title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
45.8M
source
stringclasses
5 values
__index_level_0__
int64
0
197k
อ็องรี ปวงกาเร
ฌูล อ็องรี ปวงกาเร (Jules Henri Poincaré; ฟัง ) เกิด 29 เมษายน ค.ศ. 1854 เสียชีวิต 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ดีสุดของฝรั่งเศส ในหนังสือประวัตินักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังของอิริค เทมเพิล เบลล์ได้ให้เกียรติปวงกาเรว่าเป็น นักคณิตศาสตร์คนสุดท้ายผู้ล่วงรู้ครอบจักรวาล (universalist) เนื่องจากปวงกาเรเดินตามรอยของนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต เช่น เกาส์, ออยเลอร์ หรือนิวตัน ที่มีผลงานและรอบรู้ในแทบทุกสาขาของคณิตศาสตร์ (หลังจากยุคปวงกาเรก็ไม่ปรากฏนักคณิตศาสตร์คนได้รอบรู้ในแง่ลึกของทุกสาขาอีก ทั้งนี้เนื่องจากสาขาของคณิตศาสตร์นั้นเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลในปัจจุบัน โดยตัวปวงกาเรเองก็เป็นผู้ที่ก่อตั้งสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ใหม่อีกหลายสาขา) สาขาวิชาการที่ปวงกาเรได้อุทิศผลงานและมีผลกระทบสำคัญต่อวงการมากที่สุดได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ และ กลศาสตร์ท้องฟ้า โดยผลงานที่โด่งดังของปวงกาเรมีมากมายเช่น ปวงกาเรเป็นผู้ตั้งปัญหาข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร (Poincaré conjecture) หนึ่งในปัญหาที่มีชื่อเสียงที่สุดของคณิตศาสตร์ เมื่อครั้งที่เขาทำวิจัยอย่างจริงจังในปัญหาสามวัตถุ (three-body problem) เขาเป็นคนแรกที่ได้คนพบปรากฏการณ์เคออส และตัวเขาเองเป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานทฤษฎีเคออสสมัยใหม่ ผลงานทางฟิสิกส์ของปวงกาเรเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจและแนวคิดตั้งต้นในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ โดยไอน์สไตน์ได้เล่าในหนังสือชีวประวัติของเขาด้วยว่า หนังสือของปวงกาเรที่ชื่อ science and hypothesis มีอิทธิพลต่อแนวคิดเขามากควบคู่ไปกับงานของนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น เช่น แฮ็นดริก โลเรินตส์ (Hendrik Lorentz) และ เอิรนส์ มัค (Ernst Mach) ปวงกาเรกรุ๊ป (Poincaré group) ในพีชคณิตสมัยใหม่ถูกตั้งชื่อขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ปวงกาเร == ชีวิตของปวงกาเร == == บุคลิกของปวงกาเร == == งานและปัญหาที่มีชื่อเสียง == งานชิ้นสำคัญที่ปวงกาเรได้อุทิศให้วงการคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีดังต่อไปนี้: ทอพอโลยีเชิงพีชคณิต (algebraic topology) ทฤษฎีฟังก์ชันวิเคราะห์ของตัวแปรเชิงซ้อนหลายตัวแปร (the theory of analytic functions of several complex variables) ทฤษฎีอาบีเลียนฟังก์ชัน (the theory of abelian functions) เรขาคณิตเชิงพีชคณิต (algebraic geometry) ทฤษฎีจำนวน (number theory) ปัญหาสามวัตถุ (the three-body problem) ทฤษฎีสมการไดโอแฟนไทน์ (the theory of diophantine equations) ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (the theory of electromagnetism) ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (the special theory of relativity) นอกจากนี้ปวงกาเรยังเป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการเขียนและเล่าหลักการยาก ๆ ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจได้ง่าย เขาได้เขียนหนังสือคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่คนธรรมดาทั่วไปสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายหลายเล่ม (ดูผลงานทางวิชาการ) == ผลงานทางวิชาการ == ปวงกาเรตีพิมพ์สองผลงานสำคัญที่ส่งผลให้กลศาสตร์ท้องฟ้ามีรากฐานอยู่บนระบบคณิตศาสตร์ที่สมบูรณ์มั่นคง (mathematical rigour) New Methods of Celestial Mechanics ISBN 1-56396-117-2 (3 vols., 1892-99; Eng. trans., 1967) Lessons of Celestial Mechanics. (1905-10). ปวงกาเรได้ตีพิมพ์ชุดหนังสือปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่อธิบายและวิเคราะห์เนื้อแท้ของวิทยาศาสตร์ ดังนี้ Science and Hypothesis, 1901. (ไอน์สไตน์เองได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนจากเล่มนี้) The Value of Science, 1904. Science and Method, 1908. Dernières pensées (eng, "Last Thoughts"); Edition Ernest Flammarion, Paris, 1913. == อ้างอิง == อีริค เทมเพิล เบลล์ (1986). Men of Mathematics (reissue edition). Touchstone Books. ISBN 0-671-62818-6. Peterson, Ivars (1995). Newton's Clock: Chaos in the Solar System (reissue edition). W H Freeman & Co. ISBN 0-7167-2724-2. Galison, Peter Louis (2003). Einstein's Clocks, Poincaré's Maps: Empires of Time. Hodder & Stoughton. ISBN 0-340-79447-X. E. Toulouse, Henri Poincaré, Paris (1910) - (Source biography in French) == ดูเพิ่ม == ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ Poincaré recurrence theorem == แหล่งข้อมูลอื่น == Wikiquote - Quotes by Henri Poincaré A review of Poincaré's mathematical achievements A timeline of Poincaré's life (in French) Poincaré's 1897 article "The Relativity of Space", English translation Henri Poincaré, His Conjecture, Copacabana and Higher Dimensions บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ อ็องรี ปวงกาเร
thaiwikipedia
802
ไอบีเอ็ม
ไอบีเอ็ม (International Business Machines, IBM) หรือชื่อเล่น บิ๊กบลู (ยักษ์สีฟ้า) เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีพนักงานมากกว่า 330,000 คนทั่วโลก ไอบีเอ็มก่อตั้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นบริษัทสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสาขามากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ไอบีเอ็มเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเมนเฟรมและนาโนเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2506 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราตั้งครุฑพ่าห์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ บริษัทคอมพิวเตอร์ บริษัทของสหรัฐ บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2454 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก อดีตบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ตราสินค้าอเมริกัน บริษัทนานาชาติที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา
thaiwikipedia
803
ไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) ซึ่งเรียกชื่อเลียนแบบ ไวรัส ที่เป็นสิ่งมีชีวิต แต่เป็นคำเรียกแบบย่อของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการใดๆก็ตามเท่าที่โปรแกรมถูกเขียนขึ้นมาเพื่อการใดการหนึ่งทั้งที่มีประโยชน์ทางการทำงานตามผู้เขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมาและไวรัสสามารถทำให้คอมพิวเตอร์พังได้ == ข้อมูล == ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้นไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนของข้อมูลเอกสารหรือส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้ ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์ ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกใช้ให้ทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่ตนเรียกใช้โปรแกรมหรือเปิดไฟล์ใดๆขึ้นมาทำงาน ก็ได้เรียกไวรัสขึ้นมาทำงานด้วย จุดประสงค์การทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ไวรัส (Virus) เป็นมัลแวร์ (Malware) ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไปทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่ายและคุ้นเคยที่จะพูด ก็จะใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง อาจจะเป็นเพราะความเคยชินหรืออะไรก็ตาม จึงกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Worm, Trojan, Spyware, Adware เป็นต้น ที่ถูกต้องควรใช้คำว่ามัลแวร์ (Malware) เพราะมัลแวร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกัน == คำจำกัดความ == ไวรัสเป็นโปรแกรมประเภทที่สามารถแพร่ขยายตัวเองได้ วิธีการในการจำแนกว่าส่วนของโปรแกรมนั้นเป็นไวรัสหรือไม่ นั้นดูจากการที่โปรแกรมสามารถแพร่กระจายตัวได้โดยผ่านทางพาหะ (โฮสต์) บ่อยครั้งที่ผู้คนจะสับสนระหว่างไวรัสกับเวิร์ม เวิร์มนั้นจะมีลักษณะของการแพร่กระจายโดยไม่ต้องพึ่งพาหะ ส่วนไวรัสนั้นจะสามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อมีพาหะนำพาไปเท่านั้น เช่น ทางเครือข่าย หรือทางแผ่นดิสก์ โดยไวรัสนั้นอาจฝังตัวอยู่กับแฟ้มข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสเมื่อมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลนั้น เนื่องจากไวรัสในปัจจุบันนี้ได้อาศัยบริการเครือข่ายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล และระบบแฟ้มข้อมูลร่วมในการแพร่กระจายด้วย จึงทำให้ความแตกต่างของไวรัสและเวิร์มในปัจจุบันนั้นไม่ชัดเจน ไวรัสสามารถติดพาหะได้หลายชนิด ที่พบบ่อยคือ แฟ้มข้อมูลที่สามารถปฏิบัติการได้ของซอฟต์แวร์ หรือส่วนระบบปฏิบัติการ ไวรัสยังสามารถติดไปกับบู๊ตเซคเตอร์ของแผ่นฟลอปปีดิสก์ แฟ้มข้อมูลประเภทสคริปต์ ข้อมูลเอกสารที่มีสคริปต์แมโคร นอกเหนือจากการสอดแทรกรหัสไวรัสเข้าไปยังข้อมูลดั้งเดิมของพาหะแล้ว ไวรัสยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมในพาหะ และอาจทำการแก้ไขให้รหัสไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานเมื่อพาหะถูกเรียกใช้งาน อันที่จริงไม่ใช่ == ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ == === บูตเซกเตอร์ไวรัส === บูตเซกเตอร์ไวรัส (boot sector virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมากมันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น === ไฟล์ไวรัส === ไฟล์ไวรัส(file virus) คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในแฟ้มข้อมูล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแฟ้มข้อมูลแบบ Executable ได้แก่ไฟล์ประเภท .EXE .COM .DLL เป็นต้น การทำงานของไวรัสคือจะไปติดบริเวณ ท้ายแฟ้มข้อมูล แต่จะมีการเขียนคำสั่งให้ไปทำงานที่ตัวไวรัสก่อน เสมอ เมื่อมีการ เปิดใช้แฟ้มข้อมูล ที่ติดไวรัส คอมพิวเตอร์ก็จะถูกสั่งให้ไปทำงานบริเวณ ส่วนที่เป็นไวรัสก่อน แล้วไวรัสก็จะฝังตัวเองอยู่ในหน่วยความจำเพื่อ ติดไปยังแฟ้มอื่นๆ ต่อไป === หนอนอินเทอร์เน็ต === หนอนอินเทอร์เน็ต (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งเพิ่มมากขึ้น === อื่นๆ === ==== ม้าโทรจัน ==== ม้าโทรจัน (อังกฤษ: Trojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services) การติดม้าโทรจันนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน == ประวัติ == ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ทีมวิศวกรของ Bell Telephone Laboratories ได้สร้างเกมชื่อว่า "Darwin" ถือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกที่มีรูปแบบของไวรัส โดยฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ เกมนี้ใช้คำศัพท์บางอย่างที่มีคำว่า "supervisor" มีลักษณะที่กำหนดกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างผู้เข้าแข่งขัน โปรแกรม Darwin นี้มีความสามารถที่จะวิจัยสภาพแวดล้อมของมัน ทำสำเนา และทำลายตัวเองได้ จุดประสงค์หลักของเกมนี้ก็คือลบโปรแกรมทั้งหมดที่คู่แข่งเขียนและครอบครองสนามรบ ต้นปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตรวจพบไวรัส Creeper ในเครือข่าย APRAnet ของทหารอเมริกา ถือเป็นต้นแบบไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โปรแกรม Creeper สามารถเข้าครอบครองเครือข่ายผ่านโมเด็มและส่งสำเนาตัวเองไปที่ฝั่ง remote ไวรัสนี้ทำให้คนรู้ว่าติดไวรัสด้วยการ broadcast ข้อความ "I'M THE CREEPER ... CATCH ME IF YOU CAN" ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โปรแกรมชื่อ "Rabbit" โผล่ขึ้นมาบนเครื่องเมนเฟรมที่เรียกชื่อนี้เพราะมันไม่ได้ทำอะไรนอกจากสำเนาตัวเองอย่างรวดเร็วไปในระบบเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ Rabbit นี้ได้ดึงทรัพยากรของระบบมาใช้อย่างมาก ทำให้การทำงานกระทบอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้ ปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) มีการตรวจพบไวรัสชื่อ "Elk Cloner" นั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรก ซึ่งแพร่กระจายในวงที่กว้างออกไปกว่าภายในห้องทดลองที่สร้างโปรแกรม โปรแกรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Rich Skrenta โดยไวรัสนี้จะติดไปกับระบบปฏิบัติการ Apple DOS 3.3 ผ่านทาง boot sector ของฟล็อปปี้ดิสก์ ณ เวลานั้นผลของมันทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางคนนึกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากมนุษย์ต่างดาว เพราะทำให้การแสดงภาพที่จอกลับหัว, ทำตัวอักษรกะพริบ, ขึ้นข้อความต่างๆออกมา ปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Len Adleman แห่งมหาวิทยาลัย Lehigh ตั้งคำว่า "Virus" ว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำสำเนาตัวเองได้ และในปีถัดมาใน Information security conference ครั้งที่ 7 Fred Cohen ได้ให้คำจำกัดความของคำ "computer virus" ว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อไปยังโปรแกรมอื่นโดยการแก้ไขโปรแกรมเดิมเพื่อแพร่ขยายตัวเอง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Fred Cohen บิดาแห่งไวรัสศาสตร์ (Virology) ได้ใช้คอมพิวเตอร์ VAX 11/750 สาธิตว่าโปรแกรมไวรัสสามารถฝังตัวเข้าไปใน object อื่นได้ ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ไวรัสตัวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ สร้างโดยโปรแกรมเมอร์อายุ 19 ปี ชาวปากีสถาน ชื่อ Basit Farooq และพี่ชายชื่อ Amjad เรียกชื่อ "Brain" ที่มีเป้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรู้ระดับของซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศตัวเอง แต่โชคไม่ดีที่การทดลองนี้หลุดออกมานอกประเทศ ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมันชื่อ Ralf Burger พบวิธีตรวจจับโปรแกรมที่ copy ตัวเองโดยการเพิ่ม code บางตัวเข้าไปใน ไฟล์ COM version ที่ใช้ทดลองชื่อ Virdem ถูกนำมาแสดงในเดือนธันวาคม ที่ Hamburg เป็น forum ที่เหล่า hacker ที่ชำนาญในการ crack ระบบ VAX/VMS มารวมตัวกันชื่อ "Chaos Computer Club" ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เกิดไวรัสระบาดที่ เวียนนา เป็นไวรัสที่ทำลายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่ทำงานเต็มระบบ ส่งผลกระทบไปเกือบทั่วโลก ที่มาของไวรัสนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก เพราะคนที่อ้างว่าเป็นคนเขียนคือ Franz Svoboda แต่เมื่อสืบไปจึงพบว่าเขารับมาจาก Ralf Burger ซึ่งก็อ้างว่ารับมาจาก Svoboda เดิมชื่อไวรัสคือ "lovechild" แต่เพราะไม่สามารถหาคนให้กำเนิดได้จึงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "orphan" (ลูกกำพร้า) ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เดือนธันวาคม เกิดการระบาดใต้ดินครั้งแรกในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชื่อ "Christmas Tree" วันที่ 9 ไวรัสหลุดมาจาก เครือข่าย Bitnet ของมหาวิทยาลัย Western University ประเทศเยอรมนี ทะลุเข้าไปใน European Acadamic Research Network (EARN) และเข้าไป เครือข่าย IBM-Vnet เป็นเวลา 4 วัน เครื่องที่ติดไวรัสจะแสดงผลที่หน้าจอเป็นรูปต้นคริสต์มาสต์ และส่งไปให้ผู้ใช้อื่นๆในเครือข่าย ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) Peter Norton programmer ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Symantec ได้ออกมาประกาศว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเปรียบว่าเป็นแค่จระเข้ที่อยู่ในท่อระบายน้ำเสียในนิวยอร์ก แต่ในที่สุดเขาเป็นผู้ที่ได้เริ่มต้น project Norton-AntiVirus ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) วันที่ 22 เดือนเมษายน เกิด forum ที่ถกกันเรื่อง security threat เป็นครั้งแรก ชื่อ Virus-L host ไว้ที่ Usebet สร้างโดย Ken Van Wyk เพื่อร่วมงานของ Fred Cohen ที่มหาวิทยาลัย Lehigh ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนตุลาคม มีการแพร่ข่าวไวรัสชื่อ Mr. "Rochenle" อย่างมากเป็นไวรัสประเภทหลอกลวง (HOAX) เป็นตัวแรก อ้างถึงชื่อบุคคลที่ไม่มีตัวตนชื่อ Mike RoChenle ("Microchannel") อ้างว่าไวรัสนี้สามารถส่งตัวเองไประหว่างโมเด็มด้วยความเร็ว 2400 bps ทำให้ความเร็วโมเด็มลดลงเหลือ 1200 bps และได้อธิบายวิธีการแก้ไขที่ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีคนหลงเชื่อทำตามกันอย่างมากมาย ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนพฤศจิกายน มีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris" ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริการวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ติดไปด้วย ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง เหตุเนื่องจากมี error ใน code ของ Morris ทำให้มัน copy ตัวเองไปที่เครือข่ายอื่นอย่างไม่จำกัดทำให้เครือข่ายรับไม่ไหว การระบาดครั้งนั้นทำให้สูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ == ดูเพิ่ม == โปรแกรมป้องกันไวรัส รายชื่อไวรัสคอมพิวเตอร์ == อ้างอิง == Mark Russinovich, Advanced Malware Cleaning video, Microsoft TechEd: IT Forum, November 2006 Jussi Parikka ( 2007) Digital Contagions. A Media Archaeology of Computer Viruses, Peter Lang: New York. Digital Formations-series ความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ การบุกรุกความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์.
thaiwikipedia
804
แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือการเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้ แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ == แหล่งกำเนิด == แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรงบริเวณ ขอบของแผ่นเปลือกโลก แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ และบริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น เหมือง เขื่อน บ่อน้ำมัน บริเวณที่มีการฉีดของเหลวลงใต้พื้นดิน บริเวณที่มีการเก็บกากรังสีเป็นต้น == สาเหตุ == === แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ === แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีภัยพิบัติ ชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน เนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความร้อน ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับความสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake) === แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์ === มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5 - 10 กิโลเมตร ขนาดและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ รายงานการเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะเช่นนี้เคยมีที่ เขื่อนฮูเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2488 แต่มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เขื่อนการิบา ประเทศซิมบับเว เมื่อ พ.ศ. 2502 เขื่อนครีมัสต้า ประเทศกรีซ เมื่อ พ.ศ. 2506 และครั้งที่มีความรุนแรงครั้งหนึ่งเกิดจากเขื่อนคอยน่า ในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2508 ซึ่งมีขนาดถึง 6.5 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้ การสูบน้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป รวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้ การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลก == การวัดและหาตำแหน่งแผ่นดินไหว == คลื่นแผ่นดินไหว หรือคลื่นไหวสะเทือน (seismic waves) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบ ๆ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ * คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ * คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่นเคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง คลื่นพื้นผิว เป็นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว มี 2 ชนิด * คลื่นเลิฟ (Wave of Love : Love wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบ มีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น * คลื่นเรลีย์ (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นสาเหตุทำให้พื้นโลกสั่นขึ้นลง == ขนาดและความรุนแรง == ขนาดของแผ่นดินไหว หมายถึง จำนวนหรือปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง การหาค่าขนาดของแผ่นดินไหวทำได้โดยวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวดวัดแผ่นดินไหว แล้วคำนวณจากสูตรการหาขนาด ตัวอย่างสูตรการคำนวณขนาดแผ่นดินไหวแบบท้องถิ่น (ML-Local Magnitude) ซึ่งคิดค้นโดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ มีสูตรการคำนวณในยุคแรกดังนี้ M = logA - logA_\mathrm{0}\ กำหนดให้ M = ขนาดของแผ่นดินไหว (แมกนิจูด) A = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สูงที่สุด A_\mathrm{0}\ = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ระดับศูนย์ โดยขนาดของแผ่นดินไหว ในแต่ละระดับจะปล่อยพลังงานมากกว่า 32 เท่าของขนาดก่อนหน้า เช่นแผ่นดินไหวแมกนิจูด 5 จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่าแมกนิจูด 4 ราว 32 เท่า เป็นต้น สูตรของขนาดแผ่นดินไหวยังมีอีกมากมายหลายสูตร แต่ละสูตรจะมีใช้วิธีวัดและคำนวณแตกต่างกันออกไป เช่น mb วัดจากคลื่น body wave หรือ MS วัดจากคลื่น surface wave เป็นต้น โดยมาตราวัดขนาดโมเมนต์ หรือ Mw จะเป็นมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวที่วัดได้แม่นยำที่สุดโดยไม่ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดใด ๆ ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) ต่างจากขนาดแผ่นดินไหว เนื่องจากความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาถึงผู้สังเกตว่าห่างมากน้อยเพียงใด ความเสียหายจะเกิดมากที่สุดบริเวณใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและค่อย ๆ ลดทอนออกมาตามระยะทาง โดยมาตราวัดความรุนแรงมีหลายมาตรา เช่น มาตราชินโดะ มาตราเมร์กัลลี เป็นต้น == การพยากรณ์ == แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี เครื่องมือตรวจวัดที่ทันสมัย แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษา วิเคราะห์ถึงลักษณะต่าง ๆ ของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว โดยอาศัยจากการสังเกตสิ่งต่อไปนี้ ลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากสภาพปกติก่อนการเกิดแผ่นดินไหว เช่น # แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น โดยใต้ผิวโลกจะมีความร้อนสูงกว่าบนผิวโลก จึงทำให้เปลือกโลกเกิดการขยายตัว หดตัวไม่สม่ำเสมอ โดยที่เปลือกโลกส่วนล่างจะมีการขยายตัวมากกว่า # การเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก และแรงโน้มถ่วงของโลก # การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก # น้ำใต้ดินมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวและการขยายตัวของเปลือกโลกใต้ชั้นหินรองรับน้ำ # ปริมาณแก๊สเรดอนเพิ่มขึ้น การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ สัตว์หลายชนิดมีการรับรู้และมักแสดงท่าทางออกมาก่อนเกิดแผ่นดินไหว อาจจะรู้ล่วงหน้าเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ เช่น # สัตว์เลี้ยง สัตว์บ้านทั่วไปตื่นตกใจ เช่น สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี # แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน # หนู งู วิ่งออกมาจากที่อาศัย ถึงแม้ในบางครั้งจะเป็นช่วงฤดูจำศีลของพวกมัน # ปลากระโดดขึ้นมาจากผิวน้ำ บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว ถ้าบริเวณใดเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง โอกาสเกิดแผ่นดินไหวก็มีตามมาอีก และถ้าสถานที่นั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง ก็มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นอีกเช่นกัน นอกจากนี้บริเวณที่มีภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นก่อนหรือหลังภูเขาไฟระเบิดได้ == ผลกระทบของการเกิดแผ่นดินไหว == ผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งมีผลต่อการลงทุน การประกันภัย และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "สึนามิ" (津波, Tsunami) มีความเร็วคลื่น 600 - 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลเปิด ส่วนใหญ่คลื่นจะมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร และสังเกตได้ยาก แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนถึงใกล้ชายฝั่ง โดยอาจมีความสูงถึง 60 เมตร สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล == การป้องกันความเสียหาย == ในปัจจุบันมีการสร้างอาคาร ตึกระฟ้าใหม่ ๆ บนหินแข็งในเขตแผ่นดินไหว อาคารเหล่านั้นจะใช้โครงสร้างเหล็กกล้าที่แข็งแรงและขยับเขยื้อนได้ มีประตูและหน้าต่างน้อยแห่ง บางแห่งก็มุงหลังคาด้วยแผ่นยางหรือพลาสติกแทนกระเบื้อง ป้องกันการตกลงมาของกระเบื้องแข็งทำให้ผู้คนบาดเจ็บ ถนนมักจะสร้างให้กว้างเพื่อว่าเมื่อเวลาตึกพังลงมาจะได้ไม่กีดขวางทางจราจร และยังมีการสร้างที่ว่างต่าง ๆ ในเมือง เช่น สวนสาธารณะ ซึ่งผู้คนสามารถจะไปหลบภัยให้พ้นจากการถล่มของอาคารบ้านเรือนได้!!! == ความเชื่อในสมัยโบราณ == คนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เกิดจากฝีมือของเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวโรมันโบราณคิดว่าเทพเจ้าที่ชื่อว่า วัลแคน อาศัยอยู่ในภูเขาไฟ เทพองค์นี้ทรงเป็นช่างตีเหล็กให้กับเทพเจ้าองค์อื่น ๆ เมื่อใดที่มีควันและเปลวไฟพุ่งออกมาจากภูเขาไฟ ชาวโรมันก็คิดว่าเทพเจ้าวัลแคนกำลังติดไฟในเตาหลอมอยู่ และเมื่อแผ่นดินสั่นสะเทือนก็หมายถึงว่าเทพเจ้าวัลแคนกำลังตีเหล็กหลอมอยู่บนทั่ง ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเทพเจ้าองค์หนึ่ง มีชื่อว่า โพไซดอน เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหว เทพเจ้าโพไซดอนมีรูปร่างขนาดใหญ่ เมื่อพิโรธก็จะกระทืบเท้า ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ส่วนชาวฮินดูในประเทศอินเดียเชื่อว่าโลกของเราตั้งอยู่บนถาดทองคำซึ่งวางอยู่บนหลังช้างหลายเชือกติดกัน เมื่อใดที่ช้างเคลื่อนไหว โลกก็จะสั่นสะเทือนไปด้วย และเกิดเป็นแผ่นดินไหว ส่วนคนญี่ปุ่นเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า มีปลาดุกยักษ์โอนามาซุอยู่ใต้พื้นดิน และเมื่อใดที่ปลาดุกยักษ์พลิกตัวหรือขยับเขยื้อนแต่ละครั้ง ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวความเชื่อของคนไทยโบราณคล้ายคลึงกับคนญี่ปุ่นแต่เปลี่ยนเป็นปลาอานนท์ใต้เขาพระสุเมรุพลิกตัว == ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว == ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาแนวโน้มและพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวได้ แต่ในปัจจุบันก็ไม่มีการทำนายแผ่นดินไหวที่แน่ชัด มีเพียงระบบการเตือนภัยฉุกเฉิน (Earthquake Early Warning System, EEWS) ประกอบไปด้วยเครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหว เครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูง และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อเตือนแผ่นดินไหวก่อนที่คลื่นแผ่นดินไหวจะเข้าปะทะ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะมีคลื่นสั่นสะเทือนเป็นสามแบบได้แก่ คลื่นปฐมภูมิ คลื่นทุติยภูมิ และคลื่นพื้นผิว การทำงานของระบบการเตือนภัยฉุกเฉินแผ่นดินไหว จะอาศัยคลื่นแบบปฐมภูมิซึ่งเบาที่สุดแต่มีความเร็วมากที่สุดดังนั้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวจะตรวจพบคลื่นปฐมภูมิได้ก่อนและจะส่งสัญญาณเตือนให้ทราบก่อนคลื่นพื้นผิวจะมาถึง == ดูเพิ่ม == รายการแผ่นดินไหว == อ้างอิง == กนก จันทร์ขจร และถนัด ศรีบุญเรือง, วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4 - ม.6, สำนักพิมพ์ บริษัทไทยร่มเกล้า จำกัด, 2549, หน้า 15, สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 พิบัติภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย เจาะพื้นธรณีวิทยา หาที่มาแห่ง 'พสุธากัมปานาท'" — บทความจาก''ผู้จัดการออนไลน์ แผ่นดินไหวบริเวณสุมาตรา-อันดามัน หนังสืออุตุนิยมวิทยา เรื่องแผ่นดินไหว — จากกรมอุตุนิยมวิทยา ข้อปฏิบัติให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว — จากกรมทรัพยากรธรณี ศูนย์ยุโรปสำหรับการเกิดแผ่นดินไหวเมดิเตอร์เรเนียน - EMSC == แหล่งข้อมูลอื่น == ความรู้เกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย - จากเว็บไซต์วิชาการธรณีไทย รายงานแผ่นดินไหว — จากกรมอุตุนิยมวิทยา คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย — จากกรมทรัพยากรธรณี ข่าวแผ่นดินไหว — จากเว็บภัยพิบัติ European-Mediterranean Seismological Centre วิทยาแผ่นดินไหว ธรณีวิทยา ภัยธรรมชาติ
thaiwikipedia
805
นิวตัน (หน่วยวัด)
นิวตัน (newton สัญลักษณ์ N) เป็นหน่วยอนุพัทธ์เอสไอของแรง โดยชื่อหน่วยตั้งตามชื่อของไอแซก นิวตัน เพื่อเป็นการยอมรับถึงผลงานของเขาในสาขากลศาสตร์ดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน == บทนิยาม == 1 นิวตัน คือแรงที่ต้องใช้ในการเร่งมวล 1 กิโลกรัม ในอัตรา 1 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ในทิศทางที่กระทำแรงนั้น ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) มติฉบับที่ 2 ของที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัด (ซีจีเอ็มพี) กำหนดหน่วยมาตรฐานของแรงในระบบหน่วยเอ็มเคเอสเป็นปริมาณที่ต้องใช้เร่งมวล 1 กิโลกรัม ในอัตรา 1 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง และต่อมาในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) มติฉบับที่ 7 ของการประชุมซีจีเอ็มพีครั้งที่ 9 มีการปรับให้นำเอาชื่อ นิวตัน มาเป็นหน่วยของแรงแทน ซึ่งทำให้ระบบเอ็มเคเอสกลายเป็นรากฐานของระบบเอสไอในปัจจุบัน และนั่นจึงทำให้หน่วยนิวตันกลายมาเป็นหน่วยมาตรฐานของแรงในระบบเอสไอ กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน กล่าวไว้ว่า โดยที่ คือแรงที่กระทำ คือมวลของวัตถุที่รับแรงนั้น และ คือความเร่งของวัตถุ ฉะนั้นนิวตันจึงเป็นไปตามดังนี้ {| |- |align=center| | |align=right|   |⋅ |align=left|   |- |align=right| 1 N | |align=right| 1 kg |⋅ |align=left| 1 m/s2 |} โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวใช้แทนหน่วยดังต่อไปนี้ N สำหรับนิวตัน kg สำหรับกิโลกรัม m สำหรับเมตร และ s สำหรับวินาที ในการวิเคราะห์เชิงมิติ \mathsf F = \frac{\mathsf{ML}} {\mathsf T^2} โดยที่ \mathsf F คือแรง, \mathsf M คือมวล, \mathsf L คือความยาว และ \mathsf T คือเวลา == ตัวอย่าง == ณ ที่ความโน้มถ่วงเฉลี่ยบนโลก (โดยปกติคือ ≈ 9.80665 m/s2) มวล 1 กิโลกรัม จะเกิดแรงประมาณ 9.8 นิวตัน โดยที่แอปเปิลขนาดเฉลี่ยทั่ว ๆ ไปเกิดแรง 1 นิวตัน ซึ่งเราสามารถคำนวณหานำหนักของแอปเปิลได้ดังต่อไปนี้ {| |- |align=center| | |align=center|   |⋅ |colspan="2" style="text-align: left;"|   |- |align=center| | |align=center|   |⋅ |colspan="2" style="text-align: left;"|   |- |align=center| 1 N | |align=center| |⋅ |colspan="2" style="text-align: left;"| 9.80665 m/s2 |- |align=center| 1 kg ⋅ m/s2 | |align=center| |⋅ |colspan="2" style="text-align: left;"| 9.80665 m/s2 |- |align=center| |≈ |colspan="2" style="text-align: left;"| 0.10197 kg | (0.10197 kg = 101.97 g) |} น้ำหนักเฉลี่ยของผู้ใหญ่ที่เกิดแรงประมาณ 608 นิวตัน {| |- |align=center| | |align=center|   |⋅ |colspan="2" style="text-align: left;"|   |- |align=center| 608 N | |align=center| |⋅ |colspan="2" style="text-align: left;"| 9.80665 m/s2 |- |align=center| 608 kg ⋅ m/s2 | |align=center| |⋅ |colspan="2" style="text-align: left;"| 9.80665 m/s2 |- |align=center| |≈ |colspan="2" style="text-align: left;"| 62 kg | (ซึ่ง 62 กิโลกรัม คือมวลเฉลี่ยของผู้ใหญ่) |} == การแปลงหน่วย == == อ้างอิง == หน่วยวัด หน่วยแรง หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ ไอแซก นิวตัน
thaiwikipedia
806
เคออส
ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เคออส (χάος, khaos; Chaos หรือ Khaos, ) เป็นสภาพแรกเริ่มของการมีอยู่ ก่อนการกำเนิดของเหล่าทวยเทพรุ่นแรก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือความว่างเปล่าอันมืดดำของอวกาศ ใน ธีออโกนี หรือเทวพงศาวดารของเฮซิโอด (700 ปีก่อนค.ศ.) "เคออส" เป็นเทพดึกดำบรรพ์องค์แรกที่ปรากฏขึ้น จากนั้นจึงเกิดมี ไกอา (โลก), ทาร์ทารัส (ก้นบึ้ง), และ เอรอส (ความรัก) ตามมา จากเคออสแล้วจึงมี เอเรบัส (ความมืด) และนิกซ์ (กลางคืน) ==เคออสตามความเชื่อกรีก และโรมัน== คำว่า "เคออส" ( χάος) ในภาษากรีก มีความหมายว่า "ความว่างเปล่าอันเวิ้งว้าง, รอยแยก" มาจากคำกริยาว่า χαίνω แปลว่า "ทำให้เปิดกว้าง, ทำให้(มีที่)ว่าง" ทั้งเฮสิโอด และนักปรัชญาก่อนโสเครตีส ใช้คำกรีกนี้ในบริบทของการบรรยายการกำเนิดจักรวาล (Cosmogony) เฮสิโอดบรรยาย เคออส ว่า "เป็นที่ว่างมหึมาที่อยู่เหนือแผ่นดินโลก ซึ่งถูกสร้างขึ้นครั้งเมื่อแผ่นดิน (ไกอา) และท้องฟ้า (ยูเรนัส) ยังแยกกันอยู่และยังมิได้เข้ามารวมกัน" หรือ "เป็นที่เปิดว่างอยู่ข้างใต้พิภพซึ่งโลกใช้เป็นฐานตั้งอยู่" ในบทกลอนเมตามอร์โฟเซส (Metamorphoses) กวีโอวิด (Ovid) ได้อธิบายเคอ็อสว่าเป็น "มวลหยาบและยังไม่สมบูรณ์ กลุ่มก้อนที่ไม่มีชีวิต ไม่มีรูปแบบ ไม่มีขอบเขต ของเมล็ดพันธุ์อันยุ่งเหยิง และเคออสก็ได้รับสมญาอันเหมาะสม" ด้วยเหตุนี้ คำว่า "chaos" จึงถูกนำมาใช้ในปัจจุบันโดยมีความหมายว่า "ความสับสนอย่างสิ้นเชิง" ลักษณะสำคัญของเคออสมีสามประการหลักคือ เคออสเป็นหลุมลึกไร้ก้นที่ซึ่งหากมีอะไรตกลงไปก็จะตกลงไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด ซึ่งตรงข้ามกับโลก (Earth) อย่างมาก ด้วยโลกกำเนิดออกมาจากความว่างเปล่านี้ แต่โลกประกอบด้วยพื้นดิน เคออสเป็นสถานที่ที่ปราศจากทิศทางที่แน่นอน โดยสิ่งต่างๆ จะตกไปตามทิศทางต่างๆ ได้รอบ เคออสเป็นพื้นที่ว่างที่แยกโลก (Earth) และท้องฟ้า (Sky) ออกจากกัน และเคออสก็ยังคงสภาพคั่นกลางสองสิ่งนั้น เทพปกรณัมกรีก
thaiwikipedia
807
วิศวกร
วิศวกร คือผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ == วิศวกรในประเทศไทย == กฎหมายไทย (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505) กำหนดให้วิศวกรในบางสาขาจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือที่รู้จักกันว่า "ใบ กว." เพื่อการประกอบอาชีพด้วย ได้แก่ สาขาโยธา เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี ใบประกอบวิชาวิศวกรรมแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ภาคีวิศวกร (พิเศษ) ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร วุฒิวิศวกร โดยมีสภาวิศวกรเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ แขนง ลักษณะ และขนาดของงานด้วย แต่ถ้าหากสาขา แขนง ลักษณะ และขนาดของงาน ไม่เข้าข่ายที่กำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต ในปัจจุบัน การศึกษาทางด้านวิศวกรรมในประเทศไทย ได้มีการขยายตัวมากขึ้น มีสถาบันการศึกษาหลายสถาบันได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ทำให้โอกาสทางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมมีเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สถาบันการศึกษาเหล่านั้นก็จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของการศึกษาด้วยความเอาใจใส่ เพื่อคุณภาพของนักศึกษา == หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ == สภาวิศวกรของประเทศไทย เว็บบอร์ดทางด้านวิศวกรรมโยธา
thaiwikipedia
808
คาร์ล ฟรีดริช เกาส์
โยฮัน คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (Johann Carl Friedrich Gauß) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เป็นหนึ่งในตำนานนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (นักคณิตศาสตร์บางท่านกล่าวว่าสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคณิตศาสตร์มี อาร์คิมิดีส นิวตัน เกาส์ และออยเลอร์) ได้รับฉายาว่า "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" (Prince of Mathematics) เนื่องจากอุทิศผลงานในทุก ๆ ด้านของคณิตศาสตร์ในยุคสมัยของเขา นอกจากนี้เกาส์ยังมีผลงานสำคัญทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์อีกด้วย == ประวัติ == === วัยเด็ก === เกาส์เกิดที่เมืองเบราน์ชไวค์ ในวัยเยาว์เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางว่า เกาส์เป็นอัจฉริยะทางด้านตัวเลข เมื่อชราแล้ว เกาส์ยังได้เล่ามุกตลกว่า เขาสามารถบวกเลขได้ก่อนที่เขาจะพูดได้เสียอีก กล่าวกันว่า เกอเทอสามารถแต่งบทละครสำหรับเด็กได้ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ส่วนโมซาร์ทก็สามารถแต่งทำนองเพลง Twinkle Twinkle Little Star ได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ แต่สำหรับเกาส์แล้ว เป็นที่กล่าวกันว่า เกาส์สามารถตรวจสอบแก้ไขเลขบัญชีของบิดาได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่แสดงความอัจฉริยะของเกาส์ให้คนทั่วไปได้ทราบ เกิดขึ้นเมื่อเขายังเป็นเด็กชายเกาส์อายุ 7 ขวบ ในห้องเรียนวันหนึ่ง ครูสั่งให้นักเรียนบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 ครูเพียงแค่หันหลังไป เด็กชายเกาส์ก็ตอบขึ้นมาว่า 5,050 เมื่อถูกถามว่าได้คำตอบนั้นมาได้อย่างไรวิธีของเขาก็คือ กำหนดให้ s=1+2+3+...+98+99+100 (1) s=100+99+98+...+3+2+1 (2) นำสมการ(1)และ(2)มาบวกกันจะได้ว่า 2s=101+101+...+101+101 ซึ่งก็คือ 101 บวกกันทั้งหมด 100 ครั้ง =100*101 ดังนั้น s=(100*101)/2 = 5,050 === ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย === เกาส์ได้รับทุนให้เข้าศึกษาในระดับวิทยาลัยและได้ค้นพบซ้ำทฤษฎีบทที่สำคัญหลายชิ้นด้วยตนเอง ==== การสร้างรูป n เหลี่ยมด้านเท่าด้วยไม้บรรทัดและวงเวียน ==== จุดก้าวเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้น เมื่อเขาได้พิสูจน์ว่ารูปเหลี่ยมด้านเท่าจำนวน n ด้าน (n-gon)ใด ๆ สามารถเขียนได้โดยใช้เพียงไม้บรรทัดและวงเวียน ถ้าตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะของ n ที่เป็นจำนวนคี่ล้วนเป็นจำนวนเฉพาะแฟร์มาต์ (Fermat primes) ที่ไม่ซ้ำกัน ผลงานนี้ นับว่าเป็นการต่อยอดความคิดของคณิตศาสตร์สมัยกรีกโบราณ ที่หยุดนิ่งมาถึง 2,000 ปี โดยนักคณิตศาสตร์ของกรีกโบราณ ทราบเพียงว่ามีเพียงรูป 3, 4, 5 และ 15 เหลี่ยมด้านเท่า เท่านั้น ที่สร้างได้ด้วยไม้บรรทัดและวงเวียน เกาส์เองรู้สึกภูมิใจกับมันมาก ถึงขนาดที่เขาขอให้มีการแกะสลักรูป 17 เหลี่ยมด้านเท่า (17-gon) ไว้ที่บนป้ายเหนือหลุมฝังศพของเขา ==== ทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต ==== วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเกาส์เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในวงการคณิตศาสตร์สมัยนั้น เมื่อเกาส์เป็นผู้แรกที่สามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต (fundamental theorem of algebra) ซึ่งกล่าวคร่าว ๆ ว่าทุกสมการพหุนามอันดับใด ๆ จะมีคำตอบอยู่ในรูปจำนวนเชิงซ้อนเสมอ ทฤษฎีบทนี้ช่วยให้วงการคณิตศาสตร์เข้าใจว่าจำนวนเชิงซ้อนมีบทบาทสำคัญมากเพียงใด และยังเป็นทฤษฎีบทที่นักคณิตศาสตร์เช่น ดาลองแบร์, ออยเลอร์, ลากรองช์ หรือ ลาปลาส ต่างได้เคยพยายามพิสูจน์แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงชีวิตของเกาส์ เขาได้ให้บทพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ถึง 4 รูปแบบที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจในคุณสมบัติของจำนวนเชิงซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ === มหาวิทยาลัยเกิตติงเงิน === ในช่วงนี้เกาส์ได้รับการสนับสนุนจาก 'ดุ๊ก' หรือผู้ปกครองเมืองบรันสวิก มาโดยตลอด ทว่าเกาส์ไม่คิดว่างานทางด้านคณิตศาสตร์ จะได้รับการสนับสนุนในระยะยาวอย่างมั่นคง เกาส์จึงตัดสินใจรับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์ และหัวหน้าหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกิตติงเกน ==== ผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีจำนวน ==== ผลงานสำคัญของเกาส์ในด้านทฤษฎีจำนวน คือหนังสือที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2344 (ค.ศ. 1801) ชื่อว่า Disquisitiones Arithmeticae เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ เกี่ยวกับการนำเสนอ เลขคณิตมอดุลาร์ (modular arithmetic) ที่เป็นระบบจำนวนภายใต้การหารแบบเหลือเศษ และบทพิสูจน์แรกของทฤษฎี ส่วนกลับกำลังสอง (quadratic reciprocity) ซึ่งในปัจจุบันมีบทพิสูจน์ที่แตกต่างกันหลายแบบ แต่เกาส์เป็นคนแรกที่พิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ได้ ในปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) ==== ผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีแม่เหล็กและไฟฟ้า ==== ในปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) เกาส์ได้ร่วมงานกับ วิลเฮล์ม เวเบอร์ ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ วิจัยเกี่ยวกับแม่เหล็ก สร้างสหพันธ์แม่เหล็ก (Magnetic Union) โดยร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับแม่เหล็กโลก งานเกี่ยวกับแม่เหล็กของเกาส์และเวเบอร์ ได้ถูกนำไปพัฒนาเป็นเครื่องโทรเลขในยุคแรก ๆ นอกจากนี้ยังค้นพบ กฎของเกาส์ ในสนามไฟฟ้า ซึ่งนำไปสู่ กฎของเคิร์ชฮอฟฟ์ (โดยรวมกับไดเวอร์เจนซ์ของ กฎของแอมแปร์) ที่เป็นหนึ่งในกฎพื้นฐานที่สุดของวงจรไฟฟ้า ในความเรียง Treatise on Electricity and Magnetism (1873) ที่มีชื่อเสียงของ เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ เขาได้กล่าวชื่นชมเกาส์ว่า เกาส์ได้สร้างวิทยาศาสตร์ของแม่เหล็กขึ้นมาเลยทีเดียว ==== วิธีกำลังสองต่ำสุด ความผิดพลาดในการวัด และการกระจายตัวแบบเกาส์ ==== ในปี ค.ศ. 1809 เกาส์ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนไหวของวัตถุท้องฟ้า และได้สร้างค่าคงที่แรงโน้มถ่วงของเกาส์ ขึ้นมา นอกจากนี้ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้คิดค้น วิธีกำลังสองต่ำสุด (method of least squares) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ในการลดผลกระทบจากค่าความผิดพลาดจากการวัดให้เหลือน้อยที่สุด โดยเกาส์ได้พิสูจน์ถึงความถูกต้องของวิธีนี้ เมื่อมีสมมุติฐานว่าค่าความผิดพลาดที่เกิดจากการวัดมี การกระจายตัวแบบปกติ (normal distribution) (เป็นสาเหตุให้คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่าการกระจายตัวแบบเกาส์ (gaussian distribution)) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ทฤษฎีบทเกาส์-มาร์คอฟ) แม้ว่าวิธีกำลังสองต่ำสุดนี้มีนักคณิตศาสตร์ชื่อดังคือ เอเดรียน-แมรี เลอจองด์ ได้นำเสนอไว้ก่อนแล้วในปี พ.ศ. 2348 (ค.ศ. 1805) แต่เกาส์อ้างว่าเขาคิดค้นและใช้วิธีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ==== เรขาคณิตนอกแบบยุคลิด ==== ที่ผ่านมาจะเห็นว่า งานที่ตีพิมพ์ของเกาส์แต่ละอย่างนั้น ส่งผลกระทบต่อวงการวิชาการมากมายมหาศาล แต่อย่างไรก็ตาม งานของเกาส์ที่ไม่ถูกตีพิมพ์ก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน ยกตัวอย่างเช่น เกาส์ได้ค้นพบ เรขาคณิตนอกแบบยุคลิด (non-Euclidean geometries) ซึ่งส่งผลกระทบสำคัญ ต่อจินตนาการของมนุษย์ต่อธรรมชาติและโครงสร้างจักรวาล เทียบเคียงได้กับ การปฏิวัติของโคเปอร์นิคัส ในสาขาดาราศาสตร์เลยทีเดียว เนื่องจากตั้งแต่สมัยยุคลิด จนกระทั่งถึงสมัยของเกาส์นั้น สัจพจน์ทั้งหลายในเรขาคณิตแบบยุคลิด ถือว่าเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม นักคณิตศาสตร์รุ่นถัดมาจนถึงเกาส์ ก็สงสัยการกำหนดสัจพจน์บางอย่างของยุคลิดมาตลอด โดยเฉพาะสัจพจน์เส้นขนาน ที่กล่าวว่า กำหนดเส้นตรงหนึ่งเส้น และกำหนดจุดหนึ่งจุดที่ไม่ได้อยู่บนเส้นตรงนั้น จะมีเพียงเส้นตรงเส้นเดียวที่ผ่านจุดนั้นและขนานกับเส้นตรงเส้นแรก นักคณิตศาสตร์ได้สงสัยมานานว่า ทำไมเรื่องเส้นขนานนี้ถึงต้องเป็นสัจพจน์ เนื่องจากสัจพจน์ควรจะเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย ๆ เช่น สัจพจน์ของจุด เป็นต้น เรื่องเส้นขนานที่ค่อนข้างซับซ้อนนั้น ควรที่จะเป็นทฤษฎีบท คือสามารถพิสูจน์ได้ด้วยสัจพจน์ที่เป็นมูลฐานอื่น ๆ มากกว่าที่จะเป็นสัจพจน์เสียเอง ยุคลิดเองก็ดูลังเลกับสัจพจน์ข้อนี้ โดยได้ให้เป็นสัจพจน์ข้อสุดท้ายในระบบเรขาคณิตของเขา อย่างไรก็ตาม ไม่มีนักคณิตศาสตร์คนใดสามารถพิสูจน์สัจพจน์เส้นขนานนี้ได้สำเร็จ โดยจากสมุดบันทึกของเกาส์ที่พบ เราทราบว่า เกาส์เองก็ได้ลองพยายามพิสูจน์ประเด็นนี้ เมื่ออายุ 15 ปี และก็ล้มเหลวเช่นเดียวกันกับคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของเกาส์ต่างจากคนอื่น ๆ ตรงที่ในเวลาถัดมาเกาส์เริ่มตระหนักว่า ระบบเรขาคณิตแบบยุคลิด ไม่ใช่ระบบเรขาคณิตเพียงระบบเดียวที่เป็นไปได้ เกาส์คิดค้นประเด็นนี้อยู่หลายปี และในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) เกาส์ก็ได้ทฤษฎีบทเต็มรูปแบบของ เรขาคณิตนอกแบบยุคลิด อย่างไรก็ตาม เกาส์ไม่ได้เปิดเผยผลงานชิ้นนี้ต่อสาธารณะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2372 (ค.ศ. 1829) และ พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) ซึ่ง โลบาชอฟสกี (Lobachevsky) นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย และ ยาโนส โบลยาอี (Johann Bolyai) นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี ได้ตีพิมพ์งานชิ้นนี้ (โดยไม่ขึ้นต่อกัน) เช่นเดียวกัน ซึ่งพ่อของโบลยาอี ซึ่งเป็นเพื่อนของเกาส์ ได้นำข่าวดีของลูกชายตัวเองมาเล่าให้เกาส์ฟัง และก็ต้องตกตะลึง เมื่อเกาส์ไปรื้องานเก่า ๆ ในลังของตัวเองมาให้ดู โดยโบลยาอีผู้ลูกถึงกับพูดว่า "ผมรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในฝ่ามือของยักษ์ใหญ่" เหตุผลที่เกาส์ไม่ยอมตีพิมพ์งานของตัวเองนั้นเรียบง่ายมาก เพราะเนื่องจากในเยอรมันสมัยนั้น มีนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งคือ อิมมานูเอิล คานท์ อยู่ โดยคานท์ได้คิดและวางหลักการต่าง ๆ เกี่ยวกับความรู้มนุษย์ไว้มากมาย และคนทั่วไปก็ยอมเชื่อฟังแนวคิดของคานท์ โดยคานท์ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ระบบเรขาคณิตของยุคลิด เป็นความเป็นไปได้เพียงหนึ่งเดียวในการคิดเกี่ยวกับเรื่องของ มิติ อวกาศ หรือ ปริภูมิ (space) ซึ่งเกาส์ทราบเป็นอย่างดีว่าความคิดนี้ผิด แต่ด้วยเกาส์เป็นคนที่มีบุคลิกรักสันโดษและความสงบ เกาส์จึงตัดสินใจที่จะไม่ไปโต้เถียงเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก กับเหล่านักปรัชญาที่สนับสนุนแนวคิดของคานท์ ==== ฟังก์ชันเชิงวงรี ==== นอกจากนั้น ในงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์อื่น ๆ เกาส์ยังได้ค้นพบทฤษฎีของ ฟังก์ชันเชิงวงรี (elliptic functions) หลาย ๆ อย่าง ซึ่งสำคัญมากในสาขาคณิตวิเคราะห์ (mathematical analysis) ก่อนหน้า ปีเตอร์ กุสตาฟ ยาโคบี และ นีลส์ เฮนริก อาเบล ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบสองคนแรก ตั้งแต่ตอนที่สองคนนี้ยังไม่เกิด ทุกครั้งที่ยาโคบีค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ยาโคบีจะมาหาเกาส์ด้วยความดีใจ และในแทบทุกครั้ง ยาโคบีต้องถึงกับตะลึง เมื่อเกาส์ได้โชว์งานเก่า ๆ ของตัวเองในลังใบเดิม. ๆ ให้ดู ยาโคบีถึงกับพูดกับน้องชายของเขาว่า === ช่วงท้ายของชีวิต === แม้ว่าเกาส์ไม่ชอบสอนหนังสือ แต่ลูกศิษย์ของเขาหลายคน เช่น ริชาร์ด เดเดคินด์ และ แบร์นฮาร์ด รีมันน์ ก็เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน เกาส์เสียชีวิตในเมืองเกิตติงเกนในฮันโนเฟอร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) และก็ถูกฝังที่สุสาน โดยมีเหล่าลูกศิษย์เอกเช่น เดเดคินด์ เป็นผู้แบกโลงศพของเกาส์ == อ้างอิง == หนังสืออ่านเพิ่มเติม Dunham, W. The Mathematical Universe,Wiley, 1997. ผู้เขียนได้รับรางวัลผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยมสำหรับประชาชนธรรมดา Simmons, G. F, Differential Equations with Applications and Historical Notes, 2nd Edition, McGraw-Hill, (1991) เป็นหนังสือสมการเชิงอนุพันธ์ที่ได้ใส่เกร็ดเกี่ยวกับประวัติของคณิตศาสตร์ไว้อย่างสนุกสนานและน่าตื่นเต้นติดตาม Simmons, J, The giant book of scientists -- The 100 greatest minds of all time, Sydney: The Book Company, (1996) Dunnington, G. Waldo, Carl Friedrich Gauss: Titan of Science, The Mathematical Association of America; (June 2003) == ดูเพิ่ม == นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ เส้นเวลาของคณิตศาสตร์ เกาส์ (หน่วยวัดความเข้มแม่เหล็ก) == แหล่งข้อมูลอื่น == MacTutor ประวัติของเกาส์ Carl Frederick Gauss, เว็บไซต์ที่ทำโดยหลานของหลานของหลานของหลานของเกาส์ ซึ่งรวบรวมจดหมายที่เขาเขียนถึงบุตรชายชื่อยูจีน และต้นไม้ตระกูลของเกาส์ Gauss and His Children, เว็บไซต์สำหรับนักวิจัยเกี่ยวกับเกาส์และลูกหลานของเกาส์ Gauss , แหล่งรวมข้อมูลทั่วไป สามารถส่งเว็บไซต์ของคุณที่เกี่ยวกับเกาส์ไปที่นี่ได้ MNRAS 16 (1856) 80 นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน ผู้ได้รับพัวร์เลอเมรีท (ชั้นพลเรือน) ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเฮ็ล์มชตัท บุคคลจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน บุคคลจากรัฐนีเดอร์ซัคเซิน
thaiwikipedia
809
สปอยเลอร์
สปอยเลอร์ สามารถหมายถึง สปอยเลอร์ หนังสือหรือเอกสารที่มีการอธิบายเนื้อหาหรือฉากจบ ของภาพยนตร์ หนังสือนิยาย หรือการ์ตูน สปอยเลอร์ อุปกรณ์ในเครื่องบินสำหรับช่วยลดแรงยกของเครื่องบิน สปอยเลอร์ อุปกรณ์สำหรับรถยนต์ที่ช่วยลดแรงยก และช่วยเพิ่มให้รถยนต์เกาะถนนมากขึ้น
thaiwikipedia
810
เกาส์
เกาส์ (gauss, ย่อว่า G) เป็นหน่วยซีจีเอสของความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก หรือการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก (B) ตั้งชื่อตาม "คาร์ล ฟรีดริช เกาส์" นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน หนึ่งเกาส์นิยามให้มีค่า 1 แมกซ์เวลล์ต่อตารางเซนติเมตร หลายปีก่อนปี ค.ศ. 1932 หน่วยเกาส์ใช้กับความเข้มของสนามแม่เหล็ก ซึ่งปัจจุบันแทนด้วยหน่วยเอิร์สเตด การเปลี่ยนแปลงนี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างการเหนี่ยวนำแม่เหล็กกับความเข้มแม่เหล็ก หน่วยเอสไอของความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก คือ เทสลา 1 เกาส์ = 10-4 เทสลา 1 T = 10,000 G หน่วยซีจีเอส หน่วยความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก
thaiwikipedia
811
ทะเลจีนใต้
ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวักของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล == ชื่อ == ในจีนเรียกทะเลนี้ว่า ทะเลใต้ ในเวียดนามเรียกทะเลนี้ว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี่ยนโดง) ในฟิลิปปินส์เรียกทะเลนี้ว่า ทะเลฟิลิปปินตะวันตก (West Philippine Sea) / ทะเลลูซอน (Luzon Sea) ในอินโดนีเซียเรียกทะเลนี้ว่า ทะเลนาทูนาเหนือ (North Natuna Sea) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยเรียกทะเลนี้ว่า ทะเลจามปา (Champa Sea) ในญี่ปุ่นเรียกทะเลนี้ว่า มินามิ ชินะ ไค (南シナ海 Minami Shina Kai, ทะเลจีนใต้) == ดูเพิ่ม == ข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ == อ้างอิง == จีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก แหล่งน้ำในประเทศมาเลเซีย จ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร
thaiwikipedia
812
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented programming, OOP) คือหนึ่งในรูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับ วัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประกอบกันและนำมาทำงานรวมกันได้ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อนำมาประมวลผลและส่งข่าวสารที่ได้ไปให้ วัตถุ อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทำงานต่อไป แนวคิดการเขียนโปรแกรมแบบดังเดิมมักนิยมใช้ ในการสร้างเว็บไซต์ต่างๆ == เปรียบเทียบแนวคิดระหว่างการเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ และเชิงวัตถุ == ตัวอย่างตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ === วิธีการคิดแบบการเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ === เมื่อมีการหยอดเหรียญเข้าตู้ ตรวจสอบจำนวนน้ำกระป๋องที่มีอยู่ในตู้ รับผลการเลือกชนิดน้ำ ส่งน้ำที่เลือกออกมาจากช่อง จัดเก็บเงินเข้าระบบ หากมีเงินทอน ให้ทอนเงินที่เหลือ ที่ช่องรับเงินทอน ===วิธีการคิดแบบการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ=== ตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ ประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆได้แก่ หน่วยตรวจสอบและจัดการเรื่องเงิน หน่วยจัดการเครื่องดื่ม หน่วยแสดงผลและรอรับคำสั่ง - หน่วยตรวจสอบและจัดการเรื่องเงิน มีข้อมูลเกี่ยวกับเงินที่ได้รับ และเงินที่มีอยู่ในระบบ สามารถรับและตรวจสอบเงินที่หยอดเข้ามาได้ และทอนเงินได้ - หน่วยจัดการเครื่องดื่ม มีข้อมูลชนิดของเครื่องดื่ม จำนวนเครื่องดื่ม สามารถจัดเตรียมชนิดเครื่องดื่มที่พอกับเงินที่หยอด และสามารถจ่ายเครื่องดื่มออกมาจากตู้ได้ - หน่วยแสดงผลและรอรับคำสั่ง มีหน้าที่รอรับคำสั่ง และแสดงผลเงินที่หยอดเข้ามา หมายเหตุ ตัวอย่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างโดยสังเขป == แนวทางการออกแบบและแก้ปัญหา == ความท้าทายในการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุมีหลายด้าน โดยแนวทางดังต่อไปนี้ เป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการใช้เพื่อแก้ไขปัญหา === ดีไซน์แพตเทิร์น - แบบแผนและแนวทางการออกแบบ ดีไซน์ === ในการออกแบบและการพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุ ได้มีการรวบรวมบันทึกวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้ได้ผลสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เสมอๆ วิธีการแก้ไขเหล่านี้สามารถนำมาใช้ได้บ่อยๆ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย บันทึกรวบรวมนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ดีไซน์แพตเทิร์น (Design Patterns) Design Patterns ซึ่งเป็นหนังสือที่ออกจัดจำหน่ายเมื่อปี 2538 โดยผู้แต่งร่วม 4 คนได้แก่ Erich Gamma, Richard Helm, Ralph Johnson และ John Vlissides หรือที่รู้จักในนามของ GoF (Gang of four) ถือว่าเป็น แบบแผนและแนวทางการออกแบบ ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในการนำมาประยุกต์ใช้งานจริง === การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุและฐานข้อมูล === การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุและระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management Systems) ได้ถูกใช้งานร่วมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่เนื่องจากฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ไม่สามารถเก็บข้อมูลเชิงวัตถุได้โดยตรง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเทคโนโลยีทั้งสองเข้าด้วยกัน การแก้ปัญหาสองแบบที่ได้รับความนิยมแพร่หลายคือการใช้ตัวส่งระหว่างโมเดลเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์ (Object-Relational Mapping: ORM) อีกวิธีการคือการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงวัตถุ ( database Management Systems) แทนที่ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ แต่วิธีการนี้ก็ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก === โปรแกรมเชิงวัตถุและการเทียบเคียงกับโลกของความเป็นจริง === การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุสามารถนำมาใช้จำลองการทำงานตามโลกของความเป็นจริงได้ แต่ไม่ได้เป็นที่นิยมนักเนื่องจากมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยและมองว่าไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง ปัจจุบันวิธีการมาตรฐานที่ใช้ในการเทียบเคียงกับโลกของความเป็นจริง ตามแนวทางของคณิตศาสตร์คือ Circle-ellipse problem ซึ่งก็ถูกต้องบางส่วน แต่แนวคิดการสร้างยังคงต้องให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของพื้นฐานธรรมชาติที่เป็นไปได้ผนวกกับคณิตศาสตร์ด้วย เพื่อให้เกิดสมดุล == ตัวอย่างภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ == Ada 95 C# C++ Common Lisp Object System Delphi++ Eiffel Fortran 2003 JADE Java Javascript Modula-3 Nice Oberon Objective-C Objective Modula-2 OCaml Object Pascal Perl PHP Python REALbasic Ruby Simula Sleep Smalltalk Specman SystemVerilog UnrealScript Visual Basic Visual Basic.NET Visual C#.NET Visual FoxPro == แหล่งข้อมูลอื่น == การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยภาษา C# การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ แบบอย่างการเขียนโปรแกรม
thaiwikipedia
813
ภาษาระดับต่ำ
ภาษาระดับต่ำ (low-level programming language) ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาที่อิงกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ใดสถาปัตยกรรมหนึ่ง ซึ่งไมโครโพรเซสเซอร์แต่ละรุ่น หรือ แต่ละตระกูล ก็มักมีภาษาระดับต่ำที่แตกต่างกัน และโดยปกติแล้ว หนึ่งคำสั่งในภาษาระดับต่ำ จะหมายถึงการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานหนึ่งอย่าง (1 instruction = 1 operation) ภาษาระดับต่ำ มี 2 ภาษา คือ ภาษาเครื่อง เป็น ภาษาโปรแกรมรุ่นที่หนึ่ง (first-generation programming language: 1GL) ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถเข้าใจ คำสั่งเป็นตัวเลขล้วนๆ การอ่านและเขียนอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ จึงไม่ค่อยมีการใช้ภาษาเครื่องโดยตรง ภาษาแอสเซมบลี เป็น ภาษาโปรแกรมรุ่นที่สอง (second-generation programming language: 2GL) ซึ่งเป็นการปรับภาษาเครื่องให้สามารถเขียนได้สะดวกขึ้นโดยการพิมพ์คำสั่งที่เป็นตัวอักษรแทนตัวเลข เวลาเขียนเสร็จ จะต้องใช้ตัวแปลโปรแกรมจึงจะใช้งานได้ และถึงแม้ว่าไม่ใช้ภาษาเครื่องโดยตรง ผู้เขียนโปรแกรมยังจำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของไมโครโพรเซสเซอร์ที่กำลังเขียนเป็นอย่างดี == ดูเพิ่ม == ภาษาโปรแกรม การเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
814
ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง
ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง หรือ ระบบปฏิบัติการแบบทันที (Real-time operating system: RTOS) คือระบบปฏิบัติการที่เวลาเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับประสิทธิภาพของระบบ นั่นคือมีชุดคำสั่งหรือโปรเซสบางอย่าง ที่จำเป็นต้องทำ ณ เวลาที่กำหนด หรือทำให้เสร็จในเวลาที่กำหนด ถ้าทำไม่ได้อาจสร้างความเสียหายหรือเกิดค่าความเสียหาย (cost) กับระบบ โดยทั่วไปสำหรับระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง การทำงานไม่ทันในเวลาที่กำหนด มีค่าเทียบเคียงได้กับ การไม่ได้ทำงานนั้นเลย ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริงมักถูกออกแบบมาเพื่อแอปพลิเคชันแบบฝังตัวหรือแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมากับระบบตั้งแต่แรกเพื่อทำงานเฉพาะด้าน เช่น ระบบปฏิบัติการของเครื่องเล่นซีดี ทันทีที่ระบบปฏิบัติการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีแล้ว จะต้องประมวลผลข้อมูล และส่งสัญญาณเสียงออกไปให้ผู้ฟังทันที ถ้าระบบปฏิบัติการทำงานไม่ทันก็จะทำให้เพลงฟังไม่รู้เรื่อง ระบบปฏิบัติการบางตัวไม่ได้ถูกออกแบบมาตั้งแต่ต้นให้เป็นระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง แต่ก็สามารถถูกดัดแปลงให้เป็นได้ เช่นหลายบริษัทพัฒนาและขายลินุกซ์ที่ถูกดัดแปลงเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการแบบเวลาจริง และเมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 บริษัท มอนตาวิสตา (Montavista) ได้ส่งแพตช์ (patch) ไปยัง Linux kernel mailing list เพื่อทำให้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง == คุณลักษณะที่สำคัญของระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง == ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริงมีจุดที่ต้องระวังในการออกแบบเป็นพิเศษอยู่ 2 จุดก็คือ การจัดลำดับแบบเวลาจริง (real-time scheduling) การจัดสรรหน่วยความจำ (memory allocation) === การจัดลำดับแบบเวลาจริง === โดยโปรแกรมจัดลำดับ (scheduler) จะต้องมีความสามารถในการจัดลำดับการทำงาน ให้ทุกโปรเซสสามารถทำงานได้ทันตามที่ต้องการ โดยในปี ค.ศ. 1973 2 นักวิจัยคือ ลิวและเลย์แลนด์ ได้พิสูจน์ทฤษฎีบทบางอย่างเกี่ยวกับการจัดเวลาว่า กลุ่มโปรเซสลักษณะแบบใด จะสามารถจัดเวลาได้ทัน หรือในกรณีที่ไม่สามารถจัดเวลาได้ทันสำหรับทุกโปรเซส ลิวและเลย์แลนด์ก็ยังได้เสนอขั้นตอนวิธีการจัดลำดับ ที่จัดเวลาให้มีค่าความเสียหายน้อยที่สุด โดยปกติแล้วระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบเพื่อใช้กับงานทั่วไป (general-purpose OS) ไม่เหมาะที่จะจัดลำดับโปรเซสแบบเวลาจริง เนื่องจากจะมี ค่าใช้จ่ายส่วนเกินหรือค่าใช้จ่ายอื่น (overhead) ในการทำกระบวนการสับเปลี่ยนโปรเซส (context-switching) สูง === การจัดสรรหน่วยความจำ === อีกปัญหาหนึ่งคือการจัดสรรหน่วยความจำ ซึ่งระบบปฏิบัติการ จำเป็นที่จะต้องจองหน่วยความจำ ขนาดที่โปรเซส หรือโปรแกรมต้องการ ให้ทันภายในช่วงเวลาสั้นๆ ที่โปรเซสทำงานอยู่ โดยขั้นตอนวิธีปกติ จะใช้ไล่หาตามรายการโยงของหน่วยความจำที่ว่าง ซึ่งอาจจะมีประสิทธิภาพในแง่เวลาต่ำ นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่อง การแตกกระจายของหน่วยความจำ (memory fragmentation) เนื่องจากการจัดสรรเนื้อที่หน่วยความจำในทันทีเ ป็นเรื่องยากที่จะจัดสรรให้มีระเบียบ ปัญหานี้ไม่เป็นปัญหาใหญ่นัก สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทั่วไป เพราะว่ามีการเปิด-ปิดอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามสำหรับระบบฝังตัว ที่ทำงานอยู่ตลอดปี โดยไม่ได้เปิด-ปิดเลย ปัญหานี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ == ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง == BeOS ChorusOS eCos FreeRTOS ITRON LynxOS MicroC/OS-II NOS Nucleus Nut/OS OS-9 OSE OSEK/VDX OSEKtime pSOS QNX RMX RSX-11 RT-11 RTOS-UH VRTX VxWorks Windows CE RTLinux RTAI == ดูเพิ่ม == ระบบปฏิบัติการ การจัดลำดับแบบเวลาจริง การจัดสรรหน่วยความจำ == อ้างอิง == A. Tanenbaum and A. Woodhull. Operating Systems: Design and Implementation. Prentice Hall, 1997. ระบบปฏิบัติการฝังตัว ระบบฝังตัว ระบบปฏิบัติการ เทคโนโลยีระบบปฏิบัติการ
thaiwikipedia
815
มัคส์ เวเบอร์
คาร์ล เอมีล มัคซีมีลีอาน "มัคส์" เวเบอร์ (Karl Emil Maximilian "Max" Weber; 21 เมษายน ค.ศ. 1864 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 1920) เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ถือกันว่าเวเบอร์เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และรัฐประศาสนศาสตร์ งานชิ้นหลัก ๆ ของเขาเกี่ยวข้องกับสังคมวิทยาศาสนาและสังคมวิทยาการปกครอง นอกจากนี้เขายังมีงานเขียนอีกหลายชิ้นในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ งานที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดของเวเบอร์คือ ความเรียงเรื่อง จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม ซึ่งเป็นงานชิ้นแรกของเขาในสาขาสังคมวิทยาศาสนา ในงานชิ้นดังกล่าว เวเบอร์เสนอว่าศาสนาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่นำไปสู่เส้นทางการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่ต่างกันระหว่างโลกประจิม (the Occident) กับโลกบูรพา (the Orient) ในงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขาที่ชื่อ การเมืองในฐานะวิชาชีพ (Politik als Beruf) เวเบอร์นิยามรัฐว่ารัฐคือหน่วยองค์ (entity) ซึ่งผูกขาดการใช้กำลังทางกายภาพที่ถูกกฎหมาย ซึ่งนิยามนี้ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ในเวลาต่อมา == ประวัติ == เวเบอร์เกิดที่แอร์ฟวร์ท ราชอาณาจักรปรัสเซีย เขาเป็นลูกชายคนโตในครอบครัวที่มีบุตรเจ็ดคนของมัคส์ เวเบอร์ (ผู้พ่อ) นักการเมืองและข้าราชการท้องถิ่นคนสำคัญ และเฮ็ลเลเนอ ฟัลเลินชไตน์ น้องชายของเขาอัลเฟรท เวเบอร์ ก็เป็นนักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์เช่นเดียวกัน การที่พ่อของเขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะมากมาย ทำให้เวเบอร์เติบโตขึ้นในครอบครัวที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของการเมือง นอกจากนี้ครอบครัวของเขาเองยังได้ต้อนรับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงและบุคคลสาธารณะมากมาย เวเบอร์เองก็ยังได้แสดงความโดดเด่นและสนใจในด้านวิชาการ ของขวัญวันคริสต์มาสที่เขามอบให้กับผู้ปกครอง เมื่อเขายังมีอายุ 13 ปี คือ ความเรียงแนวประวัติศาสตร์ชื่อว่า "ทิศทางของประวัติศาสตร์เยอรมัน พร้อมกับการอ้างอิงพิเศษถึงจุดยืนของจักรพรรติและสันตะปาปา" และ "อาณาจักรโรมัน ตั้งแต่ช่วงของคอนสแตนตินที่หนึ่ง จนถึงช่วงของการอพยพของประเทศ" ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเวเบอร์จะเข้าศึกษาในด้านสังคมวิทยา เมื่ออายุได้สิบสี่ปี เขาเขียนจดหมายที่อ้างอิงถึงโฮเมอร์, เวอร์จิล, กิแกโร และลิวี นอกจากนี้เขายังมีความรู้เกี่ยวกับเกอเทอ, บารุค สปิโนซา, อิมมานูเอิล คานท์ และอาร์ทัวร์ โชเพินเฮาเออร์ ก่อนที่เขาจะเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 1882 เขาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์คในสาขากฎหมาย เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มดวลมีด และเรียนในสาขากฎหมายเช่นเดียวกับพ่อของเขา นอกจากการเรียนในด้านกฎหมายแล้ว เวเบอร์ยังได้เข้าฟังการบรรยายในวิชาเศรษฐศาสตร์ และศึกษาประวัติศาสตร์ยุคกลาง เขายังได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนวิทยาเป็นจำนวนมาก เขายังได้เข้ารับราชการเป็นทหารเป็นระยะ ๆ ที่สทราซบูร์ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1884 เวเบอร์ย้ายกลับบ้านและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ตลอดช่วงเวลา 8 ปีหลังจากนั้น ยกเว้นแค่ในบางช่วง เวเบอร์ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา ตั้งแต่ดำรงฐานะเป็นนักเรียน เป็นทนายในศาล และเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1886 เวเบอร์ได้สอบเนติบัญญัติผ่าน ในช่วงท้ายคริสต์ทศวรรษ 1880 เวเบอร์ยังคงหมั่นศึกษาด้านประวัติศาสตร์ และได้รับปริญญาเอกในสาขากฎหมายในปี ค.ศ. 1889 ด้วยวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของระบบยุติธรรมชื่อว่า ประวัติศาสตร์องค์กรธุรกิจยุคกลาง สองปีถัดจากนั้นเขาได้เขียนผลงาน ประวัติศาสตร์การเกษตรแบบโรมันและความสำคัญต่อกฎหมายบุคคลและกฎหมายมหาชน ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ระดับสูงกว่าปริญญาเอก ที่จำเป็นสำหรับการเข้าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ในระหว่างที่เขาทำผลงานวิทยานิพนธ์ระดับสูงกว่าปริญญาเอก เขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับนโยบายทางสังคม ในปี ค.ศ. 1888 เขาได้เข้าร่วมกลุ่ม Verein für Socialpolitik ซึ่งเป็นกลุ่มของนักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันผู้อยู่ในสายประวัติศาสตร์ ที่เชื่อว่าหน้าที่ของเศรษฐศาสตร์คือการแก้ปัญหาทางสังคมต่าง ๆ ของยุคสมัย และได้ริเริ่มการศึกษาทางสถิติของปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ในระดับมหภาค. ในปี ค.ศ. 1890 กลุ่มดังกล่าวได้เริ่มโครงการวิจัยเพื่อศึกษา "ปัญหาชาวโปแลนด์" ซึ่งหมายถึงปัญหาของการทะลักล้นเข้ามาของคนงานในสวนจากต่างประเทศ เมื่อคนงานภายในประเทศต่างย้ายเข้ามาในเมืองในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เวเบอร์ได้รับดูแลโครงการนี้ และเป็นผู้เขียนหลักของรายงานผลที่ได้ รายงานดังกล่าวได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของการทำวิจัยเชิงประจักษ์ และยืนยันตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเกษตรของเวเบอร์ ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 จัดว่าเป็นช่วงที่เวเบอร์ประสบผลสำเร็จในอาชีพการงาน ในปี ค.ศ. 1893 เขาแต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องห่าง ๆ มารีอันเนอ ชนิทเกอร์ ผู้ที่เป็นปัญญาชนและนักนิยมสิทธิสตรีที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้วในฐานะที่เป็นนักเขียน ปีถัดมาเขาเข้ารับตำแหน่งในช่วงสั้น ๆ เป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค จากนั้นก็ย้ายไปรับตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค ในปี ค.ศ. 1896 แต่เนื่องจากอาการป่วย เขาจำต้องลดและถึงขั้นต้องหยุดงานวิชาการลงในปีถัดมา และต้องรักษาตัวอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1901 อาการป่วยดังกล่าวเชื่อกันว่าเป็นอาการเจ็บป่วยจิตใจ เนื่องมาจากการเสียชีวิตของบิดาซึ่งเขาเพิ่งจะได้มีปากเสียงก่อนหน้านั้น และยังไม่ทันได้มีโอกาสจะพูดคุยปรับความเข้าใจ ในปี ค.ศ. 1903 เขาได้รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการของวารสารวิชาการ Archives for Social Science and Social Welfare อย่างไรก็ตามเขารู้สึกว่ายังไม่พร้อมที่จะกลับไปสอนอีกครั้ง และคงทำงานเป็นเพียงนักวิชาการอิสระโดยใช้ทุนจากมรดกที่ได้รับมา ในปี ค.ศ. 1904 เขาได้เดินทางไปที่สหรัฐ และเข้าร่วมการประชุมใหญ่ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่จัดขึ้นร่วมกับงานแสดงสินค้านานาชาติที่เซนต์หลุยส์ ในปี ค.ศ. 1905 เขาได้ตีพิมพ์ความเรียง จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม งานชิ้นนี้กลายเป็นงานที่โด่งดังที่สุดของเขา และเป็นงานที่วางรากฐานให้กับงานวิจัยถัด ๆ ไปของเขาที่เกี่ยวข้องกับผลของวัฒนธรรมและศาสนากับพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เวเบอร์รับทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลของทหารที่ไฮเดิลแบร์ค ในปี ค.ศ. 1918 เวเบอร์เป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการสงบศึกของฝ่ายเยอรมันในการทำสนธิสัญญาแวร์ซาย และเป็นคณะกรรมการที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เวเบอร์เองไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติเยอรมันเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงพยายามให้มีการเพิ่มมาตราที่ 48 ซึ่งในเวลาถัดมาอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ใช้มาตรานี้ในการประกาศกฎอัยการศึกและเข้ายึดอำนาจได้ในที่สุด จากปี ค.ศ. 1918 เวเบอร์ได้กลับมาสอน เริ่มที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 ที่มหาวิทยาลัยมิวนิก ที่มิวนิกนี่เองที่เขาได้เป็นหัวหน้าสถาบันด้านสังคมวิทยาแห่งแรกในมหาวิทยาลัยเยอรมัน อย่างไรก็ตามเขาไม่เคยได้รับตำแหน่งด้านสังคมวิทยาโดยตรงเลย เวเบอร์เสียชีวิตจากโรคปอดบวมที่มิวนิกเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1920 งานหลายชิ้นของเขาได้ถูกรวบรวม เรียบเรียง และจัดพิมพ์หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตแล้ว ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการตีความผลงานของเวเบอร์นั้นรวมไปถึงนักสังคมวิทยาที่มีชื่อเสียง เช่น ทาลคอตต์ พาร์สันส์, ซี. ไรต์ มิลส์ == ผลงาน == มัคส์ เวเบอร์ ได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในบิดาของสังคมวิทยา เคียงคู่ไปกับคาร์ล มากซ์, เอมีล ดูร์กายม์ และวิลเฟรโด ปาเรโต อย่างไรก็ตามในขณะที่ปาเรโตและดูร์กายม์ใช้แนวทางปฏิฐานนิยมตามโอกุสต์ กงต์ เวเบอร์ได้ใช้วิธีการศึกษาสังคมวิทยาในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ในรูปแบบที่อยู่ในแนวต่อต้านปฏิฐานนิยม (antipositivism) แนวจิตนิยม (idealism) และแนวอรรถปริวรรตศาสตร์ (hermeneutics) ซึ่งทิศทางนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับของแวร์เนอร์ ซ็อมบาร์ท ผู้เป็นเพื่อนของเขาและเป็นผู้ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดเมื่อกล่าวถึงสังคมวิทยาแนวเยอรมัน งานในสมัยแรกของเวเบอร์เกี่ยวข้องกับสังคมวิทยาของสังคมอุตสาหกรรมแต่เขามีชื่อเสียงในงานถัด ๆ ไป ที่เกี่ยวกับสังคมวิทยาศาสนาและสังคมวิทยาการปกครอง ประเด็นหลักของการศึกษาค้นคว้าของเวเบอร์ก็คือคำถามที่ว่า "อะไรคือลักษณะเฉพาะที่ทำให้สังคมตะวันตกแตกต่างจากที่อื่น?" ความแตกต่างที่สำคัญที่เขาสนใจเช่น การเกิดขึ้นของระบบทุนนิยม หรือความแตกต่างในการจัดระดับชนชั้นภายในสังคม ในขณะที่คาร์ล มากซ์ วิเคราะห์โดยเริ่มจาก ฐาน หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แต่เวเบอร์มุ่งประเด็นไปที่ โครงสร้างส่วนบน ซึ่งเกี่ยวกับอุดมการณ์และความเชื่อ ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสังคม เวเบอร์พยายามหาจุดเปลี่ยนของความเชื่อพื้นฐานและ "ปัจจัย" ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ปัจจัยดังกล่าวอาจไม่เหลือร่องรอยใด ๆ หรืออาจดูไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิงกับความเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะว่าหน้าที่ของมันมีเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคนกลุ่มใหญ่เท่านั้น หลังจากที่ความเชื่อพื้นฐานได้เปลี่ยนไปแล้ว ทุกอย่างจะถูกทำให้ดูสมเหตุสมผลอย่างสมบูรณ์ในตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงกับปัจจัยหรือสาเหตุเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงนั้นอีกต่อไป === สังคมวิทยาศาสนา === งานชิ้นแรกของเวเบอร์เกี่ยวกับสังคมวิทยาศาสนาคือความเรียงชื่อ จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม ต่อด้วยงานวิเคราะห์ ลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า, สังคมวิทยาของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ และ ศาสนายูดาห์โบราณ งานเกี่ยวกับศาสนาอื่น ๆ ต้องชะงักลงเนื่องจากเวเบอร์ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี ค.ศ. 1920 ซึ่งทำให้แผนที่จะวิเคราะห์ศาสนาอื่น ๆ ต่อเนื่องจากศาสนายูดาห์โบราณ (รวมถึงศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม) ต้องหยุดลง เรื่องหลัก ๆ ที่เวเบอร์สนใจก็คือผลกระทบของแนวคิดทางศาสนาต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งระดับชั้นทางสังคมกับแนวคิดทางศาสนา และลักษณะเฉพาะบางอย่างของอารยธรรมตะวันตก เป้าหมายของเวเบอร์ก็คือการหาเหตุผลของความแตกต่างในเส้นทางการพัฒนาระหว่างโลกประจิมและโลกบูรพา เขาวิเคราะห์ว่าแนวคิดจากศาสนาคริสต์นิกายพิวริตันมีผลอย่างมาก กับทิศทางการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปและสหรัฐ และเขาได้พบอีกว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ผลต่อการพัฒนานี้ ปัจจัยที่สำคัญที่เวเบอร์กล่าวถึงมีตัวอย่างเช่น แนวคิดแบบเหตุผลนิยมจากการศึกษาวิทยาศาสตร์ ที่นำผลการสังเกตมารวมกันกับคณิตศาสตร์, การพัฒนาของแนวคิดแบบวิชาการและการเกิดขึ้นของระบบการยุติธรรม, การทำให้การบริหารการปกครองเป็นระบบที่มีเหตุผล และการเกิดขึ้นของบรรษัทขนาดใหญ่ โดยสรุปก็คือการศึกษาสังคมวิทยาศาสนาของเวเบอร์นั้น เป็นแค่การศึกษาเข้าไปในช่วงเวลาช่วงหนึ่งของการปลดปล่อยสังคมจากยุคเวทมนตร์ หรือที่เวเบอร์เรียกว่าขั้นตอน "การถอดปีกเทพนิยายออกจากโลก" (disenchantment of the world) ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นช่วงเวลาที่เป็นจุดแตกต่างเฉพาะของวัฒนธรรมตะวันตก ==== จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม ==== ความเรียงเรื่อง จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม นั้น นับว่าเป็นงานที่โด่งดังที่สุดของเวเบอร์ อย่างไรก็ตาม มีผู้กล่าวว่างานชิ้นนี้ไม่ควรจะถูกพิจารณาว่าเป็นการศึกษานิกายโปรเตสแตนต์ หากแต่เป็นบทนำให้กับงานชิ้นถัด ๆ มาของเวเบอร์ โดยเฉพาะในเรื่องที่เขาศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างแนวคิดของศาสนาต่าง ๆ กับพฤติกรรมทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในความเรียงนี้ เวเบอร์ยกประเด็นที่ว่าจริยธรรมและแนวคิดของนิกายพิวริตัน (ที่จัดว่าเป็นนิกายโปรเตสแตนต์แขนงหนึ่ง) มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของระบบทุนนิยม โดยทั่วไปแล้ว การอุทิศตนให้กับศาสนามักทำให้เกิดการละเลิกในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทางโลก ซึ่งรวมถึงการดิ้นรนทางเศรษฐกิจ ปัญหาก็คือทำไมลักษณะเช่นนี้จึงไม่เกิดขึ้นในกรณีของนิกายโปรเตสแตนต์? เวเบอร์พิจารณาปัญหาดังกล่าวในความเรียงนี้ เขานิยาม "จิตวิญญาณแห่งทุนนิยม" ว่าเป็นแนวคิดและอุปนิสัยที่เอื้อต่อการมุ่งเป้าหากำไรทางเศรษฐกิจอย่างเหตุผลนิยม เวเบอร์ชี้ให้เห็นว่า ถ้าพิจารณาเป็นรายบุคคลแล้ว การมีจิตวิญญาณดังกล่าวนั้นมิได้จำกัดอยู่เฉพาะในวัฒนธรรมตะวันตก แต่ปัจเจก —ที่เวเบอร์เรียกว่านักเริ่มกิจการ (entrepreneurs) ระดับยอด— ไม่สามารถจะเริ่มระบบระเบียบทางเศรษฐกิจใหม่ (ซึ่งคือระบบทุนนิยม) เพียงคนเดียวได้ ตัวอย่างของอุปนิสัยและแนวโน้มต่าง ๆ ที่เวเบอร์เสนอมาก็เช่น ความต้องการกำไรโดยลงแรงน้อยที่สุด, แนวคิดที่ว่าการทำงานคือคำสาปและความลำบากที่ควรจะต้องหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในกรณีที่งานนั้นหนักหนาเกินกว่าการจะมีชีวิตที่สุขสบาย เวเบอร์เขียนไว้ว่า: "การที่วิถีชีวิตที่ปรับเข้าอย่างดีกับหนทางของทุนนิยมจะกลายเป็นวิถีชีวิตหลักเหนือแนวทางอื่น ๆ ได้นั้น จะมีที่มาจากแนวคิดของปัจเจกใดคนหนึ่งเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ แต่จะต้องเกิดขึ้นมาจากวิถีชีวิตที่เหมือน ๆ กันของคนทุกคนในกลุ่ม" หลังจากที่เขาได้นิยามจิตวิญญาณของทุนนิยมแล้ว เวเบอร์ได้ชี้ให้เห็นว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้ควรศึกษาต้นตอของจิตวิญญาณนี้ จากแนวคิดทางศาสนาของกลุ่มปฏิรูปของนิกายโปรเตสแตนต์ ผู้สังเกตการณ์หลายคนเช่น วิลเลียม เพตตี, มงแต็สกีเยอ, เฮนรี โทมัส บักเคิล, จอห์น คีตส์ และอีกหลาย ๆ คน ได้ให้ความเห็นในลักษณะเดียวกันนี้ เวเบอร์ได้แสดงว่าแนวคิดของบางกลุ่มผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ทำให้การแสวงหาผลกำไรและสะสมทุนนั้น มีความเกี่ยวข้องในด้านบวกกับความเชื่อด้านจิตวิญญาณและศีลธรรม อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจนี้ไม่ใช่เป้าหมายโดยตรงความเชื่อนั้น แต่จัดว่าเป็นแค่ผลพลอยได้ ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับการวางแผนและการปฏิเสธตนเองในการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ เวเบอร์กล่าวว่าเขาหยุดการค้นคว้าเกี่ยวกับนิกายโปรเตสแตนต์เนื่องจากเพื่อนร่วมงานของเขา แอ็นสท์ เทริลทช์ นักศาสนวิทยา ได้เริ่มงานของหนังสือ คำสอนด้านสังคมของโบสถ์คริสต์และสาขาย่อย อีกสาเหตุหนึ่งก็คือบทความนี้ได้เปิดแนวทางคร่าว ๆ ให้กับเขา ในการศึกษาเปรียบเทียบศาสนากับสังคมอื่น ๆ ซึ่งเวเบอร์ได้กระทำในงานชิ้นถัด ๆ ไป === สังคมวิทยาการเมืองและการปกครอง === ในสังคมวิทยาการเมืองและการปกครอง ความเรียงที่มีบทบาทที่สุดของเวเบอร์น่าจะเป็น การเมืองในฐานะที่เป็นอาชีวะ ในความเรียงนี้ เวเบอร์ได้นิยามความหมายของรัฐที่กลายเป็นศูนย์กลางของการศึกษาต่อมาในกระแสความคิดตะวันตก กล่าวคือ รัฐคือหน่วยองค์ที่ผูกขาดการใช้กำลังทางกายภาพที่ถูกกฎหมาย ซึ่งรัฐสามารถเลือกที่จะแบ่งปันอำนาจนี้ไปอย่างใดก็ได้ กิจกรรมทางการเมืองจึงสามารถมองได้ว่าเป็นกิจกรรมที่รัฐเข้าไปมีบทบาทบางอย่าง เพื่อส่งผลให้เกิดการจัดสรรกำลังนี้ การเมืองจึงเป็นเรื่องของอำนาจ นักการเมืองจะต้องไม่เป็นคนที่ถือ "จริยธรรมชาวคริสต์อย่างแท้จริง" ซึ่งในความหมายของเวเบอร์นั้นคือผู้ที่ยึดตามคำสอนอย่างเคร่งครัด ถึงขนาดที่ยอมยื่นแก้มอีกข้างให้คนอื่นทำร้าย ผู้ที่ทำได้ดั่งว่า เวเบอร์จัดว่าเป็นนักบุญ ดังนั้นโลกการเมืองจึงไม่ใช่โลกของนักบุญ นักการเมืองจะต้องร่วมหัวจมท้ายกับจริยธรรมของเป้าหมายสุดท้ายและจริยธรรมของความรับผิดชอบ และจะต้องมีทั้งความรักในอาชีพพิเศษของตน พร้อมด้วยความสามารถที่จะทิ้งช่วงห่างระหว่างตนเองกับผู้ที่ถูกปกครอง == อ้างอิง == งานของเวเบอร์มักได้รับการอ้างถึงจาก Gesamtausgabe (ฉบับรวมผลงาน), ที่พิมพ์โดยมอร์ ซีเบ็ค ในทือบิงเงิน ประเทศเยอรมนี เบ็นดิคส์, ไรน์ฮาร์ท (1960). Max Weber: An Intellectual Portrait. Doubleday. เค็สเลอร์, เดียร์ค (1989). Max Weber: An Introduction to His Life and Work. University of Chicago Press. เวเบอร์, มารีอันเนอ (1929/1988). Max Weber: A Biography. New Brunswick: Transaction Books. Richard Swedberg, "Max Weber as an Economist and as a Sociologist" , American Journal of Economics and Sociology ลิวอิส เอ. โคเซอร์. นักปราชญ์ระดับโลก แปลโดย กาญจพรรษ (อังกาบ) กอศรีพร, วารุณี ภูริสินสิทธ์, นฤจร อิทธิจีระจรัส, และ จามะรี พิทักษ์วงศ์ ISBN 974-92043-8-7 == แหล่งข้อมูลอื่น == มรดกจากแม็กซ์ เวเบอร์, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2407 วิวัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรม นักเขียนชาวเยอรมัน นักปรัชญาชาวเยอรมัน นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน นักสังคมวิทยา เสียชีวิตจากโรคปอดบวม เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สเปน บุคคลจากรัฐทือริงเงิน ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค บุคคลจากมหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค บุคคลจากมหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค บุคคลจากมหาวิทยาลัยเวียนนา บุคคลจากมหาวิทยาลัยลูทวิช-มัคซีมีลีอานแห่งมิวนิก
thaiwikipedia
816
การถ่ายภาพ
การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟทอก' กระฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน. เมื่อรวมกันแล้ว จึงมีความหมายตรงตัวว่า การวาดภาพด้วยแสง นั่นเอง == ประวัติการถ่ายภาพ == พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) - นีเซฟอร์ เนียปส์ (Nicéphore Niépce) ถ่ายภาพเป็นครั้งแรก โดยใช้ยางมะตอยจูเดีย (bitumen of Judea) พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) - ลุย ฌัก ม็องเด ดาแกร์ (Jacques Daguerre) ซึ่งเคยทำงานกับนีปซ์ ประดิษฐ์วิธีการถ่ายภาพใหม่ คือ ดาแกโรไทป์ (Daguerreotype) โดยใช้โลหะเงินบนแผ่นทองแดงในการถ่ายภาพ ซึ่งดารแกร์พบว่า เมื่อนำเงินมาอังด้วยไอของไอโอดีนก่อนใช้ถ่ายภาพ แล้วนำไปอังด้วยไอปรอท จะได้ภาพออกมา พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต (William Fox Talbot) ประดิษฐ์คาโลไทป์ (Calotype) โดยการชุบกระดาษด้วยซิลเวอร์คลอไรด์ เพื่อทำภาพเนกาทิฟ แล้วนำมาใช้ทำพอซิทิฟได้ เป็นวิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) - เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) ถ่ายภาพสีเป็นครั้งแรก == ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) == ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) ศาสตราจารย์ พูน เกษจำรัส จิตต์ จงมั่นคง ไพบูลย์ มุสิกโปดก ยรรยง โอฬาระชิน วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร == ศัพท์และบุคคลสำคัญในวงการถ่ายภาพ == นีเซฟอร์ เนียปส์ (Joseph-Nicephore Niepce) กล้องทาบเงา (Camera Obscura) กระบวนการดาแกโรไทป์ (Daguerreotype Process) วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต (William Henry Fox Talbot) กระบวนการเพลทเปียก (wet-collodion process) แม็ทธิว เบรดี (Mathew Brady) เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ (F. Scott Archer) เอดเวิร์ด ไมบริดจ์ (Eadweard Muybridge) จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) จูเลีย มาร์กาเร็ต คาเมรอน (Julia Margaret Cameron) โยฮัน ไฮน์ริช ชุลท์เซอ (Johann Heinrich Schulze) ราโยกราฟส์ (rayographs) อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง (Henri Cartier-Bresson) เซอร์ จอห์น เฮอร์เชล (Sir John Herschel) โทมัส เวดจ์วู้ด (Thomas Wedgwood) กระบวนการคาโลไทป์ (Calotype Process) ฮีลีโอกราฟส์ (Heliographs) การ์ตเดอวีซิต ริชาร์ด แมดด็อกซ์ จอร์จ อีสต์แมน == ดูเพิ่ม == เทคนิคการถ่ายภาพ STEREOSCOPIC photography Albumen Process Sir Charles Wheatstone Camera Lucida Impressionism Tintype process Woodburytype process Latent Image Ambrotype process Salted process Combination Printing Dry-Plate Process Anaglyphs Robinson, Henry Peach Nadar Stieglitz, Alfred Rejlander, Oscar Frith, Francis Daguerre, Louis Bayard, Hippolyte Arago, Francois Autochrome process Pictorialism Magnum Robert Capa digital still camera ไลก้า First 35mm still camera Polaroid xerography Pinhole Photography Electronic still camera Gelatin paper Directive Positive Process Diorama Collodion Photogravure Street Photography salts paper print กระบวนการถ่ายภาพ กระบวนการฮีลิโอกราฟฟี่ กระบวนการดาแกโรไทป์ กระบวนการทัลบอทไทป์ กระบวนการกระจกเปียก กระบวนการกระจกแห้ง กระบวนการเพลตแห้ง อื่น ๆ กล้องถ่ายภาพ เลนส์ถ่ายภาพ ฟิล์ม คาเมร่า ออบสคูร่า ศิลปินแห่งชาติ นักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียง จอห์น เฮอร์เชล นิคอน คอร์ปอเรชัน โจฮัน เฮนริช ชูลท์ ออสการ์ กุสตาฟ เรย์ลันเดอร์ โจเซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอล การถ่ายภาพ ทัศนศาสตร์
thaiwikipedia
817
สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes: Thai RDI) เป็นค่าอ้างอิงที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้น เพื่อใช้คำนวณและแสดงในฉลากโภชนาการ โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี โดยมีเกณฑ์ ดังนี้ โปรตีน ตามน้ำหนักตัว กรัม (เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนต่อวันคือ 50 กรัม) ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 กรัม คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม ใยอาหาร 25 กรัม โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม == อ้างอิง == ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ โภชนาการ
thaiwikipedia
818
ประเทศแอลเบเนีย
แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri หรือ Shqipëria, ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับคอซอวอ ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย == ภูมิศาสตร์ == สภาพภูมิศาสตร์เป็นสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติอย่างหนึ่งทำให้แอลเบเนียมีความแตกต่างทางภาษา ความแปลกแยกทางการเมืองกับประเทศอื่นๆในยุโรป เนื่องจากมีแนวภูเขาสูงเป็นปราการฝั่งตะวันออก ความสูงประมาณ 2,000 เมตร ซึ่งทอดยาวต่อเนื่องจากเทือกเขา Dinaric Alps วางตัวเป็นแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ไปยังตะวันออกเฉียงใต้ สูงชันไปตามแนวที่ราบชายฝั่ง โดยทั่วไป หินส่วนใหญ่ เป็นหินปูน ส่วนในภาคกลางมีสินแร่เชิ้อเพลิงเป็นจำนวนมาก เช่น ทองแดง เหล็ก นิกเกิล และโครเมียม == ประวัติศาสตร์ == === ออตโตมันแอลเบเนีย === ในยุครุ่งเรืองของการก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมันนั้น ทางออตโตมันได้จัดตั้งกองทหารรักษาการณ์ทั่วทั้งแอลเบเนียทางตอนใต้ช่วงปี พ.ศ. 1958 (ค.ศ. 1415) และสามารถเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอลเบเนียในช่วงปี พ.ศ. 1974 (ค.ศ. 1431) อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1986 (ค.ศ. 1443) การปฏิวัติครั้งใหญ่ได้ประทุขึ้นภายใต้การนำของวีรบุรุษชาวแอลเบเนียนาม Skanderbeg ซึ่งดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 2022 (ค.ศ. 1479) ซึ่งหลายครั้งก็สามารถเอาชนะกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่าน Murad II และ เมห์เหม็ดที่ 2 Skanderbeg ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นเบื้องต้นกับเจ้านายต่าง ๆ ในแอลเบเนีย ซึ่งในภายหลังได้สถาปนาเป็นศูนย์กลางอำนาจเหนือแผ่นดินที่ยังมิได้ถูกยึดครองของแอลเบเนีย กลายเป็นลอร์ดผู้ปกครองแอลเบเนีย เขาได้พยายามอย่างหนักแต่ก็ล้มเหลวในการสร้างพันธมิตรยุโรปในการต่อต้านออตโตมัน เขาถูกขัดขวางในทุกความพยายามโดยชาวเติร์กที่ต้องการกลับมาควบคุมแอลเบเนีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนเส้นทางหลักในการเข้ายึดอิตาลีและยุโรปตะวันตก การต่อสู้กับมหาอำนาจที่เหนือกว่าในยุคนั้นของเขาได้ความเคารพจากชาติอื่น ๆ ในยุโรป และเนเปืล, รัฐพระสันตะปาปา, เวนิส และรากูซาก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เขาทางการเงินและการทหารด้วย === คอมมิวนิสต์ === เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์แอลเบเนียเข้าครองอำนาจปกครองประเทศแบบคอมมิวนิสต์ จนมีการปฏิรูปการเมืองใหม่ ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อ พ.ศ. 2534 และ ปรับระบบของประเทศเป็นระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี == การเมืองการปกครอง == === บริหาร === ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Alfred Moisiu นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาประชาชน ดำรงตำแหน่ง 4 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Sali Berisha === นิติบัญญัติ === ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 140 คน โดย 100 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 40 คนมาจากระบบบัญชีรายชื่อ == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศแอลเบเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขตบริหาร (administrative zones - qark or prefekturë) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น เขต (districts - rreth) รวมทั้งหมด 36 เขต == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === เป็นชาวแอลเบเนีย ร้อยละ 95 ชาวกรีก ร้อยละ 3 และอื่น ๆ อีก ร้อยละ 2 == วัฒนธรรม == เป็นวัฒนธรรมมุสลิมบอลข่านเพราะในอดีตเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก ทำให้มีประชากรเป็นชาวมุสลิมเป็นส่วนมากร้อยละ 70 ที่เหลือเป็นชาวคริสต์ร้อยละ 30 == อ้างอิง == == อ่านเพิ่ม == History of the Party of Labor of Albania. Tirana: Institute of Marxist–Leninist Studies, 1971. 691 p. == แหล่งข้อมูลอื่น == albania.al president.al kryeministria.al parlament.al Albania at The World Factbook by Central Intelligence Agency (CIA) อ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2455 อ
thaiwikipedia
819
ISO 639
ISO 639 คือหนึ่งในหลายๆ มาตรฐานนานาชาติขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) ที่กำหนดรหัสสำหรับชื่อภาษา ISO 639 ประกอบไปด้วยหลายส่วน == มาตรฐานทั้งหกส่วน == มาตรฐานแต่ละส่วนกำกับดูแลโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถเพิ่มรหัสหรือเปลี่ยนแปลงสถานภาพของรหัสISO 639 == ดูเพิ่ม == รายชื่อภาษา (เรียงตาม ชื่อภาษา ในภาษาไทย) ตระกูลของภาษา == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ของ ISO 639-2/RA เว็บประกาศการเปลี่ยนแปลงรหัส ISO 639-2/RA ISO 639 codes and language names in many languages ภาษา 639 ตัวระบุ
thaiwikipedia
820
พอล แอร์ดิช
พอล แอร์ดิช (Paul Erdős บางครั้งสะกด Erdos หรือ Erdös; Erdős Pál [ˈɛrdøːʃ ˈpaːl]; 26 มี.ค. พ.ศ. 2456 - 20 ก.ย. พ.ศ. 2539) เป็นนักคณิตศาสตร์ผู้โดดเด่น ทั้งในด้านผลงาน และพฤติกรรมอันแปลกประหลาด ผลงานตีพิมพ์ของเขามีจำนวนมหาศาล มีผู้ร่วมตีพิมพ์รวมแล้วนับร้อยคน และเกี่ยวพันกับหลาย ๆ สาขาในคณิตศาสตร์ อาทิ คณิตศาสตร์เชิงการจัด ทฤษฎีกราฟ ทฤษฎีจำนวน การวิเคราะห์แบบคลาสสิก ทฤษฎีการประมาณ ทฤษฎีเซต และ ทฤษฎีความน่าจะเป็น == ประวัติ == แอร์ดิช เกิดในเมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี โดยมีชื่อเขียนตามภาษาท้องถิ่นว่า Erdős Pál (ที่จริงแล้ว คำว่า Erdős ควรออกเสียงว่า "แอร์-เดิร์ช" ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Air-dersh") พ่อแม่ของเขาเป็นยิวที่ไม่เคร่งครัดนัก ไม่เพียงแต่แอร์ดิชเท่านั้น ที่เป็นผลผลิตของสังคมยิวในบูดาเปสต์ยุคนั้น, แต่ยังมีนักคิดชื่อดังอีกอย่างน้อย 5 คน ได้แก่ ยูจีน แวกเนอร์ (Eugene Wigner) นักฟิสิกส์ และวิศวกร, เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller) นักฟิสิกส์ และการเมือง, ลีโอ ซิลลาร์ด (Leó Szilárd) นักเคมี ฟิสิกส์ และการเมือง, จอห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) นักคณิตศาสตร์ และผู้รู้รอบด้าน, และ จอร์จ ลูคอทช์ (Georg Lukács) นักปรัชญา แอร์ดิชได้เผยความเป็นเด็กมหัศจรรย์ออกมา ตั้งแต่อายุยังน้อย และในเวลาต่อมาไม่นานนัก ก็ได้รับการยอมรับจากคนในวัยเดียวกัน ว่าเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ ถึงแม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียงโด่งดัง และยังได้รับรางวัลจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสุขสบายไปตลอดชีวิต แอร์ดิชกลับใช้ชีวิตอย่าง "คนจรจัด" โดยการร่อนเร่ไปตามงานประชุมทางวิทยาศาสตร์ และบ้านของเพื่อนนักคณิตศาสตร์ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นเวลาถึง 50 ปี ที่เพื่อนนักคณิตศาสตร์ของเขา จะต้องถูกปลุกขึ้นมากลางดึก โดยผู้มาเยือนที่ไม่ได้คาดฝัน พอล แอร์ดิช ชายผู้ไร้บ้าน และมีถุงใบใหญ่เพียงใบเดียว สำหรับใส่สิ่งของจำเป็น เขามักจะปรากฏตัวที่หน้าประตูบ้านเพื่อน พร้อมกับคำพูด "หัวผมเปิดอยู่" ("my brain is open") แล้วพักอยู่ที่บ้านของเพื่อนคนนั้น นานพอที่จะมีงานวิจัยตีพิมพ์ร่วมกันสองสามชิ้นจึงจากไป ในหลาย ๆ ครั้ง เขามักจะขอให้เพื่อนที่กำลังร่วมงานกันอยู่ปัจจุบัน ช่วยคิดว่าควรจะไปหาใครต่อดี ลักษณะการทำงานของเขานั้น มีผู้นำไปเปรียบเทียบอย่างขำขันว่า เป็นเช่นเดียวกับการวิ่งไปในรายการโยง (เมื่อเขาแก้ปัญหาอันหนึ่งได้ เขาก็จะกระโดดจากปัญหานั้น ไปยังสู่อีกปัญหาหนึ่งเสมอ ไม่รู้จบ) ข้าวของเครื่องใช้ รวมถึงสิ่งที่มีค่าในทางโลก ไม่มีความหมายกับเขา โดยเขาได้บริจาคเงินที่ได้จากรางวัล หรือแหล่งทุนต่าง ๆ ให้กับผู้คนที่ต้องการในหลาย ๆ โอกาส เขาเคยกล่าวเล่น ๆ ว่า "นักคณิตศาสตร์ คือเครื่องจักรสำหรับเปลี่ยนกาแฟ ให้กลายเป็นทฤษฎีบท" แอร์ดิชดื่มกาแฟจัด และหลังจากปี พ.ศ. 2514 เขาเริ่มใช้สารแอมเฟตามีน แม้ว่าเพื่อน ๆ ของเขาจะทักท้วงจนกระทั่งได้มีการพนันด้วยเงิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ ว่าแอร์ดิชจะไม่สามารถหยุดใช้แอมเฟตามีนได้ถึงหนึ่งเดือน แอร์ดิชก็ชนะการพนันครั้งนั้น แต่เขาก็ได้ตัดพ้อว่า มันทำให้คณิตศาสตร์ต้องหยุดการพัฒนาไปถึงหนึ่งเดือนเต็ม ๆ เขากล่าวว่า "ก่อนหน้านี้ เมื่อมองกระดาษ หัวของผมก็เต็มไปด้วยไอเดีย ตอนนี้ผมเห็นแค่กระดาษเปล่า ๆ เท่านั้นเอง" หลังจากที่ชนะพนัน เขาก็กลับไปทำเช่นเดิมทันที แอร์ดิช ได้บัญญัติศัพท์เฉพาะตัว อยู่จำนวนหนึ่ง เขาพูดถึง "the Book" ว่าเป็นหนังสือ (ในจินตนาการ) ซึ่งพระเจ้าได้บันทึกบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ดี และสวยงามที่สุดเอาไว้ (จริง ๆ แล้วเขาไม่นับถือเทพเจ้า และมักแทนพระเจ้าเล่น ๆ ด้วยคำว่า "อภิฟาสซิสต์ - Supreme Fascist") เมื่อเขาเห็นบทพิสูจน์อันสวยงามเป็นพิเศษ เขาก็จะร้องออกมาว่า "บทพิสูจน์อันนี้ต้องมาจาก the Book แน่ ๆ " คำประหลาดอื่น ๆ ของแอร์ดิช มีทั้ง "เอปซิลอน" ซึ่งหมายถึงเด็ก, "เจ้านาย" หมายถึงผู้หญิง (แน่นอนว่า "ทาส" ก็จะต้องหมายถึงผู้ชาย), คนที่เลิกทำงานด้านคณิตศาสตร์ไปแล้ว เรียกว่า "ตายแล้ว", คนที่ตายไปจริง ๆ เรียกว่า "จากไป", เครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ "ยาพิษ", ดนตรีคือ "เสียงรบกวน", การสอนเล็คเชอร์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ คือการไป "แสดงธรรม" นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ที่เขาเห็นว่า ไม่ได้ให้อิสรภาพแก่ประชาชนอย่างพอเพียง ก็จะถูกพิจารณาว่า เป็นพวกจักรวรรดินิยม และได้รับชื่อเล่น ซึ่งจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวเล็กเท่านั้น เช่น สหรัฐอเมริกา คือ "samland", สหภาพโซเวียต เป็น "joedom" (ตามชื่อ โจเซฟ สตาลิน), และ อิสราเอล เป็น "israel" ในคำจารึกหน้าหลุมศพของเขา เขาได้บอกให้เขียนข้อความว่า "Végre nem butulok tovább" ("ในที่สุด ข้าพเจ้าก็ไม่เขลาลงอีกต่อไป") เขา"จากไป"ด้วยโรคหัวใจ ในวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ. 2539 ขณะเข้าร่วมการประชุมวิชาการ ในเมืองวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ == ผลงานทางคณิตศาสตร์ == แอร์ดิช เป็นคนหนึ่ง ที่มีผลงานตีพิมพ์ออกมามหาศาล ทั้งชีวิตเขาเขียนบทความทางคณิตศาสตร์ ถึงประมาณ 1,500 ชิ้น (เกือบจะมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ของวงการคณิตศาสตร์ เป็นรองเพียงแค่ เลออนฮาร์ด ออยเลอร์) ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการร่วมทำกับผู้อื่น เขามีผู้ร่วมตีพิมพ์รวมแล้วราว 500 คน และได้ทำให้การร่วมงานกันทางคณิตศาสตร์ กลายเป็นการสมาคมแบบหนึ่ง ซึ่งนักคณิตศาสตร์หลาย ๆ คนชื่นชอบ และพยายามเลียนแบบวิธีการทำงานของเขา ในเวลาต่อมา จากการที่เขามีผลงานจำนวนมากนั้นเอง เพื่อน ๆ ของเขาจึงได้ร่วมกันกำหนด หมายเลขแอร์ดิช (Erdős number) ขึ้นมาเล่น ๆ โดยการนับนั้นเริ่มต้นที่หมายเลข 0 ซึ่งให้กับแอร์ดิชคนเดียวเท่านั้น ในขณะที่หมายเลข 1 จะให้กับผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับแอร์ดิช ส่วนผู้ที่มีผลงานร่วมกับเหล่าหมายเลข 1 นี้ก็จะได้รับหมายเลข 2 และตัวเลขก็จะวิ่งในลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ ประมาณ 90% ของนักคณิตศาสตร์ทั้งโลก มีหมายเลขแอร์ดิชต่ำกว่า 10 (ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอย่างใด เพราะมองได้ว่าเป็นปรากฏการณ์โลกแคบแบบหนึ่ง) มีเรื่องเล่าตลก ๆ ว่า นักเบสบอลระดับตำนาน ผู้มีชื่ออยู่ในหอเกียรติคุณ แฮงค์ อารอน (Hank Aaron) มีหมายเลขแอร์ดิชหมายเลข 1 เพราะทั้งคู่เซ็นชื่อลงในลูกเบสบอลลูกเดียวกัน เมื่อมหาวิทยาลัยเอโมรี ให้ปริญญากิตติมศักดิ์กับทั้งคู่ในวันเดียวกัน ต่อไปนี้คือรายชื่อของผู้ที่มีผลงานร่วมกับแอร์ดิชมากที่สุดส่วนหนึ่ง ยูซัฟ อาลาวี บีลา โบลโลบาช สเตฟาน เบอร์ ฟาน ชวง ราล์ฟ ฟาวดรี โรนัลด์ เกรแฮม อันดราส จียาร์ฟาส อันดราส ฮัจนาล อีริค ไมล์เนอร์ ยาโนส พาช คาร์ล โพเมอร์รานส์ ริชชาร์ด ราโด (หนึ่งในผู้ร่วมตีพิมพ์ทฤษฎีบทแอร์ดิช-โค-ราโด อันโด่งดัง) อัลเฟรด เรนยี โวจ์เทค ริเดิล ซี.ซี. รุสโซ อันดราส ซาโคซี ดิค เชลป์ มิคลอส สิโมโนวิทส์ วีรา ซอส โจเอล สเปนเซอร์ เอนเดอร์ ซีเมอร์รีดี พอล ทูราน ปีเตอร์ วิงค์เลอร์ == อ้างอิง == พอล แอร์ดิช Paul Erdös J. J. O'Connor and E.F. Robertson. Paul Erdös (at the MacTutor History of Mathematics archive ) Paul Hoffman. The man who loved only numbers. Hyperion, 1998. ISBN (see also Hoffman's web site: Paul Erdős ) Bruce Schechter. My brain is open. Touchstone, 2000. ISBN (biography) N is a Number: a portrait of Paul Erdos Jerry Grossman at Oakland University. The Erdős Number Project ฮอฟฟ์แมน, พอล. ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข: The Man Who Loved Only Numbers. นรา สุภัคโรจน์, ผู้แปล. มติชน, 2548. ISBN 974-323-346-6 == แหล่งข้อมูลอื่น == นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี บุคคลจากบูดาเปสต์
thaiwikipedia
821
คณิตศาสตร์เชิงการจัด
คณิตศาสตร์เชิงการจัด คือสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ ที่ศึกษากลุ่มของวัตถุจำนวนจำกัดที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเงื่อนไขบางประการ และมักสนใจเป็นพิเศษที่จะ "นับ" จำนวนวัตถุในกลุ่มนั้น ๆ (ปัญหาการแจกแจง) หรืออาจหาคำตอบว่า วัตถุที่มีคุณสมบัติที่ต้องการนั้นมีอยู่หรือไม่ (ปัญหาสุดขอบ) การศึกษาเกี่ยวกับการนับวัตถุ บางครั้งถูกจัดให้อยู่ในสาขาความน่าจะเป็นแทน การเรียงสับเปลี่ยน และ การจัดหมู่ == การจัดหมู่ == 400px การจัดหมู่ คือ การเลือกวัตถุจากกลุ่ม โดยไม่สนใจลำดับของการเลือก เช่น ในการเล่นไพ่โป๊กเกอร์ ผู้เล่นแต่ละคนจะได้รับไพ่ 5 ใบจากทั้งหมด 52 ใบ ซึ่งลำดับในการได้รับแต่ละใบมานั้นจะไม่มีผลในการเล่น ในคณิตศาสตร์เชิงการจัดนั้น การจัดหมู่ คือ สับเซต ในเซตใดๆ นั้น ตำแหน่งไม่มีความสำคัญ เนื่องจากในแต่ละเซต สิ่งที่เราสนใจคือ สิ่งของ ที่อยู่ในเซต หรือสมาชิกของเซต แต่ไม่สนใจลำดับ เช่น {2, 4, 6} = {6, 4, 2} และ {1,1,1} มีความหมายเท่ากับ {1} เนื่องจาก เซตนั้นกำหนดความแตกต่างด้วยสมาชิกที่แตกต่างกันในเซต ดูเพิ่มที่บทความ การจัดหมู่ == การเรียงสับเปลี่ยน == 400px การเรียงสับเปลี่ยน คือ เป็นการเลือกวัตถุโดยสนใจลำดับของการเลือก เช่น การเลือกรหัสเอทีเอ็ม ซึ่งรหัส 5-3-7-5 นั้นถือว่าแตกต่างจากรหัส 3-7-5-5 สมมุติเราสนใจเลข 3 ตัว คือ 1, 2, 3 เราสามารถเรียงสับเปลี่ยนทั้งหมดได้รูปแบบดังต่อไปนี้ 1 2 3 1 3 2 2 1 3 2 3 1 3 1 2 3 2 1 ดูเพิ่มที่บทความ การเรียงสับเปลี่ยน == การเลือกซ้ำ == ทั้งการเรียงสับเปลี่ยน และ การจัดหมู่ นั้น ในการเลือกวัตถุออกจากกลุ่มของวัตถุทั้งหมด เราอาจสามารถเลือกซ้ำได้ เช่น ในการเลือกรหัสเอทีเอ็มเลข 4 หลัก โดยแต่ละหลักนั้นเลือกจากเลข 0 ถึง 9 และเราสามารถเลือกเลขตัวเดิมซ้ำได้อีก == สรุปสูตรที่สำคัญ == {|width = 95% |- | align = center bgcolor="gainsboro"|การเรียงสับเปลี่ยน แบบเลือกซ้ำได้ |- | เลือกวัตถุ \,r\, ชิ้น จากทั้งหมด \,n\, ชิ้นที่แตกต่างกัน โดยสนใจลำดับในการเลือก และ สามารถเลือกซ้ำได้ จะมีวิธีการเลือกทั้งหมด \,P^r(n,r)=n^r\, |- | align = center bgcolor="gainsboro"|การเรียงสับเปลี่ยน แบบไม่มีการเลือกซ้ำ |- | เลือกวัตถุ \,r\, ชิ้น จากทั้งหมด \,n\, ชิ้นที่แตกต่างกัน โดยสนใจลำดับในการเลือก และแต่ละชิ้นนั้นสามารถถูกเลือกได้เพียงครั้งเดียว จะมีวิธีการเลือกทั้งหมด \,P(n,r)=\frac{n!}{(n-r)!}\, |- | align = center bgcolor="gainsboro"|การจัดหมู่ แบบเลือกซ้ำได้ |- | เลือกวัตถุ \,r\, ชิ้น จากทั้งหมด \,n\, ชิ้นที่แตกต่างกัน โดยไม่สนใจลำดับในการเลือก และ สามารถเลือกซ้ำได้ จะมีวิธีการเลือกทั้งหมด \,C^r(n,r)=\frac{(n+r-1)!}{(n-1)!r!}\, |- | align = center bgcolor="gainsboro"|การจัดหมู่ แบบไม่มีการเลือกซ้ำ |- | เลือกวัตถุ \,r\, ชิ้น จากทั้งหมด \,n\, ชิ้นที่แตกต่างกัน โดยไม่สนใจลำดับในการเลือก และแต่ละชิ้นนั้นสามารถถูกเลือกได้เพียงครั้งเดียว จะมีวิธีการเลือกทั้งหมด \,C(n,r)=\frac{n!}{(n-r)!r!}\, |- |} == ดูเพิ่ม == การเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ แฟกทอเรียล ความน่าจะเป็น คณิตศาสตร์เชิงการจัด
thaiwikipedia
822
เอมีล ดูร์กายม์
ดาวีด เอมีล ดูร์กายม์ (David Émile Durkheim; 15 เมษายน ค.ศ. 1858 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917) เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของสังคมวิทยาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยาแห่งแรกในยุโรปในปี ค.ศ. 1895 และในปี ค.ศ. 1896 ได้ก่อตั้งวารสารทางวิชาการด้านสังคมวิทยาชื่อ L'Année Sociologique == ประวัติ == เอมีล ดูร์กายม์ เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อ ค.ศ. 1858 ณ เมืองเอปีนาล (Épinal) หลังจากสำเร็จการศึกษาที่เอปีนาลและปารีส ได้เป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง (un lycée) ในสาขาวิชาปรัชญา แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาได้หันมาสนใจในด้านของสังคมวิทยาอย่างจริงจัง และได้ไปศึกษาเพิ่มเติมที่เยอรมนี ในด้านที่เกี่ยวกับสังคมวิทยา และเริมตั้งแต่ค.ศ. 1887 เขาได้เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบอร์โด ซึ่งสอนในด้านสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ หลังจากนั้น ตั้งแต่ ค.ศ. 1902 เขาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอน กรุงปารีส ในสาขาศึกษาศาสตร์และสาขาสังคมวิทยา ดูร์กายม์ก่อตั้งวารสารแห่งชาติ ทางด้านสังคมวิทยาที่มีชือว่า L'Année sociologie และได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญมากคนหนึ่ง ทางด้านสังคมวิทยา เอกสารที่สำคัญของดูร์กายม์มี 4 เล่มคือ De la division du travail sociale (ค.ศ. 1893) ช่วยวางรากฐานสำคัญของทฤษฎีหลัก ในด้านสังคมวิทยาของดูร์กายม์ Les règles de la méthode sociologique (ค.ศ. 1895) ช่วยชี้ระเบียบแบบแผนของสังคมวิทยา ว่าควรศึกษาอะไร ค้นคว้าด้านไหน และต้องมีความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมวิทยาอย่างไร Le suicide (ค.ศ. 1897) งานชิ้นซึ่งอธิบายปรากฏการณ์การฆ่าตัวตายด้วยสังคมวิทยา ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางด้านสังคม และได้อธิบายระเบียบวิธีการทางด้านสังคมวิทยาไปด้วย Les formes élémentaires de la vie religieuse เป็นงานซึ่งช่วยสนับสนุนทฤษฎีสังคมวิทยาของดูร์กายม์อีกเล่มหนึ่ง == ทฤษฎีและแนวคิด == ดูร์กายม์สังเกตเห็นการล่มสลายของบรรทัดฐานทางสังคม และการเพิ่มขึ้นของความไม่เป็นส่วนตัวในการใช้ชีวิตในสังคม เพื่อที่จะศึกษาชีวิตของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ เขาได้สร้างวิธีการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมแบบวิทยาศาสตร์แนวทางแรก ๆ ดูร์กายม์ไม่คิดเหมือนมัคส์ เวเบอร์ ที่เชื่อว่านักสังคมวิทยาต้องศึกษาปัจจัยที่ผลักดันกิจกรรมที่ปัจเจกกระทำ เขามักได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของแนวคิดกลุ่มนิยมเชิงระเบียบวิธี หรือแนวคิดองค์รวม (ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดปัจเจกนิยมเชิงระเบียบวิธี) เนื่องจากเขามีเป้าหมายที่จะศึกษา ความจริงทางสังคม ซึ่งเขาใช้เรียกปรากฏการณ์ที่มีอยู่ในสังคมซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่ โดยไม่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของบุคคลใด ๆ บุคคลหนึ่งคนเดียว ในผลงานเมื่อปี ค.ศ. 1893 ชื่อ การแบ่งงานในสังคม ดูร์กายม์ได้ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกในสังคมรูปแบบต่าง ๆ เขามุ่งประเด็นอยู่ที่ลักษณะของการแบ่งงาน และศึกษาความแตกต่างที่มีในสังคมดั้งเดิมและสังคมสมัยใหม่ นักคิดก่อนหน้าดูร์กายม์ เช่น เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) และ แฟร์ดีนันท์ เทินเนียส (Ferdinand Tönnies) ได้อธิบายว่า สังคมนั้นมีการพัฒนาในลักษณะเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิต จากที่มีรูปแบบพื้นฐานไม่ยุ่งยาก จนกลายเป็นสิ่งที่ซับซ้อนขึ้น คล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องจักรที่ซับซ้อน ดูร์กายม์มองในมุมที่กลับกัน เขากล่าวว่าสังคมดั้งเดิมนั้นมีลักษณะเป็นแบบ 'เชิงกลไก' โดยที่สังคมนั้นเกาะเกี่ยวเป็นหนึ่งเดียวกันได้ด้วยสาเหตุที่ว่าทุกคนมีลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ซึ่งทำให้มีสิ่งของรวมถึงความคิดที่เหมือนและไปกันได้ ดูร์กายม์กล่าวว่า ในสังคมดั้งเดิมนั้น สำนึกของกลุ่มนั้นมีบทบาทเหนือสำนึกของปัจเจก — บรรทัดฐานนั้นเข้มแข็ง และพฤติกรรมของสมาชิกก็อยู่ในกฎเกณฑ์ ลักษณะเช่นนี้เปลี่ยนไปในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งเขากล่าวว่า ผลของระบบการแบ่งงานอย่างซับซ้อนทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน "เชิงอินทรีย์" (organic solidarity) กล่าวคือ ความชำนาญเฉพาะด้านในหน้าที่การงานรวมถึงบทบาททางสังคม ทำให้เกิดการขึ้นต่อกันที่ยึดเหนี่ยวผู้คนเอาไว้ด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการกระทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว ตัวอย่างเช่นในสังคม "เชิงกลไก" ชาวนาอาจทำนาและอยู่ได้โดยลำพัง แต่ก็รวมกลุ่มกับคนอื่น ๆ ที่มีแบบแผนการดำรงชีวิตรวมถึงอาชีพแบบเดียวกัน ในสังคม 'เชิงอินทรีย์' คนงานทำงานเพื่อได้รายได้ แต่ก็ต้องพึ่งคนอื่น ๆ ที่มีความชำนาญในด้านที่แตกต่างออกไป เช่นทำเครื่องนุ่งห่ม ผลิตอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ผลจากการเพิ่มขึ้นของระดับการแบ่งงาน ในความคิดของดูร์กายม์นั้น คือการเกิดขึ้นของสำนึกของสมาชิกแต่ละคน ที่มักจะอยู่ในสภาวะขัดแย้งกับสำนึกของกลุ่ม จึงทำให้เกิดความสับสนกับบรรทัดฐาน และในที่สุดแล้วอาจทำให้เกิดการล่มสลายของพฤติกรรมที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของบรรทัดฐานทางสังคม ดูร์กายม์เรียกสภาวะนี้ว่า อโนมี ซึ่งหมายถึงสภาวะที่ไร้บรรทัดฐานทางสังคมทั้งหมด อันเป็นสภาวะที่ความปรารถนาของปัจเจกบุคคลมีได้ถูกบังคับไว้ด้วยบรรทัดฐานใด ๆ ทางสังคมเลย สภาวะทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนหลาย ๆ แบบ เช่น อัตวินิบาตกรรม หรือ การฆ่าตัวตาย ดูร์กายม์ได้พัฒนาแนวคิดของอโนมีเพิ่มเติมในหนังสือ อัตวินิบาตกรรม ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1897 เขาเปรียบเทียบอัตราการทำอัตวินิบาตกรรมระหว่างกลุ่มคนในนิกายโปรเตสแตนต์และในนิกายแคทอลิก และอธิบายว่าระดับของความเข้มแข็งของการควบคุมทางสังคมในกลุ่มนิกายแคทอลิก มีผลเกี่ยวข้องกับอัตราการทำอัตวินิบาตกรรมที่ต่ำกว่า ในทัศนะของดูร์กายม์ ผู้คนนั้นมีการยึดติดอยู่กับกลุ่มในระดับหนึ่ง การยึดติดนี้เขาเรียกว่าบูรณาการทางสังคม (social integration) ระดับที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปของบูรณาการทางสังคมอาจทำให้ระดับของการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ระดับของบูรณาการทางสังคมที่ต่ำเกินไปทำให้สังคมขาดการจัดองค์กรที่ดี และมีลักษณะที่กระจัดกระจาย ทำให้ผู้คนหันไปพึ่งการฆ่าตัวตายเพื่อเป็นทางออกสุดท้าย ในขณะที่ระดับที่สูงเกินไปบีบบังคับให้ผู้คนฆ่าตัวตายเพื่อลดภาระที่เกิดจากสังคม ดูร์กายม์ได้ให้ความเห็นว่าสังคมแคทอลิกนั้นมีระดับของบูรณาการที่ปกติ ในขณะที่สังคมโปรเตสแตนต์มีระดับที่ต่ำ ผลงานชิ้นนั้นมีอิทธิพลต่อการศึกษาทฤษฎีควบคุม และมักถูกจัดว่าเป็นการเนื้อหาของสังคมวิทยายุคคลาสสิก ดูร์กายม์ยังสนใจเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากเขาเองทำงานเป็นผู้ฝึกสอนครู และเขาก็ใช้โอกาสนี้ในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีการสอนสังคมวิทยาไปในวงกว้างเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้เขายังสนใจที่จะใช้การศึกษาเพื่อสร้างพื้นฐานทางสังคมร่วมกันของพลเมืองชาวฝรั่งเศส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะอโนมีขึ้น เพื่อเป้าประสงค์นี้ เขาจึงได้เสนอให้มีการตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นแหล่งสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำหรับผู้ใหญ่ ดูร์กายม์ยังเป็นที่จดจำจากงานของเขาที่เกี่ยวกับชนพื้นเมือง (นั่นคือ มนุษย์ที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก) ในหนังสือชื่อ รูปแบบพื้นฐานของชีวิตศาสนิกชน และในความเรียงชื่อ การจำแนกชนพื้นเมือง ที่เขาเขียนร่วมกับมาร์แซล โมส (Marcel Mauss) งานเหล่านี้ศึกษาบทบาทของศาสนาและตำนานที่มีกับมุมมองต่อโลกและบุคลิกลักษณะของผู้คน ที่อยู่ในสังคมที่มีลักษณะเป็นสังคมเชิงกลอย่างมาก == แหล่งข้อมูลอื่น == The Durkheim Pages - เว็บไซต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับดูร์กายม์ Useful information about Durkheim - เว็บไซต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับดูร์กายม์อีกที่หนึ่ง == อ้างอิง == ลิวอิส เอ. โคเซอร์. นักปราชญ์ระดับโลก แปลโดย กาญจพรรษ (อังกาบ) กอศรีพร, วารุณี ภูริสินสิทธ์, นฤจร อิทธิจีระจรัส, และ จามะรี พิทักษ์วงศ์ ISBN 974-92043-8-7 บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2401 นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส บุคคลจากจังหวัดโวฌ ศิษย์เก่าจากเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์ ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมาร์บวร์ค บุคคลจากมหาวิทยาลัยปารีส บุคคลจากมหาวิทยาลัยบอร์โด
thaiwikipedia
823
สหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียต มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต เป็นรัฐสังคมนิยมที่ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรปและเอเชีย สหภาพโซเวียตดำเนินการปกครองและเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์กลางอย่างยิ่งมาจนปีท้าย ๆ สหภาพโซเวียตยังจัดเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวเพราะมีพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองเพียงพรรคเดียว สหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐย่อย 15 แห่ง มีกรุงมอสโกเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียต และเป็นเมืองหลวงของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ซึ่งเป็นสาธารณรัฐย่อยที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรมากที่สุดของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตยังเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ เลนินกราด (รัสเซีย) เคียฟ (ยูเครน) มินสค์ (เบียโลรัสเซีย) ทาชเคนต์ (อุซเบกิสถาน) อัลมา-อะตา (คาซัคสถาน) และโนโวซีบีสค์ (รัสเซีย) สหภาพโซเวียตยังเป็นหนึ่งในรัฐห้าแห่งที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นสมาชิกขององค์การความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป และเป็นสมาชิกหลักของสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ และสนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สหภาพโซเวียตมีรากฐานจากการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปี 1917 เมื่อพรรคบอลเชวิค ภายใต้การนำของวลาดีมีร์ เลนิน โค่นล้มรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียที่ซึ่งได้เข้ามาแทนที่จักรพรรดินีโคไลที่ 2 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี 1922 สหภาพโซเวียตก่อตั้งขึ้นด้วยการรวมกันของ สาธารณรัฐรัสเซีย, ทรานส์คอเคซัส, ยูเครน และ เบียโลรัสเซีย หลังจากการอสัญกรรมของเลนิน ค.ศ. 1924 และการต่อสู้แย่งชิงอำนาจในระยะเวลาสั้น ๆ โจเซฟ สตาลินเถลิงอำนาจในกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 สตาลินปราบปรามฝ่ายค้านการเมืองต่อเขา ยึดมั่นอุดมการณ์ของรัฐกับลัทธิมากซ์–เลนิน (ซึ่งเขาสร้าง) และริเริ่มเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง ผลคือ ประเทศเข้าสู่สมัยการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมและการทำให้เป็นระบบรวมอำนาจการผลิต (collectivisation) ทว่า สตาลินเกิดหวาดระแวงทางการเมือง และเริ่มการกวาดล้างใหญ่ ซึ่งต่อมาทางการส่งคนจำนวนมาก (ผู้นำทหาร สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ พลเมืองสามัญ) ไปค่ายกูลักหรือตัดสินประหารชีวิต เมื่อเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสปฏิเสธพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตต่อนาซีเยอรมนี สหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกับเยอรมนี ซึ่งชะลอการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศ แต่ถูกฉีกใน ค.ศ. 1941 เมื่อนาซีบุกครอง เปิดฉากเขตสงครามใหญ่สุดและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ กำลังพลสูญเสียของโซเวียตในสงครามคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดของสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พลิกกลับมาได้เปรียบเหนือฝ่ายอักษะในยุทธการอันดุเดือดอย่างสตาลินกราด สุดท้ายกำลังโซเวียตยกผ่านยุโรปตะวันออกและยึดกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1945 ทำให้ฝ่ายเยอรมันสูญเสียกำลังพลไปเป็นส่วนใหญ่ ดินแดนยึดครองของโซเวียตที่พิชิตจากกำลังอักษะในยุโรปกลางและตะวันออกกลายเป็นรัฐบริวารของกลุ่มตะวันออก ความแตกต่างทางอุดมการณ์และการเมืองกับกลุ่มตะวันตกซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำนำไปสู่การตั้งสนธิสัญญาทางเศรษฐกิจและทางทหารจนลงเอยด้วยสงครามเย็นอันยืดเยื้อ หลังสตาลินถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1953 เกิดสมัยการปรับให้เสรี (liberalization) ทางสังคมและเศรษฐกิจสายกลางภายใต้รัฐบาลนีกีตา ครุชชอฟ จากนั้น สหภาพโซเวียตริเริ่มความสำเร็จทางเทคโนโลยีสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งรวมการปล่อยดาวเทียมดวงแรกและเที่ยวบินอวกาศของมนุษย์เที่ยวแรกของโลก นำไปสู่การแข่งขันอวกาศ (Space Race) วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ค.ศ. 1962 เป็นสมัยความตึงเครียดสุดขีดระหว่างสองอภิมหาอำนาจ ถือว่าใกล้ต่อการเผชิญหน้านิวเคลียร์ระหว่างทั้งสองที่สุด ในคริสต์ทศวรรษ 1970 เกิดการผ่อนคลายความสัมพันธ์ แต่กลับมาตึงเครียดอีกครั้งเมื่อสหภาพโซเวียตเริ่มให้ความช่วยเหลือทางทหารในอัฟกานิสถานด้วยคำขอของรัฐบาลสังคมนิยมใหม่ใน ค.ศ. 1979 การทัพนั้นผลาญทรัพยากรธรรมชาติและลากยาวโดยไร้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่มีความหมายใด ๆ ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำโซเวียตคนสุดท้าย มีฮาอิล กอร์บาชอฟ มุ่งปฏิรูปสหภาพและขับเคลื่อนประเทศในทิศทางสังคมประชาธิปไตยแบบนอร์ดิก เริ่มใช้นโยบายกลัสนอสต์และเปเรสตรอยคาในความพยายามยุติสมัยเศรษฐกิจชะงักและปรับการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย ทว่าผลที่ได้นำไปสู่ขบวนการชาตินิยมและพยายามแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตอย่างเข้มข้น ทางการกลางริเริ่มการลงประชามติซึ่งถูกสาธารณรัฐบอลติก อาร์มีเนีย จอร์เจีย และมอลโดวาคว่ำบาตร ซึ่งพลเมืองที่ลงมติส่วนใหญ่ออกเสียงเห็นชอบการรักษาสหภาพเป็นสหพันธรัฐทำใหม่ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 สายแข็ง (hardliner) พยายามรัฐประหารต่อกอร์บาชอฟ โดยเจตนาย้อนนโยบายของเขาแต่รัฐประหารล้มเหลว ประธานาธิบดีรัสเซีย บอริส เยลต์ซิน มีบทบาทเด่นในการทำให้ผู้ก่อรัฐประหารยอมจำนน ส่งผลให้มีการห้ามพรรคคอมมิวนิสต์ ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟลาออกและสาธารณรัฐองค์ประกอบที่เหลือสิบสองสาธารณรัฐกำเนิดขึ้นจากการยุบสหภาพโซเวียตเป็นรัฐเอกราชหลังโซเวียต สหพันธรัฐรัสเซีย สืบสิทธิและข้อผูกพันของสหภาพโซเวียตและได้รับการยอมรับเป็นนิติบุคคลต่อ == นิรุกติศาสตร์ == == ประวัติศาสตร์ == === การปฏิวัติรัสเซีย และการก่อตั้งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1917–1927) === สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก นำโดยวลาดิมีร์ เลนิน โดยยึดอำนาจจากจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่น ๆ คือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 === ยุคสตาลิน (ค.ศ. 1927–1953) === นับตั้งแต่สตาลินได้ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1922 สตาลินได้ดำเนินนโยบายแบบรวมอำนาจ แข็งกร้าว และรุนแรง เขาได้ริเริ่มแผนปฏิรูป 5 ปี เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการก่อตั้งนารวม (Collective farm) ขึ้น ส่งผลให้ชาวนาผู้ถือครองที่ดินอยู่ก่อนเกิดความไม่พอใจ สตาลินจึงสร้างค่ายกักกัน (Gulak) ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการคุมขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตลอดการปกครองของสตาลินมีผู้คาดการณ์ว่ามีนักโทษเสียชีวิตในค่ายกักกันถึง 60 ล้านคน สตาลินได้ทำการกวาดล้างผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรวมถึงสมาชิกพรรคบอลเชวิคหลาย ๆ คนซึ่งเคยร่วมกับเลนินในการทำการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ด้วย ในปี ค.ศ. 1932 สหภาพโซเวียตได้มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อลดอาวุธ ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ในปลายทศวรรษที่ 1930 สหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับนาซีเยอรมนีและในปีเดียวกันความล้มเหลวในการเจรจาให้ฟินแลนด์เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (เลนินกราดในสมัยนั้น) ออกไปอีก 25 กิโลเมตร ทำให้สหภาพโซเวียตได้ใช้กำลังบุกฟินแลนด์ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต แม้ว่าสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะได้ทำข้อตกลงไม่รุกราน แต่นาซีเยอรมนีได้ละเมิดข้อตกลงและรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตจะมียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยซึ่งเป็นผลมาจากแผนปฏิรูป 5 ปี แต่กองทัพแดง ขาดผู้นำทางการทหารซึ่งเป็นผลมาจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน ทำให้กองทัพแดงขาดบุคลากรไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงแรกของสงครามสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้มาโดยตลอด แต่เมื่อกำลังเสริมจากไซบีเรียมาถึงสงครามจึงเปลี่ยนไป ฝ่ายเยอรมนีประสบกับความพ่ายแพ้มาตลอดจนเสียกรุงเบอร์ลินให้แก่สหภาพโซเวียต และสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม สงครามดังกล่าวส่งผลให้ชาวรัสเซียเสียชีวิตไปกว่า 10 ล้านคน บ้านเรือน ไร่นา เสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อสิ้นสุดสงครามสหภาพโซเวียตได้สถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในรัฐต่าง ๆ ที่ถูกปลดแอกจากการยึดครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ซ่อมแซมบ้านเมืองที่เสียหายจากสงคราม ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแผ่ขยายอำนาจและก่อตั้งรัฐบริวารในยุโรบตะวันออก ต่อมาได้ก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (Comecon) ในปี ค.ศ. 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นการเริ่มตันของสงครามเย็นอย่างแท้จริง ซึ่งเปลี่ยนประเทศพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต === ล้มล้างอิทธิพลสตาลินและการผ่อนปรนในสมัยครุชชอฟ (ค.ศ. 1953–1964) === สตาลินถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 โดยไม่มีผู้สืบทอดที่ถูกยอมรับโดยร่วมกัน ในตอนแรกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์เลือกที่จะปกครองสหภาพโซเวียตร่วมกัน ผ่านระบบตรอยก้าที่นำโดยเกออร์กี มาเลนคอฟ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ก็ไม่ได้ยั่งยืนเสมอไป และในที่สุด นีกีตา ครุชชอฟ ก็ชนะการแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจที่ตามมาในช่วงกลางคริสต์ทษวรรษที่ 1950 ใน ค.ศ. 1956 ครุชชอฟได้ประจานโจเซฟ สตาลิน และได้มีการดำเนินการเพื่อบรรเทาการควบคุมพรรคและสังคม ซึ่งสิ่งนี้ถูกเรียกว่า การล้มล้างอิทธิพลของสตาลิน ในช่วงปลายของ ค.ศ. 1950 เกิดความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต ในเรื่องของอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ เนื่องจากจีน โดย เหมา เจ๋อตง ไม่เห็นด้วยกับการยอมรับระบบทุนของโซเวียต และเห็นว่าควรรักษาแนวคิดระบบนารวมเอาไว้ การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และ โซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต ในช่วงเวลานี้ของสหภาพโซเวียตดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องในการหาประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดตัวดาวเทียมเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ส่งสุนัขไลก้าขึ้นสู่อวกาศ มนุษย์คนแรกของโลกที่ขึ้นสู่อวกาศคือ ยูริ กาการิน ในปี ค.ศ. 1963 ส่งผู้หญิงคนแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศคือ วาเลนตีนา เตเรชโควา ในปี ค.ศ. 1965 ส่ง อเล็กซี ลีโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ รวมทั้งส่งโรเวอร์คันแรกไปยังดวงจันทร์ ได้แก่ Lunokhod 1 และ Lunokhod 2 แม้ครุชชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขาสถาปนากติกาสัญญาวอร์ซอในปี ค.ศ. 1955 และยังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจในปี ค.ศ. 1964 === ยุคซบเซา (ค.ศ. 1964–1985) === ==== ยุคเบรจเนฟ-โคชิกิน (ค.ศ. 1964–1982) ==== ในวันที่ 14 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1964 คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ อเล็กซี โคชิกิน ได้เข้าทำรัฐประหารยึดอำนาจจากครุชชอฟ โดยครุชชอฟถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง เบรจเนฟ ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคและประธานาธิบดี โดยมีนายโคซิกิน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเรียกยุคนี้ว่าสมัยผู้นำร่วม เบรจเนฟ-โคชิกิน การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีลักษณะผ่อนคลาย มีการดำเนินการเจรจาการจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (SALT I, SALT II) ในปี ค.ศ. 1972และ ค.ศ. 1979 ตามลำดับ มีการดำเนินการเจรจาเพื่อความร่วมมือกันในยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ในปี ค.ศ. 1975 มีการประกาศใช้ หลักการเบรจเนฟ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 เพื่อยืนยันสิทธิและพันธกิจของสหภาพโซเวียต ในการพิทักษ์ความปลอดภัยแก่ลัทธิสังคมนิยม ในด้านการบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ เบรจเนฟได้ตั้งกฎการเปลี่ยนตัวบุคคลจากภายในโปลิตบูโรขึ้นมาใหม่โดยการจัดให้มีการเปลี่ยนบุคคลต่าง ๆ โดยไม่ต้องผ่านสมัชชา แต่ผ่านแค่คณะกรรมการกลางพรรคเท่านั้น ซึ่งตามธรรมนูญของพรรคแล้วถือว่าสมัชชาพรรคเป็นองค์กรสูงสุดของพรรค ที่สามารถดำเนินเป็นอิสระจากฝ่ายผู้นำได้ ที่ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตประกอบด้วยสมาชิกถาวรทั้ง 14 คน กับสมาชิกสมทบทั้ง 10 คนของโปลิตบูโร เบรจเนฟ ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ด้วยความสงบ ==== ยุคอันโดรปอฟ และ เชียร์เนนโค (ค.ศ. 1982–1985) ==== อันโดรปอฟ ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ใน วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ในช่วงเวลานั้นได้มีการเจรจาให้สหรัฐถอดขีปนาวุธรอบชายแดน แลกกับการถอนกองกำลังในอัฟกานิสถาน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ หลังสงครามอันยาวนานจึงมีแผนการถอดทัพแต่ยูริ อันโดรปอฟถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 ไปก่อน จากนั้นเชียร์เนนโค (Konstantin Chernenko) ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 เขาเป็นบุคคลลึกลับทาง CIA มีข้อมูลน้อยมาก เขาไม่ยอมเจรจาต่อกับสหรัฐตลอดหนึ่งปีสุดท้ายก่อนถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1985 === การปฏิรูปเปเรสตรอยคา และกลัสนอสต์ (ค.ศ. 1985–1991) === เมื่อ มีฮาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยคา" (Perestroika) ที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง ต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 คือ บอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3% (มีการเลือกตั้งในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตจึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา New Union Treaty ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 มีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้น ๆ การปฏิรูปของกอร์บาชอฟส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเกิดเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริหารจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า รัฐประหารเดือนสิงหาคม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่าง ๆ ของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่าง ๆ จึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ == ภูมิศาสตร์ == สหภาพโซเวียตมีพื้นที่ 22,402,200 ตารางกิโลเมตร (8,649,500 ตารางไมล์) และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดของโลก สหภาพโซเวียตมีชายแดนยาวที่สุดในโลกเฉพาะดินแดนรัสเซียกว่า 60,000 กิโลเมตร (37,000 ไมล์) หรือ เส้นรอบวงของโลก สองในสามของเป็นแนวชายฝั่งมีช่องแคบแบริ่งกันระหว่างสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตมีชายแดนติดกับอัฟกานิสถาน, จีน, สโลวาเกีย, ฟินแลนด์, ฮังการี, อิหร่าน, มองโกเลีย, เกาหลีเหนือ, นอร์เวย์, โปแลนด์, โรมาเนีย และตุรกี ในช่วง ค.ศ. 1945–1991 ภูเขาที่สูงที่สุดของสหภาพโซเวียตเป็นยอดเขาคอมมิวนิสต์ (ปัจจุบัน เป็นยอดเขาอิสมาอิล ยัคโซโมนี) ในทาจิกิสถานที่ 7,495 เมตร (24,590 ฟุต) สหภาพโซเวียตยังมีทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่ทะเลสาบแคสเปียน (ร่วมกับอิหร่าน) และทะเลสาบไบคาล ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่และลึกที่สุดในโลกซึ่งเป็นแหล่งน้ำภายในของรัสเซีย == นโยบายต่างประเทศ == === องค์กร === สตาลินมักจะตัดสินใจครั้งสุดท้ายในนโยบายในช่วงปี 1925–1953 ก่อนที่นโยบายต่างประเทศของโซเวียตจะถูกกำหนดโดยคณะกรรมาธิการว่าด้วยนโยบายต่างประเทศของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต หรือจากองค์กรสูงสุดของพรรคอย่างโปลิตบูโร การดำเนินการถูกแยกออกจากกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะ People's Commissariat for Foreign Affairs (หรือ Narkomindel) จนถึงปี 1946 โฆษกที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ Georgy Chicherin (1872–1936), Maxim Litvinov (1876–1951), วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ (1890–1986), อันเดรย์ วืยชินสกี (1883–1954) และ อันเดรย์ โกรมืยโค (1909–1989) ปัญญาชนที่สนใจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะศึกษาในสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรัฐมอสโก โคมินเทิร์น (1919–1943) หรือ องค์การคอมมิวนิสต์สากล เป็นองค์กรคอมมิวนิสต์นานาชาติมีที่ทำการหลักที่เครมลินที่สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ในโลก โคมินเทิร์น ตั้งใจที่จะต่อสู้ด้วย "วิธีการที่มีอยู่ทั้งหมด รวมถึงกองกำลังติดอาวุธเพื่อการล้มล้างชนชั้นนายทุนระหว่างประเทศ และการสร้างสาธารณรัฐโซเวียตระหว่างประเทศ ในฐานะขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การยกเลิกรัฐอย่างสมบูรณ์ " แต่ถูกยุบจากมาตรการผ่อนผันระหว่างสหราชอาณาจักร และสหรัฐ คอมิคอน สภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (รัสเซีย: Совет Экономической Взаимопомощи, Sovet Ekonomicheskoy Vzaimopomoshchi, СЭВ, SEV) เป็นองค์กรเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1949–1991 ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียตซึ่งประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มตะวันออก และรัฐคอมมิวนิสต์บางแห่งทั่วโลก มอสโกกังวลเรื่องแผนมาร์แชลล์ คอมิคอนมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศในขอบเขตอิทธิพลของโซเวียตไปสู่อิทธิพลของอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คอมิคอนได้รับการตอบรับจากกลุ่มตะวันออกถึงการก่อตัวในยุโรปตะวันตกขององค์การเพื่อการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของยุโรป การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในปี 1957 และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา กติกาสัญญาวอร์ซอ เป็นกติกาสัญญาด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารของตนอีกเจ็ดแห่งในยุโรปตอนกลางและตะวันออกระหว่างช่วงสงครามเย็น กติกาสัญญาวอร์ซอเป็นส่วนเพิ่มด้านการทหารของสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือ คอมิคอน ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคสำหรับรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก ทั้งนี้กติกาสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโต้การที่เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ โคมินฟอร์ม มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ สำนักข่าวและข้อมูลพรรคแรงงานและพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นหน่วยงานแรกของขบวนการคอมมิวนิสต์สากลอย่างเป็นทางการตั้งแต่การยุบโคมินเทิร์นในปี 1943 มีบทบาทในการประสานงานระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ภายใต้การดูแลของสหภาพโซเวียต สตาลินเคยสั่งให้พรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันตกละทิ้งสายการพิเศษของรัฐสภาโดยเฉพาะ และมุ่งเน้นที่การขัดขวางทางการเมืองในการดำเนินงานของแผนมาร์แชลล์ นอกจากนี้ยังได้ประสานการช่วยเหลือระหว่างประเทศกับพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามกลางเมืองกรีซในปี 1947–49 โคมินฟอร์มขับไล่ยูโกสลาเวียในปี 1948 หลังจากตีโต้ยืนยันในนโยบายที่เป็นอิสระ หนังสือพิมพ์ For a Lasting Peace, for a People's Democracy! เลื่อนตำแหน่งของสตาลิน ความเข้มข้นของโคมินฟอร์มในยุโรปหมายถึงการให้ความสำคัญกับการปฏิวัติโลกในนโยบายการต่างประเทศของโซเวียต โดยการให้เหตุผลอุดมการณ์แบบเดียวกันจะอนุญาตให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับบุคลิกภาพแทนที่จะเป็นประเด็น === นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในช่วงต้น (1919–1939) === ความเป็นผู้นำของคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตถกเถียงประเด็นนโยบายต่างประเทศและการเปลี่ยนเส้นทางหลายครั้ง แม้ว่าสตาลินจะควบคุมการปกครองแบบเผด็จการในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 มีการอภิปรายและเขาก็เปลี่ยนตำแหน่งเป็นอย่างมาก อย่างแรกคือการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จะเกิดขึ้นในไม่ช้าในทุกประเทศอุตสาหกรรมหลักและเป็นความรับผิดชอบของโซเวียตที่จะช่วยเหลือพวกเขา โคมินเทิร์นเป็นตัวเลือกอาวุธอย่างหนึ่ง แต่การปฏิวัติก็ล้มเหลวและถูกปราบปรามอย่างรวดเร็ว (ที่ยาวนานที่สุดคือฮังการี) สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี กินเวลาเพียงวันที่ 21 มีนาคม ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 1919 ซึ่งพวกบอลเชวิครัสเซียไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ โดยในปี 1921 อย่างที่สองมาพร้อมกับการตระหนักถึงโดยเลนิน, ทรอตสกี และสตาลินว่าระบบทุนนิยมมีเสถียรภาพตัวเองในยุโรป และจะไม่มีการปฏิวัติอย่างกว้างขวางในเร็ว ๆ นี้ มันกลายเป็นหน้าที่ของพวกบอลเชวิครัสเซียเพื่อปกป้องสิ่งที่พวกเขามีในรัสเซีย และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางทหารที่อาจทำลายสะพานของพวกเขา ตอนนี้รัสเซียอยู่ในสภาพเดียวกันกับเยอรมนี ทั้งสองเข้ามามีส่วนร่วมในปี 1922 ในสนธิสัญญาราพาลโล (ค.ศ. 1922) ที่ตัดสินความคับข้องใจยาวนาน ในเวลาเดียวกันทั้งสองประเทศแอบจัดตั้งโครงการฝึกอบรมสำหรับกองทัพเยอรมัน และกองทัพอากาศที่ผิดกฎหมายที่ค่ายกักกันในสหภาพโซเวียต ในเวลาเดียวกันมอสโกได้ขู่รัฐอื่นและเพื่อแลกกับทำงานเพื่อเปิดความสัมพันธ์อันสงบสุขในแง่ของการยอมรับทางการค้าและทางการทูต สหราชอาณาจักรเมินคำเตือนของวินสตัน เชอร์ชิลล์ และอีกสองสามข้อเกี่ยวกับการคุกคามคอมมิวนิสต์ที่ต่อเนื่องและเปิดความสัมพันธ์ทางการค้าและทางการทูตในทางพฤตินัยในปี 1922 มีความหวังสำหรับการตั้งถิ่นฐานของหนี้ของซาร์ช่วงก่อนสงคราม แต่ปัญหาที่ถูกเลื่อนออกไปซ้ำแล้วซ้ำอีก การรับรู้อย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อพรรคแรงงานใหม่เข้ามามีอำนาจในปี 1924 ประเทศหลักอื่น ๆ ทั้งหมดได้เปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหภาพโซเวียต เฮนรี ฟอร์ดได้เปิดความสัมพันธ์ทางธุรกิจขนาดใหญ่กับโซเวียตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยหวังว่าจะนำไปสู่สันติภาพในระยะยาว ท้ายที่สุดในปี 1933 สหรัฐอเมริกาได้ยอมรับสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ การตัดสินใจสนับสนุนโดยความคิดเห็นของประชาชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผลประโยชน์ทางธุรกิจของอเมริกาที่คาดว่าจะสร้างตลาดใหม่ที่ทำกำไรได้ อย่างที่สามเข้ามาในช่วงปลายทศวรรษ 1920 และต้นทศวรรษ 1930 เมื่อสตาลินสั่งให้พรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกคัดค้านพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคคอมมิวนิสต์สหภาพแรงงานหรือองค์กรฝ่ายซ้ายอื่น ๆ แต่สตาลินกลับคำตัวเองในปี 1934 ด้วยโครงการกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่เรียกร้องให้ทุกพรรคคอมมิวนิสต์เข้าร่วมกับพรรคการเมืองฟาสซิสต์, แรงงาน และองค์กรทั้งหมดที่ต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหลากหลายของนาซี === ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–1945) === === ยุคสงครามเย็น (1945–1991) === == การเมือง == สหภาพโซเวียตมีชั้นอำนาจสามลำดับ โดยที่สภานิติบัญญัติเป็นตัวแทนของอภิสภาโซเวียตแห่งสหภาพโซเวียต รัฐบาลเป็นตัวแทนของคณะรัฐมนตรี และ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เป็นฝ่ายกฎหมายและผู้กำหนดนโยบายขั้นสูงสุดในประเทศเท่านั้น === รูปแบบการปกครอง === อภิสภาโซเวียต (ผู้สืบต่อจากรัฐสภาโซเวียต และ คณะกรรมาธิการบริหารส่วนกลาง) เป็นสภารัฐสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโซเวียตเพียงในนาม ในตอนแรกได้ทำหน้าที่เป็นสถาบันที่อนุมัติและดำเนินการตัดสินใจทั้งหมดที่ทำโดยพรรค อย่างไรก็ตามอำนาจและหน้าที่ของอภิสภาโซเวียตได้ขยายออกไปในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950, 1960 และ 1970 รวมถึงการสร้างคอมมิชชั่นและคณะกรรมการของรัฐใหม่ อภิสภาโซเวียตยังได้รับอำนาจเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติแผนห้าปีและงบประมาณของรัฐบาลโซเวียต อภิสภาโซเวียตเลือกประธานคณะผู้บริหารสูงสุดเพื่อใช้อำนาจระหว่างการประชุมใหญ่ โดยปกติแล้วจะจัดขึ้นปีละสองครั้งและแต่งตั้งศาลฎีกาสูงสุด, อัยการสูงสุด และคณะรัฐมนตรี (ชื่อเดิมคือ สภาคอมมิสซาร์ประชาชน) นำโดยประธาน (นายกรัฐมนตรี) และการจัดการระบบราชการขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบในการบริหารเศรษฐกิจและสังคม โครงสร้างรัฐและพรรคของสาธารณรัฐส่วนใหญ่จำลองโครงสร้างของสถาบันกลางแม้ว่าสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย จะแตกต่างจากสาธารณรัฐอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ของ โดยไม่มีสาขาสาธารณรัฐของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต และถูกปกครองโดยตรงโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตจนถึงปี 1990 เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นถูกจัดให้มีคณะกรรมการฝ่ายโซเวียตและคณะผู้บริหารระดับสูง ในขณะที่ระบบของรัฐเป็นรัฐบาลกลางในนามพรรครวมกัน == การแบ่งเขตการปกครอง == สหภาพโซเวียตเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐซึ่งมีสมาชิกเป็นรัฐที่รวมกันเช่นยูเครน และ เบียโลรัสเซีย (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต) กับรัฐสหพันธรัฐเช่น รัสเซีย และทรานส์คอเคซัส (สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต) ทั้งสี่เป็นสาธารณรัฐผู้ก่อตั้งซึ่งลงนามในสนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียตในเดือนธันวาคม 1922 ในปี 1924 ในช่วงการปักปันเขตในเอเชียกลาง อุซเบกิสถานและเติร์กเมนิสถานเกิดจากส่วนต่าง ๆ ของรัสเซีย เป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน และอีกสองแห่งคือ สาธารณรัฐบูฮาราน และ สาธารณรัฐโฮเรซม์ ในปี 1929 ทาจิกิสถานถูกแยกออกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ตามรัฐธรรมนูญปี 1936 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมโซเวียตทรานส์คอเคซัสถูกยุบลง ส่งผลให้สาธารณรัฐองค์ประกอบคือ อาร์เมเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสหภาพ ขณะที่คาซัคสถานและเคอร์กีเซียถูกแยกออกจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ส่งผลเป็นสถานะเดียวกัน ในเดือนสิงหาคม 1940 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยรวมพื้นที่บางส่วนของเบสซาเรเบีย และ นอร์เทิร์นบูโควินา รัฐบอลติกทั้งสามคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต) ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศและถือว่ารัฐบอลติกอยู่ภายใต้การยึดครองที่ผิดกฎหมายตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 1940–1991 คาเรเลียถูกแยกออกจากรัสเซียในฐานะสาธารณรัฐสหภาพในเดือนมีนาคม 1940 และถูกรวมเข้ากับรัสเซียอีกครั้งในปี 1956 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 1956 ถึงเดือนกันยายน 1991 สหภาพโซเวียตมี 15 สาธารณรัฐที่เป็นส่วนหนึงของสาธารณรัฐสหภาพ (ดูแผนที่ด้านล่าง) === อดีตเขตการปกครอง === {|class="wikitable sortable" style="text-align:right; |- |- ! แผนที่ ! สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ! เมืองหลวง ! เข้าร่วม ! พื้นที่ (km²) ! รวมเข้า/แยกออก |- | 300px | align = left | สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส | align = left | ทบิลิซี | 1922–1936 | | ได้แยกเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์เมเนีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน และ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย |- | 300px | align = left | สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช | align = left | เปโตรซาวอดสค์ | 1940–1956 | | รวมตัวกับ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย |} == เศรษฐกิจ == สหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศแรกที่ใช้เศรษฐกิจตามแผนซึ่งการผลิตและการกระจายสินค้าถูกรวมศูนย์และกำกับโดยรัฐบาล ประสบการณ์แรกของบอลเชวิคที่มีต่อระบบเศรษฐกิจต่อการบังคับคือนโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของประเทศ การแจกจ่ายส่วนกลางของผลผลิตการบีบบังคับของการผลิตทางการเกษตร และความพยายามที่จะกำจัดการไหลเวียนของเงินทุนภาคเอกชนและการค้าเสรี หลังจากการล่มสลายทางเศรษฐกิจที่รุนแรง เลนินได้แทนที่สงครามคอมมิวนิสต์โดยนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (NEP) ในปี 1921 นโยบายดังกล่าวอนุญาตให้เอกชนดำเนินกิจการบางอย่างได้เช่นการค้าเสรีและการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในธุรกิจขนาดเล็ก เศรษฐกิจจึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากการถกเถียงกันในหมู่สมาชิกโปลิตบูโร เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในปี 1928–1929 เมื่อสหภาพโซเวียตถูกโจเซฟ สตาลินปกครอง สตาลินก็ละทิ้งนโยบายเศรษฐกิจใหม่ และผลักดันให้มีการวางแผนกลางแบบเต็มรูปแบบทำให้ต้องบังคับให้เกิดการรวมตัวของภาคเกษตรกรรมและบังคับใช้กฎหมายแรงงานที่เข้มงวด ทรัพยากรที่ถูกระดมเพื่อการอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วซึ่งขยายความสามารถของสหภาพโซเวียตในอุตสาหกรรมหนักและสินค้าทุนในช่วงทศวรรษที่ 1930 แรงจูงใจหลักของอุตสาหกรรมคือการเตรียมพร้อมสำหรับสงครามซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ไว้วางใจของโลกทุนนิยมภายนอก เป็นผลให้สหภาพโซเวียตถูกเปลี่ยนจากเศรษฐกิจการเกษตรส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่มีอำนาจมากนำทางสำหรับการเกิดเป็นมหาอำนาจของสหภาพโซเวียตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามได้ทำลายเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของสหภาพโซเวียตอย่างมหาศาลและพวกเขาจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูอย่างกว้างขวาง ช่วงต้นทศวรรษที่ 1940 เศรษฐกิจโซเวียตเริ่มมีความสามารถพอเพียงได้เกือบทุกช่วงเวลาจนกระทั่งการก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ สหภาพโซเวียตมีส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อยของผลิตภัณฑ์ในประเทศที่มีการซื้อขายระหว่างประเทศ หลังจากที่มีการจัดตั้งกลุ่มตะวันออกขึ้น การค้าต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังคงมีอิทธิพลของเศรษฐกิจโลกในสหภาพโซเวียตถูกจำกัด โดยราคาในประเทศคงที่และการผูกขาดของรัฐในการค้าต่างประเทศ ธัญพืชและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความซับซ้อนกลายเป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญในช่วงทศวรรษที่ 1960 ในช่วงการแข่งขันในทางอาวุธของสงครามเย็นเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตถูกแบกรับภาระหนักจากการใช้จ่ายทางทหารซึ่งได้รับการยกระดับด้วยระบบราชการที่มีประสิทธิภาพที่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมอาวุธ ในขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตก็กลายเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดไปยังประเทศโลกที่สาม จำนวนมหาศาลของทรัพยากรของโซเวียตในช่วงสงครามเย็นได้รับการจัดสรรในการช่วยเหลือรัฐสังคมนิยมอื่น ๆ จากช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 จนถึงการล่มสลายในช่วงปลายปี 1991 เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตยังไม่เปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจได้รับการกำกับอย่างเป็นทางการโดยการวางแผนกลางซึ่งดำเนินการโดย Gosplan และจัดทำขึ้นในแผนห้าปี อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแผนการดังกล่าวได้รับการรวบรวมและรวมกันเป็นอย่างมากโดยเฉพาะภายใต้การแทรกแซงโดยคนใหญ่กว่า การตัดสินใจทางเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งหมดถูกยึดครองในทางการเมือง การจัดสรรทรัพยากรและเป้าหมายตามแผนเป็นเงินสกุลรูเบิลมากกว่าสินค้าในทางกายภาพ การจัดสรรผลผลิตขั้นสุดท้ายได้ผ่านการกระจายอำนาจโดยไม่ได้ตั้งใจไปแล้ว แม้ว่าในทางทฤษฎีราคาถูกต้องตามกฎหมายจากเบื้องบน แต่ในทางปฏิบัติพวกเขามักจะเจรจาและการเชื่อมโยงในแนวนอน (ระหว่างโรงงานผู้ผลิต ฯลฯ ) เป็นที่แพร่หลาย การบริการพื้นฐานหลายประเภทได้รับการสนับสนุนจากรัฐเช่นการศึกษาและการดูแลสุขภาพ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอุตสาหกรรมหนักและการป้องกันมีการจัดลำดับความสำคัญมากกว่าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในนอกเมืองใหญ่ มักขาดแคลนคุณภาพไม่ดีและมีทางเลือกที่จำกัด ผู้บริโภคไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อการผลิตดังนั้นความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในราคาคงที่ เศรษฐกิจที่ไม่คาดคิดจำนวนมากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับต่ำควบคู่ไปกับแผนงานที่วางแผนไว้โดยให้บางส่วนของสินค้า และการบริการที่นักวางแผนไม่สามารถทำได้ถูกต้องตามกฎหมายขององค์ประกอบบางอย่าง และระบบเศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจได้รับการพยายามด้วยการปฏิรูปในปี 1965 แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตจะไม่น่าเชื่อถือและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เดาได้ยาก โดยบัญชีเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวต่อไปจนถึงกลางทศวรรษที่ 1980 ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 มีอัตราการเติบโตสูงและมีการจับจองทางฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามหลังจากที่ปี 1970 การเติบโตในขณะที่ยังคงเป็นบวกอย่างต่อเนื่องลดลงอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องกว่าในประเทศอื่น ๆ แม้จะมีการเพิ่มทุนอย่างรวดเร็วในหุ้นทุน (อัตราการเพิ่มทุนถูกกว่าของญี่ปุ่นเท่านั้น) โดยรวมระหว่างปี 1960 ถึงปี 1989 อัตราการเติบโตของรายได้ต่อหัวในสหภาพโซเวียตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกเล็กน้อย (102 ประเทศในขณะนั้น) ตามที่ Stanley Fischer และ William Easterly การเติบโตอาจเร็วขึ้น จากการคำนวณรายได้ต่อหัวของสหภาพโซเวียตในปี 1989 ควรสูงกว่าเมื่อพิจารณาจากจำนวนเงินลงทุนการศึกษาและประชากร ผู้เขียนเชื่อว่าผลงานที่น่าเศร้านี้จะนำไปสู่การผลิตเงินทุนต่ำในสหภาพโซเวียต Steven Rosenfielde ระบุว่ามาตรฐานการครองชีพลดลงเนื่องจากการปกครองแบบเผด็จการของสตาลินและในขณะที่มีการปรับปรุงโดยย่อหลังจากการตายของเขาแล้วมันก็กลายเป็นความซบเซา ในปี 1987 มิฮาอิล กอร์บาชอฟพยายามที่จะปฏิรูปและฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยนโยบายเปเรสตรอยคา นโยบายของเขาผ่อนคลายการควบคุมของรัฐในรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่ได้แทนที่ด้วยแรงจูงใจในตลาดส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากรายได้จากการส่งออกปิโตรเลียมลดลงเริ่มล่มสลาย ราคายังคงมีอยู่และทรัพย์สินส่วนใหญ่ยังคงเป็นของรัฐจนสหภาพโซเวียตล่มสลาย ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนล่มสลาย ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นของสหภาพโซเวียตเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และอันดับ 3 ในโลกในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980–1989 แม้ว่าจะอยู่ตามหลังประเทศในโลกที่หนึ่งก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศที่มีผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นต่อหัวในปี 1928 สหภาพโซเวียตมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ในปี 1990 สหภาพโซเวียตมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่ 0.920 ซึ่งอยู่ในระดับ "สูง" ในการพัฒนามนุษย์ เป็นอันดับ 3 ในกลุ่มตะวันออกรองจากเชโกสโลวาเกียและเยอรมนีตะวันออก และอันดับที่ 25 ใน 130 ประเทศทั่วโลก === พลังงาน === ความจำเป็นในการใช้เชื้อเพลิงลดลงในสหภาพโซเวียตตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 ต่อค่าเงินรูเบิลของผลิตภัณฑ์ทางสังคมขั้นต้นและต่อเศษของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การลดลงนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ค่อย ๆ ชะลอตัวลงระหว่างปี 1970 ถึงปี 1975 และจากปี 1975 ถึงปี 1980 มีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 2.6 นักประวัติศาสตร์ David Wilson เชื่อว่าอุตสาหกรรมก๊าซจะคิดเป็นร้อยละ 40 ของการผลิตเชื้อเพลิงของสหภาพโซเวียตในช่วงสิ้นศตวรรษ แต่ทฤษฎีของเขาไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในทางทฤษฎีสหภาพโซเวียตจะยังคงมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2 ถึง 2.5 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 1990 จากแหล่งพลังงานในสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตามภาคพลังงานต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการรวมทั้งค่าใช้จ่ายทางทหารที่สูงของประเทศและความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นมิตรกับประเทศในโลกที่หนึ่ง (ก่อนยุคกอร์บาชอฟ) ในปี 1991 สหภาพโซเวียตมีโครงข่ายท่อส่งน้ำมันดิบ 82,000 กิโลเมตร (51,000 ไมล์) และก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 206,500 กิโลเมตร (128,300 ไมล์) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม, ก๊าซธรรมชาติ, โลหะ, ไม้, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารถูกส่งออก ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 สหภาพโซเวียตได้พึ่งพาการส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างหนักเพื่อหารายได้มหาศาล และอยู่จุดสูงสุดในปี 1988 สหภาพโซเวียตเป็นกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด และเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่เป็นอันดับสองรองจากซาอุดีอาระเบีย === วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี === สหภาพโซเวียตให้ความสำคัญในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ความสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดของสหภาพโซเวียตคือเทคโนโลยีดาวเทียมดวงแรกของโลกโดยมีการสนับสนุนจากกองทัพ เลนินกล่าวในภายหลังว่าสหภาพโซเวียตจะไม่สามารถแซงประเทศที่พัฒนาแล้วถ้ายังมีเทคโนโลยีที่ล้าหลัง ทำให้หลังเลนินเสียชีวิตก็มีความพยายามพัฒนาวิทยาการเป็นจำนวนมากจนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวิทยาการและเทคโนโลยีมากที่สุด ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 สตรีโซเวียตได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาเคมี 40% เมื่อเทียบกับเพียง 5% ที่ได้รับปริญญาในสหรัฐอเมริกา โดยปี 1989 นักวิทยาศาสตร์โซเวียตเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีในหลายด้านเช่นฟิสิกส์, พลังงาน, สาขาวิชายา, คณิตศาสตร์, การเชื่อม และเทคโนโลยีด้านการทหาร โซเวียตยังคงอยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีในด้านเคมี, ชีววิทยา และคอมพิวเตอร์เมื่อเปรียบเทียบกับโลกที่หนึ่งเนื่องจากการวางแผนและการปกครองของรัฐที่เข้มงวด โครงการ Project Socrates ภายใต้การบริหารของเรแกน ระบุว่าสหภาพโซเวียตได้กล่าวถึงการได้มาซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในลักษณะที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่สหรัฐกำลังใช้อยู่ ในกรณีของสหรัฐ การจัดลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจถูกนำมาใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนาในประเทศเป็นวิธีการในการแสวงหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ ในทางตรงกันข้ามสหภาพโซเวียตใช้กลยุทธ์ในการครอบครองและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทั่วโลกเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันที่ได้มาจากเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันสหรัฐจากการได้เปรียบในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามในการวางแผนเทคโนโลยีของสหภาพโซเวียตได้ดำเนินการในรูปแบบส่วนกลางซึ่งเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลซึ่งขัดขวางความยืดหยุ่น นี่คือการขาดความยืดหยุ่นอย่างมีนัยสำคัญที่ถูกใช้โดยสหรัฐเพื่อบ่อนทำลายความเข้มแข็งของสหภาพโซเวียตและทำให้เกิดการปฏิรูป === การคมนาคม === การคมนาคมขนส่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจในประเทศ การรวมศูนย์เศรษฐกิจในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 และ 1930 นำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งแอโรฟลอต ซึ่งเป็นบริษัทการบิน สหภาพโซเวียตมีรูปแบบการขนส่งที่หลากหลายทั้งทางบก, ทางน้ำ และทางอากาศ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการบำรุงรักษาถนนที่ไม่ดี ทางน้ำ และการขนส่งทางอากาศพลเรือนของสหภาพโซเวียตยังล้าสมัยและล้าหลังทางเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับโลกที่หนึ่ง การขนส่งทางรถไฟของสหภาพโซเวียตมีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าคู่สัญญาตะวันตกอีกด้วย ในตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 นักเศรษฐศาสตร์โซเวียตกำลังเรียกร้องให้มีการก่อสร้างถนนเพื่อบรรเทาภาระบางส่วนจากทางรถไฟ และแผนปรับงบประมาณของรัฐบาลโซเวียต เครือข่ายถนนและอุตสาหกรรมยานยนต์ ยังคงอยู่ภายใต้การพัฒนา และถนนที่สกปรกอยู่ทั่วไปนอกเมืองสำคัญ โครงการบำรุงรักษาของสหภาพโซเวียตพิสูจน์ไม่ได้ว่าจะสามารถดูแลแม้แต่ถนนเล็ก ๆ ในประเทศได้ ในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 เจ้าหน้าที่โซเวียตได้พยายามแก้ปัญหาถนนด้วยการสั่งให้ก่อสร้างอาคารใหม่ ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์เติบโตขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการก่อสร้างถนน เครือข่ายถนนที่ด้อยพัฒนานำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการขนส่งสาธารณะ แม้จะมีการปรับปรุงหลายด้านของภาคการขนส่ง แต่ก็ยังคงพรุนกับปัญหาเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าสมัย การขาดการลงทุน การทุจริต และการตัดสินใจที่ไม่ดี เจ้าหน้าที่โซเวียตไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและการบริการ กองเรือพาณิชย์ของสหภาพโซเวียตเป็นหนึ่งในกองเรือพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก == ประชากร == การเสียชีวิตส่วนเกินในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามกลางเมืองของรัสเซีย (รวมถึงความอดอยากหลังสงคราม) มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 18 ล้านคน, 10 ล้านคนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และมากกว่า 26 ล้านคนในปี 1941-1945 ประชากรโซเวียตหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีขนาดเล็กกว่า 45 ถึง 50 ล้านคนหากว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประชากรก่อนสงครามยังคงดำเนินต่อไป อ้างอิงจาก Catherine Merridale "... การประมาณการที่สมเหตุสมผลจะทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตส่วนเกินตลอดช่วงเวลาประมาณ 60 ล้านคน" อัตราการเกิดของสหภาพโซเวียตลดลงจาก 44.0 ต่อ 1000 คน ในปี 1926 เป็น 18.0 ในปี 1974 ส่วนใหญ่เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเมืองและอายุเฉลี่ยของการแต่งงานที่เพิ่มขึ้น อัตราการตายลดลงเรื่อย ๆ - จาก 23.7 ต่อ 1000 คน ในปี 1926 เป็นร้อยละ 8.7 ในปี 1974 โดยทั่วไปอัตราการเกิดของสาธารณรัฐทางใต้ในทรานส์คอเคซัสและเอเชียกลาง สูงกว่าทางภาคเหนือของสหภาพโซเวียตและในบางกรณีเพิ่มขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองปรากฏการณ์ส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราการชะลอตัวของการทำให้เป็นเมือง และประเพณีแต่งงานก่อนหน้านี้ในสาธารณรัฐทางใต้ ในสหภาพโซเวียตฝั่งยุโรป ได้ย้ายไปสู่แนวโน้มประชากรลดลง ในขณะที่เอเชียกลางยังคงแสดงการเติบโตของประชากรได้ดีกว่าความอุดมสมบูรณ์ในระดับทดแทน ในปลายศริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 70 มีการพยายามลดอัตราการเสียชีวิตในสหภาพโซเวียต และเป็นที่ชื่นชมมากในหมู่คนวัยทำงาน แต่ยังเป็นที่แพร่หลายในรัสเซียและพื้นที่สลาฟอื่น ๆ ส่วนใหญ่ของประเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นทางการจากปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 แสดงให้เห็นว่าหลังจากที่เลวร้ายลงในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 การตายของคนวัยผู้ใหญ่เริ่มกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง อัตราการตายของทารกเพิ่มขึ้นจาก 24.7 ในปี 1970 เป็น 27.9 ในปี 1974 นักวิจัยบางคนให้ความสำคัญกับการเพิ่มขึ้นของความเป็นจริงอันเป็นผลมาจากภาวะสุขภาพและบริการที่แย่ลง การตายเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และทารกไม่ได้ถูกอธิบายหรือปกป้องโดยเจ้าหน้าที่โซเวียตและรัฐบาลโซเวียตก็หยุดการเผยแพร่สถิติการตายทั้งหมดเป็นเวลา 10 ปี นักวิจัยด้านสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของสหภาพโซเวียตยังคงนิ่งเงียบเกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจนถึงช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลการเสียชีวิต และนักวิจัยก็สามารถเจาะลึกสาเหตุที่แท้จริงได้ === การศึกษา === อะนาโตลี ลูนาชาร์สกี กลายเป็นผู้ก่อตั้งกรมเพื่อการศึกษาโซเวียต ในตอนต้นเจ้าหน้าที่โซเวียตให้ความสำคัญกับการกำจัดการไม่รู้หนังสือ คนที่รู้หนังสือได้รับการว่าจ้างให้เป็นครูโดยอัตโนมัติ ในช่วงเวลาสั้น ๆ คุณภาพถูกเสียสละเพื่อปริมาณ เมื่อถึงปี 1940 สตาลินได้ประกาศว่าการไม่รู้หนังสือในสหภาพโซเวียตได้รับการกำจัดแล้ว ตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 การเคลื่อนไหวทางสังคมได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิรูปการศึกษาของสหภาพโซเวียต หลังจากมหาสงครามของผู้รักชาติ ระบบการศึกษาของประเทศที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว การขยายตัวนี้มีผลอย่างมาก ในปี 1960 เด็กในสหภาพโซเวียตเกือบทั้งหมดมีการเข้าถึงการศึกษายกเว้นเพียงเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นห่างไกล นีกีตา ครุชชอฟ พยายามทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นทำให้เด็ก ๆ เห็นได้ชัดว่าการศึกษามีความสัมพันธ์กับความต้องการของสังคมอย่างใกล้ชิด การศึกษาก็กลายเป็นเรื่องสำคัญในการทำให้คนใหม่ ๆ พลเมืองที่เข้าทำงานโดยตรงมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการทำงานและการฝึกอบรมวิชาชีพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระบบการศึกษาของประเทศมีความเป็นส่วนกลางและสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วกันสำหรับพลเมืองทุกคนโดยมีการยืนยันสำหรับผู้สมัครจากประเทศที่เกี่ยวข้องกับความล้าหลังทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามในฐานะส่วนหนึ่งของนโยบายต่อต้านยิว การใช้โควต้าของชาวยิวอย่างไม่เป็นทางการในสถาบันชั้นนำของการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นบังคับให้ผู้สมัครชาวยิวสมัครสอบที่เข้มงวดมากขึ้น ในยุคเบรจเนฟยังแนะนำกฎที่จำเป็นสำหรับผู้สมัครทุกมหาวิทยาลัยที่จะนำเสนอการอ้างอิงจากเลขานุการ Komsomol ท้องถิ่น ตามสถิติจากปี 1986 จำนวนนักเรียนระดับอุดมศึกษาต่อประชากร 10,000 คนเป็น 181 คนสำหรับสหภาพโซเวียต เทียบกับ 517 คนสำหรับสหรัฐอเมริกา === เชื้อชาติ === สหภาพโซเวียตเป็นประเทศที่มีความหลากหลายเชื้อชาติมากที่มีมากกว่า 100 กลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันประชากรทั้งหมดของอยู่ที่ประมาณ 293 ล้านคนในปี 1991 ตามการประมาณการในปี 1990 ประชากรในสหภาพโซเวียตส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซียคิดเป็น 50.78% ตามด้วย ชาวยูเครน 15.45% และ ชาวอุซเบก 5.84% พลเมืองทั้งหมดของสหภาพโซเวียตมีความเกี่ยวพันกับชาติพันธุ์ของตน เชื้อชาติของบุคคลได้รับการคัดเลือกเมื่ออายุสิบหกปีโดยพ่อแม่ของเด็ก หากบิดามารดาไม่เห็นด้วยเด็กจะได้รับการกำหนดเชื้อชาติของบิดาโดยอัตโนมัติ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของสหภาพโซเวียตบางกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดเล็กถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใหญ่เช่น Mingrelians of Georgia ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเกี่ยวกับจอร์เจีย กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มได้หลอมรวมกันโดยสมัครใจในขณะที่บางกลุ่มถูกนำตัวเข้ามาโดยใช้กำลัง ชาวรัสเซีย เบลารุส และ ยูเครน มีส่วนสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดในขณะที่กลุ่มอื่น ๆ ไม่ได้มี การมีเชื้อชาติหลายเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ในดินแดนเดียวกันได้เกิดเป็นความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ของชาติต่าง ๆ และพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา === สาธารณสุข === ในปี 1917 ก่อนเกิดการปฏิวัติ ภาวะสุขภาพมีความสำคัญอยู่เบื้องหลังต่อการพัฒนาประเทศ ดังที่เลนินกล่าวในภายหลังว่า "เหาจะพ่ายแพ้ต่อลัทธิสังคมนิยม หรือลัทธิสังคมนิยมจะพ่ายแพ้ต่อเหา" หลักการการดูแลสุขภาพของสหภาพโซเวียตถูกกำหนดโดย People's Commissariat for Health ในปี 1918 การดูแลสุขภาพต้องถูกควบคุมโดยรัฐและจะจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดการปฏิวัติ มาตราที่ 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต 1977 ประชาชนมีสิทธิ์ในการคุ้มครองสุขภาพและการเข้าถึงสถาบันสุขภาพใด ๆ ในสหภาพโซเวียตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ก่อนที่ เลโอนิด เบรจเนฟ ขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรค ระบบสาธารณสุขของสหภาพโซเวียตได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้จากยุคเบรจเนฟสู่ยุคกอร์บาชอฟ ระบบการดูแลสุขภาพของโซเวียตถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักสำหรับข้อบกพร่องขั้นพื้นฐานหลายอย่างเช่นคุณภาพการให้บริการ และความไม่สม่ำเสมอในการจัดหาเครื่องมือแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข Yevgeny Chazov และ รัฐบาลสหภาพโซเวียตได้ให้ความสำคัญในด้านทางการแพทย์ของโซเวียตเป็นอย่างมาก และพัฒนาโรงพยาบาลให้อยู่ในระดับสากล โดยได้มีการปรับปรุงระบบใหม่เป็นเงินหลายพันล้านรูเบิลโซเวียต หลังจากการปฏิวัติสังคมนิยม อายุขัยเฉลี่ยของทุกกลุ่มอายุเพิ่มขึ้น ในสถิตินี้บางคนเห็นว่าระบบสังคมนิยมดีกว่าระบบทุนนิยม การปรับปรุงเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไปในคริสต์ทศวรรษ 1960 เมื่ออายุขัยเฉลี่ยในสหภาพโซเวียตสูงกว่าของสหรัฐอเมริกา มันยังคงมีเสถียรภาพในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแม้ว่าในคริสต์ทศวรรษ 1970 จะลดลงไปเล็กน้อยอาจเป็นเพราะการดื่มแอลกอฮอล์ ในเวลาเดียวกันการตายของทารกเริ่มเพิ่มขึ้น หลังจากปี 1974 รัฐบาลได้สั่งให้หยุดเผยแพร่สถิติเกี่ยวกับเรื่องนี้ แนวโน้มนี้อาจอธิบายได้จากจำนวนการตั้งครรภ์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในภูมิภาคเอเชียของประเทศที่อัตราการตายของทารกสูงที่สุดในขณะที่การลดลงอย่างมากในส่วนที่พัฒนาขึ้นในภูมิภาคยุโรปของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตยังมีศูนย์ความเป็นเลิศหลายแห่งเช่น Fyodorov Eye Microsurgery Complex ซึ่งเกียวกับการรักษาตา ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 โดยศัลยแพทย์ตาชาวรัสเซีย Svyatoslav Fyodorov === ภาษา === รัฐบาลโซเวียตที่นำโดยวลาดีมีร์ เลนินได้ให้กลุ่มภาษาเล็ก ๆ เป็นระบบการเขียนของตัวเอง การพัฒนาระบบการเขียนเหล่านี้ประสบความสำเร็จอย่างมากแม้ว่าจะมีข้อบกพร่องบางอย่าง ในช่วงหลัง ๆ ของสหภาพโซเวียต ประเทศใช้นโยบายเดียวกันที่มีสถานการณ์เดียวกันหลายภาษา ปัญหาร้ายแรงเมื่อสร้างระบบการเขียนเหล่านี้ก็คือภาษาที่แตกต่างกันอย่างมาก เมื่อภาษาได้รับการเขียนระบบและปรากฏในสิ่งพิมพ์ที่โดดเด่นภาษานั้นจะมีสถานะ "ภาษาราชการ" มีภาษาชนกลุ่มน้อยจำนวนมากที่ไม่เคยได้รับระบบการเขียนของตัวเอง ดังนั้นการพูดของพวกเขานั้นจะมีสถานะ "ภาษาที่สอง" มีตัวอย่างที่รัฐบาลโซเวียตถอยห่างจากนโยบายนี้ที่โดดเด่นที่สุดในระบอบการปกครองของสตาลินซึ่งการศึกษายุติลงในภาษาที่ไม่แพร่หลายมากนัก ภาษาเหล่านี้ล้วนส่วนใหญ่แล้วถูกหลอมรวมเข้าเป็นภาษาอื่นในรัสเซีย ในช่วงมหาสงครามของผู้รักชาติบางภาษาของชนกลุ่มน้อยถูกห้ามและการพูดภาษาของชนกลุ่มน้อยบางภาษาจะถูกกล่าวหาว่าทำงานร่วมกับศัตรู ภาษาที่พูดอย่างกว้างขวางที่สุดแห่งสหภาพโซเวียตคือ ภาษารัสเซีย และถูกประกาศว่าเป็นภาษาราชการในทางนิตินัยในปี 1990 === ศาสนา === ในสหภาพโซเวียต ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนศาสนิกชนมากที่สุด คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่นับถือนิกายออร์ทอดอกซ์ โดยคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ชาวมุสลิมในประเทศร้อยละ 90 ถือนิกายซุนนี ส่วนชาวชีอะฮ์พบมากในอาเซอร์ไบจาน นอกจากนี้ยังมีศาสนิกชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ชาวโรมันคาทอลิก ชาวยิว ชาวพุทธ และชาวโปรเตสแตนต์หลายนิกาย (โดยเฉพาะแบปทิสต์และลูเทอแรน) ในสมัยจักรวรรดิรัสเซีย คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ได้รับสถานะพิเศษในฐานะเป็นคริสตจักรประจำชาติและมีส่วนในการปกครองประเทศ แต่ในสมัยสหภาพโซเวียตคริสตจักรถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายปฏิวัติ เพราะถูกมองว่าเป็นพวกชนชั้นปกครอง == กองทัพ == == มรดก == == วัฒนธรรม == วัฒนธรรมของสหภาพโซเวียตผ่านช่วงหลายช่วงของการดำรงอยู่ของสหภาพโซเวียต 69 ปี ในช่วงสิบเอ็ดปีแรกหลังจากการปฏิวัติ (1918–1929) ยังอนุโลมให้มีเสรีภาพและศิลปินทดลองด้วยรูปแบบต่าง ๆ เพื่อหารูปแบบของโซเวียตที่โดดเด่น เลนินต้องการให้ศิลปะสามารถเข้าถึงคนรัสเซียได้ ในทางกลับกันนักเขียนและศิลปินหลายร้อยคนถูกเนรเทศหรือถูกประหารชีวิต และงานของพวกเขาถูกห้าม ตัวอย่างเช่น Nikolay Gumilyov (ถูกยิงหลังถูกกล่าวหาว่าสมคบคิดต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์) และ เยฟเกนี ซาเมียติน (ถูกห้าม) รัฐบาลโซเวียตสนับสนุนให้มีแนวคิดที่หลากหลาย ในงานศิลปะและวรรณคดีหลายโรงเรียนบางแบบและอื่น ๆ การทดลองอย่างรุนแรงถูกแพร่กระจายออกไป นักเขียนคอมมิวนิสต์อย่าง มักซิม กอร์กี และวลาดีมีร์ มายาคอฟสกี กำลังทำงานอยู่ในช่วงเวลานี้ ภาพยนตร์เป็นวิธีการที่มีอิทธิพลต่อสังคมส่วนใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ผลงานของผู้กำกับเซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์ เป็นผลงานที่ดีที่สุดนับจากช่วงนี้ ต่อมาในช่วงของการปกครองของสตาลิน วัฒนธรรมโซเวียตเป็นลักษณะการปกครองที่เพิ่มขึ้นและการครอบงำของรัฐบาลที่กำหนดรูปแบบของแนวคิดสัจนิยมสังคมนิยมกับแนวโน้มอื่น ๆ ทั้งหมดถูกคุมขังอย่างหนักด้วยข้อหาหนัก เช่นงานของ มิคาอิล บัลกาคอฟ นักเขียนหลายคนถูกคุมขังและถูกสังหาร หลังจากช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 การผ่อนปรนครุชชอฟทำให้การตรวจพิจารณาลดลง ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่โดดเด่นของวัฒนธรรมโซเวียตที่พัฒนาขึ้นโดยการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของประชาชนและการให้ความสำคัญกับชีวิตส่วนตัว การทดลองในรูปแบบศิลปะได้รับอนุญาตอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ผลงานที่สำคัญและซับซ้อนยิ่งขึ้นจึงเริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้น ระบอบการปกครองคลี่คลายความสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดสัจนิยมสังคมนิยมตัวอย่างเช่นตัวเอกของนิยายของนักเขียน Yury Trifonov กังวลตัวเองกับปัญหาของชีวิตประจำวันมากกว่าที่จะสร้างสังคมนิยม วรรณกรรมใต้ดินที่เรียกว่า samizdat ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงปลายยุคนี้ สถาปัตยกรรมในยุคครุชชอฟส่วนใหญ่เน้นเรื่องการออกแบบซึงทางตรงกันข้ามกับสไตล์การออกแบบในยุคสตาลิน ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1980 นโยบายเปเรสตรอยคา และ กลัสนอสต์ ของกอร์บาชอฟ ได้ขยายเสรีภาพในการแสดงออกไปทั่วทั้งสหภาพโซเวียตทั้งในสื่อและสิ่งพิมพ์ === วันสำคัญ === == กีฬา == ผลงานของทีมชาติสหภาพโซเวียต ได้แก่ สหภาพโซเวียตในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน เจ้าเหรีญทอง เมลเบิร์น 1956,โรม 1960, มิวนิก 1972,มอนทรีออล 1976,มอสโก 1980และ โซล 1988. สหภาพโซเวียตในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว เจ้าเหรีญทอง กอร์ตีนาดัมเปซโซ 1956 ,สควอว์วัลเลย์ 1960 ,อินส์บรุค 1964 ,ซัปโปโร 1972 ,อินส์บรุค 1976,เลคพลาซิด 1980 และ แคลกะรี 1988 ทีมฟุตบอลสหภาพโซเวียต ผลงานดีที่สุด คือฟุตบอลโลก 1966 ที่อังกฤษ คว้าอันดับ 4.ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ผลงานดีที่สุด ฝรั่งเศส 1960 ชนะเลิศ == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ภาพของสหภาพโซเวียต - แหล่งรวบรวมภาพ แสดงภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในสหภาพโซเวียต Impressions of Soviet Russia (ความประทับใจในโซเวียต รัสเซีย), โดย John Dewey แผนที่ของ Western USSR อภิมหาอำนาจ รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย สหพันธรัฐสิ้นสภาพ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465 สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2534 อดีตรัฐสมาชิกสหประชาชาติ อดีตสาธารณรัฐสังคมนิยม รัฐสิ้นสภาพในประเทศรัสเซีย รัฐคอมมิวนิสต์
thaiwikipedia
824
นักคณิตศาสตร์
นักคณิตศาสตร์ (mathematician) คือบุคคลที่ศึกษาและ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ == บทบาท == งานของนักคณิตศาสตร์ไม่ใช่เพียงศึกษาแต่ยังค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งบทบาทนี้เป็นสิ่งที่ต้องเน้นในที่นี้ เพราะว่ามักมีความเชื่อผิดๆ ว่าทุกอย่างในคณิตศาสตร์นั้นถูกค้นพบแล้ว ในความเป็นจริง การตีพิมพ์ผลงานวิจัยใหม่ทางด้านคณิตศาสตร์ยังคงมีอยู่สูงในวารสารทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจำนวนมากมีเป้าหมายเพื่อพิมพ์งานด้านคณิตศาสตร์ และอีกหลายๆ เล่มนั้นก็เกี่ยวข้องสาขาวิชาที่นำคณิตศาสตร์ไปใช้ (เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี, ฟิสิกส์ หรือ กลศาสตร์ควอนตัม) == การคำนวณตัวเลข == คนทั่วไปมักคิดว่านักคณิตศาสตร์ต้องทำงาน เชี่ยวชาญ และเก่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการคำนวณตัวเลขมาก เช่น บวกหรือลบเลขเพื่อคำนวณค่าทิปให้พนักงานบริการ นี่ก็เป็นความคิดที่ผิดอีกเช่นกัน เพราะแม้แต่นักคณิตศาสตร์ชื่อดังหลายๆ ท่านยังทำเรื่องพวกนี้ได้แย่กว่าคนธรรมดาเสียด้วยซ้ำ ในความเป็นจริงแล้ววิชาคณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ลึกซึ้งและมีอะไรมากกว่าแค่การคำนวณตัวเลขมากนัก อย่างไรก็ตามในหมู่นักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ก็มีบางท่านที่มีพรสวรรค์ที่สามารถคำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนมากในใจได้อย่างรวดเร็ว เช่น วอน นอยแมน หรือ รามานุจัน เป็นต้น == แรงบันดาลใจ == นักคณิตศาสตร์มีแรงบันดาลใจในการทำงานหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ได้มาจากความโลภทางเงินตรา แต่มาจากความสนใจในความรู้ หรือ ความใคร่รู้โดยตรง และแรงบันดาลใจอาจมาจากนักคณิตศาสตร์ที่ตนชื่นชอบที่เป็นฮีโร่ในอุดมคติ ในหนังสือ A Mathematician's Apology อันโด่งดังของกอดเฟรย์ ฮาร์ดี้นักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฮาร์ดี้ได้บรรยายด้วยความรู้สึกส่วนตัวว่า สำหรับเขาแล้วคณิตศาสตร์โดยเฉพาะคณิตศาสตร์บริสุทธิ์คือศิลปะ มันเป็นการสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงามออกมาจากจิตใจภายใน นักคณิตศาสตร์ทำงานของเขาเพราะว่าเขาชื่นชอบและมีความสุขในงานที่เขาทำ เขาไม่ชอบคณิตศาสตร์ประยุกต์ และหวังว่าผลงานของเขาจะไม่ถูกใช้ประยุกต์ในด้านใดๆ เลย! นอกจากนี้เขายังได้กล่าววาทะที่นักคณิตศาสตร์ทั่วไปชื่นชอบว่า ความงามมาเป็นอันดับแรก ไม่มีที่อยู่ในโลกใบนี้สำหรับคณิตศาสตร์ที่น่าเกลียด (Beauty is the first test: there is no permanent place in this world for ugly mathematics) ความสวยงามของคณิตศาสตร์นั้นซ่อนเร้นอยู่ในหลายๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการพิสูจน์ หรือผลลัพธ์ของทฤษฎีบท ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสวยงามอยู่ไม่ต่างจากความงามของภาพวาดหรือความงามของบทเพลงและบทกวี ในหนังสือของเขา ฮาร์ดี้ในกล่าวถึงความงามทางคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ == ความแตกต่างระหว่างนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ == จากเอกสารของ Morris Kline, Mathematics: The Loss of Certainty ได้ให้เหตุผลไว้ว่า นักปรัชญาโดยเฉพาะนักปรัชญาคณิตศาสตร์ (เช่น เบอร์ทรันด์ รัซเซลล์, อัลเฟรด ไวท์เฮด หรือ เวย์น ควินน์) มักจะสนใจวิเคราะห์เจาะประเด็นในเรื่องที่นักคณิตศาสตร์ทั่วไปถือว่าเป็นความจริงหรือสัจพจน์ทางคณิตศาสตร์อยู่แล้ว เช่น นักปรัชญาคณิตศาสตร์มักพิจารณาอย่างละเอียดว่าประโยค "1+1=2" นั้นหมายความว่าอย่างไร และเป็นจริงได้อย่างไรกันแน่ (โดยในหนังสือ Principia of Mathematica ที่โด่งดังของ รัซเซลล์กับไวท์เฮดนั้น ต้องใช้ถึงหลายสิบหน้าในการพิสูจน์ประโยคนี้ทีเดียว) กล่าวโดยสรุปนักปรัชญาคณิตศาสตร์มักสนใจในเรื่องต่อไปนี้ หลักเกณฑ์การให้เหตุผล (หรือ ตรรกศาสตร์) เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีบททางคณิตศาสตร์ เช่น หลักการให้เหตุผลมีกี่ประเภท   แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร เป็นต้น   นักปรัชญาคณิตศาสตร์ที่มีความเชื่อต่างกันบางทีก็ถกเถียงกันว่าหลักเกณฑ์การให้เหตุผลแบบใดกันแน่ที่ถูกต้อง ในประเด็นนี้สามารถแบ่งนักปรัชญาคณิตศาสตร์ได้เป็นสามประเภทใหญ่ๆ คือ Logicist, Intuitionist และ Formalist ขอบเขตของคณิตศาสตร์ เช่น คณิตศาสตร์ครอบคลุมความจริงประเภทใดบ้างเมื่ออ้างเซตของสัจพจน์กลุ่มหนึ่ง และมีสิ่งใดไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์พิสูจน์ได้บ้างเป็นต้น (ดู ทฤษฎีความไม่สมบูรณ์และ ปัญหาการยุติการทำงาน) คณิตศาสตร์ใหม่ คือการสร้างคณิตศาสตร์ขึ้นมาใหม่จากเซตของสัจพจน์ที่แตกต่างจากเดิมเพื่อก้าวข้ามขอบเขตของคณิตศาสตร์เดิม บางครั้งก็มีการถกเถียงกันว่าควรจะยอมรับสัจพจน์บางอย่างหรือไม่ เช่น สัจพจน์การเลือก (axiom of choice) เป็นสัจพจน์ที่ถูกเถียงกันมากที่สุดว่าควรจะถือว่าเป็นความจริงดีหรือไม่ ความหมายของสิ่งต่างๆ ในคณิตศาสตร์ เช่น ความหมายของจำนวนอนันต์ หรือ ความหมายของทฤษฎีบทต่างๆ อนึ่ง ถึงแม้นักคณิตศาสตร์ทั่วไปมักมีข้อตกลงร่วมกันว่าประเด็นข้างต้นนั้นถือว่าเป็นจริงโดยสามัญสำนึกอยู่แล้ว แต่ทว่าไม่มีแนวคิดใด รูปแบบใดที่ทุกคนยอมรับว่าดีที่สุด นักคณิตศาสตร์แต่ละคนก็จะมีความเชื่อในแต่ละประเด็นข้างต้นแตกต่างกันไป นักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังหลายท่านเช่น ปวงกาเร หรือ เกาส์ ก็สนใจในปรัชญาคณิตศาสตร์ ซึ่งบางทีผลลัพธ์ทางปรัชญาคณิตศาสตร์บางอย่างก็ส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่อวงการคณิตศาสตร์โดยตรง เช่น เมื่อเกาส์, โบลยาอี้ และโลบาชอพสกี้ค้นพบว่าการละทิ้งสัจพจน์เส้นขนานนั้นสามารถกำเนิดสาขาใหม่ของคณิตศาสตร์คือเรขาคณิตนอกแบบยุคลิดได้นั้น นักคิดบางท่านเปรียบว่าการค้นพบครั้งนี้สำคัญเทียบเท่าการปฏิวัติของโคเปอร์นิคัสทางดาราศาสตร์และทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วินเลยทีเดียว นักคณิตศาสตร์แตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรในประเด็นหลัก ๆ ตรงที่ว่า นักคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการทดลองมากนัก ในขณะที่สำหรับนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรนั้น การทดลอง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเลยทีเดียว. นอกจากนั้น ผลลัพธ์หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรรม มักถือเป็นแค่สิ่งที่ใช้ประมาณหรือใกล้เคียงกับความจริงเท่านั้น (นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงเช่น ไฟน์แมน หรือ ดิแรก ได้กล่าวว่าเราไม่มีทางสร้างทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายความจริงโดยสมบูรณ์ได้ เพราะว่ามันซับซ้อนเกินไป) ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์นั้นถูกล้มล้างได้ตลอดเวลา ถ้าขัดกับข้อมูลผลการทดลองที่เชื่อถือได้มากพอ. แต่สำหรับนักคณิตศาสตร์แล้วแต่ละทฤษฎีบทถือเป็นความจริงอย่างที่สุดเลยทีเดียว (ซึ่งความจริงที่ว่านี้ต้องอิงกับเซตของสัจพจน์ที่นักคณิตศาสตร์ใช้ด้วย) ประโยคบางประโยคที่นักคณิตศาสตร์เชื่อว่าจริง แต่ไม่สามารถพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริงได้นั้น เรียกว่า ข้อความคาดการณ์ ข้อความคาดการณ์บางอย่างก็มีชื่อเสียงมาก ถึงกับเป็นเป้าหมายชีวิตในการพิสูจน์ให้เป็นทฤษฎีบทของนักคณิตศาสตร์บางคน. เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มมีบทบาทในวงการวิทยาศาสตร์ ก็ก่อเกิดนักคณิตศาสตร์ประเภทใหม่ขึ้น คือ นักคณิตศาสตร์แนวทดลอง (experimental mathematician) ซึ่งพยายามใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองและทดสอบความจริงของข้อความคาดการณ์ในหลาย ๆ รูปแบบ == อ้างอิง == A Mathematician's Apology, by G. H. Hardy. Memoir, with foreword by C. P. Snow. * Reprint edition, Cambridge University Press, 1992; ISBN 0-521-42706-1 * First edition, 1940 * A Mathematician's Apology ฉบับเต็มในรูปแบบไฟล์อิเล็กโทรนิก A Mathematician's Apology , โดย the University of Alberta Mathematical Science Society. Dunham, William. Journey Through Genius: The Great Theorems of Mathematics. John Wiley 1990. Dunham, William. The Mathematical Universe. John Wiley 1994. Eves, Howard. An Introduction to the History of Mathematics. 6th edition, The Saunders Series 1990. Kline, Morris. Mathematics: The Loss of Certainty. Oxford University Press; Reprint edition, 1982. Benacerraf, Paul and Putnam, Hilary, eds. Philosophy of Mathematics: Selected Readings''. Prentice Hall, 1964. == ดูเพิ่ม == คณิตศาสตร์ เส้นเวลาของคณิตศาสตร์ == แหล่งข้อมูลอื่น == The MacTutor History of Mathematics archive, มีรายชื่อและชีวประวัติที่ค่อนข้างครบถ้วนของนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง. The Mathematics Genealogy Project, which allows to follow the succession of thesis advisors for most mathematicians, living or dead.
thaiwikipedia
825
นักฟิสิกส์
นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้นๆ == การศึกษา == นักฟิสิกส์ได้รับการจ้างงานในหลายสาขา อย่างต่ำที่สุดต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในงานวิจัย ต้องการผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาตรีส่วนใหญ่ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ เคมี และ ฟิสิกส์ ในหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า นิสิตนักศึกษามักต้องเน้นความเชี่ยวชาญไปทางสาขาเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ได้แก่ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ( Astrophysics) , ชีวฟิสิกส์ (Biophysics) , ฟิสิกส์เชิงเคมี (Chemical physics) , ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) , วัสดุศาสตร์ (Material science) , ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (Nuclear physics) , ทัศนศาสตร์ (Optics) , ฟิสิกส์ของอนุภาค (Particle physics) , และฟิสิกส์พลาสมา (Plasma physics) ตำแหน่งนักวิจัยหรือบริหารด้านวิจัยอาจต้องการผู้จบการศึกษาระดับหลังปริญญาเอก == การจ้างงาน == ผู้จ้างงานของนักฟิสิกส์ที่สำคัญมี 3 กลุ่มได้แก่ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐบาล และอุตสาหกรรมภาคเอกชนซึ่งนับเป็นผู้จ้างรายใหญ่ที่สุดในประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนเป็นนักฟิสิกส์ยังสามารถใช้ทักษะของตนในเศรษฐิกิจภาคอื่นได้ด้วย โดยเฉพาะด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์และการเงิน นักฟิสิกส์บางคนอาจศึกษาเพิ่มเติมในสาขาที่ฟิสิกส์สามารถเชื่อมโยงต่อเนื่องได้ เช่น นักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรในภาคอุตสาหกรรม หรือในสำนักงานอิสระ == นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียง == เรอเน เดการ์ต (René Descartes; ค.ศ. 1596–1650) แบลซ ปัสกาล (Blaise Pascal; ค.ศ. 1623–1662) ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton; ค.ศ. 1642–1726/1727) ก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ไลบ์นิทซ์ (Gottfried Wilhelm Leibniz; ค.ศ. 1646–1716) เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell; ค.ศ. 1831–1879) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein; ค.ศ. 1879–1955) มักซ์ พลังค์ (Max Planck; ค.ศ. 1858–1947) มักซ์ บอร์น (Max Born; ค.ศ. 1882–1970) นีลส์ บอร์ (Niels Bohr; ค.ศ. 1885–1962) แวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ค (Werner Heisenberg; ค.ศ. 1901–1976) ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman; ค.ศ. 1918–1988) สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking; ค.ศ. 1942–2018) == ดูเพิ่ม == รายนามผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ รายชื่อนักฟิสิกส์รางวัลโนเบล (วิกีพีเดียอังกฤษ) สถาบันนักฟิสิกส์แห่งราชอาณาจักร (วิกีพีเดียอังกฤษ) สถาบันนักฟิสิกส์แห่งอเมริกา (วิกีพีเดียอังกฤษ) รายชื่อนักฟิสิกส์ของโลก (วิกีพีเดียอังกฤษ) วิศวกรรม == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Occupational Outlook Handbook Physicists and Astronomers ; จากสำนักงานสถิติ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ Education and employment statistics จากสถาบันนักฟิสิกส์แห่งอเมริกา ผลงานนักฟิสิกส์ไทย จากไทย
thaiwikipedia
826
10 ธ.ค.
redirect 10 ธันวาคม
thaiwikipedia
827
12 ส.ค.
redirect 12 สิงหาคม
thaiwikipedia
828
26 ธ.ค.
redirect 26 ธันวาคม
thaiwikipedia
829
สงครามเย็น
สงครามเย็น (Cold War) เป็นช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรจากทั้งกลุ่มตะวันออกและกลุ่มตะวันตก ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ช่วงเวลาโดยทั่วไปดังกล่าวจะนับตั้งแต่การประกาศลัทธิทรูแมน ปี ค.ศ. 1947 (การประชุมที่มิลาน เริ่มตั้งแต่ปี 1945) จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ด้วยลัทธิอำนาจทำลายล้างซึ่งกันและกัน (mutually assured destruction, MAD) ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการโจมตีล่วงหน้าโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกเหนือจากการพัฒนาคลังเก็บอาวุธนิวเคลียร์และการใช้งานทางทหารตามแบบแผน การต่อสู้เพื่อครอบงำได้ถูกแสดงออกโดยวิธีทางอ้อม เช่น สงครามทางจิตวิทยา การทัพโฆษณาชวนเชื่อ การจารกรรม การคว่ำบาตรระยะไกล การแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันในงานกีฬาและการแข่งขันทางเทคโนโลยี เช่น การแข่งขันอวกาศ คำว่า "เย็น" ได้ถูกนำมาใช้ เนื่องจากไม่มีการสู้รบขนาดใหญ่โดยตรงระหว่างสองมหาอำนาจ แต่พวกเขาแต่ละฝ่ายต่างให้การสนับสนุนความขัดแย้งในภูมิภาคที่สำคัญที่เรียกว่า สงครามตัวแทน (Proxy war) ความขัดแย้งนี้มีพื้นฐานมาจากการต่อสู้ทางอุดมการณ์และภูมิศาสตร์เพื่ออิทธิพลทั่วโลกโดยสองมหาอำนาจ ภายหลังจากพวกเขาได้ตกลงเป็นพันธมิตรชั่วคราวและมีชัยชนะเหนือนาซีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1945 สงครามเย็นได้แบ่งแยกพันธมิตรในช่วงสงคราม เหลือเพียงสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นสองมหาอำนาจที่มีความแตกต่างทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างลึกซึ้ง:  แต่เดิมเป็นรัฐนิยมลัทธิมากซ์–เลนินแบบพรรคการเมืองเดียวที่ดำเนินตามแผนเศรษฐกิจและการควบคุมสื่อ และเป็นเจ้าของสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการจัดตั้งและปกครองดูแลชุมชน และถัดมาเป็นรัฐทุนนิยมที่มีการเลือกตั้งเสรีโดยทั่วไปและสื่อโดยเสรี ซึ่งยังให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการสมาคมแก่พลเมืองของตน กลุ่มที่เป็นกลางที่ประกาศด้วยตัวเองได้เกิดขึ้นพร้อมกับขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดซึ่งถูกก่อตั้งโดยอียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย และยูโกสลาเวีย กลุ่มฝ่ายนี้ได้ปฏิเสธความสัมพันธ์กับทั้งตะวันตกที่นำโดยสหรัฐหรือตะวันออกที่นำโดยโซเวียต ในขณะที่รัฐอานานิคมเกือบทั้งหมดต่างได้รับเอกราชในช่วงเวลาปี ค.ศ. 1945-1960 พวกเขาได้กลายเป็นสมรภูมิของโลกที่สามในสงครามเย็น ในช่วงระยะแรกของสงครามเย็นได้เริ่มต้นขึ้นในสองปีแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตได้รวบรวมอำนาจการควบคุมเหนือรัฐของกลุ่มตะวันออก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มใช้กลยุทธ์การจำกัดในการขยายตัวทั่วโลกเพื่อท้าทายอำนาจของสหภาพโซเวียต การแผ่ขยายความช่วยเหลือทางทหารและการเงินไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตก (ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองกรีซ) และก่อตั้งพันธมิตรนาโต้ การปิดกั้นเบอร์ลิน (ค.ศ. 1948–49) เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ครั้งแรกของสงครามเย็น กับชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองจีนและการปะทุของสงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950-53) ความขัดแย้งได้แผ่ขยายออกไป สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาต่างแข่งขันกันเพื่อมีอิทธิพลในละตินอเมริกาและรัฐอาณานิคมที่ได้รับเอกราชจากแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกัน การปฏิวัติฮังการี ปี ค.ศ. 1956 ได้ถูกยับยั้งโดยโซเวียต การขยายตัวและเพิ่มพูนมากขึ้นทำให้เกิดวิกฤตการณ์มากมาย เช่น วิกฤตการณ์คลองสุเอซ (ค.ศ. 1956) วิกฤตการณ์เบอร์ลิน ปี ค.ศ. 1961 และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ปี ค.ศ. 1962 ภายหลังจากวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ระยะใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นซึ่งเห็นได้จากความแตกแยกระหว่างจีน-โซเวียตที่มีความสัมพันธ์อันซับซ้อนในวงการคอมมิวนิสต์ ในขณะที่พันมิตรของสหรัฐ โดยเฉพาะฝรั่งเศส ได้แสดงให้เห็นถึงการมีอิสระในปฏิบัติการมากขึ้น สหภาพโซเวียตได้เข้ารุกรานเชโกสโลวาเกียและบดขยี้ ปรากสปริง โครงการของการได้รับเอกราช ปี ค.ศ. 1968 ในขณะที่สงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1955-75) ได้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสาธารณรัฐเวียดนามใต้ที่มีสหรัฐคอยหนุนหลัง ทำให้มีการปรับเปลี่ยนแผนการมากขึ้น นอกเหนือจากนี้ สหรัฐยังประสบกับความวุ่นวายภายในจากขบวนการเพื่อสิทธิพลเมืองและฝ่ายต่อต้านสงครามเวียดนาม ในปี ค.ศ. 1960-70 ขบวนการเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นในท่ามกลางประชาชนทั่วโลก ขบวนการต่อต้านการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ได้เกิดขึ้น พร้อมกับการประท้วงต่อต้านสงครามขนาดใหญ่ ในปี ค.ศ. 1970 ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มเอาใจใส่ในความพยายามประนีประนอมเพื่อสร้างระบบระหว่างประเทศที่มีเสถียรภาพและสามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น การเปิดฉากการผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งเห็นได้จากการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์และสหรัฐได้เปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนในฐานะที่เป็นตัวถ่วงดุลอำนาจทางยุทธศาสตร์ต่อสหภาพโซเวียต การผ่อนคลายความตึงเครียดได้ยุติลงในช่วงปลายทศวรรษด้วยสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1979 ช่วงต้นปี ค.ศ. 1980 เป็นช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ด้วยเครื่องบินโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ถูกโซเวียตยิงตก (ค.ศ. 1983) และการซ้อมรบทางทหารของนาโต้ "เอเบิล อาชเชอร์"(ค.ศ. 1983) สหรัฐอเมริกาได้เพิ่มแรงกดดันทางการทูต ทางทหารและทางเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียต ในช่วงเวลาที่รัฐคอมมิวนิสต์กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังซบเซา ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1980 ผู้นำโซเวียตคนใหม่อย่างมีฮาอิล กอร์บาชอฟได้แนะนำการปฏิรูปแบบเสรีของเปเรสตรอยคา("การปรับโครงสร้าง", ค.ศ. 1987)และกลัสนอสต์("โปร่งใส", ค.ศ. 1987) และยุติการมีส่วนร่วมของโซเวียตในอัฟกานิสถาน แรงกดดันเพื่อเอกราชของชาติได้เพิ่มมากขึ้นในยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ โปแลนด์ กอร์บาชอฟปฏิเสธที่จะใช้กองกำลังทหารโซเวียตเพื่อค้ำจุดระบอบสนธิสัญญาวอร์ซอที่ไม่มั่นคงดังที่เคยเป็นในอดีต ผลลัพธ์ในปี ค.ศ. 1989 คือ คลื่นแห่งการปฏิวัติด้วยสันติวิธี(ยกเว้นเพียงการปฏิวัติโรมาเนีย) ได้ล้มล้างระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในยุโรปกลางและตะวันออก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตได้สูญเสียการควบคุมและถูกสั่งห้าม ภายหลังจากมีการพยายามก่อรัฐประหารซึ่งประสบผลไม่สำเร็จในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 สิ่งนี้ได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 และการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศอื่นๆ เช่น มองโกเลีย กัมพูชา และเยเมนใต้ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวของโลกมาจนถึงทุกวันนี้ สงครามเย็นและเหตุการณ์ต่างๆ ได้ทิ้งมรดกที่สำคัญเอาไว้ มักจะถูกอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมสมัยนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยประเด็นเรื่องของการจารกรรมและภัยคุกคามของการสงครามนิวเคลียร์ ในขณะดียวกัน สถานะความตึงเครียดที่เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งระหว่างหนึ่งในรัฐที่สืบทอดมาจากสหภาพโซเวียต สหพันธรัฐรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 21 (รวมทั้งพันธมิตรตะวันตก) เช่นเดียวกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐและพันธมิตรตะวันตกซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีอำนาจมากขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า สงครามเย็นครั้งที่สอง == การใช้คำ == สงครามเย็นเป็นภาวะอย่างหนึ่งที่ประเทศมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่ายต่างแข่งขันกัน โดยพยายามสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของตนไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม โดยประเทศมหาอำนาจจะไม่ทำสงครามกันโดยตรง แต่จะสนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสงครามตัวแทน (proxy war) เหตุที่เรียก สงครามเย็น เนื่องจากเป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอำนาจ โดยใช้จิตวิทยา == การกำเนิดค่ายตะวันออก == ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ก่อตั้งค่ายตะวันออก (Eastern Bloc) โดยการรวมรัฐที่ได้ยึดมาจากฝ่ายนาซี เช่น โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย แล้วจึงเปลี่ยนสถานะให้เป็นรัฐสังคมนิยมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต == ลำดับเหตุการณ์ == นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาดังกล่าว คำนึงถึงสงครามเย็นเป็นหลัก นับจากปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย ค.ศ. 1947 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออกและเยอรมนี ความตึงเครียดเนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีการประกาศสงครามหรือใช้กำลัง เป็นสมัยลัทธิทรูแมน วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1947 กับประกาศแผนการมาร์แชลล์ เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง การขยายอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปตะวันออก และการแบ่งแยกเยอรมนี การวิจัยและพัฒนาโครงการทางการทหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก เกิดขึ้นในในช่วงเวลานี้ รวมถึงการแข่งขันกันสำรวจอวกาศ และการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพของฝ่ายตน ==เริ่มต้นของสงครามเย็น (ค.ศ. 1945-1950) == ระยะแรกของสงครามเย็นเริ่มในสองปีให้หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติใน ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตรวบการควบคุมเหนือรัฐในกลุ่มตะวันออก โดยสหภาพโซเวียตได้นำกองทัพเข้ารัฐประหารประเทศต่าง ๆ กลุ่มตะวันออกและพยายามเข้าแทรกแซงทางการเมืองในกรีซและตรุกี ขณะที่สหรัฐอเมริกาเริ่มได้เริ่มลัทธิทรูแมนคือการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาทั่วโลกเพื่อท้าทายโซเวียต โดยแผนมาร์แชลล์ขยายความช่วยเหลือทางทหารและการเงินแก่ประเทศยุโรปตะวันตก (ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองกรีซ) การตั้งพันธมิตรเนโท จากนั้นสหภาพโซเวียตได้ปิดล้อมเบอร์ลิน ไม่ให้กลุ่มตะวันตกเข้าช่วยเหลือชาวเบอร์ลินตะวันตก โดยหวังว่าจะให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกจะมาร่วมกับเบอร์ลินตะวันออก แต่กลุ่มตะวันตกได้ส่งของทางอากาศช่วยเหลือชาวเบอร์ลินตะวันตก โซเวียตเห็นว่าไม่ได้ผลจึงยกเลิกการปิดกั้นให้กลุ่มตะวันตกเข้ามา ==วิกฤตการณ์ (ค.ศ. 1950-1975) == ด้วยชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองจีนและการอุบัติของสงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950–1953) ความขัดแย้งขยายตัว สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาแข่งขันชิงอิทธิพลในละตินอเมริกาและรัฐแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับปลดปล่อยอาณานิคม ขณะเดียวกัน การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 ถูกโซเวียตหยุดยั้ง การขยายและบานปลายจุดประกายวิกฤตการณ์เพิ่มอีก เช่น วิกฤตการณ์สุเอซ (ค.ศ. 1956) วิกฤตการณ์เบอร์ลิน ค.ศ. 1965 และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ค.ศ. 1962 หลังความขัดแย้งสุดท้ายนี้ก็เริ่มระยะใหม่ซึ่งมีความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตทำให้ความสัมพันธ์ภายในเขตคอมมิวนิสต์ซับซ้อนยิ่งขึ้น ขณะที่พันธมิตรของสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศฝรั่งเศส แสดงอิสระในการปฏิบัติมากขึ้น สหภาพโซเวียตปราบปรามโครงการเปิดเสรีปรากสปริง ค.ศ. 1968 ในเชโกสโลวาเกีย และสงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1955–1975) ยุติลงด้วยความปราชัยของสาธารณรัฐเวียดนามใต้ที่สหรัฐหนุนหลัง ทำให้มีการปรับแก้เพิ่มขึ้น ==การผ่อนคลายครั้งแรก (ค.ศ. 1974-1979) == ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ทั้งสองฝ่ายต่างสนใจในการผ่อนปรนเพื่อสถาปนาระบบระหว่างประเทศที่เสถียรมั่นคงและทำนายได้มากขึ้น อันเริ่มระยะการผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งมีการเจรจาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์และสหรัฐเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นการถ่วงดุลยุทธศาสตร์กับสหภาพโซเวียต และเจรญาสนธิสัญญาควบคุมอาวุธ SALT I (ค.ศ. 1974) และ SALT II (ค.ศ.1979) ==วิกฤตการณ์ครั้งที่สอง (ค.ศ. 1979-1989)== การผ่อนคลายความตึงเครียดทลายลงเมื่อสิ้นทศวรรษโดยสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานเริ่มใน ค.ศ. 1979 เป็นการพยายามให้อัฟกานิสถานยังเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นอีกช่วงหนึ่งที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น โดยการที่โซเวียตยิงโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ตก (ค.ศ. 1983) และการซ้อมรบ "เอเบิลอาร์เชอร์" ของเนโท (ค.ศ. 1983) สหรัฐเพิ่มการกดดันทางการทูต ทหารและเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียต ==การผ่อนคลายครั้งสองและสิ้นสุดสงครามเย็น (ค.ศ. 1985-1991)== เป็นช่วงปลายสงครามเย็น สหภาพโซเวียตกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจซบเซาอยู่แล้ว ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำโซเวียตคนใหม่ มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ริเริ่มการปฏิรูปเปิดเสรีเปเรสตรอยคา (ค.ศ. 1987) และกลัสนอสต์ (ประมาณ ค.ศ. 1985) ยุติการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน และการสนธิสัญญาควบคุมขีปนาวุธ INF การกดดันเรียกร้องเอกราชของชาติยิ่งเติบโตขึ้นในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโปแลนด์ ฝ่ายกอร์บาชอฟไม่ยอมใช้ทหารโซเวียตเพื่อค้ำจุดระบอบสนธิสัญญาวอร์ซอที่ไม่มั่นคงดังที่เคยเป็นในอดีต ผลลงเอยด้วยใน ค.ศ. 1989 เกิดคลื่นปฏิวัติซึ่งโค่นระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก พรรคคอมมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตเองเสียการควบคุมและถูกห้ามหลังความพยายามรัฐประหารอันไร้ผลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 แล้วนำไปสู่การยุบสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 และการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศอื่นอย่างประเทศมองโกเลีย กัมพูชาและเยเมนใต้ สหรัฐเหลือเป็นประเทศอภิมหาอำนาจของโลกแต่ผู้เดียว == คู่สงคราม == เริ่มต้นของสงครามเย็น ค.ศ. 1947-1953 มีประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาหลัก ๆ คือ สมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ มีประเทศพันธมิตรของโซเวียตหลัก ๆ คือสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอและสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1950 ได้เกิดสงครามเกาหลี สหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลือเกาหลีใต้ ส่วนโซเวียตได้ช่วยเหลือเกาหลีเหนือ จนกระทั่งสงบศึกหลังจากเวียดมินห์ได้รับชัยชนะ ฝรั่งเศสยอมรับความปราชัยและต้องสงบศึก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการลงนามใน "อนุสัญญาเจนีวา" (พ.ศ. 2497) ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีผลให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยมีเส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ โดยเวียดนามเหนือยึดถือการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ส่วนเวียดนามใต้ยึดถือการปกครองแบบประชาธิปไตย ภายใต้การนำของโง ดินห์ เสี่ยม ทำให้สหภาพโซเวียตเข้าควบคุมเวียดนามเหนือ สหรํฐอเมริกาเข้าควบคุมเวียดนามใต้ ในตะวันออกกลาง อเมริกาได้สนับสนุนอิสราเอลในเรื่องอาวุธที่ไว้ใช้ป้องกันตัวเอง ทำให้โซเวียตตอบโต้โดยสนับสนุนสันนิบาตอาหรับในต่อต้านอิสราเอล ในปีค.ศ. 1959 ได้มีการปฏิวัติคิวบาและได้เข้าเป็นพันธมิตรของโซเวียต ในปี ค.ศ.1960 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีความคิดคัดแย้งกัน ทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มเขมรแดง และโซมาเลีย แยกออกมาจากพันธมิตรของโซเวียต หลังจากสงครามยมคิปปูร์ เวียดนามได้เข้าเป็นพันธมิตรของโซเวียต ส่วนสันนิบาตอาหรับตัดความสัมพันธ์จากโซเวียตไปเป็นพันธมิตรของอเมริกา ในปี ค.ศ.1979 เกิดสงครามอัฟกานิสถานที่เป็นพันธมิตรของโซเวียตได้ต่อสู้กับมุจญาฮิดีนซุนนีย์ที่อเมริกาสนับสนุน ในที่สุดมุจญาฮิดีนซุนนีย์ได้รับชัยชนะ ทำให้โซเวียตเสียพันธมิตรไป ใน ค.ศ.1989 ได้มีการเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้โซเวียตเสียพันธมิตรในกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้รัฐในโซเวียตเรียกร้องอิสรภาพ ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในเวลาต่อมา == สงครามตัวแทน == สงครามกลางเมืองกรีซ (ค.ศ. 1946-1949) สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1946-1954) สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950-1953) การปฏิวัติคิวบา (ค.ศ. 1953-1959) สงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1957-1975) ความขัดแย้งระหว่างอาหรับ-อิสราเอล สงครามหกวัน (ค.ศ. 1967) สงครามล้างผลาญ (ค.ศ. 1967-1970) สงครามยมคิปปูร์ (ค.ศ. 1973) สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน (ค.ศ. 1979-1989) == ดูเพิ่ม == องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ สนธิสัญญาวอร์ซอ โครงการอวกาศโซเวียต == อ้างอิง == ความหมายและรูปแบบของสงครามเย็น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความขัดแย้งในระดับโลก ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
thaiwikipedia
830
ไดโนเสาร์
ไดโนเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง == ประวัติการค้นพบ == มนุษย์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของมังกร ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดโนเสาร์ชนิดแรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า อิกัวโนดอน เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัวอิกัวนาในปัจจุบัน สองปีต่อมา วิลเลียม บักแลนด์ (William Buckland) ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ก็ได้เป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ข้อเขียนอธิบายเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิด เมกะโลซอรัส บักแลนดี (Megalosaurus bucklandii) และการศึกษาซากดึกดำบรรรพ์ของสัตว์พวกกิ้งก่า ขนาดใหญ่นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรปและอเมริกา จากนั้นในปี ค.ศ. 1842 เซอร์ ริชาร์ด โอเวน เห็นว่าซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมีลักษณะหลายอย่างร่วมกัน จึงได้บัญญัติคำว่า ไดโนเสาร์ เพื่อจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอนุกรมวิธานเดียวกัน นอกจากนี้ เซอร์ริชาร์ด โอเวน ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ขึ้น ที่เซาท์เคนซิงตัน กรุงลอนดอน เพื่อแสดงซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ รวมทั้งหลักฐานทางธรณีวิทยาและชีววิทยาอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก-โกทา (Prince Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร จากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในทุกทวีปทั่วโลก (รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกา) ทุกวันนี้มีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อยู่มากมาย ทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา และประเทศจีน == ลักษณะทางชีววิทยา == ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ซึ่งพวกมันมีผิวหนังที่ปกคลุมเป็นเกล็ดเช่นเดียวกับ งู จระเข้ หรือ เต่า กระเพาะอาหารของไดโนเสาร์กินพืช มักมีขนาดใหญ่แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเซลลูโลสของพืชทำให้บางครั้งมันจึงต้องกลืนก้อนหินไปช่วยย่อย ส่วนไดโนเสาร์กินเนื้อจะย่อยอาหารได้เร็วกว่า แต่กระนั้น ข้อมูลของไดโนเสาร์ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก เนื่องจากไดโนเสาร์สูญพันธ์ไปหมดเหลือเพียงซากดึกดำบรรพ์ ดังนั้น นักบรรพชีวินวิทยาจึงต้องใช้ซากฟอสซิลนี้ในการสันนิษฐานของข้อมูลต่าง ๆ พฤติกรรม การล่าเหยื่อ และการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ขึ้นมา ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงเท่าไรนัก == วิวัฒนาการ == บรรพบุรุษของไดโนเสาร์คือ อาร์โคซอร์ (archosaur) ซึ่งไดโนเสาร์เริ่มแยกตัวออกมาจากอาร์โคซอร์ในยุค ไทรแอสซิก ไดโนเสาร์ชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นราว ๆ 230 ล้านปีที่แล้ว หรือ 20 ล้านปี หลังจากเกิดการสูญพันธุ์เพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic extinction event|Permian-Triassic extinction) ซึ่งคร่าชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสมัยนั้นไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ สายพันธุ์ไดโนเสาร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็วหลังยุคไทรแอสซิก กล่าวได้ว่าในยุคทองของไดโนเสาร์ (ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเชียส) ทุกสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพที่มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งเมตรคือไดโนเสาร์ จนกระทั่งเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การการสูญพันธุ์ครีเทเชียส-เทอร์เทียรี (Cretaceous-Tertiary extinction) ก็ได้กวาดล้างไดโนเสาร์จนสูญพันธุ์ เหลือเพียงไดโนเสาร์บางสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน ยุคต่าง ๆของไดโนเสาร์ มหายุคมีโซโซอิก (Mesaozoic Era) 65-225 ล้านปี ในยุคนี้มี 3 ยุค คือ ยุคไทรแอสซิก ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเชียส ในยุคไทรแอสซิกนี้ สภาพอากาศในขณะนั้นจะมี สภาพร้อนและแล้งมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ ดีมาก จนกระทั่ง ไดโนเสาร์ตัวแรกได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ไดโนเสาร์กลุ่มแรกที่ได้กำเนิดขึ้นมาจะมีขนาดเล็ก เดิน 2 เท้า และมีลักษณะพิเศษ คือ เท้ามีลักษณะคล้ายกับเท้าของนก ต่อมาในยุคจูแรสซิกนี้จัดว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก บรรดาพืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไดโนเสาร์จำนวนมากขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งส่วนใหญ่จะกินพืชเป็นอาหาร และนกยังได้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในยุคนี้อีกด้วย ต่อมาในยุคครีเทเชียสนี้ จัดว่า เป็นยุคที่ไดโนเสาร์นั้นรุ่งเรื่องที่สุด เพราะยุคนี้ไดโนเสาร์ได้มีการพัฒนาพันธุ์ออกมาอย่างมากมาย == ยุคของไดโนเสาร์ == ยุคไทรแอสซิก การครอบครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไทรแอสซิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุตและได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหาเพียงชนิดเดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก สูญพันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไทรแอสซิกในกลุ่มสัตว์เหล่านี้เจ้าซินนอกนาตัสเป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามที่สุด ในหมู่พวกมันและในช่วงนี้เองไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้าธีโคดอนซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไทรแอสซิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือเจ้าซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวในการล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรืออีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุตซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรงนักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆทำให้พวกนี้ต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด ยุคจูแรสซิก ไดโนเสาร์ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไทรแอสซิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูแรสซิกพวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์น อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้ นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใหม่ของพวกพืช ยุคจูแรสซิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนเสาร์คอยาวตระกูลซอโรพอด (Sauropod) ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวาง ไดโนเสาร์ขนาดยักษ์สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ แบรกคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) และอะแพโทซอรัส (Apatosaurus) หรืออีกชื่อคือบรอนโทซอรัส นอกจากนี้ยังมีชนิดอื่น ๆ อีกมากมายสัตว์ยักษ์เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่โง่และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ ทว่าในปัจจุบันนักโบราณคดีชีววิทยา (paleontology) เชื่อว่าพวกมันใช้หางที่หนาหนักศัตรูที่มาจู่โจมซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อย เพราะหางที่ยาวและมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้องมีคอยาวเพื่อสร้างสมดุลของสรีระของมัน ยุคครีเทเชียส ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสซิก สัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่สหรัฐอเมริกาก็มีการค้นพบสัตว์ทะเลที่เคยอาศัยอยุ่ในช่วงเดียวกันกับไดโนเสาร์ได้แก่ พวกพลีสิโอซอร์เช่น อีลาสโมซอรัส พวกกิ้งก่าทะเลโมซาซอร์อย่างไฮโนซอรัส และอาเครอนเป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มีเคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมายยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อัลเบอร์โตซอรัส ไทรันโนซอรัสปรากฏในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ไทรันโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 13 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียนที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัสพวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืชพวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ แองคิโลซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อนจะหมดยุคครีเทเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์ หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก == การจัดจำแนก == ไดโนเสาร์ถูกแบ่งออกเป็นสองอันดับใหญ่ ๆ ตามลักษณะโครงสร้างของกระดูกเชิงกราน คือ Saurischia (เรียกไดโนเสาร์ในอันดับนี้ว่า ซอริสเชียน) ซึ่งมีลักษณะกระดูกเชิงกรานแบบสัตว์เลื้อยคลาน มีทั้งพวกกินพืชและกินสัตว์ และ :en:Ornithischia|Ornithischia (เรียกไดโนเสาร์ในอันดับนี้ว่า ออร์นิทิสเชียน) มีกระดูกเชิงกรานแบบนกและเป็นพวกกินพืชทั้งหมด ไดโนเสาร์สะโพกสัตว์เลื้อยคลาน หรือ ซอริสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกสัตว์พวกกิ้งก่า) เป็นไดโนเสาร์ที่คงโครงสร้างของกระดูกเชิงกรานตามบรรพบุรุษ ซอริสเชียนรวมไปถึงไดโนเสาร์เทอโรพอด (theropod) (ไดโนเสาร์กินเนื้อเดินสองขา) และซอโรพอด (sauropod) (ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว) ไดโนเสาร์สะโพกนก หรือ ออร์นิทิสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกนก) เป็นไดโนเสาร์อีกอันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เดินสี่ขา และกินพืช == ไดโนเสาร์ในวัฒนธรรมสมัยนิยม == แม้ว่ายุคสมัยของไดโนเสาร์สิ้นสุดลงเป็นเวลาหลายสิบล้านปีแล้ว แต่ปัจจุบันไดโนเสาร์ยังคงปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ นิยายหลายเล่มมีการกล่าวถึงไดโนเสาร์ เช่น เพชรพระอุมา ของ พนมเทียน, เดอะลอสต์เวิลด์ (:en:The Lost World (Arthur Conan Doyle)|The Lost World) ของ เซอร์ อาเทอร์ โคแนน ดอยล์, และ "จูราสสิค พาร์ค" (ซึ่งถ้าสะกดตามหลักการถ่ายคำต้องสะกดเป็น จูแรสซิกพาร์ก) ของ ไมเคิล ไครช์ตัน (Michael Crichton) ไม่เพียงแต่ในหนังสือนิยายเท่านั้น การ์ตูนสำหรับเด็กก็มีการกล่าวถึงไดโนเสาร์ด้วยเช่นกัน เช่นในเรื่อง มนุษย์หินฟลินท์สโตน (The Flintstones) โดราเอมอน ตำรวจกาลเวลาและก๊องส์ นอกจากนี้ ไดโนเสาร์ยังได้ปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น คิงคอง (ปี ค.ศ. 1933) และ จูราสสิค พาร์ค (ปี ค.ศ. 1993) ซึ่งภาพยนตร์เรื่องหลังนี้ดัดแปลงมาจากนิยายของ ไมเคิล ไครช์ตัน และประสบความสำเร็จอย่างสูง เป็นการปลุกกระแสไดโนเสาร์ให้คนทั่วไปหันมาสนใจกันมากขึ้น ในปีค.ศ. 2000 Walt Disney ได้นำไดโนเสาร์มาสร้างเป็น ภาพยนตร์แอนิเมชัน ชื่อเรื่องว่า Dinosaur ในปี 2549 มีภาพยนตร์เรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) ชื่อ Night at the Museum ของ ชอน เลวี่ (Shawn Levy) มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆในพิพิธภัณฑ์ที่ต้องคำสาบให้กลับมีชีวิตขึ้นมาในตอนกลางคืน มีตัวเอกตัวหนึ่งเป็นไดโนเสาร์ชื่อซู (Sue) ซึ่งเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ทีเร็กที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า 12.8 เมตร และความสูงถึงสะโพก 4 เมตร ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก ระหว่าง 23 กรกฎาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช) ได้นำโครงกระดูกของซู มาจัดแสดงร่วมกับไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง 5 ปทุมธานี ในประเทศไทย ไดโนเสาร์ได้รับเลือกให้เป็นสัตว์ประจำจังหวัดของจังหวัดขอนแก่น ส่วนในภาษาไทยนั้น ไดโนเสาร์มีความหมายนัยประวัติสำหรับใช้เรียกคนหัวโบราณ ล้าสมัย และน่าจะสูญพันธุ์ไปตั้งนานแล้ว บ้างก็ใช้ว่า ไดโนเสาร์เต่าล้านปี == ดูเพิ่ม == ไดโนเสาร์ในประเทศไทย รายชื่อไดโนเสาร์ บรรพชีวินวิทยา สัตว์เลื้อยคลาน การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ โลกไดโนเสาร์ การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == สัตว์ ไดโนเสาร์ สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
thaiwikipedia
831
พยาบาลศาสตร์
การพยาบาล หรือ พยาบาลศาสตร์ (nursing) ตามความหมายที่ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ให้ไว้ หมายถึง กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่จะต่อสู้การรุกรานของโรคได้อย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับความหมายของการพยาบาลที่เสนอโดย เวอร์จิเนีย เฮนเดอร์สัน ได้แก่ การพยาบาลคือการช่วยเหลือบุคคล (ทั้งยามปกติและยามป่วยไข้) ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือส่งเสริมการหายจากโรค (หรือแม้กระทั่งการช่วยให้บุคคลได้ไปสู่ความตายอย่างสงบ) ซึ่งบุคคลอาจจะปฏิบัติได้เองในสภาวะที่มีกำลังกาย กำลังใจ และความรู้เพียงพอ และเป็นการกระทำที่จะช่วยให้บุคคลกลับเข้าสู่สภาวะที่ช่วยตนเองได้โดยไม่ต้องรับการช่วยเหลือนั้น โดยเร็วที่สุด == กิจกรรมสำคัญ == กิจกรรมสำคัญของการพยาบาลได้แก่ การดูแลให้ความสุขสบาย (care and comfort) ช่วยเหลือบุคคลให้สามารถจัดการกับปัญหาทางสุขภาพและการเจ็บป่วย (health illness continuum) ได้ด้วยตนเอง หน้าที่ของพยาบาลจึงมุ่งที่จะวิเคราะห์ข้อมูลทางการพยาบาล เพื่อให้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (assesment and diagnosis) ให้คำแนะนำ คำสอนด้านสุขภาพ (health teaching) เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพอันดีและส่งเสริมผลการรักษา มุ่งด้านการดูแลตนเอง (self care) ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของสมาชิกในครอบครัว ให้คำปรึกษา (counselling) ด้านสุขภาพอนามัยทั้งในภาวะปกติ และขณะที่มีภาวะกดดัน อันเป็นเหตุให้สุขภาพเบี่ยงเบนไปจากปกติ ให้การดูแลด้านสรีรจิตสังคม (physiopsychosocial intervention) โดยการใช้วิธีการพยาบาลการปฏิบัติ การพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ ตามการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านบริการสุขภาพของประชาชน และตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี == ทฤษฎีการพยาบาล == เมลลิส (melis 1997:13) ให้ความหมายทฤษฎีว่า เป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ ทฤษฎีการพยาบาล (nursing theory) เปรียบเสมือนเป็นการสรุปทางความคิดเกี่ยวกับข้อความจริงทางการพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณาปรากฏการณ์ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ ทำนายผลที่จะเกิดขึ้น หรือ การควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาล ฟอว์เซท (fawcett 1989) ให้นิยามโดยเน้นที่ปรากฏการณ์ทางการพยาบาล (nursing phenomena) โดยนิยามว่า ทฤษฎีการพยาบาลประกอบด้วยมโนทัศน์ และข้อสันนิษฐาน (proposition) ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าแบบจำลองความคิด ทฤษฎีการพยาบาลจะกล่าวถึงบุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล และระบุความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทั้ง 4 ดังกล่าว จากนิยามดังกล่าว ทฤษฎีการพยาบาลจึงเป็นข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทางการพยาบาลที่พรรณา อธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ == สาขาของการพยาบาล == การพยาบาลแบ่งออกได้หลายสาขาคือ การพยาบาลเด็ก (pediatric nursing) การพยาบาลมารดาและทารก (mother and child health) การพยาบาลศัลยศาสตร์ (surgery care) การพยาบาลอายุรศาสตร์ (medical caring) การพยาบาลจิตเวช (psychiatric care) การพยาบาลชุมชน (community care) การพยาบาลสูติศาสตร์ (obstiatic care) เวชปฏิบัติการพยาบาล (General Practitioner) การพยาบาลวิกฤติและฉุกเฉิน (emergency and crisis care) การพยาบาลระยะสุดท้าย (hospice care) การบริหารการพยาบาล (nursing administration) การพยาบาลผู้สูงอายุ (Gerontological Nursing) == ดูเพิ่ม == พยาบาล (nurse) ทฤษฎีการพยาบาล (nursing theory) == หนังสืออ่านเพิ่ม == D'Antonio, Patricia. American Nursing: A History of Knowledge, Authority, and the Meaning of Work (2010), 272pp excerpt and text search Donahue, M. Patricia. Nursing, The Finest Art: An Illustrated History (3rd ed. 2010), includes over 400 illustrations; 416pp; excerpt and text search Judd, Deborah. A History of American Nursing: Trends and Eras (2009) 272pp excerpt and text search Reverby, Susan M. Ordered to Care: The Dilemma of American Nursing, 1850-1945 (1987) excerpt and text search Snodgrass, Mary Ellen. Historical Encyclopedia of Nursing (2004), 354pp; from ancient times to the present == แหล่งข้อมูลอื่น == SOCIETY BY THANIKA พระราชบัญญัติการพยาบาล ความหมายของการพยาบาล คุณสมบัติของพยาบาลตามความคาดหวังของผู้รับบริการ บริการสุขภาพ
thaiwikipedia
832
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ที่ถนนเทพรัตนและทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และ เป็นท่าอากาศยานที่มีสายการบินจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553ปัจจุบันคุณ กิตติพงศ์ กิตติขจร เป็นผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีหอควบคุมที่สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก (132.2 เมตร) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (563,000 ตารางเมตร) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี พ.ศ. 2562 มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก 65,421,844 ราย ในปีเดียวกันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนสินค้าทางอากาศยานมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนขนส่งสินค้า โดยปริมาณขนส่งอยู่ที่ 1,326,914 ตันต่อมาใน ปี พ.ศ. 2564 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังมีพื้นที่เชิงตารางกิโลเมตรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของท่าอากาศยานทั่วโลกโดยพื้นที่รวมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคือ 32.4 ตารางกิโลเมตร (32.4 km2) อย่างไรก็ตามจำนวนเที่ยวบินช่วงที่การควบคุมจราจรทางอากาศหนาแน่นมากที่สุดตามรายงานของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้แก่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 25,881 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 8,106 รวม 33,987 เที่ยวบินซึ่งเป็นสถิติเที่ยวบินระหว่างประเทศมากที่สุดตั้งแต่ดำเนินกิจการ รองลงมาคือ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 825,400 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 285,660 รวม 33,289 เที่ยวบิน ตลอดปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 980,967 เที่ยวบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้บริการสายการบินที่ทำการบินแบบประจำในช่วง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สูงสุด 104 สายการบิน ขนส่งอากาศยาน 11 สายการบิน และสายการบินเช่าเหมาลำ 1 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำภายในประเทศทำการบินไปสนามบินเกาะไม้ซี้ 1 สายการบิน รวม 117 สายการบิน ซึ่งถือว่าบริการตามจำนวนสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมงและผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (สามารถรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี) นอกจากนี้ยังมีทางหลวงพิเศษที่ทันสมัยซึ่งเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์น ซีบอร์ด สายการบินหลายแห่ง ได้แก่ การบินไทย การบินไทยสมายล์ บางกอกแอร์เวย์ และไทยเวียดเจ็ทแอร์ ได้เลือกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน == ชื่อสนามบิน == ชื่อสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยใช้แทนชื่อเดิมคือ "หนองงูเห่า" พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 ตัวสะกดชื่อของสนามบินใน อักษรโรมัน คือ "Suvarnabhumi" ซึ่งเป็นการสะกดตามหลักการเทียบ อักษรไทย เป็นอักษรโรมันแบบภาษาบาลีและสันสกฤต มิได้ใช้ระบบ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งจะสะกดได้ว่า "Suwannaphum" == ประวัติ == === การซื้อที่ดินและการก่อสร้างในช่วงแรก === แนวคิดในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานครเริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เช่นเดียวกับการศึกษาของบริษัทลิตช์ฟีลด์และ สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกาซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงเริ่มเวนคืนและจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานกว่า 14 ปี ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ตำบลบางโฉลง และตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่ที่เวนคืนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ทำให้หมู่บ้านหายไปกว่า 7 หมู่ครึ่ง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้ครอบครัวละ 800,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนย้ายศาสนสถาน 1 แห่ง และโรงเรียนอีก 3 แห่งไปสร้างบริเวณใหม่ รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้างก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา จนสัมปทานถูกยกเลิก ต่อมารัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาแทมส์เพื่อศึกษาพื้นที่ในการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2521 ก็ได้ข้อสรุปตามเดิมว่า หนองงูเห่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด เมื่อถึง พ.ศ. 2534 รัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 ณ บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) เป็นผู้ดำเนินการ และต่อมาในรัฐบาล ชวน หลีกภัย ได้อนุมัติงบประมาณ 120,000 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการ และให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ไม่ต้องนำเงินกำไร 50% ส่งเข้าคลังเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอที่จะอพยพโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่เวนคืน หลังจากความไม่แน่นอนมานานหลายทศวรรษ ในปี พ.ศ. 2539 จึงมีการจัดตั้ง "บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด" แต่การก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพิ่งจะสามารถเริ่มขึ้นได้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร สืบเนื่องมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่สำคัญได้แก่ วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยก่อนหน้านั้นมีการปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2540–พ.ศ. 2544) ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 มีการโอนหน้าที่อำนวยการก่อสร้างและการจัดการให้แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งปิดกิจการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ปีเดียวกัน === การก่อสร้าง === สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต ยาห์น ชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา แต่แบบอาคารในท่าอากาศยานเป็นจำนวนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนขนาด และวัสดุก่อสร้างจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย เป็นต้น รายชื่อบริษัทที่ร่วมก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ: สถาปนิก - เมอร์ฟี/ยาห์น (Murphy / Jahn) ประสานงาน - ACT ผู้จัดการโครงการ - TAMS/Earth Tech วิศวกร * Werner Sobek Ingenieure (โครงสร้าง) * Transsolar Energietechnik (สภาพแวดล้อม) * Martin/Martin (โครงสร้างตัวอาคาร) * John A. Martin & Associates (โครงสร้างคอนกรีต) * Flack + Kurtz (งานระบบ) ที่ปรึกษา * AIK - Yann Kersalé (ระบบแสง) * BNP (ระบบกระเป๋า) ผู้รับเหมา - ITO Joint Venture * คอนกรีต - บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) * หลังคา - B&O Hightex * สแตนเลส - Thapanin * ระบบกระเป๋า - คาวาซากิ งบประมาณการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร้อยละ 50 เป็นงบประมาณของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในขณะที่อีกร้อยละ 50 มาจากข้อตกลงระหว่างท่าอากาศยานไทยกับ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น ฝ่ายจัดหาที่เกี่ยวข้องกับสนามบินปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัดในด้านความโปร่งใสและการเปิดเผย ถึงแม้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวก่อสร้างขึ้นตามนโยบายประชานิยม ดังที่เคยประกาศไว้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวสำหรับผู้โดยสาร แต่บริษัทส่งออกทั้งไทยและต่างประเทศก็ต้องการให้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานตามทางหลวงพิเศษระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร และแหลมฉบัง ด้วยเช่นกัน === การออกแบบ === สถาปัตยกรรมได้ถูกออกแบบขึ้น โดย Helmut Jahn สถาปนิกชาวเยอรมัน เจ้าของบริษัท Murphy/Jahn ผู้ซึ่งออกแบบสนามบินชิคาโก และตึกโซนี่เซ็นเตอร์ ที่ประเทศเยอรมัน ซึ่งถือเป็นวิศวกรรมโดยเน้นแก่นแท้เพื่อประสิทธิแห่งการใช้สอยเป็นสำคัญ และเพื่อสัญลักษณ์การเป็นสนามบินที่ยิ่งใหญ่ของไทย เทคโนโลยีของการก่อสร้างถูกนำมารวบรวมไว้ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของอาคารแห่งอนาคต วัสดุหลักคือกระจกก็เลือก มาใช้ผสมผสาน คุณสมบัติให้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทั้งภายนอกและระบบนิเวศน์ภายในอาคารเอง ทั้งกระจกและแสงได้ถูกออกแบบให้เกิดมิติ และประสบการณ์ใหม่ อันหลากหลายแก่ผู้ใช้อาคาร ระบบนิเวศน์ภายในอาคารก็ได้ถูกออกแบบไว้เพื่อประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงประหยัดพลังงานเป็นสำคัญ มีการนำระบบพื้น หล่อเย็นมาใช้ซึ่งทำให้ประหยัดพลังงาน ในระบบปรับอากาศอย่างยิ่งยวดเป็นต้น สะท้อนความเป็นไทยผ่านงานศิลปกรรมของศิลปินไทย ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมไทย ทั้งร่วมสมัย และแบบดั่งเดิม อันประกอบด้วยบุษบก 2 หลัง ศาลาไทย 2 หลัง ยักษ์ 12 ตน ภาพเขียนของ จิตรกรอาวุโสนับร้อยกว่าชิ้น เป็นต้น รูปแบบอาคารได้ถูกสะท้อนผ่านกระบวนการออกแบบโดยผสมผสาน วิศวกรรมสาขาต่างๆ ออกมาอย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมา จึงมีความโดดเด่น และประกาศความเป็นหนึ่งเดียวของสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ ตัวอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน คือ ระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้นของตัวอาคารผู้โดยสาร คือ 9 เมตร โดยเสาหลักหรือเสาไพลอนที่ค้ำซูเปอร์ทรัส หรือคานหลักรั้น มี 2 ตัวต่อ 1 คาน รวมกันเป็น 1 ชุด (เสา 2 ตัวที่ค้ำคานนี้จะห่างกัน 81 เมตร เลข 8 และ 1 บวกกันได้เลข 9) ชุดเสาที่อยู่ทางทิศตะวันออกจะห่างจากชุดเสาทางด้านทิศตะวันตก 126 เมตร (เลข 3 ตัว บวกกันได้ 9) และหลังคาผ้าใยสังเคราะห์ที่ติดตั้งกับอาคารเทียบเครื่องบินมี ทั้งหมด 108 bays ซึ่งสามารถหารด้วยเลข 9 ลงตัว สำหรับทางเลื่อนระนาบผิวเฉพาะในอาคารเทียบเครื่องบินมีทั้งหมด 95 ชุด โดยมีความยาวตั้งแต่ 27 เมตร และ 108 เมตร (2+7 เท่ากับ 9 หรือ 1+0+8 ก็เท่ากับ 9) ความเร็วของทางเลื่อนในอาคารรวมทั้งทางเลื่อนลาดเอียง มีความเร็ว 45 เมตรต่อนาที เอาเลข 4 บวก 5 เท่ากับ 9 === ปัญหาในการวางแผนก่อสร้าง === ระหว่างการวางแผนและก่อสร้างสนามบินนั้น โครงการได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น และที่เกรงว่าอาจจะเกิดในอนาคต ปัญหาเหล่านี้ถูกยกเป็นประเด็นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ และในสื่อ ปัญหาในการวางแผนก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถประมวลได้ดังนี้: ==== ปัญหาทางเทคนิควิศวกรรม สถาปัตยกรรม ==== ในการก่อสร้างช่วงแรก พบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่การก่อสร้าง ปัญหาการทรุดตัวไม่เท่ากัน ของแต่ละช่วงของ ทางขึ้นลงของเครื่องบิน และทางเชื่อมไปยังรันเวย์ (แท็กซี่เวย์) เนื่องจากเทคนิคการถมและบดอัด ปัญหาคุณภาพและความคงทนของวัสดุผ้าใบหลังคาอาคารผู้โดยสาร ปัญหาระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นต้องใช้พลังงานและกระแสไฟฟ้ามาก เพราะผนังอาคารเป็นกระจกและเพดานสูง 20 เมตร ทำให้ต้องใช้ระบบหล่อน้ำเย็นใต้พื้นชดเชย ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและการดูแลยากกว่าระบบทั่วไป สิ้นเปลืองพลังงานและต้องเสียค่าน้ำเย็นจากโรงทำน้ำเย็น ปัญหาระบบเสียง อะคูสติกไม่มีวัสดุกรุผนังอื่น นอกจากกระจก ทำให้ไม่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายเสียงที่ดี อาจก่อให้เกิดปัญหาในการกระจายเสียงได้ ปัญหาจำนวนห้องสุขา ไม่ได้ตามมาตรฐานอาคารสาธารณะขนาดใหญ่พิเศษ ปัญหาความพร้อมของระบบตามมาตรฐานการบินนานาชาติ ซึ่งมีผลต่อการเปิดสนามบิน ที่มีการเลื่อนวันเปิดไป-มา จนมาลงเอยที่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเช้ามืดในวันดังกล่าวจะมีการหยุดใช้สนามบินนานาชาติกรุงเทพ (ดอนเมือง) อย่างถาวร จึงจะต้องมีการขนย้ายทุกอย่างให้จบสิ้นลง ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ดำเนินกิจการสายการบินต่างๆ เป็นอันมาก ปัญหาหลังคารั่ว - ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะยังไม่เปิดการบริการทางพาณิชย์อย่างเต็มที่นั้น หลังคาอาคารผู้โดยสารได้เกิดรั่ว เนื่องจากซิลิโคนที่เชื่อมกระจกหลุด ซึ่งอาจเกิดจากการถูกขูดระหว่างพนักงานทำความสะอาดกระจกหลังคา นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าจะซ่อมเสร็จภายในกำหนดการเปิดใช้ และหลังจากนั้น 1 ปีแล้วทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ ==== ปัญหาการพัฒนาพื้นที่ ==== จากการสัมมนาทางวิชาการหลายเวที โดยเฉพาะทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ผังเมือง และวิศวกรรม ได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการในงานสถาปนิก 49, การสัมมนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมนักผังเมืองไทย การสัมมนาทางวิชาการที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีปัญหาด้านการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ อาจสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ ปัญหาด้านเสียงจากการจราจรทางอากาศ ต่อการพัฒนาที่ดินเป็นแหล่งพักอาศัยโดยรอบ ปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่โดยรอบและใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแนวระบายน้ำหลักและพื้นที่หน่วงน้ำ "แก้มลิง" ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ปัญหาระบบจราจรและโครงข่ายถนนเพื่อการเข้าถึงสนามบิน ระบบป้ายนำทาง ความสะดวกของผู้ใช้สนามบินในการเดินทางไปยังอาคารผู้โดยสาร ==== ปัญหาอื่น ==== การออกแบบที่ยังไม่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ โดยไม่คำนึงถึงการให้บริการในส่วนที่คนพิการจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งในระดับสากลแล้วการสร้างระบบการให้บริการจำเป็นต้องมี และทางหน่วยงานคนพิการทั้งหลายในประเทศไทยเอง พยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างชัดเจน เนื่องจากอาคารผู้โดยสารสายต่างประเทศและภายในอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้ระยะทางเดินต่อเครื่อง ยาวโดยเฉลี่ย 800-1,000 เมตร หรือในจุดที่ยาวสุดระยะทางถึง 3,000 เมตรนั้น เป็นระยะทางที่ไกล ก่อให้เกิดปัญหาได้ในกรณีที่ระยะเวลาต่อเครื่องนั้นกระชั้นชิด อีกทั้งไม่มีรถรางขนส่งดังเช่นแผนเดิมที่ออกแบบไว้ ==== อุบัติเหตุ ==== ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 สายการบินควอนตัส เที่ยวบิน QF2 เครื่องทะเบียน VH-OJT แจ้งลงฉุกเฉินที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากเครื่องยนต์เสีย ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 A330-300 ทะเบียน HS-TEF ล้อหักในขณะที่เครื่องบินทำการจอดที่รันเวย์ ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ตรวจวัสดุแปลกปลอมบนลานจอดเสียชีวิตเนื่องจากถูกรถรถแทรกเตอร์ลากจูงตู้สินค้าชน ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 106 ประสบอุบัติเหตุตกโดจทำการบินจากท่าอากาศยานนครราชสีมาเครื่องบินทะเบียน HS-FGB มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย ที่คลองหนองจอก เขตหนองจอก ห่างจาก ท่าอากาศยานประมาณ 15 กิโลเมตร ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 แอโรฟลอต เที่ยวบินที่ SU-270 ประสบอุบัติเหตุตกหลุมอากาศมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 27 คน ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 B747-400 ทะเบียน HS-TGF เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ออสเตรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบิน 26 ทะเบียน OE-LPB เตาอบภายในเครื่องบินเสีย นักบินตัดสินใจบินกลับมาลงที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เครื่องบินของสายการบินอีวีเอแอร์ เที่ยวบินที่ 202 B777-36NER ทะเบียน B-16722 ลายเฮลโลคิตตี ถูกรถรถแทรกเตอร์ลากจูงตู้สินค้าชนส่งผลให้เครื่องยนต์เสียหายและต้องยกเลิกเที่ยวบิน BR202 thumb === การทดสอบสนามบิน และการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ === เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีกำหนดการเปิดในตอนปลายปี พ.ศ. 2548 แต่ก็ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากข้อบกพร่องในการก่อสร้าง และข้อกล่าวหาในการฉ้อราษฎร์บังหลวง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในทางความเชื่ออีกว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ซึ่งคนงานก่อสร้างที่เห็นวิญญาณเหล่านั้นเกิดความกลัว ดังนั้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานไทยจึงได้จัดพิธีสวดมนต์ของพระสงฆ์ 99 รูปเพื่อสะกดดวงวิญญาณ สนามบินได้เปิดทดลองเต็มรูปแบบ และมีการขายตั๋วที่นั่งให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ พีบีแอร์ และโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จาก 20 เที่ยวบินภายในประเทศโดยเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ภายในประเทศเที่ยวแรกคือ TG1881 ออกจาก ท่าอากาศยานดอนเมือง เวลา 7.45 น.มาถึง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 8.09 น.และทำการบินต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตถึงเวลา 9.19 น. ทำการบินโดยสารการบินไทยเครื่องบินแบบโบอิง 747-400 โดยลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 8.09 น. พร้อมนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและผู้โดยสาร 375 คน ก่อนที่จะทำการบินต่อไปท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ส่วนเที่ยวบินทดสอบระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกเกิดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีการส่งเครื่องบินไทย 2 ลำไปยังสิงคโปร์ และฮ่องกง ซึ่งเป็นการทดสอบทั้งความสามารถของท่าอากาศยานในการรองรับการจราจรทางอากาศที่แออัด และในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการบินนำผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานอินชอนประเทศเกาหลีใต้ TG6561 นับเป็นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกของสุวรรณภูมิ ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินรายวันอย่างจำกัด โดยเจ็ตสตาร์ เอเชีย แอร์เวย์ มีเที่ยวบิน 3 เที่ยวต่อวันไปยังสิงคโปร์ ส่วนการบินไทยมีเที่ยวบินภายในประเทศไปยังจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี ตามด้วยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ แอร์เอเชีย ไทยแอร์เอเชีย และนกแอร์ ซึ่งระหว่างช่วงเริ่มต้นใช้งานนั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ใช้รหัสสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศชั่วคราว คือ NBK ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รับเที่ยวบินจากเอเธนส์ เป็นเที่ยวบินสุดท้าย ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รับเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบ เมือง โจฮันเนสเบิร์ก เป็นเที่ยวบินสุดท้ายวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รับเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบ เมือง โจฮันเนสเบิร์กอีกครั้งในเที่ยวบิน SA2284 ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรับเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติมาดริดบาราคัส เมือง มาดริด เป็นเที่ยวบินสุดท้าย ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 22.59 น.ตามเวลาประเทศแคนาดา แอร์แคนาดา ได้ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์แวนคูเวอร์ประเทศแคนาดา ไปกลับในเที่ยวบิน AC65 และ AC66 นับเป็นครั้งแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินตรงจากประเทศแคนาดาและเป็นเที่ยวบินผู้โดยสารจากทวีปอเมริกาเหนือหลังจากหยุดบินเที่ยวบินผู้โดยสารทวีปอเมริกาเหนือนานถึง 7 ปี โดยเที่ยวบินดังกล่าวมาถึงในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 6.33 น.ตามเวลาในประเทศไทย === การขยายโครงการก่อสร้าง === เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา อีพีเอ็ม คอนซอร์เตี้ยม เป็นผู้บริหารจัดการโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2554-2560) ทั้งนี้ การขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 62,500 ล้านบาท พร้อมกับจ้างที่ปรึกษาบริหารจัดการโครงการ ซึ่งได้อีพีเอ็ม คอนซอร์เตี้ยม มาเป็นผู้ดำเนินงาน แผนการระยะยาว เราจะพัฒนารันเวย์ให้มีขนาด 4 รันเวย์ ให้ขนานกับตัวอาคารผู้โดยสาร และสร้างอาคารผู้โดยสารย่อยรอบๆ อาคารผู้โดยสารหลัก จะสร้างหลังจากสร้างอาคารผู้โดยสารหลักเสร็จภายใน 3-5 ปี เพื่อเพิ่มพื้นที่การรองรับผู้โดยสารจำนวน 120 ล้านคน หลุมจอดเครื่องบิน 224 หลุมจอด และ 6.4 ล้านตันสำหรับการขนส่งสินค้าต่อปี ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 โครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิระยะที่ 2 และ การดำเนินงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลง โดยเหลือการตกแต่งสถาปัตยกรรมภายใน และทำการทดสอบระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ร่วมกัน ท่าอากาศยานไทย อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 เปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 === การปรับปรุงพัฒนาบริการ === วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สถานีตำรวจภูธรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดบริการอย่างเป็นทางการวัตถุประสงค์เพื่อดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของคนไทยและชาวต่างชาติ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้กำหนดเริ่มปรับปรุงทางวิ่งอากาศยานฝั่งตะวันออกกำหนดแล้วเสร็จภายใน วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจค้นโดยให้บริการตรวจค้นรูปแบบใหม่ซึ่งสามารถตรวจค้นเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า หรือ 3,600 คนต่อชั่วโมงโดยใช้งบลงทุน 155 ล้านบาท วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับตำรวจตรวจคนเข้าเมืองให้บริการเปิดช่องทางพิเศษผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ถือหนังสือเดินทางประเทศจีน วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ แอร์ไชน่า ทำการบินรับส่งผู้โดยสารพิเศษที่เข้าร่วม การประชุมสุดยอดอาเซียน ด้วยเครื่องบินชนิดโบอิง 747-8I นับเป็นครั้งแรกที่เครื่องบิน โบอิง 747-8I ซึ่งเป็นเครื่องขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่รองจาก แอร์บัส เอ380 ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมกับเตอร์กิชแอร์ไลน์เที่ยวบิน TK65 และ TK69 ทำการบินขนส่งผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานอิสตันบูล เป็นครั้งแรก วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมกับแอร์ไชนา เที่ยวบิน CA757 ทำการบินขนส่งผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเป่ย์จิงต้าซิง เป็นปีแรก thumb ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ทุกสายการบินที่จะเดินทางไปกลับจากท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูชวงหลิวได้เปลี่ยนสนามบินเป็น ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูเทียนฟู่ ซึ่งอยู่ในเขตเจี๋ยนหยาง วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 การบินไทยทำการบินเที่ยวบิน TG8838 นำนาย เศรษฐา ทวีสิน และคณะ บินตรงไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก นับเป็นครั้งแรกที่การบินไทยและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินผู้โดยสารบินตรงไปสหรัฐหลังหยุดบินตรงนานถึง 7 ปี === เที่ยวบินระยะทางมากกว่าหนึ่งหมื่นไมล์ === ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินที่ทำการบินโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบิน ระยะทางมากกว่าหนึ่งหมื่นไมล์จำนวน 6 เที่ยวบินเป็นขนส่งอากาศยานสองเที่ยวบินได้แก่ เที่ยวบิน แอร์แคนาดา 7266 และ ควอนตัส 7581 นอกจากนั้นเป็นเที่ยวบินเฉพาะกิจดังต่อไปนี้ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เที่ยวบินของการบินไทย เที่ยวบินที่ TG8848 ทะเบียน HS-TLD นำอดีตนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์และคณะเดินทางไปกรุงลิมา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ซึ่งบินแวะท่าอากาศยานซือริช เดินทางถึงกรุงลิมาในวันที่ 21 พฤศจิกายน ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563 ไอบีเรียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน IB2836 ทะเบียน EC-NBE ทำการบินขนส่งผู้โดยสารจากท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปลายทางท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัสเมืองมาดริดประเทศสเปนเที่ยวบินดังกล่าวนับเป็นเที่ยวบินไปมาดริดในรอบ 4 ปี และเป็นเที่ยวบินแวะพักที่ไม่เปลี่ยนเครื่องบินระยะทางไกลที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำการบินตามระยะทางที่บินจริง 18,291 กิโลเมตร ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563 การบินไทยเที่ยวบินที่ 8096 ทำการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังฮาวายปลายทางเมืองอเล็กซานเดรียรัฐเวอร์จิเนียระยะทาง 17,554 กิโลเมตรเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำทางทหาร วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ต้อนรับผู้โดยสารจากท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตีในเที่ยวบิน SQ9023ทำการบินโดยสิงคโปร์แอร์ไลน์ ทะเบียน 9V-SGD นับเป็นเที่ยวบินจากสหรัฐในรอบ 6 ปีและทำการบินจากสหรัฐมาประเทศไทยระยะทางบินไกลที่สุดนับตั้งแต่เปิดสนามบิน ระยะทางบินจริง 15,879 กิโลเมตรทำลายสถิติเที่ยวบิน TG791 โดยเที่ยวบินนี้ทำการบินต่อไปยังท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ ทำการบินตามระยะทางที่บินจริงรวม 17,335 กิโลเมตร วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 นายเศรษฐา ทวีสินและคณะ เดินทางด้วยเครื่องบินทะเบียน HS-TQB TG8832 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตันดัลเลส == รายละเอียดท่าอากาศยาน == ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนเทพรัตน ประมาณกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครไปประมาณ 25 กิโลเมตร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 1 ใช้งบประมาณก่อสร้างในกรอบวงเงิน 123,942.25 ล้านบาท ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีรันเวย์ขนาน 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร และมีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อากาศยานขาออกและขาเข้าได้พร้อมกัน และมีหลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) รวมถึงหลุมจอดอากาศยานที่สามารถรองรับอากาศยานแอร์บัส เอ 380 ได้ถึง 5 หลุมจอดและระยะไกลอีก3หลุมจอดทำให้สามารถรับได้สูงสุด 8 ลำ รวม 8 หลุมจอด มีท่าเทียบรวม 51 จุด ในช่วงแรกของการก่อสร้าง ท่าอากาศยานมีศักยภาพรองรับปฏิบัติการเที่ยวบินได้76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง, ผู้โดยสารได้กว่า 45 ล้านคนต่อปี และสินค้า 3 ล้านตันต่อปี และหน้าอาคารผู้โดยสารหลักเป็นโรงแรมภายใต้เครื่องหมายการค้าโนโวเตล ซึ่งมีจำนวน 600 ห้อง อีกทั้งระหว่างอาคารผู้โดยสารและโรงแรมก็มีอาคารจอดรถ 5 ชั้น จำนวน 2 หลัง ซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จอดรถเหนือพื้นดินที่สามารถรองรับรถยนต์ได้อีก 1,000 คัน และพื้นที่จอดรถในระยะยาวที่สามารถรองรับรถยนต์ได้ 4,000 คัน และรถโดยสารอีก 78 คัน นอกจากนี้ ท่าอากาศยานไทยยังมีแผนการที่จะขยายและปรับปรุงสนามบินสุวรรณภูมิด้วยงบประมาณ 800 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มเป้าผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 80 ล้านคนต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2559 และยังเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารภายในประเทศโดยการลงทุนสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และทางวิ่งที่สามเพิ่มขึ้นอีก รายละเอียดส่วนหลักสนามบินสุวรรณภูมิสามารถประมวลได้ ดังนี้: === อาคารผู้โดยสารหลักที่ 1 === อาคารผู้โดยสารหลักที่ 1 เป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ม.² มี 9 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้: ชั้นใต้ดิน (B2) - ชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้า (เปิดใช้สายละ 1 ชานชาลา) ชั้นใต้ดิน (B1) - สถานีรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ชั้น 1 - สถานีรถโดยสาร ศูนย์การแพทย์ และสำนักงานตรวจสอบไฟฟ้าท่าอากาศยานไทยและศูนย์ควบคุมท่าอากาศยาน ชั้น 2 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาเข้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ชั้น 3 - ห้องนั่งเล่น จุดนัดพบ ร้านค้า จุดตรวจ และเคาเตอร์ให้บริการ ชั้น 4 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาออกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จุดตรวจควบคุมภาษีศุลกากร ศูนย์ราชการบางแห่ง บูทสายการบิน เคาท์เตอร์ข้อมูลสนามบิน ชั้น 5 - สำนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มสายการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์ ชั้น 6 - สำนักงานสายการบิน ชั้น 7 - ชั้นชมทัศนียภาพ ===อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1=== อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ตั้งอยู่ห่างจากอาคารผู้โดยสารหลักที่ 1 ประมาณ 1 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 216,000 ตร.ม. มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชั้น B2 : สถานีขนส่งผู้โดยสาร ชั้น B1 : ระบบลำเลียงกระเป๋าและสัมภาระ ชั้น GF : ลานจอดเครื่องบิน ชั้น 2 : ส่วนบริการผู้โดยสารขาเข้า เคาท์เตอร์ผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่อง และส่วนสำหรับเจ้าหน้าที่ ชั้น 3 : ส่วนบริการผู้โดยสารขาออก โดยมีทางออกขึ้นเครื่อง S101-S128 เชื่อมสะพานเทียบเครื่องบินรวม 28 สะพาน อีกทั้งยังมีร้านค้าปลอดอากรอีกด้วย ชั้น 4 : ส่วนบริการผู้โดยสารพิเศษ ภัตตาคาร และร้านค้า === การจัดแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมไทย === ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการติดตั้งผลงานศิลปะไทย ทั้งภายในและภายนอกอาคารของสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจในบรรยากาศประเทศไทย ด้วยการสะท้อนความงามของศิลปะและวัฒนธรรมไทย เช่น ประติกรรมจำลองยักษ์จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 12 คน ซึ่งเป็นตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ มูลค่า 48 ล้านบาท ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำลองของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย เป็นต้น === งานภูมิทัศน์ === งานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบินและภายในส่วนเปิดโล่งของอาคารผู้โดยสารมีลักษณะของความเป็นไทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ วอล์กเกอร์ ภูมิสถาปนิกชาวอเมริกัน วอล์กเกอร์ระบุว่า ภูมิทัศน์ถนนภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ประกอบด้วยงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถสัมผัสได้แม้จากในรถที่กำลังแล่น ส่วนภูมิทัศน์ภายในท่าอากาศยาน ได้ออกแบบให้เป็นงานภูมิทัศน์ภายในสนามบินขนาดใหญ่แบบ Monumental garden 2 สวน ขนาดพื้นที่ถึงแปลงละ 135×108 ม. ตามแบบเดิมนั้นมีแนวความคิดหลักสองแนวคิด คือ สวน "เมือง" และ สวน "ชนบท" โดยการออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดภูมิจักรวาลและอารยธรรมชาวน้ำ ในเวลาต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณและสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต ใน พ.ศ. 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ โดยกลุ่มภูมิสถาปนิกและทีมที่ปรึกษาชาวไทย คือ RPU Design Group ภายใต้การนำของสำนักงานออกแบบระฟ้า ภูมิสถาปนิกที่ร่วมกำหนดแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ยังคงแนวคิดหลักของสวนเมืองและชนบทอยู่ แต่ได้ปรับแนวความคิดในขั้นรายละเอียดและเนื้อหาใหม่ "สวนเมือง" มีลักษณะเป็นสวนน้ำพุ ประดับด้วยกระเบื้อง ประติมากรรมรูปทรงเจดีย์และน้ำพุ ได้อาศัยคติความเชื่อของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ความเชื่อเรื่องระบบภูมิจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง เรื่องการเลือกทำเลในการตั้งเมืองใกล้น้ำ (อารยชนชาวน้ำ) การใช้เส้นสายที่ปรากฏในจิตรกรรมไทย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง ส่วน "สวนชนบท" มีการประดับโดยใช้หญ้าท้องถิ่นและต้นไม้ตัดแต่งรูปฝูงช้าง ได้ใช้ลักษณะภูมิประเทศของไทย ซึ่งประกอบด้วยภูเขา แม่น้ำลำคลองและทุ่งราบ มีภูเขาทองเป็นประธาน ในส่วนประติมากรรมได้ใช้ฝูงนกเป็นกลุ่มๆ ที่สามารถไหวได้ตามแรงลม โดยทั้งสองสวนจะสื่อถึงความเป็นไทย และมีรูปแบบทันสมัยเพื่อให้กลมกลืนกับรูปแบบอาคารสนามบินได้โดยไม่ดูล้าสมัย มีความยืดหยุ่นรองรับการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารได้ และการออกแบบองค์ประกอบและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ได้คำนึงถึงเรื่องการควบคุมจำนวนนกภายในสนามบินด้วย === สถิติโลก === ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ" และยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำลายสถิติโลกในหลายประการ ได้แก่ หอบังคับการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิเคยเป็นหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูง 132.2 เมตร แต่ในปัจจุบันถูกทำลายสถิติแล้ว ล็อบบี้ของโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง เป็นบริเวณล็อบบี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ถึง 17 ไร่ อาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยเป็นอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่ถูกบันทึกว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในการก่อสร้างครั้งเดียว โดยมีพื้นที่ใช้สอยราว 563,000 ม.² แต่ในปัจจุบัน สถิติดังกล่าวตกเป็นของอาคารผู้โดยสารที่ 3 ของท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยราว 1,500,000 ม.² ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีสายการบินประจำที่ทำการบินแบบมีผู้โดยสารและขนส่งสินค้าที่เป็นสายการบินเส้นทางประจำ จำนวน 100 สายการบิน 2 ปีติดต่อกัน ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีสายการบินประจำที่ทำการบินแบบมีผู้โดยสารและขนส่งสินค้าที่เป็นสายการบินเส้นทางประจำ จำนวน 105 สายการบิน มากกว่า 100 สายการบินเป็นปีแรกตั้งแต่เปิดทำการ ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2558 ถึง ปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้อันดับที่ 9 จากการจัดอันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ถึง 5 ปีซ้อน โดยในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศมากกว่า 52,933,565 คน มากกว่า 52 ล้านคนเป็นปีแรก ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 19 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร 65,421,844 ราย ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 10 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร เฉพาะท่าอากาศยานในทวีปเอเซีย ในปี พ.ศ. 2561 และ ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 21 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนขนส่งสินค้า โดยปริมาณขนส่งในปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 1,326,914 ตัน ในปี พ.ศ. 2564 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดลำดับที่ 10 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีพื้นที่มากที่สุดของโลก โดยพื้นที่รวมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคือ 32.4 ตารางกิโลเมตร นับตั้งแต่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 จนถึง วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินผู้โดยสาร ที่ทำการบินไม่เปลี่ยนเครื่องบินระยะทาง เกิน 12,000 กิโลเมตร ทั้งหมด 11 เส้นทางบินโดยเที่ยวบินล่าสุดได้แก่แอร์แคนาดา เที่ยวบินที่ 65 ระยะทางรวม 12,441 กิโลเมตร == สายการบิน == ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตารางบินในฤดูการเปลี่ยนแปลงตารางบินทุก 6 เดือน ช่วงปลายเดือนตุลาคม และปลายเดือนมีนาคมซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นลงของแต่ละสายการบินทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของ IATA อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจุดหมายของสายการบินต่าง ๆ โดยในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 ไทยสมายล์ ได้ย้ายฐานการบินมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2562 ตลอดทั้งปี มีสายการบินทำการบินทั้งหมด 121 สายการบิน แบ่งเป็นขนส่งผู้โดยสาร 105 สายการบิน ขนส่งอากาศยาน 13 สายการบิน รวมเป็นสายการบินประจำ 118 สายการบินเช่าเหมาลำ ระหว่างประเทศ 2 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำ ภายในประเทศ 1 สายการบิน นับว่าในแง่ของสายการบินมีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่เปิดกิจการ เที่ยวบินล่าสุดคือ QW6111 ทำการบินใน วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จากเจิ้งโจว และเที่ยวบิน SC2283 ทำการบินจากยานไถ มณฑลชานตง แวะที่เมืองหลินอี้ มณฑลชานตง มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในอดีตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยมีเที่ยวบินไปกลับระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับ เอเธนส์ มาดริด โจฮันเนสเบิร์ก เคเมโรโว ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยรับผู้โดยสารเที่ยวบินจากสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 เมือง เที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ชิคาโก แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการบินโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ในเที่ยวบินที่ UA881 ซึ่งเป็นเที่ยวบินผู้โดยสารที่ทำการบินตามตารางบินระยะไกลที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินตราบจนปัจจุบันระยะทางรวม 15,103 กิโลเมตร เที่ยวบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิสแวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการบินโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ในเที่ยวบินที่ UA891 และการบินไทย TG744 ระยะทาง 13,745 กิโลเมตร เที่ยวบินจากซานฟรานซิสโก แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการบินโดยในยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ UA837 และ นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน NW27 ระยะทาง 13,500 กิโลเมตร นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน NW21 ทำการบินท่าอากาศยานนานาชาติแดเนียล เค. อิโนเอฮาวายแวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทางรวม 10,785 กิโลเมตร เที่ยวบินของการบินไทย TG691/TG692 แวะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ก่อนไปยังท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ระยะทางรวม 14,653 กิโลเมตร เที่ยวบินของการบินไทยไปกลับระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี นิวยอร์ก TG790/TG791 ระยะทางรวม 14,050 กิโลเมตร เที่ยวบินบินตรงของการบินไทย TG794/TG795 ระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ระยะทาง 13,325 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานที่รับผู้โดยสาร นักบิน และ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จาก 55 ประเทศทั่วโลก หากนับรวมประเทศไทยด้วย ท่าอากาศยานแห่งนี้รับผู้โดยสาร จาก 56 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมากถึงร้อยละ 29 ของจำนวนประเทศทั่วโลก โดยประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำการบินเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์ ไม่นับรวมแซ็ง-เดอนี ฮ่องกง และมาเก๊า ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษ มีจำนวนสายการบินที่ทำการบินทั้งเครื่องขนส่งสินค้าอย่างเดียวและเครื่องขนส่งผู้โดยสารและสินค้าซ้ำกัน 4 สายการบินได้แก่ ไชนาแอร์ไลน์ ออล นิปปอน แอร์เวย์ อีวีเอแอร์ ฮ่องกงแอร์ไลน์ ในปี พ.ศ. 2562 มีเครื่องขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวหรือขนส่งอากาศยาน 13 สายการบิน โดยเที่ยวบินขนส่งสินค้าในไชน่าแอร์ไลน์ อีวีเอแอร์ ออล นิปปอน แอร์เวย์ ฮ่องกงแอร์ไลน์ ไม่ได้นับรวมในสายการบินขนส่งสินค้าเนื่องจากเป็นบริษัทเดียวกันกับที่ทำการบินในเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร ยกเว้นสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์กับสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก แม้ใช้รหัส IATA เดียวกัน แต่ถือเป็นคนละสายการบิน ในปี พ.ศ. 2562 ขนส่งอากาศยาน มีสายการบินใหม่ที่ทำการบินมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2 สายการบินได้แก่ สายการบิน มาย เจ็ทเอกซ์เพรส แอร์ไลน์ (MY Jet Xpress Airlines) และสายการบิน หยวนทง คาร์โกแอร์ไลน์ (YTO Cargo Airline) ในปีเดียวกัน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรับเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ380 มากถึง 6 สายการบิน ได้แก่ การบินไทย เอเชียน่าแอร์ไลน์ ลุฟท์ฮันซ่า เอมิเรตส์แอร์ไลน์ โคเรียนแอร์ และกาตาร์แอร์เวย์ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 สายการบินสกู๊ตเที่ยวบินที่ 750 ทำการบิน จากท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและบินต่อปลายทางที่ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก นับเป็นเที่ยวบินใหม่ที่มีผู้โดยสารระยะทางทำการบินไกลที่สุดในปีดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2565 เที่ยวบินที่ทำการบินใกล้ที่สุดได้แก่ เที่ยวบินของการบินไทยสมายล์ในวันที่ 20 กรกฎาคม บินจากท่าอากาศยานดอนเมืองมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะทางทำการบิน 60 กิโลเมตร ในเที่ยวบิน WE557WE258เป็นเที่ยวบิน Diverted ซึ่งไม่สามารถลงที่ปลายทางได้เนื่องจากฝนตกหนัก ในส่วนของสายการบินที่ทำการบิน เครื่องบินขนาดเล็กที่สุดที่บินที่นี่ ได้แก่ เอทีอาร์ 42 และขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่ แอร์บัส เอ380 ในปี พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินที่บินตรงแบบประจำที่ระยะทางไกลที่สุดอันดับแรกได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์แวนคูเวอร์ทำการบินโดยแอร์แคนาดาเที่ยวบินที่ 65 ระยะทางบินตามจริง 12,441 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินภายในประเทศที่ทำการบินแบบประจำมากถึง 24 ท่าอากาศยาน จำนวนทั้งสิ้น 22 จังหวัด ภายในประเทศไทย เที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่มีผู้โดยสารและสินค้าที่บินสั้นที่สุด (แบบเที่ยวบินประจำ) ในปัจจุบันได้แก่เที่ยวบินไปกลับ จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปท่าอากาศยานตราด ระยะทางที่บินตามจริง 250 กิโลเมตรทำการบินโดยบางกอกแอร์เวย์ส ในส่วนเที่ยวบินในเชิงพาณิชย์ที่บินไกลที่สุดในปัจจุบัน (แบบเที่ยวบินประจำ) ได้แก่ เที่ยวบินไปกลับระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปกลับท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ทำการบินโดย แอร์แคนาดา เที่ยวบินที่ AC65/AC66 เที่ยวบินแวะพักที่ทำการบินไกลที่สุดของสนามบินอันดับแรกได้แก่อีวีเอแอร์เที่ยวบินที่ 67 และอีวีเอแอร์เที่ยวบินที่ 68 ทำการบินไทเป–เถา-ยฺเหวียนแวะพักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปลายทางท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ทั้งขาไปและขากลับ ระยะทางรวม 13,009 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2564 เที่ยวบินตรงระยะทางไกลที่สุดและเที่ยวบินแบบแวะพักโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินระยะทางไกลที่สุดเป็นของขนส่งอากาศยาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 เที่ยวบินแบบแวะพักโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินระยะทางไกลที่สุดเป็นของขนส่งอากาศยานเป็นปีที่สองติดต่อกัน ในปี พ.ศ. 2566 จำนวนประเทศที่บินมากกว่า 4 เมืองขึ้นไปรวมขนส่งอากาศยาน ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอินเดีย ประเทศรัสเซีย และประเทศไทย === สายการบินใหม่ === ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เกรทเตอร์ เบย์ แอร์ไลน์ส เปิดเส้นทางบินใหม่จาก ฮ่องกง เที่ยวบิน HB660 มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 22.59 น.ตามเวลาประเทศแคนาดา แอร์แคนาดา ได้ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์แวนคูเวอร์ประเทศแคนาดา ไปกลับในเที่ยวบิน AC65 และ AC66 นับเป็นครั้งแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินตรงจากประเทศแคนาดาโดยเที่ยวบินดังกล่าวมาถึงในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 6.33 น.ตามเวลาในประเทศไทย ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 สายการบิน เวสต์แอร์ ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติเจิ้งโจวซินเจิ้งมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 สายการบิน เวสต์แอร์ ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติฉงชิ่งเจียงเป่ย์มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สายการบินแอร์อาระเบียทำการบินจากเมืองชัรญะฮ์ มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเที่ยวบิน G9825 นับเป็นเส้นทางบินใหม่ในปี พ.ศ. 2566 === เส้นทางการบินที่ให้บริการในปัจจุบัน === === เที่ยวบินขนส่งสินค้า (คาร์โก) === ในปี พ.ศ. 2562 ถึง ปัจจุบัน ขนส่งอากาศยานที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับความไว้วางใจทำการบินด้วยเครื่องบินขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ขนาดใหญ่ อาทิ โบอิง747-8F 6 สายการบิน ได้แก่ สายการบินโคเรียนแอร์คาร์โก ยูพีเอส คาร์โกลักซ์ เอเอ็นเอคาร์โก แอร์บริจคาร์โก ควอนตัส และ ทำการบินด้วย โบอิง747-4F 6 สายการบิน ได้แก่ ซิลค์ เวย์ เวสต์ แอร์ไลน์ อีวีเอแอร์คาร์โก ไชนาแอร์ไลน์คาร์โก สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก เนชั่นแนล แอร์ไลน์ เอเชียนาคาร์โก เที่ยวบินขนส่งท่าอากาศยานเป็นเที่ยวบินที่ทำการบินรัฐอะแลสกา สหรัฐ ไปกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารไปกลับ สหรัฐ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 ขนส่งอากาศยานยังให้บริการในประเทศที่ขนส่งอากาศยานให้บริการโดยที่ไม่มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารได้แก่ ประเทศเม็กซิโก และประเทศอาเซอร์ไบจาน ในปี พ.ศ. 2564 เที่ยวบินตรงที่ทำการบินระยะไกลที่สุดเป็นเที่ยวบินขนส่งอากาศยานจากลอสแอนเจลิสบินตรงมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของสายการบินเอธิโอเปียแอร์ไลน์คาร์โกเที่ยวบินที่ ET3639 ระยะทางรวม 13,315 กิโลเมตร ส่วนบินเที่ยวบินแบบแวะพักเป็นของแอร์แคนาดาเที่ยวบิน AC7266 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแวะโซล–อินช็อน ปลายทางแฮลิแฟกซ์ (รัฐโนวาสโกเชีย)ระยะทางรวม 16,246 กิโลเมตร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 เที่ยวบินแวะพักที่ทำการบินไกลที่สุดได้แก่ เที่ยวบินขนส่งสินค้าสายการบินควอนตัสเที่ยวบินที่ QF7581 เครื่องบินแบบ Boeing 747-47UF และเครื่องบินแบบ Boeing 747-46NF ทำการบินท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธมาแวะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแวะท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง แวะแองเคอเรจรัฐอะแลสกา ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีนิวยอร์ก เที่ยวบินดังกล่าวเป็นเที่ยวบินประจำที่ทำการบินระยะไกลที่สุดของ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเดือน กันยายน 2565 ถึง ตุลาคม 2565 ขนส่งอากาศยานทำการบินเที่ยวบินระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แวะพักที่ฮ่องกง ปลายทาง เม็กซิโกซิตี เที่ยวบินระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แวะพักที่ฮ่องกง ปลายทาง กัวดาลาฮารา ประเทศเม็กซิโกนับเป็นครั้งแรกที่คาร์โกลักซ์ทำการบินระหว่างประเทศไทยกับประเทศเม็กซิโกโดยไม่แวะลงจอดที่รัฐอะแลสกา สหรัฐ ปี พ.ศ. 2566เที่ยวบิน NCR822 จาก ท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัส ประเทศสเปน เป็นเที่ยวบินขนส่งสินค้าเที่ยวบินตรงระยะทางไกลที่สุด === เที่ยวบินเชิงเทคนิค === เที่ยวบินเชิงเทคนิคหมายถึงเที่ยวบินที่ใช้ย้ายฐานการบินทำการบินไปเพื่อซ่อมบำรุงเช็คสมรรถภาพของเครื่องบินใน ปี พ.ศ. 2562 มีรายงานผู้โดยสารจากท่าอากาศยานดอนเมืองเพียง 2 ราย == สถิติ == === สถิติผู้ใช้บริการ === ทั้งนี้จากสถิติดังกล่าวในปี พ.ศ. 2554 เป็นปีแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารเกิน 45 ล้านคน ซึ่งถือว่าเลยขีดจำกัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปัญหานี้ส่งผลให้เกิดปัญหาการรอคอยของผู้โดยสารในการตรวจคนเข้าเมืองนานมาก กองตรวจคนเข้าเมืองต้องทำงานหนักเกินไปและมีปัญหาสุขภาพเช่น กระเพาะปัสสาวะ อักเสบ ในปี พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อันดับที่ 14 ประเภทจำนวนผู้โดยสารสูงสุดของโลก นับเป็นปีแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนผู้โดยสารภายใน 15 อันดับท่าอากาศยานหนาแน่นที่สุดของโลกใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการลดลงเป็นปีแรกในรอบ 4 ปี ลดลง 12.07% เมื่อเทียบกับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 และจากปัญหานี้เอง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงได้ยื่นแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 ขึ้น โดยจะก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 2 และอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ทางทิศใต้ขึ้น โดยใช้สถาปัตยกรรมภายนอกแบบเดียวกันกับอาคารหลังที่ 1 แต่ตกแต่งภายในใหม่ทั้งหมด แต่เนื่องจากการก่อสร้างท่าอากาศยานต้องใช้เวลาอย่างต่ำถึง 5 ปี จึงทำให้แผนการรื้อฟื้นท่าอากาศยานดอนเมืองจึงถูกนำมาใช้ชั่วคราว จนกว่าการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบเต็มเฟสจะเสร็จสิ้นโดย เฟส 2 จะเปิดให้บริการในเดือน มกราคม พ.ศ. 2563 === สถิติการให้บริการ === เครื่องบินที่ท่าอากาศยานให้บริการขนาดเล็กที่สุดได้แก่ เครื่อง เซสน่า 208 คาราวาน ขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่ แอร์บัส เอ380 โบอิง 747-8I โบอิง 747-8F ในปี พ.ศ. 2561 เที่ยวบินภายในประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการน้อยที่สุดได้แก่ เที่ยวบินไปกลับ ระหว่าง สนามบินเกาะไม้ซี้ ไปกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากบริการให้กับนักท่องเที่ยวของบริษัท โซเนวา คีรี จำกัด เท่านั้น ด้วยเครื่องบิน ทะเบียน HS-SPL และ HS-SKRซึ่งเป็นเครื่อง Cessna 208B Grand-Caravan ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำการบินเชิงพาณิชย์ระยะสั้นที่สุดได้แก่ท่าอากาศยานหัวหินในเที่ยวบิน TRB171 ระยะทางเพียง 150 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2566 เส้นทางดังกล่าวทำการบินโดยสายการบินวีไอพีเจ็ท ซึ่งดำเนินธุรกิจเครื่องบินส่วนตัวระยะทางทำการบินจริง 207 กิโลเมตรซึ่งเป็นระยะทางบินที่สั้นที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยเครื่องบินทะเบียน HS-VIPเครื่องบินที่ใช้เป็นเครื่องบินแบบเซสน่า 510 เอมิเรตส์ (สายการบิน)เที่ยวบิน EK418/EK419 เป็นเที่ยวบินแวะพัก 2 ประเทศตราบจนปัจจุบัน ประเทศนิวซีแลนด์แวะพักประเทศออสเตรเลียและประเทศไทยได้ทำการบินขนส่งผู้โดยสาร เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติโอกแลนด์แวะท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติดูไบก่อนหน้านี้เอมิเรตส์ (สายการบิน) เที่ยวบิน EK418/EK419 ทำการบินไครสต์เชิร์ชแวะท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ทั้งสองเส้นทางระยะทางบินรวม ประมาณ 14,900 กิโลเมตร ถึง 14,980 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2561 จำนวนเที่ยวบินเฉลี่ยที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 998 เที่ยวบินต่อวัน ในอดีตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังเป็นหนึ่ง ในท่าอากาศยานที่รับผู้โดยสารจากเที่ยวบิน TG790 และ TG791 ไปกลับจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี และ เที่ยวบิน TG794 และ TG795 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นเที่ยวบินแบบบินตรงที่เดินทางเป็นระยะไกลมากที่สุดติดสิบอันดับแรก ของการทำการบินเชิงพาณิชย์ทั่วโลก หากนับเที่ยวบินที่ทำการบินแบบแวะพักสถิตินี้จะเป็นของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ในเที่ยวบินที่ UA881 ทำการบินท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ชิคาโก แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในตลอดเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 25,881 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 8,106 รวม 33,987 เที่ยวบินซึ่งเป็นสถิติเที่ยวบินระหว่างประเทศมากที่สุดตั้งแต่ดำเนินกิจการ === เส้นทางการบินที่มีผู้ใช้บริการรวมเกินเก้าแสนราย === ตลอดปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งหมด 380,067 เที่ยวบิน มีจำนวนท่าอากาศยานที่ให้บริการระหว่างประเทศไปกลับโดยมีผู้โดยสารรวมมากกว่า 1000000 รายในแต่ละเมืองมากถึง 14 ท่าอากาศยาน ซึ่งหากรวมท่าอากาศยานภายในประเทศแล้ว ท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารไปกลับรวมมากกว่า 1000000 ราย มีทั้งหมด 17 ท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตามตลอดปี พ.ศ. 2562 เมื่อเรียงลำดับจำนวนท่าอากาศยาน 20 ลำดับแรกที่มีผู้โดยสารไปกลับจำนวนมากที่สุด พบว่า 20 ท่าอากาศยาน มีผู้โดยสารไปกลับจำนวนเกิน 9 แสนรายขึ้นไป มีจำนวน 34 ท่าอากาศยานให้บริการผู้โดยสารไปกลับเกิน 500000 รายขึ้นไป ซึ่งเท่ากับว่าจำนวนท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารเกิน 500000 รายขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 100 ( 100 %) เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน ท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารไปกลับ เกิน 1000000 ราย === เที่ยวบินที่ทำการบินผู้โดยสารน้อยที่สุดระหว่างประเทศ === หากดูรายประเทศ ประเทศที่มีการขนส่งผู้โดยสารน้อยที่สุดใน ปี พ.ศ. 2562 ได้แก่ประเทศสเปน เมืองซาราโกซา มีผู้โดยสารรวม 8 รายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ผู้โดยสารที่จะไปทวีปอเมริกาเหนือจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องบิน เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีบริการเที่ยวบินผู้โดยสารระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับทวีปอเมริกาเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแบบบินตรงหรือแวะท่าอากาศยานประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินจากทวีปอเมริกาเหนืออีกครั้ง โดยบินตรงท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ประเทศแคนาดา วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ต้อนรับผู้โดยสารจากท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตีในเที่ยวบิน SQ9023ทำการบินโดยสายการบินสิงคโปร์นับเป็นเที่ยวบินจากสหรัฐในรอบ 6 ปี และเป็นเที่ยวบินตรงที่ไกลที่สุดของสุวรรณภูมินับตั้งแต่เปิดดำเนินกิจการ นับตั้งแต่เปิดบริการ ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารไปทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเที่ยวบินพิเศษของการบินไทย เที่ยวบินที่ TG8848 ทะเบียน HS-TLD นำอดีตนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์และคณะเดินทางไปกรุงลิมา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เดินทางถึงกรุงลิมาในวันที่ 21 พฤศจิกายนอย่างไรก็ตามท่าอากาศยานในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีเที่ยวบิน "บินตรง" ไปกลับ ทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2565 เที่ยวบินที่ทำการบินเที่ยวบินระหว่างประเทศน้อยที่สุดในแง่การขนส่งผู้โดยสารได้แก่เที่ยวบินรับเครื่องบินของการบินไทยในช่วงเดือนเมษายน จาก เมืองเอเวอร์เร็ต รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา มีผู้โดยสารเดินทางมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 5 ราย === เที่ยวบินที่ทำการบินผู้โดยสารน้อยที่สุดภายในประเทศ === เที่ยวบินผู้โดยสารที่ทำการบินน้อยที่สุดภายในประเทศได้แก่เที่ยวบินไปกลับระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง === เส้นทางการบินระหว่างประเทศที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด === {|class="wikitable sortable" style=" font-size: 90% width= align= margin:auto;" |+ เส้นทางการบินระหว่างประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด (พ.ศ. 2556) |- style="background:lightgrey;" ! อันดับ || ท่าอากาศยาน || จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2556 (คน) || ความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) || จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2555 (คน) |- |1|| ฮ่องกง ||align="right"| 3,566,950 ||9.17||align="right"| 3,267,195 |- |2|| สิงคโปร์ ||align="right"| 3,344,500 ||1.84||align="right"| 3,407,354 |- |3|| โซล-อินช็อน||align="right"| 2,121,430 ||1.25||align="right"| 2,095,145 |- |4|| โตเกียว-นะริตะ||align="right"| 1,787,405 ||13.46||align="right"| 1,575,302 |- |5|| ไทเป-เถาหยวน||align="right"| 1,328,120 ||17.03||align="right"| 1,134,857 |- |6|| เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง|| align="right"| 1,279,536 ||40.12||align="right"| 913,177 |- |7|| ดูไบ-นานาชาติ|| align="right"| 1,196,795 ||12.23||align="right"| 1,066,391 |- |8|| กัวลาลัมเปอร์|| align="right"| 1,029,057 ||29.21||align="right"| 1,453,681 |- |9|| กว่างโจว||align="right"| 894,087 ||3.29||align="right"| 924,457 |- |10|| นิวเดลี||align="right"| 865,595 ||0.83||align="right"| 858,511 |- |11|| โฮจิมินห์ซิตี||align="right"| 838,856 ||10.86||align="right"| 941,065 |- |12|| ปักกิ่ง-แคพิทอล||align="right"| 826,018 ||26.41||align="right"| 653,435 |- |13|| อาบูดาบี||align="right"| 768,051 ||7.12||align="right"| 717,032 |- |14|| ย่างกุ้ง||align="right"| 766,279 ||11.21||align="right"| 863,035 |- |15|| ลอนดอน-ฮีทโธรว์||align="right"| 707,294 ||1.03||align="right"| 700,049 |- |16|| มะนิลา||align="right"| 703,592 ||9.56||align="right"| 642,218 |- |17|| โดฮา||align="right"| 671,402 ||19.31||align="right"| 562,726 |- |18|| ฮานอย||align="right"| 654,945 ||0.06||align="right"| 654,549 |- |19|| โอซะกะ-คันไซ||align="right"| 609,645 ||8.68||align="right"| 560,947 |- |20|| ซิดนีย์||align="right"| 608,515 ||0.81||align="right"| 603,608 |- |21|| มุมไบ||align="right"| 604,156 ||19.16||align="right"| 747,384 |- |22|| แฟรงก์เฟิร์ต||align="right"| 592,522 ||0.9||align="right"| 587,228 |- |23|| จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา||align="right"| 588,171 ||21.32||align="right"| 484,822 |- |24|| โตเกียว-ฮะเนะดะ||align="right"| 500,275 ||5.12||align="right"| 475,913 |- |25|| อัมสเตอร์ดัม||align="right"| 456,811 ||3.12||align="right"| 443,005 |- |26|| ปารีส-ชาลส์เดอโกล||align="right"| 453,531||9.52||align="right"| 414,108 |- |27|| โกลกาตา|| align="right" | 434,281||1.67||align="right"| 427,137 |- |28|| พนมเปญ||align="right"| 428,845 ||4.51||align="right"| 449,122 |- |29|| เมลเบิร์น||align="right"| 416,847 ||6.28||align="right"| 444,761 |- |30|| ปูซาน||align="right"| 373,709 ||11.1||align="right"| 336,363 |- |31|| โคลัมโบ|| align="right" | 367,232 ||3.55||align="right"| 380,757 |- |32|| มาเก๊า||align="right"| 351,853 ||33.58||align="right"| 529,746 |- |33|| นะโงะยะ-เซ็นแทรร์ ||align="right"| 332,906 ||18.93||align="right"| 279,929 |- |34|| เวียงจันทน์||align="right"| 319,278 ||15.47||align="right"| 276,503 |- |35|| มอสโก-โดโมเดโดโว||align="right"| 316,055 ||7.2||align="right"| 340,594 |- |36|| ซูริก||align="right"| 299,831 ||1.41||align="right"| 304,131 |- |37|| โคเปนเฮเกน||align="right"| 291,740 ||21.59||align="right"| 372,068 |- |38|| มัสกัต||align="right"| 285,836 ||0.79||align="right"| 288,109 |- |39|| อิสตันบูล-อาตาตุร์ก||align="right"| 285,312 ||12.66||align="right"| 253,247 |- |40|| มอสโก-เชเรเมเตียโว||align="right"| 266,889 ||32.64||align="right"| 201,216 |- |41|| เฮลซิงกิ|| align="right" | 262,456 ||0.06||align="right"| 262,301 |- |42|| เสียมราฐ||align="right"| 262,154 ||12.09||align="right"| 233,878 |- |43|| สต็อกโฮล์ม-อาร์ลันดา||align="right"| 258,674 ||12.87||align="right"| 229,170 |- |44|| คุนหมิง||align="right"| 258,015 ||35.23||align="right"| 190,796 |- |45|| เวียนนา||align="right"| 236,074 ||1.64||align="right"| 232,274 |- |46|| โนโวซีบีสค์|| align="right" | 212,715 ||28.7||align="right"| 165,286 |- |47|| ธากา|| align="right" | 243,253 ||6.71||align="right"| 260,750 |- |48|| ออสโล-การ์เดอร์มอน||align="right"| 202,570 ||37.78||align="right"| 147,022 |- |49|| เทลอาวีฟ||align="right"| 209,384 ||11.15||align="right"| 188,386 |- |50|| มิวนิก||align="right"| 200,313 ||5.75||align="right"| 212,526 |} === เส้นทางการบินภายในประเทศที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด === {|class="wikitable sortable" style=" font-size: 90% width= align= margin:auto;" |+ เส้นทางการบินภายในประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด (พ.ศ. 2563) |- style="background:lightgrey;" ! อันดับ || ท่าอากาศยาน || จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2563 (คน) || ความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) || จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2562 (คน) |- |1|| เชียงใหม่||align="right"| 1,618,207 ||43.50 ||align="right"| 2,864,525 |- |2|| ภูเก็ต||align="right"| 1,462,454 ||43.53||align="right"| 3,358,876 |- |3|| สมุย||align="right"| 640,575 ||58.58||align="right"|1,546,570 |- |4|| หาดใหญ่||align="right"| 588,967 ||9.04||align="right"| 540,115 |- |5|| เชียงราย||align="right"| 537,282 ||34.67||align="right"| 822,522 |- |6|| กระบี่||align="right"| 445,943 ||52.01||align="right"| 929,294 |- |7|| ขอนแก่น||align="right"|367,359||34.68||align="right"| 562,419 |- |8|| อุดรธานี||align="right"| 337,552 ||27.89||align="right"| 468,129 |- |9|| นครศรีธรรมราช||align="right"| 198,118 ||N/A||align="right"| 0 |- |10|| อุบลราชธานี||align="right"| 196,345 ||29.57||align="right"| 278,792 |- |11|| สุราษฎร์ธานี||align="right"| 151,240 ||18.98||align="right"| 186,670 |- |12|| นราธิวาส||align="right"|74,592||25.44||align="right"| 100,060 |- |13|| น่าน||align="right"| 57,621 ||N/A||align="right"| 0 |- |14|| ลำปาง||align="right"| 55,352 ||44.96||align="right"| 100,567 |- |15|| สุโขทัย||align="right"| 41,830||48.36||align="right"| 81,014 |- |16|| ตราด||align="right"| 36,277||64.12||align="right"| 101,109 |- |17|| นครพนม||align="right"| 12,785||N/A||align="right"| 0 |- |18|| เลย||align="right"| 3,207 ||N/A||align="right"| 0 |- |19|| เกาะไม้ซี้||align="right"| N/A||N/A||align="right"| N/A |- |20|| หัวหิน||align="right"| 7||88.52||align="right"| 61 |- |21|| บุรีรัมย์||align="right"| 6 ||99.72||align="right"| 2,174 |- |22|| ตรัง||align="right"| 1 ||N/A||align="right"| 0 |- |23|| ระนอง||align="right"| 0 ||100||align="right"| 6 |- |24|| ระยอง||align="right"| 0 ||100||align="right"| 5 |- |25|| กรุงเทพมหานคร||align="right"| 0||100||align="right"| 2 |} ในปี พ.ศ. 2559 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้บริการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศที่จำนวน 25 ท่าอากาศยานภายในประเทศ แบ่งเป็น 23 จังหวัด โดยให้บริการ ท่าอากาศยานชุมพร และ ท่าอากาศยานนครราชสีมา ในปีนั้นให้บริการจำนวนจังหวัดและจำนวนท่าอากาศยานภายในประเทศสูงสุดตราบจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2563 การขนส่งนักบินและเจ้าหน้าที่มีนักบินทำการบินขนย้ายเครื่องบินจากท่าอากาศดอนเมืองมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและนำเครื่องบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เช่น TG8406 ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ในปี พ.ศ. 2564 การบินไทยทำการบินระหว่างประเทศและภายในประเทศ ทั้งขาไปและขากลับในเที่ยวบิน TG918/TG919 ขนส่งผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแวะส่งผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานภูเก็ตปลายทางท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์นับเป็นเที่ยวบินภายในประเทศรวมกับระหว่างประเทศที่ระยะทางไกลที่สุด ทำการบินระยะทางรวม 11,175 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2565 ให้บริการผู้โดยสารภายในประเทศสูงสุด 22 จังหวัด 24 ท่าอากาศยานภายในประเทศ นับเป็นการให้บริการท่าอากาศยานภายในประเทศจำนวนท่าอากาศยานรองจาก ปี พ.ศ. 2559 โดยให้บริการเที่ยวบินไปกลับเพิ่มมากกว่าปี พ.ศ. 2563 จำนวน 2 จังหวัด โดยในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้บริการเที่ยวบินไปกลับท่าอากาศยานร้อยเอ็ดทำการบินโดยการบินไทยสมายล์และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 การบินไทยสมายล์ ทำการบินไปกลับท่าอากาศยานตรัง โดยทำการบินแบบเที่ยวบินตามตารางบินทั้งสองเส้นทางในขณะที่เที่ยวบินพิเศษไปกลับท่าอากาศยานบุรีรัมย์เพิ่มเป็น 10 เที่ยวบิน โดยในวันที่ 2 พฤษภาคม ไทยแอร์เอเชียทำการบินไปกลับระหว่าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ในเที่ยวบินที่ FD7528 ปลายทางท่าอากาศยานบุรีรัมย์และเที่ยวบิน FD7529 บินกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม มีเที่ยวบินไปกลับท่าอากาศยานบุรีรัมย์อีก 9 เที่ยวบิน: === รางวัลบริการดีเด่น === พ.ศ. 2551 – อันดับที่ 5 รางวัลบริการดีเด่น ประเภทท่าอากาศยานขนาดใหญ่ซึ่งรองรับผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคนต่อปี ประจำปี พ.ศ. 2551 จากโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานที่ให้บริการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2551 ของสภาท่าอากาศยานสากล (ACI) พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 3 ของโลก ประเภทดีเด่นด้านอาหารประจำปี พ.ศ. 2552 จาก SKYTRAX พ.ศ. 2553 – อันดับที่ 5 รางวัลบริการดีเด่น ประเภทท่าอากาศยานขนาดใหญ่ซึ่งรองรับผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคนต่อปี ประจำปี พ.ศ. 2553 จากโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานที่ให้บริการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2553 ของสภาท่าอากาศยานสากล (ACI) พ.ศ. 2555 – อันดับที่ 5 รางวัลบริการดีเด่น จากการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บริการสนามบินสำรวจโดยเว็บไซด์ Agoda.com บริษัทผู้ให้บริการเว็บไซต์สำรองห้องพักในโรงแรมแบบออนไลน์ === รางวัลท่าอากาศยานดีเด่น จากสกายแทร็กซ์ === พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 16 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2552 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2553 – อันดับที่ 10 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2553 จากสกายแทร็กซ์ (นับเป็นปีแรกที่ติด 10 อันดับของโลก) พ.ศ. 2554 – อันดับที่ 13 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2554 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2555 – อันดับที่ 25 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2555 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2556 – อันดับที่ 38 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2556 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2557 – อันดับที่ 48 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2557 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2558 – อันดับที่ 47 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2558 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2559 – อันดับที่ 36 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2559 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2560 – อันดับที่ 38 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2560 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2561 – อันดับที่ 36 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2561 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2562 – อันดับที่ 46 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2562 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2563 – อันดับที่ 48 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2563 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2564 - อันดับที่ 66 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2564 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2565 - อันดับที่ 77 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2565 จากสกายแทร็กซ์ พ.ศ. 2566 - อันดับที่ 68 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2566 จากสกายแทร็กซ์ === รางวัลท่าอากาศยานดีเด่นจากผลลงคะแนนทั่วไป === พ.ศ. 2551 – อันดับที่ 3 ประเภทท่าอากาศยานดีเด่นของโลก จากผลโหวต ประจำปี พ.ศ. 2551 ของนิตยสารท่องเที่ยวของประเทศอังกฤษ Wanderlust พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 3 ประเภทท่าอากาศยานดีเด่นของโลกจากผลโหวต ประจำปี พ.ศ. 2552 ของนิตยสาร Smart Travel ท่องเที่ยวออนไลน์ Smarttravelasia.com พ.ศ. 2555 – อันดับที่ 1 ประเภทอันดับสถานที่ยอดนิยมที่มีการถ่ายภาพแล้วแบ่งปันผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในโลก พ.ศ. 2556 – อันดับที่ 1 ประเภทท่าอากาศยานที่เป็นมิตรกับชาวมุสลิมและอิสลามมากที่สุดในโลกCrescentrating's Halal Friendly Travel (CRaHFT) Ranking 2013 Top Halal Friendly Airports for 2013 non-OIC category == ปัญหาหลังจากเปิดให้บริการ == === ปัญหาจากการบริการ === ปัญหาการจราจรเข้าสู่สนามบิน - ปัญหานี้เกิดเนื่องจากขาดการประสานงานด้านประชาสัมพันธ์ที่พอเพียง ต่อมา ทอท. ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์ และติดป้ายบอกทางทั่วกรุงเทพฯ และบริเวณทางด่วน ปัญหาสายพานรับส่งกระเป๋า ทำให้เกิดความล่าช้า และสูญหายของกระเป๋า ในระยะสัปดาห์แรกของการให้บริการ มีกระเป๋าตกค้าง และล่าช้าอยู่ราว 6000 ใบ ปัญหาจำนวนห้องน้ำไม่พอ - ปัญหานี้ภายหลังได้มีการแก้ไขโดยมีโครงการก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติม โดยนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้สั่งการให้ทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ใช้งบประมาณเร่งด่วนของปี พ.ศ. 2550 จำนวนประมาณ 40 ล้านบาท มาสร้างห้องน้ำทั้งภายในอาคารผู้โดยสารและนอกอาคารเพิ่มอีก 20 จุด รวม 205 ห้อง (ห้องน้ำชาย 95 ห้อง และห้องน้ำหญิงอีก 110 ห้อง) ปัญหาการประชาชนจำนวนมากเข้ามาเที่ยวชม - ทำให้เกิดความแออัด จราจรติดขัด และไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ร้านอาหารราคาแพงและไม่เพียงพอ ซึ่งทาง ทอท.ได้แก้ปัญหาโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 15 ล้านบาทในการก่อสร้าง ร้านอาหารราคามิตรภาพ บริเวณอาคารเทียบเครื่องบิน A และ G อีกแห่งละจุดรวมเป็น 2 จุด แต่ละจุดจะมีห้องน้ำ 25 ห้อง จะมีการก่อสร้างร้านอาหารที่บรรจุคนได้ 500 ที่นั่ง ส่วนที่บริเวณศูนย์การขนส่งสาธารณะจะก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมอีก 25 ห้อง ห้องอาบน้ำ 10 ห้อง พร้อมทั้งที่พักและร้านอาหารราคาถูก 500 ที่นั่ง ปัญหาสายการบินต้นทุนต่ำมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ - ลงทุนที่สุวรรณภูมิไม่คุ้ม ทำให้เกิดการร้องเรียนที่จะกลับไปใช้สนามบินดอนเมือง ปัญหาความปลอดภัย จำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่พอเพียง เนื่องจากพื้นที่กว้างใหญ่ของสนามบิน และมีกรณีร้องเรียนของพนักงานและเจ้าหน้าที่หญิงที่ถูกคุกคาม ปัญหาความคับคั่งและปัญหาสั่งสมอื่นที่ต้องพิจารณา - เนื่องจากความเสียหายหลายจุดที่ทางวิ่งใกล้คอนคอร์สอี ด้านทิศตะวันออก จำเป็นต้องมีการปิดซ่อมสนามบินสุวรรณภูมิบางส่วน ทำให้เกิดการจราจรที่คับคั่งภายในสนามบินและเครื่องบินต้องวนคอยเพราะไม่สามารถลงจอดได้ เช่น เหตุการณ์เครื่องบินสายการบินไทยน้ำมันหมด ต้องลงจอดฉุกเฉินแต่เติมน้ำมัน ที่สนามบินอู่ตะเภาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550 และที่ประชุมของกรรมการบอร์ด ทอท.ให้ทำการซ่อมผิวทางขับที่เป็นปัญหา ในคืนวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 และก่อนหน้านั้นได้มีมติให้เที่ยวบิน pint-to-point ที่เป็นสายในประเทศ สามารถย้ายกลับมาใช้สนามบินดอนเมืองได้ตามความสมัครใจ โดยเริ่มตั้งแต่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป มีความเห็นหลากหลายทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยหลายฝ่าย ปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนพิการไม่พอเพียงและไม่เหมาะสม ได้แก่ ห้องน้ำ ทางลาด สัญญานเสียง ป้ายอักษรแบรลล์ ไม่มีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ จนนายณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย และพ.ต.ศิริชัย ทรัพย์ศิริ นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล ได้ออกมาเรียกร้อง ผ่านทางน.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร === ปัญหาด้านสิ่งปลูกสร้าง === ปัญหาหลังคารั่ว - ขณะฝนตกหนักในช่วงวันเปิด ได้เกิดหลังคารั่ว จากการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้องว่าเกิดการรอยต่อที่ยาซิลิโคนไว้หลุดร่อน และได้ทำการแก้ไขเฉพาะหน้าไปโดยการใช้ถังรองน้ำฝนที่รั่ว และให้ช่างยาแนวรอยรั่วในวันต่อมา ปัญหาคาร์โก - เกิดการติดขัดของการออกของที่ส่วนคาร์โก เนื่องจากความไม่พร้อม ในส่วนของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการรายใหม่อย่างบริษัทบางกอก ไฟลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ BFS จนทำให้บรรดาตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ลุกขึ้นมาโวยจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต กรณีนี้บีเอฟเอสถูกระบุว่าไม่เป็นมืออาชีพพอที่จะเข้ามาให้บริการคลังสินค้าและขนถ่ายสินค้า จนทำให้มีสินค้าตกค้างอยู่ในโกดังไม่สามารถนำออกมาได้เป็นจำนวนมาก ปัญหาพื้นทางวิ่งร้าว ทรุด - วันที่ 24 ต.ค. ผู้บริหารบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ได้ทำหนังสือถึงสายการบินทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ได้ปิดปรับปรุงทางวิ่ง-ทางขับ (แท็กซี่เวย์) บริเวณที 13 ซึ่งเป็นลานจอดเครื่องบินบริเวณ อี 4-อี 8 และแท็กซี่เวย์บริเวณบี โดยเป็นช่วงระหว่างแท็กซี่เวย์ซี 4 และซี 5 หรือตรงกับรันเวย์ 19 ด้านซ้ายของสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากเกิดการทรุดตัว ซึ่งหากเครื่องบินใช้พื้นที่ดังกล่าวแท็กซี่เวย์เพื่อเข้าหลุมจอดมากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะถ้าก้อนหิน หรือคอนกรีตปลิวเข้าไปในใบพัดเครื่องบิน โดยที่กัปตันไม่ทราบอาจทำให้เครื่องบินเกิดอุบัติเหตุได้ ปัญหาทางเทคนิคสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมของอาคารและทางวิ่งกว่า 60 รายการ เช่น น้ำซึมใต้บริเวณ Taxi way, ระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในอาคารไม่พอ, สาย 400 Hz เพื่อส่งไฟให้เครื่องบินสั้นเกินไป, ระบบเครื่องปรับอาคารเย็นไม่พอ, วัสดุไม่ได้มาตรฐาน เช่น กระจก temper laminated ของบานประตูหมุน, จำนวนห้องน้ำต่อพื้นที่ใช้สอย, ภาพลักษณ์ที่เป็นลบในสายตาประชาชนส่วนใหญ่, การปะปนของคนงานก่อสร้างภายในอาคาร, สนามบิน ไม่มีแบบก่อสร้าง และ AS BUILT DRAWING, เกิดอุบัติเหตุกับคนข้ามถนนภายในบริเวณสนามบิน, ระบบ ITภายในอาคารยังใช้งานไม่ได้ 100 %, ระบบป้ายที่ไม่เป็นเอกภาพ, รถเข็นกระเป๋า ไม่เพียงพอ, ความไม่พร้อมของทางหนีภัย ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน, ความไม่พร้อมของบุคลากร ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน,สนามบินไม่คำนึงถึงผู้พิการ, ฯลฯ ปัญหาท่อน้ำประปาแตกและน้ำนองลงมาในอาคารผู้โดยสาร ทำความเสียหายให้กับกระเป๋า และสำนักงานศุลกากร สร้างความตกตะลึงให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสนามบินจำนวนมาก เมื่อ 11 น. ของวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2550 ปัญหาอื่นๆ ที่ตรวจพบโดยพรรคประชาธิปัตย์ - นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2550 ว่า จากการตรวจสอบในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พบจุดอันตรายเพิ่มอีก 2 จุด และอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางการบินของเอเชียได้ คือ 1) อาคารสินค้าเขตปลอดอากรที่ไม่ มีการถมทรายในชั้นรากฐาน และการก่อสร้างหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจพังลงมาได้ทุกเวลา และ 2) อาคารผู้โดยสารหลัก ที่อาจเกิดการทรุดตัวของอาคาร โดยพบว่ากระจกด้านริมอาคารเริ่มจะปริแตกออก === ปัญหาด้านกฎหมาย === ปัญหาการผิดกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือกฎหมายร่วมทุน ของสัมปทานพื้นที่ร้านค้าของ บริษัทคิงพาวเวอร์ - มติของ บอร์ด ทอท. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้ระบุว่ารายละเอียดของสัญญาสัมปทานของบริษัท คิง เพาเวอร์ ในส่วนของสัญญาการประกอบกิจการร้านค้าปลอดภาษีและสัญญาการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้ง 2 สัญญาที่คิง เพาเวอร์ทำกับ ทอท.นั้น เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายร่วมทุน เนื่องจากงานในแต่ละสัญญาน่าจะมีวงเงินในการลงทุนมากกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งจะเข้าข่ายกฎหมายร่วมทุน แต่ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายร่วมทุน ปัญหาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคาร - ทางบริษัทผู้ออกแบบ คือ บริษัทกิจการร่วมค้าเมอร์ฟี่ จาห์น แทมป์ แอนด์ แอ๊ค (เอ็มเจทีเอ) ผู้ออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องสนามบินสุวรรณภูมิ ได้แถลงชี้แจงข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยยอมรับว่า การออกแบบอาคารอาจจะผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร คือทางหนีไฟที่ประตูมีการล็อก และห้องน้ำจำนวนน้อยเกินไป ปัญหาจากการที่กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ไม่ได้มีการต่ออายุใบอนุญาตชั่วคราวทำการบินของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งหมดอายุลง และไม่ได้ต่ออายุเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หลายส่วนในสนามบินตามคู่มือที่เรียกว่า Aerodrome Operation Manual ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีโอ) ยังไม่มีความสัมพันธ์กัน ปัญหานี้ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในการใช้สนามบิน ปัญหาจากการที่ประชาชนจำนวนหนึ่งไปร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีคำสั่งระงับการบินในเวลากลางคืนและจ่ายค่าชดเชย == การคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน == === รถยนต์ === ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเส้นทางเข้าออกสำหรับรถยนต์อยู่ 5 เส้นทาง ซึ่งรถแท็กซี่ รถโดยสารขนส่งมวลชนกรุงเทพ และรถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรส ใช้เพื่อการคมนาคมด้วย โดยทางเข้าหลักคือ เส้นทางจากทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนกรุงเทพมหานคร-ชลบุรี) อีกเส้นทางหนึ่งสามารถเข้าได้จากทางพิเศษบูรพาวิถีหรือถนนเทพรัตน === รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ === เส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบทางคู่ ยกระดับขนานไปตามแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก มีสถานีรายทางจำนวน 8 สถานี ได้แก่ สถานีพญาไท, สถานีราชปรารภ, สถานีมักกะสัน (สถานีขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง), สถานีรามคำแหง, สถานีหัวหมาก, สถานีบ้านทับช้าง, สถานีลาดกระบัง และจะตีโค้งแล้วลดระดับลงไปยังอุโมงค์ใต้ดิน เพื่อเข้าสู่สถานีสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสาร รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเดินรถในเส้นทางสายซิตี คิดค่าโดยสายเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท ตามระยะทาง โดยจะรับ-ส่งผู้โดยสารในทุก ๆ สถานีตลอดรายทาง วิ่งอยู่บนทางยกระดับ โดยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้เริ่มทดสอบการให้บริการ และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 === รถโดยสารประจำทาง === รถโดยสารประจำทางที่เดินรถเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 6 เส้นทาง โดยอัตราค่าโดยสารเข้าท่าอากาศยาน จะเก็บเพิ่มจากราคาตามระยะทางปกติอีก 10 บาท (ยกเว้นสาย 549 550 555 และ 559 ที่เดินรถโดย บจก.ไทยสมายล์บัส ที่ยังจัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทางปกติ) รถโดยสารประจำทางที่เดินรถเข้าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 1 เส้นทาง โดยอัตราค่าโดยสารเข้าท่าอากาศยานจะเก็บราคา 60 บาท (ตลอดสาย) และรถโดยสารที่เดินรถผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 1 เส้นทาง โดยอัตราค่าโดยสารเข้าท่าอากาศยานจะเก็บราคาตามระยะทางปกติ รวมทั้งหมด 4 เส้นทาง โดยมีเส้นทางดังนี้ ไฟล์:Hino EURO II Bus 555 in Suvarnabhumi Airport.jpg|รถประจำทางสาย 555 รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้บริการโดย ขสมก. เขตการเดินรถที่ 1 ไฟล์:Hino EURO II Bus S1 in Suvarnabhumi Airport.jpg|รถประจำทางสาย S1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง ให้บริการโดย ขสมก. เขตการเดินรถที่ 3 รถโดยสารปรับอากาศขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีทั้งสิ้น 2 เส้นทาง คือ - สาย 555 รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เดินรถโดยเขตการเดินรถที่ 1 เส้นทาง : รังสิต - ท่าอากาศยานดอนเมือง - แยกหลักสี่ - แยกลาดพร้าว - แยกสุทธิสาร - ทางด่วนดินแดง - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สาย S1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง เดินรถโดยเขตการเดินรถที่ 3 เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ทางด่วนยมราช - ถนนหลานหลวง - สนามหลวง ไฟล์: Sunlong SLK6129 Bus 554 in Suvarnabhumi Airport.jpg|รถประจำทางสาย 554 รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้บริการโดย บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ไฟล์:Sunlong SLK6129 Bus 558 in Suvarnabhumi Airport.jpg|รถประจำทางสาย 558 เคหะธนบุรี - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้บริการโดย บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด รถโดยสารปรับอากาศเอกชนร่วมบริการ โดยบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด มีทั้งสิ้น 2 เส้นทาง คือ - สาย 554 รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เส้นทาง : รังสิต - ท่าอากาศยานดอนเมือง - ม.ราชภัฏพระนคร - ถนนรามอินทรา - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สาย 558 เคหะธนบุรี - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เส้นทาง : เคหะธนบุรี - เซ็นทรัลพระราม 2 - แยกพระราม 2 - บางปะกอก - วัดสน กม.9 - ทางด่วนสุขสวัสดิ์ - ไบเทคบางนา - เซ็นทรัลบางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไฟล์:NEX-Minebus EV Bus 552 in Suvarnabhumi Airport.jpg|รถประจำทางสาย 552 ปากน้ำ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ให้บริการโดย บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด รถโดยสารปรับอากาศเอกชนร่วมบริการ โดยบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด มีทั้งสิ้น 4 เส้นทาง คือ - สาย 549 มีนบุรี - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เส้นทาง : มีนบุรี - ม.เกษมบัณฑิต - ถนนร่มเกล้า - สน.ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สาย 552 ปากน้ำ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เส้นทาง : ปากน้ำ - สำโรง - เซ็นทรัลบางนา - รามคำแหง 2 - กิ่งแก้ว - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ปากทางสุขสมาน - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ฉลองกรุง - นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง - สาย 555 หมอชิตใหม่ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เส้นทาง : หมอชิตใหม่ - สวนจตุจักร - แยกลาดพร้าว - แยกสุทธิสาร - แฟลตดินแดง - ทางด่วนพระราม 9 - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สาย 559 รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เส้นทาง : รังสิต - ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 1 - คลอง 4) - ดรีมเวิลด์ - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 - สวนสยาม - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยรถทั้ง 3 เส้นทาง (สาย 554 555 (รถ ขสมก.) 558) จะจอดที่ Bus Terminal ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสามารถโดยสารรถ Shuttle Bus ไปยังอาคารผู้โดยสารได้ ส่วนสาย 549 550 552 555 (รถไทยสมายล์บัส) 559 สามารถโดยสารรถ Shuttle Bus ไปยังอาคารผู้โดยสารได้ตามแนวถนนสุวรรณภูมิ 2 === รถตู้โดยสารประจำทาง === ไฟล์:Toyota Commuter in Suvarnabhumi Airport (3).jpg|รถตู้ประจำทางสาย 549 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - มีนบุรี ไฟล์:Toyota Commuter in Suvarnabhumi Airport (5).jpg|รถตู้ประจำทางสาย 552 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อ่อนนุช ไฟล์:Toyota Commuter in Bangkok (10).jpg|รถตู้ประจำทางสาย 552A ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สมุทรปราการ ไฟล์:Toyota Commuter in Suvarnabhumi Airport (1).jpg|รถตู้ประจำทางสาย 555 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานดอนเมือง ไฟล์:Toyota Commuter T.559 T.559-17.jpg|รถตู้ประจำทางสาย 559 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต รถตู้โดยสารประจำทางที่เดินรถเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 5 เส้นทาง ดังนี้ สาย 549 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - มีนบุรี เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สน.ลาดกระบัง - ถนนร่มเกล้า - ม.เกษมบัณฑิต - มีนบุรี สาย 552 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - อ่อนนุช เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนบางนา - รพ.จุฬารัตน์ 1 - รามคำแหง 2 - เซ็นทรัลบางนา - อุดมสุข - สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อ่อนนุช สาย 552A ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สมุทรปราการ เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนบางนา - รพ.จุฬารัตน์ 1 - รามคำแหง 2 - เซ็นทรัลบางนา - สำโรง - สมุทรปราการ สาย 555 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานดอนเมือง เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ทางด่วนพระราม 9 - ดินแดง - สุทธิสาร - ม.เกษตรศาสตร์ - แยกหลักสี่ - ท่าอากาศยานดอนเมือง สาย 559 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 - ดรีมเวิลด์ - ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 4 - คลอง 1) - ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต === รถ Shuttle Bus ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานดอนเมือง === รถ Shuttle Bus ให้บริการฟรีสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานดอนเมือง เวลาที่ให้บริการตั้งแต่ 05.00-24.00 น. ซึ่งสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้โดยสารที่ต้องต่อเครื่องบินเท่านั้น โดยผู้ใช้บริการจะต้องมีตั๋วโดยสารของสายการบินที่จะต้องเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานเท่านั้น จึงจะสามารถใช้บริการได้ เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนสุวรรณภูมิ 1 - ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 - ทางพิเศษศรีรัช - ทางพิเศษเฉลิมมหานคร - ทางยกระดับอุตราภิมุข - ท่าอากาศยานดอนเมือง === รถ Shuttle Bus ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ === รถ Shuttle Bus ให้บริการฟรีสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางเข้าท่าอากาศยานโดยรถโดยสารประจำทางและรถตู้โดยสารประจำทาง โดยเชื่อมต่อระหว่าง Bus Terminal กับส่วนต่างๆ ภายในท่าอากาศยาน มี 5 เส้นทาง ดังนี้ สาย A เส้นทาง : Bus Terminal - ลานจอดระยะยาว B,E - ลานจอดระยะยาว A,C - บริษัท BAFS - ตรงข้ามสถานีดับเพลิง - ตึกปฏิบัติการภาคพื้นดิน การบินไทย - ตึกการบินไทย - ตึกฝ่ายช่าง - ช่องทาง 3 - ช่องทาง 2 - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 1 - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 10 - อาคารผู้โดยสารชั้น 2 ประตู 5 - ครัวการบิน บมจ.การบินไทย - สถานีดับเพลิง - Bus Terminal สาย B เส้นทาง : Bus Terminal - บริษัท LSG Sky Chefs - ตรงข้ามสถานีดับเพลิง - ตึกปฏิบัติการภาคพื้นดิน การบินไทย - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 1 - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 10 - VIP Room - จุดจอดเพิ่ม 1 ( Free Zone ) - จุดจอดเพิ่ม 2 ( Free Zone ) - จุดจอดเพิ่ม 3 ( Free Zone ) - ประตูทางออกหน้า ( Free Zone ) - แยกไฟแดง Free Zone - ครัวการบิน บมจ.การบินไทย - สถานีดับเพลิง - Bus Terminal สาย C เส้นทาง : Bus Terminal - สภ.ราชาเทวะ - ตรงข้าม สภ.ราชาเทวะ - แยกสุขสมาน - Sky Lane - ตรงข้าม ตึก ( AMF ) - กรมอุตุ ฯ - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 3 และ 8 - ทางออกเขตปลอดอากรประตู 2 - Bus Terminal สาย D เส้นทาง : Bus Terminal - ตรงข้ามสถานีดับเพลิง - ตึกปฏิบัติการภาคพื้นดิน การบินไทย - สำนักงานท่าอากาศยาน ( AOB ) - โรงแรมโนโวเทล - บริษัท วิทยุการบิน - ครัวการบินไทย - สถานีดับเพลิง - LSG Sky Chefs - Bus Terminal สายด่วน Express เส้นทาง : Bus Terminal - อาคารผู้โดยสารชั้น 4 ประตู 5 - อาคารผู้โดยสารชั้น 2 ประตู 5 - Bus Terminal === รถไฟฟ้าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ=== รถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารใต้ทางวิ่งเชื่อมอาคารผู้โดยสารปัจจุบันกับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ เปิดให้บริการเม่ื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 โดยมีระยะทางรวม 1 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าล้อยางแบบไร้คนขับ (Automated People Mover หรือ APM) ซึ่งตัวรถไฟฟ้าเลือกใช้รถไฟฟ้าจากบริษัท ซีเมนส์ รุ่น Airval มีทั้งหมด 6 ขบวนๆละ 2 ตู้ มีที่นั่งตู้ละ 25 ที่นั่ง รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 210 คนต่อขบวน วิ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง มีความถี่ให้บริการที่ 3 นาทีต่อขบวน ซึ่งจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 3,590 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง == สนามบินพี่น้อง == บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกสัญญาการทำงานร่วมกันในการลงนามสนามบินพี่น้องกับท่าอากาศยานทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานมิวนิก ประเทศเยอรมนี, ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้, ท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ ประเทศญี่ปุ่น, ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน, ท่าอากาศยานออสติน สหรัฐอเมริกา, ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง ประเทศลาว == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์หลักของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เว็บไซต์เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ข้อมูลของโครงการจาก Airport Technology สภาพอากาศปัจจุบันของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สุวรรณภูมิ สุวรรณภูมิ โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในจังหวัดสมุทรปราการ เมกะโปรเจกต์ในประเทศไทย สุวรรณภูมิ สิ่งก่อสร้างในอำเภอบางพลี สถาปัตยกรรมสมัยใหม่
thaiwikipedia
833
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางและเป็นเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีอำเภอเมือง แต่มี อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า" ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 75 กิโลเมตร == ประวัติศาสตร์ == พระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี (เมืองหลวง) ของอาณาจักรอยุธยา หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า" เมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี รวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับเมืองสระบุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "แหล่งมรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา == ภูมิศาสตร์ == === สภาพภูมิอากาศ === == สัญลักษณ์ประจำจังหวัด == คำขวัญประจำจังหวัด : ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก ตราประจำจังหวัด : รูปสังข์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้าภายในปราสาทใต้ต้นหมัน ต้นไม้ประจำจังหวัด : หมัน (Cordia dichotoma) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกโสน (สะ-โหน) (Sesbania aculeata) สัตว์น้ำประจำจังหวัด : กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งสมเด็จ (Macrobrachium rosenbergii) ==การเมืองการปกครอง== ===ประวัติการแบ่งเขตการปกครอง=== ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการแบ่งการปกครองในราชธานีออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การปกครองภายในบริเวณกำแพงเมือง และภายนอกบริเวณกำแพงเมือง โดยในบริเวณกำแพงเมืองก็จะแบ่งออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงขุนธรณีบาล แขวงขุนโลกบาล แขวงขุนธราบาล และแขวงขุนนราบาล ต่อมาในสมัยอาณาจักรธนบุรีจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวมทั้ง 4 แขวงภายในกำแพงเมืองเป็นแขวงเดียวกัน เรียกว่า แขวงรอบกรุง และขยายอาณาเขตออกมาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และต่อมาเปลี่ยนมาเป็นอำเภอรอบกรุง อำเภอกรุงเก่า และอำเภอพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ตามลำดับ ส่วนการปกครองภายนอกบริเวณกำแพงเมือง บริเวณนอกกำแพงเมืองแบ่งออกเป็น 3 แขวง ได้แก่ แขวงขุนนคร แขวงขุนอุทัย และแขวงขุนเสนา และต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวงต่าง ๆ ดังนี้ แขวงขุนนคร อยู่ทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงพระนครตั้งแต่ลำน้ำลพบุรีและลุ่มน้ำป่าสัก ต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ ทางด้านตะวันตกเป็นแขวงนครใหญ่ และด้านตะวันออกเป็น แขวงนครน้อย แขวงขุนอุทัย อยู่ทางใต้ตั้งแต่เขตของแขวงขุนนครตลอดลงมายังมายังแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงอุทัยใหญ่ และแขวงอุทัยน้อย แขวงขุนเสนา อยู่ทางด้านตะวันตกมีอาณาเขตด้านเหนือจรดตะวันตกเฉียงใต้ของแขวงขุนนครและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงเสนาใหญ่ ทางด้านตะวันตก และแขวงเสนาน้อย ทางด้านตะวันออก ดังนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แขวงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงมีทั้งหมด 7 แขวง ได้แก่ แขวงรอบกรุง แขวงนครใหญ่ แขวงนครน้อย แขวงอุทัยใหญ่ แขวงอุทัยน้อย แขวงเสนาใหญ่ และแขวงเสนาน้อย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดระเบียบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีการรวมเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑล เปลี่ยนคำเรียกเมืองเป็นจังหวัด แขวงจึงต้องเปลี่ยนเป็นอำเภอตามไปด้วย และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นได้ทรงดำริว่า อำเภอแต่ละอำเภอมีพลเมืองมากและมีท้องที่กว้าง จึงให้แบ่งเขตการปกครองออกไปอีกในทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอรอบกรุง อำเภออุทัยใหญ่ และอำเภออุทัยน้อย ดังนี้ อำเภอนครใหญ่ ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครใหญ่ และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอนครใน อำเภอนครน้อย ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครน้อย และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอนครกลาง อำเภอเสนาใหญ่ ให้ทางด้านทิศเหนือคงเป็นอำเภอเสนาใหญ่ และแบ่งเขตท้องที่ด้านทิศใต้ออกเป็นอำเภอเสนากลาง อำเภอเสนาน้อย ให้ทางด้านทิศใต้คงเป็นอำเภอเสนาน้อย และแบ่งเขตท้องที่ด้านทิศเหนือออกเป็นอำเภอเสนาใน ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ โดยในปี พ.ศ. 2443 เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยน้อยเป็นอำเภอพระราชวัง ในปี พ.ศ. 2446 เปลี่ยนชื่ออำเภอนครกลางเป็นอำเภอนครหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2450 ได้แบ่งเขตท้องที่อำเภอพระราชวังด้านตะวันออกรวมกับอำเภออุทัยใหญ่ด้านใต้ แล้วยกขึ้นเป็นอำเภออุทัยน้อย แทนอำเภออุทัยน้อยเดิมที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพระราชวังเมื่อปี พ.ศ. 2443 และมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่ ดังนี้ {| | width = "50%" valign="top" | อำเภอรอบกรุง เปลี่ยนเป็นอำเภอกรุงเก่า และเปลี่ยนเป็นอำเภอพระนครศรีอยุธยา ตามลำดับ อำเภอนครใหญ่ เปลี่ยนเป็นอำเภอมหาราช อำเภอนครใน เปลี่ยนเป็นอำเภอบางปะหัน อำเภอนครน้อย เปลี่ยนเป็นอำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง คงเป็นอำเภอนครหลวงดังเดิม อำเภอเสนาใหญ่ เปลี่ยนเป็นอำเภอผักไห่ | width = "50%" valign="top" | อำเภอเสนาใน เปลี่ยนเป็นอำเภอบางบาล อำเภอเสนากลาง เปลี่ยนเป็นอำเภอเสนา อำเภอเสนาน้อย เปลี่ยนเป็นอำเภอราชคราม และเปลี่ยนเป็นอำเภอบางไทร ตามลำดับ อำเภอพระราชวัง เปลี่ยนเป็นอำเภอบางปะอิน อำเภออุทัยใหญ่ เปลี่ยนเป็นอำเภออุทัย อำเภออุทัยน้อย เปลี่ยนเป็นอำเภอวังน้อย |} และอีก 4 กิ่งอำเภอได้แก่ กิ่งอำเภอลาดบัวหลวง (ขึ้นกับอำเภอบางไทร), กิ่งอำเภอภาชี (ขึ้นกับอำเภออุทัย), กิ่งอำเภอบางซ้าย (ขึ้นกับอำเภอเสนา) และกิ่งอำเภอบ้านแพรก (ขึ้นกับอำเภอมหาราช) ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตามลำดับจนครบในปี พ.ศ. 2502 === การแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน === ==== การปกครองส่วนภูมิภาค ==== ปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย 16 อำเภอ 209 ตำบล ได้แก่ {| | width = "250" valign="top" | อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางไทร อำเภอบางบาล อำเภอบางปะอิน อำเภอบางปะหัน อำเภอผักไห่ | width = "250" valign="top" | อำเภอภาชี อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอวังน้อย อำเภอเสนา อำเภอบางซ้าย อำเภออุทัย อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแพรก |} ==== การปกครองส่วนท้องถิ่น ==== จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น 158 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลเมือง 5 แห่ง, เทศบาลตำบล 30 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 121 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ดังนี้ {| | width = "250" valign="top" | อำเภอพระนครศรีอยุธยา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เทศบาลเมืองอโยธยา อำเภอท่าเรือ เทศบาลตำบลท่าเรือ เทศบาลตำบลท่าหลวง อำเภอนครหลวง เทศบาลตำบลนครหลวง เทศบาลตำบลอรัญญิก อำเภอบางไทร เทศบาลตำบลบางไทร เทศบาลตำบลราชคราม อำเภอบางบาล เทศบาลตำบลบางบาล เทศบาลตำบลมหาพรามณ์ | width = "250" valign="top" | อำเภอบางปะอิน เทศบาลเมืองบ้านกรด เทศบาลตำบลบางปะอิน เทศบาลตำบลบ้านสร้าง เทศบาลตำบลพระอินทราชา เทศบาลตำบลปราสาททอง เทศบาลตำบลคลองจิก เทศบาลตำบลเชียงรากน้อย เทศบาลตำบลบางกระสั้น เทศบาลตำบลตลาดเกรียบ อำเภอบางซ้าย เทศบาลตำบลบางซ้าย | width = "250" valign="top" | อำเภอบางปะหัน เทศบาลตำบลบางปะหัน อำเภอผักไห่ เทศบาลเมืองผักไห่ เทศบาลตำบลลาดชะโด อำเภอภาชี เทศบาลตำบลภาชี อำเภอลาดบัวหลวง เทศบาลตำบลลาดบัวหลวง เทศบาลตำบลสามเมือง อำเภอวังน้อย เทศบาลเมืองลำตาเสา | width = "250" valign="top" | อำเภอเสนา เทศบาลเมืองเสนา เทศบาลตำบลสามกอ เทศบาลตำบลเจ้าเจ็ด เทศบาลตำบลบางนมโค เทศบาลตำบลหัวเวียง อำเภออุทัย เทศบาลตำบลอุทัย อำเภอมหาราช เทศบาลตำบลมหาราช เทศบาลตำบลโรงช้าง อำเภอบ้านแพรก เทศบาลตำบลบ้านแพรก |} === รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด === {| | width = "60%" valign="top" | | width = "40%" valign="top" | |} == เศรษฐกิจ == จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถือเป็นจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน เขต 2 มีนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน, นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค), นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง และมีเขตประกอบการอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟตเตอรี่แลนด์วังน้อย สวนอุตสาหกรรมโรจนะ และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ 2 == ประชากร == == โครงสร้างพื้นฐาน == === การศึกษา === สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สำนักอธิการบดี หันตรา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์วาสุกรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษา {| | width = "50%" valign="top" | สถาบันอาชีวศึกษาภาครัฐ * วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา * วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา * วิทยาลัยเสริมทักษะพระภิกษุสามเณรอำเภอบางปะอิน * วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ อำเภออุทัย * วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา * วิทยาลัยสารพัดช่างพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย * วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร * วิทยาลัยการอาชีพเสนา อำเภอเสนา * วิทยาลัยการอาชีพมหาราช อำเภอมหาราช | width = "50%" valign="top" | สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน * วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา * วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยาอำเภอพระนครศรีอยุธยา * วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอโยธยาบริหารธุรกิจ อำเภอพระนครศรีอยุธยา * วิทยาลัยเทคโนโลยีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา * วิทยาลัยเทคโนโลยีผดุงเสนาบริหารธุรกิจ อำเภอเสนา * โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย (บ้านอ้อวิทยาคาร) อำเภอผักไห่ |} สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา {| | width = "50%" valign="top" | สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ * โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา * โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา สถานศึกษาขนาดใหญ่ *โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา *โรงเรียนบางปะอิน"ราชานุเคราะห์1" อำเภอบางปะอิน * โรงเรียนเสนา "เสนาประสิทธิ์" อำเภอเสนา * โรงเรียนท่าเรือ"นิตยานุกุล" อำเภอท่าเรือ | width = "50%" valign="top" | สถานศึกษาขนาดกลาง * โรงเรียนบางปะหัน อำเภอบางปะหัน * โรงเรียนวังน้อยพนมยงค์วิทยา อำเภอวังน้อย * โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ วังน้อย * โรงเรียนบางไทรวิทยา อำเภอบางไทร * โรงเรียนนครหลวงอุดมรัตช์วิทยา นครหลวง * โรงเรียนผักไห่ "สุธาประมุข" อำเภอผักไห่ * โรงเรียนอุทัย อำเภออุทัย * โรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยา อำเภอลาดบัวหลวง * โรงเรียนภาชี "สุนทรวิทยานุกุล" อำเภอภาชี |} == การขนส่ง == === ถนน === ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 308 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 356 การเดินทางเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวีไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 71+570 ที่ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางไทร ตัดถนนสามโคก-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (3309) ที่กิโลเมตรที่ 72 เข้าสู่พื้นที่อำเภอบางปะอิน ตัดทางพิเศษอุดรรัถยา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ที่กิโลเมตรที่ 77 ข้ามคลองเปรมประชากรและทางรถไฟสายเหนือ ไปบรรจบถนนพหลโยธิน กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32กิโลเมตรที่ 52-53 ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด หรือ "ทางด่วน 2 (ส่วนนอกเมือง)") เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ถึง ถนนกาญจนาภิเษก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา === รถโดยสารประจำทาง === ปัจจุบันรถโดยสารประจำทางสาย กรุงเทพฯ-อยุธยา มีให้บริการ 2 ประเภท 1.รถบัส ประเภท ปรับอากาศชั้น 2 สายที่ 901 กรุงเทพฯ (หมอชิตใหม่) -อยุธยา ให้บริการอยู่ที่ ท่ารถไปกรุงเทพฯ (ถนนนเรศวร) 2.รถตู้ ประเภท มาตรฐาน 2 (จ) 2 (ต) 2 (ช) === รถไฟ === การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี === การคมนาคมภายในตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา === รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง รถสามล้อถีบ คิดค่าโดยสารตามระยะทาง รถจักรยานยนต์รับจ้าง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง === ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ === อำเภอบางบาล 13 กิโลเมตร อำเภออุทัย 13 กิโลเมตร อำเภอบางปะหัน 14 กิโลเมตร อำเภอนครหลวง 18 กิโลเมตร อำเภอเสนา 22 กิโลเมตร อำเภอบางปะอิน 24 กิโลเมตร อำเภอมหาราช 28 กิโลเมตร อำเภอภาชี 29 กิโลเมตร อำเภอบางไทร 30 กิโลเมตร อำเภอวังน้อย 30 กิโลเมตร อำเภอผักไห่ 33 กิโลเมตร อำเภอบางซ้าย 35 กิโลเมตร อำเภอบ้านแพรก 44 กิโลเมตร อำเภอท่าเรือ 44 กิโลเมตร อำเภอลาดบัวหลวง 50 กิโลเมตร == สถานที่สำคัญ == ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา (ATC) ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ อยุธยา * พระที่นั่งวิหารสมเด็จ * พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท * พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ * พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ * พระที่นั่งตรีมุข * พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ * วัดไชยวัฒนาราม วัดใหญ่ชัยมงคล วัดสุวรรณดาราราม วัดสะตือ วัดตะโก ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร พระราชวังบางปะอิน คลองรางจระเข้ เพนียดคล้องช้าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เขื่อนพระรามหก เขื่อนทดน้ำแห่งแรกในประเทศไทย == เมืองพี่เมืองน้อง == เมืองหนานซาง สาธารณรัฐประชาชนจีน นครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ริชมอนด์ (รัฐเวอร์จิเนีย) รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม == บุคคลที่มีชื่อเสียง == === ด้านศาสนา === สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบางหว้าใหญ่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนใต้ อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนใต้ และอดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารรูปแรก สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก อดีตสมาชิกสังฆสภา อดีตสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง อดีตเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตแม่กองบาลีสนามหลวง อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) (นามเดิม:สมศักดิ์ ชูมาลัยวงศ์) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค๑๔-๑๕ (ธรรมยุต) แม่กองธรรมสนามหลวง เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร รักษาการเจ้าคณะภาค๔-๗ (ธรรมยุต) พระธรรมปัญญาบดี (พีร์ สุชาโต) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารรูปปัจจุบัน พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) หรือ หลวงพ่อปานวัดบางนมโค พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางนมโค อำเภอเสนา หลวงพ่อจง พุทธสโร พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม อตฺตสนฺโต) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดพระขาว อำเภอบางบาล แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต พุทธสาวิกาในพุทธศาสนาและยังเป็นเป็นวิทยากรประจำและผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ที่ปรึกษาคณะสงฆ์วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร === การเมือง === ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 7 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 8 ประมวล สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม บุญพันธ์ แขวัฒนะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 9 สมัย ดำรง พุฒตาล พิธีกรชื่อดัง และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตเสนาธิการทหารบก วิทยา บุรณศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ วิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัด พระนครศรีอยุธยา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2534 พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ === ศิลปวัฒนธรรมและบันเทิง === หลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) ครูดนตรีไทย และต้นสกุลพาทยโกศล เป็นบิดาของจางวางทั่ว พาทยโกศล รวงทอง ทองลั่นธม นักร้องวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ วงสุนทราภรณ์ และศิลปินแห่งชาติ ส.พลายน้อย (ชื่อจริง สมบัติ พลายน้อย) ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ และนักเขียนสารคดีประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมชื่อดัง สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นักเขียนเจ้าของนามปากกาสิงห์สนามหลวง ผู้ก่อตั้งรางวัลช่อการะเกด สรพงศ์ ชาตรี นักแสดง และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง สำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ชลิต เฟื่องอารมย์ นักแสดง นักร้อง ชรัส เฟื่องอารมย์ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดง บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้เขียนบทภาพยนตร์ พีระ ตรีบุปผา นักแต่งเพลง นักดนตรี และนักเรียบเรียงเสียงประสาน แอน มิตรชัย นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดง รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง นักร้อง นักแต่งเพลงนักแสดง และผู้กำกับละครโทรทัศน์ กันต์ธีร์ ปิติธัญ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดง คมกฤษ ตรีวิมล นักแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์ ศศินา พนมธรนิจกุล นักแสดง ลือชัย นฤนาท อดีตนักแสดง === กีฬา === นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย เสกสรรค์ ทับทอง นักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทย จันทิมา ใจสนุก นักกีฬาร่มร่อนทีมชาติไทย == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == รายชื่อวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเสนอเป็นเจ้าภาพเอ็กซ์โป 2020 == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด กรุงศรีอยุธยา เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ อยุธยา เวิลด์เอกซ์โป 2020 ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค
thaiwikipedia
834
อ่าวไทย
อ่าวไทย (เดิมชื่อ อ่าวสยาม) เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้วย == ประวัติศาสตร์ == อ่าวไทยได้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในแผนที่โลกของทอเลมีในชื่อแมกนัสไซนัส (Magnus Sinus) หรืออ่าวที่กว้างไกลในภาษากรีก ซึ่งทะเลมีได้รวบรวมคำบรรยายจากพ่อค้าวาณิชที่เดินเรือไปอาณาจักรฟูนาน ซึ่งทำให้ทอเลมีอธิบายว่า หากเดินเรือจากอ่าวคงคา ผ่านแหลมทองคำ (Golden Chersonese) ขึ้นไปทางเหนือจะเจอปากอ่าวที่มีขนาดใหญ่มาก มีชายฝั่งคดเคี้ยวและมีแม่น้ำหลายสายไหลลงมาที่อ่าวนึ้ ซึ่งแม่น้ำหลายสายที่ว่าอาจหมายถึง แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก (ในสมัยนั้น พื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางยังเป็นชายฝั่งอ่าวไทยอยู่เนื่องจากยังไม่มีตะกอนมาทับถมพื้นที่แถบกรุงเทพและปริมณฑล) และแม่น้ำบางปะกง โดยหากเดินเรือผ่านพื้นที่จังหวัดตราดลงไปอีกก็จะเจอเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรฟูนาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่แหล่งโบราณคดีโอเคีย ตำบลเตินเชิว จังหวัดอานซาง ประเทศเวียดนาม == พื้นที่ == อ่าวไทยมีพื้นที่ 300,858.76 ตารางกิโลเมตร เขตแดนของอ่าวไทยกำหนดด้วยเส้นที่ลากจากแหลมกาเมาหรือแหลมญวนทางตอนใต้ของเวียดนาม ไปยังเมืองโกตาบารูในชายฝั่งมาเลเซีย ซึ่งอยู่ห่างกัน 381 กิโลเมตร โดยจุดเหนือสุดของอ่าวไทย ตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมเรียกกันว่า "อ่าวประวัติศาสตร์รูปตัว ก" ซึ่งต่างชาติเรียก "อ่าวกรุงเทพฯ" ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยทอดยาว 1,840 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 58 เมตร (190 ฟุต) จุดที่ลึกที่สุด 85 เมตร (279 ฟุต) จึงทำให้การแลกเปลี่ยนระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็มเป็นไปอย่างเชื่องช้า น้ำจืดจำนวนมากที่ไหลมาจากแม่น้ำต่าง ๆ ทำให้น้ำทะเลในอ่าวไทยมีระดับความเค็มต่ำประมาณร้อยละ 3.05-3.25 และมีตะกอนสูง แต่บริเวณที่ลึกกว่า 50 เมตร มีความเค็มสูงกว่านี้ประมาณร้อยละ 3.4% ซึ่งเกิดจากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาจากทะเลจีนใต้ == อาณาเขตของอ่าวไทย == === ความสำคัญ === อาณาเขตของอ่าวไทยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลักเรื่องดินแดนตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่ง หยุด แสงอุทัย ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า "ประมวลกฎหมายอาญาได้วางหลักเกณฑ์ไว้โดยใช้หลักดินแดน...'หลักดินแดน' หมายความว่า กฎหมายของรัฐใด ย่อมใช้บังคับแก่การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นภายในเขตของรัฐนั้น ทั้งนี้...เพราะรัฐทุกรัฐมีอธิปไตยเหนืออาณาเขตของตน" ตามกฎหมายไทยแล้ว มีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ว่า "ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย" และ ววรรคสองว่า "การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร" ดังนั้น "ราชอาณาจักรไทย" ตามประมวลกฎหมายอาญาจึงหมายความถึง พื้นดินและพื้นน้ำในอาณาเขตประเทศไทย ทะเลห่างจากดินแดนที่เป็นประเทศไทยไม่เกินสิบสองไมล์ทะเล ทะเลอันเป็นอ่าวไทย ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502 พื้นอากาศเหนือ 1. 2. และ 3. อากาศยานไทย และเรือไทย === ทะเลอันเป็นอ่าวไทย === พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502 เป็นพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเมื่อ 23 กันยายน พ.ศ. 2502 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอนที่ 92 หน้าที่ 430 วันที่ 29 กันยายน ปีเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ เนื่องจากเขตจังหวัดต่าง ๆ ทางทะเลในอ่าวไทยตอนในยังไม่เป็นที่ชัดแจ้ง เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติบางประการจึงควรจะได้กำหนดเสียให้เป็นที่ชัดแจ้ง เพื่อประโยชน์ในการปกครองและความสะดวกของประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ โดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดเขตอ่าวไทยไว้ดังต่อไปนี้ (ดูแผนที่ด้านขวาประกอบ) ==== จังหวัดเพชรบุรี ==== จากจุดอักษร ก. ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 49 องศา-47 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก; แล้วขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (3), ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก ==== จังหวัดสมุทรสงคราม ==== จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวัออก จากจุดอักษร ค. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดสมุทรสาครไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก ==== จังหวัดสมุทรสาคร ==== จากจุดอักษร ค. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดสมุทรสาครไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก จากจุดอักษร ง. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดธนบุรีไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก ==== จังหวัดธนบุรี ==== จากจุดอักษร ง. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดธนบุรีไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดอักษร จ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดสมุทรปราการ ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก สำหรับพื้นที่จังหวัดธนบุรีในแผนที่นั้น ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ==== จังหวัดสมุทรปราการ ==== จากจุดอักษร จ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดสมุทรปราการ ขนานกับเส้นลองจิจูดไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดอักษร ฉ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจุด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก ==== จังหวัดฉะเชิงเทรา ==== จากจุดอักษร ฉ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก จากจุดอักษร ช. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดชลบุรีไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก ==== จังหวัดชลบุรี ==== จากจุดอักษร ช. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดชลบุรีไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก จากจุดอักษร ซ. แหลมบ้านช่องแสมสาน ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-57 ลิปดา-45 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก == สายน้ำในอ่าวไทย == แม่น้ำสายหลักที่น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนที่แยกสาขาออกมา แม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่อ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปีที่ไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี น้ำอุ่นในอ่าวไทยทำให้เกิดแนวปะการังที่สวยงาม โดยสถานที่ดำน้ำที่ได้รับความนิยม เช่น เกาะสมุย และเกาะเต่า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทรัพยากรธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย คือ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ == รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยที่มีชายฝั่งติดกับอ่าวไทย == เรียงทวนเข็มนาฬิกาจากชายแดนกัมพูชาที่จังหวัดตราด วกขึ้นอ่าวไทยตอนตัว ก แล้วลงไปจนจรดชายแดนมาเลเซียที่จังหวัดนราธิวาส ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส == ฤดูปิดอ่าว == ทุกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 15 พฤษภาคม ของทุกปี อันเป็นช่วงที่สัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยเฉพาะปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ วางไข่ เลี้ยงตัวในวัยอ่อนและเจริญเติบโต เป็นฤดูปิดอ่าว กรมประมงจะประกาศควบคุมการทำประมงตั้งแต่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร การประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ถ้าชาวประมงรายใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ == เชิงอรรถ == == อ้างอิง == "กรมประมงสั่งปิดฝั่ง 'อ่าวไทย' 3 เดือน ห้ามจับสัตว์น้ำฤดูวางไข่-ตั้งแต่ประจวบฯ ถึงสุราษฏร์". (2551, 13 กุมภาพันธ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552). "ข้อมูลอุทกศาสตร์น่านน้ำไทย." (2550). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552). "ปิดอ่าวไทย 3 เดือน อนุรักษ์ปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ". (2549, 10 กุมภาพันธ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา * (2549, 6 กรกฎาคม). พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552). * (2551, 11 กุมภาพันธ์). ประมวลกฎหมายอาญา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: . (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552). หยุด แสงอุทัย. (2551). กฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 20, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789749000413. Hugh Murray, William Wallace, Robert Jameson, Sir William Jackson Hooker, William Swainson. (1843) "The Encyclopædia of Geography: Comprising a Complete Description of the Earth, Physical, Statistical, Civil, and Political, Volume 1 " บรรทัดที่5 ถึง 15 หน้า57 E-book link by Google อ่าวในมหาสมุทรแปซิฟิก ธรณีสัณฐานในประเทศไทย อ่าวในประเทศไทย ทะเลในประเทศไทย แหล่งน้ำในประเทศมาเลเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร เขตแดนกัมพูชา–ไทย เขตแดนกัมพูชา–เวียดนาม เขตแดนมาเลเซีย–เวียดนาม เขตแดนไทย–เวียดนาม
thaiwikipedia
835
ทะเลอันดามัน
ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်, ; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะเลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร == เหตุการณ์สำคัญในทะเลอันดามัน == 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เกิดแผ่นดินไหวแมกนิจูด 9.2 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิถล่มตามแนวชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย สร้างความเสียหายจำนวนมาก ==ประเทศและดินแดน== รายชื่อประเทศและดินแดนตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน วนตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ ภาคอิรวดี ภาคย่างกุ้ง ภาคพะโค รัฐมอญ ภาคตะนาวศรี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล คาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Myanmar Marine Biodiversity Atlas Online อันดามัน ทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ทะเลในประเทศไทย เขตแดนมาเลเซีย–ไทย เขตแดนอินเดีย–พม่า เขตแดนอินเดีย–ไทย เขตแดนพม่า–ไทย เขตแดนอินโดนีเซีย–ไทย
thaiwikipedia
836
เกาะบอร์เนียว
บอร์เนียว (Borneo) หรือ กาลีมันตัน (Kalimantan) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเกาะกรีนแลนด์ (อันดับ 1) และเกาะนิวกินี (อันดับ 2) มีประเทศ 3 ประเทศอยู่ในเกาะบอร์เนียว คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย อยู่บริเวณใจกลางกลุ่มเกาะมลายูและประเทศอินโดนีเซีย ในทางภูมิศาสตร์ เกาะบอร์เนียวเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ == ศัพทมูลวิทยา == เกาะนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ ในระดับนานาชาติมีชื่อเรียกว่า บอร์เนียว ซึ่งมีที่มาจากการติดต่อของชาวยุโรปในอาณาจักรบรูไนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยในแผนที่ช่วง ค.ศ. 1601 เมืองบรูไนถูกระบุเป็นบอร์เนียว และมีการเรียกทั้งเกาะด้วยชื่อเดียวกัน ชื่อ Borneo ในภาษาอังกฤษอาจมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า (वरुण) ซึ่งอาจหมายถึง "น้ำ" หรือพระวรุณ เทพแห่งฝนของศาสนาฮินดู ประชากรท้องถิ่นเรียกพื้นที่นี้ว่า เกลมันตัน หรือ กาลีมันตัน โดยบางส่วนคาดว่าศัพท์นี้มีที่มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า กาลมันถนะ หมายถึง "อากาศที่แผดเผา" ซึ่งน่าจะสื่อถึงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เขตร้อนที่ร้อนและชื้น อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่รู้ทั้งภาษาและอิทธิพลของภาษาดัตช์จะรู้ว่า คำว่า kali หมายถึง "ลำเหมือง" และ mantan มาจากศัพท์ภาษาดัตช์ว่า diamantan หรือ "เพชร" ทำให้กาลีมันตันมีความหมายว่า "ลำเหมืองเพชร" ซึ่งสื่อถึงการหาเพชรหยาบตามธรรมชาติได้ง่ายโดยการขุดลงไปในพื้นที่บางส่วนของเกาะ ซลาเม็ต มุลจานา (Slamet Muljana) นักประวัติศาสตร์ชาวอินโดนีเซีย กล่าวแนะว่า คำว่า กาลมันถนะ มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตสองศัพท์คือ กาละ (เวลาหรือฤดู) กับ มันถนะ (ปั่น ก่อไฟ หรือก่อไฟด้วยการเสียดสี) ซึ่งน่าจะสื่อถึงความร้อนของสภาพภูมิอากาศในบริเวณนี้ == ภูมิศาสตร์ == เกาะบอร์เนียวล้อมรอบด้วยทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลซูลูทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทะเลเซเลบีสกับช่องแคบมากัสซาร์ทางตะวันออก และทะเลชวากับช่องแคบการีมาตาทางใต้ ดินแดนทางตะวันตกของเกาะบอร์เนียวได้แก่ คาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตรา ทางใต้ได้แก่ เกาะชวา ทางตะวันออกได้แก่ เกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะโมลุกกะ ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ หมู่เกาะฟิลิปปินส์ จุดสูงที่สุดของเกาะบอร์เนียว คือเขากีนาบาลูในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย มีความสูง 4,101 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล == การปกครอง == ทางการเมืองการปกครอง เกาะบอร์เนียวแบ่งออกเป็น : จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก จังหวัดกาลีมันตันใต้ จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก จังหวัดกาลีมันตันเหนือ และจังหวัดกาลีมันตันกลาง ของประเทศอินโดนีเซีย รัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก ของประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน ที่แบ่งเป็น 2 ส่วน == ประวัติศาสตร์ == เกาะบอร์เนียวเป็นพื้นที่สำคัญในการเผชิญหน้าระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย ในช่วง พ.ศ. 2505–2509 (ค.ศ. 1962–1966) == อ้างอิง == == อ่านเพิ่ม == == แหล่งข้อมูลอื่น == บอร์เนียว บอร์เนียว เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะบอร์เนียว เกาะในประเทศมาเลเซีย เกาะในประเทศบรูไน บอร์เนียว บอร์เนียว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร
thaiwikipedia
837
นิเวศวิทยา
นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ" ) คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้: กระบวนการของชีวิต การปฏิสัมพันธ์และการปรับตัว การเคลื่อนไหวของสารอาหารและพลังงานภายในชุมชนของสิ่งมีชีวิต กระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ จำนวนและการกระจายของสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพในบริบทของสภาพแวดล้อม นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เช่นเดียวกัน มีการนำนิเวศวิทยาไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติจำนวนมากด้านชีววิทยาอนุรักษ์ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (เช่น นิเวศเกษตร (agroecology) เกษตรกรรม ป่าไม้ วนเกษตร ประมง) ผังเมือง (นิเวศวิทยาชุมชนเมือง), สุขภาพชุมชน เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (applied science) และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ (นิเวศวิทยาของมนุษย์) ตัวอย่างเช่น วิธีการที่เรียกว่า "วงกลมของความยั่งยืน" (Circles of Sustainability) ซึ่งจะมีการใส่ใจถึงนิเวศวิทยามากกว่าแค่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว สิ่งมีชีวิต (รวมทั้งมนุษย์) และทรัพยากร ประกอบขึ้นเป็นระบบนิเวศซึ่งเป็นผลให้มีการรักษาระดับกลไกการฟีดแบ็คทางชีวฟิสิกส์ที่ควบคุมกระบวนการที่กระทำต่อองค์ประกอบของโลกที่เป็นชีวภาพ (biotic) และกายภาพ (abiotic) ระบบนิเวศมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตอย่างยั่งยืนและสร้างทุนทางธรรมชาติ เช่น การผลิตชีวมวล (อาหาร เชื้อเพลิง เส้นใยและยา) ควบคุมสภาพภูมิอากาศ วัฏจักรของชีวธรณีเคมี (biogeochemical) ของโลก การกรองน้ำ การก่อตัวของดิน การควบคุมการชะล้างพังทลาย การป้องกันน้ำท่วมและลักษณะทางธรรมชาติอื่น ๆ ที่มีมูลค่าทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือมูลค่าภายในตัวมันเอง ==ประวัติ== นิเวศวิทยามีต้นกำเนิดที่ซับซ้อนเนื่องจากเป็นส่วนที่ใหญ่ของธรรมชาติของสหวิทยาการของมัน นักปรัชญากรีกโบราณเช่นฮิปโปเครติสและอริสโตเติลเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มแรก ๆ ที่ได้บันทึกข้อสังเกตทั้งหลายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ อย่างไรก็ตามพวกเขามองชีวิตในแง่ของ essentialism (ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีสมบัติพื้นฐานที่สามารถค้นพบได้ด้วยเหตุผล (ปรัชญา) หรือเป็นทฤษฎีที่ส่งเสริมการสอนวิชาและความชำนาญขั้นพื้นฐานเฉพาะอย่างให้กับผู้เรียนทุกคน (การศึกษา) ที่สายพันธ์ต่าง ๆ เป็นแนวความคิดของสิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ในขณะที่ความหลากหลายถูกมองว่าเป็นความผิดปรกติของชนิดที่เป็นนามธรรม (idealized type) ซึ่งแตกต่างกับความเข้าใจที่ทันสมัยของทฤษฎีทางนิเวศที่ซึ่งความหลากหลายถูกมองว่าเป็นปรากฏการณ์จริงที่น่าสนใจและมีบทบาทในการกำเนิดของการปรับตัวโดยใช้วิธีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ แนวความคิดในช่วงเริ่มต้นของระบบนิเวศเช่นความสมดุลและกฎระเบียบในธรรมชาติสามารถโยงไปถึง Herodotus (เสียชีวิตประมาณ 425 BC) ผู้ที่อธิบายหนึ่งในบัญชีแรก ๆ ของทฤษฎี mutualism (การพึ่งพาอาศัยกัน) ในการสังเกตของเขาเกี่ยวกับ "ทันตกรรมธรรมชาติ" เขาตั้งข้อสังเกตว่าจระเข้แม่น้ำไนล์ที่กำลังอาบแดดจะเปิดปากของพวกมันเพื่อให้ตัว Sandpipers (นกชายฝั่งทะเลมีขาและปากยาว) สามารถเข้าปากได้อย่างปลอดภัยเพื่อเด็ดปลิงออก เป็นการให้คุณค่าทางโภชนาการแก่ตัว Sandpiper และให้สุขอนามัยในช่องปากที่ดีสำหรับจระเข้ อริสโตเติลมีอิทธิพลในช่วงต้นของการพัฒนาด้านปรัชญาของนิเวศวิทยา เขาและนักเรียนของเขา Theophrastus ตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับพืชและการอพยพของสัตว์ ชีวภูมิศาสตร์ สรีรวิทยา และพฤติกรรมของพวกมัน เป็นการให้สิ่งที่คล้ายกันในช่วงต้นกับแนวคิดสมัยใหม่ของ niche ทางนิเวศวิทยา แนวคิดเชิงนิเวศเช่นห่วงโซ่อาหาร การควบคุมประชากร และผลผลิตถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 1700 ผ่านการตีพิมพ์ผลงานของนักส่องกล้องจุลทัศน์ Antoni van Leeuwenhoek (1632-1723) และนักพฤกษศาสตร์ Richard Bradley (1688? -1732) นักชีวภูมิศาสตร์ Alexander von Humboldt (1769-1859) เป็นผู้บุกเบิกช่วงแรกในการคิดเชิงนิเวศและเป็นหนึ่งในคนแรก ๆ ที่ตระหนักถึงการไล่ระดับทางนิเวศที่สายพันธุ์ต่าง ๆ จะถูกแทนที่หรือถูกเปลี่ยนแปลงในรูปแบบไปตามการไล่ระดับด้านสิ่งแวดล้อมเช่น cline (ไคลน) n. การเปลี่ยนแปลงของลักษณะที่ค่อย ๆ เป็นไป) ที่ขึ้นรูปตามการเพิ่มขึ้นในระดับความสูง Humboldt ดึงแรงบันดาลใจจาก Isaac Newton ในขณะที่เขาได้พัฒนารูปแบบของ "ฟิสิกส์ทางบก" ในรูปแบบของนิวตันเขาได้นำความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์สำหรับการวัดไปสู่ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและแม้กระทั่งการพูดพาดพิงถึงแนวคิดที่เป็นรากฐานของกฎทางนิเวศที่ทันสมัยในความสัมพันธ์แบบสายพันธุ์กับพื้นที่ นักประวัติศาสตร์ธรรมชาติเช่น Humboldt, James Hutton และ Jean-Baptiste Lamarck (และคนอื่น ๆ) ได้วางรากฐานของวิทยาศาสตร์ทางนิเวศที่ทันสมัย คำว่า "นิเวศวิทยา"(Oekologie, Ökologie) กำเนิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นครั้งแรกโดยนักชีววิทยาชาวเยอรมัน Ernst Haeckel ในหนังสือของเขาชื่อ Generelle Morphologie der Organismen (1866) Haeckel เป็นนักสัตววิทยา ศิลปิน นักเขียน และต่อมาในชีวิตเป็นศาสตราจารย์ทางกายวิภาคศาสตร์เชิงเปรียบเทียบ 90px 90px Ernst Haeckel (ซ้าย) และ Eugenius Warming (ขวา) สองผู้ก่อตั้งของนิเวศวิทยา มีหลายความเห็นที่แตกต่างกันว่าใครเป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีทางนิเวศที่ทันสมัย บางคนทำเครื่องหมายว่านิยามของ Haeckel เป็นจุดเริ่มต้น คนอื่น ๆ บอกว่า Eugenius Warming เป็นผู้เริ่มด้วยงานเขียนของ Oecology of Plants เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาของสังคมพืช (1895) หรือหลักการแบบ Carl Linnaeus เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ของธรรมชาติที่โตเต็มที่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 Linnaeus ได้ก่อตั้งสาขาแรกของนิเวศวิทยาที่เขาเรียกว่าเศรษฐศาสตร์ของธรรมชาติ หลายผลงานของเขาได้มีอิทธิพลต่อ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ผู้ที่ได้พัฒนาวลีของ Linnaeus ว่า "เศรษฐศาสตร์หรือการเมืองของธรรมชาติ" ในหนังสือ "ต้นกำเนิดของสายพันธุ์" (The Origin of Species) Linnaeus เป็นคนแรกที่ได้วางกรอบของ'ความสมดุลของธรรมชาติ' ว่าเป็นสมมติฐานที่ทดสอบได้อย่างหนึ่ง Haeckel ได้ชื่นชมงานของดาร์วิน และได้นิยามนิเวศวิทยาในการอ้างอิงถึงเศรษฐศาสตร์ของธรรมชาติซึ่งได้นำให้บางคนตั้งคำถามที่ว่านิเวศวิทยาและเศรษฐศาสตร์ของธรรมชาติมีความหมายเหมือนกันหรือไม่ จากอริสโตเติลจนถึงดาร์วิน, โลกในธรรมชาติได้รับการพิจารณาว่าส่วนใหญ่คงที่และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก่อน "ต้นกำเนิดของสายพันธุ์" มีความพึงพอใจหรือความเข้าใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ในความสัมพันธ์แบบไดนามิกและแบบซึ่งกันและกันระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน การปรับตัวของพวกมันและสภาพแวดล้อม มีข้อยกเว้นอย่างหนึ่งก็คือสิ่งพิมพ์ในปี 1789 เรื่อง "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของ Selborne" โดย Gilbert White (1720-1793) โดยที่บางคนได้พิจารณาว่าจะเป็นหนึ่งในตำราที่เก่าแก่ที่สุดในนิเวศวิทยา ในขณะที่ชาร์ลส์ดาร์วินได้ถูกตั้งข้อสังเกตเป็นส่วนใหญ่สำหรับบทความของเขาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง 'นิเวศวิทยาดิน' และเขาได้บันทึกการทดลองทางนิเวศครั้งแรกใน "ต้นกำเนิดของสายพันธุ์" ทฤษฎีวิวัฒนาการได้เปลี่ยนแปลงวิธีการที่นักวิจัยจะเข้าหาวิทยาศาสตร์ทางนิเวศวิทยา ===ตั้งแต่ปี 1900=== นิเวศวิทยาสมัยใหม่เป็นวิทยาศาสตร์วัยหนุ่มที่ดึงดูดความสนใจทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 (ประมาณเวลาเดียวกันกับที่การศึกษาด้านวิวัฒนาการก็กำลังได้รับความสนใจทางวิทยาศาสตร์) นักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่น Ellen Swallow Richards อาจได้แนะนำเป็นครั้งแรกของคำว่า "oekology" (ซึ่งในที่สุดก็ได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นเศรษศาสตร์ในครัวเรือน (home economics)) ในสหรัฐอเมริกาเมื่อช่วงต้นปี 1892 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นิเวศวิทยาเปลี่ยนผ่านจากรูปแบบเชิงอธิบายเพิ่มเติมของประวัติศาสตร์ธรรมชาติให้เป็นรูปแบบการวิเคราะห์มากขึ้นของประวัติศาสตร์ธรรมชาติเชิงวิทยาศาสตร์ Frederic Clements ได้ตีพิมพ์หนังสือทางนิเวศวิทยาของอเมริกาเล่มแรกในปี 1905 นำเสนอแนวคิดของ ชุมชนพืชในฐานะที่เป็นซุปเปอร์สิ่งมีชีวิต (superorganism) เอกสารฉบับนี้รณรงค์ให้มีการอภิปรายระหว่างทฤษฎีองค๋รวมทางนิเวศ (ecological holism) กับทฤษฎีเฉพาะตัวตน (individualism) ที่ดำเนินไปจนถึงปี 1970s หลักการซุปเปอร์สิ่งมีชีวิตของเคลเมนท์ได้เสนอว่าระบบนิเวศจะคืบหน้าผ่านขั้นตอนปกติและความมุ่งมั่นของการพัฒนาในช่วงกลาง (seral development) ที่อุปมาแล้วเหมือนกับขั้นตอนการพัฒนาของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ กระบวนทัศน์แบบ Clements ได้ถูกท้าทายโดย Henry Gleason ผู้ที่ระบุว่าชุมชนทางนิเวศจะพัฒนาจากสมาคมที่มีลักษณะเฉพาะและบังเอิญของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวตน การเปลี่ยนแปลงการรับรู้แบบนี้ได้วางจุดโฟกัสกลับไปยังประวัติศาสตร์ชีวิตของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวตนและวิธีที่สิ่งนี้จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสมาคมชุมชนได้อย่างไร ทฤษฎีซุปเปอร์สิ่งมีชีวิตของ Clements เป็นแอพลิเคชันที่ขยายจนเกินเหตุของรูปแบบในอุดมคติของทฤษฎีองค์รวม คำว่า "ทฤษฎีองค์รวม" ได้รับการประกาศเกียรติคุณในปี 1926 โดย Jan Christiaan Smuts คนสำคัญทางประวัติศาสตร์แบบโพลาไรเซชั่นและแบบทั่วไปชาวแอฟริกาใต้ผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดด้านซุปเปอร์สิ่งมีชีวิตของ Clements ประมาณช่วงเวลาเดียวกัน Charles Elton ได้บุกเบิกแนวคิดของห่วงโซ่อาหารในหนังสือคลาสสิกของเขา "นิเวศวิทยาสัตว์" เอลตัน ได้กำหนดความสัมพันธ์ด้านนิเวศโดยการใช้แนวคิดของห่วงโซ่อาหาร วัฏจักรอาหาร และขนาดอาหาร และได้อธิบายความสัมพันธ์ด้านตัวเลขระหว่างหลาย ๆ กลุ่มการทำงานที่แตกต่างกันและความอุดมสมบูรณ์ที่เกี่ยวข้องของพวกมัน 'วัฏจักรอาหาร' ของเอลตันถูกแทนที่ด้วย 'เครือข่ายอาหาร' ในข้อความด้านนิเวศที่ตามมา Alfred J. Lotka ได้นำมาซึ่งแนวคิดทางทฤษฎีจำนวนมากที่นำหลักการทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้กับนิเวศวิทยา ในปี 1942 Raymond Lindeman เขียนเรื่องไดนามิกโภชนาการของนิเวศวิทยาที่ตีพิมพ์หลังจากที่ตอนแรกถูกปฏิเสธเพราะการเน้นในทฤษฎีของมัน ไดนามิกโภชนาการได้กลายเป็นรากฐานสำหรับงานจำนวนมากที่จะปฏิบัติตามการใช้พลังงานและการไหลของวัสดุผ่านระบบนิเวศ Robert E. MacArthur ได้ขยายทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ขั้นสูง การคาดการณ์และการทดสอบในระบบนิเวศในปี 1950 ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจโรงเรียนเพื่อการฟื้นคืนแห่งหนึ่งของนักนิเวศวิทยาทางคณิตศาสตร์เชิงทฤษฎี นิเวศวิทยายังได้พัฒนาผ่านการมีส่วนร่วมจากประเทศอื่น ๆ รวมทั้ง Vladimir Vernadsky ของรัสเซียและการจัดตั้งแนวคิดด้านชีวมณฑลของเขาในปี 1920s และ Kinji Imanishi ของญี่ปุ่นและแนวความคิดของเขาด้านความกลมกลืนในธรรมชาติและการแบ่งแยกที่อยู่อาศัยในปี 1950s การรับรู้ทางวิทยาศาสตร์ของการมีส่วนร่วมกับนิเวศวิทยาจากวัฒนธรรมที่ไม่พูดภาษาอังกฤษถูกขัดขวางโดยภาษาและอุปสรรคในการแปล นิเวศวิทยาได้พุ่งขึ้นสู่ความสนใจทางวิทยาศาสตร์และเป็นที่นิยมในช่วงการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างปี 1960-1970s มีความผูกพันทางประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่งระหว่างนิเวศวิทยา การจัดการสิ่งแวดล้อม และการป้องกัน การเน้นย้ำทางประวัติศาสตร์และงานเขียนบทกวีธรรมชาติสำหรับการป้องกันมีอยู่ในถิ่นห่างไกล จากนักนิเวศวิทยาที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์ของชีววิทยาเพื่อการอนุรักษ์เช่น Aldo Leopold และ Arthur Tansley ถูกถอดออกให้ห่างไกลจากย่านใจกลางเมืองที่มีความเข้มข้นของมลพิษและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมตั้งอยู่ Palamar (2008 บันทึกการบดบังโดยนักสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของสตรีนักบุกเบิกในช่วงต้นทศวรรษ 1900 ผู้ที่ต่อสู้เพื่อระบบนิเวศของสุขภาพเมือง (จึงถูกเรียกว่า euthenics) และได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายสิ่งแวดล้อม ผู้หญิงเช่น Ellen Swallow Richards และ Julia Lathrop และอื่น ๆ เป็นแถวหน้าในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่นิยมมากขึ้นหลังจากปี 1950s ในปี 1962 หนังสือของนักชีววิทยาทางทะเลและนักนิเวศวิทยา Rachel Carson เรื่อง Silent Spring ได้ช่วยระดมเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมโดยการแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับสารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นพิษเช่นดีดีทีที่สะสมในสิ่งแวดล้อม คาร์สันได้ใช้วิทยาศาสตร์เชิงนิเวศเพื่อเชื่อมโยงการปลดปล่อยสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศ ตั้งแต่นั้นมานักนิเวศวิทยาได้ทำงานเพื่อสร้างสะพานเชื่อมความเข้าใจของพวกเขาด้านการย่อยสลายของระบบนิเวศของโลกกับการเมือง กฎหมาย การฟื้นฟูด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ==ระดับบูรณาการ ขอบเขต และขนาดขององค์กร== ขอบเขตของนิเวศวิทยาประกอบด้วยแถวที่กว้างขวางของระดับของปฏิสัมพันธ์ขององค์กรซึ่งครอบคลุมปรากฏการณ์ระดับจุลภาค (เช่นเซลล์) จนถึงขนาดของดาวเคราะห์ (เช่นชีวมณฑล (biosphere)) ยกตัวอย่าง ระบบนิเวศหลายระบบประกอบด้วยทรัพยากรแบบอชีวนะและรูปแบบของชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์ (เช่นสิ่งที่มีชีวิตเดี่ยวรวมตัวกันเป็นประชากรที่จะรวมเป็นในชุมชนทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกัน) ระบบนิเวศเป็นแบบไดนามิก พวกมันไม่ค่อยเดินตามเส้นทางต่อเนื่องที่เป็นเชิงเส้น แต่พวกมันมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ บางครั้งก็รวดเร็วและบางครั้งก็ช้ามากซะจนกระทั่งอาจใช้เวลานับพัน ๆ ปีสำหรับกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่จะนำมาซึ่งขั้นตอนต่อเนื่องบางอย่างของป่าป่าหนึ่ง พื้นที่ของระบบนิเวศอาจแตกต่างกันอย่างมาก ตั้งแต่ขนาดเล็ก ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ ต้นไม้ต้นเดียวมีผลเพียงเล็กน้อยในการจัดหมวดหมู่ของระบบนิเวศป่าไม้ แต่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่งกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในนั้น หลายรุ่นลูกหลานของประชากรเพลี้ยสามารถอยู่ในช่วงอายุเดียวของใบไม้หนึ่งใบ แต่ละตัวของเพลี้ยเหล่านั้นในอีกทางหนึ่งจะสนับสนุนชุมชนแบคทีเรียที่หลากหลาย ธรรมชาติของการเชื่อมโยงกันในชุมชนนิเวศวิทยาไม่สามารถอธิบายโดยการรู้รายละเอียดของแต่ละสายพันธุ์แบบแยกจากกัน เพราะรูปแบบฉุกเฉินจะไม่มีการเปิดเผยหรือไม่สามารถคาดการได้จนกว่าระบบนิเวศจะได้มีการศึกษาทั้งหมดแบบบูรณาการ อย่างไรก็ตาม บางหลักการทางนิเวศวิทยามีการแสดงจริงของคุณสมบัติแบบสะสมที่ผลรวมขององค์ประกอบทั้งหลายได้อธิบายคุณสมบัติของทั้งหมด เช่นอัตราการเกิดของประชากรที่เท่ากับผลรวมของการเกิดของแต่ละคน(หรือสัตว์หรือพืช)ในช่วงกรอบเวลาที่กำหนด ===นิเวศวิทยาแบบลำดับชั้น=== ขนาดของการเปลี่ยนแปลงของหลายระบบนิเวศสามารถทำงานเหมือนระบบปิด เช่นการโยกย้ายของเพลี้ยบนต้นไม้ต้นเดียว ในขณะที่ในเวลาเดียวกันระบบยังคงเปิดอันเนื่องมาจากอิทธิพลของขนาดที่กว้างกว่าเช่นบรรยากาศหรือสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น นักนิเวศวิทยาจะจำแนกระบบนิเวศตามลำดับชั้นโดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้จากหลายหน่วยงานขนาดปลีกย่อย เช่นสมาคมพืช สภาพภูมิอากาศ และชนิดของดิน และบูรณาการข้อมูลนี้เพื่อระบุรูปแบบฉุกเฉินต่าง ๆ ขององค์กรและกระบวนการที่ชัดเจนที่ทำงานในท้องถิ่นจนถึงขนาดระดับภูมิภาค ภูมิทัศน์ และลำดับเหตุการณ์ เพื่อจัดโครงสร้างของการศึกษาด้านนิเวศวิทยาให้อยู่ในกรอบแนวคิดที่จัดการได้ โลกชีวภาพจะถูกจัดวางให้เป็นลำดับชั้นที่ซ้อนกันตั้งแต่ในระดับยีนไปยังเซลล์ไปยังเนื้อเยื่อไปยังอวัยวะไปยังสิ่งมีชีวิตไปยังสายพันธุ์ไปยังประชากรไปยังชุมชนไปยังระบบนิเวศไปยังชีวนิเวศ (biomes) และไปจนถึงระดับชีวมณฑล กรอบงานแบบนี้ก่อตัวเป็นรูปแบบการปกครองแบบหนึ่งที่ครอบคลุมการปกครองอื่น ๆ (Panarchy) และได้แสดงออกเป็นพฤติกรรมแบบไม่เชิงเส้น หมายความว่า "ผลและสาเหตุไม่เป็นสัดส่วนกัน เพื่อที่ว่าการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่เกิดกับตัวแปรที่วิกฤตเช่นจำนวนไนโตรเจนที่คงที่สามารถนำไปสู่หลายการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นสัดส่วนกัน หรืออาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับคืนได้ในคุณสมบัติของระบบ" ===ความหลากหลายทางชีวภาพ=== ความหลากหลายทางชีวภาพใช้อธิบายความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ยีนจนถึงระบบนิเวศและครอบคลุมทุกระดับขององค์กรทางชีวภาพ คำนี้มีการตีความไปหลายอย่างและมีหลายวิธีที่จะชี้ ใช้วัด ใช้บอกลักษณะ และใช้แทนความหมายขององค์กรที่ซับซ้อนของมัน ความหลากหลายทางชีวภาพจะรวมถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ความหลากหลายของระบบนิเวศ และความหลากหลายทางพันธุกรรมและนักวิทยาศาสตร์มีความสนใจในวิธีการที่ความหลากหลายนี้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่ซับซ้อนในการดำเนินงานในระดับที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้อย่างไร ความหลากหลายทางชีวภาพมีบทบาทสำคัญใน'การบริการของระบบนิเวศ' ซึ่งโดยความหมายแล้วหมายถึงการรักษาระดับและการปรับปรุงคุณภาพของชีวิต การป้องกันการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์เป็นวิธีหนึ่งที่จะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและเป้าหมายนั้นวางอยู่บนหลายเทคนิคที่รักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่อยู่อาศัย และความสามารถในสายพันธุ์ที่จะโยกย้ายถิ่น ลำดับความสำคัญและเทคนิคการจัดการของการอนุรักษ์จำเป็นต้องใช้วิธีการและการพิจารณาที่แตกต่างกันเพื่อแสดงถึงขอบเขตของระบบนิเวศอย่างเต็มที่ของความหลากหลายทางชีวภาพ 'ทุนธรรมชาติ'ที่รองรับประชากรมีความสำคัญในการรักษาระดับของ'การบริการแบบระบบนิเวศ' และการย้ายถิ่นของหลาย ๆ สายพันธุ์ (เช่นการวิ่งของปลาแม่น้ำและการควบคุมแมลงนก) ได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในกลไกที่การเสียหายจากการให้บริการพวกนั้นได้ประสบมา ความเข้าใจในความหลากหลายทางชีวภาพมีการใช้งานในทางปฏิบัติสำหรับสายพันธุ์และการวางแผนการอนุรักษ์ในระดับระบบนิเวศเมื่อพวกเขาให้คำแนะนำการจัดการแก่บริษัทที่ปรึกษา รัฐบาล และอุตสาหกรรม ===ที่อยู่อาศัย=== ที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์หนึ่งสามารถอธิบายสภาพแวดล้อมที่สายพันธุ์นั้นเกิดและชนิดของชุมชนที่จะเกิดเป็นผลตามมา เพื่อให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น "ที่อยู่อาศัยที่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นภูมิภาคในพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่จะประกอบด้วยหลายมิติซ้อนกัน แต่ละมิติเป็นตัวแทนของตัวแปรสิ่งแวดล้อมแบบชีวนะหรืออชีวนะ นั่นคือ องค์ประกอบหรือลักษณะของสภาพแวดล้อมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง (เช่นอาหารสัตว์ ชีวมวลและคุณภาพ) หรือโดยอ้อม (เช่นระดับความสูง) กับการใช้สถานที่โดยสัตว์" ยกตัวอย่างเช่นที่อยู่อาศัยอาจจะเป็นสภาวะแวดล้อมที่อยู่ในน้ำหรือบนบกที่สามารถแบ่งประเภทต่อไปว่าเป็นระบบนิเวศแบบภูเขาหรือภูมิอากาศแบบอัลไพน์ การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยจะให้หลักฐานที่สำคัญของการแข่งขันในธรรมชาติที่ประชากรหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่อาศัยที่สมาชิกส่วนใหญ่ของสายพันธุ์อื่นครอบครองอยู่ ตัวอย่างเช่น ประชากรของสายพันธุ์หนึ่งของสัตว์เลื้อยคลานเขตร้อน (Tropidurus hispidus) มีลำตัวแบนเมื่อเทียบกับประชากรหลักที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเปิด ประชากรนี้อาศัยอยู่ในหินโผล่แยกต่างหากที่ซ่อนอยู่ในหุบเขาที่ร่างกายแบนของมันทำให้มันมีความได้เปรียบในการคัดเลือก การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยยังเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การพัฒนาชีวิตของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและในแมลงที่เปลี่ยนจากสัตว์ที่มีที่อยู่อาศัยในน้ำมาเป็นสัตว์ที่อยู่บนบก คำว่าเขตชีวชาติ (biotope) และเขตที่อยู่อาศัยบางครั้งใช้แทนกันได้ แต่เขตชีวชาติหมายถึงสภาพแวดล้อมของชุมชน ในขณะที่เขตที่อยู่อาศัยหมายถึงสภาพแวดล้อมของสายพันธุ์ นอกจากนี้ สายพันธ์บางชนิดเป็น 'วิศวกรระบบนิเวศ' ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในภูมิภาคท้องถิ่น เช่น ตัวบีเวอร์จัดการระดับน้ำโดยการสร้างเขื่อนซึ่งช่วยปรับปรุงที่อยู่อาศัยของพวกมันในภูมิทัศน์ ==สภาวะที่เหมาะสม (Niche)== นิยามของคำว่า niche ย้อนกลับไปในปี 1917 แต่ G. Evelyn Hutchinson ทำให้แนวคิดนี้แพร่หลายในปี 1957 โดยการแนะนำนิยามที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายว่าหมายถึง "ชุดของสภาพแวดล้อมแบบชีวภาพและกายภาพในที่ซึ่งสายพันธุ์หนึ่งสามารถที่จะยังคงมีอยู่และรักษาขนาดประชากรไว้อย่างคงที่" สภาวะทางนิเวศวิทยาเป็นแนวคิดกลางในนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตและถูกแบ่งย่อยออกเป็นสภาวะ"พื้นฐาน"และสภาวะ"ตระหนัก" สภาวะพื้นฐานคือชุดของสภาวะสิ่งแวดล้อมที่สายพันธุ์หนึ่งสามารถที่จะยังคงมีอยู่ได้ สภาวะตระหนักคือชุดของสภาวะสิ่งแวดล้อมบวกกับสภาวะทางนิเวศวิทยาที่สายพันธุ์หนึ่งจะยังคงมีอยู่ สถาวะแบบของ Hutchinson ถูกขยายนิยามในทางเทคนิคให้มากขึ้นเป็น "ไฮเปอร์สเปซของยุคลิด (Euclidean hyperspace) ที่ "มิติ" ของมันถูกกำหนดเป็นตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมและ "ขนาด" ของมันถูกกำหนดเป็นฟังก์ชันของตัวเลขของค่าที่คุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่อาจสันนิษฐานว่าสิ่งที่มีชีวิตหนึ่งมี "ความเหมาะสมเชิงบวก"" รูปแบบทางชีวภูมิศาสตร์และการกระจายของสายพันธ์มีการอธิบายหรือทำนายผ่านความรู้ของลักษณะของสายพันธุ์และความต้องการด้านสภาวะที่เหมาะสม หลายสายพันธ์มีลักษณะ(ทางกรรมพันธ์) (traits) ของฟังชั่นทางพันธุกรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนที่ไม่เหมือนใครให้เข้ากับสภาวะทางนิเวศวิทยา ลักษณะทางพันธุกรรมหนึ่ง ๆ จะเป็นสมบัติ (property) หรือลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏให้เห็นเช่นส่วนสูงหรือสีผิว (phenotype) ที่วัดได้ของสิ่งมีชีวิตที่อาจมีอิทธิพลต่อการอยู่รอดของมัน ยีนมีบทบาทสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์ของการพัฒนาและการแสดงออกด้านสิ่งแวดล้อมของลักษณะทางพันธุกรรม สายพันธุ์ประจำถิ่นจะวิวัฒนาการลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมาะสมกับแรงกดดันตัวเลือกของสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของพวกมัน ซึ่งมีแนวโน้มยอมรับข้อได้เปรียบในการแข่งขันและกีดกันสายพันธ์ที่ถูกดัดแปลงมาคล้ายกันจากการกระจายทางภูมิศาสตร์ที่ทับซ้อนกัน 'หลักการกีดกันด้านการแข่งขัน' ระบุว่าสองสายพันธ์ไม่สามารถอยู่ร่วมกันไปเรื่อย ๆ โดยการอาศัยอยู่ในทรัพยากรที่จำกัดเดียวกัน; สายพันธ์หนึ่งมักจะเก่งกว่าอีกสายพันธ์หนึ่ง เมื่อสายพันธ์ที่ถูกดัดแปลงมาคล้ายกันมีถิ่นที่อยู่ทับซ้อนกันทางภูมิศาสตร์ การตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเปิดเผยให้เห็นถึงความแตกต่างของระบบนิเวศที่ลึกซึ้งในที่อยู่อาศัยหรือความต้องการอาหารของพวกมัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาบางโมเดลและเชิงประจักษ์แนะนำว่าการปั่นป่วน (disturbance) สามารถปรับปรุงวิวัฒนาการร่วมและสภาวะการเข้าอยู่อาศัยที่เหมาะสม (niche) ที่ใช้ร่วมกันของสายพันธุ์ที่คล้ายกันที่เข้าพักอาศัยอยู่ในชุมชนหลากสายพันธ์ที่อุดมสมบูรณ์ ถิ่นที่อยู่อาศัยรวมกับสภาวะที่เหมาะสมเรียกว่า ecotope ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นตัวแปรเต็มรูปแบบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านชีวภาพที่มีผลกับทั้งสายพันธุ์ ====การสร้างสภาวะที่เหมาะสม==== สิ่งมีชีวิตอยู่ภายใต้แรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม แต่พวกมันยังปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยของพวกมันอีกด้วย ข้อเสนอแนะด้านกฎระเบียบระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของพวกมันสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพทั้งหลายตั้งแต่ระดับท้องถิ่น (เช่นบ่อตัวบีเวอร์) จนถึงระดับโลก ตลอดช่วงเวลาและแม้หลังจากการตาย เช่นท่อนไม้หรือแหล่งสะสมโครงกระดูกซิลิกาที่เริ่มเน่าจากสิ่งมีชีวิตในทะเล กระบวนการและแนวคิดของวิศวกรรมระบบนิเวศที่มีความเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสภาวะที่เหมาะสม แต่วิศวกรรมระบบนิเวศเกี่ยวข้องเท่านั้นกับการปรับเปลี่ยนทางกายภาพของที่อยู่อาศัยในขณะที่การก่อสร้างสภาวะที่เหมาะสมยังพิจารณาผลกระทบด้านวิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพกับสภาพแวดล้อมและฟีดแบ็คสาเหตุในกระบวนการของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ วิศวกรระบบนิเวศจะถูกกำหนดเป็น "สิ่งมีชีวิตที่โดยทางตรงหรือทางอ้อมเป็นตัวกลางในการปรับความพร้อมของทรัพยากรให้กับสายพันธุ์อื่น ๆ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางกายภาพในวัสดุแบบชีวนะหรืออชีวนะ ในการทำอย่างนั้น พวกมันปรับเปลี่ยน ดูแลรักษาและสร้างที่อยู่อาศัย" แนวคิดด้านวิศวกรรมระบบนิเวศได้กระตุ้นความชื่นชมใหม่สำหรับอิทธิพลที่สิ่งมีชีวิตมีในระบบนิเวศและในกระบวนการวิวัฒนาการ คำว่า "การก่อสร้างสภาวะที่เหมาะสม" มักจะถูกนำมาใช้ในการอ้างอิงกับกลไกการฟีดแบ็คที่มีการชื่นชมต่ำเกินไปของการคัดเลือกโดยธรรมชาติที่สื่อให้เห็นถึงแรงบนสภาวะที่เหมาะสมแบบอชีวนะ ตัวอย่างหนึ่งของการคัดเลือกโดยธรรมชาติผ่านทางวิศวกรรมระบบนิเวศเกิดขึ้นในรังของแมลงสังคม เช่นมด ผึ้ง ตัวต่อ และปลวก มีภาวะธำรงดุล (homeostasis) (โฮมีโอสเตซิส, การที่ร่างกายสามารถรักษาภาวะในร่างกายให้คงที่ เช่น อุณหภูมิ ความดันเลือด ความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ เป็นต้น โดยไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม เช่น ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ความเป็นกรดเป็นด่าง ความเข้มข้นของสารต่าง ๆ ภายใน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] หรือ ภาวะไม่ธำรงดุล (homeorhesis) ฉุกเฉินในโครงสร้างของรังที่ควบคุม เก็บรักษาและปกป้องสรีรวิทยาของอาณานิคมทั้งหมด ตัวอย่างเช่นปลวกจะปั้นมูลดินเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในให้คงที่ผ่านการออกแบบปล่องไฟปรับอากาศ โครงสร้างของตัวรังเองอาจอยู่ภายใต้แรงของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ นอกจากนี้รังยังสามารถอยู่รอดได้หลาย ๆ รุ่นต่อมาเพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดทั้งวัสดุทางพันธุกรรมและสภาวะที่เหมาะสมเดิมที่ถูกสร้างขึ้นก่อนเวลาของพวกมัน ===ชีวนิเวศ=== ชีวนิเวศ (biomes) เป็นหน่วยขนาดใหญ่กว่าขององค์กรที่เป็นหมวดหมู่ของภูมิภาคของระบบนิเวศของโลก ส่วนใหญ่เป็นไปตามโครงสร้างและองค์ประกอบของพืช มีหลายวิธีการที่แตกต่างกันในการกำหนดขอบเขตของทวีปของชีวนิเวศที่ครอบงำโดยประเภทการทำงานที่แตกต่างกันของชุมชนพืชที่ถูกจำกัดในการกระจายโดยสภาพภูมิอากาศ ฝน หิมะ ลูกเห็บ อากาศและตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ชีวนิเวศประกอบด้วย ป่าฝนเขตร้อน ป่าใบกว้างพอสมควรและป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าเขตหนาว ทุนดรา ทะเลทรายเขตร้อน และทะเลทรายขั้วโลก นักวิจัยอื่น ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้จำแนกชีวนิเวศอื่น ๆ เช่นมนุษย์และจุลชีวนิเวศมหาสมุทร กับจุลินทรีย์ ร่างกายมนุษย์เป็นที่อยู่อาศัยและภูมิทัศน์ จุลชีวนิเวศถูกค้นพบส่วนใหญ่ผ่านความก้าวหน้าในอณูพันธุศาสตร์ซึ่งได้เปิดเผยความสมบูรณ์ที่ซ่อนอยู่ในความหลากหลายของจุลินทรีย์ในโลก ชีวนิเวศมหาสมุทรมีบทบาทสำคัญในชีวธรณีเคมีในนิเวศวิทยาของมหาสมุทรของโลก === ชีวมณฑล === ขนาดที่ใหญ่ที่สุดขององค์กรในเชิงนิเวศคือชีวมณฑล ซึ่งเป็นผลรวมของระบบนิเวศในโลก ความสัมพันธ์เชิงนิเวศน์จะควบคุมการไหลของพลังงาน สารอาหาร และสภาพภูมิอากาศตลอดทางขึ้นไปจนถึงขนาดของโลก ตัวอย่างเช่น ประวัติศาสตร์แบบไดนามิกของ CO2 ในบรรยากาศของโลกและองค์ประกอบ O2 ได้รับผลกระทบจากการไหลแบบ biogenic ของก๊าซที่มาจากการหายใจและการสังเคราะห์แสง ที่มีระดับของก๊าซที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลาเมื่อเทียบกับนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการของพืชและสัตว์ ทฤษฎีทางนิเวศวิทยายังถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์การกำกับดูแลที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองในระดับของโลก ตัวอย่างเช่นสมมติฐานของ Gaia เป็นตัวอย่างของความเป็นองค์รวมที่ถูกนำไปใช้ในทางทฤษฎีนิเวศวิทยา สมมติฐานของ Gaia ระบุว่ามีฟีดแบ็คลูปเกิดขึ้นจากการเผาผลาญอาหารของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยรักษาอุณหภูมิแกนของโลกและสภาพบรรยากาศภายในช่วงแคบ ๆ ของความอดทนที่ควบคุมด้วยตัวเอง ===นิเวศวิทยาประชากร=== นิเวศวิทยาประชากรจะศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประชากรของสายพันธุ์และวิธีการที่ประชากรเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่กว้างขึ้น ประชากรจะประกอบด้วยหลายตัวตนชนิดเดียวกันที่มีชีวิตอยู่ มีปฏิสัมพันธ์กัน และอพยพสู่สภาวะที่เหมาะสมและที่อยู่อาศัยเดียวกัน กฎหลักของนิเวศวิทยาประชากรเป็น'รูปแบบการเจริญเติบโตของมัลธัส' ซึ่งระบุว่า "ประชากรหนึ่งจะเติบโต (หรือลดลง) อย่างฮวบฮาบตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมที่ทุกคนในประชากรนั้นประสบอยู่คงที่" โมเดลอย่างง่ายของประชากรมักจะเริ่มต้นด้วยสี่ตัวแปร: การตาย การเกิด การอพยพเข้าและการผู้อพยพออก ตัวอย่างหนึ่งของโมเดลประชากรเบื้องต้นจะอธิบายถึงประชากรแบบปิด เช่นบนเกาะเกาะหนึ่งที่การอพยพเข้าและการอพยพออกไม่ได้เกิดขึ้น สมมติฐานมีการประเมินโดยอ้างอิงถึงสมมติฐานเปล่าที่ระบุว่ากระบวนการแบบสุ่มจะสร้างข้อมูลแบบสังเกต ในโมเดลเกาะเหล่านี้อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรได้รับการอธิบายว่าเป็น: \frac{\operatorname{d}N}{\operatorname{d}T} = B - D = bN - dN = (b - d)N = rN, โดยที่ "N" เป็นจำนวนของตัวตนในประชากร "B" คือจำนวนการเกิด "D" เป็นจำนวนการตาย "b" และ "d" เป็นอัตราต่อหัวของการเกิดและการตายตามลำดับ และ "r" เป็นอัตราต่อหัวของการเปลี่ยนแปลงประชากร สูตรนี้ระบุว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงในขนาดประชากร (dN/dT) จะเท่ากับ การเกิดลบด้วยการตาย (B – D) โดยใช้เทคนิคการสร้างแบบจำลองเหล่านี้ หลักการของการเติบโตของประชากรของ Malthus ต่อมาก็ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า'สมการโลจิสติก': \frac{dN}{dT} = aN\left(1-\frac{N}{K}\right), โดยที่ "N" คือจำนวนของตัวตนที่วัดโดยความหนาแน่นมวลชีวภาพ a เป็นอัตราสูงสุดต่อหัวของการเปลี่ยนแปลง และ "K" เป็นปริมาณสูงสุดของประชากรที่จะมีได้ (carrying capacity) สูตรนี้ระบุว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงในขนาดประชากร (dN/dT) จะเท่ากับการเจริญเติบโต (aN) ที่ถูกจำกัด ด้วยปริมาณสูงสุดของประชากรที่จะมีได้ (1 – N/K) นิเวศวิทยาประชากรสร้างอยู่บนแบบจำลองเบื้องต้นเหล่านี้เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นในกระบวนการทางด้านประชากรศาสตร์ในการศึกษาเกี่ยวกับประชากรที่แท้จริง ประเภทที่ใช้กันทั่วไปของข้อมูลจะรวมถึงประวัติชีวิต, ความสามารถมีบุตร และการรอดชีวิต เหล่านี้จะได้รับการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์เช่นพีชคณิตเมทริกซ์ ข้อมูลจะถูกใช้สำหรับการจัดการประชากรสัตว์ป่าและการจัดทำโควต้าการเก็บเกี่ยว ในหลายกรณีที่โมเดลพื้นฐานมีไม่เพียงพอ นักนิเวศวิทยาอาจนำหลายวิธีการทางสถิติที่แตกต่างกันมาใช้เช่น'เกณฑ์ข้อมูลแบบ Akaike' หรือใช้โมเดลที่สามารถกลายเป็นความซับซ้อนทางคณิตศาสตร์เนื่องจาก "สมมติฐานการแข่งขันหลายอย่างมีการเผชิญหน้าพร้อมกับข้อมูล" ====Metapopulations และการย้ายถิ่น==== แนวคิดของ metapopulations ถูกกำหนดในปี 1969 ว่าเป็น "ประชากรย่อยของประชากรใหญ่ซึ่งสูญพันธุ์ไปในระดับท้องถิ่นและกลับมาตั้งชุมชนใหม่" นิเวศวิทยาแบบ Metapopulation เป็นอีกหนึ่งวิธีการทางสถิติอีกวิธีการหนึ่งที่มักจะถูกใช้ในการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ โมเดลแบบ Metapopulation ช่วยทำความซับซ้อนของภูมิทัศน์ให้ง่ายขึ้นโดยทำให้เป็นตัวเชื่อม (patch) ของระดับของคุณภาพที่แตกต่างกัน และหลาย metapopulations จะมีการเชื่อมโยงเข้าหากันโดยพฤติกรรมการอพยพย้ายถิ่นของสิ่งมีชีวิต การย้ายถิ่นของสัตว์มีความหมายแตกต่างจากการเคลื่อนย้ายชนิดอื่น ๆ เพราะมันเกี่ยวข้องกับการจากไปตามฤดูกาลจากที่อยู่อาศัยและการกลับมาของแต่ละตัวตน การย้ายถิ่นยังเป็นปรากฏการณ์ระดับประชากรอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับเส้นทางการอพยพที่ตามด้วยพืชอย่างที่พวกมันครอบครองสภาพแวดล้อมหลังยุคน้ำแข็งทางภาคเหนือ นักนิเวศวิทยาพืชใช้บันทึกละอองเกสรดอกไม้ที่สะสมและแบ่งเป็นชั้น ๆ ในพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อสร้างขึ้นใหม่ของระยะเวลาของการโยกย้ายและการกระจายของพืชที่สัมพันธ์กับภูมิอากาศทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เส้นทางการอพยพเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการขยายตัวของการกระจายของประชากร (range) เมื่อประชากรพืชขยายจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง มีการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ขนาดใหญ่กว่าของการเคลื่อนย้าย เช่นการเดินทาง, การจับเหยื่อ พฤติกรรมเชิงดินแดน การชะงักงันและการกระจายของประชากร การกระจายมักจะแตกต่างจากการย้ายถิ่นเพราะมันเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายในทางเดียวอย่างถาวรของแต่ละตัวตนจากประชากรถิ่นกำเนิดของพวกมันเข้าไปในอีกประชากรหนึ่ง ในความหมายของ metapopulation ผู้อพยพถูกจัดว่าเป็นผู้อพยพออก (เมื่อพวกมันออกจากภูมิภาค) หรือผู้อพยพเข้า (เมื่อพวกมันเข้าสู่ภูมิภาค) และสถานที่ถูกจัดว่าแหล่งออก (source) หรือแหล่งเข้า (sink) สถานที่ (site) เป็นคำทั่วไปที่หมายถึงสถานที่ที่นักนิเวศวิทยาทำการสุ่มประชากร ตัวอย่างเช่นบ่อน้ำหรือกำหนดพื้นที่การสุ่มอยู่ในป่า ตัวเชื่อมแหล่งออก (source patch) เป็นสถานที่ผลิตที่สร้างอุปทานตามฤดูกาลของหนุ่มสาวที่จะอพยพไปยังสถานที่เชื่อมต่ออื่น ๆ ตัวเชื่อมแหล่งเข้า (sinkpatch) เป็นสถานที่ที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตเพียงแต่รับผู้อพยพเข้าเท่านั้น นั่นก็คิอประชากรในสถานที่นั้นจะหายไปเว้นแต่ว่ามีความช่วยเหลือตัวเชื่อมแหล่งจ่ายที่อยู่ติดกันหรือสภาพแวดล้อมที่กลายเป็นที่พอใจมากขึ้น โมเดลของ Metapopulation ตรวจสอบไดนามิคส์ของการเชื่อมโยงตลอดเวลาเพื่อตอบคำถามที่อาจมีเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเชิงพื้นที่และเชิงประชากร นิเวศวิทยาของ metapopulations เป็นกระบวนการแบบไดนามิกอย่างหนึ่งของการสูญพันธ์และการล่าอาณานิคม ตัวเชื่อมขนาดเล็กที่มีคุณภาพต่ำ (เช่นแหล่งรับ) จะมีการบำรุงรักษาหรือการช่วยเหลือจากการไหลเข้าของผู้อพยพใหม่ตามฤดูกาล โครงสร้าง metapopulation แบบไดนามิกมีการวิวัฒนาการปีต่อปีที่บางตัวเชื่อมเป็นแหล่งเข้าในปีที่แห้งแล้งและเป็นแหล่งออกที่เมื่อเงื่อนไขเป็นที่พอใจมากขึ้น นักนิเวศวิทยาใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ผสมกับการศึกษาภาคสนามเพื่ออธิบายโครงสร้างของ metapopulation === นิเวศวิทยาชุมชน === นิเวศวิทยาชุมชนเป็นการศึกษาของการมีปฏิสัมพันธ์ในหมู่สายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน การวิจัยในระบบนิเวศของชุมชนอาจจะวัดการผลิตหลักในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สัมพันธ์กับอัตราการสลายตัวและการบริโภค เหล่านี้ต้องใช้ความเข้าใจด้านการเชื่อมต่อของชุมชนระหว่างพืชด้วยกัน (เช่นตัวผลิตหลัก) และตัวย่อยสลาย (เช่นเชื้อราและแบคทีเรีย) หรือการวิเคราะห์ไดนามิคระหว่างผู้ล่าและเหยื่อที่มีผลกับชีวมวลครึ่งบกครึ่งน้ำ เครือข่ายอาหารและระดับโภชนาการเป็นโมเดลที่เป็นแนวคิดสองอย่างที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการอธิบายความเชื่อมโยงท่ามกลางหลากสายพันธุ์ ===นิเวศวิทยาระบบนิเวศ=== ระบบนิเวศที่เป็นที่อยู่อาศัยภายในชีวนิเวศ (biomes) ที่ก่อตัวเป็นระบบการตอบสนองแบบบูรณาการทั้งหมดและแบบไดนามิกที่มีทั้งความซับซ้อนทางกายภาพและทางชีวภาพ แนวคิดพื้นฐานที่สามารถสืบย้อนไปยังปี 1864 ในงานตีพิมพ์ของ George Perkins Marsh ("มนุษย์และธรรมชาติ") ภายในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตถูกเชื่อมโยงกับองค์ประกอบทางกายภาพและทางชีวภาพของสภาพแวดล้อมของพวกมันเข้ากับสิ่งที่พวกมันถูกปรับแต่งขึ้นมา ระบบนิเวศเป็นระบบการปรับแต่งที่ซับซ้อนที่ซึ่งปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการชีวิตก่อตัวเป็นรูปแบบที่มีการจัดระเบียบตัวเองตลอดช่วงเวลาและพื้นที่ที่แตกต่าง ระบบนิเวศมีการแบ่งประเภทกว้าง ๆ เป็น บก น้ำจืด บรรยากาศหรือทะเล ความแตกต่างจะเกิดจากธรรมชาติของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่เหมือนใครปั้นแต่งความหลากหลายทางชีวภาพในแต่ละประเภท ส่วนเพิ่มเติมที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้กับนิเวศวิทยาระบบนิเวศเป็นระบบนิเวศเทคนิค (technoecosystems) ซึ่งได้รับผลกระทบหรือเป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ ====เครือข่ายอาหาร==== เครือข่ายอาหารเป็นเครือข่ายในระบบนิเวศตามแบบฉบับ พืชจะจับพลังงานแสงอาทิตย์และใช้มันในการสังเคราะห์น้ำตาลธรรมดาในระหว่างการสังเคราะห์แสง ขณะที่พืชเจริญเติบโต พวกมันสะสมสารอาหารและถูกกินโดยสัตว์กินพืชแบบและเล็ม และพลังงานจะถูกโอนผ่านห่วงโซ่ของสิ่งมีชีวิตจากการบริโภค เส้นทางการกินอาหารเชิงเส้นง่าย ๆ จะย้ายจากสายพันธุ์อาหารขั้นพื้นฐานไปยังผู้กินอาหารระดับสูงสุดเรียกว่าห่วงโซ่อาหาร รูปแบบการเชื่อมต่อกันขนาดใหญ่ของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศชุมชนจะสร้างเครือข่ายอาหารที่ซับซ้อน เครือข่ายอาหารจะเป็นประเภทของแผนที่แนวคิดหรืออุปกรณ์แก้ปัญหาที่ใช้ในการแสดงและการศึกษาทางเดินของพลังงานและการไหลของวัสดุ เครือข่ายอาหารมักจะถูกจำกัดในโลกแห่งความจริง การวัดเชิงประจักษ์สมบูรณ์โดยทั่วไปถูกจำกัดสำหรับที่อยู่อาศัยเฉพาะอันใดอันหนึ่ง เช่นถ้ำหรือบ่อน้ำ และหลักการทั้งหลายที่รวบรวมได้จากการศึกษาโลกขนาดเล็กของเครือข่ายอาหารจะถูกประเมินไปใช้กับระบบขนาดที่ใหญ่กว่า ความสัมพันธ์ของการให้อาหารต้องการการตรวจสอบอย่างกว้างขวางในเนื้อหาทางเดินอาหารของสิ่งมีชีวิต ที่อาจเป็นเรื่องยากที่จะถอดรหัส หรือไอโซโทปเสถียรสามารถใช้ในการติดตามการไหลของสารอาหารและพลังงานผ่านทางเครือข่ายอาหาร แม้จะมีข้อจำกัดเหล่านี้ เครือข่ายอาหารยังคงเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการทำความเข้าใจระบบนิเวศชุมชน. เครือข่ายอาหารแสดงหลักการของการเกิดระบบนิเวศผ่านทางธรรมชาติของความสัมพันธ์ด้านโภชนาการ นั่นคือบางสายพันธ์มีการเชื่อมโยงหลายอย่างของการหาอาหารที่อ่อนแอ (เช่นคนหรือสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (omnivores) ในขณะที่บางสายพันธ์มีความเชี่ยวชาญมากขึ้นด้วยการเชื่อมโยงไมกี่อย่างของการหาอาหารที่แข็งแกร่งกว่า (เช่นนักล่าหลัก) การศึกษาเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์จะระบุรูปแบบฉุกเฉินแบบไม่สุ่มของการเชื่อมโยงที่อ่อนแอหลายอย่างและที่แข็งแกร่งไม่กี่อย่างที่อธิบายถึงวิธีการของชุมชนแบบนิเวศยังคงมีเสถียรภาพตลอดช่วงเวลาได้อย่างไร เครือข่ายอาหารจะประกอบด้วยกลุ่มย่อยที่สมาชิกในชุมชนหนึ่งมีการเชื่อมโยงโดยการมีปฏิสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง และปฏิสัมพันธ์ที่อ่อนแอจะเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มย่อยเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางเครือข่ายอาหาร เส้นสายหรือความสัมพันธ์จะถูกวาดขึ้นทีละขั้นตอนจนกระทั่งเครือข่ายของชีวิตจะถูกแสดงออกมา ==== ระดับชั้นของโภชนาการ ==== ระดับชั้นของโภชนาการ (trophic level) (มาจากภาษากรีก "troph" τροφή trophē หมายถึง "อาหาร" หรือ "การให้อาหาร") เป็น "กลุ่มหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับส่วนใหญ่ของพลังงานของมันจากระดับที่อยู่ติดกันใกล้กับแหล่งอชีวนะ" โยงใยของเครือข่ายอาหารส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับอาหารหรือ trophism ในหมู่สายพันธ์ทั้งหลาย ความหลากหลายทางชีวภาพภายในระบบนิเวศสามารถจัดรูปขึ้นเป็นปิรามิดโภชนาการ ในที่ซึ่งมิติในแนวตั้งแสดงถึงความสัมพันธ์ของอาหารที่เป็นต่อไปจะถูกลบออกจากฐานของห่วงโซ่อาหารขึ้นไปสู่นักล่าบนสุดและมิติในแนวนอนหมายถึงความอุดมสมบูรณ์หรือชีวมวลในแต่ละระดับ เมื่อความอุดมสมบูรณ์หรือมวลชีวภาพสัมพันธ์ของแต่ละสายพันธุ์ถูกจัดเรียงให้เป็นระดับชั้นของโภชนาการตามลำดับ พวกมันจะจัดเรียงโดยธรรมชาติให้เป็น 'ปิรามิดของจำนวน' สายพันธุ์ทั้งหลายมีการแบ่งประเภทกว้าง ๆ เป็น autotrophs (หรือผู้ผลิตหลัก) heterotrophs (หรือผู้บริโภค) และ detritivores (หรือผู้ย่อยสลาย) autotrophs เป็นสิ่งมีชีวิตที่ผลิตอาหารให้ตัวของมันเอง (การผลิตมากกว่าการหายใจ) โดยการสังเคราะห์แสงหรือสงเคราะห์เคมี (photosynthesis or chemosynthesis) Heterotrophs เป็นสิ่งมีชีวิตที่จะต้องกินผู้อื่นเพื่อเสริมสร้างและพลังงาน (หายใจเกินกว่าการผลิต) Heterotrophs สามารถแบ่งย่อยออกไปเป็นกลุ่มการทำงานที่แตกต่างกันได้แก่ผู้บริโภคปฐมภูมิ (สัตว์กินพืชอย่างเดียว (herbivore)) ผู้บริโภคทุติยภูมิ (นักล่ากินเนื้อเป็นอาหารที่กินเฉพาะสัตว์กินพืช (carnivorous)) และผู้บริโภคในตติยภูมิ (นักล่าที่กินทั้ง herbivore และ carnivorous) สัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (omnivore) ไม่เข้ากันได้ดีกับประเภทการทำงานข้างบนเพราะพวกมันกินเนื้อเยื่อของทั้งพืชและสัตว์ มีคำแนะนำว่า omnivores มีอิทธิพลด้านการทำงานมากกว่าพวกนักล่าเพราะว่าเมื่อเทียบกับสัตว์กินพืชพวกมันจะค่อนข้างไม่มีประสิทธิภาพในการแทะเล็มพืช ระดับชั้นโภชนาการเป็นส่วนหนึ่งของมุมมองของระบบนิเวศแบบองค์รวมหรือซับซ้อน ในแต่ละระดับชั้นจะประกอบด้วยสายพันธุ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันรวมกลุ่มกันเพราะพวกมันแชร์ฟังก์ชันของระบบนิเวศที่ใช้ร่วมกันและให้มุมมองของระบบแบบเห็นได้ด้วยตาเปล่า (macroscopic view of the system) ในขณะที่ความคิดของระดับโภชนาการให้ข้อมูลเชิงลึกของการไหลของพลังงานและการควบคุมจากบนลงล่างภายในเครือข่ายอาหาร มันถูกปั่นป่วนจริงโดยความชุกของ omnivores ในระบบนิเวศ สิ่งนี้ได้นำนักนิเวศวิทยาบางคนไปเพื่อ "ย้ำว่าความคิดที่ว่าสายพันธุ์ต่าง ๆ จะรวมกันอย่างชัดเจนเป็นกลุ่ม ๆ ระดับโภชนาการที่เป็นเอกพันธ์เป็นแค่นิยาย" อย่างไรก็ตามการศึกษาล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่าระดับโภชนาการที่แท้จริงมีอยู่จริง แต่ "เหนือระดับชั้นโภชนาการของสัตว์กินพืช เครือข่ายอาหารถูกแยกเป็นลักษณะที่ดีขึ้นเป็นเครือข่ายที่เกี่ยวพันกันของ omnivores ====สายพันธุ์เสาหลัก==== สายพันธุ์เสาหลักเป็นสายพันธ์หนึ่งที่เชื่อมโยงกับสายพันธุ์อื่น ๆ จำนวนมากแต่ไม่เป็นสัดส่วนกันในเครือข่ายอาหาร สายพันธุ์เสาหลักมีระดับของชีวมวลที่ต่ำกว่ามากในพีระมิดโภชนาการเมื่อเทียบกับความสำคัญของบทบาทของพวกมัน ความสำคัญของสายพันธุ์เสาหลักมีต่อเครือข่ายอาหารก็คือมันจะรักษาองค์กรและโครงสร้างของชุมชนทั้งหมดให้คงอยู่ การสูญเสียของสายพันธ์เสาหลักหนึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเนื่องที่สามารถเปลี่ยนพลวัตด้านโภชนาการรวมทั้งการโยงใยของเครื่อข่ายอาหารอื่น ๆ และอาจทำให้เกิดการสูญพันธ์ของสายพันธุ์อื่น ๆ  นากทะเล (Enhydra lutris) จะถูกอ้างถึงกันทั่วไปว่าเป็นตัวอย่างของสายพันธุ์เสาหลักเพราะพวกมันจำกัดความหนาแน่นของเม่นทะเลที่กินสาหร่ายทะเล ถ้านากทะเลถูกลบออกจากระบบ เม่นทะเลจะแทะเล็มจนแปลงสาหร่ายทะเลหายไปและนี่จะมีผลอย่างมากต่อโครงสร้างของชุมชน อย่างไรก็ตาม การล่าของนากทะเลถูกพิจารณาว่าได้นำโดยอ้อมไปสู่การสูญพันธ์ของวัวทะเลของ Steller (Hydrodamalis gigas) ในขณะที่แนวคิดสายพันธุ์เสาหลักได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ มันได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามันถูกกำหนดไว้ไม่ดีจากมุมมองการดำเนินงาน มันเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบด้วยการทดลองว่าสายพันธุ์อะไรที่อาจจะมีบทบาทเป็นเสาหลักในแต่ละระบบนิเวศ นอกจากนั้น ทฤษฎีเครือข่ายอาหารแนะนำว่าสายพันธุ์เสาหลักอาจจะไม่เป็นสายพันธ์ธรรมดา ดังนั้นมันจึงไม่เป็นที่ชัดเจนว่ารูปแบบสายพันธุ์เสาหลักจะสามารถถูกนำมาใช้โดยทั่วไปได้อย่างไร == ความซับซ้อนของระบบนิเวศ == ความซับซ้อนมีการเข้าใจว่าเป็นความพยายามในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่จำเป็นในการปะติดปะต่อชิ้นส่วนปฏิสัมพันธ์มากมายเกินความจุของหน่วยความจำซ้ำของจิตใจมนุษย์ รูปแบบทั่วโลกของความหลากหลายทางชีวภาพมีความซับซ้อน ความซับซ้อนทางชีวภาพนี้เกิดขึ้นจากอิทธิพลซึ่งกันและกันในหมู่กระบวนการทางนิเวศวิทยาที่ใช้งานและสร้างอิทธิพลต่อรูปแบบในระดับที่แตกต่างกันที่เกลี่ยเข้าหากัน เช่นพื้นที่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงหรือ ecotones ที่กระจายภูมิทัศน์ ความซับซ้อนเกิดจากอิทธิพลซึ่งกันและกันในหมู่ระดับขององค์กรทางชีวภาพเมื่อพลังงานและสสารถูกรวมเข้าเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าที่ซ้อนทับลงบนชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่า "สิ่งที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด (wholes) ในระดับหนึ่งจะกลายเป็นหลาย ๆ ชิ้นส่วนของอีกระดับหนึ่งที่สูงกว่า" รูปแบบขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องอธิบายปรากฏการณ์ของขนาดที่ใหญ่กว่า เพียงแต่แสดงเอาไว้ในสำนวน (ประกาศเกียรติคุณโดยอริสโตเติล) 'ผลรวมใหญ่กว่าชิ้นส่วน' "ความซับซ้อนในระบบนิเวศเป็นอย่างน้อยหกชนิดที่แตกต่าง: พื้นที่ ชั่วคราว โครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรม และรูปทรงเรขาคณิต" จากหลักการเหล่านี้ นักนิเวศวิทยาได้ระบุปรากฏการณ์การอุบัติ (emergence) และการจัดระเบียบตัวเอง (self-organizing) ที่ทำงานในระดับที่แตกต่างกันทางด้านสิ่งแวดล้อมของอิทธิพล ช่วงตั้งแต่ระดับโมเลกุลจนถึงระดับโลก และสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีคำอธิบายที่แตกต่างกันในแต่ละระดับบูรณาการ ความซับซ้อนของระบบนิเวศจะเกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นแบบไดนามิกของระบบนิเวศที่เปลี่ยนไปยังสภาวะนิ่งที่ขยับหลายชั้น (multiple shifting steady-states) ที่กำกับโดยความผันผวนแบบสุ่มของประวัติศาสตร์ การศึกษาระบบนิเวศระยะยาวได้ให้บันทึกการติดตามที่สำคัญที่จะเข้าใจได้ดีขึ้นในความซับซ้อนและความยืดหยุ่นของระบบนิเวศตลอดขนาดพื้นที่ชั่วคราวที่ยาวกว่าและกว้างกว่า การศึกษาเหล่านี้จะถูกจัดการโดย'เครือข่ายนิเวศวิทยาระยะยาวนานาชาติ' (LTER) การทดลองที่ยาวที่สุดในการดำรงอยู่เป็น Park Grass Experiment ซึ่งเริ่มต้นในปี 1856 อีกตัวอย่างหนึ่งคือ'การศึกษาห้วยฮับบาร์ด'ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1960 ===ความเป็นองค์รวม=== ความเป็นองค์รวมยังคงเป็นส่วนสำคัญของพื้นฐานทางทฤษฎีในการศึกษาระบบนิเวศร่วมสมัย ความเป็นองค์รวมบอกถึงองค์กรทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่จัดการตัวเองเป็นชั้น ๆ ของระบบอุบัติการณ์ทั้งมวลที่ทำงานตามคุณสมบัติที่ไม่สามารถลดลงได้ (nonreducible) ซึ่งหมายความว่ารูปแบบที่สูงกว่าของระบบการทำงานทั้งมวล เช่นระบบนิเวศหนึ่ง ไม่สามารถมีการคาดการณ์หรือทำความเข้าใจโดยการนำชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมกันอย่างเรียบง่าย "คุณสมบัติใหม่จะเกิดขึ้นเพราะส่วนประกอบต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์กัน ไม่ได้เป็นเพราะธรรมชาติพื้นฐานของส่วนประกอบเหล่านั้นถูกเปลี่ยนแปลง" การศึกษาระบบนิเวศมีความจำเป็นต้องเป็นแบบองค์รวมที่ตรงข้ามกับแบบ reductionistic การเป็นองค์รวมมีสามความหมายหรือการใช้งานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุด้วยระบบนิเวศ. 1) ความซับซ้อนของกลไกของระบบนิเวศ 2) รายละเอียดในทางปฏิบัติของรูปแบบในความหมายของ reductionist เชิงปริมาณที่ความสัมพันธ์กลางอาจมีการระบุแต่ไม่มีอะไรเป็นที่เข้าใจได้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยปราศจากการอ้างอิงถึงระบบทั้งมวล ซึ่งนำไปสู่ 3) ลำดับชั้น metaphysics ที่ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของระบบขนาดที่ใหญ่กว่ามีความเข้าใจโดยปราศจากการอ้างอิงไปยังส่วนที่มีขนาดเล็กกว่า การเป็นองค์รวมทางวิทยาศาสตร์แตกต่างจากเวทมนตร์ (mysticism)ที่ได้จัดสรรคำศัพท์เดียวกัน ตัวอย่างหนึ่งของการเป็นองค์รวมแบบ metaphysics จะถูกระบุในแนวโน้มของความหนาด้านนอกที่เพิ่มขึ้นในเปลือกของสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เหตุผลในการเพิ่มความหนาสามารถเข้าใจได้ผ่านการอ้างอิงถึงหลักการของการคัดเลือกโดยธรรมชาติผ่านการเป็นนักล่าโดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงหรือเข้าใจคุณสมบัติชีวโมเลกุลของเปลือกหอยภายนอก ==ความสัมพันธ์กับวิวัฒนาการ== นิเวศวิทยาและวิวัฒนาการถือว่าเป็นพื่น้องกันของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ประวัติชีวิต การพัฒนา การปรับตัว ประชากร และมรดก เป็นตัวอย่างของแนวคิดที่ร้อยเข้าด้วยกันให้เป็นทฤษฎีทางนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ทางพฤติกรรมและทางพันธุกรรมเป็นตัวอย่างที่สามารถสร้างเป็นแผนที่ของต้นไม้แห่งวิวัฒนาการเพื่อศึกษาพัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ของสายพันธ์ในส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานและบทบาทของพวกมันในสถานการณ์ของระบบนิเวศที่แตกต่างกัน ในกรอบงานนี้ เครื่องมือการวิเคราะห์ของนักนิเวศวิทยาและนักวิวัฒนาการมีการทับซ้อนกันเมื่อพวกเขาจัดองค์กร จำแนกและตรวจสอบชีวิตผ่านหลักการระบบทั่วไปเช่น phylogenetics หรือระบบของอนุกรมวิธานแบบ Linnaean(Linnaean system of taxonomy) สองสาขานี้มักจะปรากฏอยู่ด้วยกัน เช่นในชื่อเรื่องของวารสาร "แนวโน้มในนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการ" ไม่มีขอบเขตที่คมชัดที่แบ่งแยกนิเวศวิทยาออกจากวิวัฒนาการและพวกมันแตกต่างกันมากขึ้นในพื้นที่ของพวกมันมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ ทั้งสองสาขาวิชาได้ค้นพบและอธิบายการอุบัติขึ้นและคุณสมบัติและกระบวนการที่ไม่เหมือนใครในการดำเนินงานทั่วขนาดพื้นที่หรือชั่วคราวที่แตกต่างกันขององค์กร ในขณะที่เขตแดนระหว่างนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการยังไม่ชัดเจน นิเวศวิทยาจะศึกษาปัจจัยแบบอชีวนะและชีวนะที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการวิวัฒนาการ และวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วอาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาทางนิเวศวิทยาที่สั้นที่สุดเท่ากับคนรุ่นหนึ่ง ===นิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรม=== สิ่งมีชีวิตทั้งหมดสามารถแสดงพฤติกรรมของตัวเอง แม้กระทั่งพืชยังแสดงพฤติกรรมที่ซับซ้อนรวมถึงหน่วยความจำและการสื่อสาร นิเวศวิทยาพฤติกรรมเป็นการศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมของมันและผลกระทบทางนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการของมัน Ethology คือการศึกษาของการเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมในสัตว์ที่สังเกตได้ ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจสอบของสเปิร์มที่เคลื่อนที่ได้ของพืช แพลงก์ตอนพืชที่เคลื่อนที่ได้ แพลงก์ตอนสัตว์ที่กำลังว่ายน้ำไปหาไข่ตัวเมีย การเพาะปลูกเชื้อราโดยตัวด้วง การเต้นรำเพื่อผสมพันธุ์ของซาลาแมนเดอร์ หรือการชุมนุมทางสังคมของอะมีบา การปรับตัวเป็นแนวคิดกลางรวมกันในนิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรม พฤติกรรมสามารถบันทึกเป็นลักษณะพันธุกรรมและถูกถ่ายทอดไปยังลูกหลานในลักษณะเดียวกันกับที่ตาและสีผมสามารถทำได้ พฤติกรรมสามารถวิวัฒน์โดยใช้วิธีการคัดเลือกโดยธรรมชาติแบบลักษณะพันธุกรรมการปรับตัวที่ส่งต่อความสามารถในการทำงานที่เพิ่มความเหมาะสมในการสืบสายพันธุ์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักล่าและเหยื่อเป็นแนวคิดเบื้องต้นให้กับการศึกษาด้านเครือข่ายอาหารเช่นเดียวกับนิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรม สายพันธ์ที่เป็นเหยื่อสามารถแสดงการปรับพฤติกรรมในชนิดที่แตกต่างกันกับนักล่า เช่นการหลีกเลี่ยง การหนีหรือการป้องกัน สายพันธ์เหยื่อหลายชนิดจะต้องเผชิญกับนักล่าที่หลากหลายที่มีระดับของอันตรายที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของพวกมันและเผชิญกับภัยคุกคามของนักล่า สิ่งมีชีวิตที่จะต้องปรับสมดุลด้านงบประมาณพลังงานของพวกมันขณะที่พวกมันจะเข้าลงทุนในแง่มุมที่แตกต่างกันของประวัติศาสตร์ชีวิตของพวกมัน เช่นการเจริญเติบโต การหาอาหาร การผสมพันธุ์ การเข้าสังคม หรือการดัดแปลงที่อยู่อาศัยของพวกมัน สมมติฐานที่ปรากฏในนิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรมโดยทั่วไปจะมีพื้นฐานจากหลักการการปรับตัวของการอนุรักษ์, การใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น "สมมติฐานการหลีกเลี่ยงนักล่าที่ไวต่อภัยคุกคามจะคาดการณ์ว่าเหยื่อควรประเมินระดับของภัยคุกคามที่เกิดจากนักล่าที่แตกต่างกันและจับคู่ให้ตรงกับพฤติกรรมของพวกนักล่าตามระดับของความเสี่ยงในขณะนั้น" หรือ "ระยะหนี (escape distance หรือ flight initiation distance) ที่เหมาะสมจะเกิดขึ้นเมื่อความแข็งแกร่งของร่างกายหลังจากประสบกับนักล่าที่คาดไว้จะส่งสู่ระดับสูงสุด ซึ่งขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งแรกเริ่มของเหยื่อ ประโยชน์ที่จะได้รับโดยการไม่หนี ค่าใช้จ่ายในการหลบหนีในแง่ของพลังงาน และการสูญเสียความแข็งแกร่งที่คาดไว้เนื่องจากความเสี่ยงจากการล่า" การแสดงและการวางท่าทางเพศที่ประณีตจะพบในนิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรมของสัตว์ เช่น"นกแห่งสวรรค์"ร้องเพลงและแสดงเครื่องประดับที่ประณีตระหว่างการเกี้ยวพาราสี การแสดงเหล่านี้ตอบสนองวัตถุประสงค์สองอย่างได้แก่การส่งสัญญาณของตัวตนที่มีสุขภาพดีหรือมีการปรับตัวที่ดีและการมียีนที่พึงประสงค์ การแสดงจะถูกขับเคลื่อนด้วยการเลือกทางเพศสัมพันธ์เพื่อเป็นการโฆษณาถึงคุณภาพของลักษณะทางกรรมพันธ์ให้กับเหล่าคู่ครอง ===นิเวศวิทยากระบวนการการรับรู้=== นิเวศวิทยากระบวนการการรับรู้ (Cognitive ecology) รวบรวมทฤษฎีและข้อสังเกตจากนิเวศวิทยาเชิงวิวัฒนาการและประสาทชีววิทยา วิทยาศาสตร์กระบวนการการรับรู้ขั้นต้น เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบที่การปฏิสัมพันธ์ของสัตว์กับถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันที่มีกับระบบการรับรู้ของพวกมันและวิธีการที่ระบบเหล่านั้นจะจำกัดพฤติกรรมภายในกรอบนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการ "อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้วิทยาศาสตร์กระบวนการการรับรู้ยังไม่ได้ให้ความสนใจเพียงพอที่จะเป็นจริงพื้นฐานที่ว่าลักษณะพันธุกรรมกระบวนการรับรู้ได้วิวัฒน์ภายใต้สภาวะตามธรรมชาติที่เจาะจง ด้วยการพิจารณาของความกดดันตัวเลือกเกี่ยวกับการรับรู้ นิเวศวิทยากระบวนการการรับรู้สามารถนำไปอุดหนุนการเชื่อมโยงทางปัญญาเข้ากับการศึกษาสหสาขาวิชาชีพของกระบวนการการรับรู้" ขณะที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ 'การเชื่อมต่อ' หรือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยากระบวนการการรับรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ enactivism ซึ่งเป็นสาขาทางวิชาการหนึ่งที่มีพื้นฐานจากมุมมองที่ว่า "... เราต้องดูสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเหมือนกับว่ามันถูกผูกไว้ด้วยกันในรายละเอียดและตัวเลือกซึ่งกันและกัน ... " === นิเวศวิทยาทางสังคม === สังคมระบบนิเวศ [แก้ไข] พฤติกรรมของนิเวศวิทยาทางสังคมจะมีความโดดเด่นในแมลงสังคมเช่นผึ้ง พวกสืบพันธ์ด้วยสปอร์ (slime moulds) แมงมุมสังคม สังคมมนุษย์และหนูตุ่นไร้หนัง ในที่ซึ่ง'ระบบสังคมแบบพึ่งพาอาศัย' (eusocialism) มีการพัฒนา พฤติกรรมทางสังคมจะรวมถึงพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกันในหมู่ญาติและเพื่อนร่วมรัง และวิวัฒน์จากญาติและการเลือกกลุ่ม การเลือกญาติจะอธิบายความบริสุทธิ์ใจผ่านทางความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยพฤติกรรมที่เห็นแก่ผู้อื่นที่กำลังนำไปสู่การเสียชีวิตได้รับรางวัลโดยการอยู่รอดของสำเนาทางพันธุกรรมกระจายในหมู่ญาติที่รอดชีวิต แมลงสังคมที่มีทั้งมด ผึ้งและตัวต่อถูกนำมารศึกษามากที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ประเภทนี้เพราะผึ้งตัวผู้เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เกิดจากเซลล์เดียวกัน (clone) จึงแชร์พันธุกรรมเหมือนกันกับตัวผู้ทุกตัวในอาณานิคม ในทางตรงกันข้าม นักเลือกกลุ่มพบหลายตัวอย่างของความบริสุทธิ์ใจในหมู่ญาติที่ไม่ใช่ทางพันธุกรรมและอธิบายเรื่องนี้ผ่านการคัดเลือกที่กระทำต่อกลุ่มโดยเลือกที่มันจะกลายเป็นข้อได้เปรียบสำหรับกลุ่มถ้าสมาชิกของพวกมันแสดงพฤติกรรมไม่เห็นแก่ได้กับอีกสมาชิกหนึ่ง กลุ่มที่มีสมาชิกส่วนใหญ่ไม่เห็นแก่ตัวเองจะชนะสมาชิกส่วนใหญ่ที่เห็นแก่ตัว ===วิวัฒนาการร่วม=== ปฏิสัมพันธ์เชิงนิเวศน์สามารถจำแนกกว้าง ๆ ออกเป็นเจ้าของบ้าน (host) และผู้อาศัย (associate) โฮสต์เป็นตัวตนที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้อาศัย ความสัมพันธ์ภายในสายพันธ์ใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันหรือซึ่งกันและกันจะเรียกว่า mutualisms ตัวอย่างของ mutualism ได้แก่ มดที่เลี้ยงเชื้อราที่ใช้ขบวนการการพึ่งพาอาศัยกัน (symbiosis) แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในกระเพาะของแมลงและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่อมะเดื่อและการผสมเกสรของมอดมันสำปะหลังที่ซับซ้อน ไลเคนที่มีเชื้อราและสาหร่ายสังเคราะห์แสง และปะการังที่มีสาหร่ายสังเคราะห์แสง ถ้ามีการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างโฮสต์และผู้อาศัย ความสัมพันธ์นั้นจะเรียกว่า symbiosis ตัวอย่างเช่น ประมาณ 60% ของพืชทุกชนิดจะมีความสัมพันธ์แบบ symbiosis กับเชื้อรา arbuscular mycorrhizal fungi ที่อาศัยอยู่ในรากของพวกมันก่อให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตสำหรับสารอาหารที่เป็นแร่ธาตุ mutualisms แบบทางอ้อมจะเกิดขึ้นที่สิ่งมีชีวิตแยกกันอยู่ ตัวอย่างเช่นต้นไม้ที่อาศัยอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตรของโลกปล่อยออกซิเจนออกมาในบรรยากาศที่ช่วยค้ำจุนสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณขั้วโลกที่ห่างไกลของโลก ความสัมพันธ์นี้จะเรียกว่าภาวะอิงอาศัย (commensalism) เพราะผู้อื่นจำนวนมากได้รับผลประโยชน์ของอากาศที่สะอาดฟรี ๆ หรือไม่เป็นอันตรายกับต้นไม้ที่ปล่อยออกซิเจนออกมา ถ้าผู้อาศัยได้รับประโยชน์ในขณะที่โฮสต์ต้องได้รับความทุกข์ ความสัมพันธ์นี้จะเรียกว่าปรสิต (Parasitism) แม้ว่าปรสิตสร้างภาระให้กับโฮสต์ (เช่น การเสียหายต่ออวัยวะหรือหน่อพันธ์ที่ใช้สืบพันธุ์ของพวกมัน ทำให้มีการปฏิเสธการบริการของผู้ที่รับประโยชน์) ผลกระทบสุทธิของพวกมันในความเหมาะสมของโฮสต์ไม่จำเป็นต้องเป็นลบและดังนั้นจึงกลายเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ วิวัฒนาการร่วมยังถูกผลักดันโดยการแข่งขันระหว่างสายพันธุ์หรือในหมู่สมาชิกของสายพันธุ์เดียวกันภายใต้ร่มธงของการเป็นปรปักษ์กันซึ่งกันและกัน (reciprocal antagonism) เช่นหญ้าแข่งขันกันสำหรับพื้นที่การเจริญเติบโต ตัวอย่างเช่นสมมติฐาน Red Queen Hypothesis กล่าวว่าปรสิตติดตามและเชี่ยวชาญในระบบป้องกันทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในท้องถิ่นของโฮสต์ของมันที่ผลักดันวิวัฒนาการของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเพื่อกระจายพื้นที่ทางพันธุกรรมของประชากรที่ตอบสนองต่อความกดดันปฏิปักษ์ === ชีวภูมิศาสตร์ === ชีวภูมิศาสตร์ (การควบรวมกันของชีววิทยาและภูมิศาสตร์) คือการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของการกระจายทางภูมิศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการที่สอดคล้องกันของลักษณะทางพันธุกรรมของพวกมันในพื้นที่และเวลา วารสารชีวภูมิศาสตร์ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1974 ชีวภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยามีการแชร์รากทางวิชาการจำนวนมากของพวกมัน ตัวอย่างเช่น'ทฤษฎีของเกาะชีวภูมิศาสตร์'ที่พิมพ์โดยนักคณิตศาสตร์ Robert MacArthur และนักนิเวศวิทยา Edward O. Wilson ในปี 1967 ถือเป็นหนึ่งในพื้นฐานของทฤษฎีนิเวศ ชีวภูมิศาสตร์มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการกระจายทางพืนที่ของพืชและสัตว์ นิเวศวิทยาและวิวัฒนาการให้บริบทเชิงอธิบายสำหรับการศึกษาด้านชีวภูมิศาสตร์ รูปแบบทางชีวภูมิศาสตร์เป็นผลมาจากกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการกระจายในช่วงระยะต่าง ๆ เช่นการอพยพของสัตว์และการแพร่พันธ์ และจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่แยกประชากรหรือสายพันธุ์ลงในพื้นที่ที่แตกต่างกัน กระบวนการทางชีวภูมิศาสตร์ที่มีผลในการแยกตามธรรมชาติของสายพันธุ์ช่วยอธิบายอย่างมากของการกระจายของชีวชาติที่ทันสมัยของโลก การแยกสายโลหิตในสายพันธ์หนึ่ง ๆ ถูกเรียกว่า vicariance biogeography และมันเป็นสาขาย่อยสาขาหนึ่งของชีวภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานจริงในสาขาชีวภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวกับระบบและกระบวนการทางนิเวศ ตัวอย่างเช่นช่วงและการกระจายตัวของความหลากหลายทางชีวภาพและสายพันธุ์บุกรุก (invasive species) ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาร้ายแรงอย่างหนึ่งและต่อพื้นที่ใช้งานของการวิจัยในบริบทของภาวะโลกร้อน ====r/K ทฤษฎีการเลือก==== แนวคิดนิเวศวิทยาประชากรคือทฤษฎีการเลือก r/K ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการพยากรณ์แรกในนิเวศวิทยาที่ใช้อธิบายวิวัฒนาการประวัติศาสตร์ชีวิต หลักฐานที่อยู่เบื้องหลังรูปแบบการเลือก r/K คือแรงกดดันการคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปตามความหนาแน่นของประชากร เช่นเมื่อเกาะหนึ่งถูกสร้างเป็นอาณานิคมครั้งแรก ความหนาแน่นของประชากรอยู่ในระดับต่ำ การเพิ่มขึ้นในขนาดของประชากรในตอนต้นจะไม่ถูกจำกัดโดยการแข่งขัน ปล่อยให้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่มีอยู่ถูกนำไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว หลายขั้นตอนแรก ๆ เหล่านี้ของการเจริญเติบโตของประชากรจะประสบกับแรง"ที่ไม่ขึ้นกับความหนาแน่น"ของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งถูกเรียกว่า การเลือกแบบ r ในขณะที่ประชากรเริ่มที่จะแออัดมากขึ้น มันก็เข้าใกล้ขีดความสามารถในการรองรับของเกาะ นี่เป็นการบังคับให้บุคคลเข้าสู่การแข่งขันมากขึ้นสำหรับทรัพยากรที่เหลืออยู่น้อย ภายใต้สภาวะที่แออัด ประชากรจะประสบกับแรงที่ไม่ขึ้นกับความหนาแน่นของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ที่เรียกว่าการเลือกแบบ K ในโมเดลของการเลือกแบบ r/K ตัวแปรแรก r เป็นอัตราที่แท้จริงของการเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติของขนาดของประชากรและตัวแปรที่สอง K เป็นขีดความสามารถในการรองรับประชากร สายพันธุ์ที่แตกต่างกันมีวิวัฒนาการด้านกลยุทธ์ของประวัติศาสตร์ชีวิตที่แตกต่างกันซึ่งกระจายไปตามความต่อเนื่องระหว่างแรงการเลือกทั้งสองนี้ สายพันธุ์ที่ถูกเลือกแบบ r เป็นสายพันธ์หนึ่งที่มีอัตราการเกิดสูง การลงทุนของพ่อแม่อยู่ในระดับต่ำ และอัตราของการเสียชีวิตก่อนโตเต็มที่ที่สูง วิวัฒนาการจะพอใจกับความสามารถมีบุตรในอัตราที่สูงของสายพันธุ์ที่ถูกเลือกแบบ r แมลงและสายพันธ์บุกรุกหลายชนิดจะแสดงออกถึงลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกเลือกแบบ r ในทางตรงกันข้ามสายพันธุ์ที่ถูกเลือกแบบ "K" มีอัตราการเกิดในระดับต่ำ การลงทุนของพ่อแม่ให้กับลูกในวัยหนุ่มสาวในระดับสูง และอัตราการตายในบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ในระดับต่ำ มนุษย์และช้างเป็นตัวอย่างของการแสดงลักษณะสายพันธุ์ที่ถูกเลือกแบบ "K" รวมถึงการมีอายุยืนยาวและมีประสิทธิภาพในการแปลงทรัพยากรให้มากขึ้นสำหรับลูกหลานไม่มากนัก ===นิเวศวิทยาโมเลกุล=== ความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างนิเวศวิทยาและการถ่ายทอดทางพันธุกรรมถือกำเนิดขึ้นมาก่อนเทคนิคที่ทันสมัยสำหรับการวิเคราะห์โมเลกุล การวิจัยนิเวศวิทยาโมเลกุลกลายเป็นไปได้มากขึ้นด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีทางพันธุกรรมอย่างรวดเร็วและสามารถเข้าถึงได้ เช่นปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์ (Polymerase chain reaction (PCR)) การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีโมเลกุลและการไหลเข้าของคำถามด้านการวิจัยลงในสาขาทางนิเวศวิทยาใหม่นี้ได้ส่งผลในสิ่งพิมพ์'นิเวศวิทยาโมเลกุล'ในปี 1992 นิเวศวิทยาโมเลกุลใช้เทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ในการศึกษาเกียวกับยีนในบริบทของวิวัฒนาการและนิเวศวิทยา ในปี 1994 จอห์น Avise ยังเล่นในบทบาทนำในพื้นที่นี้ของวิทยาศาสตร์ที่มีการตีพิมพ์หนังสือของเขา 'ตัวทำเครื่องหมายโมเลกุล, ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและวิวัฒนาการ' เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าด้เปิดคลื่นของการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมให้กับสิ่งมีชีวิตที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องยากที่จะศึกษาจากมุมมองของนิเวศวิทยาหรือวิวัฒนาการ เช่นแบคทีเรีย เชื้อราและไส้เดือนฝอย นิเวศวิทยาโมเลกุลก่อให้เกิดกระบวนทัศน์การวิจัยใหม่ในการตรวจสอบคำถามด้านนิเวศวิทยาที่ถูกการพิจารณาเป็นอย่างอื่นว่ายากที่จะควบคุม การตรวจสอบโมเลกุลเปิดเผยก่อนหน้านี้บดบังรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของความซับซ้อนของธรรมชาติและความละเอียดที่ดีขึ้นเป็นคำถามเจาะลึกเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรมและเชิงชีวภูมิศาสตร์ ตัวอย่างเช่นนิเวศวิทยาโมเลกุลเปิดเผยถึงพฤติกรรมทางเพศที่สำส่อนและคู่ควงชายหลายคนในนกนางแอ่นต้นไม้ (tree swallow) ที่เคยคิดว่าจะเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว ในบริบททางชีวภูมิศาสตร์ การแต่งงานระหว่างพันธุศาสตร์นิเวศวิทยาและวิวัฒนาการส่งผลให้เกิดสาขาย่อยใหม่ที่เรียกว่า phylogeography == นิเวศวิทยามนุษย์ == นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ทางชีวภาพมากเท่า ๆ กับวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ นิเวศวิทยามนุษย์เป็นการสืบสวนแบบสหวิทยาการเข้าไปในนิเวศวิทยาของสายพันธุ์ของเรา "นิเวศวิทยามนุษย์อาจถูกกำหนดเป็น (1) จากมุมมองทางชีว-นิเวศเพื่อการศึกษามนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีอำนาจครอบงำทางนิเวศของชุมชนและระบบของทั้งพืชและสัตว์ (2) จากมุมมองทางชีว-นิเวศในแบบที่เป็นเพียงแค่ผลกระทบจากสัตว์ที่มีต่อสัตว์อื่นและการที่สัตว์ได้รับผลกระทบเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพวกมัน.. และ (3) เพียงแค่ความเป็นมนุษย์ ที่มีสักอย่างที่แตกต่างจากชีวิตสัตว์โดยทั่วไป การมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและที่ผ่านการปรับปรุงในวิธีการที่โดดเด่นและสร้างสรรค์ นิเวศวิทยามนุษย์แบบสหวิทยาการที่แท้จริงจะบ่งบอกตัวเองได้มากที่สุดในทั้งสามแบบข้างต้น" คำว่านิเวศวิทยามนุษย์ได้รับการแนะนำอย่างเป็นทางการในปี 1921 แต่นักสังคมวิทยา นักภูมิศาสตร์ นักจิตวิทยาและสาขาอื่น ๆ ให้ความสนใจในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับระบบธรรมชาติในหลายศตวรรษก่อนหน้านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ความซับซ้อนทั้งหลายทางนิเวศที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ผ่านทางการแปลงทางเทคโนโลยีของ biome ของโลกได้เป็นสาเหตุให้เกิดยุค Anthropocene (ยุคหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญในอดีตที่เริ่มขึ้นเมื่อกิจกรรมต่างๆของมนุษย์มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก) ชุดที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานการณ์ทั้งหลายได้สร้างความจำเป็นสำหรับวิทยาศาสตร์แนวรวมใหม่ที่เรียกว่า'มนุษย์กับระบบธรรมชาติ' (coupled human and natural systems) ที่สร้างขึ้นบนสถานการณ์นั้น แต่เคลื่อนที่เกินจากสาขานิเวศวิทยาของมนุษย์ ระบบนิเวศผูกเข้ากับสังคมมนุษย์ผ่านทางหน้าที่การทำงานที่วิกฤตและครอบคลุมทั้งหมดของการสนับสนุนชีวิตที่พวกเขาค้ำจุนไว้ ในการรับรู้ของหน้าที่การทำงานเหล่านี้และความไม่สามารถของวิธีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่จะเห็นค่าในระบบนิเวศ ได้มีการพุ่งขึ้นของการสนใจในทุนทางสังคมธรรมชาติซึ่งจัดหาวิธีการใส่มูลค่าในคลังและการใช้ข้อมูลและวัสดุอันเนื่องมาจากสินค้าและบริการของระบบนิเวศ ระบบนิเวศทำการผลิต ควบคุม บำรุงรักษา และให้ในสิ่งจำเป็นที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ (ด้านกระบวนการการรับรู้และด้านสรีรวิทยา) เศรษฐกิจ, และแม้กระทั่งพวกมันยังจัดหาข้อมูลหรือฟังก์ชันอ้างอิงเป็นเหมือนห้องสมุดมีชีวิตที่ให้โอกาสสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และขบวนการการรับรู้ในเด็กที่มีส่วนร่วมในความซับซ้อนของโลกธรรมชาติ ระบบนิเวศเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับนิเวศวิทยามนุษย์เนื่องจากพวกมันเป็นรากฐานที่ดีที่สุดของเศรษฐกิจโลกในขณะที่ทุกสินค้าและความสามารถในการแลกเปลี่ยนในที่สุดเกิดจากระบบนิเวศบนโลก ===การฟื้นฟูและการจัดการ=== นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการบูรณะซ่อมแซมสถานที่ที่ถูกปั่นป่วนโดยผ่านการแทรกแซงของมนุษย์ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Edward O. Wilson ได้คาดการณ์ไว้ในปี 1992 ว่าศตวรรษที่ 21 "จะเป็นยุคของการฟื้นฟูในนิเวศวิทยา" วิทยาศาสตร์เชิงนิเวศน์ได้ขยายตัวอย่างมากในการลงทุนอุตสาหกรรมในการฟื้นฟูระบบนิเวศและกระบวนการทั้งหลายของระบบเหล่านี้เพื่อละทิ้งสถานที่เหล่านั้นหลังจากการฟื้นฟู ผู้จัดการทรัพยากรธรรมชาติในป่าไม้เป็นตัวอย่างที่ว่าจ้างนักนิเวศวิทยาเพื่อพัฒนา ปรับตัว และดำเนินการในวิธีการที่มีพื้นฐานจากระบบนิเวศให้เป็นการวางแผน การดำเนินงาน และขั้นตอนการฟื้นฟูของการใช้ประโยชน์ที่ดิน วิทยาศาสตร์เชิงนิเวศน์จะถูกใช้ในวิธีการของการเก็บเกี่ยวแบบอย่างยั่งยืน การจัดการของโรคและการระบาดของไฟป่า ในการจัดการปริมาณปลาในการประมง สำหรับการบูรณาการการใช้ที่ดินที่มีการป้องกันพื้นที่และชุมชน และการอนุรักษ์ในภูมิทัศน์ทางภูมิศาสตร์-การเมืองที่ซับซ้อน ==ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม== สภาพแวดล้อมของระบบนิเวศจะรวมถึงพารามิเตอร์ทั้งทางกายภาพและคุณสมบัติทางชีววิทยา มันเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกันแบบไดนามิกและประกอบด้วยทรัพยากรสำหรับสิ่งที่มีชีวิตในทุกเวลาตลอดวงจรชีวิตของพวกมัน เหมือน "นิเวศวิทยา" คำว่า "สภาพแวดล้อม" มีความหมายทางความคิดที่แตกต่างกันและคาบเกี่ยวกับแนวคิดของ "ธรรมชาติ" สภาพแวดล้อม "... จะรวมถึงโลกทางกายภาพ โลกทางสังคมของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และโลกที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์" สภาพแวดล้อมทางกายภาพอยู่ด้านนอกของระดับขององค์กรทางชีวภาพภายใต้การตรวจสอบ รวมถึงปัจจัยทางอชีวนะเช่นอุณหภูมิ รังสีแสง สารเคมี สภาพภูมิอากาศและธรณีวิทยา สภาพแวดล้อมแบบชีวนะจะรวมถึงยีน เซลล์ สิ่งมีชีวิต สมาชิกของสายพันธุ์เดียวกัน (conspecifics) และสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ใช้ที่อยู่อาศัยร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในเป็นนามธรรมที่รวมชีวิตและสภาพแวดล้อมให้เป็นหน่วยหรือข้อเท็จจริงที่แยกออกจากกันไม่ได้ในความเป็นจริง มีการแทรกซึมของเหตุและผลระหว่างสภาพแวดล้อมและใช้ชีวิต ตัวอย่างเช่นกฎของอุณหพลศาสตร์ถูกนำไปใช้กับนิเวศวิทยาด้วยวิธีสภาวะทางกายภาพของมัน ด้วยความเข้าใจของหลักการการเผาผลาญอาหารและหลักการทางอุณหพลศาสตร์ การบัญชีที่สมบูรณ์ของการใช้พลังงานและการไหลของวัสดุสามารถได้รับการตรวจสอบผ่านทางระบบนิเวศหนึ่ง ด้วยวิธีนี้ความสัมพันธ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศจะมีการศึกษาผ่านการอ้างอิงถึงชิ้นส่วนวัสดุที่ตามหลักการแล้วจัดการได้และแยกจากกันได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพมีการทำความเข้าใจผ่านการอ้างอิงถึงสาเหตุของพวกมัน องค์ประกอบพวกนี้เชื่อมโยงโดยหลักการกลับมารวมกันเป็นความสมบูรณ์แบบบูรณาการหรือระบบที่ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่าเป็น holocoenotic ซึ่งรู้กันว่าเป็นวิธีการวิภาษไปสู่นิเวศวิทยา วิธีการวิภาษใช้ตรวจสอบชิ้นส่วน แต่ผสมสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมให้เป็นความสมบูรณ์แบบไดนามิก (หรือ Umwelt) การเปลี่ยนแปลงในปัจจัยทางนิเวศและทางสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งสามารถมีผลควบคู่กันไปกับสถานะแบบไดนามิกของระบบนิเวศทั้งหมด === การปั่นป่วนและการกลับคืนสู่ปกติ === ระบบนิเวศกำลังเผชิญหน้าอย่างสม่ำเสมอกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและการปั่นป่วนทั้งหลายตลอดเวลาและตลอดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ การปั่นป่วนหมายถึงกระบวนการใด ๆ ที่เอาชีวมวลออกจากชุมชน เช่นไฟไหม้ น้ำท่วม ภัยแล้ง หรือการปล้นสะดม การปั่นป่วนเกิดขึ้นในช่วงที่แตกต่างกันอย่างมากมายในแง่ของขนาด ระยะทางที่ห่างไกลและระยะเวลา และเป็นทั้งสาเหตุและผลิตภัณฑ์จากความผันผวนของธรรมชาติในอัตราการตาย, การวมกลุ่มกันของหลายสายพันธ์ และความหนาแน่นของมวลชีวภาพภายในชุมชนของระบบนิเวศ การปั่นป่วนเหล่านี้สร้างสถานที่ขึ้นมาใหม่ในที่ซึ่งทิศทางใหม่เกิดขึ้นจากการปะติดปะต่อกันของการทดลองและโอกาสทางธรรมชาติ การกลับคืนสู่ปกติในระบบนิเวศเป็นทฤษฎีรากฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพช่วยขับเคลื่อนการกลับคืนสู่ปกติของระบบนิเวศที่ทำหน้าที่เป็นชนิดหนึ่งของการประกันในสิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ ===การเผาผลาญอาหารและบรรยากาศในช่วงต้น=== โลกถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว ขณะที่มันเย็นลง เปลือกโลกและมหาสมุทรก็ก่อตัวขึ้น บรรยากาศของมันถูกแปลงจากการถูกครอบงำโดยไฮโดรเจนไปเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยแก๊สมีเทนและแอมโมเนีย มากกว่าพันล้านปีต่อมากิจกรรมการเผาผลาญอาหารของชีวิตได้แปลงบรรยากาศให้เป็นส่วนผสมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์, ไนโตรเจน และไอน้ำ ก๊าซเหล่านี้ได้เปลี่ยนวิธีการที่แสงจากดวงอาทิตย์ที่กระทบพื้นผิวโลกและผลกระทบเรือนกระจกก็เก็บกักความร้อนเอาไว้ มีแหล่งที่มาของพลังงานฟรีที่ไม่ได้ถูกเก็บกักภายในส่วนผสมของก๊าซที่มีการลดและออกซิไดซ์ที่ตั้งเวทีสำหรับระบบนิเวศดั้งเดิมที่จะพัฒนาและในทางกลับกันบรรยากาศก็พัฒนาไปด้วย ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ชั้นบรรยากาศและวัฏจักรชีวภูมิเคมีของโลกได้อยู่ในสมดุลแบบไดนามิกด้วยระบบนิเวศของดาวเคราะห์ ประวัติศาสตร์ถูกจัดแบ่งตามคุณลักษณะออกเป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญที่ตามมาด้วยหลายล้านปีของความมั่นคง วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดเช่นจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจนประเภทเมทาโนเจนได้เริ่มกระบวนการโดยการแปลงไฮโดรเจนในชั้นบรรยากาศให้เป็นเป็นแก๊สมีเทน (4H2 + CO2 → CH4 + 2H2O) การสังเคราะห์แสงโดยไม่ใช้อ๊อกซิเจน (Anoxygenic photosynthesis) ช่วยลดความเข้มข้นของไฮโดรเจนและช่วยเพิ่มแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศโดยการแปลงก๊าซไข่เน่า (hydrogen sulfide) ลงในน้ำหรือสารประกอบกำมะถันอื่น ๆ (เช่น 2H2S + CO2 + hv → CH2O + H2O + 2S) รูปแบบในช่วงต้นของการหมักยังช่วยเพิ่มระดับของแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงไปเป็นบรรยากาศที่มีออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ("Great Oxidation") ยังไม่เริ่มจนกระทั่งราว 2.4-2.3 พันล้านปีที่แล้ว แต่กระบวนการสังเคราะห์แสงได้เริ่มต้นเมื่อ 0.3-1 พันล้านปีก่อนหน้านั้น ===รังสี: ความร้อน อุณหภูมิและแสง=== ชีววิทยาของชีวิตดำเนินไปในช่วงที่แน่นอนช่วงหนึ่งของอุณหภูมิ ความร้อนที่เป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงานที่ควบคุมอุณหภูมิ ความร้อนส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโต กิจกรรม พฤติกรรมและการผลิตขั้นต้น อุณหภูมิขึ้นอยู่อย่างมากกับการตกกระทบของรังสีจากดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ทางละติจูดและลองติจูดของอุณหภูมิส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพอากาศและไปทำให้เกิดการกระจายตัวของความหลากหลายทางชีวภาพและระดับของการผลิตขั้นต้นในระบบนิเวศหรือ biomes ที่แตกต่างกันทั่วโลก ความร้อนและอุณหภูมิเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับกิจกรรมการเผาผลาญอาหาร เช่นสิ่งมีชีวิตประเภท Poikilotherms ที่มีอุณหภูมิภายในร่างกายของมันได้รับการควบคุมและขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมาก ในทางตรงกันข้ามสิ่งมีชีวิตประเภท homeotherms จะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายภายในของพวกมันโดยใช้พลังงานจากการเผาผลาญอาหาร มีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งระหว่างแสงกับการผลิตขั้นต้นและงบประมาณพลังงานเชิงนิเวศ แสงแดดเป็นอินพุตขั้นต้นของพลังงานให้กับระบบนิเวศของโลก แสงประกอบด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าของหลาย ๆ ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน พลังงานที่กระจายออกจากดวงอาทิตย์เป็นต้วสร้างความร้อน ให้โฟตอนของแสงที่วัดได้เป็นพลังงานที่แอคทีฟในปฏิกิริยาทางเคมีของชีวิตและยังทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม พืชทั้งหลาย สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดดูดซับแสงและดูดซึมพลังงานผ่านการสังเคราะห์แสง สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่มีความสามารถในการดูดซับพลังงานโดยการสังเคราะห์แสงหรือผ่านการยึดติดสารอนินทรีย์ของ H2S เรียกว่า "ผู้ผลิต" (autotrophs) autotrophs - รับผิดชอบในการผลิตขั้นต้น - ดูดซับพลังงานแสงซึ่งจะกลายเป็นการเก็บแบบการเผาผลาญอาหาร (metabolically) เป็นพลังงานศักย์ (potential energy) ในรูปแบบของการผูกพันแบบเอนทัลปีทางชีวเคมี (biochemical enthalpic bonds) === สภาพแวดล้อมทางกายภาพ === ====น้ำ==== การแพร่กระจายของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในน้ำจะช้ากว่าในอากาศที่ประมาณ 10,000 เท่า เมื่อดินมีน้ำท่วม พวกมันสูญเสียออกซิเจนได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็น hypoxic (สภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของ O2 ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร) และในที่สุดก็จะกลายเป็น anoxic (สภาพแวดล้อมที่ขาด O2) อย่างสิ้นเชิงในที่ซึ่งแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีในหมู่ราก น้ำยังมีอิทธิพลต่อความรุนแรงและองค์ประกอบสเปกตรัมของแสงเมื่อมันสะท้อนกับพื้นผิวน้ำและอนุภาคที่จมอยู่ใต้น้ำ พืชน้ำแสดงความหลากหลายของการปรับตัวทางสัณฐานวิทยาและทางสรีรวิทยาที่ช่วยให้พวกมันอยู่รอดในการแข่งขันและแพร่กระจายไปในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ตัวอย่างเช่นรากและลำต้นของพวกมันมีช่องว่างอากาศขนาดใหญ่ (aerenchyma) ที่ควบคุมการขนส่งก๊าซ (เช่น CO2 และ O2) อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ในการหายใจและการสังเคราะห์แสง พืชน้ำเค็ม (halophytes) มีการปรับตัวพิเศษเพิ่มเติม เช่นการพัฒนาของอวัยวะพิเศษสำหรับการสกัดทิ้งเกลือและการควบคุมความเข้มข้นของเกลือภายใน (NaCl) ของพวกมันแบบ osmoregulating เพื่อที่จะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยหรือในมหาสมุทร จุลินทรีย์ดินที่ไม่ใช้อากาศในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจะใช้ไนเตรต ไอออนแมงกานีส ไอออนเฟอริก ซัลเฟต คาร์บอนไดออกไซด์และสารอินทรีย์บางอย่าง; จุลินทรีย์อื่น ๆ เป็นพวกที่เจริญเติบโตได้โดยไม่ใช้ออกซิเจน (facultative anaerobes) และใช้ออกซิเจนในระหว่างการหายใจเมื่อดินแห้ง กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินและคุณสมบัติทางเคมีของน้ำจะช่วยลดศักยภาพการเกิดออกซิเดชันของน้ำ เช่นคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงเป็นมีเทน (CH4) โดยแบคทีเรียที่ผลิตก๊าซชีวภาพ สรีรวิทยาของปลายังถูกดัดแปลงมาเป็นพิเศษเช่นกันเพื่อชดเชยระดับเกลือสิ่งแวดล้อมผ่านการ osmoregulation เหงือกของพวกมันก่อรูปเป็นการไล่ระดับทางไฟฟ้าเคมีที่ไกล่เกลี่ยการขับถ่ายเกลือในน้ำทะเลและดูดซึมในน้ำจืด ====แรงโน้มถ่วง==== รูปร่างและพลังงานของแผ่นดินได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญโดยแรงโน้มถ่วง ในระดับขนาดใหญ่ การกระจายของแรงโน้มถ่วงบนโลกจะไม่สม่ำเสมอและมีอิทธิพลต่อรูปร่างและการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกเช่นเดียวกับที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางธรณีสัณฐานเช่นการก่อตัวเป็นเทือกเขาและการกัดเซาะ แรงเหล่านี้ควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายทางธรณีฟิสิกส์และการกระจายตัวของ biomes ระบบนิเวศทั่วโลก ในระดับสิ่งมีชีวิต แรงโน้มถ่วงกำหนดตัวชี้นำทิศทางสำหรับการเจริญเติบโตของพืชและของเชื้อรา (Gravitropism) กำหนดตัวชี้นำการวางแนวทางสำหรับการอพยพของสัตว์ และอิทธิพลที่มีต่อชีวกลศาสตร์และขนาดของสัตว์ ลักษณะทางนิเวศเช่นการจัดสรรชีวมวลในต้นไม้ในช่วงการเจริญเติบโตอาจมีการล้มเหลวทางกลเนื่องจากแรงโน้มถ่วงมีอิทธิพลต่อตำแหน่งและโครงสร้างของกิ่งและใบ ระบบหัวใจและหลอดเลือดของสัตว์มีการปรับตัวตามภาระหน้าที่ที่จะเอาชนะความดันและแรงโน้มถ่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต (เช่นความสูง ขนาด รูปร่าง ) พฤติกรรมของพวกเขา (เช่นการดำน้ำ, วิ่ง, การบิน) และที่อยู่อาศัยที่ครอบครองอยู่ (เช่นน้ำ ทะเลทรายร้อน ทุนดราเย็น) ====ความดัน==== ความดันภูมิอากาศและแรงดันออสโมติก (osmotic pressure) (แรงดันต่ำสุดที่ป้องกันไม่ไห้น้ำซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้) เป็นตัวสร้างข้อจำกัดทางสรีรวิทยาในสิ่งที่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่บินและหายใจในระดับความสูง หรือการดำน้ำในทะเลลึก ข้อจำกัดเหล่านี้มีอิทธิพลต่อข้อจำกัดในแนวตั้งของระบบนิเวศในชีวมณฑล เนื่องจากสิ่งที่มีชีวิตจะมีความไวด้านสรีรวิทยาและมีการปรับตัวให้เข้ากับความแตกต่างของแรงดันน้ำในชั้นบรรยากาศและแรงดันออสโมติก ตัวอย่างเช่นระดับออกซิเจนจะลดลงตามแรงดันที่ลดลงและเป็นปัจจัยที่จำกัดการใช้ชีวิตในระดับความสูง เนื้อเยื่อที่ใช้ในการขนส่งทางน้ำของพืชเป็นอีกหนึ่งพารามิเตอร์ทางสรีรนิเวศที่สำคัญที่ถูกกระทบจากการไล่ระดับแรงดันออสโมติก แรงดันน้ำในระดับความลึกของมหาสมุทรต้องการให้สิ่งมีชีวิตปรับให้เข้ากับเงื่อนไขเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่นสัตว์ดำน้ำได้เช่นปลาวาฬ ปลาโลมา และแมวน้ำจะต้องถูกดัดแปลงมาเป็นพิเศษเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเสียงเนื่องจากความแตกต่างแรงดันน้ำ ความแตกต่างภายในสายพันธุ์ hagfish (ปลายาวชนิดหนึ่งที่คล้ายปลาไหล มันมีฟันเป็นหนามยื่นออกมา) เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการปรับตัวให้เข้ากับความดันในทะเลลึกโดยผ่านการดัดแปลงโปรตีนพิเศษเฉพาะ ====ลมและความปั่นป่วน==== แรงการปั่นป่วนในอากาศและน้ำจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและการกระจายระบบนิเวศ การขึ้นรูปและเป็นไดนามิค ในระดับของโลก ระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากรูปแบบการไหลเวียนของลมสินค้าโลก พลังลมและแรงปั่นป่วนที่มันสร้างขึ้นจะมีผลต่อความร้อน สารอาหาร และโปรไฟล์ทางชีวเคมีของระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่นลมที่พัดบนผิวน้ำของทะเลสาบสามารถสร้างความปั่นป่วน ผสมกับกำแพงน้ำและมีอิทธิพลต่อโปรไฟล์ของสิ่งแวดล้อมในการสร้างโซนของชั้นความร้อน สร้างผลกระทบต่อโครงสร้างของปลา สาหร่าย และส่วนอื่น ๆ ของระบบนิเวศในน้ำ ความเร็วของลมและความปั่นป่วนที่เกิดจากมันยังมีอิทธิพลต่ออัตราการคายน้ำและการระเหยและงบประมาณการใช้พลังงานในพืชและสัตว์ ความเร็วลม อุณหภูมิ และความชื้นสามารถเปลี่ยนแปลงเมื่อลมเดินทางผ่านคุณลักษณะของดินและระดับความสูงที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ลมตะวันตก (Westerlies) เข้ามาปะทะกับภูเขาชายฝั่งทะเลและภูเขาภายในของตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ(ที่ทำให้เกิดพื้นที่แห้งแล้งที่เรียกว่าเงาฝน (rain shadow) ขึ้นที่อีกด้านหนึ่งหรือบนด้านใต้ลม (leeward side) ของภูเขา) เมื่อลมลอยสูงขึ้น อากาศจะขยายตัวและความชื้นจะควบแน่น; ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการยกเนื่องจากภูเขา (orographic lift) และสามารถทำให้เกิดฝน หิมะหรือลูกเห็บได้ กระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมนี้จะสร้างการแบ่งพื้นที่ในความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพเปียกชื้นถูกจำกัดเป็นช่วงตามหุบเขาชายฝั่งและไม่สามารถที่จะโยกย้ายข้ามระบบนิเวศที่แห้งแล้ง (เช่นที่ลุ่มน้ำโคลัมเบียในภาคตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ) เพื่อผสมกับสายเลือดพื่น้องที่ถูกแยกออกจากกลุ่มไปอยู่ในระบบภูเขาภายใน ==== ไฟ ==== พืชจะแปลงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นชีวมวลและปล่อยออกซิเจนออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยประมาณ 350 ล้านปีมาแล้ว (สิ้นสุดระยะเวลาดีโวเนียน) การสังเคราะห์แสงได้ทำให้ความเข้มข้นของออกซิเจนในชั้นบรรยากาศมีมากกว่าร้อยละ 17 ซึ่งทำให้มีการเผาไหม้เกิดขึ้น ไฟจะปล่อย CO2 และแปลงเชื้อเพลิงเป็นเถ้าและน้ำมันดิน ไฟเป็นพารามิเตอร์ด้านนิเวศที่สำคัญที่สร้างประเด็นหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและปราบปรามของมัน ในขณะที่ประเด็นของไฟในความสัมพันธ์กับนิเวศวิทยาและพืชได้รับการยอมรับมาเป็นเวลานานแล้ว นักนิเวศ ชาร์ลส์ คูเปอร์ ได้นำประเด็นไฟไหม้ป่าในความสัมพันธ์กับนิเวศวิทยาของการดับเพลิงและการจัดการไฟป่าขึ้นสู่ความสนใจในปี 1960s ชาวพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือเป็นชนกลุ่มแรกที่มีอิทธิพลต่อระบอบของไฟโดยการควบคุมการแพร่กระจายของพวกมันที่อยู่ใกล้กับบ้านของพวกเขาหรือโดยการจุดไฟเพื่อกระตุ้นการผลิตอาหารและวัสดุจักสานจากสมุนไพร ไฟจะสร้างยุคระบบนิเวศและโครงสร้างหลังคาที่แตกต่างกัน และอุปทานสารอาหารในดินที่มีการเปลี่ยนแปลงและโครงสร้างหลังคาที่ถูกทำขึ้นใหม่จะเปิด niches ทางนิเวศใหม่สำหรับการจัดตั้งต้นกล้า ระบบนิเวศส่วนใหญ่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฏจักรของไฟตามธรรมชาติ เช่นพืชมีการติดตั้งด้วยความหลากหลายของการปรับตัวในการจัดการกับไฟป่า บางสายพันธ์ (เช่น Pinus halepensis (สนพื้นเมืองแถบเมดิเตอเรเนียน)) ไม่สามารถงอกได้จนกระทั่งหลังจากที่เมล็ดของพวกมันมีชีวิตอยู่ผ่านการเกิดไฟไหม้หรือได้รับการสัมผัสกับสารบางอย่างจากการควันไฟ การงอกของเมล็ดที่ถูกสั่งโดยสิ่งแวดล้อมนี้เรียกว่า serotiny ไฟจึงมีบทบาทสำคัญในการคงอยู่และความฟื้นตัวของระบบนิเวศ ====ดิน==== ดินเป็นชั้นบนสุดของที่อยู่อาศัยของแร่และสิ่งสกปรกอินทรีย์ที่ครอบคลุมพื้นผิวของโลก มันเป็นหัวหน้าศูนย์กลางการจัดระเบียบของฟังก์ชันส่วนใหญ่ของระบบนิเวศ และมันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์และนิเวศวิทยาการเกษตร การสลายตัวของสารอินทรีย์ที่ตายแล้ว (เช่นใบไม้บนพื้นป่า) ส่งผลให้ดินมีแร่ธาตุและสารอาหารที่ป้อนเข้าสู่การผลิตของพืช ทั้งหมดทั้งปวงของระบบนิเวศดินของโลกถูกเรียกว่า pedosphere ที่ชีวมวลขนาดใหญ่ของความหลากหลายทางชีวภาพของโลกจัดวางเป็นระดับของห่วงโซ่อาหาร ตัวอย่างเช่นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่กินและฉีกใบไม้ขนาดใหญ่จะสร้างชิ้นอาหารคำขนาดเล็กสำหรับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในห่วงโซ่ของอาหาร โดยรวมแล้วสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นผู้บริโภคซากอินทรีย์ (detritivores) ที่ควบคุมการก่อตัวของดิน รากของต้นไม้ เชื้อรา แบคทีเรีย หนอน มด เต่าทอง ตะขาบ แมงมุม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์อื่น ๆ ที่คุ้นเคยน้อยทั้งหมดจะทำงานเพื่อสร้างเครือข่ายโภชนาการของชีวิตในระบบนิเวศของดิน ดินจะก่อตัวเป็น ลักษณะที่แสดงออกให้เห็นเช่นสูงต่ำดำขาวตามสภาพแวดล้อมและพันธุกรรมที่ประกอบขึ้นจากหลายส่วน (composite phenotypes) ในที่ซึ่งสารอนินทรีจะถูกห่อหุ้มเป็นสรีรวิทยาของชุมชนทั้งหมด เมื่อสิ่งมีชีวิตกินอาหารและอพยพผ่านดิน พวกมันทำการโยกย้ายวัสดุต่าง ๆ ไปด้วย กระบวนการทางนิเวศนี้เรียกว่าความปั่นป่วนทางชีว (bioturbation) ซึ่งเป็นการเติมอากาศให้กับดินและกระตุ้นการเจริญเติบโตและการผลิต โภชนาการผสมที่แตกต่างกัน (heterotrophic) จุลินทรีย์ในดินได้รับอิทธิพลจากไดนามิกโภชนาการของระบบนิเวศและป้อนกลับไปยังระบบนิเวศ ไม่มีแกนเดียวของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่สามารถมองเห็นได้ในการแยกความแตกต่างของระบบทางชีวภาพออกจากระบบธรณีสัณฐานวิทยาในดิน การศึกษาด้านนิเวศโบราณ (Paleoecological studies) ของดินมีการจัดวางให้ต้นกำเนิดสำหรับความปั่นป่วนทางชีวะอยู่ในช่วงระยะเวลาก่อนช่วง Cambrian เหตุการณ์อื่น ๆ เช่นวิวัฒนาการของต้นไม้และการล่าอาณานิคมของที่ดินในช่วงเวลา Devonian มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาในช่วงต้นของระบบโภชนาการทางนิเวศในดิน ====ชีวธรณีเคมีและสภาพภูมิอากาศ==== นักนิเวศวิทยาจะศึกษาและวัดงบประมาณสารอาหารที่จะเข้าใจว่าวัสดุเหล่านี้ถูกควบคุม มีการไหล และถูกรีไซเคิลผ่านสภาพแวดล้อมได้อย่างไร งานวิจัยนี้ได้นำไปสู่ความเข้าใจที่ว่ามีข้อเสนอแนะทั่วโลกระหว่างระบบนิเวศต่าง ๆ และพารามิเตอร์ทั้งหลายทางกายภาพของ ดาวเคราะห์ดวงนี้ รวมทั้งแร่ธาตุ ดิน ค่า pH ไอออน น้ำและก๊าซในชั้นบรรยากาศ หกองค์ประกอบที่สำคัญ (ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน กำมะถัน และฟอสฟอรัส; H, C, N, O, S และ P) ก่อรูปเป็นเสาหลักของไมโครโมเลกุลทางชีวภาพทั้งหมดและป้อนเข้าสู่กระบวนการทางธรณีเคมีของโลก จากขนาดของชีววิทยาที่เล็กที่สุด ผลที่เกิดขึ้นโดยรวมของพันล้านของพันล้านของกระบวนการทางนิเวศวิทยาได้ทำการขยายและควบคุมอย่างหนักในวัฏจักรทางชีวธรณีเคมีของโลก การเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์และวัฏจักรที่เป็นสื่อกลางระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้กับทางเดินของระบบนิเวศของพวกมันมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการทำความเข้าใจชีวธรณีเคมีทั่วโลก นิเวศวิทยาของงบประมาณคาร์บอนทั่วโลกเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเชื่อมโยงระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพและชีวธรณีเคมี คาดว่ามหาสมุทรของโลกเก็บปริมาณคาร์บอนไว้ 40,000 gigatonnes (Gt) พืชและดินเก็บ 2070 Gt และคาดว่าการปล่อยคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็น 6.3 Gt ต่อปี ได้มีการปรับโครงสร้างที่สำคัญในงบประมาณคาร์บอนทั่วโลกเหล่านี้ในช่วงประวัติความเป็นมาของโลก มีการควบคุมในระดับสูงมากโดยนิเวศวิทยาของพื้นดิน ตัวอย่างเช่นตลอดช่วงครึ่งแรกของช่วงเวลา Eocene volcanic outgassing ออกซิเดชันของแก๊สมีเทนที่เก็บไว้ในพื้นที่ชุ่มน้ำและแก๊สอื่นที่ก้นทะเลได้เพิ่มความเข้มข้นของ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ในชั้นบรรยากาศขึ้นอยู่ในระดับสูงถึง 3,500 พีพีเอ็ม ในช่วง Oligocene (25-32 ล้านปีที่ผ่านมา) มีการปรับโครงสร้างที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งของวัฏจักรคาร์บอนทั่วโลกเมื่อหญ้าได้พัฒนากลไกใหม่ของการสังเคราะห์แสงนั่นคือการ สังเคราะห์ C4 carbon fixation(C4) และได้ขยายช่วงสังเคราะห์ของพวกมันออกไป ทางเดินใหม่นี้ได้พัฒนาในการตอบสนองต่อการลดลงของความเข้มข้นของ CO2 ในชั้นบรรยากาศที่ระดับต่ำกว่า 550 พีพีเอ็ม ความชุกชุมและการกระจายสัมพันธ์ของความหลากหลายทางชีวภาพมีการเปลี่ยนแปลงพลวัตระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของพวกมันเช่นระบบนิเวศที่สามารถเป็นได้ทั้งสาเหตุและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับเปลี่ยนที่ขับเคลื่อนโดยมนุษย์ที่ทำกับระบบนิเวศของโลก (เช่นการปั่นป่วน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตรกรรม) ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรคาร์บอนทั่วโลกในศตวรรษต่อไปคาดว่าจะเพิ่มอุณหภูมิของดาวเคราะห์ที่นำไปสู่ความผันผวนอย่างสุดขั้วในสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลงการกระจายสายพันธุ์ และเพิ่มอัตราการสูญพันธุ์ ผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้ถูกลงทะเบียนอยู่แล้วในธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย น้ำแข็งบนยอดภูเขาที่กำลังละลาย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล จากผลกระทบนั้นการกระจายสายพันธุ์กำลังมีการเปลี่ยนแปลงไปตามริมฝั่งน้ำและในพื้นที่ในทวีปบริเวณที่รูปแบบการอพยพและพื้นที่เพาะพันธุ์จะติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพภูมิอากาศ ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) ขนาดใหญ่ก็กำลังละลายเช่นกันเพื่อสร้างตารางหมากรุกใหม่ของพื้นที่น้ำท่วมที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการสลายตัวของดินเพิ่มการปล่อยแก๊สมีเทน (CH4) มีความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศในบริบทของวัฏจักรคาร์บอนทั่วโลกเพราะแก๊สมีเทนเป็นแก๊สเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับรังสีคลื่นยาวมากกว่า CO2 ถึง 23 เท่าในช่วงเวลา 100 ปี ดังนั้น ภาวะโลกร้อนจึงมีความสัมพันธ์กับการสลายตัวและการหายใจในดินและพื้นที่ชุ่มน้ำที่ผลิตการฟีดแบ็คด้านสภาพภูมิอากาศอย่างมีนัยสำคัญและได้เปลี่ยนแปลงวัฏจักรชีวธรณีเคมีทั่วโลก == เชิงอรรถ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Ecology (Stanford Encyclopedia of Philosophy) The Nature Education Knowledge Project: Ecology ชีวธรณีเคมี คำศัพท์นิเวศวิทยา การอุบัติ วิชาลูกเสือ
thaiwikipedia
838
บัญชีดำ
บัญชีดำ หรือ บัญชีลับ (Blacklist) คือ รายชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ ได้รับการปฏิเสธจากกลุ่มสังคม ตัวอย่างเช่น รายชื่อลูกจ้างที่นายจ้างทั้งหลายร่วมมือกันไม่รับเข้าทำงาน ลูกจ้างที่มีชื่ออยู่ในบัญชีลับของนายจ้าง โดยทั่วไปเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน เป็นผู้นำแรงงานหรือหัวหน้าคนงานไม่เป็นทางการ หรือ ผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นบุคคลดังกล่าว ซึ่งมีพฤติการณ์ในทางก่อกวน ปลุกปั่น และยุยง ส่งเสริมคนงาน หรือเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเรียกร้องและนัดหยุดงาน รายชื่อลูกจ้างเหล่านี้จะถูกหมุนเวียนเป็นการลับ ให้ทราบทั่วกันในหมู่ของนายจ้าง เพื่อไม่ให้นายจ้างคนใดรับเข้าทำงานด้วย ==อ้างอิง== สังคมมนุษย์
thaiwikipedia
839
เอดินเบิร์ก
redirect เอดินบะระ
thaiwikipedia
840
หมากล้อม
หมากล้อม หรือ โกะ (; เหวยฉี; ) เป็นเกมหมากกระดานชนิดหนึ่ง เป็นเกมกลยุทธ์ซึ่งผู้เล่นสองคนต่างมุ่งหมายล้อมเอาพื้นที่ในกระดานให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เดิมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน เหวยฉีเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ปัญญาชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ ในสมัยนั้น เหวยฉีหรือหมากล้อมเป็นหมากกระดานประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน (ได้แก่ หมากล้อม ดนตรี กลอน ภาพ) เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีนยังมีเค้าว่ารับมาจากอินเดียและเพิ่งจะแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโทะกุงะวะ ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้โกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโทะกุงะวะได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงอินโบ, อิโนะอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว ปัจจุบันทั่วโลกเล่นโกะกันอย่างแพร่หลาย โกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน โกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลียและอเมริกาเหนือทุกประเทศ อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย เกือบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในทวีปแอฟริกาแพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้ ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลีใต้ 10 ล้านคน (เกาหลีใต้มีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐ 1 ล้านคน สมาคมหมากล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Go Association) ได้จัดการแข่งขันหมากล้อมสมัครเล่นชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2522 มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแข่งขัน 15 ประเทศ และเพิ่มเป็น 29 ประเทศใน พ.ศ. 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (International Go Federation) ขึ้น ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีสมาชิกจำนวน 75 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 และต่อมาใน พ.ศ. 2527 ได้มีการส่งตัวแทนไปแข่งครั้งแรกที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น สำหรับการก่อตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งมีการก่อตั้ง ชมรมหมากล้อม (โกะ) ประเทศไทย โดยนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ทำให้มีคนไทยเล่นมากขึ้น มีการบรรจุเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2544 จึงมีการจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาหมากล้อม และต่อมาใน พ.ศ. 2546 ได้กลายเป็นสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย สำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ทำให้กีฬาหมากล้อมในประเทศไทยมีการแพร่หลายมากขึ้นจนได้รับการบรรจุในกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา == รูปร่างสำคัญของหมากล้อม == 1. สามจุดตรง สามจุดตรงกลางจะไม่ดูจากเม็ดภายนอก ให้ดูจากจุดที่ว่างด้านใน มีด้วยกัน3จุดเรียงกันเป็นเส้นตรง มีความสำคัญตรงที่สามจุดนี้มีจุดกลาง ถ้าต้องการสร้างสองห้องรอดให้นำหมากไปวางที่จุดกลางหรือจะฆ่าก็ให้สกัดจุดนำหมากไปวางที่จุดกลางเช่นกัน 2. สามจุดงอ(ไม่ตรง) ลักษณะของสามจุดงอหรือโค้งงอส่วนมากเป็นรูปตัวแอล จุดกลางของสามจุดงอจะอยู่ที่ข้องอของตัวแอล ถ้าต้องการรอดให้นำหมากไปวางที่จุดกลางหรือต้องการฆ่าก็ให้สกัดจุดที่จุดกลางเช่นเดียวกัน 3. สี่จุดตัวที มีลักษณะเหมือนตัวทีในภาษาอังกฤษ มีสี่จุด จุดกลางของสี่จุดตัวทีอยู่ที่ เส้นแนวตั้งชนกับกลางเส้นแนวนอนพอดี อยากรอดหรืออยากฆ่าให้นำหมากไปวางที่จุดกึ่งกลาง 4. สี่จุดสี่เหลี่ยม สี่จุดสี่เหลี่ยมนี้สำคัญที่สุด ไม่มีจุดกลาง สำคัญตรงที่ต่อให้วางก่อนก็ไม่รอด ไม่ว่าจะวางหมากจุดไหนก็จะทำให้เกิดสามจุดงอ เมื่อเกิดสามจุดงอคู่แข่งสามารถสกัดและวางหมากที่จุดกึ่งกลางได้ ดังนั้นรูปสี่จุดสี่เหลี่ยมจึงพิเศษที่ว่ายังไงก็ตาย 5. ห้าจุดปังตอ มีรูปร่างลักษณะหมือนมีดปังตอ จุดกึ่งกลางของห้าจุดปังตอคือรอยต่อระหว่างด้ามจับและตัวมีด อยากรอดให้นำหมากวางตรงจุดนี้หรืออยากฆ่าก็ให้นำหมากวางไว้จุดนี้เช่นกัน 6. ห้าจุดดอกไม้ มีลักษณะเหมือนดอกไม้ ด้านข้างสี่จุดคือกลีบดอกและตรงกลางคือเกสร จุดกลางของห้าจุดดอกไม้คือจุดตรงเกสร เมื่อนำหมากมาวางจุดนี้ก็จะเกิดสี่ห้อง ถ้าอยากรอดหรืออยากฆ่าให้นำหมากวางไว้จุดนี้ 7. หกจุดปลาตะเพียน มีลักษณะเหมือนปลา กำหนดปากอยู่ด้านบนหันหางไปด้านล่าง จุดอ่อนของหกจุดปลาตะเพียนคือจุดระหว่างหางละตัว อยากรอดหรืออยากกินให้นำหมากวางจุดนี้ == ประวัติ == == อ้างอิง == หนังสือ: Bradley, Milton N. Go for Kids, Yutopian Enterprises, Santa Monica, 2001 ISBN 978-1-889554-74-7. Cho, Chikun. Go: A Complete Introduction to the Game, Kiseido Publishers, Tokyo, 1997, ISBN 978-4-906574-50-6. Cobb, William. The Book of Go, Sterling Publishers, 2002, ISBN 978-0-8069-2729-9. Iwamoto, Kaoru. Go for Beginners, Pantheon, New York, 1977, ISBN 978-0-394-73331-9. Kim, Janice, and Jeong Soo-hyun. Learn to Play Go series, five volumes: Good Move Press, Sheboygan, Wisconsin, second edition, 1997. ISBN 0-9644796-1-3. Matthews, Charles. Teach Yourself Go, McGraw-Hill, 2004, ISBN 978-0-07-142977-1. Shotwell, Peter. Go! More than a Game, Tuttle Publishing, Boston, 2003. ISBN 0-8048-3475-X. เว็บไซต์ : [http://www.thaigogenius.com/index.php] เว็บไซต์ thaigogenius ประวัติศาสตร์: == แหล่งข้อมูลอื่น == International Go Federation (IGF) The Nihon Ki-in (Japan Go Association) Sensei's Library, a wiki about and around the game of Go สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย ชมรมครูหมากล้อมแห่งประเทศไทย เกมกระดาน กีฬาประเภทบุคคล เกมญี่ปุ่น เกมเกาหลี
thaiwikipedia
841
วิวัฒนาการ
ในทางชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปเกิดขึ้นในประชากรสิ่งมีชีวิต เมื่อเกิดความแปรผันทางพันธุกรรม หรือการผ่าเหล่าทางพันธุกรรมขึ้น. และลักษณะนั้นถูกส่งต่อไปยังลูกหลานผ่านทางการสืบพันธุ์ โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต กระบวนการวิวัฒนาการทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นในทุก ๆ ลำดับชั้นของการจัดระบบทางชีววิทยา (biological organization) กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้เป็น 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด ส่วนลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของข้อสังเกต 3 ประการกล่าวคือ : 1) ในหมู่ประชากรสัตว์สายพันธุ์เดียวกันก็มีลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมแตกต่างกันไป, 2) ลักษณะที่แตกต่างกันนั้นมีอัตราความอยู่รอด และการถูกส่งผ่านไปสู่รุ่นต่อไปแตกต่างกัน, 3) ลักษณะต่าง ๆ สามารถถูกส่งผ่านจากรุ่นหนึ่ง ไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้. จากข้อสังเกตเหล่านี้ ดาร์วินเสนอว่าสมาชิกของลูกหลานรุ่นถัด ๆ ไปจะแสดงลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษของตนในที่สุด โดยการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติจะคัดเลือกเอาลักษณะที่ได้เปรียบเอาไว้ เพื่อให้สายพันธุ์มีโอกาสรอดได้มากที่สุดในสภาพแวดล้อมของตน หลังการตีพิมพ์หนังสือไม่นาน ทฤษฎีของดาร์วินก็เป็นที่ยอมรับต่อสมาคมวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 การคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่เกรกอร์ เม็นเดิล ได้ค้นพบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ก่อให้เกิดทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ โดยเม็นเดิลได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ ยูนิต (ซึ่งภายหลังเรียกว่า ยีน) และ กระบวนการ ของการวิวัฒนาการ (การคัดเลือกโดยธรรมชาติ) การศึกษาของเม็นเดิลทำให้สามารถไขข้อข้องใจถึงวิธีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินได้อย่างดี และเป็นหลักการสำคัญของชีววิทยาสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการอธิบายกระบวนการดังกล่าวร่วมกับความหลากหลายทางพันธุกรรมบนโลก == การถ่ายทอดทางพันธุกรรม == วิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งปรากฏเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์ ตัวอย่างเช่นสีของม่านตาเป็นหนึ่งในลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดได้ โดยแต่ละคนก็จะได้รับลักษณะดังกล่าวจากบิดามารดา การถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวควบคุมโดยยีน ยีนจะอยู่เป็นคู่บนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต และแสดงออกลักษณะทางพันธุกรรมเรียกว่า "จีโนไทป์" (genotype) ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นอันประกอบด้วยลักษณะทางพันธุกรรม (จีโนไทป์) และพฤติกรรมอันเกิดจากการหล่อล้อมของสิ่งแวดล้อม รวมกันเรียกว่า "ฟีโนไทป์" (phenotype) ลักษณะที่สิ่งมีชีวิตแสดงออกก็จะการปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างลักษณะทางพันธุกรรม (จีโนไทป์) และสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ก็คือ ไม่ใช่ทุกลักษณะของสิ่งมีชีวิต (ฟีโนไทป์) ที่จะสามารถถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวสู่ลูกหลานได้ ตัวอย่างเช่น ลักษณะสีผิวของคนที่แดดส่องจนกลายเป็นสีแทน เป็นลักษณะที่เกิดร่วมกันระหว่างลักษณะพันธุกรรมแต่ละบุคคล (จีโนไทป์) ร่วมกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นลักษณะผิวสีแทนดังกล่าวจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังรุ่นลูกได้ อย่างไรก็ตาม ผิวของคนทั่วไปก็มีปฏิกิริยาต่อแสงแดดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความแตกต่างของจีโนไทป์ อย่างไรก็ดีตัวอย่างดังกล่าวไม่มีผลต่อคนผิวเผือก เนื่องจากคนเหล่านี้ผิวหนังจะไม่มีปฏิกิริยากับแสงแดด ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมถ่ายทอดระหว่างดีเอ็นเอของแต่ละรุ่น อันเป็นโมเลกุลที่เก็บข้อมูลลักษณะ และรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอเป็นสารพวกพอลิเมอร์ ประกอบด้วยเบส 4 ชนิด ลำดับเบสในดีเอ็นเอเรียงลำดับตามข้อมูลทางพันธุกรรม โดยใช้อักษรทางภาษาอังกฤษแทน อันได้แก่ A, T, C และ G ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ส่วนของโมเลกุลดีเอ็นเอที่ระบุหน้าที่ของยูนิตเรียกว่า "ยีน" แต่ละยีนก็จะมีลำดับเบสที่แตกต่างกันไป ในเซลล์ ประกอบไปด้วยดีเอ็นเอสายยาวรวมกันกับโปรตีนเป็นโครงสร้างรวมกันเรียกว่า "โครโมโซม" บริเวณจำเพาะที่อยู่ของโครโมโซมเรียกว่า "โลคัส" (locus) ลำดับของดีเอ็นเอ ณ ตำแหน่งโลคัสแตกต่างกันไปในแต่ละคน ทำให้เกิดรูปแบบที่แตกต่างกันในลำดับดังกล่าว เรียกว่า "อัลลีล" (allele) ลำดับดีเอ็นเอสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่านการะบวนการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดอัลลีลใหม่ ถ้ากระบวนการกลายพันธุ์เกิดขึ้นกับยีน อัลลีลใหม่จะส่งผลกระทบต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิตอันเนื่องมาจากการควบคุมของยีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตามความสอดคล้องระหว่างอัลลีล และลักษณะทางพันธุกรรมทำงานร่วมกันในบางกรณี แต่ลักษณะส่วนใหญ่จะซับซ้อน และเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนมากกว่า 1 ชนิด == การแปรผัน == ฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดเป็นผลมาจากทั้งจีโนไทป์ และอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ ส่วนสำคัญของการแปรผันในฟีโนไทป์ในประชากรเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันระหว่างจีโนไทป์ ทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ให้คำจำกัดความถึงวิวัฒนาการในฐานะของการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานานในความแปรผันทางพันธุกรรม ความถี่ของแต่ละแอลลีลจะผันแปร ความสัมพันธ์อาจแพร่หลายมากขึ้น หรือน้อยลง วิวัฒนาการเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนแปลงความถี่อัลลีลโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ความแปรผันจะหายไปเมื่ออัลลีลไปถึงจุดฟิกเซชัน (fixation) กล่าวคือเป็นลักษณะแปรผันดังกล่าวสูญหายไปจากประชากรหรือถูกแทนที่ด้วยลักษณะใหม่ที่ไม่เหมือนเช่นบรรพบุรุษ ความแปรผันเกิดขึ้นการกลายพันธุ์ในองค์ประกอบของยีน อาจเกิดจากการอพยพของประชากร (ยีนโฟลว์) หรือการจับคู่กันของยีนใหม่ๆในกระบวนการสืบพันธุ์ ความแปรผันยังอาจเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ อาทิ การแลกเปลี่ยนยีนในแบคทีเรียและการไฮบริดในพืช* แม้ว่าจะเกิดการแลกเปลี่ยนยีนทำให้ความแปรผันเกิดความเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการข้างต้น แต่จีโนมส่วนใหญ่ของสปีชีส์ก็ยังคงเอกลักษณ์จำเพาะแต่ละสปีชีส์ไว้ อย่างไรก็ดี แม้การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในจีโนไทป์สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อฟีโนไทป์ได้ อาทิ ชิมแปนซีและมนุษย์มีความแตกต่างของจีโนมเพียง 5% == ลักษณะของวิวัฒนาการ == === วิวัฒนาการทางเคมี === นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ครั้งแรกโลกเป็นหมอกเพลิงที่หลุดออกมาจากดวงอาทิตย์ต่อมาเปลือกโลกค่อย ๆ เย็นตัวลง พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีตลอดเวลา ครั้งแรกยังไม่มีสารอินทรีย์ มีแต่สารอนินทรีย์เท่านั้น ซึ่งค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงเป็นสารอินทรีย์ ฉะนั้นเมื่อเวลาค่อย ๆ ผ่านไปสารอนินทรีย์จะค่อย ๆ ลดลงพร้อมกับสารอินทรีย์เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีสิ่งมีชีวิต === วิวัฒนาการทางชีววิทยา === เริ่มแรกจากเซลล์ เซลล์จะสร้างสารที่ต้องการจากอาหารเพื่อจะเติบโต และสืบพันธุ์ได้ และมีวิธีการที่สร้างพลังงานเพื่อนำมาใช้ วิธีการสร้างพลังงานนั้นก็คือการหายใจ == ทฤษฎีของวิวัฒนาการ == === ทฤษฎีของลามาร์ก (Lamarck's Theory) === ก่อตั้งโดย ฌอง แบพติสท์ เดอ ลามาร์ก (JEAN BAPTISTE DE LAMARCK) (1744 – 1829) วิศวกรชาวฝรั่งเศสซึ่งในบั้นปลายชีวิตได้ศึกษาชีววิทยา ได้เป็นผู้วางรากฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการเป็นคนแรกได้เสนอกฎ 2 ข้อ คือ กฎการใช้และไม่ใช้ (LAW OF USE AND DISUSE) กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (LAW OF INHERITANCE OF ACQUIRED CHARACTERISTICS) จากกฎทั้ง 2 ข้อนี้สรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อรูปร่างของสัตว์ อวัยวะใดที่ใช้บ่อย ก็จะเจริญเติบโตขยายใหญ่ขึ้น อวัยวะใดที่ไม่ใช้ก็จะอ่อนแอลงและเสื่อมหายไปในที่สุด ลักษณะที่ได้มาและเสียไปโดยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยการใช้และไม่ใช้จะคงอยู่ และถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยการสืบพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น ยีราฟสมัยก่อนมีคอสั้น เมื่อยืดคอกินใบไม้สูง ๆ นาน ๆ เข้าคอจะค่อย ๆ ยืดยาวจนเป็นยีราฟปัจจุบัน ขาหลังของปลาวาฬหายไป เนื่องจากใช้หางว่ายน้ำ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า ลามาร์กจะเป็นผู้วางรากฐานของวิวัฒนาการเป็นคนแรก แต่ลามาร์กไปเน้นการถ่ายทอดลักษณะไปให้ลูกหลานว่าเกิดจากการฝึกปรือซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากในสมัยนั้นวิชาพันธุศาสตร์ยังไม่เจริญ ไวส์ มันน์ (WEISMANN) ชาวเยอรมันได้ทำการทดลองตัดหางหนู 20 รุ่น เพื่อคัดค้าน ลามาร์ก หนูที่ถูกตัดหางยังคงมีลูกที่มีหาง ไวส์มันน์ อธิบายว่าเนื่องจากสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์และเซลล์เนื้อเยื่อ เมื่อสิ่งมีชีวิตตายเซลล์สืบพันธุ์เท่านั้นที่ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ (ก่อนตาย) ส่วนเซลล์เนื้อเยื่อจะหมดสภาพไป การที่หนูถูกตัดหางเป็นเรื่องของเซลล์เนื้อเยื่อ ส่วนเซลล์สืบพันธุ์มีการควบคุมการสร้างหาง หนูที่เกิดใหม่จึงยังคงมีหาง ความคิดของไวส์มันน์ตรงกับความรู้เรื่องพันธุ์กรรมสมัยนี้ เขาเรียกการสืบทอดลักษณะนี้ว่า การสืบต่อกันไปของเซลล์ สืบพันธุ์ (THE CONTINUTY OF THE GERM PLASM) === ทฤษฎีการเลือกสรรโดยธรรมชาติของดาร์วิน (Darwin's Theory) === ชาร์ลส์ ดาร์วิน เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เดินทางรอบโลกไปกับเรือบีเกิล ของรัฐบาลอังกฤษ โดย ดร.จอห์น เฮนสโลว์ เป็นผู้แนะนำ เขาได้นำประสบการณ์จากการศึกษาชนิดของพืชและสัตว์ต่าง ๆ ที่พบในหมู่เกาะกาลาปากอส หมู่เกาะนี้อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ดาร์วินได้ท่องเที่ยวมาเป็นเวลา 5 ปี ค.ศ. 1859 ดาร์วินได้เสนอ ทฤษฎีการเกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ เป็นผลอันเนื่องมาจากการคัดเลือกทางธรรมชาติ ทำให้สามารถเข้าใจการกระจายของพืชและสัตว์ ที่มีอยู่ประจำแต่ละท้องถิ่นตามหลักซึ่งภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้คือ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความสามารถสืบพันธุ์สูง ทำให้ประชากรมีการเพิ่มแบบทวีคูณ ความเป็นจริงในธรรมชาติ ประชากรมิได้เพิ่มขึ้นเป็นแบบทวีคูณเนื่องจากอาหารมีจำนวนจำกัด สิ่งมีชีวิตต้องมีการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด พวกที่มีความเหมาะสมก็จะมีชีวิตอยู่รอด พวกที่ไม่มีความเหมาะสมก็จะตายไป พวกที่อยู่รอดจะมีโอกาสแพร่พันธุ์ต่อไป การเกิดสปีชีส์ใหม่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่ละเล็กละน้อย ตามทัศนะของดาร์วิน กลไกของวิวัฒนาการสภาพแวดล้อม เป็นตัวทำให้เกิดการคัดเลือกทางธรรมชาติขึ้น เพื่อให้ได้ลักษณะที่เหมาะสมและมีโอกาสสืบพันธุ์ต่อไป === ทฤษฎีการผ่าเหล่า (Theory of Mutation) === ทฤษฎีนี้ ฮิวโก เดอ ฟรีส์ (Hugo de Vries) ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวฮอลันดา ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1895 เดอ ฟรีส์ พบพืชดอกชนิดหนึ่ง มีลักษณะแปลกกว่าต้นอื่น ๆ เขาจึงนำเมล็ดของพืชต้นเดิมแบบเก่ามาเพาะ ปรากฏว่าได้ต้นที่มีลักษณะแปลกอยู่ต้นหนึ่ง เมื่อนำเมล็ดของต้นที่มีลักษณะแปลกมาเพาะ จะได้ต้นที่มีลักษณะแปลกทั้งหมดแสดงว่าได้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในต้นเดิม เขาจึงตั้งทฤษฎีของการผ่าเหล่า โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากการสังเกต และการทดลองดังกล่าวนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พันธุ์ใหม่ ๆ อาจเกิดโดยกะทันหันได้ == ดูเพิ่ม == วิวัฒนาการของมนุษย์ วิวัฒนาการของสัตว์ == อ้างอิง == วิวัฒนาการทางชีววิทยา ชีววิทยาวิวัฒนาการ ชีววิทยาการเจริญ ชีววิทยา วิวัฒนาการ
thaiwikipedia
842
วิวัฒนาการของมนุษย์
วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี ค.ศ. 2010 บอกเป็นนัยว่า มีลำดับดีเอ็นเอหลายส่วนที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์โบราณ Homo neanderthalensis (Neanderthal) ในดีเอ็นเอของมนุษย์ปัจจุบันทุกเผ่าพันธุ์ที่ไม่ใช่คนแอฟริกา และว่า Neanderthal และมนุษย์โบราณสกุลอื่น ๆ เช่นที่รู้จักกันว่า Denisova hominin (Denisovan) รวม ๆ กันแล้ว อาจจะให้จีโนมเป็นส่วน 1-10% ของจีโนมมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งบอกเป็นนัยถึง การผสมพันธุ์กัน ระหว่างมนุษย์โบราณเหล่านี้กับมนุษย์ปัจจุบัน อย่างไรก็ดี การผสมพันธุ์มีระดับค่อนข้างที่จะต่ำ และยังเป็นไปได้ว่า กรรมพันธุ์ของ Neanderthal หรือของมนุษย์โบราณอื่น ๆ ที่พบในมนุษย์ปัจจุบันอาจจะอธิบายได้โดยลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่สืบมาจากบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 500,000-800,000 มาแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเพราะผสมพันธุ์กันเร็ว ๆ นี้ ส่วนการเปลี่ยนมามีพฤติกรรมปัจจุบัน (ดูเพิ่มที่หัวข้อ การเปลี่ยนมามีพฤติกรรมปัจจุบัน) พร้อมกับพัฒนาการของวัฒนธรรมสัญลักษณ์ (symbolic culture) ภาษา และเทคโนโลยีหินแบบเฉพาะงานเริ่มขึ้นที่ประมาณ 50,000 ปีก่อนตามข้อมูลทางมานุษยวิทยา แม้ว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์บางส่วนที่เสนอว่า ความจริงเป็นการพัฒนาทางพฤติกรรมอย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานยิ่งกว่านั้นที่อาจนานถึง 300,000 ปี และเริ่มมีหลักฐานแล้วว่าพฤติกรรมปัจจุบันนั้น ความจริงมีปรากฏแล้วก่อนหน้านั้น ในปัจจุบันนี้ วิวัฒนาการของมนุษย์ปัจจุบันก็ยังเป็นไปอยู่ แต่ที่ปรากฏเร็ว ๆ นี้ดูเหมือนจะจำกัดอยู่ในเรื่องภูมิต้านทานต่อโรคติดต่อโดยมาก แต่เพราะไร้เหตุกดดันทางการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือเพราะเหตุอื่น ๆ วิวัฒนาการของมนุษย์เร็ว ๆ นี้ โดยมากก็จะเป็นการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) นอกจากนั้นแล้ว ยังปรากฏอีกด้วยว่า ทั้งมนุษย์ทั้งวงศ์ลิงใหญ่แอฟริกัน (รวมกอริลลาและชิมแปนซี) ปรากฏการวิวัฒนาการที่ช้าลงจากลิงสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะแต่ละชั่วอายุมีความยาวนานยิ่งขึ้น คำว่า "มนุษย์" ในบริบทของวิวัฒนาการมนุษย์ จะหมายถึงมนุษย์สกุล Homo เท่านั้น == การจัดชั้นและการใช้ชื่อในบทความ == นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นไม่เหมือนกับในการการจำแนกชั้นของสัตว์ในวงศ์ลิงใหญ่ แผนผังด้านล่างแสดงการจำแนกชั้นแบบหนึ่งของไพรเมต/วงศ์ลิงใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นการจำแนกชั้นที่ให้ความสำคัญกับความใกล้เคียงกันทางกรรมพันธุ์ของมนุษย์และลิงชิมแปนซี โดยมีชื่อตามอนุกรมวิธาน ส่วนการจำแนกชั้นมีดังต่อไปนี้ มีการรวมเอาสายพันธุ์มนุษย์ที่สูญพันธุ์ไว้ด้วย ชื่อแรกเป็นชื่อตามอนุกรมวิธาน ชื่อในวงเล็บเป็นชื่อทั่วไป วงศ์ย่อย Homininae (hominine) * เผ่า Hominini (hominin) ** เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine) ** เผ่าย่อย Hominina *** สกุล Homo (มนุษย์) * เผ่า Panini ** สกุล Pan (ลิงชิมแปนซี) วงศ์ย่อย Gorillinae * สกุล Gorilla (ลิงกอริลลา) วงศ์ย่อย Ponginae * สกุล Pongo (ลิงอุรังอุตัง) คำที่อาจจะมีความหมายอื่นในที่อื่น ๆ ที่ใช้บ่อย ๆ ในบทความนี้มีดังต่อไปนี้ (ตามผังด้านบน) เป็นคำที่รวมทั้งสัตว์ที่มีชีวิตอยู่และสูญพันธุ์ไปแล้ว วงศ์ลิงใหญ่ หรือ ลิงใหญ่ หรือ hominid หมายถึงสัตว์ในวงศ์ลิงใหญ่ หลังจากที่วงศ์ชะนีได้แยกสายพันธุ์ไปแล้ว homininae หรือ hominine หมายถึงสัตว์ในวงศ์ย่อย Homininae ซึ่งรวมสายพันธุ์ของมนุษย์และสายพันธุ์ของลิงชิมแปนซี หลังจากที่สายพันธุ์ของลิงกอริลลาได้แยกออกไปแล้ว hominini หรือ hominin (ไม่มี e ท้ายสุด) หมายถึงสัตว์ในเผ่า hominini คือสายพันธุ์มนุษย์ทั้งหมด (คือบรรพบุรุษมนุษย์ สายพันธุ์ของญาติบรรพบุรุษมนุษย์ และมนุษย์ทั้งหมด) หลังจากที่สายพันธุ์ของลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว australopithecina หรือ australopithecine ปกติหมายถึงสายพันธุ์มนุษย์สกุล Australopithecus, Paranthropus ซึ่งจัดอยู่ในเผ่าย่อย Australopithecina มนุษย์ หมายถึงมนุษย์สปีชีส์ต่าง ๆ ในสกุล Homo เท่านั้น ซึ่งจัดอยู่ในเผ่าย่อย Hominina มนุษย์โบราณ (Archaic humans) มีความหมายไม่แน่นอน ปกติรวมมนุษย์สปีชีส์ H. heidelbergensis/rhodesiensis, H. neanderthalensis และบางที่รวม H. antecessorแต่โดยทั่ว ๆ ไปหมายถึงมนุษย์สปีชีส์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจาก 600,000 ปีก่อน รวมทั้งมนุษย์พวก Denisovans ไม่รวมมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์ปัจจุบัน หมายถึง Homo sapiens เท่านั้น โดยมักจะหมายถึง มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน == หลักฐาน == หลักฐานของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์มาจากงานวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหลายสาขา (ดูรายละเอียดอื่นที่ต้นบทความ) แหล่งความรู้หลักของกระบวนการวิวัฒนาการปกติมาจากซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งเริ่มมีการสั่งสมหลักฐานของพันธุ์มนุษย์เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1829 (ดู "ประวัติการศึกษาสมัยดาร์วิน") แต่เริ่มตั้งแต่มีการพัฒนาด้านพันธุศาสตร์ในสาขาอณูชีววิทยาที่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 (ดู "ประวัติ-การปฏิวัติทางพันธุศาสตร์") การวิเคราะห์ดีเอ็นเอก็ได้กลายมาเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญพอ ๆ กัน ส่วนงานศึกษาในเรื่องกำเนิดและพัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (ontogeny) วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogeny) และโดยเฉพาะวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเชิงพัฒนาการ (evolutionary developmental biology) ของทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้ให้ความรู้ใหม่ ๆ พอสมควรเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดรวมทั้งของมนุษย์ มีงานศึกษาเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดและชีวิตของมนุษย์ ซึ่งก็คือมานุษยวิทยา (anthropology) โดยเฉพาะบรรพมานุษยวิทยา (paleoanthropology) เป็นศาสตร์ที่พุ่งความสนใจไปที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ภายในศตวรรษที่ผ่านมาโดยเฉพาะในทศวรรษที่เพิ่งผ่าน ๆ มา ได้มีการสั่งสมหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ (และทางอณูชีววิทยา) มากมายที่เริ่มชี้โครงสร้างการวิวัฒนาการอย่างคร่าว ๆ ของมนุษย์ปัจจุบันจากสายพันธุ์ที่แยกออกจากลิงชิมแปนซี โดยที่รายละเอียดประวัติการวิวัฒนาการและการจัดชั้นของสกุลและสปีชีส์ต่าง ๆ ยังมีการเพิ่มและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นปีต่อปี เพราะได้หลักฐานใหม่ ๆ ที่ช่วยยืนยันหรือปฏิเสธสมมติฐานที่มีอยู่ต่าง ๆ เพราะฉะนั้น เป็นอันหวังได้ว่า บทความจะมีข้อมูลที่ล้าหลังหลักฐานใหม่ ๆ ไปบ้าง === หลักฐานทางอณูชีววิทยา === สำหรับสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือสำหรับสัตว์ที่สูญพันธุ์แล้ว (รวมทั้งสายพันธุ์ต่าง ๆ ของมนุษย์) แต่ยังหาสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยดีเอ็นเอได้ หลักฐานทางอณูชีววิทยานั้นสามารถให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยใช้ประกอบร่วมกับข้อมูลซากดึกดำบรรพ์และข้อมูลสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ คือ ช่วงเวลาที่สัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) สองพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์ที่ใกล้ชิดกัน * เกิดการแยกสายพันธุ์กัน (เช่นการแยกสายพันธุ์ของมนุษย์จากลิงชิมแปนซี) หรือ * มีบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกัน (เช่นมนุษย์ปัจจุบันมีบรรพบุรุษหญิงร่วมกันสุดท้ายที่ 90,000-200,000 ปีก่อน) ความสัมพันธ์ทางกรรมพันธุ์ระหว่างพันธุ์สัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถใช้ในการสร้างต้นไม้สายพันธุ์ (เช่นมนุษย์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลิงชิมแปนซีมากกว่าลิงกอริลลา) ยีนของสัตว์นั้นอาจแสดงลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏ (ซึ่งเริ่มการสั่งสมหลักฐานตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001) * ทางกายภาพ (เช่นสัณฐานของอวัยวะต่าง ๆ) * ทางสรีรภาพ เช่นระบบการทำงานของร่างกาย * ทางพฤติกรรม โดยที่สองข้อแรกได้ช่วยความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์ให้ดีขึ้นแล้ว และข้อสุดท้ายอาจมีประโยชน์ยิ่ง ๆ ขึ้นต่อ ๆ ไปในอนาคต หลักฐานทางอณูชีววิทยา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์มีตัวอย่างสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ สกุลสัตว์ที่ยังไม่สูญพันธุ์ที่ใกล้กับมนุษย์ที่สุดเป็นลิงโบโนโบ ลิงชิมแปนซี (ทั้งสองในสกุล Pan) และลิงกอริลลา (สกุล Gorilla) การหาลำดับดีเอ็นเอในจีโนมของทั้งมนุษย์และลิงชิมแปนซี พบว่า มีความคล้ายคลึงกันถึงประมาณ 95-99% เป็นความคล้ายคลึงกันที่แสดงถึงความมีสายพันธุ์เป็นพี่น้องกัน (sister taxon) หรือแม้แต่อยู่ในสกุลเดียวกัน โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า molecular clock (นาฬิกาอาศัยโครงสร้างโมเลกุล) ซึ่งใช้ประเมินระยะเวลาการแยกสายพันธุ์ โดยวัดเวลาก่อนที่การกลายพันธุ์ที่ไม่เหมือนกันของสายพันธุ์สองสายพันธุ์จะสั่งสมจนมาถึงในระดับปัจจุบัน ได้มีการพบว่า การแยกสายพันธุ์ของมนุษย์และสายพันธุ์ของลิงชิมแปนซี ได้อยู่ในช่วงเวลาประมาณ ซึ่งอยู่ในช่วงปลายสมัยไมโอซีน (ซึ่งเป็นส่วนปลายของยุคนีโอจีน) (ดูรายละเอียดในหัวข้อ "การแยกสายพันธุ์ของวงศ์ลิงใหญ่") จีโนมของมนุษย์นั้นมีทั้งส่วนที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) และมีบางส่วนที่ไม่มีการแสดงออก ส่วนที่ไม่มีการแสดงออกสามารถใช้ในการสืบหาสายตระกูลได้ คือในส่วนที่ไม่ทำให้เกิดลักษณะสืบสายพันธุ์ การกลายพันธุ์แบบ Single-nucleotide polymorphism คือมีเบสดีเอ็นเอเปลี่ยนไปเบสเดียว จะสืบต่อไปยังลูกหลานของบุคคลนั้นทั้งหมด แต่ไม่มีในมนุษย์กลุ่มอื่น ดังนั้นสายตระกูลของบุคคลนั้นก็จะสามารถติดตามได้ ส่วนดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรีย (mitochondrial DNA ตัวย่อ mtDNA) นั้นสืบสายมาจากมารดาเท่านั้น จึงไม่เกิดการคัดเลือกทางเพศ นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นดีเอ็นเอที่เกิดการกลายพันธุ์ในอัตราความถี่สูง ทำให้สามารถใช้ประเมินเวลาการแยกสายตระกูล (หรือสายพันธุ์) ได้ดี * ผลงานวิจัยเกี่ยวกับ mtDNA หลายงานแสดงว่า หญิงที่เป็นต้นตระกูลของมนุษย์ปัจจุบันทั้งหมด ซึ่งเป็นหญิงที่เรียกว่า mitochondrial Eve (เอวาโดย mtDNA) มีชีวิตอยู่ประมาณ 90,000-200,000 ปีก่อน น่าจะในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งเป็นหลักฐานที่ให้น้ำหนักกับทฤษฎีกำเนิดมนุษย์จากแอฟริกาเร็ว ๆ นี้มากขึ้น (ดูรายละเอียดเพิ่มที่หัวข้อ "การอพยพย้ายถิ่นฐานของมนุษย์") * ผลงานวิจัยโดยจีโนมในปี ค.ศ. 2010 บอกเป็นนัยว่า มีลำดับดีเอ็นเอหลายส่วนที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์โบราณ Homo neanderthalensis (Neanderthal) ในดีเอ็นเอของมนุษย์ปัจจุบันทุกเผ่าพันธุ์ที่ไม่ใช่คนแอฟริกา และว่า Neanderthal และมนุษย์สกุลโฮโมสกุลอื่น ๆ เช่นกลุ่มมนุษย์โบราณที่รู้จักกันว่า Denisova hominin (Denisovan) เป็นต้นกำเนิดจีโนมถึง 1-10% ของจีโนมมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งบอกเป็นนัยว่า มีการผสมพันธุ์กัน ระหว่างมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์โบราณเหล่านี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มที่หัวข้อ "การผสมพันธุ์กันระหว่างมนุษย์กลุ่มต่าง ๆ") === หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ === ซากดึกดำบรรพ์หมายถึงส่วนที่หลงเหลืออยู่ หรือร่องรอยของพืชและสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่เกิดการเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน ส่วนซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สปีชีส์ในระหว่าง (intermediate species) เป็นซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่เหมือนกันกับของทั้งสัตว์กลุ่มบรรพบุรุษ และของสัตว์กลุ่มลูกหลานที่สืบเชื้อสายต่อจากกลุ่มบรรพบุรุษ เป็นหลักฐานสำคัญที่สามารถใช้แสดงและติดตามวิวัฒนาการของสัตว์ เมื่อดาร์วินประกาศทฤษฎีวิวัฒนาการในปี ค.ศ. 1859 (ดูรายละเอียดในหัวข้อ "ประวัติการศึกษาสมัยดาร์วิน") หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมีน้อยมากจนเขาได้กล่าวไว้ว่า "...เป็นข้อโต้แย้งที่เห็นได้ง่ายที่สุดที่สาหัสที่สุดต่อทฤษฎีของผม..." ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้มีการสั่งสมหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์มากมายที่สามารถช่วยชี้โครงสร้างกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ได้อย่างคร่าว ๆ หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์นั้น สามารถให้ข้อมูลโดยหลัก ๆ มีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ซากดึกดำบรรพ์ของสายพันธุ์มนุษย์ ซึ่งสามารถชี้กระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์เช่น * ลำดับการวิวัฒนาการทางโครงสร้างจากสัตว์คล้ายลิง มาเป็นมนุษย์ปัจจุบัน (ดูหัวข้อ "ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ" และ "ความเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค") * การวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์สองเท้า จากสัตว์ที่อยู่บนต้นไม้ โดยอนุมานจากโครงสร้างกระดูก (ดู "ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ" และ "การเดินด้วยสองเท้า") * การขยายขนาดของสมอง โดยกะโหลกศีรษะและโครงสร้างกระดูก (ดูหัวข้อ "การขยายขนาดสมอง") * ประเภทอาหารที่บริโภค โดยอนุมานจากลักษณะของใบหน้า กรามและฟัน และโดยการวิเคราะห์อัตราส่วนของไอโซโทปในเคลือบฟัน (enamel) เครื่องมือหิน สิ่งประดิษฐ์ วัตถุเครื่องใช้อื่น ๆ และซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่อยู่ใกล้ ๆ * พัฒนาการของเทคโนโลยีเทียบกับกาลเวลา (ดูหัวข้อ "การใช้เครื่องมือ") * สามารถอนุมานถึงอาหาร ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเฉลียวฉลาด และพฤติกรรมอย่างอื่น ๆ (ดูหัวข้อ "การใช้เครื่องมือ" "เครื่องมือหิน" และ "การเปลี่ยนมามีพฤติกรรมปัจจุบัน") ร่องรอยอื่น ๆ * ร่องรอยของไฟ สามารถบ่งการใช้และควบคุมไฟได้ * รอยเท้าสามารถบ่งการเดินด้วยสองเท้าอย่างชัดเจน (ดูหัวข้อ "รอยเท้าจากอดีต" และ "การเดินด้วยสองเท้า") ==== การหาอายุ ==== โดยคร่าว ๆ แล้ว การหาอายุซากดึกดำบรรพ์แบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลาคือ คือ การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (radiocarbon dating) สำหรับหาอายุจากซากสิ่งมีชีวิตน้อยกว่า 40,000 ปี (หรือ 58,000 - 62,000) วิธีอื่น ๆ รวมทั้งการหาอายุจากธาตุกัมมันตรังสี (radiometric dating) แบบอื่น ๆ สำหรับหาอายุระหว่าง 40,000-100,000 ปี การหาอายุจากโพแทสเซียมกัมมันตรังสี (radiopotassium dating) สำหรับหาอายุมากกว่า 100,000 ปี โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การหาอายุจากธาตุกัมมันตรังสีเป็นเทคนิคการหาอายุวัตถุต่าง ๆ เช่นหินหรือคาร์บอน โดยเปรียบเทียบไอโซโทปกัมมันตรังสีที่เกิดเองในธรรมชาติ กับผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสลายตัวของธาตุนั้น ที่มีอัตราการสลายตัวที่ชัดเจนแล้ว ส่วนการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีนั้นเป็นไปได้เพราะสิ่งมีชีวิตมีการบริโภคผลิตภัณฑ์ของพืชที่ได้รับคาร์บอน-14 ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและหยุดบริโภคเมื่อหมดชีวิต ดังนั้นจึงสามารถใช้หาอายุของสารประกอบอินทรีย์จากซากสิ่งมีชีวิตโดยตรง ส่วนการหาอายุจากโพแทสเซียมกัมมันตรังสีนั้นเป็นไปได้เพราะหินหลอมเหลวจากภูเขาไฟ (และเถ้า) มีธาตุนี้ ดังนั้นจึงสามารถใช้ชั้นหินเถ้าภูเขาไฟที่อยู่เหนือและใต้ซากในการประมาณอายุซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการได้ ==== ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ ==== hominin สปีชีส์ Australopithecus afarensis เป็นสปีชีส์ช่วงเปลี่ยนสภาพ ระหว่างบรรพบุรุษเอปที่เดินด้วยสี่เท้า กับมนุษย์ปัจจุบันที่เป็นสัตว์สองเท้า ลักษณะสายสืบพันธุ์ (trait) ของโครงกระดูกแสดงลักษณะเดินด้วยสองเท้าอย่างชัดเจน จนกระทั่งว่า นักวิชาการบางพวกเสนอว่า การเดินด้วยสองเท้าต้องเป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นก่อนสปีชีส์นี้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว กระดูกเชิงกรานเหมือนของมนุษย์มากกว่าเอป คือ กระดูกปีกสะโพกนั้นสั้นและกว้าง ส่วนกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacrum) ทั้งกว้างและอยู่ด้านหลังติดกับข้อสะโพก และมีหลักฐานที่ชัดเจนว่ากล้ามเนื้อเหยียดเข่า (Rectus femoris) ยึดอยู่กับกระดูกอย่างแน่น ซึ่งแสดงว่า ต้องมีอิริยาบถที่ตั้งขึ้น แม้กระดูกเชิงกรานจะไม่เหมือนกับมนุษย์ร้อยเปอร์เซนต์ (คือกว้างกว่า โดยมีกระดูกปีกสะโพกโค้งยืดออกไปข้าง ๆ) แต่ลักษณะเหล่านี้ต่างจากลิงใหญ่อื่น ๆ อย่างชัดเจน ทำให้สามารถเดินด้วยสองเท้าได้โดยระดับหนึ่ง นอกจากนั้นแล้ว กระดูกต้นขายังโค้งเข้าไปทางเข่าจากสะโพก ทำให้สามารถวางเท้าเข้าไปใกล้แนวกึ่งกลางของร่างมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนว่า เดินด้วยสองเท้าเป็นปกติ มนุษย์ปัจจุบัน ลิงอุรังอุตัง และลิงโลกใหม่ (ในทวีปอเมริกา) สกุล Ateles ในปัจจุบันล้วนแต่มีลักษณะแบบนี้ นอกจากนั้นแล้ว ส่วนเท้ายังมีหัวแม่โป้งหันไปทางด้านหน้า (adducted) ซึ่งทำให้การจับต้นไม้ด้วยเท้ายากหรือว่าเป็นไปไม่ได้ นอกจากการเดินแล้ว A. afarensis ยังมีฟันที่เหมือนกับมนุษย์มากกว่าเอป เช่นมีขนาดเล็กกว่าเป็นต้น ==== ตัวอย่างรอยเท้าจากอดีต ==== ในปี ค.ศ. 1978 ทีมของนักบรรพชีวินวิทยาแมรี ลีกคี พบรอยเท้าของ hominin เดินด้วยสองเท้าที่โบราณสถาน Laetoli ประเทศแทนซาเนีย เป็นทางยาวประมาณ 24 เมตร เป็นของ hominin 2 ตน มีอายุถึง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เป็นรอยเท้าของ homonini สปีชีส์ Australopithecus afarensis (เหมือนกับลูซี่ข้างบน) รอยเท้าจึงทำให้หมดความสงสัยว่า hominin ที่อาจเป็นบรรพบุรุษมนุษย์พวกนี้เดินตัวตรงด้วยสองเท้าจริง ๆ เพราะไม่มีรอยใช้ข้อนิ้วมือยันพื้น (เช่นในลิงชิมแปนซีและกอริลลา) นอกจากนั้นแล้ว รอยเท้ายังไม่มีรอยนิ้วแม่โป้งที่เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเหมือนกับของเอป แต่มีส่วนโค้งเท้าเหมือนกับมนุษย์ปัจจุบัน ส่วนท่าทางการเดินดูเหมือนจะเป็นแบบสบาย ๆ งานวิจัยในปี ค.ศ. 2007 โดยใช้การจำลองโดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้ข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ของ A. afarensis และระยะห่างของรอยเท้าที่พบแสดงว่า hominin เหล่านี้เดินด้วยความเร็วประมาณ 1.0 เมตร/วินาที หรือเร็วกว่านั้น ซึ่งเป็นความเร็วประมาณเท่ามนุษย์ปัจจุบัน ผลงานวิจัยอื่น ๆ เช่นในปี ค.ศ. 2010 ยืนยันทฤษฎีว่า รอยเท้านี้เป็นของสัตว์ที่มีท่าเดินเหมือนมนุษย์ === วิวัฒนาการมนุษย์น่าเชื่อถือหรือไม่ === วิธีการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการมนุษย์นั้นเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยคร่าว ๆ เป็นวงจรของการตั้งสมมติฐานและการหาหลักฐานเพื่อยืนยันหรือปฏิเสธสมมติฐานนั้น ๆ เพราะฉะนั้น รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์สามารถทดสอบได้โดยหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ว่าเข้ากันกับสมมติฐานที่เป็นประเด็นศึกษาได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีสมมติฐานว่า มนุษย์เช่นเราได้มีมาตั้งแต่กำเนิดโลก จะเป็นโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 6,000 ปีก่อนหรือก่อนหน้านี้ก็ตาม เมื่อขุดหาหลักฐานในที่สมควร ก็ควรจะได้ซากของมนุษย์เหมือนกับเราเริ่มต้นตั้งแต่ที่จุดกำเนิดนั้น ๆ แต่ถ้าปรากฏว่า กลับมีมนุษย์เหมือนกับเราเริ่มต้นตั้งแต่ 300,000 ปีก่อน สมมติฐานว่าโลกเกิดเมื่อ 6,000 ปีก่อนพร้อมกับมนุษย์ก็ถูกปฏิเสธโดยหลักฐาน และสมมติฐานว่ามีมนุษย์เหมือนกับเราก่อนหน้า 300,000 ปีก่อน ก็ยังไม่มีหลักฐานที่จะสนับสนุน (แต่กลับมีสัตว์อื่นที่คล้ายกับเราแต่ไม่เหมือนเราก่อนหน้านั้น) ดังนั้นประเด็นต่าง ๆ ของวิวัฒนาการมนุษย์นั้น จะเชื่อถือได้ก็โดยหลักฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ได้ผ่านการพิจารณาตามศาสตร์ต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์แล้วแสดงข้อสรุปเดียวกันมาแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงแต่อาศัยความเชื่อหรือความเห็น หรือแม้แต่เพียงอาศัยสมมติฐานเท่านั้น โดยที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน หรืออาจจะมีหลักฐานค้านด้วยซ้ำ ประเด็นต่าง ๆ ที่มีการศึกษาอยู่บางส่วน ก็มีหลักฐานสั่งสมมามากมายจนสามารถสรุปได้อย่างชัดเจนแล้ว บางส่วนก็ยังต้องมีการสั่งสมหลักฐานเพื่อยืนยันหรือปฏิเสธสมมติฐานต่าง ๆ ต่อไป (ซึ่งหลักฐานใหม่อาจเปลี่ยนประเด็นหรือแม้แต่ข้อสรุปที่นักวิทยาศาสตร์บางส่วนมีมติเห็นด้วย - ดูตัวอย่างในหัวข้อ "การปฏิวัติทางพันธุศาสตร์" และ "ทฤษฎีอพยพสองอย่างที่ขัดแย้งกัน") และบางส่วนก็อาจจะไม่สามารถหาข้อยุติได้ == ประวัติการศึกษา == === ก่อนดาร์วิน === คำว่า Homo ซึ่งเป็นชื่อสกุลทางชีววิทยาของมนุษย์ เป็นคำภาษาละตินที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "human" และแปลเป็นภาษาไทยว่า มนุษย์ เป็นคำที่เลือกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนคาโรลัส ลินเนียสในปี ค.ศ. 1758 (ผู้เริ่มเรียกสัตว์สกุลต่าง ๆ โดยใช้ทวินาม) ในระบบการจำแนกสิ่งมีชีวิตของเขา คำว่า "human" ในภาษาอังกฤษ มาจากคำภาษาละตินว่า humanus ซึ่งก็เป็นคำวิเศษณ์ของคำว่า homo ลินเนียสและนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ในยุคนั้นพิจารณาว่า วงศ์ลิงใหญ่เป็นสัตว์ที่ใกล้กับมนุษย์ที่สุด จากความคล้ายคลึงกันโดยสัณฐานและโดยกายวิภาค === สมัยดาร์วิน === การศึกษาทางบรรพมานุษยวิทยา (Paleoanthropology) แบบปัจจุบัน ก็เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการค้นพบซากมนุษย์ Neanderthal ในปี ค.ศ. 1829 (ประเทศเบลเยียม) 1848 (ยิบรอลตาร์) และ 1856 (ประเทศเยอรมนี) ความเป็นไปได้ว่า มนุษย์มีบรรพบุรุษเดียวกับพวกลิง ก็ปรากฏอย่างชัดเจนในปี ค.ศ. 1859 เมื่อชาลส์ ดาร์วินพิมพ์หนังสือ On the Origin of Species (กำเนิดของสปีชีส์) ซึ่งเขาได้เสนอไอเดียว่า สัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ มีการวิวัฒนาการมาจากสปีชีส์ก่อน ๆ ที่เป็นบรรพบุรุษ หนังสือของดาร์วินไม่ได้พูดถึงวิวัฒนาการของมนุษย์โดยตรง แต่ได้กล่าวไว้เพียงแค่นี้ว่า "จะเกิดแสงสว่างในอนาคตเกี่ยวกับต้นกำเนิดและประวัติของมนุษย์" การอภิปรายถึงวิวัฒนาการมนุษย์เกิดขึ้นครั้งแรกระหว่างนักชีววิทยาโทมัส ฮักซ์ลีย์ และริชาร์ด โอเวน โดยฮักซ์ลีย์เสนอว่า มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากเอปโดยแสดงความคล้ายคลึงกันและความต่างกันระหว่างมนุษย์และเอป โดยเฉพาะในหนังสือปี ค.ศ. 1863 ที่ชื่อว่า Evidence as to Man's Place in Nature (หลักฐานความเป็นส่วนธรรมชาติของมนุษย์) ถึงอย่างนั้น แม้นักวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนทฤษฎีของดาร์วิน (เช่น อัลเฟรด วอลเลซ และชาลส์ ไลเอลล์) ตอนแรกก็ไม่เห็นด้วยว่า สติปัญญาและความมีศีลธรรมของมนุษย์สามารถอธิบายได้โดยทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ แม้ว่าความคิดนี้จะเปลี่ยนไปในภายหลัง ต่อมาในปี ค.ศ. 1871 ดาร์วินได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการและการคัดเลือกอาศัยเพศ (sexual selection) กับมนุษย์เมื่อเขาพิมพ์หนังสือ The Descent of Man, and Selection in Relation to Sex (เชื้อสายมนุษย์ และการคัดเลือกโดยสัมพันธ์กับเพศ) === ซากดึกดำบรรพ์ยุคแรก ๆ === ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับความถูกต้องของทฤษฎีวิวัฒนาการในยุคนั้นก็คือ การขาดแคลนหลักฐานในส่วนของซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพระหว่างเอปที่เป็นบรรพบุรุษกับมนุษย์ที่เป็นลูกหลาน ถึงแม้ว่านักกายวิภาคชาวดัตช์ ยูจีน ดูบัวส์ จะได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่ปัจจุบันนี้จัดว่าเป็นส่วนของ Homo erectus ที่เกาะชวาในปี ค.ศ. 1891 (ที่นักวิทยาศาสตร์บางพวกไม่เห็นด้วยว่ากระดูกที่พบทั้งหมดมาจากบุคคลเดียวกัน) นักวิทยาศาสตร์ก็ยังต้องรอจนกระทั่งถึงช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 กว่าจะมีการพบหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพเพิ่มขึ้น และเริ่มมีการสั่งสมเพิ่มขึ้นต่อ ๆ มาในทวีปแอฟริกา ในปี ค.ศ. 1924 นักกายวิภาคชาวออสเตรเลียเรมอนด์ ดาร์ท ได้ค้นพบ hominin สปีชีส์ Australopithecus africanus ซึ่งเป็นตัวอย่างต้นแบบแรก ที่เรียกว่า Taung Child ซึ่งเป็นทารกเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina ที่ค้นพบในถ้ำแห่งหนึ่งในเมือง Taung ประเทศแอฟริกาใต้ ซากมีสภาพดีเป็นหัวกะโหลกเล็ก ๆ และเป็นรูปหล่อภายในกะโหลกศีรษะ (endocranial cast) ของสมอง ถึงแม้ว่าสมองนั้นยังเล็ก (410 ซม3) แต่ก็มีรูปร่างกลมซึ่งไม่เหมือนของลิงชิมแปนซีและกอริลลา แต่เหมือนกับของมนุษย์ปัจจุบันมากกว่า นอกจากนั้นแล้ว ตัวอย่างนั้นยังแสดงฟันเขี้ยวที่สั้น และตำแหน่งของช่องฟอราเมน แมกนัมที่เป็นหลักฐานของการเดินด้วยสองเท้า ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ดาร์ทมั่นใจว่า ทารกนั้นเป็นสัตว์บรรพบุรุษมีสองเท้าของมนุษย์ เป็นสปีชีส์ในระหว่างเอปกับมนุษย์ === ซากดึกดำบรรพ์จากแอฟริกาตะวันออก === ในช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์เป็นร้อย ๆ ซาก โดยเฉพาะจากแอฟริกาตะวันออกในส่วนต่าง ๆ ของโกรกธาร Olduvai Gorge และทะเลสาบ Lake Turkana หัวหน้านำงานศึกษาในตอนนั้นก็คือครอบครัวลีกคี โดยตอนแรกเป็นนักบรรพชีวินวิทยาหลุยส์ ลีกคีและภรรยาคือแมรี ลีกคี และต่อจากนั้นก็เป็นบุตรชายคือริชาร์ดและลูกสะใภ้มีฟ เป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในการหาซากดึกดำบรรพ์ คือ จากชั้นหินซากดึกดำบรรพ์ของโกรกธาร Olduvai Gorge และทะเลสาบ Lake Turkana พวกเขาได้สั่งสมซาก hominin สาย australopithecine, มนุษย์สกุล โฮโม ยุคต้น ๆ, และแม้กระทั่งซากของ Homo ergaster/erectus การค้นพบเหล่านี้ทำให้มั่นใจได้ว่า แอฟริกาเป็นกำเนิดของมวลมนุษย์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ประเทศเอธิโอเปียกลายเป็นแหล่งสำคัญใหม่ของบรรพมานุษยวิทยา เมื่อ ดร. โดนัลด์ โจแฮนสัน ได้ค้นพบ "ลูซี่" ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์ของ hominin สปีชีส์ Australopithecus afarensis ที่ตอนนั้นเป็นซาก hominin สมบูรณ์ที่สุดในหมู่บ้าน Hadar ในโบราณสถาน Middle Awash ด้านเหนือของประเทศเอธิโอเปียที่เป็นเขตทะเลทราย เขตนี้จะเป็นแหล่งของซากดึกดำบรรพ์ของเผ่า hominini ใหม่ ๆ มากมาย โดยเฉพาะที่ค้นพบโดยทีมของ ดร. ทิม ไวท์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 เช่น Ardipithecus ramidus (อาร์ดี้) === การปฏิวัติทางพันธุศาสตร์ === การปฏิวัติทางพันธุศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ก็เริ่มขึ้น เมื่อนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกันวินเซ็นต์ ซาริก และนักชีวเคมีชาวอเมริกันอัลแลน วิลสัน วัดระดับปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันที่เกิดจากโปรตีนแอลบูมินในน้ำเลือด (serum albumin) ในระหว่างสัตว์ที่เป็นคู่ (คือปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนคือแอลบูมินจากสัตว์หนึ่ง กับแอนติบอดีที่สร้างขึ้นต้านแอนติเจนนั้นในอีกสัตว์หนึ่ง) รวมทั้งมนุษย์และเอปจากทวีปแอฟริกา (คือลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซี) ระดับปฏิกิริยาสามารถกำหนดเป็นตัวเลขซึ่งเป็นตัวแทนของ "ระยะห่างทางภูมิคุ้มกัน" (immunological distance ตัวย่อ ID) ซึ่งมีสัดส่วนตามจำนวนความแตกต่างกันของกรดอะมิโนระหว่างโปรตีนกำเนิดเดียวกัน (homologous protein) ของสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ (ดังนั้น ระยะห่างที่ใกล้จึงหมายถึงสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด) โดยสร้างเส้นโค้งเทียบมาตรฐาน (calibration curve) ของ ID ระหว่างคู่สปีชีส์ เทียบกับระยะเวลาที่สายพันธุ์แยกออกจากกันตามที่มีหลักฐานแสดงโดยซากดึกดำบรรพ์ที่ชัดเจน เส้นโค้งนี้สามารถใช้เป็น molecular clock (นาฬิกาอาศัยโครงสร้างโมเลกุล) เพื่อประมาณระยะเวลาที่สายพันธุ์แยกออกจากกันระหว่างสปีชีส์คู่ที่ไม่มีซากดึกดำบรรพ์หรือมีซากที่ให้ข้อมูลได้ไม่ชัดเจน ในผลงานวิจัยทรงอิทธิพลปี ค.ศ. 1967 ของพวกเขาในวารสาร Science ซาริกและวิลสันประมาณระยะเวลาที่สายพันธุ์แยกออกจากกันของมนุษย์และลิงใหญ่ว่าเป็น ซึ่งเป็นสมัยที่คำอธิบายโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ประเมินระยะเวลานี้ที่ แต่ซากดึกดำบรรพ์ที่พบต่อ ๆ มา โดยเฉพาะของลูซี่ (Australopithecus afarensis) และการตีความหมายข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบก่อน ๆ ใหม่ โดยเฉพาะของไพรเมตบรรพบุรุษของลิงอุรังอุตังสกุล Ramapithecus ที่มีชีวิตประมาณ 8.5-12.5 ล้านปีก่อน (สมัยไมโอซีนกลาง-ปลาย) แสดงว่า ค่าประมาณที่ต่ำกว่าของซาริกและวิลสันนั้นถูกต้อง ซึ่งแสดงความถูกต้องของวิธีการวัดโดยแอลบูมิน (แต่มาถึงในสมัยปัจจุบัน ค่านั้นได้เปลี่ยนไปบ้างแล้ว ดูหลักฐานทางอณูชีววิทยา) การประยุกต์ใช้หลักของ molecular clock ได้ปฏิวัติการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางโครงสร้างโมเลกุล (molecular evolution) === การสืบหา hominin ที่เก่าแก่ที่สุด === ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 มีนักบรรพมานุษยวิทยา (paleoanthropologist) หลายทีมทั่วแอฟริกากำลังทำการค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับเผ่า Hominini ที่เก่าที่สุดหลังจากการแยกสายพันธุ์ออกจากวงศ์ลิงใหญ่ ในปี ค.ศ. 1994 มีฟ ลีกคี ค้นพบซากของ hominin สปีชีส์ Australopithecus anamensis มีอายุประมาณ 4 ล้านปี แต่ว่าการค้นพบนี้ถูกทำให้อับแสงด้วยการค้นพบ hominin สปีชีส์ Ardipithecus ramidus ของทิม ไวท์ ในปีเดียวกัน ซึ่งมีประมาณอายุที่ 4.4 ล้านปี ในปี ค.ศ. 2000 นักบรรพมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศสมาร์ติน พิกฟอร์ด และบริกีต์ เซนูต์ ค้นพบ hominin ที่เดินด้วยสองเท้า มีอายุ 6 ล้านปีในบรรพชีวินสถาน Tugen Hills ของประเทศเคนยา ซึ่งพวกเขาได้ตั้งชื่อสปีชีส์ว่า Orrorin tugenensis ในปี ค.ศ. 2001 ทีมนักวิจัยนำโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวฝรั่งเศสไมเคิล บรูเนต์ ค้นพบกะโหลกศีรษะของสัตว์วงศ์ลิงใหญ่ (หรืออาจจะเป็นเผ่า hominini) สปีชีส์ Sahelanthropus tchadensis อายุ 7 ล้านปี ซึ่งบรูเนต์อ้างว่า เป็นสัตว์สองเท้า และดังนั้นจึงจัดอยู่ในเผ่า hominini === การย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ === นักมานุษยวิทยาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ไม่มีมติร่วมกันเกี่ยวกับรายละเอียดการอพยพย้ายถิ่นฐานของมนุษย์สกุลโฮโม ต่อจากนั้น ก็เริ่มมีการใช้วิธีการทางกรรมพันธุ์เพื่อตรวจสอบและแก้ประเด็นปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ การอพยพของมนุษย์ยุคต้นก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อมนุษย์ H. ergaster/erectus เป็น Homo รุ่นแรกที่อพยพออกจากแอฟริกาผ่านช่องทางที่เรียกว่า "Levantine corridor" (ช่องทางเลแวนต์) โดยผ่านเขตจะงอยแอฟริกา ไปทางยูเรเชีย เริ่มตั้งแต่ หลังจากนั้นก็ตามด้วย H. antecessor ไปทางยุโรปเมื่อ 800,000 ปีก่อน แล้วตามด้วย H. heidelbergensis ซึ่งเป็นสปีชีส์ที่น่าจะเป็นบรรพบุรุษของทั้งมนุษย์ปัจจุบัน (โดยสายที่อยู่ในแอฟริกา) และของ Neanderthal (โดยสายที่อยู่ในยูเรเชีย) เมื่อ 600,000 ปีก่อน ==== ทฤษฎีอพยพสองอย่างที่ขัดแย้งกัน ==== "ทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" (Recent African origin of modern humans หรือสั้น ๆ ว่า Recent African origin) เสนอว่า มนุษย์ปัจจุบันคือ H. sapiens เกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ในทวีปแอฟริกาเมื่อเพียงเร็ว ๆ นี้ (ประมาณ 300,000 ปีก่อน) จากบรรพบุรุษในแอฟริกา ไม่ใช่จากพวกมนุษย์ที่อพยพออกมาแล้ว และมีการอพยพของมนุษย์สปีชีส์นี้ผ่านทวีปยูเรเชียไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ เป็นการทดแทนมนุษย์สกุลโฮโม อื่น ๆ เกือบสิ้นเชิง คริส สตริงเกอร์ และปีเตอร์ แอนดรูส์ ได้พัฒนาแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์นี้ในปี ค.ศ. 1988 ซึ่งพร้อมกับแบบจำลองของการอพยพออกจากแอฟริกาตะวันออก เป็นแบบกำเนิดมนุษย์ที่หมู่วิทยาศาสตร์ยอมรับมากที่สุดจนถึงปี ค.ศ. 2006 โดยเปรียบเทียบกัน "สมมติฐานวิวัฒนาการภายในหลายเขต" (Multiregional Evolution) เสนอว่ามนุษย์สกุลโฮโม มีเพียงสปีชีส์เดียวที่มีกลุ่มประชากรต่าง ๆ ที่มีการติดต่อกันตั้งแต่ต้น ไม่ใช่มีสปีชีส์ต่าง ๆ กัน และวิวัฒนาการของมนุษย์ก็เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างสืบเนื่องกันตลอด 2-3 ล้านปีที่ผ่านมา นักบรรพมานุษยวิทยาชาวอเมริกันมิลฟอร์ด วอลปอฟฟ์ ได้เสนอแบบจำลองนี้ในปี ค.ศ. 1988 ==== ทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้มีน้ำหนักกว่า ==== ภายในสองทศวรรษที่ผ่านมา มีการพบซากดึกดำบรรพ์ Homo sapiens ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกในแอฟริกา คือ ในปี ค.ศ. 2017 มีการค้นพบกระดูกกะโหลกศีรษะของบรรพบุรุษมนุษย์ปัจจุบันจากโบราณสถาน Jebel Irhoud ประเทศโมร็อกโก อายุประมาณ 315,000 ปี ในปี ค.ศ. 1997 (เผยแพร่ 2003) มีการพบกะโหลกศีรษะ 3 กะโหลกในเขต Middle Awash เอธิโอเปีย อายุประมาณ 160,000 ปี ซากดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่า Omo remains ขุดได้จากเขตใกล้กับ Middle Awash มีอายุประมาณ 195,000 ปี เหล่านี้เป็นหลักฐานส่วนหนึ่งที่อาจแสดงว่า มนุษย์ปัจจุบันมีกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกา นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยโดยใช้ haplogroup ใน Y-DNA และ mtDNA ต่อมา ยังสนับสนุนทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้โดยมาก ความก้าวหน้าในการหาลำดับดีเอ็นเอ โดยเฉพาะในดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย (mtDNA) และต่อจากนั้น ในดีเอ็นเอของโครโมโซม Y (Y-DNA) ได้ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์ให้ดีขึ้น คือ การหาลำดับของทั้ง mtDNA และ Y-DNA ที่ได้ตัวอย่างมาจากคนพื้นเมืองในที่ต่าง ๆ ได้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับบรรพบุรุษที่สืบมาทั้งจากทางมารดาและทางบิดา คือได้พบว่า มนุษย์ปัจจุบันทั้งหมดสืบสายโดยไม่ขาดตอนมาจากหญิงคนเดียวกัน ระหว่าง 90,000-200,000 ปีก่อน (ผู้เรียกว่า mitochondrial Eve) และมาจากชายคนเดียวกันผู้น่าจะอยู่ในแอฟริกากลาง-ตะวันตกเฉียงเหนือ ระหว่าง 180,000-338,000 ปีก่อน (ผู้เรียกว่า Y-DNA Adam) นอกจากนั้นแล้ว ยังมีงานวิเคราะห์ที่ได้แสดงระดับความหลากหลายของรูปแบบดีเอ็นเอทั่วทวีปแอฟริกาที่สูงกว่านอกทวีป ซึ่งเข้ากับไอเดียว่า แอฟริกาเป็นแหล่งกำเนิดของมารดาที่เป็นต้นแบบของ mtDNA (mitochondrial Eve) และบิดาที่เป็นต้นแบบของ Y-DNA (Y-chromosomal Adam) ข้อมูลทางกรรมพันธุ์เช่นนี้มีการตีความหมายว่า สนับสนุนทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา ==== การผสมพันธุ์กันระหว่างมนุษย์กลุ่มต่าง ๆ ==== อย่างไรก็ดี ก็ยังมีหลักฐานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์ กันระหว่างมนุษย์ปัจจุบันกับสปีชีส์ต่าง ๆ ของกลุ่มมนุษย์โบราณอีกด้วย คือ ในปี ค.ศ. 2010 การหาลำดับดีเอ็นเอของ Neanderthal (Homo neanderthalensis) และของ Denisovan (Denisova hominin) พบว่า มีการผสมพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันกับมนุษย์สปีชีส์อื่น ๆ คือ มนุษย์ปัจจุบันนอกทวีปแอฟริกามีอัลลีลของ Neanderthal ประมาณ 1-4% ในจีโนม (ต่อมาปรับปรุงว่ามี 1-3%) ของตน และชาวเมลานีเซียยังมีอัลลีลของ Denisovan อีก 4-6% (ต่อมาปรับปรุงว่ามี 3.5%) เทียบกับมนุษย์ปัจจุบันอื่น คือ HLA haplotype ที่มีกำเนิดจาก Neanderthal และ Denisovan มีทั้งในคนยูเรเชีย และในคนโอเชียเนียในปัจจุบัน แต่ในคนแอฟริกาไม่มี นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยอื่นในปี ค.ศ. 2011 และ 2012 ยังพบด้วยอีกว่า กลุ่มชนแอฟริกาใต้สะฮารามีเชื้อสายมาจากกลุ่มมนุษย์โบราณที่ยังไม่รู้จัก โดยปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว แต่ว่า ผลงานทางพันธุกรรมเหล่านี้ไม่ได้ขัดแย้งกับทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้ ยกเว้นแต่นัยที่ตีความหมายอย่างแคบที่สุด (คือไม่มีการผสมพันธุ์ระหว่างมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์โบราณ) คือมีนักวิทยาศาสตร์บางพวกที่ชอบใจทฤษฏีที่รวมเอาองค์ประกอบของทฤษฎีที่ขัดแย้งกันทั้งสองเพราะว่าสามารถอธิบายข้อมูลได้ดีที่สุด คือว่า ไม่ได้เกิดสปีชีส์ของมนุษย์ใหม่จริง ๆ ในแอฟริกา (ซึ่งทำให้การผสมพันธุ์กับมนุษย์รุ่นก่อน ๆ เป็นไปได้) แต่ว่า มีมนุษย์รุ่นใหม่ที่มีกายวิภาคปัจจุบันที่อพยพออกไปจากแอฟริกาแล้วเข้าไปตั้งถิ่นฐานแทนที่มนุษย์รุ่นก่อน ๆ โดยในบางที่อาจจะมีการผสมพันธุ์กันกับมนุษย์รุ่นก่อน ๆ แม้ว่าจะมีน้อย คือ ผลงานทางกรรมพันธุ์ (2010, 2011, 2012) สามารถอธิบายได้ว่า หลังจากการฟื้นตัวจากคอคอดประชากร (population bottleneck) ที่อาจมีสาเหตุมาจากมหันตภัยภูเขาไฟทะเลสาบโตบาประมาณ 75,000 ปีก่อน มนุษย์กลุ่มค่อนข้างเล็กได้ผสมสายพันธุ์กับ Neanderthal ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นที่ตะวันออกกลาง หรือแอฟริกาเหนือก่อนที่จะอพยพออกจากทวีปแอฟริกา และลูกหลานของมนุษย์กลุ่มนี้ซึ่งก็ยังเป็นเชื้อสายคนแอฟริกาโดยมาก ก็ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และมีส่วนหนึ่งที่ผสมสายพันธุ์กับ Denisovan น่าจะที่เอเชียอาคเนย์ ก่อนที่จะไปถึงเมลานีเซีย อีกอย่างหนึ่ง การผสมพันธุ์กับมนุษย์มนุษย์โบราณมีระดับค่อนข้างที่จะต่ำ (1-10%) และยังมีงานวิจัยอื่นหลังจาก ปี ค.ศ. 2010 ที่เสนอว่า กรรมพันธุ์ของมนุษย์โบราณอื่น ๆ ที่พบในมนุษย์ปัจจุบันอาจจะอธิบายได้โดยลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่สืบมาจากบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 500,000-800,000 มาแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเพราะผสมพันธุ์กันเร็ว ๆ นี้ ==== แบบจำลองมีการอพยพหลายครั้ง ==== ถึงกระนั้น ทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้ ก็ยังมีทฤษฎีย่อยต่าง ๆ กันอีกว่า เป็นการอพยพเพียงครั้งเดียว หรือหลายครั้ง แบบจำลองอพยพหลายครั้ง (multiple dispersal model) รวมเอาทฤษฎีอพยพไปทางทิศใต้ (Southern Dispersal theory) เข้าไว้ด้วย ซึ่งเริ่มได้รับหลักฐานสนับสนุนทางกรรมพันธุ์ ทางภาษา และทางโบราณคดี เป็นทฤษฎีที่บอกว่า มีการอพยพของมนุษย์ปัจจุบันจากเขตติดทะเลคือจากจะงอยแอฟริกา (คือจากแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ หรือแหลมโซมาลี) ประมาณ 70,000 ปีก่อนเป็นกลุ่มแรก กลุ่มนี้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเอเชียอาคเนย์และโอเชียเนีย ซึ่งอธิบายโบราณสถานในเขตเหล่านี้ ที่เก่าแก่ยิ่งกว่าในเขตเลแวนต์ (เขตฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทิศตะวันออก) แต่หลักฐานของการอพยพตั้งถิ่นฐานของมนุษย์กลุ่มแรกโดยมากน่าจะถูกทำลายโดยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นหลังจากยุคน้ำแข็งแต่ละยุคสิ้นสุดลง เพราะเป็นการตั้งถิ่นฐานในเขตฝั่งทะเลที่ถูกน้ำท่วมหลังจากน้ำแข็งละลายแล้วทะเลสูงขึ้น ส่วนมนุษย์กลุ่มที่สองออกจากทวีปแอฟริกาข้ามคาบสมุทรไซนายเข้าไปในเอเชีย แล้วทำการตั้งถิ่นฐานโดยมากในทวีปยูเรเชีย กลุ่มนี้อาจจะมีเทคโนโลยีเครื่องมือที่ทันสมัยกว่า จึงต้องอาศัยแหล่งอาหารทางทะเลน้อยกว่ากลุ่มแรก แต่ว่าแบบจำลองอพยพหลายครั้งมีหลักฐานคัดค้านจากงานวิจัยในปี ค.ศ. 2005 ที่แสดงว่า กลุ่มประชากรในทวีปยูเรเชีย (กลุ่มสอง) และในเอเชียอาคเนย์และโอเชียเนีย (กลุ่มแรก) ล้วนแต่มี mtDNA เชื้อสายเดียวกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สนับสนุนว่ามีการอพยพเพียงสายเดียวออกจากแอฟริกาตะวันออกที่เป็นเหตุกำเนิดของประชากรนอกแอฟริกาทั้งหมด == ความเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค == วิวัฒนาการของมนุษย์สามารถกำหนดได้โดยความเปลี่ยนแปลงทางสัณฐาน (morphological) ทางพัฒนาการ (developmental) ทางสรีรภาพ (physiological) และทางพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การแยกออกจากสายพันธุ์ของลิงชิมแปนซี การปรับตัวที่สำคัญที่สุดก็คือการเดินด้วยสองเท้า (bipedalism), การขยายขนาดของสมอง (encephalization), ช่วงการพัฒนาและการเติบโตที่ยาวนานขึ้น (ทั้งในท้องและในวัยเด็ก) และความแตกต่างระหว่างเพศ (sexual dimorphism) ที่ลดลง แต่ความสัมพันธ์ต่อกันและกันของความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติ การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานอื่น ๆ ที่สำคัญรวมทั้งวิวัฒนาการของการจับวัตถุได้อย่างแม่นยำและมีกำลัง ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกใน Homo ergaster/erectus === การเดินด้วยสองเท้า === การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) เป็นการปรับตัวขั้นพื้นฐานของสัตว์เผ่า hominini และพิจารณาว่าเป็นเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างกระดูกต่าง ๆ ที่ hominin ทุก ๆ สกุลมี เผ่า hominini ที่เดินด้วยสองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดพิจารณาว่าเป็นสกุล Sahelanthropus หรือไม่ก็สกุล Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงที่เดินโดยใช้ข้อนิ้วมือคือลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในเวลาใกล้ ๆ กัน โดยอาจจะมีสกุล Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันกับมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย australopithecina (australopithecine ปกติรวมเอาสกุล Australopithecus และ Paranthropus) และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มีทฤษฎีหลายทฤษฎีถึงประโยชน์ในการปรับตัวใช้สองเท้า เป็นไปได้ว่า การเดินด้วยสองเท้าได้รับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เพราะว่า ทำให้มือเป็นอิสระในการจับสิ่งของและในการถืออาหาร, เป็นการประหยัดพลังงานในขณะเดินทาง, ทำให้สามารถวิ่งได้และล่าสัตว์ได้ไกล ๆ, ทำให้เห็นได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดความร้อนเกินโดยลดเนื้อที่ผิวที่ถูกแสงอาทิตย์ การปรับตัวทั้งหมดนี้ก็อาจเพื่อมีสภาพที่เหมาะสมยิ่งขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปที่นักวิทยาศาสตร์มีสมมติฐานต่าง ๆ เป็นต้นว่า มีป่าลดลง มีทุ่งหญ้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในแอฟริกาตะวันออก ทำให้จำเป็นในการเดินด้วยสองเท้า (savanna hypothesis) มีป่าที่ผสมกับทุ่งหญ้า เปิดโอกาสให้หากินได้ทั้งบนต้นไม้และบนพื้น (mosaic hypothesis) มีสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้จำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ อย่างได้ (variability hypothesis) โดยกายวิภาค การเดินด้วยสองเท้าต้องประกอบพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างกระดูก ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ขาที่ยาวขึ้นและเชิงกรานที่เปลี่ยนรูปร่างไปเท่านั้น แต่กับส่วนอื่น ๆ เช่นกระดูกสันหลัง เท้ากับข้อเท้า และกะโหลกศีรษะด้วย คือ กระดูกต้นขาเกิดวิวัฒนาการโดยโค้งเข้ามาทางศูนย์กลางความโน้มถ่วง เข้ามาแนวกลางด้านตั้งของร่างกาย หัวข้อเข่าและข้อเท้าก็แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ส่วนกระดูกสันหลังก็เปลี่ยนไปเป็นรูป S เพื่อที่แต่ละข้อจะรองรับน้ำหนักมากขึ้นเมื่อยืน และกระดูกสันหลังระดับเอว (lumbar vertebrae) ก็สั้นลงและกว้างขึ้น ส่วนที่เท้า หัวแม่โป้งก็หันไปทางเดียวกันกับนิ้วเท้าอื่น ๆ ที่สั้นลงเพื่อช่วยในการเดินไปข้างหน้า กระดูกเท้าก็เพิ่มส่วนโค้งในทางยาว แขนทั้งส่วนต้นส่วนปลายก็สั้นลงเทียบกับขาเพื่อทำให้วิ่งสะดวกยิ่งขึ้น ช่องฟอราเมน แมกนัมซึ่งเป็นทางออกของไขสันหลังที่กะโหลกศีรษะ ก็ย้ายไปอยู่ทางด้านล่างของกะโหลกเยื้องไปทางด้านหน้า เทียบกับของลิงใหญ่ที่เยื้องไปทางด้านหลัง แต่ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดอยู่ที่กระดูกเชิงกราน โดยที่กระดูกปีกสะโพกที่ก่อนหน้านี้ยื่นยาวไปด้านล่าง เกิดสั้นลงและกว้างขึ้น (ดูรูป) ซึ่งจำเป็นเพื่อรองรับอวัยวะภายในขณะยืนและเดิน ดังนั้น hominin ที่เดินด้วยสองเท้าจึงมีกระดูกเชิงกรานที่สั้นกว่า แต่กว้าง มีรูปร่างคล้ายชาม จุดอ่อนก็คือ ช่องคลอดในหญิงสายพันธุ์มนุษย์มีขนาดเล็กกว่าเอปที่เดินใช้หลังกระดูกข้อนิ้วมือ แม้ว่าจะมีการขยายใหญ่ขึ้นอีกในบางสกุลโดยเฉพาะของมนุษย์ปัจจุบัน (เมื่อเทียบกับของ australopithecine) เพื่อให้ทารกที่มีกะโหลกศีรษะใหญ่ขึ้นผ่านออกมาได้ แต่ขนาดที่ใหญ่ขึ้นจำกัดอยู่ที่ด้านบนของเชิงกรานเท่านั้น เพราะว่า ความเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้สามารถเป็นอุปสรรคแก่การเดินด้วยสองเท้าได้ เชิงกรานที่สั้นลงและช่องคลอดที่เล็กลงเป็นการวิวัฒนาการเพื่อให้เดินด้วยสองเท้าได้ แต่มีผลสำคัญต่อการคลอดลูกในมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งยากกว่าในไพรเมตอื่น ๆ คือ ในขณะออกจากท้องแม่ เพราะว่าส่วนต่าง ๆ ของช่องผ่านเชิงกรานมีขนาดต่าง ๆ กัน ศีรษะของทารกจะต้องเยื้องไปทางตะโพกของแม่ด้านใดด้านหนึ่งเมื่อเริ่มเข้าไปในช่องคลอด และจะต้องหมุนไปในช่วงต่าง ๆ กันประมาณ 90 องศาก่อนที่จะออก (ดูรูป) ช่องคลอดที่เล็กลงกลายเป็นอุปสรรคเมื่อขนาดสมองเริ่มขยายใหญ่ขึ้นในมนุษย์ยุคต้น ๆ มีผลทำให้มีระยะการตั้งครรภ์ที่สั้นลง ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่มนุษย์ให้กำเนิดทารกที่ยังไม่สมบูรณ์ ผู้ไม่สามารถเดินได้ก่อนวัย 12 เดือนและมีการเจริญเติบโตที่ยืดเยื้อ เมื่อเทียบกับไพรเมตอื่น ๆ ซึ่งสามารถเดินได้ในวัยเด็กกว่า สมองที่ต้องมีการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นหลังคลอด และการต้องอาศัยแม่มากขึ้นของเด็ก มีผลอย่างสำคัญต่อวงจรสืบพันธ์ของหญิง และสำหรับนักวิชาการบางท่าน ต่อการมีคู่ครองคนเดียวที่ปรากฏบ่อยครั้งในมนุษย์เมื่อเทียบกับสกุลวงศ์ลิงใหญ่อื่น ๆ แม้ว่า จะมีนักวิชาการท่านอื่นที่มีความเห็นว่า การมีคู่ครองคนเดียวไม่เคยเป็นส่วนของการสืบพันธุ์หลักใน hominin และนอกจากมีระยะเวลาที่ยืดเยื้อก่อนจะถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์แล้ว ยังมีการเกิดวัยหมดระดูอีกด้วย โดยมีสมมติฐานหนึ่งที่ชี้ว่า หญิงที่สูงวัยขึ้นสามารถสืบสายพันธ์ของตนได้ดีกว่าถ้าช่วยดูแลลูกของลูกสาว ถ้าเทียบกับต้องดูแลลูกของตนที่มีเพิ่มอีก === การขยายขนาดสมอง === มนุษย์สปีชีส์ต่าง ๆ มีสมองที่ใหญ่กว่าไพรเมตประเภทอื่น ๆ ซึ่งในมนุษย์ปัจจุบันมีขนาดเฉลี่ย 1,330 ซม3 ใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีหรือลิงกอริลลามากกว่าสองเท่า การขยายขนาดสมอง เริ่มขึ้นที่มนุษย์สกุล Homo habilis ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 เป็นขนาดที่ใหญ่กว่าลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) ตามมาด้วย Homo ergaster/erectus ที่ขนาดเฉลี่ย 850 ซม3 ไปสุดที่ Neanderthal ที่ขนาดเฉลี่ย 1,500 ซม3 ซึ่งใหญ่กว่าของมนุษย์ปัจจุบันเสียอีก นอกจากนั้นแล้ว รูปแบบการพัฒนาของสมองหลังคลอด ก็ยังแตกต่างจากเอปประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ทำให้มนุษย์สามารถศึกษาเรียนรู้ทางด้านสังคมและภาษาเป็นระยะเวลานานในวัยเด็ก อย่างไรก็ดี ความแตกต่างโดยโครงสร้างสมองของมนุษย์เทียบกับเอป อาจจะมีความสำคัญยิ่งกว่าความแตกต่างโดยขนาด ขนาดที่ขยายใหญ่ในแต่ละเขตของสมองไม่เท่ากัน คือ สมองกลีบขมับ ซึ่งมีศูนย์ประมวลผลทางภาษา ได้ขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าเขตอื่น ๆ และก็เป็นจริงด้วยสำหรับ prefrontal cortex (คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า) ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวกับการตัดสินใจที่ซับซ้อนและการควบคุมพฤติกรรมในสังคม (ดู executive functions) การขยายขนาดของสมองเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการมีเนื้อสัตว์เพิ่มเป็นอาหาร หรือกับการหุงอาหาร และมีการเสนอว่า มนุษย์มีเชาวน์ปัญญาที่สูงขึ้นเป็นการตอบสนองต่อความจำเป็นในการแก้ปัญหาทางสังคม (เป็นทฤษฎีที่เรียกว่า Social brain hypothesis) เมื่อสังคมมนุษย์มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น === ความแตกต่างระหว่างเพศ === ระดับความแตกต่างระหว่างเพศ (sexual dimorphism) ที่ลดลงในมนุษย์ จะเห็นได้ในเพศชายโดยหลัก คือขนาดที่เล็กลงของฟันเขึ้ยวเทียบกับเอปประเภทอื่น ๆ ขนาดที่เล็กลงของสันคิ้ว และความแข็งแรงโดยทั่วไปที่ลดลง ความแตกต่างที่สำคัญทางกายภาพอีกอย่างหนึ่งทางเพศของมนุษย์ก็คือ การมีช่วงตกไข่ที่ซ่อนเร้นในเพศหญิง คือมนุษย์เป็นเอปประเภทเดียวที่เพศหญิงตั้งครรภ์ได้ตลอดทั้งปี โดยไม่มีสัญญาณพิเศษที่แสดงออกทางร่างกาย (เช่นความบวมขึ้นของอวัยวะเพศเมื่ออยู่ในช่วงตกไข่) แม้ว่าจะมีงานวิจัยเร็ว ๆ นี้ที่แสดงว่า หญิงมักจะมักมีความคิดและอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้นก่อนที่จะตกไข่ อย่างไรก็ดี มนุษย์ก็ยังมีความแตกต่างระหว่างเพศในระดับหนึ่ง เช่นรูปแบบการแพร่กระจายของขนและไขมันใต้ผิว และขนาดทั่วไปของร่างกาย โดยที่ชายมีขนาดใหญ่กว่าหญิงประมาณ 15% (ข้อมูลของสหรัฐอเมริกา) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้โดยองค์รวมถือกันว่าเป็นผลจากการเพิ่มความสำคัญของการมีชีวิตคู่ (pair bonding) เป็นการแก้ปัญหาที่พ่อแม่ต้องเลี้ยงลูกเป็นระยะเวลายาวนานยิ่งขึ้น === การปรับตัวทางกายภาพอื่น ๆ === มีความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของวิวัฒนาการในมนุษย์ รวมทั้ง โครงสร้างของมือ ข้อมือ และนิ้วที่ทำให้จับสิ่งของได้อย่างมีกำลังยิ่งขึ้น อย่างละเอียดละออยิ่งขึ้น อย่างมีอิสระมากขึ้น ซึ่งมีการอ้างว่า เป็นการปรับตัวเพื่อทำและใช้เครื่องมือ โครงสร้างของแขนที่ไม่ได้ใช้รับน้ำหนักจึงมีกระดูกที่ตรงกว่า สั้นกว่า มีกล้ามเนื้อที่มีพลังน้อยกว่า แต่สามารถเคลื่อนที่ไปอย่างมีอิสระกว่าและได้ในระดับความเร็วต่าง ๆ กันมากกว่า มีทางเดินอาหารที่สั้นกว่าและเล็กกว่า ร่างกายมีขนน้อยลง และผมมีการงอกที่ช้าลง การเปลี่ยนรูปของแนวฟันจากรูปค่อนข้างเหลี่ยม (เหมือนอักษรโรมัน U) เป็นรูปโค้ง (เหมือนพาราโบลา) การยื่นออกของคางที่น้อยลง รูปร่างของกะโหลกศีรษะอย่างอื่น ๆ ที่เปลี่ยนไปเช่นกะโหลกมีลักษณะที่กลมขึ้น และมีโครงจมูกที่เล็กลง การเกิดขึ้นของ styloid process ของกระดูกขมับ (เป็นกระดูกรูปร่างแหลมยื่นออกมาจากกะโหลกศีรษะใต้หูเพียงเล็กน้อย) การเกิดขึ้นของกล่องเสียงที่เคลื่อนตำแหน่งลงเมื่อโตขึ้น คือในเด็กวัยต้น อยู่ที่ระดับ C1-C3 ของกระดูกสันหลัง และจะเคลื่อนลงจากตำแหน่งนั้นเมื่อเจริญเติบโตขึ้น การเจริญเติบโตของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายที่เร็วช้าและมีลำดับที่ไม่เหมือนกัน และระยะเวลาที่นานกว่าที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ === ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม === แม้ว่า จะมีความแตกต่างทางพฤติกรรมที่สำคัญหลายอย่างระหว่างเอปกับมนุษย์ เช่นความสามารถในการใช้ภาษา แต่นักวิชาการทั้งหลายก็ยังไม่มีข้อยุติว่า จะสามารถใช้อะไรเป็นเครื่องแสดงความแตกต่างทางพฤติกรรมเหล่านี้ในบรรดาหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถเห็นได้ == วิวัฒนาการก่อน โฮโม == === วิวัฒนาการของไพรเมต === ประวัติวิวัฒนาการของไพรเมตโดยซากดึกดำบรรพ์ย้อนเวลาไปประมาณ ในช่วงที่มีอากาศร้อน สปีชีส์ของไพรเมตที่เก่าที่สุด (ที่รู้จัก) ก็คือสัตว์คล้ายมาโมเสทสกุล Teilhardina ที่อยู่ในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย ระหว่าง ในต้นสมัย Eocene (ซึ่งอยู่ในกลางยุคพาลีโอจีน) แต่ว่า หลักฐานโดยใช้ molecular clock (นาฬิกาอาศัยโครงสร้างโมเลกุล) ในปี ค.ศ. 2009 บอกเป็นนัยว่า ไพรเมตอาจเป็นสัตว์ที่เก่าแก่ยิ่งกว่านั้น คือเริ่มขึ้นในกลางยุคครีเทเชียสประมาณ ทันสมัยช่วงพวกไดโนเสาร์ซึ่งไปยุติที่ท้ายยุคครีเทเชียสที่ และหลักฐานทางกายวิภาคและทางบรรพชีวินวิทยาอื่นในปี ค.ศ. 2007 แสดงว่า เป็นสัตว์ใกล้ชิดที่สุดกับกับสัตว์อันดับบ่าง แม้ว่า จะยังไม่มีหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ที่เก่ากว่า 55.8 ล้านปี หลักฐานทางดีเอ็นเอบอกว่า มีการแยกสายพันธุ์ของไพรเมตก่อนหน้านั้นคือ บรรพบุรุษของลีเมอร์แห่งเกาะมาดากัสการ์ ที่ 63 ล้านปี บรรพบุรุษของทาร์เซียร์แห่งเกาะในเอเชียอาคเนย์ ที่ 58 ล้านปี บรรพบุรุษของลิงโลกใหม่ (สาย Platyrrhini) ที่ 44 ล้านปี นักวิชาการ ได้สรุปว่า ไพรเมตในยุคต้น ๆ เกิดการขยายพันธุ์ไปทั่วทวีปยูเรเชีย และสายพันธุ์ที่สืบไปถึงเอปแอฟริการวมทั้งมนุษย์ ได้อพยพจากยุโรปและเอเชียตะวันตกไปทางใต้เข้าไปยังทวีปแอฟริกา ไพรเมตในเขตร้อนที่มีชีวิตรอดมาได้จนถึงปลายสมัย Eocene ซึ่งเห็นได้มากที่สุดในซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินยุคพาลีโอจีนปลายสมัย Eocene และต้นสมัยโอลิโกซีน ที่แอ่งใกล้เมือง Faiyum ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จากกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นต้นตระกูลไพรเมตเขตร้อนที่ยังมีเหลือในปัจจุบันทั้งหมด เช่น ลีเมอร์ของเกาะมาดากัสการ์ (Lemuroidea) ลอริสของเอเชียอาคเนย์ (Lorisoidea) สัตว์วงศ์ Galagidae (galago, bush babies) ของแอฟริกา ลิงใน infraorder "Simiiformes" รวมทั้งลิงใน parvorder "Platyrrhini" หรือลิงโลกใหม่ (New World monkey), และ parvorder "Catarrhini" หรือวงศ์ลิงโลกเก่า (Old World monkey คือวงศ์ Cercopithecidae) บวกวงศ์ของเอป ซึ่งรวมมนุษย์ด้วย (ดูหัวข้อการจัดชั้นและการใช้ชื่อในบทความ) === สมัยโอลิโกซีน === ในบรรดาซากดึกดำบรรพ์ที่พบใกล้เมือง Faiyum มีการค้นพบ สกุล Parapithecus เป็นไพรเมตที่เกิดขึ้นก่อนการแยกสายพันธุ์ของ "Platyrrhini" และ "Catarrhini" เป็นไพรเมตที่เป็นญาติกับบรรพบุรุษของเอป (รวมทั้งมนุษย์) อาจเป็นต้นตระกูลลิงโลกเก่า มีชีวิตในช่วงต้นสมัย Ogliocene ปลายสมัย Eocene "เอป" สกุล Propliopithecus มีชีวิตอยู่กลางสมัยโอลิโกซีน อยู่ในวงศ์ Pliopithecidae ซึ่งเป็นวงศ์ของเอปที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในซากดึกดำบรรพ์ อาจเป็นสกุลเดียวกับ หรือสืบสายมาจากสกุล Aegyptopithecus มีฟันกรามที่คล้ายกับเอป เชื่อว่าเป็นสัตว์บรรพบุรุษหรือว่าเป็นญาติใกล้ชิดกับบรรพบุรุษมนุษย์ สกุล Aegyptopithecus เป็น "Catarrhini" ยุคต้น ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนการแยกสายพันธุ์ของลิงโลกเก่าและเอป (รวมทั้งมนุษย์) อาจเป็นสกุลเดียวกับ Propliopithecus มีชีวิตระหว่าง มีลักษณะคล้ายเอปยิ่งกว่า Propliopithecus เชื่อว่าเป็นสัตว์บรรพบุรุษหรือว่าเป็นญาติใกล้ชิดกับบรรพบุรุษมนุษย์ ในปี ค.ศ. 2010 มีการค้นพบ Catarrhini สกุล Saadanius ในซาอุดีอาระเบีย มีอายุประมาณ (สมัยโอลิโกซีน กลาง) ที่ผู้ค้นพบเสนอว่าเป็นญาติกับบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้ายของลิงโลกเก่าและเอป (รวมทั้งมนุษย์) แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่า สปีชีส์ไหนเป็นต้นตระกูลของเอป แต่หลักฐานทางดีเอ็นเอแสดงว่า มีการแยกสายพันธุ์ของลิงโลกเก่าและเอปออกที่ 28 ล้านปี ช่วงระยะปลายสมัยโอลิโกซีน กับต้นสมัยไมโอซีน === สมัยไมโอซีน === ในสมัยไมโอซีน ตอนต้น ประมาณ การมีลิง Catarrhini รุ่นต้น ๆ มากมายหลายประเภทที่ได้ปรับตัวอยู่บนต้นไม้ในแอฟริกาตะวันออก บอกเป็นนัยว่า มีประวัติยาวนานก่อนหน้านั้นของการเกิดความหลากหลายของสปีชีส์ต่าง ๆ ในสาย Catarrhini ซากดึกดำบรรพ์จากสมัยไมโอซีน ตอนกลาง มีส่วนของลิงสกุล Victoriapithecus ซึ่งเป็นลิงโลกเก่าที่เก่าแก่ที่สุด (ไม่ใช่สายมนุษย์) ส่วนเอปไร้หาง (ที่เป็นสายมนุษย์) เก่าแก่ที่สุดที่พบเป็นของสกุล Proconsul มีอายุประมาณ ซึ่งเป็นช่วงท้ายสมัยโอลิโกซีน ต้นสมัยไมโอซีน อยู่ในแอฟริกาตะวันออก เป็นสัตว์ที่ลักษณะหลายอย่างคล้ายกับเอปปัจจุบันเช่นไม่มีหาง ส่วนสกุลอื่น ๆ ที่เชื่อกันว่าอยู่ในสายพันธุ์ของเอป (รวมทั้งมนุษย์) ที่พบจนกระทั่งถึง (สมัยไมโอซีน กลาง) รวมสกุล Rangwapithecus, Dendropithecus, Limnopithecus, Nyanzapithecus, Afropithecus (17.5 ล้านปีในแอฟริกาและซาอุดิอาระเบีย), Griphopithecus (16.5 ล้านปีในเอเชียตะวันตก), Equatorius (10-16 ล้านปี), Heliopithecus (16 ล้านปีจากซาอุดิอาระเบีย), Kenyapithecus (15 ล้านปี), Nacholapithecus (15 ล้านปี), และ Dryopithecus (12 ล้านปีในยุโรป) โดยมากมาจากแอฟริกาตะวันออก เริ่มตั้งแต่สมัยไมโอซีน กลางคือประมาณ ก็เริ่มพบเอปเป็นพวกแรก ๆ นอกแอฟริกา เพราะว่าในช่วงเวลานี้ เกิดทางเชื่อมกันระหว่างแอฟริกากับยูเรเชีย และเอปได้อพยพออกนอกแอฟริกาผ่านป่าฝนที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นป่าเดียวกัน ในขณะที่มีสัตว์จากยูเรเชียก็ได้อพยพเข้าไปในแอฟริกาด้วย หลักฐานทางอณูชีววิทยาแสดงว่า สายพันธุ์ของชะนี (วงศ์ Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายวงศ์ลิงใหญ่ ในช่วง แม้ว่าจะยังไม่ปรากฏซากดึกดำบรรพ์ที่แสดงหลักฐานทางบรรพบุรุษของพวกชะนี ซึ่งอาจมีกำเนิดจากกลุ่มเอปที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในเอเชียอาคเนย์ การมีสัตว์วงศ์ลิงใหญ่ (บางสกุลจัดเข้าวงศ์ย่อย Homininae ด้วย) ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ หรือเป็นญาติของบรรพบุรุษมนุษย์ ในกลางสมัยไมโอซีน ในที่ไกล ๆ กัน เช่นสกุล Otavipithecus จากถ้ำในประเทศนามิเบีย ที่แอฟริกาใต้, และ Pierolapithecus (มีชีวิตในสมัยไมโอซีน) กับ Dryopithecus จากประเทศฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย ในยุโรป เป็นหลักฐานของความหลายหลากของวงศ์ลิงใหญ่ในแอฟริกาและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ในสมัยที่มีอากาศค่อนข้างอุ่นและสม่ำเสมอในช่วงสมัยไมโอซีน ตอนต้นและตอนกลาง ลิงใหญ่ที่เกิดใหม่สุด (ที่พบซากดึกดำบรรพ์) ในสมัยไมโอซีน ก็คือสกุล Oreopithecus ซึ่งมาจากชั้นถ่านหินในประเทศอิตาลีมีอายุประมาณ จากบรรดาสปีชีส์ของวงศ์ลิงใหญ่เหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อมูลพอที่จะกำหนดได้ว่า พวกไหนเป็นสปีชีส์บรรพบุรุษของลิงใหญ่และมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการเสนอว่าน่าจะเป็นสกุล Griphopithecus จากเยอรมนีและตุรกี === การแยกสายพันธุ์ของวงศ์ลิงใหญ่ (Miocene กลาง) === โดยหลักฐานทางอณูชีววิทยา ลิงอุรังอุตัง (สกุล Pongo) แยกออกจากสายพันธุ์ Homininae ประมาณ (สมัยไมโอซีน กลาง) สัตว์วงศ์ย่อย Homininae ที่ยังไม่สูญพันธุ์คือลิงโบโนโบ ลิงชิมแปนซี (ทั้งสองในสกุล Pan) และลิงกอริลลา (สกุล Gorilla) ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้กับมนุษย์ที่สุด โดยที่จีโนมของมนุษย์และลิงชิมแปนซีมีความคล้ายคลึงกันที่ระดับประมาณ 95-99% ซึ่งเป็นความคล้ายคลึงกันที่แสดงถึงความมีสายพันธุ์เป็นพี่น้องกัน (sister taxon) หรือแม้แต่อยู่ในสกุลเดียวกัน ลิงกอริลลา (สกุล Gorilla) แยกออกจากสายพันธุ์มนุษย์ที่ประมาณ ลิงชิมแปนซีและลิงโบโนโบ (สกุล Pan) แยกออกจากสายพันธุ์มนุษย์ที่ประมาณ ซึ่งอยู่ในช่วงปลายสมัยไมโอซีน (ซึ่งเป็นส่วนปลายของยุคนีโอจีน) โดยหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ บรรพบุรุษของลิงอุรังอุตัง (proto-orangutan) สามารถใช้สกุล Sivapithecus จากประเทศอินเดียเป็นตัวแทนได้ ส่วนสปีชีส์ที่ใกล้กับบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้ายของลิงกอริลลา ลิงชิมแปนซี และมนุษย์ สามารถใช้สกุล Nakalipithecus พบในประเทศเคนยา และ Ouranopithecus (7.4-9.6 ล้านปี) พบในประเทศกรีซ เป็นตัวแทนได้ ส่วนซากดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุษลิงกอริลลาและบรรพบุรุษลิงชิมแปนซีนั้นมีจำกัด ทั้งการสงวนสภาพที่ไม่ดี (เพราะดินของป่าดิบชื้นที่เป็นที่อยู่ของลิงมักจะมีสภาพเป็นกรดซึ่งทำลายกระดูก) และความเอนเอียงในการคัดตัวอย่าง (sampling bias) เพื่อจะเลือกหาซากที่เป็นของมนุษย์ อาจก่อให้เกิดปัญหานี้ ส่วน Homininae ประเภทอื่น ๆ (รวมทั้งสายพันธุ์มนุษย์) น่าจะเกิดการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่แห้งกว่านอกเขตศูนย์สูตร พร้อม ๆ กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เช่นแอนทิโลป ไฮยีน่า สุนัข หมู ช้าง และม้า เมื่อถึงประมาณ เพราะเขตศูนย์สูตรได้เกิดการหดตัวลง มีหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์น้อยเกี่ยวกับการแยกสายพันธุ์ของเผ่า hominini จากลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซี แต่ว่า การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดสปีชีส์ Sahelanthropus tchadensis มีอายุ (ปลายสมัยไมโอซีน) หรือ Orrorin tugenensis มีอายุ โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า มีอายุ ตามมาทีหลัง สปีชีส์เหล่านี้ล้วนแต่มีการอ้างว่า เป็นบรรพบุรุษเดินด้วยสองเท้าของ hominin ที่เกิดต่อ ๆ มา แต่ว่าทุกกรณีก็มีนักวิชาการบางพวกที่ยังไม่เห็นด้วย ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า สปีชีส์หนึ่งหรือหลายสปีชีส์เหล่านี้เป็นสัตว์บรรพบุรุษของสายพันธุ์ลิงใหญ่แอฟริกา (คือลิงชิมแปนซีหรือลิงกอริลลา) คืออาจจะเป็นบรรพบุรุษที่ hominin มีร่วมกับลิงใหญ่แอฟริกา หรืออาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้กับสายพันธุ์มนุษย์ยังไม่มีข้อยุติ === hominin ก่อน Homo === จากสปีชีส์ในยุคต้น ๆ ที่กล่าวเป็นต้นแล้วนั้น hominin สกุล Australopithecus (เผ่าย่อย Australopithecina) ก็เกิดวิวัฒนาการในแอฟริกาตะวันออกประมาณ ต้นสมัยไพลโอซีน ก่อนที่จะแพร่พันธุ์ไปทั่วทวีป และมีซากดึกดำบรรพ์ที่พบครั้งสุดท้ายที่ ในระยะเวลาช่วงนั้น กลุ่มสปีชีส์ที่เรียกว่า gracile australopithecine เป็นกลุ่มที่เกิดก่อน มีหลายสปีชีส์รวมทั้ง A. anamensis (4.2 ล้านปี), A. afarensis (3.9 ล้านปี), A. africanus (3.03 ล้านปี), และ A. sediba (1.98 ล้านปี) แต่ว่า นักวิชาการไม่มีมติร่วมกันว่า กลุ่มสปีชีส์ที่เรียกว่า robust australopithecine ที่เกิดต่อ ๆ มา รวมทั้ง A. aethiopicus (2.7 ล้านปี), A. boisei (2.3 ล้านปี), และ A. robustus (2 ล้านปี) ควรจะจัดเป็นสมาชิกของสกุล Australopithecus หรือไม่ ถ้าเป็น ทั้งสามสปีชีส์ก็จะมีทวินามดังที่กล่าวแล้ว แต่ว่า ถ้าควรจะอยู่ในอีกสกุลหนึ่ง ก็จะมีสกุลเป็นของตนเอง คือสกุล Paranthropus รวมทั้งหมดแล้ว เผ่าย่อย Australopithecina มี สกุล Australopithecus (1.7-4.2 ล้านปี กลุ่ม gracile australopithecine) รวมสปีชีส์ A. anamensis, A. afarensis, A. africanus, A. bahrelghazali, A. garhi และ A. sediba สกุล Kenyanthropus (3.2-3.5 ล้านปี) รวมสปีชีส์ Kenyanthropus platyops (บางที่รวมเข้ากับ Australopithecus) สกุล Paranthropus (1.2-2.7 ล้านปี กลุ่ม robust australopithecine) รวมสปีชีส์ P. aethiopicus, P. boisei และ P. robustus สปีชีส์ที่มีหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์มากที่สุดก็คือ A. afarensis คือมีการพบซากเป็นหลายร้อย พบในที่ต่าง ๆ รวมทั้งประเทศเอธิโอเปียเหนือ (รวมทั้งซากของลูซี่) ประเทศเคนยา และประเทศแอฟริกาใต้ ส่วนซากของ robust australopithecine เช่นสปีชีส์ P. robustus และ P. boisei โดยเฉพาะ มีอยู่มากในที่ต่าง ๆ ในแอฟริกาใต้รวมทั้งเขตสงวน Kromdraai และเขตมรดกแห่งชาติ Swartkrans ในประเทศแอฟริกาใต้, และรอบ ๆ ทะเลสาบ Turkana ในประเทศเคนยา ในบรรดาสกุลเหล่านี้ อาจจะมีสปีชีส์หนึ่งจากกลุ่ม gracile australopithecine คือ A. garhi หรือ A. sediba หรือ A. afarensis หรือ A. africanus หรือสปีชีส์อื่นที่ยังไม่พบ ที่กลายมาเป็นต้นตระกูลของสกุล โฮโม == วิวัฒนาการของสกุล โฮโม == สมาชิกเก่าแก่ที่สุดของสกุล Homo ก็คือ H. habilis ซึ่งเกิดวิวัฒนาการที่ เป็นสปีชีส์แรกที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน ที่สร้างโดยมีระดับความซับซ้อนที่เรียกว่าเทคโนโลยีหิน Oldowan เป็นชื่อตามสถานที่คือโกรกธาร Olduvai gorge ที่พบตัวอย่างเครื่องมือหินเป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์บางพวกพิจารณา Homo rudolfensis ที่ค้นพบต่อมา ซึ่งมีร่างกายใหญ่กว่า แต่มีสัณฐานเหมือนกับซากของ H. habilis ว่าเป็นสปีชีส์ต่างหาก แต่บางพวกก็พิจารณาว่า เป็นพวกเดียวกับ H. habilis คือ มีลักษณะที่แตกต่างกันบ้างภายในสปีชีส์เดียวกัน หรืออาจจะเป็นความแตกต่างระหว่างเพศเลยด้วยซ้ำ (คือเป็นของเพศชาย) วิวัฒนาการทางกายภาพที่ชัดเจนที่สุดของมนุษย์สกุล Homo ที่แตกต่างจากสายพันธุ์ Australopithecina ก็คือ ขนาดกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ขึ้น คือจากประมาณ 450 ซม3 ใน Australopithecus garhi มาเป็น 610 ซม3 ใน H. habilis ในช่วงล้านปีต่อมา กระบวนการขยายขนาดสมองก็ดำเนินต่อไป คือ ภายในสกุล Homo เอง ขนาดกะโหลกศีรษะได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก H. habilis ผ่าน H. erectus/ergaster ไปยัง H. heidelbergensis ที่ 1,250 ซม3 เมื่อ 600,000 ปีก่อน หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ต่อมาคือสปีชีส์ H. ergaster/erectus ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป เริ่มตั้งแต่ แต่ก็มีกลุ่มหนึ่งของ H. erectus ที่ดำรงอยู่ในทวีปแอฟริกา (หรือเรียกว่า African H. erectus) ซึ่งบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ต่างหากคือ H. ergaster (ซึ่งได้รับการเสนอว่า เป็นบรรพบุรุษของ H. sapiens) เชื่อกันว่านี้เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) ที่เก่าที่สุดระหว่าง H. ergaster/erectus และมนุษย์ที่เกิดต่อ ๆ มา คือกลุ่มมนุษย์โบราณ มาจากทวีปแอฟริกา แต่ซากที่เก่าแก่ที่สุดนอกแอฟริกาได้พบที่โบราณสถาน Dmanisi ประเทศจอร์เจีย เขตคอเคซัส (H. georgicus แม้ว่านักวิทยาศาสตร์โดยมากจัดให้อยู่ในกลุ่ม H. erectus/ergaster) มีอายุประมาณ 1.8 ล้านปี ต่อมาเริ่มตั้งแต่ประมาณ สปีชีส์ลูกหลานมนุษย์ H. ergaster/erectus ที่เรียกว่า มนุษย์โบราณ (Archaic humans) จึงปรากฏว่าได้ตั้งถิ่นฐานแล้วทั้งในทวีปแอฟริกาและทั่วทวีปยูเรเชีย คือวิวัฒนาการเป็นมนุษย์สปีชีส์ (อายุในวงเล็บแสดงซากเก่าแก่ที่สุดที่พบ) H. antecessor (1.2 ล้านปี พบในยุโรป), H. heidelbergensis (600,000 ปี พบในแอฟริกาและยุโรป), H. rhodesiensis (500,000-600,000 ปี ปี พบในแอฟริกา) และ H. neanderthalensis (200,000-300,000 ปี พบในยุโรปและเอเชียตะวันตก) ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่มีกายวิภาคเหมือนมนุษย์ปัจจุบันมาจากยุคหินกลาง (แอฟริกา) ประมาณ 315,000 ปีก่อน จากโบราณสถาน Jebel Irhoud ประเทศโมร็อกโก โดยยังมีซากเก่าแก่อื่น ๆ รวมทั้งกลุ่มซากดึกดำบรรพ์ Omo remains จากประเทศเอธิโอเปีย โดยเก่าที่สุดมีอายุ 195,000 ปี, ของสปีชีส์ย่อย Homo sapiens idaltu จากหมู่บ้าน Herto ในโบราณสถาน Herto Formation ในประเทศเอธิโอเปีย โดยมีอายุเกือบ 160,000 ปี, และจากถ้ำ Skhul ในประเทศอิสราเอลที่มีอายุประมาณ 90,000-100,000 ปี ซึ่งเป็นซากของมนุษย์ปัจจุบันที่เก่าแก่ที่สุดนอกแอฟริกา ตามทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา การอพยพที่เป็นต้นเหตุของประชากรในโลกปัจจุบันทั้งหมด เริ่มขึ้นที่ประมาณ 70,000 ปีก่อน แล้วมนุษย์ปัจจุบันก็ขยายถิ่นฐานไปทั่วโลก แทนที่ hominin รุ่นก่อน ๆ ถ้าไม่โดยการแข่งขันกัน ก็โดยการผสมพันธุ์กัน และได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในทวีปยูเรเชียและในเขตโอเชียเนียก่อน 40,000 ปีก่อน และในทวีปอเมริกาทั้งเหนือใต้ก่อน 14,500 ปีก่อน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่การอพยพย้ายถิ่นฐานของมนุษย์) H. sapiens เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังเหลือในสกุล โฮโม แม้ว่า สปีชีส์อื่น ๆ ของ โฮโม ที่สูญพันธุ์แล้วอาจจะเป็นบรรพบุรุษของ H. sapiens แต่หลายสปีชีส์ก็น่าจะเป็น "ลูกพี่ลูกน้อง" ของเรามากกว่า เพราะได้แตกสาขาไปจากบรรพบุรุษของเรา ยังไม่มีมติที่เห็นพ้องกันว่า กลุ่มไหนควรจะเป็นสปีชีส์ต่างหาก กลุ่มไหนควรจะนับในสปีชีส์ย่อย (subspecies) ความไม่ลงเอยกันในบางกรณีเป็นเพราะความขาดแคลนหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ และในกรณีอื่น เป็นเพราะวิธีการจัดสปีชีส์ ทฤษฎีปัมพ์สะฮารา (Sahara pump theory) ซึ่งแสดงว่าทะเลทรายสะฮาราบางครั้งมีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะข้ามได้ เสนอคำอธิบายที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งเกี่ยวกับความต่าง ๆ กันของสปีชีส์ในสกุล โฮโม แม้บทความนี้จะไม่มีรายละเอียด ตามทฤษฎีมหันตภัยภูเขาไฟทะเลสาบโตบา (Toba catastrophe theory) ที่นักมานุษยวิทยาและนักโบราณคดีบางส่วนเห็นด้วย ซูเปอร์ภูเขาไฟของทะเลสาบโตบาบนเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซียเกิดระเบิดเมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อนโดยมีผลไปทั่วโลก ทำให้มนุษย์โดยมากในช่วงนั้นเสียชีวิตและสร้างคอคอดประชากรที่มีผลต่อสายพันธุ์ที่สืบกันมาจนถึงทุกวันนี้ === H. rudolfensis === H. rudolfensis เป็นชื่อที่ให้กับมนุษย์ที่มีอายุ ที่มีตัวอย่างต้นแบบที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1972 ในประเทศเคนยาใกล้ทะเลสาบ Lake Turkana โดยทีมของริชาร์ด ลีกคี การค้นพบชิ้นส่วนขากรรไกรของสปีชีส์นี้ ในปี ค.ศ. 2012 โดยทีมของมีฟ ลีกคี เชื่อว่าเป็นหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจนว่า เป็นสปีชีส์ต่างหาก เพราะเป็นสปีชีส์ที่มีกะโหลกศีรษะ โดยเฉพาะในส่วนกระดูกขากรรไกรที่แตกต่างจาก H. habilis อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งให้หลักฐานว่าเป็นสกุล Homo ยุคต้น ๆ ที่อยู่ร่วมกับ H. habilis แต่ว่า เรื่องนี้ยังไม่มีข้อยุติ เพราะมีนักวิชาการบางท่านที่เสนอว่า อาจจะเป็นตัวอย่างของสกุล Australopithecus บางพวกก็เสนอว่า ควรย้ายเข้าไปรวมในสกุล Australopithecus บางท่านก็เสนอว่าเป็นซากของ H. habilis แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน และบางท่านก็เสนอว่า ตัวอย่างที่ได้ยังน้อยเกินที่จะยุติเรื่องนี้ นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจนว่า เป็น H. Habiis หรือ H. rudolfensis หรือสปีชีส์อื่นที่ยังไม่พบ ที่เป็นต้นตระกูลของมนุษย์ปัจจุบัน สปีชีส์นี้มีขนาดกะโหลกศีรษะเฉลี่ยที่ 750 ซม3 ซึ่งใหญ่กว่าของ H. habilis ที่เกิดทีหลัง แต่มีลักษณะหลายอย่างรวมทั้งฟันกรามที่ใหญ่ ที่เหมือนกับสายพันธุ์ Australopithecine มากกว่า === H. habilis และ H. gautengensis === Homo habilis มีชีวิตอยู่ในครึ่งแรกของสมัยไพลสโตซีนประมาณ โดยอาจวิวัฒนาการมาจาก australopithecine ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นแบบก็คือซากศพหมายเลข OH 7 ที่พบในปี 2503 (ค.ศ. 1960) ณ โบราณสถาน Olduvai Gorge ในประเทศแทนซาเนีย ต่อมาในปี 2507 จึงได้จัดเป็นสปีชีส์ต่างหากโดยตั้งชื่อเป็น H. habilis (แปลว่า มือคล่องแคล่ว หรือชำนาญ handy man) เพราะว่า ซากดึกดำบรรพ์มักจะพบพร้อมกับเครื่องมือหินแบบ Oldowan และเชื่อว่า มนุษย์พวกนี้สามารถแปลงหินธรรมชาติให้เป็นเครื่องมือหินได้ เป็นมนุษย์สกุล Homo ที่รูปร่างสัณฐานคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันน้อยที่สุด (คือลักษณะบางอย่างคล้ายกับ australopithecine มากกว่า) โดยยกเว้นสปีชีส์ที่มีปัญหาจัดเข้าในสกุลมนุษย์เช่นกันคือ H. rudolfensis ตั้งแต่นั้นมา การจัดอยู่ในสกุลก็ได้สร้างข้อถกเถียงกันอย่างไม่มีที่ยุติ ขนาดที่เล็กและลักษณะล้าหลังทำให้ผู้ชำนาญการ (รวมทั้ง ริชาร์ด ลีกคีเอง) เสนอว่าควรกัน H. habilis ออกจากสกุล Homo แล้วใส่ไว้ใน Australopithecus โดยจัดเป็น Australopithecus habilis นักบรรพมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ-เคนยา หลุยส์ ลีกคี เป็นบุคคลแรกที่เสนอว่ามีมนุษย์จำพวกนี้ โดยภรรยาคือ แมรี ลีกคี เป็นผู้พบฟันสองซี่แรกของ H. habilis ในปี 2498 ซึ่งต่อมาระบุว่าเป็น ฟันน้ำนม ซึ่งพิจารณาว่าเป็นตัวระบุชนิดสัตว์ได้ยากโดยไม่เหมือนกับฟันแท้ ต่อมาในปี 2502 แมรีจึงได้ค้นพบกะโหลกศีรษะของเด็กชายที่มีสมองเล็ก ใบหน้าใหญ่ ฟันเขี้ยวเล็ก และฟันเคี้ยวขนาดใหญ่ ทำให้สปีชีส์นี้ได้ชื่อเล่นอีกอย่างว่า นายกะเทาะเปลือกถั่ว (The Nutcracker man) H. habilis เชื่อว่าเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหินแบบ Olduwan ในยุคหินเก่าต้น เพื่อฆ่าและแล่หนังสัตว์ เป็นเครื่องมือที่ล้ำหน้ากว่าเครื่องมืออื่น ๆ ที่เคยใช้มาทั้งหมด ทำให้ได้เปรียบในการใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ก่อนหน้านี้ยากเกินสำหรับสัตว์อันดับวานร แต่ H. habilis จะเป็นสายพันธุ์มนุษย์แรกที่สามารถใช้เครื่องมือหินหรือไม่ ก็ยังไม่ชัดเจน เพราะว่าแม้แต่ Australopithecus garhi ซึ่งมีอายุประมาณ 2.6 ล้านปีก่อน ก็ยังพบพร้อมกับเครื่องมือหินด้วย H. habilis เตี้ย โดยผู้ชายสูงเฉลี่ย 1.3 เมตร มีแขนยาวเหมือนกับ australopithecine ที่เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษ และจะดูไม่สมส่วนเทียบกับมนุษย์ปัจจุบัน แต่ว่า ก็ยังมีใบหน้าที่ยื่นออกน้อยกว่า australopithecine มีฟันและสันคิ้วที่เล็กกว่า australopithecine แต่เมื่อเทียบกับมนุษย์ปัจจุบันแล้ว ฟันจะจัดเป็นแนวกลมเหมือนกัน แม้ฟันเขี้ยวจะค่อนข้างใหญ่ มีใบหน้าและสันคิ้วที่หนากว่า แม้ว่าจะมีรูปร่างสัณฐานที่คล้ายเอป แต่ซากของ H. habilis บ่อยครั้งก็อยู่ร่วมกับเครื่องมือที่ทำจากหินแบบง่าย ๆ และอาจจะกระดูกสัตว์ ขนาดสมองเฉลี่ยของมนุษย์กลุ่มนี้อยูที่ 610 ซม3 ซึ่งใหญ่กว่าของ australopithecine ประมาณ 50% โดยเฉลี่ย แต่ก็ยังเล็กกว่าสมองมนุษย์ปัจจุบันที่ 1,330 ซม³ พอสมควร ส่วนงานสร้างใหม่เสมือนที่ตีพิมพ์ในปี 2558 ประมาณปริมาตรภายในกะโหลกที่ระหว่าง 729-824 ซม3 ซึ่งใหญ่กว่าขนาดที่เคยรายงานมาทั้งหมด ผู้ชำนาญการโดยมากสมมุติว่า ทั้งเชาว์ปัญญาและการจัดระเบียบทางสังคมของมนุษย์กลุ่มนี้ ซับซ้อนยิ่งกว่าที่พบโดยทั่วไปใน australopithecine หรือในลิงชิมแปนซี H. habilis ใช้เครื่องมือโดยหลักเพื่อหากินซากสัตว์ เช่น ตัดเนื้อออกจากซากสัตว์ ไม่ใช่เพื่อป้องกันตัวหรือล่าสัตว์ อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะใช้เครื่องมือ มนุษย์กลุ่มนี้ก็ยังไม่ชำนาญการล่าสัตว์เหมือนกับมนุษย์กลุ่มอื่น ๆ เพราะหลักฐานดึกดำบรรพ์จำนวนมากแสดงว่า มนุษย์กลุ่มนี้เป็นอาหารของสัตว์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เช่น เสือเขี้ยวดาบสกุล Dinofelis ซึ่งมีขนาดพอ ๆ กับ เสือจากัวร์ (หนัก 120 กก. สูง 70 ซม.) ขนาดข้อต่อของแขนขาของมนุษย์จำพวกนี้คล้ายกับ A. afarensis ซึ่งไม่คล้ายของมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งแสดงนัยว่า บางที H. sapiens อาจไม่คล้ายกับมนุษย์พวกนี้จริง ๆ ตามที่เสนอ แต่สัดส่วนร่างกายของมนุษย์พวกนี้ก็สมกับหลักฐานกะโหลกศีรษะและฟันที่แสดงว่า สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ H. erectus H. habilis มักพิจารณาว่าเป็นบรรพบุรุษของ H. ergaster ที่ผอมงามกว่า (gracile) และฉลาดซับซ้อนมากกว่า ซึ่งก็เป็นบรรพบุรุษของสปีชีส์ที่เหมือนมนุษย์ยิ่งขึ้น คือ H. erectus ข้อถกเถียงว่า ซากดึกดำบรรพ์ที่พบแล้วทั้งหมดได้จัดเข้ากับสปีชีส์นี้อย่างถูกต้องหรือไม่ ก็ยังดำเนินต่อไป โดยมีนักบรรพมานุษยวิทยาที่มองหน่วยอนุกรมวิธานนี้ว่า เป็นโมฆะ เพราะว่า ประกอบด้วยตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทั้งสกุล Australopithecus และ Homo มนุษย์กลุ่มนี้อยู่กับไพรเมตคล้ายมนุษย์อื่น ๆ รวมทั้ง Paranthropus boisei ที่บางกลุ่มอยู่ได้เป็นพัน ๆ ปี แต่ว่า โดยอาจเป็นเพราะนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและอาหารที่เฉพาะเจาะจงน้อยกว่า H. habilis ได้เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์สปีชีส์ต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง เทียบกับ P. boisei และ robust australopithecine ที่หายไปจากบันทึกซากดึกดำบรรพ์ และ H. habilis ยังอาจอยู่ร่วมกัน H. erectus ในแอฟริกาเป็นเวลากว่า 500,000 ปี มนุษย์นี้ตอนแรกพิจารณาว่าเป็นสปีชีส์แรกในสกุล Homo จนกระทั่งงานวิเคราะห์โครงกระดูกที่พบในอดีตได้ตีพิมพ์ในเดือนพฤษภาคม 2553 แล้วเสนอสปีชีส์ใหม่ คือ H. gautengensis จากประเทศแอฟริกาใต้ โดยผู้เสนอเชื่อว่าเป็นสปีชีส์เก่าแก่ที่สุดในสกุล Homo ส่วนงานปี 2556 พบส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกรที่มีอายุราว โดยมีหมายเลข LD 350-1 พบในโบราณสถาน Ledi-Geraru ในบริเวณอฟาร์ของเอธิโอเปีย โดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบพิจารณาว่า เป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดของสกุล Homo ที่เคยพบจนถึงปีนั้น และดูเหมือนจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ในระหว่าง Australopithecus และ H. habilis เป็นมนุษย์ที่มีชีวิตหลังจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน ที่สิ่งแวดล้อมแบบป่าและทางน้ำ ได้กลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาอย่างรวดเร็ว === H. ergaster/erectus === ในสมัยไพลสโตซีนช่วงต้น คือ ในทวีปแอฟริกา H. erectus เกิดการวิวัฒนาการให้มีสมองใหญ่ขึ้นแล้วใช้เครื่องมือหินที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นและสามารถควบคุมไฟได้ ความแตกต่างเช่นนี้และอย่างอื่น ๆ เพียงพอที่จะให้นักมานุษยวิทยาจัดเป็นสปีชีส์ใหม่ คือ H. erectus ซากดึกดำบรรพ์แรกของ H. erectus มีการค้นพบโดยนายแพทย์ชาวดัตช์ ยูจีน ดูบัวส์ ในปี ค.ศ. 1891 ที่เกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งตอนแรกเขาตั้งชื่อว่า Pithecanthropus erectus โดยอาศัยสัณฐานที่พิจารณาว่าเป็นสปีชีส์ในระหว่างมนุษย์และเอป ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงของ H. erectus ก็คือมนุษย์ปักกิ่ง และ "Turkana boy" (หรือ "Nariokotome Boy") ส่วนตัวอย่างอื่น ๆ มีการพบในเอเชีย (โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย) แอฟริกา และยุโรป H. erectus นั้นมีชีวิตอยู่ในระหว่าง 27,000-1.9 ล้านปีก่อน และดังนั้น ถ้าหลักฐานที่พบทั้งหมดสามารถจัดเป็นสปีชีส์เดียวกันได้จริง ๆ ก็จะเป็นสกุล Homo ที่ดำรงอยู่ได้กว่า 1.5 ล้านปี ซึ่งนานกว่ามนุษย์สกุล Homo อื่นทั้งหมด เชื่อกันว่า H. erectus สืบสายพันธุ์มาจากสกุลก่อน ๆ เช่น Ardipithecus หรือ Australopithecus หรือจาก Homo สปีชีส์อื่น ๆ เช่น H. habilis หรือ H. ergaster แต่ว่าทั้ง H. erectus, H. ergaster, และ H. habilis ก็ล้วนแต่มีช่วงอายุที่คาบเกี่ยวกัน ดังนั้น จึงอาจจะเป็นสายพันธุ์ต่างหาก ๆ ที่สืบมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน สมองของ H. erectus มีขนาดประมาณ 725-1,250 ซม3 H. erectus ในยุคต้น ๆ ดูเหมือนจะสืบทอดเทคโนโลยีเครื่องมือหิน Oldowan มาจากมนุษย์ยุคก่อน ๆ แล้วพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยีหินแบบ Acheulean เริ่มตั้งแต่ ส่วนหลักฐานถึงการควบคุมไฟได้ของ H. erectus ตั้งต้นแต่ 400,000 ปีก่อนได้รับการยอมรับจากนักวิชาการโดยมาก และหลักฐานที่เก่ากว่านั้นก็เริ่มที่จะได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ โดยมีหลักฐานที่อ้างการใช้ไฟที่เก่าที่สุดมาจากแอฟริกาใต้ พบในปี ค.ศ. 2011 ที่ และมีหลักฐานของเครื่องมือหินเผาไฟที่ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พบในปี ค.ศ. 2004 ในประเทศอิสราเอลโดยมีอายุ 790,000 ปี ส่วนการใช้ไฟเพื่อหุงอาหารนั้นยังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติ เพราะยังไม่มีซากดึกดำบรรพ์ที่แสดงหลักฐานการหุงอาหารอย่างชัดเจน ส่วนพวกที่เห็นว่ามีการใช้ไฟเพื่อหุงอาหารเสนอว่า การหุงอาหารเป็นการช่วยปล่อยสารอาหารและทำให้ย่อยได้ง่าย และช่วยทำลายพิษในพืชบางประเภท นอกจากนั้นแล้ว H. erectus ยังเสนอว่า เป็นมนุษย์พวกแรกที่ใช้แพข้ามทะเล เพราะพบเครื่องมือหินบนเกาะ Flores ในอินโดนีเซียที่ไม่ปรากฏทางไปทางบก H. erectus เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป เริ่มตั้งแต่ แต่มีกลุ่มหนึ่งของ H. erectus ที่ดำรงอยู่ในทวีปแอฟริกา (หรือเรียกว่า African H. erectus) ซึ่งบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ต่างหากคือ H. ergaster ซึ่งต่อมาได้รับการเสนอว่า เป็นบรรพบุรุษของ H. sapiens นักบรรพมานุษยวิทยาบางพวกปัจจุบันใช้นามว่า H. ergaster สำหรับมนุษย์สปีชีส์นี้ที่พบบางส่วนในแอฟริกา (ทั้งหมดจากประเทศเคนยาใกล้ทะเลสาบ Lake Turkana) ที่มีโครงสร้างกระดูกและฟันที่ต่างจาก H. erectus เพียงเล็กน้อย และใช้นามว่า H. erectus สำหรับซากดึกดำบรรพ์พบในที่ ๆ เหลือรวมทั้งแอฟริกาด้วย ส่วน H. georgicus จากประเทศจอร์เจีย ซึ่งตอนแรกเสนอว่าเป็นสปีชีส์ในระหว่าง H. habilis และ H. erectus เดี๋ยวนี้ได้จัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ H. erectus คือ H. erectus georgicus === H. antecessor และ H. cepranensis === ซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ได้รับการเสนอว่าเป็นสปีชีส์ในระหว่าง H. erectus และ H. heidelbergensis H. antecessor มาจากซากดึกดำบรรพ์พบในสเปนและอาจจะในอังกฤษ มีอายุระหว่าง 8 แสนปี-1.2 ล้านปี ในระหว่าง ค.ศ. 1994-1996 มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ 80 คนที่อาจจะเป็นของสปีชีส์นี้ในโบราณสถานในประเทศสเปน มีตัวอย่างของกระดูกมนุษย์ที่ปรากฏว่ามีการแล่เนื้อออก ซึ่งอาจจะบอกว่าสปีชีส์นี้กินเนื้อมนุษย์ (เพราะไม่มีหลักฐานว่า มนุษย์พวกนี้มีการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับศพ) จากชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่น้อยมาก มีการประมาณว่า H. antecessor มีความสูงที่ 160-180 ซม และผู้ชายหนักประมาน 90 กก มีสมองขนาดเฉลี่ยประมาณ 1,000 ซม3 ซึ่งเล็กกว่าขนาดเฉลี่ยมนุษย์ปัจจุบัน และน่าจะมีร่างกายที่แข็งแรงกว่า H. heidelbergensis สปีชีส์นี้เป็นหลักฐานของมนุษย์สกุล Homo ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป มีผู้เสนอว่า สปีชีส์นี้เป็นบรรพบุรุษของทั้ง Neanderthal และมนุษย์ปัจจุบันและเป็นสปีชีส์ที่เกิดในทวีปแอฟริกาแล้วอพยพออกมาทางยุโรป H. cepranensis มีซากดึกดำบรรพ์เป็นยอดของกะโหลกศีรษะ (skull cap) เดียวที่พบในอิตาลี ในปี ค.ศ. 1994 ประเมินว่ามีอายุประมาณ 700,000-1 ล้านปี เป็นซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดซากหนึ่งในยุโรป โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์จัดซากดึกดำบรรพ์นี้ว่าเป็นซากเก่าที่สุดของ H. heidelbergensis หรือเป็นสปีชีส์ที่เป็นบรรพบุรุษต้นกำเนิดของทั้งมนุษย์ปัจจุบันและ H. neanderthalensis === H. heidelbergensis/rhodesiensis === H. heidelbergensis หรือบางครั้งเรียกว่า H. rhodesiensis เป็นมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่มีชีวิตอยู่ในแอฟริกา ยุโรป และเอเชียประมาณระหว่าง 250,000-600,000 ปีก่อน แต่อาจเก่าแก่ถึง เป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่มีสมองขนาดใกล้กับมนุษย์ แต่มีร่างกายที่แข็งแรงกว่า มีการเสนอว่าสืบเชื้อสายมาจาก H. ergaster/erectus ในแอฟริกา และเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของ H. sapiens ในแอฟริกา, ของ H. neanderthalensis ในยุโรป, และของมนุษย์กลุ่ม Denisovan ในเอเชียกลาง ทั้ง H. antecessor และ H. heidelbergensis น่าจะสืบเชื้อสายมาจาก H. ergaster ในแอฟริกาเพราะว่า มีสัณฐานคล้ายกันมาก แต่เพราะว่า H. heidelbergensis มีกะโหลกหุ้มสมองที่ใหญ่กว่ามาก คือปกติประมาณ 1,200 ซม3 (เทียบกับ H. ergaster/erectus ที่ 850 ซม3 และ H. antecessor ที่ 1,000 ซม3) และมีเครื่องมือและพฤติกรรมที่ทันสมัยกว่า จึงได้รับการจัดให้อยู่ในสปีชีส์ต่างหาก ผู้ชายสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 175 ซม หนัก 62 กก และผู้หญิงสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 158 ซม หนัก 55 กก เป็นสปีชีส์ที่โดยเฉลี่ยสูงกว่ามนุษย์สาย Neanderthal เพียงเล็กน้อย แต่ก็มีนักบรรพมานุษยวิทยาบางท่านที่อ้างว่า มีกลุ่ม "ยักษ์" กลุ่มหนึ่งที่ปกติสูงกว่า 213 ซม อยู่ในแอฟริกาใต้ประมาณ 300,000-500,000 ปีก่อน แม้ว่า H. heidelbergensis จะเกิดวิวัฒนาการขึ้นในแอฟริกา แต่ก็ได้อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วยุโรปและอาจจะในเอเชีย (จีนและอิสราเอล) โดย 500,000 ปีก่อน เครื่องมือหินที่ใช้ในตอนต้นเป็นเทคโนโลยี Acheulean เหมือนกับที่ H. ergaster/erectus ใช้ แต่ในกาลต่อ ๆ มาบางที่ในยุโรป จึงพบเครื่องมือที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นทำจากเขากวาง กระดูก และไม้ โดยทำเป็นมีดแล่ เครื่องทุบ หอกไม้ และหอกหินมีด้ามไม้ นอกจากนั้นแล้ว H. heidelbergensis ยังร่วมมือกันล่าสัตว์ใหญ่อาจจะรวมทั้งแรดและฮิปโปโปเตมัสเป็นต้น H. rhodesiensis (Rhodesian Man) มีชีวิตอยู่ช่วง 125,000-400,000 ปีก่อน มีขนาดสมองประมาณ 1,100-1,230 ซม3 นักวิจัยปัจจุบันโดยมากจัด H. rhodesiensis ไว้ในกลุ่มของ H. heidelbergensis นักวิจัยบางท่านให้ความเห็นว่า เป็นไปได้ที่ Rhodesian Man จะเป็นบรรพบุรุษของ Homo sapiens idaltu (เป็นชื่อของสปีชีส์ย่อยของมนุษย์ปัจจุบันที่มีซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดซากหนึ่งค้นพบในแอฟริกา) ซึ่งก็เป็นบรรพบุรุษของ Homo sapiens sapiens ซึ่งก็คือมนุษย์ปัจจุบัน === นีแอนเดอร์ทาลและ Denisovan === H. neanderthalensis (Neanderthal) มีชื่อภาษาอังกฤษตั้งขึ้นตามชื่อหุบเขาที่พบซากดึกดำบรรพ์เป็นครั้งแรก (คือหุบเขา Neander ในประเทศเยอรมัน) ใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปและเอเชียประมาณ 28,000-300,000 ปีก่อน โดยมีขนาดสมองเฉลี่ยที่ 1,500 ซม3 ซึ่งใหญ่กว่าขนาดเฉลี่ยในมนุษย์ปัจจุบันที่ 1,3303 งานวิจัยปี ค.ศ. 2008 โดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์พบว่า ทารกของมนุษย์ Neanderthal เมื่อคลอดจะมีสมองขนาดเท่ากับของทารกมนุษย์ปัจจุบัน แต่สมองจะใหญ่กว่าเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ มีหลักฐาน (ค.ศ. 1997, 2004, 2008) โดยการหาลำดับดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย (mitochondrial DNA ตัวย่อ mtDNA) ที่แสดงว่า ไม่มีการแลกเปลี่ยนยีนโดยเป็นนัยสำคัญคือไม่มีการผสมพันธุ์กันระหว่าง H. neanderthalensis และ H. sapiens ดังนั้น สองกลุ่มนี้จึงเป็นสปีชีส์ที่แยกจากกันโดยมีบรรพบุรุษเดียวกันเมื่อประมาณ 500,000-600,000 ปีก่อน โดยอาจมีบรรพบุรุษเป็น H. heidelbergensis/rhodesiensis แต่ว่า งานหาลำดับดีเอ็นเอทั้งจีโนมของมนุษย์กลุ่มนี้ในปี ค.ศ. 2010 กลับแสดงว่า มีการผสมพันธุ์กับมนุษย์ปัจจุบันเมื่อประมาณ 45,000-80,000 ปีก่อน (ประมาณช่วงเวลาที่มนุษย์ปัจจุบันออกจากแอฟริกา แต่ก่อนที่จะไปตั้งถิ่นฐานในยุโรป เอเชีย และที่อื่น ๆ) มนุษย์ปัจจุบันที่ไม่ใช่คนแอฟริกาเกือบทั้งหมดมีดีเอ็นเอ 1-4% สืบมาจากมนุษย์กลุ่มนี้ ซึ่งเข้ากับงานวิจัยเร็ว ๆ นี้ที่แสดงว่า การแยกออกจากกันของอัลลีลในมนุษย์บางพวกเริ่มขึ้นที่ แต่ว่า การตีความหมายข้อมูลจากงานวิจัยทั้งสองที่แสดงผลแตกต่างกันนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสงสัย นีแอนเดอร์ทาลคล้ายมนุษย์ปัจจุบันแต่ลักษณะใบหน้าบางอย่างก็ไม่เหมือน และมีลำตัวที่กำยำล่ำสันที่เหมาะกับการอยู่ใน่ที่หนาวมากกว่า หน้ามีสันคิ้ว หน้าผากค่อนข้างเรียบที่เทลาดไปด้านหลัง มีส่วนจมูกที่ยื่นออก มีหลุมตาใหญ่และกลม มีจมูกใหญ่ ทั่วไปจะเตี้ยกว่ามนุษย์ปัจจุบันคือผู้ชายสูงประมาณ 168 ซม และผู้หญิงประมาณ 156 ซม แม้จะมีกระดูกและกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่า มีฟันใหญ่ และมีขากรรไกรที่แข็งแรง กว่ามนุษย์ปัจจุบัน นีแอนเดอร์ทาลแข็งแรงกว่ามนุษย์ปัจจุบันมาก โดยเฉพาะที่แขนและมือ นีแอนเดอร์ทาลใช้เครื่องมือหินก้าวหน้าที่เรียกว่าเทคโนโลยี Mousterian ซึ่ง H. sapiens ต้น ๆ ก็ใช้เหมือนกัน หลังจากนั้นในช่วงที่มนุษย์ปัจจุบันเริ่มเข้าไปสู่ทวีปยุโรป ก็เริ่มผลิตเครื่องมือโดยวิธีใหม่ที่เรียกว่า Chatelperronian ซึ่งให้ผลได้ใบมีดที่ H. sapiens ใช้เหมือนกัน ดังนั้นจึงเกิดสันนิษฐานว่า อาจลอกแบบกัน หรือติดต่อค้าขายกัน นีแอนเดอร์ทาลรู้จักสร้างเตาและสามารถควบคุมไฟ อาศัยหนังสัตว์ห่อหุ้มร่างกาย แม้อาจจะยังไม่รู้จักเย็บ แต่ก็เจาะรูแล้วผูกเข้าด้วยกัน มีพืชสำหรับทานน้อยกว่ามนุษย์ในแอฟริกาโดยเฉพาะในหน้าหนาว จึงต้องล่าสัตว์ต่าง ๆ ทานโดยใช้หอกรวมทั้ง กวางเรนเดียร์และกวางแดง และพวกที่อยู่ตามชายทะเลอาจทานหอยมอลลัสกา แมวน้ำ โลมา และปลา เป็นอาหารด้วย นีแอนเดอร์ทาลใช้เครื่องประดับและมีพิธีฝังผู้ตาย รวมการฝังเครื่องบูชาศพเช่นดอกไม้ เป็นมนุษย์รุ่นแรก ๆ ที่มีพฤติกรรมแบบสัญลักษณ์เยี่ยงนี้ที่ไม่พบในมนุษย์ก่อน ๆ ดูรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับดีเอ็นเอของมนุษย์โบราณที่หัวข้อการอพยพย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ H. neanderthalensis และ H. sapiens อาจจะอยู่ร่วมกันในยุโรปเป็นเวลานานถึง 10,000 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชากรมนุษย์ปัจจุบันเกิดการประทุมากขึ้นเป็นสิบเท่าทำให้มีจำนวนมากกว่า Neanderthal อย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ Neanderthal แข่งขันสู้ไม่ได้เพียงเพราะเหตุแห่งจำนวนนั้น แล้วนำไปสู่การสูญพันธุ์เมื่อประมาณ 30,000 ปีก่อน นอกจากสันนิษฐานนี้แล้ว ก็ยังมีสันนิษฐานอื่น ๆ อีกหลายข้อเกี่ยวกับการสูญพันธุ์เป็นต้นว่า มนุษย์ปัจจุบันมีเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่ก้าวหน้ากว่า ทำให้ Neanderthal แข่งขันสู้ไม่ได้ (ดูรายละเอียดที่หัวข้อ ยุคหินเก่ากลางและปลาย) ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ในปี ค.ศ. 2008 นักโบราณคดีที่ทำงานที่ถ้ำ Denisova ในเทือกเขาอัลไตของเขตไซบีเรียได้ค้นพบกระดูกชิ้นเล็กชิ้นหนึ่งจากนิ้วก้อยของเด็กสายพันธุ์ Denisovan และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมทั้งกำไลมืออันหนึ่งที่ขุดได้จากชั้นหินในระดับเดียวกันโดยหาอายุได้ประมาณ 40,000 ปี นอกจากนั้นแล้ว เนื่องจากว่ามีดีเอ็นเอที่รอดอยู่ในซากหินเนื่องจากถ้ำมีอากาศเย็น จึงมีการหาลำดับดีเอ็นเอของทั้ง mtDNA และของทั้งจีโนม ในขณะที่การแยกสายพันธุ์พบใน mtDNA ย้อนไปไกลกว่าที่คาดคิด ลำดับของจีโนมของนิวเคลียสเซลล์กลับบอกเป็นนัยว่า Denisovan อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับ Neanderthal โดยมีการแยกสายพันธุ์เป็นสองสปีชีส์หลังจากบรรพบุรุษที่ได้แยกสายพันธุ์ออกจากของมนุษย์ปัจจุบันก่อนหน้านั้น เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า มนุษย์ปัจจุบันอาจอยู่ร่วมกับ Neanderthal ในยุโรปเป็นช่วงเวลากว่า 10,000 ปี และการค้นพบนี้แสดงความเป็นไปได้ว่า มนุษย์ปัจจุบัน, Neanderthal, และ Denisovan อาจมีช่วงเวลาที่อยู่ร่วมกัน การมีอยู่ของสาขาต่าง ๆ ของมนุษย์เช่นนี้ อาจทำให้ภาพพจน์เกี่ยวกับมนุษย์ในสมัยไพลสโตซีนช่วงปลายซับซ้อนขึ้นกว่าที่คิด นอกจากนั้นแล้ว ยังมีหลักฐานที่แสดงว่าจีโนมของชาวเมลานีเซียปัจจุบันประมาณ 6% สืบมาจาก Denisovan ซึ่งแสดงถึงการผสมพันธุ์ในระดับจำกัดระหว่างมนุษย์ปัจจุบันกับ Denisovan ในเอเชียอาคเนย์ มีรายละเอียดทางกายวิภาคของ Denisovan น้อย เพราะซากที่ได้พบมาทั้งหมดมีแต่กระดูกนิ้วมือ, ฟันสองซี่ที่ได้หลักฐานทางดีเอ็นเอ, และกระดูกนิ้วเท้า นิ้วมือที่มีมีลักษณะกว้างและแข็งแรง เกินกว่าที่เห็นได้ในกลุ่มมนุษย์ปัจจุบัน ที่น่าแปลกใจก็คือ เป็นนิ้วของหญิง ซึ่งอาจจะแสดงว่า Denisovan มีร่างกายที่แข็งแรงมาก อาจจะคล้ายพวกมนุษย์ Neanderthal === H. floresiensis === H. floresiensis ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 13,000-95,000 ปีก่อน มีชื่อเล่นว่า "ฮ็อบบิท" เพราะตัวเล็ก ซึ่งอาจเกิดขึ้นผ่านกระบวนการ insular dwarfism (ซึ่งสัตว์ใหญ่ย่อขนาดลงโดยผ่านหลายชั่วรุ่น เมื่อเกิดการจำกัดพื้นที่ เช่นย้ายไปอยู่บนเกาะ) อาจเคยมีชีวิตอยู่ร่วมกับมนุษย์ปัจจุบัน และมีนักวิชาการบางท่านที่เสนอว่า อาจมีความเกี่ยวข้องกับสัตว์ตำนานพื้นบ้าน (ของแหล่งที่ค้นพบสปีชีส์นี้) ที่เรียกว่า Ebu gogo เป็นสปีชีส์ที่น่าสนใจทั้งโดยขนาดและโดยความเก่าแก่ เพราะว่าเป็นตัวอย่างของสปีชีส์หลัง ๆ ของสกุล Homo ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่มนุษย์ปัจจุบันไม่มี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แม้ว่ามนุษย์สปีชีส์นี้จะมีบรรพบุรุษร่วมกับมนุษย์ปัจจุบัน แต่ก็ได้เกิดการแยกสายพันธุ์ แล้วมีวิถีวิวัฒนาการเป็นของตนเอง โครงกระดูกหลักที่พบเชื่อว่าเป็นของหญิงอายุประมาณ 30 ปี พบในปี ค.ศ. 2003 บนเกาะ Flores ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีความเก่าแก่ประมาณ 18,000 ปี มีความสูงประมาณ 1 เมตร และมีขนาดสมองเพียงแค่ 380-420 ซม3 (ซึ่งเรียกว่าเล็กแม้ในลิงชิมแปนซี และมีขนาดเพียงแค่ 1/3 ของมนุษย์ปัจจุบัน) อย่างไรก็ดี ก็ยังมีข้อถกเถียงกันว่า H. floresiensis ควรจะจัดเป็นสปีชีส์ต่างหากหรือไม่ เพราะนักวิทยาศาสตร์บางพวกเชื่อว่า เป็น H. sapiens ที่มีสภาพแคระโดยโรค สมมติฐานนี้มีหลักฐานโดยส่วนหนึ่งว่า มนุษย์ปัจจุบันบางพวกที่เกาะ Flores ที่ค้นพบซากของสปีชีส์ เป็นคนพิกมี (pygmies ซึ่งมักหมายถึงกลุ่มชนที่ผู้ชายโดยเฉลี่ยมีความสูงต่ำกว่า 150-155 ซ.ม.) เพราะฉะนั้น คนพิกมีที่มีสภาพแคระโดยโรค อาจจะทำให้เกิดมนุษย์ที่มีรูปร่างคล้ายฮ็อบบิท ข้อขัดแย้งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในเรื่องการจัดเป็นสปีชีส์ต่างหากก็คือ เครื่องมือที่พบเป็นชนิดที่ปกติค้นพบเฉพาะกับ H. sapiens ถึงกระนั้น สมมติฐานสภาพแคระโดยโรคก็ไม่สามารถอธิบายลักษณะอื่น ๆ ของสปีชีส์นี้ ซึ่งเหมือนกับลิงชิมแปนซี หรือกับ hominin ในยุคต้น ๆ เช่น Australopithecus และที่ไม่เหมือนกับมนุษย์ปัจจุบัน (ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีโรค) ลักษณะที่ว่านี้ รวมลักษณะต่าง ๆ ของกะโหลกศีรษะ รูปร่างของกระดูกที่ข้อมือ ที่แขนท่อนปลาย ที่ไหล่ ที่เข่า และที่เท้า นอกจากนั้นแล้ว สมมติฐานยังไม่สามารถอธิบายการมีตัวอย่างหลายตัวอย่างที่มีลักษณะเหมือน ๆ กันเช่นนี้ ซึ่งบ่งว่าเป็นเรื่องสามัญในคนหมู่ใหญ่ ไม่ใช่เป็นลักษณะที่มีอยู่เฉพาะบุคคลเท่านั้น และมีงานวิจัยโดยคำนวณความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ (cladistic analysis) และโดยการวัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่สนับสนุนสมมติฐานว่าเป็นสปีชีส์ต่างหากจาก H. sapiens === H. sapiens === H. sapiens (คำวิเศษณ์ ว่า sapiens เป็นภาษาละตินแปลว่า ฉลาด) มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ประมาณ 300,000 ปีก่อน จนถึงปัจจุบัน คือ ในระหว่าง 250,000-400,000 ปีก่อน เริ่มปรากฏแนวโน้มการขยายขนาดสมอง และความซับซ้อนของเทคโนโลยีเครื่องมือหิน ในหมู่มนุษย์ ซึ่งเป็นหลักฐานของวิวัฒนาการที่เริ่มมาจาก H. ergaster/erectus (1.9 ล้านปีก่อน) จนถึง H. sapiens (300,000 ปีก่อน) และมีหลักฐานโดยตรงที่บอกว่า H. erectus อพยพออกจากแอฟริกาก่อน แล้วจึงวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ H. sapiens โดยสืบมาจาก H. ergaster/erectus ที่ยังคงอยู่ในแอฟริกา (ผ่าน "H. heidelbergensis/rhodesiensis") แล้วก็ได้อพยพต่อ ๆ ไปทั้งภายในและภายนอกแอฟริกาประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน ซึ่งในที่สุดก็ทดแทนมนุษย์สายพันธุ์ของ H. erectus/ergaster ในที่ต่าง ๆ ทั้งหมด ทฤษฎีกำเนิดและการอพยพของบรรพบุรุษมนุษย์ปัจจุบันนี้มักจะเรียกว่า "Recent Single Origin" (ทฤษฎีกำเนิดเดียวเร็ว ๆ นี้), "Recent African Origin" (ทฤษฎีกำเนิดในแอฟริกาเร็ว ๆ นี้), หรือ "Out of Africa theory" (ทฤษฎีออกจากแอฟริกา) เป็นทฤษฏีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในหมู่นักวิทยาศาสตร์ แต่ว่า หลักฐานที่มีไม่ได้ห้ามการผสมพันธุ์กัน (admixture) ระหว่าง H. sapiens กับมนุษย์กลุ่ม Homo ก่อน ๆ และก็ยังไม่สามารถล้มทฤษฎีที่แข่งกันคือ Multiregional Origin (ทฤษฏีกำเนิดมนุษย์หลายเขตพร้อม ๆ กัน) ซึ่งเป็นประเด็นขัดแย้งที่ยังไม่ยุติในสาขาบรรพมานุษยวิทยา (paleoanthropology) (ดูรายละเอียดเพิ่มขึ้นที่หัวข้อ "การอพยพย้ายถิ่นฐานของมนุษย์") งานวิจัยปัจจุบันได้ทำให้ชัดเจนแล้วว่า มนุษย์ทั้งหมดมีกรรมพันธุ์ที่คล้ายกันในระดับสูง ซึ่งก็คือ ดีเอ็นเอของแต่ละคนคล้ายกันเกินกว่าที่ทั่วไปกับสปีชีส์อื่น ๆ (เช่นคนสองคนจากกลุ่มเดียวกันมักมีดีเอ็นเอที่คล้ายคลึงกันมากกว่าลิงชิมแปนซีจากกลุ่มเดียวกัน) ซึ่งอาจจะเกิดเพราะเพิ่งเกิดวิวัฒนาการขึ้นเร็ว ๆ นี้ หรืออาจจะเป็นเพราะเกิดคอคอดประชากร ที่เป็นผลมาจากภัยธรรมชาติเช่น มหันตภัยภูเขาไฟทะเลสาบโตบา (Toba catastrophe) ที่ทำให้ผู้คนในที่ต่าง ๆ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้มนุษย์ปัจจุบันเป็นเชื้อสายสืบทอดมาจากบุคคลกลุ่มค่อนข้างเล็ก กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ มนุษย์ปัจจุบันมีลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ไม่เหมือนกันในจีโนมค่อนข้างน้อย เป็นเหมือนกับสถานการณ์ที่ชนกลุ่มเล็ก ๆ อพยพเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ (จึงมีลูกหลานที่ต่างกันทางกรรมพันธุ์น้อย) และส่วนเล็กน้อยที่ไม่เหมือนกันนั้น ได้ปรากฏเป็นลักษณะต่าง ๆ เช่นสีผิว และรูปร่างจมูก รวมทั้งลักษณะภายใน เช่น สมรรถภาพการหายใจในที่สูงอย่างมีประสิทธิภาพ ==== ซากมนุษย์ H. sapiens/"ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน" ที่เก่าแก่ที่สุด ==== งานศึกษา 2 งานในวารสาร Nature เดือนกรกฎาคม 2560 โดยเรียกว่าเป็น "H. sapiens ต้น ๆ" หรือ "H. sapiens ที่กำลังดำเนินไปสู่การมีกายวิภาคปัจจุบัน" และมีอายุประมาณที่ 300,000 ปีก่อน
thaiwikipedia
843
ราชวงศ์จักรี
ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ถัดจากสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี ซึ่งปกครองราชอาณาจักรที่สืบทอดกรุงศรีอยุธยามาจนเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ขุนนางซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหนายก (จักรี) ในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ยึดอำนาจการปกครองและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน และสถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน (ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงธนบุรีมายังกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ซึ่งเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน เอกสารหลายฉบับ ทั้งของไทยและของต่างชาติ อ้างถึงความวุ่นวายทางการเมืองในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า เป็นผลมาจากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระจริยวัตรผิดแผกไป จนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งอยู่ขณะนำทัพไปเขมร ต้องเดินทางกลับมาระงับเหตุ แล้วปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ก่อนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน อันเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี จากนั้น ราชวงศ์จักรีได้ปราบปรามเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระราชอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ "เอาบุตรชายน้อย ๆ ของเจ้าตากสิน...ใส่เรือไปล่มน้ำเสียให้สิ้น" โดยทรงอ้างถึงคำโบราณว่า "ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก" และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงประหารหม่อมเหม็น พระราชโอรสของพระเจ้าตากสิน เมื่อ พ.ศ. 2352 ในเหตุการณ์ที่อ้างว่า มีนกกาคาบหนังสือแจ้งเหตุกบฏมาทิ้งที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในด้านเชื้อสายของราชวงศ์จักรีนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) มีพระราชหัตถเลขาว่า ต้นตระกูลของราชวงศ์จักรีมิใช่ไทยแท้ แต่เป็นมอญผสมจีนที่สืบทอดกันมาจนถึงสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และมีผู้เสนอทฤษฎีว่า ราชวงศ์จักรีอาจสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอาจทำให้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติย้อนไปถึงราชวงศ์พระร่วงที่สืบสายกันในกรุงสุโขทัย วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นทรงราชย์นั้น ถือกันว่า เป็นวันสถาปนาราชวงศ์จักรี เรียกกันว่า วันจักรี และมีการกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2468 เป็นอย่างน้อย ราชวงศ์จักรีใช้สัญลักษณ์เป็นรูปตรีศูลในวงจักรสุทรรศน์ ซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์ เทวดาในศาสนาฮินดู ด้วยเหตุผลว่า คำว่า "จักร" และ ตรี" สอดคล้องกับชื่อ "จักรี" ของราชวงศ์ == พระบรมวงศานุวงศ์ == พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบราชสมบัติภายในราชสกุลมหิดล ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเชษฐาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระอนุชาคือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน และภายหลังได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร) พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน === รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ === พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี * สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา (พระราชธิดาพระองค์ใหญ่) * สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (พระราชธิดาพระองค์เล็ก) * สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ (พระราชโอรสพระองค์เล็ก) ==== พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ==== สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง) *ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระโสทรเชษฐภคินี) *สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระโสทรกนิษฐภคินี) * สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (พระโสทรกนิษฐภคินี) **พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (พระราชภาคิไนย) ** พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (พระราชภาคิไนย) ====พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว==== พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (อดีตพระวรชายา; พระภคินีฝ่ายพระชนนี) === รายพระนามพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า === ====พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว==== หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา) หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา) หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา) หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา) หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล (พระญาติชั้นพระภคินี) ====พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว==== หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร (พระญาติชั้นพระอัยยิกา) หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร (พระญาติชั้นพระอัยกา) หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ (พระญาติชั้นพระอัยกา) หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ (พระญาติชั้นพระปิตุจฉา) ===เครือญาติและผู้เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์=== เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี (พระสนมเอก) สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (อดีตหม่อม) * ท่านชายจุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ และริยา กอฟห์ (พระราชโอรสองค์ใหญ่และภรรยา) * ท่านชายวัชเรศร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สอง) * ท่านชายจักรีวัชร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สาม) * ท่านชายวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สี่) ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (อดีตพระวรชายา) ====พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช==== คุณปีเตอร์ เจนเซน (อดีตพระเชษฐภรรดา) * ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน และคุณเดวิด วีลเลอร์ (พระภาคิไนยและสามี) ** แม็กซิมัส วีลเลอร์ (พระญาติชั้นพระนัดดา) ** ลีโอนาร์โด วีลเลอร์ (พระญาติชั้นพระนัดดา) ** อเล็กซานดรา วีลเลอร์ (พระญาติชั้นพระนัดดา) * ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน (พระภาคิไนย) นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (อดีตพระกนิษฐภรรดา) ====พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก==== ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และสินธู ศรสงคราม (พระภคินีฝ่ายพระชนกและสามี) * จิทัศและเจสสิกา ศรสงคราม (พระญาติชั้นพระภาคิไนยและภรรยา) ====พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว==== ท่านผู้หญิงบุษบา กิติยากร สธนพงศ์ (พระมาตุจฉา) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา (พระญาติชั้นพระปิตุจฉา) ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (พระมาตุลานี) * หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (พระภคินีฝ่ายพระชนนี) ท่านหญิงภานุมา ยุคล (พระญาติชั้นพระภคินี) ท่านหญิงศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ (พระญาติชั้นพระภคินี) ท่านหญิงภุมรีภิรมย์ เชลล์ (พระญาติชั้นพระภคินี) ท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์ (พระญาติชั้นพระภคินี) คุณหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย (พระญาติชั้นพระปิตุจฉา) ====พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว==== ท่านหญิงพันธุ์วโรภาส เศวตรุนทร์ (พระญาติชั้นพระปิตุจฉา) == รายพระนาม == === พระมหากษัตริย์ไทย === === พระบรมราชินี === === กรมพระราชวังบวรสถานมงคล === === กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข === === สยามมกุฎราชกุมาร === == แผนผัง == == การเงิน == ในปี 2560 สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ราชวงศ์จักรีเป็นราชวงศ์ที่ร่ำรวยลำดับต้น ๆ ของโลก โดยมีทรัพย์สินที่ประเมินไว้ระหว่าง 30,000–60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักข่าวรอยเตอส์ประเมินว่าเฉพาะหุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถืออยู่ในธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รวมกันมีมูลค่า 3.06 แสนล้านบาท == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาล พระราชลัญจกรประจำรัชกาล ลำดับพระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข พระยศเจ้านายไทย == แหล่งข้อมูลอื่น == ลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน ราชวงศ์จักรี ราชวงศ์ไทย ราชวงศ์จักรี
thaiwikipedia
844
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 45 ตามประวัติศาสตร์ไทย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2280) ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงรับการยกย่องเป็น 1 ใน 8 สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประเทศไทย พระองค์ทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่าเป็น มหาราช เพราะทรงได้รับชัยชนะจากสงครามเก้าทัพ == พระราชประวัติ == === พระราชสมภพ === พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2280) (วันที่ 20 เดือน 4 ตามปีจันทรคติ) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายา (หยก) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม === รับราชการในสมัยกรุงธนบุรี === ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแก่กรุงอังวะแล้ว พระยาตาก (สิน) ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี ในขณะนั้นนายทองด้วงมีอายุ 32 ปี ได้เข้าถวายตัวรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตามคำชักชวนของน้องชาย พระมหามนตรี (บุญมา) โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น พระราชริน (พระราชวรินทร์) เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และย้ายมาอาศัยอยู่ที่บริเวณวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นไปตีเมืองพิมายซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้าเมืองพิมายอยู่ พระราชรินและพระมหามนตรีได้รับพระราชโองการให้ยกทัพร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย หลังจากการศึกในครั้งนี้ พระราชรินได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จที่มีความชอบในการสงครามครั้งนี้ หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพระฝางสำเร็จแล้ว มีพระราชดำริว่าเจ้าพระยาจักรี (หมุด) นั้นมิแกล้วกล้าในการสงคราม ดังนั้น จึงโปรดตั้งพระยาอภัยรณฤทธิ์ขึ้นเป็น พระยายมราช เสนาธิบดีกรมพระนครบาล โดยให้ว่าราชการที่สมุหนายกด้วย เมื่อเจ้าพระยาจักรี (หมุด) ถึงแก่กรรมแล้ว พระยาอภัยรณฤทธิ์จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก พร้อมทั้งโปรดให้เป็นแม่ทัพเพื่อไปตีกรุงกัมพูชา โดยสามารถตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และเมืองพุทไธเพชร (เมืองบันทายมาศ) ได้ เมื่อสิ้นสงครามสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้นักองค์รามาธิบดีไปครองเมืองพุทไธเพชรให้เป็นใหญ่ในกรุงกัมพูชา และมีพระดำรัสให้เจ้าพระยาจักรีและพระยาโกษาธิบดีอยู่ช่วยราชการที่เมืองพุทไธเพชรจนกว่าเหตุการณ์จะสงบราบคาบก่อน เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพทำราชการสงครามกับพม่า เขมร และลาว จนมีความชอบในราชการมากมาย ดังนั้น จึงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก และได้รับพระราชทานเสลี่ยงงากลั้นกลดและมีเครื่องทองต่าง ๆ เป็นเครื่องยศเสมอเจ้าต่างกรม เดือนมีนาคม พ.ศ 2324 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าให้พระยาสรรค์แต่งทัพไปปราบกบฎ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับกบฎและนำทัพเข้ายึดกรุงในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2324 พระยาสรรค์ได้กราบทูลให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสละราชสมบัติและออกผนวช ซึ่งพระองค์ยอมทำตามในวันที่ 10 มีนาคม พระยาสรรค์ครองเมืองได้ราวสองสัปดาห์ก็ถูกปราบโดยทัพของพระยาสุริยอภัย พระยาสุริยอภัยจับภิกษุตากสึกและขังไว้ หลังสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ยกทัพกลับจากกัมพูชามาถึงกรุงธนบุรีและได้สำเร็จโทษบรรดากบฎแล้ว ก็ดำริว่า เหตุแห่งกบฎคือพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน สมเด็จเจ้าพระยาฯได้พิพากษาโทษอดีตพระเจ้าตากดังความ: ต่อมานายสินถูกนำตัวไปประหารด้วยการตัดหัว === ปราบดาภิเษก === ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 หลังจากได้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 พรรษา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังหลวงและโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองสมโภชพระนครเป็นเวลา 3 วัน ครั้งเสร็จการฉลองพระนครแล้ว พระองค์พระราชทานนามพระนครแห่งใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หรือเรียกอย่างสังเขปว่า "กรุงเทพมหานคร" === สวรรคต === หลังจากการฉลองวัดพระแก้วแล้ว ก็ประชวรทรงพระโสภะอยู่ 3 ปี พระอาการทรุดลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ รวมพระชนมพรรษาได้ 73 พรรษา เสด็จอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี พระบรมศพถูกเชิญลงสู่พระลองเงินประกอบด้วยพระโกศทองใหญ่แล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร ตั้งเครื่องสูงและเครื่องราชูปโภคเฉลิมพระเกียรติยศตามโบราณราชประเพณี พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม โคมกลองชนะตามเวลา ดังเช่นงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาทุกประการ จนกระทั่ง พ.ศ. 2354 พระเมรุมาศซึ่งสร้างตามแบบพระเมรุมาศสำหรับพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สร้างแล้วเสร็จ จึงเชิญพระบรมโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศ แล้วจักให้มีการสมโภชพระบรมศพเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน จึงถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากนั้น มีการสมโภชพระบรมอัฐิและบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อแล้วเสร็จจึงเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร ภายในพระบรมมหาราชวัง ส่วนพระบรมราชสรีรางคารเชิญไปลอยบริเวณหน้าวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ==พระราชกรณียกิจ== พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร (หรือกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นราชธานี และทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีปกครองราชอาณาจักรไทยเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 (วันจักรี) ภายหลังการเสด็จเสวยราชย์แล้ว พระองค์ทรงมีพระราชกรณีกิจที่สำคัญยิ่ง คือ การป้องกันราชอาณาจักรให้ปลอดภัยและทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและอยุธยา การที่ไทยสามารถปกป้องการรุกรานของข้าศึกจนประสบชัยชนะทุกครั้ง แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของพระองค์ในการบัญชาการรบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2328 ที่เรียกว่า "สงครามเก้าทัพ" นอกจากนี้พระองค์ยังพบว่ากฎหมายบางฉบับที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาไม่มีความยุติธรรม จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการตรวจสอบกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมด เสร็จแล้วให้เขียนเป็นฉบับหลวง 3 ฉบับ ประทับตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้วไว้ทุกฉบับ เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" สำหรับใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง ===การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์=== พระราชกรณียกิจประการแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดทำเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ คือการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แทนกรุงธนบุรี ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เนื่องจากกรุงธนบุรีตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำ ทำให้การลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ และการรักษาพระนครเป็นไปได้ยาก อีกทั้งพระราชวังเดิมมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถขยายได้ เนื่องจากติดวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารและวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ส่วนทางฝั่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีความเหมาะสมกว่าตรงที่มีพื้นแผ่นดินเป็นลักษณะหัวแหลม มีแม่น้ำเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีชัยภูมิเหมาะสม และสามารถรับศึกได้เป็นอย่างดี การสร้างราชธานีใหม่นั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 3 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จ.ศ. 1144 ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระบรมมหาราชวังสืบทอดราชประเพณี และสร้างพระอารามหลวงในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการสร้างเมืองและพระบรมมหาราชวังเป็นการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม และศิลปกรรมดั้งเดิมของชาติ ซึ่งปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้พระราชทานนามแก่ราชธานีใหม่นี้ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์" นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างสิ่งต่าง ๆ อันสำคัญต่อการสถาปนาราชธานีได้แก่ ป้อมปราการ, คลอง ถนนและสะพานต่าง ๆ มากมาย ===การป้องกันราชอาณาจักร=== พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ทรงเป็นผู้นำทัพในการทำสงครามกับพม่าทั้งหมด 7 ครั้งในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่ สงครามครั้งที่ 1 พ.ศ. 2327 สงครามเก้าทัพ สงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่าส่งคือ สงครามเก้าทัพ โดยในครั้งนั้นพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์อลองพญาของพม่า มีพระประสงค์จะเพิ่มพูนพระเกียรติยศและชื่อเสียงให้ขจรขจายด้วยการกำราบอาณาจักรสยาม จึงรวบรวมไพร่พลถึง 144,000 คน กรีธาทัพจะเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งเป็น 9 ทัพใหญ่ เข้าตีจากกรอบทิศทาง ส่วนทัพของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีกำลังเพียงครึ่งหนึ่งของทหารพม่าคือมีเพียง 70,000 คนเศษเท่านั้น ด้วยพระปรีชาสามารถในการทำสงคราม ได้ทรงให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทไปสกัดทัพพม่าที่บริเวณทุ่งลาดหญ้า ทำให้พม่าต้องชะงักติดอยู่บริเวณช่องเขา แล้วทรงสั่งให้จัดทัพแบบกองโจรออกปล้นสะดม จนทัพพม่าขัดสนเสบียงอาหาร เมื่อทัพพม่าบริเวณทุ่งลาดหญ้าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงยกทัพไปช่วยทางอื่น และได้รับชัยชนะตลอดทุกทัพตั้งแต่เหนือจรดใต้ สงครามครั้งที่ 2 พ.ศ. 2329 สงครามท่าดินแดงและสามสบ ในสงครามครั้งนี้ ทัพพม่าเตรียมเสบียงอาหารและเส้นทางเดินทัพอย่างดีที่สุด โดยแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากศึกครั้งก่อน โดยพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ มาตั้งค่ายอยู่ที่ท่าดินแดงและสามสบ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงยกทัพหลวงเข้าตีพม่าที่ค่ายดินแดงพร้อมกับให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเข้าตีค่ายพม่าที่สามสบ หลังจากรบกันได้ 3 วันค่ายพม่าก็แตกพ่ายไปทุกค่าย และพระองค์ยังได้ทำสงครามขับไล่อิทธิพลของพม่าได้โดยเด็ดขาด และตีหัวเมืองต่าง ๆ ขยายราชอาณาเขต ทำให้ราชอาณาจักรสยามมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ดินแดนล้านนา ไทใหญ่ สิบสองปันนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เขมร และด้านทิศใต้ไปจนถึงเมืองกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และเปรัก สงครามครั้งที่ 3 พ.ศ. 2330 สงครามตีเมืองลำปางและเมืองป่าซาง หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้แก่สยาม ก็ส่งผลทำให้เมืองขึ้นทั้งหลายของพม่า เช่น เมืองเชียงรุ้งและเชียงตุง เกิดกระด้างกระเดื่อง ตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้าปดุงจึงสั่งให้ยกทัพมาปราบปราม รวมถึงเข้าตีลำปางและป่าซาง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทราบเรื่องจึงสั่งให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 6,000 นาย มาช่วยเหลือและขับไล่พม่าไปเป็นผลสำเร็จ สงครามครั้งที่ 4 พ.ศ. 2330 สงครามตีเมืองทวาย ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เกณฑ์ไพร่พล 20,000 นาย ยกทัพไปตีเมืองทวาย แต่สงครามครั้งนี้ไม่มีการรบพุ่ง เพราะต่างฝ่ายต่างก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร รี้พลก็บาดเจ็บจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพ สงครามครั้งที่ 5 พ.ศ. 2336 สงครามตีเมืองพม่า ในครั้งนั้นเมืองทวาย ตะนาวศรี และมะริด ได้เข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยกทัพไปช่วยป้องกันเมือง แต่เมื่อพระเจ้าปดุงยกทัพมาปราบปรามเมืองทั้งสามก็หันกลับเข้ากับทางพม่าอีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพฯ สงครามครั้งที่ 6 พ.ศ. 2340 สงครามพม่าที่เมืองเชียงใหม่ เนื่องจากสงครามในครั้งก่อน ๆ พระเจ้าปดุงไม่สามารถตีหัวเมืองล้านนาได้ จึงทรงรับสั่งไพร่พล 55,000 นาย ยกทัพมาอีกครั้งโดยแบ่งเป็น 7 ทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 20,000 นาย ขึ้นไปรวมไพร่พลกับทางเหนือเป็น 40,000 นาย ระดมตีค่ายพม่าเพียงวันเดียวเท่านั้นทัพพม่าก็แตกพ่ายยับเยิน สงครามครั้งที่ 7 พ.ศ. 2346 สงครามพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 ในครั้งนั้นพระเจ้ากาวิละได้ยกทัพไปตีเมืองสาด หัวเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้าปดุงจึงยกทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่เพื่อแก้แค้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ และสงครามครั้งนี้ก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายไทย == พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ == === พระบรมราชอิสริยยศ === ทองด้วง (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2311) พระราชริน (พระราชวรินทร์) (พ.ศ. 2311) พระยาอภัยรณฤทธิ์ (พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2313) พระยายมราช (พ.ศ. 2313 - พ.ศ. 2317) เจ้าพระยาจักรี (พ.ศ. 2317 - สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก "เสมอที่เจ้าพระยามหาอุปราช"(สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี - 6 เมษายน พ.ศ. 2325) พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฏฐวิสุทธิ์ รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว (6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ.2352) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (สมัยรัชกาลที่ 3 - สมัยรัชกาลที่ 4) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (สมัยรัชกาลที่ 4 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - สมัยรัชกาลที่ 7) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (สมัยรัชกาลที่ 7 - ปัจจุบัน) == พระพุทธรูปประจำพระองค์ == พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรตามวันพระบรมราชสมภพ สร้างราว พ.ศ. ๒๔๑๐-๒๔๑๑ สร้างด้วยทองคำ บาตรลงยา สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบรมอัยกาธิราช สูง 29.50 เซนติเมตร ประดิษฐานในหอพระสุราลัยพิมาน พระพุทธรูปประจำรัชกาล เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ภายใต้พระเศวตฉัตร ๓ ชั้น สร้างราว พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔ หน้าตักกว้าง ๘.๓ ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ ๑๒.๕ ซ.ม. สูงรวม ๔๖.๕ ซ.ม. ประดิษฐานในหอพระสุราลัยพิมาน == พระปรมาภิไธย == เมื่อพระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฏฐวิสุทธิ์ รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว" เนื่องจากพระปรมาภิไธยที่จารึกลงในพระสุพรรณบัฏนี้เป็นพระปรมาภิไธยเดียวกับพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง), สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ดังนั้น พระองค์จึงเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ออกพระนามรัชกาลที่ 1 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงสร้างอุทิศถวาย และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เพิ่มพระปรมาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี รัฐบาลได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ในการนี้รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์โดยถวายพระราชสมัญญา "มหาราช" ต่อท้ายพระปรมาภิไธย ออกพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" == พระราชลัญจกร == พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 เป็นตรางารูป "ปทุมอุณาโลม" หรือ "มหาอุณาโลม" หมายถึง ตาที่สามของพระศิวะ ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีอักขระ "อุ" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นดอกไม้ที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมที่ใช้ตีประทับบนเงินพดด้วงมีรูปร่างคล้ายสังข์ทักษิณาวรรต หรือ สังข์เวียนขวา มีลักษณะเป็นม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง" อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2328 ในคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก == พระราชสันตติวงศ์ == พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม พระราชโอรสและพระราชธิดา เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ในตระกูลบางช้าง (ดู ณ บางช้าง) โดยมีพระราชโอรสสองพระองค์หนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง เมืองราชบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสงคราม) ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้โปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์ === เรียงตามพระประสูติกาล === == ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ == พ.ศ. 2279 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2280): 20 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม ทองด้วง พ.ศ. 2325: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเถลิงพระราชมนเทียรที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล องเชียงสือ (ญวน) และนักองค์เอง (เขมร) ขอเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โปรดให้อาลักษณ์คัดนิทานอิหร่านราชธรรม พ.ศ. 2326: กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ. 2327: โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากหอพระแก้วในพระราชวังเดิม แห่ข้ามมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถในพระราชวังใหม่ พระราชทานนามพระอารามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้า สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ รวม 9 ทัพ กองทัพไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยินไปทุกทัพ พ.ศ. 2328: งานสร้างพระนครและปราสาทราชมณเฑียรสำเร็จเสร็จสิ้น พระราชทานนามของราชธานีใหม่ พ.ศ. 2329: สงครามรบพม่าที่ท่าดินแดง ทรงพระราชนิพนธ์ นิราศรบพม่าท่าดินแดง ประเทศโปรตุเกสขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี สหราชอาณาจักรเช่าเกาะปีนัง จากพระยาไทรบุรี พ.ศ. 2330: องเชียงสือเขียนหนังสือขอถวายบังคมลา ลอบหนีไปกู้บ้านเมือง อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานภายในพระราชวังบวรสถานมงคล พ.ศ. 2331: โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่เก้า ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ. 2333: * องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จและจัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย พ.ศ. 2337: ทรงอภิเษกให้นักองค์เองเป็นสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ไปครองประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2338: โปรดเกล้าฯ ให้ชำระพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาพิชัยราชรถ พ.ศ. 2339: งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พ.ศ. 2340: * ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ พ.ศ. 2342: โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเวชยันตราชรถ พ.ศ. 2344: ฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ฟื้นฟูการเล่นสักวา พ.ศ. 2345: ราชาภิเษกพระเจ้าเวียดนามยาลอง (องเชียงสือ) พ.ศ. 2347: โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ชำระกฎหมาย จัดเป็นกฎหมายตราสามดวงขึ้น พ.ศ. 2349: ทรงอภิเษกให้นักองค์จันทร์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชา ครองกรุงกัมพูชา พ.ศ. 2350: เริ่มสร้างวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2352: ได้ริเริ่มให้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย โปรดเกล้าฯให้มีการสอบพระปริยัติธรรม เสด็จสวรรคต == ในวัฒนธรรมสมัยนิยม == มีนักแสดงผู้รับบท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้แก่ สมบัติ เมทะนี จากละครเรื่อง สงครามเก้าทัพ (2531) ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล จากละครเรื่อง ฟ้าใหม่ (2547) และจากละครเรื่อง สายโลหิต (2561) ธีรภัทร์ สัจจกุล จากละครเรื่อง ศรีอโยธยา (2560) == พงศาวลี == == แผนผัง == == ดูเพิ่ม == รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย พระปฐมวงศ์ในราชวงศ์จักรี == อ้างอิง == เชิงอรรถ บรรณานุกรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระราชสกุล ข้อความและความเห็นจากเว็บบอร์ดพันทิป พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มหาราชแห่งประเทศไทย พระโอรสธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เจ้าพระยาจักรี ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมอญ ขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขุนนางในสมัยกรุงธนบุรี พระกุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงก่อตั้ง ผู้ก่อตั้งเมืองชาวไทย อาณาจักรรัตนโกสินทร์ บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2325–2411 ผู้นำที่ได้อำนาจจากรัฐประหาร
thaiwikipedia
845
พระมหากษัตริย์ไทย
พระมหากษัตริย์ไทย เป็นประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ "ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นพระราชอำนาจบางประการที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย คือ ตั้งและถอดองคมนตรีกับบรรดาข้าราชการในพระองค์ มีการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้แก่ส่วนราชการในพระองค์ทุกปี พระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุขราชวงศ์ มีที่ประทับอย่างเป็นทางการคือพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงตอบรับการขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 แต่ในทางนิตินัยถือว่าพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 รัชทายาทของพระมหากษัตริย์ไทยมีตำแหน่งเรียกว่าสยามมกุฎราชกุมาร การสืบพระราชสันติวงศ์ของพระมหากษัตริย์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 โดยมีลักษณะเป็นการโอนจากบิดาสู่บุตรตามหลักบุตรคนหัวปีเฉพาะที่เป็นชาย แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฉบับปัจจุบันเปิดให้เสนอพระนามพระราชธิดาขึ้นสืบราชบัลลังก์ได้ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งรัชทายาทไว้ == บทบาทตามรัฐธรรมนูญ == รัฐธรรมนูญปี 2490 และ 2492 มีการเพิ่มพระราชอำนาจอย่างสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ ทรงสามารถแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กึ่งหนึ่ง === การใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย === กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย ตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา เช่น พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาทหาร พุทธศักราช 2477, พระราชบัญญัติแก้ไขวิธีพิจารณาความอาชญา พุทธศักราช 2477, พระราชบัญญัติแก้ไขวิธีพิจารณาความอาชญา พุทธศักราช 2477 (ฉะบับที่ 3): คณะรัฐมนตรีที่มีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชบัญญัติเหล่านี้ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีประหารชีวิตจากตัดศีรษะเป็นยิงให้ตาย และเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดที่ต้องมีพระบรมราชานุมัติก่อนประหารชีวิตเป็นให้จบที่คำพิพากษาของศาล สภาเห็นชอบ แต่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบ และพระราชทานร่างคืนมายังสภา สภาลงมติยืนยันตามเดิม และถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธยอีกครั้ง แต่ไม่ทรงลงภายใน 15 วัน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กำหนดให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เสมือนว่า ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว พระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476: เดิมคณะรัฐมนตรีที่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 เพื่อเก็บอากรมฤดกจากผู้รับมฤดก และมีการพิจารณาเรื่อยมาจนสภาเห็นชอบในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 และมีการพิจารณาเพิ่มเติมจนถวายพระมหากษัตริย์ได้ใน พ.ศ. 2477 แต่ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างกฎหมายภายใน 30 วัน โดยมีบันทึกว่า ทรงขอให้แก้ไขให้ชัดเจนว่า จะไม่เก็บอากรมฤดกจากพระราชทรัพย์ ซึ่งสภาแก้ไขตามนั้น ในที่สุด จึงทรงลงพระปรมาภิไธย ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ต่อมา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517): มีบันทึกว่า พระมหากษัตริย์ทรงขอให้แก้ไขคำปรารภให้สั้นลง และแก้ไขข้อกำหนดที่ให้ประธานองคมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา เพราะทรงเห็นว่า จะทำให้ประธานองคมนตรี ซึ่งมาจากการเลือกสรรของพระมหากษัตริย์ กลายเป็นมีบทบาททางการเมือง ซึ่งขัดกับหลักการที่ให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: คณะรัฐมนตรีที่มีอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดที่เกิดจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา โดยกำหนดว่า ถ้าผู้ทำละเมิดเป็นสื่อมวลชน ต้องใช้ค่าเสียหายในวงเงิน 20 เท่าของอัตราขั้นสูงแห่งโทษปรับทางอาญา เว้นแต่พิสูจน์ความเสียหายได้มากกว่านั้น พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย และไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย และสภามิได้นำกลับไปพิจารณาใหม่ ร่างพระราชบัญญัติจึงตกไป ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. .... (ต่อมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547): ใน พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีที่มีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อรัฐสภา รัฐสภาเห็นชอบ แต่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบ และพระราชทานร่างคืนไปให้พิจารณาใหม่ โดยทรงระบุว่า พบข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำและการอ้างเลขมาตรา ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 พ.ศ. .... (ต่อมา คือ พระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2547): ใน พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีที่มีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อรัฐสภา รัฐสภาเห็นชอบ แต่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบ และพระราชทานร่างคืนไปให้พิจารณาใหม่ โดยทรงระบุว่า บรรยายลักษณะเหรียญผิด ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ต่อมา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560: ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประชาชนได้ให้ความเห็นชอบในการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ต่อมา ขอพระราชทานร่างคืนมาเพื่อ "แก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามที่สำนักราชเลขาธิการแจ้ง" มีรายงานว่า เป็นประเด็นเกี่ยวกับพระราชอำนาจ เช่น ให้ทรงตั้งหรือไม่ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในเวลาที่ไม่ประทับอยู่ในประเทศ ก็ได้ == บทบาทในการเมืองไทย == หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์ไทยมีพระราชอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ และถูกคณะราษฎรลดบทบาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงร่วมมือกับคณะเจ้าเพื่อพยายามล้มล้างและประหัตประหารสมาชิกคณะราษฎร เครือข่ายสายลับของพระองค์ใช้วังไกลกังวลเป็นศูนย์กลาง ทรงโยกย้ายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาเป็นของพระองค์ ความขัดแย้งในเรื่องพระราชอำนาจเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลคณะราษฎรจนนำไปสู่การสละราชสมบติ เหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองโจมตีปรีดี พนมยงค์และมรดกของเขา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีรัฐประหารถึง 11 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2490 ซึ่งทำลายอำนาจของคณะราษฎร ความขัดแย้งกับจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในเรื่องที่ดินตั้งแต่ปี 2494 สุดท้ายนำไปสู่รัฐประหารปี 2500 โดยมีหลักฐานพระองค์และกลุ่มกษัตริย์นิยมเคลื่อนไหวเตรียมรัฐประหาร มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรว่า พระองค์ทรงพระราชทานเงินสนับสนุนแก่พรรคประชาธิปัตย์ 700,000 บาท และมีรายงานว่าพระองค์ทรงเสด็จฯ ไปบ้านพักของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชในยามวิกาลอย่างลับ ๆ อยู่เสมอ ในเรื่องพระราชอำนาจโดยพฤตินัยนั้น ธงทอง จันทรางศุ เขียนถึงพระราชอำนาจนี้ว่า "แม้ว่าพระราชอำนาจดังกล่าวจะมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตาม แต่ก็เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เข้าใจตรงกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีอยู่จริง และอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระราชอำนาจส่วนที่สำคัญที่สุดในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน" การสถาปนาพระราชอำนาจนำของพระมหากษัตริย์เกิดขึ้นผ่านการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยมีพระราชหัตถเลขาใจความว่า ควรถือพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปอยู่เหนือการเมือง "โดยเฉพาะการไม่เข้าไปเป็นฝักฝ่ายต่อสู้แข่งขัน รณรงค์ทางการเมือง อันอาจจะนำมาซึ่งการโจมตี ติเตียน และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับราษฎร" ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่า พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา ไม่มีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะการไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งและไม่สอดคล้องกับหลักการการดำรงอยู่เหนือการเมือง ในปี พ.ศ. 2562 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงมีพระราชโองการ เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความโดยสรุปว่า การนำพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม เป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติ ถือเป็นการกระทำที่มิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง == ประวัติ == === กำเนิด === รูปแบบการปกครองแบบราชาธิปไตยของประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาตลอด 1,000ปี ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตามอาณาจักรต่างๆของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไต-ไทย ลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีคติแบบแผนคล้ายคลึงกันทั่วไปในดินแดนอุษาคเนย์ แนวคิดการปกครองแบบราชาธิปไตยสมัยแรกเริ่มตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาผี การบูชาแถนและคติผีฟ้าเจ้าฟ้า หลังจากการได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดู (รับเข้ามาจากจักรวรรดิขะแมร์) ที่ถือว่าวรรณะกษัตริย์มีอำนาจทางทหาร และหลักความเชื่อแบบเถรวาท ที่ถือพระมหากษัตริย์เป็น "ธรรมราชา" และคติ “พระจักรพรรดิราช” หลังจากที่พระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศไทยในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 อันเป็นแนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ควรจะปกครองประชาชนโดยธรรม โดยสันนิษฐานระเบียบแบบแผนของพระมหากษัตริย์ไทยตลอดจนราชสำนักนั้นเริ่มต้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกพระมหากษัตริย์ว่าพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเรียกว่าพระเจ้ากรุงสยาม สถานะของพระมหากษัตริย์ในยุคนี้ได้รับคติ "เทวราชา" จากศาสนาฮินดู กล่าวคือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพเจ้าอวตารมาเพื่อปกครองมวลมนุษย์ ดังเห็นได้จากการใช้คำนำหน้าพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้า" === ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ === ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 กลุ่มนักศึกษาซึ่งได้รับการศึกษาแบบตะวันตกและนายทหารเรียก "ผู้ก่อการ" ได้ปฏิวัติยึดอำนาจและเรียกร้องให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ชาวสยาม ในเดือนธันวาคมปีนั้นจึงพระราชทานรัฐธรรมนูญเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บทบาทของพระมหากษัตริย์ก็เหลือเพียงประมุขแห่งรัฐเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น รัฐธรรมนูญบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ผ่านรัฐสภา นายกรัฐมนตรี และศาลตามลำดับ โดยเป็นการเปลี่ยนแนวคิดจากอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมาเป็นความคิดแบบ "อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ" (สมมติว่ากษัตริย์มาจากมติของปวงชน) ซึ่งได้อิทธิพลมาจากขุนนางร่างกฎหมายที่นิยมกษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติ หลังทรงไม่ลงรอยกับรัฐบาลที่เป็นอำนาจนิยมมากขึ้น พระองค์ทรงประทับในสหราชอาณาจักรจนสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรทรงสืบราชสันตติวงศ์ ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 10 พรรษาและเสด็จอยู่ต่างประเทศในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงมีการแต่งตั้งสภาผู้สำเร็จราชการแทน ในช่วงนั้น บทบาทและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกยึดโดยรัฐบาลฟาสซิสต์จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ผู้นำสยามเข้ากับฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามยุติ จอมพลแปลกถูกถอดออกและพระมหากษัตริย์เสด็จนิวัติประเทศ ระหว่างสงคราม พระญาติหลายพระองค์ของพระมหากษัตริย์เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย ซึ่งต่อต้านการยึดครองของต่างชาติระหว่างสงครามและช่วยกู้ฐานะของประเทศไทยหลังสงคราม หลังพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2489 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งขณะนั้นทรงพระชนมายุ 19 พรรษา กลายเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลถัดมา พระองค์มีปฐมบรมราชโองการดังนี้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ระหว่างปี พ.ศ. 2475–2500 พระมหากษัตริย์ไทยมีบทบาททางสังคมน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเขามีแนวคิดต่อต้านราชวงศ์ อย่างไรก็ดี หลังรัฐประหารโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลฟื้นฟูบทบาททางสังคมดังกล่าว และรื้อฟื้นราชประเพณีดั้งเดิมรวมทั้งการหมอบกราบ ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ในพุทธทศวรรษ 2510 เริ่มเห็นได้ชัดว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาททางการเมือง หลังจากทรงสนับสนุนนักศึกษาในปี พ.ศ. 2516 ทรงเปลี่ยนมาสนับสนุนกลุ่มฝ่ายขวาในปี พ.ศ. 2519 และรัฐบาลธานินทร์ จนสู่รัฐบาลพลเอกเปรม ปรากฏชัดในครั้งกบฏยังเติร์กในปี พ.ศ. 2524 ที่ทรงประกาศสนับสนุนรัฐบาลพลเอกเปรมทำให้กบฏล้มเหลว เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 บทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยถูกนักวิชาการ สื่อ ผู้สังเกตการณ์และนักประเพณีนิยมคัดค้านเพิ่มขึ้น และเมื่อผู้สนใจนิยมประชาธิปไตยที่มีการศึกษาเริ่มแสดงออกซึ่งสิทธิคำพูดของเขา หลายคนถือว่าชุดกฎหมายและมาตรการเกี่ยวข้องกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ในประเทศไทยซึ่งมุ่งคุ้มครองพระมหากษัตริย์และราชวงศ์เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพการแสดงออก มีการจับกุม การสืบสวนอาญาและจำคุกหลายครั้งโดยอาศัยกฎหมายเหล่านี้ ในปี พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสว่า สามารถวิจารณ์พระองค์ได้หากสร้างสรรค์และไม่มีแรงจูงใจทางการเมือง บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการเมืองไทยชัดเจนขึ้นหลังการมีส่วนและสนับสนุนรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 == ส่วนราชการในพระองค์ == กรมราชเลขานุการในพระองค์และสภาองคมนตรีไทยสนับสนุนภาระหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ โดยปรึกษากับนายกรัฐมนตรี พระราชวังและพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์มีสำนักพระราชวังและสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นผู้จัดการตามลำดับ หน่วยงานเหล่านี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลไทย และพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพนักงานทั้งหมด == การสืบราชสันตติวงศ์ == สยามมกุฎราชกุมารเป็นพระอิสริยยศของผู้ที่จะสืบราชสมบัติต่อจากพระมหากษัตริย์ มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ และจะดำรงพระยศนี้ตลอดพระชนม์ชีพจนกว่าพระมหากษัตริย์จะสวรรคตหรือสละราชสมบัติ พระอิสริยยศนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงกำหนดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 เพื่อเป็นรัชทายาทแทนตำแหน่งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นอกจากพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารแล้ว ยังมีกฎหมายกำหนดทายาทโดยสันนิษฐาน คือ กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 {| border=0 cellpadding=2 cellspacing=2 style="margin:0 0 1em 1em; border:1px solid #aaa; background:#f9f9f9; text-align:left;" |- ! style="background:#CCBBEE; font-size: 95%; color:#000066; border-bottom: 1px solid #aaaaaa; padding: 0 5px 0 5px; text-align:center;" colspan=2|ห้าอันดับแรกในสายของการสืบราชสันตติวงศ์ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 |- |1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร || 40px |- |2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา || 56x56px |- |3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา || |- |4. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี || 60x60px |- |5. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี || 62x62px |} == ดูเพิ่ม == สมเด็จพระรามาธิบดี รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย ลำดับพระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี รายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไทย ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == งานวิชาการ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2503). เมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). พระนคร: เขษมบรรณกิจ. กษัตริย์
thaiwikipedia
846
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367; ครองราชย์ 8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 2 ของสยามในสมัยราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 46 ตามประวัติศาสตร์ไทย ปกครองระหว่าง พ.ศ. 2352 ถึง พ.ศ. 2367 ในปี พ.ศ. 2352 เจ้าฟ้าฉิมหรือกรมหลวงอิศรสุนทรพระราชโอรสองค์โตสืบราชบัลลังก์ต่อจากรัชกาลที่ 1 พระราชบิดาผู้สถาปนาราชวงศ์จักรีเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชสมัยของพระองค์สงบสุข ปราศจากความขัดแย้ง รัชสมัยของพระองค์เป็น "ยุคทองของวรรณคดี" เนื่องจากพระองค์ทรงอุปถัมภ์กวีหลายคนในราชสำนัก และพระองค์เองก็มีชื่อเสียงในฐานะกวีและศิลปิน กวีที่โดดเด่นที่สุดในราชสำนักคือสุนทรภู่ == พระนาม == หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้สืบทอดบัลลังก์ในทันทีพร้อมด้วยพระนามชั่วคราวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชประเพณีว่าพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีพระบรมราชาภิเษกจะได้รับพระอิสริยยศชั่วคราวเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อทรงรับการบรมราชาภิเษกแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์ ในพระราชกำหนด สักเลข ขานพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชา นราธิบดี ศรีสุริยวงษ์ องคราเมศวรราช บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ในพระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลชื้อขายฝิ่น ขานพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชาธิบดี ศรีวิสุทธิคุณ วิบุลยปรีชา ฤทธิราเมศวรราช บรมนารถบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามรัชกาลที่ 2 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงโปรดให้สร้างอุทิศถวาย และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น "นภาลัย" และเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เป็น พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐ มเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปเป็น พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย == พระราชประวัติ == === ก่อนครองราชย์ === พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ขณะทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกรบัตรเมืองราชบุรี) ประสูติแต่ท่านผู้หญิงนาค (ภายหลังเฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) เมื่อเจริญพระชนม์ได้ทรงศึกษาในสำนักพระพนรัตน์ (ทองอยู่) วัดบางว้าใหญ่ และได้ติดตามสมเด็จพระบรมชนกนาถไปในการสงครามทุกครั้ง ในปี พ.ศ. 2325 เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ถึงวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล พ.ศ. 2349 (นับแบบปัจจุบันเป็นวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2350) เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จทิวงคต สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงให้รับอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล === ครองราชย์ === เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประชวรพระโสภะอยู่ 3 ปีก็เสด็จสวรรคตในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 73 พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้สำเร็จราชการแผ่นดินต่อมา เมื่อจัดการพระบรมศพเสร็จแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ขุนนางและพระราชาคณะจึงกราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นผ่านพิภพ ต่อมาวันที่ 10 กันยายน พบหนังสือฟ้องว่าเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตกับพวกร่วมกันคิดการขบถ ไต่สวนแล้วโปรดให้ประหารชีวิตทั้งหมดในวันที่ 13 กันยายน การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดขึ้นในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2352 โดยย้ายมาทำพิธีที่หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เนื่องจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทอันเป็นสถานที่ทำพิธีปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอยู่ ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงใช้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นสถานที่จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ตั้งพระบรมศพ หลังจากเสร็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์จึงเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราตามโบราณราชประเพณี === สวรรคต === พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริพระชนมพรรษาได้ 56 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อ พ.ศ. 2368 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อัญเชิญพระบรมอัฐิ ไปประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร จากนั้นได้นำพระสรีรางคารไปบรรจุไว้ใต้พระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร == พระปรีชาสามารถ == พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้ === ด้านกวีนิพนธ์ === ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้ === ด้านประติมากรรม === นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย === ด้านดนตรี === กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้ == พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา == พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรสพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์ โดยประสูติเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร 47 พระองค์ ประสูติเมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 4 พระองค์ และประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว 22 พระองค์ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม == ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ == หลังบรมราชาภิเษก ได้โปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเศกสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ พระบัณฑูรน้อยในรัชกาลที่ 1 ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2352 ต่อมาวันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2353 จึงสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็นสมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง ดูเรื่อง ธงชาติไทย พ.ศ. 2311 * 24 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชสมภพ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม พระนามเดิม ฉิม พ.ศ. 2325 * พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ * ทรงได้รับการสถาปนาพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พ.ศ. 2349 * ทรงได้รับการสถาปนาพระยศจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พ.ศ. 2352 * พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต * พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางกราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย * เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ * สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง พ.ศ. 2353 * โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิเกียเข้งแห่งอาณาจักรจีน * ราชทูตญวนเข้ามาถวายราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งทูลขอเมืองบันทายมาศคืน ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานคืนให้ พ.ศ. 2354 * โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ * โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา" * ออกพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น * จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช * เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ * โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ" * โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา * อิน-จัน แฝดสยามคู่แรกของโลกถือกำเนิดขึ้น พ.ศ. 2355 * โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วผลึก (พระพุทธบุษยรัตน์) จากเมืองจำปาศักดิ์มายังกรุงเทพฯ พ.ศ. 2356 * พม่าให้ชาวกรุงเก่านำสาส์นจากเจ้าเมืองเมาะตะมะมาขอทำไมตรีกับสยาม * พระองค์เจ้าชายทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พ.ศ. 2357 * โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะสมณทูตเดินทางไปศรีลังกา * โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง นครเขื่อนขันธ์ ขึ้นที่บริเวณพระประแดง เพื่อสำหรับรับข้าศึกที่มาทางทะเล พ.ศ. 2359 * โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น 9 ประโยค พ.ศ. 2360 * ทรงฟื้นฟูประเพณี วันวิสาขบูชา พ.ศ. 2361 * ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพนฯ โดยสร้างถนนท้ายวังคั่น * โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการออกแบบและสร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง * คณะสมณทูตที่พระองค์ทรงส่งไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ ประเทศลังกาเดินทางกลับ * เจ้าเมืองมาเก๊า ส่งทูตเข้ามาถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี พ.ศ. 2362 * หมอจัสลิส มิชชันนารีประจำย่างกุ้ง หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2363 * ฉลองวัดอรุณราชวราราม * สังคายนาบทสวดมนต์ภาษาไทยครั้งแรก ในประเทศไทย * โปรตุเกสตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ นับเป็นสถานกงสุลต่างชาติแห่งแรกของสยาม พ.ศ. 2365 * เซอร์จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี พ.ศ. 2367 * เสด็จสวรรคต == พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ == === พระบรมราชอิสริยยศ === ฉิม (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 – สมัยรัชกาลที่ 1) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (สมัยรัชกาลที่ 1 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2350) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (15 มีนาคม พ.ศ. 2350 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 17 กันยายน พ.ศ. 2352) พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว (17 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ.2367) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย (สมัยรัชกาลที่ 3 – สมัยรัชกาลที่ 4) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (สมัยรัชกาลที่ 4 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – สมัยรัชกาลที่ 7) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (สมัยรัชกาลที่ 7 – ปัจจุบัน) == พงศาวลี == == แผนผัง == == ดูเพิ่ม == รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย พระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี == อ้างอิง == เชิงอรรถ บรรณานุกรม พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้าชาย กวีชาวไทย อาณาจักรรัตนโกสินทร์ บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2325–2411
thaiwikipedia
847
ทวีปออสเตรเลีย
ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำให้แผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเชีย == ที่สุดในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย == {|class="wikitable" |- ! จุดที่สุดในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย !! สถานที่ !! รัฐ/ประเทศ |- |จุดเหนือสุด:||เกาะไซปัน ||นอร์เทิร์นมาเรียนา/สหรัฐอเมริกา |- |จุดใต้สุด:||เกาะมักควอรี||แทสเมเนีย/ ออสเตรเลีย |- |จุดตะวันออกสุด:||เกาะซาลัสอีโกเมซ ||ชิลี |- |จุดตะวันตกสุด:||แหลมสตีฟ||เวสเทิร์นออสเตรเลีย/ออสเตรเลีย |- |ภูเขาที่สูงที่สุด:||ปุนจักจายา||เกาะนิวกินีตะวันตก |- |เกาะที่ใหญ่ที่สุด:||เกาะนิวกินี||ปาปัวนิวกินี |- |แอ่งที่ราบใหญ่ที่สุด:||แอ่งเมอร์รีย์-ดาร์ลิง||ออสเตรเลีย |- |ผิวน้ำต่ำที่สุด:||ทะเลสาบแอร์||ออสเตรเลีย |} == ดูเพิ่ม == ออสตราเลเชีย โอเชียเนีย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == รายละเอียดทวีปออสเตรเลีย รายละเอียดทวีปออสเตรเลีย เขตโอเชียเนีย รายชื่อแต่ละประเทศของทวีปออสเตรเลีย ทวีป
thaiwikipedia
848
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทรฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 47 ตามประวัติศาสตร์ไทย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2331) เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมพรรษา == พระราชประวัติ == พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาลัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2331) ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ. 2349 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงออกพระนามเต็มตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" นับเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ เป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ออกพระนามโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" หรือ "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3" เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรด้วยพระโรคมะเร็งกระดูก พระอาการทรุดหนักลงตามลำดับ จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 หลังวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์เพียง 2 วัน สิริพระชนมพรรษา 64 พรรษา ทรงครองราชย์รวม 27 ปี ได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต่อมาได้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อ พ.ศ. 2396 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง หลังจากนั้นได้อัญเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร และอัญเชิญพระสรีรังคาร ไปประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร == พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และพระราชธิดา == พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม พระราชโอรสและพระราชธิดา == พระราชกรณียกิจ == พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล === ด้านความมั่นคง === พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้สยามกับญวนยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมรโดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด === ด้านการคมนาคม === ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญ มากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน === ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา === พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายก และวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหารและวัดราชนัดดารามวรวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นต้น === ด้านการศึกษา === ทรงทำนุบำรุงและสนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่าง ๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ปั้นตั้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่าง ๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสนศึกษา โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่าง ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม === ด้านสังคมสงเคราะห์ === พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏีกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่อง ๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้ ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีมิชชันนารีชาวอเมริกันและชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "หมอบรัดเลย์" ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 === ด้านการค้ากับต่างประเทศ === พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจตะวันตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และ 6 ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก === ด้านศิลปกรรม === พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐในวัดยานนาวา เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เพราะทรงเล็งเห็นว่าภายหน้าจะไม่มีการสร้างเรือสำเภาอีกแล้ว สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจารึกวรรณคดีที่สำคัญ ๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลงบนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ == เหตุการณ์สำคัญ == พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ * พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี * พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี * โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" * โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า พ.ศ. 2368 เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย พ.ศ. 2369 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้: * ลงนามในสัญญา เบอร์นี * เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก พ.ศ. 2370 เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์ พ.ศ. 2371 ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย พ.ศ. 2372 เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก * กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย * โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย * ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ พ.ศ. 2373 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นว่าที่สมุหพระกลาโหม พ.ศ. 2374 * ทำการบูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ใช้เวลา 16 ปีในการสร้าง * เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพระราชอาณาจักร พ.ศ. 2375 แอนดรูว์ แจ็กสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย พ.ศ. 2376 เกิดกบฏญวน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้สำเร็จราชการเป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบ พ.ศ. 2377 * ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก * ญวนได้ส่งพระอุไทยราชามาปกครองเขมร พ.ศ. 2378 เกิดภาวะเงินฝืดเคือง พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์ พ.ศ. 2381 เกิดกบฏหวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี พ.ศ. 2382 ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และ มีการเผาฝิ่น และ โรงยาฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น เหล่านั้น พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2386 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2386 แนวคราสมืดพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง กรุงเทพฯเห็นเป็นชนิดบางส่วน 82% พ.ศ. 2389 ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร พ.ศ. 2390 ทรงอภิเษกให้นักองค์ด้วงเป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ครองประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2391 ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ พ.ศ. 2392 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ * กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ปราบอั้งยี่ ที่ ฉะเชิงเทรา * เกิดอหิวาตกโรคระบาด มีคนตายมากกว่า 30,000 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) พ.ศ. 2393 อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมพรรษาได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี == วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า == คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” แปลว่า “พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่” == พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ == === พระบรมราชอิสริยยศ === หม่อมเจ้าชายทับ (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - พ.ศ. 2349) พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ (พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ (7 กันยายน พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2356) พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พ.ศ. 2356 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว (21 กรกฎาคม พ.ศ.2367-2 เมษายน พ.ศ.2394) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 4 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - สมัยรัชกาลที่ 7) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 7 - พ.ศ. 2540) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า (พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน) === พระราชสมัญญา === พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาต่าง ๆ เช่น ในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ถวายพระราชสมัญญาว่าพระมหาเจษฎาราชเจ้า และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนปัจจุบัน ต่อมา พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการค้าไทย, พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย และในปี พ.ศ. 2558 ถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558) == พงศาวลี == == แผนผัง == == อ้างอิง == อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา, 2543, หน้า 30-36 == ดูเพิ่ม == รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย == แหล่งข้อมูลอื่น == พระราชประวัติอย่างย่อ พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พุทธศาสนิกชนชาวไทย พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 ชาวไทยเชื้อสายมอญ ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย หม่อมเจ้า พระองค์เจ้าชาย อาณาจักรรัตนโกสินทร์ บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2325–2411
thaiwikipedia
849
คาบสมุทรมลายู
คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู หรือ คาบสมุทรเซการามาซิน (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้ == ที่ตั้งและอาณาเขต == ทางด้านการเมืองการปกครอง คาบสมุทรมลายูแบ่งออกเป็น: ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ คือ ส่วนใต้สุดของประเทศพม่า ตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ภาคใต้ของประเทศไทย ตอนใต้ทั้งหมด คือ ส่วนของประเทศมาเลเซีย เรียกว่า มาเลเซียตะวันตก (ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู) เกาะที่อยู่ใต้สุด คือ ประเทศสิงคโปร์ == ดูเพิ่ม == คอคอดกระ อินโดจีน == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อ่าวไทย * ช่องแคบมะละกา
thaiwikipedia
850
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช (18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 48 ตามประวัติศาสตร์ไทย มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี สยามรู้สึกถึงแรงกดดันจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับเอานวัตกรรมตะวันตกมาและริเริ่มพัฒนาประเทศของพระองค์ให้ทันสมัย ทั้งในด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรม จนทำให้พระองค์ได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" และพระองค์ยังทรงเป็น 1 ใน 8 สมเด็จพระบูรพกษัตริย์สยามที่ทรงเป็น “มหาราช” ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังสถาปนาพระอนุชาของพระองค์ คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 โดยได้ประกอบพิธีบวรราชาภิเษกในปี พ.ศ. 2394 เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวควรได้รับการถวายความเคารพเสมอด้วยพระองค์ (ดังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำกับพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อ พ.ศ. 2135) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อำนาจของตระกูลบุนนาคมาถึงจุดสูงสุด กลายเป็นตระกูลขุนนางที่มีอำนาจสูงสุดในสยาม == พระราชประวัติ == === ขณะทรงพระเยาว์ === พระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ฉศก จ.ศ. 1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร โดยพระนามก่อนการมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่" พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่ รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษมนตรีและเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) เป็นผู้อำนวยการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลงสรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงษ์ พงษ์อิศรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร" ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รวมทั้ง ทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย === ผนวช === เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงออกผนวชเป็นสามเณร โดยมีการสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแห่ไปผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์และสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ผนวชจนออกพรรษาแล้วจึงทรงลาผนวช รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน เมื่อพระองค์ทรงพระเจริญวัยขึ้นแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษา จึงจะผนวชเป็นพระภิกษุ แต่ในระหว่างนั้นช้างสำคัญของบ้านเมืองถึง 2 ช้างได้แก่ พระยาเศวตไอยราและพระยาเศวตคชลักษณ์เกิดล้มลง รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสิ้นพระชนม์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่สำราญพระราชหฤทัย จึงไม่ได้จัดพิธีผนวชอย่างใหญ่โต โปรดให้มีเพียงพิธีอย่างย่อเท่านั้น โดยให้ผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับพระนามฉายาว่า "วชิรญาโณ" หรือ "วชิรญาณภิกขุ" แล้วเสด็จไปประทับแรมที่วัดมหาธาตุ 3 วัน หลังจากนั้น จึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยประทับอยู่เมื่อผนวช ในขณะที่ผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี พระองค์ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวชเพื่อรับการขึ้นครองราชย์ เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา) หมายเหตุ; เวลาที่ผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน คณะธรรมยุติกนิกาย หลังจากการลาผนวชของพระวชิรญาณเถระยังคงเจริญรุ่งเรืองต่อไป เพราะได้พระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ และมีผู้นำที่เข้มแข็งคือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้ครองบังคับบัญชาคณะธรรมยุติกนิกาย === ครองราชย์ === เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ วชิรญาณเถระ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่พระองค์ยังไม่ทรงลาผนวชและตรัสว่าต้องอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์เห็นว่าเป็นผู้ที่ควบคุมกำลังทหารเป็นอันมากได้ พระองค์ทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 6 เมษายน ซึ่งตรงกับวันจักรี และทรงรับการบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของปีนั้น และทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามเต็มตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยทรงตั้งพิธีมหาสมณุตมาภิเษกขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้น === สวรรคต === เมื่อ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงคำนวณว่าจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ในประเทศสยาม ณ หมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงดังที่ทรงได้คำนวณไว้ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่หว้ากอเป็นระยะเวลาประมาณ 9 วัน จึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ภายหลังการเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และทรงทราบว่าพระอาการประชวรของพระองค์ในครั้งนี้คงจะไม่หาย วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411 พระองค์มีพระบรมราชโองการให้หา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชการ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม หัวหน้าข้าราชการทั้งปวง เข้าเฝ้าพร้อมกันที่พระแท่นบรรทม โดยพระองค์มีพระบรมราชโองการมอบพระราชกิจในการดูแลพระนครแก่ทั้ง 3 ท่าน หลังจากนั้น ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ที่สมุหนายก เข้าเฝ้าฯ และมีพระราชดำรัสว่า พระองค์ตรัสขอให้ผู้ใหญ่ทั้ง 3 ท่านได้ช่วยกันดูแลบ้านเมืองต่อไป ให้ทูลพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เอาธุระรับฎีกาของราษฎรผู้มีทุกข์ร้อนดังที่พระองค์เคยปฏิบัติมา โดยไม่ทรงเอ่ยว่าจะให้ผู้ใดขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์รับสั่งว่าเมื่อพระองค์ผนวชอยู่นั้น ทรงออกอุทานวาจาว่าวันใดเป็นวันพระราชสมภพก็อยากสวรรคตในวันนั้น โดยพระองค์พระราชสมภพในวันเพ็ญเดือน 11 ซึ่งเป็นวันมหาปวารณา เมื่อพระองค์จะสวรรคตก็ขอให้สวรรคตท่ามกลางสงฆ์ขณะที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา ในเวลา 20.06 นาฬิกา พระองค์ทรงภาวนาอรหังสัมมาสัมพุทโธแล้วผ่อนอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) เป็นครั้งคราว จนกระทั่ง เวลา 21.05 นาฬิกา เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ ภายในพระบรมมหาราชวัง สิริพระชนมพรรษา 64 พรรษา == พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา == พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม . พระราชโอรสและพระราชธิดา == พระราชกรณียกิจ == === ด้านกฎหมาย === ในรัชสมัยของพระองค์ มีการลดภาษีอากร ลดหย่อนค่านา ยกเลิกการเก็บอากรตลาด เปลี่ยนเป็นเก็บภาษีโรงร้านเรือนแพจากผู้ค้าขายรายใหม่ ประกาศมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา ออกพระราชบัญญัติกำหนดใช้ค่าที่ดินให้ราษฎรเมื่อมีการเวนคืน ออกประกาศเตือนราษฎรให้รอบคอบในการทำนิติกรรม ยังมีการออกกฎหมายสำคัญ คือกำหนดลักษณะของผู้ที่จะถูกขายเป็นทาสให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกฎหมายเดิมที่ให้ สิทธิบิดา มารดา และสามีในการขายบุตรและภรรยา และตราพระราชบัญญัติใหม่ให้การซื้อขายทาส เป็นไปด้วยความยินยอมของเจ้าตัวที่จะถูกขายเป็นทาสเท่านั้น === ด้านวรรณคดีพุทธศาสนา === พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่ ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำรา ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์ ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย === ด้านพระพุทธศาสนา === พระองค์ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติกาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและระเบียบแบบแผน ด้านพระพุทธศาสนา === ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ === ด้วยเหตุที่ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ จึงทรงคุ้นเคยกับชาวตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษเป็นอย่างมาก ทั้งยังเกี่ยวข้องกับเสนาบดีสกุลบุนนาคเช่นพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์นั้นก็เป็นผู้สนิทสนมและนิยมอังกฤษ เช่นนี้ในรัชสมัยของพระองค์จึงเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงยึดนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตไทยโดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพ็ชภักดีเป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูต นำพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษนับเป็นความคิดริเริ่มให้มีการเดินทางออกนอกประเทศได้ เนื่องจากแต่เดิมกฎหมายห้ามมิให้ เจ้านาย พระราชวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่เดินทางออกจากพระนคร เว้นเสียแต่ไปในการสงครามกับกองทัพ พระองค์โปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย เช่น เซอร์ จอห์น เบาริง อัครราชทูตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาทำสนธิสัญญากับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ. 2398 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ" เป็นกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน === การรุกรานอินโดจีนของฝรั่งเศส === เมื่อราชสำนักเวียดนามตั้งตัวเป็นศัตรูต่อศาสนาคริสต์ ทำให้ฝรั่งเศสมีเหตุผลที่จะใช้กำลังทหารเข้าแทรกแทรงเวียดนามด้วยกำลังอาวุธ ท้ายที่สุดเวียดนามก็เสียภาคใต้แก่ฝรั่งเศสในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402 รัฐบาลสยามค่อนข้างยินดีที่ฝรั่งเศสทำให้ภัยคุกคามต่อสยามจากเวียดนามกำลังจะหมดไป และปรารถนาที่กระชับไมตรีกับฝรั่งเศสในทันทีที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองเวียดนามทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ราชสำนักเวียดนามในกรุงฮานอยได้ส่งราชทูตลับมายังกรุงเทพ เพื่อเสนอยกบางส่วนของไซ่ง่อนให้สยาม แลกกับการที่สยามจะต้องให้เวียดนามเดินทัพผ่านเขมร(ซึ่งเป็นประเทศราชของสยาม)เพื่ออ้อมไปโจมตีฝรั่งเศส แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะไม่เห็นด้วย แต่เนื่องจากพวกขุนนางสยามสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวทำให้พระองค์ต้องยอมตาม ดังนั้นสยามจึงยกทัพเข้าประจำชายแดนด้านตะวันออกติดกับเวียดนาม และยื่นคำขาดว่า หากเวียดนามกระทำการใดที่เป็นการรุกรานเขมรแล้ว สยามจะบุกเวียดนามทันที รัฐบาลฝรั่งเศสมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็น "นโยบายเหยียบเรือสองแคม" ของสยาม คือวางตัวเป็นกลางระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศส ส่วนกงสุลฝรั่งเศสก็เรียกร้องต่อรัฐบาลสยามเพื่อขอทำสนธิสัญญากับเขมรโดยตรง เนื่องจากเขมรมีพรมแดนร่วมกับไซ่ง่อนซึ่งอยู่ในบังคับของฝรั่งเศสแล้ว ขณะเดียวกัน สหรัฐและอังกฤษก็พยายามยุแยงให้สยามไม่ไว้วางใจฝรั่งเศส การที่รัฐบาลสยามเอาแน่เอานอนไม่ได้เช่นนี้ ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีความเห็นว่าฝรั่งเศสควรจะแสดงบทบาทเป็นผู้อารักขาอินโดจีนเสียเลย ดังนั้นรัฐบาลฝรั่งเศสจึงมีโทรเลขถึงรัฐบาลสยาม เรียกร้องสิทธิของฝรั่งเศสเหนือเขมรและเรียกร้องขอทำสนธิสัญญาโดยตรงกับเขมร โดยอ้างชัยชนะของตนในเวียดนามใต้ รัฐบาลสยามปฏิเสธในทันที เรียกร้องให้มีการเจรจากันที่กรุงเทพ ในระหว่างนี้สยามได้ชิงตัดหน้าฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับเขมรอย่างลับ ๆ ใน พ.ศ. 2406 มีเนื้อหาระบุว่าเขมรยอมรับอธิปไตยของสยามเหนือเขมร ในปีพ.ศ. 2410 รัฐบาลสยามทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส โดยสยามยกดินแดน 123,050 ตร.กม. พร้อมเกาะ 6 เกาะให้เป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส และฝรั่งเศสก็รับรองว่าดินเขมรส่วนใน อันประกอบด้วย พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เป็นดินแดนในอธิปไตยของสยาม === ด้านการศึกษาศิลปวิทยา === พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทย ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเชิญทูตฝรั่งเศสและสิงคโปร์ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น นอกจากนี้ พระปรีชาสามารถของพระองค์ในด้านวิทยาศาสตร์นั้น ยังทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสัตววิทยาสมาคมแห่งสหราชาอาณาจักรอีกด้วย วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และอนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทรงใส่พระทัยกวดขันคนไทยให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทรงสนับสนุนโรงเรียนของหมอสอนศาสนาที่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา อรรถคดี และวิทยาการของชาติตะวันตก ทรงพระกรุณาส่งข้าราชการระดับบริหารไปศึกษางานที่จำเป็น สำหรับราชการไทย ณ ต่างประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งโรงอักษรพิมพการขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ผลิตข่าวสารของทางราชการเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน ใช้ชื่อว่า ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งยังคงพิมพ์มาจนถึงปัจจุบัน ===ด้านโหราศาสตร์=== นอกจากนี้แล้ว ยังทรงเป็นนักโหราศาสตร์อีกด้วย ทรงแต่งตำราทางโหราศาสตร์ที่เรียกว่า "เศษพระจอมเกล้า" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำราที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำ และทรงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่าทรงเป็น "พระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย" == เหตุการณ์สำคัญในสมัย == พ.ศ. 2394 โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสำหรับพระราชวงศ์ เสนาบดี ทหารและพลเรือนทั้งหลายต่างดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั่วทุกคน พระองค์มิได้มีพระราชประสงค์ให้ข้าราชบริพารซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์ฝ่ายเดียว แต่ทรงพระราชดำริว่าจะต้องทรงให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนของพระองค์ด้วยพระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พ.ศ. 2395 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ * โปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า * ร้อยเอกอิมเปญ์ เข้ามาฝึกทหารแบบยุโรป * คณะมิชชันนารี สอนภาษาอังกฤษ ในพระบรมมหาราชวัง * ร้อยเอกโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ เข้ามาเป็นครูฝึกทหารวังหน้า * คณะมิชชันนารีอเมริกา เข้ามาสอนภาษา * กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงตุง พ.ศ. 2396 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ * โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “หมาย” แทนเงินตรา * ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง ( เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่าง ไทย - พม่า ) พ.ศ. 2398 เซอร์ จอห์น เบาริง ขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี ทำสนธิสัญญาใหม่กับอังกฤษ พ.ศ. 2399 ทำสนธิสัญญาการทูตกับอเมริกาและฝรั่งเศส พ.ศ. 2400 มีเหตุการณ์สำคัญดั่งนี้ * โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ * โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นบำเหน็จความดีความชอบ * เริ่มสร้างกำปั่นเรือกลไฟ พ.ศ. 2401 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในวัง เรียกว่า "โรงราชกิจจานุเบกษา" เพื่อออกราชกิจจานุเบกษาเสนอข่าวราชการเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2402 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ และ พระราชวังนครคีรี พ.ศ. 2403 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง เพื่อผลิตเหรียญเงินราคาต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนแทนเงินอย่างเก่าคือพดด้วง พระราชทานนามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ" นับเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2404 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ * โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส * แรกมีตำรวจพระนครบาล * โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลองให้เป็นทางสัญจรอย่างใหม่ สำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วทางยุโรป เช่น การสร้างถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และ ถนนสีลม ส่วนคลองได้แก่ คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองหัวลำโพง คลองมหาสวัสดิ์ และคลองดำเนินสะดวก เป็นต้น พ.ศ. 2405 นางแอนนา ลีโอโนเวนส์ เข้ามารับราชการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในพระราชสำนัก พ.ศ. 2407 สร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พ.ศ. 2411 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ * โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมเรือกลไฟ * ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ * เสด็จสวรรคต == พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ == === พระบรมราชอิสริยยศ === สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ (18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2356) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชกุมาร (8 มีนาคม พ.ศ. 2356 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามกุฎสมมติวงศ์ พระวชิรญาณมหาเถร (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ.2411) ภายหลังการสวรรคต พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - สมัยรัชกาลที่ 7) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 7 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช (18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน) === พระราชลัญจกรประจำพระองค์ === พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งการสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "มงกุฎ" นั่นเอง โดยพระราชลัญจกรจะเป็นตรางา ลักษณะกลมรี ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา ซึ่งแสดงถึงทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ ส่วนทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์ เพชร ซึ่งมาจากพระฉายาเมื่อพระองค์ผนวชว่า "วชิรญาณ" พระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ยังได้ใช้เป็นแม่แบบของพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ === ==== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ==== ดาราไอยราพต (เครื่องต้น) ดาราไอยราพต (องค์รอง) ==== เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ==== ฝรั่งเศส : 80px เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นประถมาภรณ์ (พ.ศ. 2406) === พระราชสมัญญานาม === พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ชั้นยศ 15px จอมพล 15px จอมพลเรือ 15px จอมพลอากาศ == พงศาวลี == == แผนผัง == == ดูเพิ่ม == รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย พระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี ==คลังภาพ== ไฟล์:ฉลองพระองค์พระจอมเกล้า.jpg|ฉลองพระองค์ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ไฟล์:พระที่นั่งรัชกาลที่4.jpg|พระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ไฟล์:Monument of King Rama IV at Khon Kaen University.JPG|พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 ณ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไฟล์:พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 Statue of King Rama IV.jpg|พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 ณ พระราชวังสราญรมย์ ไฟล์:เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 4 (1).jpg|พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 4 ณ พิพิธภัณฑ์ เหรียญกษาปณานุรักษ์ == อ้างอิง == เชิงอรรถ หนังสือ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, เทศนาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , ๒๕๐๕, ๑๖๐ หน้า แน่งน้อย ศักดิ์ศรี,หม่อมราชวงศ์, พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระราชนิเวศน์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, สำนักพิมพ์มติชน, 2549 ISBN 974-323-641-4 เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากบันทึกหลักฐานและเหตุการณ์สมัยกรุงเทพ, มานวสาร, ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๓๔ ถึง ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๓ มีนาคม พ.ศ ๒๕๓๕ == แหล่งข้อมูลอื่น == พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เจ้าฟ้าชาย มหาราชแห่งประเทศไทย พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 นักดาราศาสตร์ชาวไทย นักโหราศาสตร์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระราชาคณะเจ้าคณะรอง เปรียญธรรม 5 ประโยค ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช. ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2325–2411
thaiwikipedia
851
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 49 ตามประวัติศาสตร์ไทย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วยโรคพระวักกะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น 1 ใน 8 สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประเทศไทย เนื่องจากรัชสมัยของพระองค์มีการปฏิรูปประเทศสยามให้ทันสมัย การปฏิรูปการปกครองและสังคม การเสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส เมื่อสยามถูกล้อมรอบด้วยอาณานิคมของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรักษาเอกราชของสยามด้วยพระบรมราโชบายและพระราชกรณียกิจของพระองค์ การปฏิรูปทั้งหมดของพระองค์ทุ่มเทเพื่อรักษาเอกราชของสยามเนื่องจากการคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับพระสมัญญาเป็นพระปิยมหาราช == พระราชประวัติ == พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. 1215 (ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396) เพลาก่อนทุ่มหนึ่งบาตรหนึ่ง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (ในรัชกาลที่ 6 ได้มีการสถาปนาพระบรมอัฐิเป็นสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ครั้งนั้นพระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดีเข้าชื่อกันกราบบังคมทูลว่า ทุกวันนี้เจ้าฟ้าก็ไม่มีเหมือนแต่ก่อน ขอให้ยกขึ้นเป็นเจ้าฟ้าอย่างสมัยก่อน จึงพระราชทานพระนามว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2404 จึงได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเจ้ากรมเป็นหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ซึ่งคำว่า "จุฬาลงกรณ์" นั้นแปลว่า เครื่องประดับผม อันหมายถึง "พระเกี้ยว" ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎหรือยอดชฎา พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงได้รับการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ ภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ ทรงได้การศึกษาการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศร วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2408 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2409) โปรดให้โสกันต์สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แล้วผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2409 ได้ถวายเทศนามหาชาติกัณฑ์สักรบรรพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม เมื่อวันอังคารที่ 23 ตุลาคม ภายหลังจากการผนวช โปรดให้ตั้งพิธีเลื่อนสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานารถ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2410 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2411) โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า === บรมราชาภิเษกครั้งที่ 1 === วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา โดยในขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว" === ผนวชและบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 === เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษาแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 จึงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหารเป็นเวลา 15 วัน หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ มหามงกุฎราชวรางกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฏไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตร โสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินธร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" === สวรรคต === พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สิริพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา นายแพทย์วิบูล วิจิตรวาทการ นักเขียนเชิงประวัติศาสตร์ ได้ให้ความเห็นระบุโรคที่เป็นไปได้ คือ โรคนิ่วในไต, โรคไตอักเสบ จากการติดเชื้อ และโรคไตชนิด Chronic Glomerulonephritis อันเกิดจากต่อมทอนซิลอักเสบฉับพลัน อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นโรคไตชนิดใด ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้จัดให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันปิยมหาราชและเป็นวันหยุดราชการ ก่อนสวรรคตเคยมีพระราชกระแสรับสั่งในพระราชหัตถเลขาว่าให้ยกเลิกการพระเมรุใหญ่เสีย ปลูกแต่ที่เผาพอสมควรในท้องสนามหลวงแล้วแต่จะเห็นสมควร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคารพต่อพระราชประสงค์ จึงโปรดให้จัดการตามพระราชดำรินั้น == พระราชกรณียกิจ == พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย การป้องกันการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัด และอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง อยุธยา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ การก่อตั้งการประปา การไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสื่อสาร การรถไฟ ส่วนการคมนาคม ให้มีการขุดคลองหลายแห่ง เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองเปรมประชากร และ คลองทวีวัฒนา ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองส่งน้ำประปา จากเชียงราก สู่สามเสน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งคลองนี้ส่งน้ำจากแหล่งน้ำดิบเชียงราก ผ่านอำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี, อำเภอปากเกร็ด และ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพญาไท และ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พระราชกรณียกิจด้านสังคม ทรงยกเลิกระบบไพร่ โดยให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์ นับเป็นการเกิดระบบทหารอาชีพในประเทศไทย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเลิกทาสแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากออกกฎหมายให้ลูกทาสอายุครบ 20 ปีเป็นอิสระ จนกระทั่งออกพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ซึ่งปล่อยทาสทุกคนให้เป็นอิสระและห้ามมีการซื้อขายทาส === การปฏิรูปการปกครอง === พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงการคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มีต่อประเทศในแถบเอเชีย โดยมักอ้างความชอบธรรมในการเข้ายึดครองดินแดนแถบนี้ว่าเป็นการทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าอันเป็น "ภาระของคนขาว" ทำให้ต้องทรงปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย โดยพระราชกรณียกิจดังกล่าวเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2416 ประการแรก ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมาสองสภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (เคาน์ซิลออฟสเตต) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (ปรีวีเคาน์ซิล) ในปี พ.ศ. 2417 และทรงตั้งขุนนางระดับพระยา 12 นายเป็น "เคาน์ซิลลอร์" ให้มีอำนาจขัดขวางหรือคัดค้านพระราชดำริได้ และทรงตั้งพระราชวงศานุวงศ์ 13 พระองค์ และขุนนางอีก 36 นาย ช่วยถวายความคิดเห็นหรือเป็นกรรมการดำเนินการต่าง ๆ แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุนนางสกุลบุนนาค และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เห็นว่าสภาที่ปรึกษาเป็นความพยายามดึงพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เรียกว่า วิกฤตการณ์วังหน้า วิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้การปฏิรูปการปกครองชะงักลงกระทั่ง พ.ศ. 2428 พ.ศ. 2427 ทรงปรึกษากับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตไทยประจำอังกฤษ ซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พร้อมเจ้านายและข้าราชการ 11 นาย ได้กราบทูลเสนอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ทรงเห็นว่ายังไม่พร้อม แต่ก็โปรดให้ทรงศึกษารูปแบบการปกครองแบบประเทศตะวันตก และ พ.ศ. 2431 ทรงเริ่มทดลองแบ่งงานการปกครองออกเป็น 12 กรม (เทียบเท่ากระทรวง) พ.ศ. 2431 ทรงตั้ง "เสนาบดีสภา" หรือ "ลูกขุน ณ ศาลา" ขึ้นเป็นฝ่ายบริหาร ต่อมา ใน พ.ศ. 2435 ได้ตั้งองคมนตรีสภา เดิมเรียกสภาที่ปรึกษาในพระองค์ เพื่อวินิจฉัยและทำงานให้สำเร็จ และรัฐมนตรีสภา หรือ "ลูกขุน ณ ศาลาหลวง" ขึ้นเพื้อปรึกษาราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกฎหมาย นอกจากนี้ยังทรงจัดให้มี "การชุมนุมเสนาบดี" อันเป็นการประชุมปรึกษาราชการที่มุขกระสัน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ด้วยความพอพระทัยในผลการดำเนินงานของกรมทั้งสิบสองที่ได้ทรงตั้งไว้เมื่อ พ.ศ. 2431 แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประกาศตั้งกระทรวงขึ้นอย่างเป็นทางการจำนวน 12 กระทรวง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 อันประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบงานที่เดิมเป็นของสมุหนายก ดูแลกิจการพลเรือนทั้งหมดและบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและชายทะเลตะวันออก กระทรวงนครบาล รับผิดชอบกิจการในพระนคร กระทรวงโยธาธิการ รับผิดชอบการก่อสร้าง กระทรวงธรรมการ ดูแลการศาสนาและการศึกษา กระทรวงเกษตรพานิชการ รับผิดชอบงานที่ในปัจจุบันเป็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม ดูแลเรื่องตุลาการ กระทรวงมรุธาธร ดูแลเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ กระทรวงยุทธนาธิการ รับผิดชอบปฏิบัติการการทหารสมัยใหม่ตามแบบยุโรป กระทรวงพระคลังสมบัติ รับผิดชอบงานที่ในปัจจุบันเป็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า) รับผิดชอบการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม รับผิดชอบกิจการทหาร และบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กระทรวงวัง รับผิดชอบกิจการพระมหากษัตริย์ หลังจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบกิจการพลเรือนเพียงอย่างเดียว และให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบกิจการทหารเพียงอย่างเดียว ยุบกรม 2 กรม ได้แก่ กรมยุทธนาธิการ โดยรวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม และกรมมรุธาธร โดยรวมเข้ากับกระทรวงวัง และเปลี่ยนชื่อกระทรวงเกษตรพานิชการ เป็น กระทรวงเกษตราธิการ ด้านการปกครองส่วนภูมิภาค มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ไทยกลายมาเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ โดยการลดอำนาจเจ้าเมือง และนำข้าราชการส่วนกลางไปประจำแทน ทรงทำให้นครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2317–2442) รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ตลอดจนทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ไปประจำที่อุดรธานี เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองแบบเทศาภิบาล พ.ศ. 2437 ทรงกำหนดให้เทศาภิบาลขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ยกเลิกระบบกินเมือง และระบบหัวเมืองแบบเก่า (ได้แก่ หัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และเมืองประเทศราช) จัดเป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ สุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศ ขึ้นกับกระทรวงนครบาล ระบบเทศาภิบาลดังกล่าวทำให้สยามกลายเป็นรัฐชาติที่มั่นคง มีเขตแดนที่ชัดเจนแน่นอน นับเป็นการรักษาเอกราชของประเทศ และทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น พระองค์ยังได้ส่งเจ้านายหลายพระองค์ไปศึกษาในทวีปยุโรป เพื่อมาดำรงตำแหน่งสำคัญในการปกครองที่ได้รับการปฏิรูปใหม่นี้ และทรงจ้างชาวต่างประเทศมารับราชการในตำแหน่งที่คนไทยยังไม่เชี่ยวชาญ ทรงตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม เป็นสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกของประเทศ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ร.ศ.124) ถือเป็นการเริ่มต้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและเริ่มต้นการปกครองส่วนท้องถิ่งครั้งแรก วันที่ 18 มีนาคม ทุกปีจึงเป็นวันท้องถิ่นไทย และออกพระราชบัญญัติสุขาภิบาลหัวเมือง ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) และจัดตั้งสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นอีก 13 แห่งหลังจากนั้น === การเสด็จประพาสต้นและประพาสหัวเมือง === เส้นทางเสด็จประพาสต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447 ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม ถึงวันที่ 7 สิงหาคม เป็นเวลา 25 วันเป็นการเสด็จทางเรือจากบางปะอินล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านเมืองนนทบุรี เข้าคลองบางกอกใหญ่ คลองภาษีเจริญ ฝั่งธนบุรี แล้วเสด็จฯ เข้าคลองดำเนินสะดวกเมืองราชบุรี ผ่านแม่น้ำแม่กลองไปเมืองเพชรบุรี เสด็จประพาสทางทะเล แวะเมืองสมุทรสงคราม ไปเมืองสมุทรสาคร ไปเมืองสุพรรณบุรี === การเสด็จประพาสสิงคโปร์ ชวา พม่าและอินเดีย === พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกที่สิงคโปร์และปัตตาเวีย ตามคำแนะนำของมิสเตอร์น็อกซ์ (Knox) กงสุลอังกฤษ ที่เสนอเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ในการจัดการศึกษาวิธการปกครองถวายแด่รัชกาลที่ 5 โดยให้เสด็จทอดพระเนตรเมืองสิงคโปร์ซึ่งเป็นอาณานิคมอังกฤษ เมืองปัตตาเวียและเมืองเสมารังซึ่งเป็นอาณานิคมฮอลันดา เพื่อศึกษาวิธีการปกครองตามแบบอย่างของอังกฤษ และศึกษาความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแบบตะวันตกเพื่อนำมาใช้ปฏิรูปประเทศไทยให้ทันสมัย === การเสด็จประพาสยุโรป === พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงเดินทางไปถึงทวีปยุโรป การเสด็จฯ เยือนครั้งประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) ถือเป็นทั้งเรื่องใหญ่และใหม่มากในสมัยนั้น == การเสียดินแดน == === การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส === ครั้งที่ 1 เสียแคว้นเขมร (เขมรส่วนนอก) เนื้อที่ประมาณ 123, 050 ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก 6 เกาะ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ 321,000 ตารางกิโลเมตร วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 ประเทศฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 (วิกฤตการณ์ ร.ศ.112) ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ 2 ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย 3 ข้อ ให้ตอบใน 48 ชั่วโมง เนื้อหา คือ * ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก * ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำด้วย * ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ 25 กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 50, 000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง 11 ปี (พ.ศ. 2436–2447) ปี พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญายกดินแดน ร.ศ.122 ให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. 2447 วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 เสียดินแดน ร.ศ. 125 ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 66,555 ตารางกิโลเมตร และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขต ไชยบุรี และจำปาศักดิ์ตะวันตก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 (ร.ศ.126) === การเสียดินแดนให้อังกฤษ === เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้อังกฤษ เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 (นับอย่างใหม่ พ.ศ. 2452) เพื่อขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ 40 ปี == พระราชนิพนธ์ == มีพระราชนิพนธ์ ทั้งหมด 12 เรื่อง ไกลบ้าน ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุรายวัน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสเกาะชวาครั้งหลัง เงาะป่า นิทราชาคริต พระราชพิธีสิบสองเดือน กาพย์เห่เรือ คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา ตำราทำกับข้าวฝรั่ง พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี โคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ == พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ == === พระบรมราชอิสริยยศ === พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (20 กันยายน พ.ศ. 2396 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2404) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ (21 มีนาคม พ.ศ. 2404 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2410) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร กรมขุนพินิตประชานาถ (15 มีนาคม พ.ศ. 2410 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (15 พฤศจิกายน พ.ศ.2459-สมัยรัชกาลที่ 7) ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 7-ปัจจุบัน) === พระราชลัญจกรประจำพระองค์ === พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. โดยมีตรา พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา และทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการเจริญรอยจำลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ดังนั้น จึงเลือกใช้ พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ === พระพุทธรูปประจำพระองค์ === พระพุทธรูปประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามพระแก่นจันทน์ ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นแทน ปางไสยาสน์เพราะทรงพระราชสมภพวันอังคาร โดยทรงให้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2466–2453 สร้างด้วยทองคำ ความสูงรวมฐาน 34.60 เซนติเมตร พระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง เหนือพระเศียรกางกั้นด้วยฉัตรปรุทอง 3 ชั้น สร้างราว พ.ศ. 2453-2468 หน้าตักกว้าง 7.2 นิ้ว สูงเฉพาะองค์พระ 11.8 ซ.ม. สูงรวมฉัตร 47.3 ซ.ม. === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ === === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ === * พ.ศ. 2412 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญสเทเฟน ชั้นที่ 1 * พ.ศ. 2421 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ 25x25px ราชอาณาจักรฮาวาย : * พ.ศ. 2424 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์คาเมฮาเมฮาที่ 1 ชั้นประถมาภรณ์ * พ.ศ. 2427 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นประถมาภรณ์ * พ.ศ. 2430 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสังวาล * พ.ศ. 2430 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม * พ.ศ. 2434 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง * พ.ศ. 2434 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญอันดรูว์ * พ.ศ. 2435 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริซและลาซารัส * พ.ศ. 2435 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์แม่พระรับสาร * พ.ศ. 2440 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีดำ * พ.ศ. 2440 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าการ์โลสที่ 3 ชั้นสายสร้อย * พ.ศ. 2440 - 80x80px สายสะพายแห่งสามเครื่องเสนาอิสริยาภรณ์ * พ.ศ. 2440 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์รือคราวน์ 25x25px ราชรัฐบาเดน : * พ.ศ. 2440 - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์บ้านของความซื่อสัตย์ 25x25px แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน : * พ.ศ. 2440 - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์ลุดวิก 25x25px บาวาเรีย : * พ.ศ. 2449 - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์เซนต์ฮูเบิร์ต 25x25px ดัชชีเบราน์ชไวค์ : * พ.ศ. 2450 - 80x80px เครื่งอิสริยาภรณ์เฮนรี่เดอะไลอ้อน === พระยศทางทหาร === พ.ศ. 2447 : จอมพลแห่งกองทัพบกสยามและกองทัพเรือสยาม (นายทัพและนายทัพเรือ) === พระราชสมัญญานาม === พระองค์ได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า"พระปิยมหาราช" แปลว่า มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก, "พระพุทธเจ้าหลวง", พระบิดาแห่งการปฏิรูปข้าวไทย และ พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย == พระบรมราชานุสรณ์ == == พระราชสันตติวงศ์ == === พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม === === พระราชโอรสและพระราชธิดา === หากไม่นับรวมรัชกาลที่ 1-4 แล้ว ถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชของพระมหากษัตริย์ไทยอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมถึงยังเป็นสมเด็จพระบรมปัยกาธิราชของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว == คลังภาพ == ไฟล์:1903_emperors-2.JPG|ต้นศตวรรษที่ 20 ทรงได้รับการจัดให้เป็น 1 ในผู้นำของ 16 ชาติผู้จะชี้นำโลก (โปรดสังเกตว่าพระองค์ประทับพระที่นั่งที่มีหมายเลข 6) ไฟล์:Ruling-monarchs.jpg|ไปรษณียบัตร ปี พ.ศ. 2451 รูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (บนซ้าย) กับพระมหากษัตริย์ร่วมสมัย ไฟล์:Map of Siam in 1900.png|แผนที่ราชอาณาจักรสยาม ราวปี พ.ศ. 2443 ไฟล์:Queen Saovabha Phongsri opening of the railway line.jpg|พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ทรงเปิดเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 == พงศาวลี == == แผนผัง == == ดูเพิ่ม == รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย วันปิยมหาราช การผนวกนครเชียงใหม่ของสยาม == อ้างอิง == เชิงอรรถ บรรณานุกรม พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.MBA.กรุงเทพมหานคร.2536 == แหล่งข้อมูลอื่น == พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 20 พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์ มหาราชแห่งประเทศไทย นักเขียนชาวไทย เจ้าฟ้าชาย กวีชาวไทย นักถ่ายภาพชาวไทย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม. ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.1‎ ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1‎ ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย เสียชีวิตจากโรคไต จอมพลชาวไทย จอมพลเรือชาวไทย พุทธศาสนิกชนชาวไทย บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2325–2411 บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2411–2475
thaiwikipedia
852
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2424 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 50 ตามประวัติศาสตร์ไทย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2424 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 32 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พ.ศ. 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมพรรษา 44 พรรษา ดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรีที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบันขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2524 ยูเนสโก (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก == พระราชประวัติ == === พระราชสมภพ === พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. 1242 (ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2424)) เพลาอีกบาตรหนึ่ง ถึง 3 โมงเช้า ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421 - 2430) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2424 - 2468) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2425 - 2430) สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2426 - 2463) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428 - 2430) สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432 - 2467) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (พ.ศ. 2435 - 2466) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436 - 2484) แม้ตอนประสูติ พระราชชนนียังดำรงพระยศเป็น พระราชเทวีอยู่ ยังมิได้ดำรงพระยศ พระอัครมเหสี แต่ตามขัตติยราชประเพณีในรัชกาลที่ 5 พระราชโอรสธิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อมทุกพระองค์ พระอิสริยยศเดิมของพระองค์ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อม เมื่อพระชนมพรรษาเจริญครบเดือน สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ แต่ยังมิได้พระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียกว่า "ลูกโต" พระประยูรญาติในพระราชสำนักดำเนินรอยตามพระบรมราชอัธยาศัยเรียกพระองค์ท่านว่า "ทูลกระหม่อมโต" จัน ชูโต เป็นพระพี่เลี้ยง ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2431 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2432) ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช จุฬาลงกรณ์นารถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ บรมมกุฏสุริยสันตติวงษ อดิสัยพงษวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศวิมลรัตน ทฤฆชนมสวัสดิ ขัตติยราชกุมาร ทรงศักดินา 50,000 ตามอย่างเจ้าฟ้าต่างกรม และทรงตั้งเจ้ากรมเป็นกรมขุนเทพทวาราวดี รับพระเกียรติยศเป็นที่สองรองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร === การศึกษา === ในขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง โดยมีหม่อมเจ้าประภากร มาลากุล พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรภาษาไทย ส่วนวิชาภาษาอังกฤษนั้นทรงศึกษากับนายโรเบิร์ต มอแรนต์ (Robert Morant) ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 พระชนมายุได้ 12 พรรษาเศษ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จออกไปทรงศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาละตินและเรขาคณิต(เทียบเท่าแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์(ศิลป์-คำนวณ)) ณ ประเทศอังกฤษ ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงโปรดฯให้สถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารสืบแทนสมเด็จพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาวิชาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษหลายแขนง ทางทหารทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์แล้วเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม ทางด้านพลเรือนทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และกฎหมาย ที่วิทยาลัยไครสต์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ระหว่างปี พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2444 แต่เนื่องด้วยทรงพระประชวรด้วยพระโรคอันตะ (ไส้ติ่ง) อักเสบ มีพระอาการมากต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที ทำให้ทรงพลาดโอกาสที่ได้รับปริญญา ระหว่างการศึกษาในต่างประเทศ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยเสด็จในฐานะผู้แทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศอังกฤษและประเทศใกล้เคียง เสด็จนิวัตพระนครตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถโดยเสด็จผ่านสหรัฐและประเทศญี่ปุ่น ถึงกรุงเทพมหานครเมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2445 === ทรงผนวช === วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2447 เวลาเช้า 3 โมงเศษ ทรงผนวชเป็นครั้งที่ 3 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ถึงเวลาบ่าย 4 โมงเย็น ได้ทรงทำทัฬหีกรรม ณ พระพุทธรัตนสถาน กับพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์พระองค์เดิม ผนวชแล้วประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถึงวันที่ 11 ธันวาคม ศกนั้น จึงทรงลาผนวช แล้วปฏิญาณพระองค์ถึงไตรสรณคมน์และรับศีล ยังทรงประทับในวัดบวรนิเวศวิหารต่อจนเช้าวันที่ 15 ธันวาคม จึงเสด็จฯ กลับ === ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ === เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินยุโรปครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2449 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอำนาจในราชกิจที่จะรักษาพระนครไว้แด่พระองค์ เป็นการรับสนองพระเดชพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระบรมชนกนาถในหน้าที่อันสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่ง และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยเป็นที่สุดด้วยระหว่างทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์นี้ ทรงรับเป็นประธานการจัดสร้างพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งงานสำคัญบรรลุโดยพระราชประสงค์อย่างดี === การขึ้นครองราชย์ === เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตลงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ทั้ง ๆ ที่พระองค์นั้นได้รับการสถาปนาตั้งไว้ในพระรัชทายาทสืบพระราชสันตติวงศ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 แต่ก็ทรงเศร้าสลด ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะแลกสิริราชสมบัติสำหรับพระองค์เองกับการสูญเสียพระชนมชีพของสมเด็จพระบรมชนกนาถ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) แท้ ๆ ทูลเชิญเสด็จลงที่ห้องแป๊ะเต๋งบนชั้น 2 พระที่นั่งอัมพรสถาน และท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ผู้ใหญ่ องคมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่ชุมนุมอยู่ พระปิตุลาได้คุกพระชงฆ์ลงกับพื้นกราบถวายบังคมอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และทันใดทุกท่านที่ชุมนุมอยู่ที่นั้น ก็ได้คุกเข่าลงกราบถวายบังคมทั่วกัน และในคืนนั้นได้มีประกาศภาษาไทยให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม จึงให้ออกพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 จึงรับบรมราชาภิเษก เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงษ์ อดิศัยพงษวิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทรสูรสันตติวงษวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหารอดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตน์อัศวโกศล ประพนธปรีชามัทวสมาจาร บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเสวตฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว" ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ทรงเห็นชอบกับคำกราบบังคมทูลของเหล่าเสนาบดีให้เฉลิมพระปรมาภิไธย "สมเด็จพระรามาธิบดี" แทนคำว่า "สมเด็จพระปรเมนทร" จึงมีพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเมื่อยกรามาธิบดีเป็นคำนำพระปรมาภิไธยแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้นเรศรามาธิบดี เป็นนเรศราธิบดี แทน ==เหตุการณ์ในรัชสมัย== พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติในช่วงที่ประเทศกำลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจจากเหตุภัยแล้ง พ.ศ. 2450-2453 และเป็นยุคที่สื่อสิ่งพิมพ์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว องค์ความรู้ต่างๆ รวมทั้งแนวคิดทางการเมือง หรือข่าวคราวการปฏิวัติในต่างประเทศได้ไหลบ่าเข้ามาสู่ผู้มีการศึกษาในสยาม ในเดือนแรกหลังขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงปรับโครงสร้างกองทัพโดยการยุบกรมยุทธนาธิการ ทรงตั้งกระทรวงกลาโหมที่มีอำนาจบัญชากองทัพบกอย่างเดียว และทรงยกแยกกรมทหารเรือออกมาตั้งเป็นกระทรวงทหารเรือ มีอำนาจบัญชากองทัพเรืออย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การคลังสยามในเวลานั้นอยู่ในภาวะขัดสน ถึงกระนั้น กองทัพก็ยังคงเป็นหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด รายจ่ายด้านการป้องกันอาณาจักรคิดเป็นร้อยละ 24.3 ขณะที่รายจ่ายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจด้านเกษตรกรรม การศึกษา และพาณิชยกรรมรวมกันคิดเป็นเพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้น รัฐบาลสยามในรัชสมัยพระองค์ยังค่อนข้างมีหัวแบบอนุรักษนิยม ต่อต้านการรับเงินทุนจากต่างชาติ และมีอคติต่อการให้สัมปทานต่อต่างชาติเข้ามาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เงินทุนในสยามมีน้อย ประชากรส่วนใหญ่ยังยากจนข้นแค้น เหตุอื้อฉาวที่พระองค์ทรงย่ำยีเกียรติของทหารบกเมื่อครั้งเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ทำให้นายทหารส่วนใหญ่ไม่ค่อยนับถือพระองค์ ถึงขนาดที่หลังครองราชย์แล้ว พระองค์ถูกหว่านบัตรสนเท่ห์บริภาษอย่างรุนแรงว่าพระองค์ "เป็นคนเลวทรามไม่ควรจะอยู่บนพื้นโลก" ซึ่งพระองค์ทรงตอบโต้ไว้ต่อบัตรสนเท่ห์ดังกล่าวว่า "พวกเก๊กเหม็งในกรุงเทพออกจะฟุ้งสร้านมาก พูดอึงไปถึงเรื่อง “รักชาติ” “ราษฎรเปนใหญ่” ฯลฯ ซึ่งเกิดเปนขี้ปากของพวกคนไทยเชื้อจีนขึ้นก่อน แล้วคนไทยหนุ่มๆที่ชอบคบเจ๊กพลอยเก็บขี้ปากของมันมาพูดกันบ้าง" ข้อความนี้สะท้อนได้ว่า พระองค์ทรงมองประชาธิปไตยเป็นแนวคิดเพ้อเจ้อที่ถูกเสี้ยมโดยชาวไทยเชื้อสายจีน นอกจากนี้ พระมงกุฎเกล้ามีความโปรดปรานใกล้ชิดบรรดามหาดเล็กเป็นพิเศษ ทรงสนใจอยู่แต่กับโขนการละคร ในรัชสมัยของพระองค์ มหาดเล็กกลายเป็นหน่วยราชการที่เติบโตอย่างรวดเร็วเกินกว่านายทหาร คราวที่พระองค์พระราชทานเงินของขวัญวันเกิดมหาศาลให้แก่เจ้าพระยารามราฆพ ได้เกิดปฏิกิริยาจากนายทหารที่ว่า "พระเจ้าแผ่นดินรักคนใช้มากดีไหม...ให้เงินทีตั้ง 100 ชั่ง หมายความว่ากระไร... พระเจ้าแผ่นดินเอาแต่เล่นโขน เอาเงินมาสร้างบ้านซื้อรถให้มหาดเล็ก...ทำไมพระราชาองค์นี้จึงโปรดมหาดเล็ก แต่ผู้หญิงไม่ชอบเลย" ===ตั้งกองเสือป่า=== ด้วยความที่การที่พระมงกุฎเกล้าทรงขาดบารมีเหนือกองทัพ นายทหารในกองทัพภักดีต่อผู้บังคับบัญชาและอาจารย์ของตนมากกว่ากษัตริย์ เรื่องนี้พระองค์ทรงตระหนักเป็นอย่างดี ทรงมองว่าพระองค์ต้องเร่งสร้างความจงรักภักดีให้ขยายออกไปอย่างเร่งด่วนในหมู่ข้าราชการ พระองค์จึงทรงตั้งกองกำลังกึ่งทหารที่เรียกว่า "กองเสือป่า" ขึ้นเมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ตัวพระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง "นายกองใหญ่" มีเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารบางส่วนเป็นคณะผู้บังคับบัญชา และมีข้าราชการพลเรือนเป็นพลเสือป่า การเป็นสมาชิกเสือป่าเป็นหนทางใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท และยังได้สิทธิยกเว้นการเกณฑ์ทหาร ทำให้เครือข่ายเสือป่าขยายตัวทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว การที่ผู้บังคับบัญชาเสือป่าคือเหล่าผู้ใกล้ชิดพระองค์ ทำให้ในที่สุด เครือข่ายเสือป่าเริ่มแทรกแซงระบบราชการจนเสียหาย บางครั้งมีการเรียกตัวพลเสือป่าที่เป็นข้าราชการมาซ้อมรบ ทำให้ข้าราชการผู้นั้นขาดจากงานราชการปกติ บ้างก็เบียดบังงบประมาณแผ่นดินมาอุดหนุนกองเสือป่า การซ้อมรบเสือป่าก็ไม่มีความจริงจังเพื่อฝึกฝนความชำนาญ มักจัดฉากให้กองเสือป่าหลวงของพระองค์ชนะอยู่เสมอ มีครั้งหนึ่งที่ทรงซ้อมรบแพ้เจ้าพระยายมราช ก็รับสั่งให้คุมตัวเจ้าพระยายมราชมาและตัดสินใหม่ให้พระองค์ชนะ การซ้อมรบของเสือป่าจึงเป็นเพียงเพื่อความสำราญสนุกสนานของกษัตริย์ อาวุธของกองเสือป่าก็หยิบยืมมาจากกองทัพบกแทบทั้งสิ้น ===ความกระด้างกระเดื่องในหมู่ทหาร=== การตั้งกองเสือป่าสร้างความคับแค้นใจแก่ทหารบกที่รู้สึกว่าถูกเบียดบังหน้าที่และทรัพยากร ในด้านกองทัพเรือยิ่งเลวร้าย มีการตัดค่าวิชาเดินเรือ มีการตัดเบี้ยเลี้ยงนักเรียนนายเรือเหลือวันละสลึง บรรดาทหารต่างรู้สึกว่าถูกกษัตริย์ทอดทิ้ง ในขณะที่มหาดเล็กและผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทต่างได้ดิบได้ดี ความคับแค้นใจที่ทหารเรือมีต่อพระองค์ ทำให้ทหารเรือแสดงออกโดยการเอาตอร์ปิโดประดับบนโต๊ะเสวยในงานเลี้ยงโรงเรียนนายเรือที่พระองค์เสด็จเป็นประธาน หรือการก่อวิวาทกับบรรดามหาดเล็กบ่อยครั้ง นำไปสู่การปลดพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จากตำแหน่งอาจารย์เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2454 มีเนื้อความว่า "พวกนายทหารเรือที่ได้ศึกษาวิชาการมาจากโรงเรียนนายเรือมีความอิ่มเอิบกำเริบใจ จนไม่รู้สึกพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าแผ่นดิน มีความมัวเมาไปด้วยกำลังโมหจริตแห่งตน...นี่เพราะผู้ฝึกสอนและเปนใหญ่ปกครองละเลยไม่กำหราบศิษย์ อันมีจิตร์ฟุ้งสร้าน ศิษย์จึงมีความละเลิงใจ" สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเล็งเห็นหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน ทรงโน้มน้าวให้พระมงกุฎเกล้าแก้ไขนโยบายหลายอย่าง เช่นทรงมองว่าการตั้งกองเสือป่ามีหลักการที่ดีแต่ก็มีจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขมาก แต่คำแนะนำทั้งหมดถูกพระมงกุฎเกล้าเพิกเฉย ===กบฏ ร.ศ. 130=== ความคับแค้นใจต่อการปกครองของพระองค์จากเหตุปัจจัยข้างต้น ทำให้นายทหารกลุ่มหนึ่งและวางแผนลอบปลงพระชนม์และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบใหม่ (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไม่ก็ระบอบสาธารณรัฐ) ซึ่งคณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์, ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ต.จรูญ ษตะเมษ, ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์, ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ, ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร, ร.ต.เขียน อุทัยกุล คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้งกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะผู้ก่อการทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ภายหลังการกวาดล้างกบฏ พระมงกุฎเกล้าให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์สยามออฟเซิร์ฟเวอร์ ทรงแสดงท่าทีสนับสนุนให้เกิดระบบรัฐสภาเมื่อถึงเวลาอันควร === สยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง === พ.ศ. 2457 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ทรงให้ความสนใจและติดตามข่าวการสงครามอย่างใกล้ชิด ในตอนแรกพระองค์มีนโยบายวางตัวเป็นกลาง แต่ก็เริ่มเอนเอียงไปเข้าข้างฝ่ายไตรภาคี (บริเตนใหญ่, ฝรั่งเศส และรัสเซีย) ในที่สุด ประเทศสยามประกาศตัวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และประกาศสงครามต่อจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 การตัดสินพระทัยในครั้งนั้นได้รับการคัดค้านจากประชาชนทั่วไป เนื่องจากในสมัยนั้นมีคนสยามไปศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมนีเป็นจำนวนมาก จึงนิยมและเคารพเยอรมนีเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ และเยอรมนีไม่เคยสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้สยามมาก่อน ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรเปลี่ยนสถานะของสยามจากบ้านป่าเมืองเถื่อนห่างไกลเป็นประเทศที่เชิดหน้าชูตา และได้เป็นสมาชิกแรกก่อตั้งของสันนิบาตชาติที่ตั้งขึ้นใหม่หลังสงคราม และยังได้แก้ไขสนธิสัญญาที่สยามเสียเปรียบต่อประเทศอื่นๆด้วยกันถึง 13 ประเทศ การตัดสินพระทัยครั้งนี้ของพระองค์นับว่าถูกต้อง และช่วยกอบกู้ความนิยมของพระองค์ในหมู่ราษฎรได้ไม่น้อย === พระชนมชีพหลังสงครามโลก === ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับพระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะศิลปการแสดง จนนับได้ว่ารัชสมัยของพระองค์เป็นยุคทองของศิลปะด้านการแสดง ทั้งแบบจารีตคือ โขน ละครนอก ละครใน และละครแบบใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลของประเทศตะวันตก อันได้แก่ ละครร้อง ละครพูด ละครดึกดำบรรพ์ ความสนพระทัยของพระองค์ต่องานแสดงนั้น มิใช่เพียงแต่การทอดพระเนตรดังเช่นรัชกาลที่ผ่านมา แต่ได้มีส่วนพระราชนิพนธ์บทละครทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศรวมประมาณ 180 เรื่อง ทรงควบคุมการแสดง และทรงแสดงร่วมด้วย ในช่วงปลายรัชกาลทรงใช้เวลาส่วนพระองค์ไปกับการพระราชนิพนธ์บทละคร และบทความเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ พระองค์ได้ออกหนังสือข่าวของ "ดุสิตธานี" ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ คือ ดุสิตสมัย รายวัน และดุสิตสมิธ ราย 3 เดือน ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีทั้งเรื่องการเมือง เรื่องตลกขบขัน เบ็ดเตล็ด และกวีนิพนธ์ ลักษณะเด่นคือมีการ์ตูนล้อการเมือง หนังสือพิมพ์เป็นเวทีแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสนามสำหรับแสดงโวหาร พระราชนิพนธ์ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ได้แก่ "โคลนติดล้อ" เป็นการเขียนถึงสังคม ความเป็นอยู่ และการเมืองของไทย === การสวรรคต === พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 โดยทรงได้เสวยพระกระยาหารผิดสำแดงและทรงพระบังคน มีมดมาเกาะพระบังคนหมอจึงสรุปว่า มีเบาหวานแทรกซ้อนแต่พระอาการก็ทรงกับทรุด จนเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท รวมพระชนมพรรษาได้ 44 พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา แต่รัชกาลที่ 7 มีพระราชประสงค์กำหนดวันสวรรคตของรัชกาลที่ 6 เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน และถือว่าวันพระมหาธีรราชเจ้าตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2468 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2469) มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ส่วนพระบรมราชสรีรางคารได้เชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเชิญไปประดิษฐาน ณ พระปฤศฤๅงค์ พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ส่วนพระบรมอัฐิส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ พระวิมานองค์กลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ อีกส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ พระวิมานพระอัฐิ วังรื่นฤดี ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียว == ชีวิตส่วนพระองค์ == === ความรัก และการอภิเษกสมรส === เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวิไลยลักษณา พระธิดาพระองค์กลางในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ถึงกับมีการหมายมั่นว่าพระองค์เจ้าสุทธวิไลยลักษณาจะได้เป็นสมเด็จพระราชินีในอนาคต แต่หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศก็มิได้สนพระทัยในพระองค์เจ้าสุทธวิไลยลักษณานัก และเมื่อตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงถูกเกณฑ์ให้เลือกคู่ แต่ก็มีพระราชกระแสว่า "ก็ฉัน ไม่รักนี่นา" ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเพลินไปกับการอุทิศพระองค์เพื่อดำเนินพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ในอันที่จะทรงนำสยามประเทศก้าวขึ้นสู่การยอมรับของนานาอารยประเทศ กระทั่งปี พ.ศ. 2460 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้ว จึงได้มีพระราชกระแสทรงพระราชปรารภกับคุณมหาดเล็กที่ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทว่า "รบศึกยังไม่ชนะ ยังไม่มีเมีย ชนะศึกมีเมียได้แล้ว" ทว่าเมื่อกองทหารอาสาที่ไปร่วมรบในงานพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรปเดินทางกลับมาถึงพระนคร ยังไม่ทันครบเดือน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งทรงพระประชวรเรื้อรังมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ก็มาด่วนเสด็จสวรรคตไปอีกพระองค์หนึ่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 ในพระราชสำนักจึงต้องมีการไว้ทุกข์ถวายต่อเนื่องกันมาอีกหลายเดือน เสร็จการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2463 แล้ว จึงได้มีพระราชดำริให้มีการรื่นเริงเพื่อคลายทุกข์โศก เริ่มจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวดภาพ ครั้งที่ 2 ที่ศาลาวรนาฏเวทีสถาน พระราชวังบางปะอิน ในระหว่างวันที่ 8-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 แล้วมีกระแสพระราชดำรัสว่า "อยากจะให้ชาวกรุงเทพฯ ได้ชมการประกวดภาพแบบนี้บ้าง" จึงได้ทรงกำหนดให้มีการประกวดภาพครั้งที่ 3 ที่พระราชวังพญาไท ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ทำให้พระองค์ได้พบกับหม่อมเจ้าวรรณวิมล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นครั้งแรกที่ห้องทรงไพ่บริดจ์ในงานประกวดภาพเขียน ณ โรงละครวังพญาไท ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2463 พระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามของพระธิดาในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ โดยพระนามของหม่อมเจ้าวรรณวิมล เปลี่ยนเป็น หม่อมเจ้าวัลลภาเทวี พร้อมกับขนิษฐาอีก 4 องค์ ที่รวมไปถึงหม่อมเจ้าวรรณพิมล ก็ได้รับพระราชทานพระนามเป็น หม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ และต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายนปีเดียวกัน ได้สถาปนาหม่อมเจ้าวัลลภาเทวี ขึ้นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี แต่ด้วยมีเหตุพระราชอัธยาศัยไม่ต้องกัน จึงมีพระบรมราชโองการถอนหมั้นลงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2463 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2464) และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ต่อมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2464 ได้สถาปนาหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ พระขนิษฐาของอดีตพระวรกัญญาปทานขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน จึงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ พร้อมกับทรงหมั้น และมีพระราชวินิจฉัยว่าจะได้ราชาภิเษกสมรสในภายหน้า แต่ในวันที่ 27 ตุลาคม ของปีนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงราชาภิเษกสมรสกับเปรื่อง สุจริตกุล อดีตนางสนองพระโอษฐ์ของอดีตพระวรกัญญาปทาน ได้รับการแต่งตั้งมีราชทินนามเป็น พระสุจริตสุดา แต่ก็มิได้ตั้งครรภ์ตามพระราชประสงค์ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2464 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2465) จึงได้ราชาภิเษกสมรสกับประไพ สุจริตกุล น้องสาวของพระสุจริตสุดา และได้มีราชทินนามเป็น พระอินทราณี ด้วยเหตุที่พระอินทราณีได้ตั้งครรภ์ จึงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรราชชายาเธอ และพระบรมราชินี ตามลำดับ แต่ในปลายปีเดียวกันนั้นก็ได้สถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ แต่ทั้งสองพระองค์มิได้ราชาภิเษกสมรสหรือมีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน ท้ายที่สุดจึงตัดสินพระทัยแยกกันอยู่ ภายหลังสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ทรงตกพระครรภ์หลายครั้ง กระทั่งในปี พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนาสุวัทนา อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นเจ้าจอมสุวัทนา ต่อมาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2468 ได้มีการเขียนพระราชพินัยกรรมขึ้น โดยได้เขียนไว้ว่าว่าห้ามนำพระอัฐิของพระองค์ตั้งคู่กับพระอัฐิของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี หากจะตั้งก็ให้ตั้งคู่กับเจ้าจอมสุวัทนา เพราะทรงยกย่องว่าเป็น "เมียดีจริงๆ" และยังเป็นที่ทรงหวังว่าจะมีพระราชโอรสสืบไปได้ และด้วยเกิดเหตุหลายประการเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี อันมีเรื่องการตกพระครรภ์หลายครั้ง เป็นเหตุผลประการหนึ่ง จึงมีการลดพระอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี ลงเป็น พระวรราชชายา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเองก็ได้มีการสถาปนาเจ้าจอมสุวัทนาซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะประสูติกาลพระบุตรในไม่ช้า ขึ้นเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เพื่อ "...ผดุงพระราชอิศริยยศแห่งพระกุมารที่จะมีพระประสูติการในเบื้องหน้า" แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนักและมีพระอาการรุนแรงขึ้น ในยามนั้นพระองค์ประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีประทับ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ซึ่งติดกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เพื่อทรงรอฟังข่าวพระประสูติการอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งพระนางเจ้าสุวัทนา มีพระประสูติการเจ้าฟ้าหญิงในวันที่ 24 พฤศจิกายน จากนั้นในเวลาบ่าย เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ” เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระราชดำรัสว่า “ก็ดีเหมือนกัน” จนรุ่งขึ้นในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน เจ้าพระยารามราฆพ เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์น้อยไปเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถผู้ทรงพระประชวรหนักบนพระแท่น เมื่อทอดพระเนตรแล้ว ทรงพยายามยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา แต่ก็ทรงอ่อนพระกำลังมากจนไม่สามารถจะทรงยกพระหัตถ์ได้เนื่องจากขณะนั้นมีพระอาการประชวรอยู่ในขั้นวิกฤต เจ้าพระยารามราฆพจึงเชิญพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา เมื่อจะเชิญเสด็จพระราชกุมารีกลับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโบกพระหัตถ์แสดงพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง จึงเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมาเฝ้าฯ เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้ายแห่งพระชนมชีพจนกลางดึกคืนนั้นเองก็เสด็จสวรรคต พระราชธิดาพระองค์นั้นต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 โดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ทรงพระเมตตาเอาพระราชหฤทัยใส่ดูแลทั้งด้านพระอนามัยและความเป็นอยู่มาโดยตลอด ด้วยเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระประชวรหนักนั้น ได้มีพระราชดำรัสกับสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าว่า “ขอฝากลูกด้วย” สมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้ายังได้มีพระราชกระแสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “เจ้าฟ้านี่ ฉันตายก็นอนตาไม่หลับ พระมงกุฎฝากฝังเอาไว้” ต่อมาเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา พร้อมด้วยพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้เสด็จฯ ไปประทับที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 จนในปี พ.ศ. 2501 ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ นิวัติกลับประเทศไทยเป็นการถาวรและประทับที่วังรื่นฤดีร่วมกัน ท้ายที่สุด สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีได้สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุได้ 85 พรรษา == พระราชสันตติวงศ์ == === พระมเหสี และพระสนม === === พระราชโอรสและพระราชธิดา === == พระราชกรณียกิจ == === ด้านการศึกษา === เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชทานนาม โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของเชียงใหม่ และพระราชทานนาม โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 ซึ่งก่อตั้งโดยคณะมิชชันนารีอเมริกา ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่การนำรูปแบบการศึกษาตะวันตกมายังหัวเมืองเหนือเท่านั้น แต่ยังแฝงนัยการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วย เห็นได้จากการเสด็จประพาสมณฑลพายัพทั้งสองครั้งระหว่าง พ.ศ. 2448-2450 พระองค์ได้ทรงสนพระทัยในกิจการโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น โดยพระองค์ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง" และ "ลิลิตพายัพ" ทั้งนี้ เป้าหมายของการจัดการศึกษายังแฝงประโยชน์ทางการเมืองที่จะให้ชาวท้องถิ่นกลมเกลียวกับไทยอีกด้วย พระองค์ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) ทั้งยังทรงสนับสนุนกิจการของโรงเรียนราชวิทยาลัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2440 (ปัจจุบัน คือ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) และในปี พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย === ด้านการเศรษฐกิจ === ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น ทรงจัดตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานคล้ายกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจในปัจจุบัน และใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด (ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งมีปัญหาการเงิน ทำให้ธนาคารของคนไทยแห่งนี้ดำรงอยู่มาได้ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในราชสำนักของพระองค์ค่อนข้างฟุ่มเฟือย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติต้องถวายเงินเพิ่มขึ้นมากในพระคลังข้างที่ ทั้งนี้เพราะเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมกมุ่นอยู่กับแต่ศิลปะวิทยาการ ทำให้การคลังของประเทศอ่อนแอ รายจ่ายของแผ่นดินมีสูงกว่ารายได้ ส่งผลให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพงในตอนปลายรัชกาล ไปจนถึงในรัชกาลถัดไป === ด้านสังคม === เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย ทรงทดลองตั้ง "เมืองมัง" หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเองตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง "ดุสิตธานี" ในพระราชวังดุสิต (ต่อมาทรงย้ายไปที่พระราชวังพญาไท) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวชิรพยาบาลเมื่อ พ.ศ. 2455 และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อ พ.ศ. 2457 ทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2465 เพื่อผลิตวัคซีนและเซรุ่ม เป็นประโยชน์ทั้งแก่ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย ทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 ในปี พ.ศ. 2460 ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 เพี่อเชื่อมทางรถไฟไปยังภูมิภาคอื่น พระองค์ทรงยกเลิกบ่อนการพนัน หวย ก.ข. และลดการค้าฝิ่น ซึ่งเป็นอบายมุขมอมเมาประชาชน แม้ว่าจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลแหล่งหนึ่งก็ตาม ทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่น ๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,464 นามสกุล ทรงประกาศให้มีการใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทร์ศก เพราะทรงมีพระราชดำริว่าการใช้รัตนโกสินทร์ศกมีข้อบกพร่องตรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มใช้พุทธศักราช เป็นศักราชในทางราชการมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 นอกจากนี้ทรงให้เปลี่ยนการนับเวลามาเรียกว่านาฬิกาและนับเวลาทางราชการใหม่ให้สอดคล้องกับธรรมเนียมสากลนิยม โดยให้ถือเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นวันรุ่งขึ้นหรือวันใหม่ ซึ่งจากเดิมประเทศไทยนับเวลาตอนกลางวันเป็นโมง ตอนกลางคืนเป็นทุ่ม เมื่อรัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองอุทัยธานี ซึ่งขณะนั้นประสบเหตุอุทกภัยและทอดพระเนตรเห็นธงช้างของราษฎรซึ่งตั้งใจรอรับเสด็จไว้ถูกติดกลับหัว พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับแถบสีขาว 2 แถบ ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว ซึ่งธงนี้เรียกว่า ธงแดงขาว 5 ริ้ว (ชื่อในเอกสารราชการเรียกว่า ธงค้าขาย) พ.ศ. 2460 แถบสีแดงที่ตรงกลางธงค้าขายได้เปลี่ยนเป็น สีน้ำเงินขาบ หรือสีน้ำเงินเข้มเจือม่วงดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เหตุที่รัชกาลที่ 6 ทรงเลือกสีนี้เพราะสีขาบเป็นสีประจำพระองค์ที่โปรดมาก เนื่องจากเป็นสีประจำวันพระราชสมภพคือวันเสาร์ ตามคติโหราศาสตร์ไทย ธงชาติแบบใหม่นี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" ในปีพ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาคำนำหน้านามกำหนดให้ใช้คำนำหน้านามอย่างอารยประเทศ นั่นคือ ให้มีคำว่า เด็กชาย เด็กหญิง นาย นาง และนางสาวนำหน้าชื่อ === ด้านศิลปวัฒนธรรม === ทรงตั้งกรมมหรสพ เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรย สำหรับในด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. 2465 ขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนศิลปะการแสดงโขนด้วยการพระราชนิพนธ์บท ทรงควบคุมการจัดแสดงและฝึกซ้อมด้วยพระองค์เอง และทรงโปรดให้ครูโขนละครจากคณะของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ฝึกหัดคณะโขของพระองค์ ด้านการละครทรงนำแบบอย่างมาเผยแพร่ ทั้งบทละคร วีธีแสดง การวางตัวละครบนเวที การเปล่งเสียงพูด พระองค์ทรงมีบทบาททั้งการพระราชนิพนธ์บทละคร ทรงควบคุมการแสดงและทรงแสดงร่วม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องประกอบเนื้อเรื่อง ทั้งทำนองเพลงไทยและเพลงสากล นอกจากนี้ยังทรงโปรดฯให้มีการสอนและฝึกซ้อมดนตรีไทยควบคู่ไปกับการเรียนการสอนวิชาสามัญ === ด้านการต่างประเทศ === ขณะดำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ในระหว่างปิดภาคเรียนขณะทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศส และเสด็จทอดพระเนตรกิจการทหารของประเทศในภาคพื้นยุโรปเป็นเนืองนิจ ในปีพ.ศ. 2445 ขณะทรงพระชนมายุ 22 พรรษา หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแล้ว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปจนถึงประเทศอียิปต์ เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี จากนั้นประทับอยู่ในกรุงลอนดอนระยะหนึ่งเพื่อเตรียมพระองค์นิวัตประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ในการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สนธิสัญญาจำกัดอำนาจกลางประเทศไทย == พระบรมราชานุสรณ์ == === พระบรมราชานุสาวรีย์ === ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นหลายแห่ง เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินี เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างด้วยทรัพย์พระราชทานจากพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี โดยพระราชทานพระอนุญาตให้หักเงินรายได้ของพระองค์ 2 ใน 3 จากรายได้ทั้งหมด และทรัพย์พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งพระราชทานสมทบอีกส่วนหนึ่ง โดยส่วนที่เหลือรัฐบาลเป็นผู้อนุมัติงบจัดสร้าง สร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน ทั้งนี้ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมรูป และพระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วชิราวุธวิทยาลัย เริ่มจัดสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2505 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีประดิษฐานพระบรมรูป ณ พระบรมราชานุสรณ์หน้าหอประชุมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ที่หน้าหอประชุม เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2508 พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่โรงเรียนสถาปนาครบรอบ 96 ปีและเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานนามโรงเรียนและมีพระราชหัตถเลขาชมเชยการสร้างโรงเรียนแทนการสร้างวัดวาอารามด้วยต้องตามพระราชนิยม และให้ประกาศออกไปทั่วพระราชอาณาจักรให้ราษฎรสร้างโรงเรียนแทนวัด นับเป็นโรงเรียนแรกในรัชสมัยที่พสกนิกรสร้างโรงเรียนถวายให้กับราชการ พระบรมราชานุสาวรีย์นี้อยู่ในพระอิริยาบถทรงยืน ฉลองพระองค์ชุดเสือป่าราบหลวง ด้านซ้ายของพระบรมรูปมีรูปหล่อโลหะเด็กชายสวมเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามนั่งถวายพานพุ่ม ส่วนด้านขวาของพระบรมรูปมีรูปหล่อโลหะเด็กชายสวมเครื่องแบบลูกเสือโรงเรียนวัดสุทธิวรารามนั่งถวายพานพุ่ม ทั้งหมดเป็นฝีมือของช่างจากกรมศิลปากร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ด้านหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 และมีพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าวันที่ 25 พศจิกายน ของทุกปี พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ พระราชวังสนามจันทร์ เป็นพระบรมรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับพระเก้าอี้ ฉลองพระองค์ชุดเสือป่าราบหลวงอย่างเก่าแบบทรงม้า เป็นฝีมือของช่างจากกรมศิลปากร ส่วนราชการจังหวัดนครปฐม ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้กลางพระราชวังสนามจันทร์ หลังเทวาลัยคเณศร์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2525 พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ พระราชวังพญาไท เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นในภายหลัง เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์หล่อสำริดทรงยืนตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารเทียบรถพระที่นั่ง เป็นพระบรมรูปที่หล่อขึ้นมีขนาดเท่าพระองค์จริงทรงเครื่องยศจอมพลทหารบกประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ กรมการรักษาดินแดน เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นภายหลัง ประดิษฐานอยู่กลางวงเวียนภายในหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (กรมการรักษาดินแดน เดิม) พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิทหมายเลข 3 กิโลเมตรที่ 6 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยพลเรือโทสุทัศน์ ขยิ่ม ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ ได้ร่วมกับข้าราชการ ประชาชน และผู้มีจิตศรัทธาจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชสักการะ และแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานที่ดินทรงสงวน บริเวณอำเภอสัตหีบ ที่กองทัพเรือใช้เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือ โดยกองทัพเรือจะจัดพิธีวางพวงมาลาทุกวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานบนแท่นหน้าตึกยุพราช โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จัดสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2557 เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยศยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย" ซึ่งมีความหมายว่า "โรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร)" พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน ประดิษฐานบริเวณหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน ถนนพหลโยธิน จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้พระราชทานกำเนิดธนาคารออมสิน พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ค่ายหลวงบ้านไร่ ตั้งอยู่ ณ ค่ายหลวงบ้านไร่ ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพิธีวางศิลาพระฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 เนื่องจากค่ายหลวงบ้านไร่ เคยเป็นค่ายฝึกซ้อมรบเสือป่า ซึ่งเป็นตันกำเนิดของกิจการลูกเสือ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล และทางราชการเห็นว่าสถานที่แห่งนี้มีความสำคัญจึงได้สร้างพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านไร่แห่งนี้ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ค่ายวชิราวุธ) จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ ภายในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่สี่ ค่ายทหารแห่งแรกในภูมิภาค พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ เนติบัณฑิตยสภา ตั้งอยู่ บริเวณหน้าอาคารเนติบัณฑิตยสภา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ บริเวณหน้าอาคาร SCG 100 ปี ภายในบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ===วชิราวุธวิทยาลัย=== พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เพื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือนพระอารามหลวงประจำรัชกาล และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป ===พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว=== ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 และชั้น 3 อาคารราชวัลลภ ภายในหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ตรงข้ามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ถนนเจริญกรุง จัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ เครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น ชุดฉลองพระองค์ พระมาลา รองพระบาท อาวุธต่างๆ ในสมัยนั้น และประวัติความเป็นมาของกองกิจการเสือป่า ซึ่งทรงก่อตั้งและพัฒนามาเป็นนักศึกษาวิชาทหารในปัจจุบัน ===หอวชิราวุธานุสรณ์=== ก่อตั้งโดย หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยถวายให้ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงรับเป็นองค์ประธาน สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 100 ปีของพระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2524 ตั้งอยู่ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารทรงไทยขนาดใหญ่ อยู่ทิศเหนือของอาคารหอสมุดแห่งชาติ ชิดกับรั้วบริเวณท่าสุกรีซึ่งเคยเป็นที่ประทับแรม ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายครั้งหลายหน สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงประกอบพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ครบ 8 รอบ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2520 === สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม === อาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารมหาวชิราวุธ วชิรพยาบาล อาคารเทพวารวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวชิรมงกุฎ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาคารวชิรมงกุฎ วชิราวุธวิทยาลัย ประตูอัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย ประตูเยาวราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งตามพระอิศริยศในขณะนั้น สมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ ทั้งสร้างถวายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช (พระเยาวราช พระยุพราช ) สวนรื่นฤดี สถานที่ปลูกพลับพลาที่ประทับ ครั้นเสด็จมาก่อตั้งและเปิดค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช == พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ == === พระบรมราชอิสริยยศ === สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (1 มกราคม พ.ศ. 2424 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2431) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี (14 มีนาคม พ.ศ. 2431 - 4 มกราคม พ.ศ. 2438) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (4 มกราคม พ.ศ. 2438 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2453) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (25 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459) พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) === พระราชลัญจกรประจำพระองค์ === พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระวชิระ ซึ่งมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "มหาวชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นศาตราวุธของพระอินทร์ พระราชลัญจกรพระวชิระนั้น เป็นตรางา รูปรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. มีรูปวชิราวุธเปล่งรัศมีที่ยอด ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง === พระพุทธรูปประจำพระองค์ === พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก 7 เศียร ประทับใต้ต้นจิก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2453 สร้างด้วย ทองคำลงยาประดับอัญมณี ความสูงถึงยอดต้นจิก 20.70 เซนติเมตร ประดิษฐาน ณ.หอพระ วิมานองค์ขวา พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระพุทธรูปประจำรัชกาล สร้างราว พ.ศ. 2468-2475 หน้าตักกว้าง 7.5 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 12 ซ.ม. สูงรวมฉัตร 39 ซ.ม. สร้างด้วยทองคำ ภายใต้ฉัตรปรุทอง 3 ชั้น === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย === (ฝ่ายหน้า) (ฝ่ายหน้า) พ.ศ. ไม่ปรากฏ – 80px เหรียญราชนิยม (ร.น.) พ.ศ. 2461 – 80px เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป พ.ศ. 2466 – 80px เหรียญชัย === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ === * พ.ศ. ไม่ปรากฏ - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ ชั้นที่ 1 (GCB) * พ.ศ. 2445 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งอินเดีย ชั้นที่ 1 (GCSI) * พ.ศ. 2445 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นอัศวินสูงสุด (CGVO) * พ.ศ. 2445 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำ ชั้นอัศวิน * พ.ศ. 2440 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชาร์ลส์ที่ 3 ชั้นที่ 1 * พ.ศ. 2440 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม * พ.ศ. 2440 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา * พ.ศ. 2445 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดของการประกาศศักดิ์สิทธิ์ที่สุด *พ.ศ. 2445 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของนักบุญสเทเฟนแห่งฮังการี ชั้นที่ 1 * พ.ศ. 2445 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ 30x30px บาเดน : *พ.ศ. 2445 - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์บ้านของความซื่อสัตย์ * พ.ศ. 2445 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎปรัสเซียน *พ.ศ. 2446 - 80px เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นมหากางเขน เบราน์ชไวค์ : * พ.ศ. 2452 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตไฮน์ริช ชั้นที่ 1 (พิเศษ) === พระยศทหารและกองเสือป่า === พ.ศ. 2454: จอมพล จอมพลเรือ นายกองใหญ่แห่งกองเสือป่า === พระราชสมัญญานาม === พระบิดาแห่งการลูกเสือไทย พระบิดาแห่งฟุตบอลไทย == พงศาวลี == == แผนผัง == == อ้างอิง == เชิงอรรถ บรรณานุกรม สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง -- : สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ, ISBN 974-91328-6-3 รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2460, โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง, พ.ศ. 2461 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2461, โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง, พ.ศ. 2462 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2462, โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง, พ.ศ. 2463 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2463, โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง, พ.ศ. 2464 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2464, โรงพิมพ์กรมรถไฟแผ่นดิน, พ.ศ. 2465 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2467, , โรงพิมพ์กรมรถไฟแผ่นดิน, พ.ศ. 2468 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) เพื่อระฦกถึงพระคุณพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน, โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พ.ศ. 2480 ที่ระลึกสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ สวนลุมพินี พ.ศ. 2468 โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2550 (Reprint จากฉบับพิมพ์โรงพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ พ.ศ. 2470) จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาคต้น พิมพ์โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพ 2537 จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับปี ค.ศ. 1925 (เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ) พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, ประวัติต้นรัชกาลที่ 6, สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, จดหมายเหตุรายวัน ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ เป็นปีที่ ๑๔ ในรัชกาล, มานวสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ == ดูเพิ่ม == รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย == แหล่งข้อมูลอื่น == พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 20 พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 สยามมกุฎราชกุมาร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย จอมพลชาวไทย จอมพลเรือชาวไทย นักเขียนชาวไทย กวีชาวไทย สมาชิกกองเสือป่า บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ) ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ) ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1 ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินอาหาร พุทธศาสนิกชนชาวไทย ชาวไทยที่มีความหลากหลายทางเพศ บทความคัดสรร นักแสดงชายชาวไทย นักจัดรายการวิทยุชาวไทย บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2411–2475 ชาตินิยมไทย
thaiwikipedia
853
อำเภอวังน้อย
วังน้อย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภออุไทยน้อย แยกการปกครองออกจากอำเภอบางปะอิน อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ. 2450 ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน == ประวัติศาสตร์ == ท้องที่อำเภอวังน้อยเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางปะอิน อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองแยกพื้นที่ตำบลบ้านสร้าง ตำบลบ่อตาโล่ บางส่วนของตำบลเชียงรากน้อย บางส่วนของตำบลลานเท ของอำเภอพระราชวัง บางส่วนของตำบลหนองน้ำส้ม ของอำเภออุไทยใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหนองแขม ของอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี มาตั้งเป็น อำเภออุไทยน้อย นำมาจัดตั้งเป็นตำบลใหม่รวมท้องที่ทั้งหมด 10 ตำบล คือ ตำบลบ่อตาโล่ ตำบลลำไทร ตำบลลำตาเสา ตำบลพะยอม ตำบลวังน้อย ตำบลหันตะเภา ตำบลชะแมบ ตำบลวังกุลา ตำบลสนับทึบ และตำบลข้าวงาม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน อำเภอวังน้อยแต่เดิมชื่ออำเภออุทัยน้อย มีนายอำเภอคนแรกคือ หลวงอุทัยบำรุงรัฐ ต้นตระกูล บุณยานันต์ ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งที่ได้รับพระราชทานโดยตรงจากรัชกาลที่ 6 == ที่ตั้งและอาณาเขต == อำเภอวังน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางปะอินและอำเภออุทัย ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองแค (จังหวัดสระบุรี) ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองเสือและอำเภอคลองหลวง (จังหวัดปทุมธานี) ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางปะอิน == การแบ่งเขตการปกครอง == === การปกครองส่วนภูมิภาค === อำเภอวังน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 10 ตำบล 68 หมู่บ้าน ได้แก่ {| |- ||1.||ลำตาเสา |||||| (Lam Ta Sao)||||||||||||6.||พยอม|||||| (Phayom)|| |- ||2.||บ่อตาโล่ |||||| (Bo Ta Lo)||||||||||||7.||หันตะเภา |||||| (Han Taphao)|| |- ||3.||วังน้อย|||||| (Wang Noi)||||||||||||8.||วังจุฬา |||||| (Wang Chula)|| |- ||4.||ลำไทร|||||| (Lam Sai)||||||||||||9.||ข้าวงาม |||||| (Khao Ngam)|| |- ||5.||สนับทึบ |||||| (Sanap Thuep)||||||||||||10.||ชะแมบ |||||| (Chamaep)|| |} === การปกครองส่วนท้องถิ่น === ท้องที่อำเภอวังน้อยประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองลำตาเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำตาเสาทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลบ่อตาโล่ ตำบลลำไทร และตำบลชะแมบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อตาโล่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อตาโล่ (นอกเขตเทศบาลเมืองลำตาเสา) องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้อยทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทร (นอกเขตเทศบาลเมืองลำตาเสา) องค์การบริหารส่วนตำบลสนับทึบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนับทึบทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลพยอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพยอมทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลหันตะเภา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหันตะเภาทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังจุฬาทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลข้าวงามทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลชะแมบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะแมบ (นอกเขตเทศบาลเมืองลำตาเสา) == เศรษฐกิจ == อำเภอวังน้อยแต่เดิมเป็นเขตเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกข้าวและสวนผลไม้ ปัจจุบันกลายเป็นเขตอุตสาหกรรม มีนิคมอุตสาหกรรมวังน้อยแฟคตอรีแลนด์ จึงกลายเป็นแหล่งของผู้ขายแรงงานย้ายมาอยู่เป็นจำนวนมาก == การคมนาคม == ท้องที่อำเภอวังน้อยมีถนนสายหลัก เช่น ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือถนนกาญจนาภิเษก) ถนนโรจนะ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309) ถนนลำลูกกา-วังน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352) == สถานศึกษา == มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ โรงเรียนวังน้อยพนมยงค์วิทยา โรงเรียนวังน้อยวิทยาภูมิ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ข้อมูลตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากเว็บไซต์ ThaiTambon.com อยุธยา http://intranet.m-culture.go.th/ayutthaya/wangnoy.html วังน้อย
thaiwikipedia
854
พระนครศรีอยุธยา
Redirect จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
thaiwikipedia
855
ชิงช้าสวรรค์
ชิงช้าสวรรค์ (Ferris wheel) คือ เครื่องเล่นเพื่อความบันเทิงชนิดหนึ่ง มักพบเห็นตามงานวัด สวนสนุก และตามงานเทศกาลต่างๆ ประกอบด้วยวงล้อโลหะขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่กับที่ มีกระเช้าผู้โดยสารที่ทำจากโลหะ (gondola หรือ capsule) ห้อยติดเป็นช่วงระหว่างโครงของล้อทั้งสอง ชิงช้าสวรรค์ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1893 โดยจอร์จ เฟอร์ริส และเป็นสัญลักษณ์โดดเด่นในงานแสดงสินค้าที่ชิคาโก ได้รับการขนานนามตามชื่อผู้ประดิษฐ์ว่า Ferris Wheel หรือบ้างก็เรียก Chicago Wheel == ประวัติ == ชิงช้าสวรรค์ ออกแบบและประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยวิศวกรชาวอเมริกัน จอร์จ วอชิงตัน เกล เฟอร์ริส จูเนียร์ (George Washington Gale Ferris, Jr.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสัญลักษณ์โดดเด่นสำหรับงานแสดงสินค้า The Chicago World's Fair ที่จัดขึ้นในเมืองชิคาโก ในปี ค.ศ. 1893 ชิงช้าสวรรค์เครื่องแรกของโลก สูง 80.4 เมตร (264 ฟุต) ประกอบด้วยกระเช้าขนาดใหญ่จำนวน 36 กระเช้า ซึ่งสามารถบรรจุผู้โดยสารได้กระเช้าละ 40-60 คน ความจุทั้งหมดอยู่ที่ 2,160 คน เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1893 ในงานแสดงสินค้า The Chicago World's Fair ในเมืองชิคาโก งานแสดงสินค้าสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน ทว่าชิงช้าสวรรค์ยังคงเปิดให้บริการจนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1894 ก่อนจะถูกรื้อถอนลง ในปีถัดมา มีการนำชิ้นส่วนมาประกอบใหม่ที่ Chicago's North Side ใกล้ย่านลิงคอล์น พาร์ค และเปิดให้บริการจนถึงปี ค.ศ. 1903 ก่อนถูกรื้อถอนอีกครั้ง เพื่อนำไปประกอบใหม่ที่งานแสดงสินค้าในเมืองเซนต์หลุยส์ ในปี ค.ศ. 1904 และสุดท้ายถูกระเบิดทำลายลงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1906 == ชิงช้าสวรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก == ชิงช้าสวรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรียงตามลำดับเวลา (ปี ค.ศ.) 1893: ชิงช้าสวรรค์เครื่องแรกของโลก สูง สร้างเพื่อใช้ในงาน The Chicago World's Fair ในเมืองชิคาโก, รัฐอิลลินอย, ต่อมาถูกย้ายไปติดตั้งที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ในปี 1904 สำหรับงานแสดงสินค้า ก่อนถูกทำลายลงในปี 1906 1895: The Great Wheel สร้างขึ้นเพื่องาน The Empire of India Exhibition ณ ย่านเอิร์ลส คอร์ท , ลอนดอน, สหราชอาณาจักร สูง สร้างขึ้นในเดือนมีนาคม ปี 1894 และเปิดให้บริการในวันที่ 17 กรกฎาคมในปีถัดมา ก่อนปิดตัวลงในปี 1906 และถูกทำลายทิ้งในปี 1907 อ้างว่ารองรับผู้โดยสารทั้งสิ้นกว่า 2.5 ล้านคน 1900: The Grande Roue de Paris สร้างขึ้นเพื่องานแสดงสินค้า The Exposition Universelle ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีสในปี 1900 ประเทศฝรั่งเศส ก่อนถูกทำลายในปี 1920 1989: The Cosmo Clock 21 ถูกสร้างขึ้นเพื่องาน YES '89 Yokohama Exposition ในย่านมินะโตะมิไร 21, โยะโกะฮะมะ , ประเทศญี่ปุ่น เดิมทีสร้างสูง และถูกรื้อลงในปี 1997 ก่อนนำมาประกอบใหม่ในปี 1999 โดยย้ายไปติดตั้งบนฐานที่สูงขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้ความสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1997: The Tempozan Ferris Wheel ในเมืองโอซาก้า, ประเทศญี่ปุ่น เปิดให้บริการในวันที่ 12 กรกฎาคม ด้วยความสูง 1999: Daikanransha ณ Palette Town ในย่านโอะไดบะ, ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความสูง 2000: ลอนดอนอาย สูง ที่ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม 1999 เพื่อต้อนรับปีสหัสวรรษ แต่ยังไม่เปิดให้บริการเพราะเกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิคจนกระทั่งเดือนมีนาคม 2000 ปัจจุบัน ลอนดอนอายยังครองตำแหน่งชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป 2006: The Star of Nanchang ในเมืองหนานชาง มณฑลเจียงซี, ประเทศจีน เปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม สูง 2008: สิงคโปร์ฟลายเออร์ ตั้งอยู่ในสิงคโปร์ สูง ที่เคยครองตำแหน่งชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในโลก เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มีนาคม 2008 2014 ไฮโรลเลอร์ ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา สูง ที่เคยครองตำแหน่งชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในโลก เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มีนาคม 2014 2021 ไอน์ ดูไบ ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สูง ครองตำแหน่งชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในโลก เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ตุลาคม 2021 ===รายชื่อชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในโลก=== ===ชิงช้าสวรรค์ในไทย=== ชิงช้าสวรรค์ ณ ซานโตรินี่ พาร์ค ที่ชะอำ ความสูง 40 เมตร นำเข้าจากประเทศอิตาลี ดู Official Website เอเชียทีค สกาย (Asiatique Sky) ชิงช้าสวรรค์ยักษ์ในเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ริมน้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร ความสูง 60 เมตร ให้ได้สัมผัสกับทัศนียภาพมุมสูงยามเย็นของคุ้งน้ำเจ้าพระยา เปิดบริการ 17:00-เที่ยงคืน ดู Official Website ไดโน อาย (Dino Eye) ชิงช้าสวรรค์ยักษ์ของไดโนซอ แพลนเนต กรุงเทพมหานคร ความสูง 50 เมตร ปัจุบันได้ถูกปิดแล้ว ==References== สวนสนุก สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ
thaiwikipedia
856
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) เป็นชุดคำสั่ง ที่ปฏิบัติงานเฉพาะเมื่อคอมพิวเตอร์สั่งกระทำการ (execute) คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการใช้โปรแกรมในการสั่งงาน และกระทำตามชุดคำสั่งในหน่วยประมวลผลกลาง โปรแกรมคอมพิวเตอร์มักเขียนโดยนักเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาโปรแกรม คอมไพเลอร์สามารถแปลงรหัสเครื่อง (machine code) ที่ประกอบด้วยชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้โดยตรงได้จากรหัสต้นฉบับ (source code) แบบมนุษย์อ่านได้ หรืออีกทางหนึ่ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้ด้วยอินเทอร์พรีเตอร์ วนหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระทำงานงานหนึ่งที่นิยามไว้อย่างดี เรียกว่าขั้นตอนวิธี (algorithm) ชุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คลัง (library) และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเรียกว่าซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจจัดประเภทได้จากฟังก์ชันยาวหลายบรรทัด เช่น โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ระบบ == ดูเพิ่ม == บั๊ก == อ้างอิง == ซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม
thaiwikipedia
857
ภาษาแอสเซมบลี
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) หมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะทำงานโดยขึ้นกับรุ่นของไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "หน่วยประมวลผล" (CPU) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้ภาษาแอสเซมบลีจำเป็นต้องผ่านการแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์เฉพาะเรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (assembler) ให้อยู่ในรูปของรหัสคำสั่งก่อน (เช่น .OBJ) โดยปกติ ภาษานี้ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการใช้งาน และการเขียนโปรแกรมเป็นจำนวนบรรทัดมากมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ภาษาระดับสูง เช่น ภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมเร็วกว่า และขนาดของตัวโปรแกรมมีขนาดเนื้อที่น้อยกว่าโปรแกรมที่สร้างจากภาษาอื่นมาก จึงนิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม เนื่องจากตัวคำสั่งภายในภาษาอ้างอิงเฉพาะกับรุ่นของหน่วยประมวลผล ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปใช้กับหน่วยประมวลผลอื่นหรือระบบอื่น (เช่น หน่วยประมวลผล x86 ไม่เหมือนกับ z80) จะต้องมีการปรับแก้ตัวคำสั่งภายในซึ่งบางครั้งอาจไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ == ตัวอย่างโค้ดโปรแกรม == org 100h set video mode mov ax, 3 ; text mode 80x25, 16 colors, 8 pages (ah=0, al=3) int 10h ; do it! cancel blinking and enable all 16 colors: mov ax, 1003h mov bx, 0 int 10h set segment register: mov ax, 0b800h mov ds, ax print "hello world" first byte is ascii code, second byte is color code. mov [02h], 'H' mov [04h], 'e' mov [06h], 'l' mov [08h], 'l' mov [0ah], 'o' mov [0ch], ',' mov [0eh], 'W' mov [10h], 'o' mov [12h], 'r' mov [14h], 'l' mov [16h], 'd' mov [18h], '!' color all characters: mov cx, 12 ; number of characters. mov di, 03h ; start from byte after 'h' c: mov [di], 32004101001h ; light red (1100) on yellow (1110) add di, 2 ; skip over next ascii code in vga memory. loop c wait for any key press: mov ah, 0 int 16h ret ภาษาโปรแกรม Asembler#Język asemblera
thaiwikipedia
858
ไมโครโพรเซสเซอร์
ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) หมายถึงชิปที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ == ชนิด == เราสามารถแบ่งไมโครโพรเซสเซอร์ตามสถาปัตยกรรมได้เป็น 2 ชนิด คือ === Reduced Instruction Set Computer === RISC (Reduced Instruction Set Computer) คือ ไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีคำสั่งน้อย แต่คำสั่งทำงานได้เร็ว เริ่มต้นพัฒนาด้วยความร่วมมือของ ไอบีเอ็ม มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ได้ คือ IBM 801, Stanford MIPS และ Berkeley RISC 1 และ 2 ไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดนี้ในยุคต่อมาได้แก่ SPARC ของ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และ PowerPC ของ โมโตโรล่า === Complex Instruction Set Computer === CISC (Complex Instruction Set Computer) เป็นสถาป้ตยกรรมของไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีคำสั่งมากกว่าและซับซ้อนกว่า ได้แก่ ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 เพนเทียมและเซเลรอนของอินเทลและ ไมโครโพรเซสเซอร์จากบริษัทเอเอ็มดี (AMD) === ตัวอย่าง ไมโครโพรเซสเซอร์ === ไมโครโพรเซสเซอร์ที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ ยี่ห้อ Motorola 68030, 68040 เครื่องแมคอินทอชรุ่นเก่าของบริษัทแอปเปิล เครื่องพีซี ได้แก่ Intel i486, Intel Pentium, Intel Celeron, AMD Athlon, AMD Sempron == รูปแบบโครงสร้าง == โครงสร้าง แบบ RISC มีการทำงานที่เร็วกว่า CISC ใช้ เพียง 1-2 machine cycle เท่านั้น อนาคตมีแนวโน้มที่จะเป็นไปใช้แบบ RISC แต่ ที่ยังใช้โครงสร้างแบบ CISC อยู่นั้นเพราะ ว่าถ้าเปลี่ยนเป็นแบบ RISC แล้ว โปรแกรมที่มีอยู่เดิมจะใช้งานไม่ได้ทันที ถ้าต้องการใช้ก็ต้องเป็นการจำลองการทำงานบนโครงสร้างที่ต่างออกไป ทำให้ประสิทธิภาพลดต่ำลง === อุปกรณ์ประเภทอื่น === นอกจาก Microprocessor แล้วยังมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง คือ Microcontroller ซึ่ง Microcontroller ก็คือ Microprocessor ที่รวมอุปกรณ์อื่นๆเข้าไปด้วย เช่น หน่วยความจำ (RAM), DMA, UART, Watch Dog, RTC, USB, I/O, etc. กล่าวคือเราสามารถนำ Microcontroller ไปใช้งานโดยต่ออุปกรณ์ภายนอกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งต่างจาก Microprocessor ที่ต้องต่ออุปกรณ์อื่นเป็นจำนวนมาก Microcontroller มีมากมายหลายตระกูล เช่น แบบCISC มี MCS-51, 68HCxx, Z80, เป็นต้น แบบ RISC มี PIC, AVR, ARM เป็นต้น โดยเฉพาะในตระกูล ARM มาแรงมากในปัจจุบัน เนื่องจากมี โครงสร้างแบบ RISC 16/32 bit,64 bit มีผู้ผลิตมากมายหลายเจ้า ARM ยังนิยมนำไปใช้ ใน อุปกรณ์มือถือระดับสูง เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (PDA) มี OS รองรับหลายรุ่น เช่น Windows CE เป็นต้น == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == หน่วยประมวลผลกลาง สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ == แหล่งข้อมูลอื่น == อิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล วิศวกรรมโทรคมนาคม ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ
thaiwikipedia
859
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้ == ที่มา == อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน == การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต == การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (email), สนทนา (chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์, การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่าง ๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (video conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรืออื่น ๆ แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม(Social Network) ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก == ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต == ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการศึกษา ด้านธุรกิจและพาณิชย์ ด้านการบันเทิง ด้านการศึกษา การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสนับสนุนการศึกษา เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารเพื่อการส่งการบ้าน นัดหมาย อธิบารายละเอียด รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคณาจารย์กับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ การเรียนออนไลน์ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะเป็นการเรียนที่สะดวกสามารถเรียนได้ในเวลาที่ต้องการ อีกทั้งสามารถลดค่าเล่าเรียนลงไปได้อย่างมาก และทั้งนี้อินเทอร์เน็ตนั้นยังสามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่พร้อมทั้งมีข้อมูลที่ครอบคลุมมีทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ด้านธุรกิจและพาณิชย์ การใช้อินเทอร์เน็ตกับงานธุรกิจณิชย์นั้นช่วยให้สามารถตัดสินใจซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วและสะดวก นับว่าเป็นตลาดที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพในการติดต่อซื้อสินค้าและบริการ เพราะคนเราสมัยนี้นิยมความสะดวกสบายและรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกก็ตามก็สามารถเปิดเว็บไซต์เพื่อเลือกสินค้าหรือหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งปรึกษาก็ได้ฉับไว ด้านการบันเทิง อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นแหล่งความบันเทิงในอีกรูปแบบหนึ่งเหมือนับการนั่งดูโทรทัศน์ ดูภาพยนตร์ อ่านหนังสือหรือบทความต่าง ๆ ซึ่งสามารถจะดูหรือใช้งานที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ อินเทอร์เน็ตต่อด้านบันเทิงนั้นถือว่าเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ สามารถค้นคว้าวารสารทั้งหนังสือพิมพ์ ข่าวสาร นิยาย วรรณกรรมและอื่น ๆผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกทั้งสามารถฟังวิทยุออนไลน์ ดูรายการโทรทัศน์รวมทั้งภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่มาดูได้อีกด้วย == ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตกับงานสื่อสารมวลชน == ในปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลกับงานทุกสาขาอาชีพรวมทั้งงานสื่อสารมวลชนด้วย สำหรับงานสื่อสารมวลชนเป็นงานที่ต้องเน้นความรวดเร็วเป็นหลักให้ทันกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน เพราะข่าวสารนั้นมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา มิใช่มีประโยชน์เพียงแค่นี้ อีกทั้งยังยังสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสาร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารโดยใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในจำนวนมากได้เป็นเวลาอันรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ และอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสื่อมวลชนตามความต้องการดังกล่าว == จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก == ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ ร้อยละ 30.2 ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่าง ๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น ร้อยละ 44.0 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3% รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1% และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3% ตามลำดับ == อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย == อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย === จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย === จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี พ.ศ. 2534 (30 คน) ปี พ.ศ. 2535 (200 คน) ปี พ.ศ. 2536 (8,000 คน) ปี พ.ศ. 2537 (23,000 คน) ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 === อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท === ปัจจุบัน (สิงหาคม พ.ศ. 2558) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet bandwidth) ภายในประเทศ 2,768.895 Gbps และระหว่างประเทศ 1,954 Gbps == ดูเพิ่ม == ประวัติอินเทอร์เน็ต รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต == หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง == ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด == อ้างอิง == ความหมายอินเทอร์เน็ต หนังสือประวัติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก == แหล่งข้อมูลอื่น == สถิติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย การสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (Internet User Profile Survey) ผลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2551 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ความเป็นจริงเสมือน สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ เทคโนโลยีดิจิทัล
thaiwikipedia
860
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 51 ตามประวัติศาสตร์ไทย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 15 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 รวมดำรงราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 สิริพระชนมพรรษา 47 พรรษา พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบเทศบาล ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ มีการปรับปรุงการศึกษาจนยกระดับมาตรฐานถึงปริญญาตรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยสมบูรณ์ ชื่อว่า “พระไตรปิฎกสยามรัฐ” เป็นต้น สำหรับชีวิตส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ (ต่อมาเฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี) ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่มีพระราชโอรสบุญธรรมคือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต หลังสวรรคต พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 เนื่องในวโรกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 ปี พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์บางส่วนว่าเป็น "กษัตริย์นักประชาธิปไตย" เนื่องจากทรงยินยอมสละพระราชอำนาจของพระองค์ให้เป็นของประชาชน และลดพระราชฐานะของพระองค์ให้เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญพระองค์แรก == พระราชประวัติ == === ขณะทรงพระเยาว์ === พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ณ พระที่นั่งสุทธาศรีภิรมย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามเมื่อการสมโภชเดือนว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษบริพรรต บรมขัตติยมหารชดาภิสิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร พระนามทั่วไปเรียกว่า "ทูลกระหม่อมเอียดน้อย" พระองค์มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีรวม 7 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เมื่อพระองค์เจริญวัยครบกำหนดที่จะตั้งการพิธีโสกันต์และพระราชทานพระสุพรรณบัฏตามขัตติยราชประเพณีแล้ว พร้อมกันนี้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ก็มีพระชนม์ครบกำหนดโสกันต์เช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการโสกันต์และเฉลิมพระนามของทั้งสองพระองค์ขึ้นพร้อมกันบริเวณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2448 โดยพระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณ์นารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษ์บริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาภิสิญจน์พรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา === การศึกษา === เมื่อพระองค์เจริญพระชันษาพอสมควรทรงเข้ารับการศึกษาตามประเพณีขัตติยราชกุมาร และจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนักเรียนนายร้อยพิเศษ ต่อมา ครั้นทรงโสกันต์แล้วเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 13 ปี ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหาร (Royal Military Academy) ณ เมืองวูลิช ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระองค์จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ด้วยการประคองพระบรมโกศคู่กับสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขณะเชิญพระบรมศพเวียนพระเมรุมาศ แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อในปี พ.ศ. 2456 ภายหลังทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษอยู่ที่เมืองอัลเดอร์ชอต (Aldershot) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการซ้อมรบ โดยรัฐบาลอังกฤษตามความเห็นชอบของที่ประชุมกองทหาร (Army Council) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษสังกัดใน “L” Battery Royal Horse Artillery ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารยศร้อยตรีกิตติศักดิ์แห่งกองทัพอังกฤษ และในกาลที่พระองค์สำเร็จการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกอง สังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโทและนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้นในยุโรป แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ยังไม่สำเร็จศึกษาวิชาการทหาร หากจะกลับมาเมืองไทยก็ยังทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองยังไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤษดากร ทรงจัดหาครูเพื่อสอนวิชาการเพิ่มเติมโดยเน้นวิชาที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ในวิชากฎหมายระหว่างประเทศ พงศาวดารศึก และยุทธศาสตร์การศึก ครั้งสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก และการหาครูมาถวายพระอักษรก็ลำบาก เนื่องด้วยนายทหารที่มีความสามารถต้องออกรบในสงคราม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอพระราชดำเนินกลับประเทศไทย แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอมีความประสงค์ที่จะเสด็จร่วมรบกับพระสหายชาวอังกฤษ หากแต่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร ไม่สามารถทำตามพระราชประสงค์ เนื่องด้วยพระองค์เป็นคนไทยซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางในสงคราม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอจึงจำเป็นต้องเสด็จกลับประเทศไทยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2458 === เข้ารับราชการ === ครั้นเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย พระองค์เข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งเป็นพระเชษฐาในพระองค์ ต่อมาพระองค์ได้เลื่อนเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์และเป็นร้อยเอกต่อมาเสด็จเข้ารับราชการประจำกรมบัญชาการกองพันน้อยที่ 2 ในตำแหน่งนายทหารเสนาธิการ และต่อมาวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2462 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายพันตรี แล้วเป็นพันโทบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งหน้าที่การงานต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยมาโดยตลอด ต่อมาทรงลาราชการเพื่อผนวช ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ (ต่อมาคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ แล้วเสร็จประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงได้รับฉายาว่า "ปชาธิโป" ในระหว่างที่ผนวชนั้น สมเด็จพระอุปัชฌาย์ทรงปรารภว่า พระองค์นั้นเป็นพระอนุชาพระองค์เล็ก ถึงอย่างไรก็คงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นแน่ ดังนั้น จึงทรงชวนให้พระองค์อยู่ในสมณเพศตลอดไป เพื่อจะได้ช่วยปกครองสังฆมณฑลสืบไป แต่พระองค์ได้ปฏิเสธ เนื่องจากในขณะนั้นพระองค์ทรงพอพระทัยที่จะอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ มากกว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอลาผนวชและเสด็จเข้ารับราชการแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสขอหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ต่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสพระราชทาน โดยมีพิธีขึ้นตำหนัก ณ วังศุโขทัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินให้และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นพระราชทานเป็นเรือนหอ และมีพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461 ซึ่งนับเป็นการอภิเษกสมรสครั้งแรกหลังจากการตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ รวมทั้ง ยังเป็นการแต่งงานแบบตะวันตกอย่างแท้จริง กล่าวคือมีการถามความสมัครใจของคู่บ่าวสาวด้วย พระองค์ทรงพระประชวรเรื้อรังจึงจำเป็นต้องลาราชการไปพักรักษาพระองค์ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นตามความเห็นของคณะแพทย์ พระองค์จึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2463 ครั้นพระองค์ทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ทรงเข้าศึกษาวิชาการในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากนั้นอีก 4 ปี ทรงเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 ในคราวเดียวกัน พระองค์ทรงปฏิบัติราชการโดยพระวิริยะอุตสาหะ ปรากฏพระเกียรติคุณและสติปัญญาจนสามารถรับราชการสำคัญสนองพระเดชพระคุณต่างพระเนตรพระกรรณได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามกุฎราชพงศบริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาภิสิญจน์พรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตเพียงไม่กี่วัน === ขึ้นครองราชสมบัติ === ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตได้มีพระราชหัตถเลขานิติกรรมเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติไว้ ความตอนหนึ่งว่า ขณะที่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์เดียว (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรและเสด็จสวรรคตในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ได้เสด็จ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ทรงแจ้งข่าวสวรรคตต่อที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดีและองคมนตรีผู้ใหญ่แล้ว เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวังในขณะนั้น ได้อัญเชิญพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอ่านในที่ประชุม เสร็จแล้วผู้เข้าประชุมได้พร้อมกันถวายอาเศียรวาทแต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ซึ่งรับเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการแผ่นดินสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป ทั้งที่ไม่ได้ทรงเต็มพระทัยที่จะทรงรับราชสมบัติ ด้วยทรงเห็นว่าพระองค์ไม่แก่ราชการเพียงพอและเจ้านายที่มีอาวุโสพอจะรับราชสมบัติก็ยังน่าจะมี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับพระบรมราชาภิเษกโดยมีพระนามอย่างย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการนี้พระองค์ได้สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรราชชายา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งนับเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หลังจากนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะอภิรัฐมนตรี อันประกอบด้วย สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งมีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินและราชการในพระองค์ระหว่างที่ยังทรงใหม่ต่อหน้าที่ === การเปลี่ยนแปลงการปกครอง === ในขณะที่พระองค์ขึ้นครองราชสมบัตินั้น ฐานะทางการคลังของสยามและสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างมาก พระองค์ได้ตัดลดงบประมาณในส่วนต่าง ๆ เช่น งบประมาณส่วนพระมหากษัตริย์ งบประมาณด้านการทหาร รวมถึง การการยุบหน่วยราชการและปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมากเพื่อลดรายจ่ายของประเทศ ทำให้เกิดความไม่พอใจอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสยามในเวลาต่อมา พระราชกรณียกิจประการหนึ่งที่ คือ พระองค์มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองให้แก่สยาม โดยพระองค์ได้มอบหมายให้นายเรย์มอนด์ บาร์ทเล็ตต์ สตีเฟนส์ ที่ปรึกษานโยบายต่างประเทศชาวอเมริกัน และพระยาศรีวิสารวาจา ร่วมกันทำบันทึกความเห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อน ร่างรัฐธรรมนูญของเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจา พ.ศ. 2474 ที่เรียก An outline of changes in the form of government มีใจความว่า ให้พระมหากษัตริย์ยังคงเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและรัฏฐาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของและต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ มีสภานิติบัญญัติซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์และการเลือกตั้งอย่างละเท่า ๆ กัน กรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างสภากับนายกรัฐมนตรีให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้ง และสามารถออกกฎหมายฉุกเฉินได้โดยไม่ต้องผ่านสภา ภายหลังงานเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างนั้นเองคณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้เข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการได้ รวมทั้ง ได้เชิญสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการพระนคร พร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นตัวประกัน เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พระองค์ตรัสเรียกพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีที่อยู่ที่หัวหินให้เข้าประชุมกันที่วังไกลกังวลเพื่อทรงหารือแนวทางต่าง ๆ ที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในที่ประชุมนั้นแสดงความเห็นออกเป็นสองฝ่ายทั้งสนับสนุนให้ต่อสู้กับคณะราษฎรและฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรสู้ หลังจากนั้น พระองค์ตรัสว่า "เมื่อได้ฟังความเห็นของเจ้านายและเสนาบดีทั้งสองฝ่ายแล้ว ทรงเห็นว่าถ้าจะสู้ก็คงสู้ได้ แต่จะเสียเลือดเนื้อข้าแผ่นดินซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน" สุดท้ายทรงตัดสินพระทัยที่จะอยู่ในราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญดังที่พระองค์ทรงสนับสนุนที่จะให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด === การต่อต้านคณะราษฎร === พระองค์เสด็จกลับพระนครและได้พระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อย่างไรก็ดี ทรงต่อรองให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพราะไม่พอพระราชหฤทัยในบทบัญญัติเกี่ยวกับพระราชอำนาจ และข้อที่ว่าสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิฟ้องร้องกษัตริย์ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรนั้นมีขุนนางกษัตริย์นิยมร่วมร่างหลายคน และมีการร่วมมือกับพระองค์อย่างใกล้ชิด จนมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายประการตามพระราชประสงค์คือ เปลี่ยนจากความคิดว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมาเป็นความคิดแบบ "อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ" (สมมติว่ากษัตริย์มาจากมติของปวงชน) ทรงเสนอให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ควรเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ข้าราชการ และให้กษัตริย์มีอำนาจยับยั้ง ในภายหลังพระองค์ทรงกล่าวหาคณะราษฎรว่าขัดพระราชประสงค์ซึ่งจะให้ ส.ส. ประเภทที่ 2 มาจากการเลือกตั้ง แต่จอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวในสภาฯ ว่า ที่การเลือกตั้ง ส.ส. ประเภทที่ 2 ช้ากว่าที่คณะราษฎรตั้งไว้ไป 10 ปีนั้นเป็นไปตามพระราชประสงค์ ในเดือนเมษายน 2476 ทรงร่วมกับนายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในกฎหมายปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อขัดขวางกระบวนการพิจารณาเค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2475 (สมุดปกเหลือง) ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เนื่องจากเค้าโครงการดังกล่าวมีแผนเปลี่ยนให้รัฐบาลเป็นเจ้าของที่ดินทำให้พระองค์ทรงวิตก เมื่อก่อการเสร็จแล้วก็ผ่านกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ผลักดันหลวงประดิษฐ์มนูธรรมออกนอกประเทศ และทรงสนับสนุนให้เผยแพร่สมุดปกขาวซึ่งเป็นเอกสารวิจารณ์สมุดปกเหลืองในพระปรมาภิไธยโดยไม่มีผู้สนองพระบรมราชโองการ พระองค์ยังทรงตำหนินายกรัฐมนตรีว่าจัดการกับคณะราษฎรได้ไม่เด็ดขาดพอ และลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการประหารชีวิตสมาชิกคณะราษฎรไว้ล่วงหน้า ทรงตั้งหน่วยสืบราชการลับส่วนพระองค์เพื่อถวายรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เกิดเป็นเครือข่ายต่อต้านการปฏิวัติใต้ดินระหว่างกลุ่มกษัตริย์นิยม พรรคการเมือง และหนังสือพิมพ์ที่มีวังไกลกังวลเป็นศูนย์กลาง ในการเตรียมการกบฏบวรเดชนั้นมีเช็คสั่งจ่ายเงินของพระคลังข้างที่แก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชจำนวน 200,000 บาท นอกจากนี้ สายลับส่วนพระองค์ยังลงมือลอบสังหารผู้นำคณะราษฎรหลายครั้งระหว่างปี 2476–78 รวมทั้งมีคำสั่งฆ่าตัดตอนมือปืนชุดหนึ่งเพื่อไม่ให้สืบสาวมาถึงสายลับด้วย พระองค์ทรงใช้อำนาจยับยั้งร่างกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้แยกทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ต้องเสียภาษีมรดกเนื่องจากทรงไม่ประสงค์เสียภาษี ทรงคัดค้านการแก้ไขกฎหมายให้กำหนดระยะเวลาฎีกาของนักโทษประหารที่เดิมกษัตริย์มีอำนาจวินิจฉัยสุดท้ายเหนือศาลยุติธรรม หลังจากทรงเพลี้ยงพล้ำหลายครั้งแก่คณะราษฎร ทรงเปลี่ยนกลับมาแสดงท่าทีสนับสนุนประชาธิปไตย ทำให้ผู้แทนราษฎร ร้อยโท ทองคำ คล้ายโอกาส กล่าวในสภาฯ ว่า === สละราชสมบัติ === พระองค์ทรงโยกย้ายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าบัญชีส่วนพระองค์จำนวน 6 ล้านบาท เป็นเหตุให้เกิดคดียึดทรัพย์พระองค์ ข้อขัดแย้งก่อนสละราชสมบัติระหว่างพระองค์กับรัฐบาลยังมีเรื่องอำนาจการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกึ่งหนึ่งของสภา วันที่ 12 มกราคม 2477 (นับแบบเก่า) พระองค์เสด็จออกนอกประเทศสยามเพื่อไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงต่อรองกับรัฐบาลเรื่องพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และเรื่องพระราชทรัพย์และผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ แต่ผู้แทนรัฐบาลปฏิเสธ โดยเฉพาะกรณีมีพระประสงค์ให้แก้ไขมาตรา 39 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ให้กฎหมายใดที่ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยต้องเป็นอันตกไป และสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอร่างกฎหมายนั้นต้องถูกยุบ เมื่อรัฐบาลไม่ยินยอมจึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำริว่าตราบที่ประเทศสยามยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ พระมหากษัตริย์ก็ต้องมีพระราชอำนาจส่วนหนึ่ง แต่คณะราษฎรเห็นว่าพระมหากษัตริย์ถือเป็นประมุขเฉพาะในทางพิธีการอย่างพระมหากษัตริย์อังกฤษเท่านั้น รัฐบาลจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะโดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร ณ ขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมกับพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) และนายดิเรก ชัยนาม เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และไกล่เกลี่ยเพื่อกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับประเทศไทย แต่การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ในพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัตินั้น ปรากฏข้อความที่ใช้อ้างอิงกันเสมอในเวลาต่อมาว่า หลังจากมีพระราชหัตเลขาสละราชสมบัติ พระองค์ทรงกลับไปใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา มีคำนำหน้าพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชปิตุลา และไม่ทรงตั้งรัชทายาทเพื่อพระราชทานวโรกาสให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เอง คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดา (หลาน) พระองค์เดียวในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งพระองค์เป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 === พระชนมชีพหลังสละราชสมบัติ === หลังการสละราชสมบัติ พระองค์ยังคงเก็บความรู้สึกไม่พอพระราชหฤทัยคณะราษฎรไว้ ที่ทรงไม่มีอำนาจแม้แต่ตั้งราชสกุลวงศ์ใหม่ ทรงมีบันทึกว่า ทรงดำรงพระชนมชีพอย่างเงียบ ๆ และสำราญพระอิริยาบถกับพระบรมวงศานุวงศ์ใกล้ชิด อาทิ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และ สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งเสด็จไปประทับที่พระตำหนักแฟร์ฮิลล์ ซึ่งห่างไปราว 40 กิโลเมตร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระภาติยะ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระโอรสบุญธรรม และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช โดยทรงโปรดกีฬากอล์ฟและเทนนิส โดยทรงโปรดให้จัดการแข่งขันเทนนิสขึ้นเป็นประจำที่ตำหนักเวอร์จิเนียวอเตอร์ โดยโปรดให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ใน ร.6 นำอาหารมาออกร้านพระราชทานเลี้ยงแก่บรรดาข้าราชการสถานทูตที่มาร่วมงาน เป็นที่สนุกสนาน === สวรรคต === หลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่เนือง ๆ โดย พ.ศ. 2480 พระองค์ทรงพระประชวรมากด้วยโรคตัวบิดเข้าไปอยู่ในพระยกนะ (ตับ) แต่แพทย์ได้รักษาจนเป็นปกติ พระอาการประชวรของพระองค์กำเริบหนักขึ้นโดยลำดับตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2483 แต่ก็เริ่มทุเลาขึ้นเรื่อยมา กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระองค์เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย ขณะที่มีพระชนมพรรษา 48 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงจัดการพระบรมศพเป็นการภายในโดยอัญเชิญพระบรมศพประดิษฐาน ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน โดยรัฐบาลอังกฤษได้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษในการประดิษฐานพระบรมศพเป็นเวลา 4 วันเพื่อให้ประยูรญาติที่อยู่ห่างไกลมาถวายบังคมลา การจัดการพระบรมศพนั้นเป็นไปอย่างเงียบ ๆ หลังจากทราบข่าวการเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นที่พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารตามราชประเพณี โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ === งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ === ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ก็ได้อัญเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนรถไปยังสุสานโกดเดอร์สกรีน (Golders Green) ซึ่งอยู่ทางเหนือของกรุงลอนดอน เมื่อเจ้าหน้าที่อัญเชิญพระบรมศพเข้าสู่ฐานที่ตั้ง และผู้ที่ตามเสด็จเข้าประทับและนั่งเก้าอี้แถวโดยลำดับแล้ว อาร์. ดี. เครก (R. D. Craig) ชาวอังกฤษ ซึ่งเคยรับราชการอยู่เมืองไทยและเป็นพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อ่านสุนทรพจน์สรรเสริญพระเกียรติคุณ มีการบรรเลงเพลงเมนเดลโซน ไวโอลิน คอนแชร์โต (Mendelssohn Violin Concerto) ซึ่งเป็นเพลงที่พระองค์โปรดเป็นพิเศษ ถวาย จากนั้นพระบรมอัฐิและพระบรมสรีรางคารถูกอัญเชิญกลับไปประดิษฐานยังพระตำหนักคอมพ์ตันอันเป็นที่ประทับของพระองค์ === การอัญเชิญพระบรมอัฐิกลับสู่ประเทศไทย === ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ขอพระราชทานให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับสู่ประเทศไทย เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมมหาราชวัง ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีทักษิณานุปทานอุทิศถวายตามพระราชประเพณี หลังจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ ซึ่งอยู่ชั้นบนของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ส่วนพระบรมสรีรางคารนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ที่พระพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรสภายในพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร == พระราชกรณียกิจ == === ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง === เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การควบคุมงบประมาณ ตัดทอนรายจ่าย ลดอัตราเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงการลดจำนวนข้าราชการ ปรับปรุงระบบภาษี การเก็บภาษีเพิ่มเติม ยุบรวมจังหวัด เลิกมาตรฐานทองคำเปลี่ยนไปผูกกับค่าเงินของอังกฤษ เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้น การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ด้านการสื่อสารและการคมนาคมนั้น ได้มีการอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระองค์จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในพิธีเปิดสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พระราชวังพญาไท ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จนกระทั่งถึงต่อเขตแดนประเทศกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2475 เป็นวาระที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุงบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพมหานครหลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง, สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานพระพุทธยอดฟ้าเชื่อมฝั่งกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรีเพื่อเป็นการขยายเขตเมืองให้กว้างขวาง เป็นต้น สำหรับในเขตหัวเมือง ทรงได้จัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกขึ้น เพื่อทำนุบำรุงหัวหินและใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเล === ด้านการปกครอง === พบหลักฐานว่าพระองค์ทรงรับรู้ทั้งสนับสนุน "คณะกู้บ้านกู้เมือง" และมีพระราชดำรัส "ประเทศนี้พร้อมแล้วหรือยังที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน… ตามความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอย้ำว่าไม่" ทั้งทรงขัดขวางเค้าโครงการเศรษฐกิจปี 2475 ของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งรูปแบบเนื้อหาเอนเอียงทางคอมมิวนิสต์ อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสยาม ยาสุกิจิ ยาตาเบ กล่าวว่า "ประชาชนสยามไม่เคยได้รับการฝึกฝนทางการเมือง ไม่มีอิสรภาพในการพูด หากไม่มีการปฏิวัติและรอให้พระปกเกล้าฯ ปฏิรูปการเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น รอไปอีกหนึ่งร้อยปีก็ไม่มีทางสำเร็จ" สำหรับความข้องแวะในกบฏบวรเดชนั้นก็ปรากฏหลักฐานว่าทรงให้เงินและกำลังใจแก่คณะกบฏ === ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม === ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของศาสนาพุทธ โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในพระพุทธศาสนานั้น โปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า ฉบับสยามรัฐ โดยหนึ่งชุดมีจำนวน 45 เล่ม เพื่อเป็นอนุสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น พระองค์ทรงสถาปนาราชบัณฑิตย์สภาขึ้น (เดิมคือ กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร) เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่าง ผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก เช่น การตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่ มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เข้าถวายการฝึกสอนจนสามารถ พระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทยได้ ถึง 3 เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรลออองค์เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โปรดฯให้เขียนภาพพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระวิหาร ทรงพยายามสร้างค่านิยมให้มีสามีภรรยาเพียงคนเดียว โปรดให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2473 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว นอกจากนี้แล้ว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจ พระองค์โปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์ ทรงมีกล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัยโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราชอัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉาก และอำนวยการแสดง คือ เรื่องแหวนวิเศษ นับได้ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น นับเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศระบบไอน้ำ === ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ === ในต้นรัชสมัยได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ ๆ กับประเทศเยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. 2471 และทำสนธิสัญญากับประเทศฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขง เรียกว่าสนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ. 2469 โดยกำหนดให้ มีเขตปลอดทหาร 25 กิโลเมตร ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงแทนที่จะมีเฉพาะฝั่งสยามแต่เพียงฝ่ายเดียว == มรดก == เมื่อปี 2556 ที่ประชุมใหญ่ของยูเนสโก (UNESCO) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นบุคคลสำคัญของโลกในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ในการประกอบพระราชกรณียกิจในไทยหลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ === พระบรมราชานุสรณ์ === พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการจึงมีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์หลายแห่งเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ 30 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระองค์เป็น "วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยนานัปการ วังศุโขทัย วังศุโขทัย ตั้งอยู่มุมถนนขาวและถนนสามเสน โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญในการอภิเษกสมรสของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (พระยศขณะนั้น) กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ (พระยศขณะนั้น) เมื่อปี พ.ศ. 2461 โดยได้รับพระราชทานนามวังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "วังศุโขไทย" ถนนประชาธิปก ถนนประชาธิปก เป็นถนนที่เริ่มตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าถึงวงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ถนนพระปกเกล้า" หรือ "ถนนประชาธิปก" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและถนนเพื่อเชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี โดยพระองค์พระราชทานนามถนนนี้ว่า "ถนนประชาธิปก" สถาบันพระปกเกล้า สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยที่จัดตั้งขึ้นในวโรกาสครบรอบ 100 ปี วันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวไทย โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นชื่อของสถาบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศที่ "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยด้วย โรงพยาบาลพระปกเกล้า โรงพยาบาลพระปกเกล้า เดิมชื่อ โรงพยาบาลจันทบุรี คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระปกเกล้าเพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2496 นอกจากนี้ ยังมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและตึกต่าง ๆ เช่น อาคารประชาธิปก อาคารประชาธิปกศักดิเดชน์ ภายในโรงพยาบาล รวมทั้ง มีการจัดตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยขึ้นที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้ง "ทุนประชาธิปก" (ต่อมาเปลี่ยนเป็น มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี) เพื่อสนับสนุนกิจการของโรงพยาบาลพระปกเกล้า, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี === พระบรมราชานุสาวรีย์ === พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัฐสภา) ตั้งอยู่หน้าอาคารรัฐสภาไทย ใกล้กับพระราชวังดุสิต มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งพระองค์จริง ทรงเครื่องพระบรมราชภูษิตาภารณ์ฉลองพระองค์ครุยสวมพระชฎามหากฐินปักขนนกการเวก เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาญจนสิงหาสน์ พระหัตถ์วางเหนือพระเพลาทั้งสองข้าง ออกแบบโดยนาวาเอกสมภพ ภิรมย์ โดยจะมีพิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ในวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญ เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการย้ายออกไปบูรณะที่สำนักช่างสิบหมู่ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และเมื่อแล้วเสร็จ จะนำไปตั้งไว้หน้าอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่ คือสัปปายะสภาสถาน พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (โรงพยาบาลพระปกเกล้า) ตั้งอยู่หน้าอาคารประชาธิปกศักดิเดชน์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี มีขนาด 2 เท่าของพระองค์จริง สูง 3.14 เมตร ฐานสูง 20 เซนติเมตร แท่นฐานสูง 2.60 เมตร โดยมีพันโทนภดล สุวรรณสมบัติ เป็นประติมากร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) ตั้งอยู่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ในโอกาสครบ 100 ปี วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แม่เมาะ จังหวัดลำปาง) === พิพิธภัณฑ์ === พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งที่อาคารกรมโยธาธิการเดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2545 พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์ พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์ ตั้งอยู่ในกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เป็นอาคารที่พำนักของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยที่พระองค์ทรงรับราชการเป็นนายทหารเหล่าทหารปืนใหญ่ (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2464) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยกระเบื้องลูกว่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้าจะมี 3 ห้อง คือ ห้องทรงงาน ห้องบรรทม และห้องพระกระยาหาร ส่วนด้านหลังเป็นห้องเตรียมพระกระยาหารและยังมีชานโล่งสำหรับพักผ่อนภายนอก อาคารนี้ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เผยแพร่พระเกียรติคุณและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่มีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ชาวจังหวัดจันทบุรีและวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทำพิธีเปิดแพรคลุมป้ายพิพิธภัณฑ์ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 == พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ == === พระบรมราชอิสริยยศ === สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2448) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (4 มีนาคม พ.ศ. 2448 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478) สมเด็จพระบรมราชปิตุลา เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 (2 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) ภายหลังสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2492-ปัจจุบัน) === พระราชลัญจกร === พระราชลัญจกรประจำพระองค์ เรียกว่า พระแสงศร เป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ วางอยู่บนราวพาดที่เบื้องบนเป็นตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงศร ตั้งบังแทรกสอดแทรกด้วยลายกระหนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระราชลัญจกรองค์นี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ โดยทรงนำพระบรมนามาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ ประชาธิปกศักดิเดชน์ ซึ่งคำว่า เดชน์ แปลว่า ลูกศร มาใช้ในการออกแบบ ดังนั้น พระราชลัญจกรประจำพระองค์จึงเป็นรูปพระแสงศร อันประกอบด้วย พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต ซึ่งเป็นพระแสงศรที่ใช้ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา) === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ === === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ === * พ.ศ. 2469 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสังวาล * พ.ศ. 2469 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง * พ.ศ. 2469 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ชั้นประถมาภรณ์ * พ.ศ. 2469 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ ชั้นที่ 1 * พ.ศ. 2469 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 1 *พ.ศ. 2469 - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกร็อง-ครัว *พ.ศ. 2469 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดเดลลา ซานติสซิมา อันนุนซีอาตา * พ.ศ. 2469 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม * พ.ศ. 2477 - 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์คาร์ล ชั้นที่ 1 *พ.ศ. 2477 - 80x80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฮังการี ชั้นที่ 1 *พ.ศ. 2477 - 80x80px เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว ชั้นที่ 1 === พระยศ === ==== พระยศทหาร ==== 12 ธันวาคม พ.ศ. 2456: นายร้อยโท พ.ศ. 2462: นายพันตรี 6 มกราคม พ.ศ. 2468 (นับแบบปัจจุบัน): นายพันเอก 5 ธันวาคม พ.ศ. 2468: จอมพล จอมพลเรือ ==== พระยศเสือป่า ==== นายหมวดโท นายกองตรี == พงศาวลี == == เชิงอรรถ == == อ้างอิง == === บรรณานุกรม === หนังสือ สมบัติ พลายน้อย, ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : มติชน, 2550 (ISBN 974-02-0044-4) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เกิดวังปารุสก์ : สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์-สมัยประชาธิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 13, กรุงเทพ : ริเวอร์ บุ๊คส์, 2552 (ISBN 978-974-9863-71-8) พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, หนังสืออนุสรณ์งานพระบรมศพทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานประชาชนในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2528 พระยาประกาศอักษรกิจ (เสงี่ยม รามนันทน์), จดหมายเหตุบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๖๘, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นที่ระลึกในการเชิญพระบรมอัฐิเสด็จคืนเข้าสู่พระนคร พุทธศักราช ๒๔๙๒ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์, ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549, 450 หน้า, (ISBN 974-7047-55-1) หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล, สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น (ภาคต้น), สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2543 โพยม โรจนวิภาต (อ.ก. รุ่งแสง), พ. 27 สายลับพระปกเกล้า พระปกเกล้าฯ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2547 วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา,2543,หน้า 90-105 ศิลปชัย ชาญเฉลิม, เจ้าฟ้าประชาธิปก ราชันผู้นิราศ, กรุงเทพ, 2530 เอกสารชั้นต้น รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2470 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2472 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2473 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2474 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2475 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2476 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2477 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาคต้น พิมพ์โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพ 2537 จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาคปลาย พิมพ์โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพ 2537 == ดูเพิ่ม == รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 20 พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงสละราชสมบัติ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 เจ้าฟ้าชาย จอมพลชาวไทย จอมพลเรือชาวไทย บุคคลในวงการภาพยนตร์ไทย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1 ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1 บุคคลจากวิทยาลัยอีตัน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศอังกฤษ สมาชิกกองเสือป่า อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ผู้ลี้ภัยชาวไทย บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2411–2475 บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516
thaiwikipedia
861
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีสมเด็จพระเชษฐภคินีคือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชาคือพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นพระบรมราชปิตุลาธิบดีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 52 ตามประวัติศาสตร์ไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา และประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ พระองค์เสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 แต่ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์ก็ได้เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี == พระราชประวัติ == === ขณะทรงพระเยาว์ === พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดิลแบร์ค สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า นันท พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชชนกและสมเด็จพระราชชนนีไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐ ซึ่งสมเด็จพระราชชนกทรงเข้าทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐ ในระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2471 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ประทับ ณ วังสระปทุม ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชชนกทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ดังนั้น พระองค์จึงอยู่ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดียว พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และเข้าทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 สมเด็จพระราชชนนีได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยพระองค์ได้เข้าทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนมีเรมองต์ ต่อมาย้ายไปทรงศึกษาที่โรงเรียน "เอกอลนูแวลเดอลาซืออิสโรมองต์" และทรงศึกษาภาษาไทย ณ ที่ประทับ โดยมีพระอาจารย์ตามเสด็จไปจากกรุงเทพ === การขึ้นทรงราชย์ === วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลที่มีพระชันษาเพียง 9 ปี ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไปตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 และได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา และยังทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์สิ้นพระชนม์ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งให้นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถึงแก่อสัญกรรม จึงมีการแต่งตั้งให้ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทน หลังจากนั้น เมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ถึงแก่อสัญกรรม รวมทั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง นายปรีดี พนมยงค์ จึงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพียงผู้เดียว จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกลับสู่พระนคร === การเสด็จนิวัตพระนคร === รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์แข็งแรงจึงได้เลื่อนกำหนดออกไปก่อน และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 แต่ก็ทรงติดขัดเรื่องพระพลานามัยอีกเช่นกัน หลังจากนั้น รัฐบาลได้ส่งพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์) ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้งในปี พ.ศ. 2479 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างเตรียมการเสด็จนิวัตพระนครนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด หลังจากนั้น รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้ง ในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองโลซานที่ประทับโดยทางรถไฟมายังเมืองมาเชลล์ เพื่อประทับเรือเมโอเนีย ในการเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทย และเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เรือพระที่นั่งได้เทียบจอดทอดสมอที่เกาะสีชัง รัฐบาลได้จัดเรือหลวงศรีอยุธยาออกไปรับเสด็จมายังจังหวัดสมุทรปราการ ณ ที่นั้น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จไปคอยรับพระราชนัดดาและพระสุนิสาด้วย หลังจากนั้น จึงได้เสด็จโดยเรือหลวงศรีอยุธยาเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และทรงประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งนับเป็นการเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง พระองค์จึงเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช แต่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา มิได้ตามเสด็จด้วย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งการเสด็จนิวัตประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีก == ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง == เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ร่วมกับเหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นเข้ารุกรานและเข้ายึดครองประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จออกนอกประเทศ และเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนาย ปรีดี พนมยงค์ เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2485 ไทยที่ถูกยึดครองได้กลายเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิญี่ปุ่นและเป็นสมาชิกของฝ่ายอักษะ ภายใต้การนำโดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้สำเร็จราชการได้ปฏิเสธที่จะลงนามในปฏิญญาฉบับนี้จึงทำให้ตกเป็นโมฆะตามกฎหมาย สมาชิกจำนวนมากของรัฐบาลไทย รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยในญี่ปุ่น ได้ทำหน้าที่เป็นสายลับโดยพฤตินัยในขบวนการใต้ดินเสรีไทยที่เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ได้คอยส่งข้อมูลลับไปยังหน่วยข่าวกรองบริติช และสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ใน พ.ศ. 2487 ได้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าญี่ปุ่นกำลังจะพ่ายแพ้สงคราม กรุงเทพมหานครถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักโดยฝ่ายสัมพันธมิตร บวกเข้ากับความยากลำบากทางเศรษฐกิจทำให้สงครามและรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามไม่เป็นที่นิยมอย่างมาก ในเดือนกรกฎาคม จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกขับไล่โดยรัฐบาลไทยที่ถูกเสรีไทยเข้าแทรกซึม รัฐสภาไทยได้เรียกการประชุมและแต่งตั้งให้ทนายความฝ่ายเสรีนิยม นาย ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ญี่ปุ่นได้ยอมจำนน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และความรับผิดชอบทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรสำหรับประเทศไทยได้ตกเป็นของบริติช === หลังสงคราม === ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงทำให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร นี่จึงเป็นการเสด็จนิวัตพระนครครั้งที่สองในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พร้อมกับปริญญาด้านนิติศาสตร์ แม้ว่าพระองค์จะยังทรงพระเยาว์และไร้ประสบการณ์ แต่กลับเอาชนะใจของปวงชนชาวไทยอย่างรวดเร็ว ซึ่งยังคงให้ความเคารพเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดช่วงยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2473 และ พ.ศ. 2483 ชาวไทยรู้สึกยินดีปรีดาที่มีพระเจ้าอยู่หัวมาอยู่ท่ามกลางพวกเขาอีกครั้ง พระราชกรณียกิจซึ่งเป็นที่จดจำได้เป็นอย่างดีของพระองค์คือ การเสด็จเยือนย่านสำเพ็ง(ซอยสำเพ็ง) ไชนาทาวน์ในกรุงเทพ ซึ่งพระองค์ได้รับการต้อนรับเสด็จอย่างล้นหลาม โดยมีพระราชประสงค์เพื่อคลี่คลายความตึงเครียดหลังสงครามที่ดูอ้อยอิ่งระหว่างชาวไทยและชาวจีนในกรุงเทพ เหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ชาวไทยตระหนักถึงเกียรติภูมิของชาติว่าจำเป็นต้องรักษา คือ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน แห่งกองทัพอังกฤษ ผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้ามาในพระนครและมีการตรวจพลสวนสนามกองฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้เสด็จออกทรงรับการตรวจพลสวนสนามในฐานะองค์พระประมุขของประเทศพร้อมกับ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน เป็นการเสด็จออกอย่างสง่างามสมพระเกียรติ ในฉลองพระองค์จอมทัพไทย ส่งผลให้ความขัดข้องในจิตใจคนไทยว่าเมืองไทยจะอยู่ในฐานะถูกยึดครองนั้นหมดไปทันที และมีกำลังใจในการต่อสู้กับความทุกข์ยากอันเกิดจากผลของสงครามมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศ เชื่อกันว่าอานันทมหิดลทรงไม่ต้องการที่จะเป็นพระเจ้าอยู่หัวและทรงมีพระราชฤทัยว่าการครองราชย์ของพระองค์คงจะอยู่ได้ไม่นาน หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า ผู้บัญชาการกองทัพบริติชในเอเชียตะวันออกได้เยือนสู่กรุงเทพในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 และได้พรรณาถึงพระเจ้าอยู่หัวว่า "ทรงเป็นเด็กผู้ชายที่มีสายตาสั้นที่ดูขวัญอ่อน ไหล่ที่ลาดเอียงและหน้าอกบอบบางซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับเพชรที่สวยงาม รูปร่างที่น่าสงสารและอ้างว้าง" ในงานสาธารณะ เมานต์แบ็ตเทนได้เขียนว่า 'ด้วยความวิตกกังวลของเขาได้เพิ่มมากขึ้นจนน่าตกใจ เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนเขาในกรณีที่พระองค์เกิดหมดพระสติ" == สวรรคต == สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จนเรียบร้อยแล้วจึงจะเสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวรและจะทรงรับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน คณะแพทย์ผู้ชันสูตรกว่าสามในสี่ลงความเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ และเป็นสมมุติฐานที่ได้รับการยอมรับในคำพิพากษาศาลฎีกา หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และจัดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง วันรุ่งขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเก็บพระบรมอัฐิ และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบกเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น หลังจากนั้น ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานทองกลาง ชั้นบนสุดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร == การเฉลิมพระปรมาภิไธย == ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร == พระราชลัญจกรประจำพระองค์ == ในปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้สำนักพระราชวังจัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้น ซึ่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูปพระโพธิสัตว์สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "อานันทมหิดล" ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8 นั้น เป็นตรางา ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง 7 เซนติเมตร มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับอยู่เหนือบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อยอยู่เหนือบัวบาน ซึ่งหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วอยู่ด้านหลังแถบรัศมี ซึ่งมีข้อแตกต่างจากพระราชลัญจกรที่ใช้ในรัชกาลที่ 5 คือ มีการเพิ่มรูปฉัตรตั้งไว้ข้างแท่นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ == พระราชกรณียกิจ == === การปกครอง === พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง มีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป === การศาสนา === ในการเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า "ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร === การศึกษา === ในการเสด็จนิวัตพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 และอีกครั้งที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต == ชีวิตส่วนพระองค์ == ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เขียนว่า พระองค์ทรงคบกับหญิงชาวสวิส ชื่อ แมรีลีน เฟอร์รารี เป็นคนรัก แต่ทรงถูกพระราชชนนีตักเตือน == พระบรมราชานุสาวรีย์ == พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้ทรงปฏิบัติพระราชกิจสำคัญน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ ดังนั้น จึงมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ บริเวณลานประทักษิณ ชั้นล่างมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พระวิหารหลวง พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนยกพื้นสูง มีแผ่นทองเหลืองจารึกเกี่ยวกับกำหนดการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เบื้องหลังเป็นแผ่นหินอ่อนวงโค้ง ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ "อปร" ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 เลขประจำพระองค์ 2329 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงมีความผูกพันกับโรงเรียนเทพศิรินทร์มาโดยตลอด มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ตลอดจนมวลหมู่ลูกแม่รำเพยทุกคน ซึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน เช่นเดียวกับ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ด้วยพระองค์เอง พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งแสนบาท สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 1 หลัง หอประชุม 1 หลังพร้อมบ้านพักครูอีก 20 หลัง และในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์เสด็จมาเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงพยาบาลอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างโรงพยาบาลในจังหวัดลพบุรี และพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า โรงพยาบาลอานันทมหิดล หลังจากการสร้างแล้วเสร็จ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงพยาบาลแห่งนี้เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481 ดังนั้น คณะกรรมการโรงพยาบาลจึงได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ หน้าตึกอำนวยการของโรงพยาบาล พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลมีพระราชปรารภต่อรัฐบาลในสมัยนั้น เรื่องการผลิตแพทย์เพิ่มให้เพียงพอต่อประชาชน อันเป็นจุดกำเนิดโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงได้ติดต่อให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ออกแบบปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาเล็กน้อย ประดิษฐาน ณ ลานหน้าอาคาร อานันทมหิดล ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนหลวงพระราม 8 สวนหลวงพระราม 8 เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด ฝั่งธนบุรี ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่า "สวนหลวงพระราม 8" ณ สวนแห่งนี้ มีพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ทางกรุงเทพมหานคร สร้างร่วมกับกรมศิลปากร ความสูงขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง คือ ประมาณ 5.4 เมตร พระอิริยาบถทรงยืน ประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพานพระราม 8 เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สวนแห่งนี้ด้วย นอกจากนั้น บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติข้างใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ยังจัดให้มีห้องรวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจขององค์รัชกาลที่ 8 เพื่อให้ประชาชนที่สนใจพระราชประวัติเข้าไปทรงศึกษาค้นคว้าเรื่องราว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสวนหลวงพระราม 8 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555 == พระบรมราชานุสรณ์ == มูลนิธิอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทุนอานันทมหิดลขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2498 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระองค์มีพระราชดำริที่จะพระราชทานทุนให้นักทรงศึกษาผู้มีความสามารถยอดเยี่ยม ไปทรงศึกษาต่อให้ถึงระดับความรู้ชั้นสูงสุดยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศชาติและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ หลังจากนั้น ได้จัดตั้งขึ้นเป็น มูลนิธิอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2502 เดิมทุนนี้จะพระราชทานให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ แต่เมื่อความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่น ๆ มีเพิ่มมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนในสาขาอื่น ๆ ปัจจุบัน การพระราชทานทุนนั้นสามารถแบ่งออกเป็นแผนกต่าง ๆ ได้ ดังนี้ แผนกแพทยศาสตร์ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกวิศวกรรมศาสตร์ แผนกเกษตรศาสตร์ แผนกธรรมศาสตร์ แผนกอักษรศาสตร์ แผนกทันตแพทยศาสตร์ และแผนกสัตวแพทยศาสตร์ มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นประจำ จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อเป็นทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัด และส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณรคณะกรรมการจึงได้จัดตั้งเป็น มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2518 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร อาคาร "อปร" และอาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบเนื่องจากความไม่เพียงพอของแพทย์ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งผลิตแพทย์เพิ่ม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างตึกใหม่ เพื่อรองรับจำนวนนิสิตแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 90 คนต่อปี โดยได้รับอนุมัติงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2536 และในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธย "อปร" มาเป็นชื่ออาคาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งได้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2539 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย "อปร" เป็นชื่ออาคาร เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 8 อาคารดังกล่าวเป็นย่อมุม 8 มุม สูง 19 ชั้น บนยอดอาคารประดับอักษรพระปรมาภิไธย "อปร" ตั้งอยู่ริมถนนราชดำริ นอกจากนี้ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังมีอาคารอานันทมหิดลอีกด้วย วันอานันทมหิดล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำริจัดงานเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านซึ่งได้สร้างคุณูปการด่อวงการแพทย์และการศึกษา ในวันอานันทมหิดล มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์, พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึก, การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชิงโล่พระราชทาน, การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล นอกจากนี้ในวันอานันทมหิดลยังได้ถือเป็นวันสำคัญของโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งมีกิจกรรมได้แก่ พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์และพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์เช่นเดียวกัน == พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ == === พระบรมราชอิสริยยศ === หม่อมเจ้าอานันทมหิดล (20 กันยายน พ.ศ. 2468 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (2 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2478) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (25 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) ภายหลังการสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย (11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน) === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ === พระองค์ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ/หรือ ได้รับพระราชทานก่อนเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดังนี้ === พระยศทหาร === 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488: จอมพลอากาศ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2488: จอมพล == พงศาวลี == == แผนผัง == == อ้างอิง == เชิงอรรถ บรรณานุกรม == ดูเพิ่ม == รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี วันอานันทมหิดล == แหล่งข้อมูลอื่น == เฉลิมพระเกียรติยศพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จาก Debsirin History Networks มูลนิธิอานันทมหิดล ชมรมผู้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ราชสกุลมหิดล พระองค์เจ้าชาย หม่อมเจ้าชาย จอมพลชาวไทย จอมพลเรือชาวไทย จอมพลอากาศชาวไทย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว. พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์ในสมัยใหม่ ชาวไทยที่ถูกลอบสังหาร พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์ บุคคลจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เสียชีวิตจากอาวุธปืน ชาวไทยเชื้อสายลาว บุคคลในสงครามโลกครั้งที่สอง บุคคลจากไฮเดิลแบร์ค บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516 ทหารชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง
thaiwikipedia
862
กิโลไบต์
กิโลไบต์ (Kilobyte) ใช้ตัวย่อว่า kB มีค่าเท่ากับ 1,000 ไบต์ (SI prefix) เช่น ถ้าพูดว่า คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 100 กิโลไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 100,000 ไบต์ มีความจุประมาณ รูปถ่ายคุณภาพระดับกลาง == อ้างอิง == มาแก้ความเชื่อผิด ๆ กันดีกว่า “1 kilobyte ไม่ได้เท่ากับ 1024 bytes”!!! ความจุของหน่วยความจำ หน่วยสารสนเทศ
thaiwikipedia
863
ไบต์
ไบต์ (byte) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลาง จะทำการประมวลผลกับเวิร์ดได้สะดวกที่สุด ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) จิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งแต่ละหน่วยวัดมีค่าตัวคูณต่างกัน 1,024 หรือ 210 หน่วย แต่มนุษย์จะประมาณค่าตัวคูณไว้ที่ 1,000 หน่วยเพื่อความสะดวกในการคำนวณ หน่วยวัดแต่ละหน่วยสามารถสรุปได้ดังนี้ นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) ซึ่งมีค่าตัวคูณ 1,024 หน่วยถัดจากเทระไบต์เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดสามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้นในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ เพื่อลดความสับสนระหว่างค่าตัวคูณ 1,024 (210) หน่วยและ 1,000 (103) หน่วย ทาง SI จึงได้มีหน่วยสำหรับฐาน 2 แยกออกมา เช่นจากกิโลไบต์ เป็น กิบิไบต์แทน == การเปรียบเทียบ == {|class="wikitable" !ขนาด!!ความจุโดยประมาณ |- |1 ไบต์||อักษรหนึ่งตัว |- |10 ไบต์||หนึ่งหรือสองคำ |- |100 ไบต์||หนึ่งหรือสองประโยค |- |1 กิโลไบต์||หนึ่งย่อหน้าสั้นๆ |- |10 กิโลไบต์||สารานุกรมหนึ่งหน้า |- |100 กิโลไบต์||รูปถ่ายคุณภาพระดับกลาง |- |1 เมกะไบต์||เรื่องสั้นหนึ่งเรื่อง |- |10 เมกะไบต์||วรรณกรรมของเชกสเปียร์สองเล่ม |- |100 เมกะไบต์||หนังสือที่วางเรียงซ้อนกันสูงหนึ่งเมตร |- |1 จิกะไบต์||หน้ากระดาษที่บรรจุเต็มรถบรรทุก |} == ดูเพิ่ม == เวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ) หน่วยสารสนเทศ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ ชนิดข้อมูล ชนิดข้อมูลพื้นฐาน
thaiwikipedia
864
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจหมายถึง พระมหากษัตริย์พระองค์ใด ๆ, ดู รายพระนามพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด ๆ ที่ได้รับการบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว, ดู รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ล่าสุดที่ได้รับการบรมราชาภิเษกแล้ว คือ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการใช้คำว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ไทยที่ยังไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก
thaiwikipedia
865
กีฬา
กีฬา เป็นกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต รวมไปถึงกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาซึ่งถูกกำหนดโดยความเห็นที่ตรงกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะ หรือหลายสิ่งรวมกัน กีฬาเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการแข่งขัน และระบบคะแนน กีฬาหลายประเภทได้มีการจัดการแข่งขันในระดับเขต ประเทศ และระดับโลก ซึ่งกีฬาหลายชนิดได้มีการใส่เข้าและนำออกโดยการปรับปรุงของทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เช่น ฟุตบอล รักบี้ ลาครอสส์ หรือ โปโล == ที่มาของคำ == คำว่า "sport" มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า desport หมายถึง "เวลาว่าง" ความหมายที่เก่าแก่ที่สุดในภาษาอังกฤษจากประมาณ ค.ศ. 1300 คือ "สิ่งใด ๆ ที่มนุษย์พบว่าน่าขบขันหรือเพลิดเพลิน" ความหมายอื่น ๆ อาจหมายถึงการพนันและเหตุการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อการพนัน การล่าสัตว์ การละเล่น และความบันเทิง หมายรวมถึงกิจกรรมที่ต้องบริหารร่างกายหรือความคิดด้วย ในภาษาไทย "กีฬา" ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า เป็นคำภาษาบาลี หมายถึง กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต และรวมไปถึงพัฒนาความคิดของผู้เล่นด้วย == ความยุติธรรมในกีฬา == === น้ำใจนักกีฬา === น้ำใจนักกีฬาเป็นทัศนคติที่มีความพยายามให้เกิดความยุติธรรมและอัธยาศัยไมตรีต่อเพื่อนร่วมทีมหรือคู่แข่ง จรรยาบรรณและความเป็นหนึ่งเดียว และชัยชนะ น้ำใจนักกีฬาแสดงถึงความปรารถนาว่ากิจกรรมจะสนุกในตัวเอง แนวคิดที่รู้จักกันดีจากนักข่าวกีฬาชื่อ แกรนต์แลนด์ ไรซ์ ว่า "ไม่สำคัญว่าคุณจะชนะหรือจะแพ้ แต่สำคัญว่าคุณจะเล่นอย่างไร" และแนวคิดโอลิมปิกสมัยใหม่โดย Pierre de Coubertin ว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่การชนะ แต่เป็นการมีส่วนร่วม" ต่างเป็นคำพูดทั่ว ๆ ไปที่อธิบายแนวคิดนี้ === การโกง === หลักสำคัญของกีฬาคือผลลัพธ์จะต้องไม่มีการกำหนดผลการแข่งขันไว้ก่อน ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีโอกาสชนะเท่ากัน กฎจะต้องรับประกันว่าจะเกิดความยุติธรรมขึ้น แต่ผู้แข่งขันสามารถแหกกฎเพื่อเอาเปรียบได้ ผู้เข้าแข่งขันอาจเลือกโกงเพื่อให้ตนชนะ หรือเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายแอบแฝง การพนันผลการแข่งขันกีฬาสร้างแรงจูงใจให้เกิดการกำหนดผลการแข่งขันตายตัว (match fixing) ให้ผู้เข้าแข่งขันทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ === การใช้ยาเพิ่มสมรรถภาพ === ธรรมชาติของการแข่งขันกีฬาส่งเสริมให้นักกีฬาเพิ่มสมรรถภาพของตนเองผ่านการใช้ยา หรือวิธีการอื่น ๆ เช่น เพิ่มปริมาตรของเลือดในร่างกาย กีฬาหลายชนิดที่รับรองโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ต้องนำไปทำโปรแกรมทดสอบ มองหารายชื่อยาต้องห้าม และสั่งพักหรือคว่ำบาตรผู้เข้าแข่งขันที่ตรวจพบสารต้องห้าม === ความรุนแรง === ความรุนแรงในกีฬาจะเกี่ยวกับการข้ามเส้นระหว่างการแข่งขันที่ยุติธรรมและความรุนแรงก้าวร้าวโดยตั้งใจ บางครั้งนักกีฬา โค้ช แฟนคลับ และพ่อแม่แสดงพฤติกรรมรุนแรงต่อคนหรือสถานที่ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี ความโกรธ หรือการเฉลิมฉลองอย่างผิดวิธี การจลาจลนั้นมีอยู่ทั่วไปและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในการแข่งขันกีฬาทั้งในและระหว่างประเทศ == ชนิดของกีฬา == ชนิดของกีฬา อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักๆ คือ ประเภทการแข่งขันความเร็ว ประเภทการแข่งเป็นคู่แข่งขัน ประเภทการบรรลุผล ประเภทอี่นๆ === กีฬาเพื่อสุขภาพ === จะเป็นการเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เช่น โยคะ เดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ กายบริหาร แอโรบิคแดนซ์ เต้นรำ ดิสโก เปตอง == รายชื่อกีฬา แบ่งตามประเภท == === ลู่ลาน/ความเร็ว === ว่ายน้ำ วิ่งแข่ง จักรยาน พายเรือ พายเรือแคนู พายเรือคายัค มอเตอร์สปอร์ต ยิงธนู ยิงปืน ขี่ม้า ยกน้ำหนัก กระโดดไกลสามจังหวะ (เขย่ง ก้าว กระโดด) ทุ่มน้ำหนัก === ศิลปะการต่อสู้ === ยูโด คาราเต้ มวยสากล มวยไทย ซูโม่ มวยปล้ำ ฟันดาบ ฟันดาบไทย เทควันโด ยิวยึตสุ คาโปเอร่า ไอคิโด ฮัปคิโด เคนโด กังฟู/มวยจีน ไทชิ/ไท่เก๊ก นินจุสสุ กระบี่-กระบอง === ตาข่าย/แร็กเก็ต === เทนนิส แบดมินตัน วอลเลย์บอล วอลเลย์บอลชายหาด วอลลีบอล สควอช แร็กเกตบอล ปิงปอง/เทเบิลเทนนิส === ทีม/สนาม === เบสบอล ฟุตบอล/ซอกเกอร์ อเมริกันฟุตบอล อัลติเมตฟุตบอล รักบี้ ฮอกกี้น้ำแข็ง ฮอกกี้ ซอฟต์บอล เคอร์ลิง ลาคอสส์ เพนต์บอล บาสเก็ตบอล เปตอง === ประกวด === ยิมนาสติก ต่อตัว สเก็ตน้ำแข็ง === อื่น ๆ === กอล์ฟ ล่องเรือ ดำน้ำ ปีนหน้าผาหิน ปีนหน้าผาน้ำแข็ง สเก็ตบอร์ด สกี dog sledging สนุกเกอร์ อีสปอตส์ == การแข่งขันกีฬา == === ข้ามประเทศ (cross-country) === ทูร์ เดอ ฟรองซ์ ปารีส ดักการ์ แรลลี่ === ฟุตบอล === ฟุตบอลโลก พรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ เอเชียนคัพ คอนเฟเดอเรชันส์คัพ คิงส์คัพ เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ยูฟ่าคัพ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ เอเอฟซีเพรซิเดนต์คัพ เอเอฟซีคัพ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก === เทนนิส === รายการเทนนิสแกรนด์สแลม * การแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน * การแข่งขันเทนนิสออสเตรเลียนโอเพ่น * การแข่งขันเทนนิสเฟรนช์โอเพ่น * การแข่งขันเทนนิสยูเอสโอเพ่น * การแข่งขันเทนนิสไทยแลนด์โอเพ่น === กอล์ฟ === รายการกอล์ฟแกรนด์สแลม * การแข่งขันกอล์ฟบริติชโอเพ่น * การแข่งขันกอล์ฟยูเอสโอเพ่น * การแข่งขันกอล์ฟพีจีเอแชมเปียนชิพ * การแข่งขันกอล์ฟเดอะมาสเตอร์ * การแข่งขันกอล์ฟไรเดอร์คัพ == ดูเพิ่ม == การแข่งขันกีฬาสำคัญ กีฬาโอลิมปิก กีฬาเอเชียนเกมส์ กีฬาซีเกมส์ กีฬาฟุตบอลโลก กีฬาเอเชี่ยนบีชเกมส์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == การกีฬาแห่งประเทศไทย
thaiwikipedia
866
เมกะไบต์
เมกะไบต์ (megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอในการใช้อุปสรรคฐานสองในการนิยามและการใช้งาน ฉะนั้น ค่าแม่นตรงของกิโลไบต์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งจากค่าดังต่อไปนี้:- 1,000,000 ไบต์ (10002, 106) : นิยามนี้นิยมใช้ใช้ในบริบทของระบบข่ายงานและการระบุความจุของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และดีวีดี นิยามนี้สอดคล้องกับการใช้อุปสรรค (คำนำหน้าหน่วย) ในหน่วยเอสไอ ตลอดจนการใช้อุปสรรคในวงการคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป 1,024,000 ไบต์ (1,024×1,000) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยเก็บบางชนิด ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ แผ่นฟลอปปีดิสก์ชนิดความหนาแน่นสูง ความจุ "1.44 MB" (1,474,560 ไบต์) ขนาด "3.5 นิ้ว" (อันที่จริงคือ 90 mm) 1,048,576 ไบต์ (10242, 220) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยความจำแทบทุกชนิดในคอมพิวเตอร์ (เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ การผลิตหน่วยความจำหลักนั้นจะเพิ่มความจุเป็นสองเท่าได้ง่ายที่สุด) และแผ่นซีดี ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ใช้นิยามนี้ในการแสดงความจุของหน่วยเก็บ ปริมาณตามนิยามนี้มีค่าเท่ากับหนึ่งเมบิไบต์ (ดู อุปสรรคฐานสอง) == เมกะไบต์ในการใช้งานจริง == นับถึง พ.ศ. 2548 ความจุของแรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะวัดเป็นเมกะไบต์ หลักช่วยประมาณ : ความจุหนึ่งเมกะไบต์เก็บตำราได้ราวหนึ่งเล่ม, หรือรูปภาพขนาดเล็กหนึ่งร้อยรูป, หรือดนตรีซึ่งเข้ารหัสแล้วความยาวประมาณหนึ่งนาที ภาพถ่ายดิจิทัลที่ได้จากกล้องดิจิทัลทั่ว ๆ ไป อาจมีขนาดอยู่ระหว่าง 1–4 เมกะไบต์ ขึ้นกับความละเอียดของภาพและอัตราการบีบอัดข้อมูลที่ใช้ == ความสับสนที่เกิดแก่ผู้บริโภค == หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ถูกอ้างตำแหน่งแบบฐานสอง อันเนื่องมาจากการออกแบบ ดังนั้นขนาดของหน่วยความจำจะเป็นพหุคูณของ 2 เสมอ จึงเป็นการสะดวกที่จะวัดขนาดความจุเป็นหน่วยไบนารี ส่วนการวัดขนาดความจุอื่น ๆ เช่นหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, อัตราการส่งข้อมูล, ความเร็วสัญญาณนาฬิกา, จำนวนโอเปอเรชั่นต่อวินาที, และอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานเลข จะใช้หน่วยวัดเป็นหน่วยเลขฐานสิบ ผู้บริโภคที่ไม่ทราบเรื่องความหมายที่แตกต่างกันของคำย่อเหล่านี้ จะรู้สึกว่าขนาดความจุที่เห็นจริงนั้น น้อยกว่าขนาดที่ผู้ผลิตบอกไว้ และบอกว่าโรงงานผลิตไดรวฟ์และอุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูล จงใจเลือกใช้เลขฐานสิบเพื่อทำให้ตัวเลขดูมากกว่าความเป็นจริง แม้ว่าการวัดความจุแบบนี้จะเป็นปกติวิสัยในสถานการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่หน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง ถ้าผู้จำหน่ายบอกว่าฮาร์ดไดรวฟ์มีความจุข้อมูลได้ 140 GB, ดิสก์จะสามารถจุได้ 140 ไบต์ โดยทั่วไป ระบบปฏิบัติการจะจองเนื้อที่ และรายงานขนาดของดิสก์และแฟ้มในหน่วยไบนารี่, และแสดงออกมาโดยใช้ตัวย่อ (เช่น GB, MB, KB) ตัวเดียวกับที่ใช้โดยระบบเลขฐานสิบ, ดังนั้นไดรวฟ์จะถูกรายงานว่ามีขนาด "130 GB" (จริง ๆ คือ 130.36 GiB) (ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถเก็บแฟ้มให้มีขนาดรวมทั้งสิ้น 130.36 GiB ได้ อันเนื่องมาจาก overhead ของระบบแฟ้ม) หากอุปสรรคฐานสอง ตามมาตรฐาน IEC ถูกใช้อย่างแพร่หลายแล้ว จะทำให้ความสับสนนี้หมดไป == อ้างอิง == หน่วยสารสนเทศ
thaiwikipedia
867
จิกะไบต์
กิกะไบต์ หรือ จิกะไบต์ (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ 1 GB = 1,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร 1 GB = 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ 10243 หรือ 230 ไบต์ มีใช้ในระบบปฏิบัติการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิม == การใช้งานทั่วไป == ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันมักระบุความจุในหน่วยจิกะไบต์ ความจุที่แท้จริงอาจสูงหรือต่ำกว่าที่ระบุเล็กน้อย หน่วยความจุจิกะไบต์ที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ใช้ คือ 1,000,000,000 ไบต์ ในขณะที่ระบบปฏิบัติการหลายตัวแสดงค่าความจุของดิสก์โดยใช้ค่า 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้ อ้างอิงจากปี พ.ศ. 2548 ราคาต่อหน่วยความจุของฮาร์ดดิสก์ อยู่ที่ระหว่าง 25 ถึง 50 บาท ต่อ จิกะไบต์ โดยประมาณ คำว่า จิกะไบต์ หรือ จิกะไบต์ มักพูดย่อ ๆ ว่า จิ๊ก หรือ กิ๊ก หน่วย กิกะบิต หรือ จิกะบิต มีค่าเท่ากับ 1/8 ของจิกะไบต์ เป็นหน่วยหนึ่งที่ใช้ในการระบุความเร็วการส่งของระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รหัสยูนิโคดมีตัวอักษรพิเศษสำหรับจิกะไบต์ (㎇) ใช้รหัส ㎇ เว็บเบราว์เซอร์บางตัวอาจไม่สามารถแสดงตัวอักษรนี้ได้ == อ้างอิง == หน่วยสารสนเทศ
thaiwikipedia
868
นีลส์ เฮนริก อาเบล
นีลส์ เฮนริก อาเบล (Neils Henrik Abel) เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1802 เสียชีวิต 6 เมษายน ค.ศ. 1829 เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นบางท่านยกย่องอาเบลว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสแกนดิเนเวีย อย่างไรก็ตามอาเบลเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 26 ปี และเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตอาภัพที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการคณิตศาสตร์ เคียงคู่ไปกับ เอวารีสต์ กาลัว (เสียชีวิตเมื่ออายุ 20 ปี) , รามานุจัน (เสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี) และ โซฟี่ แชร์แมง (เสียชีวิตโดยที่ไม่มีโอกาสได้ทราบว่าตนเองได้รับปริญญากิตติมศักดิ์) อาเบลและเพื่อนนักคณิตศาสตร์ร่วมสมัยคือ เกาส์และโคชี่ มีส่วนร่วมเป็นอย่างสูงในการพัฒนาคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจากคณิตศาสตร์สมัยเก่าตรงที่มีการพิสูจน์อย่างเคร่งครัดในทุกทฤษฎีบท == ชีวประวัติโดยย่อ == === ครอบครัว === อาเบลเป็นลูกหนึ่งในหกคนของครอบครัวที่ยากจนในนอร์เวย์ พรสวรรค์ของอาเบลถูกสังเกตเห็นเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปีโดยอาจารย์ของเขาเมื่ออาเบลสามารถแสดงคำตอบของปัญหาของเบิร์นท์ ฮอล์มโบได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งช่วงนั้นกล่าวกันว่าอาเบลได้ศึกษางานของนิวตัน ออยเลอร์ และลากรองช์จนเข้าใจละเอียดลึกซึ้ง อย่างไรก็ตามบิดาของอาเบลซึ่งเป็นแกนหลักของครอบครัวได้เสียชีวิตลงเมื่อ อาเบลมีอายุได้เพียง 18 ปี ในช่วงนี้ครอบครัวของอาเบลได้เงินเลี้ยงดูจุนเจือ จากเพื่อนบ้านและญาติ โดยเฉพาะสำหรับอาเบลนั้นมีศาสตราจารย์หลายคนช่วยสนับสนุนในด้านต่างๆ ทำให้อาเบลสามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออสโลได้เมื่อเขาอายุ 19 ปี === ผลงาน === ผลงานทางวิชาการแรกสุดหลายๆ งานของอาเบลเกิดขึ้นเมื่อเขามีอายุได้ 21 ปี ซึ่งในนี้รวมไปถึงปัญหาคลาสสิกอย่างปัญหาเทาโทโครเนอ (tautochrone) ซึ่งอาเบลได้เสนอคำตอบจากการสร้างสมการปริพันธ์ (integral equation) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สามารถหาคำตอบในสมการประเภทนี้ได้ และจากผลงานนี้เองที่ส่งผลให้มีการพัฒนาวงการคณิตศาสตร์ในเรื่องสมการปริพันธ์อย่างคึกคักในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ==== คำตอบในรูปแบบรากของสมการพหุนามอันดับ 5 ==== แต่สำหรับหนึ่งในผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาเบลเกิดในปีค.ศ. 1824 เมื่อเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีคำตอบในรูปแบบราก(radical forms) ของสมการกำลัง 5 หรือสมการพหุนามอันดับ 5 (ax^5 + bx^4 + cx^3 + dx^2 + ex + f = 0 ) เหมือนกับอันดับที่ต่ำกว่าคืออันดับ 2 (พบคำตอบในสมัยกรีก) อันดับ3 และอันดับ4 (พบคำตอบโดยจิโลราโม คาร์ดาโนและลูกศิษย์หลังจากสมัยกรีกประมาณ 2000 ปี) ซึ่งถือได้ว่าอาเบลสามารถแก้ปัญหาทางพีชคณิตที่นักคณิตศาสตร์ชื่อดังอย่างนิวตัน ออยเลอร์ ลากรองช์ และเกาส์รวมถึงท่านอื่นๆ ต่างถกเถียงและพยายามหาคำตอบมา 300 ปีตั้งแต่สมัยของคาร์ดาโนได้สำเร็จ (สำหรับรายละเอียดดู ทฤษฎีบทของอาเบล-รุฟฟินี่) ==== วารสารคณิตศาสตร์ของเคร็ลเลอร์ (Crelle) ==== อาเบลได้รับทุนให้ไปศึกษาและทำวิจัยคณิตศาสตร์ที่แถบยุโรปกลาง โดยในปีแรกอาเบลใช้เวลาเกือบทั้งหมดที่เบอร์ลิน ที่นั่นอาเบลได้มีโอกาสรู้จักกับ Crelle ซึ่งขณะนั้นเป็นนักคณิตศาสตร์สมัครเล่น โดยในเวลาถัดมา Crelle เป็นเพื่อนที่ดีสุดจวบจนสิ้นชีวิตของอาเบล อาเบลเป็นแรงบันดาลใจให้ Crelle ริเริ่มวารสารคณิตศาสตร์ "Journal für die Reine und Angewandte Mathematik " (ดู Crelle's Journal) ในราวปี ค.ศ. 1826 ซึ่งเป็นวารสารฉบับแรกที่ไม่ใช่ของมหาวิทยาลับลัยและอุทิศเนื้อหาทั้งหมดให้คณิตศาสตร์ล้วนๆ (Simmons, 1991) โดยใน 3 ฉบับแรกนั้นมีบทความของอาเบลทั้งหมด 22 ชิ้น รวมไปถึงบทพิสูจน์เรื่องสมการกำลัง 5 ที่อาเบลได้ตกแต่งให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีผลงานที่โดดเด่นอื่นๆ ในวารสาร เช่น เรื่องอนุกรมทวินามซึ่งอาเบลได้ให้บทพิสูจน์เรื่องความถูกต้องในการขยายจากฟังก์ชันในรูป (a+b) ^n ไปเป็นอนุกรมทวินาม โดยพิสูจน์ในรูปแบบคณิตศาสตร์สมัยใหม่ (พิสูจน์แบบเคร่งครัด) และค้นพบรูปแบบทั่วไปของการลู่เข้า (Abel's Test) ซึ่งถือเป็นงานคลาสสิกชิ้นหนึ่งของอาเบล เรื่องฟังก์ชันเชิงวงรี(elliptic function) และ hyperelliptic function และกลุ่มของฟังก์ชันชนิดใหม่ที่ต่อมาเรียกว่า ฟังก์ชันอาบีเลียน (Abelian function) ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีการทำวิจัยกันอย่างคึกคักในเวลาต่อมา ==== ความอาภัพของอาเบล ==== อาเบลได้ส่งผลงานเรื่องสมการพหุนามไปให้เกาส์ที่เกิตติงเกน ด้วยความหวังว่ามันจะแทนหนังสือเดินทางไปสู่เกิตติงเกน อย่างไรก็ตามเกาส์ไม่ได้เปิดจดหมายของอาเบลดูเลย จดหมายที่ยังไม่ได้แกะฉบับนี้ถูกพบในบ้านของเกาส์ในอีก 30 ปีถัดมา อาเบลรู้สึกว่าตนถูกดูแคลนจึงเดินทางต่อไปยังปารีสโดยไม่แวะพบเกาส์ และนี่คงเป็นโชคร้ายของวงการคณิตศาสตร์ที่ทั้งสองคนไม่มีโอกาสร่วมงานกัน ในปี ค.ศ. 1826 อาเบลได้เดินทางไปยังปารีสเป็นเวลา 10 เดือน ที่นั่นอาเบลได้พบกับนักคณิตศาสตร์ชั้นนำของฝรั่งเศส อาทิเช่น ออกัสติน หลุยส์ โคชี่ เอเดรียน-แมรี เลอจองด์ และ ปีเตอร์ กุสตาฟ ดิริชเลต์ แม้ว่าอาเบลจะมีผลงานมากมายในวารสารของ Creller ก็ตาม แต่เนื่องจากเหล่านักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศสยังไม่รู้จักวารสารฉบับใหม่นี้นัก พวกเขาจึงไม่สนใจอาเบลมากนัก นอกจากนี้ยังเป็นเพราะว่าอาเบลมีนิสัยขี้อาย ไม่ค่อยชอบพูดคุยผลงานของตนให้ผู้อื่นฟังอีกด้วย หลังจากเขาเดินทางถึงประเทศฝรั่งเศสไม่นาน เขาก็ทำผลงานชื่อ Memoire sur une Propriete Tenerale d'une Classe Tres Etendue des Fonctions Transcendantes ได้สำเร็จ โดยอาเบลภูมิใจงานนี้มากโดยถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอก (masterpiece) ในผลงานนี้มีทฤษฎีบทของอาเบลซึ่งเป็นแก่นฐานของ Abelian integrals และ อาบีเลียนฟังก์ชัน ปีเตอร์ กุสตาฟ ยาโคบียกย่องผลงานชิ้นนี้ว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแคลคูลัสปริพันธ์ (integral calculus) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาเบลส่งผลงานชิ้นนี้ไปที่ French Academy โดยหวังว่าจะได้รับการยอมรับจากเหล่านักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศส แต่แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็เงียบซึ่งทำให้อาเบลต้องตัดสินใจกลับเบอร์ลิน จริงๆ แล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือ โคชี่และเลอจองด์ถูกมอบหมายให้เป็นผู้ตรวจสอบผลงานของอาเบล แต่ทว่าโคชี่นำมันกลับไปบ้านและด้วยความที่ขณะนั้นโคชี่กำลังทำงานของเขาอยู่อย่างขะมักเขม้น (formalizing/rigourising แคลคูลัส) ทำให้โคชี่วางงานของอาเบลไว้อย่างไม่สนใจและลืมเรื่องนี้ไปในท้ายที่สุด งานชิ้นนี้ของอาเบลถูกตีพิมพ์เมื่อปีค.ศ. 1841 หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วถึง 15 ปี หลังจากนั้นไม่นาน อาเบลก็ต้องเดินทางกลับบ้านพร้อมด้วยหนี้สิน โดยอาเบลหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยในบ้านเกิด แต่ก็เป็นอีกครั้งที่เขาต้องผิดหวัง เขาต้องทนทำงานเป็นครูสอนพิเศษ โดยได้รับเชิญไปสอนในมหาวิทยาลัยเป็นบางครั้งเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1829 อาเบลเริ่มป่วยหนักด้วยวัณโรค (ใน (Simmons, 1991) บอกว่าเป็นปอดบวม) และอาการก็กำเริบหนักมากในเดือนเมษายนปีเดียวกัน ในที่สุดอาเบลก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 26 ปี โดยในช่วงเวลาเดียวกันนั้นความพยายามของ Crelle ประสบผลสำเร็จ โดยเขาสามารถหาตำแหน่งอาจารย์คณิตศาสตร์ให้อาเบลได้ที่เบอร์ลิน แต่จดหมายของ Crelle ก็มาถึงช้าไป 2 วัน อาเบลได้จากไปเสียแล้ว งานทั้งหมดของอาเบลที่ปรากฏในวารสารของ Crelle ได้ถูกนำมาตีพิมพ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1839 และ ปี ค.ศ. 1881 ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยหลายท่านยังแนะนำให้อ่านงานของอาเบลจวบจนทุกวันนี้ ชื่อของอาเบลปรากฏในศัพท์คณิตศาสตร์หลายแห่งมากมายเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา นอกจาก Abel's Test และ อาบีเลียนฟังก์ชันที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมี อาบีเลียนกรุ๊ป อาบีเลียนคาทีกอรี สมการปริพันธ์ของอาเบล การทรานส์ฟอร์มแบบอาเบล อาบีเลียนวาไรตี้ == อนุสรณ์ == ในปี ค.ศ. 2002, ประเทศนอร์เวย์ได้ตั้งรางวัลอาเบล (Abel Prize) ให้แก่นักคณิตศาสตร์ที่มีผลงานดีเด่น == วาทะ == ในที่นี้คำว่าอาจารย์หมายถึงผู้ที่มีอิทธิพลสูงในการทำให้คณิตศาสตร์ก้าวหน้า โดยสำหรับตัวอาเบลเองเขาศึกษางานของนิวตัน ออยเลอร์ และลากรองช์ จนเข้าใจละเอียดลึกซึ้ง เลอจองด์ ได้กล่าวชื่นชมอาเบลว่า พอล เฮอร์มิทได้ยกย่องอาเบลในผลงาน Memoire ว่า == ดูเพิ่ม == นักคณิตศาสตร์ เส้นเวลาของคณิตศาสตร์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ชีวประวัติในเว็บไซต์ของรางวัลอาเบล ชีวประวัติในเว็บ MacTutor อาเบล, นีลส์ เสียชีวิตจากวัณโรค บุคคลจากเทศมณฑลรูกาลัน
thaiwikipedia
869
กัปตันซึบาสะ
กัปตันซึบาสะ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเกี่ยวกับฟุตบอล มีการจัดทำหลายภาคต่อมา และได้จัดทำเป็นวิดีโอเกมส์ และภาพยนตร์การ์ตูน เป็น เรื่องราวของเด็กชายโอโซระ ซึบาสะ ซึ่งได้รับการสอนฟุตบอลจากอดีตนักฟุตบอลทีมชาติบราซิล เชื้อสายญี่ปุ่นชื่อโรแบร์โต ฮอนโง และร่วมทีมนันคัตสึเพื่อเข้าชิงชัยฟุตบอล แห่งชาติทั้งระดับประถมและมัธยม หนังสือการ์ตูนเรื่องกัปตันซึบาสะ ปัจจุบันได้มีทั้งหมด 7 ภาค โดยภาคแรกออกมาในช่วง ปี พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2531 มีจำนวน 37 เล่ม, ภาคเยาวชนโลก ออกมาในช่วง พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2540 มีจำนวน 18 เล่ม, ภาค Road to 2002 ออกมาในช่วง พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2547 มีจำนวน 15 เล่ม, และ ภาค Golden 23 ออกมาตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน ผลงานบางส่วนในเรื่องซึบาสะนี้ ได้มีการเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาด้วย การ์ตูนเรื่องนี้เคยออกอากาศฉายทางโทรทัศน์ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ย้อนกลับไปเมื่อ 34 ปี ที่แล้ว ใน พ.ศ. 2530 เดือนมีนาคม ทุกเย็นวันเสาร์ เวลา 15.30 น. โดยสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยในสมัยนั้นใช้ชื่อเรื่องว่า "เจ้าหนูสิงห์นักเตะ" และตัวเอกของเรื่อง เรียกชื่อกันในสมัยนั้นออกเสียงเป็นคำสมัยนิยมว่า "เออซูล่า จิมาสะ" == เนื้อเรื่องย่อ == === ภาคแรก === โอโซระ ซึบาสะ เจ้าหนูสิงห์นักเตะ เรื่องราวนี้ได้เกิดขึ้นในเมืองนันคัตซึ จังหวัดชิสึโอกะ ซึบาสะ ได้พบกับเพื่อนเล่นบอลที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น อิชิซากิ วากาบายาชิ มิซากิ ความฝันและการต่อสู้ของพวกเขาจึงได้เริ่มต้นขึ้น จากระดับเมือง เป็นจังหวัด จนถึงระดับประเทศ ได้แข่งขันกันอย่างดุเดือด ได้พบทั้งคู่แข่ง และเพื่อนมากมาย เช่น เฮียวงะ มิสุงิ มัตซึยาม่า พี่น้องทาจิบานา อีกทั้งเมื่อซึบาสะได้รู้จักกับ โรแบร์โต้ ฮอนโง อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบราซิล ทำให้ซึบาสะเกิดความฝันที่จะไปบราซิลกับโรแบร์โต้ แต่แล้วด้วยเหตุบางอย่าง ทำให้โรแบร์โต้จากเขาไปบราซิลแต่เพียงลำพัง ทิ้งให้ซึบาสะที่เพิ่งนำทีมประถมนันคัตซึชนะเลิศฟุตบอลระดับประเทศมาสดๆร้อนๆ ต้องอยู่ญี่ปุ่นต่อไป อย่างไรก็ตาม ซึบาสะก็ยังตั้งใจว่าสักวัน เขาจะต้องไปบราซิลและได้พบกับโรแบร์โต้อย่างแน่นอน หลังจากนั้นซึบาสะก็ใช้หนังสือที่โรแบร์โต้เขียนทิ้งไว้ให้ ฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ เขาได้นำทีมมัธยมนันคัตซึเป็นแชมป์ระดับประเทศ 3 สมัยซ้อน จากนั้นเขาและเพื่อนๆ ทีมชาติ ได้นำชื่อของญี่ปุ่นไปชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลยุวชนนานาชาติที่ฝรั่งเศสอีกด้วย และสุดท้ายความฝันที่จะไปบราซิลกับโรแบร์โต้ของซึบาสะก็เป็นจริง === ภาค Road To 2002 === หลังจากภาคเยาวชนโลก ซึบาสะ ต้องการที่จะพาทีมชาติญี่ปุ่นคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2002 ที่ญี่ปุ่นกับเกาหลีร่วมกันเป็นเจ้าภาพ และต้องการเป็นนักเตะอันดับ 1 ของโลก โดยซึบาสะย้ายทีมจากเซาเพาโลในประเทศบราซิล มาอยู่กับบาร์เซโลนาในประเทศสเปน และต้องพบกับความจริงจังในการเป็นนักเตะอาชีพ และได้พบกับ ริวัล หมายเลข 10 ของบาร์เซโลนา ซึ่งเป็นนักเตะอันดับ 1 ของโลก เพื่อนร่วมทีมอย่างเฮียวงะ โคจิโร่ที่ไปอยู่กับยูเวนตุส เพื่อสานฝันการเป็น สไตรเกอร์อันดับ 1 ของโลก และวากาบายาชิอยู่กับฮัมบูร์ก ส่วนคู่แข่งคนสำคัญ นาทูเรซา มาอยู่กับ เรอัล มาดริด ทั้งนี้เนื้อเรื่องมีความยาว 15 เล่มจบ แต่จริงๆแล้ว เนื้อเรื่องยังไม่จบ เพราะเล่มอวสานถึงแค่ซึบาสะเอาชนะศึกเอลกลาซิโก โดยถล่มเรอัล มาดริดไป 6:5 === ภาค Golden 23 === ภาคนี้เนื้อเรื่องหลักคือการสร้างทีมเพื่อแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิก หรือ U-23 ผู้จัดการทีม คิระ โคโซ ตัดสินใจจะผ่านรอบคัดเลือกโซนเอเชียไปให้ได้โดยไม่ใช้นักเตะอาชีพในต่างประเทศ (ซึบาสะ เฮียวงะ อาโออิ อากาอิ วากาบายาชิ) สาเหตุแรกคือต้องการให้พวกเขาเหล่านั้นพัฒนาตัวเองให้เต็มที่ในต่างประเทศ อีกสาเหตุคือผู้จัดการต้องการรีดเอาความสามารถของสมาชิกที่เหลืออยู่ให้มากที่สุด เพราะหากแค่รอบคัดเลือกโซนเอเชียยังผ่านด้วยสมาชิกเท่านี้ไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปหวังเหรียญทองโอลิมปิก ในภาคนี้สีสันจึงอยู่ที่นักเตะที่เหลือได้มีบทบาทมากขึ้น เช่น นิตตะ ที่ต้องเป็นศูนย์หน้าตัวหลัก วากาชิมาสึ นอกจากเป็นผู้รักษาประตูแล้วยังได้ลงมาเล่นเป็นกองหน้าด้วย ทีมญี่ปุ่นที่นำโดย มิซากิ มัตซึยามา มิสุงิ (มีการเรียกขานพวกเขาว่า 3M) ต้องฝ่าฟันรอบคัดเลือกโซนเอเชียไปให้ได้ ในภาคนี้ยังมีเนื้อเรื่องรองเป็นเรื่องในต่างแดนของนักเตะในต่างประเทศแต่ละคน === ภาค In Cal Cio === ภาคนี้เป็นเรื่องราวของนักเตะญี่ปุ่นในอิตาลี เฮียวงะถูกยืมตัวไปเล่นกับทีมเรจจิน่าในเซเรียซี อาโออิเล่นให้กับทีมอัลเบเซ่ในเซเรียซีเช่นกัน ท้ายสุดทั้งสองคนต้องมาเจอกันในนัดปิดฤดูกาลเพื่อแย่งสิทธิ์เลื่อนชั้นไปเซเรียบี ส่วนอากาอิยังคงเล่นให้กับทีมซามพ์โดเรียในเซเรียบีและสามารถปิดฤดูกาลช่วยให้ทีมเลื่อนชั้นไปเซเรียอาได้ แต่ตัวเขาบาดเจ็บต้องพักยาวไม่สามารถร่วมทีมแข่งโอลิมปิกได้ === ภาค En La Liga === ภาคนี้เป็นภาคของซีบาสะกับบาร์เซโลนาในสเปนต่อไป บาร์เซโลนาต้องการเป็นแชมป์ลาลีกาให้ได้ สุดท้ายก็กลับมาเจอกับนาทูเรซาและทีมเรอัล มาดริดอีกครั้ง === ภาค Rising Sun === ฟุตบอลโอลิมปิกได้เปิดฉากขึ้นแล้ว ทีมชาติญี่ปุ่นนำโดยซึบาสะ ต้องพบกับทีมคู่แข่งทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มากมาย ปัจจุบันภาคนี้ยังไม่จบ == อนิเมะ == ปี ค.ศ. 2018 มีการนำ ภาคแรกกลับมาสร้างใหม่ในรูปแบบภาพยนตร์ชุดอนิเมะอีกครั้ง และ ออกอากาศทาง ทีวีโตเกียว ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย. Viz Media ได้รับสิทธิ์ในการเผยแพร่อนิเมะชุดนี้ . ฉบับพากย์เสียงภาษาอังกฤษเริ่มออกอากาศวันที่ ทาง Primo TV ในสหรัฐอเมริกา. ฉบับพากย์เสียงภาษาอินโดนีเซียและฉบับพากย์เสียงภาษาไทยเริ่มออกอากาศ วันที่ ทาง RCTI ในประเทศอินโดนีเซียและ PPTV ในประเทศไทยตามลำดับ. สำหรับ PPTV ออกอากาศในระบบเสียง 2 ภาษาโดยไม่มีคำบรรยายภาษาไทย (แปลโดย : ทินรัตน์ คงฤทัยชัย) == รายชื่อตัวละคร == == รายชื่อตอน == == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น รายชื่อตัวละครในกัปตันสึบาสะ โอโซระ ซึบาสะ บุนนาค สิงห์ประเสริฐ == แหล่งข้อมูลอื่น == Captain Tsubasa: Gekito no Kiseki Konami official website Captain Tsubasa manga official website TV Tokyo official Captain Tsubasa anime website Enoki Films USA Flash Kicker also known as Captain Tsubasa website La Página de Capitán Tsubasa Captain Tsubasa at Anime Video Games Reviews Captain Tsubasa DataBase (all about manga, animation and players/teams in French) Captain Tsubasa Video Episode 1 Captain Tsubasa Gallery (a big Gallery about Captain Tsubasa) หนังสือการ์ตูนซึบาสะครบทุกตอนในประเทศไทย การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง การ์ตูนกีฬา ซอคเกอร์แอนิเมชัน กัปตันซึบาสะ อนิเมะและมังงะเกี่ยวกับฟุตบอล‎ อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2526 อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2537 อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2544 อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2561 รายการโทรทัศน์ช่อง 5
thaiwikipedia
870
สปีชีส์
ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)) ==ดูเพิ่ม== การเกิดสปีชีส์ใหม่ พันธุ์ย่อย ==อ้างอิง== Stephen Webster เขียน ,รศ.ดร.อุษณีย์ ยศยิ่งยวด แปล, วิวัฒนาการ, นานมีบุคส์, 2003. ISBN 974-9656-27-X ==แหล่งข้อมูลอื่น== http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/S/Speciation.html 2003-12-31, ScienceDaily: Working On The 'Porsche Of Its Time': New Model For Species Determination Offered Quote: "...two species of dinosaur that are members of the same genera varied from each other by just 2.2 percent. Translation of the percentage into an actual number results in an average of just three skeletal differences out of the total 338 bones in the body. Amazingly, 58 percent of these differences occurred in the skull alone. "This is a lot less variation than I'd expected", said Novak..." 2003-08-08, ScienceDaily: Cross-species Mating May Be Evolutionarily Important And Lead To Rapid Change, Say Indiana University Researchers Quote: "...the sudden mixing of closely related species may occasionally provide the energy to impel rapid evolutionary change..." 2004-01-09 ScienceDaily: Mayo Researchers Observe Genetic Fusion Of Human, Animal Cells; May Help Explain Origin Of AIDS Quote: "...The researchers have discovered conditions in which pig cells and human cells can fuse together in the body to yield hybrid cells that contain genetic material from both species... "What we found was completely unexpected", says Jeffrey Platt, M.D." 2000-09-18, ScienceDaily: Scientists Unravel Ancient Evolutionary History Of Photosynthesis Quote: "...gene-swapping was common among ancient bacteria early in evolution..." ชีววิทยา การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
thaiwikipedia
871
โครงสร้างส่วนบน
ในสาขาสังคมศาสตร์ โครงสร้างส่วนบน คือกลุ่มของกรอบควบคุมเชิงสังคมและจิตวิทยาที่รักษาโครงสร้างที่เป็นเอกภาพ และมีความหมายภายในสังคม โครงสร้างนี้รวมถึงวัฒนธรรม, สถาบัน, โครงสร้างของอำนาจ, บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในสังคม, รวมไปถึงขนบต่างๆ โครงสร้างดังกล่าวนี้สามารถกำหนดกฎเกณฑ์และแนวปฏิบัติของกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางรูปแบบของพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สังคมศาสตร์
thaiwikipedia
872
ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk drive) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ โซลิดสเตตไดรฟ์ == ประวัติ == ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกเรื่มต้นแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน โดยมีความจุเริ่มแรกที่ 100 กิโลไบต์ มีขนาด 20 นิ้ว ในปี พ.ศ. 2523 ฮาร์ดดิสก์ยังเป็นสิ่งที่หายากและราคาแพงมาก แต่หลังจากนั้นฮาร์ดดิสก์กลายเป็นมาตรฐานของพีซีและราคาถูกลงมาก สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของฮาร์ดดิสก์จากปี 1980 ถึงปัจจุบัน ความจุเพิ่มขึ้น จาก 3.75 เมกะไบต์ เป็น 3 เทระไบต์ ขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก ราคาต่อความจุถูกลงมาก ความเร็วเพิ่มขึ้น == ขนาดและความจุ == ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์ ขนาด 8 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร × 117.5 มิลลิเมตร × 362 มิลลิเมตร) ขนาด 5.25 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร × 41.4 มิลลิเมตร × 203 มิลลิเมตร) ขนาด 3.5 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร × 25.4 มิลลิเมตร × 146 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) หรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 10,000, 7,200 หรือ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์ ขนาด 2.5 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร × 9.5–15 มิลลิเมตร × 100 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา แล็ปท็อป, UMPC, เน็ตบุ๊ก, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 จิกะไบต์ ถึง 1 เทระไบต์ ขนาด 1.8 นิ้ว (55 มิลลิเมตร × 8 มิลลิเมตร × 71 มิลลิเมตร) ขนาด 1 นิ้ว (43 มิลลิเมตร × 5 มิลลิเมตร × 36.4 มิลลิเมตร) ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่าง ๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี เรด รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS หน่วยเก็บข้อมูลบนเครือข่าย เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN (Storage area network) เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล == ประสิทธิภาพ == ผู้ใช้ส่วนใหญ่เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์โดยพิจารณาที่ความจุเป็นหลัก ไม่ค่อยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการทำงานมากนัก ทั้งๆที่ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์มีผลต่อสมรรถนะการทำงานโดยรวมของ คอมพิวเตอร์ไม่น้อยเลย อย่าง ไรก็ดี สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นก็คือ การที่บางคนมีความเข้าใจในรายละเอียดทางเทคนิค หรือที่เรียกว่าสเปค (specification) ของฮาร์ดดิสก์เพียงผิวเผิน แต่กลับไปยึดติดและให้ความสำคัญกับสเปคต่าง ๆ อย่างไม่สมเหตุสมผลในคอมพิวเตอร์ ดังที่จะพบว่าทุกวันนี้เมื่อพูดถึง การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์แล้ว ผู้ซื้อจำนวนมากให้ความสำคัญกั บตัวเลขที่บอกอัตราการส่งผ่านข้อมูลภายนอก (external transfer rate) มากเท่าๆกับความเร็วรอบ (spindle speed) ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เราจะมาดูกันครับว่า สเปคต่างๆที่ผู้ผลิตระบุไว้ในดาต้าชีท (data sheet) หรือสเปค ชีท (spec sheet) นั้นเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์อย่างไร และเราควรให้ความสำคัญกับอะไรมากน้อยแค่ไหน โดยจะขอแยกออกเป็น 2 กลุ่มคือ สเปคที่เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพในการหาตำแหน่ง และสเปคที่เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพในการส่งผ่านข้อมูล == หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์ == หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้ * สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก * สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที * แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 30000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) * ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 500 จิกะไบต์ ถึง 10 เทระไบต์ ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ (แอสกี ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วิดีโอ และเสียง) โดยที่ไบต์จำนวนมากมายรวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมาผ่านไปยังตัวประมวลผลเพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ * อัตราการส่งผ่านข้อมูล (Data rate) คือ จำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 400 เมกะไบต์ต่อวินาที * เวลาค้นหา (Seek time) คือ หน่วงเวลาที่หัวอ่านต้องใช้ในการเข้าไปอ่านข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในจานแม่เหล็ก โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที ซึ่งมักขึ้นอยู่กับความเร็วรอบในการหมุนจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์ == การเก็บข้อมูล == ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลาย ๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น == ดูเพิ่ม == โซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive) ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (Flash Dive) หน่วยความจุ * บิต * ไบต์ * กิโลไบต์ * เมกะไบต์ * จิกะไบต์ * เทระไบต์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == === ภาษาไทย === http://www.rit.ac.th/homepage-sc/charud/naturemystery/sci2/harddisk/harddisk.htm http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/hdisk.htm http://www.buycoms.com/upload/guide/Hdd/hdd.htm === ภาษาอังกฤษ === The PC Guide: A Brief History of the Hard Disk Drive Binary versus Decimal Multi Disk System Tuning HOWTO Windows NT Server Resource Kit: Disk Management Basics (See section "About Disks and Disk Organization") Behold the God Box - Less's Law and future implications of massive cheap hard disk storage อุปกรณ์รอบข้างคอมพิวเตอร์ หน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำถาวร สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ
thaiwikipedia
873
อ่าวตังเกี๋ย
อ่าวตังเกี๋ย (Gulf of Tonkin; Vịnh Bắc Bộ; จีนตัวเต็ม: 東京灣) เป็นอ่าวขนาด 480 x 240 กิโลเมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลจีนใต้ ระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศจีน ทะเลในอ่าวมีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร แม่น้ำสำคัญที่น้ำไหลลงสู่อ่าวตังเกี๋ย คือ แม่น้ำแดงในเวียดนาม ท่าเรือสำคัญอยู่ในเมืองไฮฟองของเวียดนาม และเป๋ย์ไห่ของจีน อ่าวตังเกี๋ยมีเกาะขนาดใหญ่ คือ เกาะไหหลำ (ไห่หนาน) ของจีน อ่าวตังเกี๋ยมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ยเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) นำไปสู่การมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม ตังเกี๋ย ธรณีสัณฐานในประเทศเวียดนาม ธรณีสัณฐานในประเทศจีน อ่าวตังเกี๋ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร
thaiwikipedia
874
ตรีโกณมิติ
ตรีโกณมิติ (จากภาษากรีก trigonon มุม 3 มุม และ metro การวัด) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและมุมของรูปสามเหลี่ยม ตรีโกณมิติเกิดขึ้นในสมัยเฮลเลนิสต์ ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันได้มีการนำไปใช้ตั้งแต่ในวิชาเรขาคณิตไปจนถึงวิชาดาราศาสตร์ นักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 3 ได้สังเกตว่าความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากและมุมระหว่างด้านมีความสัมพันธ์ที่คงที่ ถ้าทราบความยาวอย่างน้อยหนึ่งด้านและค่าของมุมหนึ่งมุม แล้วมุมและความยาวอื่น ๆ ที่เหลือก็สามารถคำนวณหาค่าได้ การคำนวณเหล่านี้ได้ถูกนิยามเป็นฟังก์ชันตรีโกณมิติ และในปัจจุบันได้แพร่หลายไปทั้งคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ เช่น การแปลงฟูรีเย หรือสมการคลื่น หรือการใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เป็นคาบในสาขาวิชาฟิสิกส์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า ดนตรีและสวนศาสตร์ ดาราศาสตร์ นิเวศวิทยา และชีววิทยา นอกจากนี้ ตรีโกณมิติยังเป็นพื้นฐานของการสำรวจ ตรีโกณมิติมีความเกี่ยวข้องมากที่สุดกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉากบนระนาบ (กล่าวคือ รูปสามเหลี่ยมสองมิติที่มีมุมหนึ่งมีขนาด 90 องศา) มีการประยุกต์ใช้กับรูปสามเหลี่ยมที่ไม่มีมุมฉากด้วย โดยการแบ่งรูปสามเหลี่ยมดังกล่าวเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูป ปัญหาส่วนมากสามารถแก้ได้โดยใช้การคำนวณบนรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ดังนั้น การประยุกต์ส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ยกเว้นในตรีโกณมิติเชิงทรงกลม วิชาที่ศึกษารูปสามเหลี่ยมบนพื้นผิวทรงกลม ซึ่งมีความโค้งเป็นค่าคงที่บวก ในเรขาคณิตอิลลิปติก (elliptic geometry) อันเป็นพื้นฐานของวิชาดาราศาสตร์และการเดินเรือ) ส่วนตรีโกณมิติบนพื้นผิวที่มีความโค้งเป็นค่าลบเป็นส่วนหนึ่งของเรขาคณิตไฮเพอร์โบลิก วิชาตรีโกณมิติเบื้องต้นมักมีการสอนในโรงเรียน อาจเป็นหลักสูตรแยกหรือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส == ประวัติศาสตร์ == นักคณิตศาสตร์มุสลิมในยุคกลาง (หรือยุคมืด ตามคำเรียกของชาวยุโรป) มีส่วนเป็นอย่างมากในการพัฒนาและอุทิศผลงานในคณิตศาสตร์สาขาตรีโกณมิติ โดยพวกเขาได้รับแนวคิดพื้นฐานมาจาก ตำราคณิตศาสตร์อินเดียที่ชื่อ Sūrya Siddhānta (สูรยสิทธานตะ) ตำราอัลมาเกส (เป็นภาษาอาหรับแปลว่ายิ่งใหญ่ที่สุด แสดงให้เห็นว่านักคณิตศาสตร์อาหรับยกย่องหนังสือเล่มนี้มาก) ของทอเลมีนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวกรีก ; และ ตำราสเฟียริก ของเมเนลาอุสนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่านักคณิตศาสตร์กรีกและอินเดียจะมีบทบาทในการพัฒนาตรีโกณมิติ แต่ทว่านักประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์หลายท่าน ได้ให้เกียรตินักคณิตศาสตร์อาหรับว่า เป็นผู้พัฒนาความรู้ในสาขานี้อย่างแท้จริง == ศัพทมูลวิทยา == คำว่า ตรีโกณมิติ เป็นการรวมคำสามคำ คือ ตรี (สันสกฤต : त्रि, ตรี) หรือ tri แปลว่า สาม, โกณ (สันสกฤต : कोना, โกณะ) หรือ gon แปลว่า มุม หรือ เหลี่ยม, มิติ (สันสกฤต : मिति, มิติ) หรือ metric แปลว่า การวัด ดังนั้น ตรีโกณมิติ หมายถึง การคำนวณโดยความสัมพันธ์ระหว่างมุมและด้านของรูปสามเหลี่ยม == ภาพรวม == รูปสามเหลี่ยมสองรูปจะเรียกว่าคล้ายกัน ถ้ารูปหนึ่งสามารถขยายได้เป็นอีกรูปหนึ่ง และจะเป็นกรณีนี้ก็ต่อเมื่อมุมที่สมนัยกันมีขนาดเท่ากัน ตัวอย่างเช่น รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีมุมร่วมกันมุมหนึ่ง และด้านที่ตรงข้ามกับมุมนั้นขนานกัน เป็นข้อเท็จจริงว่ารูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกัน ด้านแต่ละด้านจะเป็นสัดส่วนกัน นั่นคือ ถ้าด้านที่ยาวที่สุดของรูปสามเหลี่ยมหนึ่ง ยาวเป็นสองเท่าของด้านที่ยาวที่สุดของรูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกัน จะกล่าวได้ว่า ด้านที่สั้นที่สุดจะยาวเป็นสองเท่าของด้านที่สั้นที่สุดของอีกรูปสามเหลี่ยม และด้านที่ยาวปานกลางก็จะเป็นสองเท่าของอีกรูปสามเหลี่ยมเช่นกัน อัตราส่วนระหว่างด้านที่ยาวที่สุดและด้านที่สั้นที่สุดของรูปสามเหลี่ยมแรก จะเท่ากับ อัตราส่วนระหว่างด้านที่ยาวที่สุดและด้านที่สั้นที่สุดของรูปสามเหลี่ยมอีกรูปด้วย จากข้อเท็จจริงเหล่านี้ เราจะนิยามฟังก์ชันตรีโกณมิติ เริ่มต้นด้วยรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งมีมุมฉากหนึ่งมุม (90 องศา หรือ π/2 (1.5707 เรเดียน)) ด้านที่ยาวที่สุดในรูปสามเหลี่ยมใดๆจะอยู่ตรงข้ามกับมุมที่ใหญ่ที่สุด แต่เพราะว่าผลรวมของมุมภายในรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 180 องศา หรือ π เรเดียน ดังนั้นมุมที่ใหญ่ที่สุดในรูปสามเหลี่ยมนี้คือมุมฉาก ด้านที่ยาวที่สุดในรูปสามเหลี่ยมจึงเป็นด้านที่ตรงข้ามกับมุมฉาก เรียกว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก นำรูปสามเหลี่ยมมุมฉากมาสองรูปที่มีมุม A ร่วมกัน รูปสามเหลี่ยมทั้งสองนี้จะคล้ายกัน และอัตราส่วนของด้านตรงข้ามมุม A ต่อด้านตรงข้ามมุมฉาก จะเท่ากันทั้งสองรูป มันจะเป็นจำนวนระหว่าง 0 ถึง 1 ขึ้นอยู่กับขนาดของมุม A เท่านั้น เราเรียกว่า ไซน์ของ A และเขียนด้วย sin (A) ในทำนองเดียวกัน เรานิยาม โคไซน์ของ A คืออัตราส่วนระหว่าง ด้านประชิดมุม A ต่อด้านตรงข้ามมุมฉาก \sin A = {\mbox{opp} (a) \over \mbox{hyp} (c) } \qquad \cos A = {\mbox{adj} (b) \over \mbox{hyp} (c) } ฟังก์ชันเหล่านี้เป็นฟังก์ชันตรีโกณมิติที่สำคัญ ฟังก์ชันอื่นๆสามารถนิยามโดยใช้อัตราส่วนของด้านต่างๆของรูปสามเหลี่ยม แต่มันก็สามารถเขียนได้ในรูปของ ไซน์ และ โคไซน์ ฟังก์ชันเหล่านี้คือ แทนเจนต์, ซีแคนต์, โคแทนเจนต์, และ โคซีแคนต์ \tan A = {\sin A \over \cos A} = {\mbox{opp} (a) \over \mbox{adj} (b) } \qquad \sec A = {1 \over \cos A} = {\mbox{hyp} (c) \over \mbox{adj} (b) } \cot A = {\cos A \over \sin A} = {\mbox{adj} (b) \over \mbox{opp} (a) } \qquad \csc A = {1 \over \sin A} = {\mbox{hyp} (c) \over \mbox{opp} (a) } วิธีจำ ไซน์ โคไซน์ แทนเจนต์ อย่างง่ายๆคือจำว่า ข้ามฉาก ชิดฉาก ข้ามชิด (ไซน์-ด้านตรงข้าม-ด้านตรงข้ามมุมฉาก โคไซน์-ด้านประชิด-ด้านตรงข้ามมุมฉาก แทนเจนต์-ด้านตรงข้าม-ด้านประชิด) ที่ผ่านมา ฟังก์ชันตรีโกณมิติถูกนิยามขึ้นสำหรับมุมระหว่าง 0 ถึง 90 องศา (0 ถึง π/2 เรเดียน) เท่านั้น หากใช้วงกลมหนึ่งหน่วย จะขยายได้เป็นจำนวนบวกและจำนวนลบทั้งหมด (ดูใน ฟังก์ชันตรีโกณมิติ) ครั้งหนึ่ง ฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ถูกจัดลงในตาราง (หรือคำนวณด้วยเครื่องคิดเลข) ทำให้ตอบคำถามทั้งหมดเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมใดๆได้อย่างแท้จริง โดยใช้กฎของไซน์ และ กฎของโคไซน์ กฎเหล่านี้สามารถใช้ในการคำนวณมุมที่เหลือและด้านของรูปสามเหลี่ยมได้ เมื่อรู้ความยาวด้านสองด้านและขนาดของมุมหนึ่งมุม หรือรู้ขนาดของมุมสองมุมและความยาวของด้านหนึ่งด้าน หรือ รู้ความยาวของด้านทั้งสามด้าน นักคณิตศาสตร์บางคนเชื่อว่าตรีโกณมิติแต่เดิมนั้น ถูกประดิษฐ์ชึ้นเพื่อใช้คำนวณนาฬิกาแดด ซึ่งมักเป็นโจทย์ในหนังสือเก่าๆ มันมีความสำคัญมากในเรื่องการสำรวจ == การประยุกต์ == ปัจจุบัน มีการนำตรีโกณมิติไปใช้ในงานสาขาต่าง ๆ เช่น เป็นเทคนิคในการสร้างรูปสามเหลี่ยม ซึ่งใช้ในวิชาดาราศาสตร์เพื่อวัดระยะทางของดาวที่อยู่ใกล้ ในภูมิศาสตร์ใช้วัดระยะทางระหว่างหลักเขตที่ดิน และใช้ในดาวเทียมนำทาง งานที่มีการใช้(และการนำทางในมหาสมุทร บนเครื่องบิน และในอวกาศ) ,ทฤษฎีดนตรี, สวนศาสตร์, ทัศนศาสตร์, การวิเคราะห์ตลาดการเงิน, อิเล็กทรอนิกส์, ทฤษฎีความน่าจะเป็น, สถิติศาสตร์, ชีววิทยา, การสร้างภาพทางการแพทย์ (การกราดภาพตัดขวางใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAT scans) และ คลื่นเสียงความถี่สูง) , เภสัชศาสตร์, เคมี, ทฤษฎีจำนวน (รวมถึง วิทยาการเข้ารหัสลับ) , วิทยาแผ่นดินไหว, อุตุนิยมวิทยา, สมุทรศาสตร์, วิทยาศาสตร์กายภาพสาขาต่างๆ, การสำรวจพื้นดิน และภูมิมาตรศาสตร์, สถาปัตยกรรม, สัทศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมโยธา, เรขภาพคอมพิวเตอร์, การทำแผนที่, ผลิกศาสตร์ == เอกลักษณ์ == เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ เช่น เอกลักษณ์ดังต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีบทพีทาโกรัส \sin^2 A + \cos^2 A = 1 \ \tan^2 A + 1 = \sec^2 A \ \cot^2 A + 1 = \csc^2 A \ == ดูเพิ่ม == รายการเอกลักษณ์ตรีโกณมิติ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ วงกลมหนึ่งหน่วย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น ==
thaiwikipedia
875
การบวก
การบวก (มักแทนด้วยเครื่องหมายบวก "+") คือหนึ่งในการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ของเลขคณิตมูลฐาน นอกจากการบวกยังมีการลบ การคูณ และการหาร การบวกจำนวนสองจำนวนคือผลรวมของปริมาณสองปริมาณรวมกัน ตัวอย่างเช่น ในภาพด้านขวาเป็นการรวมแอปเปิล 3 ผลกับแอปเปิล 2 ผลเข้าด้วยกัน หลายเป็นแอปเปิล 5 ผล ดังนั้นจึงเหมือนกับว่ามีแอปเปิล 5 ผล การกระทำเช่นนี้เทียบเท่ากับนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ว่า "3 + 2 = 5" หมายความว่า "3 บวก 2 เท่ากับ 5" เป็นต้น นอกจากการนับผลไม้แล้ว การบวกสามารถใช้แทนการรวมวัตถุอื่น ๆ การบวกสามารถนิยามด้วยสมบัติที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวนเต็ม จำนวนตรรกยะ จำนวนจริง จำนวนเชิงซ้อน และวัตถุนามธรรมอื่น ๆ เช่น เวกเตอร์ และเมทริกซ์ ฯลฯ ในเลขคณิตมีกฎของการบวกที่เกี่ยวกับ และจำนวนลบและจำนวนไม่เป็นลบ ถูกคิดค้นขึ้นใหม่ ในทางพีชคณิต การศึกษาการบวกนั้นเป็นไปในเชิงนามธรรมมากขึ้น การบวกมีสมบัติที่สำคัญหลายประการ การบวกมี หมายความว่าลำดับไม่สำคัญ และมี หมายความว่าเมื่อจำนวนหนึ่งบวกกับจำนวนมากกว่าสองจำนวน ลำดับในการบวกก่อนหลังนั้นไม่สำคัญ (ดู ผลรวม) การบวก 1 ซ้ำ ๆ มีความหมายเหมือนการนับ การบวกด้วย 0 จะไม่ทำให้จำนวนเปลี่ยนแปลง การบวกยังสามารถคล้อยตามกฎที่ทำนายได้ของการดำเนินการอื่น ๆ ได้แก่ การลบ และการคูณ การกระทำการบวกเป็นหนึ่งในงานที่ง่ายที่สุด การบวกจำนวนน้อย ๆ สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่วัยเด็กหัดเดิน เด็กทารกอายุห้าเดือน และแม้กระทั่งสัตว์บางชนิดก็สามารถคำนวณงานพื้นฐานที่สุดอย่าง 1 + 1 ได้ ในระดับประถมศึกษา นักเรียนจะได้เรียนรู้การบวกจำนวนในระบบเลขฐานสิบ โดยเริ่มต้นจากเลขหลักเดียว และพัฒนาการแก้ปัญหาที่ยากขึ้น เครื่องมือช่วยคำนวณการบวกก็แตกต่างกันไปตั้งแต่ลูกคิดโบราณจนไปถึงคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ซึ่งยังมีงานวิจัยเรื่องวิธีการบวกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเรื่อยมาถึงทุกวันนี้ == สัญกรณ์และศัพทวิทยา == ปกติการบวกเขียนแทนด้วยเครื่องหมายบวก (+) ใส่ไว้ระหว่างพจน์แบบสัญกรณ์เติมกลาง ผลลัพธ์ของการบวกจะถูกแสดงด้วยเครื่องหมายเท่ากับ (=) ตัวอย่างเช่น : 1 + 1 = 2 (อ่านว่า หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง) : 2 + 2 = 4 : 5 + 4 + 2 = 11 : 3 + 3 + 3 + 3 = 12 (ดูเพิ่มที่ การคูณ) แต่ก็มีบางสถานการณ์ที่สามารถทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการบวก แม้จะไม่มีเครื่องหมายบวกอยู่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น จำนวนตัวเลขที่เรียงกันตามแนวตั้ง ซึ่งบรรทัดล่างสุดมีขีดเส้นใต้ ปกติแล้วจำนวนจะถูกจัดวางให้ตรงหลักตามแนวตั้งเพื่อบวกเข้าด้วยกัน และผลบวกจะเขียนไว้ที่ใต้จำนวนสุดท้ายนั้น จำนวนเต็มที่เขียนต่อด้วยเศษส่วนทันที จะให้ผลหมายถึงสองจำนวนนั้นบวกกันเรียกว่า จำนวนคละ (mixed number) เช่น 3½ = 3 + ½ = 3.5 แต่สัญกรณ์เช่นนี้อาจทำให้เกิดความสับสนกับการคูณที่ไม่แสดงเครื่องหมาย (juxtaposition) ที่มีใช้ในบริบทอื่นๆ จำนวนหรือวัตถุที่จะบวกเข้าด้วยกันโดยทั่วไปเรียกว่า พจน์ (term) ตัวบวก (addend) หรือ ส่วนของผลบวก (summand) ซึ่งศัพท์คำสุดท้ายนี้นำไปใช้อธิบายผลรวมของพจน์ที่เป็นพหุคูณ ผู้แต่งตำราบางท่านเรียกตัวบวกจำนวนแรกว่า ตัวตั้งบวก (augend) เนื่องจากข้อเท็จจริงในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้แต่งตำราหลายท่านไม่นับว่าจำนวนแรกในการบวกเป็น "ตัวบวก" แต่ในทุกวันนี้คำว่า "ตัวตั้งบวก" มีการใช้น้อย และทั้งสองคำก็หมายถึงตัวบวกได้เหมือนกัน == การแปลความหมาย == การบวกใช้สำหรับจำลองกระบวนการทางกายภาพได้อย่างนับไม่ถ้วน แม้แต่กรณีที่ง่ายที่สุดของการบวกจำนวนธรรมชาติ ก็มีการแปลความหมายที่เป็นไปได้มากมาย รวมไปถึงการนำเสนอด้วยภาพ === การรวมกลุ่ม === การแปลความหมายของการบวกในระดับเบื้องต้น สามารถแสดงได้ด้วยการรวมกลุ่มวัตถุเข้าด้วยกัน นั่นคือ เมื่อวัตถุสองกลุ่มหรือมากกว่าเข้ามารวมกันเป็นกลุ่มเดียว จำนวนวัตถุในกลุ่มเดียวนั้นคือผลรวมของจำนวนวัตถุของแต่ละกลุ่มในตอนแรก การแปลความหมายเช่นนี้สามารถแสดงให้เห็นได้ด้วยภาพ ซึ่งอาจจะมีความกำกวมบ้างเล็กน้อย ความหมายนี้มีประโยชน์ต่อคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป โดยเฉพาะการนิยามเป็นต้น อย่างไรก็ตามการอธิบายด้วยการรวมกลุ่มอาจให้ความหมายไม่ชัดเจน เมื่อขยายการบวกออกไปบนเศษส่วนหรือจำนวนลบเป็นอาทิ หนทางหนึ่งที่เป็นไปได้ คือการพิจารณาว่ากลุ่มของวัตถุเหล่านั้นสามารถตัดแบ่งได้โดยง่าย เหมือนกับขนมพายหรือท่อนไม้ มากกว่าเพียงแค่การรวมกลุ่มของวัตถุเข้าด้วยกัน เราสามารถนำปลายของท่อนไม้มาต่อกัน เพื่อแสดงอีกแนวความคิดหนึ่งของการบวก นั่นคือการบวกไม่ได้นับที่จำนวนท่อนไม้ แต่หมายถึงความยาวรวมของท่อนไม้ === การขยายความยาว === การแปลความหมายอย่างที่สองของการบวก มาจากการต่อความยาวขนาดเริ่มต้น ด้วยความยาวอีกขนาดหนึ่ง นั่นคือ เมื่อความยาวตั้งต้นถูกขยายโดยปริมาณที่ให้มา ความยาวสุดท้ายคือผลรวมของความยาวตั้งต้นกับความยาวของส่วนที่ขยายออกไป ผลบวกของ a + b สามารถแปลผลได้ในฐานะของการดำเนินการทวิภาค (ในความคิดทางพีชคณิต) ว่าเป็นการประสานกันระหว่าง a กับ b หรือหมายถึงการเพิ่มจาก a ไปเป็นจำนวน b สำหรับภายใต้การแปลความหมายอย่างหลัง ส่วนต่างๆ ของผลบวก a + b จึงมีบทบาทโดยไม่สมมาตร อาจมองได้ว่าเป็นการดำเนินการเอกภาค "+b" บน a และกรณีเช่นนี้จะถือว่า a เป็นตัวตั้งบวก แทนที่จะเป็นตัวบวกทั้งคู่ การมองให้เป็นการดำเนินการเอกภาคมีประโยชน์สำหรับอธิบายการลบ เพราะว่าการบวกแบบเอกภาคเป็นตัวผกผัน (inverse) ของการลบแบบเอกภาค และในทางกลับกันด้วย887 == สมบัติ == === การสลับที่ === การบวกมีสมบัติการสลับที่ หมายความว่าเราสามารถสลับเปลี่ยนจำนวนที่อยู่ข้างซ้ายและขวาของเครื่องหมายบวกได้ โดยผลลัพธ์ยังคงเดิม สมมติให้ a และ b เป็นจำนวนสองจำนวนใดๆ แล้ว : a + b = b + a ข้อเท็จจริงว่าการบวกสามารถสลับที่ได้ รู้จักกันว่าเป็น "กฎการสลับที่ของการบวก" วลีนี้ได้ชี้นำว่า ยังมีกฎการสลับที่อื่น ๆ อีก ตัวอย่างเช่น กฎการสลับที่ของการคูณเป็นต้น อย่างไรก็ตามการดำเนินการทวิภาคหลายชนิดก็ไม่มีสมบัติการสลับที่ อาทิการลบ และการหาร จึงนำไปสู่ความเข้าใจผิดเมื่อกล่าวถึงกฎการสลับที่โดยไม่ระบุให้ชัดเจน === การเปลี่ยนหมู่ === การบวกมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ หมายความว่าเมื่อบวกจำนวนสามจำนวนขึ้นไป ลำดับของการดำเนินการจะไม่สำคัญ ตัวอย่างเช่น ควรนิยามนิพจน์ a + b + c ว่าหมายถึง (a + b) + c หรือ a + (b + c) ในเมื่อการบวกสามารถเปลี่ยนหมู่ได้ ดังนั้นตัวเลือกทั้งสองจึงไม่สำคัญ สำหรับจำนวนสามจำนวนใด ๆ a, b, c เป็นจริงว่า (a + b) + c = a + (b + c) ตัวอย่างเช่น (1 + 2) + 3 = 3 + 3 = 6 = 1 + 5 = 1 + (2 + 3) เมื่อใช้การบวกร่วมกับการดำเนินการอื่น ๆ ลำดับของการดำเนินการจะเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับลำดับมาตรฐานของการดำเนินการ การบวกจะสำคัญน้อยกว่าการยกกำลัง รากที่ n การคูณ และการหาร แต่สำคัญเท่ากับการลบ === สมาชิกเอกลักษณ์ === เมื่อบวกศูนย์เข้ากับจำนวนใด ๆ ปริมาณที่ได้จะไม่เปลี่ยนแปลง ศูนย์เป็นสมาชิกเอกลักษณ์ของการบวก หรือเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์การบวก สำหรับค่า a ใดๆ จะได้ว่า : a + 0 = 0 + a = a กฎนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในตำรา พรัหมสผุฏะ สิทธานตะ (Brahmasphuta-siddhanta) เขียนโดยพรัหมคุปตะ (Brahmagupta) เมื่อ ค.ศ. 628 ถึงแม้ว่าเขาจะเขียนกฎนี้แยกออกมาเป็นสามข้อ ขึ้นอยู่กับ a ว่าเป็นจำนวนลบ จำนวนบวก หรือเป็นศูนย์ และเขาใช้ถ้อยคำอธิบายแทนการใช้สัญลักษณ์ ในเวลาต่อมา มหวิระ นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียได้เรียบเรียงแนวความคิดนั้นเสียใหม่เมื่อประมาณ ค.ศ. 830 โดยเขียนไว้ว่า "ศูนย์จะทำให้ตัวอะไรก็ตามที่บวกเข้ามามีค่าเช่นเดิม" เทียบเท่าได้กับการดำเนินการเอกภาค 0 + a = a ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ภาสกระที่ 2 ก็ได้เขียนเอาไว้ว่า "ในการบวกด้วยตัวศูนย์ หรือการลบ ปริมาณทั้งจำนวนบวกและจำนวนลบจะคงค่าเดิม" เทียบเท่าได้กับการดำเนินการเอกภาค a + 0 = a === ตัวตามหลัง === เมื่อกล่าวถึงจำนวนเต็ม การบวกด้วยหนึ่งยังมีบทบาทพิเศษ กล่าวคือ สำหรับจำนวนเต็ม a ใด ๆ แล้ว จำนวนเต็ม (a + 1) เป็นจำนวนเต็มที่น้อยที่สุดที่มากกว่า a เรียกว่าเป็นตัวตามหลังของ a ตัวอย่างเช่น 3 เป็นตัวตามหลังของ 2 และ 7 คือตัวตามหลังของ 6 เนื่องด้วยตัวตามหลังนี้ ค่าของ a + b ใด ๆ สามารถมองว่าเป็นตัวตามหลังลำดับที่ b ของ a ทำให้การบวกกลายเป็นการตามหลังแบบวนซ้ำ ตัวอย่างเช่น 6 + 2 คือ 8 เพราะ 8 เป็นตัวตามหลังของ 7 ซึ่งก็เป็นตัวตามหลังของ 6 อีกทีหนึ่ง ทำให้ 8 เป็นตัวตามหลังลำดับที่ 2 ของ 6 === หน่วย === ในการบวกปริมาณทางกายภาพซึ่งมีหน่วยวัดกำกับอยู่ ปริมาณเหล่านั้นจะต้องอยู่ในหน่วยเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ระยะความยาว 5 ฟุต หากถูกขยายออกไปอีก 2 นิ้ว ผลบวกของความยาวคือ 62 นิ้ว เนื่องจากความยาว 60 นิ้วมีความหมายเหมือนกับความยาว 5 ฟุต ในอีกทางหนึ่ง หน่วยที่ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ก็จะไม่สามารถรวมกันได้ เช่นการบวกระยะทาง 3 เมตรกับพื้นที่ 4 ตารางเมตร การบวกเช่นนี้จะไร้ความหมาย การพิจารณาดังกล่าวนี้เป็นรากฐานของการวิเคราะห์เชิงมิติ (dimensional analysis) == ผลบวกของลำดับ == ถ้าพจน์แต่ละพจน์ของผลบวกไม่ได้เขียนออกมาทั้งหมด เราอาจจะใช้เครื่องหมายจุดไข่ปลาแทนพจน์ที่หายไป เช่นเดียวกับการดำเนินการอื่น ๆ (เช่น การคูณ) เช่น ผลรวมของจำนวนธรรมชาติ ตั้งแต่ 1-100 อาจเขียน 1 + 2 \cdot \cdots \cdot 99 + 100 นอกจากนี้แล้ว ผลบวกหรือผลรวมยังสามารถเขียนได้ด้วยเครื่องหมายผลรวม ซึ่งมาจากอักษรกรีกซิกมาตัวใหญ่ Σ ซึ่งนิยามการใช้ไว้ว่า :\sum_{i=m}^n x_i = x_m + x_{m+1} + x_{m+2} + \cdots + x_{n-1} + x_n ตัวอย่างเช่น :\sum_{k=2}^6 k^2 = 2^2+3^2+4^2+5^2+6^2 = 90 ถึงแม้ว่าชื่อของตัวแปรดัชนีจะไม่มีความสำคัญ เรามักจะใช้อักษรละตินช่วงกลาง (i ไปถึง q) เพื่อใช้แสดงจำนวนเต็มถ้าหากเกิดความสับสนขึ้น บางครั้งเราอาจพบการเขียนแบบไม่เป็นทางการ โดยการตัดดัชนีและขอบเขตของผลรวมออกไป เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้วในบริบท เช่น :\sum x_i^2 จะมีความหมายเทียบเท่ากับ \sum_{i=1}^n x_i^2 หรืออาจพบรูปแบบการใส่เงื่อนไขทางตรรกะลงไปแทน ซึ่งผลรวมนั้นตั้งใจที่จะบวกค่าที่ตรงตามเงื่อนไขเข้าด้วยกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น :\sum_{0 \le k คือผลรวมของ f (k) บนทุกจำนวนเต็ม k ที่อยู่ในช่วงดังกล่าว :\sum_{x \in S} f (x) คือผลรวมของ f (x) บนทุกสมาชิก x ในเซต S และ :\sum_{d|n}\;\mu (d) คือผลรวมของ μ (d) บนทุกจำนวนเต็ม d ที่หาร n ได้ลงตัว เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีอีกทางหนึ่งเพื่อนำเสนอแทนการใช้สัญลักษณ์ผลรวมจำนวนมาก เราอาจยุบเข้าด้วยกันได้ เช่น :\sum_{\ell,\ell'} จะมีความหมายเหมือนกับ \sum_\ell\sum_{\ell'} == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == การนับ ผลรวม เครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบ เครื่องหมายเท่ากับ เลขคณิตมอดุลาร์ == แหล่งข้อมูลอื่น == การบวก เลขคณิตมูลฐาน การดำเนินการทวิภาค สัญกรณ์คณิตศาสตร์
thaiwikipedia
876
ค่าสัมบูรณ์
ในคณิตศาสตร์ ค่าสัมบูรณ์ หรือ มอดุลัส (absolute value หรือ modulus)ของจำนวนจริง x ใด ๆ คือ ผลต่างระหว่างจำนวนนั้นกับ 0 หรืออีกนัยหนึ่ง ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนใด ๆ ได้จากการตัดเครื่องหมายลบทิ้ง ตัวอย่างเช่น ค่าสัมบูรณ์ของ 3 คือ 3 และค่าสัมบูรณ์ของ −3 ก็คือ 3 เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการขยายนัยทั่วไปของค่าสัมบูรณ์ไปสู่ค่าสมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน จำนวนควอเตอร์เนียน ริงเรียงอันดับ ฟีลด์ ปริภูมิเวกเตอร์ และนำไปสู่นอร์มเหนือปริภูมิเวกเตอร์ == นิยามบนจำนวนจริง == สำหรับจำนวนจริง a ใดๆ , ค่าสัมบูรณ์ของ a เขียนแทนด้วย |a| เท่ากับ a ถ้า a ≥ 0 และเท่ากับ −a ถ้า a a, b, c ใด ๆ {| |- | style="width: 250px" ||a| \ge 0 | ความไม่เป็นลบ (Non-negativity) |- ||a| = 0 \iff a = 0 |สมบัติความเป็นบวกแน่นอน (Positive-definiteness) |- ||ab| = \left|a\right| \left|b\right| |สมบัติแยกคูณ (Multiplicativity) |- ||a+b| \le |a| + |b| | สมบัติ Subadditivity หรือเรียกว่าอสมการอิงรูปสามเหลี่ยม |} สมบัติข้างต้นเป็นสมบัติพื้นฐานที่ใช้ในการนิยามค่าสัมบูรณ์ในกรณีทั่วไป สมบัติด้านล่างเป็นผลจากสมบัติข้างต้นทั้งสี่ข้อ {| |- | style="width:250px" |\bigl| \left|a\right| \bigr| = |a| |สมบัตินิจพล (Idempotence) |- | style="width:250px" |\left|-a\right| = |a| |ความสมมาตรผ่านการสะท้อน หรือ ความเป็นฟังก์ชันคู่ |- ||a - b| \le |a - c| + |c - b| |อสมการอิงรูปสามเหลี่ยม |- |\left|\frac{a}{b}\right| = \frac{|a|}{|b|}\ (เมื่อ b \ne 0) |สมบัติการแยกหาร |- ||a-b| \geq \bigl| \left|a\right| - \left|b\right| \bigr| |อสมการอิงรูปสามเหลี่ยมย้อนกลับ |} สมบัติที่สำคัญอีกสองข้อของค่าสัมบูรณ์มีดังนี้ |a| \le b \iff -b \le a \le b |a| \ge b \iff a \le -b\ or a \ge b ซึ่งใช้ในการแก้อสมการที่เกี่ยวข้องกับค่าสัมบูรณ์ อาทิ {| |- ||x-3| \le 9 |\iff -9 \le x-3 \le 9 |- | |\iff -6 \le x \le 12 |} == ค่าสัมบูรณ์บนจำนวนเชิงซ้อน == สำหรับจำนวนเชิงซ้อน z = x + yi ใด ๆ เมื่อ x, y\in\R เป็นจำนวนจริง จะนิยามค่าสัมบูรณ์หรือมอดุลัสของ z ได้ดังนี้ |z| = \sqrt{[\operatorname{Re}(z)]^2 + [\operatorname{Im}(z)]^2}=\sqrt{x^2 + y^2} เมื่อ Re(z) แทนส่วนจริง และ Im(z) แทนส่วนจินตภาพของจำนวนเชิงซ้อน z ระบบเลข ฟังก์ชันพิเศษมูลฐาน
thaiwikipedia
877
การลบ
การลบ (subtraction) ในคณิตศาสตร์เป็นหนึ่งในสี่การดำเนินการพื้นฐานของเลขคณิต มักเขียนแทนด้วยการเติมเครื่องหมายลบ ชื่อของแต่ละพจน์ของการลบ c − b = a คือ ผลลบ (a), ตัวตั้งลบ (c), ตัวลบ (b) == เครื่องหมาย == การลบมักจะเขียนโดยใช้เครื่องหมายลบ "−" ระหว่างเทอม คำตอบจะอยู่หลังเครื่องหมายเท่ากับ เช่น 2 - 1 = 1 (อ่านว่า "สองลบหนึ่งเท่ากับหนึ่ง") 4 - 2 = 2 (อ่านว่า "สี่ลบสองเท่าหับสอง") 6 - 3 = 3 (อ่านว่า "หกลบสามเท่ากับสาม") 4 - 6 = -2 (อ่านว่า "สี่ลบหกเท่ากับลบสอง") == การลบพื้นฐาน == นึกภาพเส้นตรงที่มีความยาว b ที่เขียนบนพื้น ซึ่งปลายด้านซ้ายเขียนว่า a และปลายด้านขวาเขียนว่า c เริ่มต้นที่ตำแหน่ง a ถ้าคุณเดินไปทางขวา b ก้าว คุณจะไปอยู่ตำแหน่งที่ c การเคลื่อนที่ไปทางขวานี้เรียกว่า การบวก สามารถเขียนได้ว่า a + b = c จากตำแหน่ง c ถ้าคุณเดินไปทางซ้าย b ก้าว คุณจะไปอยู่ตำแหน่งที่ a การเคลื่อนที่ไปทางซ้ายนี้เรียกว่า การลบ สามารถเขียนได้ว่า c − b = a ตอนนี้ นึกภาพเส้นตรงที่เขียนเลข 1, 2 และ 3 จากตำแหน่ง 3 ถ้าคุณไม่เดินเลยสักก้าว คุณจะอยู่ตำแหน่งที่ 3 เหมือนเดิม ดังนั้น 3 − 0 = 3 จากตำแหน่ง 3 ถ้าเดินไปทางซ้ายแค่ 1 คุณจะไปอยู่ตำแหน่งที่ 2 ดังนั้น 3 − 1 = 2 จากตำแหน่ง 3 ถ้าคุณเดินไปทางซ้าย 2 คุณจะไปอยู่ตำแหน่งที่ 1 ดังนั้น 3 − 2 = 1 จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณเดินไปทางซ้าย 3 ก้าวจากตำแหน่งที่ 3? สำหรับตัวอย่างนี้ คุณจะเดินออกนอกเส้นซึ่งทำไม่ได้ ดังนั้น ถ้าการดำเนินการนี้จะใช้ได้ เส้นจะต้องขยายออกไปกว่านี้ สำหรับการลบของจำนวนธรรมชาติ เส้นจะมีจำนวนธรรมชาติทุกๆจำนวน (0, 1, 2, 3, 4, ...) อยู่บนเส้น ใช้เส้นจำนวนธรรมชาติ จากตำแหน่งที่ 3 ถ้าคุณเดินไปทางซ้าย 3 ก้าว คุณจะไปถึงตำแหน่งที่ 0 ดังนั้น 3 − 3 = 0 แต่สำหรับจำนวนธรรมชาติ 3 − 4 จะใช้ไม่ได้ตั้งแต่ที่มันเริ่มเดินออกจากเส้น ดังนั้น ถ้าการดำเนินการนี้จะใช้ได้ เส้นจะต้องขยายออกไปกว่านี้ ใช้เส้นจำนวนเต็ม (…, −3, −2, −1, 0, 1, 2, 3, …) จากตำแหน่งที่ 3 ถ้าคุณเดินไปทางซ้าย 4 ก้าว คุณจะไปอยู่ที่ตำแหน่งที่ −1 ดังนั้น 3 − 4 = −1 == แหล่งข้อมูลอื่น == One Digit Subtraction Two-Digit Subtraction Four Digit Subtraction เลขคณิตมูลฐาน การดำเนินการทวิภาค
thaiwikipedia
878
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell - 3 มีนาคม ค.ศ. 1847 - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1922) เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เบลล์ เทเลโฟน (Bell Telephone company) สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างมากของเบลล์และเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างมาก ได้แก่ โทรศัพท์ ซึ่งได้คิดค้นอย่างอิสระได้พร้อมๆ กับ เอลิชา เกรย์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน นอกจากนี้ เบลล์ยังเป็นผู้มีความสำคัญอย่างมากในงานวิจัยทางด้านอากาศยาน และ ไฮโดรฟอยล์ == ประวัติ == อเล็กซานเดอร์ แกรห์ม เบลล์ เกิดที่เมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ ครอบครัวของเบลล์ มีความเกี่ยวพันกับทางด้านภาษาศาสตร์ว่าด้วยการออกเสียง (Elocution) โดยปู่ ลุง และพ่อของเบลล์ ล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา ภายหลังต่อมาได้มีการเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิดาของเบลล์ (อเล็กซานเดอร์ เมลวิลล์ เบลล์) ได้ผลิตงานวิจัยสำคัญได้แก่ การประดิษฐ์ระบบการออกเสียง Visible Speech โดยเป็นการศึกษาและออกแบบระบบแสดงวิธีการออกเสียงพูดของมนุษย์ โดยใช้สัญลักษณ์ในการแทนการเคลื่อนไหว ปาก ลิ้นและลำคอ เป็นงานวิจัยซึ่งมีส่วนอย่างมากในการช่วยการพูดสำหรับบุคคลหูหนวก และต่อมาในภายหลัง เบลล์ได้นำมาปรับปรุงเพื่อช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถอ่านริมฝีปากของผู้พูดเพื่อทำความเข้าใจกับคำพูด แกรห์ม เบลล์ได้รับการศึกษาที่โรงเรียน Royal High School เมืองเอดินบะระ หลังจากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งที่ Weston House Acedamy ในตำแหน่งผู้ช่วยสอนในสาขาการออกเสียงและดนตรี ที่เอลกิน ในมอเรย์ไชน์ หลังจากนั้น เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเอดินบะระ จากนั้นในปี ค.ศ. 1866 ถึงปี ค.ศ. 1867 หรือปี พ.ศ. 2409ถึงปี พ.ศ. 2410 ได้เข้าเป็นผู้บรรยายที่มหาวิทยาลัย Somersetshire เมืองบาร์ทประเทศอังกฤษ ระหว่างที่ยังอยู่ที่สกอตแลนด์ได้เบนความสนใจไปยังส่วนของงาน Acoustic เพื่อมีส่วนช่วยในความหูหนวกของมารดา ในปี 1870 เขาได้ติดตามครอบครัวไปยังแคนาดา โดยพำนักที่เมือง Brentford, Ontargio โดยก่อนย้ายออกจาก Scottland เบลล์ได้เริ่มให้ความสนใจกับโทรศัพท์ และในแคนนาดา ได้ให้ความสนใจกับอุปกรณ์การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนาเปียโน ซึ่งสามารถส่งเสียงดนตรี ผ่านสัญญาณไฟฟ้าได้สำเร็จ และปี 1882 เขาโอนสัญชาติเป็นอเมริกัน == การประกาศสิทธิบัตรโทรศัพท์ == เบลล์ได้จดสิทธิบัตรโทรศัพท์เป็นสิทธิของตนในสหรัฐอเมริกา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1876 และเป็นเหตุอันน่าบังเอิญเหลือเกินที่ได้มีการจดสิทธิบัตร โดย เอลิช่า เกรย์ (Elisha Gray) ในวันเดียวกัน โดยเป็นการจดสิทธิบัตรภายหลังจากเบลล์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เครื่องส่งสัญญาณของเกรย์ถูกออกแบบโดยใช้อุปกรณ์แบบเก่า ซึ่งถูกเรียกว่า lovers telephone โดยมีวงจรสองวงจรถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน == เครื่องตรวจจับโลหะ == เบลได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องตรวจจับโลหะในปี 1881 อุปกรณ์ชนิดนี้ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างรีบร้อนเพื่อใช้ในการค้นหาปลอกกระสุนในร่างของประธานาธิบดี เจมส์ กาลฟิลด์ อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถทำงานได้ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถค้นพบปลอกกระสุนได้ก็ตาม == การทดลองอากาศยาน == เบลล์ได้ให้ความสนใจทางด้านอากาศยานและเป็นผู้สนับสนุนในงานวิจัยทางด้านนี้ ผ่านทางสมาคม Aerial Experiment โดยเป็นสมาคมซึ่งจัดตั้งที่ Baddeck, Nova Scotia เมื่อเดือนตุลาคม 1907 จากการแนะนำของนาง มาเบล เบลล์ ผู้เป็นภรรยาของเบลล์เอง รวมถึงการสนับสนุนทางด้านการเงิน โดยการนำของตัวเบลล์เอง ร่วมกับสมาชิก 4 คน ได้แก่ American Glenn H. Curtiss เจ้าของบริษัทผลิตมอเตอร์ไซค์ ซึ่งภายหลังได้รับรางวัล Scientific American Trophy จากรางวัลการบินมากกว่า 1 กิโลเมตรครั้งแรก และภายหลังเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน F.W. (Casey) Baldwin , J.A.D. McCurdy; and Lieutenant Thomas Selfridge ผู้สังเกตการณ์จากรัฐบาล ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประดิษฐ์ aileron หรืออุปกรณ์หลักส่วนหนึ่งของเครื่องบินในปัจจุบัน == หน่วยวัดเสียงเบลและเดซิเบล == เบล เป็นหน่วยวัดซึ่งใช้ชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่อเล็กซานเดอร์ แกรห์ม เบลล์ โดยหน่วยวัดนี้ใช้ในการวัดความดังของความเข้มเสียง หรือ ระดับพลังงานของเสียง โดย เดซิเบล เป็นหน่วยวัดซึ่งเทียบระดับพลังงานของเสียงในระดับของกำลังกับเสียงเบาที่สุดที่มนุษย์ได้ยิน == อ้างอิง == บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2390 ประวัติศาสตร์ของโทรคมนาคม นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ชาวอเมริกันเชื้อสายสกอตแลนด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ บุคคลจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ บุคคลจากเอดินบะระ
thaiwikipedia
879
แฮร์รี่ พอตเตอร์
แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter) เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษชื่อว่า เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนของโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตเป็นอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ หนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1997 และนับตั้งแต่นั้น หนังสือก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทั้งได้รับการยกย่องอย่างสำคัญและประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก อย่างไรก็ดี ชุดนวนิยายดังกล่าวก็มีข้อวิจารณ์บ้าง รวมถึงความกังวลถึงโทนเรื่องที่มืดมนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 ชุดหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ทำยอดขายไปมากกว่า 500 ล้านเล่มทั่วโลก ซึ่งเป็นชุดหนังสือที่มียอดขายมากที่สุดตลอดกาล และมีการแปลไปเป็นภาษาต่าง ๆ รวม 80 ภาษา หนังสือสี่เล่มสุดท้ายของชุดยังได้สร้างสถิติเป็นหนังสือที่จำหน่ายออกหมดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยหนังสือเล่มสุดท้ายของชุดมียอดขายกว่า 11 ล้านเล่มในสหรัฐและสหราชอาณาจักรภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงแรกที่วางขาย ชุดนวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์สามารถจัดเป็นวรรณกรรมได้หลายประเภท (genre) รวมทั้งแฟนตาซีและการเปลี่ยนผ่านของวัย (coming of age) โดยมีองค์ประกอบของวรรณกรรมประเภทลึกลับ ตื่นเต้นสยองขวัญ ผจญภัย และโรแมนซ์ และมีความหมายและการสื่อถึงวัฒนธรรมหลายอย่าง ตามข้อมูลของโรว์ลิง แก่นเรื่องหลักของเรื่อง คือ ความตาย แม้โดยพื้นฐานแล้วหนังสือชุดนี้ถูกมองว่าเป็นผลงานวรรณกรรมเด็ก นอกจากนี้ยังมีแก่นเรื่องอื่นอีกมากมายในชุด เช่น ความรักและอคติ หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์สจำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอนเพราะเนื้อเรื่องที่ยืดยาว ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในลำดับที่ 3 นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบคู่กันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ชื่อยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 เนื้อหาที่ไม่ได้เปิดเผยในหนังสือได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน "พอตเตอร์มอร์" โดยได้มีการต่อยอดความสำเร็จของแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปในหลายรูปแบบ อาทิเช่น สวนสนุกโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์, สตูดิโอทัวร์ในลอนดอน, นิทรรศการเคลื่อนที่, ภาพยนตร์ภาคแยกซึ่งดัดแปลงมาจากเนื้อหาของหนังสือสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ และภายหลังได้มีการดัดแปลงแฮร์รี่ พอตเตอร์สู่รูปแบบละครเวที ใช้ชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป เปิดการแสดงในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์ เมืองลอนดอน โดยบทละครเวทียังได้รับการพิมพ์จำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ลิตเติ้ลบราวน์ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์เดียวกันที่ตีพิมพ์นิยายผู้ใหญ่ของโรว์ลิ่งภายใต้ชื่อ โรเบิร์ต กัลเบรธอีกด้วย == จักรวาลของเรื่อง == ดูบทความหลักที่: จักรวาลของแฮร์รี่ พอตเตอร์ โลกใน แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้น เป็นโลกของพวกพ่อมดและแม่มดที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับโลกของมักเกิล หรือมนุษย์ผู้ไร้เวทมนตร์ ในลักษณะโลกคู่ขนาน โดยโลกเวทมนตร์นั้นไม่ได้ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศ แต่จะแทรกซึมอยู่ในโลกของมักเกิลในรูปแบบทับซ้อนกัน มักเกิลจะไม่สามารถเข้าสู่หรือมองเห็นโลกใบดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากโลกเวทมนตร์นั้นมีการร่ายคาถาปิดกั้นจากพวกมักเกิลเอาไว้ โดยเหล่าพ่อมดและแม่มดจะใช้ชีวิตในโลกเวทมนตร์เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถเดินทางไปมาระหว่างโลกทั้งสองได้ผ่านการหายตัวหรือการใช้วัตถุและของวิเศษต่าง ๆ อาทิ กุญแจนำทาง ผงฟลู ไม้กวาด และรวมไปถึงการเดินทะลุผ่านกำแพงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เหล่ามักเกิลก็สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติหรือเวทมนตร์ต่าง ๆ ที่ผู้วิเศษร่ายขึ้นมาได้เช่นกัน ซึ่งหากการร่ายเวทมนตร์ต่อหน้ามักเกิลนั้นเป็นไปอย่างโจ่งแจ้ง เจ้าหน้าที่จากกระทรวงเวทมนตร์ก็จะคอยทำหน้าที่ลบความทรงจำดังกล่าวจากมักเกิ้ลทิ้งไปตามบทบัญญัติการปกปิดความลับนานาชาติของผู้วิเศษ สังคมของผู้วิเศษนั้นมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การศึกษา การเมือง กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรม และแนวคิด เหล่าผู้เศษจะได้รับการถ่ายทอดพลังเวทมนตร์ผ่านทางสายเลือดนับตั้งแต่เกิด ผ่านการมีพ่อ แม่ หรือบรรพบุรุษคนใดคนหนึ่งที่มีพลังเวทมนตร์ อย่างไรก็ตาม ผู้วิเศษบางคนอาจไม่ได้รับการส่งทอดพลังหรือไม่สามารถควบคุมเวทมนตร์ได้อย่างคนทั่วไปเช่นกัน เหล่าผู้วิเศษจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นโดยกระทรวงเวทมนตร์ซึ่งมีทั้งข้อกำหนดและบทลงโทษในรูปแบบของตัวเอง เมื่อพ่อมดและแม่มดเติบโตจนถึงเกณฑ์ที่กำหนด พวกเขาจะได้รับการศึกษาผ่านโรงเรียนเวทมนตร์ และจะยังไม่สามารถใช้เวทมนตร์ต่อหน้ามักเกิลได้หากอายุยังไม่ถึง 17 ปี เมื่อผู้วิเศษจบการศึกษาไปแล้วก็สามารถเลือกดำเนินชีวิตได้ตามเส้นทางที่ตนต้องการ แต่จะยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่เช่นเดิม นอกจากนี้ โลกเวทมนตร์ยังมีสิ่งมีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย การละเล่น และอาหารการกิน อย่างไรก็ตาม แม้สังคมผู้วิเศษในแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นจะเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย แต่ก็ยังเป็นสังคมที่มีการแบ่งแยกทางชนชั้นกันอยู่อย่างตึงเครียด เหล่าสิ่งชีวิตที่ทรงปัญญาอย่างก็อบลิน เอลฟ์ประจำบ้าน หรือเซนทอร์ ยังคงถูกรังเกียจและกดทับโดยเหล่าผู้วิเศษที่มักคิดว่าตนคือชนชั้นนำของสังคม นอกจากนี้ เหล่าผู้วิเศษที่เรียกตัวเองว่า ผู้วิเศษสายเลือดบริสุทธิ์ (ผู้วิเศษที่ไม่มีสายเลือดของมักเกิลผสมอยู่) ก็มักจะมีแนวคิดในการรักษาสายเลือดบริสุทธิ์ของตน และยังคงรังเกียจมักเกิ้ลอย่างถึงที่สุด ชนชั้นและความเกลียดชังนี้จึงได้นำไปสู่การเรืองอำนาจของพ่อมดศาสตร์มืดอย่าง ลอร์ดโวลเดอมอร์ ที่หวังจะเปลี่ยนแปลงโลกเวทมนตร์ให้เป็นโลกสำหรับเหล่าผู้วิเศษเป็นใหญ่เหนือมักเกิลและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง === ลำดับเวลา === เหตุการณ์ต่าง ๆ ในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ไม่มีการระบุถึงปีตามปฏิทินจริงมากนัก อย่างไรก็ตามมีการอ้างอิงถึงปีจริงบางส่วนในเนื้อเรื่อง ซึ่งทำให้สามารถวางเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ตามปีปฏิทินจริงได้ ซึ่งต่อมาข้อมูลได้รับการยืนยันจากการยอมรับของผู้แต่ง ลำดับเวลาซึ่งนำเสนอในดีวีดีภาพยนตร์ และแผนผังตระกูลแบล็กซึ่งผู้แต่งได้นำออกประมูลการกุศล ลำดับเวลาที่ยอมรับกันทั่วไปคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดในปี ค.ศ. 1980 และเรื่องราวในหนังสือเล่มแรกเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1991 โดยเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ทราบลำดับเวลาของนิยายได้ก็คือเหตุการณ์ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ บทที่ 8 ซึ่งเรื่องราวหนังสือเล่มที่สองเกิดขึ้นในเวลาหนึ่งปีให้หลังหนังสือเล่มแรก โดยในบทนี้แฮร์รี่ได้เข้าร่วมงานเลี้ยงครบรอบวันตายปีที่ 500 ของตัวละครนิกหัวเกือบขาด และมีการระบุปีบนเค้กวันตายว่า "ตายวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1492" == โครงเรื่อง == นวนิยายเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวแฮร์รี่ พอตเตอร์ เด็กกำพร้าผู้พบว่าตนเองเป็นพ่อมดเมื่ออายุได้สิบเอ็ดปี อาศัยอยู่ในโลกแห่งผู้ไม่มีอำนาจวิเศษหรือมักเกิล ซึ่งถือเป็นประชากรปกติ ความสามารถของเขานั้นมีมาโดยกำเนิดและเด็กจำพวกนี้จึงได้รับเชิญให้เข้าศึกษาในโรงเรียนซึ่งสอนทักษะที่จำเป็นแก่การประสบความสำเร็จในโลกพ่อมด แฮร์รี่กลายมาเป็นนักเรียนที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ และเรื่องราวส่วนใหญ่ในนวนิยายเกิดขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ เมื่อแฮร์รี่เติบโตขึ้นผ่านช่วงวัยรุ่น เขาเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามปัญหาที่เผชิญกับเขา ทั้งทางเวทมนตร์ สังคมและอารมณ์ รวมทั้งความท้าทายอย่างวัยรุ่นทั่วไป เช่น มิตรภาพและการสอบ ตลอดจนบททดสอบอันยิ่งใหญ่กว่าที่เตรียมพร้อมเขาสำหรับการเผชิญหน้าที่คอยอยู่เบื้องหน้า หนังสือแต่ละเล่มบันทึกเหตุการณ์หนึ่งปีในชีวิตของแฮร์รี่ โดยเนื้อเรื่องหลักเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1991-98 หนังสือยังมีการเล่าย้อนไปในอดีตหลายครั้ง ซึ่งมักอธิบายโดยตัวละครมองความทรงจำในอุปกรณ์ที่เรียกว่า เพนซิฟ เพนซิฟเป็นอ่างทรงกว้างก้นตื้นทำจากโลหะหรือหิน ตกแต่งหรือเลี่ยมด้วยหินมีค่า เต็มเปี่ยมไปด้วยความทรงพลังและความน่าหลงใหลอันซับซ้อน เพนซิฟเป็นของหายากเพราะมีเพียงพ่อมดชั้นสูงที่ใช้มัน และเพราะพ่อมดส่วนใหญ่กลัวที่จะทำเช่นนั้น จักรวาลโลกเวทมนตร์ที่เจ. เค. โรว์ลิงสร้างขึ้นนั้นจะสามารถแบ่งออกเป็นโลกของผู้วิเศษและมักเกิล โลกทั้งสองใบมีการแยกออกจากกันอย่างชัดเจนด้วยกฎหมายปกปิดการมีตัวตนของผู้วิเศษอันเป็นกฎหมายที่เห็นพ้องต้องกันจากผู้นำทั้งสองฝั่ง กฎหมายนี้ได้ทำให้มีมักเกิลเพียงบางส่วนเท่านั้นที่รับรู้ถึงการมีอยู่ของผู้วิเศษและได้รับอนุญาตให้เข้าออกโลกเวทมนตร์ได้ ต่างจากผู้วิเศษทุกคนที่ล้วนรับรู้ถึงการมีอยู่ของมักเกิล ถึงกระนั้น ประชากรจากโลกเวทมนตร์แทบทั้งหมดก็ยังจำเป็นต้องอยู่ร่วมหรือปะปนไปกับเหล่ามักเกิลในบางเวลาอยู่ดี ทำให้โลกทั้งสองใบยังคงเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดและเลี่ยงไม่ได้ มีเพียงสถานที่บางแห่งในโลกเวทมนตร์เท่านั้นที่ถูกปกปิดและซ่อนตัวจากมักเกิลโดยแทบจะสมบูรณ์ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ก็อาจกระจายตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในโลกมักเกิล อาทิ ในผับเก่าแก่ที่ถูกมองข้าม คฤหาสน์ชนบทที่โดดเดี่ยว หรือปราสาทที่ตัดขาดจากโลกภายนอกด้วยเวทมนตร์ซึ่งประชากรมักเกิลไม่อาจมองเห็นได้ อาจสรุปได้ว่าโลกเวทมนตร์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นจะมีความร่วมสมัยคล้ายคลึงกับชีวิตประจำวันของผู้อ่าน สถาบันและสถานที่หลายแห่งนั้นก็มีอยู่จริง เช่น กรุงลอนดอน เพียงแต่มีเหล่าผู้วิเศษที่ซ่อนตัวและดำเนินชีวิตไปในโลกเวทมนตร์โดยที่มักเกิลแทบทั้งหมดไม่สามารถรับรู้ได้เลย === ช่วงปีแรก === เมื่อเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์เปิดฉากขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่ามีเหตุการณ์บางอย่างที่สำคัญเกิดขึ้นในโลกพ่อมด แม้แต่มักเกิลเองก็ยังสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่างได้ เบื้องหลังทั้งหมดของเรื่องและบุคลิกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ค่อย ๆ เปิดเผยออกมาตลอดทั้งเรื่อง ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ โดยแฮร์รี่ได้ค้นพบว่า เมื่อครั้งเป็นเด็ก เขาได้เป็นพยานการฆาตกรรมบิดามารดาของตนโดยพ่อมดมืดผู้หลงใหลในอำนาจ ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ซึ่งขณะนั้นพยายามฆ่าเขาด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ยังไม่เปิดเผยในทันที คาถาที่โวลเดอมอร์พยายามปลิดชีพแฮร์รี่สะท้อนกลับไปยังตัวเขาเอง แฮร์รี่รอดชีวิตโดยหลงเหลือแผลเป็นรูปสายฟ้าบนหน้าผากเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น และโวลเดอมอร์ได้หายสาบสูญไป ด้วยการเป็นวีรบุรุษโดยไม่ได้ตั้งใจจากการสิ้นสุดยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวของโวลเดอมอร์ แฮร์รี่ได้กลายมาเป็นตำนานมีชีวิตในโลกพ่อมด อย่างไรก็ดี ด้วยคำสั่งของพ่อมดผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียง อัลบัส ดัมเบิลดอร์ แฮร์รี่ซึ่งกำพร้าพ่อแม่ ถูกทิ้งไว้ในบ้านของญาติมักเกิลผู้ไม่น่าพิสมัยของเขา ครอบครัวเดอร์สลีย์ พวกเดอร์สลีย์ให้ความคุ้มครองเขาให้ปลอดภัยแต่ปกปิดพลังที่แท้จริงจากเขาด้วยหวังว่าเขาจะเติบโตขึ้น "อย่างปกติ" เมื่อย่างใกล้วันเกิดครบรอบปีที่สิบเอ็ดของแฮร์รี่ พ่อมดครึ่งยักษ์ รูเบอัส แฮกริด เปิดเผยประวัติของแฮร์รี่และนำเขาเข้าสู่โลกเวทมนตร์ ด้วยความช่วยเหลือของแฮกริด แฮร์รี่เตรียมตัวและเข้าเรียนในปีแรกที่ฮอกวอตส์ เมื่อแฮร์รี่เริ่มต้นสำรวจโลกเวทมนตร์นั้น เรื่องราวได้ระบุสถานที่สำคัญหลายแห่งที่ใช้ตลอดเนื้อเรื่อง แฮร์รี่พบกับตัวละครหลักส่วนใหญ่ และมีเพื่อนรักที่สุดสองคนคือ รอน วีสลีย์ สมาชิกที่รักสนุกแห่งครอบครัวพ่อมดที่ใหญ่ เก่าแก่ มีความสุขแต่ยากจน และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ แม่มดที่มีพรสวรรค์ เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่มีเวทมนตร์และจริงจังกับการเรียน แฮร์รี่ยังพบกับอาจารย์สอนวิชาปรุงยาของโรงเรียน เซเวอร์รัส สเนป ผู้แสดงความไม่ชอบอย่างลึกซึ้งมั่นคงแก่เขา โครงเรื่องสรุปเมื่อแฮร์รี่เผชิญหน้ากับลอร์ดโวลเดอมอร์ครั้งที่สอง ผู้ซึ่งกำลังตามหาความเป็นอมตะ โดยปรารถนาการได้รับอำนาจแห่งศิลาอาถรรพ์ แต่สุดท้ายก็เป็นแฮร์รี่ที่ได้รับชัยชนะและโวลเดอมอร์ก็ได้หายสาบสูญไปอีกครั้งหนึ่ง เรื่องราวดำเนินต่อด้วยแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวในปีที่สองของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ เขาและเพื่อนได้สืบสวนตำนานอายุ 50 ปีซึ่งกลายเป็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ลางร้ายล่าสุดที่โรงเรียน น้องสาวของรอน จินนี่ วีสลีย์ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ปีหนึ่งที่ฮอกวอตส์ พบสมุดบันทึกซึ่งเป็นบันทึกของโวลเดอมอร์เมื่อครั้งเป็นนักเรียน จินนี่ถูกครอบงำโดยโวลเดอมอร์ผ่านบันทึก และเปิด "ห้องแห่งความลับ" ปลดปล่อยบาซิลิสก์ สัตว์ประหลาดโบราณซึ่งเริ่มโจมตีนักเรียนที่ฮอกวอตส์ ตอนนี้เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ฮอกวอตส์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับห้องลับแห่งนี้ เป็นครั้งแรกที่แฮร์รี่ตระหนักถึงอคติด้านชาติกำเนิดว่ามีอยู่ในโลกพ่อมด และเขาเรียนรู้ว่า ยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวของโวลเดอมอร์นั้นมักมุ่งไปยังพ่อมดผู้สืบเชื้อสายจากมักเกิล เขายังพบความสามารถของตนในการพูดภาษาพาร์เซล ซึ่งเป็นภาษาของงู ที่พบได้ยากและมักเกี่ยวข้องกันกับศาสตร์มืด นิยายเล่มนี้จบลงหลังแฮร์รี่ช่วยชีวิตของจินนี่โดยการฆ่าบาซิลิสก์และทำลายสมุดบันทึกที่โวลเดอมอร์เก็บรักษาส่วนหนึ่งของวิญญาณเขาไว้ (แฮร์รี่ไม่ทราบเรื่องนี้จนกระทั่งเปิดเผยภายหลัง) แนวคิดการเก็บรักษาส่วนหนึ่งของวิญญาณไว้ในวัตถุเพื่อป้องกันความตายนั้นปรากฏครั้งแรกในนิยายเล่มที่หกในชื่อของ "ฮอร์ครักซ์" นิยายเล่มที่สาม แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ดำเนินเนื้อเรื่องในปีที่สามของแฮร์รี่ในการศึกษาเวทมนตร์ และเป็นเพียงเล่มเดียวในเรื่องที่มิได้มีโวลเดอมอร์ปรากฏ เขาต้องรับมือกับข้อมูลที่ว่าเขาตกเป็นเป้าหมายของซิเรียส แบล็ก ฆาตกรหลบหนีจากคุกอัซคาบัน ผู้เป็นพ่อทูนหัวของแฮร์รี่และถูกเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ เมื่อแฮร์รี่ได้ต่อสู้กับปฏิกิริยาต่อผู้คุมวิญญาณ สิ่งมีชีวิตชั่วร้ายที่มีความสามารถในการกลืนกินวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งกำลังคุ้มครองโรงเรียนอยู่ เขาก็ได้พบกับรีมัส ลูปิน ครูสอนวิชาการป้องกันต้องจากศาสตร์มืดคนใหม่ ซึ่งเปิดเผยภายหลังว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ลูปินสอนมาตรการป้องกันแก่แฮร์รี่ ซึ่งเหนือไปจากระดับเวทมนตร์ที่มักพบในบุคคลที่มีอายุเท่าเขา แฮร์รี่พบว่าทั้งลูปินและแบล็กเคยเป็นเพื่อนสนิทของบิดา และแบล็กนั้นบริสุทธิ์ เพราะเขาถูกใส่ร้ายโดยเพื่อนคนที่สี่ ปีเตอร์ เพ็ตดิกรูว์ ผู้ขายความลับของพ่อแม่แฮร์รี่แก่โวลเดอมอร์ ในเล่มนี้ มีการเน้นย้ำแก่นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำอีกประการหนึ่งตลอดเรื่อง คือ ทุกเล่มจะต้องมีครูสอนการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดคนใหม่เสมอและไม่มีคนใดทำงานอยู่ได้นานเกินหนึ่งปี === การหวนคืนของโวลเดอมอร์ === ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ระหว่างปีที่สี่ของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่เป็นหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันการประลองเวทไตรภาคีโดยไม่เต็มใจและนั่นเป็นการวางแผนของ บาร์ตี้ เคร้าช์ จูเนียร์ ซึ่งการประลองเวทไตรภาคีเป็นการประลองอันตรายที่แฮร์รี่จะต้องแข่งขันกับตัวแทนพ่อมดและแม่มดจากโรงเรียนเวทมนตร์อื่นๆที่มาเยือน เช่นเดียวกับเซดริก ดิกกอรี่ ตัวแทนของฮอกวอตส์อีกคนหนึ่ง แฮร์รี่ได้รับการชี้นำผ่านการประลองโดยศาสตราจารย์อลาสเตอร์ "แม้ด-อาย" มู้ดดี้ แต่ภายหลังกลับกลายเป็นว่าเป็นคนอื่นปลอมตัวมา ซึ่งก็คือบาร์ตี้ เคร้าช์ จูเนียร์ หนึ่งในผู้สนับสนุนของโวลเดอมอร์ จุดที่ปริศนาคลายปมออกนั้นเป็นจุดเปลี่ยนของเรื่อง โดยแผนการของโวลเดอมอร์คือให้เคร้าช์อาศัยการประลองในครั้งนี้เพื่อนำตัวแฮร์รี่มาให้โวลเดอมอร์สังหาร และแม้ว่าแฮร์รี่จะสามารถหลบหนีจากเขามาได้แต่เซดริก ดิกกอรี่ได้ถูกสังหารโดยโวลเดอมอร์ที่ได้กลับฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้ง ในหนังสือเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ แฮร์รี่ต้องเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ที่คืนชีพขึ้นมา และเพื่อเป็นการรับมือ ดัมเบิลดอร์ได้ให้ภาคีนกฟีนิกซ์กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ภาคีนั้นเป็นสมาคมลับที่ดำเนินงานโดยอาศัยบ้านลึกลับประจำตระกูลของซิเรียส แบล็กเป็นกองบัญชาการ เพื่อเอาชนะสมุนของโวลเดอมอร์และให้ความคุ้มครองเป้าหมายของโวลเดอมอร์ โดยเฉพาะแฮร์รี่ อย่างไรก็ตามรายละเอียดของแฮร์รี่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวล่าสุดของโวลเดอมอร์ ได้ถูกกระทรวงเวทมนตร์ปกปิดและบิดเบือนความจริง คนส่วนใหญ่ในโลกเวทมนตร์จึงปฏิเสธที่จะเชื่อว่าโวลเดอมอร์ได้หวนกลับคืนอีกครั้ง ด้วยความพยายามที่จะตอบโต้และทำลายชื่อเสียงดัมเบิลดอร์ ผู้ซึ่งอยู่เคียงข้างแฮร์รี่และถือเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญที่สุดในโลกเวทมนตร์ในการพยายามเตือนภัยถึงการกลับมาของโวลเดอมอร์ กระทรวงจึงได้แต่งตั้งโดโลเรส อัมบริดจ์ ขึ้นเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนใหญ่แห่งฮอกวอตส์ เธอได้เปลี่ยนแปลงการปกครองในโรงเรียนไปอย่างเข้มงวดและปฏิเสธที่จะอนุญาตให้นักเรียนเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากเวทมนตร์มืด แฮร์รี่ได้ก่อตั้ง "กองทัพดัมเบิลดอร์" กลุ่มเรียนลับเพื่อสอนทักษะการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดระดับสูงที่เขาเคยเรียนมาและมีประสบการณ์โดยตรงแก่เพื่อนร่วมชั้นของเขา ภายหลังมีการเปิดเผยถึงคำพยากรณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับแฮร์รี่และโวลเดอมอร์ แฮร์รี่ค้นพบว่าเขากับโวลเดอมอร์สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ และทำให้แฮร์รี่ได้เห็นการกระทำบางอย่างของโวลเดอมอร์ผ่านทางกระแสจิต ในช่วงท้ายของเรื่อง แฮร์รี่กับเพื่อนได้เผชิญหน้ากับผู้เสพความตายของโวลเดอมอร์ แม้การมาถึงทันเวลาของสมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์จะช่วยชีวิตของเด็ก ๆ ได้ แต่ซิเรียส แบล็กก็ถูกสังหารไปในคราวเดียวกัน โวลเดอมอร์เริ่มทำสงครามอย่างเปิดเผยในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม แม้แฮร์รี่กับเพื่อนจะค่อนข้างได้รับการคุ้มครองจากภัยอันตรายเป็นอย่างดีที่ฮอกวอตส์ แต่พวกเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากในช่วงวัยรุ่นหลายอย่าง แฮร์รี่เริ่มต้นออกเดทกับจินนี่ วีสลีย์ รอนเองก็หลงใหลในตัวลาเวนเดอร์ บราวน์ เพื่อนสาวของเขาอย่างรุนแรง ส่วนเฮอร์ไมโอนีก็เริ่มที่จะรู้ตัวว่าเธอนั้นรักรอน ในช่วงต้นของนิยายแฮร์รี่ได้รับหนังสือเรียนปรุงยาเล่มเก่าซึ่งเต็มไปด้วยความเห็นประกอบและข้อแนะนำที่เขียนเพิ่มเติมโดยเจ้าของคนเก่าชื่อ เจ้าชายเลือดผสม แฮร์รี่ยังได้เรียนพิเศษเป็นการส่วนตัวกับดัมเบิลดอร์ ที่ได้แสดงให้เขาเห็นความทรงจำทั้งหลายเกี่ยวกับชีวิตช่วงต้นของโวลเดอมอร์ผ่านเพนซิฟ พร้อมแสดงให้เห็นว่าวิญญาณของโวลเดอมอร์ได้ถูกแยกไปอยู่ในฮอร์ครักซ์หลายชิ้น ซึ่งเป็นวัตถุวิเศษชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ยังที่ต่าง ๆ ในช่วงท้ายของของเรื่อง เดรโก มัลฟอย คู่ปรับของแฮร์รี่ พยายามโจมตีดัมเบิลดอร์ และหนังสือจบลงด้วยการสังหารดัมเบิลดอร์โดยศาสตราจารย์สเนป ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อเจ้าชายเลือดผสม แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต นิยายเล่มสุดท้ายในชุด ดำเนินเรื่องต่อจากหลังเหตุการณ์ในหนังสือเล่มก่อนในทันที โวลเดอมอร์ประสบความสำเร็จในการเถลิงอำนาจและควบคุมกระทรวงเวทมนตร์ แฮร์รี่ รอน และเฮอร์ไมโอนีออกจากโรงเรียนเพื่อที่พวกเขาจะสามารถค้นหาและทำลายฮอร์ครักซ์ที่เหลืออยู่ของโวลเดอมอร์ เพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของพวกตน เช่นเดียวกับความปลอดภัยของครอบครัวและเพื่อนฝูง พวกเขาถูกบีบให้แยกตัวออกจากทุกคน ระหว่างการค้นหาฮอร์ครักซ์ ซึ่งทั้งสามได้ค้นพบและทำลายไปได้หลายชิ้น นอกจากนี้ได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของดัมเบิลดอร์และไม้กายสิทธิ์เอลเดอร์ หนึ่งในเครื่องรางยมทูตที่โวลเดอมอร์ได้ตามหาและชิงมาจากหลุมศพของดัมเบิลดอร์ด้วยความเชื่อที่ว่าพลังของไม้จะสามารถฆ่าแฮร์รี่ได้ แต่ด้วยความหวาดระแวงว่าสเนปผู้ฆ่าดัมเบิลดอร์นั้นคือเจ้าของไม้ที่แท้จริง เขาจึงสังหารสเนปลง ภายหลังแฮร์รี่ได้ทราบเจตนาที่แท้จริงของสเนป ที่ทำภารกิจตามความต้องการของดัมเบิลดอร์นับแต่แม่ของแฮร์รี่ถูกฆาตกรรม นิยายเดินทางมาถึงจุดสำคัญในการต่อสู้ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่ รอนและเฮอร์ไมโอนี ร่วมกับสมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์ ตลอดจนครูและนักเรียนหลายคน ได้ป้องกันฮอกวอตส์จากโวลเดอมอร์ ผู้เสพความตายของเขา และสิ่งมีชีวิตเวทมนตร์ทั้งหลาย ตัวละครหลักหลายคนถูกสังหารในการต่อสู้ระลอกแรก รวมถึงรีมัส ลูปิน นิมฟาดอร่า ท็องส์ และเฟร็ด วีสลีย์ และหลังทราบว่าตัวเขาเองเป็นฮอร์ครักซ์ แฮร์รี่มอบตัวต่อโวลเดอมอร์ที่ป่าต้องห้าม ซึ่งได้ร่ายคำสาปพิฆาตเพื่อปลิดชีพเขาและเป็นการทำลายฮอร์ครักซ์อีกชิ้นลงในเวลาเดียวกัน โวลเดอมอร์ได้ประกาศถึงการตายของแฮร์รี่ต่อทุกคน อย่างไรก็ดี กลุ่มป้องกันฮอกวอตส์ยังไม่ยอมจำนนแม้จะทราบถึงข้อเท็จจริงนี้และยังคงสู้ต่อไป หลังกลับมาจากความตาย แฮร์รี่ได้เผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ ซึ่งงูนากินี ฮอร์ครักซ์ชิ้นสุดท้ายได้ถูกทำลายลงแล้ว ในการต่อสู้ครั้งสุดท้าย ไม้กายสิทธิ์เอลเดอร์ไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อโวลเดอมอร์เนื่องจากเขาไม่ใช่นายที่แท้จริงของมัน แต่คือแฮร์รี่เอง ทำให้คำสาปพิฆาตของโวลเดอมอร์ถูกคาถาปลดอาวุธของแฮร์รี่สะท้อนกลับและสังหารโวลเดอมอร์ในที่สุด ในบทส่งท้ายซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอีก 19 ปีให้หลัง นิยายได้อธิบายถึงชีวิตของตัวละครที่เหลือรอด โดยแฮร์รี่ได้แต่งงานและมีลูกกับจินนี่ ส่วนรอนนั้นแต่งงานและมีลูกกับเฮอร์ไมโอนี่ ทั้งสี่คนได้มาส่งลูก ๆ ของพวกเขาไปเรียนที่ฮอกวอตส์ ณ ชานชาลาที่เก้าเศษสามส่วนสี่ ซึ่งภายหลังการตายของโวลเดอมอร์ โลกเวทมนตร์ก็ได้กลับสู่ความสงบสุขอีกครั้งและไม่มีเรื่องร้ายเกิดขึ้นกับแฮร์รี่อีกเลย === งานสมทบ === โรว์ลิงขยายจักรวาลแฮร์รี่ พอตเตอร์ด้วยหนังสือเรื่องสั้นหลายเล่มซึ่งผลิตออกมาให้การกุศลหลายอย่าง ใน ค.ศ. 2001 เธอวางจำหน่ายสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (หนังสือที่สมมติขึ้นว่าเป็นหนังสือเรียนในฮอกวอตส์) และควิดดิชในยุคต่าง ๆ (หนังสือที่แฮร์รี่อ่านเอาสนุก) รายได้จากการขายหนังสือทั้งสองเล่มนี้ได้มอบให้แก่มูลนิธิคอมมิครีลิฟ ใน ค.ศ. 2007 โรว์ลิงประพันธ์นิทานของบีเดิลยอดกวีฉบับเขียนด้วยมือเจ็ดเล่ม ซึ่งเป็นหนังสือที่รวมเทพนิยายซึ่งปรากฏในเล่มสุดท้าย หนึ่งในนั้นถูกประมูลขายเพื่อระดมทุนแก่ชิลเดรนส์ไฮเลเวลกรุ๊ป กองทุนเพื่อเด็กพิการในประเทศยากจน หนังสือนี้ได้รับตีพิมพ์ระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2008 นอกจากนี้ โรว์ลิงยังได้เขียนพลีเควล 800 คำ ในปี 2008 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนซึ่งจัดโดยร้านขายหนังสือวอเทอร์สโตนส์ ก่อนที่เธอจะออกเว็บไซต์ใหม่ในชื่อ พอตเตอร์มอร์ ซึ่งเป็นการรวบรวมเนื้อหาต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับการเปิดเผยในหนังสือ ในปี 2011 == โครงสร้างและประเภท == นวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์จัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมแฟนตาซี อย่างไรก็ดี ในหลายแง่มุม ยังเป็นนวนิยายการศึกษา (bildungsromans) หรือการเปลี่ยนผ่านของวัย และมีส่วนที่เป็นประเภทลึกลับ ตื่นเต้นเขย่าขวัญ และโรแมนซ์ นวนิยายชุดนี้อาจถูกมองว่าเป็นประเภทโรงเรียนกินนอนเด็กของอังกฤษ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่ในชุดเกิดขึ้นในฮอกวอตส์ ซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนอังกฤษสำหรับพ่อมดในนวนิยาย โดยมีหลักสูตรรวมถึงการใช้เวทมนตร์ด้วย ชุดนวนิยายนี้ยังเป็นประเภทที่สตีเฟน คิงใช้คำว่า "เรื่องลึกลับหลักแหลม" และแต่ละเล่มมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับการผจญภัยลึกลับแบบเชอร์ล็อก โฮมส์ เรื่องราวเล่าโดยบุคคลที่สามจำกัดมุมมองโดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อย (เช่น บทแรก ๆ ของศิลาอาถรรพ์ ถ้วยอัคนี และเครื่องรางยมทูต และสองบทแรกของเจ้าชายเลือดผสม) ช่วงกลางของหนังสือแต่ละเล่ม แฮร์รี่ต่อสู้กับปัญหาที่เขาประสบ และการจัดการปัญหาเหล่านั้นมักเกี่ยวข้องกับความต้องการละเมิดกฎโรงเรียนบางข้อ หากนักเรียนถูกจับได้ว่าละเมิดกฎ พวกเขาจะถูกลงโทษโดยศาสตราจารย์ฮอกวอตส์ ซึ่งใช้รูปแบบวิธีการลงโทษที่มักพบในประเภทย่อยโรงเรียนกินนอน อย่างไรก็ดี เรื่องราวถึงจุดสูงสุดในช่วงภาคเรียนฤดูร้อน ช่วงใกล้หรือช่วงเพิ่งสอบปลายภาคเรียนเสร็จ โดยมีเหตุการณ์บานปลายขึ้นเกินการวิวาทและการดิ้นรนอยู่ในโรงเรียน และแฮร์รี่ต้องเผชิญกับโวลเดอมอร์หรือหนึ่งในผู้ติดตามของเขา ผู้เสพความตาย โดยเดิมพันเรื่องคอขาดบาดตาย ประเด็นหนึ่งเน้นย้ำว่า เมื่อเรื่องราวดำเนินไป มีตัวละครหนึ่งตัวหรือมากกว่าถูกฆ่าในแต่ละเล่มในสี่เล่มสุดท้าย หลังจากนั้น เขาเรียนรู้บทเรียนสำคัญผ่านการชี้แจงและการอภิปรายกับอาจารย์ใหญ่และที่ปรึกษา อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ในนวนิยายเล่มสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต แฮร์รี่กับเพื่อนใช้เวลาส่วนใหญ่นอกฮอกวอตส์ และเพียงกลับมาเพื่อเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ในตอนจบ ด้วยรูปแบบนวนิยายการศึกษา ในส่วนนี้แฮร์รี่ต้องเติบโตขึ้นก่อนวัยอันควร ละทิ้งโอกาสปีสุดท้ายในฐานะนักเรียนโรงเรียนและจำต้องปฏิบัติตนเหมือนผู้ใหญ่ ซึ่งคนอื่นต้องพึ่งพาการตัดสินใจของเขา ซึ่งรวมถึงผู้ใหญ่ด้วย == แก่นเรื่อง == โรว์ลิงว่า แก่นเรื่องหลักของชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์คือ ความตาย "หนังสือของฉันเกี่ยวข้องกับความตายเป็นส่วนใหญ่ เรื่องราวเกิดขึ้นด้วยการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ มีความคิดครอบงำของโวลเดอมอร์เรื่องการพิชิตความตายและภารกิจของเขาเพื่อความเป็นอมตะไม่ว่าจะต้องเสียอะไรไปก็ตาม เป้าหมายของทุกคนที่มีเวทมนตร์ ฉันเข้าใจดีว่าทำไมโวลเดอมอร์ต้องการพิชิตความตาย เราทุกคนกลัวมัน" อาจารย์และนักหนังสือพิมพ์ได้พัฒนาการตีความแก่นเรื่องอื่นอีกมากในหนังสือ บ้างก็ซับซ้อนกว่าแนวคิดอื่น และบ้างก็รวมถึงการแฝงนัยทางการเมืองด้วย แก่นเรื่องนี้อย่างเช่น ปกติวิสัย การครอบงำ การอยู่รอด และการก้าวข้ามความแปลกประหลาดที่เพิ่มขึ้นมาล้วนถูกมองว่าพบเห็นได้บ่อยตลอดทั้งเรื่อง โรว์ลิงว่า หนังสือของเธอประกอบด้วย "ข้อพิสูจน์ยืดเยื้อแก่ความอดกลั้น คำขอร้องยาวนานให้ยุติความเชื่อไร้เหตุผล" และว่ายังผ่านข้อความเพื่อ "ตั้งคำถามถึงทางการและ ... ไม่สันนิษฐานว่าสถาบันหรือสื่อบอกความจริงแก่คุณทั้งหมด" ขณะที่อาจกล่าวได้ว่าหนังสือนั้นประกอบด้วยแก่นเรื่องอื่นอีกหลากหลาย เช่น อำนาจ การละเมิดอำนาจ, ความรัก, อคติ และทางเลือกเสรี ซึ่งทั้งหมดนี้ ตามคำกล่าวของเจ. เค. โรว์ลิง ว่า "ฝังลึกอยู่ในโครงเรื่องทั้งหมด" ผู้เขียนยังพึงใจปล่อยให้แก่นเรื่อง "การเติบโตทางชีวิต" มากกว่านั่งลงและเจตนาพยายามที่จะบอกแนวคิดนั้นแก่ผู้อ่านของเธอ ในบรรดาแก่นเรื่องนั้นคือ แก่นเรื่องที่มีอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับวัยรุ่น ซึ่งในการพรรณนา โรว์ลิงมีจุดประสงค์ในการรับรองเพศภาพตัวละครของเธอและไม่ทิ้งให้แฮร์รี่ "ติดอยู่ในสภาพก่อนวัยหนุ่มสาวไปตลอดกาล" ตามคำพูดของเธอ โรว์ลิงกล่าวว่า สำหรับเธอ ความสำคัญทางศีลธรรมของเรื่องนี้ดู "ชัดเจนมากอย่างที่สุด" สิ่งสำคัญสำหรับเธอคือทางเลือกระหว่างสิ่งที่ง่ายกับสิ่งที่ถูก "เพราะว่า ... นั่นคือสิ่งที่ทรราชเริ่มต้น โดยไม่ยินดียินร้ายและเลือกเส้นทางที่ง่าย และทันใดนั้นก็พบว่าตนเองอยู่ในปัญหาร้ายแรง" == จุดกำเนิดและประวัติการตีพิมพ์ == ในปี 1990 เจ. เค. โรว์ลิงอยู่ในรถไฟที่มีคนเนืองแน่นจากแมนเชสเตอร์ไปยังลอนดอน เมื่อแนวคิดแฮร์รี่ "ตกลงมาใส่หัวของเธอ" ทันใดนั้นเอง โรว์ลิงเล่าถึงประสบการณ์บนเว็บไซต์ของเธอโดยระบุว่า โรว์ลิงเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เสร็จใน ค.ศ. 1995 และต้นฉบับถูกส่งไปยังตัวแทนผู้ซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือหลายคน (prospective agent) ตัวแทนคนที่สอง คริสโตเฟอร์ ลิตเตล เสนอเป็นตัวแทนเธอและส่งต้นฉบับไปยังสำนักพิมพ์บลูมส์บรี หลังสำนักพิมพ์อื่นแปดสำนักปฏิเสธศิลาอาถรรพ์ บลูมส์บรีเสนอค่าตอบแทนล่วงหน้าเป็นเงิน 2,500 ปอนด์แก่โรว์ลิงเป็นค่าจัดพิมพ์ แม้เธอจะไม่ได้วางกลุ่มอายุเป้าหมายไว้ในใจเมื่อเริ่มต้นเขียนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ สำนักพิมพ์เดิมตั้งเป้าไว้ที่เด็กอายุระหว่างเก้าถึงสิบเอ็ดปี วันก่อนวันจัดพิมพ์ โรว์ลิงได้รับการร้องขอจากสำนักพิมพ์ให้ใช้นามปากกาที่ไม่บ่งบอกเพศมากกว่านี้ เพื่อดึงดูดกลุ่มอายุที่เป็นชายมากขึ้น ด้วยกลัวว่าพวกเขาอาจไม่สนใจอ่านนวนิยายที่พวกเขารู้ว่าผู้หญิงเขียน เธอเลือกใช้ชื่อ เจ. เค. โรว์ลิง (โจแอนน์ แคทลีน โรว์ลิง) โดยใช้ชื่อย่าของเธอเป็นชื่อที่สอง เพราะเธอไม่มีชื่อกลาง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Philosopher's Stone) ได้รับตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บลูมส์บรี ผู้จัดพิมพ์หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกเล่มในสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1997 และวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1998 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สกอแลสติก สำนักพิมพ์หนังสือของอเมริกา ในชื่อ Harry Potter and the Sorcerer's Stone หลังโรว์ลิงได้รับเงิน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็นค่าลิขสิทธิ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนสำหรับหนังสือเด็กโดยนักเขียนที่ขณะนั้นยังไร้ชื่อ ด้วยกลัวว่าผู้อ่านชาวอเมริกันจะไม่เชื่อมโยงคำว่า "philosopher" (นักปราชญ์) กับแก่นเรื่องเวทมนตร์ (แม้ศิลานักปราชญ์จะเกี่ยวข้องกับการเล่นแร่แปรธาตุก็ตาม) สกอแลสติกจึงยืนยันว่าหนังสือควรให้ชื่อนี้สำหรับตลาดอเมริกัน หนังสือเล่มที่สอง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 และในสหรัฐอเมริกาวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1999 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันตีพิมพ์อีกหนึ่งปีให้หลังในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 และในสหรัฐอเมริกา 8 กันยายน ปีเดียวกัน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีตีพิมพ์เมื่อ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 เวลาเดียวกันทั้งบลูมส์บรีและสกอแลสติก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์เป็นหนังสือเล่มยาวที่สุดในชุด ด้วยความหนา 766 หน้าในรุ่นสหราชอาณาจักร และ 870 หน้าในรุ่นสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ทั่วโลกในภาษาอังกฤษเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2003 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมตีพิมพ์วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 ทำยอดขาย 9 ล้านเล่มในการวางขาย 24 ชั่วโมงแรกทั่วโลก นิยายเล่มที่เจ็ดและสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ทำยอดขาย 11 ล้านเล่มในช่วงวางขาย 24 ชั่วโมงแรก แบ่งเป็น 2.7 ล้านเล่มในสหราชอาณาจักร และ 8.3 ล้านเล่มในสหรัฐอเมริกา === การแปล === หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นอีกอย่างน้อย 80 ภาษา เล่มแรกนั้นได้รับการแปลเป็นภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ โดยเป็นงานเขียนภาษากรีกโบราณที่ยาวที่สุดนับแต่นวนิยายของเฮลิโอโดรัสแห่งอีเมซาในคริสต์ศตวรรษที่ 3 การแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีความยากลำบากหลายประการ เช่น จากการถ่ายทอดวัฒนธรรมโรงเรียนประจำแบบอังกฤษ การใช้ภาษาที่แสดงถึงบุคลิกภาพหรือสำเนียง รวมถึงการคิดค้นศัพท์ใหม่ ๆ ของผู้แต่งด้วย นักแปลบางคนที่ได้รับว่าจ้างมาแปลหนังสือนั้นเป็นผู้ประพันธ์มีชื่อเสียงก่อนมีผลงานกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ วิกตอร์ โกลูเชฟ ผู้ควบคุมการแปลหนังสือเล่มที่ห้าเป็นภาษารัสเซีย การแปลหนังสือเล่มสองถึงเจ็ดเป็นภาษาตุรกีอยู่ภายใต้การดูแลของเซวิน ออคเย นักวิจารณ์วรรณกรรมและผู้บรรยายวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยม ด้วยเหตุผลด้านความลับ การแปลสามารถเริ่มต้นได้เฉพาะหลังหนังสือนั้นออกมาในภาษาอังกฤษแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้รุ่นภาษาอังกฤษถูกขายให้แก่แฟนที่รอไม่ไหวในประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกที จนทำให้เล่มที่ห้าในชุดกลายมาเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกและเล่มเดียวที่ขึ้นเป็นที่หนึ่งของรายการหนังสือขายดีในฝรั่งเศส รุ่นสหรัฐอเมริกาของนวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์ต้องผ่านการดัดแปลงข้อความเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเสียก่อน เพราะคำหลายคำและหลายแนวคิดที่ใช้โดยตัวละครในนวนิยายนั้นอาจไม่เป็นที่เข้าใจแก่ผู้อ่านชาวอเมริกัน ผลงานในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับแปลภาษาไทยได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ในขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษได้ออกมาแล้วสี่เล่ม โดยต้องเร่งแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสี่เล่มให้เสร็จโดยเร็วเพื่อง่ายต่อการแปลแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่ห้า ซึ่งโรว์ลิงยังเขียนไม่เสร็จ มีผู้แปลทั้งสิ้นสามคน ได้แก่ สุมาลี บำรุงสุขแปลเล่มที่หนึ่ง สอง ห้า หกและเจ็ด วลีพร หวังซื่อกุลแปลเล่มที่สาม และงามพรรณ เวชชาชีวะแปลเล่มที่สี่ หน้าปกฉบับภาษาไทยนั้นใช้ภาพแบบเดียวกับหน้าปกฉบับอเมริกัน ซึ่งเป็นผลงานของแมรี กรองด์เปร == ความสำเร็จ == === แรงกระทบทางวัฒนธรรม === บรรดานักอ่านผู้ชื่นชอบนิยายชุดนี้ล้วนเฝ้ารอการวางจำหน่ายตอนล่าสุดที่ร้านหนังสือทั่วโลก เริ่มจัดงานให้ตรงกับวันวางจำหน่ายวันแรกตอนเที่ยงคืน เริ่มตั้งแต่การตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีใน ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา กิจกรรมพิเศษระหว่างรอจำหน่ายมีมากมาย เช่น การแต่งกายเลียนแบบตัวละคร เล่นเกม ระบายสีหน้า และการแสดงอื่น ๆ ซึ่งได้รับความนิยมจากบรรดาแฟนพอตเตอร์และประสบความสำเร็จอย่างสูงในการดึงดูดแฟนและขายหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมได้เกือบ 9 ล้านเล่ม จากจำนวนที่พิมพ์ไว้ครั้งแรก 10.8 ล้านเล่ม ภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการวางแผง หนังสือเล่มสุดท้ายของชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต เป็นหนังสือที่ขายได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยขายได้ 11 ล้านเล่มในยี่สิบสี่ชั่วโมงแรกของการวางจำหน่าย นวนิยายชุดนี้ยังสามารถครองใจกลุ่มนักอ่านผู้ใหญ่ได้ด้วย ทำให้มีการจัดพิมพ์หนังสือออกเป็น 2 ฉบับในแต่ละเล่ม ซึ่งในนั้นมีเนื้อหาเหมือนกันหมด เพียงแต่ฉบับหนึ่งทำปกสำหรับเด็ก อีกฉบับหนึ่งสำหรับผู้ใหญ่ นอกเหนือไปจากการพบปะกันออนไลน์ผ่านบล็อก พ็อตแคสต์และแฟนไซต์แล้ว แฟนผู้คลั่งไคล้แฮร์รี่ พอตเตอร์ยังสามารถพบปะกันที่สัมมนาแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ด้วย คำว่า "มักเกิล" (Muggle) ได้แพร่ออกไปนอกเหนือจากการใช้ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ และกลายเป็นหนึ่งในคำวัฒนธรรมสมัยนิยมไม่กี่คำได้บรรจุลงพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด แฟนแฮร์รี่ พอตเตอร์ฟังพ็อตแคสต์เป็นประจำ โดยมากทุกสัปดาห์ เพื่อเข้าใจการอภิปรายล่าสุดในหมู่แฟน ทั้งมักเกิลแคสต์และพอตเตอร์แคสต์ ได้แตะระดับอันดับสูงสุดของไอทูนส์และได้รับการจัดอันดับอยู่ในพ็อตแคสต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 50 อันดับแรก === รางวัลและเกียรติยศ === แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย ตั้งแต่การพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ครั้งแรก รวมทั้งรางวัลหนังสือวิตเทกเกอร์แพลตินัมสี่รางวัล (ทั้งหมดได้รับเมื่อ ค.ศ. 2001) รางวัลหนังสือเนสเล่สมาร์ตตีส์สามรางวัล (ค.ศ. 1997-1999), รางวัลหนังสือสภาศิลปะสกอตสองรางวัล (ค.ศ. 1999 และ 2001), รางวัลหนังสือเด็กแห่งปีวิตเบรดเล่มแรก (ค.ศ. 1999), และหนังสือแห่งปีดับเบิลยูเอชสมิท (ค.ศ. 2006) และอื่น ๆ ใน ค.ศ. 2000 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลฮิวโกนวนิยายยอดเยี่ยม และใน ค.ศ. 2001 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีได้รับรางวัลดังกล่าว เกียรติยศที่ได้นั้นมีทั้งการมอบเหรียญรางวัลคาร์เนกี (ค.ศ. 1997), รายชื่อสั้นสำหรับรางวัลเด็กการ์เดี้ยน (ค.ศ. 1998) และอยู่ในรายการหนังสือมีชื่อเสียง หนังสือที่คัดเลือกโดยบรรณาธิการ และรายการหนังสือดีที่สุดของสมาคมหอสมุดอเมริกา, เดอะนิวยอร์กไทมส์, หอสมุดสาธารณะชิคาโก และพับลิชเชอร์วีกลี === ความสำเร็จทางการค้า === ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิงได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ "มหาเศรษฐี" ของโลก มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน สามารถติดอันดับเป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในทุกภาคที่เข้าฉาย ชุดภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นได้รับการต่อยอดไปสู่รูปแบบวิดีโอเกมและสินค้าจดลิขสิทธิ์กว่า 400 รายการ ซึ่งมูลค่าโดยประมาณของแบรนด์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ากว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้โรว์ลิงกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก ทว่าโรว์ลิงชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง ความต้องการอย่างสูงในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ทำให้ นิวยอร์กไทมส์ ตัดสินใจเปิดอันดับหนังสือขายดีอีก 1 ประเภทสำหรับวรรณกรรมเด็กโดยเฉพาะเมื่อปี ค.ศ. 2000 ก่อนการวางจำหน่าย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2000 และหนังสือของโรว์ลิงก็อยู่บนอันดับหนังสือขายดีนี้ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานถึง 79 สัปดาห์ โดยที่ทั้งสามเล่มแรกเป็นหนังสือขายดีในประเภทหนังสือปกแข็งด้วย การจัดส่งหนังสือชุด ถ้วยอัคนี ต้องใช้รถบรรทุกของเฟดเอกซ์กว่า 9,000 คันเพื่อการส่งหนังสือเล่มนี้เพียงอย่างเดียว วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2007 ร้านหนังสือ บาร์นส์แอนด์โนเบิล ประกาศว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิติหนังสือจองผ่านเว็บไซต์โดยมียอดจองมากกว่า 500,000 เล่ม เมื่อนับรวมทั้งเว็บของบาร์นส์แอนด์โนเบิล กับอเมซอนดอตคอม จะเป็นยอดจองล่วงหน้ารวมกันมากกว่า 700,000 เล่ม แต่เดิมสถิติการพิมพ์หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3.8 ล้านเล่ม แต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์ ทำลายสถิตินี้ด้วยยอดพิมพ์ครั้งแรก 8.5 ล้านเล่ม และต่อมาก็ถูกทำลายสถิติลงอีกด้วย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม ที่ 10.8 ล้านเล่ม ในจำนวนนี้ได้ขายออกไป 6.9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากวางจำหน่าย ส่วนในอังกฤษได้ขายออกไป 2 ล้านชุดภายในวันแรก อย่างไรก็ตามหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้าย ก็ได้ทำลายสถิติก่อนหน้าลง ด้วยยอดขายกว่า 11 ล้านเล่ม ในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงแรกของการจำหน่าย โดยมียอดสั่งจองล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์อเมซอนและร้านหนังสือบาร์นส์แอนด์โนเบิลกว่า 1 ล้านเล่ม == คำชื่นชมและวิจารณ์ == === การวิจารณ์ทางวรรณกรรม === ในช่วงแรก ๆ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างดี ทำให้นวนิยายชุดนี้ขยายฐานผู้อ่านออกไปอย่างมาก หนังสือเล่มแรกของชุดคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ได้จุดประเด็นความสนใจแก่หนังสือพิมพ์ของสกอตแลนด์หลายเล่ม เช่น The Scotsman บอกว่าหนังสือเล่มนี้ "มีทุกอย่างของความคลาสสิก" หรือ The Glasgow Herald ตั้งสมญาให้ว่าเป็น "สิ่งมหัศจรรย์" ไม่นานหนังสือพิมพ์ของทางอังกฤษก็เข้าร่วมวงด้วย มีหนังสือพิมพ์มากกว่า 1 เล่มเปรียบเทียบงานเขียนชุดนี้กับงานของโรอัลด์ ดาห์ล หนังสือพิมพ์ The Mail on Sunday เรียกหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น "งานเขียนที่เปี่ยมจินตนาการนับแต่ยุคของโรอัลด์ ดาห์ล" ส่วน The Guardian เรียกหนังสือนี้ว่า "นวนิยายอันงดงามที่สร้างโดยนักประดิษฐ์อัจฉริยะ" ครั้นเมื่อหนังสือออกวางจำหน่ายถึงเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ นวนิยายก็ได้รับการวิจารณ์ที่หนักหน่วงขึ้นจากเหล่านักวิชาการด้านวรรณกรรม เฮโรลด์ บลูม ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเยล นักวิชาการวรรณศิลป์และนักวิจารณ์ เป็นผู้ยกประเด็นการวิจารณ์วรรณกรรมเกี่ยวกับศีลธรรม เขากล่าวว่า "ในใจของโรว์ลิงมีแต่เรื่องอุปมาเกี่ยวกับความตายวนไปวนมา ไม่มีลีลาการเขียนแบบอื่นเลย" เอ. เอส. ไบแอต นักเขียนประจำนิวยอร์กไทมส์ บอกว่าจักรวาลในเรื่องของโรว์ลิงสร้างขึ้นจากจินตนาการที่ผสมปนเปจากวรรณกรรมเด็กหลาย ๆ เรื่อง และเขียนขึ้นเพื่อคนที่มีจินตนาการหมกมุ่นกับการ์ตูนทีวี โลกในฟองสบู่ที่เว่อร์เกินจริง รายการรีแอลิตี และข่าวซุบซิบดารา นักวิจารณ์ชื่อ แอนโทนี โฮลเดน เขียนความรู้สึกของเขาจากการตัดสินรางวัลวิทเบรด ปี ค.ศ. 1999 ส่วนที่เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ไว้ใน The Observer โดยที่ค่อนข้างมีมุมมองไม่ค่อยดี เขากล่าวว่า "มหากาพย์พอตเตอร์เป็นงานอนุรักษนิยม ย้อนยุค โหยหาความเป็นอดีตและระบบอุปถัมภ์ในอดีตของอังกฤษที่ผ่านไปแล้ว" เขายังวิจารณ์อีกว่าเป็น "งานเขียนร้อยแก้วที่ผิดไวยากรณ์ ใช้สำนวนตลาด" แต่ในทางตรงกันข้าม เฟย์ เวลดอน นักเขียนผู้ยอมรับว่านวนิยายชุดนี้ "ไม่ใช่งานที่กวีจะชื่นชอบ" แต่ก็ยอมรับว่า "มันไม่ใช่กวีนิพนธ์ มันเป็นร้อยแก้วที่อ่านเข้าใจง่าย อ่านได้ทุกวัน และขายได้" เอ. เอ็น. วิลสัน นักวิจารณ์วรรณกรรม ยกย่องนวนิยายชุดนี้ใน The Times โดยระบุว่า "มีนักเขียนไม่มากนักเหมือนอย่างเจ. เค. ผู้มีความสามารถดังหนึ่งดิกคินส์ ที่ทำให้เราต้องรีบพลิกอ่านหน้าต่อไป ทำให้เราร้องไห้อย่างไม่อาย พอไม่กี่หน้าถัดไปเราก็ต้องหัวเราะกับมุกตลกที่แทรกอยู่สม่ำเสมอ ... เรามีชีวิตอยู่ตลอดทศวรรษที่เฝ้าติดตามงานตีพิมพ์อันมีชีวิตชีวาที่สุด สนุกสนานที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่โดดเด่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา" ชาลส์ เทย์เลอร์ แห่ง salon.com นักวิจารณ์ภาพยนตร์ เห็นด้วยกับความคิดของไบแอต แต่เขาก็ยอมรับว่าผู้ประพันธ์อาจจะ "มีจุดยืนทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง คือความเป็นวัยรุ่น มันเป็นแรงกระตุ้นของพวกเราที่จะเข้าใจความเหลวไหลของยุคสมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างกับความซับซ้อนของศิลปะยุคเดิม" สตีเฟน คิง เรียกนวนิยายชุดนี้ว่า "ความกล้าหาญซึ่งผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศเท่านั้นจึงจะทำได้" และยกย่องการเล่นถ้อยคำสำนวนตลอดจนอารมณ์ขันของโรว์ลิงในนิยายชุดนี้ว่า "โดดเด่น" แม้เขาจะบอกว่านิยายชุดนี้จัดว่าเป็นนิยายที่ดี แต่ก็บอกด้วยว่า ในตอนต้นของหนังสือทั้งเจ็ดเล่มที่พบแฮร์รี่ที่บ้านลุงกับป้านั้นค่อนข้างน่าเบื่อ คิงยังว่า "โรว์ลิงจะไม่ใช้คำขยายความที่เธอไม่ชอบ!" เขายังทำนายด้วยว่า นวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ "จะยืนยงท้าทายการทดสอบของกาลเวลา และอยู่บนหิ้งที่เก็บหนังสือดีที่สุดเท่านั้น ผมคิดว่าแฮร์รี่ได้เทียบขั้นกับอลิซ, ฮัค, โฟรโด และโดโรธีแล้ว นิยายชุดนี้จะไม่โด่งดังเพียงทศวรรษนี้ แต่จะยืนยงตลอดกาล" === การวิจารณ์ทางวัฒนธรรม === นิตยสารไทมส์ประกาศให้โรว์ลิงเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิ์เป็น "บุคคลแห่งปี" ของไทมส์ในปี ค.ศ. 2007 ในฐานะที่มีผลงานโดดเด่นทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งสร้างแรงบันดาลใจอย่างมากต่อกลุ่มแฟนคลับของเธอ ทว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อนิยายชุดนี้ก็มีทั้งด้านดีและไม่ดีปะปนกัน นักวิจารณ์หนังสือจากวอชิงตันโพสต์ รอน ชาลส์ แสดงความเห็นของเขาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 ว่าจำนวนผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมากซึ่งอ่านหนังสืออื่นค่อนข้างน้อย อาจสะท้อนถึงตัวอย่างที่ไม่ดีของวัฒนธรรมวัยเด็ก รูปแบบการนำเสนอแบบตรงไปตรงมาในเรื่องที่แยกระหว่าง "ความดี-ความเลว" อย่างชัดเจนนั้นก็เป็นแนวทางแบบเด็ก ๆ เขายังบอกว่า ไม่ใช่ความผิดของโรว์ลิงเลย แต่วิธีทางการตลาดแบบ "ฮีสทีเรีย" (กรี๊ดกร๊าดคลั่งไคล้อย่างรุนแรง) ที่ปรากฏให้เห็นในการตีพิมพ์หนังสือเล่มหลัง ๆ "ทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่พากันหลงใหลเสียงกรีดร้องในโรงมหรสพ ประสบการณ์สื่อแบบมหาชนซึ่งนิยายอื่นอาจจะทำให้ไม่ได้" เจนนี่ ซอว์เยอร์ เขียนไว้ใน Christian Science Monitor เมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ว่า หนังสือชุดนี้เป็นตัวแทนถึง "จุดเปลี่ยนค่านิยมการเล่านิทานและสังคมตะวันตก" โดยที่ในนิยายชุดนี้ "หัวใจแห่งศีลธรรมกำลังเหือดหายไปจากวัฒนธรรมยุคใหม่... หลังจากผ่านไป 10 ปี, 4195 หน้า และ 375 ล้านเล่ม ท่ามกลางความสำเร็จอย่างสูงยิ่งของ เจ. เค. โรว์ลิง แต่เสาหลักของวรรณกรรมเด็กอันยิ่งใหญ่กลับขาดหายไป นั่นคือการเดินทางของวีรบุรุษเพื่อยืนหยัดความถูกต้อง" ซอว์เยอร์กล่าวว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไม่เคยประสบความท้าทายทางศีลธรรม ไม่เคยตกอยู่ใต้ภาวะลำบากระหว่างความถูกผิด ดังนั้นจึง "ไม่เคยมีสถานการณ์ใดที่ความถูกผิดไม่เป็นสีขาวและสีดำ" คริส ซุลเลนทรอพ ให้ความเห็นคล้ายคลึงกันใน Slate Magazine เมื่อ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 เขาเปรียบพอตเตอร์ว่าเป็น "เด็กผู้เป็นที่ไว้วางใจและชื่นชมที่โรงเรียน อันเป็นผลงานส่วนมากจากของขวัญที่เพื่อนและครอบครัวทุ่มเทให้" เขาสังเกตว่า ในนิยายของโรว์ลิงนั้น ศักยภาพและความสามารถทางเวทมนตร์เป็น "สิ่งที่คุณเกิดมาพร้อมกับมัน ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะไขว่คว้ามาได้" ซุลเลนทรอพเขียนว่า คำคมของดัมเบิลดอร์ที่ว่า "เราต้องเลือกเองที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริงที่ยิ่งใหญ่กว่าความสามารถของเรา" เป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ในเมื่อโรงเรียนที่ดัมเบิลดอร์บริหารอยู่นั้นให้ความสำคัญกับพรสวรรค์ที่มีมาแต่กำเนิดมากกว่าอะไรทั้งนั้น อย่างไรก็ดี ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2007 คริสโตเฟอร์ ฮิทเชนส์ รีวิว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยยกย่องโรว์ลิงว่าได้ปรับเปลี่ยน "นิทานเกี่ยวกับโรงเรียนในอังกฤษ" ที่มีมาแต่ไหนแต่ไร ที่เคยมีแต่เรื่องเพ้อฝัน ความร่ำรวย ชนชั้น และความเป็นผู้ดี ให้กลายเป็น "โลกของประชาธิปไตยและความเปลี่ยนแปลงของวัยหนุ่มสาว" === การโต้แย้งต่าง ๆ === หนังสือชุดนี้ตกเป็นประเด็นโต้แย้งทางกฎหมายมากมายหลายคดี มีทั้งการฟ้องร้องจากกลุ่มคริสเตียนอเมริกันว่าการใช้เวทมนตร์คาถาในหนังสือเป็นการเชิดชูศิลปะของพวกพ่อมดแม่มดให้แพร่หลายในหมู่เด็ก ๆ รวมถึงข้อขัดแย้งอีกหลายคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า การที่นวนิยายชุดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและครอบครองมูลค่าตลาดสูงมาก ทำให้โรว์ลิง สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ของเธอ รวมถึงวอร์เนอร์ บราเธอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของตน ทั้งนี้รวมถึงการห้ามจำหน่ายสินค้าลอกเลียนแบบแฮร์รี่ พอตเตอร์ เหล่าเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อโดเมนคาบเกี่ยวกับคำว่า "แฮร์รี่ พอตเตอร์" พวกเขายังฟ้องนักเขียนอีกคนหนึ่งคือ แนนซี สโตฟเฟอร์ เพื่อตอบโต้การที่เธอออกมากล่าวอ้างว่า โรว์ลิงลอกเลียนแบบงานเขียนของเธอ กลุ่มนักอนุรักษนิยมทางศาสนาจำนวนมากอ้างว่า หนังสือชุดนี้เชิดชูศาสตร์ของพ่อมดแม่มด ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก นอกจากนี้ยังมีนักวิจารณ์อีกจำนวนหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังสือชุดนี้มีแง่มุมทางการเมืองซ่อนอยู่หลายประการ == การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น == === ภาพยนตร์ === ดูบทความหลักที่: ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในปี 1998 โรว์ลิงได้ขายลิขสิทธิ์ของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้แก่ทางวอร์เนอร์ บราเธอร์สเป็นเงินจำนวน 1 ล้านปอนด์ (1,982,900 ดอลลาร์สหรัฐ) ตามที่ได้มีการรายงานไว้ โดยเธอต้องการให้ผู้สร้างมีความซื่อตรงต่อบทประพันธ์ด้วยการคัดเลือกนักแสดงหลักของเรื่องให้เป็นคนอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวก็ได้รับการยกเว้นให้แก่ ริชาร์ด แฮร์ริส นักแสดงชาวไอริช ที่รับบทเป็นศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์ในสองภาคแรก ส่วนการคัดเลือกนักแสดงชาวฝรั่งเศสและชาวยุโรปตะวันออกในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีนั้นก็ยังคงซื่อตรงกับหนังสือต้นฉบับอยู่เช่นกัน หลังจากที่ผู้สร้างได้พิจารณาผู้กำกับมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สตีเวน สปีลเบิร์ก, เทรี กิลเลียม, โจนาธาน เดมมี และอลัน ปาร์คเกอร์ พวกเขาก็ได้เลือกให้ คริส โคลัมบัส รับหน้าที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2000 เนื่องจากทางวอเนอร์ บราเธอร์สได้มองเห็นว่าโคลัมบัสเคยมีผลงานสร้างภาพยนตร์แนวครอบครัวและเคยมีประสบการณ์กำกับภาพยนตร์กับเด็กมาแล้วใน โดดเดี่ยวผู้น่ารัก และ คุณนายเด๊าท์ไฟร์ พี่เลี้ยงหัวใจหนุงหนิง หลังจากที่ได้มีการคัดเลือกนักแสดงอย่างเข้มข้น การถ่ายทำภาพยนตร์ก็ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2000 ที่สตูดิโอภาพยนตร์ลีฟส์เดน ในกรุงลอนดอน ก่อนที่งานสร้างทั้งหมดจะสิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2001 ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ได้ออกฉายในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ซึ่งภาพยนตร์ภาคต่ออย่างแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับก็ได้ถูกเปิดกล้องขึ้นหลังจากนั้นเพียง 3 วัน โดยมีผู้กำกับเป็นโคลัมบัสตามเดิม โดยการถ่ายทำได้เสร็จสิ้นลงในช่วงฤดูร้อนของปี 2002 และออกฉายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน ซึ่ง แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มมา วัตสัน ก็ได้รับบทเป็นตัวละครหลักอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์, รอน วิสลีย์ และเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ทุกภาคตามลำดับ โคลัมบัสปฏิเสธที่จะกลับมากำกับภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน โดยได้เลือกร่วมงานในฐานะผู้อำนวยการสร้างเพียงเท่านั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงได้ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเม็กซิกันอย่าง อัลฟอนโซ กัวรอน มารับหน้าที่แทน หลังจากที่ได้มีการถ่ายทำไปในปี 2003 ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันก็ออกฉายในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2004 โดยงานสร้างของภาพยนตร์ภาคที่สี่ได้ดำเนินไปก่อนที่ภาพยนตร์ภาคที่สามจะออกฉาย ซึ่งทางผู้สร้างก็ได้เลือกให้ ไมค์ นิวเวลล์ มารับหน้าที่กำกับภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ก่อนที่ภาพยนตร์จะออกฉายในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ซึ่งนิวเวลล์ก็ถือเป็นผู้กำกับชาวอังกฤษคนแรกที่ได้กำกับภาพยนตร์ชุดนี้ จากนั้นผู้กำกับภาพยนตร์โทรทัศน์อย่าง เดวิด เยตส์ ก็ได้รับโอกาสให้มากำกับภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ โดยงานสร้างภาพยนตร์ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 ก่อนที่ภาพยนตร์จะออกฉายในเดือนกรกฎาคมของปี 2007 ทางฝ่ายบริการต่าง “รู้สึกชื่นชอบ” ในผลงานการกำกับของเยตส์เป็นอย่างมาก เขาจึงได้รับโอกาสให้กำกับภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมต่อ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องที่หกนี้ก็ได้ออกฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ในเดือนมีนาคม ปี 2008 อลัน ฮอร์น ประธานและประธานฝ่ายปฏิบัติการของทางวอร์เนอร์ บราเธอร์สได้ออกมาระบุว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาพยนตร์ภาคสุดท้ายนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ภาค โดยภาคที่ 1 นั้นจะออกฉายในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 และภาค 2 จะออกฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 โดยงานสร้างของภาพยนตร์ทั้งสองภาคนั้นได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ก่อนที่จะปิดกล้องลงในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2010 นอกจากนี้ โรว์ลิงก็ยังได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ชุดนี้อีกด้วย โดยเธอได้รับหน้าที่สังเกตงานสร้างของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ และรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตทั้งสองภาคร่วมกับเดวิด เฮย์แมนและเดวิด แบร์รอน ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ทั้งสิ้น ซึ่งภาพยนตร์ทั้งแปดภาคก็ล้วนแต่ติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด โดยแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 จัดเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้มากที่สุด ในขณะที่แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันถือเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้น้อยที่สุดในชุด นอกจากจะประสบความสำเร็จด้านรายได้แล้ว ภาพยนตร์ชุดนี้ยังประสบความสำเร็จในแง่คำวิจารณ์อีกด้วย ความคิดเห็นของเหล่าแฟนคลับที่มีต่อภาพยนตร์ชุดนี้มีความแตกต่างกันออกไป โดยกลุ่มหนึ่งรู้สึกชื่นชอบความซื่อตรงต่อบทประพันธ์ของภาพยนตร์สองภาคแรก ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งกลับชอบรูปแบบการเล่าเรื่องผ่านตัวละครอันน่าจดจำของภาพยนตร์ภาคท้าย ๆ มากกว่า ซึ่งโรว์ลิงนั้นก็ได้ให้ความเห็นเชิงสนับสนุนภาพยนตร์ทุกภาคเสมอมา และได้ยกให้ภาพยนตร์ภาคเครื่องรางยมทูตเป็น “ภาพยนตร์เรื่องโปรด” ของเธอในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งหมด เธอได้แสดงความคิดเห็นเรื่องการปรับเปลี่ยนเนื้อหาจากหนังสือเป็นภาพยนตร์เอาไว้ในเว็บไซต์ของเธอว่า “มันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บเนื้อหาทุกส่วนที่ฉันได้เล่าไปไว้ในภาพยนตร์ที่ต้องมีความยาวน้อยกว่า 4 ชั่วโมง เห็นได้ชัดว่าภาพยนตร์มีข้อจำกัดที่นวนิยายไม่มี ทั้งเรื่องเวลาและงบประมาณที่จำกัด ดังนั้น ฉันก็คงทำอะไรไม่ได้ไปมากไปกว่าการอาศัยให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างจินตนาการของฉันกับผู้อ่านได้ทำหน้าเชื่อมต่อเข้าหากันด้วยตัวของมันเอง” ในงานประกาศรางวัลบาฟต้า ครั้งที่ 64 ที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 โรว์ลิง กับผู้อำนวยการสร้าง เดวิด เฮย์แมนและเดวิด แบร์รอน พร้อมด้วยผู้กำกับภาพยนตร์เดวิด เยตส์, อัลฟอนโซ กัวรอน และไมค์ นิวเวลล์ ได้ขึ้นรับรางวัลเชิดชูเกียรติภาพยนตร์อังกฤษอันโดดเด่นแห่งยุค (Michael Balcon Award for Outstanding British Contribution to Cinema) ที่มอบแด่ภาพยนตร์ทุกเรื่องของชุด โดยรูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน ก็ได้เดินทางมาร่วมงานเช่นกัน === ภาพยนตร์ภาคแยก === ภาพยนตร์ภาคแยกประกอบด้วยภาพยนตร์ทั้งหมด 5 ภาคซึ่งเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเนื้อหาในภาพยนตร์ชุดหลัก ภาพยนตร์ภาคแรก สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ เข้าฉายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ก่อนที่ภาพยนตร์ภาคต่ออย่าง อาชญากรรมของกรินเดลวัลด์ เข้าฉายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ส่วนภาพยนตร์สามภาคหลังนั้นจะเข้าฉายในปี 2021, 2022 และ 2024 ตามลำดับ โดยโรว์ลิงก็ยังได้มีส่วนร่วมในการเขียนบทภาพยนตร์ทั้งสามภาคแรก ซึ่งถือเป็นงานเขียนบทภาพยนตร์ครั้งแรกของเธออีกด้วย === วิดีโอเกม === แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ถูกนำไปดัดแปลงและจำหน่ายในรูปแบบวิดีโอเกมไปกว่า 13 ภาค โดย 8 ภาคนั้นได้ดำเนินเนื้อหาตามภาพยนตร์และหนังสือ ส่วนอีก 5 ภาคนั้นเป็นวิดีโอเกมภาคแยก ในส่วนของวิดีโอเกมที่อิงเนื้อหาจากภาพยนตร์และหนังสือนั้นได้รับการผลิตและพัฒนาโดยบริษัทเกมอิเลคโทรนิค อาร์ต หรือ อีเอ ซึ่งภายหลังยังได้พัฒนาเกมภาคเสริมอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์: ควิดดิช เวิลด์ คัพ ขึ้นมาอีกด้วย ทางอีเอได้เริ่มวางจำหน่ายเกมแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ อันเป็นเกมภาคแรกของชุดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ก่อนที่เกมภาคนี้จะได้กลายมาเป็นหนึ่งในเกมเพลย์สเตชันที่ขายดีที่สุดตลอดกาล วิดีโอเกมภาคนี้ได้รับการวางจำหน่ายในช่วงเดียวกันกับที่ภาพยนตร์ภาคแรกเข้าฉาย มีการใช้ฉากและรายละเอียดต่าง ๆ รวมไปถึงได้มีการใส่บรรยากาศและอารมณ์ที่ถูกบรรยายไว้ในหนังสือเข้ามาอีกด้วย ภารกิจที่ผู้เล่นจะต้องทำนั้นจะเกิดขึ้นในหรือรอบ ๆ บริเวณฮอกวอตส์ และสถานที่อื่น ๆ ของโลกเวทมนตร์ เรื่องราวและการออกแบบต่าง ๆ ภายในเกมนั้นยังได้หยิบยกมาจากเนื้อหาและงานสร้างของภาพยนตร์ โดยทางอีเอเองก็ได้ทำงานร่วมกับทางวอร์เนอร์ บราเธอร์สอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถนำฉากต่าง ๆ ในภาพยนตร์มาใช้ในรูปแบบวิดีโอเกมได้ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วิดีโอเกมภาคสุดท้ายของชุดได้ถูกแบ่งออกเป็นสองภาคเช่นเดียวกับภาพยนตร์ และเกมทั้งสองภาคได้รับการวางจำหน่ายในเดือนเดียวกับที่ภาพยนตร์ออกฉาย ซึ่งเกมสองภาคสุดท้ายนี้ได้นำเสนอภาพการต่อสู้และความรุนแรงเอาไว้อยู่มาก โดยผู้เล่นจะต้องสลับบทบาทการเล่นในรูปแบบมุมมองบุคคลที่ 3 และต้องใช้ไม้กายสิทธิ์ในการเสกคาถาโจมตีฝั่งตรงข้าม ในส่วนของวิดีโอเกมภาคแยกนั้น บริษัททราเวลเลอร์ส เทลส์ ได้พัฒนาเกม เลโก แฮร์รี่ พอตเตอร์: เยียร์ 1-4 และ เลโก แฮร์รี่ พอตเตอร์: เยียร์ 5-7 ขึ้น ซึ่งเนื้อหาของเกมทั้งสองภาคนั้นไม่ได้ดำเนินเรื่องตามเส้นเรื่องหลักของหนังสือและภาพยนตร์ เช่นเดียวกับทาง เอสซีอี ลอนดอน เอนเตอร์เทนเมนท์ ที่ได้พัฒนาเกมภาคแยก บุ๊คออฟสเปลส์ และ บุ๊คออฟโพชั่นส์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของ วันเดอร์บุ๊ค อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบความเป็นจริงเสริม (AR) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันกับเครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชันมูฟและเพลย์สเตชันอายส์ นอกจากนี้ สถานที่และตัวละครจักรวาลของแฮร์รี่ พอตเตอร์ยังได้ถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของเกม เลโก ไดเมนชัน ในชื่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์ แอดเวนเจอร์ เวิลด์ ซึ่งผู้เล่นจะสามารถควบคุมตัวละครแฮร์รี่, โวลเดอมอร์ และเฮอร์ไมโอนี่ได้อีกด้วย ในปี 2017 ทางวอร์เนอร์ บราเธอร์ส อินเตอร์แอ็กทีฟ เอนเตอร์เทนเมนท์ ได้เปิดตัวสตูดิโอออกแบบเกมแฮร์รี่ พอตเตอร์ในชื่อ พอร์ทคีย์ เกม ขึ้น ก่อนที่จะปล่อยเกม ฮอกวอตส์มิสทะรี และแฮร์รี่ พอตเตอร์: วิซาร์ด ยูไนท์ ออกมาให้ผู้ใช้ไอโอเอสและแอนดรอยด์ได้ดาวน์โหลดในปี 2018 และ 2019 ตามลำดับ ต่อมาในช่วงต้นปี 2023 เกมฮอกวอตส์ เลกาซี ได้ถูกวางจำหน่าย ถือเป็นวิดีโอเกมแรกในจักรวาลแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่สามารถเล่นบนเพลย์สเตชัน 5 ได้ === ละครเวที === แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการวางแผนให้ได้รับการดัดแปลงในรูปแบบละครเวทีซึ่งจะนำเนื้อหาจากหนังสือนิยายต้นฉบับมาดัดแปลง โดยจะใช้การร้องเพลงเป็นตัวดำเนินเรื่องและในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2013 เจ.เค.โรว์ลิ่งได้ประกาศว่าเธอกำลังทำงานในฐานะผู้อำนวยการสร้างของแฮร์รี่ พอตเตอร์ในรูปแบบละครเวที โดยเธอระบุว่าเนื้อหาของละครเวทีเรื่องนี้จะเป็นเรื่องราวซึ่งยังไม่เคยถูกเล่า เกิดในช่วงก่อนที่แฮร์รี่จะกำพร้าพ่อแม่และถูกพวกเดอร์สลีย์รับมาเลี้ยง โรว์ลิ่งได้เปิดเผยข้อมูลผ่านทวิตเตอร์ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2015 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการวางแผงหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรกว่าละครเวทีแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นจะใช้ชื่อการแสดงว่า "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป" โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มเปิดการแสดงในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2016 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์ ซึ่งบัตรเข้าชมในช่วงสี่เดือนแรกหรือช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนถูกขายหมดในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังเปิดจำหน่าย ภายหลังในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ได้มีการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์พอตเตอร์มอร์ว่าบทละครจะถูกตีพิมพ์จำหน่ายในรูปแบบหนังสือหนึ่งวันหลังรอบปฐมทัศน์โลกของละครเวที และเหตุการณ์ในเรื่องจะเกิดขึ้นสิบเก้าปีให้หลังจากบทจบของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยบางกลุ่มได้จัดบทละครที่จะถูกตีพิมพ์นี้เป็นหนังสือเล่มที่แปด แม้จะไม่ได้ถูกเขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่งที่ก็ตาม === ละครชุด === ในช่วงปี ค.ศ. 2021 ได้มีรายงานข่าวออกมาว่าจะมีการดัดแปลงแฮร์รี่ พอตเตอร์ในรูปแบบละครชุดเพื่อออกฉายทาง เอชบีโอแม็กซ์ แต่รายงานดังกล่าวยังเป็นเพียงแค่ข่าวลือเนื่องจากไม่มีการยืนยันจากทั้งทางวอร์เนอร์ส บราเธอร์ส, เอชบีโอ, หรือตัวโรว์ลิ่งเองแต่อย่างใด ต่อมาในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2023 ได้มีการยืนยันว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์จะถูกดัดแปลงเป็นละครชุดจริง และจะออกอากาศผ่านทาง แม็กซ์ ซึ่งเป็นการปรับปรุงแบรนด์ใหม่จากเอชบีโอแม็กซ์เดิม โดยในการสร้างละครชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์นี้จะเป็นการร่วมงานกันระหว่างวอร์เนอร์ส บราเธอร์สและเอชบีโอ และได้โรว์ลิ่งมารับหน้าที่ผู้อำนวยการสร้าง โดยมีแผนสร้างทั้งหมด 7 ฤดูกาลตามจำนวนหนังสือทั้งหมด 7 เล่ม (1 เล่มต่อ 1 ฤดูกาล) == อิทธิพลและผลสืบเนื่อง == === วงดนตรี === แฮร์รี่ พอตเตอร์มีอิทธิพลต่อสื่อทางด้านวงดนตรีร็อกของกลุ่มวัยรุ่นชายเป็นอย่างมาก ในปี ค.ศ. 2002 ได้มีผลสำรวจว่ามีวงดนตรีร็อกของกลุ่มวัยรุ่นที่ได้รับแรงบันดาลใจหรืออิทธิพลจากแฮร์รี่ พอตเตอร์มากมายหลายร้อยวงด้วยกัน วงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือวง "แฮร์รีแอนด์เดอะพอตเตอร์ส" ซึ่งเป็นวงดนตรีอินดี้ร็อกที่นำเสนอเพลงแบบเรียบง่าย พวกเขาได้นำเนื้อหาบางส่วนในหนังสือมาแต่งเป็นบทเพลงของตน === สวนสนุก === หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์และหมู่บ้านฮอกส์มี้ด เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด ซึ่งโรว์ลิงก็ตอบตกลง สวนสนุกตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ซึ่งเป็นเกาะรวมเครื่องเล่นแนวผจญภัยของยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ท โดยได้ใช้ชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่าโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2010 โดยมีทั้งนักแสดงจากภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) และทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย และด้วยความสำเร็จของสวนสนุกที่สามารถเพิ่มยอดผู้เข้าชมได้มากกว่าร้อยละ 36 ทางผู้สร้างจึงได้ริเริ่มโครงการที่สอง เป็นการสร้างส่วนขยายของสวนสนุกโดยการได้ทำการสร้างขึ้นในสวนสนุกยูนิเวอร์แซล ฟลอริดา ในส่วนของโครงการที่สองได้มีการสร้างสถานที่ในโลกเวทมนตร์อย่างตรอกไดแอกอน ประกอบด้วยร้านค้าต่างๆ รวมถึงธนาคารกริงก็อตส์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของเครื่องเล่นว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์กับการหลบหนีจากกริงก็อตส์ และยังรวมไปถึงสถานนีรถไฟของรถด่วนขบวนพิเศษฮอกวอตส์ซึ่งสร้างเชื่อมกับไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวก โดยในส่วนของสถานีรถไฟได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 และตามด้วยการเปิดตัวของตรอกไดแอกอนในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 สวนสนุกโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้มีการขยายสาขาไปเปิดยังต่างประเทศ ที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ก่อนที่จะมีการขยายสาขาเพิ่มเติมในปี 2016 ที่สวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซล ฮอลลีวูด ใกล้กับเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: * เว็บไซต์ส่วนตัวของ เจ. เค. โรว์ลิง * เว็บไซต์เนื้อเรื่องแต่งเพิ่มเติม ของ เจ. เค. โรว์ลิง * เว็บไซต์ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์อย่างเป็นทางการของวอร์เนอร์บราเธอร์ส * เว็บไซต์ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์อย่างเป็นทางการของวอร์เนอร์บราเธอร์ส (ภาษาไทย) * เว็บไซต์แฮร์รี่ พอตเตอร์ของสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับภาษาไทย * เว็บไซต์แฮร์รี่ พอตเตอร์ของสำนักพิมพ์บลูมส์บิวรี่ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับภาษาอังกฤษทั่วโลกนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา * เว็บไซต์แฮร์รี่ พอตเตอร์ของสำนักพิมพ์สกอแลสติก ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับภาษาอังกฤษในสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์ของแฟนหนังสือ / แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์อื่น ๆ : *MuggleNet.com * The-Leaky-Cauldron.org * The Harry Potter Lexicon สารานุกรมเกี่ยวกับนานาสารพันในโลกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ รวมถึงข้อมูลอ้างอิงต่าง ๆ ของผู้แต่ง เจ. เค. โรว์ลิง *PotterStoryWeb.com เว็บแฟนไซต์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter) & สัตว์มหัศจรรย์ (Fantastic Beasts) ประเทศไทย !! * Muggle-V.com เว็บไซต์แฮร์รี่ พอตเตอร์ แห่งประเทศไทย * หนังสือ Harry Potter ชุดต่างๆที่มีการพิมพ์ในประเทศไทย งานเขียนของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ฮ ฮ ฮ ฮ วรรณกรรมที่สร้างเป็นภาพยนตร์ นวนิยายอังกฤษดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ตัวละครที่เป็นพ่อมด โรงเรียนในวรรณกรรม
thaiwikipedia
880
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2476) เจ้าของนามปากกา ส. ศิวรักษ์ เป็นนักเขียน นักปรัชญา นักคิด และนักวิชาการชาวไทย, ได้รับรางวัล รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล (Alternative Nobel, Right Livelihood Award) หรือ "รางวัลโนเบลทางเลือก" ในปี พ.ศ. 2538 และยังได้รับรางวัลศรีบูรพาจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันอีกด้วย เขามีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่น พุทธศาสนา สังคม การเมือง รูปแบบการปกครอง เป็นต้น โดยมีหนังสืออัตชีวประวัติของตนเองชื่อว่า ช่วงแห่งชีวิต สุลักษณ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่งและอาจกล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่ออกมาพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นเหตุให้เขาโดนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายครั้ง แต่ก็พ้นผิดจากคุกได้ทุกครั้ง ครั้งหนึ่งเขาเคยยื่นถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระราชทานอภัยโทษ เขายังกล่าวแสดงความชื่นชมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกล่าวว่าหากไม่ได้รับพระบารมีปกเกล้าเขาคงต้องจำคุกอย่างแน่นอน == ประวัติ == สุลักษณ์เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดพระนคร มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ หรือ เหม่ เป็นบุตรคนเดียวของเฉลิม และสุพรรณ สมรสกับนิลฉวี มีบุตร 1 คน ธิดา 2 คน ครอบครัวของสุลักษณ์ เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน บรรพบุรุษทั้งหมดเป็นชาวจีนโพ้นทะเลซึ่งเดินทางเข้ามาตั้งรกรากและแต่งงานกับชาวไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงรัชกาลที่ 5 แม้พื้นฐานครอบครัวจะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนก็ตาม แต่ก็ได้ผสมผสานจนกลายเป็นครอบครัวคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทเป็นหลัก ส่วนพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นตระกูลที่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่รับราชการในส่วนกลาง แต่ในช่วงที่สุลักษณ์เกิดนั้น เป็นช่วงที่ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำเกือบถึงขีดสุด จึงแยกครอบครัวมาอยู่ที่ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ อันเป็นบ้านที่สุลักษณ์อาศัยอยู่ในปัจจุบัน หลังจากที่บิดาถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2489 สุลักษณ์ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ในช่วงมัธยมต้น ก็ต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเอง และต่อมาจึงได้รับการอุปการะจากมารดา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2495 จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก โดยเข้าเรียนครั้งแรกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2486 แล้วต้องพักการเรียน เพราะภัยจากสงครามโลกครั้งที่สอง เกือบ 3 ปี ในระหว่างนี้ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร อันเป็นช่วงที่ได้รับประสบการณ์จากระบบการศึกษาในวัด แล้วกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2489 จนสำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านปรัชญาประวัติศาสตร์และวรรณคดี จากมหาวิทยาลัยแห่งเวลส์ เมืองแลมปีเตอร์ (University of Wales, Lampeter) ในแคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2503 สำเร็จการศึกษาและสอบเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักกฎหมายมิดเดิลเทมเปิล (The Middle Temple Bar Law Association) สหราชอาณาจักร === การเมือง === สุลักษณ์ถือเป็นหนึ่งในนักเขียน นักวิชาการที่อยู่คู่กับสังคมการเมืองไทยมาตลอดประวัติศาสตร์หลังพ.ศ. 2500 เขานิยามตัวเองเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม แต่ในขณะเดียวกันผู้คนที่สุลักษณ์ยกย่องในคุณงามความดีนั้นส่วนมากเป็นฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปรีดี พนมยงค์ อดีตสมาชิกคณะราษฎรและพรรคสหชีพ ซึ่งเคยมีปัญหากับสุลักษณ์อย่างรุนแรง ก่อนที่เขาจะได้อ่านจดหมายเกี่ยวกับกรณีสวรรคตของพูนศุข พนมยงค์ ในปี พ.ศ. 2523 หลังจากนั้นสุลักษณ์ก็แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าตนนิยมชมชอบปรีดีตลอดมา นอกจากนั้นเขายังแสดงความนับถือในความสามารถของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกด้วย สุลักษณ์เป็นที่ปรึกษาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2549 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในวันที่ 1 กันยายน 2557 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ให้สัมภาษณ์รายการ "คืนความจริง" ว่า มาตราดังกล่าวเป็นเครื่องมือของทุกรัฐบาลเพื่อกดขี่ราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า การจับคนเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกครั้งเป็นการรังแกพระองค์ และทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทุกรัฐบาลที่อ้างว่าจงรักภักดี ลึก ๆ แล้วไม่จงรัก และยกตัวอย่างจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีซึ่งจับคนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากที่สุด แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์ของเยอรมนีก็สิ้นไปก่อนพระองค์สวรรคตเสียอีก สุลักษณ์ว่าเขาเสียใจที่ไม่มีปัญญาชนเห็นโทษของกฎหมายนี้ ไม่เห็นหัวใจของเสรีภาพ ไม่เห็นหัวใจของประชาธิปไตย ไม่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นลำดับ เป็นปศุสัตว์เชื่อง ๆ ให้ใครเขาสั่งได้ ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงครามกล่าวหาเขาว่าทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมีมติฟ้องร้องเขาต่อ ศาลทหารกรุงเทพ ในความผิดฐานหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อมาอัยการทหารไม่สั่งฟ้อง ปัจจุบัน สุลักษณ์ยังคงออกมาวิจารณ์การเมือง สังคม เศรษฐกิจ ตามทัศนะของตน ในช่องทางยูทูบ "เสมเสวนา" และ "ธนดิศ" โดยมีชุดคอนเทนต์คือ "การเมืองไทยยุคคณะราษฎร" และ "จักรีปริทัศน์" และมักมีคอนเทนต์ตอบโต้กับสนธิ ลิ้มทองกุล หลายครั้ง == รางวัล == รางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2537 จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บรรยายรับเชิญ(Visiting Professor) ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์, มหาวิทยาลัยฮาวาย และมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา เกียวโด เจบีเอ็น - เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ มูลนิธิสันติภาพนิวาโน (Niwano Peace Foundation) มอบรางวัลสันติภาพนิวาโนครั้งที่ 28 ให้กับนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ จากประเทศไทย รับประกาศเกียรติคุณรับรางวัล Alternative Nobel Price หรือ  Right  Livelihood Award  (สัมมาอาชีวะ  ด้านการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย) ประจำปี 2538 ณ กรุงสตอคโฮล์ม รัฐสภาสวีเดน รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล (Alternative Nobel, Right Livelihood Award) หรือ "รางวัลโนเบลทางเลือก" ในปี พ.ศ. 2538 == ผลงาน == สุลักษณ์นับเป็นนักเขียนที่มีผลงานหนังสือมากที่สุดในประเทศ รวมกว่า 200 เล่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมคำกล่าว หรือบทสัมภาษณ์ของเขาในที่สาธารณะ ฯลฯ ด้านใน ส.ศิวรักษ์ (2557) ด้านหน้า ส.ศิวรักษ์ (2557) สีซอให้คสช.ฟัง (2557) ครูและแพทย์ ที่พึงปรารถนาในสังคมสยาม (2556) กิน กาม เกียรติ ในวัย 80 (2556) โฉมหน้า ส.ศิวรักษ์ (2556) คนเก่าเล่าเรื่อง (2556) ถ้อยคำจากรากผัก งานแปล (2556) พิจารณากรมดำรงเมื่อพระชนม์ครบ 150 (2555) สิ้นฤทธิ์ คึกฤทธิ์ (หรือ คึกฤทธิยาลัย) (2555) สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล (2555) รากงอกก่อนตาย (2555) สอดสร้อยมาลา ศิวาลังการ (2554) ลอกคราบเสด็จพ่อร.5 (2554) มองไปข้างหลัง แลไปข้างหน้า เมื่อชราภาพครอบงำ (2554) ปัจจุบันเป็นเวลาอันประเสริฐสุด งานแปล (2554) เสียงจากปัญญาชนสยาม วัย 77 (2553) สาบเสือเมื่อพ้นภัยพาล (2553) พุทธศาสนากับปัญหาทางเพศและสีกากับผ้าเหลือง (2553) เตรียมตัวตายอย่างมีสติ ฉบับขยายความและเพิ่มเติม (2552) เพียรพูดความจริงในวัยสนธยาแห่งชีวิต (2552) คันฉ่องส่องพุทธธรรม (2551) ศิวสีหนาท (2551) ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม (2550) พระพุทธศาสนาในเมืองไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม (2550) ฉลอง 200 ปี พระเจ้ากรุงสยาม (2548) อ่าน-คนไทย (2548) สรรพสาระสำหรับผู้แสวงหา (2548) สอนสังฆราช (2547) คันฉ่องส่องตัวตน (2546) สาระพระพุทธศาสนาของธิเบต งานแปล (2546) ทวนกระแสเพื่อความสว่างทางสังคม (2545) นายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2543) คิดถึงคุณป๋วย (2543) อาจารย์ป๋วยกับสังคมไทย (2543) ความเข้าในเรื่องพระรัตนตรัย จากมุมมองของ ส.ศิวรักษ์ (2542) ลอกคราบชนชั้นปกครองไทย (2541) ปัญญาชนขบถน้ำผึ้งหยดเดียว (2541) สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย (2539) มีเพียงภาษาเป็นอาวุธ (2538) ผจญมาร รสช. (2538) แหวกแนวคิด (2538) คนดีที่น่ารู้จัก (2537) พิธีกรรมสำหรับพุทธศาสนิกร่วมสมัย งานแปล (2536) ความเข้าใจในเรื่องพระพุทธเจ้า และมหาสาวิกาสมัยพุทธกาล (2534) อโปโลเกีย (โสกราตีสแก้คดี) (2534) ยูไทโฟร (วิธีการของโสกราตีส) (2534) ศิลปะแห่งการแปล (2534) ที่สุดแห่งยั่วให้แย้ง (2534) ที่สุดแห่งสังคมสยาม (2533) ความเข้าใจในเรื่องพระเจ้าอโศกและอโศกาทาน (2533) มนุษย์ที่แท้ มรรควิถีของจางจื๊อ (2533) สี่สัปดาห์ในออสเตรเลีย หรือไปออสเตรเลียกับพระยาอนุมานราชธน (2532) ควายไม่ฟังเสียงซอ (2532) ปาฐกถาเรื่อง แนวคิดทางปรัชญาไทย (2532) แนวคิดทางปรัชญาการเมือง อริสโตเติล (2532) อมิตาภพุทธ งานแปล (2532) คำประกาศความเป็นไท หรือลายไทกับปัญญาชนสยาม (2531) ซากผ่าขวาน (2531) คันฉ่องส่องวรรณกรรม (2531) ดังทางด่า (2531) ทิศทางใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน (2531) ลอกคราบวัฒนธรรมไทย (มาเข้าใจวัฒนธรรมกันดีกว่า) (2531) เสฐียรโกเศศตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2531) ภูฐาน สวรรค์บนดิน (2531) คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย (2531) ภาษาไทยกับคนรุ่นใหม่ (2530) ทหารกับการเมืองไทย (2530) ศาสนากับการพัฒนา (2530) บันทึกของคนเดินทาง (2530) สยามวิกฤต (2530) ความคิดที่ขัดขวางและส่งเสริมประชาธิปไตยของไทย (2529) กระบวนการคนหนุ่มสาวในรอบ 2 ทศวรรษ ในสายตา ส.ศิวรักษ์ (2529) ต่างฟ้า ต่างฝัน (2529) ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง (2528) ลอกคราบสังคมไทยเพื่ออนาคต (2528) ลอกคราบสังคมเพื่อครู (2528) เรื่อง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะ ส. ศิวรักษ์ (2528) ก้าวแรกของปรัชญาฝรั่ง รวมเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก (2526) ศิลปะแห่งการแปล (2526) สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล (2529) ศิลปะแห่งการพูด (2526) เจ้า-ข้า ฟ้าเดียวกัน (2525) ศาสนากับสังคมไทย (2525) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตามทัศนะของ ส. ศิวรักษ์ ในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2523 (2525) รวมคำอภิปราย บทความและบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ที่เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (2525) อยู่อย่างไทย ในสมัยศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมปาฐกถา ส. ศิวรักษ์ ที่แสดงใน ร.ศ.199 (2525) พูดไม่เข้าหูคน (2524) คันฉ่องส่องครู (2524) ผู้ใหญ่ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (ทั้งที่กะล่อนและไม่กะล่อน) (2524) โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญา (2523) บุคคลร่วมสมัยในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2523) ห้าชีวประวัติในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2523) ศาสนากับสังคมไทย (2523) อนาคตของไทยในสายตา ส. ศิวรักษ์ (2522) อนาคตและอุดมคติสำหรับไทย (2522) คันฉ่องส่องพระ (2522) คันฉ่องส่องศาสนา (2522) พระผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน พระธรรมเจดีย์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (2522) ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522 สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย (2540) คุยกับกรมหมื่นพิทยลาภฯ (2520) กรรมและนิพพาน งานแปล (2519) ศาสนากับการพัฒนา (2519) นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง (2519) คุณความดีสอนกันได้หรือไม่ - แปลจากเมโน (2518) จดหมายเหตุจากถนอมถึงคึกฤทธิ์ (ผ่านสัญญา และเสนีย์) (2518) ตายประชดป่าช้า (2516) กินน้ำเห็นปลิง (2516) อดีตของอนาคต (2516) ปรัชญาการศึกษา (2516) ปีแห่งการอ่านหนังสือของ ส. ศิวรักษ์ (2515) สมุดข้างหมอน (2514) ตามใจผู้เขียน (2514) จากยุววิทยา ถึงวิทยาสารปริทัศน์ (2514) ตามใจผู้เขียน (2514) วาระสุดท้ายของโสกราตีส (2514) โสกราตีสในคุก (2514) วิธีการของโสกราตีส (2514) คุยคนเดียว ของส. ศิวรักษ์ (2513) ปัญญาชนสยาม (2512) นอนต่างแดน (2512) สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศ (2512) ชวนอ่านและวิจารณ์หนังสือต่างๆ ของส. ศิวรักษ์ (2512) สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศและพระยาอนุมานราชธนที่ข้าพเจ้ารู้สึก (2512) ปัญญาชนสยาม (2512) ไทยเขียนฝรั่ง (2511) แนะหนังสือสำหรับผู้หญิง ของ ส.ศิวรักษ์ (2513) สรรพสาระ ของ ส. ศิวรักษ์ (2511) ลายสือสยาม (2510) ความคิด-ความอ่าน และ นานาสังวาส ส.ศิวรักษ์ (2510) พระดีที่น่ารู้จัก (2510) ฝรั่งอ่านไทย และแบบอย่างการแปลหนังสือ กับเรื่องแปลต่าง ๆ (2510) ของดีจากธิเบต รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในธิเบต (2510) หนังสือสนุก (2508) จดหมายรักจากอเมริกา (2508) คันฉ่องส่อง ส.ศิวรักษ์ (2508) โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญาโดยบริบูรณ์ (2507) เจ้าคุณอาจารย์ หรือ (พระภัทรมุนีที่ข้าพเจ้ารู้จัก) (2507) ทฤษฎีแห่งความรัก (2507) ช่วงแห่งชีวิตของ ส.ศิวรักษ์ แต่ก่อนเกิดจนจบการศึกษาจากเมืองอังกฤษ (2507) ศิวพจนาตถ์ (2506) เสด็จอังกฤษ (2505) มาพูดภาษาไทยกันดีกว่า (2504) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2501) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Sulak Sivaraksa - 1995 Right Livelihood Award Recipient ประวัติ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักวิชาการชาวไทย นักเขียนชาวไทย นักปรัชญา การเมืองภาคประชาชน ชาวไทยเชื้อสายจีน พุทธศาสนิกชนชาวไทย บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
thaiwikipedia
881
ดอกบัวหลวง
redirect บัวหลวง
thaiwikipedia
882
เส้นเวลาของคณิตศาสตร์
เส้นเวลาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ (timeline of mathematics) == ก่อน 1000 ปีก่อนคริสตกาล == ประมาณ 70,000 ปีก่อนคริสตกาล ร่องรอยบนแผ่นหินซึ่งมีรูปแบบทางเรขาคณิต ที่แอฟริกาใต้ ประมาณ 35,000 ถึง 20,000 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ที่แสดงถึงการบันทึกเวลา ประมาณ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ท่อนกระดูกอิชานโก (Ishango Bone) อาจกล่าวถึงเรื่องจำนวนเฉพาะ และการคูณของชาวอียิปต์ ในลุ่มแม่น้ำไนล์ ประมาณ 3400 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุมาเรียน คิดค้นระบบตัวเลข และมาตราการชั่ง-ตวง-วัด ในลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์ คิดค้นระบบตัวเลข ฐานสิบ ซึ่งสามารถใช้แทนตัวเลขใดๆ ก็ได้ด้วยการแนะนำสัญลักษณ์รูปแบบใหม่ ประมาณ 2800 ปีก่อนคริสตกาล อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอนุทวีปอินเดียใช้ระบบเศษส่วนในมาตราชั่ง-ตวง-วัด หน่วยที่เล็กที่สุดของความยาวประมาณ 1.704 มิลลิเมตร หน่วยที่เล็กที่สุดของมวลประมาณ 28 กรัม 2700 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์คิดค้นวิชาสำรวจ 2400 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์สร้างปฏิทินดาราศาสตร์ ใช้จนถึงยุคกลางเนื่องจากความถูกต้องทางคณิตศาสตร์ของมัน ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนใช้ระบบเลขฐาน 60 และเป็นครั้งแรกที่มีการประมาณค่า π เป็น 3.125 ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล ลูกหินแกะสลัก (Carved Stone Ball) แห่งสกอตแลนด์แสดงถึงรูปแบบของความสมมาตรที่หลากหลาย รวมถึงทรงตันเพลโต 1800 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นปาปิรุสทางคณิตศาสตร์แห่งมอสโค (Moscow Mathematical Papyrus) แสดงถึงวิธีการหาปริมาตรของฟรัสตัม 1600 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นปาปิรุสทางคณิตศาสตร์แห่งรินด์เป็นคัดลอกของม้วนกระดาษต้นฉบับสูญหาย คาดว่าต้นฉบับน่าจะเขียนราว 1850 ปีก่อนคริสตกาลคัดลอกโดยอาลักษณ์ที่ชื่อว่าอาเมส ได้บันทึกการประมาณค่า π ด้วยค่า 3.16 เป็นความพยายามครั้งแรกที่จะหาวิธีการสร้างสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่วงกลมโดยใช้หลักการของโคแทนเจนต์ และแสดงถึงวิธีการแก้สมการเชิงเส้นอันดับหนึ่ง 1300 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นปาปิรุสแห่งเบอร์ลินซึ่งกล่าวถึงสมการกำลังสองและวิธีการหาคำตอบของสมการดังกล่าว == 1 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล == 530 ก่อน ค.ศ. - พีทาโกรัส ศึกษาและคิดค้นเรขาคณิต รวมทั้งนำคณิตศาสตร์มาใช้อธิบายการสั่นของเส้นเชือก นอกจากนี้ลูกศิษย์ของเขายังได้ค้นพบจำนวนอตรรกยะจากรากที่สองของ 2 (มีเรื่องเล่ากันว่าพีทาโกรัสผู้ซึ่งบูชาตัวเลขดั่งพระเจ้า ตกใจมากกับการค้นพบตัวเลขซึ่งไม่สามารถแทนได้ด้วยเศษส่วนนี้ จึงสั่งให้ลูกศิษย์เซ่นไหว้วัว 100 ตัวในการขอขมาที่ไปพบกับความลับของพระเจ้า), 370 ก่อน ค.ศ. - ยุโดซุสแห่งไซน์ดุส คิดค้น method of exhaustion ซึ่งเป็นวิธีที่ทรงพลังในการหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต ซึ่งเป็นเทคนิคที่อาร์คิมิดีสเชี่ยวชาญมากในเวลาต่อมา และเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของแคลคูลัส, 350 ก่อน ค.ศ. - อริสโตเติล คิดค้นตรรกศาสตร์หรือศาสตร์แห่งการให้เหตุผลในตำรา Organon, 300 ก่อน ค.ศ. - ยุคลิด เขียนตำราเรขาคณิตชื่อ อีลีเมนท์สThe Elememts ซึ่งเป็นตำราที่นักคณิตศาสตร์ทั้งในอดีตและปัจจุบันยกย่องว่า สมบูรณ์ใกล้เคียงกับคณิตศาสตร์สมัยใหม่มาก โดยใช้วิธีการทางสัจพจน์เป็นฐานของทฤษฎีบททั้งหมด ภายในนั้นมีบทพิสูจน์ว่าจำนวนเฉพาะมีไม่จำกัด (เป็นจำนวนอนันต์) รวมทั้งขั้นตอนวิธีแบบยุคลิด และการพิสูจน์ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต นักประวัติศาสตร์ชาวยุโรปบางท่านกล่าวว่าตำราเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีผู้อ่านมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติรองมาจากคัมภีร์ไบเบิล, 260 ก่อน ค.ศ. - อาร์คิมิดีส คำนวณค่า π ได้ถูกต้องถึงทศนิยมตำแหน่งที่สอง โดยใช้ method of exhaustion ของยุโดซุส จากการประมาณรูปวงกลมด้วยรูปหลายเหลี่ยมทั้งภายนอกและภายในวงกลมนั้น แล้วใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสในการประมาณความยาวของเส้นรอบวง โดยอาร์คิมิดีสสามารถคำนวณความยาวรอบรูปของรูป 96 เหลี่ยม (เพื่อใช้ประมาณแทนรูปวงกลม) ได้ทั้งๆ ที่ยังไม่มีระบบตัวเลขฮินดู-อารบิกและพีชคณิต นอกจากนี้อาร์คิมิดีสยังได้แสดงการคำนวณพื้นที่ใต้รูปพาราโบลาโดยใช้ method of exhaustion อีกเช่นกัน, 240 ก่อน ค.ศ. - เอราทอสเทนีส คิดค้นตะแกรงของเอราทอสเทนีส ซึ่งเป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้หาจำนวนเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว (ในสมัยนั้น), 225 ก่อนค.ศ. - อพอลโลนิอุสแห่งเปอร์จา เขียนตำรา On Conic Sections ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับภาคตัดกรวยในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วงรี พาราโบลา หรือ ไฮเพอร์โบลา, 140 ก่อนค.ศ. - ฮิบปาชุส วางรากฐานของตรีโกณมิติ, ประมาณ ค.ศ. 200 - ทอเลมีแห่งอเล็กซานเดรีย เขียนตำรา อัลมาเกส (ภาษาละติน: Almagest แปลว่า หนังสือที่ยิ่งใหญ่) ซึ่งเป็นตำราดาราศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในยุคนั้น และได้รับการยกย่องมากในยุคกลางโดยนักคณิตศาสตร์มุสลิม, ค.ศ. 250 - ไดโอฟานตุส เขียนหนังสือ Arithmetica ซึ่งเป็นตำราฉบับแรกที่พูดถึงระบบพีชคณิต, ค.ศ. 400 - ค.ศ. 550 นักคณิตศาสตร์ฮินดูสร้างสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์ ในระบบตัวเลข, ค.ศ. 750 - อัล-ควาริสมี นักคณิตศาสตร์มุสลิมผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งพีชคณิต คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น และระบบสมการกำลังสอง และชื่อของเขาเป็นที่มาของคำว่า ขั้นตอนวิธี ที่ใช้กันในปัจจุบัน == ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (เรอเนซองต์) == ค.ศ. 1520 - สคิปิโอเน เดล เฟอโร คิดค้นคำตอบในรูปแบบราก ของสมการกำลังสาม แบบลดรูป (คือสมการกำลังสาม ที่สัมประสิทธิ์ของเทอม x2 เท่ากับ 0) ได้สำเร็จ แต่ว่าไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานนี้ และได้ถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์คนสนิทชื่อ "อันโตนิโอ ฟิออ" คนเดียวเท่านั้น ค.ศ. 1535 - อันโตนิโอ ฟิออ ซึ่งได้รับถ่ายทอดเทคนิคจาก เดล เฟอโร ได้ท้า นิคโคโล ฟอนตาน่า หรือ ทาร์ทากลียา แข่งทำโจทย์คณิตศาสตร์ โดยต่างคนต่างให้โจทย์อีกฝ่ายคนละ 30 ข้อ โดยฟิออได้ให้ทาร์ทากลียาทำโจทย์สมการกำลังสาม ลดรูปทั้งหมด 30 ข้อ และในที่สุด ทาร์ทากลียาก็คิดค้นคำตอบในรูปแบบรากได้เช่นเดียวกันกับ เดล เฟอโร และชนะการแข่งขันครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ทาร์ทากลียาก็ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เช่นกัน, ค.ศ. 1539 - จีโรลาโม คาร์ดาโน เรียนรู้วิธีในการหาคำตอบสมการกำลังสามลดรูปจากทาร์ทากลียา และในเวลาต่อมา คาร์ดาโนก็สามารถคิดค้นวิธีหาคำตอบในรูปแบบรากของสมการกำลังสามแบบสมบูรณ์ได้, ค.ศ. 1540 - โลโดวิโค เฟอรารีซึ่งเป็นลูกศิษย์ของคาร์ดาโน คิดค้นวิธีหาคำตอบในรูปแบบรากของสมการกำลังสี่ ได้สำเร็จ, ค.ศ. 1614 - จอห์น นาเปียร์ คิดค้นลอการิทึมได้สำเร็จหลังจากทุ่มเทมานับสิบปี และตีพิมพ์ผลงานนี้ใน Mirifici Logarithmorum Canonis Descriptio, ค.ศ. 1619 - เรอเน เดการ์ต และปีแยร์ เดอ แฟร์มา คิดค้นเรขาคณิตวิเคราะห์ได้ ในเวลาใกล้เคียงกัน, ค.ศ. 1629 - ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้คิดค้นรากฐานบางส่วนของแคลคูลัสอนุพันธ์, ค.ศ. 1637 - ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้จดบันทึกเล็ก ๆ ในหนังสือ Arithmetica ของไดโอแฟนตุสว่า ผมสามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ได้ แต่ว่าที่ว่างตรงนี้มันน้อยเกินไปที่จะเขียนบทพิสูจน์ ทฤษฎีบทที่ว่านี้ก็คือ ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาซึ่งไม่มีใครพิสูจน์ได้เลยเป็นเวลานานเกือบ 400 ปี จนกระทั่งแอนดรูว์ ไวล์ได้ให้บทพิสูจน์ในปี ค.ศ. 1995, ค.ศ. 1654 - แบลซ ปัสกาล และ ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้ร่วมมือกันคิดค้นรากฐานของทฤษฎีความน่าจะเป็น,จากสามเหลี่ยมปาสกาลซึ่งเป็นผลงานทางคณิตศาสตร์ของชาวจีน == คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (ยุคคลาสสิก) == ค.ศ. 1665 - ไอแซก นิวตัน พิสูจน์ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส และสร้างแคลคูลัสขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางกลศาสตร์ในฟิสิกส์ โดยนิวตันเรียกแคลคูลัสว่า วิธีแห่งการเปลี่ยนแปลง , ค.ศ. 1671 - เจมส์ เกรกอรี คิดค้นอนุกรมอนันต์ในการแทนฟังก์ชันผกผันของแทนเจนต์ซึ่งเป็นอนุกรมอนันต์ที่มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น นำไปใช้คำนวณค่า π, ค.ศ. 1673 - กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ประดิษฐ์แคลคูลัสของเขาเองโดยไม่ขึ้นกับของนิวตัน แคลคูลัสของไลบ์นิซนั้นมีรากฐานมาจากคณิตศาสตร์บริสุทธิ์โดยตรงซึ่งต่างจากนิวตันที่มีรากฐานมาจากการประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยประเด็นที่ว่าใครเป็นผู้คิดค้นแคลคูลัสเป็นคนแรกนั้นถูกถกเถียงกันมานานนับศตวรรษ ชื่อ แคลคูลัส มาจากฝั่งของไลบ์นิซ นอกจากนั้นสัญลักษณ์ทางแคลคูลัสในคณิตศาสตร์ปัจจุบันเราก็ใช้ของไลบ์นิซ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยให้จดจำกฎต่างๆ ของแคลคูลัสได้ง่ายกว่าในที่สุดจึงได้รับเป็นบิดาแห่งวิชาแคลคูลัส (ในทำนองเดียวกันกับ สัญลักษณ์ของดิแรกในกลศาสตร์ควอนตัม) ค.ศ. 1675 - ไอแซก นิวตัน คิดค้นการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเพื่อหาคำตอบของสมการไม่เชิงเส้น เรียกว่าวิธีของนิวตัน หรือ วิธีของนิวตันและราฟสัน เนื่องจากเวลาต่อมานักคณิตศาสตร์ชื่อราฟสันก็คิดค้นวิธีเดียวกันนี้ได้โดยไม่ขึ้นกับนิวตัน, ค.ศ. 1691 - กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ คิดค้นเทคนิคในการแยกตัวแปรของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ, ค.ศ. 1696 - กุยลอมเมอ เดอ โลปิตาล (ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของโยฮัน เบอร์นูลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของไลบ์นิซอีกที) ได้คิดค้นกฎของโลปีตาล ในการคำนวณหาค่าลิมิตของฟังก์ชันที่อยู่ในรูป 0/0, ค.ศ. 1696 - โยฮัน เบอร์นูลลี หาคำตอบในปัญหา brachistochrone problem ได้สำเร็จและเป็นจุดเริ่มต้นของแคลคูลัสของการแปรผัน, ค.ศ. 1712 - บรู๊ค เทย์เลอร์ พัฒนาอนุกรมเทย์เลอร์ได้สำเร็จ, ค.ศ. 1722 - อับราฮัม เดอ มอยเร ได้แสดง De Moivre's theorem ซึ่งทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันของตรีโกณมิติและจำนวนเชิงซ้อน, ค.ศ. 1730 - เจมส์ สเติรริง ตีพิมพ์ The Differential Method, ค.ศ. 1733 - อับราฮัม เดอ มอยเร นำ การกระจายตัวแบบปกติในการประมาณค่าของการกระจายตัวแบบทวินามของนิวตัน(โดยคันพบจากสามเหลี่ยมปาสคาล)ในทฤษฎีความน่าจะเป็น, ค.ศ. 1734 - เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ คิดค้น integrating factor technique ในการแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับหนึ่ง, ค.ศ. 1736 - เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ แก้ปัญหาสะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองโคนิกส์เบิร์ก ได้สำเร็จและส่งผลให้ทฤษฎีกราฟกำเนิดขึ้นมาเป็นสาขาใหม่ของคณิตศาสตร์, ค.ศ. 1739 - เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ คิดวิธีมาตรฐานในการแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นแบบเอกพันธ์ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงที่ได้สำเร็จ, ค.ศ. 1761 - โทมัส เบย์ ได้สร้างทฤษฎีบทของเบย์ขึ้นมาในทฤษฎีความน่าจะเป็น, ค.ศ. 1762 - โจเซพ หลุยส์ ลากรองช์ คิดค้น divergence theorem, ค.ศ. 1796 - คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ พิสูจน์ว่า รูป 17 เหลี่ยมด้านเท่า สามารถสร้างได้ด้วยไม้บรรทัดและวงเวียนเท่านั้น ซึ่งนับเป็นการต่อยอดความรู้กรีกที่นิ่งมาราว 2000 ปีได้สำเร็จ, ค.ศ. 1796 - เอเดรียน-แมรี เลอจองด์ ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะ, ค.ศ. 1799 - คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ให้บทพิสูจน์ของทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต ที่บอกว่า ทุกๆ สมการพหุนามจะมีคำตอบในรูปจำนวนเชิงซ้อนเสมอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญที่สุดของจำนวนเชิงซ้อนในพีชคณิต, == คริสต์ศตวรรษที่ 19 == ค.ศ. 1801 - ความเรียงของเกาส์ในเรื่องทฤษฎีจำนวนชื่อ Disquisitiones Arithmeticae ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาละติน ค.ศ. 1805 - เอเดรียน-แมรี เลอจองด์ คิดค้นวิธีกำลังสองต่ำสุดเพื่อใช้ในปัญหาการปรับเส้นโค้ง เพื่อให้ได้เส้นโค้งที่มี ค่าผิดพลาดเฉลี่ย น้อยที่สุด ค.ศ. 1807 - โจเซฟ ฟูรีเย ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับอนุกรมฟูรีเย หรืออนุกรมตรีโกณมิตินั่นเอง ค.ศ. 1811 - คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ได้อภิปรายความหมายของการอินทิกรัลในลิมิตเชิงซ้อน และยกตัวอย่างความขึ้นต่อกันของอินทิกรัลต่อวิถี (Path) ของการอินทิกรัลนั้น ค.ศ. 1815 - ซีเมยอง ปัวซอง ต่อยอดการอินทิกรัลบนวิถีในระนาบเชิงซ้อน ค.ศ. 1817 - แบร์นาร์ด โบลซาโน ได้ให้บทพิสูจน์อย่างเคร่งครัดของทฤษฎีบทค่าระหว่างกลาง ซึ่งกล่าวว่า สำหรับฟังก์ชันต่อเนื่องใดๆ ถ้ามีจุดในโดเมนที่ให้ค่าบวกและค่าลบอย่างน้อยอย่างละหนึ่งจุด ฟังก์ชันนี้จะต้องมีจุดในโดเมนอย่างน้อยหนึ่งจุด และต้องอยู่ระหว่างสองจุดดังกล่าว ที่ให้ค่า 0 ค.ศ. 1822 - ออกัสติน หลุยส์ โคชี่เสนอ ทฤษฎีบทอินทรีกรัลของโคชี สำหรับอินทิกรัลบนกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในระนาบเชิงซ้อน ค.ศ. 1824 - นีลส์ เฮนริก อาเบล ได้ให้บทพิสูจน์ว่าไม่มีคำตอบในรูปแบบรากสำหรับสมการพหุนามอันดับห้าใดๆ เป็นการให้คำตอบของปัญหาที่นักคณิตศาสตร์ทั้งหลายเฝ้าพยายามค้นคว้ามาราว 300 ปีได้สำเร็จ ค.ศ. 1825 - ออกัสติน หลุยส์ โคชี่เสนอ ทฤษฎีบทอินทรีกรัลของโคชี สำหรับหาค่าปริพันธ์บนวิถีใดๆ ภายใต้สมมติฐานว่าฟังก์ชันที่จะหาค่าปริพันธ์นั้นจะต้องสามารถหาค่าอนุพันธ์ได้และต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้เสนอทฤษฎีส่วนตกค้าง (residue) ในการวิเคราะห์เชิงซ้อน ค.ศ. 1825 - ปีเตอร์ ดิริเคต (Peter Dirichlet) และ เลอจองด์ ได้พิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาในกรณี n = 5 ค.ศ. 1825 - อันเดร แมรี แอมแปร ค้นพบ ทฤษฎีบทสโต๊กส์ ค.ศ. 1828 - จอร์จ กรีน พิสูจน์ทฤษฎีบทของกรีน ค.ศ. 1829 - นิโคไล อิวาโนวิช โลบาชอฟสกี ตีพิมพ์ผลงาน เรขาคณิตนอกแบบยุคลิดแบบไฮเปอร์โบลิก ค.ศ. 1831 - Mikhail Vasilievich Ostrogradsky พิสูจน์ ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนต์ (divergence theorem) ก่อน เลอจองด์ เกาส์ และกรีน ค.ศ. 1832 - เอวาริสเต เกลอส (Évariste Galois) เสนอวิธีการพิสูจน์ว่าปัญหาของสมการหรือระบบสมการพิชคณิตหนึ่งๆ จะแก้ไขได้หรือไม่ ซึ่งใช้ ทฤษฎีกลุ่ม(group theory) และ ทฤษฏีของเกลอส (Galois theory) ค.ศ. 1832 - ปีเตอร์ ดิริเคต (Peter Dirichlet) พิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาได้ในกรณี n=14 ค.ศ. 1835 - ปีเตอร์ ดิริเคต (Peter Dirichlet) พิสูจน์ทฤษฎี Dirichlet theorem ของเขาเกี่ยวกับการก้าวหน้าของจำนวนเฉพาะ ค.ศ. 1837 - ปีแอร์ วานต์เซล (Pierre Wantzel) พิสูจน์การสร้างลูกบาศก์ที่มีขนาดเป็นสองเท่าของลูกบาศก์ที่กำหนดให้หนึ่งๆ และการแบ่งมุมออกเป็นสามส่วนเท่าๆกัน โดยใช้วงเวียนและสันตรงเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นไปไม่ได้ ค.ศ. 1841 - คาร์ล เวเรอสตราส (Karl Weierstrass) ค้นพบ การกระจายลอเรนซ์ (Laurent expansion theorem) แต่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ ค.ศ. 1843 - ลอเรนซ์ Pierre-Alphonse Laurent ค้นพบและเผยแพร่ การกระจายลอเรนซ์ (Laurent expansion theorem) ค.ศ. 1843 - แฮลมิงตัน (William Rowan Hamilton) ค้นพบแคลคูลัสของควาเตอร์เนียน (quaternion) ค.ศ. 1847 - จอร์จ บูล ตีพิมพ์เนื้อหาว่าด้วยตรรกศาสตรเชิงสัญลักษณ์(Symbolic Logic) ไว้ใน The Mathematical Analysis of Logic ซึ่งกลายเป็นพีชคณิตแบบบูลในปัจจุบัน ค.ศ. 1849 - สโตกส์ (George Gabriel Stokes) พบว่าชุดคลื่นโซลิตอนสามารถแยกองค์ประกอบเป็นฟังก์ชันรายคาบได้ ค.ศ. 1850 - Victor Alexandre Puiseux ค้นพบหลักการของภาวะเอกฐาน ค.ศ. 1850 - สโตกส์พิสูจน์ ทฤษฎีบทสโตกส์ ค.ศ. 1854 - แบร์นฮาร์ด รีมันน์ ค้นพบ เรขาคณิตของรีมันน์ ค.ศ. 1854 - อาเธอร์ แคร์เรย์ (Arthur Cayley) นำหลักการของควาเตอร์เนียนมาใช้ในการหมุนของปริภูมิสี่มิติ ค.ศ. 1858 - โมเบียส August Ferdinand Möbius คิดค้น แถบโมเบียส ค.ศ. 1859 - แบร์นฮาร์ด รีมันน์ ตั้ง สมมติฐานของรีมันน์ ว่าด้วยการกระจายของจำนวนเฉพาะ ค.ศ. 1870 - เฟลิกซ์ ไคลน์ (Felix Klein)สร้างเรขาคณิตโลบาแชฟสกี (Lobachevski's geometry) ทำให้เกิดแฟรกตัลและเกี่ยวข้องกับสมมติฐานข้อห้าของยูคลิก ค.ศ. 1873 - ชาร์ลส์ เฮอร์ไมท์ พิสูจน์ได้ว่า e เป็นจำนวนอดิศัย ค.ศ. 1873 - โฟรเบนิอุส (Georg Frobenius) ค้นพบ ขั้นตอนวิธีโฟรเบนีอุสในการแก้สมการเชิงอนุพันธ์ ให้มีคำตอบเป็นอนุกรมกำลัง ค.ศ. 1874 - เกออร์ก คันทอร์ แสดงว่า จำนวนจริงนั้นมีอนันต์ และจำนวนเต็มนั้นมีจำกัดกว่า ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีเซตสามัญที่เขาค้นพบภายหลัง ค.ศ. 1878 - ชาร์ล เฮอมิท (Charles Hermite) แก้สมการพหุนามดีกรีห้าโดยวิธีการเชิงวงรีและโมดูล่า ค.ศ. 1882 - เฟอร์ดินานด์ วอน ลินเดอแมน (Ferdinand von Lindemann) พิสูจน์ว่า π เป็นจำนวนอดิสัย และทำให้ไม่สามารถสร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีพื้นที่เท่ากับวงกลมที่กำหนดให้โดยใช้วงเวียนและสันตรง ค.ศ. 1882 - เฟลิกซ์ ไคลน์สร้างขวดของไคลน์ ค.ศ. 1895 - Diederik Korteweg และ Gustav de Vries ค้นพบสมการเคดีวี (Korteweg–de Vries Equation) โดยใช้อธิบายรูปแบบคลื่นน้ำที่กระจายตัวในท่อหน้าตัดสี่เหลี่ยม ค.ศ. 1895 - เกออร์ก คันทอร์ ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ ทฤษฎีเซตสามัญเกี่ยวกับ ความเป็นอนันต์ ตัวเลขคาร์ดินัลcardinal number และสมมติฐานความต่อเนื่อง ค.ศ. 1896 - Jacques Hadamard และ Charles de La Vallée-Poussin พิสูจน์ ทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะ พร้อมๆกันได้โดยบังเอิญ ค.ศ. 1896 - Hermann Minkowski นำเสนอ Geometry of numbers ซึ่งเป็นศาสตร์ใหญ่ในทฤษฎีจำนวน ค.ศ. 1899 - เกออร์ก คันทอร์ ค้นพบข้อขัดแย้งในทฤษฎีเซตของเขา ค.ศ. 1899 - ดาฟิด ฮิลแบร์ท เสนอสัจพจน์ทางเรขาคณิตที่มีความต้องกันในตัวเองใน Foundations of Geometry ค.ศ. 1900 - ดาฟิด ฮิลแบร์ท เสนอปัญหา 23 ข้อของฮิลแบร์ทที่กรุงปารีส โดยฮิลแบร์ทตั้งใจให้เป็นปัญหาแห่งศตวรรษใหม่ กลุ่มปัญหาที่ลึกซึ้งเหล่านี้ช่วยกระตุ้นวงการคณิตศาสตร์ในขณะนั้นให้พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก == คริสต์ศตวรรษที่ 20 == ค.ศ. 1901 - เอเลีย คาร์ตันพัฒนาแนวคิดอนุพันธ์ภายนอก ค.ศ. 1903 - คาร์ล เดวิด ทอร์ม รูจ นำเสนอ ผลการแปลงฟูรีเยแบบเร็ว ค.ศ. 1903 - เอ็ดมันด์ ลันเดาได้ให้บทพิสูจน์อย่างง่ายของทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะ ค.ศ. 1908 - เอิร์นส เซอเมโลได้นิยามกลุ่มสัจพจน์ของทฤษฎีเซตขึ้น เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่คันทอร์และรัสเซลล์พบ ค.ศ. 1908 - โจซิพ เปลเมลจ์ ค้นพบวิธีแก้ปัญหาของรีมันน์เกี่ยวกับการมีจริงของ สมการเชิงอนุพันธ์ จากกลุ่มโมโนโดรมี โดยใช้วิธีการของซอกฮอทสกี-เปลเมลจ์ ค.ศ. 1912 - บราวเวอร์นำเสนอทฤษฎีบทจุดตรึงของบราวเวอร์ ค.ศ. 1912 - โจซิพ เปลเมลจ์ ตีพิมพ์วิธีการพิสูจน์อย่างง่ายของทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาเมื่อค่าเลขชี้กำลัง n = 5 ค.ศ. 1913 - ศรีนิวาสะ รามานุจัน ส่งทฤษฎีบทจำนวนมากชุดหนึ่ง (แต่ไม่ได้ให้บทพิสูจน์) ไปยังก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ค.ศ. 1914 - ศรีนิวาสะ รามานุจัน ตีพิมพ์ Modular Equations and Approximations to π ค.ศ. 1919 - วิกโก บรันนิยามค่าคงที่ของบรัน B_2 สำหรับจำนวนเฉพาะฝาแฝด ค.ศ. 1928 - จอห์น ฟอน นอยมันน์ นำเสนอทฤษฎีเกมและพิสูจน์ทฤษฎีบท minimax ค.ศ. 1930 - แคซิเมียร์ กุราคอฟสกีพิสูจน์ว่าปัญหากระท่อมสามหลังเป็นไปไม่ได้ ค.ศ. 1931 - เคิร์ท เกอเดลพิสูจน์ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดลที่บอกว่า ระบบรูปนัย ถ้ามีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว จำเป็นที่จะต้องไม่สมบูรณ์ หรือไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีความต้องกัน ค.ศ. 1931 - จอร์จ เดอ ลามพัฒนาแนวคิด cohomology และ characteristic class ในทอพอโลยี ค.ศ. 1933 - แครอล บอร์ซัก และ สแตนนิซลอว์ อูลามนำเสนอทฤษฎีบทบอร์ซัก-อูลาม ในทอพอโลยี ค.ศ. 1933 - แอนดรี นิโคเลวิช โคโมโกรอฟ ตีพิมพ์หนังสือ Basic notions of the calculus of probability (Grundbegriffe der Wahrscheinlichkeitsrechnung) ซึ่งประกอบไปด้วย สัจพจน์ของความน่าจะเป็น บนพื้นฐานของ ทฤษฎีการวัด ค.ศ. 1940 - เคิร์ท เกอเดล แสดงให้เห็นว่าทั้งสมมติฐานความต่อเนื่องและสัจพจน์การเลือกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จจากสัจพจน์พื้นฐานของทฤษฎีเซต ค.ศ. 1942 - แดนเนียลสันและแลนก์ซอสพัฒนาขั้นตอนวิธีแปลงฟูรีเยแบบเร็ว ค.ศ. 1943 - เคนเน็ธ เลเวนเบิร์กเสนอวิธีการหาค่าเหมาะในรูปแบบที่ไม่เป็นเชิงเส้นโดยใช้กำลังสองน้อยสุด ค.ศ. 1945 - สตีเฟน โคล คลีน เสนอแนวคิด realizability ค.ศ. 1948 - จอห์น ฟอน นอยมันน์ เริ่มนำเครื่องจักรที่ทำงานด้วยตัวเองมาวิเคราะห์ตามหลักคณิตศาสตร์ ค.ศ. 1949 - จอห์น ฟอน นอยมันน์ คำนวณ π ได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 2,037 โดยใช้ENIAC ค.ศ. 1950 - สแตนนิซลอว์ อูลามและ จอห์น ฟอน นอยมันน์เสนอ cellular automata ค.ศ. 1953 - นิโคลัส เมโทโพลิส เสนอขั้นตอนวิธีการอบเหนียวจำลองซึ่งประยุกต์มาจากแนวคิดของอุณหหลศาสตร์ ค.ศ. 1955 - เอนรีโก แฟร์มี จอห์น พาสต้าและสแตนนิซลอว์ อูลาม ศึกษาการนำความร้อนโดยใช้โมเดลการสั่นของสายเส้นเชิงตัวเลข และค้นพบว่ามีพฤติกรรมชุดคลื่นโซลิตอน ค.ศ. 1960 - C. A. R. Hoare คิดค้นขั้นตอนวิธี quicksort ค.ศ. 1960 - เออวิง รีดและกุสตาฟ โซโลมอน นำเสนอรหัสแก้ความผิดพลาดรีด-โซโลมอน ค.ศ. 1961 - เดเนียล แชงคส์และ จอห์น เวนช์คำนวณค่า π ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 100,000 โดยใช้ฟังก์ชันผกผันของแทนเจนต์ และคอมพิวเตอร์ IBM-7090 ค.ศ. 1962 - โดนัลด์ มาควอรต์ เสนอขั้นตอนวิธีการหาค่าเหมาะในรูปแบบที่ไม่เป็นเชิงเส้นโดยใช้กำลังสองน้อยสุดเลเวนเบิร์ก-มาควอรต์ ค.ศ. 1963 - พอล โคเฮ็นคิดค้นเทคนิคการ forcing เพื่อแสดงว่าสมมติฐานความต่อเนื่องและสัจพจน์การเลือกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงจากสัจพจน์พื้นฐานของทฤษฎีเซต ค.ศ. 1963 - มาร์ติน ครุซกัล และนอร์มอน ซาบัสกี วิเคราะห์การทดลองของแฟร์มี-พาสต้า-อูลามในลิมิตที่ต่อเนื่องและค้นพบว่าระบบนี้สอดคล้องกับสมการเคดีวี ค.ศ. 1963 - เอ็ดวาร์ด นอร์ตัน ลอเรนซ์ ตีพิมพ์ผลเฉลยของโมเดลคณิตศาสตร์อย่างง่ายสำหรับอธิบายความแปรปรวนของสภาพอากาศ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่รู้จักกันทั่วไปในด้านพฤติกรรมโกลาหล ตัวดึงดูดลอเรนซ์ หรือที่มักเรียกกันว่าปรากฏการณ์การกระพือปีกของผีเสื้อ ค.ศ. 1965 - ลอตฟิ อาสเกอร์ ซาเดห์ นักคณิตศาสตร์ชาวอิรักค้นพบทฤษฎีเซตวิภัชนัย อันเป็นการขยายแนวคิดของเซตดั้งเดิมและทำให้เกิดวิชาคณิตศาสตร์คลุมเคลือ ค.ศ. 1965 - มาร์ติน ครุซกัล และนอร์มอน ซาบัสกีศึกษาการชนกันของชุดคลื่นโซลิตอน เชิงตัวเลขในพลาสมา และค้นพบว่าชุดคลื่นดังกล่าวไม่เกิดการกระจายหลังการชน ค.ศ. 1965 - เจมส์ คูลลี และจอห์น ตูกี เสนอขั้นตอนวิธีแปลงฟูรีเยแบบเร็วที่ใช้ในปัจจุบัน ค.ศ. 1966 - อับราฮัม โรบินสัน เสนอการวิเคราะห์ Abraham Robinson presents Non-standard analysis. ค.ศ. 1965 - พุตเซอร์เสนอวิธีการคำนวณการชี้กำลังของเมทริกซ์สองวิธีในรูปของพหุนามของเมทริกซ์นั้น ค.ศ. 1967 - โรเบิร์ต แลงค์แลนดส์เสนอโปรแกรมของแลงค์แลนดส์อันเป็นข้อคาดการณ์นำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีจำนวนและทฤษฎีตัวแทน ค.ศ. 1968 - มิเชลล์ อาติยา และอิซาดอร์ ซิงเกอร์ พิสูจน์ทฤษฎีบทดัชนีอาติยา-ซิงเกอร์ซึ่งกล่าวถึงตัวดำเนินการเชิงวงรี ค.ศ. 1973 - ลอตฟิ ซาเดห์ คิดค้นตรรกศาสตร์คลุมเคลือ ค.ศ. 1975 - เบอนัว มานดัลบรอ ตีพิมพ์ Les objets fractals, forme, hasard et dimension ซึ่งกล่าวถึงแฟรกทัล เป็นครั้งแรก ค.ศ. 1976 - เคนเนต แอพพิว และวูลฟ์กัง ฮาเกน ใช้คอมพิวเตอร์พิสูจน์ทฤษฎีบทสี่สี ค.ศ. 1983 - เกิร์ต ฟัลติงส์พิสูจน์ข้อคาดการณ์ของมอร์เดล ซึ่งเป็นการแสดงโดยทางอ้อมในทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา ว่าสำหรับ n > 2 ว่าจะมีจำนวนเต็ม a b และ c ซึ่งเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กัน และทำให้ an + bn = cn อยู่จำนวนจำกัด ค.ศ. 1983 - classification of finite simple groups ในทฤษฎีกลุ่ม ซึ่งเป็นงานที่ทำโดยนักคณิตจำนวนมากและใช้เวลารวมสามสิบปีได้เสร็จสิ้นลง ค.ศ. 1985 - หลุยส์ เดอ บรังกส์ เดอ บอเชียพิสูจน์ข้อคาดการณ์ของบีเบอร์บาค สำเร็จ ค.ศ. 1987 - ยาสึมาสะ คานาดะ เดวิด เบลเลย์ โจนาทาน บอร์เวน และปีเตอร์ บอร์เวน ใช้การประมาณสมการมอดูลาร์แบบวนซ้ำประมาณอินทิกรัลเชิงวงรี บนเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ NEC SX-2 เพื่อคำนวณค่า π ได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 134 ล้าน ค.ศ. 1991 - อลอง คอนส์ และจอห์น ดับเบิลยู ลอตต์ พัฒนาเรขาคณิตสลับที่ไม่ได้ ค.ศ. 1994 - แอนดรูว์ ไวลส์พิสูจน์ข้อคาดการณ์ทะนิยะมะ-ชิมูระได้บางส่วนและเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา โดยทางอ้อมไปด้วย ค.ศ. 1998 - โทมัส คาลิสเตอร์ เฮลส์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยพิสูจน์ข้อคาดการณ์ของเคปเลอร์ (รอการรับรองบทพิสูจน์อยู่) ค.ศ. 1999 - ข้อคาดการณ์ทะนิยะมะ-ชิมูระได้รับการพิสูจน์ทั้งหมด ค.ศ. 2000 - สถาบันคณิตศาสตร์เคลย์ (Clay Mathematics Institute) ได้ประกาศให้เงินรางวัลหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ที่สามารถหาคำตอบปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในปัญหา 7 ข้อของเคลย์ได้ == คริสต์ศตวรรษที่ 21 (ปัจจุบัน) == ค.ศ. 2002 - มานินดรา อกราวัล นิทิน แซกซินา และนีราจ คายัล จากสถาบันเทคโนโลยีอินเดียคานเปอร์ (Indian Institute of Technology Kanpur) เสนอขั้นตอนวิธีไม่มีเงื่อนไขเชิงกำหนดซึ่งใช้เวลาเชิงพหุนามสำหรับพิจารณาว่าจำนวนที่ให้มาเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ ซึ่งเรียกกันว่าการทดสอบจำนวนเฉพาะ AKS ค.ศ. 2002 - ยาสึมาสะ คานาดะ วาย. ยูชิโร่ ฮิซะยาสึ คุโรดะ มาโกโตะ คุโด้ และทีมงานอีกเก้าคนได้ทำการคำนวณ π ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 1,241 ล้าน โดยใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาด 64 node ของฮิตาชิ ค.ศ. 2002- Preda Mihăilescu พิสูจน์ข้อความคาดการณ์ของคาตาลาน ได้สำเร็จ ค.ศ. 2003- กริกอรี เพเรลมานพิสูจน์ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหา 7 ข้อของเคลย์ได้สำเร็จ ค.ศ. 2007- นักวิจัยในอเมริกาเหนือและยุโรปร่วมมือกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อสร้าง E_8 ในทฤษฎีกลุ่ม ค.ศ. 2009- Ngo Bao Chau นักคณิตศาสตร์ชาวเวียดนามพิสูจน์บทตั้งมูลฐาน (Fundamental lemma) ในโปรแกรมของแลงค์แลนดส์ (Langlands program) ได้สำเร็จ == ดูเพิ่ม == นักคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ == หมายเหตุ == บางส่วนของบทความนี้นำมาจาก Niel Brandt (1984) ซึ่งอนุญาตให้ใช้ในโครงการวิกิพีเดียตามที่ระบุไว้ใน == อ้างอิง == ส้เนเวลาของคณิตศาสตร์ เส้นเวลา
thaiwikipedia
883
ฟังก์ชัน
ฟังก์ชัน เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ function สามารถหมายถึง ฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์) ฟังก์ชัน (คอมพิวเตอร์) - ชุดคำสั่งหรือข้อมูลสำหรับปฏิบัติการคำสั่งใดคำสั่งหนึ่ง ฟังก์ชัน (การผลิต) - ในทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค
thaiwikipedia
884
มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์
มาสค์ไรเดอร์ (Masked Rider) หรือ คาเมนไรเดอร์ เป็นชื่อละครชุด โทคุซัทสึซึ่งสร้างสรรค์จากความคิดของ โชทาโร่ อิชิโนะโมริและโตเอะในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมและมีการสร้างอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 == ประวัติ == == เนื้อเรื่องต้นฉบับ == เนื้อเรื่องในซีรีส์แรกของ มาสค์ไรเดอร์ (ในไทยใช้ชื่อ ไอ้มดแดงอาละวาด) เกิดขึ้นในโลกที่ถูกรุกรานจากองค์การก่อการร้ายอันลึกลับที่ใช้ชื่อว่า ช็อกเกอร์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะครองโลก เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ช็อกเกอร์ได้ลักพาตัวคนจำนวนมากเพื่อนำมาเป็นสมุน โดยผ่าตัดดัดแปลงคนเหล่านั้นให้เป็นมนุษย์ดัดแปลงโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ก่อนที่จะล้างสมองเป็นขั้นตอนสุดท้าย อย่างไรก็ตาม เหยื่อรายหนึ่ง ผู้ซึ่งมีชื่อว่า ฮอนโก ทาเคชิ ได้รับการช่วยเหลือออกมาก่อนที่จะถูกล้างสมอง เมื่อสำนึกและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเขามิได้ถูกลบล้างไปด้วย ฮอนโกจึงตัดสินใจที่จะใช้พลังที่เขาได้มาจากการดัดแปลงเพื่อต่อสู้กับองค์การช็อกเกอร์ในฐานะซูเปอร์ฮีโรนาม มาสค์ไรเดอร์ หรือ ไอ้มดแดง หลังจากนั้นก็ได้มีการสร้างไอ้มดแดงในรูปแบบต่างกันขึ้นในภาคต่อ ๆ มา == จุดตลาดของมาสค์ไรเดอร์ == สำหรับผู้ชมของมาสค์ไรเดอร์ในยุคก่อนนั้นเน้นฐานผู้ชมที่เป็นเด็กผู้ชาย โดยเฉพาะประถมเป็นหลัก โดยเน้นเรื่องราวการทำความดี มิตรภาพ และ ความสามัคคี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2000 ได้มีการเพิ่มฐานผู้ชมในวัยอื่นๆ โดยเน้นไปทางเนื้อเรื่องที่มีมิติและสมจริงมากยิ่งขึ้น ทำให้เรื่องราวของตัวละครมีความหลากหลาย การสร้างปมเหตุการณ์ต่างๆให้มีความซับซ้อนคล้ายกับชีวิตของมนุษย์ทั่วๆไป รวมไปถึงการคัดเลือกนักแสดงเพื่อเพิ่มฐานผู้ชมประเภทหญิงสาวตั้งแต่มัธยมจนถึงแม่บ้าน == คุณลักษณะสำคัญของมาสค์ไรเดอร์ == ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มาสค์ไรเดอร์ในทุกๆภาคจะยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์และลักษณะสำคัญของการเป็นมาสค์ไรเดอร์ดังนี้ === หน้ากาก === จุดสำคัญอย่างแรกของมาสค์ไรเดอร์คือหน้ากาก โดยลักษณะเด่นๆนั้นจะอยู่ดวงตาของไรเดอร์ ที่จะมีลักษณะเป็นวงรีโดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับแมลง มีเขาซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นแมลงชนิดใด (ยกเว้นไรเดอร์บางคนที่ไม่ได้มาจากแมลง เช่น มาสค์ไรเดอร์อาเมซอน, มาสค์ไรเดอร์อากิโตะ, มาสค์ไรเดอร์ริวคิ, มาสค์ไรเดอร์ฮิบีกิ, มาสค์ไรเดอร์ดีเคด เป็นต้น) === เข็มขัด === ซีรีส์ของไรเดอร์ในช่วงโชวะ ไรเดอร์ทุกคนจะเป็นมนุษย์ดัดแปลง ซึ่งอาจจะถูกองค์กรวายร้ายหรือพรรคพวกร่วมกันดัดแปลงก็แล้วแต่ พวกเขาจะมีเข็มขัดฝังอยู่ในร่างกาย เมื่อทำการแปลงร่างเข็มขัดจะปรากฏขึ้นมาและแปลงร่างเป็นไรเดอร์ ในช่วงยุคต่อมาของซีรีส์ไรเดอร์ในยุคปัจจุบันในบางเรื่องเข็มขัดจะเป็นลักษณะถอดออกได้ ทำให้ในบางตอนจะมีลักษณะตอนที่ตัวเอกทำเข็มขัดหายหรือเข็มขัดของไรเดอร์บางคนสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นๆได้ (เช่น ไคสะ จากมาสค์ไรเดอร์ไฟซ์) ส่วนการแปลงร่างนั้นจะต้องมีเข็มขัดมาก่อนถึงทำการแปลงร่างได้ โดยทุกภาคเป็นการใช้เข็มขัดกับวัตถุที่เป็นอุปกรณ์แปลงร่างที่หัวเข็มขัดอีกที แต่ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นระบบเข็มขัดที่เชื่อมระบบกับผู้ใช้ คือ แม้ถอดออก ถ้าคนอื่นสวมใส่จะเป็นไม่ได้ เพราะจะเชื่อมกับระบบผู้ใช้โดยตรง จนกว่าผู้ใช้จะตาย === ท่าแปลงร่าง === ท่าแปลงร่างหรือเฮนชิน ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของไรเดอร์ทุกคน โดยการแปลงร่างจะต้องเป็นลักษณะท่ายืนและต้องพูดคำว่า เฮนชิน โดยอาจจะมีคำเสริมท้ายได้ (เช่น เฮนชิน V3, เฮนชินสตรองเกอร์) โดยไรเดอร์คนแรกที่มีท่าแปลงร่างและใช้คำพูดแปลงร่างอย่างเป็นทางการคือ อิจิมอนจิ ฮายาโตะ (มาสค์ไรเดอร์หมายเลขสอง) มีไรเดอร์เพียงไม่กี่คนที่ไม่มีท่าแปลงร่าง เช่น อามาซอน (ใช้คำว่า อา-มา-ซอน), G3 (ใช้สวมชุดเกราะแทน) ส่วนมาสค์ไรเดอร์ Xก็จะใช้คำว่า เซ็ทอัพ (Setup, หรือแปลเป็นไทยว่าประกอบร่าง) ในช่วงแรก แต่ช่วงหลังก็จะใช้ท่าเฮนชินเหมือนปกติ === ความเกี่ยวเนื่องระหว่างภาค === ทีวีซีรีส์ของไรเดอร์ในยุคแรกๆจะเกี่ยวข้องกันหมด ในบางเรื่องจะมีไรเดอร์รุ่นพี่ออกมาให้ความช่วยเหลือไรเดอร์รุ่นน้องที่กำลังลำบาก (โดยเฉพาะ V3 ซึ่งออกมาบ่อยและมีบทบาทมากที่สุด) จนเมื่อมาถึงภาค Super One ซึ่งมีการดำเนินเรื่องในลักษณะภาคใหม่ที่ไม่มีการเกี่ยวข้องกับไรเดอร์ตัวเก่าๆ แต่ในภายหลังก็ได้นำไรเดอร์ทั้ง 7 กลับมาร่วมเรื่องอีกครั้ง เมื่อมาถึงยุคของแบล็คและแบล็ค RX ได้ตัดขาดเนื้อหากับไรเดอร์เก่าๆทั้งหมด แต่ RX กลับได้รับความนิยมน้อยมากจึงต้องมีการดึงไรเดอร์ทั้ง 10 ออกมาช่วย RX แต่ก็ไม่สามารถกระเตื้องความนิยมได้เท่าใดนัก ส่วนในยุคปัจจุบันในทุกๆภาคจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ยกเว้นคูกะและอากิโตะที่มีความเกี่ยวข้องกัน (โดยเฉพาะ G3 ที่สร้างโดยนำลักษณะของคูกะเป็นพื้นฐาน) ส่วนมาสค์ไรเดอร์ริวคิก็เคยมีตอนพิเศษที่คิโดะ ชินจิ ฝันและได้ร่วมสู้กับอากิโตะ ใน มาสค์ไรเดอร์เดนโอ ได้มีการนำรูปแบบของมาสค์ไรเดอร์รุ่นพี่พบรุ่นน้อง โดยให้มีการพบกับ มาสค์ไรเดอร์คิบะ ในการร่วมมือกำจัดศัตรูในตอนพิเศษขึ้นมา ใน มาสค์ไรเดอร์ดีเคด ได้มีการนำรูปแบบของมาสค์ไรเดอร์รุ่นพี่พบรุ่นน้องแต่เป็นการพบกันในโลกมิติคู่ขนาน และตั้งแต่ มาสค์ไรเดอร์ดีเคด เป็นต้นมาจะมีไรเดอร์รุ่นน้องไปโผล่ในหนังโรงหรือตอนจบของซีรี่ยส์ก่อนหน้าเสมอเป็นการโปรโมต โดยมาสค์ไรเดอร์ดับเบิลเป็นคนแรกที่ไปโผล่ในซีรีส์ของมาสค์ไรเดอร์ดีเคด และดำเนินเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในตอนจบพิเศษของซีรีส์ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด ได้พบกับเหล่ารุ่นพี่ในยุคเฮย์เซย์ทุกคน และในซีรี่ยส์ มาสค์ไรเดอร์ไกมุ ได้มีหนังโรงรวมไรเดอร์รุ่นพี่ทุกคนตั้งแต่ยุคโชวะถึงเฮย์เซย์อีกครั้งนับตั้งแต่ มาสค์ไรเดอร์ดีเคด เป็นต้นมา มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ เป็นมาสค์ไรเดอร์เพียงคนเดียวในยุคเฮย์เซย์เฟส 2 ที่ไม่ได้มาปรากฏตัวในซีรีส์รุ่นพี่อย่าง มาสค์ไรเดอร์ไกมุ แต่มีหนังโรงภาคที่ทั้งสองคนได้มาพบกัน ในซีรีส์ มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด ได้มีหนังโรงที่ มาสค์ไรเดอร์โกสต์ มาพบกับ มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด และรุ่นพี่อีก 3 คน เช่นเดียวกับใน มาสค์ไรเดอร์บิลด์ ที่จะมาพบกับ มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด และเหล่ารุ่นพี่บางคนเพื่อต่อสู้ร่วมกัน == รายชื่อผลงาน == === ละครชุดทางโทรทัศน์ (ทีวีซีรีส์) === ชื่อเรื่องแต่ละเรื่องที่ระบุต่อไปนี้ ยึดตามชื่อเรื่องที่รู้จักกันทั่วไป เว้นแต่ระบุเป็นอย่างอื่น อนึ่ง ภาพยนตร์ชุดเหล่านี้อาจแบ่งได้เป็นสองยุค โดยตั้งแต่ คาเมนไรเดอร์ ถึง แบล็ค RX จัดเข้าในยุคโชวะ หรือ ยุคอิชิโนะโมริ เนื่องจากภาพยนตร์ทุกเรื่องในยุคนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยโชวะของญี่ปุ่น และอิชิโนะโมริ โชทาโร่ยังมีชีวิตอยู่ ในขณะที่ ชิน คาเมนไรเดอร์ โปรล็อก, คาเมนไรเดอร์ ZO และ มาสค์ไรเดอร์ Jจะไม่นับหลังจากนั้น (ตั้งแต่ มาสค์ไรเดอร์คูกะ เป็นต้นไป) จัดเข้าในยุคเฮย์เซย์ หรือ ยุคหลังอิชิโนะโมริ เนื่องจากสร้างขึ้นในรัชสมัยเฮย์เซย์ของญี่ปุ่น และอิชิโนะโมริได้ถึงแก่กรรมแล้ว ==== ยุคโชวะ ==== ==== ยุคเฮย์เซย์ ==== ==== ยุคเรย์วะ ==== === ภาพยนตร์ === === ออริจินอลวิดีโอ (รวมวีซินีม่า) === ชิน คาเมนไรเดอร์ โปรล็อก วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 อุลตร้าแมน VS มาสค์ไรเดอร์ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 มาสค์ไรเดอร์ดับเบิล RETURNS ;มาสค์ไรเดอร์แอคเซล วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2011 ;มาสค์ไรเดอร์เอเทอร์นอล วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ซีเคร็ทมิชชัน ;มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ซีเคร็ทมิชชั่น type HIGH-SPEED! นี่แหละพลังที่แท้จริง! ไทป์ไฮสปีดถือกำเนิด! ;มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ซีเคร็ทมิชชั่น typeZERO ตอนที่ 0 เคาท์ดาวน์ to โกลบอลฟรีซ ;มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ซีเคร็ทมิชชั่น type TOKUJO ไกมุไกเด็น ;มาสค์ไรเดอร์ซังเงทสึ / มาสค์ไรเดอร์บารอน วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2015 ;มาสค์ไรเดอร์ดุ๊ค / มาสค์ไรเดอร์นัคเคิล ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ;มาสค์ไรเดอร์กริดอน VS มาสค์ไรเดอร์บราโว่ ไดรฟ์ซาก้า ;มาสค์ไรเดอร์เชสเซอร์ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2016 ;มาสค์ไรเดอร์มัค / มาสค์ไรเดอร์ฮาร์ท วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 BIRTH มาสค์ไรเดอร์สเปคเตอร์ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2017 มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด ทรีโลจี อนาเธอร์เอนดิง ;มาสค์ไรเดอร์เบรฟ & มาสค์ไรเดอร์สไนป์ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2018 ;มาสค์ไรเดอร์พาราด็อกซ์ with มาสค์ไรเดอร์ป๊อปปี้ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2018 ;มาสค์ไรเดอร์เก็นมุ VS มาสค์ไรเดอร์เรซเซอร์ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2018 และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2018 บิลด์ NEW WORLD ;มาสค์ไรเดอร์ครอสซ์ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2019 และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2019 ;มาสค์ไรเดอร์กริส เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2019 และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 มาสค์ไรเดอร์จีโอ NEXT TIME เกซ, มาเจสตี้ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2020 เซโร่วัน Others ;มาสค์ไรเดอร์เม็ทสึโบจินไร เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2021 และกำหนดวางจำหน่ายวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ;มาสค์ไรเดอร์วัลแคน & วัลคีรี่ มีกำหนดเข้าฉายในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2021 และกำหนดวางจำหน่ายวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ บาปที่ลึกทั้ง 3 มาสค์ไรเดอร์โอส 10th การคืนชีพของคอร์เมดัล มาสค์ไรเดอร์ไฟซ์ 20th Paradise Regained เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล ออริจินอลวิดีโอ, ดีวีดี ;มาสค์ไรเดอร์คูกะ สุดยอดวิดีโอลับ มาสค์ไรเดอร์คูกะ ปะทะ จอมปีศาจผู้แข็งแกร่ง โกะ・จีโนะ・ดะ ;มาสค์ไรเดอร์อากิโตะ 3 ไรเดอร์ทรงพลัง ;มาสค์ไรเดอร์ริวคิ ไฮเปอร์แบทเทิลวิดีโอ ริวคิ VS มาสค์ไรเดอร์อากิโตะ ;มาสค์ไรเดอร์ไฟซ์ ไฮเปอร์แบทเทิลวิดีโอ ;มาสค์ไรเดอร์เบลด ไฮเปอร์แบทเทิลวิดีโอ DVD เบลด VS เบลด ;มาสค์ไรเดอร์ฮิบิกิ ไฮเปอร์แบทเทิล DVD อาสุมุแปลงร่าง! คุณเองก็เป็นอสูรได้เช่นกัน! ;มาสค์ไรเดอร์คาบุโตะ ไฮเปอร์แบทเทิล DVD เกิดแล้ว! กาแท็คไฮเปอร์ฟอร์ม!! ;มาสค์ไรเดอร์เดนโอ ไฮเปอร์แบทเทิล DVD ร้อง, เต้น และการฝึกฝนครั้งใหญ่! ;มาสค์ไรเดอร์คิบะ แอดเวนเจอร์แบทเทิล DVD ~คุณก็เป็นคิบะได้~ ;มาสค์ไรเดอร์ดีเคด ไฮเปอร์แอดเวนเจอร์ DVD จงปกป้อง! ;มาสค์ไรเดอร์ดับเบิล DVD สารานุกรมไกอาเมมโมรี่ ;มาสค์ไรเดอร์ดับเบิล ไฮเปอร์แบทเทิล DVD α ของดงบุริ / บทอำลาอันเป็นที่รัก ;มาสค์ไรเดอร์โอส ไฮเปอร์แบทเทิล DVD ปริศนา, เต้น และ ทากะการูบะ ;มาสค์ไรเดอร์โฟร์เซ แอสโทรสวิทช์ซีเครทรีพอร์ต ;มาสค์ไรเดอร์โฟร์เซ ไฮเปอร์แบทเทิล DVD ร็อคเก็ตดริลสเตทส์เแห่งมิตรภาพ ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด โชว์ไทม์ไปกับแหวนเต้นรำ ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์ไกมุ เฟรชออเรนจ์อาร์มส์กำเนิดแล้ว! ~คุณก็สามารถคว้ามันได้! พลังแห่งความสดใหม่~ ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ ซีเคร็ทมิชชั่น type HIGH-SPEED! นี่แหละพลังที่แท้จริง! ไทป์ไฮสปีดถือกำเนิด! ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ ซีเคร็ทมิชชั่น type LUPIN ~ลูแปง, สาส์นท้าทายครั้งสุดท้าย~ ;มาสค์ไรเดอร์โกสต์ ต่อสู้ด้วยอิคคิวอายคอน! ศึกแห่งปัญญาอันว่องไว!! ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์โกสต์ สื่อใจอิคคิว! จงตื่นขึ้น พลังแห่งปัญญาของฉัน! ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์โกสต์ เป็นจริง! ความรับของอายคอนวีรบุรุษ! ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด [อุระวาสะ] มาสค์ไรเดอร์เรซเซอร์ ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด [อุระวาสะ] มาสค์ไรเดอร์พาราด็อกซ์ ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์บิลด์ จงตื้นขึ้น! คุมะเทเลบิ!! ปะทะ มาสค์ไรเดอร์กริส ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์ไพรม์โร๊ก ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์บิบิบิ โนะ บิบิรุเกซ ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์เซโร่วัน จะมีอะไรจากเจ้า "แกงการู" ? ลองคิดแล้ว "ตั้งตาดู" ด้วยตัวเองสิ! ปล่อยมุข...แบบฉบับอารุโตะ! ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ จงรวบรวม! บรรดาวีรชน! ดราก้อนเทเลบิคุงที่ปะทุขึ้น ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์รีไวซ์ โคอาล่า VS แกงการู!! คดเคี้ยวเลี่ยงรักในงานวิวาห์มั้ย?! ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์รีไวซ์ ใครคือไรเดอร์หมายเลข 2~♪ ;เทเลบิคุงไฮเปอร์แบทเทิล DVD มาสค์ไรเดอร์กีทส์ โอ้โห!? เหล่าผู้ชายเดไซร์กรังปรีซ์ ฉันคือโอจา!! === เน็ตมูวี่ === เน็ตมูวี่ มาสค์ไรเดอร์อุระคิบะ ราชินีแห่งปราสาทโลกมาร เน็ตมูวี่ มาสค์ไรเดอร์ดีเคด ออลไรเดอร์ ซูเปอร์สปินออฟ มาสค์ไรเดอร์ดีเคด ออลไรเดอร์ ปะทะ ดร.ยมภูติ เน็ตมูวี่ มาสค์ไรเดอร์ดับเบิล FOREVER AtoZ ด้วยเสียงหัวเราะทั้ง 26 มาสค์ไรเดอร์ Let's Go เน็ตมูวี่ ทำนายดวงสไตล์มาสค์ไรเดอร์ เน็ตมูวี่ มาสค์ไรเดอร์โอส ALL STARS ตัวละครหลักทั้ง 21 กับ คอร์เมดัล เน็ตมูวี่ มาสค์ไรเดอร์ x ซูเปอร์เซ็นไต ซูเปอร์ฮีโร่ไทเฮ็น ~การเมาของวายร้าย?!~ เน็ตมูวี่ มาสค์ไรเดอร์โฟร์เซ Everyone, Class is Here! เน็ตมูวี่ มาสค์ไรเดอร์ x ซูเปอร์เซ็นไต x ตำรวจอวกาศ ซูเปอร์ฮีโร่ไทเฮ็น โอทสึ ~คำตอบของฮีโร่!~ ที่จะแก้ปัญหาความกังวลของคุณ เน็ตมูวี่ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด in Magica Land d วิดีโอสเปเชียล มาสค์ไรเดอร์หมายเลข 4 เผยแพร่วันที่ 28 มีนาคม - 4 เมษายน ค.ศ. 2015 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน รับชมทาง dVideo มาสค์ไรเดอร์โกสต์ ตำนาน! จิตวิญญาณแห่งไรเดอร์! เผยแพร่วันที่ 15 มกราคม - 28 เมษายน ค.ศ. 2016 มีจำนวนตอนทั้งหมด 7 ตอน รับชมทางยูทูบ ยกเว้นตอนที่ 7 ที่ถูกวางจำหน่ายในรูปแบบ DVD มาสค์ไรเดอร์อมาซอนส์ เผยแพร่วันที่ 1 เมษายน - 24 มิถุนายน ค.ศ. 2016 มีจำนวนตอนทั้งหมด 13 ตอน รับชมทาง Amazon Prime Video มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด [อุระวาสะ] เวอร์ชวล โอเปอเรชั่นส์ เผยแพร่วันที่ 3 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 มีจำนวนตอนทั้งหมด 5 ตอน รับชมทางยูทูบ มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด [อุระวาสะ] มาสค์ไรเดอร์เก็นมุ เผยแพร่วันที่ 13 มกราคม - 17 เมษายน ค.ศ. 2017 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน รับชมทางยูทูบ ยกเว้นตอนที่ 3 ที่ถูกวางจำหน่ายในรูปแบบ DVD มาสค์ไรเดอร์เบรฟ ~Survive! การคืนชีพของบีสท์ไรเดอร์สควอด!~ เผยแพร่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club ขบวนการหน้ากาก โกไรเดอร์ เผยแพร่วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2017 รับชมทาง au Video Pass มาสค์ไรเดอร์อมาซอนส์ ซีซั่น 2 เผยแพร่วันที่ 7 เมษายน - 30 มิถุนายน ค.ศ. 2017 มีจำนวนตอนทั้งหมด 13 ตอน รับชมทาง Amazon Prime Video มาสค์ไรเดอร์บิลด์ บทสอนการแปลงร่าง ~ค้นพบสมการแห่งการแปลงร่างแล้ว!~ รับชมทางยูทูบ บันไดออฟฟิเชียลแชนแนล มาสค์ไรเดอร์บิลด์ ~ปลุกเร้าฮาเซิร์ดเลเวลด้วยเบสท์แมทช์ทั้ง 7~ เผยแพร่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน ค.ศ. 2018 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน รับชมทางยูทูบ ยกเว้นตอนที่ 3 วางจำหน่ายในรูปแบบ DVD มาสค์ไรเดอร์จีโอ บทสอนการแปลงร่าง รับชมทางยูทูบ บันไดออฟฟิเชียลแชนแนล มาสค์ไรเดอร์จีโอ ภาคแผนเสริม เผยแพร่วันที่ 2 กันยายน - 23 ธันวาคม ค.ศ. 2018 มีจำนวนตอนทั้งหมด 6 ตอน รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club RIDER TIME มาสค์ไรเดอร์ชิโนบิ เผยแพร่วันที่ 31 มีนาคม - 14 เมษายน ค.ศ. 2019 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club RIDER TIME มาสค์ไรเดอร์ริวคิ เผยแพร่วันที่ 31 มีนาคม - 14 เมษายน ค.ศ. 2019 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน รับชมทาง au Video Pass ไดรฟ์ซาก้า มาสค์ไรเดอร์เบรน เผยแพร่วันที่ 28 เมษายน - 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 มีจำนวนตอนทั้งหมด 2 ตอน รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์เซโร่วัน บทสอนการแปลงร่าง รับชมทางยูทูบ บันไดออฟฟิเชียลแชนแนล การประลองแห่งปาฎิหารย์!? อารุโตะ ปะทะ ฟุคคินโฮไคทาโร่ ศึกดวลมุขแห่งชะตา! เผยแพร่วันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2020 รับชมทางยูทูบแชนแนล Toei Tokusatsu YouTube ออฟฟิเชียล ไกมุไกเด็น มาสค์ไรเดอร์กริดอน VS มาสค์ไรเดอร์บราโว่ เผยแพร่วันที่ 25 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 มีจำนวนตอนทั้งหมด 2 ตอน รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ บทสอนการแปลงร่าง เผยแพร่วันที่ 10 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน รับชมทางยูทูบ แชนแนลบันไดออฟฟิเชียล มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ สปินออฟ เค็นชิเรทสึเด็น เผยแพร่วันที่ 8 พฤศจิกายน - 20 ธันวาคม ค.ศ. 2020 มีจำนวนตอนทั้งหมด 4 ตอน รับชมทาง TELASA มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ 7 ไรเดอร์แปลงร่าง! เผด็จศึก! ฉบับพิเศษ! เผยแพร่วันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 รับชมทางยูทูบ บันไดออฟฟิเชียลแชนแนล TTFC ไดเร็คเทียเตอร์ มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ (TTFC産直シアター 仮面ライダーセイバー) เผยแพร่วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club RIDER TIME มาสค์ไรเดอร์จีโอ VS ดีเคด จีโอทั้งเจ็ด! เผยแพร่วันที่ 9 - 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน รับชมทาง TELASA RIDER TIME มาสค์ไรเดอร์ดีเคด VS จีโอ เกมมรณะคฤหาสน์ดีเคด เผยแพร่วันที่ 9 - 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์เกนมุส์ -เดอะเพรสซิเดนซ์- เผยแพร่วันที่ 11 และ 18 เมษายน ค.ศ. 2021 มีจำนวนตอนทั้งหมด 2 ตอน รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ x โกสต์ เผยแพร่วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์สเปคเตอร์ x เบลดส์ เผยแพร่วันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2021 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์รีไวซ์ บทสอนการแปลงร่าง เผยแพร่วันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2021 รับชมทางยูทูบ บันไดออฟฟิเชียลแชนแนล มาสค์ไรเดอร์รีไวซ์ The Mystery เผยแพร่วันที่ 30 มกราคม - 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 มีจำนวนตอนทั้งหมด 5 ตอน รับชมทาง TELASA อวาทาโร่เซ็นไต ดงบราเธอร์ส meets มาสค์ไรเดอร์เดนโอ เป้าหมายคือ! ดงโอ เผยแพร่วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2022 รับชมทางยูทูบ บันไดออฟฟิเชียลแชนแนล เน็ตมูฟวี่ มาสค์ไรเดอร์โอส บทนำ การคืนชีพของคอร์เมดัล เผยแพร่วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2022 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club เน็ตมูฟวี่ มาสค์ไรเดอร์โอส บทนำ -การถือกำเนิดเบิร์ธ X เผยแพร่วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2022 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club รีไวซ์เลกาซี่ มาสค์ไรเดอร์เวล เผยแพร่วันที่ 27 มีนาคม - 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 มีจำนวนตอนทั้งหมด 5 ตอน รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์เกนมุส์ สมาร์ทเบรนกับวิกฤติระดับ 1000% เผยแพร่วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2022 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club โอส 10th มาสค์ไรเดอร์เบิร์ธ เรื่องลับของการถือกำเนิดเบิร์ธ X กำหนดเผยแพร่ภายใน ค.ศ. 2022 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์รีไวซ์ เดอะมูวี่ สปินออฟ Birth of Chimera มาสค์ไรเดอร์แจน & อากิเรลา with เกิร์ลรีมิกซ์ มาสค์ไรเดอร์ เอาท์ไซเดอร์ส เผยแพร่วันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2022 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club มาสค์ไรเดอร์ BLACK SUN เผยแพร่วันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2022 ทาง ไพรม์วิดีโอ กีทส์เอ็กตร้า มาสค์ไรเดอร์พังค์แจ็ค เผยแพร่วันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club กีทส์เอ็กตร้า มาสค์ไรเดอร์ไทคูน meets มาสค์ไรเดอร์ชิโนบิ เผยแพร่วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2023 รับชมทาง Toei Tokusatsu Fan Club === ตอนพิเศษอื่นๆ === มาสค์ไรเดอร์ G ออกอากาศเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2009 ผลงานฉลองครบรอบ 50 ของสถานีโทรทัศน์ ทีวีอาซาฮี โดยร่วมมือกับบริษัทโตเอะ ขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์ ปะทะ มาสค์ไรเดอร์ไกมุ ออกอากาศเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 ตอนพิเศษทางโทรทัศน์ที่ผนวกกำลังร่วมกับ ขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์ มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ซีเครทมิชชัน type TOKUJO เผยแพร่วันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2015 - 6 มกราคม ค.ศ. 2016 มีจำนวนตอนทั้งหมด 4 ตอน ตอนพิเศษที่ถูกบรรจุรวมไว้ในชุด มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ บลูเรย์คอลเลคชัน ขบวนการดาวกระจาย นินนินเจอร์ ปะทะ มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2015 ตอนพิเศษทางโทรทัศน์ที่ผนวกกำลังร่วมกับ ขบวนการดาวกระจาย นินนินเจอร์ มาสค์ไรเดอร์โกสต์ ตำนานแห่งวีรบุรุษ "อลัน" เผยแพร่วันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2016 - 11 มกราคม ค.ศ. 2017 มีจำนวนตอนทั้งหมด 4 ตอน ตอนพิเศษที่ถูกบรรจุรวมไว้ในชุด มาสค์ไรเดอร์โกสต์ บลูเรย์คอลเลคชั่น มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด [อุระวาสะ] มาสค์ไรเดอร์สไนป์ Episode ZERO เผยแพร่วันที่ 12 เมษายน - 6 ธันวาคม ค.ศ. 2017 มีจำนวนตอนทั้งหมด 4 ตอน ตอนพิเศษที่ถูกบรรจุรวมไว้ในชุด มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด บลูเรย์คอลเลคชัน ROUGE (โร๊ก) เผยแพร่วันที่ 28 มีนาคม - 12 กันยายน ค.ศ. 2018 มีจำนวนตอนทั้งหมด 3 ตอน ตอนพิเศษที่ถูกบรรจุรวมไว้ในชุด มาสค์ไรเดอร์บิลด์ บลูเรย์คอลเลคชั่น โปรเจกต์เทาเซอร์ เผยแพร่วันที่ 8 เมษายน และ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 มีจำนวนตอนทั้งหมด 2 ตอน ตอนพิเศษที่ถูกบรรจุรวมไว้ในชุด มาสค์ไรเดอร์เซโร่วัน บลูเรย์คอลเลคชั่น ซอร์ดออฟโลกอสซาก้า เผยแพร่วันที่ 13 พฤษภาคม และ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2021 มีจำนวนตอนทั้งหมด 2 ตอน ตอนพิเศษที่ถูกบรรจุรวมไว้ในชุด มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ บลูเรย์คอลเลคชั่น DEAR GAGA เผยแพร่วันที่ 13 เมษายน และ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2022 มีจำนวนตอนทั้งหมด 2 ตอน ตอนพิเศษที่ถูกบรรจุรวมไว้ในชุด มาสค์ไรเดอร์รีไวซ์ บลูเรย์คอลเลคชั่น === ผลงานในต่างประเทศ === ซางเดียนคีซือ (閃電騎士) หรือ ซูเปอร์ไรเดอร์ (Super Rider) ในภาษาอังกฤษ ผลงานภาพยนตร์ของ Tong Hsing Film ในประเทศไต้หวัน หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง ผลงานภาพยนตร์ของ ไชโย โปรดักชั่นส์ ในประเทศไทย ซึ่งภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไม่ได้รับสิทธิ์ในการสร้างอย่างเป็นทางการจากผู้สร้างในญี่ปุ่นแต่อย่างใด มาสค์ไรเดอร์ (Saban's Masked Rider) ผลงานซีรีส์โดยซาบันเอนเตอร์เทนเมนท์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการนำ คาเมนไรเดอร์ BLACK RX มาทำใหม่ คาเมนไรเดอร์ดราก้อนไนท์ ผลงานซีรีส์โดย Adness Entertainment ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการนำ มาสค์ไรเดอร์ริวคิ มาทำใหม่ === การแสดงสดและละครเวที === [มาสค์ไรเดอร์ซังเงทสึ] -ไกมุไกเด็น- === ดราม่า CD === ดราม่า CD: มาสค์ไรเดอร์ เบลด -切り札の行方- ดราม่า CD: ไดร์ฟ ซาก้า -เรื่องราวความฝันของ มาสค์ไรเดอร์ มัค- === มังงะและอนิเมะ ไลท์โนเวล === *ยอดนักสืบแห่งฟูโตะ == รูปแบบของเล่นและของสะสมในมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ == เข็มขัด อาวุธ และอุปกรณ์อื่นๆ *Deluxe (หรือ DX) ในยุคแรกเริ่มได้บริษัท "ป๊อปปี้" เป็นผู้ผลิตต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหน้าที่ของบริษัท "บันได" เป็นผู้ผลิตนับตั้งแต่ซีรีส์มาสค์ไรเดอร์แบล็คจนถึงปัจจุบัน และ "เป็นไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด" *Legend Rider Series Belts (ปัจจุบันได้ยกเลิกการผลิตตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010) 20th Rider kicks series (สินค้าจากผลงานฉลองครบรอบ 20 ผลงาน) Memorial version (รุ่นพิเศษที่มีเสียงพากย์ของนักแสดง) *Triple Change Henshin Series (ผลิตและออกจำหน่ายเพียง 3 รูปแบบเท่านั้น) *Complete Selection (หรือ CS) (ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาการผลิตรูปแบบใหม่ในชื่อ Complete Selection Modification (หรือ CSM) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013) **Complete Selection Modification (หรือ CSM) *Tamashii Lab โมเดลฟิกเกอร์แบบสำเร็จรูป *Souchaku Henshin (ปัจจุบันได้ยกเลิกการผลิตตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009) *Super Imaginative Chogokin (หรือ S.I.C) *S.H.Figuarts (หรือชื่อเต็มคือ Simple style Heroic action Figures and Arts) **S.H.Figuarts Shinkocchou Seihou *SHODO :*SO-DO ::*Ex-Aid ::*Build ::*Zi-O ::*Zero-One ::*Saber * ไลน์ที่ผลิตจากแต่ละซีรีส์ซึ่งจะมีลูกเล่นและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปโดยอ้างอิงจากการปรากฏให้เห็นในแต่ละซีรีส์ :*R&M (Rider & Monster) (ริวคิ) :*COR (Cast Off Rider) (คาบูโตะ) :*DX 4 Form Change (ผลิตให้กับเดนโอและคิบะ) ::*DX 2 Form Change (ผลิตให้กับซีโร่นอสและอิคซะ) :*FFR (Final Form Ride) (ดีเคด) :*WFC (W Form Change Series) (ดับเบิ้ล) :*OCC (OOO Combo Change) (โอส) :*FMC (Fourze Module Change) (โฟร์เซ่) :*WAP (Wizard Action Please!) (วิซาร์ด) :*AC (Arms Change) (ไกมุ) :*TK (Tire Koukan) (ไดร์ฟ) :*GC (Ghost Change) (โกสต์) :*LVUR (Level UP Rider) (เอ็กเซด) :*BCRS (Bottle Change Rider Series) (บิลด์) :*RKF (Rider Kick's Figure Series) (จีโอเป็นต้นไป) ::*RKF Rider Armor Series (จีโอ) ::*RKF Legend Rider Series (ตัวละครในซีรีส์ที่อยู่ลำดับก่อนหน้าจีโอ) *figma (ผลิตให้กับซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ดราก้อนไนท์ในอเมริกา) *Full Action Figure SAGA (จัดจำหน่ายภายในตู้กาชาปอง) โมเดลฟิกเกอร์แบบพลาสติกโมเดล *Master Grade (หริอ MG) *Figure-Rise :*Figure-Rise Standard โมเดลรูปแบบอื่นๆ *Soft Vinyl (หรือโมเดลที่ทำจากวัสดุ PVC) *Sofubi *Rider Hero Series *Legend Rider Series (ชื่อใหม่ที่นำ Rider Hero Series บางรูปแบบมาผลิตและจัดจำหน่ายใหม่) *CONVERGE KAMEN RIDER *Hyper Detail Molding (หรือ HDM) *Real Action Heroes (หรือ RAH) *Ichiban Kuji === Asia version === รุ่นเอเชีย ผลิตเฉพาะประเทศไทย,ไต้หวัน,เกาหลี,ฮ่องกง,มาเลเซีย,จีน === เกมการ์ด === การ์ดแคมปัส รุ่นมาสไรเดอร์ซีรีย์ เหรียญพลังมาสค์ไรเดอร์ ขนมแถมของเล่นจาก Bigone group (เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น) === Candytoy === *ฟิกเกอร์ *เข็มขัดและอาวุธ *อุปกรณ์แปลงร่าง == เกม == === รายชื่อวิดีโอเกม === คาเมนไรเดอร์ BLACK ไทเค็ทสึชาโดว์มูน (仮面ライダーBLACK 対決シャドームーン) คาเมนไรเดอร์คลับ (仮面ライダー倶楽部) *คาเมนไรเดอร์คลับ เกคิทตสึช็อคเกอร์แลนด์ (仮面ライダー倶楽部 (クラブ) 激突ショッカーランド) *คาเมนไรเดอร์คลับ แบทเทิลเรซเซอร์ (仮面ライダー倶楽部 バトルレーサー) คาเมนไรเดอร์ SD ฮาชิเระ! ไมท์ตี้ไรเดอรส์ (仮面ライダーSD 走れ! マイティライダーズ) *คาเมนไรเดอร์ SD แกรนช็อคเกอร์ โนะ ยาโบ (仮面ライダーSD グランショッカーの野望) *คาเมนไรเดอร์ SD ชูสึเกคิ!! ไรเดอร์แมชชีน (仮面ライダーSD 出撃!!ライダーマシン) คาเมนไรเดอร์ ช็อกเกอร์กุนดัน (仮面ライダー ショッカー軍団) คาเมนไรเดอร์ ZO (仮面ライダーZO) คาเมนไรเดอร์ (仮面ライダー) *คาเมนไรเดอร์ V3 (仮面ライダーV3) คาเมนไรเดอร์คูกะ (仮面ライダークウガ) คาเมนไรเดอร์ เดอะ ไบค์เรซ (仮面ライダーTHEバイクレース) คาเมนไรเดอร์อากิโตะ & คูกะ ไวลด์แบทเทิล (仮面ライダー アギト&クウガ ワイルドバトルがベルト) คาเมนไรเดอร์อากิโตะ (仮面ライダーアギト) คิดส์สเตชัน คาเมนไรเดอร์ฮีโรส์ (キッズステーション 仮面ライダーヒーローズ) คาเมนไรเดอร์ริวคิ (仮面ライダー龍騎) คาเมนไรเดอร์ เซกิ โนะ เคอิฟุ (仮面ライダー正義の系譜) คาเมนไรเดอร์ไฟซ์ (仮面ライダー555) คาเมนไรเดอร์เบลด (仮面ライダー剣) คาเมนไรเดอร์ฮิบิกิ (仮面ライダー響鬼) คาเมนไรเดอร์คาบูโตะ (仮面ライダーカブト) คาเมนไรเดอร์ ไคลแม็กซ์ฮีโร่ส์ (仮面ライダー クライマックスヒーローズ) * คาเมนไรเดอร์ ไคลแม็กซ์ฮีโร่ส์ W (ดับเบิ้ล) (仮面ライダー クライマックスヒーローズ W) * คาเมนไรเดอร์ ไคลแม็กซ์ฮีโร่ส์ โฟรเซ (仮面ライダー クライマックスヒーローズ フォーゼ) * คาเมนไรเดอร์ ไคลแม็กซ์ฮีโร่ส์ OOO (โอส) (仮面ライダー クライマックスヒーローズ オーズ) * คาเมนไรเดอร์ ซูเปอร์ไคลแม็กซ์ฮีโร่ส์ (仮面ライダー 超クライマックスヒーローズ) คาเมนไรเดอร์ดราก้อนไนท์ (KAMEN RIDER DRAGON KNIGHT) คาเมนไรเดอร์แบทเทิล กันบาไรด์ การ์ดแบทเทิลไทเซ็น (仮面ライダーバトル ガンバライド カードバトル大戦) ออลคาเมนไรเดอร์ ไรเดอร์เจเนอเรชัน (オール仮面ライダー ライダージェネレーション) * ออลคาเมนไรเดอร์ ไรเดอร์เจเนอเรชัน 2 (オール仮面ライダー ライダージェネレーション2) * ออลคาเมนไรเดอร์ ไรเดอร์รีโวลูชัน (オール仮面ライダー ライダーレボリューション) คาเมนไรเดอร์ แบทไทรด์วอร์ส (仮面ライダー バトライド・ウォー) *คาเมนไรเดอร์ แบทไทรด์วอร์ส II (仮面ライダー バトライド・ウォーII) *คาเมนไรเดอร์ แบทไทรด์วอร์ส เจเนซิส (仮面ライダー バトライド・ウォー創生) คาเมนไรเดอร์ ทราเวลเลอร์เซ็นคิ (仮面ライダー トラベラーズ戦記) คาเมนไรเดอร์ ซัมมอนไรด์ (仮面ライダーサモンライド) คาเมนไรเดอร์โกสต์ เกม เดะ ไคกัน! (仮面ライダーゴースト ゲームでカイガン!!) คาเมนไรเดอร์ ไคลแม็กซ์ไฟท์เตอร์ส (仮面ライダー クライマックスファイターズ) * คาเมนไรเดอร์ ไคลแม็กซ์สครัมเบิล จีโอ (仮面ライダー クライマックススクランブル ジオウ) KAMEN RIDER memory of heroez === เกมแอป === คาเมนไรเดอร์ ไรเดอร์เบาท์! (仮面ライダー ライダバウト!) คาเมนไรเดอร์ สตอร์มฮีโร่ส์ (仮面ライダー ストームヒーローズ) คาเมนไรเดอร์ แบทเทิลรัช (仮面ライダーバトルラッシュ) คาเมนไรเดอร์ ซิตี้วอร์ส (仮面ライダー シティウォーズ) === เกี่ยวกับเทรดดิ้งการ์ด === คาเมนไรเดอร์สแน็ค (仮面ライダースナック) เรนเจอร์สไตรค์ (レンジャーズストライク) คาเมนไรเดอร์แบทเทิล กัมบาไรด์ (仮面ライダーバトル ガンバライド) คาเมนไรเดอร์แบทเทิล กัมบาไรซิ่ง (仮面ライダーバトル ガンバライジング) คาเมนไรเดอร์ AR การ์ดดัส (仮面ライダーARカードダス) คาเมนไรเดอร์ เบรกโจ๊กเกอร์ (仮面ライダー ブレイクジョーカー ) คุจิกาชาปอง คาเมนไรเดอร์ บุทโทบะโซล (くじガシャポン 仮面ライダー ブットバソウル) == อ้างอิง == == ข้อมูลลิงก์ == ยอดมนุษย์ญี่ปุ่น
thaiwikipedia
885
อิมมานูเอล คานต์
อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกิล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าว ๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน == ประวัติ == เกร็ดประวัติชีวิตที่น่าสนใจของนักปรัชญาผู้นี้คือคานต์ เกิดและตายที่เมืองเคอนิชส์แบร์ค (Konigsberg) ทางตะวันออกของปรัสเซีย และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเคอนิจส์แบร์กที่นั่น ทั้งชีวิตของเขาไม่เคยออกนอกเมืองดังกล่าวเลย แนวคิดของเขาส่งผ่านไปทั่วโลกโดยทางจดหมาย หลักศีลธรรมของเขาไม่เพียงแต่ปรากฏในแผ่นกระดาษเท่านั้น แต่เขายังถือปฏิบัติอย่างจริงจังอีกด้วย เขาครองโสดตลอดชีวิต มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ และไม่โอ้อวดในทางวิชาการ นอกจากนี้เขายังเป็นคนที่ตรงเวลามากอีกด้วย ทุก ๆ วันเขาจะออกจากบ้านเวลาเดียวกันเสมอ กระทั่งมีคำกล่าวว่า หากเห็นคานต์ออกจากบ้านเมื่อใดก็สามารถนำเวลานั้นมาตั้งหน้าปัดนาฬิกาของตนเองได้ อิมมานูเอล คานต์ มีชีวิตอยู่ในระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมัยอยุธยา และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยรัตนโกสินทร์ คานต์ ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 80 ปี == อ้างอิง == Broad C. D. Kant: An Introduction. Cambridge University Press, 1978. ISBN 0-521-21755-5, ISBN 0-521-29265-4 Gardner, Sebastian Kant and the Critique of Pure Reason. Routledge, 1999. ISBN 0-415-11909-X == ดูเพิ่ม == อุตรภาพ (transcendental) บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2267 นักปรัชญาชาวเยอรมัน นักปรัชญายุคเรืองปัญญา นักปรัชญาการเมือง บุคคลจากคาลีนินกราด ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเคอนิชส์แบร์ค บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคอนิชส์แบร์ค
thaiwikipedia
886
ยุคเรืองปัญญา
ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) หรือ ยุคแสงสว่าง เป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต หรือสิทธันตนิยม (dogmatism) ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวในยุคเรืองปัญญาให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อเสรีภาพในการแสดงออก และการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา เพื่อต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ โมหาคติ และการสั่งสอนที่เคลือบคลุมหรือไม่เปิดโอกาสให้ตั้งคำถาม (obscurantism) จากทางคริสตจักรและรัฐบาล ลักษณะที่สำคัญของทัศนคติในยุคเรืองปัญญา คือ แนวคิดมนุษย์นิยมที่เชื่อในตัวมนุษย์และสติปัญญาของมนุษย์ว่าสามารถเข้าใจถึงความจริงของทั้งโลกกายภาพ และของปัญหาทางจริยธรรมและการปกครองในสังคมมนุษย์ได้ โดยไม่จำต้องยอมศิโรราบต่อจารีตที่สืบทอดกันมา ภาษิตประจำใจที่ใช้กันแพร่หลายของปัญญาชนในยุคนี้ ได้แก่ ภาษิตละตินว่า Sapere aude ("จงกล้าที่จะใช้ปัญญา"). ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1650 - 1700 โดยถูกจุดประกายจากเหล่านักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น เรอเน เดการ์ต (1596–1650), บารุค สปิโนซา (1632–1677), จอห์น ล็อก (1632–1704), ปิแยร์ เบย์ล (1647–1706), ไอแซก นิวตัน (1643–1727), วอลแตร์ (1694–1778). จุดเริ่มต้นของยุคเรืองปัญญามีที่มาจากการผนวกเข้าด้วยกันของอุดมคติว่าด้วยมนุษย์นิยมของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ กับการบุกเบิกความรู้และการค้นพบในสาขาปรัชญาธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น จากงานเขียนของเซอร์ฟรานซิส เบคอน และการค้นพบเทคนิคทางคณิตวิเคราะห์สมัยใหม่ของนักปรัชญาฝรั่งเศส เรอเน เดการ์ต ผู้เป็นเจ้าของภาษิตว่า Cogito ergo sum ("เพราะข้าพเจ้าสงสัย ข้าพเจ้าจึงมีตัวตน") เมื่อพูดถึงปรัชญาว่าด้วยสังคมและการเมืองแล้ว ยุคเรืองปัญญาได้ให้กำเนิดแนวคิดและมโนทัศน์ใหม่ ๆ ที่ยังส่งอิทธิพลมาจนถึงยุคปัจจุบัน เช่น เสรีภาพ ภราดรภาพ ความอดกลั้น การแยกศาสนาออกจากการปกครอง และรัฐบาลภาตใต้รัฐธรรมนูญ. แนวคิดเหล่านี้มีอิทธิพลต่อเจ้าผู้ปกครองร่วมสมัยจำนวนไม่น้อย ซึ่งให้การสนับสนุนแนวความคิดสำคัญเหล่านี้ จนในที่สุดก็รับเอามโนทัศน์จากชนชั้นอุดมปัญญามาปรับใช้กับการบริหารปกครองของรัฐบาลตนเอง จึงมีการเรียกเจ้านายเหล่านี้ว่า ประมุขผู้ทรงภูมิธรรม การเรืองปัญญานี้เบ่งบานอยู่จนกระทั่งช่วงปี ค.ศ. 1790 - 1800 เมื่อความสำคัญของเหตุผลถูกแทนที่ด้วยความสำคัญของอารมณ์ความรู้สึก ในแนวคิดแบบศิลปะจินตนิยม ฝ่ายต่อต้านการเรืองปัญญาจึงมีกำลังขึ้นอีกครั้ง. ในฝรั่งเศส ยุคเรืองปัญญาก่อกำเนิดขึ้นจากการรวมกลุ่มสนทนากันตามซาลอน และต่อมานำไปสู่โครงการสร้างและเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะที่ทะเยอทะยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารานุกรม หรือ L'encyclopédie (1751-1752) ที่มีเดอนี ดีเดอโร (1713–1784) เป็นบรรณาธิการใหญ่ โดยเป็นการนำบทความความรู้หลากหลายสาขา – ซึ่งไม่เพียงแต่สาขาปรัชญา หรือวรรณกรรม แต่รวมไปถึงความรู้หรือการค้นพบใหม่ในสาขาวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการหัตถกรรม – หลายพันชิ้นมารวบรวมไว้ โดยมีผู้รู้คนสำคัญของยุคเป็นผู้สนับสนุนช่วยเขียนบทความ เช่น วอลแตร์, ฌ็อง-ฌัก รูโซ และมงแต็สกีเยอ สำเนาของสารานุกรมชุด 35 เล่มนี้ ถูกขายมากกว่า 25,000 ชุด ซึ่งครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ถูกขายนอกฝรั่งเศส แรงขับเคลื่อนจากการเรืองปัญญาแพร่ขยายไปตามชุมชนเมืองทั่วทั้งยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษ, สกอตแลนด์, รัฐเยอรมันต่าง ๆ, เนเธอร์แลนด์, รัสเซีย, อิตาลี, ออสเตรีย และจากนั้นจึงไปขยายไปยังอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปอเมริกา ที่ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อบุคคลสำคัญอย่างเบนจามิน แฟรงคลินและทอมัส เจฟเฟอร์สัน รวมทั้งชนชั้นอุดมปัญญาในวงกว้าง นอกจากนี้ยังส่งอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติอเมริกัน. มโนทัศน์และทฤษฎีทางการเมืองจากยุคเรืองปัญญานี้เองที่มีอิทธิพลต่อคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา, ข้อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิพลเมือง (Bill of Rights) ของสหรัฐอเมริกา, คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองของฝรั่งเศส และรัฐธรรมนูญวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 ของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย == บุคคลสำคัญของยุคนี้ == ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน ฌ็อง-ฌัก รูโซ จอร์จ บาร์กลีย์ เบนจามิน แฟรงคลิน โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเท โทมัส ฮอบส์ เดวิด ฮูม อิมมานูเอิล คานท์ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ จอห์น ล็อก == อ้างอิง == * คริสต์ทศวรรษ 1700 ขบวนการทางปรัชญา ยุคสมัยในประวัติศาสตร์
thaiwikipedia
887
ลำดับเลขคณิต
ในทางคณิตศาสตร์ ลำดับเลขคณิต (arithmetic progression, arithmetic sequence) คือลำดับของจำนวนซึ่งผลต่างของสมาชิกสองตัวใด ๆ ที่อยู่ติดกันในลำดับเป็นค่าคงตัวเสมอ เรียกค่าคงตัวนั้นว่า ผลต่างร่วม (common difference) ตัวอย่างเช่น ลำดับ 3, 5, 7, 9, 11, 13, ... เป็นลำดับเลขคณิตที่มีผลต่างร่วมเท่ากับ 2 ถ้าหากพจน์เริ่มต้นของลำดับเลขคณิตลำดับหนึ่งคือ a1 และมีผลต่างร่วมของสมาชิกที่อยู่ติดกันเท่ากับ d แล้วพจน์ที่ n ของลำดับนี้คือ : a_n = a_1 + (n - 1)d\,\! หรือในกรณีทั่วไป จะได้ : a_n = a_m + (n - m)d\,\! หรือเขียนได้ด้วยรูปแบบความสัมพันธ์เวียนเกิด : a_n = a_{n-1} + d\,\! == ผลรวม == วิธีการคำนวณผลรวม 2 + 5 + 8 + 11 + 14 โดยเขียนอนุกรมกลับหน้ามาหลังและบวกเข้ากับแต่ละพจน์ ผลรวมที่ได้จะเป็นลำดับคงตัวที่เท่ากับผลบวกของพจน์แรกและพจน์สุดท้าย (2 + 14 = 16) ทำให้ได้ 16 × 5 = 80 ซึ่งเป็นสองเท่าของผลรวม ผลรวมของสมาชิกในลำดับเลขคณิต เรียกว่า อนุกรมเลขคณิต (arithmetic series) ตัวอย่างเช่น พิจารณาผลรวม 2 + 5 + 8 + 11 + 14 ผมรวมของลำดับเลขคณิตข้างต้นสามารถหาได้อย่างรวดเร็ว โดยให้ n แทนจำนวนพจน์ทั้งหมด (ในกรณีนี้คือ 5) แล้วคูณด้วยผลบวกของพจน์แรกและพจน์สุดท้ายในลำดับเลขคณิต (ในกรณีนี้คือ 2 + 14 = 16) และสุดท้ายหารด้วย 2: \frac{n(a_1 + a_n)}{2} ในกรณีนี้จะได้ค่าของผลรวมคือ 2 + 5 + 8 + 11 + 14 = \frac{5(2 + 14)}{2} = \frac{5 \times 16}{2} = 40 สูตรนี้ใช้ได้สำหรับทุกลำดับเลขคณิตที่มีพจน์แรกและพจน์สุดท้ายคือ a_1 และ a_n ใด ๆ === พิสูจน์ === อนุกรมข้างต้นสามารถเขียนในรูปที่สมมูลกันได้สองแบบ ได้แก่ : S_n=a_1+(a_1+d)+(a_1+2d)+\cdots+(a_1+(n-2)d)+(a_1+(n-1)d) : S_n=(a_n-(n-1)d)+(a_n-(n-2)d)+\cdots+(a_n-2d)+(a_n-d)+a_n บวกสองสมการข้างต้นเข้าด้วยกัน ทุกพจน์ที่เกี่ยวข้องกับ d จะหายไป และเหลือเพียง : 2S_n=n(a_1+a_n)\,\! จัดรูปแบบใหม่ และในเมื่อเราทราบแล้วว่า a_n = a_1 + (n-1)d ดังนั้นเราจะได้ : S_n=\frac{n(a_1 + a_n)}{2}=\frac{n[2a_1 + (n-1)d]}{2} == ผลคูณ == ผลคูณของสมาชิกในลำดับเลขคณิต โดยเริ่มตั้งแต่พจน์ a1 ไปถึง an ซึ่งมีผลต่างร่วมเท่ากับ d สามารถคำนวณได้จาก : a_1a_2\cdots a_n = d^n {\left(\frac{a_1}{d}\right)}^{\overline{n}} = d^n \frac{\Gamma \left(a_1/d + n\right) }{\Gamma \left( a_1 / d \right) } โดยที่สัญลักษณ์ x^{\overline{n}} หมายถึงผลคูณลำดับเพิ่ม (rising sequential product) และ \Gamma (x) แทนฟังก์ชันแกมมา อย่างไรก็ตามสูตรนี้จะใช้งานไม่ได้เมื่อ เป็นจำนวนเต็มลบหรือศูนย์ นี่เป็นรูปแบบทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นจากการคูณสมาชิกของลำดับเลขคณิต 1 × 2 × ... × n ที่ได้นิยามไว้แล้วในแฟกทอเรียล n! ดังนั้นผลคูณของลำดับนี้ : m \times (m+1) \times (m+2) \times \cdots \times (n-2) \times (n-1) \times n \,\! จะมีค่าเท่ากับ : \frac{n!}{(m-1)!} โดยที่ m และ n เป็นจำนวนเต็มบวก == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == ลำดับเรขาคณิต อนุกรม == แหล่งข้อมูลอื่น == ลำดับและอนุกรม
thaiwikipedia
888
อุตรภาพ
อุตรภาพ (อังกฤษ: transcendence) ในทางปรัชญา คือสภาวะที่อยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น ประสบการณ์ที่อยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ได้ สิ่งที่บางครั้งถูกจัดให้มีสภาวะเหนือความเข้าใจเช่น ศาสนา อภิปรัชญาหรือความตาย ในแนวคิดของคานท์ สิ่งที่ถูกจัดให้มีอุตรภาพคือ สิ่งที่อยู่นอกเหนือความรู้ของมนุษย์ == หมายเหตุ == คำว่า "อุตรภาพ" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า transcendence ซึ่งมีความหมายในทางคณิตศาสตร์ หมายถึงอดิศัย ปรัชญา
thaiwikipedia
889
ตัวหารร่วมมาก
ในคณิตศาสตร์ ตัวหารร่วมมาก หรือ ห.ร.ม. (greatest common divisor: gcd) ของจำนวนเต็มสองจำนวนซึ่งไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน คือจำนวนเต็มที่มากที่สุดที่หารทั้งสองจำนวนลงตัว ตัวหารร่วมมากของ a และ b เขียนแทนด้วย gcd(a, b) หรือบางครั้งเขียนว่า (a, b) เช่น gcd(12, 18) = 6, gcd(−4, 14) = 2 และ gcd(5, 0) = 5 จำนวนสองจำนวนจะถูกเรียกว่า จำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ ถ้าตัวหารร่วมมากเท่ากับ 1 เช่น 9 และ 28 เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ ตัวหารร่วมมากมีประโยชน์ในการทำเศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ ดังตัวอย่างนี้ {42\over56}={3\cdot14\over4\cdot14}={3\over4} ซึ่งเราตัดตัวหารร่วมมากของ 42 และ 56 คือ 14 ออก == การหา ห.ร.ม. == การหาตัวหารร่วมมาก ทำได้ด้วยการแยกตัวประกอบของจำนวนสองจำนวน และเปรียบเทียบตัวประกอบ ตัวอย่างเช่น gcd(18,84) เราจะแยกตัวประกอบ 18 = 2·32 และ 84 = 22·3·7 สังเกตว่านิพจน์ที่"ซ้อน"กันคือ 2·3 ดังนั้น gcd (18,84) = 6 ในทางปฏิบัติ วิธีนี้จะทำได้สำหรับจำนวนที่น้อยๆเท่านั้น เพราะการแยกตัวประกอบโดยทั่วไปนั้นจะยาวเกินไป วิธีที่มีประสิทธิภาพกว่าคือ ขั้นตอนวิธีของยุคลิด: หาร 84 ด้วย 18 จะได้ผลหารเท่ากับ 4 และเศษเหลือเท่ากับ 12 จากนั้นหาร 18 ด้วย 12 จะได้ผลหารเท่ากับ 1 และเศษเหลือเท่ากับ 6 จากนั้นหาร 12 ด้วย 6 จะได้เศษเหลือเท่ากับ 0 ซึ่งหมายความว่า 6 เป็น ห.ร.ม. == คุณสมบัติ == ตัวหารร่วมของ a และ b จะเป็นตัวหารของ gcd(a, b) gcd(a, b) เมื่อ a และ b ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน จะเป็นจำนวนเต็มบวก d ที่น้อยที่สุดที่สามารถเขียนในรูป d = a·p + b·q เมื่อ p และ q เป็นจำนวนเต็ม จำนวน p และ q สามารถคำนวณได้จากขั้นตอนวิธีของยุคลิดเพิ่มเติม ถ้า a หาร b·c ลงตัว และ gcd(a, b) = d แล้ว a/d หาร c ลงตัว ถ้า m เป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว gcd(m·a, m·b) = m·gcd(a, b) และ gcd(a + m·b, b) = gcd(a, b) ถ้า m เป็นตัวหารร่วมของ a และ b แล้ว gcd(a/m, b/m) = gcd(a, b) /m ห.ร.ม.เป็นฟังก์ชันเชิงการคูณ กล่าวคือ ถ้า a1 และ a2 เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์แล้ว gcd(a1·a2, b) = gcd(a1, b) ·gcd(a2, b) ห.ร.ม.ของจำนวนสามจำนวน หาได้จาก gcd(a, b, c) = gcd(gcd(a, b) , c) = gcd(a, gcd(b, c)) นั่นคือ ห.ร.ม.มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ gcd (a, b) นั้นมีความเกี่ยวข้องกับตัวคูณร่วมน้อย lcm(a, b) : จะได้ว่า gcd(a, b) ·lcm(a, b) = a·b. สูตรนี้มักถูกใช้เพื่อคำนวณค่าคูณร่วมน้อย โดยเริ่มด้วยการหา ห.ร.ม. โดยใช้ขั้นตอนวิธีของยุคลิด จากนั้นหารผลคูณของตัวเลขทั้งสองด้วย ห.ร.ม. สมบัติการแจกแจงด้านล่างนี้เป็นจริง: gcd(a, lcm(b, c)) = lcm(gcd(a, b) , gcd(a, c)) lcm(a, gcd(b, c)) = gcd(lcm(a, b) , lcm(a, c)). การนิยามให้ gcd(0, 0) = 0 และ lcm(0, 0) = 0 นั้นมีประโยชน์เนื่องจากจะทำให้เซตของจำนวนธรรมชาติเป็นแลตทิซแบบกระจายที่บริบูรณ์ โดยที่ ห.ร.ม. เป็นการดำเนินการ meet และ ค.ร.น. เป็นการดำเนินการ join การขยายนิยามนี้สอดคล้องกับนัยทั่วไปของนิยามสำหรับริงสลับที่ด้านล่าง ในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน gcd(a, b) สามารถตีความว่าเป็นจำนวนของจุดที่มีพิกัดเป็นจำนวนเต็มบนเส้นตรงที่เชื่อมจุด (0, 0) และจุด (a, b) โดยที่ไม่นับจุด (0, 0) == ห.ร.ม. ในริงสลับที่ == ห.ร.ม. สามารถนิยามให้กว้างขึ้นสำหรับสมาชิกของริงสลับที่ ถ้า R เป็นริงสลับที่ และให้ a และ b อยู่ใน R จะเรียกสมาชิก d ที่อยู่ใน R ว่า ตัวหารร่วมของ a และ b ถ้ามันหาร a และ b ลงตัว (กล่าวคือ ถ้ามีสมาชิก x และ y ใน R ที่ทำให้ d·x = a และ d·y = b) ถ้า d เป็นตัวหารร่วมของ a และ b และตัวหารร่วมทุกตัวของ a และ b หาร d ลงตัว จะเรียก d ว่าเป็น ตัวหารร่วมมากของ a และ b สังเกตว่าจากนิยามนี้ สมาชิก a และ b อาจมี ห.ร.ม. หลายค่า หรือไม่มี ห.ร.ม. เลย แต่ถ้า R เป็นโดเมนจำนวนเต็ม (integral domain) แล้ว ห.ร.ม. สองตัวใด ๆ ของ a และ b ต้องเป็นสมาชิก associate ถ้า R เป็นโดเมน unique factorization แล้ว สมาชิกใด ๆ สองสมาชิกจะมี ห.ร.ม. เสมอ และถ้า R เป็นโดเมนยุคลิเดียน (Euclidean domain) แล้ว ขั้นตอนวิธีของยุคลิดสามารถปรับใช้หา ห.ร.ม. ได้ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของโดเมนจำนวนเต็มซึ่งสองสมาชิกไม่มี ห.ร.ม. R = \mathbb{Z}[\sqrt{-3}],\quad a = 4 = 2\cdot 2 = (1+\sqrt{-3}) (1-\sqrt{-3}) ,\quad b = (1+\sqrt{-3}) \cdot 2 สมาชิก 1+\sqrt{-3} และ 2 คือ "ตัวหารร่วม maximal" (กล่าวคือ ตัวหารร่วมใด ๆ ที่เป็นจำนวนเท่าของ 2 จะ associate กับ 2 สำหรับ 1+\sqrt{-3} ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน) แต่ค่าทั้งสองนี้ไม่ associate กัน ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่าไม่มี ห.ร.ม. ของ a และ b == ดูเพิ่ม == ตัวคูณร่วมน้อย ตัวส่วนร่วมน้อย (Lowest common denominator) ขั้นตอนวิธีการคำนวณตัวหารร่วมมากแบบไบนารี (Binary GCD algorithm) == แหล่งข้อมูลอื่น == Online gcd calculator เลขคณิตมูลฐาน ฟังก์ชันเชิงการคูณ
thaiwikipedia
890
ภูเขาไฟ
ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology) == การจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง == ปกติจะมีการจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง ตามส่วนประกอบที่ทำให้เกิด และชนิดของการปะทุ โดยสรุปแล้วเราจะจำแนกภูเขาไฟได้ 4 ลักษณะคือ ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone) เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวามีความเข้มข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรง กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano หรือ Stratovolcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกะทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐ) ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ Mauna Loa (ฮาวาย) กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบปล่อง ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้ไม่ค่อยก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตมากมาย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Volcano Eruptions, Ancient & Modern slideshow by Life magazine Volcano, U.S. Federal Emergency Management Agency (FEMA) ภัยธรรมชาติ วิทยาภูเขาไฟ ธรณีสัณฐานภูเขาไฟ แผ่นเปลือกโลก
thaiwikipedia
891
คำสิงห์ ศรีนอก
คำสิงห์ ศรีนอก (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2473 - ) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ใน พ.ศ. 2535 มีนามปากกาว่า ลาว คำหอม เกิดที่บ้านหนองบัวสะอาด ตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวชาวนา ต่อมาสำเร็จการศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับรางวัลนักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น วาระครบ 100 ปี เรื่องสั้นไทย งานของลาว คำหอม นอกจากจะเป็นที่ยอมรับและนิยมยกย่องในวงวรรณกรรมไทยแล้ว ยังได้รับความสนใจจากวงวรรณกรรมต่างประเทศ โดยมีการแปลงานของเขาเป็นภาษาอังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ก ดัตช์ ญี่ปุ่น สิงหล มลายู เยอรมัน (จัดพิมพ์ 6 เรื่อง) และภาษาฝรั่งเศส (จัดพิมพ์ 4 เรื่อง) เบเนดิก แอนเดอร์สันโต้แย้งว่าคำสิงห์เป็นนักแต่งเรื่องสั้นที่ดีที่สุดของประเทศไทย == ประวัติ == คำสิงห์เกิดเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2473 ณ บ้านหนองบัวสะอาด ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา บิดาคือ นายสวย ศรีนอก มารดาคือ นางขำ ศรีนอก มีญาติพี่น้อง 7 คน และเป็นบุตรคนที่ 6 ของครอบครัว เขาเกิดในแถบชนบททางภาคอีสานของไทย ในสมัยเด็กเขาได้อ่านหนังสือมากมายโดยรับการสนับสนุนจากลุงที่เป็นพระและบิดามารดา และหลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมบางใหญ่ ก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯและเข้าเรียนในคณะวารสารศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พร้อมกัน ในช่วงนี้เองที่ท่านได้ตกอยู่ในช่วงที่ไม่มีเงินจะซื้อกินซื้ออยู่ เลยต้องไปอยู่ในวัดแห่งหนึ่งและเริ่มงานผู้สื่อข่าวการเมืองของหนังสือแนวหน้ารายวัน และเขียนเรื่องสั้นในนามปากการ ค.ส.น. ตีพิมพ์ในหนังสือแนวหน้าฉบับวันจันทร์ในช่วง พ.ศ. 2493 - 2494 และใน พ.ศ. 2495 เริ่มเข้ารับราชการเป็นพนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเชียงใหม่ แต่ประจำอยู่ที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อยู่ราวสามปี ก่อนลาออกจากราชการกลับมากรุงเทพฯ เป็นผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันค้นคว้าของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ประจำประเทศไทย เมื่อพ.ศ. 2499 ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้รู้จักกับชาวต่างชาตินาม ดำเนิน การเด่น ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนฝรั่งที่ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์เกวียนทองในเวลาต่อมา โดยชื่อ ดำเนิน การเด่นก็ได้ ศรีบูรพาตั้งให้ ตอนแรก ศรีบูรพาตั้งให้ว่า ดำเนิน ฝ่าพายุ แต่ก็ถูกชนิดแก้ให้เป็น ดำเนิน การเด่น จากชื่อ ภาษาอังกฤษ Robert Golden นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ทำให้คำสิงห์ได้รู้จักกับศรีบูรพา หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ โดยผ่านทางภรรยาของท่าน จูเลียต หรือ ชนิด สายประดิษฐ์ อันเป็นเพื่อนร่วมงานของดำเนิน อีกด้วย == การก่อตั้งสำนักพิมพ์เกวียนทอง == คำสิงห์กลับมาเขียนเรื่องสั้นอีกครั้งลงหนังสือพิมพ์ ปิยมิตร ด้วยนามปากกา "ลาวคำหอม" โดยมี "เขียดขาดำ" เป็นเรื่องแรกที่แต่ง และก่อตั้งสำนักพิมพ์เกวียนทองร่วมกับดำเนิน การเด่น พิมพ์หนังสือเล่มแรกคือ ข้าพเจ้าได้เห็นมา ของ ศรีบูรพา โดย เข้าใจกันว่าอยากช่วยเหลือครอบครัวสายประดิษฐ์ที่ กุหลาบเพิ่งออกจากคุกในคดีกบฏสันติภาพ เล่มต่อมาที่ตีพิมพ์นั่นคือ ปีศาจ ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ ซึ่งรวมเล่มมาจากเรื่องสั้นของท่านอันพิมพ์กับนิตยสารสามสมัย ตามมาด้วย ความเป็นอนิจจังของสังคม ของปรีดี พนมยงค์ ในปี 2501 ฟ้าบ่กั้น ของคำสิงห์ก็ถูกรวมเล่มจากเรื่องสั้นในปิยมิตร พิมพ์ออกมา คาดว่าเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายของสำนักพิมพ์เกวียนทอง น่าเสียดายที่หลังจากวางแผงได้เพียงไม่นาน ก็เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้น ทำให้ต้องถูกเก็บไปนาน จนกระทั่งปี 2512 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาเยี่ยมบ้านคำสิงห์พร้อม เทพศิริ สุขโสภา ค้นพบหนังสือเล่มนี้จึงนำมาตีพิมพ์ครั้งที่ 2 โดยสำนักพิมพ์ศึกษิตสยาม และได้รับการแปลไปหลายภาษา โดยเฉพาะกับภาษาอังกฤษที่ได้รับสนับสนุนแปลจากสำนักพิมพ์ ออกซฟอร์ดสาขากัวลาลัมเปอร์ และแปลโดย ดำเนิน การเด่น เพื่อนฝรั่งของเขานั่นเอง == ชีวิตในยุค 6 ตุลา และการลี้ภัยในต่างแดน == ในขณะที่จอมพลสฤษดิ์ครองอำนาจ คำสิงห์ก็ถูกบีบบังคับให้จำต้องหลบลี้หนีภัยออกไปทำไร่ทำสวนอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากการปิดบังและปราบปรามสื่อฝ่ายก้าวหน้า รวมถึงมีการจับกุมและสังหารปัญญาชนมากมาย นั่นทำให้สวนที่ปากช่องกลายเป็นแหล่งพักพิงของปัญญาชนหลายคนในช่วงนั้นด้วย คำสิงห์ไม่ได้เขียนงานอีกเลยจนกระทั่งจอมพลสฤษดิ์สิ้นอำนาจหลังจากถึงแก่อสัญกรรมลงในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ในช่วงปี พ.ศ. 2510–2511 คำสิงห์ได้เดินทางไปรับรางวัล Time Life ที่สหรัฐอเมริกา และระหว่างทางกลับไทยก็ได้แวะไปในหลายประเทศทั้งฝรั่งเศส เยอรมัน อิสราเอล และที่โกตดิวัวร์ หรือ ไอวอรีโคสต์ ในแอฟริกาและบรรยายเกี่ยวกับวรรณคดีและวรรณกรรมไทยในหลายมหาวิทยาลัย ก่อนจะกลับไทยและมีส่วนร่วมในวารสารของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ชื่อ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ บทความส่วนใหญ่ซึ่งเกี่ยวข้องกับความไม่เที่ยงธรรมในสังคมไทยนี้ได้ถูกรวบรวมตีพิมพ์เมื่อปี 2518 ในชื่อ กำแพง คำสิงห์ยังคงทำงานเขียนของตนและทำงานในไร่ที่ปากช่องต่อไปจนกระทั่งหลังการปราบปรามชุมนุมนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คำสิงห์ก็เริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น คำสิงห์เข้าร่วมกับพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยและได้รับเลือกเป็นรองประธานพรรค โดยมี นายบุญสนอง บุณโยทยาน เป็นเลขาธิการพรรค และหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 คำสิงห์ได้หนีเข้าป่าไปจนถึงลาวจากการที่งานเขียนของเขาถูกสั่งห้ามทั้งหมดเช่นเดียวกับนักเขียนปัญญาชนคนอื่นๆ หลายเดือนต่อมา คำสิงห์ก็เกิดขัดแย้งกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทำให้เขาและครอบครัวถูกเนรเทศไปยังสวีเดน ในช่วงปี 2520 ระหว่าง 5 ปีนั้นเองเขาก็ได้รับการดูแลจากพรรคสังคมนิยมแห่งสวีเดนและได้รับเกียรติให้เป็นสมาชิกสมาคมนักเขียนแห่งสวีเดน และในช่วงเวลานี้เองที่เขานำงานเขียนเรื่อง แมว อันเป็นนวนิยายเรื่องแรกกลับมาเขียนอีกครั้ง หลังจากที่ต้นฉบับแรกหายไปในช่วงความวุ่นวายช่วงปี 2519 ก่อนจะตีพิมพ์ในปี 2526 หลังจากที่คำสิงห์กลับมากรุงเทพฯในปี 2524 ประสบการณ์ในสวีเดนของเขาถูกเล่าในหนังสือ กระเตงลูกเลียบขั้วโลก ซึ่งตีพิมพ์ในอีกหลายปีให้หลัง == ผลงาน == ฟ้าบ่กั้น (รวมเรื่องสั้น: พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์เกวียนทอง)พ.ศ. 2501 กำแพง (รวมเรื่องสั้นและบทความ: พิมพ์ครั้งแรกสำนักพิมพ์ปุถุชน) พ.ศ. แมว (นวนิยาย: พิมพ์ครั้งแรกสำนักพิมพ์ดวงตา) พ.ศ. 2527 ลมแล้ง(รวมเรื่องสั้น: พิมพ์ครั้งแรกสำนักพิมพ์ลลนา ในการพิมพ์ครั้งแรกใช้ชื่อว่านิทานชาวบ้าน - ลมแล้ง) พ.ศ. 2529 กระเตงลูกเลียบขั้วโลก (บทบันทึกในต่างแดน: พิมพ์ครั้งแรกสำนักพิมพ์แก้วประกาย) พ.ศ. 2531 กำแพงลม (ทัศนะว่าด้วยการเมืองและชนบท: พิมพ์ครั้งแรกสำนักพิมพ์ใบบัว เป็นผลงานที่เคย ตีพิมพ์ในชุด "กำแพง" โดยเพิ่มบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์มารวมเล่ม) พ.ศ. 2533 ประเวณี (รวมเรื่องสั้น: พิมพ์ครั้งแรกแพรวสำนักพิมพ์) พ.ศ. 2539 เวียตนาม: ความห่างเหินที่อยู่ติดรั้วบ้าน (บทบันทึก: พิมพ์ครั้งแรกแพรวสำนักพิมพ์)พ.ศ. 2545 ฟ้าไร้แดน (บทบันทึก) พ.ศ. 2544 ทองปาน (บทภาพยนตร์)(ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์ลอนดอน (London Film Festival) และได้รับรางวัลเกียรติยศ Outstanding Film of Southeast Asia เข้ามาฉายในประเทศไทย ครั้งแรกช่วงปลายปี พ.ศ. 2520 ที่สถาบันเกอเธ่ บ้านพระอาทิตย์และที่สยามสมาคม) == นามปากกา == ค.ส.น. ชโย สมภาค (ใช้เขียนร้อยกรอง) ลาว คำหอม == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ราม ประสานศักดิ์. (2561). “ยังไม่ซึมซาบในใจลาวนัก”: จ้าวโลก เจ้าวัฒนธรรมใน “ไพร่ฟ้า” ของลาว คำหอม. ใน ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม. บรรณาธิการโดย เสาวณิต จุลวงศ์. น. 279-311. กรุงเทพฯ: วิภาษา. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2528 - 2540. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์คุรุสภาสาดพร้าว, 2545. ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นักเขียนชาวไทย บุคคลจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลจากอำเภอบัวใหญ่ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
thaiwikipedia
892
ชุดตัวอักษรกรีก
ชุดตัวอักษรกรีก เป็นชุดของอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก == ประวัติ == อักษรกรีกนั้นปรับปรุงแก้ไขจากอักษรฟินิเชีย และยังได้เป็นจุดกำเนิดพัฒนาการของอักษรอื่น ๆ อีกหลายแบบ เช่น อักษรละติน (อักษรโรมัน) อักษรกลาโกลิติก อักษรคอปติก และอักษรซีริลลิก เป็นต้น อาจรวมถึงอักษรอาร์มีเนียด้วย จากข้อเขียนของเฮโรโดตัสระบุว่าตัวอักษรเข้าสู่กรีซครั้งแรกโดยชาวฟินิเชียชื่อแคดมัส การเปลี่ยนแปลงของอักษรกรีกเมื่อเทียบกับอักษรฟินิเชีย คือการเพิ่มสัญลักษณ์แทนเสียงสระ ซึ่งได้แก่ อัลฟา เอฟซีลอน ไอโอตา โอไมครอน และอัฟซีลอน และเพิ่มพยัญชนะบางตัวเข้าไป ในช่วงแรกอักษรกรีกมีความหลากหลายมาก มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างกรีซตะวันตกหรือคัลเดียกับกรีซตะวันออกหรือไอโอนิก รัฐเอเธนส์กำหนดระบบการเขียนแบบไอโอนิกให้เป็นมาตรฐานเมื่อ พ.ศ. 140 ปัจจุบันอักษรกรีกเขียนจากซ้ายไปขวา แต่ในอดีตเคยเขียนจากขวาไปซ้าย == ใช้เขียน == ภาษากรีก ภาษานาร์บอน มีผู้พูดทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเมื่อราว พ.ศ. 243 คัมภีร์ไบเบิลภาคภาษาฮีบรู ภาษาอาหรับเมื่อราว พ.ศ. 1300 ภาษาตุรกีในหมู่ชาวตุรกีที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ ภาษาอัลเบเนีย เมื่อราว พ.ศ. 2043 ภาษากลุ่มสลาวิกใต้ เช่นภาษามาซิโดเนีย ภาษาคอปติก ภาษานิวเบียโบราณ == รายชื่ออักษรกรีกและพัฒนาการ == === ตัวอักษรที่ยังใช้อยู่ === === ตัวอักษรที่เลิกใช้แล้ว === == ยูนิโคด == == อ้างอิง == อักษรกรีก == แหล่งข้อมูลอื่น == U0370.pdf Wau (Digamma) Stigma Heta San Sho Koppa Sampi (Disigma) การอ่านอักษรกรีก มีไฟล์เสียงให้ฟัง ชุดตัวอักษรกรีก
thaiwikipedia
893
เกออร์ค คันทอร์
เกออร์ค แฟร์ดีนันท์ ลูทวิช ฟิลลิพ คันทอร์ (Georg Ferdinand Ludwig Philipp Cantor; 3 มีนาคม ค.ศ. 1845 – 6 มกราคม ค.ศ. 1918) เป็นนักคณิตศาสตร์ เกิดในรัสเซีย แต่ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในนามของผู้บัญญัติทฤษฎีเซตยุคใหม่ โดยได้ขยายขอบเขตของทฤษฎีเซตให้ครอบคลุมแนวคิดของจำนวนเชิงอนันต์ (transfinite or infinite numbers) ทั้งจำนวนเชิงการนับและจำนวนเชิงอันดับที่ นอกจากนี้ คันทอร์ยังเป็นที่รู้จักจากผลงานในเรื่องการแทนฟังก์ชันด้วยอนุกรมตรีโกณมิติที่เป็นเอกลักษณ์ (unique representation of functions by means of trigonometric series) ซึ่งเป็นภาคขยายของอนุกรมฟูรีเย == ประวัติ == บิดาของ คันทอร์ มีชื่อว่า จอร์จ วัลเดอมาร์ คันทอร์ (George Waldemar Cantor) เป็นพ่อค้าชาวเดนมาร์ก ที่ประสบความสำเร็จทางการค้าในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก มารดาเป็นชาวรัสเซีย มีชื่อว่า Maria Anna Bohm เมื่อคันทอร์มีอายุได้ 11 ปี ครอบครัวของเขาจึ่งย้ายไปเยอรมนี ในวัยเรียน คันทอร์เป็นเด็กที่มีผลการเรียนในระดับดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาตรีโกณมิติ ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อใน Höherem Gewerbeschule แห่งเมืองดาร์มชตัท และในปี ค.ศ. 1862 ย้ายไปสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซือริช ที่ซึ่งเขาเลือกเรียนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ตามความต้องการของบิดา และภายหลังจึงย้ายมาเรียนคณิตศาสตร์ตามความชอบของตนแทน ต่อมาเมือบิดาเสียชีวิตลง คันทอร์ จึงย้ายมาเรียนที่ มหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลินนสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1867 โดยมีหัวข้อวิทยานิพนธ์ทางด้านทฤษฎีจำนวน หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนและย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยฮัลเลอในปี ค.ศ. 1869 ขณะเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮัลเลอนี้เอง คันทอร์ได้รับอิทธิพลของเอดูอาร์ท ไฮเนอ ซึ่งเป็นอาจารย์อาวุโสประจำมหาวิทยาลัย ทำให้คันทอร์เริ่มเปลี่ยนความสนใจจากทฤษฎีจำนวนไปเป็นคณิตวิเคราะห์ ในปี ค.ศ. 1873 คันทอร์มีผลงานชิ้นสำคัญคือ การพิสูจน์ว่าเซตของจำนวนตรรกยะเป็นเซตนับได้ และในปลายปีเดียวกัน ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าเซตของจำนวนจริงเป็นเซตที่นับไม่ได้ ซึ่งผลงานทั้งสองนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปีถัดมา ในผลงานดังกล่าว คันทอร์ยังได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสมนัยแบบหนึ่งต่อหนึ่งของสมาชิกในเซตเป็นครั้งแรกอีกด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1879–1884 คันทอร์ได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญต่อการพัฒนาทฤษฎีเซตอย่างมากถึงหกฉบับลงในวารสาร Mathematische Annalen แต่ถูกนักคณิตศาสตร์บางคนในสมัยนั้นต่อต้าน เพราะมีแนวคิดที่แปลกใหม่จนเกินไป การโจมตีผลงานของคันทอร์ได้ส่งผลกระทบทางจิตใจของคันทอร์ในเวลาต่อมา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1884 คันทอร์เริ่มมีอาการซึมเศร้าและมีอาการเรื้อรังเรื่อยมา จนทำให้เขาเริ่มหันไปสนใจปรัชญาและวรรณคดี ในขณะที่ยังมีผลงานทางด้านคณิตศาสตร์อยู่ นับจากปี ค.ศ. 1899 เป็นต้นมาอาการป่วยของคันทอร์ก็หนักลงเรื่อย ๆ จนต้องลาจากการสอนเป็นระยะเพื่อรักษาตัว ในปี ค.ศ. 1911 คันทอร์ได้รับเกียรติในฐานะนักวิชาการต่างชาติไปร่วมงานเฉลิมฉลอง 500 ปี ของมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์แห่งสกอตแลนด์ จากนั้นอีกปีหนึ่ง คันทอร์ก็ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนี้เช่นกัน แต่ก้ไม่สามารถเดินทางไปรับได้เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ คันทอร์เกษียณในปี ค.ศ. 1913 และมีอาการป่วยเรื้อรังตลอดเวลา ในปี ค.ศ. 1915 มหาวิทยาลัยฮัลเลอมีแผนจะจัดงานฉลองอายุครบ 70 ให้แก่คันทอร์ แต่ก้ต้องยกเลิกเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คันทอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1918 ที่เยอรมนี ด้วยอาการหัวใจวาย รวมอายุได้ 72 ปี ดาวิท ฮิลเบิร์ท ได้กล่าวยกย่องคันทอร์ไว้ว่า == ดูเพิ่ม == เซตคันทอร์ ทฤษฎีบทของคันทอร์ อนันต์ จำนวนอะเลฟ การอ้างเหตุผลแนวทแยงของคันทอร์ ฟังก์ชันคันทอร์ == อ้างอิง == วัชรพงษ์ โขวิฑูรกิจ, ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้าขั้นสูง, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546, หน้า 35-36. ISBN 974-13-2533-9 == แหล่งข้อมูลอื่น == Contributions to the Founding of the Theory of Transfinite Numbers โดย เกออร์ค คันทอร์ ฉบับภาษาอังกฤษ บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2388 นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน บุคคลจากเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซือริช ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน บุคคลจากมหาวิทยาลัยมาร์ติน ลูเทอร์ แห่งฮัลเลอ-วิทเทินแบร์ค ชาวเยอรมันเชื้อสายเดนมาร์ก ชาวเยอรมันเชื้อสายรัสเซีย
thaiwikipedia
894
อักษรซีริลลิก
อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซา == ประวัติ == พัฒนามาจากอักษรกลาโกลิติกโดยนักบุญซีริลและเมโธเดียส (ในภาษารัสเซียออกเสียง ซีริล ว่า คีริล จึงเป็นที่มาของการอ่านชื่ออักษรไม่เหมือนกับในภาษาอังกฤษ) นำมาใช้แทนที่อักษรกลาโกลิติกเกือบจะสมบูรณ์เมื่อราว พ.ศ. 1500 == ใช้เขียน == กลุ่มภาษาสลาวิก ได้แก่ *ภาษาเบลารุส หรือ ภาษาไบโลรัสเซีย * ภาษาบัลแกเรีย * ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณ เมื่อราว พ.ศ. 1400 * ภาษามาซิโดเนีย * ภาษารัสเซีย * ภาษาเซอร์เบีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2400 * ภาษายูเครน *ภาษาบอสเนีย/ภาษายูโกสลาฟ ภาษาที่ไม่ใช่กลุ่มภาษาสลาวิก การแพร่กระจายของอักษรซีริลลิกเป็นผลมาจากการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ รวมทั้งอิทธิพลของสหภาพโซเวียตที่ให้ประชาชนในบังคับใช้อักษรซีริลลิกแทนอักษรอาหรับและอักษรละติน ภาษาในกลุ่มนี้ได้แก่ *ภาษาอับฮาเซีย * ภาษาอาเซอร์ไบจาน ใช้ระหว่าง พ.ศ. 2482 – 2534 * ภาษาคูวาซ เมื่อราว พ.ศ. 2481 * ภาษาคาซัค * ภาษาคีร์กิซ * ภาษาอุซเบก ในช่วง พ.ศ. 2483 – 2535 * ภาษามอลโดวา ในช่วง พ.ศ. 2489 – 2532 * ภาษามองโกเลีย * ภาษาเบอร์บัต * ภาษานาไน * ภาษาโอโรค * ภาษาโอรช * ภาษาอิเวนกิ (เฉพาะชาวอิเวนกิในรัสเซีย) * ภาษาคัลมึค (แต่เดิมใช้อักษรของตนเอง แต่เปลี่ยนมาใช้อักษรซิริลลิคเมื่อ พ.ศ. 2467) == ยูนิโคด == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == อักษรซีริลลิก
thaiwikipedia
895
รายชื่อกลุ่มดาวเรียงตามเนื้อที่
รายชื่อกลุ่มดาว 88 กลุ่ม เรียงตามเนื้อที่ในท้องฟ้า หน่วยเป็นตารางองศา อันดับที่ กลุ่มดาว เนื้อที่ (ตารางองศา) 1 กลุ่มดาวงูไฮดรา 1,303 2 กลุ่มดาวหญิงสาว 1,294 3 กลุ่มดาวหมีใหญ่ 1,280 4 กลุ่มดาวซีตัส 1,231 5 กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส 1,225 6 กลุ่มดาวแม่น้ำ 1,138 7 กลุ่มดาวม้าบิน 1,121 8 กลุ่มดาวมังกร 1,083 9 กลุ่มดาวคนครึ่งม้า 1,060 10 กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ 980 11 กลุ่มดาวคนแบกงู 948 12 กลุ่มดาวสิงโต 947 13 กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ 907 14 กลุ่มดาวปลา 889 15 กลุ่มดาวคนยิงธนู 867 16 กลุ่มดาวหงส์ 804 17 กลุ่มดาววัว 797 18 กลุ่มดาวยีราฟ 757 19 กลุ่มดาวแอนดรอเมดา 722 20 กลุ่มดาวท้ายเรือ 673 21 กลุ่มดาวสารถี 657 22 กลุ่มดาวนกอินทรี 652 23 กลุ่มดาวงู * 637 24 กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส 615 25 กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย 598 26 กลุ่มดาวนายพราน 594 27 กลุ่มดาวซีฟิอัส 588 28 กลุ่มดาวแมวป่า 545 29 กลุ่มดาวคันชั่ง 538 30 กลุ่มดาวคนคู่ 514 31 กลุ่มดาวปู 506 32 กลุ่มดาวใบเรือ 500 33 กลุ่มดาวแมงป่อง 497 34 กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ 494 35 กลุ่มดาวยูนิคอร์น 482 36 กลุ่มดาวช่างแกะสลัก 475 37 กลุ่มดาวนกฟีนิกซ์ 469 38 กลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ 465 39 กลุ่มดาวแกะ 441 40 กลุ่มดาวแพะทะเล 414 41 กลุ่มดาวเตาหลอม 398 42 กลุ่มดาวผมเบเรนิซ 386 43 กลุ่มดาวหมาใหญ่ 380 44 กลุ่มดาวนกยูง 378 45 กลุ่มดาวนกกระเรียน 366 46 กลุ่มดาวหมาป่า 334 47 กลุ่มดาวเซกซ์แทนต์ 314 48 กลุ่มดาวนกทูแคน 295 49 กลุ่มดาวอินเดียนแดง 294 50 กลุ่มดาวออกแทนต์ 291 51 กลุ่มดาวกระต่ายป่า 290 52 กลุ่มดาวพิณ 286 53 กลุ่มดาวถ้วย 282 54 กลุ่มดาวหมาจิ้งจอก 278 55 กลุ่มดาวนกเขา 270 56 กลุ่มดาวหมีเล็ก 256 57 กลุ่มดาวกล้องโทรทรรศน์ 252 58 กลุ่มดาวนาฬิกา 249 59 กลุ่มดาวขาตั้งภาพ 247 60 กลุ่มดาวปลาใต้ 245 61 กลุ่มดาวงูไฮดรัส 243 62 กลุ่มดาวเครื่องสูบลม 239 63 กลุ่มดาวแท่นบูชา 237 64 กลุ่มดาวสิงโตเล็ก 232 65 กลุ่มดาวเข็มทิศ 221 66 กลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์ 210 67 กลุ่มดาวนกการเวก 206 68 กลุ่มดาวกิ้งก่า 201 69 กลุ่มดาวโลมา 189 70 กลุ่มดาวนกกา 184 71 กลุ่มดาวหมาเล็ก 182 72 กลุ่มดาวมงกุฎเหนือ 179 กลุ่มดาวปลากระโทงแทง 179 74 กลุ่มดาวไม้ฉาก 165 75 กลุ่มดาวภูเขา 153 76 กลุ่มดาวปลาบิน 141 77 กลุ่มดาวแมลงวัน 138 78 กลุ่มดาวกิ้งก่าคะมีเลียน 132 กลุ่มดาวสามเหลี่ยม 132 80 กลุ่มดาวมงกุฎใต้ 128 81 กลุ่มดาวสิ่ว 125 82 กลุ่มดาวตาข่าย 114 83 กลุ่มดาวสามเหลี่ยมใต้ 110 84 กลุ่มดาวโล่ 109 85 กลุ่มดาววงเวียน 93 86 กลุ่มดาวลูกธนู 80 87 กลุ่มดาวม้าแกลบ 72 88 กลุ่มดาวกางเขนใต้ 68 หมายเหตุ: กลุ่มดาวงูแยกเป็น 2 ส่วน คือ หัวงู (429 ตารางองศา) และหางงู (208 ตารางองศา) นเนื้อที่ ดาราศาสตร์
thaiwikipedia
896
ฝนดาวตก
ฝนดาวตก คือดาวตกหลายดวงที่เหมือนกันออกมาจากบริเวณเดียวกันในท้องฟ้าช่วงเวลาเดียวกันของปี ซึ่งเกิดจากเศษชิ้นส่วนในอวกาศที่พุ่งเข้าบรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วสูง แต่ละคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กของดาวหางถูกสลัดทิ้งไว้ตามทางโคจร เรียกว่า "ธารสะเก็ดดาว" หากวงโคจรของโลกและของดาวหางซ้อนทับกัน โลกจะเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงวันเดียวกันของแต่ละปี ทำให้เกิดฝนดาวตก การที่สะเก็ดดาวในธารเดียวกัน เคลื่อนที่ขนานกันและมีอัตราเร็วเท่ากัน ดาวตกที่เราเห็นจึงดูเหมือนพุ่งออกมาจากจุดเดียวกันในท้องฟ้า ซึ่งเป็นผลจากทัศนมิติ (perspective) เปรียบเหมือนกับที่เราเห็นรางรถไฟไปบรรจบกันที่ขอบฟ้า เมื่อยืนดูจากกลางราง == ดูเพิ่ม == รายชื่อฝนดาวตก ดาวเคราะห์น้อย == แหล่งข้อมูลอื่น == The International Meteor Organisation The American Meteor Society Meteor Showers Online, by Gary W. Kronk Meteor Showers , by Sky and Telescope Upcoming Meteor Showers , by Sky and Telescope Basics of Meteor Observing , by Sky and Telescope ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
thaiwikipedia
897
จักรราศี
จักรราศี (zodiac มาจากภาษากรีก ζῳδιακός หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี == ประวัติ == === ประวัติยุคเริ่มแรก === การแบ่งเส้นสุริยวิถีออกเป็นจักรราศี เริ่มต้นในยุคบาบิโลเนีย ดาราศาสตร์ในช่วงครึ่งแรกของ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล คล้ายกับช่วงกลางหรือบาบิโลเนียใหม่ เมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล จักรราศีคลาสสิกแก้ไขมาจาก MUL.APIN ซึ่งได้รวบรวมขึ้นเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มดาวบางกลุ่มสามารถย้อนหลังไปได้ถึงยุคสำริด (บาบิโลเนียเก่า) รวมทั้งกลุ่มดาวคนคู่ (ราศีมิถุน) จาก MAŠ.TAB.BA.GAL.GAL "คู่แฝดที่ยิ่งใหญ่" และกลุ่มดาวปู (ราศีกรกฎ) จาก AL.LUL "กุ้งนาง" == เครื่องหมายทั้งสิบสอง == ต่อไปนี้เป็นรายชื่อเครื่องหมายทั้งสิบสองของจักรราศีในปัจจุบันโดย 0° ของราศีเมษถือเป็นจุดวิษุวัต พร้อมทั้งชื่อภาษาละติน ภาษากรีก ภาษาสันสกฤต และภาษาบาบิโลเนีย {|class="wikitable" |- ! ราศีที่ !! เครื่องหมาย !! องศา !! ภาษาละติน !! ภาษาไทย!! ภาษากรีก!! ภาษาสันสกฤต !! ภาษาบาบิโลเนีย-ซูเมอร์ |- |1 || || 0°|| Aries || ราศีเมษ|| Κριός/Kriós|| मेष||MUL LUḪUN.GA "The Agrarian Worker", Dumuzi |- |2|| || 30°||Taurus || ราศีพฤษภ|| Ταῦρος/Tauros|| वृषभ||MULGU4.AN.NA "The Steer of Heaven" |- |3|| || 60°||Gemini || ราศีเมถุน|| Δίδυμοι/Didymoe|| मिथुन|| MULMAŠ.TAB.BA.GAL.GAL "The Great Twins" (Lugalgirra and Meslamta-ea) |- |4|| || 90°||Cancer || ราศีกรกฎ||Καρκῖνος/Karkinos || कर्कट||MULAL.LUL "The Crayfish" |- |5|||| 120°|| Leo || ราศีสิงห์||Λέων/Léōn || सिंह||MULUR.GU.LA "The Lion" |- |6|||| 150°|| Virgo || ราศีกันย์||Παρθένος/Parthénos || कन्या||MULAB.SIN "The Furrow"; "The Furrow, the goddess Shala's ear of corn" |- |7|||| 180°|| Libra ||ราศีตุล||Ζυγός/Zygós || तुला||zibanitum "The Scales" |- |8|||| 210°|| Scorpio || ราศีพิจิก||Σκoρπιός/Skorpiós || वृश्चिक|| MULGIR.TAB "The Scorpion" |- |9|||| 240°|| Sagittarius || ราศีธนู||Τοξότης/Toxótēs || धनुष||MULPA.BIL.SAG, Nedu "soldier" |- |10|||| 270°|| Capricorn || ราศีมกร ||Αἰγόκερως/Aegókerōs || मकर||MULSUḪUR.MAŠ "The Goat-Fish" |- |11|||| 300°|| Aquarius ||ราศีกุมภ์||Ὑδροχόος/Hydrokhóos || कुम्भ|| MULGU.LA "The Great One", later qâ "pitcher" |- |12|||| 330°|| Pisces || ราศีมีน||Ἰχθύες/Ιkhthyes || मीन||MULSIM.MAḪ "The Tail of the Swallow", later DU.NU.NU "fish-cord" |} == ตารางจักรราศีและช่วงวันที่ครอบคลุม == จักรราศี (และช่วงวันที่ครอบคลุม) ซึ่งมีทั้งหมด 12 ราศี เป็นดังนี้ {|class="wikitable" align="center" |- align="center" | rowspan=2| ราศี | rowspan=2| สัญลักษณ์ | colspan=2| วันที่ครอบคลุมของราศี (โดยประมาณ) | rowspan=2| ธาตุ | rowspan=2| ระดับธาตุ | rowspan=2| ดาวประจำราศี |- align="center" | แบบสายนะ (Tropical Zodiac) | แบบนิรายนะ (Sidereal Zodiac) |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีเมษ | แกะ | 21 มีนาคม - 20 เมษายน | 13 เมษายน - 14 พฤษภาคม | ไฟ | จรราศี (แม่ธาตุ) | ดาวอังคาร |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีพฤษภ | วัว | 21 เมษายน - 20 พฤษภาคม | 15 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน | ดิน | สถิรราศี (กลางธาตุ) | ดาวศุกร์ |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีเมถุน | คนคู่ | 21 พฤษภาคม - 20 มิถุนายน | 15 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม | ลม | อุภัยราศี (ปลายธาตุ) | ดาวพุธ |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีกรกฎ | ปู | 21 มิถุนายน - 20 กรกฎาคม | 15 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม | น้ำ | จรราศี | ดวงจันทร์ |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีสิงห์ | สิงโต | 21 กรกฎาคม - 20 สิงหาคม | 16 สิงหาคม - 16 กันยายน | ไฟ | สถิรราศี | ดวงอาทิตย์ |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีกันย์ | หญิงสาว | 21 สิงหาคม - 20 กันยายน | 17 กันยายน - 16 ตุลาคม | ดิน | อุภัยราศี | ดาวพุธ |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีตุล | คันชั่ง | 21 กันยายน - 20 ตุลาคม | 17 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน | ลม | จรราศี | ดาวศุกร์ |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีพิจิก | แมงป่อง | 21 ตุลาคม - 20 พฤศจิกายน | 16 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม | น้ำ | สถิรราศี | ดาวอังคาร, ดาวพลูโต |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีธนู | คนยิงธนู | 21 พฤศจิกายน - 20 ธันวาคม | 16 ธันวาคม - 14 มกราคม | ไฟ | อุภัยราศี | ดาวพฤหัสบดี |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีมกร | แพะทะเล | 21 ธันวาคม - 20 มกราคม | 15 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ | ดิน | จรราศี | ดาวเสาร์ |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีกุมภ์ | คนแบกหม้อน้ำ | 21 มกราคม - 20 กุมภาพันธ์ | 13 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม | ลม | สถิรราศี | ดาวเสาร์, ดาวมฤตยู |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีมีน | ปลา | 21 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม | 13 มีนาคม - 12 เมษายน | น้ำ | อุภัยราศี | ดาวพฤหัสบดี, ดาวเนปจูน |} == จักรราศีใหม่ == 13 มกราคม พ.ศ. 2559 นาซ่าได้ประกาศในเว็ปไซด์สเปซเพลสและต่อมา Tumblr ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าแท้จริงแล้วจักรราศีมี 13 ราศี โดยอ้างถึงปฏิทินของชาวบาบิโลน จักรราศีที่เพิ่มมาใหม่อยู่ระหว่างราศีพิจิก กับ ราศีธนู มีชื่อเรียกกว่า ราศีภุชงค์ หรือ คนแบกงู (Ophiuchus) ตำนานกรีกมีอยู่ว่า หมอออฟฟิอุคัส เป็นผู้ชำนาญการพิเศษเกี่ยวกับการแพทย์ วันหนึ่งเขาสังเกตเห็นงูกินผลไม้จากต้นที่มันกินและทำให้งูเป็นอมตะ ออฟฟิอุคัสจึงได้รู้ว่าต้นไม้ต้นนั้นมีผลที่สามารถทำให้เป็นอมตะได้ เมื่อเทพซุสรู้เช่นนั้นก็เกรงว่าความลับจะถูกเปิดเผยและกลัวว่าจะมีมนุษย์เป็นอมตะ เพื่อรักษาความสมดุลของโลกมนุษย์และเทพ จึงสังหารนายแพทย์คนนั้น และไว้อาลัยให้แก่เขาโดยการนำดวงวิญญาณขึ้นไปประดับบนท้องฟ้าซึ่งก็คือกลุ่มดาวคนแบกงู {|class="wikitable" align="center" |- align="center" | rowspan=1| ราศี | rowspan=1| สัญลักษณ์ | rowspan=1| วันที่ครอบคลุมของราศี (โดยประมาณ) |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีเมษ | แกะ | 19 เมษายน - 13 พฤษภาคม |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีพฤษภ | วัว | 14 พฤษภาคม - 21 มิถุนายน |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีเมถุน | คนคู่ | 22 มิถุนายน - 20 กรกฎาคม |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีกรกฎ | ปู | 21 กรกฎาคม - 10 สิงหาคม |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีสิงห์ | สิงโต | 11 สิงหาคม - 16 กันยายน |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีกันย์ | หญิงสาว | 17 กันยายน - 30 ตุลาคม |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีตุล | คันชั่ง | 31 ตุลาคม - 23 พฤศจิกายน |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีพิจิก | แมงป่อง | 24 พฤศจิกายน - 29 พฤศจิกายน |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีภุชงค์ | คนแบกงู | 30 พฤศจิกายน - 17 ธันวาคม |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีธนู | คนยิงธนู | 18 ธันวาคม - 19 มกราคม |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีมกร | แพะทะเล | 20 มกราคม - 16 กุมภาพันธ์ |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีกุมภ์ | คนแบกหม้อน้ำ | 17 กุมภาพันธ์ - 11 มีนาคม |- align="center" bgcolor=#FFFFFF | ราศีมีน | ปลา | 12 มีนาคม - 18 เมษายน |} == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == แผนที่ดาว แผนที่ดาวพิกัดศูนย์สูตร (Equatorial Sky Chart) ราศี กลุ่มดาว โหราศาสตร์
thaiwikipedia
898
กลุ่มดาวแกะ
กลุ่มดาวแกะ (♈) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในจักรราศี ชื่อในภาษาละติน Aries หมายถึงแกะตัวผู้ อยู่ระหว่างกลุ่มดาวปลาทางด้านทิศตะวันตก กับกลุ่มดาววัวทางด้านทิศตะวันออก มี่ชื่อในภาษาละตินว่า Ram และมีสัญลักษณ์คือ 20px ตั้งชื่อโดยปโตเลมี สามารถเห็นกลุ่มดาวนี้ได้ในฤดูหนาว กลุ่มดาว กลุ่มดาวแกะ
thaiwikipedia
899
กลุ่มดาววัว
กลุ่มดาววัว หรือ กลุ่มดาวพฤษภ (♉) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี ปรากฏเด่นชัดในค่ำคืนฤดูหนาว อยู่ระหว่างกลุ่มดาวแกะทางทิศตะวันตก และกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันออก ทางเหนือคือกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสและกลุ่มดาวสารถี ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ คือ กลุ่มดาวนายพราน และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ คือ กลุ่มดาวแม่น้ำและกลุ่มดาวซีตัส กลุ่มดาว กลุ่มดาววัว
thaiwikipedia
900
ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ
ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ (Computational Complexity Theory) เป็นสาขาหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณ ที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เวลาและเนื้อที่สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ โดยปกติแล้วคำว่า "เวลา" ที่เราพูดถึงนั้น จะเป็นการนับจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหา ส่วนในเรื่องของ "เนื้อที่" เราจะพิจารณาเนื้อที่ ๆ ใช้ในการทำงานเท่านั้น (ไม่นับเนื้อที่ ๆ ใช้ในการเก็บข้อมูลป้อนเข้า). ในบางกรณีเราอาจจะสนใจการวิเคราะห์ปริมาณอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากพื้นที่กับเวลา ยกตัวอย่างเช่น ในการประมวลผลแบบขนาน เราอาจจะวิเคราะห์ว่าต้องใช้หน่วยประมวลผลกี่ตัวในการแก้ปัญหาที่กำหนด. ทฤษฎีความซับซ้อนต่างจาก ทฤษฎีการคำนวณได้ ที่จะเน้นไปในการวิเคราะห์ว่าปัญหาสามารถแก้ได้หรือไม่ โดยไม่สนใจทรัพยากรที่ใช้ในการแก้ปัญหา == ภาพรวม == ภายหลังจากที่สามารถระบุได้ว่า ปัญหาใดสามารถแก้ได้ และปัญหาใดที่แก้ไม่ได้ เรามักจะเกิดคำถามขึ้นอีกว่าในบรรดาปัญหาที่แก้ได้ ซึ่งเป็นกลุ่มของฟังก์ชันที่คำนวณได้นั้น มีความซับซ้อนอยู่ในระดับใด จุดนี้เป็นความสนใจหลักของ ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ในที่นี้ เราจะมอง "ปัญหา" หนึ่ง ๆ ว่าเป็นเซตของคำถามที่เกี่ยวข้องในปัญหานั้นทั้งหมด โดยแต่ละคำถามจะเป็นสตริงที่มีความยาวจำกัด ยกตัวอย่างเช่น ปัญหา แยกตัวประกอบ (FACTORIZE) คือ: ให้เลขจำนวนเต็มหนึ่งตัวที่เขียนอยู่ในรูปของเลขฐานสอง เราต้องการเขียนตัวเลขนี้ให้อยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะ คำถามใดๆ คำถามหนึ่งจะถูกเรียกว่า "ตัวอย่างปัญหา" (instance) ในกรณีนี้ เราจะเรียก "จงหาตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะของ 15" ว่าเป็นตัวอย่างปัญหาของปัญหาแยกตัวประกอบ เราจะนิยาม ความซับซ้อนด้านเวลา (time complexity) สำหรับปัญหาหนึ่ง ๆ ว่าเป็นจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ตัวอย่างปัญหาสำหรับปัญหานั้น ในรูปฟังก์ชันของขนาดของข้อมูลป้อนเข้า (ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะคิดขนาดเป็นบิต) โดยใช้ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ในปัญหา ๆ หนึ่ง สำหรับทุกตัวอย่างปัญหาที่มีขนาด n บิต ถ้าเราสามารถแก้ตัวอย่างปัญหานี้ได้ภายใน n^2 ขั้นตอน เราสามารถพูดได้ว่าปัญหานี้มีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น n^2 ซึ่งในการกล่าวถึงเวลาที่ใช้นั้น แน่นอนว่าเครื่องจักร หรือ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็ใช้เวลาในการคำนวณแตกต่างกันไป เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความแตกต่างในจุดนี้ เราจะใช้สัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) ปัญหาที่มีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น O (n^2) ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง จะมีความซับซ้อนด้านเวลาเป็น O (n^2) บนเครื่องอื่นๆด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าสัญกรณ์โอใหญ่ช่วยเราหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงรายละเอียด ที่เป็นความแตกต่างระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หลายครั้งเราจะกล่าวถึงความซับซ้อนด้านเวลาว่าเป็น "เวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา" หรือ "เวลาที่ใช้ในการทำงาน" ตัวอย่าง: การตัดหญ้าในสวนใช้เวลาในการทำงานเป็นเชิงเส้น เพราะว่าถ้าสนามหญ้าใหญ่กว่าเดิมเท่าตัว เราก็ต้องใช้เวลาในการตัดหญ้ามากขึ้นเป็นเท่าตัว แต่สำหรับการเปิดหาคำศัพท์ในพจนานุกรมนั้น เวลาที่ใช้ในการทำงานจะเป็นลอการิทึมของขนาดข้อมูลป้อนเข้า เพราะว่าสำหรับพจนานุกรมที่มีขนาดเพิ่มเป็นเท่าตัว เราทำงานเพิ่มขึ้นเพียงหนึ่งขั้นตอน (เปิดพจนานุกรมไปตรงกลางแล้วตรวจสอบว่าคำศัพท์ที่เรากำลังมองหาอยู่ในฝั่งใดของพจนานุกรม ซึ่งวิธีนี้จะลดขนาดของปัญหาลงครึ่งหนึ่งทุกครั้งที่มีการเปิดพจนานุกรม) == ปัญหาการตัดสินใจ == ส่วนใหญ่แล้ว ทฤษฎีเกี่ยวกับความซับซ้อนในการคำนวณ จะสนใจกลุ่มของปัญหาการตัดสินใจ. ซึ่งปัญหาที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะมีคำตอบเพียงสองแบบก็คือ "ใช่" และ "ไม่ใช่" ยกตัวอย่างเช่นปัญหาที่ถามว่าจำนวนหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่. ปัญหาในกลุ่มนี้อาจมองได้อีกแบบหนึ่งก็คือ มองเป็น ภาษา ซึ่งเป็นเซตของสตริงความยาวจำกัด. สำหรับปัญหาการตัดสินใจปัญหาหนึ่ง เราอาจจะมองว่า มันคือภาษาที่มีสมาชิกในเซตเป็นตัวอย่างปัญหาทั้งหมดที่ให้คำตอบเป็น "ใช่". ปกติแล้ว ปัญหาการตัดสินใจมักจะเป็นที่สนใจเพราะว่า ปัญหาหลายปัญหามักจะสามารถลดรูปไปเป็นปัญหาในกลุ่มนี้ได้. ยกตัวอย่างเช่น ปัญหา HAS-FACTOR ที่ถามว่า สำหรับจำนวนเต็ม n และ k, จำนวน n มีตัวประกอบเฉพาะที่มีค่าไม่เกิน k หรือไม่? ในที่นี้เราจะแสดงให้เห็นว่า การแก้ปัญหา HAS-FACTOR จะนำไปสู่การแก้ปัญหา FACTORIZE ที่เราได้กล่าวถึงไปแล้ว โดยใช้ทรัพยากรไม่มากกว่ากันนัก สังเกตว่าหากเราสามารถแก้ปัญหา HAS-FACTOR ได้ เราสามารถใช้การค้นหาแบบทวิภาค (binary search) เพื่อหาค่าของ k ที่น้อยที่สุดที่เป็นตัวประกอบของ n และเมื่อเจอจำนวนนั้นแล้ว เราก็จะหารมันทิ้งไป ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่สามารถทำต่อได้ เราก็จะสามารถหาตัวประกอบเฉพาะทั้งหมดของ n ออกมาได้ ค่อนข้างจะชัดเจนว่าเนื้อที่ที่ใช้ในการแก้ปัญหา FACTORIZE จะไม่มากไปกว่าเนื้อที่ที่ใช้ในการแก้ปัญหา HAS-FACTOR นัก (สำหรับค่า k แต่ละค่าเราสามารถคืนหน่วยความจำที่ใช้ในการทำงานของค่า k ก่อนหน้าได้) สำหรับเวลาที่ใช้ก็เช่นกัน ในการหาตัวประกอบแต่ละตัวเราจะเรียกใช้ HAS-FACTOR ไม่เกิน \log (n) ครั้ง และจำนวนของตัวประกอบเฉพาะของ n ที่เป็นไปได้ก็ไม่เกิน \log (n) จำนวน ในศาสตร์ของทฤษฎีความซับซ้อนของปัญหานั้น ตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น "ใช่" มักจะมีความแตกต่างจากตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น "ไม่ใช่" เช่น กลุ่มปัญหาเอ็นพี (NP) ประกอบด้วยปัญหาการตัดสินใจทั้งหมดที่ตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบเป็น "ใช่" สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในทางกลับกัน กลุ่มปัญหาโค-เอ็นพี (co-NP) ประกอบด้วยปัญหาการตัดสินใจที่ตัวอย่างของปัญหาที่มีคำตอบเป็น "ไม่ใช่" สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คำว่า co ในที่นี้หมายถึง ส่วนกลับ หรือ complement) ซึ่งส่วนกลับของปัญหาหนึ่งก็คือปัญหาเดิมที่มีการสลับตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบคือ "ใช่" กับตัวอย่างปัญหาที่มีคำตอบคือ "ไม่ใช่" ตัวอย่างเช่นปัญหา "IS-PRIME" เป็นส่วนกลับของปัญหา "IS-COMPOSITE" ทฤษฎีบทที่สำคัญอันหนึ่งในด้านทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณก็คือ ไม่ว่าปัญหาของเราจะยากขนาดไหน เราจะมีปัญหาที่ยากกว่าเสมอ หากเราพิจารณาเฉพาะปัญหาที่สามารถแก้ได้ในเวลาที่เป็นฟังก์ชันพหุนามกับขนาดของข้อมูลป้อนเข้า เราสามารถอธิบายในจุดนี้ได้ด้วยทฤษฎีลำดับชั้นของเวลา (time hierarchy theorem) ที่กล่าวไว้ว่า หากเราให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานด้วยเวลาที่มากขึ้น ปัญหาที่เราสามารถแก้ได้ก็จะเพิ่มขึ้น (นั่นก็คือ มีปัญหาที่แก้ไม่ได้ถ้าไม่มีการเพิ่มเวลา) ทฤษฎีลำดับชั้นของเนื้อที่ (space hierarchy theorem) ก็จะกล่าวในเชิงคล้ายกัน เพียงแต่มุ่งความสนใจในเรื่องของเนื้อที่ที่อนุญาตให้มีการใช้งานได้ == กลุ่มของความซับซ้อนของปัญหา == ปัญหาการตัดสินใจสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายๆกลุ่ม โดยที่แต่ละกลุ่มจะประกอบไปด้วยปัญหาที่มีความยากเท่าเทียมกัน กลุ่มความซับซ้อนของปัญหา พี (P) คือเซตของปัญหาการตัดสินใจที่สามารถหาคำตอบได้ ในเวลาที่เป็นฟังก์ชันพหุนามของขนาดข้อมูลป้อนเข้า ด้วยเครื่องจักรทัวริงเชิงกำหนด (deterministic turing machine) นิยามนี้สอดคล้องกับแนวคิดของปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มความซับซ้อนของปัญหา เอ็นพี (NP) คือเซตของปัญหาการตัดสินใจที่สามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เครื่องจักรทัวริงเชิงไม่กำหนดในเวลาพหุนาม ปัญหาที่อยู่ในกลุ่มนี้หลายปัญหาเป็นปัญหาที่มนุษย์ต้องการเป็นอย่างมากที่จะแก้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของปัญหาในกลุ่มนี้ก็คือ ปัญหาความสอดคล้องแบบบูล (Boolean satisfiability problem) ปัญหาเส้นทางของฮามิลตัน (Hamiltonian path problem) และ ปัญหาจุดยอดปกคลุม (Vertex cover problem) ปัญหาทุกปัญหาในกลุ่มนี้สามารถตรวจคำตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ == ปัญหา P=NP == ปัญหาที่สำคัญที่สุดในด้านทฤษฎีการคำนวณก็คือปัญหาที่ว่ากลุ่มความซับซ้อนของปัญหาพี และ เอ็นพี เป็นเซตที่เท่ากันหรือไม่ ซึ่งทาง Clay Mathematics Institute ได้ตั้งรางวัลไว้สำหรับผู้ที่แก้ปัญหานี้ได้เป็นมูลค่าสูงถึง หนึ่งล้านดอลลาร์ (ดูรายละเอียดของปัญหาได้ใน กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี และ เครื่องจักรออราเคิล) ปัญหาของพีและเอ็นพีนั้น ทำให้เกิดการสร้างแนวความคิดที่สำคัญมากในการวิจัยสาขานี้ขึ้นมา ซึ่งก็คือแนวความคิดเกี่ยวกับ "ความยาก (hardness)" และ "ความบริบูรณ์ (completeness)" เราจะเรียกเซตของปัญหา X ว่ายากสำหรับเซตของปัญหา Y เมื่อปัญหาทุกปัญหาใน Y สามารถลดรูปอย่างง่ายไปเป็นปัญหาบางปัญหาใน X ได้ (สำหรับรายละเอียดการลดรูป ขอละไว้ในที่นี้) สำหรับคำว่า "ง่าย" ในการลดรูปนั้นจะมีความหมายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทที่สนใจ เซตที่เป็น "เซตยาก" ที่เราสนใจมากที่สุดนั้นก็คือเซต เอ็นพีแบบยาก (NP-hard) และคำว่า "ง่าย" ในการลดรูปที่มักจะเป็นที่สนใจก็คือการลดรูปที่ใช้เวลาเป็นฟังก์ชันพหุนามของขนาดของข้อมูลป้อนเข้า สำหรับหลักการของ ความบริบูรณ์นั้น เราจะกล่าวว่าเซต X บริบูรณ์ สำหรับเซต Y เมื่อ: เซต X ยาก สำหรับ Y และ X เป็นเซตย่อยของ Y เช่นเดียวกันกับเรื่องของความยาก เซตบริบูรณ์ที่สำคัญที่สุดก็คือ เซตเอ็นพีบริบูรณ์ == ความยาก (Intractability) == เราเรียกปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ ในเชิงทฤษฎี แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง ว่าเป็นปัญหาที่ยาก (intractable) โดยมากแล้วเราจะแทนความง่ายของปัญหาด้วยการที่มีขั้นตอนวิธีที่ทำงานใช้เวลาเป็นฟังก์ชันพหุนามกับขนาดของอินพุต ปัญหาเอ็นพีบริบูรณ์ ถูกเชื่อว่าเป็นปัญหาที่ยาก (ที่ใช้คำว่า "เชื่อ" ก็เพราะว่าการที่ปัญหาเอ็นพีบริบูรณ์จะยากหรือไม่นั้นขึ้นกับว่าพีเท่ากับเอ็นพีหรือไม่ หากว่าพีเท่ากับเอ็นพี เอ็นพีบริบูรณ์ทั้งหมดก็เป็นปัญหาที่ง่าย แต่หากไม่เท่ากัน เอ็นพีบริบูรณ์ก็เป็นตัวแทนของปัญหายากที่อยู่ภายในเอ็นพี) ส่วนปัญหาที่สามารถพีสูจน์ได้แน่นอนว่ายาก ก็คือปัญหา อีเอกซ์พีบริบูรณ์ (EXP-complete) (เนื่องมาจาก ทฤษฎีลำดับชั้นของเวลา) ทฤษฎีการคำนวณ
thaiwikipedia
901