Calligraphy.malmesbury.bible.arp.jpg|ตัวอย่างอักษรละตินในไบเบิล ไฟล์:Latin plaque 7 Jul 1883.jpg|ป้ายสลักอักษรละติน ในมหาวิทยาลัย ในประเทศออสเตรีย ไฟล์:Latin dictionary.jpg|พจนานุกรมภาษาละติน == อ้างอิง == == บรรณานุกรม == == แหล่งข้อมูลอื่น == ===เครื่องมือภาษา=== Searches Lewis & Short's A Latin Dictionary and Lewis's An Elementary Latin Dictionary. Online results. Search on line Latin-English and English-Latin dictionary with complete declension or conjugation. Online results. Identifies the grammatical functions of words entered. Online results. Identifies the grammatical functions of all the words in sentences entered, using Perseus. Displays complete conjugations of verbs entered in first-person present singular form. Displays conjugation of verbs entered in their infinitive form. Identifies Latin words entered. Translates English words entered. Combines Whittakers Words, Lewis and Short, Bennett's grammar and inflection tables in a browser addon. "Classical Language Toolkit " (CLTK). A Natural Language Processing toolkit for Python offering a variety of functionality for Latin and other classical languages. "Collatinus web". Online lemmatizer and morphological analysis for Latin texts. ===หลักสูตร=== Latin Lessons (free online through the Linguistics Research Center at UT Austin) Free 47-Lesson Online Latin Course, Learnlangs Learn Latin Grammar, vocabulary and audio Latin Links and Resources, Compiled by Fr. Gary Coulter (a course in ecclesiastical Latin). Beginners' Latin on The National Archives (United Kingdom) ===ไวยากรณ์และบทเรียน=== ===สัทศาสตร์=== ===ข่าวและเสียงภาษาละติน=== Ephemeris, online Latin newspaper Nuntii Latini, from Finnish YLE Radio 1 Nuntii Latini , monthly review from German Radio Bremen (Bremen Zwei) Classics Podcasts in Latin and Ancient Greek, Haverford College Latinum Latin Language course and Latin Language YouTube Index === สังคมออนไลน์ภาษาละติน === Grex Latine Loquentium (Flock of those Speaking Latin) Circulus Latinus Interretialis (Internet Latin Circle) Latinitas Foundation, at the Vatican Latin Discord Forum ละติน ละติน ละติน
thaiwikipedia
1,047
กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี
กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณที่ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรที่ต้องการ สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่งๆ ทรัพยากรที่สนใจโดยทั่วไปคือเวลา (ต้องใช้การทำงานกี่ขั้นตอนก่อนจะแก้ปัญหาได้) และเนื้อที่ (ต้องใช้เนื้อที่เท่าใดในการแก้ปัญหา) ในทฤษฎีดังกล่าว กลุ่ม พี (P) คือประกอบไปด้วยปัญหาการตัดสินใจที่สามารถหาคำตอบได้โดยเครื่องจักรเชิงลำดับแบบกำหนด (deterministic sequential machine) ในเวลาที่เป็นพหุนามของขนาดของข้อมูลป้อนเข้า กลุ่มปัญหา เอ็นพี (NP) ประกอบไปด้วยปัญหาการตัดสินใจที่ในกรณีที่คำตอบคือ 'ใช่' สามารถตรวจสอบได้ถ้าให้ข้อมูลที่เหมาะสม หรือพูดในอีกทางหนึ่งที่เหมือนกันว่า เป็นกลุ่มของปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ในเวลาพหุนามบนเครื่องจักรเชิงไม่กำหนด อาจกล่าวได้ว่าปัญหาเปิดที่สำคัญที่สุดในวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎีนั้น เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของกลุ่มปัญหาทั้งสองนี้: P เท่ากับ NP หรือไม่ ? ในปี 2545 มีการสำรวจความเชื่อของนักวิจัย 100 คน 61 คนเชื่อว่าพีไม่เท่ากับเอ็นพี 9 คนเชื่อว่าเท่ากัน 22 คนตอบว่าไม่แน่ใจ ส่วนที่เหลือเชื่อว่าจะไม่สามารถหาบทพิสูจน์ได้ กลุ่มของปัญหาที่อยู่ในเอ็นพีที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจมากที่สุดก็คือกลุ่มของ เอ็นพีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของปัญหาที่ไม่น่าจะอยู่ใน พี มากที่สุด ความสัมพันธ์ของ พี เอ็นพี และ เอ็นพีบริบูรณ์ ที่นักวิจัยเชื่อกันเป็นไปตามรูป ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งพีและเอ็นพีบริบูรณ์อยู่ภายใน เอ็นพี แต่ว่าเอ็นพีบริบูรณ์กับพีไม่มีส่วนที่ซ้อนทับกันเลย อีกทั้งยังมีเซ็ตบางเซ็ตที่อยู่ในเอ็นพีแต่อยู่นอกพีและเอ็นพีบริบูรณ์ ปัญหาพีและเอ็นพีสามารถถามได้อีกแบบคือ "ถ้าเรามีปัญหาที่สามารถตรวจคำตอบ (ใช่/ ไม่ใช่) ได้อย่างรวดเร็ว เราจะสามารถหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วหรือไม่?" ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากตรวจสอบว่าจำนวนๆหนึ่งเป็นจำนวนประกอบหรือไม่ หากเรามีจำนวน 53308290611 อยู่ แล้วต้องการตรวจสอบ วิธีที่ทำได้วิธีหนึ่งก็คือทดลองจำนวนทุกจำนวนว่าหารจำนวนนี้ลงตัวหรือไม่ แต่วิธีนี้ใช้เวลาการทำงานเป็น exponential เมื่อเทียบกับขนาดของอินพุต (ขนาดของอินพุตในที่นี้ไม่ใช่ค่าของจำนวน แต่เป็นจำนวนของบิตที่ใช้ในการแทนค่าจำนวนนั้น ยกตัวอย่างเช่น จำนวน 128 มีขนาดของอินพุตเท่ากับ 8 เพราะว่า 128={1000 0000}_2) การหาค่าเหมาะสมที่สุดทางคณิตศาสตร์ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ยังแก้ไม่ได้ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ข้อความคาดการณ์ ปัญหาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ยังแก้ไม่ได้
thaiwikipedia
1,048
18 มี.ค.
redirect 18 มีนาคม
thaiwikipedia
1,049
19 มี.ค.
redirect 19 มีนาคม
thaiwikipedia
1,050
20 มี.ค.
redirect 20 มีนาคม
thaiwikipedia
1,051
21 มี.ค.
redirect 21 มีนาคม
thaiwikipedia
1,052
22 มี.ค.
redirect 22 มีนาคม
thaiwikipedia
1,053
17 มี.ค.
redirect 17 มีนาคม
thaiwikipedia
1,054
16 มี.ค.
redirect 16 มีนาคม
thaiwikipedia
1,055
15 มี.ค.
redirect 15 มีนาคม
thaiwikipedia
1,056
14 มี.ค.
redirect 14 มีนาคม
thaiwikipedia
1,057
13 มี.ค.
redirect 13 มีนาคม
thaiwikipedia
1,058
12 มี.ค.
redirect 12 มีนาคม
thaiwikipedia
1,059
11 มี.ค.
redirect 11 มีนาคม
thaiwikipedia
1,060
10 มี.ค.
redirect 10 มีนาคม
thaiwikipedia
1,061
1 มี.ค.
redirect 1 มีนาคม
thaiwikipedia
1,062
2 มี.ค.
redirect 2 มีนาคม
thaiwikipedia
1,063
3 มี.ค.
redirect 3 มีนาคม
thaiwikipedia
1,064
4 มี.ค.
redirect 4 มีนาคม
thaiwikipedia
1,065
5 มี.ค.
redirect 5 มีนาคม
thaiwikipedia
1,066
6 มี.ค.
redirect 6 มีนาคม
thaiwikipedia
1,067
7 มี.ค.
redirect 7 มีนาคม
thaiwikipedia
1,068
8 มี.ค.
redirect 8 มีนาคม
thaiwikipedia
1,069
9 มี.ค.
redirect 9 มีนาคม
thaiwikipedia
1,070
ฌ็อง-ฌัก รูโซ
ฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญา งานเรื่อง วจนิพนธ์ว่าด้วยความไม่เท่าเทียม และ สัญญาประชาคม ของเขาเป็นหลักสำคัญในความคิดการเมืองและสังคมสมัยใหม่ == ปรัชญาของรูโซ == คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล" === ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม === รูโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีเจตจำนงเสรี (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รูโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์ รูโซ มีชีวิตอยู่ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีของประเทศไทย เกิดในเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ งานเขียนของเขาส่งอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วย == อ้างอิง == Virioli, Maurizio ([1988] 2003). Jean-Jacques Rousseau and the 'Well-Ordered Society'. Hanson, Derek, translator. Cambridge University Press, 2003 ISBN 0-521-53138-1, 9780521531382 Williams, David Lay (2007). Rousseau’s Platonic Enlightenment. Pennsylvania State University Press. บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2255 นักปรัชญา ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวสวิส นักปรัชญาชาวสวิส บุคคลจากเจนีวา ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวฝรั่งเศส นักปรัชญายุคเรืองปัญญา นักปรัชญาการเมือง
thaiwikipedia
1,071
ไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์ (Microsoft ; ) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่ เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่น ๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่น ๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี) , เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.บริษัทได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นของไมโครซอฟท์อยู่ในภาวะมั่นคง ไมโครซอฟท์มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท) และมีกำไรประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 420,000 ล้านบาท) ประวัติโดยรวมของบริษัท เริ่มเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งเริ่มมีการแข่งขันทางด้านเอกสิทธิ์และการต่อต้านการปฏิบัติการด้านธุรกิจรวมทั้งการปฏิเสธ โดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา และองค์กรจากทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ได้แถลงว่ายังเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโปรแกรม ไมโครซอฟท์มีประวัติการช่วยเหลือผู้ใช้ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บ และรางวัลไมโครซอฟท์ เอ็มวีพี สำหรับอาสาสมัครที่ช่วยเหลือลูกค้าเป็นประจำ == ประวัติ == === 1975–1985: ก่อตั้ง === หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิล เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.ในขณะที่ บิล เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของไอบีเอ็ม-พีซี -IBM-PC มาจากแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของแอปเปิลซอฟต์ เบสิก โดยมีส่วนประกอบของตัวแปลภาษาเบสิกที่อยู่ในเครื่องแอปเปิล และไมโครซอฟท์ ซอฟต์การ์ด , ซีพียู Z80 สำหรับเครื่องแอปเปิล และ ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์เมื่อใช้เครื่องที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ CP/M ในแอปเปิลซอฟต์ และ แอปแปิลดอส ช่วงเวลาสำคัญของไมโครซอฟท์ ได้แก่เมื่อบริษัทไอบีเอ็มได้วางแผนจะรุกตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด ใน ค.ศ. 1985 ไอบีเอ็มได้เข้ามาเจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (ไอบีเอ็มได้ทำสัญญาภาษาคอมพิวเตอร์ไปแล้ว) แต่ไมโครซอฟท์ไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้ จึงแนะนำให้ไอบีเอ็มไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของไอบีเอ็มได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป ไอบีเอ็มจึงหันมาคุยกับไมโครซอฟท์อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS (Quick and Dirty Operating System) จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์ โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น DOS (Disk Operating System) เพื่อขายมันให้กับไอบีเอ็มในราคา "ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ" ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS ก็ได้แจ้งเกิดในวงการ ต่อมา ไอบีเอ็มได้ค้นพบว่าระบบปฏิบัติการของเกตส์อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของ CP/M จึงได้ติดต่อกลับไปที่แกรี คิลดาลล์ และเพื่อแลกกับสัญญาว่าจะไม่ถูกคิลดาลล์ฟ้องกลับ ไอบีเอ็มได้ตกลงว่าจะขาย CP/M ควบคู่ไปกับ PC-DOS เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด โดยตั้งราคาขาย CP/M ไว้ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ MS-DOS/PC-DOS มีราคาเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ MS-DOS/PC-DOS ขายดีกว่า CP/M หลายเท่า และกลายเป็นมาตรฐานในที่สุด ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มเอง ไม่ได้สร้างรายได้มากมายเท่าไรนัก (ในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่าจะต้องขายให้แก่ไอบีเอ็มเจ้าเดียว) แต่ในทางกลับกัน ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ในการขาย MS-DOS ให้กับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ และด้วยการโหมรุกทางการตลาดอย่างหนัก เพื่อขาย MS-DOS ให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมไมโครคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างไอบีเอ็มก็ตามหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้รุกตลาดฮาร์ดแวร์ โดยการเปิดตัวไมโครซอฟท์ เมาส์ ในปี ค.ศ. 1983 และก่อตั้งไมโครซอฟท์ เพลส เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้ === 1985–1995 === ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีชื่อว่า OS/2 (โอเอสทู) และในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชันแรกของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปแบบกราฟิกรุ่นแรก โดยเป็นส่วนต่อภายนอกของดอส 13 มีนาคม ค.ศ. 1986 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นเริ่มแรกอยู่ที่ 21 ดอลลาร์สหรัฐ และปิดการซื้อขายวันแรกที่ 28 ดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และประมาณการว่า ไมโครซอฟท์มีมูลค่าทรัพย์สินมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1987 ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการจาก โอเอสทู ไปสู่ระบบปฏิบัติการแบบOEMs. ==== ไอพีโอ ==== ไมโครซอฟท์ นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1986 ในราคาปิดที่ 27.75 ดอลลาร์สหรัฐ และมีจุดสูงสุดของวันที่ 29.25 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากไม่กี่นาที่ที่เปิดตลาด ทำให้ เกตส์ และ อเลน กลายเป็นเศรษฐีพันล้านในเวลาต่อมา โดยเกตส์ถือหุ้นในไมโครซอฟท์ 45% ของมูลค่าหุ้น 24.7 ล้านดอลลาร์ และอเลนถือหุ้นอยู่ 25% เกตส์ได้รับกำไรจากบริษัทอีก 234 ล้านดอลลาร์ และทำให้ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นรวม 520 ล้านดอลลาร์ ในเวลาต่อมา ==== หลังจากเข้าสู่ตลาดหุ้น ==== ในปี ค.ศ. 1989 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สำนักงานที่ชื่อ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โดยเริ่มแรก ชุดโปรแกรมนี้ประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด และไมโครซอฟท์ เอ็กเซล ส่วนในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว วินโดวส์ 3.0 โดยเวอร์ชันใหม่ของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ และมีโหมดสำหรับผู้ใช้ซีพียูอินเทล 386 โดยยอดขายวินโดวส์รุ่นนี้มีกว่า 100,000 ชุดภายใน 2 สัปดาห์ วินโดวส์ 3.0 ได้สร้างกำไรมากมายให้กับไมโครซอฟท์ และทำให้บริษัทตัดสินใจปรับปรุงรูปแบบของโอเอสทูให้มาเป็นวินโดวส์หลังจากนั้น มีผู้นิยมใช้ระบบปฏิบัติการโอเอสทูและวินโดวส์กันมากขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องรีบเพิ่มการผลิตและปรับปรุงระบบปฏิบัติการของตน และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 เกตส์ได้ประกาศต่อพนักงานของไมโครซอฟท์ว่า ความร่วมมือกับไอบีเอ็มเพื่อพัฒนา OS/2 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อแต่นี้ไมโครซอฟท์จะหันมาทุ่มเทให้กับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์แทน โดยมีแกนกลางเป็น Windows NT. ในปีที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดนั้น OS/2 ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และวินโดวส์ได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนจาก MS-DOS ไปเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไมโครซอฟท์ได้ยึดตลาดของคู่แข่งด้วยโปรแกรมประยุกต์หลายตัว เป็นต้นว่า WordPerfect และ Lotus 1-2-3 ในปี ค.ศ. 1993 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ เอ็นที 3.1 เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในวงการธุรกิจโดยรูปแบบเหมือนกันกับ วินโดวส์ 3.11 และในปี ค.ศ. 1995 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ 95 ซึ่งมีการปรับรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยเป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่ใช้ทาสก์บาร์ โดยมียอดการจำหน่ายใน 4 วันแรกกว่า 1 ล้านชุดโดยไมโครซอฟท์ได้เพิ่มความสามารถทางด้านเว็บแเบราว์เซอร์ (อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) ลงในวินโดวส์ 95 พลัส แพ็ค ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995. === 1995–2005: อินเทอร์เน็ตและกฎหมาย === วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 บิล เกตส์ ออกประกาศภายในเรื่อง คลื่นแห่งระบบอินเทอร์เน็ต, ไมโครซอฟท์เริ่มต้นสายการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับระบบเครือข่าย ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1995 ก็ได้เปิดตัวบริการออนไลน์อย่างเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของเอโอแอล โดยเอ็มเอสเอ็นให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ของไมโครซอฟท์บริษัทยังคงสาขาไปตลาดใหม่ และในปี ค.ศ. 1996 เริ่มมีกิจการเคเบิลทีวีของตัวเองซึ่งใช้ชื่อว่า เอ็นบีซี โดยเป็นสถานีเคเบิลทีวีแบบ 24/7 ไมโครซอฟท์ได้เข้าสู่วงการพีดีเอ ด้วย วินโดวส์ ซีอี 1.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องพีดีเอ ใช้หน่วยความจำและสมรรถนำต่ำ เช่น handhelds และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 อินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์ 4.0 ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ Mac OS และวินโดวส์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการการครอบครองของตลาดเว็บเบราว์เซอร์ เช่น เน็ตสเคป ในเดือนตุลาคม บริษัท จัสติส ดีพาร์ตเมนท์ ได้ ยื่นคำร้องใน Federal ว่าไมโครซอฟท์ได้ละเมิดสัญญาที่ได้ทำในปี 1994 และได้ฟ้องให้บริษัทหยุดการพัฒนาโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์สำหรับวินโดวส์ ในปี ค.ศ. 1998 บิลล์ เกตส์ได้เลื่อนตำแหน่งให้ สตีฟ บอลเมอร์ เพื่อนผู้คบหากันมานาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ แทนเขาอีกด้วยและในปีเดียวกัน ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัววินโดวส์ 98 ซึ่งเป็นรุ่นอัปเดตจากวินโดวส์ 95 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถทางด้านอินเทอร์เน็ตและไดรเวอร์ให้ดีขึ้น วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2000 คำตัดสินเด็ดขาดระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกากับไมโครซอฟท์ ในฐานะสถาปนิกซอฟต์แวร์ผู้วางยุทธวิธีการขายสินค้าของไมโครซอฟท์ บิลล์ เกตส์ได้เพิ่มความหลากหลายของประเภทสินค้าไปอย่างกว้างขวาง และเมื่อสินค้านั้น ๆ ครองตำแหน่งสินค้ายอดนิยมในบรรดาประเภทเดียวกัน เกตส์ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันตำแหน่งนั้นไว้ การตัดสินใจทางยุทธวิธีของเกตส์และของผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์คนอื่น ๆ ทำให้ในปี ค.ศ. 2001 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมการแข่งขันทางการตลาดจับตามอง และในบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นกรณีที่ไมโครซอฟท์ถูกฟ้องร้องในข้อหาผูกขาดทางการตลาดจากการรวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เป็นต้น ในปีเดียวกันนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัววินโดวส์เอกซ์พี เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่แยกส่วนการผลิตเป็น 2 รุ่น แต่ก่อนที่จะมีวินโดวส์เอกซ์พี ได้มีการทดสอบวินโดวส์เอ็นที และวินโดวส์ 9x ในฐาน XP วินโดวส์เอกซ์พีได้มีการปรับปรุงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เป็นครั้งที่ 2 จากครั้งที่แล้วที่ทำกับวินโดวส์ 95หลังจากปี 2001 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว Xbox โดยไมโครซอฟท์เข้าสู่วงการเกมเพื่อแข่งขันกันกับโซนี่ และนินเทนโด === 2006–ปัจจุบัน: วิสตา และการเปลี่ยนแปลง === 27 มิถุนายน ค.ศ. 2008 บิล เกตส์ ได้เลิกทำภารกิจต่างๆ ในบริษัท หลังจากบทบาทของหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ของเขาลดลงเป็นเวลากว่า 2 ปี และตำแหน่งดังกล่าวได้ถูกแทนที่โดย เรย์ โอสซีย์ แต่เขาก็ยังอยู่ในบริษัทในฐานะประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาโครงการจากนั้น วินโดวส์ วิสตา ก็ได้เปิดตัวในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007 โดยมียอดการจำหน่ายวันแรกสูงถึง 140 ล้านชุดและได้เปิดตัวพร้อมกับไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 โดยมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบใหม่คือริบบอน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ไมโครซอฟท์ได้เสนอซื้อยาฮู ในราคา 44,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐและถูกปฏิเสธเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทำให้ในวันที่ 3 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ไมโครซอฟท์จึงประกาศถอนตัวในการเสนอราคาครั้งนี้ ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 จะแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเพื่อให้ง่ายขึ้น สำหรับนักพัฒนาในการสร้างซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อย่างไรก็ตามสหภาพยุโรปยังคงแสดงถึงความไม่พอใจกับบริษัทที่ขาดสภาพคล่อง ประกอบกับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 มีการตัดสินจากศาลว่าให้เพิ่มโทษปรับของไมโครซอฟท์อีก € 899 ล้าน ($ 1.4 พันล้าน) ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มโทษปรับครั้งที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียูหลังจากนั้น ในรายงานทางการเงินของเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ของไมโครซอฟท์ ปรากฏว่า มีพนักงานถูกเลิกจ้างมากถึง 5,000 คน เนื่องจากเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ไมโครซอฟท์ออกมา การประกาศเจตนาเพื่อเปิดขายผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ในร้านค้าปลีก เช่น วอลล์มาร์ท และ ดรีมเวิร์ค โดยมีแนวคิดมาจากเดวิด พอร์เธอร์ เพื่อต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์สามารถซื้อได้สะดวกขึ้น ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ไมโครซอฟท์และโนเกียได้ประกาศร่วมมือพัฒนา Window Phone และในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2013 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการด้านโทรศัพท์ของโนเกียทั้งหมด ในราคา 7.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2014 ไมโครซอฟท์ได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ โมบาย ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ไมโครซอฟท์ได้หมดสัญญาผูกพันกับทางโนเกีย ที่ห้ามไม่ให้โนเกียดำเนินการจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟนในชื่อโนเกีย และในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ไมโครซอฟท์ได้ยกเลิกการผลิตไมโครซอฟท์ ลูเมียของไมโครซอฟท์ โมบาย โดยการปลดพนักงานออกถึง 1,850 ตำแหน่ง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมปี 2017 == ผลิตภัณฑ์ == ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2002 ไมโครซอฟท์ได้จัดตั้ง 7 กลุ่มบริษัทที่มีอิสระทางการเงิน และหลังจากนั้น ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2005 ไมโครซอฟท์ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์จาก 7 กลุ่มผลิตภัณฑ์เป็น 3 หมวด คือ หมวดผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม ประกอบด้วย วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ , เอ็มเอสเอ็น และกลุ่มโปรแกรมเบ็ดเตล็ดต่างๆ หมวดผลิตภัณฑ์ธุรกิจ ประกอบด้วย โซลูชั่นสำหรับธุรกิจ หมวดผลิตภัณฑ์บันเทิง เช่น วินโดวส์โมบาย === หมวดผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม === เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อไมโครซอฟท์เป็นอย่างมาก ซึ่งได้รับการผลิตในหลายเวอร์ชัน เช่น วินโดวส์ 3.11 วินโดวส์ 95 วินโดวส์ 98 วินโดวส์มี วินโดวส์ 2000 วินโดวส์เอกซ์พี วินโดวส์วิสตา และ วินโดวส์เซเว่น โดยเกือบทั้งหมดมาจาก IBM compatible แต่มีซอฟต์แวร์เสริมที่เข้ามาคือ Windows preinstalled โดยในปัจจุบันเดสก์ทอปส่วนใหญ่หันมาใช้วินโดวส์วิสตา ส่วนในการให้บริการแบบออนไลน์นั้น ประกอบก้วย เอ็มเอสเอ็น เอ็มเอสเอ็นบีซี และนิตยสารออนไลน์ของไมโครซอฟท์ (Slate แต่ถูกซื้อกิจการโดยวอชิงตันโพสต์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004) และในปลายปี ค.ศ. 1997 ไมโครซอฟท์ได้ซื้อกิจการของเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เอ็มเอสเอ็น ฮอตเมล" ในปี ค.ศ. 1999 ไมโครซอฟท์ได้แนะนำเอ็มเอสเอ็น โดยใช้เมลเซิร์ฟเวอร์เพิ่อแข่งขันกับเอโอแอล ต่อมาเมื่อไมโครซอฟท์ได้ออกระบบปฏิบัติการวินโดวส์วิสตา เอ็มเอสเอ็นก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ เป็นที่นิยมสำหรับองค์กรที่ต้องการความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรม โดยสามารถพัฒนาโปรแกรมที่เป็น GUI และวินโดวส์เอพีไอ แต่จะต้องมีการตั้งค่าหากใช้ไม่ได้กับ Microsoft libraries ในเวอร์ชันล่าสุด (วิชวลสตูดิโอ 2008) และรุ่นก่อนหน้า (วิชวลสตูดิโอ 2005) มีการปรับปรุงครั้งสำคัญโดยมีความสามารถมากกว่ารุ่นก่อน ๆ ในวิชวลสตูดิโอดอตเน็ต 2003 ก็ได้มีการเพื่มชื่อ "ดอตเน็ต" (.NET) ต่อท้าย โดยไมโครซอฟท์ได้มีความคิดริเริ่มที่จะครอบคลุมตลาดทางเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์ได้ให้คำจำกัดความของเทคโนโลยีดอตเน็ตในปี ค.ศ. 2004 โดยเทคโนโลยีดอตเน็ตเป็นการพัฒนาโปรแกรมของวินโดวส์ที่สามารถใช้บนอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการสื่อสารของไมโครซอฟท์ที่ออกมาใหม่ว่า "อินดีโก" โดยการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำคุณสมบัติบางอย่างของการออกแบบแอสแซมบลิของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็ยังมีวิสัยทัศน์ในการจัดการในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็ยังต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หลายโปรแกรมในระบบเดียวกัน และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสอดคล้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับทุกแอปพลิเคชันของวินโดวส์ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังจัดตั้งชุดโปรแกรมพิเศษเพื่อรับรองบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์และโซลูชั่น โดยคล้ายกันกับผลิตภัณฑ์ของซิสโค , ซันไมโครซิสเต็มส์ , โนเวลล์ , ไอบีเอ็ม และ โอราเคิล โดยได้มีการทดสอบและออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและจัดการเฉพาะทาง และไมโครซอฟท์มีชุดผลิตภัณฑ์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ เช่น วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยในระบบปฏิบัติการของเซิร์ฟเวอร์เป็นหัวใจหลักของสายการผลิตของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์คือระบบการจัดการเซิร์ฟเวอร์ โดยรวบรวมเครื่องมือควบคุมระยะไกล , แพทช์การจัดการ ส่วนผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์อื่นๆ เช่น ไมโครซอฟท์ ซีเควล เซิร์ฟเวอร์ (ระบบจัดการฐานข้อมูล) และ ไมโครซอฟท์ เอกซ์เชนจื เซิร์ฟเวอร์ (เมลเซิร์ฟเวอร์สำหรับองค์กรธุรกิจ) === หมวดผลิตภัณฑ์ธุรกิจ === กลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจของไมโครซอฟท์ที่สำคัญเช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นสายงานหลักของบริษัทในด้านซอฟต์แวร์สำนักงาน โดยประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด , ไมโครซอฟท์ แอคเซส , ไมโครซอฟท์ เอกเซล , ไมโครซอฟท์ เอาต์ลุค , ไมโครซอฟท์ เพาวเวอร์พอยท์ ,ไมโครซอฟท์ พับลิชเชอร์ , ไมโครซอฟท์ วิซโอ , ไมโครซอฟท์ โปรเจกต์ , ไมโครซอฟท์ แมป พอยท์ , ไมโครซอฟท์ อินโฟพาธ และ ไมโครซอฟท์ วันโน้ต การแบ่งส่วนที่เน้นการพัฒนาธุรกิจการเงินและการบริหารจัดการซอฟต์แวร์สำหรับบริษัท โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอยู่ในหมวดธุรกิจ โดยได้ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2001 === หมวดผลิตภัณฑ์บันเทิง === == ผลกระทบทางเศรษฐกิจ == บิล เกตส์ ได้พบกุญแจสำหรับวิสัยทัศน์สำหรับบริษัทคือการ ต้องการส่งผลิตภัณฑ์เวิร์กสเตชันและซอฟต์แวร์จากทำงานของเราไปยังทุกที่ทำงานและทุกบ้านเนื่องจากการที่พวกเขาใหญ่ส่วนแบ่งการตลาดในบ้านและธุรกิจของระบบปฏิบัติการ และพวกเขาเล่นบทบาทที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์ของซอฟต์แวร์ ไมโครซอฟท์ ได้รับความมั่นคงในตลาดอื่นๆนอกเหนือจากระบบปฏิบัติการและชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ รวมถึงเอ็มเอสเอ็นบีซี , เอ็มเอสเอ็น , ไมโครซอฟท์ เอ็นคาร์ทา และไมโครซอฟท์ยังประสบความสำเร็จทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงอีกด้วย เช่น ซูน , Xbox 360 และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี == ค่านิยมของผู้ใช้ == การอ้างอิงทางเทคนิคสำหรับนักพัฒนาและบทความสำหรับแม็คกาซีนของไมโครซอฟท์ โดยสามารถใช้งานได้ผ่านกลุ่มนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ (หรือที่เรียกว่า MSDN) โดยเอ็มเอสดีเอ็นยังมีแหล่งข้อมูลสำหรับบริษัทและบุคคลและ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่มักจะนำเสนอข่าวสารการปล่อยซอฟต์แวร์รุ่นเบต้าของไมโครซอฟท์ โดยในปีล่าสุด ไมโครซอฟท์เปิดตัวเว็บไซต์ชุมชนสำหรับนักพัฒนาและผู้ใช้ ซึ่งมีคุณสมบัติหลายทันสมัยเช่นวิกิ และเว็บบอร์ด Another community site that provides daily videocasts and other services, On10.net, launched on March 3, 2006. == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์หลักของไมโครซอฟท์ (อังกฤษ) เว็บไซต์หลักของไมโครซอฟท์ (ไทย) == อ้างอิง == บริษัทของสหรัฐ บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 บริษัทฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ
thaiwikipedia
1,072
ฝรั่งเศส (แก้ความกำกวม)
ฝรั่งเศส อาจหมายถึง ประเทศฝรั่งเศส ประเทศในทวีปยุโรป ภาษาฝรั่งเศส ภาษาที่ใช้เป็นหลักในประเทศฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศส บุคคลที่เกิดและโตในประเทศฝรั่งเศส ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส ทีมฟุตบอลจากประเทศฝรั่งเศส รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส
thaiwikipedia
1,073
โทรทัศน์
โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) เครื่องรับโทรทัศน์ขาวดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1925 โดยเป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น โลจี เบร์ด ชาวสกอตแลนด์ == ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น == VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ) UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง ทั้งนี้ บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศโดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน == คลื่นความถี่ส่ง == แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้ === ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน === ระบบวีเอชเอฟ ระบบยูเอชเอฟ === ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม === ระบบอีเอชเอฟ สำหรับผ่านดาวเทียม === ประเภทอื่น === เคเบิลทีวี ใช้กับสายไฟเบอร์ออฟติกและดาวเทียม == ประเภทของโทรทัศน์ == ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัดให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่งอาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนเครื่องรับโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขนาด 35 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์ โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ จะใช้ส่งเฉพาะในโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก จะไม่มีการใช้ โดยในอนาคตจะข้ามไปใช้โทรทัศน์ 4k แทนและมักเป็นความละเอียดสำหรับสื่อบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น โทรทัศน์ 4k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2012 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล โทรทัศน์ 8k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2016 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน == การจัดเวลาออกอากาศ == ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเวลาของประเทศเพียงเขตเดียวจะแจ้งเวลาออกอากาศเพียง 1 เวลาตามปกติเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีขนาดใหญ่มากและมีเขตเวลาหลายเขตจะแจ้งเวลาในการออกอากาศของรายการโทรทัศน์ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีช่วงแบ่งเขตเวลาหลักๆ ในประเทศทั้งหมด 4 เขตหลัก กับอีก 4 เขตย่อยและจะนับทางซ้ายสุดของประเทศเป็นเขตที่ 1 ตามมาด้วยจนถึงด้านขวาสุดเป็นเขตที่ 4 โดยในโทรทัศน์จะทำการแจ้งเวลาที่ 2 เขตตรงกลาง คือ เขตที่ 2 และ 3 ของประเทศเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ชมจะต้องบวกลบเวลากันเอาเอง ซึ่งรายการได้ฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะแจ้งเวลาดังนี้ : 8/7 Central หมายถึง 16:00 (4 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 1 ของประเทศ (Hawaii Time) : 8/7 Central หมายถึง 17:00 (5 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 2 ของประเทศ (Alaska Time) 8/7 Central หมายถึง 18:00 (6 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 1 ของประเทศ (Pacific Time) 8/7 Central หมายถึง 19:00 (7 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 2 ของประเทศ (Mountain Time) 8/7 Central หมายถึง 20:00 (8 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 3 ของประเทศ (Central Time) 8/7 Central หมายถึง 21:00 (9 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 4 ของประเทศ (Eastern Time) : 8/7 Central หมายถึง 22:00 (10 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 3 ของประเทศ (Atlantic Time) : 8/7 Central หมายถึง 22:30 (10:30 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 4 ของประเทศ (Newfoundland Time) : 8/7 Central หมายถึง 23:00 (11 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 5 ของประเทศ (Saint Pierre & Miquelon Time & Western Greenland Time) เพราะฉะนั้นถ้าแจ้งเวลามาเป็น 8/7 Central ทางด้านซ้ายสุดของประเทศจะได้รับชมในเวลา 18:00 (6 pm) นาฬิกา (เขตเวลาการออกอากาศของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่นับแค่ 48 รัฐในแผ่นดินใหญ่ซึ่งผนวกเวลาในส่วนของ Atlantic Time กับ Newfoundland Time เข้าไปไว้กับ Eastern Time และไม่นับรวม Hawaii Time กับ Alaska Time ที่จะห่างออกไปอีก 1-2 ชั่วโมง) แต่โดยส่วนมากแล้วถ้าฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะทำให้บางเขตไม่เหมาะสมและตรงกับในช่วงเวลาตอนเย็นหรือเวลาทำงาน ฉะนั้นอีกครึ่งประเทศทางด้านซ้าย 2 ส่วนโดยส่วนมากจะได้รับชมช้ากว่าครึ่งประเทศทางด้านขวา 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ตรงกับเวลาที่ผู้คนเลิกงานแล้ว โดยจะถูกจัดการตารางโดย Affiliate หรือสถานีย่อยเพื่อความเหมาะสม == ดูเพิ่ม == จอภาพ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย == อ้างอิง == == หนังสืออ่านเพิ่ม == Albert Abramson, The History of Television, 1942 to 2000, Jefferson, NC, and London, McFarland, 2003, ISBN 0-7864-1220-8. Pierre Bourdieu, On Television, The New Press, 2001. Tim Brooks and Earle March, The Complete Guide to Prime Time Network and Cable TV Shows, 8th ed., Ballantine, 2002. Jacques Derrida and Bernard Stiegler, Echographies of Television, Polity Press, 2002. David E. Fisher and Marshall J. Fisher, Tube: the Invention of Television, Counterpoint, Washington, DC, 1996, ISBN 1-887178-17-1. Steven Johnson, Everything Bad is Good for You: How Today's Popular Culture Is Actually Making Us Smarter, New York, Riverhead (Penguin), 2005, 2006, ISBN 1-59448-194-6. Jerry Mander, Four Arguments for the Elimination of Television, Perennial, 1978. Jerry Mander, In the Absence of the Sacred, Sierra Club Books, 1992, ISBN 0-87156-509-9. Neil Postman, Amusing Ourselves to Death: Public Discourse in the Age of Show Business, New York, Penguin US, 1985, ISBN 0-670-80454-1. Evan I. Schwartz, The Last Lone Inventor: A Tale of Genius, Deceit, and the Birth of Television, New York, Harper Paperbacks, 2003, ISBN 0-06-093559-6. Beretta E. Smith-Shomade, Shaded Lives: African-American Women and Television, Rutgers University Press, 2002. Alan Taylor, We, the Media: Pedagogic Intrusions into US Mainstream Film and Television News Broadcasting Rhetoric, Peter Lang, 2005, ISBN 3-631-51852-8. == แหล่งข้อมูลอื่น == A History of Television at the Canada Science and Technology Museum The Encyclopedia of Television at the Museum of Broadcast Communications The Evolution of TV, A Brief History of TV Technology in Japan NHK Television's History – The First 75 Years Worldwide Television Standards Global TV Market Data Television in Color, April 1944 one of the earliest magazine articles detailing the new technology of color television Littleton, Cynthia. "Happy 70th Birthday, TV Commercial broadcasts bow on July 1, 1941; Variety calls it 'corney'", Variety, July 1, 2011. . คำศัพท์โทรทัศน์ โทรทัศน์ สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ สิ่งประดิษฐ์ของสกอตแลนด์ ศิลปะการแสดง
thaiwikipedia
1,074
1 ก.พ.
redirect 1 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,075
2 ก.พ.
redirect 2 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,076
3 ก.พ.
redirect 3 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,077
4 ก.พ.
redirect 4 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,078
5 ก.พ.
redirect 5 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,079
6 ก.พ.
redirect 6 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,080
7 ก.พ.
redirect 7 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,081
8 ก.พ.
redirect 8 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,082
9 ก.พ.
redirect 9 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,083
10 ก.พ.
redirect 10 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,084
23 มีนาคม
วันที่ 23 มีนาคม เป็นวันที่ 82 ของปี (วันที่ 83 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 283 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1775) - การปฏิวัติอเมริกา: แพทริก เฮนรี กล่าวถ้อยคำ "ให้เสรีภาพแก่ข้าพเจ้า หรือมิฉะนั้นก็ให้ความตายแก่ข้าพเจ้า" (Give me liberty or give me death) เพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษ พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1801) - พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ขึ้นครองราชบัลลังก์ หลังจากพระราชบิดา พระเจ้าพอลที่ 1 ถูกปลงพระชนม์ในห้องบรรทมที่พระราชวังเซนต์ไมเคิล พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) - ท้าวสุรนารี หรือ คุณหญิงโม ได้รับชัยชนะจากข้าศึก โดยเป็นวันที่เจ้าอนุวงศ์ยกทัพออกจากเมืองนครราชสีมา พ.ศ. 2449 - ฝรั่งเศสทำสัญญาคืนจังหวัดตราดกับดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐและศรีโสภณ พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1919) - เบนิโต มุสโสลินี ก่อตั้งลัทธิฟาสซิสต์ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - ประเทศปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามแห่งแรกของโลก ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เสนอแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสกัดขีปนาวุธของศัตรู เรียกว่า ระบบป้องกันขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Defense Initiative) หรือ สตาร์วอร์ส พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - ลีเต็งฮุย ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งโดยตรงครั้งแรกของไต้หวัน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - รัสเซียทำลายสถานีอวกาศมีร์ ในชั้นบรรยากาศ ชิ้นส่วนที่เหลือของสถานีอวกาศ ตกลงในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้เกาะฟิจิ พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - จังหวัดบึงกาฬ ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดย พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - วงโยธวาทิต จากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ได้บุกไปขอยืมเงิน "ตัน-อิชิตัน" เพื่อไปร่วมประกวดงานดนตรีที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ สุดท้ายได้เงินมาจริงๆ โดยตัน จ่ายให้ 3.1 ล้านบาท แบบโดนมัดมือชก == วันเกิด == พ.ศ. 2366 (ค.ศ. 1823) - ชุยเลอร์ โคลแฟกซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 17 (ถึงแก่กรรม 13 มกราคม พ.ศ. 2428) พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) - ก.ศ.ร. กุหลาบ นักประวัติศาสตร์คนสำคัญ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2464) พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) - พระองค์เจ้าเจริญกมลสุขสวัสดิ์ (สิ้นพระชนม์ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2417) พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1910) - อากิระ คุโรซาวา ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 6 กันยายน พ.ศ. 2541) พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ปองพล อดิเรกสาร อดีตรองนายกรัฐมนตรี นักเขียน และนักสำรวจชาวไทย พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - ชากา คาน นักร้อง-นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - ฮิเดยูกิ โฮริ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1957) - วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรต์ชาวไทย พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - มิเชล (นักฟุตบอล) นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - โฮป เดวิส นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) *ปาเชตา อดีตนักฟุตบอลชาวสเปน * ประกาศิต โบสุวรรณ นักร้อง นักแสดง * เฟร์นันโด อิเอร์โร อดีตนักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) * ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ นักร้อง นักแสดง พิธีกรชายชาวไทย * แยชือ ดูแด็ก นักฟุตบอลชาวโปแลนด์ พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - แรนดัลล์ พาร์ก นักแสดง, นักแสดงตลก และนักเขียนชาวอเมริกัน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - ศุภมาศ พะหุโล พิธีกรและภัณฑารักษ์ ชาวไทย พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - เจสัน แชมเบอส์ นักแสดง, นักต่อสู้แบบผสม และผู้บรรยายกีฬาชาวอเมริกัน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ชูพงษ์ ช่างปรุง นักแสดงผู้เชี่ยวชาญศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - สินทวีชัย หทัยรัตนกุล นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - สตีเวน สเตรต นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) * ณัฐชา วิทยากาศ นักแสดงชาวไทย * โทโมยะ อูงาจิน นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เอริก มักซิม ชูโป-โมติง นักฟุตบอลที่เล่นในตำแหน่งกองหน้า พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - วีระวุฒิ กาเหย็ม นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - นิก โพเวลล์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - อเล็กซานเดอร์ อัลบอน นักแข่งรถชาวไทยเชื้อสายอังกฤษ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ศรายุทธ สมพิมพ์ นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - หวง เหรินจวิ้น สมาชิกวง เอ็นซีทีดรีม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - อุลุกเบค ราชิตอฟ นักเทควันโดชาวอุซเบกิสถาน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1801) - พระเจ้าซาร์พอลที่ 1 แห่งรัสเซีย (ประสูติ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2297) พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ผู้ก่อตั้งบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2415) พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 (ประสูติ 21 เมษายน พ.ศ. 2432) พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ระพิน ภูไท นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2490) พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ นักแสดงชาวอเมริกันเจ้าของตำแหน่งรางวัลออสการ์ และรางวัลลูกโลกทองคำ (เกิด 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475) พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - ลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2466) พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - แมเดลิน อาลไบรต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 64 ของสหรัฐอเมริกา (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2480) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == ปากีสถาน - วันชาติ วันอุตุนิยมวิทยาโลก วันลูกหมาแห่งชาติ (National Puppy Day) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day NY Times: On This Day Today in History: March 23 มีนาคม 23 มีนาคม
thaiwikipedia
1,085
ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ (History of science) คือ การศึกษาพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์เชิงสังคม วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้เชิงประจักษ์ทั้นในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับธรรมชาติของโลกและจักรวาล วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ได้รับการค้นพบและต่อยอดโดยนักวิทยาศาสตร์จากรุ่นสู่รุ่น นักวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการสังเกต อธิบาย และทำนายปรากฏการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนั้นประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ยังศึกษาผลกระทบของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของมนุษยชาติในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิศวกรรม หรือ ฟิสิกส์ที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันนั้น ล้วนมีจุดกำเนิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในยุคพื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เหล่านั้น มีรากฐานจากผลงานที่คิดค้นขึ้นในสมัยกรีกโบราณและผลงานความรู้จากโลกมุสลิมที่มาจากโลกตะวันออก ซึ่งรับช่วงต่อมาจากอารยธรรมอียิปต์ เมโสโปเตเมีย และอินเดีย คำว่า "Scientist" ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า "นักวิทยาศาสตร์"เป็นคำที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ศตวรรษที่แล้ว คำนี้ได้มีการใช้เป็นครั้งแรกโดย วิลเลียม เวเวล (William Whewell) ในศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นผู้ที่สำรวจธรรมชาติของโลกเรียกตัวเองว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ (Natural philosopher)" การสังเกตการณ์ธรรมชาติของโลกและจักรวาลนั้นมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ ตัวอย่างเช่นนักปรัชญาธรรมชาติชาวกรีก ธาเลส (Thales) และ อริสโตเติล (Aristotle) และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยยุคกลางของยุโรปซึ่งมีที่มาจากโลกมุสลิม ตัวอย่างเช่น นักปราชญ์ชาวอาหรับ อิบน์ อัลฮัยษัม (Ibn al-Haytham) และนักปราชญ์ชาวอังกฤษ โรเจอร์ เบคอน (Roger Bacon) วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เริ่มขึ้นในช่วงต้นยุคใหม่ (Modern era) เพื่อการพัฒนาศักยภาพทางอุตสาหกรรมและการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของจักรวาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในทวีปยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 และศตวรรษที่ 17 == ยุคโบราณ == === เมโสโปเตเมีย === === กรีก-โรมัน === === อินเดีย === === จีน === == ยุคกลาง == === จักรวรรดิไบเซนไทน์ === === โลกมุสลิม === === ยุโรปตะวันตก === == ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา : การกำเนิดใหม่ของวิทยาศาสตร์ในทวีปยุโรป == === ยุคเรืองปัญญา === == ยุคใหม่ : วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ == === คณิตศาสตร์ === === ตรรกศาสตร์ === === ฟิสิกส์ === === ดาราศาสตร์ === === ธรณีวิทยา === === เคมี === === ชีววิทยา === === เภสัชศาสตร์ === === สังคมศาสตร์ === === โบราณคดี === === เศรษฐศาสตร์ === === มานุษยวิทยา === === ศาสตร์เกิดใหม่ === == อ้างอิง == ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
thaiwikipedia
1,086
มีนาคม
มีนาคม เป็นเดือนสามของปี ในทั้งปฏิทินกริกอเรียนและปฏิทินจูเลียน เป็นหนึ่งใน 7 เดือนที่มี 31 วัน เดือนมีนาคมในซีกโลกเหนือมีฤดูกาลเทียบเท่ากับเดือนกันยายนในซีกโลกใต้ ในซีกโลกเหนือ วันที่ 1 มีนาคมเป็นวันเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิทางอุตุนิยมวิทยา ส่วนในซีกโลกใต้ วันเดียวกันเป็นการเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงทางอุตุนิยมวิทยา เดือนมีนาคมมีวันในสัปดาห์เริ่มต้นตรงกับเดือนพฤศจิกายนทุกปี และเดือนกุมภาพันธ์เฉพาะปีปกติสุรทิน เดือนมีนาคมสิ้นสุดวันในสัปดาห์เดียวกับเดือนมิถุนายนทุกปี ในปีอธิกสุรทิน เดือนมีนาคมเริ่มต้นในวันเดียวกับเดือนกันยายนและธันวาคมของปีก่อนหน้า ในปีปกติสุรทิน เดือนมีนาคมเริ่มต้นในวันเดียวกับเดือนมิถุนายนปีก่อนหน้า คำว่า "March" ในภาษาอังกฤษ มาจากโรมโบราณ เมื่อเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของปี และได้ชื่อภาษาละตินว่า "มาร์ติอุส" (Martius) ตามมาร์ส หรือแอรีส เทพแห่งสงครามของกรีก ในโรม ซึ่งมีลักษณะอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน เดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของฤดูใบไม้ผลิ จุดเริ่มต้นปีตามหลักเหตุผล และการเริ่มต้นฤดูกาลศึกสงคราม เดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปีปฏิทินในรัชสมัยกษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส (ประมาณ 713 ปีก่อน ค.ศ.) หรือในรัชสมัยกษัตริย์เดเซมวีร์ราว 450 ก่อน ค.ศ. ปีที่มีตัวเลขเริ่มในวันที่ 1 มีนาคมในรัสเซีย กระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 15 ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่กำหนดให้วันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ใน ค.ศ. 1564 บริเตนใหญ่และอาณานิคมยังใช้ 25 มีนาคมเป็นวันขึ้นปีใหม่กระทั่ง ค.ศ. 1752 เมื่อเปลี่ยนไปใช้ปฏิทินเกรโกเรียน อีกหลายวัฒนธรรมและศาสนายังเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ในเดือนมนาคม ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมีนาคมใน พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน ตามโหราศาสตร์ เดือนมีนาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมีน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมษ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมีนาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวปลา == วันสำคัญ == 5 มีนาคม - วันนักข่าวในประเทศไทย 8 มีนาคม - วันสตรีสากล 13 มีนาคม - วันช้างไทย 14 มีนาคม - ไวต์เดย์ 14 มีนาคม - วันพาย 14 มีนาคม - วันคณิตศาสตร์โลก 17 มีนาคม - วันนักบุญแพทริก 19 มีนาคม - วันนักบุญโยเซฟ 20 มีนาคม - วันความสุขสากล 21 มีนาคม - วันกวีนิพนธ์สากล ดวงอาทิตย์ผ่านตำแหน่งวสันตวิษุวัตในราววันที่ 21 มีนาคม ทำให้ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน (ในทางทฤษฎี) 22 มีนาคม - วันน้ำของโลก 23 มีนาคม - วันปากีสถาน 25 มีนาคม - แม่พระรับสาร 26 มีนาคม - วันเอกราชของบังกลาเทศ (ค.ศ. 1971) 27 มีนาคม - วันกองทัพอากาศในประเทศไทย 31 มีนาคม - วันมหาเจษฎาบดินดร์ในประเทศไทย วันอีสเตอร์ตรงกับวันอาทิตย์ที่อยู่ระหว่าง 22 มีนาคม ถึง 25 เมษายน (ไม่ตรงกันทุกปี) วันไตโลก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่สองของเดือน วันนอนหลับโลก ตรงกับวันศุกร์ที่สองของเดือน == ดูเพิ่ม == มาร์ช (แก้ความกำกวม) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เดือน
thaiwikipedia
1,087
11 ก.พ.
redirect 11 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,088
12 ก.พ.
redirect 12 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,089
13 ก.พ.
redirect 13 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,090
14 ก.พ.
redirect 14 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,091
อรรถปริวรรตศาสตร์
อรรถปริวรรตศาสตร์ (Hermeneutics) สามารถมองได้ว่าเป็นทฤษฎีของการตีความและการทำความเข้าใจตัวบท ผ่านทางกระบวนการเชิงประจักษ์ (empirical) แนวทางนี้แตกต่างจากแนวปฏิบัติในการตีความที่เรียกว่านัยวิเคราะห์ ซึ่งพยายามแกะความหมายของตัวบท ขยายความ และเพิ่มเติมอรรถาธิบายของตัวบท ส่วนอรรถปริวรรตศาสตร์นั้น เน้นศึกษากระบวนการที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในผู้สร้างตัวบทนั้นและความสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างกับผู้อ่าน โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นในช่วงเวลาเดียวกัน หรือคนละช่วงเวลา การศึกษานี้ทำภายใต้เงื่อนไขของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดังนั้นศาสตร์สาขานี้จึงเป็นสาขาย่อยหนึ่งของปรัชญาที่สนใจความเข้าใจของมนุษย์และการตีความตัวบท ในปัจจุบัน ความหมายของคำว่าตัวบทนั้นถูกขยายออกไปจนเกินขอบเขตของเอกสาร งานเขียน โดยยังได้รวมไปถึง คำพูด การแสดง ผลงานศิลปะ หรือกระทั่งเหตุการณ์ คำว่า อรรถปริวรรตศาสตร์ หรือ Hermeneutics นอกวงการวิชาการมักถูกใช้ในความหมายของการตีความพระคัมภีร์ ปรัชญาสังคม วรรณคดีวิจารณ์ ปรัชญาเชิงสังคม ปรัชญา
thaiwikipedia
1,092
พื้นที่
พื้นที่ คือ ปริมาณของพื้นผิวหรือรูปร่างสองมิติ ที่แสดงถึงขอบเขตเนื้อที่ในแนวแผ่นระนาบ พื้นที่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นจำนวนวัสดุที่หนาขนาดหนึ่งเท่าที่จำเป็นที่จะประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง หรือปริมาณสีทาเท่าที่จำเป็นที่จะทาผิวหน้าในครั้งเดียว พื้นที่เป็นมโนทัศน์ในสองมิติที่คล้ายคลึงกับความยาวของเส้นโค้งในหนึ่งมิติ หรือปริมาตรของทรงตันในสามมิติ พื้นที่ของรูปร่างสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดตายตัวขนาดหนึ่ง หน่วยมาตรฐานของพื้นที่ในหน่วยเอสไอคือ ตารางเมตร (m2) ซึ่งเป็นพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาวด้านละหนึ่งเมตร รูปร่างที่มีพื้นที่เท่ากับสามตารางเมตร จะเหมือนกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเช่นนั้นสามรูป ในทางคณิตศาสตร์ หน่วยตารางหน่วยถูกนิยามขึ้นให้มีพื้นที่เท่ากับ "หนึ่ง" และพื้นที่ของรูปร่างหรือพื้นผิวอื่น ๆ ก็จะเป็นจำนวนจริงไร้มิติจำนวนหนึ่ง สูตรคำนวณหาพื้นที่ของรูปร่างพื้นฐานหลายสูตรเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปวงกลม เป็นต้น จากการใช้สูตรเหล่านี้ พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมใด ๆ สามารถหาได้จากการแบ่งรูปหลายเหลี่ยมเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปร่างที่มีขอบเขตเป็นเส้นโค้งมักจะคำนวณพื้นที่ได้ด้วยแคลคูลัส (calculus) สำหรับรูปร่างทรงตันอย่างเช่นทรงกลม ทรงกรวย หรือทรงกระบอก พื้นที่บนผิวรอบนอกของรูปทรงเหล่านี้เรียกว่า พื้นที่ผิว สูตรคำนวณพื้นที่ผิวของรูปทรงพื้นฐานต่าง ๆ สามารถหาได้ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่การหาพื้นที่ผิวของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นต้องใช้แคลคูลัสหลายตัวแปร (multivariable calculus) == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == อันดับของขนาด (พื้นที่) พื้นที่ ปริมาณทางกายภาพ
thaiwikipedia
1,093
หลี่ ไป๋
หลี่ ไป๋ (; Li Bai) (ค.ศ. 701-762) เป็นกวีจีนที่ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ถัง ได้รับยกย่องเป็น กวีผู้ยิ่งใหญ่ หนึ่งในสองคนเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์งานประพันธ์ของจีน เคียงคู่กันกับชื่อของตู้ฝู่ บทกวีของหลี่ไป๋ได้รับอิทธิพลจากจินตภาพของเต๋า และการนิยมชมชอบการดื่มสุรา เช่นเดียวกับ ตู้ฝู่ เขาเป็นหนึ่งในแปดของ แปดอมตะไหสุรา (飲中八仙, Eight Immortals of the Wine Cup) ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในงานกวีของตู้ฝู่ หลี่ไป๋ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการท่องเที่ยว ในกรณีของเขาเนื่องจากมีฐานะดีจึงสามารถท่องเที่ยวได้ ไม่ใช่เพราะว่าความยากจนจึงต้องท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ หลี่ไป๋เคยเล่าว่าครั้งหนึ่ง เขาได้ตกจากเรือลงไปในแม่น้ำแยงซี ขณะกำลังเมาและพยายามจะไขว่คว้าพระจันทร์ งานกวีนิพนธ์ของหลี่ไป๋ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันมากกว่า 1,100 ชิ้น มีการแปลบทกวีของเขาไปเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2405 โดย มาร์ควิส ดีเฮอร์วีย์ เดอ แซงต์เดนีส์ ในหนังสือ Poésies de l'Époque des Thang และต่อมาในปี พ.ศ. 2444 งานกวีนิพนธ์ของหลี่ไป๋ก็เป็นที่รู้จักกว้างขวางในแวดวงวรรณกรรมตะวันตก เมื่อสำนักพิมพ์ Herbert Allen Giles พิมพ์เผยแพร่ผลงานเรื่อง "ประวัติศาสตร์วรรณคดีจีน" (History of Chinese Literature) == ประวัติ == หลี่ไป๋เป็นลูกพ่อค้าที่ร่ำรวย สถานที่เกิดยังไม่ทราบแน่ชัด จากการสันนิษฐานน่าจะอยู่ใน Suiye ในเอเชียกลาง (ปัจจุบันอยู่ที่ Tokmak, คีร์กีซสถาน) เมื่ออายุได้ 5 ขวบ ครอบครัวของเขาย้ายมาที่เจียงหยู ใกล้กับเมืองเฉิงตูในมณฑลเสฉวน เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปรัชญาจีนขงจื้อและเต๋า แต่เนื่องจากมรดกที่มากมายของครอบครัวของเขา ไม่ได้ช่วยให้เขาได้รับโอกาสเหมาะในการเป็นขุนนางในราชวงศ์ถัง แม้ว่าเขาจะเคยคิดจะเป็นขุนนางแต่ก็ไม่เคยไปสอบเข้ารับตำแหน่ง เขากลับเริ่มเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วจีนเมื่ออายุ 25 ปี่ แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนรักอิสระ ไม่เหมือนสุภาพบุรุษในลัทธิขงจื้อทั่วไป ด้วยบุคคลิกนี้ทำให้เขาเป็นที่เลื่อมใสจากทั้งขุนนางและคนทั่วไป กระทั่งได้รับการแนะนำถึงจักรพรรรดิถังสวนจงในราวปี ค.ศ. 742 เขาได้เข้าสู่ Hanlin Academy ซึ่งขึ้นตรงปราชญ์ผู้รับใช้จักรพรรรดิ หลี่ไป๋อยู่ในฐานะกวีในราชสำนักได้ไม่ถึง 2 ปีก็ถูกไล่ออกโดยเหตุอันไม่ควร หลังจากนั้นหลี่ไป๋ก็เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจีนโดยมิได้ตั้งรกรากที่ไหนอีกเลยตลอดชั่วชีวิต เขาได้พบกับตู้ฝู่ ในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 744 และอีกครั้งในปีถัดมา พวกเขาไม่ได้พบกันอีกเลยหลังจากนั้น แต่ตู้ฝู่ก็ยังให้ความสำคัญต่อมิตรภาพของพวกเขาเสมอ (บทกวีของตู้ฝู่หลายบทได้เกี่ยวข้องกับหลี่ไป๋ ในขณะที่หลี่ไป๋เขียนถึงตู้ฝู่เพียงบทเดียว) ในช่วงของ กบฏอันลู่ซัน เขาได้ให้เงินช่วยเหลือกบฏต่อจักรพรรดิ (ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าทำไปเพื่อสาเหตุใด) ความล้มเหลวในการก่อกบฏส่งผลให้เขาถูกเนรเทศเป็นครั้งที่สองไปสู่ Yelang แต่เขาได้รับการให้อภัยโทษก่อนสิ้นสุดการเนรเทศ หลี่ไป๋เสียชีวิตใน Dangtu (ปัจจุบันคือ Anhui) ส่วนใหญ่เชื่อว่าเขาเสียชีวิตเพราะไล่จับเงาจันทร์ในแม่น้ำ ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าเพราะพิษตะกั่วเนื่องจากการดื่มยาอายุวัฒนะ ส่วน อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะพิษสุรา == บทกวี == หลี่ไป๋ได้เขียนมากกว่า 1,000 บทกวี และมีชื่อเสียงที่สุดในบทกวีแบบ (yue fu, 乐府) ซึ่งมีความชัดเจนและมหัศจรรย์ งานของเขาได้รับแนวคิดของเต๋า ส่งเสริมและปรับปรุงแนวคิดของเต๋า หนึ่งในบทกวีที่มีชื่อเสียงของหลี่ไป๋ ดื่มเดียวดายใต้เงาจันทร์ (; Drinking Alone under the Moon) แสดงออกถึงจิตวิญญาณของธรรมชาติ 花間一壺酒。 ไหสุราประหนึ่งดัง ดอกไม้ 獨酌無相親。 ไร้เพื่อนดื่มเคียงกาย ผู้เดียว 舉杯邀明月。 ยกจอกขึ้นเชื้อเชิญจันทร์ กระจ่างใส 對影成三人。 ทอแสงรวมเงาข้า เป็นสาม 月既不解飲。 จันทร์เจ้าลอยเลื่อน ไม่อาจ ดื่มได้ 影徒隨我身。 เงาเจ้าคล้อยเคลื่อนตาม ติดไหว 暫伴月將影。 มีทั้งจันทร์และเงาอยู่เป็นเพื่อน 行樂須及春。 เริงรื่น ก่อนฤดูไม้พรรณพฤกษ ผลิใบ 我歌月徘徊。 เมื่อข้าร้องเพลง จันทร์ทอแสง 我舞影零亂。 เมื่อข้าเริงระบำ เงาสั่นไหว 醒時同交歡。 เมื่อยังตื่น ร่วมสรวลเสเฮฮา 醉後各分散。 เมื่อเมาแล้ว ต่างต้องแยกจากกัน 永結無情遊。 มิตรภาพของเรายังคงอยู่ตลอดไป 相期邈雲漢。 และพบกันใหม่ในธารดารา1 - Drinking Alone Under The Moon -   - Li Bai - Among the flowers from a pot of wine I drink alone beneath the bright moonshine. I raise my cup to invite the moon, who blends Her light with my shadow and we're three friends. The moon does not know how to drink her share; In vain my shadow follows me here and there. Together with them for the time I stay And make merry before spring's spend away. I sing the moon to linger with my song; My shadow disperses as I dance along. Sober, we three remain cheerful and gay; Drunken, we part and each goes his way. Our friendship will outshine all earthly love; Next time we'll meet beyond the stars above. -ร่ำเมรัย ใต้เงาจันทร์- เหล้าหนึ่งไห..ในกลาง..หว่างไม้ดอก ข้าฯยกจอก..บอกจันทร์..อำพันฉาย ร่ำดื่มอยู่..ผู้เดียว..อย่างเปลี่ยวดาย จันทร์-เงา-กาย..คล้ายเหมือน..เพื่อนสามคน แต่พระจันทร์..นั้นไซ้ร..ไม่ดื่มเหล้า ข้าฯถูกเงา..เฝ้าตาม..ท่ามทุกหน เกาะกลุ่มกัน..ก่อนกาล..จะผ่านวน สุขกมล..ด้นดั้น..เคียงกันไป แสงจันทร์นวล..ยวนตา..ข้าฯขานขับ เงาขยับ..รับครา..ข้าฯพริ้วไหว สามสรวลเส..เฮฮา..มิลาไกล และจากลา..คลาไคล..ในยามเมา มิตรภาพ..ซาบซึ้ง..ตราตรึงจิต จะแนบชิด..สนิทใน..ไม่อับเฉา เมื่อห้วงกาล..ผ่านไป..ไม่นานเนา- จนพวกเรา..พบพาน..ณ ธารดารา....ฯ 1 ธารดารา หมายถึงทางช้างเผือก == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == "A T'ang Canon" by Gilbert Wesley Purdy หนังสือและบทความเกี่ยวกับบทกวีในราชวงศ์ถังและชีวประวัติของหลี่ไป๋ Open Directory Project category Li Po Poems, บทกวีและภาพธรรมชาติ Li Bai's poems รวบรวม 300 บทกวีสมัยราชวงศ์ถัง (300 Selected Tang poems) แปลโดย Witter Bynner. กวีชาวจีน นักเขียนชาวจีน ราชวงศ์ถัง
thaiwikipedia
1,094
ดาวเนปจูน
ดาวเนปจูน (Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆). ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัสบดี) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan) ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 8 ถึง 14 ดวง และดวงใหญ่มากที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน ส่วนดวงเล็กมากที่สุดมีชื่อว่า S/2004 N 1 == ประวัติการค้นพบ == ในปี พ.ศ. 2389 เออร์เบียง เลอ เวอร์ริเยร์ (Urbain Le Verrier) คำนวณว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งรบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2389 โจฮันน์ จี. กาลเล (Johann G. Galle) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันใต้แห่งหอดูดาวเบอร์ลิน ได้ค้นพบดาวเนปจูน ในตำแหน่งใกล้เคียงกับผลการคำนวณดังกล่าว == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == NASA's Neptune fact sheet "Neptune." Smith, Bradford A. World Book Online Reference Center. 2004. World Book, Inc. (NASA.gov) Neptune from Bill Arnett's nineplanets.org Neptune Astronomy Cast episode #63, includes full transcript. Neptune Profile at NASA's Solar System Exploration site Planets – Neptune A children's guide to Neptune. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ วัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2389
thaiwikipedia
1,095
24 มีนาคม
วันที่ 24 มีนาคม เป็นวันที่ 83 ของปี (วันที่ 84 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 282 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2145 (ค.ศ. 1603) - พระเจ้าเจมส์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) - เซอร์จอห์น เบาริง ผู้แทนราชสำนักอังกฤษและคณะเดินทางด้วยเรือรบจากฮ่องกงถึงปากน้ำอ่าวไทยเพื่อเจรจาทางเศรษฐกิจ อันเป็นที่ของสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) - โรแบร์ท ค็อค แพทย์ชาวเยอรมัน ประกาศการค้นพบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรค พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - รัฐบัญญัติไทดิงส์–แม็กดัฟฟีมีผลใช้บังคับ ซึ่งกำหนดการปกครองตนเองของฟิลิปปินส์และเอกราชจากสหรัฐของฟิลิปปินส์เป็นระยะเวลาสิบปปี พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช นิวัตพระนคร ทรงประทับบนเรือหลวงศรีอยุธยา ที่กองทัพเรือจัดถวายเป็นเรือพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนิน จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เสด็จนิวัติประเทศไทยพร้อม ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - กำลังทหารของอาร์เจนตินา ก่อรัฐประหารขับประธานาธิบดี อิสซาเบล เปรอง ออกจากตำแหน่ง พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เรือบรรทุกน้ำมัน เอกซ์ซอน วัลเดซ ปล่อยน้ำมันมากกว่า 11 ล้านแกลลอน ลงสู่อ่าวพรินซ์วิลเลียมในอะแลสกา เป็นต้นเหตุให้เกิดภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - Mac OS X v10.0 "Cheetah" วางจำหน่าย พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - พรรคสันติภาพและความรุ่งเรืองของภูฏาน นำโดย จิกมี ทินเลย์ ได้ 45 จาก 47 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรภูฏาน ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของประเทศ พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - นักบินร่วมของเยอรมันวิงส์ เที่ยวบินที่ 9525 เจตนาชนอากาศยานในการฆ่าคนหมู่-ฆ่าตัวตายในเทือกเขาแอลป์ฝรั่งเศส ทั้ง 150 คนบนเครื่องเสียชีวิต พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) - การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 == วันเกิด == พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) - พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ (สิ้นพระชนม์ 25 กันยายน พ.ศ. 2450) พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) - แฮร์รี ฮูดินี อดีตนักมายากลชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 31 ตุลาคม พ.ศ. 2469) พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - สตีฟ แม็กควีน นักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523) พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - พิสิทธิ์ กีรติการกุล พิธีกรและผู้ประกาศข่าวชาวไทย พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) * ปัญญา นิรันดร์กุล พิธีกรและนักแสดงชาวไทย * ราฟาเอล โอรอสโก มาเอสเตร นักร้องชาวโคลอมเบีย พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - * กาบริเอล เบร์นัล แชมป์โลกมวยสากลชาวเม็กซิโก (ถึงแก่กรรม 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557) * เค็ง ยะมะงุชิ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - เอลลี่ ปิกัล นักมวยสากลชาวอินโดนีเซีย พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - ดิอันเดอร์เทเกอร์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - ชินอิจิ ฮาโตริ นักข่าวอิสระ ทาเร็นโตะ และพิธีกรโทรทัศน์ชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - จิม พาร์สันส์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - * กรพินธุ์ พ่วงโพธิ์ นักร้อง และนักแสดงชาวไทย * เหรียญชัย สีหะวงษ์ นักกรีฑาชาวไทย พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - อูโก กาซาเรส นักมวยสากลชาวเม็กซิโก พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - คัลตาร์ กิลล์ นักมวยไทยชาวอินเดีย-แคนาดาและนักต่อสู้แบบผสม พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ประวัติ วะโฮรัมย์ นักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - วิลาวรรณ นวลพุ่ม นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - * เบอนัว อาซู-เอกอโต นักฟุตบอลชาวแคเมอรูน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - * ลานา นักแสดงและนักมวยปล้ำอาชีพหญิงชาวอเมริกัน * ฮารุกะ อายาเสะ นักแสดงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - * พัก จ็อง-มิน นักแสดงชาวเกาหลีใต้ * รามีริส นักฟุตบอลชาวบราซิล * สิริลภัส กองตระการ นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - * ฟินน์ โจนส์ นักแสดงชาวอังกฤษ * สุธีวัน กุญชร นักร้องและนักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - อันเดรย์ เซียร์เกเยวิช เซมิโอนอฟ นักฟุตบอลชาวรัสเซีย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - * บิลลี่ เกตุแก้วพรหมพร นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศสเชื้อสายลาว * มนตรี พ่วงลิบ นักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย * เลซีย์ อีแวนส์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - วิรายา ภัทรโชคชัย นักแสดงและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - สรานนท์ อนุอินทร์ นักฟุตบอลชาวไทย พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เอนโซ เฟร์นันเดซ นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - * มินะ เมียวอิ นักร้องชาวญี่ปุ่น * จอร์แดน รอสซิเตอร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - ฐิติชา สมบัติพิบูลย์ นักร้องชาวไทย == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 1352 (ค.ศ. 809) - ฮารูน อัล-ราชิด เคาะลีฟะฮ์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์อับบาสิด (ประสูติ 7 มีนาคม พ.ศ. 1309) พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) - ชูลส์ แวร์น ผู้ประพันธ์นิยายวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2370) พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - ก.ศ.ร. กุหลาบ นักหนังสือพิมพ์ นักประวัติศาสตร์ (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2377) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2459) พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - โยฮัน ไกรฟฟ์ นักฟุตบอลชาวดัตช์ (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2490) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันวัณโรคโลก == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day NY Times: On This Day Today in History: March 24 มีนาคม 24 มีนาคม
thaiwikipedia
1,096
24 มี.ค.
redirect 24 มีนาคม
thaiwikipedia
1,097
23 มี.ค.
redirect 23 มีนาคม
thaiwikipedia
1,098
อูราชิมะ ทาโร
อูราชิมะ ทาโร (浦島太郎, Urashima Tarō) เป็นเทพนิยายของญี่ปุ่น โดยเป็นเรื่องราวของชาวประมง ชื่อว่า อูราชิมะ ทาโร อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านริมทะเลแห่งหนึ่ง อูราชิมะ ทาโรเป็นเด็กหนุ่มจิตใจดีและกตัญญู เขาออกหาปลาเพื่อนำเงินมาเลี้ยงดูแม่ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งหมู่บ้าน วันหนึ่งเขาได้พบเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังรังแกเต่าน้อยตัวหนึ่งอยู่ เขาจึงห้ามไม่ให้เด็ก ๆ รังแกเต่าตัวนั้น พร้อมทั้งเสนอว่าจะขอซื้อเต่าตัวนี้ จากนั้นเขาก็นำเต่าน้อยปล่อยลงสู่ทะเล วันต่อมาในขณะที่เขาออกหาปลาตามปกติ ได้มีเต่าตัวใหญ่ว่ายน้ำเข้ามาใกล้ ๆ แล้วพูดขึ้นว่า “อูราชิมะ ทาโรซัง อูราชิมะ ทาโรซัง” เขาจึงหันไปดู เต่าตัวนั้นก็พูดต่อว่า “อูราชิมะ ทาโรซัง เราขอบคุณท่านมากที่ช่วยชีวิตเต่าน้อยตัวนั้นไว้ เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณท่าน เราจะพาท่านไปเที่ยววังมังกรใต้ทะเลนี้ มาเถิด อูราชิมะ ทาโรซัง” อูราชิมะ ทาโรจึงขี่หลังเต่าตัวใหญ่ลงสู่ก้นทะเลลึก จนพบกับ วังมังกรรีวงูโจ (竜宮城)ที่อยู่ใต้น้ำ วังมังกรนั้นทำด้วยทองคำทั้งหมด ทำให้มีแสงส่องประกายวูบวาบอย่างน่าอัศจรรย์ เขาได้พบกับเจ้าหญิงโอโตฮิเมะ ธิดาพระองค์เดียวของเทพเจ้ามังกรริวจิน เขาได้ใช้เวลาอย่างมีความสุขในอาณาจักรใต้บาดาล เวลาผ่านไป 3 ปีเขาจึงเริ่มคิดถึงบ้านของเขา เขาจึงขอลาเจ้าหญิงโอโตฮิเมะเพื่อเดินทางกลับบ้าน ก่อนเดินทาง เจ้าหญิงโอโตฮิเมะได้ให้กล่องประดับด้วยอัญมณีเป็นของขวัญ หลังจากที่เดินทางกลับถึงบ้าน อูราชิมะ ทาโรพบว่าเวลาบนโลกนั้นได้ผ่านไปกว่า 300 ปีแล้ว ผู้คนที่เขารู้จักก็ไม่มีหลงเหลืออยู่ ด้วยความขมขื่นเขาจึงมุ่งหน้ากลับไปยังชายหาด ในขณะนั้นเขาก็รำลึกถึงกล่องซึ่งได้รับเป็นของขวัญ จึงเปิดออกดู ก็ปรากฏควันขาวพวยพุ่งออกมา ในทันใดนั้นตัวเขาก็กลับชราลงอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตไปในที่สุด ซึ่งกล่องนั้นในความเป็นจริงก็คือที่ใช้กักเก็บอายุของเขานั่นเอง ยังมีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันนี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วโอเชียเนีย โดยแหล่งกำเนิดของเรื่องนั้นไม่เป็นที่เด่นชัด เนื้อเรื่องของเรื่องนี้ได้มีอิทธิพลต่อเรื่องแต่งและภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น การ์ตูนชุด ลามู ทรามวัยจากต่างดาว และ เลิฟฮินะ บ้านพักอลเวง และได้ถูกใช้เป็นโครงในการแต่งเรื่องสั้น "Another Story" ของ Ursula K. Le Guin ในหนังสือรวมเรื่องสั้นชื่อ A Fisherman of the Inland Sea ==แหล่งข้อมูลอื่น== Urashima Taro Matsuki Heikichi(1899)-Urashima-p04.jpg คติชนญี่ปุ่น
thaiwikipedia
1,099
15 ก.พ.
redirect 15 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,100
16 ก.พ.
redirect 16 กุมภาพันธ์
thaiwikipedia
1,101